@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก
@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก

อภิธานศัพท์ (Glossary) จัดเป็นฐานข้อมูลด้านโลกุตระที่สมบูรณ์ที่สุดที่คัดมาจากหนังสือ คำเทศน์ ฯ

คู่มือการค้นหาอภิธานศัพท์อโศก หรือ ห้องสมุดโลกุตระ 50 ปี

เอกสาร : https://docs.google.com/document/d/1HLGedxqTAOTOTQKGbO6M4qMremQ8K1jBWKRYDDt6MRQ/edit

วีดีโอ Loom 2 : https://www.loom.com/share/e824e62ec1eb4567848e94af124a7ed5

วีดีโอ Loom 1https://www.loom.com/share/2445744a08e74bca95d2f1d2a0526044

วีดีโอ YouTube : https://youtu.be/QyXcGmzhLmk

 

 

อภิธานศัพท์ (ทั้งหมด) พบ 28,074 รายการ

กายคุต

รายละเอียด

กายคุต คือ ผู้คุ้มครองรักษาร่างกายได้แล้วกายสงบ

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม  บ้านราช  วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 09 ตุลาคม 2562 ( 08:31:07 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:51:43 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 15:45:20 )

กายคุตตะ

รายละเอียด

กายคุตตะ คือผู้มีร่างกายอันคุ้มครองแล้ว ผู้รักษากายได้แล้ว ผู้มีกายที่สงบ เมื่อมิจฉาทิฏฐิผู้มีกายที่สงบ เข้าใจกายเป็นเพียงภาวะภายนอกก็จะทำให้ภาวะภายนอกมันหยุดดิ้น นี่ก็ว่ากายสงบแล้ว ดีไม่ดี กายวิเวก คือเอากายไปออกไปสู่ที่เงียบไปอยู่เดี่ยวๆไปอยู่ในป่าเขาถ้ำ ห่างจากผู้คนต่างจากสังคม ชื่อว่ากายสงบแล้ว ถ้าจิตของคุณดิ้นไปในกามดิ้นไปในอัตตาอะไรอยู่ข้างใน ข้างในก็ดิ้นไปในอัตตาข้างนอกก็ดิ้นไปสู่กามสู่อบาย แล้วมันจะสงบอย่างไรกายของคุณ มันก็ยิ่งออกไปข้างนอก ยิ่งอยู่ข้างในก็ยิ่งเป็นอัตตา เพราะฉะนั้นคำว่าสงบ กายที่คตะ มันดำเนินไปแล้วมันก็สงบอยู่ กายดำเนินไป สงบอยู่กายคตะสงบอยู่ คุ้มครองได้แล้ว ก็หมายถึงว่าคุณจัดการกำกับทั้งข้างนอกข้างใน กำกับทั้งข้างนอกข้างในให้ได้สัดส่วนที่พอเหมาะที่จะแสดงออกถึงกายกรรมแสดงออกถึงวจีกรรม แสดงออกได้พอเหมาะพอดีเรียกว่า กายคตะ ดำเนินไปออกสู่ภายนอกโดยมีข้างในเป็นตัวประธานกำกับให้เกิด

ที่มา ที่ไป

รายการบ้านราช กายนี้คือวิญญาณ วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 29 กุมภาพันธ์ 2563 ( 17:20:42 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:52:49 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 15:46:38 )

กายคุตฺติ

รายละเอียด

การคุ้มครองกาย , ความสงบแห่งกาย

หนังสืออ้างอิง

จากค้าบุญคือบาป หน้า 214


เวลาบันทึก 09 กรกฎาคม 2562 ( 14:22:03 )

เวลาบันทึก 29 เมษายน 2563 ( 18:17:21 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 15:48:38 )

กายจะต้องมี 2 สภาพ

รายละเอียด

 กาย คำนี้ยิ่งใหญ่ในศาสนาพุทธ เพราะฉะนั้นทุกวันนี้แม้แต่คำว่ากายที่เข้าใจผิดกันตั้งแต่สังโยชน์ข้อที่ 1 ไม่พ้นสังโยชน์ข้อที่ 1 เข้าใจคำว่า กาย ไม่สัมมาทิฏฐิอยู่แล้ว เมื่อกระดุมเม็ดแรกกลัดผิดหมดเลยไม่มีทางบรรลุธรรมโมฆะเลย ก็จะต้องไปปฏิบัติกายในกายในสติปัฏฐาน 4 จะต้องไป รู้จักแยกกายแยกจิตอย่างไร มีธรรมนิยาม 5 ไม่ง่ายเลยที่จะแยก ถ้าไม่เข้าใจปรมัตถธรรมอย่างสำคัญจริงๆ 

กายง่ายๆก็คือภายนอกต้องมีด้วย ภายในต้องมีด้วย กายต้องมี 2 สภาพ ต้องเป็นภาวะ 2 เสมอ เป็นหนึ่งเดียวไม่ได้ นี่ฟังไปตามลำดับ กายจะต้องมี 2 เสมอเป็นหนึ่งเดียวไม่ได้ เช่น เป็นรูปอย่างเดียวหรือเป็นนามอย่างเดียว ไม่ได้ เพราะฉะนั้นหลับตาเป็นนามอย่างเดียว กายข้างนอก ภายนอกไม่มีแล้ว ผิด ปฏิบัติให้ตายอย่างไรก็ไม่บรรลุอรหันต์ อย่างนี้เป็นต้น เอาไว้แค่นี้ก่อน 

 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม เปรียบเทียบเศรษฐศาสตร์โลกียะกับเศรษฐศาสตร์โลกุตระ วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม 2566  แรม 14 ค่ำเดือน 4 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 09 เมษายน 2566 ( 18:17:32 )

กายจะเป็นหนึ่งเดียวไม่ได้

รายละเอียด

ก็ยังดี พจนานุกรมบาลี อาตมาก็ยังไม่เห็นว่า เล่มไหนเขาแปลผิด เขายังแปลถูกว่ากายคือ องค์ประชุม หมู่ฝูง ต้องมีองค์ประชุมร่วมกันหลายอย่าง อย่างน้อย 2 ขึ้นไป กายจะเป็นหนึ่งเดียวไม่ได้ กายจะต้องเป็น 2 ขึ้นไป กาย เป็นแต่เพียงอย่างเดียวเป็นแต่สรีระไม่ได้ และต้องมีธาตุรู้ด้วย ไม่มีธาตุรู้ไม่ใช่กาย แม้แต่ธาตุรู้ระดับพีชะ ก็ยังไม่เรียกว่า กายมนุษย์ เลย พีชะไม่มีกายแล้ว

มนุษย์ต้องมีกาย  ต้องมีจิตวิญญาณ อันนี้ เขาเข้าใจไม่ได้ เป็นมิจฉาทิฏฐิไปหมดแล้ว ในความหมายของ สักกายทิฏฐิ เข้าใจกาย เป็นจิต มโน วิญญาณ ไม่ได้ เพราะฉะนั้นไม่เข้าใจตัวนี้ไม่ได้ตัวเดียวไม่มีทางตรัสรู้ คำว่า กายเข้าใจผิดไปแล้วมันไปหมดเลย ศึกษากายกันไม่ได้เลย

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 55 ธรรมิกราชแจกแจงสังขารในปฏิจจสมปบาท วันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 22 ธันวาคม 2565 ( 18:47:19 )

กายจิตเป็นประธาน

รายละเอียด

กายจิตเป็นประธาน จะเคลื่อนไหวออกมาเป็น กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ก็มาจากประธานคือจิต แม้คุณไม่รู้ตัวก็คือเป็นอัตโนมัติเป็นสัญชาตญาณออกมาก็คือการกระทำของจิตออกมา แม้คุณไม่รู้ตัวเป็นสัญชาตญาณ สะสมมากี่ชาติอยู่ในอนุสัยออกมาก็เป็นอย่างนั้นเลย คลอดมาแล้ว เด็กอุแว้ ออกมาก็กินนมได้เลย ไม่ว่าคนหรือสัตว์เดรัจฉาน หรือจิงโจ้ออกมาก็คลำหากระเป๋าแม่ อยู่ในกระเป๋าแม่ อย่างนี้เป็นต้น เป็นสัญชาตญาณ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 23 ความมหัศจรรย์ของการแยกกายแยกจิตได้ วันจันทร์ที่ 10 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 25 มกราคม 2565 ( 20:53:55 )

กายชนิดหลับตากับชนิดลืมตา

รายละเอียด

ก็ถูกต้อง คุณพูดไปเพื่อยืนยันว่าอาตมาไม่เข้าใจคำว่ากาย อาตมาเข้าใจกาย แต่ความเข้าใจนี้สัญญาต่างกัน กายต่างกัน เพราะกายของคุณนั้นเป็นกายชนิดหลับตา ส่วนกายที่อาตมาพูดเป็นกายชนิดลืมตา คนหลับตาพูดถึงกาย ก็จะมีกายอยู่แต่ในสัมภเวสี ยึดถือว่ามีกาย ในสัมภเวสีเป็นนิรมาณกาย เป็นกายที่เนรมิตเอง ไม่ใช่เป็นกายที่มีความจริงมีที่ตั้งทางตาหูจมูกลิ้นกาย ข้างนอก กายของคุณเป็นกายสัมภเวสี กายที่สร้างขึ้นเอง 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาความเข้าใจเรื่องกายของอ.แปลง วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 29 พฤศจิกายน 2564 ( 14:41:16 )

กายฑาห

รายละเอียด

ความเร่าร้อนแห่งกายคือตัณหา

ที่มา ที่ไป

รวมคนจะมีธรรมะได้อย่างไร ? หน้า 176


เวลาบันทึก 11 ธันวาคม 2562 ( 12:47:05 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 15:02:48 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 15:51:10 )

กายตปน

รายละเอียด

การยังกายให้เร่าร้อน

หนังสืออ้างอิง

จากค้าบุญคือบาป หน้า 226


เวลาบันทึก 09 กรกฎาคม 2562 ( 14:23:47 )

เวลาบันทึก 29 เมษายน 2563 ( 16:15:07 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 15:57:50 )

กายตรงกันสัญญาตรงกันแต่ต่างกันที่ทิฏฐิ

รายละเอียด

พวกลืมตามันนิ่งเพราะไม่มีตัวเหตุ ที่มาทำให้มันไม่นิ่ง ไม่มีตัวเหตุที่ทำให้มันไม่นิ่ง แต่พวกนิ่งแบบที่เหตุก็ไม่รู้ ดับก็ไม่รู้ แต่สะกดทั้งหมดทั้งมวลดับให้มันมืดมันดำลงไป เพราะฉะนั้น คนที่ประสงค์จะได้ความมืดความดำมันมีสัมมาทิฐิกับมิจฉาทิฏฐิ แต่มันเหมือนกันตรงที่สัญญาก็ตรงกันกายก็ตรงกัน แต่ต่างกันที่ทิฏฐิ ตัวที่ 4ในสัตตาวาส 9 จึงอธิบายยากมาก 

ต่างกันตรงที่ทิฏฐิความเห็นที่ต่างกัน เมื่อความเห็นต่างกันแล้ว สัญญาก็เลยไปกำหนด แม้ว่าสัญญาจะกำหนดว่าเป็นความมืดความดำเหมือนกัน แต่วิธีการใช้ให้ดับต่างกัน มันต้องรู้ว่า สภาวะกับวิธีปฏิบัติต่างกัน สัมมาทิฏฐิปฏิบัติอีกอย่างหนึ่งจึงได้ผลออกมา แม้จะดำมืดเหมือนกัน เพราะคนที่ยังไม่ตายก็อาศัย ดำมืด ไม่ใช่ว่าตายไปเลยดำมืดไปเลย แต่พูดเป็นภาษาใหม่ว่าดำมืดคือไม่มีอันนั้น

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการพุทธศาสนาตามภูมิ ธรรมวิจัยให้รู้ความต่างในวิญญาณฐิติ 7 วันศุกร์ที่ 30 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 19 พฤษภาคม 2564 ( 20:31:07 )

กายต่างกัน สัญญาต่างกัน

รายละเอียด

“บุญ”

ยิ่งสับสนไปเข้าใจว่า เป็นแค่“กุศล”กันจริงๆจังๆกันไปหมด

      หรือคำอื่นๆ “ฌาน”ก็ดี “สมาธิ”ก็ดี “สมาบัติ”ก็ตาม “สัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย”ก็ดี มันไม่ใช่ปัญญาที่สัมมาทิฏฐิ

      เข้าใจผิด แตกต่างกัน เห็นตรงข้ามกัน หันหลังให้กัน แล้วต่างคนต่างเดินของตนไป ตามความเชื่อถือของตนๆ

      นั่นคือ ต่างคนต่างสื่อกัน ต่างก็กำหนดรู้กันไปคนละทิศ คนละทาง คนละอย่าง คนละความถูกต้องกันแล้ว

      เพราะมี“กายต่างกัน สัญญาต่างกัน”ไปสารพัด 

      ดังนั้น “อวิชชาสวะ 8”จึงมิจฉาทิฏฐิกันสมบูรณ์แบบ 

      เริ่มตั้งแต่“อวิชชาสวะ 4 ข้อต้น” ได้แก่ ไม่รู้“ทุกข์” ไม่รู้“สมุทัย” ไม่รู้“นิโรธ” ไม่รู้“มรรค” มันก็ยังมี“อวิชชา” 

      จึงไม่หมดสิ้น“อาสวะ”กันได้สักที 

      แม้จะสามารถทำให้“อาสวะ”บางส่วนสิ้นไปได้ ก็ไม่“จบกิจ”ชนิดที่เป็น“นิยตะ”หรือนิรันดรเด็ดขาด เพราะ

“อาสวะ”ที่เหลือมันจะพาวนเวียนกลับมามีกิเลสอีกจนได้

ใน“ชาติ”ที่ยังไม่สามารถ“ดับเหตุ”ไม่ให้มี“ชาติ”ต่อไปสำเร็จ       ยิ่งเป็นชาวเทฺวนิยมที่“ความรู้”ยังเป็น“ปัญญา”ไม่ได้ ยังมีแต่“ความรู้”ที่เป็น“เฉโก”เท่านั้น ก็ยิ่งไม่ต้องพูดถึงเลย

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปฏิจจสมุปบาท ตอน 3 วันศุกร์ที่ 5 มกราคม 2567 แรม 9 ค่ำเดือนอ้ายปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 08 มกราคม 2567 ( 18:23:18 )

กายต่างกัน สัญญาต่างกัน คือเข้าใจรูปนามต่างกัน

รายละเอียด

กายต่างกัน สัญญาต่างกัน คือเข้าใจรูปนามต่างกัน มีการเรียกพยัญชนะว่ามนุษย์เทวดา ผี เปรต ก็มีอยู่ 3 อย่าง ก็พวกมนุษย์ สัตว์นรกกับสวรรค์ ก็ต่างเข้าใจกันไปต่างกัน สัญญากำหนดเทวดาก็ต่างกัน กำหนดสัตว์นรกก็ต่างกัน กำหนดมนุษย์ก็ต่างกัน อย่างอาตมามีสัญญากับกายต่างกับผู้รู้ทางศาสนาพุทธ ยกตัวอย่างอย่างอาจารย์บูรพา ผดุงไท ก็เข้าใจความเป็นมนุษย์ จิตที่เป็นเทวดา สัตว์นรก ต่างจากอาตมา 

อาจารย์บูรพาเข้าใจเช่นนั้นก็น่าสงสาร ท่านสอน เขียนอยู่ อาตมาก็ว่าผิด ไม่ได้พูดด้วยความเกลียดชัง พูดด้วยความสงสาร

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการพุทธศาสนาตามภูมิ  วิญญาณฐีติ 7 สัตตาวาส 9 วิโมกข์ 8 วันพุธที่ 17 มกราคม 2561 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 18 เมษายน 2564 ( 16:01:39 )

กายต่างกัน สัญญาอย่างเดียวกันเป็นอย่างไร

รายละเอียด

เราก็มาดู วิญญาณฐิติข้อที่ 2 มีอะไรบ้าง กายต่างกัน สัญญาอย่างเดียวกัน สัญญาคือการกำหนดหมายกันว่า จิตของเราไม่มีนิวรณ์ 5 นะ ที่นี้สัมมาทิฏฐิก็ดี มิจฉาทิฏฐิก็ดี สามารถทำให้จิตวิญญาณไม่มีนิวรณ์ 5 ได้ด้วยกัน เป็นสัญญาอย่างเดียวกันตรงกันได้ แต่กายของเขาจะต่างกัน กายคนหนึ่งลืมตา สัมมาทิฏฐิลืมตา แต่กายของคนมิจฉาทิฐิหลับตา มันชัดไหมวิญญาณฐิติข้อที่ 2 

ที่นี้เขาถามมาว่า คนที่เลิกดูดบุหรี่ เลิกกินเหล้า ทิฏฐิของคนเลิกติดบุหรี่กับอีกคนหนึ่งเลิกเสพติดเหล้า มันมีคำว่า กาย คำว่า สัญญา คำว่าทิฏฐินะ ในวิญญาณฐิติ มันยืนยันคำว่า ถ้าสัมมาทิฏฐิคือผู้ที่ถูกต้องหนึ่งเดียวกันอยู่ในวิญญาณฐิติ แต่ถ้าใครมิจฉาทิฏฐิมันจะเป็นสัตตาวาส 9 ซึ่งก็มีวิญญาณฐิติ 7 แต่ยังแถม อสัญญีสัตว์ กับ เนวสัญญานาสัญญายตนะ อีก 2 อันเป็น 9 

เพราะฉะนั้นวิญญาณฐิติ 7 จะบอกว่าเสพติด ก็คือเลิกเสพติดได้ก็เป็นนิวรณ์ มันก็ไม่เต็มนิวรณ์ทีเดียว มันไม่ลงรายละเอียดทีเดียว แต่เริ่มได้คุณธรรม คนนี้เลิกบุหรี่ คนนี้เลิกเหล้า ทิฏฐิ ก็เลยสัมมาแบบเดียวกัน แต่ความสำเร็จสมบูรณ์มันยังไม่มี จะบอกว่าเหมือนกันอันนี้นับเป็นวิญญาณฐิติข้อที่ 2 ได้เหมือนกันไหมได้ แต่ยังไม่สมบูรณ์ ยังไม่บริบูรณ์ 

ที่ว่า กายต่างกัน คุณคนที่เลิกบุหรี่กับคุณคนที่เลิกเหล้ามา มีกายเหมือนกัน กายไม่ต่างกัน ถ้าคุณหลับตากับคุณลืมตา อันนี้กายจะต่างกัน นี่เขาถามโดยสามัญ คนหนึ่งเลิกเหล้า คนหนึ่งเลิกบุหรี่ ถ้าหลับตาทั้งคู่ก็คงไม่สนุก สูบบุหรี่ก็คงลืมตาสบายๆดื่มเหล้าก็คงลืมตาสบายๆแล้วก็เลิกมา 

เลิกเหล้าเลิกบุหรี่มันก็ลืมตากันทั้งคู่ไม่ได้หลับตากันทั้งคู่ คุณเข้าใจคลาดเคลื่อนไปนิดหน่อย เอาให้คมๆชัดๆ 

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเอื้อไออุ่น งานตลาดอาริยะ 2566 วันศุกร์ที่ 14 เมษายน 2566 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 08 พฤษภาคม 2566 ( 16:01:11 )

กายต่างกันสัญญาก็ต่างกัน

รายละเอียด

คำว่า มโน นี่แหละสำคัญ คือจิตมันปั้นรูปร่างนิรมานกายเป็นตัวตน พวกที่มีอย่างนี้อยู่อย่างเช่นครูบาอาจารย์ของคุณที่เห็นผีเห็นเทวดาเป็นตัวเป็นตน แบบนี้แหละยังไม่พ้นสภาพของเทวดามารพรหม กายต่างกันสัญญาก็ต่างกัน

ที่เขียนขึ้นมาในพระไตรปิฎกก็ไม่ได้เขียนลอยๆแต่คุณไม่สามารถเข้าใจได้ จริงๆมันเป็นนามธรรมที่ไม่เป็นตัวตน แต่คุณยังเข้าใจว่ามีตัวตนอยู่ พูดไปอย่างไรคุณก็ยังเขลอะอยู่ จะเอาความไม่มีตัวตนไปพูดกับคุณมันจะพูดกันรู้เรื่องไหมนี่ ไปไหนมาสามวาเจ็ดศอก 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรม รายการวิถีอาริยธรรม ตอบปัญหาผ่าวิญญาณฐีติ 7 วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม 2563
ที่บ้านราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 02 กุมภาพันธ์ 2564 ( 12:48:28 )

กายต่างกันสัญญาต่างกัน

รายละเอียด

คุณคิดว่าคุณเข้าใจปัจจัย 4 ก็ดีแล้ว อาตมาไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไร สัญญาต่างกัน ก็ค่อยๆศึกษากันไปก็จะรู้ว่าอันนี้สัญญาอย่างนี้อันนี้เป็นองค์ประกอบของการมีรูปนามอย่างนี้อันนี้มีสัญญาอย่างนี้ก็จะค่อยๆชัดเจนขึ้นมา ติดตามให้ดีๆอาตมายังไม่รีบร้อนอธิบายสัตตาวาส 9 วิญญาณฐิติ 7 สุดยอดเลยที่จะแยกกายแยกสัญญา แยกกายแยกจิต จิตที่มีองค์ประกอบของธาตุจิตอยู่เยอะถ้าแยกเป็นสัญญาละเอียดไปเลยมันไม่ง่าย ก็ค่อยๆอธิบายไปเล็กๆน้อยๆ จนกระทั่งอธิบายอย่างกระหน่ำ ตอนนี้ยังขอไม่อธิบายอย่างกระหน่ำ

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 24 มีนาคม 2563 ( 14:03:10 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 07:58:09 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 16:00:20 )

กายต่างกันสัญญาต่างกัน

รายละเอียด

คนที่เข้าใจมิจฉาตื้นๆ คืออะไร มนุษย์คือร่างกายดินน้ำไฟลมปรุงแต่งกันอยู่ ก็ไม่ใช่ทั้งสัตว์นรกและเทวดา บอกว่านรกและเทวดาคือจิต ส่วนมนุษย์คือกายคือร่าง คอหยักๆสักแต่ว่าแขนขาสองขา ก็คือมนุษย์เขาก็ว่าดินน้ำไฟลมโด่เด่คือมนุษย์ นรกกับเทวดาก็คือบอกว่าเป็นจิต คนที่เห็นว่า กายต่างกันสัญญาต่างกัน เขาก็ไม่มีสิทธิ์เห็นตรงกันกับเราว่ามนุษย์นี้มันจะไปแยกจิตออกไปไม่ได้ แล้วความเป็นจริงหน้าจะสวย หน้าจะหล่ออย่างไร แต่ใจเป็นสัตว์นรก หรือใจเป็นเทวดา ใจเป็นพระพรหม อันนั้นจะเป็นตัวชี้บ่งความจริง ใบหน้านั้นเดี๋ยวนี้ถ้าไปเกาหลีจะเอาหน้าแบบไหนก็ได้ ใช่ไหม สบม ทมด ปกต หห 

เพราะฉะนั้นคุณก็จะเห็นมนุษย์ เทวดา สัตว์นรก ต่างกัน สัญญาต่างกัน กายต่างกัน

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ธรรมวิจัยให้รู้ความต่างในวิญญาณฐิติ 7 วันศุกร์ที่ 30 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 19 พฤษภาคม 2564 ( 21:12:02 )

กายต่างกันสัญญาต่างกัน ของพญานาคและพญาครุฑ

รายละเอียด

ใช่ กายต่างกันสัญญาต่างกัน มันก็เลยขัดแย้งกันเพราะมันต่างกัน มีคนร้อยคน กายต่างกันสัญญาต่างกัน คนร้อยคนก็มีกาย 100 กายสัญญา 100 สัญญา อย่างนั้นเลย ดีไม่ดีจะมากกว่า 100 ด้วย เพราะคนแต่ละคนนี้เฟื่องไม่ใช่รู้แค่100 รู้ตั้ง 500 พวกนี้เลยจัดอยู่ในพวก 500 สรุปคือ คุณอย่าคิดต่อ ถ้าคิดต่อคือคุณซวย ไปตามเขาเลย นี่คือมันไม่จบสักที รู้มากยากนานไปกับเขาหมดเลย นึกว่าจะฉลาดช่างดูอันนี้ ท่านผู้รู้ขณะนี้เป็นพญาครุฑ ในประเทศไทยคือผู้รู้ทางพุทธศาสนานี้ก็ตาม ทรงความเป็นพญาครุฑอยู่ในประเทศไทย แล้วความรู้ของท่านยังไม่จบอีกนะ ความรู้ของท่านไม่ทำให้จบท่านก็เลยขยายไปตอนนี้น่าสงสาร ทำไมเจาะเป็นลำดับเช่นศีลข้อที่ 1 ศีลข้อที่ 2 จบศีลข้อที่ 3 ที่ไม่จบก็คือนึกว่าตัวเองไม่มีแล้วก็กลบไว้ เรียกว่าสะกดไว้ทำเป็นลืมไม่สนใจ ไปสนใจสิ่งที่ดีดีดี รู้ หลงความรู้มาก หลง ความรู้เมาในความรู้ นี่ น่าสงสาร พญาครุฑ ส่วนพญานาคนั้นลงในความดับดิ่งจมไปอยู่ในก้นบาดาล ไม่รู้เรื่องอะไร กว่าจะมีสติรู้ตัวขึ้นมา พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นมา 1 องค์ แล้วพระพุทธเจ้าทั้งนั้นด้วยนะเกิดมาแล้วหรือ แล้วก็หลับต่อไปอีกจนกว่าพระพุทธเจ้าอีกองค์จะเกิดก็ตื่นขึ้นมาดูอีกแล้วก็จมอยู่ในบาดาลอยู่อย่างนี้ตลอดกาลนี่คือพญานาค 

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2563


เวลาบันทึก 26 ธันวาคม 2563 ( 10:05:27 )

กายต่างกันสัญญาต่างกันในสัตตาวาส 9 หมายถึงอะไร

รายละเอียด

กายต่างกัน กายหมายความว่าภายนอก ต้องมีภายนอก ไม่มีภายนอกไม่ชื่อว่ากาย และต้องมีภายใน กายต้องมีคู่ กายไม่มีเดี่ยว กายต้องคู่ เพราะฉะนั้นทุกวันนี้ศาสนาพุทธเข้าใจคำว่ากายนี้หมายถึงเดี่ยวๆ คือวัตถุอย่างเดียว ไม่มีจิตร่วม นี่แหละ สุญโญเลย ปฏิบัติธรรมไปไม่ออกเลย ฟังไว้ดีๆเลย พวกที่เข้าใจคำว่ากาย กายะ ซึ่งเป็นสังโยชน์ข้อที่ 1 สักกาย ถ้ามีความเห็นอ่าน สักกายของตนให้ได้ อย่าไปอ่านของคนอื่น ของคนอื่นไม่รู้จริงหรอกต้องอ่านของตนเอง แล้วกายต้องเป็นสภาพ 2 แล้วต้องมีภายนอกร่วมด้วยกับภายใน ถ้าไปถึงในจริงๆ ท่านเรียกมโน หรือว่า มนารมณ์(อารมณ์ที่ภายใน) และทางกายเขาเรียก โผฏฐัพพารมณ์(โผฏฐัพ คือ ภายนอก ตาหูจมูกลิ้นกาย) กายต้องมีโผฏฐัพพะ ส่วนมนะ ไม่ต้องมีภายนอกได้เลยทีนี้ กายต่างกัน องค์รวมของ 2 อย่าง รูปกับนาม ภายนอกภายใน แล้วไปข้างในก็มีสัญญาต่างกันอีก คำว่าต่างนี่คือ คนหนึ่งเป็นโลกีย์คนหนึ่งเป็นโลกุตระ ไม่ว่ากายต่างกัน โลกียก็เข้าใจว่ากายคืออีกอย่างหนึ่ง เช่น โลกียเข้าใจว่ากายคือหนึ่งเดียวไม่มี 2 อันนี้ก็ต่างกัน โลกุตระต้องมี 2 สัญญาการกำหนดรู้เป็นเรื่องของจิต จิตมีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้ จิตเอาตัวสัญญาเจตสิกที่มีหน้าที่กำหนดรู้และจดจำ สัญญานั้นทำงานมาก แต่คนไม่รู้ เป็นหน้าที่ของจิตตัวสัญญานี่ ทำงานอย่างโง่ๆส่วนมากยังเป็นอวิชชาก็โง่ทั้งนั้น ทำงานอย่างฉลาดขึ้นมาชัดเจนฉลาดแบบปัญญา ฉลาดแบบเฉโก ก็โง่อีกแบบ ทุกวันนี้เขาก็ยังเข้าใจยากอยู่ สัญญาคือกำหนด ทำธาตุรู้ที่เป็นความรู้ ทำความรู้กับกาย กำหนดรู้ทั้งภายนอกภายใน สัญญากำหนดรู้แต่ภายในนั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่สมบูรณ์เป็นสิ่งที่ยังไม่ครบความจริง

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน 2563


เวลาบันทึก 27 ธันวาคม 2563 ( 11:44:23 )

กายต่างกันสัญญาอย่างเดียวกัน

รายละเอียด

กายต่างกันสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น จิตไม่มีนิวรณ์ ทำได้ทั้งคู่เลย ทั้งการนั่งหลับตาสมาธิสะกดจิตก็ไม่มีนิวรณ์เหมือนกันได้ กายของคุณรูปนามคุณสะกดจิตเอาไว้ได้ กายของคุณก็ไม่มีวันได้ แต่ของพระพุทธเจ้านั้นไม่ได้สะกดจิตเลยทุกสัมผัสทุกเวลา ทั้งวันปกติ กิเลสก็ไม่มีนิวรณ์ก็ไม่มีเหมือนกัน เพราะฉะนั้นกายของพระพุทธเจ้ากับกายของที่เขาทำกันมันต่างกัน แต่มันไม่มีนิวรณ์เหมือนกันทั้งคู่ นี่คือสัตตาวาส ข้อที่ 2 ซึ่งไม่ง่าย ยิ่งอันอื่นก็ยิ่งยากต้องเอาวิญญาณฐีติ 7 กับสัตตาวาส 9 กับวิโมกข์ 8 มาอธิบายด้วยกัน

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 05 เมษายน 2563 ( 11:19:58 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 07:59:02 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 16:02:26 )

กายต่างกันสัญญาอย่างเดียวกันในสัตตาวาสที่ 2 หมายถึงอะไร

รายละเอียด

พอเริ่มต้นมีจุดเหมือนกัน กายต่างกันสัญญาอย่างเดียวกัน อันที่ 2 เป็นสัตตาวาสข้อที่ 2 กายต่างกันมีความหมายเดียวกับข้อที่ 1 สัญญาอย่างเดียวกัน หมายถึงปรมัตถ์  เขามีจุดหมายสัญญากำหนดหมายที่ว่าอย่างเดียวกันก็คือจุดหมายว่าไม่มี นิวรณ์ 5 กายต่างกันสัญญาอย่างเดียวกันในข้อที่ 2 เพราะฉะนั้นมิจฉาทิฏฐิก็ตามพวกนั่งหลับตาปฏิบัติเป็นต้น เขาก็ไม่มีอารมณ์นิวรณ์ 5 ไม่มีกาม ไม่มีพยาบาท ไม่มีถีนมิทธะ ไม่มีอุทธัจจกุกกุจจะไม่มีสงสัย เขาก็ได้ความไม่มีนิวรณ์ แม้จะเป็นวิธีแบบสมถะแบบสะกด เขาก็ไม่มีนิวรณ์ ของพระพุทธเจ้าลืมตาปฏิบัติก็ไม่มีนิวรณ์เหมือนกัน จึงเป็นปฐมฌานเหมือนกัน เป็นฌานที่ไม่มีนิวรณ์ ก็เป็นสัญญาที่ตรงกัน นี่คือจุดหมายสำคัญของสัตตาวาส หรือวิญญาณฐีติข้อที่ 1 และ 2

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน 2563


เวลาบันทึก 27 ธันวาคม 2563 ( 11:49:26 )

กายต่างกับจิตอย่างไร

รายละเอียด

แล้วมันต่างกันกับจิตอย่างไร พระพุทธเจ้าบอกว่ากายคือจิตมโนวิญญาณแต่แตกต่างจากจิต ก็ต้องแยกกายแยกจิตนี้ให้ออกด้วยเป็นมูลกรรมฐาน 5 สุดยอดเลย เพราะฉะนั้นพระบวชใหม่ อุปัชฌาย์จะต้องอธิบายมูลกรรมฐาน 5 นี้ให้แก่สัทธิวิหาริก อธิบายให้แยกกายแยกจิตให้เป็น ไม่งั้นบวชไปก็สูญเปล่าไปไม่รอด ผู้ที่แยกกายแยกจิตได้ จะรู้ว่าเมื่อไหร่จิตของเราเป็นกาย เมื่อไหร่จิตของเราไม่ใช่กาย เมื่อไหร่จิตเราไม่เป็นกาย ส่วนนั้นไม่เป็นจิตแล้วไม่เป็นพีชะ แต่เป็นอุตุ สภาวะแบบดินน้ำไฟลมไม่ใช่ชีวะ จิตเราจะสามารถมีสภาพอย่างนั้นได้ในขณะเป็นๆสามารถทำให้จิตเป็นอุตุได้ 

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม 2563


เวลาบันทึก 19 พฤศจิกายน 2563 ( 12:07:22 )

กายต้องคู่กับจิต

รายละเอียด

คำว่า กาย ซึ่งเป็นสังโยชน์ข้อที่ 1 หรือเป็นคำแรกของโลกุตรธรรม โพธิปักขิยธรรม 37 เป็นคำแรกที่จะต้องรู้เป็นสังโยชน์ข้อแรก ที่จะต้องรู้ว่ามันคู่กับจิต กายมันคู่กับจิต เป็นคำแรกที่จะต้องรู้เลยว่ากายมันคืออย่างไรกายนี่ มาเป็นภาษาไทยแล้ว คำว่า กาย เดี๋ยวนี้เด็กๆตัวเล็กตัวน้อยขึ้นมาก็รู้แล้วคำว่ากาย แล้วจะมีคำที่คู่กันคือ ร่างกาย

ภาษาบาลีคำว่าร่างกายก็มีเฉพาะอีก คือ สรีระ แปลว่า ร่าง เขาก็เอากายไปแถมเข้าไปอีก ก็หมายถึงร่างภายนอก โครงร่างของอะไรก็แล้วแต่ แล้วเขาก็เข้าใจอันนั้นว่าคือกายอย่างเดียว สำคัญคือโครงร่างที่เป็นวัตถุรูป ไม่มีความเป็นนามธรรม เข้าไปเกี่ยวข้องเลย นี่คือมิจฉาทิฏฐิ คือ ความรู้ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ 

ความรู้มิจฉาทิฏฐิได้กระจายทั่วไปในชาวพุทธทั่วเมืองไทย นักปฏิบัติธรรม จนกระทั่งประกาศตนเองว่าเป็นอรหันต์ ก็เข้าใจผิดอย่างนี้ แล้วจะเป็นอรหันต์ได้อย่างไร แค่คำว่ากายก็ผิดแล้วตั้งแต่เริ่มต้น ประกาศตัวเองว่าเป็นอรหันต์ แม้แต่คำว่ากายคำแรก สำคัญที่ พระพุทธเจ้าท่านมีระบุไว้เลย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรม รายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 26 ทำปาฏิหาริย์ให้ชีวิตมีค่า สมกับที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ วันจันทร์ที่ 31 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 27 กุมภาพันธ์ 2565 ( 20:08:07 )

กายต้องมี 2 มีวัตถุกับจิตคือ มโน วิญญาณ คือองค์รวม

รายละเอียด

นี่ก็ไม่ได้เข้าใจกันง่ายๆ ว่า กายไม่เป็น 1 มันมีแต่วัตถุ มีแต่สรีระ ไม่ได้ ถ้าใช้ศัพท์คำว่า “กาย” ต้องมี 2 แล้วต้องมีวัตถุกับจิต พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่ากายคือ จิต มโน วิญญาณ คือองค์รวม องค์ประชุมของจิตเป็นหลัก ถ้าจะมีวัตถุด้วย มีสสาร มีข้างนอกด้วย ก็ต้องมีจิตเป็นหลัก เป็นประธาน 

แต่คนไทย ภาษาคำว่า กาย มาเป็นภาษาไทยแล้ว หมายความว่า สรีระข้างนอก นี่เป็นประธาน ดีไม่ดีไม่มีจิตร่วมด้วย เข้าป่าเลย หลงเลอะเทอะเลย แล้วก็เข้าป่าจริงๆ พระธุดงค์ เขานึกว่าตัวเองมีธุดงค์ ซึ่งมันไม่มีเลย ธุดงค์แปลว่าศีลที่สูงขึ้น เขาไม่มีเลยมันสับสนไปหมดที่จริงภาษาบาลีไม่มี ด.เด็ก ธุตังคะ ถ้าเป็นภาษาไทยก็คือธุดงค์ ก็เลยไปเข้าป่าเข้าดงไปหมดเลย บอกว่าผ่านมาเยอะแล้ว ไปธุดงค์มาหนัก บอกว่าเป็นพระเกจิเป็นพระกรรมฐาน 

อาตมาเห็นแล้วก็น่าสงสารที่ไม่เข้าใจไม่ประสีประสาเหมือนเด็กๆ อาตมาฟังแล้วดูแล้ว เหมือนเด็กๆพูดกันสนุกดี แต่ไร้สาระไม่เข้าหาแก่นหาเนื้อเลย มีแต่เหมือนเล่นขายหม้อข้าวหม้อแกงเลอะเทอะ แล้วไปเข้าใจสิ่งที่ไม่เข้าท่าว่าเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่แล้วมันจะเป็นอย่างไร มันก็เป็นโมฆะไม่มีประโยชน์อะไรเลย ก็ขอยืนยันพูดคำใหญ่เลยว่า นั่งหลับตานั้นเลิกไปเถิด มาศึกษาให้สัมมาทิฏฐิจรณะ 15 วิชชา 8 ให้มีศีลสมาธิปัญญากันจริงๆ ไม่ใช่ว่า ศีลก็ไม่ได้เป็นหลักเลย สมาธิไม่มีศีลเป็นหลักเลย อธิจิตไม่มีอธิศีลเป็นหลักเลย อธิปัญญา อธิวิมุติ อย่างไรก็ไม่ได้ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปฏิบัติ รูป 28 ในสติปัฏฐาน 4 วันพุธที่ 21 กันยายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 10 ตุลาคม 2565 ( 15:15:56 )

กายต้องมี 2 เสมอ

รายละเอียด

คำว่า กาย คือสภาพ 2 และคำว่า กายต้องมีภายนอกเป็นหลัก ต้องมีเกี่ยวข้องกับภายนอกเป็นหลัก แต่กายนั้นจะไม่มีภายในไม่ได้ ต้องมี 2 เสมอ ต้องมีทั้งภายนอกและภายใน 

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 26 กันยายน 2563 ( 09:47:43 )

กายต้องมีทั้งภายนอกและภายในเสมอ 

รายละเอียด

กาย ตัวแรก สักกายทิฏฐิ สักกะ ตัวเรา กาย คือสภาวะคู่ 

อย่ามิจฉาทิฐิ ก็คือ ต้องทำสัมมาทิฏฐิให้ชัดเจนว่า เมื่อไหร่มันยังชื่อว่าเป็นกาย เมื่อไหร่มันไม่ชื่อว่าเป็นกายแล้ว จะเข้าใจว่า 1.ตัวเรา สักกะ 2. ต้องมีกาย ต้องมีทั้งภายนอกและภายในเสมอ 

สติต้องมีความรับรู้ทั้งภายนอกและภายใน  ในขณะที่คุณเห็นภายนอก ตากระทบรูปเห็นรูป หูก็ได้ยินเสียง  จมูกก็กระทบกลิ่น ลิ้นก็กระทบรสได้รส โผฏฐัพพะ เสียดสี เย็นร้อนอ่อนแข็ง กระทบ 

คุณก็สามารถรู้อยู่นั่นแหละจึงเรียกว่า มีกาย มีสัมผัส ถ้าคุณไม่มีสัมผัส ไม่รับรู้ข้างนอกเลย คุณก็ขาดกายเป็นคนพิการ เป็นคนมี 1 เดียวไม่มี 2 เป็นคนพิการ 

คนต้องมี 2 ต้องมีวิญญาณ ต้องมีนามรูป นี่คุณไปมีอย่างเดียว หรือนามรูปคุณไม่เอาเลยไม่ได้ หรือคุณเอาแต่รูป คุณไม่เอานามเลย คนนี้ยิ่งบ้าใหญ่เลย ทำตัวให้แข็ง เป็นท่อนเป็นแท่ง เป็นพรหมลูกฟักที่นั่งหลับตาไม่รับรู้ ดับสัญญาไม่รับรู้ คุณก็ทำสำเร็จได้ ก็เป็นลัทธิเดียรถีย์ชนิดนึง ก็ทำให้ไม่รับรู้ได้ชำนาญได้เก่งก็เป็น อาฬารดาบส อุทกดาบส จิตของคุณก็จะชำนาญมนสิการแบบไม่ได้คุณก็ได้อาศัยไป ออกมาจากฌาน ยิ่งคุณไม่ได้เรียนรู้พิจารณาตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่ได้พิจารณาเวทนาเลยอย่างที่ศาสนาพุทธสอน คุณก็เข้าไปอยู่ในนั้นตลอดกาลนาน 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ภาคค่ำ นำปฏิญาณศีล 8 งานปลุกเสกฯ#45 ราชธานีอโศก วันพุธที่ 5 เมษายน 2566 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 09 เมษายน 2566 ( 06:15:35 )

กายต้องมีภายนอกและภายใน

รายละเอียด

จะไปปฏิบัติธรรมอะไรได้เริ่มต้นเข้าใจกายแต่เพียงภายนอก ทั้งๆที่กายต้องมีภายนอกและภายในด้วย ขาดอันใดอันหนึ่งไม่ได้ แต่คนตัดทิ้งเอาแต่กายภายนอกและจิตอยู่ภายใน สมาธิก็เอาแต่จิต แต่สมาธิของพระพุทธเจ้ามีทั้งจิตทั้งกาย เป็นองค์ธรรม 2  เทวธรรมมาพากเพียรปฏิบัติมรรคมีองค์ 8  จึงจะเกิดพระอริยบุคคล บุคคล 4 บุคคล 8 ได้ ไม่เช่นนั้นมันก็ไม่เกิดมันไม่มีมันไม่เป็น

ที่มา ที่ไป

พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช  วันพุธที่ 23 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 06 ธันวาคม 2562 ( 15:56:08 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:55:08 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 16:06:02 )

กายต้องมีสติรู้ภายนอกภายในที่เป็นที่ตั้งของฐานปฏิบัติ

รายละเอียด

มาถึง กาย เวทนาและจิต มันไม่แยกกัน ปฏิบัติธรรมต้องมีภายนอกภายในต้องตื่นลืมตา ตาม อปัณณกปฏิปทา 3 ชาคริยานุโยคะ ผู้ตื่นมีความตื่นต้องตื่นมีสติสัมปชัญญะลืมตา มันต้องลืมตา ขนาดลืมตาแล้วยังต้องมีสัมปชัญญะ มีความรับรู้ ที่ต้องทำให้ตัวเองตื่นเต็ม100  สติ มาจากคำว่า 100 (สตะ) กายกรรมก็ตื่นเต็ม วจีกรรมก็ตื่นเต็ม มโนกรรมก็ตื่นเต็ม เพราะรู้ตัวทั่วพร้อม เรียกว่ามีสติ เป็นฐาน สติปัฏฐาน มีที่ตั้งของการปฏิบัติ ฐาน คือ สติปัฏฐาน มีสติเป็นที่ตั้งของการปฏิบัติ นี่เรียกว่า กรรมฐานแท้ ไม่ใช่ไปนั่งสมาธิ สะกดเอา กสิณ 40 เอาอะไรสะกดจิตจดจ่อ อย่างนั้นเป็นเรื่องนอกศาสนาพุทธทั้งสิ้นเลย เลิกได้ แล้วก็จะเป็นกุศลแก่ศาสนาพุทธมาก แก่ตัวเองมากเลย

ฟังดีๆอาตมาเอาหนักเอาชัดๆไม่ต้องมาทำแบบเห็นอกเห็นใจ แต่ตีหัวเข้าบ้านเลย เมื่อไม่เข้าใจคำว่า กาย ซึ่งเป็นคำแรกที่จะต้องรู้ พ้น สักกายทิฏฐิ อธิบายตามหลักวิชาพระพุทธเจ้าทั้งนั้นเลย อ้างอิงหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า พระบาลีด้วย สังโยชน์ ข้อที่ 1 สักกายทิฏฐิ ต้องเข้าใจ เข้าใจ กาย และกายคือที่ตัวเรา สักกะ(ตัวเรา) มันมีภายนอกกับภายในในตัวเรา 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปฏิบัติ รูป 28 ในสติปัฏฐาน 4 วันพุธที่ 21 กันยายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 10 ตุลาคม 2565 ( 15:25:03 )

กายทวาร

รายละเอียด

ตา หู จมูก ลิ้น กาย

หนังสืออ้างอิง

จากหนังสือทางเอก ภาค 3 หน้า 514


เวลาบันทึก 09 กรกฎาคม 2562 ( 14:24:37 )

เวลาบันทึก 29 เมษายน 2563 ( 16:15:35 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 14:01:32 )

กายทัณฑะ

รายละเอียด

คือ กิเลสเครื่องร้อยรัดกาย

ที่มา ที่ไป

วิถีอาริยธรรม บ้านราช  จรณะวิชชาที่พาเป็นคนจนอยู่เหนือคนรวย วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 04 พฤศจิกายน 2562 ( 20:15:44 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:58:14 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 16:09:40 )

กายทิพย์

รายละเอียด

กาย อันประกอบขึ้นด้วยจิตวิญญาณที่อยู่ในร่างของคนนี่แหละ

หนังสืออ้างอิง

จากคนคืออะไร? หน้า 321 , 418


เวลาบันทึก 09 กรกฎาคม 2562 ( 14:25:16 )

เวลาบันทึก 29 เมษายน 2563 ( 16:16:04 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 16:13:52 )

กายทิพย์

รายละเอียด

กาย อันประกอบขึ้นด้วยจิตวิญญาณที่อยู่ในร่างของมนุษย์นี่แหละ

ที่มา ที่ไป

รวมศัพท์อโศก


เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 08:18:06 )

กายที่ต้องศึกษาให้สัมมาทิฏฐิเป็นข้อต้นคือสักกายทิฏฐิ

รายละเอียด

ยืนยันไปตั้งแต่ความเป็น กาย 

กายคือ ภาวะ 2 ซึ่งมีไวพจน์ว่า เทวฺ แปลว่า 2 

กาย นอกจากจะแปลว่ามีความเป็น 2 แล้ว ยังมีนัยยะมากอธิบายได้ไปอีก เป็นกายนอกกายใน เป็นกายอย่างนั้นอย่างนี้ 

กายแปลว่า องค์รวมของ 2 องค์ประชุมของกิเลส องค์ประชุมของอุตตริมนุสสธรรม องค์ประชุมของอะไรอีกสารพัด ขยายความไปได้อีกมากมาย 

เพราะฉะนั้นความวิจิตรพิสดารของคำว่า กาย จึงเยอะมาก ผู้ที่จะเข้าใจคำว่า กาย ได้สัมมาทิฏฐิ บัญญัติของพระพุทธเจ้าจึงให้รู้ กาย ที่สัมมาทิฏฐิให้ได้เป็นข้อต้นของการจัดศึกษาธรรมะที่เป็นอารยธรรมของพระพุทธเจ้าคือ สักกายทิฏฐิ 

ถ้ารู้ความเป็นกายแล้วอ่านสภาวะจริงในตนคือสักกะ แยกออกได้ว่า สอง นอกในอย่างนี้ ผู้ที่นั่งหลับตามันมีแต่ภายใน มันไม่มีภายนอก 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์เปิดงานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 46 พาปฏิญาณศีล 8 วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 15 พฤษภาคม 2565 ( 11:17:45 )

กายที่ยังมีในพจนานุกรม

รายละเอียด

แม้แต่คำว่ากายในศาสนาพุทธก็ผิดเพี้ยนไปแล้ว ยังดีที่ในพจนานุกรมยังมี

กายแปลว่า กอง หมวดหมู่ แห่งเจตสิก หมวดของธาตุ เวทนา สัญญา สังขาร เป็นธาตุรู้รวมๆกันอยู่ เรียกว่ากาย พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสว่า เราเรียกกายว่า จิต มโน วิญญาณ ศาสนาพุทธผิดเพี้ยนไปแล้วเข้าใจว่ากายไม่ใช่จิต ไม่ใช่มโน ไม่ใช่วิญญาณ นี่คือมิจฉาทิฏฐิไปเลย การเข้าใจคำว่ากายออกนอกเรื่องเป็นทิ้งจิตไปเลย ศาสนาพุทธจึงไม่เหลือเชื้อที่จะพัฒนาไปหากันหรือนิพพาน ลดกิเลสได้ นี่คือความผิดเพี้ยนของศาสนาพุทธ กายมันเข้าใจผิดไปมากกว่าหมายถึงสรีระ ถ้าหากอาตมาไม่ได้ขยายความอย่างนี้คุณก็จะเข้าใจกายเป็นสรีระ

ที่มา ที่ไป

วิถีอาริยธรรม บ้านราช จรณะวิชชาที่พาเป็นคนจนอยู่เหนือคนรวย วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 04 พฤศจิกายน 2562 ( 20:08:31 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 13:26:12 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 03:48:42 )

กายที่ละหน่ายยากคือ จิต มโน วิญญาณ

รายละเอียด

ปุถุชนผู้มิได้สดับจะพึงเบื่อหน่ายบ้างคลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้  ข้อนั้นเพราะเหตุไร  เพราะว่าความเจริญก็ดี  ความเสื่อมก็ดี  การเกิดก็ดี  การตายก็ดี  ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้  ย่อมปรากฏ   ฉะนั้นปุถุชนผู้มิได้สดับ  จึงเบื่อหน่ายบ้าง  คลายกำหนัดบ้าง  หลุดพ้นบ้าง  ในร่างกายนั้น  แต่ตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ว่าจิตบ้าง  มโนบ้าง  วิญญาณบ้าง  ปุถุชนผู้มิได้สดับไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัดหลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนผู้มิได้สดับ รวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ ตลอดกาลช้านาน 

ที่มา ที่ไป

อัสสุตตวตาสูตร พระไตรปิฎก เล่ม 16 ข้อ 230 ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 16:00:53 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 14:00:37 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 16:17:14 )

กายที่ไม่ใช่จิตกับกายที่ไม่เป็นกาย

รายละเอียด

เล็บที่ยาวออกมาเป็นพีชะ ไม่มีความรู้สึกไม่มีเวทนา ไม่มีวิญญาณ ผู้ศึกษาธรรมะพระพุทธเจ้าก็รู้ว่ามันไม่มีความรู้สึกสุขความรู้สึกทุกข์ โดยเฉพาะจิตของเราไม่มีความรู้สึกความทุกข์ความสุข ไม่มีเวทนา ไม่มีวิญญาณ วิญญาณดับแล้ว วิญญาณโง่ๆวิญญาณอวิชชาดับ เวทนาก็ดับ เวทนาที่มันรู้สึกสุข ทุกข์แต่เวทนาแท้ รับรู้สึกเมื่อผัสสะ ตากระทบรูปนี้ผัสสะก็เห็นรู้สึกว่าเห็น เสียงกระทบหูก็รู้สึกในเสียงเข้าใจในเสียง ถูกต้องตามความเป็นจริงว่าเป็นอย่างไร กลิ่นกระทบ กายสัมผัสก็รู้ ภายนอก ภายใน ปฏิฆสัมผัสโสภายในก็รู้ภายใน 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 17 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 01 กุมภาพันธ์ 2563 ( 13:43:14 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 14:02:08 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 16:21:02 )

กายทุกข์

รายละเอียด

ความเป็นทุกข์ของรูปและนาม

ที่มา ที่ไป

รวมคนจะมีธรรมะได้อย่างไร ? หน้า 176


เวลาบันทึก 11 ธันวาคม 2562 ( 12:56:01 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 15:03:33 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 16:26:42 )

กายนอกกายในรู้ร่วมกัน

รายละเอียด

คือ ภายนอกก็รู้ร่วมกันได้  แต่กายในคือจิต  ต่อเนื่องจากภายนอกและต้องมีภายนอกด้วยจึงเรียกว่ากาย และไม่ใช่ว่ากายนอกไม่ได้มีจิตร่วมรับรู้ด้วย  กายมีแต่นอกไม่มีในไม่ได้ กายไม่มีนอกมีแต่ในไม่ได้ เพราะว่ากายคือนอก คนเข้าใจเพี้ยนว่า กายมีแต่นอกไม่มีใน มันก็หลุดไปเลย  กายเป็นองค์ประชุม ตั้งแต่ 2 ขึ้นไปเท่านั้น  บางที่ก็มีองค์ประชุม  ของ 3 4 5 6 7 8 9 10  แล้วแต่จะสามารถรู้องค์ประชุมนั้นเท่าไหร่ รวมกันอยู่เป็นองค์ประชุม เรียกว่า กาย

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ สันติอโศก วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 01 ธันวาคม 2562 ( 12:09:17 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 14:06:47 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 16:28:32 )

กายนอกรีตกายวิปริต 3

รายละเอียด

นิรมาณกายคือกายที่ทำเอง ทำให้มันไม่เห็นจิต เป็นองค์ประกอบ นิรมาณกาย แล้วก็เป็นอทิสมานกาย เป็นกายที่มองไม่เห็นไม่รู้จะทำอย่างไรกับนามธรรมจิตของตัวเองที่มองไม่เห็นที่ทำให้มองไม่เห็นเองก็เลยโง่ เสร็จแล้วโง่ด้วยกันก็เลยเป็น สัมโภคกาย เลยไปนั่งทำจิตแบบนั้น เสพติดแบบนั้นบนโลกร่วมกัน ไปทำแบบนั้นกัน พวกนี้พวกกายนอกรีตทั้งนั้นเลย นิรมาณกาย อทิสมานกายสัมโภคกาย มันไม่ใช่นามกาย นั่นแหละคือพวกธรรมกาย สำนักธรรมกายนี่แหละทำกายวิปริต 3 นี้ทั้งนั้น

ทั้ง นิรมาณกายเป็นเทวดาเฟส 2 เฟส 3 เฟส 4 มีวิมานอยู่นั่นอยู่นี้ ฤาษีลิงดำ 9 วิมานชั้น 5 วิมานชั้น 6 วิมานชั้น 7 ฤาษีลิงดํา สายนั่งแล้วปั้นวิมานธรรมเจโต มันเป็นการยึดติดคนละทางกัน แต่มันออกนอกทางน่าสงสาร ขออภัยยกตัวอย่างธรรมกายหรือฤาษีลิงดำก็ดี สายฤาษีลิงดำสายอาจารย์มั่น มีพวกนี้ผสมกัน

ฤาษีลิงดำนั้นเด่นไปทางวิมาน ทางธรรมกายก็วิมานมหาวิมาน เป็นพวกนิรมาณกาย แต่กลับอีกที อาทิสมานกายนั้นไม่เห็น แต่ดันไปเห็นอีก ฤาษีลิงดำก็เช่นกันแต่เห็นแบบสุภกิณหา แต่ทางด้านธรรมกายเห็นอย่างอาภัสรา เปลี่ยนรูปพรหม 2 สาย วิมานพรหม เป็นพรหมนอกรีต

ที่มา ที่ไป

พ่อครู เทศน์ ทวช.อโศกรำลึก ครั้งที่ 37 นาม 5 รูป 28 ให้ถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ วันที่ 9 มิถุนายน 2561 ที่สันติอโศก

 


เวลาบันทึก 14 กุมภาพันธ์ 2564 ( 14:37:28 )

กายนั้นตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง

รายละเอียด

ไม่ทำให้ถึงจิตแล้วไม่ได้แยกแยะจิตให้ถึงมโนปวิจาร 18 ต้องทำให้เป็นเนกขัมมะ 18 ซึ่งต้องรู้จักเวทนาในเวทนา แต่กายในกายของเขาก็ยังเข้าใจผิด คนผู้นี้สักกายะทิฐิในสังโยชน์ข้อต้นก็ยังไม่ได้เลย เพราะเข้าใจกายเป็นเพียงวัตถุ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่ากายนั้นตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง เขาจะมืดหน้าเลย กายจะเป็นจิตมโนวิญญาณได้อย่างไร พระตถาคตพูดผิดหรือเปล่า เขาจะสะดุดจริงๆเลย ก็มันได้หลงผิดไปไกลมาก คำว่ากายคำเดียวสังโยชน์ข้อที่ 1 ก็ผิดแล้ว คุณจะไปพ้นจากสักกายทิฏฐิได้อย่างไร คุณสำคัญมั่นหมายความว่ากายผิดไปแล้ว ก็เลิกเลย แยกกายแยกจิตไม่เป็น

ที่มา ที่ไป

รายการเอื้อไออุ่นออนไลน์ วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน 2563


เวลาบันทึก 30 มิถุนายน 2563 ( 10:49:34 )

เวลาบันทึก 28 กรกฎาคม 2563 ( 04:57:25 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 16:36:43 )

กายนั้นต้องมีจิต แต่ถ้าจิตไม่มีกายเป็นอย่างไร

รายละเอียด

ย้ำอีก ต้องรู้จักคำว่ากายเป็นเบื้องต้นอย่างสัมมาทิฏฐิให้ได้ก่อนอย่างอื่น การสอนสังโยชน์ข้อต้นจึงให้เรียนรู้ กาย หรือ เริ่มมาบวชต้องเรียนรู้การแยกกายแยกจิตให้ได้ก่อน กายนั้นต้องมีจิต แต่ถ้าจิตไม่มีกายนั่นแหละเป็นจิตสำคัญ ตั้งแต่เป็นพีชะลงมา ไปหาอุตุ

เป็นจิตนิยามเสียแล้ว ต้องมาเรียนรู้จิตอย่างพีชะ เป็นอย่างไร จิตอย่างอุตุเป็นอย่างไรแล้วทำใจในใจมนสิการของเราให้จิตมันเป็น อุตุ แต่ธาตุแท้ของเราเป็นจิต เป็นจิตนิยาม เป็นสัตว์ แต่ทำใจในใจของตนไม่ให้ปรุงแต่งเป็น 2 เป็น 3 แต่ให้เป็น 1 ให้รู้ความจริงตามความเป็นจริง รู้ ตากระทบรูปก็มีแต่รูป หูกระทบเสียงก็มีแต่เสียงอย่างนี้

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ  ธรรมบรรยาย คุหัฏฐกสุตตนิทเทส ตอน 4 วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม 2564 แรม 2 ค่ำเดือน 7 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 10 กรกฎาคม 2564 ( 12:29:08 )

กายนี้คือวิญญาณ

รายละเอียด

ก็คือเจตสิกของกาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร แล้วมันก็ละไว้ ในฐานที่เข้าใจว่าต้องมีรูป  องค์รวมขึ้นมาแล้วก็ต้องเป็นรูปสัมผัสได้ สัมผัสได้ในความหมายของกายนี้คือวิญญาณนั้น ต้องสัมผัสได้ด้วยภายนอก ตา หู จมูก ลิ้น กาย โผฏฐัพพะ ข้างนอก กายต้องมีภายนอกด้วย ใช้ศัพท์คำว่ากายในกายพิจารณาในโพธิปักขิยธรรมจะต้องพิจารณากายในกาย คำว่าพิจารณากายในกายนั้นไม่ขาดภายนอก แต่เน้นไปพิจารณาที่ข้างใน 

วิญญาณพระพุทธเจ้าท่านขยายไว้ในพระไตรปิฎกอันหนึ่ง ว่า วิญญาณัง 

อนิทัสสนัง ไม่อาจมองเห็นได้ ไม่อาจชี้บอกได้  
อนันตัง ไม่มีขอบเขต ไม่มีที่สุด 
สัพพโต ปภัง แจ่มใส, แผ่กระจายไปโดยทั้งปวง 
ทูรังคมัง ไปได้ไกล (เดินทางไวกว่าแสง) เป็นนิวเคลียร์ฟิชชัน 
เอกจรัง ไปแต่เพียงผู้เดียวไม่เกี่ยวกับใคร 
อสรีรัง ไม่มีรูปร่าง หน้าตา หรือรูปทรง 
คูหาสยัง อาศัยกายเป็นขอบเขตคูหากำบังอยู่
 
ผู้ที่เริ่มศึกษาไปจะมีสภาวะจะเข้าใจได้มากขึ้นว่า เราสัมผัสได้เองเป็นปกติทางของเราเอง เราก็จะรู้ของเราได้เองแล้วก็จะตรงกับคนอื่นที่มีความรู้ที่ตรงกัน มันจะตรงกันจริงๆเลย แต่มันต่างคนต่างเห็นต่างคนต่างสัมผัสของตัวเองกัน ก็ต้องรู้ที่จิตของเราเองวิญญาณของเราเองเราก็ดูของเราเองเราก็จะรู้เห็นของเราเองของใครก็ต้องดูของใคร ของคนนั้นก็ต้องรู้ของคนนั้น มันก็จะรู้ความจริงตามความเป็นจริงของตัวเอง จึงจะเป็นปัจจัตตังเวทิตัพโพวิญญูหิติจะรู้แจ้งของตัวเอง

ที่มา ที่ไป

พุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ครั้งที่ 44 วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563


เวลาบันทึก 10 กุมภาพันธ์ 2563 ( 08:05:43 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 14:11:35 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 16:45:35 )

กายนี้คือวิญญาณ

รายละเอียด

ทำไมอาตมาต้องตั้งชื่อชื่อนี้ เพราะทุกวันนี้ศาสนาพุทธเขาไม่รู้เรื่องแล้วว่า กาย คือวิญญาณ ทุกวันนี้ส่วนใหญ่เลยแม้แต่จะเป็นปุโรหิตทางศาสนาอยู่ก็ตาม เขาก็ยังไม่สำคัญมั่นหมายว่ากายนี้คือวิญญาณ พระพุทธเจ้าถึงมาเน้นว่า กายนี้เราเรียกว่าจิต มโน วิญญาณ​ ต้องกลับไปอย่างนั้นเตือนให้คนเข้าใจให้ชัดเจน เพราะถ้าไม่เข้าใจว่ากายนี้คือวิญญาณ มันก็จะออกนอกเรื่อง

ที่มา ที่ไป

รายการกายนี้คือวิญญาณ วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 04 มีนาคม 2563 ( 10:53:29 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 08:00:04 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 07:22:15 )

กายนี้สำคัญที่สุดอย่างไร

รายละเอียด

ทวนอีก 1. คุณต้องรู้ว่ากายนี้สำคัญที่สุด ถ้าคุณทำจิตของคุณให้ไม่เป็นกายได้ เมื่อนั้นคุณพ้นทุกข์พ้นสุข เมื่อนั้นคุณถือว่าอยู่นิพพานใกล้นิพพาน กำลังเข้าหานิพพาน ถ้าคุณสามารถทำได้ขนาดอย่างที่ว่านั้น

ถ้าคุณยังไม่เข้าใจเรื่องกาย มิจฉาทิฏฐิคำว่ากายไปตั้งแต่ต้นเลย เช่น เข้าใจว่ากายคือวัตถุเท่านั้นไม่มีจิตเกี่ยวข้องเลย คนนี้ปิดประตูนิพพาน ที่เข้าใจว่ากายไม่มีจิตเลย กายคือวัตถุดินน้ำไฟลมคนอย่างนี้มีเยอะไหม คนที่ไม่สัมมาทิฏฐิทั้งหลายแหล่แม้แต่นั่งหลับตาเอา แม้แต่เรียนจบเปรียญ 9 จบด็อกเตอร์ 10 ใบทางศาสนาพุทธก็ตาม จะไปจบ ฮาร์เวิร์ด stanford อะไรก็แล้วแต่ ไม่ใช่ว่าอาตมาไปดูถูก แต่อาตมาเชื่อว่าถ้าพวกใดก็แล้วแต่ที่เป็นอาจารย์สอนศาสนาต่างๆเหล่านั้น ศาสนาพุทธนั่นแหละอยู่ในมหาวิทยาลัยของเขาต่างๆ ถ้าเขาเป็นอาริยะแม้แต่แค่พระโสดาบันเขาจะเข้ามาเมืองไทย เพราะที่นี่เป็นชมพูทวีป มีมิตรดีสหายดีสังคมสิ่งแวดล้อมดี มีบุคคลดีมีธรรมะดีมีเครื่องอาศัยดีที่พร้อมจะทำให้เขาเป็นอะไรได้ เขาจะรู้เลยเขาจะไปอยู่ไปทำไมอยู่ไปสอนแค่รู้ตัวเองก็ยังไม่บรรลุ เขาต้องการสอนโดยที่ตัวเองไม่บรรลุหรือ อาจารย์ไหนก็อยากจะเป็นผู้บรรลุแล้วมาสอนเขาทั้งนั้นแหละ มีแต่อาจารย์เสล่อไม่ต้องการบรรลุเช่นพวกมหายาน เพราะไปเข้าใจว่าบรรลุแล้วจะต้องตายสูญ เถรวาทเข้าใจว่าเป็นอรหันต์ตายแล้วต้องสูญ เป็นชาติสุดท้ายแล้วชาตินี้ นี่คือมิจฉาทิฐิอย่างสำคัญเลย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม เรียนรู้วิญญาณฐิติ 7 ให้ถึงอรหันต์ วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 พฤษภาคม 2564 ( 15:26:52 )

กายนี้แยกเป็นกุศลอกุศลหรือไม่

รายละเอียด

ถ้าเป็นกายเฉยๆก็ไม่เป็นกุศลหรืออกุศล แต่ถ้ามันเกิดกรรมเรียกว่า กายกรรม เกิดการกระทำ ทั่วไปธรรมดาเขาจะบอกว่ากายนี้คือภายนอก ถ้ากายนี้เคลื่อนไหวเขาก็เรียกว่า “กายกรรม” ซึ่งอาตมาก็ว่า “กาย” หรือว่า “ภายนอก” ดูเห็นอาการภายนอกเคลื่อนไหว ท่าทางลีลา แขนขาเนื้อตัว แม้แต่กระพริบตาหรือใครกระดิกหูก็ได้ ร่างภายนอกเคลื่อนไหว เขาเรียก “กายวิญญัติ” ไม่ได้เรียก กายกรรม แต่กายกรรมเขาก็ไปแปลความหมายเดียวกับ กายวิญญัติ ซึ่งไม่ใช่ 

ภาษาพูดเฉยๆว่า “กาย” ไม่ได้บอกว่า “กุศล” หรือ “อกุศล” แต่ที่พูดถึง “ธรรมกาย” “พรหมกาย” ก็เป็นกุศลทั้งนั้น แต่ถ้า “อพรหมกาย” ก็เป็นอกุศล

สมณะธรรมทาบฟ้า...ถ้ายังไม่เป็นอรหันต์ กาย ก็ยังมีกุศลอกุศลปนกัน 

พ่อครูว่า...ใช่ เป็นพระอรหันต์ขึ้นไปก็มีกายที่มีแต่กุศลไม่เป็นบาป กุสลัสสูปสัมปทา ไม่มีบาปไม่มีบุญ สัพพปาปัสสอกรณัง ไม่มีบาป หรือบุญ ชีวิตที่เหลือไม่ต้องทำบุญ เป็นพระอรหันต์แล้วไม่ต้องทำบุญ การกระทำทุกกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมของพระอรหันต์เป็นกุศลทั้งนั้น หมดบุญ ปุญญปาปริกขีโณ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ โสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 24 วันจันทร์ที่ 18 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 30 มกราคม 2564 ( 17:40:00 )

กายปจารก

รายละเอียด

การยังกายให้ไหว , การคะนองกาย

ที่มา ที่ไป

จากค้าบุญคือบาป หน้า 214


เวลาบันทึก 09 กรกฎาคม 2562 ( 14:26:04 )

เวลาบันทึก 29 เมษายน 2563 ( 18:18:19 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 16:55:24 )

กายปฏิสังเวที

รายละเอียด

คือให้รู้กายอย่าขาดกาย แม้หลับตา ไม่รู้ภายนอกมีแต่ลมหายใจก็อย่าขาดจากลมหายใจที่จะต้องไปรู้ อยู่ในภพเลย ผิดเลย การตรัสรู้นั้นจะต้องมีกาย ไม่มีกายตรัสรู้ไม่ได้ จึงบอกว่าต้องสัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย ไม่อย่างนั้นนับเป็นพระอรหันต์ไม่ได้ พระอรหันต์ทุกองค์จะต้องสัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย แม้คุณนั้นจะยืนยันด้วยกายสักขีต้องเอามาเปิดเผยได้ จะต้องสัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย จึงจะขึ้นเป็นพระอรหันต์ พระพุทธเจ้ายังยอมอนุโลม แม้คุณจะบอกว่ายืนยันด้วยกายสักขี แล้วยืนยันด้วยกับใครได้ไหม คำว่ากายต้องยืนยันกับใครคนอื่นได้ ต้องมีภายนอก ต้องมีคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมรับรู้กัน พระอรหันต์จึงบอกด้วยกันได้ คนจะไปบอกตัวเองว่าเป็นอรหันต์เลยนะเหมือนพระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีใครรู้เลยว่าโลกนี้มีปัจเจกสัมมาสัมพุทธะ เพราะว่าปัจเจกสัมมาสัมพุทธะท่านไม่ประกาศตนเลย ท่านเป็นพระพุทธเจ้า แต่ท่านไม่ได้ประกาศ เลยไม่มีในทำเนียบของพระพุทธเจ้าเลย จึงเรียกว่าไม่ใช่พระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง เพราะท่านไม่ประกาศ 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม 2563


เวลาบันทึก 30 มิถุนายน 2563 ( 09:38:37 )

เวลาบันทึก 28 กรกฎาคม 2563 ( 04:59:29 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 17:05:13 )

กายปริยันติกะ

รายละเอียด

ซึ่งมีกายเป็นที่สุด อันหมายถึงเวทนา

หนังสืออ้างอิง

ค้าบุญคือบาป หน้า 214


เวลาบันทึก 09 กรกฎาคม 2562 ( 14:26:50 )

เวลาบันทึก 29 เมษายน 2563 ( 16:17:05 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 07:22:48 )

กายปัสสัทธิ

รายละเอียด

1. ความสงบระงับแห่งนามธรรมหรือเจตสิก 3

2. ความสงบระงับแห่งกาย , ความสงบระงับแห่งกองเวทนา – สัญญา – สังขาร 

3. ความสงบระงับแห่งนามธรรมหรือเจตสิก(ความสงบระงับแห่งกองเวทนา สัญญา สังขาร ไม่ใช่ร่างอันเป็นธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ภายนอก)

หนังสืออ้างอิง

จากค้าบุญคือบาป หน้า 214,226

จากคนจะมีธรรมะได้อย่างไร / เราคิดอะไร ฉ.287 หน้า 49


เวลาบันทึก 09 กรกฎาคม 2562 ( 14:27:58 )

เวลาบันทึก 29 เมษายน 2563 ( 16:18:09 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 02:49:04 )

กายปัสสัทธิ

รายละเอียด

ความสงบจากกิเลส ดับกิเลสออกไปจากจิตได้ จิตใจก็สงบ ก็เหลือรูปกับนาม (ธรรมะ 2) ที่สงบจากกิเลสนั่นเอง

กายปัสสัทธิ นี้จึงไม่ใช่หมายเอา "ร่างภายนอกจิตโน่นที่หยุดนิ่งหรือสงบ" แต่มันคือจิตแท้ๆที่สงบจากกิเลสกันอย่างถูกตัวถูกตนของกิเลสจริงต่างหาก

ที่มา ที่ไป

รวมคนจะมีธรรมะได้อย่างไร ? หน้า 176-177

หนังสืออ้างอิง

รวมคนจะมีธรรมะได้อย่างไร ? หน้า 176-177


เวลาบันทึก 11 ธันวาคม 2562 ( 13:06:28 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 15:04:54 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 02:41:46 )

กายปัสสัทธิ

รายละเอียด

ความสงบระงับจากกิเลสแห่งกองเวทนา สัญญา สังขาร ไม่ใช่แต่เพียงความสงบทางร่างกายอันเป็นเพียงธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ภายนอกเท่านั้น

ที่มา ที่ไป

รวมศัพท์อโศก


เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 08:19:17 )

กายปัสสัทธิ

รายละเอียด

กายปัสสัทธิ ไม่ได้หมายความว่ากายนิ่งๆ กายต้องมีสองเสมอ มี 1 ไม่ได้แต่ผู้ที่มีมิจฉาทิฏฐิจะเข้าใจว่ากายนี้เป็นแค่ดินน้ำไฟลมไม่มีจิตไปร่วมด้วย นั่นแหละคือมิจฉาทิฏฐิ เป็นพวกโมฆะไปแล้ว กาย พระพุทธเจ้าท่านเน้นให้เอาจิตด้วยซ้ำไป กายคือจิต มโน วิญญาณ ในพระไตรปิฎกเล่ม 16 ข้อ 230 อย่างนั้นด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นจะต้อง ชัดๆให้ดีเลย ไม่อย่างนั้นไปไม่ได้ไปไม่ถูก

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุก์ที่ 29 พฤษภาคม 2563


เวลาบันทึก 30 มิถุนายน 2563 ( 09:36:06 )

เวลาบันทึก 28 กรกฎาคม 2563 ( 05:00:25 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 02:36:41 )

กายปาคุญญตา

รายละเอียด

"กายสงบหรือความสงบกาย" ที่เป็นโลกุตระนี้คือ กิเลสมันออกไปจากใจ ใจจึงยิ่งสะอาดคล่องแคล่วปราดเปรียวว่องไว

ที่มา ที่ไป

รวมคนจะมีธรรมะได้อย่างไร ? หน้า 177

หนังสืออ้างอิง

รวมคนจะมีธรรมะได้อย่างไร ? หน้า 177


เวลาบันทึก 11 ธันวาคม 2562 ( 13:17:25 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 15:05:27 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 02:40:02 )

กายปาคุญญตา

รายละเอียด

กายปาคุญญตา หมายความว่าอย่างไรเกี่ยวข้องกับภายนอกภายในทั้งหมด สัมผัสกับโลก สัมผัสทุกสิ่งทุกอย่างภายนอก เจตสิก โดยเฉพาะเจตสิก 3 เวทนา สัญญา สังขาร 

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม 2563


เวลาบันทึก 19 พฤศจิกายน 2563 ( 12:05:06 )

กายปาคุญญตา

รายละเอียด

เพราะความสงบของพระพุทธเจ้านั้น มันจะค้านแย้งกัน กายปาคุญญตา ที่แปลว่า ความคล่องแห่งกาย โอ้โห!.. กายยิ่งแคล่วคล่องว่องไวเลยเพราะจิตสงบ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับภายนอกชอบใจชื่นใจกับวัตถุภายนอก หรือไม่ชอบใจไม่ชื่นใจกับวัตถุภายนอกก็รู้กิเลสอันนี้แล้วก็ทำให้กิเลสตัวนี้หายไป

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาพาถลกหนังพญานาคจอมหลับตา วันพุธที่ 26 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 22 พฤษภาคม 2565 ( 12:05:36 )

กายปาคุญญตา จิตปาคุญญตา

รายละเอียด

กรรมกิริยาการทำงานได้ด้วยนะ อุเบกขาแทนที่จะเฉยๆกลางอยู่เฉยๆ กลางคืออะไรคือไม่ไปไม่มา ไม่ทำอะไร ไม่กระดุกกระดิก กลางๆเฉยๆ แท้จริงไม่เฉยๆกลางๆ แต่มันเร็วด้วยเป็นกายปาคุญญตา จิตปาคุญญตา คล่องแคล่วว่องไวเหมือนอย่างพระโพธิรักษ์นี้ คล่องแคล่วว่องไว เขาบอกว่าอรหันต์อะไรอย่างกับลิง อรหันต์มันต้องนิ่งๆเงียบๆเฉยๆช้าๆสุภาพเรียบร้อย สุ แปลว่าดี ภาพ คือภาวะ นี่แหละภาวะดี แสดงอย่างเต็มแรงไม่ต้องแอ๊คท่าไม่ต้องดราม่า 

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 28 กันยายน 2563


เวลาบันทึก 16 พฤศจิกายน 2563 ( 11:40:44 )

กายปาคุญญตาของพระอรหันต์จะเร็วกว่าลิง

รายละเอียด

แม้จะเป็น กายปาคุญญตาคือ กายที่สำเร็จแล้วคล่องว่องไวเป็น มุทุภูตธาตุ หากไม่เข้าใจกาย แต่กายปาคุญญตาคือ เจตสิก 3  คือ เวทนา สัญญา สังขาร คือ กองหรือขันธ์ ที่วิมุติแล้ว ก็จะมีเวทนา สัญญา  สังขาร วิญญาณที่คล่องแคล่วว่องไว ชำนาญ ชำนาญออกมาทั้งภายนอกภายใน  ไม่ใช่เฉื่อยนะ แคล่วคล่อง ทั้งภายนอกและภายใน ไม่ใช่คนที่วิมุติจะเป็นคนเฉื่อย ไม่ใช่ อย่างโพธิรักษ์นี้แสดงธรรมปุ๊บปั๊บ คนอะไรจะเร็วกว่าลิงอีก พระอรหันต์จะเร็วกว่าลิงอีก ไม่ได้แย้งเล่นนะ อาตมาพูดความจริง ให้ติดตามฟังให้ดีๆ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ ฌานของพุทธต้องเกิดจากจรณะ 15 วิชชา 8 วันพุธที่ 13 มกราคม 2564 ที่บ้านราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 30 มกราคม 2564 ( 11:01:27 )

กายปโกป

รายละเอียด

ความกำเริบไปทางผิดของกาย

หนังสืออ้างอิง

รวมคนจะมีธรรมะได้อย่างไร ? หน้า 176


เวลาบันทึก 11 ธันวาคม 2562 ( 12:58:33 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 15:06:42 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 02:40:44 )

กายผันทิตะ

รายละเอียด

ความดิ้นรนทางกาย

หนังสืออ้างอิง

ค้าบุญคือบาป หน้า 214


เวลาบันทึก 09 กรกฎาคม 2562 ( 14:28:45 )

เวลาบันทึก 29 เมษายน 2563 ( 18:19:08 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 07:23:09 )

กายภายนอก กายภายใน เกี่ยวข้องเสมอ

รายละเอียด

ฝี เป็นสิ่งที่ไม่น่ามีไม่น่าเป็นเลย อาตมาเคยเกิดถึงขั้นเป็นฝีดาษ ฝีดาษคือ กาฬโรค แต่ดีว่าหายแล้ว อาตมาตายไป 15 วินาที ชักดิ้นเงียบเลยแลบลิ้นยาว ยายเฝ้าอยู่เล่าให้ฟังชักตอนป่วยเป็นไทฟอยด์ ฟื้นขึ้นมา ต่อมาเป็นฝีที่โคนขา ระบมกว่ามันจะแตกมันก็ไม่แตก ตอนนั้นใช้สบู่ซันไลต์ ตัดเอามาแปะ หัวมันกลมๆนะ ฝีตรงโคนขา หายแล้วต้องหัดเดินเลย ทั้งหมดเป็นองค์ประกอบของกาย คือสิ่งที่เราเกี่ยวข้องทั้งหมด คำว่ากายคือสิ่งที่เราจะต้องเกี่ยวข้องทั้งหมดทั้งภายนอก เรียกว่า กายภายนอก กายภายใน มันต้องเกี่ยวข้องอยู่เสมอ เพราะภายในกับภายนอกมันแยกกันไม่ออก มันเหมือนกับเหรียญ 2 ด้าน คุณผ่าเหรียญให้บางอย่างไร ก็จะไม่หมดความเป็น 2 ด้าน 

ที่มา ที่ไป

รายการ ทำวัตรเช้า งาน ว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน ครั้งที่ 7 ผู้ข้องอยู่ในถ้ำอันไกลจากวิเวก วันอังคารที่ 31 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 10 มกราคม 2563 ( 17:02:28 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 14:14:25 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 07:24:08 )

กายภาวนา

รายละเอียด

คือ การอบรมกาย การฝึกหัดกาย

หนังสืออ้างอิง

 “คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1หน้า 238


เวลาบันทึก 10 พฤศจิกายน 2562 ( 12:52:57 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 15:07:10 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 07:25:12 )

กายมัจเฉร

รายละเอียด

ความเห็นแก่ตัว

หนังสืออ้างอิง

ค้าบุญคือบาป หน้า 226


เวลาบันทึก 09 กรกฎาคม 2562 ( 14:29:18 )

เวลาบันทึก 29 เมษายน 2563 ( 16:18:35 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 07:24:43 )

กายมี 2 นัย

รายละเอียด

คำว่า กาย มีสองนัย กายที่ไม่ใช่กาย ตัดออกไป นั่นไม่ใช่กายเด็ดขาด ยังไม่ตัดออกไป เป็นกาย แต่ไม่ได้เรียกว่า กาย ยังเป็นร่างอยู่ในร่างของเรา ทำให้สายหลับตาไม่เข้าใจ เลยเอาร่างกายไปออกป่า ไม่ใช่ กายไม่ได้หมายถึงแค่ความรู้สึกภายนอกเป็นแท่งก้อนเท่านั้น เป็นร่างเท่านั้นแต่มันไม่ถึงใจ กายนั้นหมายถึงความรู้สึก ไม่ใช่แค่ร่าง ส่วนที่แยกกายแยกจิตได้ พระพุทธเจ้าสอนเมื่อออกบวชให้แยกกายแยกจิตให้ได้ อันไหนเป็นอุตุธาตุอันไหนเป็น พีชธาตุ อันไหนเป็นจิตธาตุ หากแยกสามระดับนี้ไม่ออก คุณทำนิพพานไม่ได้ ทำจิตให้แยกเป็นอุตุธาตุไปเลยไม่ได้ ระดับธาตุที่เป็น พีชธาตุ เป็นชีวะแต่ไม่มีสุขไม่มีทุกข์แล้วไม่จองเวรจองกรรม มีพลังงานแม่เหล็กเป็นพลังงานดูดเหนี่ยวนำ เป็นนิวเคลียร์ฟิวชันดูดได้ ถ้าเป็นนิวเคลียร์ฟิชชันแล้วตามไม่ได้ไปถึงไหนก็ไม่รู้ ก็ไม่ต้องกังวล มันก็ไปของมัน ให้มาดูที่ผมขนเล็บฟันหนังของเรานี่แหละ ออกไปมากที่สุดก็คือผม ออกไปส่วนหนึ่งก็คือขน เล็บ บางคนก็ใช้เล็บยาวเลย พยายามรักษาไว้ นึกว่าเป็นสิ่งที่เก่งวิเศษสามารถ แล้วก็ไม่ต้องทำอะไรหรอกมัวแต่รักษาเล็บ เราก็ดูให้พอเหมาะพอควรก็พอ ถ้าเอาไว้ขนาดนี้ทำประโยชน์ได้ดีมาก 

ที่มา ที่ไป

รายการ ทำวัตรเช้า งานว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน ครั้งที่ 7 สู่แดนทองฉลอง 50 ปีโพธิกิจ วันที่ 1 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 10 มกราคม 2563 ( 17:30:46 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 13:51:37 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 07:27:08 )

กายมี 2 อย่าง

รายละเอียด

กายมี 2 อย่างคือร่างกายและจิตวิญญาณด้วย กาย มีอย่างเดียวคือมีแต่ ร่างข้างนอกนี้ไม่ได้ จะอธิบายอีกหลายคาบแต่วันนี้เวลาหมด 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม 2563


เวลาบันทึก 20 พฤศจิกายน 2563 ( 09:56:49 )

กายมีนัยยะสอง

รายละเอียด

สื่อสารให้รู้ภาคปฏิบัติ เทวเป็นคำกลางๆ เป็นคำกว้างใหญ่ไพศาลมากมาย กายก็แปลว่าสอง แต่เป็น วิสามัญนามยิ่งขึ้นกว่าเทวะ กายหากเข้าใจแต่เพียงภายนอกไม่มีภายในคนนั้นมิจฉาทิฏฐิ เมืองไทยคำว่ากาย แม้แต่นักศาสนาก็เข้าใจผิดว่า กายคือสิ่งเดียวคือภายนอกวัตถุเลยก็ผิดไป ล.16 ข้อ 230 ที่บอกว่า ตถาคตเรียกกายว่าคือจิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง หากเข้าใจกายผิด คำแรกของโพธิปักขิยธรรม 37 คือกายในกาย 

ที่มา ที่ไป

พิธีบูชาพระสารีริกธาตุ วันอังคารที่ 9 มิถุนายน 2563


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 10:59:37 )

เวลาบันทึก 28 กรกฎาคม 2563 ( 05:04:32 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 03:47:32 )

กายมีนามธรรมรวมจึงเป็นกาย

รายละเอียด

พอหมายถึงจิตเข้าไป รูปคือสิ่งที่ถูกรู้ เป็นองค์ประกอบรวมเป็นองค์ประชุมร่วม คำว่าร่างคำว่ารูปนี้ เป็นองค์ประกอบรวมเป็นองค์ประกอบร่วม แต่ต้องมีนามกำกับอยู่ ถ้าหากไม่มีนามกำกับไม่เรียกว่ากายไม่มีนามธรรมกำกับหรือไม่มีจิตเข้าไปร่วมอยู่ด้วยไม่เรียกว่ากาย แม้จะมีพลังงานของชีวะพืช เข้าไปร่วมก็ยังไม่เรียกว่ากาย

ที่มา ที่ไป

รายการบ้านราช กายนี้คือวิญญาณ วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 29 กุมภาพันธ์ 2563 ( 17:08:58 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 14:16:34 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 07:26:15 )

กายมีสติ

รายละเอียด

สติต้องตื่นข้างนอกเป็นหลัก  เป็นพลังใหญ่ พลังข้างในจิตนั้นเป็นพลังงานอยู่ในตัวเองเท่านั้น มันไม่สามารถที่จะไปทำงานร่วมกับอันอื่นได้ 

ฉะนั้นเราจะต้องมีพลังงานภายนอกประสานกับตัวพลังงานภายในเรา จับคู่กัน แล้วข้างนอกกับข้างใน ต้องเป็นหนึ่งเดียวกันได้ จับคู่กันจนเป็นหนึ่งเดียวกันได้ ถึงจะเรียกว่า กาย

ที่มา ที่ไป

รายการทำวัตรเช้า งานว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน บ้านราช วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 02 มกราคม 2563 ( 15:21:41 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 14:18:28 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 07:25:44 )

กายมีสภาพ 2

รายละเอียด

คำเริ่มต้นคือคำว่ากายมีสภาพ 2 ภายนอกภายใน มีรูปมีนาม จะต้องมีสภาพ 2 มีรูปมีนาม ถ้าไม่มีสภาพ 2 นี้ไม่ได้ศึกษาธรรมะพระพุทธเจ้าเลย จึงต้องมีสภาพ 2 นี้เท่านั้น มีรูปมีนาม ต้องปฏิบัติศึกษาจะต้องมีการกระทบภายนอก กระทบทางตาหูจมูกลิ้น โผฏฐัพพะ กายกระทบทั้งหมด แล้วจึงเกิดการเรียน เกิดการเรียนรูปนามแล้วก็เป็น อายตนะ คุณก็จัดการอายตนะของคุณ  

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ สันติอโศก ผลงาน 50 ปี ตามอนุสาสนีปาฏิหาริย์ของพ่อครู วันพุธที่ 18 มกราคม 2566  แรม 12 ค่ำ เดือนยี่ ปีขาล ปี 2566 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 30 มกราคม 2566 ( 11:48:21 )

กายมุทุตา

รายละเอียด

กายมุทุตา คือ เวทนาสัญญาสังขารเร็วแคล่วคล่องว่องไว ตา คือคำนาม มุทุคือ คุณศัพท์ของมันเอง มุทุ คือแกนจิต ที่เร็วยิ่งกว่านักเล่นกล  คนที่ตามไม่ทันก็จะบอกว่าพูดสับสนกลับไปกลับมา ท่านพูดกลับไปกลับมากับคนที่รู้ด้วยกันว่าคนจะเร็วรู้ทันไหม หากรู้ไม่ทัน มันยังถูกอยู่ก็ไปนึกว่ามันผิด มันยังผิดอยู่ก็นึกว่ามันถูก มันก็เสียเวลากับคุณหมุนไม่ทัน คุณหมุนไปไม่รู้กี่รอบแล้วคุณก็ยังไม่รู้ สรุปแล้ว มุทุ ก็เป็นตัวแกนกลาง รู้แววไว คล่องแคล่ว เป็นเวทนาคล่องแคล่ว สัญญาก็คล่องแคล่ว สังขารก็คล่องแคล่ว เป็นเจตสิก ในพจนานุกรมก็แปล กายว่า หมวดของเวทนา สัญญา สังขาร คนไม่มีสภาวะจะไปแปลอย่างไรได้ พวกเราพอจะรู้ ยิ่งพวกเรามีสภาวธรรมแล้วก็จะรู้ว่าเวทนา สัญญา สังขารจะใช้ประโยชน์อย่างไร และกาละจิตของเราเป็นเวทนาอย่างไรปรุงแต่งเป็นสังขารอย่างไร เราก็จะทำสังขารของเราให้เป็นอภิสังขารได้เร็วขึ้นเพราะปฏิบัติจนกระทั่งสังขารสะอาด เป็นผลจากเราได้ทำเวทนากับสัญญา มีเหตุที่ไม่บริสุทธิ์อย่างไรเราก็กำจัดจิตของเราก็ยิ่งบริสุทธิ์สะอาดแล้วก็ปรุงแต่งด้วยความสะอาดก็ยิ่งเป็นจิตสังขารที่สะอาดๆๆ ไม่มี

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช 2 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 19 ตุลาคม 2562 ( 13:22:13 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 14:19:56 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 07:28:11 )

กายมุทุตา

รายละเอียด

ความหัวอ่อนของกาย(องค์ประชุมแห่งเจตสิก 3)  ความหัวอ่อนแห่งนามธรรม คือเจตสิก 3 อันได้แก่เวทนา สัญญา สังขาร ซึ่งไม่ใช่ร่าง ที่เป็นธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ

หนังสืออ้างอิง

จากคนจะมีธรรมะได้อย่างไร / เราคิดอะไร ฉ.287 หน้า 49


เวลาบันทึก 09 กรกฎาคม 2562 ( 14:30:01 )

เวลาบันทึก 29 เมษายน 2563 ( 16:19:02 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 02:50:13 )

กายมุทุตา

รายละเอียด

คือ ความหัวอ่อนของธรรมะ 2 ซึ่งเน้น จิต มโน วิญญาณ อยู่จิตทางด้านศรัทธา เป็นจิตที่หัวอ่อน (มุทุ) คือ เป็นจิตที่ปรับได้เร็วง่าย ว่านอนสอนง่าย ไม่ยึดมั่นถือมั่น ถึงกับดื้อดึงดันหัวชนฝา เพราะสิ้นกิเลสขั้นอุปาทาน หรือขั้นอตินิเวส ไม่มีความยึดมั่นถือมั่น ชนิดที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงจิตหัวอ่อน ทั้งทางด้านปัญญา ก็เป็นความฉลาดโลกุตระที่ไม่แข็งกระด้าง มีความแววไว ไหวพริบ ปฎิภาณสูง จิตหัวอ่อนด้านเจโต หรือศรัทธาก็ปรับง่าย ปรุงให้เป็นไปได้ง่ายให้มีอย่างนั้น ให้ไม่มีอย่างนี้ ได้ง่ายเร็วทันใจ สรุปก็คือ ทางด้านปัญญา ก็เกิดไหวพริบปฏิภาณง่าย รู้ได้เร็ว ฉับไว ทั้งด้านเจโต หรือศรัทธา ก็ดัดจริต-ปรับจิตทำให้เชื่ออย่างนั้น เป็นอย่างนี้ได้ง่าย รวดเร็ว ไววับ “ปานนักมายากล” ทำให้เกิด-ให้ดับได้ฉับพลันทันที

หนังสืออ้างอิง

 “คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1 หน้า 242


เวลาบันทึก 10 พฤศจิกายน 2562 ( 12:58:29 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 15:08:30 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 07:28:48 )

กายมุทุตา

รายละเอียด

คือ ความอ่อนไหวง่ายของกาย

หนังสืออ้างอิง

 “คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1หน้า 267


เวลาบันทึก 10 พฤศจิกายน 2562 ( 13:16:02 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 15:09:02 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 07:29:14 )

กายลหุตา

รายละเอียด

คือ เป็นความว่าง ความเบาของเจตสิก 3 คือ เวทนาก็ว่างเบาสบาย ง่ายเร็ว สัญญาก็ว่าง เบาสบายง่าย สังขารก็ว่างเบาสบายเร็ว

หนังสืออ้างอิง

“คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1 หน้า 267


เวลาบันทึก 10 พฤศจิกายน 2562 ( 14:25:53 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 15:09:52 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 07:29:43 )

กายวิญญัติ

รายละเอียด

คือ มีทั้ง นัจจะ คีตะ วาทิตะ 3 อย่างรวมกัน เรียกว่า “กายวิญญัติ”

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราชธานีอโศก วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 15 ตุลาคม 2562 ( 16:27:47 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 14:20:51 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 07:30:03 )

กายวิญญัติ วจีวิญญัติ

รายละเอียด

วจีสังขาร ยังไม่ออกมาทางภายนอก วจีสังขารในสังกัปปะ 7 

ที่มา ที่ไป

รายการบ้านราช กายนี้คือวิญญาณ วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 29 กุมภาพันธ์ 2563 ( 17:22:45 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 14:21:42 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 07:30:25 )

กายวิญญัติ วจีวิญญัติ คือการเคลื่อนไหวทางภายนอก ลหุตา มุทุ กัมมัญญาเป็นส่วนข้างใน

รายละเอียด

ผู้ที่ปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติ ลหุตา มุทุตา กัมมัญญาแล้วจะมี กายวิญญัติ วจีวิญญัติ คือการเคลื่อนไหวทางภายนอก ส่วนข้างในเป็นตัวตั้ง ลหุตา มุทุ กัมมัญญา

อันนี้เรียกรวมว่า วิการรูป อาการของรูปอย่างยิ่ง วิการะ อาการของรูปต่างๆอย่างสมบูรณ์แบบ แม้ที่สุด กายวิญญัติ วจีวิญญัติ เขาเรียก วิญญัติ รูป 2 ก่อนที่จะมี วิการรูป 

วิการรูปก็มีลหุตา มุทุตา กัมมัญญา เหลืออีก ลักษณะ 4 เป็นภาษาปลายเปิด

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการพุทธศาสนาตามภูมิ เรียนรู้สภาวะของรูป 28 สู่ความเป็นอรหันต์ วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 04 สิงหาคม 2565 ( 19:23:26 )

กายวิญญัติ วจีวิญญัติของพระอรหันต์

รายละเอียด

เช่น  อาตมาพูดอย่างเร็วทำท่าทางกายกรรม 

ในวิการรูป ก็มี กายวิญญัติ วจีวิญญัติอีก 2 ตัว ก็คือการเคลื่อนไหวของร่างกายกับภาษาคำพูด จัดการได้เร็ว ได้ไว ได้ทันทีทันการ  เพราะฉะนั้นคนที่เป็นพระอรหันต์ยิ่งคล่องแคล่วรวดเร็วว่องไวเหมือนอาตมานี้ ลิงยังสู้ไม่ได้เลย ก็ยังหาว่าอรหันต์อะไร ยิ่งกว่าลิง ไม่สงบเลย 

เป็นความสงบตื้นๆ สงบของเขานั้นต้องเอาอย่างไม่กระดุกกระดิกไม่กระพริบตาไม่คิดไม่นึกไม่พูด ก็เหมือนคนตายเราดีๆ ต้องทำคนมีชีวิตให้ดีทำความคล่องแคล่วรวดเร็วว่องไวสามารถสร้างสรรค์ ทำอะไรได้ยิ่งกว่าพระเจ้า ทำอะไรให้แก่สังคมสร้างสรรค์อะไรให้แก่สังคมยิ่งกว่าพระเจ้า นี่ต่างหากคือพระอรหันต์ แต่ถ้าพระอรหันต์เหมือนคนตาย ซื่อบื้อ นั่งนิ่ง ใครจะเคาะอะไรก็เฉยๆ นั่นมันอรเหว ไม่ใช่อรหันต์ ขออภัยใช้ภาษาแสลงฟังดูไป แต่ก็สื่อความหมายให้รู้พอสมควรว่ามันไม่ใช่ 

อรหะ แปลว่าไม่ลึกลับ รหะ แปลว่าลึกลับ อรหะ แปลว่าไม่ลึกลับ 

อรหันต์แปลว่า ไม่ลึกลับเป็นที่สุดเลย ทุกอย่างสว่างแจ้ง รู้แจ้งรู้จริงสัจฉิกตา รู้หมด รู้จบ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า งานอโศกรำลึก 2564 ผู้พ้นอสุรกายจึงได้ไปอยู่โลกหน้า วันพุธที่ 9 มิถุนายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 03 สิงหาคม 2564 ( 20:48:59 )

กายวิญญาณ

รายละเอียด

1. ความรับรู้ที่อาศัยกาย 

2. ความรับรู้เมื่อรับมาจากทางกายแล้วร่วมปรุงแต่งด้วยกิเลสในใจ

3. ธาตุรู้ที่เกิดจากองค์ประกอบของรูปนาม , ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะโผฏฐัพพะกระทบกาย เป็นการเน้นจิตที่เป็นองค์รวมหรือองค์ประชุมกันอยู่ ทุกกายเป็นกายวิญญาณทั้งสิ้น

4. ความรู้สึกในกายสัมผัส , ความรู้แจ้งอารมณ์ด้วยกาย คืออาการที่รู้ว่าสัมผัส 

หนังสืออ้างอิง

จากอีคิวโลกุตระ หน้า 200 

จากถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 105

จากค้าบุญคือบาป หน้า 214,222 , 226

 


เวลาบันทึก 09 กรกฎาคม 2562 ( 14:31:07 )

เวลาบันทึก 30 เมษายน 2563 ( 14:25:03 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 02:56:24 )

กายวิปฺผนฺทน

รายละเอียด

ความดิ้นรนทางกาย

หนังสืออ้างอิง

รวมคนจะมีธรรมะได้อย่างไร ? หน้า 176


เวลาบันทึก 11 ธันวาคม 2562 ( 12:57:40 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 15:10:20 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 07:31:06 )

กายวิเวก

รายละเอียด

ไม่ต้องเอาร่างกายออกป่าเข้าถ้ำ แต่ให้มีสัมผัสเป็นปัจจัยและปฏิบัติไปทีละปริเฉท ทีละกลุ่มหมู่ศีลข้อ 3 เป็นต้นหรือ 3 ข้อ สมบูรณ์หน่อยปฏิบัติอย่างเป็นฐานที่บริบูรณ์ สมบูรณ์แล้ว อันหนึ่งเกี่ยวกับสัตว์ อันหนึ่งเกี่ยวกับของ อันหนึ่งเกี่ยวกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย 3 ข้อนี้ สมณะโพธิรักษ์ก็สรุปให้ฟัง แล้วก็แบ่งทำไป จะเน้นศีลข้อ 3 ก็ได้   ได้แล้วจะมีโครงสร้าง ของที่ได้แล้วปฏิบัติละกิเลสได้อย่างนี้เกี่ยวกับสัตว์เกี่ยวกับของ ปฏิบัติเกี่ยวกับของและพืช ที่ไม่ใช่สัตว์ให้รู้ว่าเป็นเพียงอุปกรณ์อาศัยชีวิตทำขึ้นมาเป็นแลกลาภ แต่ไม่ทุจริต เข้าใจทุจริตให้ได้ จริตอย่ามี ทุ ให้สุจริตไป

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 10 พฤศจิกายน 2562 ( 12:49:28 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 14:24:07 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 02:59:09 )

กายวิเวก

รายละเอียด

หมายถึงระดับภายนอก ระดับหยาบ

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 10 พฤศจิกายน 2562 ( 12:02:02 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 14:25:03 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 02:59:35 )

กายวิเวก

รายละเอียด

กายวิเวก คือ กายสงบ สงบจากอุปธิ คือ ทำให้กิเลสลดลง เรียกว่า สงบจากกิเลสรู้จักขันธ์ ทำให้ตัวกวนรูป  กวนเวทนา  กวนสัญญา  กวนสังขารลดลง  เอากิเลสออกได้

คำอธิบาย

คือ การเอาตัวออกห่าง  กายวิเวก หากเอาร่างกายออกป่า  ก็ไม่ได้กายวิเวก แล้วก็ไม่มีกายภายนอกอีก หลบนั่งหลับตา ทำฌานก็หลับเข้าไปไม่มีภายนอกเลยที่บอกว่า กายภายนอก  ถึงมีจิตวิเวก คุณก็ไม่ใช่  การเอาจิตไปทำซ้ำๆ อยู่ในป่าอีก ลึกเข้าไปอีก ห่างจากวิเวก  ก็กำลังถอยออกไปอีก  แล้วก็ไม่มีอุปธิวิเวก ไม่เห็นกิเลส ขันธ์ก็ไม่เห็น  อภิสังขารไม่มี อุปธิก็ไม่เห็น  แล้วจะไปทำอมตะนิพพาน ไม่มีทางเป็นไปได้  อุปธิวิเวก ยกทิ้งทั้งยวง นี่คือการนั่งหลับตาปฏิบัติ ออกป่านี้มันไม่ใช่ศาสนาพุทธ คือ ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออกแล้ว  ยินดียิ่งในเนกขัมมะ

(รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ  วันพุธที่ 16 ตุลาคม 2562)

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต  สันติอโศก ครั้งที่ 69 วันจันทร์ที่ 16 กันยายน  2562


เวลาบันทึก 22 ตุลาคม 2562 ( 09:12:38 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 14:27:14 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 03:00:57 )

กายวิเวก

รายละเอียด

เขาเข้าใจผิดว่า ห่างจากการวุ่นวาย นี่เป็นการเอาร่างกายออกไปป่าคือไปสู่วิเวก เขาเข้าใจแค่นั้น ฟังแล้วก็เหมือนจะไม่ผิด เอาร่าง เอากายก็คือหมายถึงร่างกายทั้งตัว ออกไปจากที่วุ่นวายก็เอากายออกห่าง บอกว่าอยู่กับสังคมวุ่นวาย ก็เลยเอาออกห่างไปอยู่ป่า นี่คือเขาทำกายวิเวกสำเร็จ แต่นี่คือความหยั่งลงสู่ความหลง นี่เป็นประเด็นที่ 1

ที่มา ที่ไป

รายการ ทำวัตรเช้า งานว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน ครั้งที่ 7 ผู้ข้องอยู่ในถ้ำอันไกลจากวิเวก วันอังคารที่ 31 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 10 มกราคม 2563 ( 16:55:23 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 14:28:24 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 03:01:36 )

กายวิเวก

รายละเอียด

กายวิเวก คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด คือป่า โคนต้นไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง และเป็นผู้สงัดด้วยกายอยู่ คือ เดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว  เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว  กลับผู้เดียว  นั่งอยู่ในที่เร้นลับผู้เดียว  อธิษฐานจงกรมผู้เดียว  เป็นผู้เดียว  เที่ยวอยู่  เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติรักษาเป็นไปให้เป็นไป  นี้ชื่อว่า กายวิเวก  ทั้งหมดเป็นกายวิเวกแต่พฤติกรรมภายนอก

1. เมื่อตัดวิญญาณที่เกิดจากกายหยาบ(ทวาร 5)ไปได้

2. อาการดับสังขารที่เกิดจากกายหยาบ 

3. กายสงบ คือตาไม่อยาก หูไม่อยาก ลิ้นไม่อยาก จมูกไม่อยาก สัมผัสกายไม่อยาก ไม่ใช่หมายเอาว่าร่างกายอยู่นิ่ง ๆ เป็นตอตาย ๆ

4. เป็นฌานลืมตา เป็นความสงบสุภาพ ราบรื่น ง่าย งามอยู่จริงในขอบข่ายที่เรียกว่ากาย 

5. อาการกายกรรม อิริยาบถทางกายของคนโดยตรงทีเดียว ไม่อยู่ในอาการเดือดร้อน ไม่อยู่ในสภาพที่ดิ้นรน ไม่เป็นอิริยาบถที่ดีดดิ้น ซัดส่าย ไม่ลุกลี้ลุกลน ซ่านซ่า ไม่บ่งบอกถึงความร้อนใจ และไม่หดหู่ ห่อเหี่ยว หลบลี้ นั่งเด๋อ 

6. ความสงบกาย เป็นความสงบในองค์ประชุมทั้งภายนอกภายในโดยเฉพาะนามกาย มิใช่ร่างภายนอกอยู่นิ่ง ๆ ได้หรือวัตถุภายนอกหยุดนิ่งไปแต่เป็นนามธรรมสงบจากกิเลส

คำอธิบาย

กายวิเวก  คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้  ย่อมซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนต้นไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง  และเป็นผู้สงัดด้วย กาย อยู่ คือ เดินผู้เดียว  ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว  นอนผู้เดียว  เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว  นั่งอยู่ในที่เร้นลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียว เที่ยว อยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ  ประพฤติรักษาเป็นไปให้เป็นไปนี้ชื่อว่า “กายวิเวก”

กายวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออกแล้ว   ยินดียิ่งในเนกขัมมะ

(รายการวิถีอารยธรรม  บ้านราช  วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม 2562)

หนังสืออ้างอิง

จากคนคืออะไร? หน้า 151,152

จากหนังสือทางเอก ภาค 3 หน้า 348,349

จากค้าบุญคือบาป หน้า 90


เวลาบันทึก 09 กรกฎาคม 2562 ( 14:33:08 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 14:32:27 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 03:04:22 )

กายวิเวก

รายละเอียด

เขาเอาตัวเองออกป่า กายคือเอาร่างทั้งตัว ทั้งจิตด้วย เอาออกป่า สงัดแล้ว กายวิเวกแล้ว เขาก็ว่า แต่มันมิจฉาทิฏฐิอยู่ได้แค่นี้ พวกที่เอากายออกป่า พระป่า มีกายวิเวกมิจฉาทิฏฐิ เป็นผู้ข้องในถ้ำไกลแสนไกลจากวิเวก จะไม่มีทางสัมมาทิฎฐิ ปฏิบัติธรรมะพระพุทธเจ้าได้เลย จิตวิเวกก็ไปนั่งหลับตาอีกไม่มีภายนอก กายวิเวกผิด จิตวิเวกผิด ก็ปิดประตูอุปธิวิเวก

ที่มา ที่ไป

วิถีอาริยธรรมบ้านราช เศรษฐกิจที่ดีที่สุดในโลก วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 19 มกราคม 2563 ( 13:42:34 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 14:33:40 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 03:05:22 )

กายวิเวก

รายละเอียด

ความสงบกาย เป็นความสงบในองค์ประชุมทั้งภายนอกภายในโดยเฉพาะนามกาย มิใช่ร่างภายนอกอยู่นิ่งๆได้ (ไม่ใช่เพียงแค่เอาตัวไปอยู่ในที่สงบไม่วุ่นวาย หรืออยู่ตัวคนเดียว) แต่เป็นนามธรรมสงบจากกิเลส

ที่มา ที่ไป

รวมศัพท์อโศก


เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 08:22:14 )

กายวิเวก จิตตวิเวก อุปธิวิเวก

รายละเอียด

กายวิเวก  จิตตวิเวก  อุปธิวิเวก คือ การเอามายืนยันเพื่อให้รู้ว่าการปฏิบัติธรรมพระพุทธเจ้าหากปฏิบัติแล้วไกลจากวิเวก  หลงทิศทางไปปฏิบัติไม่มีภายนอกไปหลงแต่จิตวิเวกก็สุญโญต้องศึกษาให้ดีๆ ถ้าพบว่ายังตั้งใจที่จะเอาธรรมะโลกุตระของพระพุทธเจ้าอยู่ขอบอกอีกที  ย้ำอีกทีว่าที่หลงกันอยู่เป็นพระอรหันต์นั้นเก๊ทั้งนั้น  มาเอาสายที่สมณะโพธิรักษ์พูดนี้ไม่ได้ยกตนข่มท่าน  จะพูดความจริงด้วยความจริงใจ คือ การเอามายืนยันเพื่อให้รู้ว่าการปฏิบัติธรรมพระพุทธเจ้าหากปฏิบัติแล้วไกลจากวิเวก  หลงทิศทางไปปฏิบัติไม่มีภายนอกไปหลงแต่จิตวิเวกก็สุญโญต้องศึกษาให้ดีๆ ถ้าพบว่ายังตั้งใจที่จะเอาธรรมะโลกุตระของพระพุทธเจ้าอยู่ขอบอกอีกที  ย้ำอีกทีว่าที่หลงกันอยู่เป็นพระอรหันต์นั้นเก๊ทั้งนั้น  มาเอาสายที่สมณะโพธิรักษ์พูดนี้ไม่ได้ยกตนข่มท่าน  จะพูดความจริงด้วยความจริงใจ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 16  ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 22 ตุลาคม 2562 ( 14:04:09 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 14:35:00 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 03:08:59 )

กายวิเวก จิตตวิเวก อุปธิวิเวก

รายละเอียด

กายวิเวก จิตตวิเวก อุปธิวิเวก คือ หากคนไม่สัมมาทิฏฐิ  อุปธิวิเวก  ไม่ได้เด็ดขาด เพราะคุณไม่รู้จัก กิเลสตัวจริง  กิเลสจะมีได้ต้องมีกาย ต้องมีกายกลิ แปลว่า ความเป็นโทษที่อยู่ในรูปนามของคุณเป็นตัวไม่ดี  เป็นตัวที่ต้องเอาออกจากตัวเอง  “กิเลสก็คือ กายกลิ”

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอารยธรรม  บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 26 ตุลาคม 2562 ( 17:00:34 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 14:37:56 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 03:09:36 )

กายวิเวก จิตวิเวก

รายละเอียด

ก็เพราะว่าเรียนรู้อุปธิวิเวก คือกิเลส ชัดเจนว่ารู้จักขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร แล้วเรียนรู้ที่จะกำจัดกิเลสที่อยู่ในนั้นเรียกว่าเป็นการทำอภิสังขารได้ รู้จักการสังขารขั้นอภิ ขั้นยิ่งจัดการฆ่าจิตอกุศลที่เคยร่วมสังขารจนไม่ให้กิเลสมาร่วมสังขารได้เลยคือหมดบุญ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช ยอดคนอาภัพที่มีระดับของศาสนาพุทธ วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 13 ธันวาคม 2562 ( 20:36:58 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 14:39:07 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 03:10:26 )

กายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวก

รายละเอียด

ผู้หลีกออกจาก กายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวก ไปเข้าใจวิเวกก็คือปลีกออกจากความวุ่นวายไปอยู่สงัด เอาร่างออกจากสิ่งที่จะต้องกระทบสัมผัสแล้วยังไปอยู่ผู้เดียวเดินผู้เดียวกินผู้เดียวไปผู้เดียวนั่งผู้เดียวอยู่ผู้เดียว แล้วคุณนึกว่าคุณมีกายวิเวกแล้ว นี่คือมิจฉาทิฏฐิของกายวิเวก จิตวิเวก พระพุทธเจ้าอธิบายไว้ครบ เมื่อเข้าใจวิเวกผิดก็ไปออกป่า จิตวิเวกก็ไปนั่งหลับตา แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่า จิตวิเวกคือ รู้จักกิเลส เอากิเลสออก ทำกามให้ลดให้พรากออก เนกขัมมะจากกาม คุณก็ไม่ได้ทำแล้ว ถ้าคุณทำก็จะบรรลุพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ บริบูรณ์ในจิตวิเวกที่พระพุทธเจ้าท่านขยายไว้ครบ แต่หากคุณไม่มีภายนอกก็ผิด ท่านกล่าวไว้ตอนท้ายของสูตรนี้ สรุปแล้วเมื่อหลงผิด ตั้งแต่เอากายออกนอก แล้วไปนั่งหลับตาก็ไม่มีกายภายนอก ไม่มีทางสงัดจากกามได้ ไม่มีกายวิเวก แล้วจะไปมีจิตวิเวก อุปธิวิเวกไม่ได้ กลัดกระดุมเม็ดแรกผิด ก็ผิดไปทั้งหมด

อุปธิวิเวก

อุปธิ หมายถึง กิเลส หมายถึง ขันธ์ 5 หมายถึง อภิสังขาร 

ทำการอภิสังขารต้องปรุงแต่งอย่างยิ่งต้องรู้กิเลสในโลกพัฒนาสัญญาสังขารวิญญาณขันธ์ 5 แล้วก็ลดกิเลสในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณจนไม่มีอุปาทานในขันธ์ 5 เลย คุณก็เป็นพระอรหันต์ เป็นอรหันต์ก็มีอมตะ นิพพาน นี่คือ อุปธิวิเวก

อุปธิวิเวกคือ กิเลส ขันธฺ์ อภิสังขาร

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 17 พฤศจิกายน 2562 ( 10:38:27 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 14:41:27 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 03:07:24 )

กายวิเวก 

รายละเอียด

กายวิเวก  คือ  ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้  ย่อมซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด  คือ ป่า  โคนต้นไม้  ภูเขา  ซอกเขา  ถ้ำ  ป่าช้า  ป่าชัฏ  ที่แจ้ง  ลอมฟาง  และเป็นผู้สงัดด้วยกายอยู่ คือ เดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว  นั่งผู้เดียว  นอนผู้เดียว  เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว  กลับผู้เดียว  นั่งอยู่ในที่เร้นลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว  เป็นผู้เดียว  เที่ยวอยู่  เปลี่ยนอิริยาบถ  ประพฤติรักษาเป็นไป  ให้เป็นไปนี้ชื่อว่า กายวิเวก

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 16  ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 22 ตุลาคม 2562 ( 12:37:53 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 14:43:18 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 03:11:03 )

กายวิเวก 

รายละเอียด

กายวิเวก  คือ  ผู้ที่ยังจะต้องปฏิบัติในป่า  เอนเอียงไปเข้าป่าถือว่าเป็นพระป่าอย่างในสมัยพระพุทธเจ้า  ก็มีพระมหากัสสปะเป็นตัวอย่าง 1 องค์ ที่พระพุทธเจ้าก็ยกให้ที่จริงเป็นเอตทัคคะองค์หนึ่งที่ติดป่าเขาถ้ำ  ก็มีบริวารเป็นผู้มีจริตแบบพระมหากัสสปะกลุ่มหนึ่งไม่มาก  ลูกศิษย์ของพระสารีบุตรมีมากกว่าพระมหากัสสปะหลายเท่า  อย่างลูกศิษย์พระมหากัสสปะ  เช่น  ยกตัวอย่างที่พอจะพูดถึงได้เช่น พระโพธิธรรมตั๊กม๊อ ไปสอนที่จีน เก่ง เดินบนน้ำเลย  หันหน้าเข้าถ้ำไม่หันหน้าออกมาเลย  เล่นฤทธิ์เดชนี่คือพระป่า  สายพระมหากัสสปะจึงมีลูกศิษย์สายพระมหากัสสปะมอบบาตรมอบจีวรให้สุดท้ายก็ไปเอาเชิงปัญญา  ก็กลายเป็น พระเซน  กายวิเวก ก็คือ  เป็นผู้ที่ยังรู้องค์ประกอบภายนอก

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายพ่อครู  รายการวิถีอารยธรรม วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน 2562


เวลาบันทึก 01 ตุลาคม 2562 ( 17:53:28 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 14:44:45 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 03:11:51 )

กายวิเวก 

รายละเอียด

กายวิเวก  คือ   กายวิเวกของชาวพระป่า  พระที่ยังข้องอยู่ในป่า  ก็จะโอนเอียงออกป่าเขาถ้ำแล้วปฏิบัติการออกป่าเขาถ้ำ  ไม่มีผัสสะ  จะรู้จักกามโลกีย์ รู้จักวัตถุ  ลาภ  ยศ  สรรเสริญโลกียสุขที่โอฬารฯ  คุณจะไม่รู้เรื่อง  ไม่รู้โอฬาริกอัตตา  จะรู้แต่มโนมยอัตตาในจิต

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายพ่อครู  รายการวิถีอารยธรรม วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน 2562


เวลาบันทึก 01 ตุลาคม 2562 ( 17:51:56 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 14:45:29 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 03:12:21 )

กายวิเวก 

รายละเอียด

กายวิเวก  คือ  ผู้ที่ข้องซ่องเสพท่านใช้คำว่า ทูเรวิเวกา แปลว่า  ไกลจากวิเวกคนไกลจากวิเวกนี้แหละถ้าไกลจากสมถะก็เหมือนอย่างพระอาจารย์มั่น ไม่ใช่ผู้วิเวก  เพราะไม่ได้เอาทางโลกหาที่สุดมิได้  แต่ไปเอาทางจิตเข้าไปในๆ  อย่างเก่งรู้แต่ป่า  ป่าช้า ป่าชัฏ  เขา ถ้ำ  ที่แจ้งลอมฟาง  กายวิเวกก็หมายแค่เอาการไปออกในป่า  โคนต้นไม้  เขา  ซอกเขา  ถ้ำ  ป่าช้า ป่าชัฏ  ที่แจ้งลอมฟาง  แล้วไปอยู่แต่ผู้เดียว  แป๊บเดียวก็จะบรรลุอรหันต์  ทั้งๆที่อยู่แต่ผู้เดียวนี้พระพุทธเจ้าหมายถึงจิตไม่มีเพื่อนสอง

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายพ่อครู  รายการวิถีอารยธรรม วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน 2562


เวลาบันทึก 01 ตุลาคม 2562 ( 17:48:08 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 14:46:32 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 03:12:54 )

กายวิเวกกับกายปัสสัทธิเป็นเช่นไร

รายละเอียด

“กายวิเวก”ยังไม่ใช่การปฏิบัติธรรม หรือการทำฌาน-ทำสมาธิ มีแต่ความเงียบ ความนิ่ง ความไม่เกี่ยวกับภายนอกที่เราไม่ต้องการรับรู้ เป็น“ความสงัด”ทางวัตถุภายนอก

กายวิเวกไม่ใช่การทำฌานหรือทำสมาธิ วิเวก(ของเขา)นี้มีแต่ความเงียบ ความนิ่ง ความไม่เกี่ยวกับภายนอก  ขนาดออกไปอยู่ป่าแล้วก็ยังไปนั่งหลับตา หรือไม่วุ่นวายกับข้างนอก ไปอยู่ในถ้ำ เข้าป่าหนีผู้คนแล้วก็ยังไปอยู่ในถ้ำ ไม่เข้าไปเกี่ยวกับต้นไม้ อยู่ในถ้ำไม่มีต้นไม้ใช่ไหม แล้วยังนั่งหลับตาอีก เข้าไปในถ้ำแล้วก็ยังนั่งหลับตาอีกนะ จะปลีกวิเวก ถือว่าปลีกวิเวก ไม่รับรู้อะไรเลย 

ความไม่เกี่ยวกับภายนอกที่เราไม่ต้องรับรู้เป็นความสงัด เราไม่รับรู้อะไรเลย เป็นความสงัด นี้เรียกว่าความสงัด ไม่ใช่สงบ มันเป็นความสงัดจากวัตถุภายนอกเท่านั้น 

“ความสงัด”คือ วิเวก “ความสงบ”คือ ปัสสัทธิ สองคำนี้เป็น“เทฺว”ที่จะต้องแยกแยะศึกษากันให้สุขุมประณีตอย่างที่สุด 

เพราะเป็น“ภาวะ 2 (เทฺว)” ที่มี“ความลึกซึ้งหมุนรอบเชิงซ้อน​(คัมภีราวภาโส)มีนัยะละเอียดลึกล้ำสุดๆ

“วิเวก”จะเน้นไปในรอบกว้างออกทางภายนอก ไปป่า เขา ถ้ำ ฯลฯ สู่ความเป็นสังคมไม่เจริญของมนุษย์ เป็นมนุษย์ป่าเถื่อนเป็นมนุษย์ผีตองเหลืองไปโน่นเลย ยิ่งเข้าไปหาความเงียบความนิ่งแบบพาซื่อ ไม่มีความสลับซับซ้อน รู้ง่าย ตื้นๆ ซึ่งเป็นแนวระนาบ ไม่เป็นวิทยาศาสตร์  

วิเวก ไปป่า เขา ถ้ำ ฯลฯ ก็หนีออกจากสังคมมนุษย์ชาติ หนีไปเหมือนพวก”เชน” หนีไปอยู่ป่าลึกเลย หนีไปจากการเป็นสังคมที่ไม่เจริญของมนุษย์ คือเข้าป่า เข้าไปเถื่อน มนุษย์ป่าเถื่อน มนุษย์ผีตองเหลือง อะไรๆไปโน่นเลย คือยิ่งเข้าไปหาความเงียบความนิ่งแบบพาซื่อ ไม่มีความสลับซับซ้อน รู้ง่าย ตื้นๆ ซึ่งเป็นแนวระนาบ ไม่เป็นวิทยาศาสตร์  

ส่วน“ปัสสัทธิ”นั้นเน้นมาสู่ความลึกล้ำ เข้าหาจุดศูนย์กลางภายในจิต ที่มีประสิทธิภาพของ“จิตธาตุ” ยิ่งไวเร็ว แต่ยิ่งนิ่งแบบหมุนรอบเชิงซ้อน(ปฏินิสสัคคะ,คัมภีราวภาโส) 

ประสิทธิภาพของ“จิตธาตุ” ยิ่งไวเร็ว ไม่ใช่ยิ่งนิ่ง ยิ่งแข็งยิ่งทื่อ ไม่ใช่ แต่ยิ่งเร็ว ยิ่งไวและยังซ้อนสภาพหมุนรอบเชิงซ้อน ยิ่งไว ยิ่งเร็วและยิ่งนิ่ง แบบหมุนรอบเชิงซ้อนนี้ยิ่งไว ยิ่งเร็ว ยิ่งนิ่ง นิ่งแต่ไว เร็ว ไหวพริบปั๊บ แจ่มยอดเลย มันมีสภาพ 1 ใน 2 ที่ลึกซึ้ง เรียกว่าเป็นสุดยอดปฏินิสสัคคะ หรือว่า คัมภีราวภาโส

เช่น “กายวิเวก”กับ“กายปัสสัทธิ”เป็นต้น จะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญลึกล้ำสลับซับซ้อนที่มีทิศไปกันคนละทิศ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ฌานโลกีย์กับฌานโลกุตระ สภาวะต่างกันเช่นไร วันพุธที่ 13 ธันวาคม 2566 ขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 10 มีนาคม 2567 ( 16:15:41 )

กายวิเวกของปุถุชน

รายละเอียด

คือเอาร่างกายออกป่า เป็นมิจฉาทิฐิตั้งแต่ข้อที่ 1 นำตนออกสู่ป่านึกว่ากายวิเวกแล้ว ข้อที่ 2 กายวิเวกก็นั่งสมาธิ ถ้าหากนั่งสมาธิเป็นเตวิชโช ก็ได้ แต่ต้องเข้าใจคำว่าฌาน คำว่า อธิจิต คุณไม่ต้องนั่งหลับตาหรอก ลืมตามีภายนอกก็มีจิตวิเวกได้ หากลืมตามีกายภายนอกด้วย ในคุหัฏฐกสุตตนิทเทส อธิบายไว้ตอนท้าย มีภายนอกด้วย 

ที่มา ที่ไป

รายการทำวัตรเช้า งานว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 10 มกราคม 2563 ( 17:52:00 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 14:47:41 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 03:13:23 )

กายวิเวกของศาสนาพุทธไม่ต้องออกป่าเขาถ้ำ

รายละเอียด

คุณยังไม่ได้ละกามเลย ติดข้องอยู่ในถ้ำ หยั่งลงสู่ความหลง ปิดประตูบรรลุเลย  

กายวิเวกเขาก็เอาร่างกายนี้เข้าป่าเขาถ้ำ

วิเวก จริงๆเป็นไวพจน์ของคำว่า สงบ แต่เขาแปลว่า สงัดยังไม่ถึงสงบ 

วิเวกมี 3 คือ

กายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวก มันซ้อน มิจฉาทิฏฐิ เอากายหลีกเร้น แล้วออกไปอยู่ป่าไปอยู่เขาอยู่ถ้ำ มันเป็นความหลง ที่จริงแล้วศาสนาพุทธไม่ต้องออกป่าเขาถ้ำ แต่ต้องเรียนรู้ลดกิเลสตั้งแต่การสัมผัส ต้องสัมผัสจึงจะเห็นกิเลสจริง เพราะว่าถ้าคุณไม่สัมผัสกิเลสไม่จริง 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ  ธรรมบรรยาย คุหัฏฐกสุตตนิทเทส ตอน 4 วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม 2564 แรม 2 ค่ำเดือน 7 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 10 กรกฎาคม 2564 ( 11:30:35 )

กายวิเวกของเทฺวนิยม

รายละเอียด

“จิตตสังขาร” เข้าไปหาการปรุงแต่งจิต จึงสามารถแบบเข้าไปสู่จิตโดยตรง  จิตจะเป็นพลังโดยตรงได้เลย 

“การทำฌานโลกีย์”นั้นต้องมี“วิเวก”ขั้นที่ 1 ก่อน คือ หนีออกไปหาสถานที่“สงัด” และต้อง“หลับตา”เข้าไปอีก แล้วจึงจะทำ“ฌาน”ให้เกิด“ความสงัด”ในจิตกันต่อไปได้ ต้องมี“กายวิเวก”ด้วยการ“ซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด” เช่น ป่า โคนต้นไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง คือมีสถานที่สงัด 

ฌานแบบฤาษี แบบโลกีย์ ต้อง 1. หนีห่างจากอะไรต่างๆ หา สถานที่ก่อน ดีไม่ดีหนีเข้าป่าเลย และ 2. หลับตาเข้าไปอีก  แล้วจึงทำฌานให้เกิดความสงัดในจิตกันต่อไปได้  ต้องมีกายวิเวก คือหนีจากการกระทบสัมผัสทางภายนอก ด้วยการ“ซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด” คือต้องมีสถานที่ที่สงัด และเป็น“ผู้สงัดด้วยกาย”

และเป็น“ผู้สงัดด้วยกาย”ที่เป็นอิริยาบถอยู่อีก นั่นคือ เดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งอยู่ในที่เร้นลับผู้เดียว เป็นผู้เดียวเที่ยวอยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา เป็นไป ให้เป็นไป นี้ชื่อว่า “กายวิเวก”ของชาวเทฺวนิยม หรือชาวโลกีย์  

“ผู้สงัดด้วยกาย” เมื่อหนีออกมาหาสถานที่ที่สงัดได้ ก็สงัดด้วยกาย เขาก็เรียกว่าอย่างนั้น ภายนอกมันไม่เกี่ยวข้องไม่แตะต้องแล้ว มีอิริยาบถอยู่แต่ผู้เดียวเดี่ยวๆ ไม่เกี่ยวกับใคร นี้ชื่อว่า “กายวิเวก”ของชาวเทฺวนิยม หรือชาวโลกีย์ 
 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการพุทธศาสนาตามภูมิ ฌานโลกีย์กับฌานโลกุตระ สภาวะต่างกันเช่นไร วันพุธที่ 13 ธันวาคม 2566 ขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 10 มีนาคม 2567 ( 17:19:45 )

กายวิเวกต่างกับจิตวิเวก

รายละเอียด

จิตวิเวกเป็นอย่างไร จิตวิเวกต้องทำกายวิเวกให้ได้ก่อน กายวิเวกต่างกับจิตวิเวก คือกายวิเวกต้องทำกายภายนอกที่เกี่ยวข้องกับกามภพเราได้ทำให้กิเลสกามหมดได้แล้ว ก็ไปทำจิตวิเวกอีกทีหนึ่ง เพราะฉะนั้นคนที่ไปปฏิบัติธรรมมะแบบนั่งหลับตากันนั้น ไม่เข้าในครรลองคลองธรรมของพระพุทธเจ้าของศาสนาพุทธเลย การหลับตาปฏิบัตินั้นเป็นการปฏิบัติผิด ปัณกปฏิปทา แปลว่าผิด ไม่ใช่ของพุทธ 

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 25 มีนาคม 2563 ( 09:34:14 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 08:02:31 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 03:13:53 )

กายวิเวกต้องสงัดจากกามคุณ 5

รายละเอียด

วิเวกไม่ใช่แค่ร่างกาย กายวิเวกไม่ได้หมายถึงเอาร่างกายไปอยู่ในที่สงัดเท่านั้น มันตื้นๆ  มิจฉาทิฏฐิเอาตัวเองร่างกายออกไปอยู่ป่าเขาถ้ำ ผู้ที่ทำแค่นี้คือผู้ที่ข้องอยู่ในถ้ำไกลแสนไกลจากวิเวก ในพลความบอกว่า กายวิเวกต้องสงัดจากกามคุณ 5 แต่คุณไม่ได้มีทักษะไม่รู้การสัมผัสทางตาหูจมูกลิ้นกายแล้วทำให้จิตคุณสงัด สงบจากกิเลสที่มันเกิดทางตาหูจมูกลิ้นกาย นี่คือกายวิเวก แต่เขาเข้าใจกายว่าคือร่างเอาร่างออกไป พวกนี้จึงอยู่ไกลแสนไกลจากวิเวก เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ จมลงสู่ความหลง เพราะกิเลสมาก  ปิดบังไว้อีก หยั่งจมลงสู่ความหลง เพราะกามเป็นของละได้ยาก ไม่ได้เข้าหลักที่พระพุทธเจ้าพาทำเลย วิเวกแค่สงัด ไม่ใช่ปัสสัทธิ

ที่มา ที่ไป

วิถีอาริยธรรม บ้านราช เศรษฐกิจที่ดีที่สุดในโลก วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 19 มกราคม 2563 ( 14:18:43 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 14:48:52 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 03:14:36 )

กายวิเวกแบบโลกียะ

รายละเอียด

กายวิเวกแบบโลกียะ  คือ การเอาร่างกายออกป่า เขา โคนไม้ ป่าช้า ก็ไม่ผิด กายสังขารแบบโลกียะ

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 23 กันยายน 2562 ( 08:44:37 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 14:50:07 )

statistics

ติดต่อสอบถาม

Facebook : test

Youtube : Name

Twitter : Name

Line : Name

Telegram : Name

Wechat : Name

Skype : Name

Copyright © 2018 Borvornsocial.net all right are reserved. developer สงวนลิขสิทธิ์