@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก
@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก

อภิธานศัพท์ (Glossary) จัดเป็นฐานข้อมูลด้านโลกุตระที่สมบูรณ์ที่สุดที่คัดมาจากหนังสือ คำเทศน์ ฯ

คู่มือการค้นหาอภิธานศัพท์อโศก หรือ ห้องสมุดโลกุตระ 50 ปี

เอกสาร : https://docs.google.com/document/d/1HLGedxqTAOTOTQKGbO6M4qMremQ8K1jBWKRYDDt6MRQ/edit

วีดีโอ Loom 2 : https://www.loom.com/share/e824e62ec1eb4567848e94af124a7ed5

วีดีโอ Loom 1https://www.loom.com/share/2445744a08e74bca95d2f1d2a0526044

วีดีโอ YouTube : https://youtu.be/QyXcGmzhLmk

 

 

อภิธานศัพท์ (ทั้งหมด) พบ 28,074 รายการ

วิสุทธิเทพ

รายละเอียด

1. เทวดาสูงสุด , เทวดาที่วิสุทธิ์ , เทวดาที่ไร้กิเลสาสวะสัมบูรณ์ เป็นจิตสะอาด 

2. เทวดาโดยความบริสุทธิ์ หรือเทวดาที่บริสุทธิ์จากกิเลสสัมบูรณ์

3. พระเจ้า 

หนังสืออ้างอิง

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 243,302

เปิดโลกเทวดา หน้า 16

ค้าบุญคือบาป หน้า 308


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 07:24:30 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 14:28:37 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:19:41 )

วิสูกะ

รายละเอียด

ข้าศึกแก่กุศล , ข้าศึกของใจ

หนังสืออ้างอิง

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 44


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 07:25:08 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 14:29:24 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:20:01 )

วิหสิตะ

รายละเอียด

หัวเราะเบาๆ มีเสียงเบาๆ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 59


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 07:27:17 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 14:30:14 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:20:17 )

วิหาร

รายละเอียด

1. ที่พัก 

2. เครื่องอาศัย 

3. เครื่องอาศัยใช้ประโยชน์ 

4. เครื่องอยู่ เครื่องอาศัย 

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 41

สมาธิพุทธ หน้า 279

อีคิวโลกุตระ หน้า 79 หน้า 89


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 07:28:38 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 14:31:45 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:20:52 )

วิหารธรรม

รายละเอียด

เครื่องอยู่ เครื่องอาศัยทรงไว้ในตน

หนังสืออ้างอิง

อีคิวโลกุตระ หน้า 81


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 07:29:41 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 14:32:31 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:21:10 )

วิหิงสา

รายละเอียด

เบียดเบียน

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 416


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 07:30:21 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 14:33:12 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:21:23 )

วิหิงสา หมายถึงกิเลสนอกเหนือจากกามพยาบาทในนิวรณ์ 5 หรือไม่

รายละเอียด

นิวรณ์ 5 มี กาม พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะวิจิกิจฉา

วิหิงสา มันคืออะไร 

กาม กับ พยาบาท เป็นกิเลสสองขั้ว ขั้วกามกับขั้วโกรธ สองลักษณะใหญ่ 

อย่างหยาบเรียกว่ากามกับพยาบาท อย่างภายนอกอย่างโอฬาริกอัตตา เมื่อปอกลอกกิเลสอันนี้ออกไปได้ก่อน เหมือนกับหัวบีทรูท หากเราจะกินเนื้อข้างในมัน เราก็ต้องปอกลอกเอาเปลือกออกเสียก่อน คือกาม พยาบาท ข้างในเข้าไปท่านเรียกรวม ว่า  วิหิงสา คือรูป กับอรูป เป็นกิเลสขั้นรูปราคะ อรูปราคะ หรือมานะอุทธัจจะ ตามลำดับไล่เข้าไปข้างใน
ไปปฏิบัติธรรมแบบนั่งหลับตาไม่ปอกเปลือกอันนี้ก่อน นั่งหลับตาแล้วลองว่าตัวเองอยู่ข้างในมันเป็นพวกเล่นลิเกและขอสมมตินามตามท้องเรื่องว่าข้าพเจ้าเป็นพระเจ้าแผ่นดินสมมติกันเล่นเฉยๆ ศาสนาหลับตาปฏิบัติเป็นเรื่องสมมุตินามตามท้องเรื่อง มันไม่ได้แตะต้องของจริงเลย มันจะต้องแตะต้องของจริงต้องปอกเปลือกออกก่อนคือ กามกับพยาบาท ลอกออกไปแล้วก็จะเหลือแต่เนื้อในเป็น ราคะ รูปราคะ อรูปราคะ อวิหิงสา คือ กิเลสในชั้นต่อไปอีก 

อาตมาเอาสภาวะมาอธิบายให้ชัดเจน วิ คือยิ่ง หรือ เหลือ คือ ส่วนที่เหลือของการหมดกามพยาบาท เอา 2 อันนี้ออกก็จะเหลือข้างในการหลับตาปฏิบัตินั้น คุณไม่ได้ทำอะไรเลยกับก้อนกิเลสก้อนนี้ คุณไม่ได้ทำอะไร ขืนไปนั่งสมมุติใหม่เข้าไปในโลกหลับตาแล้วคุณก็นั่งเพ้อไปด้วยนิรมาณกายสัมโภคกาย อทิสมานกายไป ต่างคนต่างสมมุติอยู่ในโลกเพ้อเจ้อที่สร้างขึ้นมามันไม่ได้ปฏิบัติธรรมเข้าไปรู้ความจริงตามความเป็นจริงเลย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการพุทธศาสนาตามภูมิ ชาวอโศกคือชุมชนบุญนิยมที่มีมรรคผลจริง

วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม 2563 ที่สันติอโศก


เวลาบันทึก 05 กุมภาพันธ์ 2564 ( 15:45:36 )

วิหิงสาวิตก

รายละเอียด

จิตที่ยังเป็นร่องรอยของการเบียดเบียนตน เบียดเบียนผู้อื่น

หนังสืออ้างอิง

อีคิวโลกุตระ หน้า 170


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 07:31:03 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 14:34:00 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:21:40 )

วิหิงสาวิตก

รายละเอียด

ความดำริเชิงอันตรายในใจ คือ "อกุศลกรรม"

@ความดำริเข้าหากาม (กามวิตก)

@ความดำริเข้าหาพยาบาท (พยาบาทวิตก)

@ความดำริเข้าหาการเบียดเบียน (วิหิงสาวิตก)

หนังสืออ้างอิง

นิยามแห่งชีวิต หน้า 83


เวลาบันทึก 07 มกราคม 2563 ( 12:36:14 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 07:26:39 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:21:59 )

วิหิงสาสังกัปปะ

รายละเอียด

ความดำริคิดเบียดเบียนต่างๆ

หนังสืออ้างอิง

เปิดโลกเทวดา หน้า 60


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 07:31:45 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 14:35:01 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:22:13 )

วิหิงสาสังกัปโป

รายละเอียด

ดำริในความเบียดเบียน

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 114


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 07:32:27 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 14:36:08 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:22:26 )

วิหิงสาแปลว่าไม่เบียดเบียน

รายละเอียด

อาตมาว่าอาตมาไม่เป็นนะ อาตมาว่าอาตมาเป็นลักษณะของผู้ดีอย่างหนึ่งที่ไม่ชอบออกคำสั่งชี้ใช้นี่บอกไว้ ใครมีลักษณะชอบออกคำสั่งชี้ใช้ไม่ดีก็ให้ลด วิหิงสา แปลว่า ไม่เบียดเบียน มันละเอียด เบียดเบียนทางคำพูดคำสั่ง กวนเขาก็เป็นวิบากได้ ด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม แต่มันก็อดไม่ได้ คนที่มีนิสัยติดตัวมาอย่างนี้ก็เป็นนิสัยชอบเบ่ง ชอบจะเป็นเจ้านาย ชอบใช้ มันเป็นกิเลสอย่างหนึ่ง ผู้ใดรู้ตัวและลดลงได้ก็เจริญๆ

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 29 มีนาคม 2563 ( 15:30:08 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 03:30:23 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:23:08 )

วิเคราะห์ “บุญ” ให้กระจ่างชัดอีกที!

รายละเอียด

ในศาสนาพุทธจึงมีคำว่า“ปุญญปาปปริกฺขีโณ”ในคนผู้เป็น“อรหันต์” อันแปลว่า “สิ้นบุญสิ้นบาป” กันไง!

มันก็ต้องเป็นจริงสิ..ว่า “บุญ”นั้นต้อง“ไม่วนไปมา” หรือต้อง“ไม่มี 2”  ชัดมั้ยว่า “บุญ”นั้นมีแต่“หนึ่งเดียว”เท่านั้น 

“บุญ”จะวนไปวน-วนมา จะกลับไป-กลับมา..“เป็น 2”กันอยู่ไม่รู้จบรู้สิ้น  แล้วมันจะ“จบสิ้น”ลงได้อย่างไร? 

ถ้า“บุญ”ไม่รู้จักหมดสิ้นสูญสลาย ยัง“วน”ไปมา ไม่มีจบ ชัดเจนยิ่งมั้ยว่า “บุญ”มี 2 ไม่ได้เลย “บุญ”ไม่ 1 ก็ 0

“บุญ”ที่เป็น“1”นั้น คือ“บุญ”ที่อาศัยทำงาน เมื่อทำงานสำเร็จ กำจัดกิเลสหมดสิ้น ก็เสร็จ“หน้าที่บุญ” ก็ “0” ไป

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ รวมเปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อ 396 หน้า 286


เวลาบันทึก 03 สิงหาคม 2564 ( 15:55:25 )

วิเลปนะ

รายละเอียด

สิ่งพอก สิ่งหุ้ม สิ่งฉาบ สิ่งทา

หนังสืออ้างอิง

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 45


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 06:57:49 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 14:37:00 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:23:24 )

วิเวก

รายละเอียด

 คือ ภาษาไทย  แปลว่า สงัด

ที่มา ที่ไป

พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 18 ตุลาคม 2562 ( 16:35:34 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 14:38:00 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:23:40 )

วิเวก

รายละเอียด

ไม่ได้แปลว่าปัสสัทธิ วิเวกแปลว่าสงบ ใช้คำไทยว่า สงัด

พอเข้าใจคำว่าสงัดเป็นสงบก็แย่ สงัดคือเงียบเสียง สงัด ไม่ได้ทำความหยุดสงบเรียบร้อยหมด สงัดคือหลีกเร้นออกจากความอึกทึกวุ่นวาย 

ที่มา ที่ไป

รายการทำวัตรเช้า งานว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 10 มกราคม 2563 ( 17:53:27 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 14:53:34 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:24:12 )

วิเวก

รายละเอียด

วิเวก คือ ความสงบ สงัด ผู้เรียนวิเวกภายในก็ได้แต่สมถะสงบแข็งทื่อตกเป็นสมถะไม่เป็นปัสสัทธิ

(ปลอดโปร่ง, สงบสงัด สงบศึก สงบจากทุกข์,ความสงบระงับ)

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 354,355

วิถีพุทธ หน้า71


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 07:13:09 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 14:54:39 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:25:22 )

วิเวก

รายละเอียด

วิเวกแปลว่าความสงัด มีความรู้เรื่องวิเวก ก็เลยเข้าใจไปว่าเอาร่างกายนี้ออกไปอยู่ป่า บอกว่าอย่างนี้คือกายวิเวกแล้ว กายเขาเข้าใจแต่เพียงร่างกายนั้นไม่ใช่ กายคือองค์ประกอบรวมทั้งหมด ทั้งรูปภายนอกภายในที่จิตสัมผัสรวมทั้งหมด เรียกว่ากาย สัมผัสแล้วกิเลสมันลดมันจางมันเบาลงมันสงบ จนกระทั่งมันจะดับจนสงบ ด้วยพยัญชนะเรียกว่ากายก็ดีเรียกว่าวิเวกก็ดี มี 3 อย่างคือกายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวก 

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 25 มีนาคม 2563 ( 09:32:21 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 03:31:24 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:25:45 )

วิเวก 3

รายละเอียด

กายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวก

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 07 พฤศจิกายน 2562 ( 16:04:04 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 15:17:39 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:26:09 )

วิเวก 3

รายละเอียด

วิเวก 3 คือ กายวิเวก  จิตวิเวก  อุปธิวิเวก

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต  สันติอโศก ครั้งที่ 69  วันจันทร์ที่ 16 กันยายน  2562


เวลาบันทึก 22 ตุลาคม 2562 ( 09:10:00 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 15:18:43 )

วิเวก 3

รายละเอียด

วิเวก 3 สงบสงัดแท้ กายวิเวก(กองประชุมสงัดอยู่), จิตวิเวก,อุปธิวิเวก (ความสงบสงัดทางนามธรรม คือ วิเวกจากอุปธิ) ได้แก่  ธรรมเป็นที่สงบระงับจากสังขารกิเลสทั้งปวงหรือ ขันธ์ก็ดี  อภิสังขารก็ดี  เรียกว่าอุปธิ หมายถึง ขันธ์อันปราศจากอุปธิ  คือขันธ์มีนิพพานว่างจากอุปธิ 

วิเวก คือ ความสงบสงัดกิเลส มี 3 อย่าง

1. กายวิเวก (กายสงบสงัดกิเลส) เนกขัมมะ

2. จิตตวิเวก (จิตสงบสงัดกิเลส) บำเพ็ณฌาน

3. อุปธิวิเวก (ทั้งกายทั้งจิตสงบสงัดกิเลส) นิพพาน

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 29"คุหัฏฐกสุตตนิเทส" ข้อ 33

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 16 มิถุนายน 2562 ( 21:24:31 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:52:25 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:26:58 )

วิเวก 3

รายละเอียด

วิเวกคือความสงบสงัดกิเลส มี 3 อย่าง

1. กายวิเวก (กายสงบสงัดกิเลส) เนกขัมมะ

2. จิตตวิเวก (จิตสงบสงัดกิเลส) บําเพ็ญฌาน

3. อุปธิวิเวก (ทั้งกายทั้งจิตสงบสงัดกิเลส) นิพพาน

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 29 “คุหัฏฐกสุตตนิเทส” ข้อ 33


เวลาบันทึก 12 มีนาคม 2565 ( 18:59:22 )

วิเวก 3 กับอุปธิ 3

รายละเอียด

หยั่งลงในที่หลง นรชนเช่นนั้นย่อมอยู่ไกลจากวิเวก คำว่าวิเวกคำนี้มันก็ยังไม่ใช่ปัสสัทธิ อาจจะมีปัญญากว่าสมถะ คำว่าสมถะเป็นการหยุดที่ทึ่มเลย ไม่มีความรู้ แต่ว่าวิเวกนี่นะ ยังมีความรู้ว่ามีวิเวก 3 กายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวก 

กายวิเวกก็มีนัยลึกซึ้ง ที่จะรู้ชัดเจนว่ากายวิเวกคืออย่างไร ต่างกับจิตวิเวกอย่างไร แล้วความหลงที่หลงติดกายและจิตวิเวก คืออุปธิวิเวก ผู้ที่ชัดเจนในอุปธิก็คือมี 3 มีกิเลส มีขันธ์ มีอภิสังขาร 

ผู้ที่เจริญมี อุปธิ เป็นอภิสังขารได้ก็รู้จักกิเลสในขันธ์ก็ล้างกิเลสในขันธ์ อภิสังขาร ไปสู่ความจบได้ จะล้างได้ต้องล้างในกายให้วิเวกก่อน แล้วมาทำให้จิตวิเวกที่เหลือตามมา กายต้องมาก่อนจิต เพราะกายนั้นเป็นภายนอก เป็นของหยาบ กายนั้นต้องก่อนจิต แค่นี้เดี๋ยวนี้ก็หลงทิศทางไปเอาจิตโดยทิ้งกาย ไม่เข้าใจกายอย่างมาก 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม ธรรมบรรยาย คุหัฏฐกสุตตนิทเทส ตอน 2 วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม 2564 ขึ้น 12 ค่ำเดือน 7 ปีฉลู ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 03 กรกฎาคม 2564 ( 18:55:23 )

วิเวก 3 โดยพยัญชนะและอรรถะ

รายละเอียด

พยัญชนะกับอรรถะ ก็อธิบายสลับไปมาเป็นสิริมหามายา เราอธิบายพยัญชนะเขาก็เอาสภาวะหรืออรรถะมาจับ พอเราอธิบายสภาวะเขาก็เอาพยัญชนะมาจับ เพราะไปเรียนรู้มาผิดๆ อาตมาเคยถูกท่านมหาปยุต ว่า ว่าสับสนอรรถะ พยัญชนะ ก็น่าเห็นใจ ท่านเข้าใจไม่ได้ ท่านเก่งพยัญชนะก็เลยไปจับสภาวะปนกันพยัญชนะ สับสนเกินไปไม่เข้าใจว่าอาตมาพูดคำนี้เป็นสภาวะ ส่วนมากพูดสภาวะในช่วงแรก ใหม่ๆก็เอาสภาวะไปใส่พยัญชนะผิดตัว เช่น อธิบายแจกพยัญชนะไม่เข้าไวยกรณ์ที่ท่านเรียนมาก็ยิ่งไปกันใหญ่เลย ก็เลยถูกว่าก็เลยต้องขอโทษขออภัยไปก็เป็นประโยชน์ท่านเขียนหนังสือทักท้วงอาตมามา 3 เล่ม อาตมาก็เขียนจดหมายไปขอบคุณท่าน อาตมาไม่เคยถือสา ท่านเป็นผู้ที่มีความยอมรับกันในสังคมศาสนาพุทธ แม้แต่ทางสากล unicef ก็ยังรับรอง

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ วันพุธที่ 8 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 20 มกราคม 2563 ( 18:34:02 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 15:19:50 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:27:59 )

วิเวก 3 โมฆะเมื่อเอาตัวออกป่า

รายละเอียด

คำว่า วิเวก 3 ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน คุหัฏฐกสุตตนิทเทส กายวิเวกไม่ใช่เอาร่างกายออกป่าเขาถ้ำบิณฑบาตอยู่แต่ผู้เดียว อยู่แต่ผู้เดียวไม่มีภายนอกไม่ใช่ จิตวิเวกก็ไม่ใช่ปฏิบัติโดยไม่มีภายนอก หากเอาตัวเองออกป่า กายวิเวกก็โมฆะแล้ว จิตวิเวกก็โมฆะอีกไปนั่งหลับตาปฏิบัติ อุปธิวิเวกก็โมฆะ ยกกำลังเลย ไกลแสนไกลจากวิเวกอาตมาเกิดมาในชาตินี้อธิบายธรรมะแล้วเปิดเผยตัวตนอย่างหมดจด อธิบายศีลสมาธิปัญญา อธิบายไปแล้วคนรู้เรื่องไหมรับได้ไหม เอาไปปฏิบัติได้ไหม อาตมาว่าได้นะ มีการบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ด้วยในหมู่พวกเรา พวกที่เขาบอกว่าเป็นอรหันต์เป็นอรหันต์เก๊ ที่เขาเคารพกันทั่วบ้านทั่วเมืองก็เป็นอรหันต์เก๊ พูดไปเป็นสิ่งที่ถูกต้องอยากให้สะดุ้ง ว่าคุณเคารพอรหันต์เก๊ก็บรรลัยสิศาสนาพุทธ เอาของเก๊มายกเป็นของจริงว่านี่ทองคำแท้ แต่คือทองเก๊ อาตมาก็แจกแจงว่าเก๊อย่างไร สมาธิก็ไม่ใช่ ศีลก็ไม่ใช่ปัญญาก็ไปไกลไม่ใช่ทางโลกุตระเลยไม่ใช่ด้วยวิชชา 8

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 10 มกราคม


เวลาบันทึก 21 มกราคม 2563 ( 20:37:03 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 15:21:16 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:28:41 )

วิเวก 3 

รายละเอียด

วิเวก 3 คือ กายวิเวก  จิตตวิเวก  อุปธิวิเวก

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 16  ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 22 ตุลาคม 2562 ( 12:33:46 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 15:23:20 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:29:02 )

วิเวก 

รายละเอียด

วิเวก  คือ หลีกออก  แปลกันซื่อๆ ว่า เอาร่างกายออกไป  แต่คำว่าไกลจากวิเวกนี้คนละขั้วจาก ไกลกิเลส  ไกลจากวิเวกมันไม่ใกล้เคียง ไม่ชิด

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต สันติอโศก วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 07 ตุลาคม 2562 ( 12:32:55 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 15:24:23 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:29:23 )

วิเวก 

รายละเอียด

วิเวก  คือ  วิเวกในพระไตรปิฎก แปลว่า  ความสงัด  คำว่า วิเวก  ปัสสัทธิ  สมถะมีนัยยะต่างกัน  วิเวกไม่ได้แปลว่า ความสงบเสียทีเดียว  แต่สมถะบางทีก็แปลว่าความสงบ  ส่วนปัสสัทธิ  แปลว่า ความสงบอย่างเดียว  วิเวกนั้นเป็นคนเหมือนใจกว้าง  หมายถึง  โลก  หมายถึงป่า หมายถึงอะไรต่ออะไรด้วยแล้ว  หมายถึงจิตลึกๆ ด้วย  รวมหมดเลยวิเวกแต่มีความหมายว่าอยู่ผู้เดียว สงบ สงัด คนเดียวไม่เกี่ยวกับใคร  วิเวกนี่เกี่ยวกับโลกหาที่สุดไม่ได้และเกี่ยวกับจิตตัวเองด้วย   วิเวกสุดลึกสุดกว้าง

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายพ่อครู  รายการวิถีอาริยธรรม วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน 2562


เวลาบันทึก 01 ตุลาคม 2562 ( 17:47:06 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 15:25:25 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:30:06 )

วิเวกแบบโลกุตระ

รายละเอียด

คนที่บอกว่าวิเวกคือเอาร่างออกป่าเขาถ้ำ อยู่คนเดียวนั่งหลับตาสะกดจิต อย่างนั้นมันก็เป็นวิเวกแบบโลกีย์ แต่แบบโลกุตระนั้น กายก็หมดกิเลส จิตก็หมดกิเลส หมดอุปธิ ต้องแยกกายแยกจิตได้ อันหนึ่งเน้นมาหากาย อันหนึ่งเน้นมาหาจิต สงบทางกายนี้อยู่เหนือไม่ได้หนีจากผัสสะ แต่หากเอากายพรากแล้วบอกว่าเป็นความสงบสงัด มันเด็กๆ ของพระพุทธเจ้านั้น คัมภีรา (ลึกซึ้ง) ทุททัสสา (เห็นตามได้ยาก) ทุรนุโพธา (บรรลุรู้ตามได้ยาก) สันตา (สงบระงับอย่างสงบพิเศษ แม้จะวุ่นอยู่) ปณีตา (สุขุมประณีตไปตามลำดับ ไม่ข้ามขั้น) อตักกาวจรา (คาดคะเนด้นเดามิได้) นิปุณา (ละเอียดลึกถึงขั้นนิพพาน) ปัณฑิตเวทนียา (รู้แจ้งได้เฉพาะผู้เป็นบัณฑิต บรรลุแท้จริงเท่านั้น) (พตปฎ. เล่ม 9 ข้อ 34) แต่การเอากายออกปลีกไปนั้นไม่ได้วิเวก เป็นเรื่องแค่สามัญตื้นๆ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 31 ตุลาคม 2562 ( 07:43:28 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 15:26:46 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:30:37 )

วิเศษ วิสุทธิ์ วิสิทธิ์

รายละเอียด

เหมือนกับอาตมาเทศน์บรรยาย คนจะไม่รู้ว่าอาตมาได้เทศน์ในสิ่งที่ประเสริฐสุด วิเศษ วิสิทธิ์ วิสุทธิ์ จริงๆ แต่เขาไม่รู้หรอก อามาพูดแล้วเหมือนคุย หลงตัวยกตัว อาตมาก็ไม่ได้ยกย่องตัวเอง แต่พูดความจริง สำทับความจริง เมื่อความจริงนั้นวิเศษก็บอกว่าวิเศษ วิเศษ แปลว่าไม่เหลือ ไม่มีเศษ หรือเมื่อไม่มีอะไรเหลือก็สุดยอด วิสิทธิ์แปลว่าเลิศยอด วิสุทธิ์แปลว่าสะอาดบริสุทธิ์คนเขาดูตามอาการว่าไม่เหมือนอาริยะ พูดแล้วไปว่าเขาอีก กระดุ๊กกระดิ๊ก ไม่นิ่ง แต่ถ้าอาตมาพูดเต็มๆจะกระทบไม่เหลือเลย แต่นี่เบาแล้ว อาตมาแปลภาษาสู่สภาวะ หากเต็มที่จะกระเทาะความผิดความบกพร่องของเขามากเลย เพราะมันวิเศษ วิสิทธิ์ วิสุทธิ์  มันสะอาดผ่องแผ้วหมด แต่เขาไม่เข้าใจว่าอาตมาเป็นคนสะอาด พูดสะอาด ชี้แจงสะอาด อาตมาพูดสะอาด กระจ่างขาวผ่อง ปภัสสรา สะอาดสว่างจนกระทั่งเลื่อมพรายเลย 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 05 มีนาคม 2563 ( 13:23:02 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 03:33:05 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:31:20 )

วิเสสี

รายละเอียด

ผู้วิเศษ

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 243


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 07:25:54 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 14:57:28 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:31:35 )

วิโนทนา

รายละเอียด

1. ง่ายแล้ว บรรเทาเบาบาง

2. การบรรเทา การผ่อนคลาย การบรรเทาเบาบาง

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 227, 477


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2562 ( 14:33:51 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:00:02 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:32:01 )

วิโมกข์

รายละเอียด

แปลว่า ความหลุดพ้น แล้วก็มีหลักเกณฑ์ของความหลุดพ้นนี้ 8 ข้อ 

1. ผู้มีรูป  ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย   (รูปี รูปานิ ปัสสติ) ต้องอาศัยตาหูจมูกลิ้นกายในการสัมผัส จึงมีข้อนี้ได้ ตาบอดแต่กำเนิดศึกษาไม่ได้ แต่ไม่แน่ ถ้าเด็กคนนี้มีภูมิธรรมเก่า แม้จะตาบอดตั้งแต่ไม่เดียงสา แต่ตาดีตั้งแต่เกิด แต่มาตาบอดตั้งแต่ 7 ขวบ เป็นต้น ก็ยังสามารถศึกษาได้ ถ้ามีบารมีเก่า แล้วได้สัมผัสโลกยุคนี้ตั้ง 7 ปี แม้เป็นเด็กก็มีบารมีจะรู้เร็วได้มากกว่ากัน ดีไม่ดีทำได้ด้วย เป็นบารมีของเขา เป็นอัจฉริยะ พรสวรรค์เก่า 

อันผู้เข้าถึงแล้ว พึงทบทวนตรวจสอบอย่างอนุโลมบ้าง  อย่างปฏิโลมบ้าง ทั้งอนุโลมและปฏิโลมบ้าง หรือบางขณะก็อยู่ในอารมณ์บางขณะก็ไม่อยู่ในอารมณ์แห่งวิโมกข์ 8  อยู่บ้าง-ไม่อยู่บ้างตามคราวที่ต้องการ ตามที่ปรารถนาและตามกำหนดที่ประสงค์ จึงบรรลุเจโตวิมุติ – ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้  เพราะอาสวะสิ้นไป เพราะทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน นี้เรียกว่า อุภโตภาควิมุติ  

 

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม 2562

หนังสืออ้างอิง

พระไตรปิฎก เล่ม 10  ข้อ 66 มหานิทานสูตร


เวลาบันทึก 17 ธันวาคม 2562 ( 20:18:11 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 15:29:52 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:32:59 )

วิโมกข์ 3

รายละเอียด

คือความหลุดพ้นจากกิเลส

1. สุญญตวิโมกข์ (หลุดพ้นโดยไม่ยึดมั่น ได้เห็นความว่างจากกิเลส)

2. อนิมิตตวิโมกข์ (หลุดพ้นโดยไม่ถือนิมิต ได้เห็นความไม่เที่ยง)

3. อัปปณิหิตวิโมกข์ (หลุดพ้นโดยไม่ทำความปราถนา ได้เห็นความเป็นทุกข์)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 31 "มหามรรควิโมกขกถา" ข้อ 469

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 16 มิถุนายน 2562 ( 21:16:26 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:51:03 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:33:25 )

วิโมกข์ 3

รายละเอียด

วิโมกข์ 3 คือความหลุดพ้นจากกิเลส

1. สุญญตวิโมกข์

(หลุดพ้นโดยไม่ยึดมั่นในนามรูป)

2. อนิมิตตวิโมกข์

(หลุดพ้นโดยไม่กําหนดหมายในนามรูป)

3. อัปปณิหิตวิโมกข์ (หลุดพ้นโดยไม่ปรารถนาในนามรูป)

 

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 31 “มหาวรรควิโมกขถา” ข้อ 469


เวลาบันทึก 12 มีนาคม 2565 ( 13:27:25 )

วิโมกข์ 3 ข้อเป็นรายละเอียดของความเป็นวิโมกข์

รายละเอียด

ต้องมีกายด้วย มีรูปและนาม สัมผัส ปัสสติ คือต้องสัมผัสอย่างตาเห็น ลืมตา ข้อ 2 อัชฌัตตัง อรูปสัญญี เอโก พหิทา รูปานิ ปัสสติ หมายความว่า เราจะต้องมีการรู้ รูป มีสัญญากำหนดว่ารู้รูปทั้งภายนอก ภายใน เห็นรูปทั้งภายนอก ภายใน ทั้งอรูป รูป ตั้งแต่ภายนอก ภายในเข้าไปถึง อรูป อย่างนี้เป็นต้น ในวิโมกข์ข้อที่ 2 

ข้อที่ 3 สุภันเตว อธิมุตโต โหติ ก็หมายความว่า จบ สุภะ กับ อันตะ อะไรที่น่าได้ น่ามี น่าเป็นอย่างที่สุด ก็ทำจิต จิตก็จะโน้มไป อธิโมกข์ อธิมุตโตโหติ ไปสู่ความเป็นความมีที่สุด 

วิโมกข์ 3 ข้อเป็นการบอกรายละเอียดของความเป็นวิโมกข์ แต่ความเพี้ยน ความเสื่อมของความรู้ทางศาสนาพุทธแล้ว ไปเข้าใจว่าเป็นการนั่งหลับตา ทั้งๆที่บอกว่ามีภายนอกภายในต้องสัมผัสต้องเห็น แต่เขาเข้าใจไปได้อย่างไรว่าเป็นการนั่งหลับตา วิโมกข์ 8 เขาบอกว่าคือการเข้าสมาบัติต้องนั่งหลับตามีวิโมกข์ นี่คือ ความเพี้ยน ความเสื่อมจากความรู้ทางธรรมของพระพุทธเจ้า 

ต่อจากนั้นก็ไปเป็น อรูป คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ สัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นเรื่องที่ถ้าไม่มีสภาวะแล้วยากมากจะอธิบาย จนกระทั่งเพี้ยน กลายเป็นเรื่องหลับตาไม่มีภายนอกทั้งๆที่มีคำ พหิทา อยู่แท้ๆ มันชัดเจนจะไปนั่งหลับตาได้อย่างไรเพราะว่าต้องเห็นรูปภายนอก อัชฌัตตังคือภายใน พหิทา ภายนอก แต่เสร็จแล้วไปบอกว่านั่งหลับตา…ไม่รู้จะพูดอย่างไร มันเสื่อมจนพูดกันไม่รู้เรื่อง เรามายืนยัน เอาบาลีเป็นหลักฐานมายืนยัน เขาก็ยังยากจะเชื่อ 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 9 พ่อครูพบ ญาติธรรมสันติอโศก 

วันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2566 แรม 10 ค่ำเดือน 2 ปีขาล ที่บวรสันติอโศก


เวลาบันทึก 28 มกราคม 2566 ( 18:37:33 )

วิโมกข์ 3 หรือนิพพาน 3

รายละเอียด

วิโมกข์ 3 ,  นิพพาน 3

1. สุญญตวิโมกข์, สุญญตสมาธิ  (นิพพานโดยการเห็นความว่างของตัวกิเลส  หมดความยึดมั่นจากอำนาจกิเลส) 

2. อนิมิตตวิโมกข์, อนิมิตตสมาธิ (นิพพานโดยไม่ต้องถือนิมิต) 

3. อัปปณิหิตวิโมกข์ (นิพพานโดยไม่ทำความปรารถนา)

(พตปฎ. เล่ม 31  ข้อ 469)

1. สุญญตนิพพาน ตายอย่าง 0 ไม่มีอะไรอย่างอื่นแล้ว 

2. ตรวจดูว่ายังมีนิมิตอะไรที่ยังยึดถืออยู่หรือเปล่า ถ้ายังมีนิมิตก็ได้ อนิมิตนิพพาน ก็ตายด้วยอนิมิต นิมิตนี้หยาบกว่าตั้งลงหยั่งลง 

3. อปณิหิตะ ก็อย่าให้อาการของคนจะนิพพาน อาการละเอียดมาก อย่าให้มี ไม่มีจิตที่จะตั้งลง ไม่มีนิมิตก็ตายด้วยสุญญตนิพพาน ครบสามคนนี้ก็สูญเลย

ไม่มีมาจับตัวกันอีก ไม่มีมารวมกันอีก เพราะคุณเป็นผู้ที่ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจได้ ก็ทำให้จิตมันสลายแยกไปได้ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ชาติ 5 แยกวิญญาณฐีติ 7 สัตตาวาส 9 วันพุธที่ 27 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 กุมภาพันธ์ 2564 ( 12:32:32 )

วิโมกข์ 3, นิพพาน 3

รายละเอียด

1. สุญญตวิโมกข์, สุญญตสมาธิ  (นิพพานโดยการเห็นความว่างของตัวกิเลส  หมดความยึดมั่นจากอำนาจกิเลสตัณหาอุปาทาน) 
2. อนิมิตตวิโมกข์, อนิมิตตสมาธิ (นิพพานโดยไม่ต้องถือนิมิต) 
3. อัปปณิหิตวิโมกข์ (นิพพานโดยไม่ทำความปรารถนา)
 

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎก เล่ม 31  ข้อ 469, ธรรมาธิบายจากพ่อครู รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2562 ( 08:08:24 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:57:12 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:33:45 )

วิโมกข์ 8

รายละเอียด

วิโมกข์ 8 ความหลุดพ้น หรือภาวะที่จิตปลอดพ้นจากที่รบกวนและน้อมดิ่งเข้าไปในอารมณ์นั้น ๆ อย่างปล่อยตัวหรือปลอดตัวเต็มที่ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอน 8 ขั้น [รายละเอียด 8 ขั้นตอนดูในเอกสารพุทธสิกขา] คือ สภาวะจิตหลุดพ้นจากกิเลส 8 ขั้นตอน

1.    ผู้มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย (รูปี รูปานิ ปัสสติ) แปลว่า ผู้มีตาเห็นรูป หูกระทบเสียง ลิ้น กระทบรส จมูกกระทบกลิ่น กายสัมผัส เสียดสี เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ผู้ที่มีประสาทรับรู้ยังดีอยู่ก็ต้องมีการ เห็น การได้ยิน การรับรส การได้กลิ่น การสัมผัส ชัดเจนครบแล้ว ข้อที่ 1 ก็ต้องมีรูปและต้องมีประสาทสัมผัส มีตา หู จมูก ลิ้น กาย และก็ต้องทำงานกระทบกัน ต้องปัสสติ ต้องสัมผัสเห็น หรือรู้หรือได้ยินรวมทั้งหมด รูปีรูปานิปัสสติ

2.   ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปภายใน (พระไตรปิฏก เล่ม 10 ข้อ 66) ย่อมเห็น รูปทั้งหลายในภายนอก (อัชฌัตตัง อรูปสัญญี  เอโก พหิทธา รูปานิ ปัสสติ: พ่อครูแปลว่ามีสัญญาใส่ใจในอรูป ) รูปานิ คือ รูปภายนอก เมื่ออยู่เหนือภายนอกได้แล้ว ต่อไปก็ทำภายในต่อ คือ อัชฌัตตัง เมื่ออยู่เหนือรูปได้ก็หมด อยู่เหนือรูปไม่ใช่ ตา หู จมูก ลิ้น ไปอยู่ภายในไม่รับรู้ ไม่ใช่ แต่ว่าสัมผัสภายนอก กิเลสไม่เกิด ไม่อยากได้ไม่อยากมีไม่อยากเป็นแล้วสลับกิเลสภายนอก แต่ข้างในยังมีอะไรอาวรณ์ที่เป็นรูป เป็นอนาคามีภูมิขึ้นไป ตัวเราต้องลดของตนเอง จนละเอียดเหลือน้อยลงที่สุดคืออรูป คือ ไม่มีรูป แต่มันมีจนไม่มีนั่นแหละ มันมีน้อยเท่าไหร่ก็คืออรูปนั่นแหละ จนไม่มี สูญเลย สภาพสุขทุกข์ชอบชังไม่มีแล้ว กลาง ปริสุทธา แม้ว่ากระทบสัมผัสอยู่ก็ยังสะอาด ปริโยทา-ตา มุทุ จิตของเราจะเร็วในการรับรู้และการปรับเปลี่ยน

3.    ผู้ที่น้อมใจเห็นว่าเป็นของงาม (สุภันเตวะ อธิมุตโต โหติ, หรือ อธิโมกโข โหติ : พ่อครูแปลว่า เป็นโชคอันดีงามที่ผู้นั้นโน้มไปเจริญ สู่การบรรลุหลุดพ้นได้ยิ่งขึ้น) พตปฏ. ล.10 ข.66 / ล.23 ข.163 ผู้โน้มจิต จิตมันมีทิศทาง มันโน้มทางมิจฉาทิฏฐิหลงว่าเป็นสัมมาทิฏฐิไปได้ แต่วิโมกข์ 8 ของพระพุทธเจ้านั้นต้องไปในทางที่ถูก โน้มไปในทางที่สูงที่เจริญโน้มไปสู่ทางที่บรรลุได้หมายความว่าจิตมันเดินทางผ่านโน้มไปสู่ที่สูงที่สุด

4.   ผู้ล่วงพ้นรูปสัญญา (พ้นรูปฌาน) เพราะปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่าอากาศหาที่สุดมิได้ (สัพพโส รูป สัญญานัง สมติกกัมมะ ปฏิฆสัญญานัง อัตถังคมา นานัตตสัญญานัง อมนสิการา อนันโต อากาโสติ อากาสานัญจายตนัง อุปสัมปัชชะ วิหรติ)

5.   ผู้ที่ล่วงพ้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุวิญญาณัญจายตนะ ด้วย มนสิการว่า วิญญาณ หาที่สุดมิได้ (สัพพโส อากาสาสัญจายตนัง สมติกกัมมะ อนันตัง วิญญาณันติ วิญญาณัญจายตนัง อุปสัมปัชชะ วิหรติฯ)

6.   ผู้ที่ล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงจึงบรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการ ว่า ไม่มีอะไร (สัพพโส วิญญาณัญจายตนัง สมติกกัมมะ นัตถิ กิญจีติ อากิญจัญญายตนัง อุปสัมปัชชะ วิหรติ) ไม่ว่าสัญญาทางกาม ทางปฏิฆะก็หายไปหมด ปฏิฆะมันหมดแล้วภายนอก เรื่องผลักไม่มีแล้วมีแต่ยึดเป็นราคะอยู่ภายในก็ไปติดราคะภายใน หยาบจนถึงละเอียด จนถึงอากาศไปยึดเอาว่างๆ ในว่างก็มีสองสภาวะ วิญญานัญญา คือตัวรู้ก็ต้องรู้

เทวะอากาสาเป็นรูปวิญญานัญญาเป็นนาม เราต้องดูว่านามเราอยู่และไปยึดอากาศความว่างเป็นภพ ก็ยึด   แม้ลืมตาทำอากาสาฯได้ ว่างก็ไม่สามารถใช้จิตปรุงแต่งนึกคิดทำงานก็ทำไม่ได้คุณก็อยู่ว่างๆ ว่างจนเก่ง เก่งจนกระทั่งตาก็ไม่เห็น หูก็ไม่ได้ยินทั้งทีตาก็ลืมอยู่นะแสงกระทบม่านตาคุณก็ไม่มีเอาประสาทมารับรู้คุณก็ว่าง เรียกว่าตาบอดตาใส ไม่รู้สึกว่ามีอะไรมาถูกตา อย่างนี้เป็นต้น หูก็เหมือนกัน มันมีเสียงแต่คุณไม่ได้ยิน   พระพุทธเจ้าดินจงกรมในโรงกระเดื่อง ฟ้าฝ่าวัวตาย 4 คนตาย 2 ก็มีคนมาบอกพระพุทธเจ้าว่าฟ้าผ่าดังสนั่น ท่านได้ยินไหม  พระพุทธเจ้าก็ว่าไม่ได้ยิน เขาก็ว่าท่านเข้าสู่ภพใน ทำให้จิตไม่รับรู้เลยได้ เสียงไปกระทบแก้วหูอยู่นะ ท่านยังเดินอยู่ใกล้ๆไม่ได้ยินอย่างไร คนฟังก็ว่าอัศจรรย์จริงหนอเขาเรียกว่าฌาน ว่าสมาบัติ  สมาบัติ คือภาค ปฏิบัติให้แก่ตนเองจนเกิดคุณสมบัติอย่างหนึ่ง ท่านที่มีคุณสมบัติขนาดนั้น คนที่มาพบก็บอกว่าอัศจรรย์จริงหนอท่านทำการสมถจิตของท่าน ดีเก่งเป็นคุณสมบัติพิเศษของพระพุทธเจ้าเราทำไม่ได้ขนาดนั้นก็เป็นความจริงเท่านั้นเอง  สรุปแล้วอากาสาฯกับวิญญานัญจา ก็เป็นคู่หนึ่ง ความว่างกับสิ่งที่ไปรู้ว่าว่าง  ส่วนอีกคู่คือ อากิญจัญฯ กับเนวสัญญาฯ 

      อากิญจัญคือรูป  นิดหนึ่งน้อยหนึ่ง คุณไม่มี สภาวะสัมผัสอันนี้ก็ไม่มี มันเกินกว่าว่างก็ได้ ว่างมันก็ว่างแต่นี่ไม่มีอะไรเลย

      เนวสัญญาฯคุณรู้ไหม จะว่ารู้ก็ไม่ใช่ไม่ได้ต้องพ้นจากความรู้ก็ไม่ใช่ไม่รู้ก็ไม่ใช่ ต้องพ้นจากเนวสัญญานาสัญญายตนะก็เป็นสัญญายตนะก็เป็นสัญญาเวทยิตนโรธต้องกำหนดเลยรู้ให้หมดเลยจะว่ารู้ก็ไม่ใช่ไม่รู้ก็ไม่ใช่ไม่ได้ยังไม่ถือว่าเป็นพระอรหันต์ อรหันต์ต้องถึงสัญญาเวทยิตนิโรธต้องกำหนดรู้ความดับสนิทอันนั้นรู้แจ้งรู้หมดเลยในความไม่มี     ว่างมันต้องมีความว่าง แต่มันไม่มีมันก็คือไม่มี 

     สุดท้ายพระพุทธเจ้าก็บอกว่าคุณก็ต้องใช้ความมีกับความไม่มีเป็นบัญญัติในการสื่อ

     พระไตรปิฎกเล่ม 16 ข้อ 43 บอกไว้ นัตถิกับอัตถิ หรือ โหติกับมโหติ เป็นพยันชนะที่ใช้สื่อสภาวะเราก็จะไม่สงสัย

     บรรลุแม้เนวสัญญานาสัญญายตนะ กับอากิญจัญญายตนะ จนเป็นสัญญาเวทยิตนอโรธเป็นวิโมกข์ข้อสุดท้ายตัวที่ 8

7.   ผู้ที่ล่วงพ้น อากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะสัพพโส  อากิญ-จัญญายตนัง สมติกกัมมะ เนวสัญญานาสัญญายตนัง อุปสัมปัชชะ วิหรติ ฯ หรืจิตวิญญาณต้องพ้นสิ่งที่ไม่รู้ และไม่มีมี่จะไม่รู้

8.   ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง (สัพพโส เนวสัญญานาสัญญายตนัง สมติกกัมมะ สัญญาเวทยิตัง นิโรธัง อุปสัมปัชชะ วิหรติ) หรือพ้นอวิชชาสังโยชน์

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 10 “มหานิทานสูตร”  ข้อ 66

พระไตรปิฎกเล่ม 23  “วิโมกขสูตร” ข้อ 163

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ

ไฟล์แนบ : ขยายสภาวธรรม วิโมกข์ ๘ โดย สู่แดนธรรม นาวาบุญนิยม.docx


เวลาบันทึก 07 กรกฎาคม 2562 ( 16:50:40 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 08:06:31 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:35:39 )

วิโมกข์ 8

รายละเอียด

 วิโมกข์ 8 คือธาตุพฤติกรรมของการปฏิบัติตั้งแต่ข้อ 1 

  1. ผู้มีรูป  ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย   (รูปี  รูปานิ  ปัสสติ) 

  2. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปภายใน (10/66)   ย่อมเห็นรูปทั้งหลายในภายนอก (อัชฌัตตัง  อรูปสัญญี .   เอโก  พหิทธา รูปานิ  ปัสสติ) . (*พ่อท.แปลว่ามีสัญญาใส่ใจในอรูป)

  3. ผู้ที่น้อมใจเห็นว่าเป็นของงาม (สุภันเตวะ  อธิมุตโต . โหติ,    หรือ  อธิโมกโข  โหติ   (พ่อครูแปลว่า เป็นโชคอันดีงามที่ผู้นั้นโน้มไปเจริญ สู่การบรรลุหลุดพ้นได้ยิ่งขึ้น) 

พตปฎ. ล.10  ข.66 /  ล.23  ข.163 ข้อ 1 2 3 คือข้อนิยาม ข้อจำกัดตามเงื่อนไขของการปฏิบัติ  คุณต้องมีวิโมกข์ข้อที่ 1 ต้องมี รูปี รูปานิปัสสติ คุณต้องมีรูปและคุณต้องเป็นผู้ที่สามารถสัมผัสรูปเรียกว่า รูปานิ  รูปี คือรูปต่างๆ รูปีคือเงินของอินเดีย  รูปานิ คือตัวของคนผู้นี้สามารถรู้รูป คนตาบอดจะไม่เห็นนะรูปไม่เข้ากับวิโมกข์ข้อนี้ปฏิบัติไม่ได้เพราะเป็นคนไม่เห็นรูป ตาไม่มี หรือคุณหลับตา คุณก็ไม่ได้อยู่ในฐานะของ รูปานิ หรือคนตาบอดไม่มีตาเห็นก็ไม่มีรูปานิ ปัสสติคือเห็น ข้อ 1 รูปีรูปานิปัสสติบาลีมีแค่นี้ ข้อที่ 2 ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปภายใน (10/66)   ย่อมเห็นรูปทั้งหลายในภายนอก (อัชฌัตตัง  อรูปสัญญี .   เอโก  พหิทธา รูปานิ  ปัสสติ) . (พ่อครูแปลว่ามีสัญญาใส่ใจในอรูป)ข้อนี้ พยายามอนุโลมก็ได้ ละเว้นรูปภายใน จะไปเห็นแต่ภายนอก คือ คุณไม่ต้องสำคัญภายใน เอาแต่ภายนอกก็ดีนะ แต่ไปนั่งหลับตาทำสมาบัติก็เห็นแต่ภายในไม่มีรูปภายนอก ข้อ 1 คุณไม่มีแล้วข้อ 2 คุณก็ไม่เข้าท่า ของพระพุทธเจ้านั้น อัชฌัตตัง  อรูปสัญญี .   เอโก  พหิทธา รูปานิ  ปัสสติ หมายความจำเต็มว่าในประดารูปมีทั้งรูปภายนอก พหิทา มีทั้งรูปภายใน อัชฌัตตัง เพราะฉะนั้นคุณมี สัญญา ผู้นี้ถ้าสัญญากำหนดรู้ได้เรียกว่า เป็นผู้มีสัญญากำหนดรู้ได้ทั้งโลกภายนอก สามารถที่จะรับรู้ได้ทำให้กิเลสหมดได้ทางภายนอกจนกระทั่งเข้าไปถึงขั้น รูปสัญญา มีกามสัญญา มีรูปสัญญา หลุดพ้นไปตามลำดับ หมดกามสัญญาภายนอกหมดก็เหลือ ภายใน รููป อรูป แต่คุณไม่ต้องหนีไปไหนคุณก็ลืมตาอยู่กับกามคุณ 5 ทั้งหมดแต่คุณมีอุตรจิต คุณมีจิตอยู่เหนือกมทั้งหลายแล้ว  กามทั้งหลายทำอะไรคุณไม่ได้แล้วคุณเป็นโลกุตระบุคคล คุณเป็นคนอยู่ในโลกของกามนี้ได้แล้ว เหลือแต่กิเลสภายในเป็นอนาคามีภูมิ เป็นรูปาวจร เป็นรูปของกิเลสขั้นหยาบต่อมาจากกาม มันเหลือภายในก็ล้างรูปภพหรือรูปาวจรให้หมด หมดแล้วก็เหลืออรูป ซึ่งเป็นภายใน มี กาม มีรูป มีอรูปภายในมีขั้น รูป อรูปเป็นอัชฌัตตังเป็นภวตัณหา หรือภวกิเลส เป็นอนาคามี ก็ล้างรูปก่อน เหลือแต่อรูป เพราะฉะนั้นก็ละไว้ในฐานที่เข้าใจเลยว่าคุณต้องละกิเลสที่หยาบตั้งแต่ภายนอก ทั้งรูปภายใน หมดแล้วเหลืออรูปก็ต้องจัดการต่ออีก จัดการให้หมด นี่คือวิโมกข์ ข้อที่ 2 อย่างสัมผัสเห็นของคุณเอง ไม่ใช่เดาเอา แต่สัมผัสอยู่โต้งๆ สัมผัสอยู่เห็นภายนอกด้วยนะนี่สัมผัสทุเรียนอยู่ภายนอกกาม เราเฉยๆ แต่มันยังระริกระรี้อยู่ภายใน ถ้ามันแรงก็เรียกว่ารูป ถ้ามันเหลือนิดหน่อยก็เรียกว่าอรูป นี่เหตุจากทุเรียนนี้ก็สัมผัสทุเรียนนี้อยู่แต่มันยังมีกิเลสข้างใน ใครมีรูปกับคุณหรอกคุณจะรู้ของคุณ ถ้าคุณไม่รู้คุณก็เผลอไผล เลอะหลวม นึกว่าคุณหมด แต่มันไม่หมดมันต้องอ่านละเอียดเข้าไปรู้ความจริงตามความเป็นจริงนะ เพราะฉะนั้นต้องทำซ้ำแล้วซ้ำอีกทำอีก ทำแล้วต้องสัมผัสกันไม่รู้กี่ครั้ง มันถึงจะชัดเจนว่าจะมาอีกเท่าไหร่ก็หมดแล้วจากเหตุอันนี้ แต่ก่อนติดทุเรียนแต่ก่อนติดแตงไทยแต่ก่อนติดแตงโม แต่ก่อนก็ติดเสียงติดในกลิ่นในรูปในรสอะไรก็แล้วแต่ ก็ทั้งนั้นแหละ เพราะฉะนั้นคุณปฏิบัติธรรมของพระเจ้าคุณสัมผัสจริงและคุณก็รู้อาการเกิด มีกิเลสจริงแล้วคุณก็จัดการกับกิเลสนั้นให้ไม่มีจริง คุณก็จะต้องรู้ วิราคานุปัสสี นิโรธานุปัสสี ปฏินิสสัคคานุปัสสี ตามอ่านตามเห็นว่ามันจางคลาย มาอีกกี่ครั้งกี่ทีก็ ปฏินิสสัคคา ทำทวนทำซ้ำ จิตไม่มีสวรรค์  สัคคะ คือสวรรค์เสพติดอยู่ นิสสัคคะคือไม่มีอีก ทวนแล้วทวนอีก ปฏินิสสัคคะ รู้ว่ามันไม่มีหรือว่ามันไม่มีจนชัดเจนเลย ทีนี้เป็นนิโรธานุปัสสี ดับ เห็นความดับเลยมีสัมผัสอย่างไรจะทีเผลอที่ตั้งใจไม่ตั้งใจมันก็ไม่เกิด กิเลสก็ไม่เกิด 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันอาทิิตย์ที่ 21 มิถุนายน 2563


เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 18:09:58 )

เวลาบันทึก 03 สิงหาคม 2563 ( 07:53:21 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:36:14 )

วิโมกข์ 8

รายละเอียด

กายต้องมีภายนอกเสมอ กายมีแต่ภายในไม่ครบ หรือกายเน้นแต่ภายในยังไม่เต็มต้องเต็มทั้งรูปทั้งนาม เต็มทั้งภายในภายนอก ในวิโมกข์ 8 คือ

ข้อ 1 มีทั้งรูปและผู้รู้รูป แล้วต้องสัมผัสกันคือปัสสติ

วิโมกข์ข้อ 2 ต้องมีทั้งภายนอกและภายในเรียกว่า อัชฌัตตังกับพหิทา แล้วมีรายละเอียดอัชฌัตตังต้องรู้ตั้งแต่รูปนอกหยาบ จนลดละได้เลื่อนเข้ามาใน แต่ไม่ได้ทิ้งภายนอก ภายนอกเห็นอยู่ แต่ก็เห็นภายใน โดยส่วนตัวเอโก จะมีทั้งภายนอกและภายในไม่ได้ขาดกัน จนกระทั่งละกิเลสภายนอกได้ก็ยังมีสัมผัสภายนอกอยู่แต่อยู่เหนือแล้ว กิเลสภายนอกทำอะไรเราไม่ได้ ไม่ใช่กิเลสด้วย อันอื่นเขาเป็นพิษภัย แต่ทำอะไรเราไม่ได้ หมดกามภพ ก็เหลือรูปภพ อรูปภพ ก็ต้องมีกำหนดสัญญี ทั้งรูปธรรมอรูปธรรม กามรูป รูปรูป อรูปรูป ก็ลดละไปตามลำดับตั้งแต่ภายนอกมาถึงภายใน ภายนอกเราเหนือมัน ไม่ได้หนีจากภายนอก แล้วก็มาเป็นภายใน จิตก็เดินทางไปเรื่อยๆ โน้มเป็น trend อธิโมกข์หรืออธิจิต จิตโน้มไป ไปสู่ที่สูงที่สุดของงาม เรียกว่าสุภะ

สุภะคือไปสู่สิ่งที่น่ามีน่าเป็นไปเรื่อยๆ สุภันเตวะคือสุภะกับอันตะ อันตะคือไปสู่ปลายสุดปลายข้างไปเรื่อยๆ อันใดที่ทำได้ เอวะ คือสิ่งนี้ของเราเอง ไม่ผิดไปจากสภาวะ ทำให้เจริญไปเรื่อยๆ

การแปลพยัญชนะว่าน้อมใจไปเห็นว่าเป็นของงาม การเห็นคือปัสสติ จะมี trend โน้มไปสู่สิ่งที่ดี สุภันเตวะ คือไปหาที่สุดที่สูง อันตะ อันตา โน้มไปเรื่อยๆ เป็นผู้เจริญไปตามลำดับ เรียกว่าข้อที่สามของวิโมกข์

แล้วสรุป 8 ข้อนี้ว่าจะต้องมีครบด้วยกาย จะต้องสัมผัสวิโมกข์ 8 ให้ครบรูปนาม กายคือธรรมะสอง กายคือรูปนาม กายคือภายนอกกับภายใน เป็นธรรมะ 2 ตลอด กายกับใจ หรืออิตถีภาวะกับปุริสภาวะ หรือปุริสภาวะกับสุญญภาวะ

สมบูรณ์แล้วเป็น ปุงลิงค์(ปุริสภาวะ) นปุงสกลิงค์(สุญญภาพ) จะครบบริบูรณ์

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ มาทำแก่นชีพ-เชื้อชาติพุทธให้รุดหน้าเกินพัน วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 09 กุมภาพันธ์ 2564 ( 20:01:24 )

วิโมกข์ 8

รายละเอียด

คือสภาวะจิตหลุดพ้นจากกิเลส 8 ขั้นตอน

1. ผู้ได้รูปฌาน ย่อมเห็นรูป (ในภายใน)

2. ไม่มีความสําคัญในรูปในภายใน (รูปจิต)เห็นรูปในภายนอก (แม้อรูปจิต)

3. น้อมใจเห็นว่า เป็นของงาม (จิตเกิดผลเจริญโน้มไปสู่ที่หมาย)

4. บรรลุอากาสานัญจายตนะ (อากาศหาที่สุดมิได้) เพราะล่วงพ้นรูปสัญญา (การกําหนดรู้รูป) ดับปฏิฆสัญญา (การกําหนดรู้ การกระทบกระทั่งจิต) ไม่ต้องทําใจในนานัตตสัญญา (การกําหนดรู้อารมณ์ต่างๆ)

5. บรรลุวิญญาณัญจายตนะ(วิญญาณหาที่สุดมิได้) เพราะล่วงพ้นอากาสานัญจายตนะ

6. บรรลุอากิญจัญญายตนะ(อะไรน้อยหนึ่งก็ไม่มี) เพราะล่วงพ้นวิญญาณัญจายตนะ

7. บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ (กําหนดรู้อยู่ก็ไม่ใช่ ไม่กําหนดรู้อยู่ก็ไม่ใช่) เพราะล่วงพ้นอากิญจัญญายตนะ

8. บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ(กําหนดรู้แจ้งอารมณ์ว่ากิเลสดับสนิทเด็ดขาดแล้ว) เพราะล่วงพ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 10 “มหานิทานสูตร” ข้อ 66


เวลาบันทึก 15 มีนาคม 2565 ( 20:13:10 )

วิโมกข์ 8

รายละเอียด

อย่างนี้แยกความต่าง สำคัญจริงๆ คือความต่าง ถ้าแยกความต่างนี้ มันยิ่งละเอียดเป็นความต่างที่ยากที่จะรู้ ถ้าแยกความต่างนี้ไม่ออก ไม่มีทางที่จะเรียนรู้อะไรได้ เช่น เทวะ แปลว่า สอง แยกสองไม่ออก เทวะแปลว่าสภาพสอง เมื่อเป็นวิญญาณเมื่อเกิดมาเป็นคนจะต้องมีธาตุรู้กับสิ่งที่ถูกรู้ เรียกว่ารูปกับนาม แยกรูปแยกนามไม่ออก รูปเป็นสิ่งที่ถูกรู้ นามเป็นตัวที่ไปรู้รูปนั้น รูปีรูปานิ ปัสสติ รูปี รูปานิ เป็นสองคือสิ่งที่รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ คุณอยากสลับกัน รูปี เป็นผู้รู้ รูปานิเป็นสิ่งที่ถูกรู้ รูปานิ สิ่งที่รู้ก็ได้หรือ รูปี เป็นสิ่งที่รู้ กับรูปานิ คือสิ่งที่ถูกรู้ก็ได้สลับกันไปสลับกันมาก็ได้ อย่าสับสนสภาวะก็แล้วกัน 

เสร็จแล้วมันเกิดปัสสติการรู้การเห็นที่มีตาหูจมูกลิ้นกายด้วย รู้จากการเห็น ไม่ใช่รู้แต่เฉพาะอยู่ข้างในอันเดียว นี่ วิโมกข์ 8 ข้อที่ 1 รูปี รูปานิ ปัสสติข้อที่ 2 อัชฌัตตัง อรูปสัญญี เอโก พหิทา รูปานิ ปัสสติ อัชฌัตตัง แปลว่าภายใน พหิทา แปลว่าภายนอก อรูปสัญญี แปลว่าผู้กำหนดรู้ ถึงขั้นภายในถึงขั้นอรูป โดยที่ไล่ไปจากพหิทา รูปานิปัสสติ รู้รูปจากภายนอกไป เรียนรู้ไปตามลำดับ จากหยาบภายนอก จนหมดกิเลสภายนอกเหลือกิเลสภายในเป็นรูป จะมีสาม กาม รูป อรูป อันกลางก็รูป 

ต้องลดกิเลสในรูปก่อน สุดท้ายคืออรูป ท่านก็สั้นๆ ละไว้ในฐานที่เข้าใจรวมเป็นสูตรอยู่ในวิโมกข์ 8 มันก็ยากสำหรับคนที่ไม่มีรายละเอียดยังทำไม่ได้จนกระทั่งหมดกามภายนอกภายในเป็นรูปก็ทำรูปต่อให้หมดไป กิเลสขั้นรูป แล้วเหลือแต่อรูป ก็ทำอรูปให้หมดไปอีกใน อัชฌัตตัง ในภายในหมดจดเป็น 3 เส้า กาม รูป อรูป ก็ครบส่วนวิโมกข์ข้อที่ 3 นั้น สุภันเตว อธิมุตโตโหติ พยัญชนะบาลีมีแค่นี้ สุภันเตวะหรือสุภะ อันเตวะ คือ อันตะ แปลว่าที่สุด ที่สุดของอันนั้น(เอวะ) อะไร อันที่เราจะต้องจัดการ ทำให้ดีที่สุด จะดีสุดได้ คุณต้องมีทิฏฐิสัมมา ยืนยันอันที่ 3 ยืนยันวิโมกข์ข้อที่ 3 ด้วยทิฏฐิที่ต่างกัน ถ้าหากทิฏฐิต่างกันก็คนละเรื่องคนละพวกแล้ว ถ้าหากทิฏฐิตรงกันก็จะเป็นอันเดียวกัน สิ่งที่น่าได้ น่ามี น่าเป็น เรียกว่า สุภะหรือดีแท้ มันจะทำตรงนี้แหละ เช่นสุภกิณหา เอาอาภัสราก่อน 

ใน วิญญาณฐีติ ข้อที่ 3 จะอ่านอาภัสรา โดยมีกายอย่างเดียวกัน แต่สัญญาต่างกัน อย่างธรรมกายนี่ กายของเขาใสๆๆๆ ลืมตาเขาก็ใสๆๆๆหลับตาเขาก็ใสๆๆๆ เอาใสไปกำหนด ใสๆเขาเอาแต่อย่างใสๆๆๆ เขาก็ได้อาภัสราใสอย่างเดียว ไม่มีกิณหา แยกไม่ออก แยกความมืดความดำไม่ออกเลย ทิ้งความมืดความดำเอาแต่ใสๆๆ กลายเป็นกายอย่างเดียวกันเอาแต่ใส แต่สัญญาณมันคนละอย่าง คนนี้ก็กำหนดของตนเองคนนั้นก็กำหนดของตนเองแต่ก็โมเมเป็นสัมโภคกาย ใส ทั้งข้างนอกข้างใน ใสๆๆ มันก็เป็นความจริง 

วิโมกข์ 8 ข้อที่ 3 อาภัสราส่วนมาเป็นอันที่ 4 นี้ยากกว่าอันที่ 3 สุภกิณหา ยินดีในความมืด อันนี้ไม่ใช่พวกใสแล้วเป็นพวกมืด พวกที่ไม่รู้เรื่องเพราะมัวหลับตาไปซึ่งต่างกันกับสายธรรมกายที่ลืมตา เรียกว่าพวกตาบอดตาใส คือ ถ้าคนตาบอด ตามันไม่ใสมันจะขุ่นก็รู้ว่าตาบอด แต่นี่เหมือนคนตาดีเลยนะ ตาใสบ้องก้องเลย แต่มันบอด มันไม่เห็น ก็เลยลวงคนเก่ง หลอกคนเก่ง พวกตาบอดตาใสหลอกคนได้เต็มบ้านเต็มเมืองเลย เห็นไหม…สัจธรรมมันเป็นอย่างนั้น เลยได้พวกมาก เพราะคนยุคนี้คนฉลาดน้อย แต่พวกมากเป็นสัญชัยเวลัฏฐบุตร พระสารีบุตรชวนมาหาพระพุทธเจ้าก็ไม่มา จะอยู่กับพวกมาก อยู่กับสัญชัยเวลัฏฐบุตร เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดจริงในยุคนี้เกิดจึงมีจริงมีธัมมชโย ชื่อจริงเขาชื่อ ไชยบูลย์ เดี๋ยวนี้เป็นสมีไปแล้ว แต่เขาก็ไม่ยอมรับหรอก พวกมากก็ว่ากันไป จนกระทั่งพระสังฆราช ท่านลงไปด้วยพระลิขิตถึง 4-5 แผ่นว่าปาราชิก เป็นสมี คนที่มันงมงายก็งมงายกันอยู่อย่างนั้นก็เชื่อว่าเป็นอาจารย์ผู้รู้ผู้ใหญ่ เดี๋ยวนี้ก็ยังไม่รู้ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร เก่งที่ปิดบังข่าวคราวได้ แต่ยังมีกิจกรรมกิจการอะไรกันอยู่ในที่เขา วัดธรรมกายเขายังมี ก็ปล่อยไป วิบากใครวิบากมัน

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 46 วิญญาณกับวิญญัติ วันมาฆบูชา วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 29 พฤษภาคม 2565 ( 09:03:40 )

วิโมกข์ 8

รายละเอียด

มันจะพาดพิงมาถึงวิญญาณฐิติ 7 วิโมกข์ 8 วิโมกข์แปลว่าหลุดพ้น ผู้จะหลุดพ้นวิโมกข์คือหลุดพ้น ผู้ที่จะหลุดพ้นได้ จะต้องสัมผัส จะต้องสัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย นี่เป็นสำนวนพยัญชนะที่ท่านเรียบเรียงเอาไว้ คือจะต้องสัมผัสวิโมกข์

วิโมกข์มีอะไรบ้าง.. มีรูป มีนาม มีภายนอกภายใน แล้ว ความเป็นสัมมาทิฏฐิกับมิจฉาทิฏฐิ วิโมกข์ข้อ 1 ต้องรู้จักรูปและต้องมีรูปที่จะปฏิบัติโดยการสัมผัสเห็น พยัญชนะบาลีมีแค่ รูปีรูปานิปัสสติ มีรูปและคุณต้องเป็นผู้ที่สามารถเห็นรูปได้ คนตาบอด รู้รูปไม่ได้ ไม่เห็นรูปได้เพราะตาบอด ได้แต่สัมผัสไม่เต็ม ถึงจะศึกษาอย่างไรก็ไม่เต็ม บรรลุอรหันต์สิ้นอาสวะหมดเลยไม่ได้ ผู้ที่จะสิ้นอาสวะหมด ต้องสัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย  ถ้าไม่สัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกายสิ้นอาสวะไม่ได้  เพราะฉะนั้นพวกไปนั่งหลับตาไม่มีกายภายนอก โมฆะ จากการสิ้นอาสวะสุดท้าย โมฆะเลย เพราะฉะนั้นจะต้องเป็นสัตตาวาส 9 อยู่อย่างนั้นแหละ ความเป็นฌานของ สัตตาวาส 9 ความเป็นฌานของมิจฉาทิฏฐิ ความเป็นฌานของเดียรถีย์ เขาก็นั่งหลับตาไม่มีกายทั้งนั้น หรือ ไม่นั่งหลับตาลืมตาก็ตามอยู่ในภพอยู่ในภวังค์ คิด เช่น สายท่านพุทธทาส ว่าง นิ่ง เฉยหรืออย่างหลวงอัตถ์ ว่าง นิ่ง เฉย ก็ยึดสมมุติที่เป็นภพเป็นชาติของความว่าง เป็นลัทธิ ยึด ได้ความว่าง ความว่างอันนี้เป็นนิรมานกาย ความว่างอันนี้เป็นภพเป็นชาติที่สมมุติเอาไว้ในห้วงความคิดเท่านั้น 

แต่ความจริงเขายังไม่ได้พ้นความเป็นกาย เขายังติดอยู่ในความเป็นกาย ติดในรูปรสกลิ่นเสียง เป็นต้น เอาละ อาจจะลาภยศหยาบๆไม่ติดแล้ว แต่ลาภยศที่มันละเอียดขึ้นไปอีก อย่างท่านมหาประยุทธ์เป็นต้น  ยศก็ยังมี ยังอยู่ในยศนั่นแหละ แม้แต่ท่านพุทธทาสท่านก็มียศที่สูงกว่าท่านมหาประยุทธ์เพราะท่านไม่เกี่ยว ท่านเป็นขั้นธรรม ขอให้ท่านเป็นพระธรรมโกศาจารย์ แต่ท่านไม่เคยรับไม่เคยยึดถือว่าท่านอยู่ในตำแหน่งนี้ แต่ท่านมหาประยุทธ์ท่านยังอยู่ในตำแหน่งอยู่ จะบอกว่าไม่รับแต่ก็ยังอยู่ อาตมาก็ยังบอกแล้ววิจิกิจฉาอยู่เหมือนกันว่าท่านหลุดพ้นหรือไม่หลุดพ้น แล้วท่านทำไมไม่ออกมา 

วิโมกข์คือหลุดพ้น ถ้าคุณไม่หลุดพ้น คุณก็รู้ตัวเองว่ายังอยากได้อยากมีอยากเป็น ยังสุขยังทุกข์อยู่กับมัน ยังเอร็ดอร่อยอยู่กับมัน ยังต้องลำบากลำบนทุกข์ร้อนอยู่กับสุขกับมัน อย่างนี้เป็นต้น คุณก็ต้องอ่านอาการของจิต อาการ ลิงค นิมิต อ่านอาการของรูปนามขันธ์ 5 ของคุณ แล้วมันจะไกลมันจะลึกไปถึงรูปนามขันธ์ 5 แล้วลึกไปถึงขั้นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งยังไม่ขออธิบายวันนี้ ผ่านไปก่อน มันจะละเอียดเกิน แล้วมันจะไม่เข้าเป้าที่จะอธิบายอีก 4 อันสำหรับวันนี้  

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 11 วิญญาณฐิติ 7 วิโมกข์ 8 อนุปุพพวิหาร 9 สัตตาวาส 9 ตอนที่1 วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 14 มิถุนายน 2566 ( 10:37:55 )

วิโมกข์ 8 ของพุทธ

รายละเอียด

1. ผู้มีรูป  ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย   (รูปี  รูปานิ  ปัสสติ)

2. *ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปภายใน (10/66)   ย่อมเห็น   รูปทั้งหลายในภายนอก (อัชฌัตตัง  อรูปสัญญี .   เอโก  พหิทธา รูปานิ  ปัสสติ). (*พ่อท.แปลว่ามีสัญญาใส่ใจรู้ในอรูป)

3. ผู้ที่น้อมใจเห็นว่าเป็นของงาม (สุภันเตวะ  อธิมุตโต . โหติ,    หรือ  อธิโมกโข  โหติ   (พ่อท่านแปลว่า เป็นโชคอันดีงามที่ผู้นั้นโน้มไปเจริญ สู่การบรรลุหลุดพ้นได้ยิ่งขึ้น)

4.  ผู้ล่วงพ้นรูปสัญญา  เพราะดับปฏิฆสัญญา  เพราะไม่(ต้อง)  ใส่ใจถึงนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง  จึงบรรลุอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่าอากาศหาที่สุดมิได้ (สัพพโส รูปสัญญานัง สมติกกัมมะ   ปฏิฆสัญญานัง อัตถังคมา  นานัตตสัญญานัง  อมนสิการา    อนันโต  อากาโสติ    อากาสานัญจายตนัง  อุปสัมปัชชะ  วิหรติ)

5.   ผู้ที่ล่วงพ้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง  จึงบรรลุวิญญาณัญจายตนะ  ด้วยมนสิการว่า  วิญญาณ หาที่สุดมิได้   (สัพพโส   อากาสานัญจายตนัง  สมติกกัมมะ   อนันตัง   วิญญาณันติ   วิญญาณัญจายตนัง   อุปสัมปัชชะ   วิหรติ ฯ)

6.   ผู้ที่ล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงจึงบรรลุอากิญจัญญายตนะ  ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร  (สัพพโส   วิญญาณัญจายตนัง  สมติกกัมมะ   นัตถิ  กิญจีติ         อากิญจัญญายตนัง  อุปสัมปัชชะ   วิหรติ)

7.   ผู้ที่ล่วงพ้น  อากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ  (สัพพโส  อากิญ-จัญญายตนัง  สมติกกัมมะ   เนวสัญญานาสัญญายตนัง  อุปสัมปัชชะ  วิหรติ ฯ)  หรือจิตวิญญาณต้องพ้นสิ่งที่ไม่รู้  และไม่มีที่จะไม่รู้  คือ ย่อมรู้จนจบแจ้งจริงๆ 

8 .ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ  เพราะล่วงเนวสัญญา-นาสัญญายตนะ  โดยประการทั้งปวง (สัพพโส  เนวสัญญานาสัญญายตนัง  สมติกกัมมะ   สัญญาเวทยิตัง   นิโรธัง  อุปสัมปัชชะ วิหรติ)   หรือพ้นอวิชชาสังโยชน์

อันผู้เข้าถึงแล้ว พึงทบทวนตรวจสอบอย่างอนุโลมบ้าง  อย่างปฏิโลมบ้าง ทั้งอนุโลมและปฏิโลมบ้าง  หรือบางขณะก็อยู่ในอารมณ์บางขณะก็ไม่อยู่ในอารมณ์แห่งวิโมกข์8   อยู่บ้าง-ไม่อยู่บ้างตามคราวที่ต้องการ  ตามที่ปรารถนาและตามกำหนดที่ประสงค์   จึงบรรลุเจโตวิมุติ - ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้  เพราะอาสวะสิ้นไป  เพราะทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน  นี้เรียกว่า อุภโตภาควิมุติ 

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎก เล่ม 10  ข้อ 66 /  เล่ม 23  ข้อ 163 พระไตรปิฎก เล่ม 10  ข.66 มหานิทานสูตร

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ

ไฟล์แนบ : ขยายสภาวธรรม วิโมกข์ ๘ โดย สู่แดนธรรม นาวาบุญนิยม.docx


เวลาบันทึก 30 กรกฎาคม 2562 ( 20:28:43 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 08:10:53 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:37:35 )

วิโมกข์ 8 ข้อที่ 1

รายละเอียด

วิโมกข์ 8 เน้น สุภกิณหาคือความไม่มีวิโมกข์ ​8 คุณก็ต้องรู้รูป รู้รูปแล้วคุณก็ต้องเป็นผู้ที่มีตา อย่าไปหลับ เป็นผู้ที่มีรูป รูปี รูปานิปัสสติ นี่คือวิโมกข์ 8 ข้อที่ 1 คุณปฏิบัติธรรมต้องมีรูป แล้วคุณต้องเป็นผู้มีสิ่งที่จะสามารถดูรูปเป็นผู้รู้รูป ถ้าคุณตาบอดคุณก็ไม่มีสิ่งที่จะเห็นรูปไม่ปัสสติ ตาบอดปฏิบัติไม่ได้ แต่คุณตาไม่บอดแล้วคุณไปหลับตามันก็เหมือนกับคนตาบอดอย่างที่พระพุทธเจ้าตรัส ฟังให้ดีๆเถอะคนไปหลับตาปฏิบัติคุณไปทำลายให้บอดทำไม วิโมกข์ข้อที่ 1 คุณก็ผิดแล้ว แล้วคุณก็บอกว่าเป็นวิโมกข์สมาบัติ เข้าสมาบัติ คุณก็หลับตาปฏิบัติไปเข้าฌานเข้าสมาบัติ เข้าสมาธิ ซึ่งฌานและสมาธิพวกนี้มันเป็นเรื่องของเดียรถีย์ฤาษีทั้งนั้น ไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า สมาบัติก็ตาม ฌานก็ตาม สมาธิของพระพุทธเจ้านั้นเกิดจากจรณะ 15 วิชชา 8 นี่ก็ไม่มีใครเอามาพูดหรอก ปฏิบัติศีลก็ไม่มีเป็นเงื่อนไขปฏิบัติก็ไม่มี แล้วจะไปเอาสัทธรรม 7 มาจากที่ไหน ศรัทธา หิริโอ ตัปปะ ก็ไม่มี วิริยะสติ ปัญญาก็ไม่มี ปัญญาไม่มีภายนอกไม่ได้ ปัญญาต้องมีภายนอกร่วมด้วย สัมผัสและรู้รอบทั้งหมดจึงจะเกิดปัญญา ถ้าคุณมีแต่ภายในมีแต่สัญญา สัญญานั้นใช้กำหนดภายนอกได้ด้วย แต่สัญญาพัฒนาขึ้นไปก็เป็นปัญญา 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2563


เวลาบันทึก 25 พฤศจิกายน 2563 ( 13:34:17 )

วิโมกข์ 8 ข้อที่ 1

รายละเอียด

1. ผู้มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย (รูปี รูปานิ ปัสสติ) การเห็นทางทวารทั้ง 5 นั่นแหละคือการเห็น ตากระทบรูป หูกระทบเสียง ฯ

ในโลกมีสิ่งที่เรียกว่า รูป เป็นอะไรที่สัมผัสรู้ได้ เรียกว่ารูป ในข้อที่ 2 มีอรูปด้วย

ข้อ 1 เอาแต่รูปก่อน คนคนใด คุณมีความรู้ คุณสามารถจะรู้รูปได้เรียกว่า รูปานิ ถ้าคนไม่มีตา ตาคุณบอดก็ไม่เห็นรูป คุณคนนี้ไม่ใช่รูปานิ

คุณเป็นคนหูหนวก ก็ไม่ได้ยินเสียง คนนี้ไม่ใช่รูปานิ ไม่ใช่คนที่มีรูป เขามีรูปแต่คุณไม่มี คุณหูหนวกตาบอด จมูกของคุณประสาทเสียไม่ได้กลิ่นก็เหมือนกัน ลิ้นของคุณประสาทรับรสไม่ดีก็เหมือนกัน เหมือนกับจระเข้ไม่มีลิ้นรับรสไม่ได้

คุณต้องมีสิ่งที่คุณจะรู้เรียกว่า รูปานิ ผู้ที่มี 1.มีรูปที่จะต้องรู้ได้ 2.คุณจะต้องเป็นคนที่รู้รูปได้ด้วย เป็นคนมีประสาทสัมผัสครบ ต้องมีธรรมะสอง รูปานิคือธรรมะสอง ไปกระทบรูปนั้นคุณจะต้องเห็น นี่คือมีวิโมกข์ ข้อที่ 1

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ วิญญาณฐีติ 7 สัตตาวาส 9 วิโมกข์ 8 วันพุธที่ 17 มกราคม 2561 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 18 เมษายน 2564 ( 16:18:22 )

วิโมกข์ 8 ข้อที่ 1 รูปี รูปานิ ปัสสติ

รายละเอียด

วิโมกข์ 8 มิจฉาทิฏฐิทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นเถรสมาคม ไม่ว่าพระป่าที่นั่งหลับตาทั้งหลาย ก็เข้าใจว่าไปเข้าสมาบัติคือไปนั่งหลับตา เรียกว่าสมาบัติ เข้าสมาบัติ ซึ่งมันไม่ใช่ วิโมกข์ ​8 นั้นเป็นการอธิบาย ให้รู้ว่าศาสนาพุทธนั้นมันมี รูปีรูปานิ แล้วต้องปัสสติ นี่เป็นวิโมกข์ข้อที่ 1 บาลีมีเท่านี้ 

รูปี กับรูปานิ คือมีรูปที่จะให้รู้ นี่ กล้วยอ้อย กระเจี๊ยบ มันจาวมะพร้าว ก็มีสารพัดให้รู้รูปี รูปานิ คือผู้ที่จะไปรู้รูป ก็ต้องมีประสาท มีโคจร มีวิสัย ที่ที่จะเข้าไปรู้ คนตาบอด รูปมันมี แต่ตาไม่มี ก็ปัสสติเห็นไม่ได้ หรือคนหูหนวก เสียงมันมี เสียงสารพัดเสียง แต่หูมันหนวก มันรู้ไม่ได้ 

คนจมูกบอด จมูกหนวก จมูกโหว่ ไม่มีประสาททางจมูกเลยที่จะสัมผัสรู้กลิ่น มันก็รู้กลิ่นไม่ได้ ลิ้น คนไม่รู้ ลิ้นเป็นไอ้เข้ ก็ไม่มีทางรับรู้รสได้ โผฏฐัพพะ คือการสัมผัสภายนอกทั้งหมดมันก็ไม่มีให้สัมผัส เช่น วิญญาณสัมภเวสี ไม่มีตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่ได้สัมผัสอะไรเลย พวกนี้มืดตลอดกาล มืด

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ โฮมแฮงกันซัดหอกเพื่อฆ่าโจรทำลายศาสนา วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 พฤศจิกายน 2564 ( 11:09:15 )

วิโมกข์ 8 ข้อที่ 2

รายละเอียด

เพราะว่าคุณเป็นอสัญญีสัตว์ แล้วคุณก็หลง ไปดับจิต เมื่อดับจิตแล้วจะไปเรียนรูปฌานก็ไม่ได้แล้ว แล้วจะไปเรียนอรูปฌานได้อย่างไร เพราะคุณปิดมาตั้งแต่อสัญญีสัตว์ ไปดับสัญญา หลับตาดับสัญญา ที่นี้ เมื่อไม่ดับสัญญา คุณก็ต้องออกมาปฏิบัติอินทรีย์ข้างบนนั้นมีกาย แล้วกายคุณก็จะต้องลืมตาทั้งหมด แต่ไม่ดับสัญญานะ ไปดับสัญญาแล้วจะซวย คุณต้องมีสัญญากำหนดรู้ เพราะอย่างนี้ เขาจึงไปแปลวิโมกข์ 8 ในข้อที่ 2 พระบาลีมีว่า “อัชฌัตตัง อรูปสัญญี เอโก พหิทา รูปานิ ปัสสติ” ในวิโมกข์ 8 ข้อที่ 2 อ่านตามพระไตรปิฎก…ผู้ไม่มีความสำคัญในรูป ภายใน ย่อมเห็นรูปทั้งหลายในภายนอก 

วิโมกข์ 8 

  1. ผู้มีรูป  ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย   (รูปี  รูปานิ  ปัสสติ) 

  2. *ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปภายใน (10/66)   ย่อมเห็น   รูปทั้งหลายในภายนอก (อัชฌัตตัง  อรูปสัญญี .   เอโก  พหิทธา รูปานิ  ปัสสติ) 

อสัญญี เขาไปแปลว่า ผู้ไม่มีความสำคัญมั่นหมายในรูปภายใน ย่อมเห็นรูปภายนอก คุณต้องมีสัญญา รูปภายในนั้นเป็นลำดับที่ 2 จากลำดับภายนอก แต่คุณไปหลับตาก็ไม่ได้ล้างกิเลสภายนอก ซึ่งล้างกิเลสภายนอกก่อน แล้วคุณจะเหลือกิเลสภายในเรียกว่า รูป ส่วน อรูป พระพุทธเจ้าละไว้ในฐานที่เข้าใจ คำว่า อรูปสัญญี สัญญีคือผู้มีความกำหนดรู้ในรูปในอรูป เพราะฉะนั้นในสังโยชน์ข้อที่ 2 มันเลยจากภายนอกเข้าไปหาภายใน เมื่อไม่ต้องไปวุ่นวายทางภายนอกได้แล้ว ก็เข้าไปกำหนดภายใน แต่เขาไปแปลอสัญญีว่า ไม่มีการกำหนดรู้รูปภายใน มันก็เลยไม่รู้เรื่องในรูปภายใน ที่จริงแล้วศาสนาพุทธต้องมากำหนดเรียนรู้ภายใน เรียนจิต มโน วิญญาณ เป็นหลัก แล้ว หากไม่มี จิต มโน วิญญาณแล้วคุณไปปฏิบัติกับภายนอกไม่ได้ ต้องมีประธานคือ จิต มโนวิญญาณ แต่ถ้าไปดับสัญญาภายในไปดับการกำหนดรู้ ตัวสัญญาเป็นตัวทำงาน แต่ให้อสัญญีไปเลยก็เจ๊งสิ ภายนอกก็ไม่รู้ภายในก็ไม่รู้ทั้งหมด 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2563


เวลาบันทึก 25 พฤศจิกายน 2563 ( 13:22:17 )

วิโมกข์ 8 ข้อที่ 2

รายละเอียด

2. *ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปภายใน (10/66) ย่อมเห็นรูปทั้งหลายในภายนอก (อัชฌัตตัง อรูปสัญญี เอโก  พหิทธา รูปานิ  ปัสสติ)  (*พ่อท่านฯแปลว่ามีสัญญาใส่ใจในอรูป) ปัสสติคือเห็น เห็นอะไร เห็นทั้งรูปภายนอก คือพหิทารูปานิ เห็นทั้งรูปภายใน อัชฌัตตัง แต่เขาไปแปล อัชฌัตตัง อรูปสัญญีว่า ผู้ไม่สำคัญมั่นหมาย ก็เลยไม่กำหนดรู้อะไร ไม่ใช่ พ่อท่านก็บอกว่าอรูป ไม่ใช่อสัญญี แต่คนไม่เข้าใจอย่างสัมมาทิฏฐิก็เอา อ ไปขยาย สัญญี แปลว่าผู้ไม่กำหนดสำคัญมั่นหมายในสัญญา แปลไปว่าผู้ไม่เห็นความสำคัญในรูปภายใน ก็เลยไม่ได้เรียนรู้ภายใน จะเป็นวิโมกข์ 8 ได้อย่างไร เป็นความมิจฉาทิฏฐิ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ  วิญญาณฐีติ 7 สัตตาวาส 9 วิโมกข์ 8 วันพุธที่ 17 มกราคม 2561 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 18 เมษายน 2564 ( 16:21:29 )

วิโมกข์ 8 ข้อที่ 3 คือรูปฌาน

รายละเอียด

ส่วนวิโมกข์ 8 ข้อที่ 3 สุภันเตเรียกว่า อันตะ จากสุภันเตวะ คำว่า เอวะ คือ สิ่งที่เราปฏิบัติตามนั้นแหละ สุภะ แปลว่า สิ่งที่ควรเป็นควรได้ ท่านก็แปลว่างามก็ไม่ผิด แต่ฟังแล้วเป็นโลกียะ สรุปง่ายๆว่าต้องเอานิพพานให้ได้ก็โน้มทิศทางไปสู่นิพพานในที่สุด คุณก็ทำอันนี้ให้ โหติ ให้มี ให้เป็น ให้สมบูรณ์แบบ

เพราะฉะนั้นในวิโมกข์ 8 ข้อที่ 3 เท่ากับรูปฌาน รูปฌานต้องมี 4 เขาเข้าใจไม่ได้ก็จะโมเมไปใหญ่อธิบายเรื่อง ฌาน พวกที่หลับตาก็ไม่มีสภาวะก็เลยไม่รู้เรื่อง อาตมาเรียนรู้ฌานโลกีย์ ไม่มีปัญหาหรอกแต่ของพระพุทธเจ้าไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นอย่างนั้น แต่เป็นฌานที่เป็นธาตุรู้ที่เผากิเลสได้ เป็นฌาน 1 2 3 เข้าฌาน 4 ก็เป็นสภาวะอุเบกขา ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา จะไปเอานิยายกับอรรถกถาจารย์ไม่ได้หรอกเพราะท่านยังไม่มีสภาวะ 

สรุปแล้ววิโมกข์ 8 ข้อที่ 3 นี้คือ รูปฌาน สมบูรณ์แบบครบถึงขั้นอุเบกขา แล้วก็ตรวจสอบรายละเอียดลงไป

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ เทวนิยมใหญ่สุดโต่งอย่างไรในศาสนาพุทธ วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 17 มิถุนายน 2564 ( 19:13:21 )

วิโมกข์ 8 ครบทุกข้อ จึงจะได้“สัญญาวทยิตนิโรธ”!

รายละเอียด

นั่นคือ “วิโมกข์ 8”ต้องมีตั้งแต่ข้อ 1 ครบถึงข้อที่ 8 จึงจะบรรลุ “สัญญา เวทยิต นิโรธ”ที่เป็น“สัมมาทิฏฐิ”ถูกตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

ถ้าเรียก“วิโมกข์ 8”ว่า เป็น“สมาบัติ”ก็ต้องเป็น“สมาบัติแบบพุทธไม่ใช่“สมาบัติ”แบบเดียรถีย์ ที่“หลับตา”ปฏิบัติแน่ๆ จึงจะบรรลุ“สัญญาเวทยิต นิโรธ” อันไม่ใช่บรรลุ“อสัญญีสัตว์(สัตตาวาส ข้อที่ 5)”เลย

“สัตตาวาส 9”นั้น คือ ผู้ยังมี“อวิชชา”ก็เป็น“สัตว์”อยู่ ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง หรือเป็นอยู่หมดทั้ง 9 อย่าง

ส่วนผู้ที่ปฏิบัติเป็น“สัมมาทิฏฐิ” เช่น ผู้ปฏิบัติในขณะมี“วิญญาณฐีติ 7” ก็สามารถบรรลุ“สัญญา เวทยิต นิโรธ”หรือบรรลุ“นิพพาน”ได้จริงในขณะที่มี“กาย”หรือมี“ตา,หู,จมูกลิ้น,โผฏฐัพพะ”ทำหน้าที่“กำหนดรู้อยู่(มีสัญญาที่กำหนดรู้ภายนอกอยู่ = วิญญาณฐีติ 7)

 

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ รวมเปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อที่ 434 หน้า 316


เวลาบันทึก 12 มิถุนายน 2564 ( 19:04:51 )

เวลาบันทึก 12 มิถุนายน 2564 ( 20:45:18 )

วิโมกข์ 8 ต้องมีภาวะ 2 คือรูปกับนาม!

รายละเอียด

ชัดเจนมั้ยว่า “ทฤษฎีวิโมกข์ 8”นั้นต้องมี“ภาวะ 2”ได้แก่ “รูปกับนาม”  นี่คือข้อกำหนดใน“วิโมกข์ 8”ข้อที่ 1 ก็ยืนยันว่า “รูปี รูปานิ ปัสสติ”

รูปี คือ รูป และรูปานิ คือ ผู้ที่จะเห็นรูป (ผู้หลับตาหรือผู้ตาบอดหรือผู้ไม่มีสัญญาในรูปนั้นๆ ผู้นั้นก็ไม่เห็นรูปนั้นแน่) ปัสสติ คือ เห็น เมื่อมี“รูป”และมี“ผู้ที่จะเห็นรูป”(ภาวะ 2) เกิดการ“สัมผัส”ด้วย“ตา”(ตากระทบรูป) ก็ต้อง“เห็น” ขึ้นมาแน่ บาลีว่า“ปัสสติ”นี่เอง แต่ถ้าไม่มี“ภาวะ 2”(ตากับรูป เป็นต้น)ทำงานครบหน้าที่ ก็ไม่เกิด“การเห็น(ปัสสติ)”ขึ้นมาได้ จึงต้องมี“การสัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย” 

ดังนั้น ผู้“หลับตา”ก็ดี ผู้“ตาบอด”ก็ดี แม้แต่ผู้“ตากระทบรูป”อยู่แท้ๆ แต่“ไม่มีสัญญา(อสัญญี)”ทำงาน ผู้นั้นย่อมไม่มี“การเห็น”ขึ้นมาได้

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ รวมเปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อที่ 433 หน้า 315


เวลาบันทึก 12 มิถุนายน 2564 ( 19:01:07 )

เวลาบันทึก 12 มิถุนายน 2564 ( 20:45:46 )

วิโมกข์ 8 ต้องลืมตาปฏิบัติ

รายละเอียด

วิโมกข์ 8 อีกแหละ ไม่มีหลับตา เขาเข้าใจว่าต้องไปนั่งหลับตาทำสมาบัติ วิโมกข์ 8 ต้องลืมตาทำให้อย่างสัมมาทิฏฐิ 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 08 เมษายน 2563 ( 10:22:01 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 03:35:54 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:37:59 )

วิโมกข์ 8 ถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ

รายละเอียด

ในวิโมกข์ 8 ใน 3 ข้อต้น ไม่ใช่สมาบัติทั้งหมดไม่ใช่อนุปุพพวิหาร วิโมกข์ 8 เป็นการเจาะลงไปให้รู้ว่าการปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้า มีทั้งตัวเล็กตัวใหญ่อย่างไร มีการรู้รูป รู้นาม มันจะครบทั้งโลกภายนอก และทั้งโลกภายในอัตตาทั้งอัตตาเลย

ข้อที่ 3 ทำให้เกิดจิต สุภันเตวอธิมุตโตโหติ ไม่ได้แปลว่าของงาม แต่แปลว่าของน่าได้ น่ามี น่าเป็น สุภันเตวะ ก็หมายถึงสิ่งใดสิ่งนั้น สุภ อันตะ เอวะ เป็นที่สุด อันนั้น มันน่าได้เป็นที่สุด อันนั้นอันไหน ก็คือนิพพาน ปรินิพพาน ก็มาปฏิบัติให้จิตมันน้อมไป อธิมุตโต โหติ คือมีแท้จริง หรือเสร็จแล้ว ให้ไปสู่อันนี้

นี่ 3 ข้อ ของวิโมกข์

ข้อ 4 5 6 7 8 คือ อรูปฌาน 4 กับสัญญาเวทยิตนิโรธ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะและสัญญาเวทยิตนิโรธ 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม  ร้อยมาลัยพระอภิธรรมตามแบบพ่อครู วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 27 มกราคม 2564 ( 22:01:49 )

วิโมกข์ 8 อย่างสัมมาทิฏฐิ

รายละเอียด

เพราะว่าวิโมกข์ 8 ต้องมีทั้งภายนอกและภายในมีทั้งรูปและนาม มีครบตั้งแต่รูปฌาน สามข้อแรก รวมอรูปฌานอีก ส่วนอีกสี่ข้อต่อมาเป็นอรูปฌาน ข้อที่แปดคือสัญญาเวทยิตนิโรธคือวิโมกข์ 8

ถ้าหากไม่เข้าใจรูปนามตามวิโมกข์ 8 ไม่เข้าใจธรรมะ 2 ไม่เข้าใจความเป็นกาย เมื่อเข้าใจความเป็นกายไม่ได้ คุณก็สัญญาผิด เพราะฉะนั้นในข้อ 1

มีสัญญาต่างกัน สัญญาอย่างหนึ่งผิด สัญญาอย่างหนึ่งถูก หากสัญญาได้ถูกก็จะเรียนรู้วิญญาณได้

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ วิญญาณฐีติ 7 สัตตาวาส 9 วิโมกข์ 8 วันพุธที่ 17 มกราคม 2561 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 18 เมษายน 2564 ( 16:00:44 )

วิโมกข์ 8 เป็นเครื่องมือปฏิบัติให้รู้ถึงความเป็นสัตว์ของตัวเอง

รายละเอียด

มีคนอยากให้อาตมาอธิบาย ซึ่งจะต้องอธิบายพร้อมทั้งวิโมกข์ 8 สัตตาวาส 9 วิญญาณฐิติ 7 อธิบายให้ถึงวิโมกข์ 8 ให้ดีเพราะว่าวิโมกข์ 8 เป็นอุปกรณ์เครื่องมือเป็นตัวที่จะต้องปฏิบัติให้รู้ แล้วถึงจะรู้สภาวะตัวเองหรือวิญญาณตัวเอง หรือความเป็นสัตว์ของตัวเอง 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 31 มีนาคม 2563 ( 09:38:42 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 03:37:17 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:38:19 )

วิโมกข์ ข้อที่ 1 รูปีรูปานิปัสสติ ต้องสัมผัสรูปด้วยการลืมตา

รายละเอียด

วิโมกข์ ข้อที่ 1 รูปีรูปานิปัสสติ อ้างอิงวิโมกข์ วิโมกข์คือความตรัสรู้ หรือความรู้ที่เข้าขั้นโลกุตระของพระพุทธเจ้าเลยทีเดียว พยัญชนะบาลีมีแค่ 3 คำ รูปี รูปานิ ปัสสติ

ปัสสติ แปลว่าเห็น แปลว่าสัมผัสด้วยคู่ ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส ต้องสัมผัสกันเห็นชัดๆ เพราะฉะนั้น รูปี รูปานิ ปัสสติ คือ ผู้มีความสามารถจะเห็นรูป ปกติ คนที่มีตาหูจมูกลิ้นกายพร้อมที่จะเห็นหรือสัมผัส รูปที่เป็นภาพ เสียง กลิ่น รส พร้อม 

เพราะฉะนั้นผู้ที่จะหลุดพ้นต้องมีการเห็น มีปฏิกิริยาเห็นด้วย ได้ยินก็ได้ยินด้วย ได้กลิ่นก็ได้กลิ่นด้วย เปิดรับ ตื่นเต็ม รู้ตัวเต็มๆ อยู่ ไม่ใช่ไปนั่งหลับตา ไปนั่งหลับตาทำให้ตัวเองตาบอด ถ้านั่งหลับตาเข้าไปข้างในด้วย ปิดหู ปิดความรู้สึกสัมผัสหมดเลย มันออกนอกรีตไปไกล ออกนอกทางศาสนาพุทธไปไกลมากเลย ไปนั่งหลับตาปิดหูปิดตา 

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน อินทริยภาวนาสูตร พระพุทธเจ้าตรัสกับอุตตระมานพ บอกว่าอาจารย์เธอสอนอย่างไร เขาก็บอกว่าสอนให้ปิดหู ปิดตา ปิดทวารทั้ง 5 พระพุทธเจ้าก็บอกว่าอย่างนั้นสอนให้เป็นคนตาบอด หูหนวกเหรอ อุตรมานพก็เลยคอตก นั่งนิ่ง เก้อเขิน ก้มหน้าซบเซา หมดปฏิภาณปัญญา ผู้ที่มีปฏิภาณปัญญาจะฉุกคิด แต่พวกที่ไม่มีปฏิภาณปัญญา พูดเท่าไหร่ก็ไม่ฉุกคิด เจ้าประคุณเอ๋ย เมื่อไหร่จะเป็นคนที่เลิกเป็นเต่าตาบอด มุดห่วงสักที โผล่มามุดห่วง น่าสงสาร น่าเห็นใจจริงๆเลย ทำไมถึงได้ปึกได้ปึกดี ภาษาอีสาน ปึกได้ปึกดีปึกขนาด

 

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปฏิบัติ รูป 28 ในสติปัฏฐาน 4

วันพุธที่ 21 กันยายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 10 ตุลาคม 2565 ( 15:36:36 )

วิโมกข์ ข้อที่ 2

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นวิโมกข์ข้อที่ 2 เขาจึงแปลแล้วมันก็เลยสับสน ข้อที่ 2 นี้ อัชฌัตตังอรูปสัญญี เอโก พหิทารูปานิปัสสติ หมายความว่า คุณจะต้องรู้ทั้งภายนอกและภายใน พหิทา คือภายนอก อัชฌัตตังคือภายใน และคุณต้องรู้ต้องเห็นทั้งหมด ปัสสติ โดยคุณต้องใช้สัญญา อย่าไปแปลว่า อสัญญี สัญญี เป็นคำประกอบกับ อรูปสัญญีก็จริง เป็นคำผสมกันก็จริง แต่ไม่ได้เอา อ ไปใส่กับ สัญญี ท่านเรียงไว้ดีแล้ว แต่ไปแปลรวมกับ สัญญี ก็คือแปลว่า ไม่สำคัญมั่นหมายในการเรียนรู้ ที่จริงแล้วท่านให้กำหนดรู้ให้หมด กำหนดรู้ตั้งแต่ภายนอกภายใน ภายนอกกำหนดรู้แล้วกำจัดตั้งแต่ กาม ก็เหลือภายใน รูป อรูป ก็ลดกิเลสใน รูป จนหมดก็ล้างกิเลสใน อรูปต่อ ก็หมดส่วนกิเลสของตัวเอง เอโก โดยส่วนเดียว ของตนนั่นแหละ คือเอโก ไม่ต้องไปยุ่งของคนอื่น เพราะฉะนั้นวิโมกข์ 8 เพราะไม่มีสัมมาทิฏฐิ จึงไปผิดเพี้ยน แล้วก็ไปนั่งหลับตาไปหมด มันก็เลยไม่รู้ภายนอกภายในที่เป็นลำดับ มีทั้งคู่ทั้งภายนอกทั้งภายใน แต่เอาแต่ภายใน พหิทา ภายนอกเอาของท่านไปทิ้งที่ไหนก็ไม่รู้ 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2563


เวลาบันทึก 25 พฤศจิกายน 2563 ( 13:35:16 )

วิโมกข์ ข้อที่ 3

รายละเอียด

ข้อที่ 3 น้อมใจว่าเป็นของงาม อาตมาว่า แปลอย่างคนไม่รู้สภาวะธรรม จริง มันแปลว่าของงามได้ สุภะ แต่น่าจะแปลว่า ของที่น่าได้ น่ามี น่าเป็น สุภะ เพราะฉะนั้นผู้ที่มี อธิมุตโตโหติ หรืออธิโมกโขโหติ ผู้ที่เข้าถึงปฏิบัติได้ไปตามลำดับๆ อธิโมกข์หรืออธิมุติ อธิยังไม่ถึงขั้นวิมุต วิโมกข์ อธิคือ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เป็นการเจริญขึ้น เจริญขึ้น เจริญขึ้น เป็นอธิ ผู้ที่ทำจิตให้เจริญขึ้นอย่างนี้ได้ท่านก็แปลสำนวนว่า เป็นการน้อมจิตไป ฟังสำนวนโน้มจิตไป ก็จะกลายเป็นว่าเราเข้าใจว่าไปทำให้จิตมันโน้มไปเฉยๆ ซึ่งมันไม่ใช่ มันต้องเป็นจิตที่เจริญไป เจริญเข้าไปไล่ไปหาความเจริญสูงสุด เป็นลำดับๆ เป็นอธิโมกข์ อธิมุติ เจริญขึ้นไปเรื่อยๆเป็นอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา อธิมุติ สุดท้ายก็เป็นวิมุติหมดจบ ผู้ที่ทำจิตเจริญได้เรื่อยๆจิตมันก็เจริญขึ้นไปตามลำดับ อธิศีล ไปเรื่อยๆ ปัญญาก็เป็น อธิปัญญาไปเรื่อยๆจึงเรียกว่าจิตเจริญขึ้น แต่ไปเรียกว่า โน้ม… ฟังแล้วมันเหมือนกับ โน้มกิ่งไม้ โน้มหัวมาตีเข่า ฟังแล้วมันก็โน้มๆ จิตมันเทไป เทไปในทางเจริญ จิตมันเจริญไป เจริญดีขึ้นดีขึ้นดีขึ้น จึงเรียกว่า จิต พัฒนาขึ้น อธิขึ้นไปเรื่อยๆ อาตมาพยายามใช้สภาวะอธิบายเป็นพยัญชนะออกมาที่พูดนี้เอาสภาวะตัวเองออกมาขยาย ฟังแล้วให้ปฏิบัติได้ ถ้าจะพูดไปตามสำนวนบางทีก็เข้าใจยาก แต่อย่างที่อาตมาพูดนี้พยายามให้เข้าใจง่าย เป็นภาษาที่เหมือนหงายของที่คว่ำให้เข้าใจได้ง่าย 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2563


เวลาบันทึก 25 พฤศจิกายน 2563 ( 13:36:29 )

วิโมกข์คือการทำฌาน เป็นความผิดเพี้ยนของศาสนาพุทธ

รายละเอียด

อาตมาเข้าใจ ทั้งวิโมกข์ 8 ข้อ แล้วก็อาศัยกันต่อเนื่องไป ตั้งแต่ข้อ 1 จนถึงข้อ 8 หากบอกว่าวิโมกข์คือการทำฌาน แล้วทำอย่างไรก็ไปนั่งหลับตาไม่มีรูปให้เห็น นี่คือความผิดเพี้ยนจากศาสนาพุทธไปแล้ว 

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ บ้านราช วันจันทร์ที่ 20 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 01 กุมภาพันธ์ 2563 ( 09:45:11 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 08:12:50 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:38:34 )

วิโมกข์​ 8

รายละเอียด

คือสภาวะจิตหลุดพ้นจากกิเลส 8 ขั้นตอน

1. ผู้มีรูป  ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย   (รูปี รูปานิ ปัสสติ) 

2. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปภายใน  ย่อมเห็น รูปทั้งหลายในภายนอก (อัชฌัตตัง  อรูปสัญญี เอโก พหิทธา รูปานิ ปัสสติ) . (*พ่อครูแปลว่ามีสัญญาใส่ใจในอรูป)

3. ผู้ที่น้อมใจเห็นว่าเป็นของงาม (สุภันเตวะ  อธิมุตโต . โหติ, หรือ อธิโมกโข โหติ (พ่อครูแปลว่า เป็นโชคอันดีงามที่ผู้นั้นโน้มไปเจริญ สู่การบรรลุหลุดพ้นได้ยิ่งขึ้น) จิตคุณปฏิบัติให้มีความโน้มไปสู่วิมุติวิโมกข์ คุณต้องรู้ว่าจิตคุณไปในทิศทางถูก

สามข้อแรกกำกับว่าต้องมีการเห็นมีผัสสะภายนอก หูได้ยินเสียง และต้องมีจิตวิญญาณภายในรับรู้ด้วย ต้องมีสองเสมอ เป็นเทวะ มีกายมีรูป นาม อันหนึ่งเป็นธาตุรู้อีกอันเป็นตัวรู้ ผู้มีรูป  ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย (รูปี รูปานิ ปัสสติ) ต้องมีสัมผัสเกิดธาตุรู้ทางทวารทั้ง 5 วิโมกข์ 8 ​สามข้อนี้ชัดเจนต้องมีสัมผัสทั้งนอกและใน ฌานมี 4 แต่คนเข้าใจผิดว่าฌานคือวิโมกข์ แต่ไม่ใช่ ฌานคือเหตุ วิโมกข์คือผล หากไม่มีทิศทางก็ไปไม่ถึงที่สุด สุภันเตวะ คือต้องให้ไปในทิศทางที่ถูกต้องเสมอๆ

 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2562

หนังสืออ้างอิง

พระไตรปิฎกเล่ม 10  ข้อ 66 / เล่ม 23  ข้อ 163


เวลาบันทึก 25 ธันวาคม 2562 ( 13:13:37 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 08:16:37 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:39:09 )

วิโมจยะ

รายละเอียด

1.  เปลื้องออก

2. สภาพปล่อยอยู่ สภาพที่เข้าใจแท้ได้ถึงลักษณะการหลุดอยู่ การพ้น-อยู่ แล้วก็ทำให้กับจิตของตน ๆ อยู่

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 10  136


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2562 ( 21:40:08 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:39:27 )

วิโมจยัง

รายละเอียด

ปลดปล่อย

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 43


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2562 ( 21:40:45 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:04:07 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:39:41 )

วิโมจยัง จิตตัง

รายละเอียด

1. ทำจิตให้เปลื้องออกอยู่

2. เห็นความปล่อยวางอยู่เสมอ ไม่ยึดมั่นถือ “ตายฝัง” หรือยึด “ตาย-คาที่” ในอันสิ่งใด

3. จิตที่เปลื้องอยู่ ที่ปล่อยอยู่ ๆ

4. ให้จิตเปลื้องจิตปล่อยวางอยู่

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 42,43

ทางเอก ภาค 3 หน้า 83

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 283


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2562 ( 21:42:16 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:06:44 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:40:21 )

วิโสเทติ

รายละเอียด

วิโสเทติ คือ สะอาดหมดจด

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 23 กันยายน 2562 ( 08:08:39 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 08:17:40 )

วิโสเธติ , วิโสธน

รายละเอียด

ความสะอาดหมดจด

หนังสืออ้างอิง

รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 182


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 07:26:39 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:08:40 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:40:57 )

วีต

รายละเอียด

ปราศจากไปแล้ว

หนังสืออ้างอิง

ยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 316


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 07:33:02 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:09:45 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:41:12 )

วีตราคะ

รายละเอียด

1. จิตไม่มีราคะ ก็รู้ว่าจิตไม่มีราคะ 

2. จิตหมดราคะ ก็รู้ว่าจิตหมดราคะ 

3. จิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ 

4. ใจไม่มีราคะ 

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 175, หน้า 555

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 111 

อีคิวโลกุตระ หน้า 228, หน้า 35


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 07:37:27 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:11:27 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:41:48 )

วีติกกม , วีติกฺกม , วีติกฺกมะ

รายละเอียด

1. การก้าวล่วง , การล่วงละเมิด 

2. การก้าวล่วงกิเลส

หนังสืออ้างอิง

อีคิวโลกุตระ หน้า 74

ยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 316


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 07:39:11 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:12:58 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:42:14 )

วีติกกมกิเลส

รายละเอียด

1. กิเลสหยาบ 

2. อกุศลจิต 3 คือโลภะ โทสะ และโมหะมูลจิตยังหยาบใหญ่อยู่ คือสัตว์นรกใหญ่ 

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 558

ทางเอก ภาค 2 หน้า 55


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 07:40:45 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:14:39 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:42:40 )

วีติกมกิเลส

รายละเอียด

กิเลสยังหยาบหนา

หนังสืออ้างอิง

จากหนังสือทางเอก ภาค 3 หน้า 51


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 07:41:28 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 17:17:15 )

วีตโทส , วีตโทสะ

รายละเอียด

1. จิตไม่มีโทสะ ก็รู้ว่าจิตไม่มีโทสะ 

2. จิตหมดโทสะ ก็รู้ว่าจิตหมดโทสะ 

3. จิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ 

4. ใจไม่มีโทสะ 

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 275, หน้า 555

อีคิวโลกุตระ   หน้า 228 ,หน้า 35 

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 111


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 07:34:40 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:17:20 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:43:07 )

วีตโมห , วีตโมหะ

รายละเอียด

1. จิตไม่มีโมหะ ก็รู้ว่าจิตไม่มีโมหะ 

2. จิตหมดโมหะ ก็รู้ว่าจิตหมดโมหะ 

3. จิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ

4. ใจไม่มีโมหะ 

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 275, หน้า 555

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 111 

อีคิวโลกุตระ หน้า 229, หน้า 35


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 07:36:05 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:19:23 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:43:38 )

วีตโลภะ

รายละเอียด

ปราศจากโลภะ

หนังสืออ้างอิง

เปิดโลกเทวดา หน้า 32


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 07:38:12 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:20:09 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:43:54 )

วีสะ

รายละเอียด

สิ่งเป็นพิษ ของกินเครื่องใช้ที่เป็นพิษเป็นภัยแก่สังขารชีวิต

หนังสืออ้างอิง

วิถีพุทธ หน้า 87


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 07:42:08 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:21:16 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:44:18 )

วุฏฐหติ

รายละเอียด

ตั้งขึ้น

หนังสืออ้างอิง

กำไร-ขาดทุนแท้ของอาริยชน / เราคิดอะไร ฉบับ 265


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 07:42:50 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:22:24 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:44:39 )

วุฏฐาน

รายละเอียด

1. ฐานดับ ฐานสงบ ฐานระงับ ฐานพัก 

2. ความหยุด ความวาง 

3. ออกจากฌาน หรือล่วงพ้นจากฌานหนึ่งไปสู่อีกฌานหนึ่ง

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 16, หน้า 338

อีคิวโลกุตระ หน้า 138


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 07:43:59 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:24:16 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:45:04 )

วุฑฒิ

รายละเอียด

1. ผู้เจริญ

2. ความเจริญ  ความก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้น

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 29

ทางเอก ภาค 3 หน้า 390


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 07:45:51 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:25:36 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:45:27 )

วูปสม

รายละเอียด

1. เป็นสุขที่เกิดขึ้นเพราะจิตที่สงบ ระงับขึ้น

2. สุขสงบ[ความเข้าไปสงบ] 

หนังสืออ้างอิง

จากหนังสือทางเอก ภาค 2 หน้า 147, จากหนังสือธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 38


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 07:46:43 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:27:07 )

วูปสมสุข

รายละเอียด

1. สุขแบบโลกุตระ 

2. ความสุขสบายที่สงบจากรสอร่อยสมใจอย่างโลกีย์ ๆ

3. สุขที่สงบจากกิเลส , สุขสงบ 

4. สุขอย่างพิเศษซึ่งเป็นความสุขเพราะสงบจากสุขจากทุกข์ที่เป็นโลกีย์แล้วสนิท

หนังสืออ้างอิง

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 12 

เปิดโลกเทวดา หน้า 66, หน้า 55

ทางเอก ภาค 3 หน้า 57, 

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 226 

 พุทธเป็นอเทวนิยมอย่างนี้ หน้า 87


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 07:48:26 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:30:31 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:46:12 )

วูปสโมสุข

รายละเอียด

ไม่สุขไม่ทุกข์ จะบอกว่าสุขก็เป็น วูปสโมสุข ขอยืมภาษามาใช้เป็นความสุขอย่างสงบ สุข อย่างไม่ต้องบำบัดบำเรอกิเลส ยืม พยัญชนะ วูปสโมสุขหรืออุปสโมสุข หรือ ปรมังสุขังก็ได้ อาตมาแปลว่า ยิ่งกว่าสุข ไม่ใช่แปลอย่างที่เขาแปลว่า สุขอย่างยิ่ง อันนั้นมันความสุขก็ยิ่งหนาแน่นสิ แต่นี่ยิ่งกว่าสุขนะ คือ อุเบกขาแล้ว มันไม่มีพยัญชนะจะบอกตายตัว 

อุเบกขาคือจิตบริสุทธิ์ ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา 

จิตที่บริสุทธิ์จากอาสวะ อย่างครบครัน อย่างมีปัญญาประกอบ อุเบกขาที่มีองค์ธรรม 5 ประการ พวกเราก็ท่องพยัญชนะบาลีจำได้ มีสภาวะก็เข้าใจก็มีไปเรื่อย บางคนเขามีหลายตัวที่อันนี้ บริสุทธิ์เที่ยงแท้แล้ว ที่โลกเขาติด เราไม่ติดกับเขาหรอก พวกอบายมุข ติดสิ่งเสพติดหยาบๆ ติดหมากพลู บุหรี่ แม้แต่ลิปสติก เราก็ไม่ติดแล้วจริง ๆ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ คุณสมบัติผู้กอบกู้ศาสนาพุทธในยุคกึ่งพุทธกาล วันพุธที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 05 สิงหาคม 2565 ( 06:41:14 )

วูปสโมสุข , วูปสโมสุโข

รายละเอียด

1. สุขที่สูงสุด 

2. สงบอย่างพิเศษ อย่างสงบจากกิเลส สงบเพราะว่างเบา จางคลาย ละขาดได้จากโลกียารมณ์ เป็นระดับๆ มาแท้ๆ

3. สุขชนิดวิเศษ 

4. สุขเกิดจากความว่างจากกิเลส , สุขที่สงัดจากกาม

5. ความสุขพิเศษแบบโลกุตระ 

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 366

ทางเอก ภาค 2 หน้า 302

อีคิวโลกุตระ หน้า 60, หน้า 142 , 148

วิถีพุทธ หน้า 80


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 07:51:22 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:32:31 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:46:46 )

ว่า

รายละเอียด

ว่า คือ การตำหนิ และชม

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม  บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 26 ตุลาคม 2562 ( 14:26:19 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 08:19:25 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:47:08 )

ว่างไม่หยุดเลย 

รายละเอียด

ว่างไม่หยุดเลย  คือ  พยัญชนะกับภาษาย้อนแย้งในตัว ว่างคือหยุด  กลางๆ เฉยๆ แต่ไม่หยุดเลย หากเราเข้าใจ เจตนาที่พูดจะฟังน้ำหนักสำเนียง  เน้นที่ว่า  ว่าง  หรือ ที่หยุดเลย  แต่ที่จริงผู้จะเน้น  จะสื่อที่ตัวเองรู้สึกว่า  เป็นคำที่ไม่ค่อยโก้เท่าไหร่  ไม่หยุด คือ ไม่ว่าง  เพราะฉะนั้น  ถ้าพูดว่า  อาตมาว่างไม่หยุดเลย  จะเน้นคำว่า “ว่าง” เพราะมันไม่ได้เท่เท่าไหร่  แต่คำว่าไม่หยุดนี้ เท่นะ  ขยัน  สร้างสรรทำกิจไม่เหน็ดเหนื่อย  ผู้มีปฏิภาณจะไม่อวดตัว  จะเน้นที่คำว่า “ว่าง”  อาตมา ว่างไม่หยุดเลย  ผู้ที่จะโชว์จะเน้นที่ว่า อาตมาไม่ว่างเลย แต่จิตว่างเทียบกับหลวงพ่อพุทธทาส ว่า  อาตมาว่าง ไม่หยุดเลย  จะเป็นภาษาคำสองคำที่เป็นเทวะ เป็นสิริมหามายา  หากองค์ประกอบ สุ้มเสียง  สำเนียง  กิริยารวมความได้แล้วตัดสินว่า อันนี้ก็เรียนรู้ ทำความเข้าใจไป  สิ่งใดที่ผู้นี้คิดประสงค์ให้เป็นแยกกันไม่ออกหรอก  ว่างกับไม่หยุดผู้มีชีวะอยู่ก็ต้องอาศัยสองส่วน  อาศัยทั้งความว่างของจิต  กับอาศัยการทำงานของจิต  สรุปแล้วเทวะ คือสองสภาพที่สารพัดทุกอย่างรวมที่เทวะ  ทุกอย่างจะแยกออกมาแล้วจะเอาไปใช้ไปทำแยกได้แล้วเราจะดำเนินไปได้ถูกต้อง

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 19 ตุลาคม 2562 ( 14:07:05 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 08:21:12 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:47:59 )

ว่าด้วยวงศ์ของอัมพัฏฐมาณพ

รายละเอียด

[150] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว มาณพเหล่านั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่าพระโคดมผู้เจริญ ขอพระองค์อย่าทรงเหยียดหยามอัมพัฏฐมาณพด้วยพระวาทะว่าเป็นลูกทาสีให้หนักนักเลย

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อัมพัฏฐมาณพมีชาติดี เป็นบุตรผู้มีสกุล เป็นพหูสูต เจรจาไพเราะ เป็นบัณฑิต และเธอสามารถจะโต้ตอบในคำนี้กับพระโคดมผู้เจริญได้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะมาณพเหล่านั้นว่า ถ้าพวกเธอคิดเช่นนี้ว่า อัมพัฏฐมาณพมีชาติทราม มิใช่บุตรผู้มีสกุล มีสุตะน้อย เจรจาไม่ไพเราะ มีปัญญาทราม และไม่สามารถจะโต้ตอบในคำนี้กับพระสมณโคดมได้ อัมพัฏฐมาณพจงหยุดเสียเถิด พวกเธอจงโต้ตอบกับเราในคำนี้

ก็ถ้าพวกเธอคิดเช่นนี้ว่า อัมพัฏฐมาณพมีชาติดี เป็นบุตรผู้มีสกุล เป็นพหูสูตร เจรจาไพเราะ เป็นบัณฑิต และสามารถจะโต้ตอบในคำนี้กับพระสมณโคดมได้ พวกเธอจงหยุดเสียเถิดอัมพัฏฐมาณพจงโต้ตอบกับเราในคำนี้.

มาณพเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อัมพัฏฐมาณพมีชาติดี เป็นบุตรผู้มีสกุลเป็นพหูสูตร เจรจาไพเราะ เป็นบัณฑิต และสามารถจะโต้ตอบในคำนี้กับพระโคดมได้ พวกข้าพเจ้าจักนิ่งละ อัมพัฏฐมาณพจงโต้ตอบกับพระโคดมในคำนี้เถิด.

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์กัณฑ์พิเศษ เนื่องในวันวิสาขบูชา พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสรู้วันเพ็ญเดือน 6 วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม 2565 ขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ปีขาล ตรงกับวันวิสาขบูชา ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 05 สิงหาคม 2565 ( 19:34:41 )

ว่าด้วยศากยวงศ์

รายละเอียด

[149] อัมพัฏฐะ เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าอุกกากราชทรงพระประสงค์จะพระราชทานสมบัติให้แก่พระโอรสของพระมเหสีผู้ที่ทรงรักใคร่โปรดปราน จึงทรงรับสั่งให้พระเชฏฐกุมาร คือพระอุกกามุขราชกุมาร พระกรกัณฑุราชกุมาร พระหัตถินีกราชกุมาร และพระสีนิปุระราชกุมาร ออกจากพระราชอาณาเขต พระกุมารเหล่านั้น เสด็จออกจากพระราชอาณาเขต แล้วจึงไปตั้งสำนัก

อาศัยอยู่ ณ ราวป่าไม้สากะใหญ่ริมฝั่งสระโปกขรณีข้างภูเขาหิมพานต์ พระราชกุมารเหล่านั้นทรงสำเร็จการอยู่ร่วมกับพวกพระภคินีของพระองค์เอง เพราะกลัวพระชาติจะระคนปนกัน.

อัมพัฏฐะ ต่อมาพระเจ้าอุกกากราชตรัสถามหมู่อำมาตย์ราชบริษัทว่า บัดนี้พวกกุมารอยู่กัน ณ ที่ไหน?.

พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ขอเดชะ มีราวป่าไม้สากะใหญ่อยู่ริมฝั่งสระโบกขรณีข้างภูเขาหิมพานต์ บัดนี้ พระราชกุมารทั้งหลายอยู่ ณ ที่นั้น พระราชกุมารเหล่านั้นทรงสำเร็จการอยู่ร่วมกับพวกพระภคินีของพระองค์เอง เพราะกลัวพระชาติจะระคนปนกัน.

อัมพัฏฐะ ทีนั้นพระเจ้าอุกกากราชทรงเปล่งพระอุทานว่า ท่านทั้งหลาย พวกกุมารสามารถหนอ พวกกุมารสามารถยอดเยี่ยมหนอ.

อัมพัฏฐะ ก็พวกที่ชื่อว่าศากยะปรากฏตั้งแต่กาลครั้งนั้นเป็นต้นมา และพระเจ้าอุกกากราชพระองค์นั้น เป็นบรรพบุรุษของพวกศากยะ

และพระเจ้าอุกกากราชมีนางทาสีคนหนึ่งชื่อทิสา นางคลอดบุตรคนหนึ่ง ชื่อกัณหะ กัณหะพอเกิดมาก็พูดได้ว่า แม่จงชำระฉัน จงให้ฉันอาบน้ำ แม่จ๋า ขอแม่จงปลดเปลื้องฉันจากสิ่งโสโครกนี้ ฉันเกิดมาเพื่อประโยชน์แก่แม่.

อัมพัฏฐะ มนุษย์สมัยนี้เรียกปีศาจว่า ปีศาจ ฉันใด มนุษย์สมัยนั้นก็ฉันนั้น เรียกปีศาจว่า คนดำ มนุษย์เหล่านั้นจึงกล่าวกันเช่นนี้ว่า ทารกนี้พอเกิดมาก็พูดได้ คนดำเกิดแล้วปีศาจเกิดแล้ว. อัมพัฏฐะ ก็พวกที่ชื่อว่ากัณหายนะ ปรากฏตั้งแต่กาลครั้งนั้นเป็นต้นมา และกัณหะนั้นเป็นบรรพบุรุษของพวกกัณหายนะ.

อัมพัฏฐะ เธอระลึกถึงโคตรเก่าแก่อันเป็นของมารดาบิดาดูเถิด พวกศากยะเป็นลูกเจ้าเธอเป็นลูกทาสีของพวกศากยะ ด้วยประการฉะนี้แล.

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์กัณฑ์พิเศษ เนื่องในวันวิสาขบูชา พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสรู้วันเพ็ญเดือน 6 วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม 2565 ขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ปีขาล ตรงกับวันวิสาขบูชา ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 05 สิงหาคม 2565 ( 19:33:46 )

ว่าวติดลม 

รายละเอียด

ว่าวติดลม  คือ  การเล่นว่าว  เมื่อชักไปบนอากาศแล้ว  เราก็ถือเชือกเฉยๆ แต่ว่าวก็จะอยู่ได้เพราะลมบนมันจะแรง  บางทีมันจะดึงว่าวตัวใหญ่ๆ ไปเลย

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายพ่อครู  รายการวิถีอาริยธรรม วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน 2562


เวลาบันทึก 01 ตุลาคม 2562 ( 17:30:27 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 08:22:11 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:48:25 )

ศรัทธา

รายละเอียด

1. ความเชื่อมั่นที่ถูกตรง เที่ยงตรงในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าในความจริงแท้ เชื่อการรู้เห็นและเป็นจริงที่ตนได้ ตนถึงแท้ในมรรคในผลในการละเลิก หลุดว่างออกจากทุกข์ ออกจากกิเลสได้สบายได้แท้จริง 

2. ความเชื่อ 

3. ปักจิตปักใจเชื่อแท้ 

4. ความรู้ 

คำอธิบาย

ศรัทธา  คือ ความเชื่อ  ความรู้  มีเชิงความเข้าใจ รู้เข้าใจจนเชื่อศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่มีความรู้ความหมายแล้วเอาไปปฏิบัติ  ทำให้เราเจริญ  เจริญทั้งความดี  เจริญทั้งความหมดสุข หมดทุกข์หรือลดความสุขความทุกข์

(รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราชฯ ครั้งที่ 68 (วันจันทร์ที่ 9 เดือนกันยายน 2562))

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 125, หน้า 487

ทางเอก ภาค 1 หน้า 77

ทางเอก ภาค 2 หน้า 617

รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 169

 


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 08:22:59 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 08:26:29 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:49:17 )

ศรัทธา

รายละเอียด

เกิดจากคุณปฏิบัติ คุณสัมผัสแล้วยังเกิดกิเลสคุณมีความละอายว่ากิเลสที่ยังมีอยู่ เมื่อปฏิบัติได้สูงขึ้นก็โอตัปปะ เลิกละเว้นได้จึงเกิดพัฒนาการ เป็นพหูสูตร คือพาหุสัจจะ เป็นผู้ที่พัฒนามีความจริงมากยิ่งขึ้นจะเป็นเช่นนั้นยืนยัน

ที่มา ที่ไป

พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 23 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 06 ธันวาคม 2562 ( 15:47:09 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 08:27:35 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:49:50 )

ศรัทธา ทิฏฐิ สัจจะ ต่างกัน

รายละเอียด

คือ  ศรัทธา ทิฎฐิ  สัจจะ มันไม่ใช่อันเดียวกัน  3 อย่างนี้ มันมีอะไรเหลื่อมกันอยู่ ศรัทธา คือ ความเข้าใจ ความรู้ ความเชื่ ทิฏฐิ  แปลว่าความรู้ ความเห็น  ความเข้าใจเหมือนกัน  ก็คล้ายๆกัน  สัจจะมันเป็นตัวบ่งบอกเลยว่า  คุณมีศรัทธาในสัจจะ  หรือศรัทธาในความไม่มีสัจจะ คุณมิทิฏฐิก็เหมือนกัน  ความเห็นของคุณตรงกับสัจจะ หรือ  ทิฎฐิของคุณไม่ตรงกับสัจจะ   สัจจะก็คือความจริง อธิบายเป็นอย่างอื่นไม่ได้  สัจจะก็คือความจริง แต่ความจริงนั้น แต่ละคนย่อมมีทิฏฐิต่างๆ  กว่าจะมีสัจจะ จะมีทิฏฐิตรงกันได้  ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ  ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ  หรือ มาศรัทธาเชื่อสัจจะที่เป็นสัจจะแท้เป็น ปรมัตถ์  สัจจะ  โลกุตระที่จบ ก็จะมีศรัทธาที่พอเชื่อร่วมกันได้  หรือมามีความเข้าใจ  เรียกว่าทิฏฐิสามัญญตา  มีความเห็นความเข้าใจที่พอจะมี จุดหมายปลายทางตรงกัน  แต่คนละขั้น  คนละฐานะก็อาจแย้งกันบ้าง  ไม่เป็นหนึ่งที่เดี่ยว อันนี้มี 2 ก็มี  2ไม่เท่ากัน อันนี้มี 3 ก็มี 3 ไม่เท่ากัน จนกว่าจะเป็นหนึ่งเดียว ซ้อนกันก็จะมีความเสมอสมานต่างกันไป  จนกว่าจะลงตัวเป็นหนึ่งเดียวกัน  ผู้ที่มีทิฏฐิสามัญญตา  รู้จักความสำคัญ  รู้จักความไม่เท่ากันอย่างเช่นชาวอโศก เรารู้จุดร่วมของเป้าหมายของพระอรหันต์อย่างนี้ตรงกัน แต่ความเห็น หรือทิฏฐิแย้งไม่ตรงกัน  ศรัทธาก็ไม่ตรงกัน  อย่างนี้เป็นต้น ศรัทธานิยามของมันคือ  ความรู้ ความเข้าใจ ที่เชื่อถือ เชื่อมั่น เชื่อฟัง ส่วนทิฏฐิคือความเห็นที่เป็นกลางๆ ก็คือ  ตัวความเข้าใจ การศึกษา ให้เป็นสัมมาทิฏฐิ  ถ้ายังมิจฉาทิฏฐิ  ก็ไม่ไปถึงสัจจะ สายปัญญาจะรู้จัก ศรัทธาได้ดีกว่า พวกสายศรัทธาที่จะไปรู้จักปัญญา  เพราะว่า ปัญญาจะมีความเข้าใจ  ความรู้ได้มากกว่า  ในลำดับของบุคคล 7  พระพุทธเจ้าถึงเอาผู้ที่ตามหาสาระ  ธัมมานุสารี  ถ้าสายศรัทธาก็เอาระดับ  เริ่มต้นที่ต่ำกว่าเพื่อน แล้วจึงมาเป็นธัมมานุสารี ทำไมไม่เรียกปัญญานุสารี

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 05 ธันวาคม 2562 ( 10:44:43 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 08:31:30 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 13:31:53 )

ศรัทธา 10

รายละเอียด

ธรรม 10 ประการนี้ก่อเกิดความเลื่อมใสโดยรอบ

 1. มีศรัทธา (ความเชื่อมั่นอย่างสัมมาทิฏฐิ  เชื่อถือเลื่อมใสในอริยสัจเป็นต้น)

 2. มีศีล (ข้อปฏิบัติเว้นจากความชั่วทั้งกาย วาจา ใจในบริบทที่สูงไปสู่สีลสัมปทาแห่งจรณะ15)

 3. เป็นพหูสูต/พาหุสัจจะ (ผู้ฟังมาก รู้มาก ปฏิบัติธรรมแทงตลอดได้มาก รู้สัจจะบรรลุจริงจนรู้มากขึ้น)

 4. เป็นธรรมกถึก (อธิบายสัจธรรม สอนความจริง)

 5. เข้าสู่บริษัท (สู่หมู่ชน หมู่กลุ่มอื่น)

 6. แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท

 7. ทรงวินัย (ตั้งอยู่ในข้อห้ามข้อบังคับ)

 8. อยู่ป่าเป็นวัตร (ข้อปฏิบัติ)  ยินดีในเสนาสนะอันสงัด (คืออุเบกขา)

9. ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบากซึ่งฌาน 4

10. กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุต ปัญญาวิมุตอันหาอาสวะมิได้     

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 24“สัทธาสูตร” ข้อ 8

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 07 กรกฎาคม 2562 ( 20:32:46 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:50:21 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 13:35:44 )

ศรัทธา 10

รายละเอียด

ธรรม 10 ประการนี้ก่อเกิดความเลื่อมใสโดยรอบ

1. มีศรัทธา (ความเชื่อมั่นอย่างสัมมาทิฏฐิ)

2. มีศีล(ข้อปฏิบัติเว้นจากความชั่วทั้งกายวาจาใจ)

3. เป็นพหูสูต (ผู้รู้มากศึกษามาก)

4. เป็นธรรมกถึก (นักเทศน์)

5. เข้าสู่บริษัท (หมู่ชน)

6. แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท

7. ทรงวินัย (ตั้งอยู่ในข้อห้ามข้อบังคับ)

8. อยู่ป่าเป็นวัตร (ข้อปฏิบัติ)

9. ได้โดยไม่ยาก ไม่ลําบาก ซึ่งฌาน 4

10. กระทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุต ปัญญาวิมุต

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 24 “สัทธาสูตร” ข้อ 8


เวลาบันทึก 16 มีนาคม 2565 ( 08:35:57 )

ศรัทธา 4

รายละเอียด

คือความเชื่อมั่นอย่างสัมมาทิฏฐิ

1. กัมมสัทธา (เชื่อมั่นว่ากรรมมีจริง)

2. วิปากสัทธา (เชื่ออมั่นว่าผลของกรรมมีจริง)

3. กัมมัสสกตาสัทธา (เชื่อมั่นว่าสัตว์โลกมีกรรมเป็นของตน)

4. ตถาคตโพธิสัทธา (เชื่อมั่นความรู้แจ้งของพระพุทธเจ้า)

ที่มา ที่ไป

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ "ประมวลธรรม" ป.อ.ปยุตโต "ศรัทธา 4" ข้อ 178

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 20 มิถุนายน 2562 ( 11:06:35 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:48:42 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:50:19 )

ศรัทธา 4

รายละเอียด

คือความเชื่อมั่นอย่างสัมมาทิฏฐิ

1. กัมมสัทธา (เชื่อมั่นว่ากรรมมีจริง)

2. วิปากสัทธา (เชื่อมั่นว่าผลของกรรมมีจริง)

3. กัมมัสสกตาสัทธา (เชื่อมั่นว่าสัตว์โลกมีกรรมเป็นของตน)

4. ตถาคตโพธิสัทธา (เชื่อมั่นความรู้แจ้งของพระพุทธเจ้า)

 

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พจนานุกรมพุทธศาสตร์ “ประมวลธรรม” ป.อ.ปยุตโต “ศรัทธา 4 ข้อ 178


เวลาบันทึก 13 มีนาคม 2565 ( 05:32:02 )

ศรัทธา 4 ความเชื่อมั่นอย่างสัมมาทิฎฐิ

รายละเอียด

พระพุทธเจ้าสรุปลงที่กรรม

1.กัมมสัทธา (เชื่อกรรมเป็นเหตุ) 

2.วิปากสัทธา (เชื่อผลวิบากของกรรม) 

3.กัมมัสสกตาสัทธา (เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็น  สมบัติแท้ของตน กรรมเป็นพระเจ้าบันดาลแท้) 

4.ตถาคตโพธิสัทธา (เชื่อความตรัสรู้ของตถาคต) 

(ข้อ 4 มีใน พตปฎ. เล่ม 23  ข้อ 4) 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ วิธีจบนิยาม 5 จบนิยายของตนอย่างนิรันดร วันจันทร์ที่ 26 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 พฤษภาคม 2564 ( 09:13:05 )

ศรัทธา 4 คือความเชื่อมั่นอย่างสัมมาทิฎฐิ

รายละเอียด

ทุกคนทำกรรมเป็นของตนเอง กัมมสโกมหิ กัมมทายาโท กัมมโยนิ กัมพันธุ กัมมปฏิสรโณ กัมมังสัตเต วิภัชชติ กรรมจำแนกสัตว์ทุกสัตว์เป็นไปตามกรรม

1. กัมมสัทธา (เชื่อกรรมเป็นเหตุ) 

2. วิปากสัทธา (เชื่อผลวิบากของกรรม) & 

3. กัมมัสสกตาสัทธา (เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็น  สมบัติแท้ของตน กรรมเป็นพระเจ้าบันดาลแท้) 

4. ตถาคตโพธิสัทธา (เชื่อความตรัสรู้ของตถาคต) 

(ข้อ 4 มีใน พตปฎ. เล่ม 23  ข้อ 4) 

เชื่อกรรมเป็นของๆ ตน กรรมก็คือการกระทำ เข้าใจแล้วว่ากรรมคืออะไร การคิดก็เป็นกรรม การพูดออกมาก็เป็นกรรม ออกมาทางนัจจะคีตะวาทิตะ รวมทั้งกายวาจาใจก็เป็นกรรมทั้งนั้น ตกผลึกเป็นวิบาก แล้วเป็นของตนเอง กัมมัสสกตาสัทธา 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ธรรมบรรยาย คุหัฏฐกสุตตนิทเทส ตอน 6 วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม 2564 แรม 5 ค่ำเดือน 7 ปีฉลู ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 11 กรกฎาคม 2564 ( 14:05:26 )

ศรัทธา ต้องเติมด้วยปัญญา

รายละเอียด

ศรัทธา คุณจะวิมุติขนาดไหน คุณต้องเติมด้วยปัญญา แต่ปัญญา แค่บุคคลที่ 6 อาสวะสิ้นแล้ว จบกิจได้เลย จบเลย ปรินิพพานเป็นปริโยสานได้ แต่เจโต ต้องไปเติมปัญญาอีก เป็น อุภโตภาควิมุติ จะว่าไปแล้ว อุภโตภาควิมุติ กับปัญญาวิมุติใครเจริญกว่ากัน องค์ 6 เจริญกว่า องค์ 7 บุคคลที่ 6 เจริญกว่าบุคคล 7 

บุคคลที่ 7 เป็นคนยังต้องแถม ยังต้องเติม ยังต้องช้า ยังไม่เต็มทีเดียว คนที่อุภโตภาควิมุติ เพราะฉะนั้น ต่ำกลับไปหาสูงสุด สูงสุดจะเป็นคนต่ำกว่าคนสูง 6 มันเป็นความถ้วน  7 นี่มันเป็นความหลุดพ้นเลย สูญ 6 เป็นความถ้วน มัน 2 เส้า cyclic order 2 หน่วย เสร็จแล้ว 7 นี่หมายความว่า เป็น อนุปคัมมะ รู้ความจบ ถ้วนรอบแล้ว รู้สภาพ 2 รู้สภาพมีกับไม่มี บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ อรหันต์คือด้านมืดเจโต โพธิสัตว์คือด้านสว่างปัญญา วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม 2565 แรม 11 ค่ำ เดือน 11 ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 21 ธันวาคม 2565 ( 11:35:13 )

ศรัทธาของพระเจ้าพิมพิสาร

รายละเอียด

พระเจ้าพิมพิสารเห็นแล้วก็ศรัทธาพระพุทธเจ้า บอกว่าอย่างนี้ให้มาปกครองประเทศด้วยกันเลย ยกที่ให้ครึ่งนึง แต่พระพุทธเจ้าท่านไม่เอา แล้วพระเจ้าพิมพิสารก็ตาม พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ตาม มีภูมิธรรม มันสมยุคสมัย บารมีพระพุทธเจ้ายิ่งใหญ่ มาแล้วมีคนเห็นด้วยก็ศรัทธาเข้าใจโลกุตรธรรมพวกนี้ แต่ท่านก็ต้องเป็นไปตามบารมีของท่านพระเจ้าพิมพิสารก็ตาม พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ตามท่านก็ให้สิทธิพระพุทธเจ้าเต็มที่เอาเลย จะเผยแพร่ยังไงเผยแพร่เลย 

แล้วคนของท่านคนของพระเจ้าพิมพิสารเอง คนของพระเจ้าปเสนทิโกศลเองก็ตาม แต่ดูเหมือนท่านตรัสกับพระเจ้าอชาตศัตรู ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งได้ทำปิตุฆาต พระเจ้าอชาตศัตรูก็ทำการประหารพ่อคือพระเจ้าพิมพิสารและตัวเองขึ้นครองราชย์ ก็เลยมีอนันตริยกรรมกับตัวเอง แต่ขนาดนั้นก็ยังมาเข้าใจ มาเข้าใจพระพุทธเจ้าได้ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ พระอภิธรรมของ ฌาน และเวทนา 108 วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2566 ขึ้น 3 ค่ำเดือนอ้าย ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 11 มกราคม 2567 ( 18:15:17 )

ศรัทธาจริตกับปัญญาจริต

รายละเอียด

มหายานมีความหลากหลายมาก อาตมาได้ยินมาว่ามหายานนี้ ชอบพระสารีบุตรมากกว่าใคร เพราะเขาสายปัญญา มหายานเป็นพุทธิจริต เขาสายปัญญา เขาจะเข้าใจอะไรได้ เขาชอบพระสารีบุตรมาก พระกัสสปะเป็นสายศรัทธา 100% โอ้โหหนักเลยนะมหากัสสปะนี้ เถรวาทแท้ๆ เลย ไม่มีมหายานเลยเป็นหินยาน 100% ซึ่งตามประวัติศึกษาดู อาตมาจะไม่ลงรายละเอียด 

ก็เป็นความคิดของแต่ละคนที่โน้มไปตามที่ตัวเองถนัด ตามที่ตัวเองเข้าใจ เพราะฉะนั้นมันจะค่อยๆ ยึดอันนี้ แล้วก็คลาย ยึดแล้วก็ปล่อยยึด แล้วก็คลายสลับกันไปสลับกันมา ยืดแล้วก็คลาย เมื่อยึดแล้วศึกษาได้ผลก็จะอ๋อรู้แล้วก็เพิ่มใหม่ สลับกันอยู่ 2 สภาพ ศรัทธากับปัญญา เป็นศรัทธาจริตกับปัญญาจริตหรือเรียกเต็มๆ ว่าพุทธิจริต จะสลับกันไปสลับกันมาไม่ต้องยึดมั่นถือมั่น เราจะเป็นตระกูลศรัทธาก็ตาม เราจะเป็นตระกูลปัญญาก็ตามก็ต้องเข้าไปหาศรัทธาเข้าไปหาเนื้ออย่าเอาแต่ฟุ้งในความฉลาด ต้องเข้าไปหาความจริงแก่นแท้ด้วย นี่ต้องเข้าใจ 2 อย่างว่ามันแตกต่างกันอย่างไรและพากเพียรเอา 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ชนะมารอย่างไร้สารพิษ สุจริตแท้ ด้วยพหุงฯ8 วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 28 กุมภาพันธ์ 2566 ( 19:06:40 )

statistics

ติดต่อสอบถาม

Facebook : test

Youtube : Name

Twitter : Name

Line : Name

Telegram : Name

Wechat : Name

Skype : Name

Copyright © 2018 Borvornsocial.net all right are reserved. developer สงวนลิขสิทธิ์