@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก
@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก

อภิธานศัพท์ (Glossary) จัดเป็นฐานข้อมูลด้านโลกุตระที่สมบูรณ์ที่สุดที่คัดมาจากหนังสือ คำเทศน์ ฯ

คู่มือการค้นหาอภิธานศัพท์อโศก หรือ ห้องสมุดโลกุตระ 50 ปี

เอกสาร : https://docs.google.com/document/d/1HLGedxqTAOTOTQKGbO6M4qMremQ8K1jBWKRYDDt6MRQ/edit

วีดีโอ Loom 2 : https://www.loom.com/share/e824e62ec1eb4567848e94af124a7ed5

วีดีโอ Loom 1https://www.loom.com/share/2445744a08e74bca95d2f1d2a0526044

วีดีโอ YouTube : https://youtu.be/QyXcGmzhLmk

 

 

อภิธานศัพท์ (ทั้งหมด) พบ 28,074 รายการ

ลักษณะของผู้ที่บรรลุผลในการปฏิบัติธรรมมีมรรคผล

รายละเอียด

อาตมามันเป็นคนที่ คนจำเป็นต้องรู้จักอาตมาเพราะอาตมาทำมาก คนจำเป็นต้องรู้ ไม่ได้เป็นดาราเอก แต่ทำมาก มากเข้าว่า คนก็เลยต้องรู้จัก ทุกวันนี้ทำงานมา 50 ปีทางศาสนา ก็ยังถือว่าไม่มาก คนก็ยังไม่รู้จักเท่าไหร่ เพราะว่ายิ่งเป็นโลกุตรธรรมยิ่งยากมากที่คนจะรู้จัก ก็มีคนรู้จักอยู่จำนวนไม่มาก อยากรู้จักเข้าใจจริงปฏิบัติตามและบรรลุผลจริงๆเป็นผู้มีมรรคผล จึงพิสูจน์ยืนยันได้จากธรรมะพระพุทธเจ้าเลยว่า 

มามี วรรณะ 9 จิตเป็นพุทธพจน์ 7 จึงรวมตัวเป็นสาราณียธรรม 6 อยู่กันอย่างเป็นชุมชน สาราณียธรรม 6 เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม ลาภธัมมิกา ศีลสามัญตา ทิฏฐิสามัญตา  เป็นปรากฏการณ์จริงอยู่ทุกวันนี้ 

คนผู้ที่แย้งอาตมา เมื่อเขาเห็นสิ่งที่อาตมาพาทำ เป็นสังคมจริงคนจริงมีวัฒนธรรมจริง เพราะพูดจริงเป็นจริง ตรงกับตำราพระไตรปิฎกของพระพุทธเจ้า เขาก็แย้งไม่ได้ แม้จะมีจำนวนน้อยเขาก็แย้งไม่ได้ เขาก็ต้องยอมให้เป็นอย่างนี้อยู่ บางคนก็รู้ว่า ต้องยอมรับยกย่องแต่ก็มาไม่ได้ เขาก็อยู่ทางโน้น คนไหนพอมาได้ก็พยายามมา มันไม่ง่าย พยายามมาก็มาได้เท่านี้ก็พากเพียรไป ทำไปต่อไปเรื่อยๆ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 39 พุทธานุสสติ และอัมพัฏฐสูตร วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 04 สิงหาคม 2565 ( 17:13:27 )

ลักษณะของผู้ที่หลงตัวว่าตัวเองเป็นปราชญ์

รายละเอียด

ผู้ที่หลงตัวว่าตัวเองเป็นปราชญ์ เป็นปราชญ์ทางพุทธศาสนา ยึดมั่นถือมั่นของตนเอง แล้วก็หมิ่นหยามผู้อื่น ถือว่ารู้มาก  ตนเองรู้ยิ่ง รู้จริง เหมือนตัวเองเป็นพระเจ้า ผู้ที่ยึดมั่นถือมั่นจะเป็นอย่างนั้น บอกว่าไม่มีใครเท่าเทียมหรอก พวกนี้ก็แน่นอนไปแก้ไขเขาไม่ได้หรอก เขายึดมั่นถือมั่นเสียแล้ว เปลี่ยนแปลงเขาไม่ได้ก็น่าสงสารก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ไปเอาอะไรกับเขาไม่ได้ก็ต้องปล่อยเขาไป แต่เราก็ต้องเอาเขาเป็นเป้า เป็นเป้าตัวอย่างที่จะตีงูให้กากิน แก้ไขไม่ได้แล้ว ก็ต้องจำเป็น งูจะฉกบ้างก็ต้องหลบเลี่ยงเอา เราต้องฉลาดพอที่จะตีงูไม่ให้มันมาทำร้ายเราได้ นี่ก็เป็นการประมาณของสัตบุรุษ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 36 แยกกายแยกจิตอย่างไรให้ถึงอรหันต์ วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 04 สิงหาคม 2565 ( 14:22:00 )

ลักษณะของผู้รู้สักกายะหรือผู้พ้นสักกายทิฏฐิ

รายละเอียด

ผู้ที่อ่านอาการอย่างนี้ของตนเองได้เรียกว่าเป็นผู้รู้ สักกะและแยกออกว่าอาการอย่างนี้คืออาการชั่วไม่ใช่อาการดีเรียกว่ารู้กาย ผู้ที่รู้อาการของตัวเองเกิดปั๊บแล้วก็แยกออกว่ามันดีหรือชั่ว ผู้นั้นรู้ สักกายะ พระพุทธเจ้าสอนสังโยชน์ข้อที่ 1 ให้พ้น สักกายทิฏฐิ ผู้ที่เข้าใจเรียกว่าพ้นสักกายทิฏฐิ 

ที่มา ที่ไป

พ่อ‌ครู‌เทศน์‌ ‌ทำวัตร‌เช้า‌ ‌ส่ง‌ท้าย‌ปี‌เก่า‌ ‌งาน‌ ‌ว‌.‌บบบ‌ ‌เพื่อ‌ฟ้า‌ดิน‌ ‌สวด‌อภิธรรม‌ส่ง‌

ท้าย‌ปี‌เก่า‌ให้‌เข้า‌ถึง‌นิพพาน‌ วันศุกร์ที่ 31 ธันวาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 10 มกราคม 2565 ( 11:08:37 )

ลักษณะของผู้อยู่เหนือ

รายละเอียด

ได้ซักซ้อม ผู้ที่ได้มีการฝึกปรือจนแข็งแรง สําเร็จเด็ดขาด เราจะมี ความสามารถในการหยุด การทําที่แข็งแรง จะหยุดก็หยุดได้เด็ดขาด จะ ทําก็ทําได้อย่างมีสมรรถภาพ เหมือนกับจะตาย ก็ตายได้อย่างสะเด็ด จะ เกิดก็เกิดอย่างมีชีวิตชีวา เหมือนเปิดสวิทซ์ ปิดสวิทซ์ จะหลับเป็นหลับ 

ที่มา ที่ไป

สมณะโพธิรักษ์ 27 เมษายน 2525


เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 13:51:40 )

ลักษณะของผู้เป็นอนุปคัมมะ

รายละเอียด

สิ่งที่เป็นความรู้จริงในความจริงที่ปฏิบัติได้ ประพฤติได้ตั้งแต่มีชีวิตเป็นๆ พิสูจน์ตั้งแต่อบายมุข ของหยาบ แล้วคุณก็ทำให้ไม่สุขไม่ทุกข์ ซึ่งมันก็มีอยู่ในโลกแล้วหยาบขึ้นทุกวันด้วย เละเทะขึ้นทุกวันด้วย จัดจ้านรุนแรงขึ้นทุกวันด้วย คุณก็รู้ทันในอบายมุขพวกนี้ ไม่เอา เป็น อนุปคัมมัง อนุปคัมมะ เป็นคนที่รู้ว่าในโลกมันก็มี แล้วเราก็ทำความไม่มีได้แล้ว แล้วเราก็ไม่เอาความไม่มีนี้ไปข่มความมีของเขา ไม่มีก็ไม่มีไป เหมือนเราไม่มีตัวตน หรือคนอื่นที่ทำได้เหมือนอย่างเรา เขาไม่มี คนที่เขาไม่ได้ติดเขาก็ไม่มี คนที่ยังไม่ได้ติดทางโลกเขานึกว่าติดหรือได้กำไรก่อนแล้ว เมื่อรู้ตัวแล้ว ดีนะ เราไม่ติดเลย สบายได้ฟรี ได้ก่อนแล้ว ที่เหลือติดอยู่ ก็ไล่ให้มันหมดก็เป็นพระอรหันต์ คนนั้นก็โชคดี แต่ส่วนมากมันไม่โชคดีอย่างนั้นหรอก ​มันติดมาเยอะ ทำไมไม่หมดสักทีวะ ก็จะรู้

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ คนถือศีล 5 ได้ ถือเป็นความมหัศจรรย์อย่างยิ่ง วันศุกร์ที่ 7 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 21 มกราคม 2565 ( 17:42:16 )

ลักษณะของพุทธ ผู้ที่ได้สูงสุดแล้วก็จะช่วยผู้อื่นให้ถึงนิพพาน

รายละเอียด

ถ้าได้ไปแล้วคุณก็เป็นคนดีคุณก็ไปถ่ายทอดต่อไป เพราะศาสนาพุทธนั้นได้แล้วไม่ใช่ได้แล้วก็ไม่ไปถ่ายทอดให้ใครเลย ได้แล้วเฉยๆไม่ใช่ ลักษณะของพุทธ ได้แล้วต้องเป็นประโยชน์ท่านต่อไป แม้จะเป็นพระอรหันต์ที่ไม่ปรารถนาพุทธภูมิ ไม่ต่อภพต่อภูมิ ในช่วงระยะเวลาที่ท่านยังไม่ปรินิพพานเป็นปริโยสาน พระอรหันต์แต่ละองค์ท่านก็ทำประโยชน์จนกระทั่งอายุท่านอาจจะสั้นกว่าปกติก็ได้ แต่ท่านตั้งใจจะเป็นพระอรหันต์สุดท้ายแล้วเกิดและตายชาตินี้ท่านไม่ต่อเป็นสุญญตนิพพาน อนิมิตตนิพพาน อปนิหิตนิพพาน สูญอย่างเดียวท่านก็ทำเพราะท่านจะสูญอยู่แล้ว ไม่เป็นปัญหาอะไรท่านไม่ต่อแล้วท่านก็จบ มันไม่ขัดกับตัวท่านเอง ไม่ขัดกับผู้อื่นท่านก็ทำงานเต็มที่ เต็มที่ได้เท่าไหร่ก็เท่ากับสมรรถนะของท่าน

ที่มา ที่ไป

รายการบ้านราช กายนี้คือวิญญาณ วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 29 กุมภาพันธ์ 2563 ( 17:48:30 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 12:23:55 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 08:09:39 )

ลักษณะของพุทธธรรม 8

รายละเอียด

1. คัมภีรา ลึกซึ้ง

2. ทุททสา  เห็นตามได้ยาก

3. ทุรนุโพธา  รู้ตามได้ยาก, บรรลุรู้ตามได้ยาก

4.  สันตา  สงบระงับอย่างสงบพิเศษ แม้จะวุ่นอยู่

5.  ปณีตา  สุขุมประณีตไปตามลำดับ ไม่ข้ามขั้น

6.  อตักกาวจรา  คาดคะเนเดาไม่ได้

7.  นิปุณา  ละเอียดลึกซึ้งถึงขั้นนิพพาน

8.  ปัณฑิตเวทนียา  รู้ได้เฉพาะผู้เป็นบัณฑิต บรรลุแท้จริงเท่านั้น

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 9"พรหมชาลสูตร" ข้อ 26, ข้อ 34

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก 


เวลาบันทึก 07 กรกฎาคม 2562 ( 15:48:18 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 16:44:32 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 08:10:06 )

ลักษณะของพุทธธรรม 8

รายละเอียด

ดีมากพยายามพากเพียรไป คำสอนของพระพุทธเจ้านั้นแน่นอนที่สุดว่า คัมภีรา (ลึกซึ้ง) ทุททัสสา (เห็นตามได้ยาก) ทุรนุโพธา (บรรลุรู้ตามได้ยาก) สันตา (สงบระงับอย่างสงบพิเศษ แม้จะวุ่นอยู่) . ปณีตา (สุขุมประณีตไปตามลำดับ ไม่ข้ามขั้น) อตักกาวจรา (คาดคะเนด้นเดามิได้) นิปุณา (ละเอียดลึกถึงขั้นนิพพาน) ปัณฑิตเวทนียา (รู้แจ้งได้เฉพาะผู้เป็นบัณฑิต บรรลุแท้จริงเท่านั้น)   

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม 2563


เวลาบันทึก 20 พฤศจิกายน 2563 ( 09:53:07 )

ลักษณะของพุทธธรรม 8

รายละเอียด

พระพุทธเจ้าถึงบอกว่ามันเป็นเรื่องที่ คัมภีรา (ลึกซึ้ง) ทุททัสสา (เห็นตามได้ยาก) ทุรนุโพธา (บรรลุรู้ตามได้ยาก) สันตา (สงบระงับอย่างสงบพิเศษ แม้จะวุ่นอยู่) ปณีตา (สุขุมประณีตไปตามลำดับ ไม่ข้ามขั้น) อตักกาวจรา (คาดคะเนด้นเดามิได้) นิปุณา (ละเอียดลึกถึงขั้นนิพพาน) ปัณฑิตเวทนียา (รู้แจ้งได้เฉพาะผู้เป็นบัณฑิต บรรลุแท้จริงเท่านั้น)   (พตปฎ. เล่ม 9  ข้อ 34) 

สันตาคือ มันสงบจากกิเลส อย่างที่พวกเราทำกัน จึงเป็นหมู่กลุ่มสังคมที่สงบจากกิเลส 

อตักกาวจรา รู้ไม่ได้ด้วยการใช้เหตุผลเชิงตรรกะคาดคะเนด้นเดา ต้องมารู้ด้วยบัณฑิตเวทนียา เพราะมันละเอียดระดับนิพพาน นิปุนา สงบสันติสงบอย่างไรสงบอย่างเสียงดัง สงบปราดเปรียว สงบคล่องแคล่วว่องไว กายปาคุญญตา จิตปาคุญญตา กายวาจาใจใจมีความคล่องแคล่วทุกอย่าง ศาสนาพุทธไม่ใช่ศาสนาเฉื่อยเนือยไม่ใช่ ศาสนาพุทธที่แท้คล่องแคล่วว่องไวปราดเปรียวเหมือนกับหนังจีนที่เขาทำ หนังจีนก็ถอดมาจากพุทธนั่นแหละซึ่งมันเกินจากศาสนาที่จะพูด 

สุดยอด บัณฑิตเวทนียา เรื่องของบัณฑิตเท่านั้นที่จะเข้าถึงความจริงอันนี้ด้วยบัณฑิตด้วยกันเอง ผู้ที่มารู้ศาสนาพุทธจึงไม่ใช่บุคคลทั่วไปไม่ใช่บัณฑิตจบปริญญาเอกมาจากมหาวิทยาลัยไหน ไม่ว่าจะเป็นพุทธศาสนบัณฑิตปริญญาเอกก็ตามแต่เป็นบัณฑิตที่เป็นสภาวธรรม จบปริญญาทางธรรม 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ชาวอโศกคือชุมชนบุญนิยมที่มีมรรคผลจริง วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม 2563 ที่สันติอโศก


เวลาบันทึก 05 กุมภาพันธ์ 2564 ( 15:41:39 )

ลักษณะของพุทธธรรม 8

รายละเอียด

1. ลึกซึ้ง (คัมภีรา)

2. เห็นตามได้ยาก (ทุททสา)

3. รู้ตามได้ยาก (ทุรนุโพธา)

4. สงบ (ส้นตา)

5. ประณีต (ปณีตา)

6. คาดคะเนเดาไม่ได้ (อตักกาวจรา)

7. ละเอียด (นิปุณา)

8. รู้ได้เฉพาะบัณฑิต (ปัณฑิตเวทนียา)

 

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 9 “พรหมชาลสูตร” ข้อ 26


เวลาบันทึก 15 มีนาคม 2565 ( 19:55:07 )

ลักษณะของพุทธธรรม 8 ของพระพุทธจ้า

รายละเอียด

คือ 

1.     ลึกซึ้ง  (คัมภีรา)

2.    เห็นตามได้ยาก (ทุททสา)

3.    บรรลุรู้ตามได้ยาก (ทุรนุโพธา)

4.    สงบระงับอย่างพิเศษ  แม้จะวุ่นอยู่ (สันตา)

5.    สุขุมประณีตไปตามลำดับ ไม่ข้ามขั้น (ปณีตา)

6.     คาดคะเนด้นเดาเอาไม่ได้ (อตักกาวจรา)

7.    ละเอียด ลึกซึ้งขั้นนิพพาน (นิปุณา)

8.    รู้แจ้งได้เฉพาะผู้เป็นบัณฑิต  บรรลุแท้จริงเท่านั้น (ปัณฑิตเวทนียา)

 

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎก เล่ม9 ข้อ34

ธรรมาธิบาย รายการสำมะปี๋ซี่วิต ปฐมอโศก ครั้งที่ 71


เวลาบันทึก 04 ตุลาคม 2562 ( 14:44:55 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 12:25:33 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 08:10:32 )

ลักษณะของพุทธธรรมเป็นปฏิโสตังอย่างไร

รายละเอียด

ธรรมะพุทธเจ้าเป็นเรื่องทวนกระแสโลกที่ยากจะเข้าใจ ปฏิโสตัง เป็น คัมภีรา (ลึกซึ้ง) ทุททัสสา (เห็นตามได้ยาก) ทุรนุโพธา (บรรลุรู้ตามได้ยาก) สันตา (สงบระงับอย่างสงบพิเศษ แม้จะวุ่นอยู่) . ปณีตา (สุขุมประณีตไปตามลำดับ ไม่ข้ามขั้น) อตักกาวจรา (คาดคะเนด้นเดามิได้) นิปุณา (ละเอียดลึกถึงขั้นนิพพาน) ปัณฑิตเวทนียา (รู้แจ้งได้เฉพาะผู้เป็นบัณฑิต บรรลุแท้จริงเท่านั้น)พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพรหมชาลสูตรส. เสือ เป็นพลังงานเศษวรรคตัวที่ 5 พยัญชนะตัวกลางของ 9 เลข 9 มีบน 4 ล่าง 4 ตัว 5 เป็นตัวกลาง แต่เป็นพลังงานเกิด แม้เกิดอย่างที่สุด ก็มีอันตา หากกลางๆก็ไม่มีอันตาเลย หากมีปั๊บก็มีอันตา มีจนกระทั่งเป็นพลังงานระดับเศษวรรค คือ สันตะ หรือสันตา แต่มันก็ยืนยันความสงบ ไม่ใช่เรื่องสองเพศที่จะต้องทะเลาะกัน มีการขัดแย้งกัน ไม่ มันสงบ ซึ่งสูงสุดลึกซึ้งมาก มีสภาวะแล้วก็จะพูดกันเข้าใจ ถ้าไม่มีสภาวะฟังไปก็อย่างนั้นแหละ ไม่ได้ดูถูกหรอก แต่ก็ฟังไว้ก่อนได้ฟังไปเรื่อยๆ ปณีตา สุขุม ละเอียดมาก  อตักกาวจรา ไม่ใช่เรื่องจะเดาเอา คาดคะเนเอา สมมุติเอา ไม่ใช่นิปุณา มันละเอียดยิ่งกว่าสุขุม แต่ละเอียดขั้นไปหานิพพาน ผู้มีสภาวะนี้จะรู้ พูดแล้วเข้าใจกันได้ดี แต่คนไม่มีสภาวะก็ฟังไป เช่น เหลือนิดนึงกับหมด มันมีความต่างกัน อย่างนี้เป็นต้น มันละเอียด คุณก็จะรู้ว่าความเหลือนิด กับหมด ต่างกัน อันนี้สบายแล้วเหลือนิดก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร แต่มันยังเหลือก็ต้องทำให้หมดตัว ผู้ต้องการความบริสุทธิ์จะทำให้หมด แต่คุณอย่าประมาท ถ้าล้างไม่หมดสักวันหนึ่งมันก็สะสมขึ้นมาเล่นงานตัวเอง อย่าหาว่าไม่บอกนะ 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 26 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 23 กันยายน 2563 ( 10:19:49 )

ลักษณะของวิญญาณ 7

รายละเอียด

1. ทูรังคมัง (ไปได้ไกล)

2. เอกจรัง (ไปแต่ผู้เดียว)

3. อสรีรัง (ไม่มีรูปร่าง)

4. คูหาสยัง (มีจิตเป็นที่อาศัย)

5. อนิทัสสนัง (มองไม่เห็น) 

6. อนันตัง (ไม่มีที่สุด)

7. สัพพโต ปภัง (แจ่มใส่โดยประการทั้งปวง)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 9"เกวัฎฎสูตร"  ข้อ 350

พระไตรปิฎกเล่ม 25"จิตตวรรค"  ข้อ 13

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก 


เวลาบันทึก 06 กรกฎาคม 2562 ( 08:18:52 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 16:45:40 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 08:11:01 )

ลักษณะของศาสนาพุทธ 4

รายละเอียด

1. สัจธรรม (เป็นความจริง)

2. สัลเลขธรรม (เป็นการขัดเกลากิเลส)

3. นิยยานิกธรรม (ทำให้พ้นทุกข์ได้จริง)

4. สันติธรรม (สงบเรียบร้อยราบรื่นง่ายงาม)

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ "สาสวะ-อนาสวะ" หน้า 416


เวลาบันทึก 20 มิถุนายน 2562 ( 10:57:45 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 16:46:34 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 08:11:22 )

ลักษณะของศาสนาพุทธ 4

รายละเอียด

1. สัจธรรม (เป็นความจริง)

2. สัลเลขธรรม (เป็นการขัดเกลากิเลส)

3. นิยยานิกธรรม (ทําให้พ้นทุกข์ได้จริง)

4. สันติธรรม (สงบเรียบร้อยราบรื่นง่ายงาม)

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,สมาธิพุทธ “สาสวะ-อนาสวะ” หน้า 416


เวลาบันทึก 13 มีนาคม 2565 ( 05:10:57 )

ลักษณะของสังคมที่เศรษฐกิจดี

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นเศรษฐกิจดีไม่ได้หมายความว่าเป็นคนร่ำรวย สร้างให้มีคนร่ำรวยแข่งกันมากๆไม่ใช่ สังคมเรายิ่งมีคนจนมากๆ ฟังให้ดีนะ สังคมเรายิ่งมีคนจนมากๆแต่เป็นคนจนที่ขยันหมั่นเพียร มีความรู้ความสามารถ แล้วก็ทำงาน สร้างสรรผลผลิตโดยเฉพาะผลผลิตที่เป็นพืชพันธุ์ธัญญาหาร ที่เป็นของกิน เป็นอาหาร กวฬิงการาหาร แน่นอนไม่ว่าจะเป็นคนชาติไหน เด็กผู้ใหญ่คนแก่ทั้งนั้น ต้องกินเอาธาตุอาหารพวกนี้ไปเลี้ยงสังขาร นี่แหละเป็นหนึ่ง ทำให้มีคุณภาพเต็มไปด้วยธาตุอาหารสารอาหารที่ดี อย่าให้มีสารพิษ เป็นอาหารที่ดีมีคุณค่าที่สมบูรณ์ครบครัน และอย่าขายแพง ที่สุดแล้วแจกจ่ายกันได้ยิ่งดี ผู้ใดที่สามารถคว้าตำแหน่งของการเป็นผู้ผลิตพืชพันธุ์ธัญญาหาร แล้วก็แจกจ่าย โดยรายได้ที่จะแลกเปลี่ยนกลับคืนมาน้อย ถึงขั้นศูนย์ไม่เอาเลยแจกฟรีไปได้ แต่เราก็รักษาสถานะความเป็นอยู่ของเรายังไม่เดือดร้อนไม่ขัดสน มีกินมีใช้อุดมสมบูรณ์ ลักษณะอย่างนี้คือสังคมที่มีเศรษฐกิจดี เงินคงคลังไม่ต้องพูด มีส่วนกลางเป็นสาธารณโภคี ส่วนบุคคลนั้น 0 0 0 จะใช้ก็ไปเบิกกองกลางถ้าเหลือก็คืน 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม 2563


เวลาบันทึก 12 มิถุนายน 2563 ( 10:59:49 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 13:34:17 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 08:12:28 )

ลักษณะของสัทธานุสารี 

รายละเอียด

อินเดียก็จิตวิญญาณลักษณะหนึ่ง จีนก็วิญญาณอีกลักษณะหนึ่ง สุดโต่งไปคนละข้าง เมื่อยังไม่มีวิชชาหรือไม่มีภูมิ ยังเป็นอวิชชา ก็สุดโต่งไปคนละข้าง แล้วอินเดียก็ต้องปรับตัวให้อยู่ในสายสัทธานุสารี เขาจะอยู่ได้ จีนก็พยายามปรับตัว เขาจะเอาคอมมิวนิสต์จนกระทั่งคอมมิวนิสต์สามารถเปลี่ยนแปลงมาหาปัจจุบันนี้ได้ ค่อยๆแก้ คอมนิวนิสต์แก้ๆมา แล้วมันจะแก้ไปหาอะไร มันต้องแก้ไปหาปัญญา ถ้าไม่แก้ปัญหาด้วยปัญญาแต่ไปแก้ปัญหาแบบอินเดียแบบสมถะ แต่ว่าจีนไม่ใช่สายสมถะ มันเป็นธรรมชาติธรรมดาของโลก มันจะมี 2 เป็นเทวดาที่ยิ่งใหญ่ มันเป็นความจริงที่ยิ่งใหญ่มากเลย 

จนกระทั่งทุกวันนี้ บทบาทพฤติกรรมของสังคมจีน พฤติกรรมสังคมของอินเดีย ก็เห็นชัดๆ ว่าเป็น 2 รูปแบบ 2 ลักษณะ ที่ให้เราศึกษาถึงสภาพเทว สภาพธรรมะ 2 

ส่วนไทยนั้นเป็นกลางเป็นผู้ที่รู้ยิ่งทั้งสอง เพราะเป็นลูกพระพุทธเจ้า อินเดียนั้นหมดเรื่อง หมดรูป ที่ไปหาพระพุทธเจ้าในอินเดียเก่า ชมพูทวีปถอนจากอินเดียมาอยู่ในประเทศไทยแล้ว เพราะฉะนั้นอินเดียจึงไม่อยู่ในรูปของสัมมาทิฏฐิ เป็นฤาษี ชีไพร เป็นอย่างดีกันเต็มรูป 

แต่เขาก็สามารถที่จะทำความสงบสันติภาพหรือความอยู่ในลักษณะของเขา ลักษณะของสัทธานุสารี 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ งานโพธิบูชากตัญญู ครั้งที่ 3

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน 2565  แรม 15 ค่ำ เดือน 12 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 25 พฤศจิกายน 2565 ( 14:01:03 )

ลักษณะของสัมมาสติ

รายละเอียด

คำนี้ก็ดีมาก คำว่าสัมมาสติมีอยู่ 2 คำต่อกันคือคำว่า “สัมมา” กับคำว่า “สติ” 

สัมมาหมายความว่าอะไร? คำนี้น่าจะเข้าใจกันไม่น่าจะยาก สัมมาคู่กับคำว่ามิจฉา มิจฉาแปลว่าผิดคำสอนพระพุทธเจ้า สัมมาแปลว่า ถูกคำสอนของพระพุทธเจ้า ให้มันจำเพาะลงไปอย่างนั้น ไม่ใช่คำว่ามิจฉาก็ผิดไปหมดเลย แบบผิดกฎหมาย ผิดวัฒนธรรมผิดอะไรเป็นมิจฉามันไม่ใช่ มิจฉานี่คือผิดคำสอนพระพุทธเจ้า สัมมานี้คือถูกต้องตามคำสอนพระพุทธเจ้า เอาให้ชัดเจนต้องนิยามให้ชัด 

ทีนี้คำว่าสติ สติคือการรู้ตัวทั่วพร้อม เขาแปลตามพยัญชนะภาษาไทยว่าอย่างนี้ รู้ว่าตัวเองมีความตื่นเต็ม มีความรู้ตัวตื่นเต็ม ลืมตาหูจมูกลิ้นกายใจตื่นเต็มทุกๆทวาร รับรู้อะไรต่างๆนานาเป็นปกติของชีวิตตื่นเต็มชาคริยา

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ โสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 21 วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม 2563
ที่บ้านราชฯ


เวลาบันทึก 06 กุมภาพันธ์ 2564 ( 12:57:17 )

ลักษณะของสิริมหามายา

รายละเอียด

ลักษณะที่เหมือนกับซ้ายขวาซ้ำซาก วนกลับไปกลับมา จึงเป็นลักษณะของภาษาที่เราใช้เรียกอยู่ว่าสิริมหามายากลับไปกลับมา เดี๋ยวก็มีเดี๋ยวก็ไม่มี เดี๋ยวก็ใช่เดี๋ยวก็ไม่ใช่ เดี๋ยวอาจจะมาซ้ายหรือขวาอย่างนี้แหละ แต่มันมีนัยยะสำคัญอยู่คือว่า มันเจริญขึ้น มันถูกต้องมันมีอัตราการก้าวหน้าที่เจริญขึ้นอย่างแท้จริง มันก็ต้องรู้จักสภาวะธรรมของความเจริญก้าวหน้าคืออย่างไร บัญญัติมันอาจจะต้องแค่นั้น ซ้ายขวา กลับไปกลับมา ดำขาว สูงต่ำ อะไรอย่างนี้เป็นต้น มีหรือไม่มีอะไรก็แล้วแต่ เป็นภาษาคู่ ภาษาเทวะ หรือเป็นภาษากายะ เรียกว่าเป็นธรรมะ 2 อย่างละเอียดลึกซึ้งติดตามให้ดีๆ 

ที่มา ที่ไป

รายการเอื้อไออุ่นออนไลน์ วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน 2563


เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 18:24:36 )

เวลาบันทึก 03 สิงหาคม 2563 ( 07:51:57 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 08:13:01 )

ลักษณะของอนัตตา 5

รายละเอียด

เป็นสภาวะของความว่างหมดตัวตนแล้ว คือ

1. ปรโต (เป็นอื่นทุกขณะ)

2. อนัตตโต (ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของเรา)

3. วิวิตตโต (สงัดกิเลสทั้งปวง)

4. ตุจฉโต (สิ้นแก่นสารจบประโยชน์)

5. สุญญโต (สูญว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย)

ที่มา ที่ไป

พระวิสุทธิมัคค์  "ปัญญานิเทศ"  หน้า  628-629

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก 


เวลาบันทึก 24 มิถุนายน 2562 ( 21:30:54 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 16:48:03 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 08:13:20 )

ลักษณะของอนัตตา 5

รายละเอียด

เป็นสภาวะของความว่างหมดตัวตนแล้ว คือ

1. ปรโต (เป็นอื่นทุกขณะ)

2. อนัตตโต (ไม่ใช่ตัวใช่ตนของเรา)

3. วิวิตตโต (สงัดกิเลสทั้งปวง)

4. ตุจฉโต (สิ้นแก่นสารจบประโยชน์)

5. สุญญโต (สูญว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย)

 

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระวิสุทธิมัคค์ “ปัญญานิเทศ” หน้า 628-629


เวลาบันทึก 13 มีนาคม 2565 ( 20:19:00 )

ลักษณะของอุปกิเลสสายโทสะ

รายละเอียด

ลักษณะของอุปกิเลสสายโทสะ ปฏิฆะ คือ อาการโกรธมันเกิดขึ้นในใจ พออุปนาหะ มันก็ผูกโกรธ มันไม่ใช่อาการโกรธเกิดเท่านั้น มันผูกแล้วตอนนี้ ยึด ผูกโกรธแล้วยึดโกรธไว้ ในใจ

โกธะ ก็โกรธนั้นแรงออกมาภายนอก พอถึงพยาบาท ภายนอกก็โกรธออกมาภายนอก แล้วก็แสดงความโกรธออกมาอย่างนั้นอย่างนี้ จะชนะหรือแพ้ก็แล้วแต่ ก็สนองความโกรธของตัวเองไป ยังไม่พอ พยาบาทก็คือผูกแค้นอาฆาตข้ามชาติกันไปเลย นี่ อธิบายรอบแรก 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาไม่ดับสัญญาแต่ดับกิเลส วันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 16 ตุลาคม 2565 ( 13:27:30 )

ลักษณะของเดรัจฉานวิชา

รายละเอียด

เขาก็เข้าใจเดรัจฉานวิชาอย่างที่เขาเข้าใจ เข้าใจง่ายๆว่ามันเป็นวิชาของสัตว์เดรัจฉาน ซึ่งมันไม่ใช่ มันเป็นวิชาที่ไม่พาไปนิพพาน มันขวางทางนิพพาน จะว่าเป็นสัตว์ก็ไม่ผิด ถ้าขยายความ อาตมาก็ขยายความ 

สัตว์มันจะไปเรียนรู้ได้ยังไง มันเป็น อเวไนยสัตว์ ไม่ใช่เป็นเวไนยสัตว์ ที่เป็นสัตว์ที่สอนได้โดยเฉพาะโลกุตรธรรม เมื่อไม่รู้เรื่องโลกุตรธรรมก็ไม่มีนิพพาน มันจึงได้ขวางทางนิพพานหมด เรื่องที่ยังไม่ถึงขั้นโลกุตระ ยังไม่ถึงขั้นปัญญาที่แท้จริง 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 37 อภิภายตนสูตร ตอนที่ 1

วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 04 สิงหาคม 2565 ( 16:04:46 )

ลักษณะของโพชฌงค์ 7 

รายละเอียด

ไม่ต้องไปล่อไปหลอก มันกระทบสัมผัสเป็นสามัญอยู่แล้ว ก็รู้ให้ทัน ชาคริยานุโยคะ มีสติสัมโพชฌงค์   ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ฝึกให้มีความเพียรสัมผัสแล้วมีสติรู้แล้วเข้าใจ เป็นโพชฌงค์ข้อ 1 2 3 วิจัยได้ทัน รู้กิเลส 

ปัญญามีพลัง เมื่อรู้กิเลส  กิเลสมันก็ฝ่อหายไป เมื่อรู้กิเลส  กิเลสมันก็ลด กิเลสมันก็ฝ่อ มันก็มีปีติสัมโพชฌงค์ เราก็รู้ว่ามันมีปิติเพราะเราเห็นหลัดๆว่า กิเลสมันสงบ กิเลสมันตายมันก็สงบมีปัสสัทธิ จิตมันสงบ พอกิเลสมันตายมันเสื่อมลงไป ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ แล้วจิตที่สงบ อย่างแท้จริง ตกผลึกลงๆ เป็นสมาหิโต เป็นสมาธิสัมโพชฌงค์ จนกระทั่งสูงสุดเป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ นี่คือลักษณะโพชฌงค์ 7 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 50 ตอบปัญหาผ่าปฏิจจสมุปบาท วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 12 กันยายน 2565 ( 13:52:17 )

ลักษณะของไตรลักษณ์

รายละเอียด

เพียงรู้เห็นอาการโกรธของเรา เราก็พยายามลด อย่างน้อยเห็นอาการโกรธแล้วก็กดข่มไว้บ้าง ก็ได้ทำ เราจึงต้องใช้วิปัสสนา กดข่มเป็นธรรมดาธรรมชาติ สมถะก็ทำอยู่แล้ว เราก็มาเรียนรู้พิจารณาในความเป็นไตรลักษณ์ว่าอาการอย่างนี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นชั่วคราวตามธรรมชาติ ตามความโง่ของเรา จริงๆแล้วมันเกิดเป็นอาการผลักหรือดูดอย่างไรก็ตาม มันเป็นของไม่เที่ยงมันเป็นของที่มาหาเรื่อง จริงๆแล้วมันไม่ใช่เรื่องที่จะมีตัวตนเป็นอนัตตา นี่คือลักษณะของไตรลักษณ์

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการสำมะปี๋ซี่วิต ปฐมอโศก ครั้งที่ 19 วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม 2561

ที่ปฐมอโศก สื่อธรรมะพ่อครู(ไตรลักษณ์) ตอน ลักษณะของไตรลักษณ์


เวลาบันทึก 11 กุมภาพันธ์ 2564 ( 16:59:34 )

ลักษณะคนขยะ

รายละเอียด

ลักษณะคนขยะ ที่ทำให้คนไม่เป็นคน (หนังสือสรรค่าสร้างคนหน้า 60 )

  1. ไม่ทำอะไรเลย ไม่คิดอะไรเลย ยกตัวอย่างอาจารย์เกษม(สุสานไตรลักษณ์)นั่งเฉยๆพยายามสงบไม่นึกไม่คิดไม่ทำอะไร นี่แหละคือคนขยะแท้ๆ ขออภัยที่พูดแล้วอ้างอิงตัวบุคคลเพื่อเป็นตัวอย่าง ก็ขอบคุณอาจารย์เกษม หลวงพ่อเกษม เขมโก แห่งป่าช้าสุสานไตรลักษณ์ 

  2. มีเวลา มีโอกาส ก็ว่างๆอยู่ แต่ไม่หางานทำ 

  3. มีงาน มีสิ่งควรทำยิ่งกว่านั้นอยู่แท้ๆ แต่ไม่ทำ กลับไปทำในสิ่งที่ตนชอบ และมีความเพลิดเพลิน 

  4. หางานเบาๆ ทำ เพื่อไม่ต้องทำงานที่หนักกว่า 

  5. มีงานทำ แต่ไม่อยากทำดื้อๆ 

  6. นอนเกินกว่าควร พักเกินกว่าควร เล่นหรือเริงรมย์มากกว่า อยู่ว่างๆ เกินกว่าควร

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ คนเจริญคือคนที่เสียเปรียบมากกว่าได้เปรียบ วันพุธที่ 20 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 30 มกราคม 2564 ( 20:06:06 )

ลักษณะคนจนที่มีประสิทธิผล Effectiveness

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นแม้แต่ลักษณะคนจนคือความหมายของคนๆหนึ่ง ที่มีความจนบรรจุอยู่ในคนจน มีประสิทธิภาพคุณภาพดีมากเท่าไหร่ก็คือความจริง ในตัวเรา ที่เป็นความจนที่ดี ความจนที่ประเสริฐความจนที่วิเศษ ใส่เข้ามารวมลงเป็นคนจน ก็เป็นอัตโนมัติเป็นตถตา เป็นคนจนที่มีประสิทธิภาพความจนอันประเสริฐ ทำงานด้วยตัวมันเอง ตถตา มันทำงานติดเครื่องยนต์เองโดยเราไม่ต้องไปสั่งการ เป็นความจริงเป็น axiom ไม่ต้องไปตรวจสอบทดลองอีก เป็นในตัวมันเอง axiom เป็นอัตโนมัติทำงานไป เป็นความจริงอันสมบูรณ์บริบูรณ์ในตัวมันเอง มันทำงานของมันเองเป็น ตถตา นี่คืออาศัยพยัญชนะอธิบายให้เกิดผลที่แท้จริง จนเป็นความสำเร็จประสิทธิผล ภาษาอังกฤษเรียกว่า Effectiveness เกิดประสิทธิผลที่ดีขึ้นเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ

คุณมาทำงานมาศึกษา มาอยู่กับพวกเราได้ ไม่ได้หลอกล่ออ่อยเหยื่อนะ ดี มี efficiency คือประสิทธิภาพ ได้ผลคุ้มค่า Effectiveness คุ้มค่า ภาษาอังกฤษก็น่าสนใจใช้ได้

ภาษาจีนเดี๋ยวนี้เข้ามาเป็นคู่แข่งของภาษาอื่น ถ้าเป็นภาษาของคนส่วนใหญ่ คนจีนตื่นตัวแสวงหา และเขาก็มีภาษาแม่ คนเขามาก เยอะก็กระจาย แพร่ แล้วเขาก็พยายามเจตนาให้อะไรของจีนเผยแพร่ ตามประสาให้เขากว้างคนนิยม ไม่เป็นไรอาตมาเป็นเหลนเจ๊กแท้ๆ ได้แต่ภาษาจีนแต้จิ๋ว

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ก่อนฉัน ที่โรงเรียนผู้นำ จ.กาญจนบุรี สัปปายะ 4 ที่มีสัมประสิทธิ์ วันอังคารที่ 6 มีนาคม 2561


เวลาบันทึก 10 กุมภาพันธ์ 2564 ( 17:21:56 )

ลักษณะคนจนมหัศจรรย์

รายละเอียด

1. ไม่เป็นหนี้ 

2. มีสมรรถนะ ทำให้ตัวเองกินรอดด้วย แล้วทำงานอยู่ในหมู่นี้ คุ้ม ไม่เป็นหนี้ ทำงานกับหมู่นี้คุ้มไม่เป็นหนี้ รอด 

3.ทำให้เหลือให้เกินกว่าที่เรากินเราใช้ 

4.ทำได้เหลือก็แจกจ่ายผู้อื่นอีก 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 46 จรณะและวิชชาคือพุทธคุณภาคปฏิบัติ วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 14 พฤษภาคม 2565 ( 19:25:31 )

ลักษณะคนมีโทษสมบัติ 6 ประการ ที่ไม่ควรคบ

รายละเอียด

ทีนี้ก็เข้ามาสู่ประเด็นที่อาตมาพูดโยงใยถึงเศรษฐศาสตร์ พูดถึงกาย พูดถึงจิต จนกระทั่งเกี่ยวข้องถึงความเป็นชีวิต เกี่ยวข้องถึงความเป็นสังคม แล้วก็มาทำงานกับสังคม ช่วยเศรษฐกิจเศรษฐศาสตร์ ให้กับมวลมนุษยชาติ ช่วยรัฐศาสตร์ ช่วยการเมืองให้มวลมนุษยชาติ 

เพราะฉะนั้นผู้ใดเป็นอรหันต์ขึ้นไป เป็นผู้ที่มีความจบกิจ ก็จะมีความจริง มีภูมิธรรมจริง สัจธรรมจริง แล้วก็มาช่วยอย่างมีความจริงนั้น เป็นการช่วยอย่างมีสัจจะมีความจริง 

ส่วนคนที่ไม่มีเลย ความรู้ทางธรรมไม่มี สมมุติสัจจะ ปรมัตถสัจจะ ไม่อีโหน่อีเหน่อะไรเลย คำสอนพระพุทธเจ้า โม้ถึงขั้นอนัตตาเลยนะอย่างทักษิณ ผู้ที่เขามีภูมิปัญญาก็รู้ได้ว่า ปัดโธ่ พูดไปคุยโม้โอ้อวด เป็นนักโอ้อวด 

โทษสมบัติ 6 ประการ

อวดตัวเอง เบ่งอำนาจ ฉลาดโกง โขมงโม้แหลก แจกอย่างมีเล่ห์ ทำเท่โง่ๆ

นี่คือผู้ที่แสดง ไม่ว่าด้านเศรษฐศาสตร์ ไม่ว่าด้านรัฐศาสตร์ นี่คือโทษสมบัติ 6 ประการ คนที่มีโทษสมบัติ 6 อย่างครบ นี้อย่าคบ ซวยมหาซวยเลย อวดตัวเอง เบ่งอำนาจ ฉลาดโกง โขมงโม้แหลก แจกอย่างมีเล่ห์ ทำเท่โง่ๆ 

นี่คือนักเศรษฐศาสตร์คือนักรัฐศาสตร์ที่มีโทษสมบัตินี้อยู่ ก็ดูเอาก็แล้วกัน อ่านเอา 

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ภาคค่ำ เรื่อง กาย งานปลุกเสกพระแท้ๆของพุทธ ครั้งที่ 45 วันจันทร์ที่ 10 เมษายน 2566 แรม 5 ค่ำ เดือน 5 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 09 พฤษภาคม 2566 ( 10:32:42 )

ลักษณะที่ดักดานเหมือนโจรปล้นศาสนา

รายละเอียด

ทุกวันนี้ยังไม่บรรลุอรหันต์ ก็ต้องแสบต้องเผ็ด แต่ไม่รู้จักความแสบความเผ็ด จมอยู่กับไอ้สิ่งที่สุดแสบสุดเผ็ดอยู่นั้นแหละ มันดักดานเหมือนโจรปล้นศาสนา ที่อาตมาเคยพูดแล้ว วนไปวนมา ซ้ำแล้วซ้ำอีก ที่พระราชาเห็นแล้วว่า คนนี้เป็นโจรบาปที่ปล้น โจรคือโจรทำลายศาสนาอยู่ ให้เจ้าพนักงานเอาไปฆ่า ฆ่าให้ตาย จะได้หยุดทำบาป แถมฆ่าไม่ตายอีกนะ ฆ่าด้วยหอกร้อยเล่ม แทงเช้า กลางวัน แทงด้วยหอกร้อยเล่ม ตอนเย็น แทงด้วยหอกร้อยเล่ม ก็ยังไม่ตาย ก็เลยทิ้งปลายเปิดเอาไว้อย่างนั้น ใครทำได้อันนี้แหละคือผลสำเร็จ “ใครฆ่าโจรร้ายนี้ตาย” ก็หมายความว่า หยุด ไม่ไปหลงติดยึดอยู่แบบเก่า ออกมาทำอย่างที่พวกเราพากันทำ อย่างที่พระพุทธเจ้าพาทำ มาลด มาละเลิก มาเรียนรู้ปรมัตถ์ต่างๆ มาเรียนรู้จิต เจตสิก รูป นิพพาน มาเรียนรู้จริงๆ ไม่ใช่เรียนแล้วก็ไปหลงพยัญชนะกันอยู่อีก โอ้โห! ก็น่าสงสาร 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ โลก 10 แบบ ที่ไม่ใช่แค่ Imagine ตอนที่ 1 วันศุกร์ที่ 21 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 25 พฤษภาคม 2565 ( 09:15:17 )

ลักษณะที่ลดลงตามหลักพระพุทธเจ้า กถาวัตถุ 10 วรรณะ 9

รายละเอียด

สรุปง่ายๆอีกทีว่า มาเอาลักษณะที่ลดลงตามหลักพระพุทธเจ้า กถาวัตถุ 10 อัปปิจฉกถา   สันตุฏฐิกถา  ปวิเวกกถา  อสังสัคคกถา  วิริยารัมภกถา

วรรณะ 9 เลี้ยงง่าย  (สุภระ) บำรุงง่าย, ปรับให้เจริญได้ง่าย (สุโปสะ)  มักน้อย, กล้าจน (อัปปิจฉะ) ใจพอ สันโดษ (สันตุฏฐิ) ขัดเกลากิเลส (สัลเลขะ) เพ่งทำลายกิเลส  มีศีลสูงอยู่ปกติ (ธูตะ, ธุดงค์) มีอาการน่าเลื่อมใส (ปาสาทิกะ) ไม่สะสม ไม่กักเก็บออม (อปจยะ) ตรงข้าม อวรรณะ 6  ขยันเสมอ, ระดมความเพียร (วิริยารัมภะ)

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการวิถีอาริยธรรม แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจแบบอโศก วันอาทิตย์ที่ 7 มกราคม 2561 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 28 มีนาคม 2564 ( 20:54:11 )

ลักษณะที่เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ

รายละเอียด

คำว่า ผู้ข้องอยู่ในถ้ำนั้น ไม่ละเว้นว่าจะเป็นคนศาสนาใดก็ตาม ถ้าไม่ได้ศึกษาธรรมะของพระพุทธเจ้าก็จะเป็นผู้ที่ ข้องอยู่ในถ้ำ ลักษณะที่เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำคือ 

1.มีกิเลสมาก 

2.ปิดบังไว้แล้ว 

แต่ละคนถ้ามีกิเลสแล้วไม่ปิดบังไว้เลยสังคมมันจะเละขนาดไหน 

ที่มา ที่ไป

รายการ ทำวัตรเช้า งานว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน ครั้งที่ 7 ผู้ข้องอยู่ในถ้ำอันไกลจากวิเวก วันอังคารที่ 31 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 10 มกราคม 2563 ( 16:54:46 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 12:27:58 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 08:13:41 )

ลักษณะธรรมสัจจะ (tolerance)

รายละเอียด

ยืนหยัด (สัจจาภินิเวส)
ยืดหยุ่น-อนุโลม (สัจจานุโลม)
ยอมเย็น  
ยกโทษ 

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 05 สิงหาคม 2562 ( 20:39:11 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 12:30:13 )

ลักษณะประชาธิปไตยของพระพุทธเจ้า

รายละเอียด

อาตมาพยายามพิสูจน์ประชาธิปไตยของพระพุทธเจ้า ในยุคนั้นยังไม่มีคำนี้ มีแต่ ธรรมาธิปไตย อัตตาธิปไตย โลกาธิปไตย แต่สภาวะมันมี ลักษณะของประชาธิปไตยของพระพุทธเจ้าคือมีสาราณียธรรม 6 กับวรรณะ 9 เป็นตัวหลักทฤษฎียืนยันให้เกิดองค์รวมของมนุษยชาติจะอยู่กันอย่างเรียบร้อยสมบูรณ์แบบ มีคุณสมบัติของสาธารณโภคีอย่างชาวอโศกเป็น ซึ่งคนเขายังไม่เข้าใจไม่ชัดเจนว่าสาธารณโภคีคืออะไร

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์วันมาฆบูชา บ้านราช เนื้อแท้ประชาธิปไตยพุทธ 5 ประการ วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 29 กุมภาพันธ์ 2563 ( 11:11:18 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 12:31:37 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 08:15:04 )

ลักษณะประชาธิปไตยที่ดี 5 ประการ

รายละเอียด

ประชาธิปไตยที่ดี อาตมาได้พยายามพูดเป็นภาษาอาตมาว่า 

1.ไม่มีตัวตนหรือพูดง่ายๆว่าไม่เห็นแก่ตัว 

2. มีปัญญา 

ซึ่งอาตมายังไม่ได้เรียบเรียงคำความ น่าจะมี 4-5 คำในเรื่องประชาธิปไตยนี้ 

3. เป็นผู้ทำงานรับใช้ประชาชนอย่างอ่อนน้อมถ่อมตน 

4. มีความซื่อสัตย์ 

5. มีสมรรถนะ มีความรู้ 

เรียงใหม่แบบนี้

 1. เสียสละ

 2. ไม่มีตัวตน

 3. ซื่อสัตย์

 4. มีสมรรถนะมีความรู้

 5. รับใช้ประชาชน

5 ข้อนี้เป็นประชาธิปไตยที่แข็งแรง ประชาธิปไตยที่มีสมรรถนะ มีประสิทธิภาพอย่างดีแล้ว เสียสละคือเป็นผู้ให้ เป็นผู้เสีย ไม่ใช่เป็นผู้ได้เลยนะ ไม่มีตัวตน เป็นสัจจะที่ลึกซึ้งมาก ศาสนาพุทธเท่านั้นที่ไม่มีตัวตนได้ ศาสนาเทวนิยมนั้นไม่มีคำสอน ไม่มีความรู้ให้มาศึกษาจิตวิญญาณให้ละกิเลสจนไม่มีตัวตนได้ มีศาสนาพุทธศาสนาเดียวและอยู่ในประเทศไทย และจริงๆก็อยู่ในชาวอโศกด้วย แม้แต่เถรสมาคมก็ทำให้หมดตัวตนไม่ได้ขออภัยที่ต้องพูดความจริง ยังไม่มีปัญญาพอที่จะสอนให้หมดตัวตนได้จริง เพราะยังไม่เป็นโลกุตระแท้ 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 27 ตอบปัญหาให้ถึงสัมมาธิปไตย วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน 2566 ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 8 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2566 ( 18:47:12 )

ลักษณะประชาธิปไตยสุดยอด ข้อ 1

รายละเอียด

อาตมาเอาข้อ 1 ขึ้น ซื่อสัตย์ เป็นข้อ 1. ถ้าคนที่นำพาและมวลประชาชนด้วย ทั้งมวลประชาชนและตัวผู้นำ มีคุณธรรมซื่อสัตย์ตัวเดียวนี่แหละ รับรองว่า ง่าย ไม่ยาก สั้น ตรง ลัด เร็ว จบ พบความสำเร็จ นี่คือสัจจะของสิ่งที่เกิดจากคุณธรรมข้อซื่อสัตย์

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ลักษณะประชาธิปไตยสุดยอด 11 ประการ วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 2565 แรม 1 ค่ำเดือน 12 ปี ขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 02 ธันวาคม 2565 ( 10:35:09 )

ลักษณะประชาธิปไตยสุดยอด ข้อ 10

รายละเอียด

ข้อที่ 10. มีปัญญาความรู้ความฉลาดโลกุตระของพระพุทธเจ้า นี่ย้ำยืนยัน ความรู้ ความฉลาด ความจริง อันนี้ ได้มาจากของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ได้มาจากโลกียะหรือคนเทวนิยมคนปุถุชนทั่วไป ไม่ใช่ ได้มาจากปัญญาแบบโลกุตระ แบบ อัญญธาตุ อีกชนิดหนึ่ง จึงเรียกว่า ความรู้ ความฉลาด ความจริง อีกชนิดหนึ่ง ที่รู้มากกว่าที่เขารู้กัน 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ลักษณะประชาธิปไตยสุดยอด 11 ประการ วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 2565 แรม 1 ค่ำเดือน 12 ปี ขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 02 ธันวาคม 2565 ( 12:07:19 )

ลักษณะประชาธิปไตยสุดยอด ข้อ 11

รายละเอียด

ข้อที่ 11. แม้จะยากจนก็อยู่ได้อย่างสงบ ... อยู่อย่างสงบเช่น ปัจจุบันนี้ดูได้จากประเทศอินเดีย ที่มีพลเมือง ในโลกขณะนี้มีพลเมืองของ 2 ประเทศที่มากที่สุดคือ อินเดียกับจีน มีพันกว่าล้านคน 

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ลักษณะประชาธิปไตยสุดยอด 11 ประการ วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 2565 แรม 1 ค่ำเดือน 12 ปี ขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 02 ธันวาคม 2565 ( 12:08:04 )

ลักษณะประชาธิปไตยสุดยอด ข้อ 2

รายละเอียด

ข้อ 2. มีปัญญา คำว่ามีปัญญานี้ก็ขยายความ อ่านปัญญา 8 ให้ดีๆ มันไม่ใช่ความรู้ความฉลาดที่เป็นโลกีย์ เป็นของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ที่ตรัสรู้ คำว่า ปัญญา นี้เป็นของพระพุทธเจ้า พยัญชนะเป็นของพระพุทธเจ้า ปัญญานี่ มาจากคำว่า อัญญา และมาจากรากศัพท์ คุณธรรมแท้ คุณภาพแท้ จากอัญญธาตุ ที่มันเป็นคนละเรื่องกับโลกีย์ที่มีมาแต่ไหนแต่ไร ที่เป็นอวิชชาของมนุษย์ 

พระพุทธเจ้าเป็นไก่ตัวพี่เจาะกระเปาะไข่ออกมาจากอวิชชาได้ จึงไม่เหมือนเขาเลยและยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะฉะนั้นความรู้ความฉลาดความจริงที่เรียกว่า ปัญญา จึงเป็นความรู้แบบใหม่ แบบอื่นที่นอกจากที่ชนทั่วไปในโลก ที่มีความเป็นเทวนิยมหรือโลกียะอยู่ ยังไม่มีใครมี พระพุทธเจ้าได้โลกุตรธรรมมา ไม่ใช่ว่าได้มาง่ายๆ ท่านเรียนรู้จากพระพุทธเจ้าองค์ที่ท่านรู้ก่อนองค์ไหนก็แล้วแต่ ไม่รู้กี่พระองค์ 

อย่างอาตมานี้ ข้ามชาติมาไม่รู้กี่พระองค์และ ตั้งแต่ชาติก่อนๆมา ไม่ใช่ว่าจะพบพระพุทธเจ้าเพียงองค์เดียว แต่วิบากกรรมที่ได้สร้างสมมาแล้ว จนกระทั่งมาร่วมกับพระสมณโคดม ก่อนจะมาลงตัวที่จะต้องมา ... มาเป็น อุปัฏฐาก พระสมณโคดมมาเป็นปัจฉาพระสมณโคดมนี้ ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆจะมาเป็นปัจฉาสมณะของสมณโคดม ได้เลยนะในสมัยพระพุทธเจ้า  ไม่มีกรรมการคนไหนจะมาตัดสินให้มาเป็นปัจฉา ไม่มีมันเป็นเรื่องจริง 

ซึ่งปัจฉาของพระสมณโคดมท่านบอกว่านั่นแหละ อัครสาวกของเราเดินมาแล้ว ยังมาไม่ถึงนะตอนนั้น มาด้วยกัน 2 องค์ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ไม่ใช่เรื่องฟลุ๊คๆ ไม่ใช่เรื่องคิดเอา ไม่ใช่เพ้อเจ้อ มันเป็นเรื่องกรรมวิบาก ที่สั่งสมมาจริงไม่รู้กี่ชาติต่อกี่ชาติ เป็นล้านๆชาติ ระยะเวลาแห่งการเกิดการตายของมนุษย์นั้น ล้านชาตินั้นนิดหน่อย 

เด็กๆฟังไว้ การเกิดการตายนั้น ล้านชาตินั้นนิดหน่อย ชีวิตนี้น้อยนัก ต่อให้คุณอายุ 100 ปีแล้วตายชีวิตนี้ก็น้อยนัก 200 ปีตายก็ยังน้อยนัก ชีวิตเกิดมาชาติหนึ่งชาติหนึ่ง มันยังจะหมุนเวียนเกิดได้อีกเป็นล้านๆชาติ จนกว่าจะจบกิจ แล้วไม่เกิดอีกแล้วเป็นอรหันต์แท้ ปรินิพพานเป็นปริโยสาน ได้ ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยที่จะมีปัญญา รู้จักความจบนี้ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ลักษณะประชาธิปไตยสุดยอด 11 ประการ วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 2565 แรม 1 ค่ำเดือน 12 ปี ขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 02 ธันวาคม 2565 ( 10:36:53 )

ลักษณะประชาธิปไตยสุดยอด ข้อ 3

รายละเอียด

ที่นี้คุณธรรมแข็งแรงในข้อ 3 เป็นคุณธรรมชนิดที่ เห็นประโยชน์ประชาชนเป็นใหญ่ เป็นความเห็นที่บริสุทธิ์ใจ ที่จริงใจ ที่เห็นจริงเห็นจังเลยว่า ประโยชน์ของประชาชนนี้เป็นใหญ่เหนือกว่าตัวเอง เหนือกว่าตัวตนจริงๆ ถ้าจะว่าแล้วคือตายแทนประชาชนได้ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ลักษณะประชาธิปไตยสุดยอด 11 ประการ วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 2565 แรม 1 ค่ำเดือน 12 ปี ขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 02 ธันวาคม 2565 ( 10:39:04 )

ลักษณะประชาธิปไตยสุดยอด ข้อ 4

รายละเอียด

ข้อ 4 ทำได้จริง มีกลุ่มหมู่ ชุมชน สังคมอาริยะโลกุตระได้จริง จากกลุ่มน้อยแล้วก็ใหญ่ขึ้น ใหญ่ขึ้น ใหญ่ขึ้น ตามบารมี แม้ว่าผู้นำจะเป็นตัวต้นเป็นไก่ตัวพี่ เช่น อาตมา จะตายจากกลุ่มชนกลุ่มนี้ แก่นแกนของโลกุตระนี้ก็มั่นคงแข็งแรง จะไม่มีเปลี่ยนแปลง จะไม่มีถอย จะไม่เสื่อมถอย จะเจริญไปอีก และเจริญถ้าไปหากลียุคก็จะเจริญเข้าไปสู่จิตคน กระจายแบบ บางๆ อ่อนๆ ไป แต่ไปไกล รัศมีความรู้นี้จะเข้าไปในมนุษย์ มนุษย์จะรับได้ แม้จะอ่อนน้อยไปตามลำดับ จนไกลไปหาที่สุดไม่ได้ อัปปมาณา ความจริงอันนี้จะหยั่งลงไปในจิตมนุษย์ 

ทุกวันนี้ มนุษย์โลกทั้งโลกก็แสวงหาสิ่งที่ประเสริฐที่สุด ดีที่สุด และสิ่งที่ประเสริฐที่สุดดีที่สุดนั่นก็คือโลกุตรธรรม คนอย่างพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ที่ตรัสรู้โลกุตรธรรม เป็นอุตริมนุสธรรม เป็นธรรมะที่สุดเหนือสุดในความเป็นคนที่จะพิสูจน์ได้ เป็นคนมีร่างมีกาย ไม่ใช่บอกว่าเป็นผู้ยิ่งใหญ่แล้วยิ่งใหญ่อยู่แค่ไหน ยิ่งใหญ่อยู่แค่พระศาสดา ก็บอกว่าเอาของพระเจ้ามาที่จริงแล้วเป็นของพระศาสดาเอง ได้เท่าที่กรอบความรู้ของพระศาสดาแต่ละองค์แล้วก็เอามาแข่งมาแย่งกันต่อไป แต่ของศาสนาพุทธ จะไม่มีศาสดาพระพุทธเจ้า 2 พระองค์ ในเวลาเดียวกันในโลกเลย ไม่ใช่แต่ในประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่ในโลกเลย จะมีพระพุทธเจ้าองค์เดียว เกิดมาแต่ละยุคแต่ละสมัย เวลาใกล้เคียงกันก็จะไม่มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์ ที่จะอุบัติขึ้นมาใกล้กัน ก็จะนานๆทีมีพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งมาอุบัติ 

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ลักษณะประชาธิปไตยสุดยอด 11 ประการ วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 2565 แรม 1 ค่ำเดือน 12 ปี ขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 02 ธันวาคม 2565 ( 10:40:24 )

ลักษณะประชาธิปไตยสุดยอด ข้อ 5

รายละเอียด

1. ซื่อสัตย์ 

2. มีปัญญา 

3. มีคุณธรรมจริง แข็งแรง 

4. ทำจริง มีหมู่กลุ่มชุมชนสังคมอาริยะจริง 

ข้อที่ 5. มีคุณลักษณะทั้ง 4 นั้น ตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 4 ยืนยัน เป็นได้แท้ มีได้แท้ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ลักษณะประชาธิปไตยสุดยอด 11 ประการ วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 2565 แรม 1 ค่ำเดือน 12 ปี ขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 02 ธันวาคม 2565 ( 10:42:37 )

ลักษณะประชาธิปไตยสุดยอด ข้อ 6

รายละเอียด

ข้อ 6. ทีนี้ คุณสมบัติของสิ่งที่เป็นจริง มีความสงบ เป็นความสงบที่ในพระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ชัดเจน ความสงบจะมีอยู่ 2 อย่าง ในปัญญา 8 ข้อที่ 3 ความสงบอบอุ่นในสังคมนี้ อย่างชาวอโศก เป็นความสงบอบอุ่นของสังคมประเทศ ชาวอโศกเป็นกลุ่มที่เป็นอยู่อย่างสงบอบอุ่นอุดมสมบูรณ์ เบิกบานร่าเริงอะไรต่างๆ เด็กๆ ก็คงได้ฟังกันหมดแล้ว ยืนยันชัดเจน เป็นความสงบอบอุ่นในสังคมประชาชนชุมชนในประเทศยืนยันชัดเจน 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ลักษณะประชาธิปไตยสุดยอด 11 ประการ วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 2565 แรม 1 ค่ำเดือน 12 ปี ขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 02 ธันวาคม 2565 ( 10:43:28 )

ลักษณะประชาธิปไตยสุดยอด ข้อ 7

รายละเอียด

ข้อที่ 7. รู้จักปัจจัยแห่งชีวิตดี ไม่หลงใหลเพ้อพกออกไปทางวัตถุ 

ขณะนี้อาตมาทำงานอยู่กับวัตถุ 2 อย่าง 1.) ภูเฮา 2.) สะพานโค้งรุ้ง ยังไม่สำเร็จ ยังไม่บริบูรณ์ ก็พยายาม อาตมาไม่ได้ไปบังคับใคร ไม่ไปเร่งรัดอะไรใคร มันอยู่ที่จิตใจของเขาจะมาช่วยทำ เพราะเราไม่มีเงินจ้าง คนมาทำนี้ไม่ได้ถูกจ้าง เขามาทำด้วยใจเสียสละของเขา ทุนรอนที่มีก็เอาลงไปกับวัตถุที่ต้องใช้ ส่วนค่าแรงที่จะจ้างคน ที่เป็นกรรมกรมาอาศัยก็เป็นบ้าง แต่ชาวอโศกตัวนำจริงๆไม่ได้มีค่าจ้าง คนที่ยังรับจ้างอยู่ก็คือ พวกกรรมกร หากินมารับใช้เท่านั้นเอง 

เพราะฉะนั้นอาตมาก็ตั้งใจและผู้ที่เป็นตัวหลักๆที่จะทำ ภูเฮา หรือ ภูเขาแบบอโศกนี่แหละ ซึ่งเป็นวัตถุอย่างหนึ่งกับสะพานโค้งรุ้ง ซึ่งที่จริงก็ตั้งชื่อไว้เท่านั้นเอง ก็คือสะพานจากถนนเข้ามาสู่หมู่บ้านที่มันเป็นเกาะ เกาะรัตนราชธานีอโศก มันก็เข้ามาจากถนนเส้นเมน เข้ามาสู่หมู่บ้านเท่านั้นเอง ก็ตั้งชื่อ ตั้งท่า อธิบายดูฟอร์มโต ที่จริงมันจะเป็นได้ขนาดไหนก็เอาเถอะ เป็นสะพานอย่างนั้น เขาให้ดูโครงสร้าง ผู้รับเหมาก่อสร้างทำแล้วก็มีสัญญาว่าจะจบตอนธันวาเสร็จเรียบร้อย อาตมาดูแล้วผิดสัญญาแน่ ไม่เสร็จหรอก จะปรับจะไหมอย่างไรกันก็เชิญ ไม่เสร็จแน่นอน 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ลักษณะประชาธิปไตยสุดยอด 11 ประการ วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 2565 แรม 1 ค่ำเดือน 12 ปี ขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 02 ธันวาคม 2565 ( 11:55:24 )

ลักษณะประชาธิปไตยสุดยอด ข้อ 8

รายละเอียด

ข้อที่ 8. จึงเน้นจิตวิญญาณมากกว่าวัตถุแท้จริง กระทั่งเกิดผลธรรมแท้ จะมีของจริงปรากฏเลย จิตวิญญาณก็เห็นเด่นชัด วัตถุก็เห็นเด่นชัด ว่าจิตวิญญาณนี้เหนือกว่าวัตถุ มีผลธรรมแท้ อย่างชาวอโศก เน้นจิตวิญญาณมากกว่าวัตถุ วัตถุเรารู้จักพอ อันนี้ใช้กินพอ แต่อุดมสมบูรณ์แจก ทำไมเราแจกได้ ก็เพราะว่าเราพอ เรามีจิตสันโดษแล้ว ให้กินอีกก็ไม่กินต่อหรอก มันพอแล้วจริงๆ 

นี่เฉยเลย แม้แต่เด็กของพวกเราก็รู้จักพออยู่แล้ว แต่ข้างนอกเขานั้น ท้องเขาจะแตกแล้วนะแต่อร่อยๆ แล้วก็บอกว่าได้เปรียบด้วย กินเข้าไปจนกระทั่งสรีระเป็นโรคด้วย เสีย ต้องไปกินยาถ่ายออก ตะกละ ได้เปรียบ อร่อยด้วย แล้วชั้นหนึ่งด้วย ไม่กินก็เสียสิของชั้นหนึ่งอะไรอย่างนี้ เขาโง่หรือเขาฉลาด นึกเอาเองก็แล้วกัน เคยโง่อย่างนี้มาหรือเปล่า..เคยโง่อย่างนี้มาหรือเปล่า เคยโง่มาอย่างนี้แล้วทั้งนั้น 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ลักษณะประชาธิปไตยสุดยอด 11 ประการ วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 2565 แรม 1 ค่ำเดือน 12 ปี ขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 02 ธันวาคม 2565 ( 12:05:08 )

ลักษณะประชาธิปไตยสุดยอด ข้อ 9

รายละเอียด

ข้อที่ 9. เป็นสังคมมั่งคั่ง แต่พอเพียงเท่าที่จะอุดมสมบูรณ์ 

นอกจากมั่งคั่งแล้วยั่งยืน เป็นคำของนายกไทย มั่งคั่ง ยั่งยืน มั่งคั่ง มั่นคง ยั่งยืน มั่นคงมั่นคั่งยั่งยืนมันใกล้กัน 

มั่งคั่งอีกชนิดหนึ่งบอกปริมาณ มั่นคงกับยั่งยืนบอกสภาพสถิต เสถียร สภาพ Static ก็ไม่เป็นไรก็ดี เขาใช้คู่ เพราะธรรมดา 3 เส้าจะมี 2 มี Static กับ Dynamic เป็นธรรมชาติ Dynamic เป็นประธาน Static 2 ด้วย ก็อธิบายคุณลักษณะของจิตนิยาม เติมแถมให้ฟัง ศึกษาจิตให้ดีเถอะ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ลักษณะประชาธิปไตยสุดยอด 11 ประการ วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 2565 แรม 1 ค่ำเดือน 12 ปี ขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 02 ธันวาคม 2565 ( 12:06:05 )

ลักษณะปุริสภาวะกับอิตถีตภาวะ

รายละเอียด

เป็นสภาวะของปุริสภาวะ เด็ดเดี่ยวหนักแน่น อิตถีภาวะ ก็ไม่แน่นหรอกหลวมๆ ง่อนแง่น คู่กัน เด็ดเดี่ยวกับหนักแน่น มันก็มีตรงกันข้ามระหว่าง อิตถีภาวะกับปุริสภาวะ นี่ไม่ได้ว่าผู้หญิงนะ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช ธรรมะคือเครื่องถ่วงดุลยุคทุนนิยมเคออส วันพุธที่ 11 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 18 ธันวาคม 2562 ( 14:28:52 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 12:33:12 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 08:15:29 )

ลักษณะยึดได้แต่พยัญชนะไม่เข้าถึงสภาวะ

รายละเอียด

เราเอาสภาวะไม่แย้งกับภาษาเขา อย่างคุณเราเข้าใจ คุณว่าไม่ใช่ก็ไม่ใช่ แต่เราเอาความหมายอันนี้มาใช้ อย่างโน้นเราเข้าใจแล้วเขาไม่มีก็ไม่ได้ใช้เป็นการตัดทางของเขาเอง เขาไม่มีอย่างนี้ก็ไม่ได้ใช้อย่างที่เรามี เขาบอกว่าอย่างนี้ไม่ใช่ก็ไม่ได้ อันนี้เท่านั้นเองเขาก็ตัดทางเขาเอง ก็เป็นเรื่องน่าสงสาร ก็ตัดไปทำไม ก็มันยังมีอยู่แต่คุณรู้ยังไม่ได้ ขออภัยคุณยังโง่คุณยังไม่เข้าใจ  ไม่สามารถรู้อันนี้ได้ อันนี้ที่จริงมันมีแล้วเป็นของดีด้วย แต่คุณปฏิเสธ คุณก็ไม่ได้สิเมื่อคุณปฏิเสธจะทำอย่างไร มันเป็นความไม่ยอมรับไม่รู้ ไม่รับไม่เอาตัดทิ้ง ทั้งๆที่มันเป็นของดีของจริง แต่ถ้ามันไม่เป็นสิ่งดีไม่เป็นสิ่งจริงก็แล้วไป แต่เรายืนยันว่ามันมีเป็นของดีด้วย เราก็ได้ใช้

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ โสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 29 วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 17 มีนาคม 2564 ( 19:47:04 )

ลักษณะรูป 4 ในรูป 28

รายละเอียด

ญ. ลักขณรูป 4 = 21.อุปจยะ ความเกิดอยู่เจริญขึ้นไป  22.สันตติ ความเชื่อมต่อสืบเนื่อง 23.ชรตา เคลื่อนไปสู่ความเสื่อม 24.อนิจจตา เคลื่อนไปเสื่อม>เจริญ คือสุดท้ายจบก็จะเป็นสัจจะ 4 ตัวที่จะเหลือสุดท้าย ผู้ที่มีชีวิตอยู่ก็จะอยู่กับ อุปจยะ กับ สันตติ เราจะให้เกิดหรือไม่ให้เกิด ถ้าจะให้เกิดก็มีแต่สิ่งที่ดีที่เจริญขึ้นไปตลอดเวลา เราจะไม่มีบาปทั้งปวงที่จะออกจากกรรมของเรามีแต่ดีอยู่ตลอดเกิดอยู่มีกรรมกิริยาก็มีแต่กุศล หากไม่เกิดก็อยู่เฉยๆ จะสันตติหรือไม่ จะต่อหรือไม่ต่อ หากว่าไม่รู้สันตติ ก็ชรตาก็เสื่อมก็อยู่กับชรตา อนิจจตา เป็นลักษณะธรรมของไตรลักษณ์สุดท้ายเกิดขึ้นตั้งอยู่เสื่อมไปไม่เที่ยง ชรตา=เสื่อม  อนิจจตา=ไม่เที่ยงคนที่ไม่สามารถควบคุมไตรลักษณ์ก็จะจมอยู่กับความเสื่อม จมอยู่กับความอนิจจตา จมอยู่กับความเสื่อมตลอดเวลา ผู้ที่สามารถรู้จักลักษณะ 4 และสามารถควบคุมทุกอย่างได้หมด จะอธิบายเป็นภาษาที่ สิริมหามายา อนิจจตา ก็เป็นความไม่เที่ยงที่ดีไม่สันโดษในกุศลมีแต่ความเจริญอย่างเดียวเคลื่อนไปเลื่อนไป เพราะฉะนั้นเคลื่อนไปสู่ความเสื่อมไม่มี ถ้ายังอยู่ก็มีแต่เกิดความเจริญอยู่ตลอดเวลา อุปจยะ สันตติ จะต่อหรือไม่ต่อก็เป็นผู้ที่ควบคุมสันตติเอง จะต่อไปก็มีแต่ความเจริญไม่มีความเสื่อมเพราะมีความรู้แจ้งในลักษณะของ อุปจยะ สันตติ รู้แจ้งชรตา รู้แจ้งอนิจจตา จึงจัดการสิ่งที่เป็นรูปนาม  กำหนดรูปนามให้เป็นสิ่งที่ดีอย่างเดียวไม่มีความเสื่อมเลย เป็นพระเจ้าตัวเองเป็นผู้กำหนดจิตวิญญาณเองเป็นอมตบุคคล ในมูลสูตรข้อที่ 9

สมณะฟ้าไท…ในรูป 24 เราต้องมีผัสสะ มีประสาทครบ ตาหูจมูกลิ้นกาย ใจ  เปิดตาดู กระทบผัสสะก็รู้กิเลสได้ กิเลสเกิดจะรู้มันได้อย่างไร ชีวิตมันเกิดที่ไหน ก็อยู่ที่ใจนั่นแหละ เราก็ดูว่าชีวิตของกิเลสมันเกิดอยู่ตรงไหนมีอะไรเป็นปัจจัย ควบคุมอาการเคลื่อนไหวของกายของวจี โดยอยู่ในฐานของลักขณรูป 4 ผู้ที่รู้จักรูปรู้จักนามตามที่พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า รูปนามนี่แหละเป็นตัวชี้บ่งของจิตวิญญาณ เพราะฉะนั้นผู้ที่รู้จักรูป 28 และรู้นามอีก 5 คือเวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการผู้รู้รูป 28 นาม 5 คือ ผู้ที่พระราชาไม่สั่งไปฆ่าเป็นผู้ที่มีความประเสริฐแล้ว แต่ถ้าไม่ใช่แล้วไม่รู้รูปนามไม่รู้จิตวิญญาณ แล้วยังรู้ผิดๆอีก พระราชาก็เอาไปฆ่าไม่ตาย เป็นอมตะที่ดื้อด้านดึงดัน

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 8 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 20 มกราคม 2563 ( 18:24:50 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 12:37:06 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 08:17:37 )

ลักษณะศาสนาพระพุทธเจ้าจะต้องมีชาคริยา

รายละเอียด

เมื่อเราสามารถทำให้เป็นคนตื่น ไม่ใช่เป็นคนหลับหรือนั่งหลับจมอยู่อย่างนั้น ลักษณะศาสนาพระพุทธเจ้าจะต้องมีชาคริยา ไม่ใช่ไปนั่งนิ่ง ดำดิ่งลงไป ปฏิบัติผิด ไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กายให้สำรวม..มันผิด เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภคที่เราต้องใช้ แล้วก็พิจารณาให้มันเหมาะควร เป็นอกุศลที่มันทุจริตก็ทำให้เป็นสุจริตให้เป็นกุศล 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน 2563


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 14:48:18 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 13:35:13 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 08:54:11 )

ลักษณะสมาธิตามสภาวะจริง

รายละเอียด

คำว่าสมาธิ ของพระพุทธเจ้านั้นแม้จะเรียกคำศัพท์ซ้ำกับของเขาว่า สมาธิ ที่จริงพยัญชนะเดิมมันถูก เป็นของพระพุทธเจ้า สมะ+อธิ เคยแจกแจงให้ฟังแล้ว

อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา หรืออธิโมกข์ 

สมาธิ ของพระพุทธเจ้านี่ ผู้ที่ไม่รู้จักสภาวะจริง สับสนเอาสมาธิของฤาษีมายืนยัน เขาอธิบายได้แค่นั้น ทำได้แค่นั้นจริงๆ แต่อย่างนั้นมันไม่ยากหรอกที่เขาทำกันได้ มันไม่ยาก แต่อย่างที่อาตมาพาทำ มัน คัมภีรา (ลึกซึ้ง) ทุททัสสา (เห็นตามได้ยาก) ทุรนุโพธา (บรรลุรู้ตามได้ยาก) สันตา (สงบระงับอย่างสงบพิเศษ แม้จะวุ่นอยู่) . ปณีตา (สุขุมประณีตไปตามลำดับ ไม่ข้ามขั้น) อตักกาวจรา (คาดคะเนด้นเดามิได้) นิปุณา (ละเอียดลึกถึงขั้นนิพพาน) ปัณฑิตเวทนียา (รู้แจ้งได้เฉพาะผู้เป็นบัณฑิต บรรลุแท้จริงเท่านั้น)   (พตปฎ. เล่ม 9  ข้อ 34)

เป็นคำตรัสยืนยันของพระพุทธเจ้าว่า ธรรมะของท่านเป็นอย่างนี้

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ โพชฌงค์ 7 สัปปุริสธรรม 7 โดยพิสดาร วันพุธที่ 14 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 17 เมษายน 2564 ( 19:45:53 )

ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนั้นคือเพื่อประชาชน

รายละเอียด

ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนั้นคือเพื่อประชาชน เพราะฉะนั้นคนที่จะทำระบอบประชาธิปไตยที่ดีจึงต้องเป็นคนที่ไม่มีตัวตนเป็นคนไม่มีอัตตาเป็นคนมีอิสระเสรีภาพ เป็นคนเสียสละทำงานเสียสละเพื่อมวลชนประชาชน นี่คือคนไม่มีตัวตน มีอิสรเสรีภาพ นี่คือลักษณะของคนที่จะมาทำประชาธิปไตยได้ดี ประชาธิปไตยนั้น คนจะต้องมีบารมี มีคุณธรรม

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 3 พฤษภาคม 2563


เวลาบันทึก 07 กรกฎาคม 2563 ( 08:37:15 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 13:37:07 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 08:54:40 )

ลักษณะอยู่เหนือโลกย่อมไม่ข่ม ไม่เกทับ ไม่ดูถูก ไม่ร้าย และทำแต่ประโยชน์!

รายละเอียด

คำว่า“อยู่เหนือโลก”จึงไม่ใช่ไป“ข่มโลก” ไป“ทับบนโลก”

ไป“ดูถูกโลก”แต่อย่างใด หรือไปเป็นภัยเป็นโทษร้ายต่อโลก 

แต่เป็นผู้“หลุดพ้นจากอำนาจโลก”ครอบงำตัวเราได้อย่างบริบูรณ์สนิทจริง 

ซึ่งกลับเป็นผู้“อนุเคราะห์โลก”หรือ“ช่วยเหลือโลก” เป็น“โลกานุกัมปายะ”ด้วยซ้ำ เพราะเป็นผู้“มีธรรม”จริงๆ“อำนาจโลก”ก็มี“ลาภ,ยศ,สรรเสริญ,สุข”นี่เองครอบงำอยู่

ซึ่งผู้หลุดพ้นอำนาจโลก คือ ผู้“ลอยตัวหรืออิสระได้จริงจากการครอบงำของโลกนั้นได้แล้ว หลุดพ้นคืออิสระจากความเป็น‘โลก’ได้แท้จริง”ซึ่ง“โลก”ก็คือ ความเป็น“โลกียะ”ทั้งหลายทั้งหมด

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ รวมเปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อ 123 หน้า117


เวลาบันทึก 18 มิถุนายน 2564 ( 05:14:58 )

ลักษณะอันสูงสุดของมนุษยชาติ 7 ประการ ในชาวอโศก

รายละเอียด

พวกเราชาวอโศก ซึ่งเป็นแก่นแกนของโลกุตรธรรม ขอยืนยันว่าในประเทศไทยนี้ด้วย ซึ่งเป็นกลุ่มชุมชนที่ครบบริบูรณ์ มีคุณธรรมตามสาราณียธรรม 6 หรือมีจรณะ 15 วิชชา 8 มีวรรณะ 9 มีโพธิปักขิยธรรม 37 ซึ่งเป็นเรื่องจริง วันนี้ก็ยังไม่ลงไปขยายความ ศัพท์ที่พูดพาดพิงถึงพยัญชนะวิชาการเมื่อกี้นี้ แม้แต่ความรู้ที่สามารถสร้างอาวุธทำลายกัน มาฆ่าคนกันแท้ๆ ลึกๆเขาก็เพื่อจุดหมายเพื่อให้ชีวิตคนในสังคมอยู่เย็นเป็นสุข จริงๆ อยู่เย็นเป็นสุขก็มีซ้อนความเห็นแก่ตัว เห็นแก่พวก ซ้อนอยู่ในนั้น ให้พวกเขาอยู่เย็นเป็นสุข มันไม่เย็นไปได้หรอก มันไม่เย็น แต่เป็นความร้อนอยู่ ร้อนสุข เขาหลงความสุขแต่เขาไม่ได้ความสุขที่เย็น เขาจะได้ความสุขที่ร้อน คนเหล่านี้ 

ฉะนั้นในภาษาวิชาการถึงบอกว่าเป็นเรื่องของเศรษฐศาสตร์ก็ดี รัฐศาสตร์ก็ดีสังคมศาสตร์ก็ดี ที่เป็นชื่อใหญ่ๆ 3 ศาสตร์ ถูกหยิบมากล่าวถึงนี้ จะนำพากันปฏิบัติ แต่ละกลุ่ม แต่ละประเทศ แต่ละสังคม ปฏิบัติเศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์ ปฏิบัติการเมืองหรือรัฐศาสตร์ปฏิบัติสังคมศาสตร์ สังคมเป็นภาษารวม เศรษฐศาสตร์กับรัฐศาสตร์ เป็นภาษา 2 อย่าง 2 ขั้ว เป็นเทวะ ชนิดหนึ่ง เศรษฐศาสตร์กับรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์การเมือง ถ้าเรียกคู่ เขาจะเรียกว่า เศรษฐศาสตร์การเมือง 

ซึ่งมันก็เอามาปฏิบัติกัน เขาก็ว่า เขาเจริญ แต่ถ้าเผื่อว่ามันไม่เข้าเขตเข้าข่ายของโลกุตระ มันไม่เจริญหรอก มันเสื่อมแล้วมันก็เลวร้าย ไปเรื่อยๆ มันทำเลวทำร้ายแก่สังคมแก่กันและกันไปด้วยโดยที่เขาไม่เข้าใจหรอก เพราะฉะนั้นเขาก็ไม่สามารถเข้าใจแก่นแท้ของความเป็นจริงกันได้ แก่นแท้ของความจริงที่ผู้ประสบผลสำเร็จแล้วจะเห็นคุณธรรมหรือเห็นลักษณะของพฤติกรรม พฤติการณ์ของมนุษย์กับสังคม เห็นลักษณะ 7 อาตมาพยายามจะใช้ภาษาเอามาสื่อสภาวะเอาไว้ 

ลักษณะ 7 นั้นคือ 1.อิสระ 2.สบาย 3.สงบ 4.อบอุ่น 5.อิ่มเอม 6.เกษมใส 7.ใจเกื้อกูล 7 คำนี้เทียบเคียงกับพระพุทธพจน์ของพระพุทธเจ้า สาราณียะ ปิยกรณะ คุรุกรณะ สังคหะ อวิวาทะ สามัคคียะ เอกีภาวะ  เทียบเคียงกันพอได้แต่ไม่ใช่คำเดียวกันตรงกันทีเดียวหรอก คำที่อาตมากล่าวถึง เทียบคำต่อคำไม่ได้เท่านั้นเอง เกษมใสแล้วยังมี ใจเกื้อกูล อีกคำหนึ่ง เพิ่งเติม

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ลักษณะอันสูงสุดของมนุษยชาติ 7 ประการ วันพุธที่ 21 ธันวาคม 2565 แรม 13 ค่ำ เดือนอ้าย ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 01 มกราคม 2566 ( 12:51:21 )

ลักษณะอาการจิตแค้น กับก้าวร้าว

รายละเอียด

แน่นอนๆ มันยึด มันมีอาการเห็นแก่ตัวนั่นแหละถึงขั้นใช้คำว่าแค้นกับก้าวร้าว มันมีนัยยะสำคัญเป็นอาการของจิต แค้น เป็นอาการลักษณะหนึ่ง แค้น นี่มันผูกพยาบาท โกรธ สายโกรธ ทีนี้ก้าวร้าวนี่ มันอาจจะไม่โกรธแต่มันยึดตัวตน ข้านี่ ตัวของข้าใครอย่ามาแตะเชียวนะ ใครมาแตะใครมาว่า ใครมาทำให้ไม่ชอบใจ บางทีไม่มากมาย แต่แสดงออกตอบโต้อย่างรุนแรงเรียกว่าก้าวร้าว เพราะฉะนั้นผู้ใดที่ชื่อว่า ก้าวๆ ชอบคำว่า ก้าวก้าว ระวังเถอะ จะก้าวไถล มันไกล มันเลยไปจากก้าวไกลอีก มันร้ายแรงกว่าก้าวไกลอีก เป็นก้าวไถล ก้าวร้าย ก้าวร้าว ก้าวร้าย 

ก้าวร้าว ไปหาก้าวร้าย แค้น บางคนอาจจะไม่แสดงออกแค้นอยู่ในใจเก็บ ได้โอกาสเมื่อไหร่ฉันจะแสดงออก ถ้ายังไม่แสดงออกก็แค้นเก็บไว้ได้ ได้โอกาสเมื่อไหร่จะแสดงออกให้สะใจเลย ส่วนก้าวร้าวเป็นการแสดงออกแล้ว เป็นอาการที่แสดงลักษณะที่มันไม่ดีแล้ว ก้าวร้าว คุณปองแสงพุทธนับ แค้นกับก้าวร้าวนี่นับเป็นเวทนาเจตสิก พอจะสังเคราะห์เข้า มีลักษณะเวทนาปนอยู่ แต่มันมีความปรุงแต่ง มันมีสังขาร ปรุงแต่งเข้าไปให้มีลักษณะถึงแค้น ปรุงแต่งเข้าไปให้มีถึงลักษณะก้าวร้าวออกมา เพราะฉะนั้นมันมีทั้งเวทนา มันมีทั้งสังขารที่ตัวเองนั่นแหละ มีอวิชชา ไม่มีความรู้ของอาการจิตพวกนี้ ไม่ได้สังวรระวัง ไม่ได้ควบคุม มันก็สะสมอกุศลจิต อกุศลเจตนาเข้าไป มันปรุงแต่งกันผนึกเข้ามากก็เรียกว่าแค้น ผนึกมากก็แสดงก้าวร้าวออกมา 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ปลุกธรรม ครั้งที่ 27 ตอบปัญหาให้ถึงสัมมาธิปไตย วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน 2566 ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 8 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2566 ( 18:09:10 )

ลักษณะอเทวนิยม ของพุทธศาสนา

รายละเอียด

1. พลังอำนาจของ อเทวนิยม คือ กรรม 
2. อเทวนิยม เชื่อ อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา 
3. อเทวนิยมสามารถดับภพชาติได้อย่างสนิทบริบูรณ์ 
4. อเทวนิยม เชื่อว่า กรรมวิบากไม่เที่ยงแท้ตายตัว (กรรมปัจจุบันสามารถเปลี่ยนพรหมลิขิต เปลี่ยนดวงชะตาได้)
5. สุขของ อเทวนิยม เป็นสุขแบบโลกุตระ 
6. โลกของ อเทวนิยม รู้รอบถึงขั้น “ดับวัฏฏสงสาร”  
7. อเทวนิยม มีลักษณะเข้าถึงขั้น “อาริยะ”
    - ที่สุดในความเป็นคนคือ นิพพาน 
    - ทางปฏิบัติไปสู่นิพพาน คือ สัมมาอริยมรรคมีองค์ 8 
    - วิชชา 9 คือ ความรู้เฉพาะที่พาไปสู่นิพพาน 
8. ศาสดาของ อเทวนิยม เป็นคนปกติสามัญแท้ๆ   
9. คุณวิเศษของ อเทวนิยม คือ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ 
10.ที่พึ่งของ อเทวนิยม คือ “กรรม” (พระรัตนตรัย) 

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายจากพ่อครู รายการพุทธศาสนาตามภูมิ

หนังสืออ้างอิง

พุทธเป็นอเทวนิยมอย่างนี้


เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2562 ( 17:43:40 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 12:39:10 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 08:55:08 )

ลักษณะะของพุทธธรรม 8

รายละเอียด

ผู้ศึกษาใส่ใจเป็นเปรียญ 9 เป็นดร.ทางธรรมะก็ดี ติดตามให้ดีๆ อยู่ในพระไตรปิฎก อาตมานำพยัญชนะให้มาเป็นสภาวะจริง คัมภีรา ลึกซึ้งจริงเห็นตามได้ยากจริง ทุททัสสา ทุรนุโพธา รู้ตามได้ยาก มีโพธิได้ยากก็จริง สันตา สงบ ระงับ อย่างพิเศษลึกซึ้งเลย จิตมีตัวสงบและอยู่กับความวุ่นวายอย่างแข็งแรงมีประสิทธิภาพ มุทุภูตธาตุ สันตา ปณีตา สุขุมประณีตมากไปตามลำดับขั้น ซึ่งไม่ใช่วิสัยของ ตักกะ อตักกาวจรา คาดคะเนด้นเดา ข้อคิดศึกษาบัญญัติภาษาให้หัวพังเป็น learned man แว่นตาโตเดินเอาหัวไปข้างหน้าเป็นปราชญ์เอกของโลกอย่างไรเรียนบัญญัติเก่งยอด เป็นปทปรมบุคคลขนาดไหนก็ไม่สามารถรู้ได้ ปรับเปลี่ยนสภาพนามธรรมที่ละเอียดถึงขั้นนิพพาน นิปุณา

บัญฑิตเวทนียา ผู้เป็นบัณฑิตแท้ มีสภาวะจริง มีความรู้ความพิเศษในตัวเองจริง จึงเรียกว่าบัณฑิตไม่ใช่ไปเรียนและสอบเอาตามบัญญัติ พวกนี้มันหลอกมันหลง ได้แต่บัญญัติภาษาเป็น ปทปรมบุคคล

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ คนจนสาธารณโภคีที่เหาะได้ทั้งชุมชน วันศุกร์ที่ 8 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 29 มกราคม 2564 ( 16:26:09 )

ลักษณะเจโตมีน้อยกว่าโพธิสัตว์ในสมัยพุทธกาล

รายละเอียด

เป็นอรหันต์แล้วก็บำเพ็ญเป็นโพธิสัตว์ ยุค พระพุทธเจ้ามีพระอรหันต์แล้วก็มีพระโพธิสัตว์เยอะมาก แต่ พระพุทธเจ้าท่านจะบอกว่า โพธิสัตว์ก่อนพระอรหันต์ท่านก็บอกอย่างนั้นไม่ได้ แต่ความเป็นจริงของเนื้อแท้นั้น โพธิสัตว์ เกือบจะทั้งนั้น มีสายเจโตที่จะเอาแต่พระอรหันต์ เช่น พระกัสสปะ เป็นต้น สายศรัทธา จะเอาแต่อรหันต์ซึ่งมีน้อย ส่วนใหญ่เป็นโพธิสัตว์พระพุทธเจ้าเป็นสายปัญญาแท้ๆ ซึ่งคนละขั้วกับพระกัสสปะที่เป็นศรัทธาแท้ๆ ก็เป็นสามัญคู่กัน

พระพุทธเจ้าถึงจะใช้พยัญชนะว่า ท่านช้อนช่วยพระกัสสปะ คือมีคนเห็นว่าพระกัสสปะคนละขั้ว พระพุทธเจ้าก็บอกว่า กัสสปะ มีความเสมอกับเรา จะว่าไปแล้วมันมีความสุดโต่งของสายเจโตคือยอดเจโตคือพระกัสสปะ  กับยอดปัญญา คือแบบพระพุทธเจ้า ไม่มีสูงกว่านี้อีกแล้วในสายปัญญาไปยิ่งกว่านี้อีกแล้ว 

พระสมณโคดม มีอจินไตยคือ ท่านบำเพ็ญมานานกว่าใคร แต่ศาสนาของท่านสั้นกว่าใครๆ ท่านบำเพ็ญมานานกว่าพระพุทธเจ้าองค์ก่อนหลายองค์ ใช้เวลานานกว่า ทำงานมาเป็นโพธิสัตว์ทำงานมา กับโลกกับมนุษยชาติมากกว่าพระพุทธเจ้าหลาย พระองค์ แต่ก็มาเป็นพระพุทธเจ้าสั้นที่สุด ท่านบำเพ็ญเป็นพระโพธิสัตว์ จนกระทั่งเกินกว่าพระโพธิสัตว์อื่น ที่บำเพ็ญสู้พระพุทธเจ้าสมณโคดม แต่ประกาศศาสนาของท่านสั้นกว่าของเขา ศาสนาพุทธของสมณโคดม 5,000 ปีก็จบแล้ว บางองค์เป็นหมื่นเป็นแสน ศาสนาพุทธบางครั้งยาวเป็นหมื่นเป็นแสนเป็นล้านปี

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 39 พุทธานุสสติ และอัมพัฏฐสูตร วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 04 สิงหาคม 2565 ( 17:20:37 )

ลักษณะในโลกมี Static กับ Dynamic 2 อย่างเท่านั้น

รายละเอียด

วิวัฒนาการของมนุษยชาติของสังคม อาตมาเรียนรู้เป็นโพธิสัตว์ระดับ 7 มาจากพระพุทธเจ้า อาตมาพูดมาก่อนแล้วว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้เรียนรู้อะไรนอกจากเรื่องของมนุษย์และสังคม และ มนุษย์นี้ หยั่งลงไปถึงจิตวิญญาณเลย ตั้งแต่ต้นตอของจิตวิญญาณเลยทีเดียว เป็นประธาน รากเหง้าของจิตวิญญาณเลยคือปัญญา หรือวิชชา ปัญญา ญาณ​ วิชชา เป็นรากเหง้าของจิตวิญญาณและมันมีส่วนที่เป็น Static ของจิตวิญญาณคือสงบ หยุด นิ่ง ไม่เป็นพิษภัยต่อใคร เราก็เป็นประโยชน์ต่อไป 

ลักษณะอันนี้ อาตมาจะขยายให้ดูเป็นรูปธรรมก็คือ อินเดียกับจีน อินเดียเป็นพวกสงบไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร อินเดียสงบนิ่งไม่เป็นภัยกับใคร แต่ก็อยู่อย่างนั้นแหละ อยู่อย่างนั้น 

ส่วนจีนเป็นพวก dynamic เป็นพวกเคลื่อนไหว เป็นพวกปฏิกิริยา ทำ เพราะฉะนั้นก็จะมีรูปธรรม มีวิวัฒนาการ มีพลังหรืออำนาจหรืออธิปไตยในโลก มากกว่า แต่ถึงอย่างไรก็ใครจะไปทำอะไรอินเดียก็ไม่ง่าย เพราะว่ามวลของเขามีมาก มันหนัก  มันนิ่ง ขยับเขยื้อนไม่ได้ง่ายๆ เป็นมวลใหญ่มวลมาก หนัก แน่น  สถิต เสถียร 

เพราะฉะนั้นจึงไปเคลื่อนที่เขายาก ต้องแก้ไขปรับปรุงหรือทำลาย จะทำให้แยกสลายออกจากกันไม่ง่ายหรอก เป็นเรื่องที่คิดได้ยาก แต่มันเป็นจริงอย่างนั้น มันก็มี 2 ลักษณะในโลกมี Static กับ Dynamic 2 อย่างเท่านั้นแหละ ในโลกนี้ มันก็ทำปฏิกิริยากันไป 

จนกว่าจะเกิดสภาพที่อะไรมันพร่อง อะไรมันมากกว่าแล้วก็จะเอียง ไม่สมดุลแล้ว ไม่สมดุลก็เกิดความสลายของโลก ถ้ามันยังถ่วงดุลกันได้อยู่  มันก็ดำเนินกันไป หมุนเวียนกันไปพอเป็นไปได้ แต่ถ้ามันหมุนได้ จังหวะ มีทศนิยมเล็กน้อย มันก็จะหมุนได้นิ่งเนียน ถ้าไม่มีทศนิยมเลย มันจะหยุดตาย เริ่มต้นถ้ามีทศนิยมพอเหมาะมันจะเคลื่อนที่ได้ มีอำนาจ มีพลัง มี Co-efficient มีพลังงานเพิ่ม อัตราคูณ  ทำให้เกิดพัฒนาการอยู่ได้ เป็น MC2 ของไอสไตน์  มันก็ไปได้เรื่อยๆ แต่ทุกวันนี้มันมากกว่า MC2 แล้ว พวกนิ่งน้อยลง แต่พวกเคลื่อนนี่มากขึ้นแล้วตอนนี้ อย่างนี้เป็นต้น นี่อาตมาก็พูดไปตามประสาอาตมานะ จะทำให้ใสมีปฏิภาณปัญญาจะเห็นดีหรือมีอะไรจะแย้งก็ว่ามาก็แล้วกัน

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 3 พ่อครูพบ ดร.สุริยะใส กตะศิลา

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 22 พฤศจิกายน 2565 ( 20:46:56 )

ลังกาวตารสูตร

รายละเอียด

อย่างเช่น​ ในลังกาวตารสูตร บอกไว้เลยว่า​ ไม่ใช่อาหารที่มนุษย์ควรกินเลย 

เพราะฉะนั้นก็แล้วแต่ปฏิภาณภูมิปัญญาของคน แล้วจะมาแก้เกี้ยวว่า ให้ฉันตามมีตามได้ อย่างนั้นเขาเอาไซยาไนด์มาให้ฉันก็ต้องฉันสิ คือ พูดไปตามที่ตัวเองจะหาข้อแก้ตัว

เพราะฉะนั้นถ้าเจตนาจะศึกษาเพื่อละหน่ายคลาย เพื่อที่จะไม่ให้มีบาปหรือเป็นเรื่องวิบากที่จะติดพันผูกพัน ถ้าเข้าใจเรื่องกรรมวิบากแล้ว ที่อาตมาก็พูดไป​ ในลังกาวตารสูตร ก็พูดถึงกรรมวิบากว่า​ ไม่มีสัตว์ตัวไหนไม่ได้เกิดเป็นพ่อแม่พี่น้องปู่ย่าตายายของเรา 

เพราะฉะนั้นผู้ที่ยังไม่แตกฉาน ยังไม่ชัดเจนในศาสนาพุทธที่แท้ 

ยุคนี้เป็นยุคเสื่อม เสื่อมจากสัทธรรมของพระพุทธเจ้าไปไกลมาก เพราะฉะนั้นมันก็เลยไม่สามารถที่จะพูดให้เข้าใจได้ง่ายๆ เพราะความรู้ความเข้าใจมันต่ำ ซึ่งเราก็ไม่ได้ไปดูถูกดูแคลน แม้แต่ผู้รู้ในยุคนี้ ก็เป็นความรู้อยู่ในระดับต่ำแล้วมันเสื่อม คำว่า เสื่อม คือต่ำแล้วมีความรู้แค่เหตุความเสื่อม มันเจริญเป็นคนนั้นไม่ไหวก็น่าสงสาร ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรเพราะมันเป็นเรื่องจริง 

ผู้รู้ที่แตกฉานความรู้พระพุทธเจ้าแล้วจะไปขี้ตู่ว่าพระพุทธเจ้าฉันเนื้อสัตว์เป็นเรื่องบาป ตัวเองหลงผิดก็เอาบาปไปคนเดียว ฉันเนื้อสัตว์ก็เอาวิบากไปคนเดียว เข้าใจได้ว่าพระพุทธเจ้าไม่ฉันเนื้อสัตว์ แต่ตัวเองก็ยังกินเนื้อสัตว์มันก็เป็นบาปของคุณเท่านั้น แล้วก็เข้าใจผิด พระพุทธเจ้าและสงฆ์สาวกไม่ได้ฉันเนื้อสัตว์ มีแต่ในยุคนี้มันเสื่อมเพราะมันไม่รู้ พระฉันเนื้อสัตว์กันเป็นปกติ 

มีสัตว์มันตายเองกับเป็นเดนสัตว์กิน คือมันไม่ตายเอง แต่มันถูกสัตว์อื่นฆ่ากินแล้วมันก็ทิ้งซากสัตว์นั่นแล้ว 

ก็ต้องกินอย่างสดๆอย่างเหม็นๆ ยิ่งพูดไปก็จะลึกซึ้งแตกฉาน จะเห็นชัดเจนว่า ถ้าเข้าใจเรื่องกรรมวิบากอย่างเดียวก็เถอะ คนจะชัดเจนจะไปฉันทำไมเล่าเนื้อสัตว์ ก็พืชมันมีให้ฉัน อย่างไม่ได้ขาดตกบกพร่องอะไรเลยฉันพืชกับผลไม้เนี่ย มันก็เหลือกินเหลือใช้ ดอกไม้บางอย่างก็ฉันได้ไม่เห็นจะมีปัญหา ก็เลี้ยงชีพไปอย่างดีตลอดเลย ยิ่งเป็นเรื่องดีกว่าไปฉันเนื้อสัตว์อีกด้วย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ความมหัศจรรย์จากพ่อครูผู้ตามรอยบาทพระศาสดา วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 17 พฤษภาคม 2565 ( 11:24:40 )

ลัทธิที่ปราศจากมรรคมีองค์ 8

รายละเอียด

ดูกรสุภัททะ  ในธรรมวินัยใดไม่มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8  ในธรรมวินัยนั้นไม่มีสมณะที่ 1  สมณะที่ 2  สมณะที่ 3  หรือสมณะที่ 4 

ในธรรมวินัยใดมีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 ในธรรมวินัยนั้นมีสมณะที่ 1  สมณะที่ 2 สมณะที่ 3  หรือสมณะที่ 4 

ดูกรสุภัททะ  ในธรรมวินัยนี้มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8  ในธรรมวินัยนี้เท่านั้นมีสมณะที่1 ..ที่2 ..ที่3 ..หรือที่4   ลัทธิอื่นๆ ว่างจากสมณะผู้รู้ทั่วถึง   ก็ภิกษุเหล่านี้พึงอยู่โดยชอบ  โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ

ที่มา ที่ไป

มหาปรินิพพานสูตร  เล่ม 10 ข้อ 138

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 30 กรกฎาคม 2562 ( 20:51:05 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 12:41:56 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 08:55:37 )

ลัทธิที่ไม่มีจรณะ 15 วิชชา 8 จะวนเวียนอยู่กับดีชั่ว

รายละเอียด

แล้วลัทธิต่างๆที่ไม่มีหลักเกณฑ์จรณะ 15 วิชชา 8 ก็วนเวียนอยู่กับดีกับชั่ว ทำดีให้เป็นคนดีอย่าทำชั่วหมุนเวียนอยู่แล้วไม่เที่ยง ตั้งอยู่ในระยะหนึ่งแล้วก็เสื่อม เสื่อมแล้วก็หมุนเวียนอยู่อย่างนั้น แล้วก็สั่งสมลงเป็นวิบาก วิบากนี่แหละ เป็นนิยายของโลกนับเรื่องไม่ถ้วน แต่ละคนแต่ละชาติหลายชาติๆ แต่ละชาติมีนิยายกว่าจะจบ เกิดมากว่าจะตายก็มีบทบาทมีกิริยา มีพฤติกรรม สัมผัสสัมพันธ์เกี่ยวข้องไปมีสุขมีทุกข์ แต่ก็เห็นแต่ดีกับชั่ว ส่วนความสุขกับทุกข์ไม่รู้เรื่อง แต่จะเอาความสุขไม่เอาความทุกข์ ไม่รู้เรื่องสุขทุกข์ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 46 จรณะ 15 พัฒนาปัญญา 8 ประการ วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 28 พฤษภาคม 2565 ( 12:38:49 )

ลัทธินอกพุทธ 3

รายละเอียด

1. ปุพเพกตเหตุวาท (ลัทธิที่มีวาทะมีความเชื่อว่าทั้งหมดมีแต่กรรมเก่าเป็นเหตุ)

2. อิสสรนิมนานเหตุวาท (ลัทธิที่มีวาทะมีความเชื่อว่าทั้งหมดล้วนแต่พระเจ้าเนรมิต)

3. อเหตุอัปปัจจยวาท (ลัทธิที่มีวาทะมีความเชื่อว่าทั้งหมดล้วนไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 20"ติตถยตนสูตร"  ข้อ 501

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 16 มิถุนายน 2562 ( 20:48:52 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 16:49:07 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 08:55:58 )

ลัทธินอกพุทธ 3

รายละเอียด

1. ปุพเพกตเหตุวาท (ลัทธิที่มีวาทะมีความเชื่อว่าทั้งหมดมีแต่กรรมเก่าเป็นเหตุ)

2. อิสสรนิมมานเหตุวาท (ลัทธิที่มีวาทะมีความเชื่อว่าทั้งหมดล้วนแต่พระเจ้าเนรมิต)

3. อเหตุอัปปัจจยวาท (ลัทธิที่มีวาทะมีความเชื่อว่าทั้งหมดล้วนไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย)

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 20 “ติดถยตนสูตร” ข้อ 501


เวลาบันทึก 12 มีนาคม 2565 ( 21:47:29 )

ลัทธินอกพุทธมี 3 ลัทธิ!

รายละเอียด

พระพุทธเจ้าตรัสถึงลัทธิอื่นๆ ที่มี“ความเชื่อ”แตกต่างไป

จากที่พระองค์ตรัสรู้ ได้แก่

1. ลัทธิที่มีความเชื่อว่า “ทั้งหมดล้วนไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย” 

2. ลัทธิที่เชื่อว่า “ทั้งหมดล้วนแต่พระเจ้าเนรมิต” 

3. ลัทธิที่เชื่อว่า “ทั้งหมดมีแต่กรรมเก่า(เท่านั้น)เป็นเหตุ” 

“ความเชื่อ”ทั้ง 3 ลัทธินี้เป็นลัทธินอกพุทธ ตรวจสอบดูเถิด

จากพระไตรปิฎก เล่ม 20 ข้อ 501

ผู้ยังอวิชชาจะหลงผิดไปได้ทั้งที่มี“เหตุ” และ“ไม่มีเหตุ”

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ รวมเปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อ 199 หน้า 168


เวลาบันทึก 26 มิถุนายน 2564 ( 19:59:52 )

ลัทธินอกพุทธศาสนา

รายละเอียด

1. ปุพเพกตเหตุวาท (ลัทธิเชื่อว่า..กรรมเก่าเที่ยงแท้) 
2. อิสสรนิมมานเหตุวาท (ลัทธิเชื่อว่าพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่หรือเทพเจ้าเป็นผู้เนรมิตสร้างบันดาลให้) 
3. อเหตุอปัจจัยวาท (ลัทธิเชื่อในสิ่งเหนือเหตุปัจจัย) 
 

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎก เล่ม 20 ข้อ 501, ธรรมาธิบายจากพ่อครู รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2562 ( 08:06:19 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 12:43:23 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 08:56:25 )

ลัทธิบุญ คือศาสนาพุทธ

รายละเอียด

เข้าสู่ตัวนี้เลย บุญนิยม

บุญคืออะไร? เพราะฉะนั้นผู้ที่ ผลของศีล ที่มีสัมมาทิฏฐิจริง จึงจะทำอภิสังขาร สัมมาปฏิบัติแท้ การเกิดมีภพชาติขึ้นมาในจิตก็รู้แท้ การเกิดคือชาติ ซึ่งเป็นการมีภพชาติในจิตก็รู้แท้ และการตายที่สิ้นภพจบชาติในจิต มันสำเร็จจริงๆดับจริงๆด้วยอาวุธพระพุทธเจ้าทรงค้นพบชื่อว่า บุญ บุญเป็นภาษาอธิวจนะที่พระพุทธเจ้าบัญญัติเป็นของศาสนาพุทธศาสนาเดียว แต่ทุกวันนี้แพร่หลายเอาไปใช้กันเละ ศาสนาอื่นก็เอาไปใช้เป็นชื่อนักบุญซึ่งมันไม่ใช่ ไม่ใช่เทวนิยมแต่เป็นอเทวนิยมเท่านั้น บุญ จึงเกิดคอลัมน์ เปิดยุคบุญนิยมขึ้นมา เพื่อจะขยายความคำว่าบุญ ลัทธิบุญ คือศาสนาพุทธ บุญไม่ใช่ของศาสนาอื่นเลย

บุญอันเป็นจิตตาวุธ เป็นอาวุธทางจิต เป็นหนึ่งเดียว ยอดสุดในโลก   

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจแบบอโศก วันอาทิตย์ที่ 7 มกราคม 2561 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 28 มีนาคม 2564 ( 22:02:22 )

ลัทธิบุญนิยม

รายละเอียด

ลัทธิบุญนิยม  คือ บุญ แปลว่า การชำระกิเลส  ทุกวันนี้ เข้าใจคำว่าบุญ ผิดไป  แล้วไปเข้าใจคำว่า บุญ เป็น กุศล  ซึ่งไม่ใช่เลย  กุศล เป็นเรื่องพฤติกรรมของสมบัติ ส่วนบุญ เป็นพฤติกรรมของวิบัติ  หมายความว่า  ถ้าผู้ทำพลังงานจิตของเราให้เป็นบุญ  จิตของเราจะกำจัดกิเลสให้วิบัติไป  บุญไม่มีหน้าที่สะสมอะไรเลย  มีหน้าที่ฆ่ากิเลสอย่างเดียว

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต  สันติอโศก ครั้งที่ 69  วันจันทร์ที่ 16 กันยายน  2562


เวลาบันทึก 22 ตุลาคม 2562 ( 08:57:12 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 12:45:27 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 08:56:48 )

ลัทธิพุทธต้องไม่นิทรานุโยคะ หรือ ไสยานุโยคะ

รายละเอียด

ก็น่าสงสารไม่รู้จะทำอย่างไรคือมันเยอะอันตรายก็สงสาร คนไทยที่ไปหลงงมงายนั่งหลับตา ขอยืนยันอีกๆๆๆ เลยว่า ลัทธิพุทธไม่หลับตา ศีล อปัณณกปฏิปทา 3 ไม่ใช่หลับตา ชาคริยาคือตื่น ตื่นๆไม่ใช่หลับ ฝึกตื่นเสมอไม่ใช่ฝึกหลับ ไม่ใช่ไปเพียรหลับ ไม่ใช่ไปเพียร นิทรานุโยคะ หรือว่า ไสยานุโยคะ อะไร มันไม่ใช่ มันต้องชาคริยานะ

สำรวมอินทรีย์คือตา หู จมูก ลิ้น กายต้องเปิด อินทรีย์ทั้ง 6 ต้องเปิด สำรวมสังวรเสมอเมื่อกระทบสัมผัสต้องเรียนรู้ ศาสนาพุทธต้องเรียนรู้ตื่นๆกระทบอย่างนี้ หลับตานั้นเป็นเรื่องนอกศาสนาพุทธจริงๆ ตีทิ้งไปได้เลย อาตมาก็ไม่รู้จะทำอย่างไร อาตมาพูดชัดพูดเพราะพูดแรง 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 23 ความมหัศจรรย์ของการแยกกายแยกจิตได้ วันจันทร์ที่ 10 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 25 มกราคม 2565 ( 19:16:46 )

ลัทธิมืดบอด กับลัทธิสว่าง ต่างสร้างบริวารของตน ใครมีสาวกมากกว่ารู้ไหม?

รายละเอียด

เพราะ“เทฺว”ก็ลึกลับ “พระเจ้า”ก็ลึกลับ สัมผัสด้วยทวาร 6 

ไม่ได้ ซึ่งไม่ใช่“โลก”แห่งความเป็นจริง มันคลุมเครือ มันคลางแคลงมันไม่เปิดเผยอย่างตื่นรู้ (ชาคร) ได้ด้วยกันกับนุษย์ที่มี“จักษุ-ปัญญา-ญาณ-วิชชา-อาโลก” มีทั้งนัยตา (จักษุ) เห็น มีทั้งแสงสว่าง (อาโลก) กระทบสะท้อนให้“ตา”เห็นได้ มีทั้ง“ธาตุรู้”ที่เฉลียวฉลาดด้วย

“ความรู้”ระดับ“ปัญญา-ญาณ-วิชชา” เหนือกว่า“ความรู้แบบ

“เฉโก” จึงไม่หมดความคลางแคลงสงสัย มัวเมา มืดบอดกันจริงๆ

ศาสนาพุทธนั้นต้องบรรลุธรรมด้วย“การมีสัมผัส”ครบครัน

ทั้ง“จักษุ-ปัญญา-ญาณ-วิชชา-อาโลก” ไม่ขาดปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง

เลย จึงสามารถรู้จักรู้แจ้งรู้จริง“ความจริง”ครบครัน ไม่ลึกลับ (อรหะ) จึงสามารถจัดการกับ“เทฺว”ได้บริบูรณ์สัมบูรณ์สำเร็จเป็น“อเทฺว”

สำเร็จเป็น“อเทฺว”ก็คือ จัดการความเป็น“เทฺว”อันได้แก่

“ภาวะ 2”ให้เป็น“ภาวะ 1” หรือ“ภาวะ 0”บรรลุ“นิพพาน”ได้จริง

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ เปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อ 334 หน้า 249


เวลาบันทึก 02 สิงหาคม 2564 ( 15:34:27 )

ลัทธิยึดมั่นในตัวบุคคล

รายละเอียด

 อันนี้บังคับใครไม่ได้เขาต้องเลือกที่จะเชื่อแล้วหรือเขามั่นใจแล้ว บางทีก็ไปบังคับเขาไม่ได้หรอก ขอออกตัวว่าไม่ใช่ให้มาเชื่ออาตมาอย่างนั้น สังคมชาวอโศกนี้คนข้างนอกเข้าใจผิด เข้าใจได้ยากว่าเป็นสังคมปิด เป็นสังคมบังคับให้อยู่ในนี้ไม่ให้ต้องไปศึกษาอันอื่น

ที่มา ที่ไป

พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 23 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 06 ธันวาคม 2562 ( 15:38:13 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 12:46:39 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 08:58:02 )

ลัทธิอเมริกาเป็นลัทธิอัตตาอย่างยิ่ง

รายละเอียด

ระบอบประชาธิปไตย คนเข้าใจผิดว่าอย่างอเมริกาเป็นเจ้าของประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์เลย เป็นตัวอย่างยิ่ง ซึ่งอาตมากลับเห็นตรงกันข้ามเลยว่า อเมริกานี่มันยิ่งไม่ใช่ประชาธิปไตยอย่างยิ่งเลย มันเป็นเรื่องของอัตตาอย่างยิ่ง ที่หยิบเอาประชาชนเป็นตัวประกัน ลัทธิอเมริกา เป็นลัทธิอัตตาอย่างยิ่ง เอาประชาชนเป็นตัวประกัน แต่เสร็จแล้วเมื่อได้อำนาจก็สร้างอัตตามโหฬาร

ที่มา ที่ไป

รายการเอื้อไออุ่นออนไลน์ วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม 2563


เวลาบันทึก 20 มิถุนายน 2563 ( 13:34:05 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 13:37:59 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 08:58:26 )

ลัทธิไหนน่ากลัวน่าห่วงที่สุด?

รายละเอียด

พวกที่เชื่อว่า “ทั้งหมดล้วนไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย” พวกนี้น่ากลัวที่สุด เพราะจะเลวจะร้ายได้อย่างไม่มีขีดจำกัด กรอบขอบเขตไม่มี คนชนิดนี้จะเอาตัวเองเป็นใหญ่ และไม่มี“หลักดีใดๆ”ยึดถือเลย 

ส่วนพวกที่เชื่อว่า “ทั้งหมดล้วนแต่พระเจ้าเนรมิต” ก็ยังดีกว่าพวกแรก เพราะยังเชื่อ“พระเจ้า” เพราะพระเจ้าทุกองค์ล้วนมีหลักที่ท่านถือกันว่า“ดี”มาบ้างแล้ว เมื่อปฏิบัติตามคำสอนของ“พระเจ้า”ก็ยังดีได้ แต่ก็น่ากลัวตรงที่“พระเจ้า”แต่ละองค์นั้น สอนให้“ยึดมั่นถือมั่น”ในคำสอน“ตายตัว”ไม่ขึ้นกับกาละ“อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต” ไม่ขึ้นกับ“บริบท”แต่ละบริบท ไม่ขึ้นกับ“องค์ประกอบ”ที่มีจริงเป็นจริง ทุกอดีต-ปัจจุบัน-อนาคต เท่ากันเหมือนกันหมด ยึด“เทฺว”ต้องเป็น“หนึ่ง”เท่านั้นตายตัว ตลอดกาล ซึ่งเริ่มต้นก็ผิดแล้ว เพราะ“เทฺว”ภาษาก็ชัดๆว่า 2 ไม่ใช่ 1 

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ รวมเปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อ 200 หน้า 168


เวลาบันทึก 26 มิถุนายน 2564 ( 20:02:31 )

ลางเนื้อชอบลางยากับนานาสังวาส

รายละเอียด

อ้าวก็ว่าไปแต่ละคน ลางเนื้อชอบลางยา ไปบังคับกันไม่ได้หรอกคนเรา สูงสุดพระพุทธเจ้าถึงได้ตรัสในเรื่องของนานาสังวาสเอาไว้ ว่าความเห็นของเธอกับความเห็นของเรามันคนละอย่าง ก็ต่างคนต่างพิสูจน์ก็แล้วกัน ไม่มีปัญหาอะไร

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ เมืองไทยเป็นเมืองของพระพุทธเจ้า-โลกุตรธรรมจะช่วยโลกได้ วันศุกร์ที่ 2 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 07 เมษายน 2564 ( 19:01:18 )

ลาด ลุ่ม ลึก ไปตามลำดับ

รายละเอียด

ธรรมะกับมหาสมุทรย่อมมีความลาด ลุ่ม ลึก ลงไปตามลำดับ ย่อมศึกษาไปตามลำดับ กระทำไปตามลำดับ ปฏิบัติไปตามลำดับ ไม่ใช่จะบรรลุอรหันต์ได้แบบลัดตัดตอน หรือแบบไม่เรียงลำดับ

หนังสืออ้างอิง

คนจะมีธรรมได้อย่างไร ? หน้า 116

พระไตรปิฎก เล่มที่ 23 ข้อ 109


เวลาบันทึก 24 พฤศจิกายน 2562 ( 18:14:32 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 12:47:49 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 08:58:48 )

ลาดลุ่มลึก

รายละเอียด

ความมหัศจรรย์ของมหาสมุทรกับธรรมะของพระองค์ว่า...ธรรมะกับมหาสมุทรย่อมมีความลาด ลุ่ม ลึกลงไปตามลำดับ ย่อมศึกษาไปตามลำดับ กระทำไปตามลำดับ ปฏิบัติไปตามลำดับ 

หนังสืออ้างอิง

คนจะมีธรรมะ ได้อย่างไร ? หน้า 63

พระไตรปิฎก เล่ม 23ข้อ 109


เวลาบันทึก 19 พฤศจิกายน 2562 ( 13:38:00 )

เวลาบันทึก 30 กรกฎาคม 2563 ( 06:36:21 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 08:59:07 )

ลาภ

รายละเอียด

สิ่งที่ได้มาให้แก่ตัวเอง อย่างยกตัวอย่างชัดๆ ที่มีพฤติกรรมจริง มีคนจริงประพฤติ เช่น มหาบัว ได้ลาภ ได้ยศ ได้มาเยอะ โดยอาศัยศรัทธาศาสนาประชาชน แล้วก็อาศัยสถาบัน อาศัยบัลลังก์สถาบันร่วมกันเป็นยศ เป็นอำนาจ เป็นความยอมรับสรรเสริญครบโลกียะ ก็ได้ลาภมา พอได้ลาภมาแล้ว ที่จริงลาภนั้น ถ้าไม่เข้าใจเป็นเรื่อง สาเปกโข ได้ลาภมาแล้วเป็นของตนๆก็จะต้องให้ ก็ทาน มหาบัวก็ให้ไม่เอาเป็นของตนนะ แต่อัตตา ลาภเป็นอัตตาหรือยศเป็นอัตตา สรรเสริญเป็นตัวกลางยกย่องเชิดชูยิ่งใหญ่มโหฬาร 

ลาภใหญ่ ยศได้รับการยกย่องเชิดชูอย่างสูง เอาไปให้ทานยกให้แก่ประเทศชาติ แล้วมีการสำทับด้วย ห้ามเอาไปใช้นะ ต้องเอาให้เป็นเงินคงคลังห้ามเอาไปใช้ ให้เอาไว้เป็นเงินของประเทศ สำทับลงไปชัดเจนว่าคุณไม่ได้ให้ คงคลังก็คือเศษกระดาษ เป็นแต่เพียงว่าเป็นเงินต้นว่าฉันมีหลักประกัน แต่โดยหลักเศรษฐศาสตร์แล้วเงินไม่ได้เดินทาง ก็คือเศษกระดาษธรรมดา เงินหรือธนบัตร  มันไม่ได้เดินทาง มันก็เป็นเศษกระดาษธรรมดา อะไรก็แล้วแต่ เพชรนิลจินดาทองคำก็แล้วแต่ มันไม่ได้เดินทางมันไม่ได้เคลื่อนไหวอะไรเอาไปหมกใส่เซฟเอาไว้ นิ่งอยู่

แม้แต่คนเห็นก็ไม่เห็น สมัยโบราณเอาใส่ไหแล้วก็ฝังดินไว้มันก็เป็นเศษกระดาษ เป็นขยะเฉยๆ แต่หลงว่ามันมีค่า เข้าคงคลัง

เสร็จแล้วก็กรึ่มมาก ข้านี้แหละใหญ่ข้าได้ทำสิ่งยิ่งใหญ่ข้ามีราคาข้าได้ทำให้แก่ประเทศชาติ ได้รับการยอมรับยกย่องเชิดชู ขออภัยที่อาตมาพูดเป็นธรรมะไม่ได้ไปถล่มทลายมหาบัวหรอก แต่มันเป็นสัจจะที่ขออนุญาตขออภัยอย่างยิ่งที่เอามา เพื่อจะใช้อธิบายให้ชัดเจน มันไม่มีภาษาที่จะอธิบายในรายละเอียดของกิเลสอุปกิเลส ทั้งหมด อันนี้มันเป็นสภาวะจริง ยกขึ้นมาแล้วทุกคนรับฟังที่อาตมาเน้น ก็จะเข้าใจชัดเจนลึกซึ้ง 

ที่มา ที่ไป

รายการทำวัตรเช้า งานว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน บ้านราช วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 02 มกราคม 2563 ( 14:37:32 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 12:49:29 )

ลาภ

รายละเอียด

สิ่งที่ได้

หนังสืออ้างอิง

วิถีพุทธ หน้า 29


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2562 ( 07:59:49 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 10:46:35 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 08:59:52 )

ลาภ

รายละเอียด สิ่งที่ได้โดยธรรม


เวลาบันทึก 01 มิถุนายน 2562 ( 15:43:41 )

ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข

รายละเอียด

ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข คือ เปรียบเหมือนใบไม้   ผลไม้  สีเขียว เหลือง สวยงามชอุ่ม พุ่มไสว  ศาสนาที่หาแก่นมิได้  แม้แต่กระพี้ ปัญญาก็ไม่ได้  เหลือแต่เปลือก แค่สมาธิก็เป็นมิจฉาสมาธิ ศีลเป็นสะเก็ดก็ไม่ได้

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม  บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 26 ตุลาคม 2562 ( 14:24:28 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 12:51:17 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 09:00:18 )

ลาภธัมมิกา

รายละเอียด

คือ ลาภที่ได้มาโดยธรรม แล้วนำมารวมกันเป็นส่วนกลาง กินใช้อาศัยบริโภคร่วมกัน ในการดำเนินชีวิตเป็น “สาธารณโภคี” ซึ่งมีชีวิตไปด้วยกันกับของส่วนกลางได้จริงๆ ไม่มีใครพยายามแย่ง หรือแยกเอาอะไรไปเป็นของส่วนตัว ทุกคนมีปัจจัยสำคัญสำหรับชีวิต แต่ละคนอันพอเหมาะพอเพียงด้วย “ปัญญา” ที่เป็นโลกุตระ

หนังสืออ้างอิง

 “คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1หน้า .58


เวลาบันทึก 08 พฤศจิกายน 2562 ( 15:01:35 )

เวลาบันทึก 30 กรกฎาคม 2563 ( 06:44:09 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 09:00:44 )

ลาภธัมมิกา

รายละเอียด

ลาภธัมมิกา คือ ลาภที่ได้มาโดยธรรม แล้วเอาลาภมารวมกันแบ่งกันเอามารวมกันกองกลางเป็นสาธารณโภคี

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช ครั้งที่ 68 วันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2562


เวลาบันทึก 22 ตุลาคม 2562 ( 14:48:45 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 12:52:38 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 09:01:09 )

ลาภธัมมิกา

รายละเอียด

ลาภโดยธรรม

หนังสืออ้างอิง

วิถีพุทธ หน้า 29


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2562 ( 08:00:24 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 10:47:02 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 09:01:25 )

ลาภธัมมิกา ในสาราณียธรรม 6 ข้อที่ 4 เป็นไฉน

รายละเอียด

สาราณียธรรม 6 ข้อที่ 4 ก็คือ ลาภาธัมมิกา มีลาภโดยธรรม ต่างคนต่างทำงานแล้วมีผลผลิตรายได้เอามารวมกันเป็นส่วนกลาง อย่างที่เป็น เกิดผลสำเร็จก็เลยอยู่กันอย่าง กายกรรมเมตตา วจีกรรมเมตตา มโนกรรมเมตตา มีสีลสามัญญตาทิฏฐิสามัญญตา อาตมาพาพิสูจน์ได้ถึงวรรณะ 9 สาราณียธรรม 6 มีคนทำได้จริงอย่างไม่ฝืนด้วย อยู่ได้อย่างเป็นปกติเป็นหลักเป็นศีลเป็นข้อปฏิบัติ แล้วคุณก็มาปฏิบัติจนได้จนกลายเป็นปกติสามัญ มีลาภโดยธรรม เข้ากองกลางก็แบ่งกันกินกันใช้ มีเงินก็เอาเข้ากองกลางไม่ต้องสะสม เลี้ยงดูกันมีพี่มีน้องช่วยกันดูแลเลี้ยงดูกันไปเหมือนญาติกันทั้งหมด ตายแล้วก็ช่วยกันเผาไป เกิดแก่เจ็บตายพึ่งกันได้ มันไม่มีอะไรที่จะเป็นสังคมศาสตร์สูงกว่านี้อีกแล้ว ไม่มีรัฐศาสตร์อะไรจะยิ่งใหญ่กว่านี้แล้ว ไม่มีเศรษฐศาสตร์อะไรจะสมบูรณ์ไปกว่านี้อีกแล้ว จริงๆ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศนาวันมาฆบูชา งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 45 ออนไลน์ วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 17 มีนาคม 2564 ( 18:48:16 )

ลาภธัมมิกา 

รายละเอียด

ลาภธัมมิกา  คือ  ลาภที่ได้มาโดยธรรม  โดยสุจริต  ก็เอาเข้ากองกลางสาธารณโภคีหมด  กินใช้ร่วมกัน

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต สันติอโศก  วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 07 ตุลาคม 2562 ( 12:21:31 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 12:53:39 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 09:01:46 )

ลาภยศสรรเสริญ เป็นอันตรายอันแสบเผ็ดของผู้ประพฤติพรหมจรรย์

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นถึงบอกว่า ศาสนาพุทธทุกวันนี้ 2,500 กว่าปีแล้ว มันได้เสื่อม มันได้เพี้ยนไป เพราะว่าลาภยศสรรเสริญ เป็นอันตรายอันแสบเผ็ดแก่การประพฤติพรหมจรรย์ หรือเป็นอันตรายอันแสบเผ็ดของพระอรหันต์ ที่จะกั้นความเป็นอรหันต์อย่างแท้จริงเลย ต้องเลิกออกมา ขนาดพระพุทธเจ้าเองท่านยังไม่เอาเลย คุณเก่งกว่าพระพุทธเจ้าได้อย่างไร ยังไปอยู่กับลาภยศสรรเสริญ เก่งอย่างไร 

เพราะฉะนั้นมันคือความไม่รู้ ไม่รู้ฤทธิ์เดชอันแสบเผ็ดของลาภยศสักการะสรรเสริญ เป็นอันตรายอันแสบเผ็ดของผู้ที่จะปฏิบัติเพื่อเป็นอรหันต์ เพราะฉะนั้นไม่ต้องพูดให้เหม็นขี้ฟันเลย พวกที่แบกลาภยศสรรเสริญในสังคม แล้วตัวเองบอกว่าจะปฏิบัติธรรมะของพระพุทธเจ้าให้สัมมาทิฏฐิไปสู่นิพพาน แล้วมาพูดเรื่องนิพพาน เมื่อเราอธิบายรื่องนิพพานก็หาว่าไม่ใช่ เขาก็บอกว่าต้องอย่างเขา พูดอย่างนั้นก็เหม็นขี้ฟันกันเท่านั้น 

ขออภัยที่อาตมาพูดชัด ภาษามันตีทิ้ง ภาษามันไปลบหลู่ ซึ่งสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็ต้องลบหลู่ นิคฺคเณฺห นิคฺคหารหํ ปคฺคเณฺห ปคฺคหารหํ  ควรข่มคนที่ควรข่ม  ยกย่องคนที่ควรยกย่อง พอจะมายกย่องทีไรก็มายกชาวอโศก พอจะข่มทีไรก็ไปข่มชาวพุทธทั่วไปผู้ที่ไม่ถูก สิ่งที่ไม่ถูก ก็ไม่รู้จะพูดอย่างไร ก็มันเลี่ยงไม่ออกนะ ซึ่งพูดที่ไรมันก็ถูกอย่างนั้น 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ อภิธรรม‌ของ‌ศีล‌ข้อ‌ ‌1‌ ‌ที่‌ชาว‌อโศก‌ปฏิบัติ‌ได้‌ ‌วันศุกร์ที่ 14 มกราคม 2565 ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 2 ปีฉลู ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 09 กุมภาพันธ์ 2565 ( 21:04:11 )

ลาภานุตตริยะ

รายละเอียด

ลาภอันเยี่ยม

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 412


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2562 ( 08:01:23 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 10:47:39 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 09:02:01 )

ลาภานุตตริยะ

รายละเอียด

ลาภานุตตริยะ การได้อันยอดเยี่ยม คือการได้ที่ประเสริฐกว่าการได้อื่น ๆ หมายเอาการได้ศรัทธาในพระตถาคตและสาวกของพระตถาคต หรือการได้อริยทรัพย์ 7 ประการ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ และปัญญา

ที่พวกเราได้มา เป็นลาภานุตตริยะที่ เอาเงินร้อยล้านมาซื้อ มาจ่ายก็ไม่ได้ เป็นลาภของพวกเราอย่างยิ่ง ที่พวกเราได้อยู่ทุกวันนี้

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ศีลที่เป็นกุศลย่อมยังความเป็นอรหันต์โดยลำดับ วันพุธที่ 21 มิถุนายน 2566 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 8 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 13 มีนาคม 2567 ( 19:47:47 )

ลาภแลกลาภ

รายละเอียด

คือ  อยู่ในวงการศาสนาพุทธเขาทำงานเอา ลาภแลกลาภ ทั้งนั้น มีรัฐบาลตั้งเงินเดือนให้พระด้วย เขาตั้งเงินเดือนให้พระเลย ตั่งแต่สังฆราชยันพระระดับล่าง มันไปกันใหญ่  นี่คือลาภแลกลาภ พาชาติทั้งชาติ ร่วมมือกันทำลายละเมิดคำสอนพระพุทธเจ้าหมด  การที่พระมีเงินนี้  เขาไปเรียกเลี่ยงว่านิตยภัต  ก็คือเงินเดือนนั่นแหละ ซึ่งมันเสื่อมจนไม่รู้จะว่าอย่างไร  แม้แต่ไม่ได้รับเงินเดือน พระที่ไม่ได้รับเงินเดือนก็มีก็เป็นพระชาวบ้านพระลูกวัดไป ไม่ได้บริหาร ไม่ได้รับเงินเดือน แต่ก็ทำงาน เอาลาภแลกลาภ  เช่น การเทศน์ก็รับเงินค่ากัณเทศน์ไปกิจนิมนต์ไปสวดก็ได้ซอง ให้น้อยก็ว่าเจ้าภาพอีก  คือยังยินดีในรายได้ในสิ่งแลกเปลี่ยน  ไม่พ้นลาเพลาภังนิชิติงสนตา  เป็นมิจฉาอาชีวะ  พวกเราอย่าไปว่าแต่สมนะเลย  แม้แต่ฆราวาสเรายังทำงานไม่เอาลาภแลกลาภทำงานฟรี  อยู่กันอย่างสบาย มาอยู่ในชุมชนชาวอโศกต้องทำงานฟรี กันทั้งนั้น ซึ่งรู้กันเป็นวัฒนธรรม  ไม่ว่าจะเป็นชุมชนเล็กหรือใหญ่มาอยู่ในนี้ทำงานไม่ได้รายได้ให้หรอก  ทำงานเอาผลผลิตรายได้เข้ากองกลางหมด  เราได้ทำตรงตามคำสอนศาสนาพุทธของพระพุทธเจ้า ข้อสูงสุด

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 07 พฤศจิกายน 2562 ( 13:59:05 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 12:55:25 )

ลายแทงขุมทรัพย์อาริยะ

ภาพแนบ :

ไฟล์แนบ : OurLossIsOurGain_testAffect ๒.pptx


เวลาบันทึก 29 กันยายน 2562 ( 17:09:36 )

ลาเภน ลาภัง นิชิคิง สนตา

รายละเอียด

1. ยังทำงานรับรายได้แลกกับแรงงาน หรือรับลาภแลกลาภอยู่

2. คือขั้นจะไม่ยังชีพอยู่ แม้แต่การเอาลาภต่อลาภ หรือยังจะอยากได้สิ่งใด ๆ มาตอบแทนด้วยประการทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นอยากได้ในอะไรมาแลกเปลี่ยน หรืออยากได้อะไรมาตอบแทนให้ตน

3. การเอาลาภต่อลาภ 

หนังสืออ้างอิง

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 138

ทางเอก ภาค 2 หน้า 562

สมาธิพุทธ หน้า 118, หน้า 393


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2562 ( 08:03:25 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 10:49:18 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 09:03:17 )

ลาเภน ลาภัง นิชิคิงสนตา คืออย่างไร

รายละเอียด

ส่วน ลาเภน ลาภัง นิชิคิงสนตา เป็นมิจฉาชีพ ขั้นสูงสุดคือทำงานแล้วยังรับสิ่งแลกเปลี่ยนมาให้กับตัวเอง ไม่ว่าจะรับคืนมาเป็นวัตถุ ลาภ วัตถุ รับสิ่งตอบแทน ไม่ทำงานฟรี ยังเป็นมิจฉาชีพ คนทำงานฟรีเท่านั้นจึงจะพ้นมิจฉาชีพ ผู้มาทำงานฟรีในชาวอโศก พ้นจากมิจฉาชีพภายนอกไม่รับเงิน แต่ใจยังเอา ยังมีภพชาติ อยากได้อย่างนั้นอย่างนี้ ยังเป็นเราเป็นของเรา ยังเป็น สาเปกโข ให้แล้วให้ส่วนกลางแล้ว แต่ใจยังยึดถือเป็นเราเป็นของเราอีกอย่างนี้ก็ยังลึกซึ้งขึ้นไปอีก ต้องเรียนรู้ให้จริง พวกเรานี้ทำงานฟรีนอกจากไม่รับเปลี่ยนแรกวัตถุแล้ว จิตใจยังไม่ยึดติดเลย ทำแล้วก็ไปเป็นของกองกลาง เราก็ร่วมกินร่วมใช้ไป เอาไปให้กองกลาง แล้วกองกลางเขาไม่ให้เบิก ไม่ให้กิน ไม่ให้ใช้ ก็ต้องจำนน เราเป็นหมาหัวเน่า เราไม่มีประโยชน์ เราเป็นคนเลว ไม่ให้เรากินใช้ก็แล้วไป ขอจำนน แต่ละคนบางคนไม่มีบารมี ทำแทบตายแต่ก็เบิกไม่ได้ ก็เป็นวิบากของคุณเอง คุณทำมาเอง แต่ถ้าเผื่อว่ามันไม่มีวิบากปานฉะนั้น มันก็สบาย ยิ่งอยู่ในสาธารณโภคีอันนี้เยี่ยมยอด พูดไปแล้วก็ภาคภูมิใจในยุคนี้แท้ๆ ในยุคที่มีทุนนิยม อัตตามานะสูง อาตมาก็ยังพาพวกคุณหลุดพ้นมาจากสังคมทุนนิยมสังคมอัตตามานะสูงนี้ได้ ไปอยู่กับสังคมแบบนี้ได้ พิสูจน์ธรรมะพระเจ้าสุดยอด ใครจะว่าอาตมาหลงก็หลงของพระพุทธเจ้าว่าสุดยอดจริง 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 19 กันยายน 2563 ( 14:39:27 )

ลาเภนะ ลาภัง นิชิคิงสนตา

รายละเอียด

ลาเภนะ ลาภัง นิชิคิงสนตา คือไม่มีการใช้ลาภแลกลาภ และที่พูดลึกซึ้งผ่านไปแล้วว่า หายไปไม่มีของตัวของตน ไม่ยึดเป็นของตัวของตน ทั้งๆ ที่ตนทำมากด้วย ทำเยอะ ถ้าตีราคาตีค่า ซึ่งการตีราคาตีค่านี่ก็ซับซ้อน คนที่มีคุณธรรมมีความรู้ทางธรรมะสูง ค่าราคาตีเป็นราคา หน่วยของเงิน ตีราคาเป็นหน่วยของเงิน คนมีคุณธรรมสูงควรจะได้หน่วยราคาของเงินมากกว่าคนคุณธรรมต่ำใช่ไหม ตามโลกที่เขาแลกเปลี่ยนกัน 

ทีนี้ ราคาโลกุตรธรรมนี้หาค่ามิได้เลย ตีราคามันมากจนกระทั่ง คนนี้ราคาค่าตัว ชั่วโมงละ 1 บาท คนที่มีราคาโลกุตรธรรม ชั่วโมงละล้านก็ยังน้อยไปแล้ว หาค่าบ่มิได้จริงๆ เพราะฉะนั้นคนที่ทำงาน 10 ชั่วโมง 1 วัน โอ้โห ค่าของทางโลกุตระ 10 ชั่วโมง 1 วัน จะเท่าไหร่ นี่เทียบให้ฟังบ้าง 

เพราะฉะนั้น คุณธรรมของคนที่ แม้ว่าเราจะยังมีตัวตนอยู่บ้างแต่มาอยู่กับหมู่ที่ทำงานฟรีอยู่ด้วยกันหมด เหลือจิตที่มีกิเลสส่วนตัว ที่ยังมี ยังยักไว้ ยังอยากได้ ยังไอ้โน่นไอ้นี่ มันก็เป็นธรรมดา แต่จะว่าไปแล้ว ไอ้สิ่งที่เราได้เราก็ไม่ได้ไปทุจริต เราก็ไม่ได้ไปทำชั่ว เราก็ได้มาด้วยบารมีหรือได้มาด้วยกรรมสุจริต 

เพราะฉะนั้น คนที่ละเอียดจริงๆแล้ว สูงขึ้นไปจริงพอสมควรแล้วมาอยู่ในหมู่ที่ สาธารณโภคี ไม่ทำกรรมหาเงิน ส่วนตัวเลย กรรมทุกกรรมทำงานเข้ากองกลางหมด แต่บารมีส่วนตัวที่จะได้ ลูกมาให้หลานมาให้ พ่อมาให้ แม่มาให้ หรือว่าคนที่เขาศรัทธามาให้ส่วนตัวอะไรจริงๆ นั่นก็บารมีส่วนตัว เราไม่ได้ไปทำงานให้เขาหรอกชาตินี้ แต่เขาอนุเคราะห์ เขาจะต้องเอามาให้เรา อันนี้ก็เป็นกรรมวิบาก ที่มันคิดไม่ออก 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ปรับทุกข์ ปลุกธรรม ตอบปัญหาผ่ามิจฉาอาชีวะ 5 วันจันทร์ที่ 8 มกราคม 2567 แรม 12 ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 12 มกราคม 2567 ( 18:41:56 )

ลำดับ อัตตา 3

รายละเอียด

ผู้ยึดทิฏฐิ ศีลพรตที่ถูกต้องนี่แหละแม้ยึดถืออย่างนั้นก็ต้องมีลำดับ 

“อัตตา 3” มี  โอฬาริกอัตตา, รูปอัตตา(มโนมยอัตตา), อรูปอัตตา

อันนี้ไม่ได้ตรัสไว้มาก ตรัสไว้ที่เดียว ใน

1. การยึดครองหรือได้ตัวตนวัตถุภายนอก (โอฬาริกอัตตา ฯ) 

2. การยึดครองหรือได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ  ปั้นรูปสัญญา ไม่อาศัยวัตถุภายนอกหยาบๆ แล้ว (มโนมยอัตตา ฯ) 

3. การยึดครองหรือได้อัตตาที่หารูปมิได้  หรือรูปละเอียดที่ปั้นสำเร็จขึ้นด้วยสัญญา (อรูปอัตตา  ปฏิลาโภ) . 

(โปฏฐปาทสูตร  พตปฎ. เล่ม 9  ข้อ 302) 

 

มีอยู่ที่เดียวในพระไตรปิฎก 45 เล่ม คนไม่รู้ไม่ละเอียดพอก็ไม่เอามาใช้ แต่อาตมาเห็นความสำคัญก็เลยเอามาใช้ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการวิถีอาริยธรรม ดับชาติ 5 ด้วยวิชชา 8
วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม 2564 ที่บ้านราชฯ


เวลาบันทึก 20 กุมภาพันธ์ 2564 ( 17:48:52 )

ลำดับการบวชของพ่อครูในชีวิตนี้

รายละเอียด

ไม่ใช่อย่างที่คุณถาม คิวมันผิด คือผมไม่ได้มีเจตนาจะมาแยก ผมบวชในเถรสมาคม บวชตามธรรมเนียมจารีตประเพณีตามธรรมวินัยที่ท่านถือถูกต้องทุกอย่าง เป็นสัมมุขาวินัยครบ ไม่มีวิบัติเลย บวชในธรรมยุติก่อน ได้ทั้งเครื่องแบบได้สิทธิเต็มที่ จนกระทั่งผมว่าผมไม่ติดยึดในนิกาย จะออกมาทำงาน มาบรรยายสร้างกลุ่มหมู่ มีที่อยู่แดนอโศกจะไปอยู่ตรงนั้นกันตกลงกับหมู่แล้วก็มีทั้งพระมหานิกายและพระธรรมยุติ อุปัชฌาย์ก็ไม่อนุญาต อาตมาก็ว่าทำไมมาเกี่ยงนิกาย เราเป็นพุทธด้วยกัน แต่ท่านบอกไม่ได้ อาตมาต้องไปทำงาน ก็มีมวลพระที่จะมาอยู่รวมกัน มาเรียนกันมีทั้งสองนิกาย ท่านก็ยืนยันว่าไม่ได้ ขืนทำไปผมก็โดนผู้ใหญ่ว่าอีก ก็เห็นใจท่าน ถามว่าผมจะทำไง ท่านก็ว่าต้องคืนใบสุทธิ ตอนนั้นมีใบสุทธิใบเดียวธรรมยุต อาตมาก็ว่าคืนได้ไม่ยาก แต่ตอนนี้ยังไม่คืน อาตมาก็ไปทำงานที่นี่ ที่ตรงนี้เป็นที่ดินของพี่ชายหลวงอา เป็นเจ้าคณะตำบลที่วัดหนองกระทุ่ม อาตมาก็ไปที่นั่นอาตมาไปสวดญัติ เป็นพระมหานิกายเข้าไปอีกโดยไม่ได้คืนอันเก่านะ มีทั้งธรรมยุตและมหานิกายในตัว ถือใบสุทธิ 2 ใบเลย อาตมาก็เลยเดินทางเอาใบสุทธิของธรรมยุติมาคืนแก่อุปัชฌาย์ วัดอโศการาม ตั้งแต่วันนั้น อาตมาไม่ได้ขาดจากความเป็นสมณะเป็นภิกษุไม่ว่าจะเป็นธรรมยุติหรือมหานิกาย ถ้าจะว่าแล้วก็ลาออกจากธรรมยุติเป็นนานาสังวาสโดยพฤตินัย ไม่ได้ประกาศแต่เป็นโดยพฤตินัย แล้วก็มาเป็นพระมหานิกาย มีใบสุทธิมหานิกายมาตลอด จนมาประกาศแยกก็แยกอยู่ที่วัดหนองกระทุ่ม นั่นแหละ  ประกาศเป็นนานาสังวาสวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ประกาศนานาสังวาสต่อภิกษุ ทั้งเจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล แต่อาตมามีลายลักษณ์อักษรท่านก็เซ็นต์ขึ้นไปถึงเจ้าคณะจังหวัด ไปถึงเถรสมาคมก็รับรู้กัน  ว่าอาตมาลาออกแล้ว 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ โสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 34 วันจันทร์ที่ 12 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 16 เมษายน 2564 ( 21:35:29 )

ลำดับการปฏิบัติธรรม

รายละเอียด

1.สัมผัสวิโมกข์ 8ด้วยกาย

2.สติปัฏฐาน 4

3.โพธิปักขิยธรรม 37

4.สังกัปปะ 7

5.วจีสังขาร

หนังสืออ้างอิง

ค้าบุญคือบาป หน้า 132-133


เวลาบันทึก 10 กันยายน 2562 ( 14:22:30 )

เวลาบันทึก 30 กรกฎาคม 2563 ( 06:39:55 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 09:03:34 )

ลำดับการพ้นมิจฉาอาชีวะ 5

รายละเอียด

คนที่ฐานไม่ถึง แล้วรู้ตัวว่ายังฐานไม่ถึง ก็ยังดี แต่จะมีคนเข้าใจว่า เป็นคนนี่ไม่ใช้เงินก็ได้ แม้แต่เขาบวชเป็นพระกันแล้ว เขาบอกบวชเป็นพระทุกวันนี้ไม่ใช้เงินไม่ได้ อยู่ไม่ได้ ใครที่ไหนอยู่ได้ แต่ว่าความจริงแล้วพระที่ไม่ใช้เงินอย่างพวกเรา สมณะชาวอโศกอยู่ได้ แม้แต่ สิกขมาตุ อยู่ได้ หรือแม้แต่ฆราวาสของพวกเรา คำว่าใช้เงินก็มีความหมายของมันหลายระดับ ใช้เงินตามสมควร เมื่อเราออกไปข้างนอก เราก็จะต้องใช้ค่าส่วนที่มันจำเป็นที่เราต้องใช้จริงๆ เราก็จำเป็น แต่ผู้ที่ออกไปข้างนอกไม่ได้ใช้เงิน ไปข้างนอกก็ไปทำงานก็ทำแต่ไม่ได้ใช้เงินก็ได้ อย่างนั้นอย่างนี้ก็ทำเอาเองที่เราเองทำได้ ไม่ต้องใช้เงินเลยก็ได้ 

เพราะฉะนั้นมันเป็นเรื่องละเอียด เป็นเรื่องที่..อยู่ที่คน ที่บุคคล กิจที่เราจะต้องใช้เงิน แล้วเราก็ไม่พยายามทำกิจที่จะต้องใช้เงิน มันสำเร็จนะ กิจที่จะต้องใช้เงิน เราไม่ต้องเกี่ยวข้อง เราทำแต่กิจที่ไม่ใช้เงิน เยอะไป เราอยู่ในสังคม โดยเฉพาะสังคมอโศกเรานี่ คนที่ไม่ต้องใช้เงินเลย กิจที่จะต้องใช้เงิน เราไม่ให้ทำ เราก็ทำกิจที่อยู่กับหมู่ แม้แต่กิจที่ทำข้างนอก ทำกับสังคมข้างนอก เราก็ไม่ต้องใช้เงิน งานที่เราทำกันอยู่นี้ เราก็ทำได้ อย่างนี้เป็นต้น มันเป็นเรื่องละเอียด ไปศึกษาดีๆ แล้วจะเห็นได้ว่า อย่างชาวอโศกเรานี่เห็นได้ว่า ไม่ต้องใช้เงิน ถ้าใช้เงินก็ให้คนอื่นที่เขาใช้อยู่ เขาถนัดใช้ เราไม่ถนัดใช้ เรื่องที่ใช้เงินให้คนอื่นเขาทำแทนได้ 

เพราะฉะนั้นพวกภิกษุ หรือสมณะชาวอโศกหรือ สิกขมาตุ ก็ไม่ต้องใช้ จะซื้อ จะขาย จะโน่นจะนี่ก็บอกฆราวาสที่เขามีหน้าที่ให้ไปทำ ตัวเองไม่ต้องไปซื้อไปขายไปทำอะไรเองเลยในเรื่องจะต้องพกเงินแล้วก็จ่ายเงิน ไม่ต้องเลย แม้แต่ฆราวาสหลายคนพวกเราก็จะรู้ได้ว่า ที่มันจำเป็นจริงๆ มีน้อยมาก อยู่ในสังคมพวกเรานี้ยิ่งอุดมสมบูรณ์ ข้าวมีกิน ดินมีเดิน ตะวันมีส่อง พี่น้องมีเสร็จ เห็ดมีเก็บ ป่วยเจ็บมีคนรักษา ขี้หมามีคนช่วยกวาด  ผ้าขาดมีคนช่วยชุน  บุญ รู้ก็ทำให้มันได้ บุญที่รู้มิจฉาทิฏฐิก็ทำไม่ได้ ไม่มีผลของบุญนะ ก็ว่ากันไป

มันเป็นเครื่องอาศัย ในยุคพระพุทธเจ้าก็มี แต่ท่านไม่เห็นเกี่ยวอะไรกับมันมากมาย มันไม่เหมือนเดี๋ยวนี้ แต่เดี๋ยวนี้เขาก็เห็นว่ามันจำเป็น กิเลสมันมากนะ ไม่เหมือนสมัยพระพุทธเจ้า เพราะเครื่องล่อมันก็มาก เอ้า..ก็ผ่านไป พิสูจน์เรื่องที่ไม่ใช้เงินได้ คือผู้ที่ทำเศรษฐกิจได้ดี เป็นเรื่องของการจบกิจ เรื่องเศรษฐกิจที่ดี

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาผ่าอวิชชาหลับตาโง่ๆ วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม 2566 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 29 สิงหาคม 2566 ( 17:11:59 )

ลำดับการสั่งสมปัจเจกภูมิจนเต็มบริบูรณ์เรียกสัพพัญญู

รายละเอียด

ผู้เป็นปัจเจกแต่ไม่ถึงสยังอภิญญาก็ได้ เช่นผู้นี้มี ปัจจัตตังเวทิตัพโพวิญญูหิติ ตัวเองเป็นเองรู้ได้ด้วยตัวเอง เกิดธาตุรู้ เกิดความรู้ วิญญาณนั้นได้เปลี่ยนไปมีธาตุรู้ใหม่เกิดในตนเอง 

ปัจจะ กับ อัตตะ เป็นปัจจัตตัง 

ปัจจะ แปลว่าสว่าง, อัตตะ คือตัวเรา 

ปัจจัตตังสว่างแจ้งในตัวเรา เป็นความรู้ เป็นธาตุวิญญาณเกิดความรู้ลงไปในธาตุวิญญาณ 

เมื่อเริ่มเกิดปัจจัตตังก็จะสั่งสมเป็นปัจเจกก็แปลว่าเป็นของตัวเอง สั่งสมเป็นหนึ่งไปเรื่อยๆ จากปัจเจก จะเต็มถ้วน ถึงขั้นที่ 7 เรียกว่า สยังอภิญญา ก็จะสั่งสมบารมีเพิ่มขึ้นอีกเป็นปัจเจกภูมิในระดับปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้า

ปัจเจก มาเป็นสยังอภิญญา มาเป็นปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อไปเป็นปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีสัพพัญญู

อย่างอาตมาสยังอภิญญา ต้องสั่งสมเป็นขั้น 8 เกินครึ่งเป็นต้นไป มีบารมีคุณวิเศษเลยครึ่งของขั้น 8 จึงได้ชื่อว่าปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้า จนเต็มบริบูรณ์เรียกสัพพัญญู เท่ากับพระพุทธเจ้าทุกองค์ เต็มสุดปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้าคือระดับ 9 หากยังไม่ประกาศธรรมะขึ้นในโลกท่านก็ได้ชื่อว่าปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระสัพพัญญูเท่ากับพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ แต่ถ้าท่านไม่ประกาศศาสนาในโลกมนุษย์ คนก็จะไม่รู้จักว่าท่านคือพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง ยังไม่ได้ชื่อว่าพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งในโลก 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ โลกุตระปัญญาต้องได้มาจากสัตบุรุษ วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 27 มิถุนายน 2564 ( 18:48:29 )

ลำดับการเกิดฌาน

รายละเอียด

อาตมายกหลักฐาน จรณะ 15 วิชชา 8 ฌาน อย่างมีเหตุมีหลักฐาน มีที่มาที่ไป ที่จะเกิดความเป็น ฌาน …ที่ว่า ฌาน เกิดจากการหลับตาแล้วก็สะกดจิตเข้าไป แล้วเกิดฌาน โดยไปยึดติดคำว่า ฌาน คือ ภาวะที่ไม่มีนิวรณ์ 5 ดับสัญญา ดับเวทนา มันก็ไม่มีนิวรณ์ 5 ได้อยู่ในภพ แต่มันก็เป็นมิจฉา มันไม่ใช่ลืมตาเห็นอยู่อย่างนี้ 

กาม ก็ต้องมีเหตุมีปัจจัยว่า คุณก็ต้องสัมผัส กามคุณ 5 ตาคุณก็ต้องกระทบสัมผัสอยู่ หูก็ต้องกระทบสัมผัสอยู่ จมูกลิ้นกาย โผฏฐัพพะ ก็ต้องกระทบสัมผัสอยู่ มันจึงจะยืนยันว่า ขณะสัมผัสนี่แหละมันไม่มีอาการกามในเวทนาของเรา ในจิตของเรา เจโตปริยญาณ 16 มันไม่มีราคะ โทสะ โมหะ แล้วผู้ที่ทำฌานได้ ทำ นิวรณ์ 5 ดับไปได้ ลดไปได้ในขณะที่สัมผัสแตะต้อง ตาหูจมูกลิ้นกาย กามคุณ 5 มันก็ไม่มี ปฏิฆะไม่มี ยั่วยวนอย่างไรก็ไม่เกิด คือฌานวิสัย ที่ได้แล้วได้เลย ไม่ต้องไปปฏิบัติแล้วปฏิบัติอีก

มันจะเกิดไปตามลำดับความเป็น ฌาน จะเจริญไป มีมรรคมีผลไปเรื่อยๆ เกิดการกำจัดกิเลสด้วยอภิสังขาร 3 เรียกว่า การจัดการ หรือการปรุงแต่งจิต กระทบสัมผัสแล้วก็จัดการกับจิต ปรุงแต่งจิต เอากิเลสออก แยกกิเลสออกมา ให้เห็นด้วยปัญญา แล้วพลังงานปัญญานี่แหละ คือพลังงานฌาน ฌาน 1 2 3 4 ซึ่งเป็นพลังงานที่จะเจริญ มีอธิปไตย มีพลัง มีแรง สามารถที่จะทำให้ไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ หรือ พลังงานราคะ โทสะ โมหะ มันยอม มันสลายดับ มันสู้ไม่ได้ ซี่งฌาน จะมีปัญญาในตัว

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 50 ตอบปัญหาผ่าปฏิจจสมุปบาท วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 12 กันยายน 2565 ( 13:50:09 )

ลำดับการเป็นอาหารกันจากนิวรณ์ 5 จนถึงทุจริต 3 สมบูรณ์

รายละเอียด

“แม้นิวรณ์ 5 เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของนิวรณ์ 5 ควรกล่าวว่า ทุจริต 3  แม้ทุจริต 3 เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของทุจริต 3 ควรกล่าวว่า การไม่สำรวมอินทรีย์ 

แม้การไม่สำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารแห่งการไม่สำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่าความไม่มีสติสัมปชัญญะ แม้ความไม่มีสติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่าการกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย 

แม้การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ควรกล่าวว่าความไม่มีศรัทธา แม้ความไม่มีศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีศรัทธา ควรกล่าวว่า การไม่ฟังสัทธรรม 

แม้การไม่ฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหารก็อะไรเป็นอาหารของการไม่ฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การไม่คบสัปบุรุษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีศรัทธาให้บริบูรณ์ ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายให้บริบูรณ์ การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ การไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังทุจริต 3 ให้บริบูรณ์” 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ พ่อครูคือพ่อครัวผู้ปรุงอาหารโลกุตระ วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 29 สิงหาคม 2565 ( 14:14:07 )

statistics

ติดต่อสอบถาม

Facebook : test

Youtube : Name

Twitter : Name

Line : Name

Telegram : Name

Wechat : Name

Skype : Name

Copyright © 2018 Borvornsocial.net all right are reserved. developer สงวนลิขสิทธิ์