@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก
@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก

อภิธานศัพท์ (Glossary) จัดเป็นฐานข้อมูลด้านโลกุตระที่สมบูรณ์ที่สุดที่คัดมาจากหนังสือ คำเทศน์ ฯ

คู่มือการค้นหาอภิธานศัพท์อโศก หรือ ห้องสมุดโลกุตระ 50 ปี

เอกสาร : https://docs.google.com/document/d/1HLGedxqTAOTOTQKGbO6M4qMremQ8K1jBWKRYDDt6MRQ/edit

วีดีโอ Loom 2 : https://www.loom.com/share/e824e62ec1eb4567848e94af124a7ed5

วีดีโอ Loom 1https://www.loom.com/share/2445744a08e74bca95d2f1d2a0526044

วีดีโอ YouTube : https://youtu.be/QyXcGmzhLmk

 

 

อภิธานศัพท์ (ทั้งหมด) พบ 28,074 รายการ

หิริ

รายละเอียด

1. ความรู้สึกละอายต่อความชั่ว ต่อบาป

2. ความเห็นในบาป ในภัย ก็ยิ่งจะชัดเจน ก็จะเพิ่มความละอายในบาปมากขึ้น

3. ความละอาย 

4. ความอายต่อการกระทำชั่ว 

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 310

ทางเอก ภาค 2 หน้า 617

คนคืออะไร? หน้า 501

เปิดโลกเทวดา หน้า 87


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 16:37:13 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 03:17:07 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:32:05 )

หิริ

รายละเอียด

ละอายบาป ต่อหน้าไม่ทำ แต่ลับหลังยังทำอยู่

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 10 พฤศจิกายน 2562 ( 15:19:33 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:02:52 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:32:30 )

หิริ โอตตัปปะ สอนกันได้ไหม

รายละเอียด

สอนได้สิ สอนให้ถูกเป็นสัมมาทิฏฐิ แต่ไม่ค่อยสอนกัน แปลเหมือนกัน สอนปลายๆ พูดจริงๆละอายต่อบาป มันหยาบ หิริ ละอายต่อบาป กลัวต่อบาป แต่ไม่รู้เรื่องเลยว่าแล้วปฏิบัติอย่างไรทำใจในใจยังไง รายละเอียดที่เป็นตัวปรมัตถ์ไม่เข้าใจไม่เกิด

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ สภาวะบวร(บ้าน-วัด-โรงเรียน) ที่พ้นอัตตวาทุปาทาน 5 วันพุธที่ 20 ธันวาคม 2566 ขึ้น 8 ค่ำเดือนอ้าย ปีเถาะที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 13 มกราคม 2567 ( 13:41:00 )

หิริ โอตตัปปะพาเจริญ

รายละเอียด

ระลึกสัจจะ สำนึกละอายตายๆเราไปทำอย่างนี้น่าเกลียดน่าอาย จะละอายไหม เคยไปแสดงโป๊แล้วนึกว่ามันเท่ เซ็กซี่ ได้ ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข เลย ละอายตายๆ ไม่น่าไปทำอย่างนี้เลยสำนึกอย่างนี้ คนนี้แหละเจริญขึ้น ถ้าจิตมีอย่างนี้เจริญขึ้น แล้วจะไม่ไปทำอย่างนี้อีก อย่างนี้เป็นต้น 

ยิ่งไปเรื่องเกี่ยวกับพูดไปแล้วเมื่อกี้ว่ายิ่งไปละเมิดพระอาริยะตำหนิพระอริยะตำหนิผู้ที่เป็นอาริยะขั้นสูงด้วยโอ้โห ขออภัยไม่ได้พูดว่านะ มันเป็นบาปไหม การไปตำหนิไปว่าพระอาริยะชั้นสูงมันเป็นบาปด้วยอย่างเช่น อาตมาเป็นต้นบาปไหม บาป อาตมาไม่ได้พูดเอาดีเข้าตัวเองนะ มันเป็นสัจจะของกรรมใช่ไหม กรรมเป็นอันทำ มันบาปแรง 

เพราะฉะนั้นถ้าคนที่มีปฏิภาณจะรู้สึกละอาย ตายๆๆไปละเมิดไปแสดงขี้เท่อคือไปแสดงความน่าอาย แสดงความขี้เท่อ แสดงความไม่รู้ของตัวเอง น่าละอาย ตายๆๆๆ ผู้รู้เขารู้นะ ผู้ไม่รู้ก็แล้วไปเถอะ ผู้รู้จะเห็นว่าแสดงความขี้เท่อให้เห็นถึงความไม่รู้ ก็จะละอายตัวเองอย่างยิ่งอย่างนี้เป็นต้น 

ฉะนั้นถ้าเขารู้สำนึกแก้กลับเขาจะเจริญ ยิ่งทำอาการแก้กลับถึงขั้นขอขมาขออโหสิ ภาษาเหนือเรียกว่าสุมาเต๊อะเจ้า มันก็ยิ่งจะดี เพราะว่าผู้ที่เป็นอาริยะมีจิตชั้นสูงแล้วไม่ได้ติดใจที่จะถือสาหาความยึดติดหรอก อย่างที่อาตมาเคยอธิบายแล้วมันเหมือนกับเห็นเด็กๆมันทำไม่ดี มาตีเราทุบเรา เราก็อย่าไปถือสาเด็กมาทุบมาตีเรา เพราะมันเด็ก มันไม่รู้เรื่องอะไรอย่างนี้เป็นต้น อาตมาก็มีความคิดอย่างนั้นไม่เคยไปถือสาคนที่มาตำหนิมาว่าอาตมา   มา ขออโหสิ

โอ้โห ฟ้าเปิดเลยพลิกโลกเลยถ้าทำ เพราะว่ามันเป็นฐานความจริง ความเสื่อมของศาสนาพุทธมันเยอะคนเสื่อมจากศาสนาพุทธไปเยอะไปเคารพนับถือผู้ผิดเยอะ แล้วการเคารพนับถือผู้ผิดเป็นผู้สูงส่งเป็นปราชญ์เป็นผู้ที่ได้รับความนับถือ ถ้าขั้นหัวที่ผู้ที่เขานับถือนี้เปลี่ยนมา คนทั้งหลายจะเปลี่ยนมาตามไหมเห็นไหมมันจะดี เหมือนกับพระพุทธเจ้าท่านไปเปิดศาสนาของท่าน ท่านก็ไปสอนชฎิล 3 พี่น้อง ได้หัวหน้าก็มาเป็นหมู่เลย ฉันใดก็ฉันนั้น มันเป็นสัจจะ แต่เราจะไปบังคับความรู้สึกบังคับให้คนเข้าใจรู้สึกฉลาดขึ้นมามันจะไปบังคับได้ยังไงนะ มันตัวใครก็ตัวใคร 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ สภาวะบวร(บ้าน-วัด-โรงเรียน) ที่พ้นอัตตวาทุปาทาน 5 วันพุธที่ 20 ธันวาคม 2566 ขึ้น 8 ค่ำเดือนอ้าย ปีเถาะที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 13 มกราคม 2567 ( 13:51:47 )

หิริโอตตัปปะ กับหิโรตัปปัง

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นคำว่า หิริโอตตัปปะ อันนี้ของท่านใช้ หิโรตัปปัง เลยนะ ที่ท่านแปลในปัญญา 8 ท่านใช้หิโรตัปปัง หิรินี้ละอาย แต่โอตตัปปะนี้แรงกว่า เกรงกลัว ในสัทธรรม 7 มีหิริโอตตัปปะ บางคน แค่หิริก็เลิกได้ แต่บางคนต้องกลัว หากบางคนมีหิริโอตตัปปะมาก แค่นิดเดียวก็กลัวแล้ว แต่บางคนต้องแรงมากถึงจะกลัว ต้องแรงมาก โอตตัปปะมาก ต้องกลัว อย่างนี้น่ากลัว ต้องทีหลัง มาซาบซึ้งทีหลัง อย่างนี้เป็นต้น

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาเอกีภาวะประชาธิปไตยโลกุตระ วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 23 กุมภาพันธ์ 2564 ( 13:58:01 )

หิริโอตตัปปะ เป็นปรมัตถธรรมที่อุบัติขึ้นในตัวจิตผู้เจริญแท้ 

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นในปัญญาข้อที่ 1 เลยตรงกับความรู้ความฉลาด ของผู้ที่จะรู้ว่ามีพระพุทธเจ้า นี่เป็นสัตบุรุษหรือผู้ที่มีปัญญาอยู่ในฐานะครูผู้สัมมาทิฏฐิ พอได้สัมผัสแล้วได้พบจะรู้สึกถึงความละอายที่จะระลึกถึงยาวนานไกลลิบเลยว่า เราเคยเข้าใจผิดไปหลงในโลกียะเจริญโลกียะสูงส่งอะไรมา ได้หลงตัวเอง ได้แย่งชิงลาภยศโลกียะมา พอมารู้สึกตัวว่าทำไมเราโง่มากถึงขนาดนี้ ไปวนอยู่ได้กับโลกียะ แย่งลาภยศสรรเสริญโลกียสุข จะละอายตัวเอง ความรู้สึกที่ หิริโอตตัปปะเป็นสัจธรรมเป็นความรู้สึกจริงที่ยิ่งใหญ่ คนเกิดจริงเป็นจริงในจิตคนนี้แหละเป็นคนเจริญแท้เป็น ปรมัตถธรรม ที่อุบัติขึ้นในตัวจิตผู้นี้ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ โสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 33 วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 01 เมษายน 2564 ( 20:54:11 )

หิริโอตตัปปะเป็นเทวธรรม

รายละเอียด

พระพุทธเจ้าตรัสว่าธาตุที่แสดงถึงความเป็นเทวะเป็นความเจริญ เป็นความสูงขึ้น เทวธรรม จึงมีหิริโอตตัปปะเป็นตัวยืนยัน ซึ่งไม่ง่ายที่จะเข้าใจความจริงอันนี้ อาตมาก็ต้องพยายามอธิบาย มันจะเกิดอาการจริงทางใจ ถ้าเกิดอาการละอายกลัวต่อความผิดพลาดที่เราได้ทำไปแล้วละอายจริงๆ กลัว ยิ่งโอ้โห ทำแล้ว อาการแรงกล้า ติปปัง กลัวมาก ถ้ากลัวมันก็จะสำนึก กลัวไม่เอา ก็จะต้องแก้ไข 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ผู้ไม่รู้ตัวเองไม่รู้ทั้งหมด ผู้รู้ทั้งหมด รู้ตัวเอง วันศุกร์ที่ 16 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 21 เมษายน 2564 ( 10:54:19 )

หิริโอตัปปะ ในสัทธรรม 7

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นความละอายอย่างแรงกล้านี้มันเป็นภาษาพูดง่ายๆ มันเกิดอาการละอายอย่างแรงกล้าเองนะ ไม่มีใครเติมใส่ให้ มันรู้สึกเอง ความรู้สึกหิริโอตตัปปะนี้จึงยิ่งใหญ่ ตั้งแต่เป็น สัทธรรม 7 มี ศรัทธา หิริ โอตัปปะ พหูสูต ส่วน วิริยะ สติ ปัญญา เป็นกองเชียร์ กองหนุน 

วิริยะเข้าไป สติดีๆ ปัญญาให้เกิด 

ศรัทธา หิริโอตัตปปะ พหูสูต ผู้เจริญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆคือพหูสูต เมื่อคุณสามารถเห็นจริงเข้าใจศรัทธานี้คือเข้าใจ เชื่อถือ มีความฉลาด มีความรู้ มีปัญญาชัดเจนจริงขึ้นมา ศรัทธามีตัวจริง ศรัทธานี้เป็นความถูกต้องจริงเป็นศรัทธาที่บริบูรณ์ เมื่อศรัทธาบริบูรณ์คุณก็จะละอายหิริโอตตัปปะ ไม่ว่าในจุดใดเลย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ เปิดยุคบุญนิยมระดม ปัญญา-อนัตตา ตอน 1 งานปลุกเสกพระแท้ๆของพุทธ ครั้งที่ 44 วันจันทร์ที่ 5 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 12 เมษายน 2564 ( 10:22:49 )

หิวกับอยากต่างกัน

รายละเอียด

หากคุณกินไม่พอก็โหย แต่หากมีความอยากไปกระตุ้นสรีระกระตุ้นน้ำย่อยด้วย มันก็จะเป็น อาตมาฟังแล้วก็บอกว่าคุณฝึกไป ฝึกในเรื่องกินอาหารมื้อเดียวพวกนี้แหละ ไม่เป็นไรก็ฝึกไปเถิด 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2563


เวลาบันทึก 13 มกราคม 2564 ( 09:27:24 )

หิวกับอยากมันต่างกัน

รายละเอียด

คุณบอกว่าหลายครั้งไม่หิวแต่ก็ทนความอยากไม่ได้ แสดงว่าคุณก็พอรู้ว่าความอยากเป็นอย่างไร คำว่าความอยากนี้คุณเข้าใจแล้ว แล้วเอามาเปรียบเทียบเอามาถาม อย่างอาตมาไม่เคยหิวข้าวหิวน้ำ อย่างน้ำก็มีผู้คอยให้ดื่มๆ จนอาตมาตั้งให้เป็นอธิบดีกรมประปา ก็พูดเย้ากันเล่นไป เป็นประโยชน์ คือบางทีมันไม่สมดุลก็ต้องเติม อาตมาก็เข้าใจก็ค่อยเป็นไป หิวกับอยากมันต่างกัน อยาก มันเป็นความแส่หาของกิเลสเป็นตัณหา ส่วน หิว เป็นความต้องการของร่างกาย และในความหิว อย่างอาตมาไม่หิวคือตัดทิ้งพยัญชนะความต้องการของร่างกาย อาตมาก็เลยไม่รู้ ก็ต้องมีคนคอยดูแล อย่างเช่นอันนี้ๆ เช่นทุเรียนนี้ กินมากไปแล้วก็ควรหยุด หรืออย่างแป้งมากไปก็เปลี่ยนเป็นใถั่ว จนตอนนี้น้ำหนัก 54.9 แล้ว คืออาตมานี้ ปรปฏิพัทธาเมชีวิกา คือ เราให้ผู้อื่นเลี้ยงไว้ เรามีหน้าที่ทำงานก็ทำงานไป มันไม่ทัน เพราะ 1.ของเรามีเยอะ 2.คนจะรับก็มีเยอะ ที่จริงอาตมายังเอื้อมไปได้อีก แต่พวกเราก็ดี ช่วยขยายละเอียดลออไปให้ก็ช่วยกัน 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน 2563


เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 20:02:43 )

เวลาบันทึก 03 สิงหาคม 2563 ( 08:00:57 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:34:33 )

หิโรตัปปัง หรือติพพังในปัญญาข้อที่ 1

รายละเอียด

อาตมาพูดอย่างนี้หมายถึงใครคนหนึ่งมาว่าอาตมา ถ้าเขาเกิดหิริ เพราะมาตู่อาตมาผิด เมื่อนั้นเขาตื่นเลย ตื่นตามจริงนะตามความเป็นจริง เขาจะละอายอย่างหนัก 

จะมาขยายความไม่ง่ายเลยปัญญาข้อที่ 1 เมื่อได้ฟังจากสัตบุรุษจากพระโอษฐ์ หรือจากผู้อยู่ในฐานะครูแล้วก็ละอายอย่าง ติพพัง ละอายอย่างแรงกล้า ตอนแรกๆ อาตมาว่ามันอย่างไร ตอนหลังๆค่อยเข้าใจได้ เอามาอธิบายจะดีขึ้นอีกเยอะ ละอาย นี่ภาษาพยัญชนะว่า หิริ เกรงกลัวพยัญชนะบอกว่าโอตตัปปะ 

ในบาลีใช้ว่า หิโรตัปปัง หรือติพพัง หิริกับโอตตัปปะ แต่เอาคำปัจจัยของหางกับอุปสรรคของหัวมาเรียกสภาวะอย่างอื่น ก็เกิดจากเหตุกับปัจจัย กลับไปกลับมา 

เพราะฉะนั้นติพพัง แรงกล้า ละอายอย่างแรงกล้า อย่างที่อาตมาขยายความแล้ว มันจริงใจจริงจังรู้จริงๆ ว่า กูเอ๋ย นึกว่าจะฉลาด แต่โง่ไม่เสร็จ เพิ่งตื่น เสร็จ จากความโง่แล้วตื่นขึ้นมาค่อยยังชั่วแต่มันก็ยังมีชั่วอยู่อีกเยอะ ก็ต้องพยายามฟื้นตื่นขึ้นมาให้รู้ว่า อ้อ อย่างนี้จริงๆ มันถูกอย่างนี้ เข้าใจชัดแล้วก็เปลี่ยนเลย เปลี่ยนทิศตัวเองที่ไปหลงงมงายอยู่นานๆๆๆๆๆ... และหนักด้วย ก็ตื่นขึ้นมา

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม ปฏิบัติศีลให้ถึงอรหัตตผลโดยลำดับ

วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 19 พฤษภาคม 2564 ( 14:37:54 )

หีเน

รายละเอียด

เลว , หยาบ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 213


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 16:37:56 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 03:18:20 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:32:46 )

หุตัง

รายละเอียด

หุตัง หรือภาวนา คือ รู้จักการเกิดผล ภาวนา แปลว่าการเกิดผล ถ้าปฏิบัติ ทาน ศีล อย่างสัมมาทิฏฐิมันก็จะรู้จักโทษของกาม กามาทีนวะ เมื่อรู้โทษของกาม ก็ต้องเรียนรู้วิธีออกจากกามเพราะมันเป็นโทษ ต้องออกจากมันต้องเอามันออก จะเรียกว่าเอาออกหรือออกจากมันก็แล้วแต่จะเรียกว่าขาดจากกัน เนกขัมมะของ อนุปุพพิกถา

เมื่อรู้ความหมายก็มาปฏิบัติ กาม ที่หยาบ ที่คุณจะต้องออกที่คุณไปคลุกคลีเกี่ยวข้อง ไปวุ่นวายอยู่กับมัน ไปเสพรสไปปรุงแต่งไปซื้อหาไปมั่วสุมอยู่กับมัน คุณรู้แล้วต้องออกจากมันเป็นเนกขัมมะ 

วิธีออกจากมันต้องเรียนรู้จิตเจตสิกต่างๆ รูปคือสิ่งที่ถูกรู้ เจตสิกที่แยกออกมาจากรูป มี เวทนา สัญญา สังขาร นี่คือขันธ์ 3 ของวิญญาณ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ แผนผังการกอบกู้โลกุตระของพ่อครู วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2565 ( 19:02:31 )

หุตังที่เป็นโลกียะไม่สัมมาทิฏฐิ

รายละเอียด

หรือนัตถิหุตัง หรืออัตถิหุตัง จะแยกได้ว่าผลที่ได้มาจากการปฏิบัติทานหรือศีลก็ตาม จิตที่ได้ ท่านแปลหุตังว่าคือ สังเวยหรือบวงสรวงแล้ว ซึ่งเป็นสำนวนโบราณเหมือนกับคนเอาอะไรไปเซ่นไหว้เจ้าซีกุ้ย ก็กินเป็ดกินไก่ก็วิญญาณซีกุ้ยทั้งนั้น ถ้าหากเป็นวิญญาณเซียนก็กินมังสวิรัติแต่เอาเป็ดพะโล้ไก่ต้มไปสังเวยวิญญาณ ก็มีแต่วิญญาณซีกุ้ยมากิน ถ้าเป็นวิญญาณเซียน ท่านไม่ฉันเนื้อสัตว์ ไม่เสวย ท่านเสวยแต่ผลหมากรากไม้ พืชพันธุ์ธัญญาหาร แค่นี้ความรู้ในมวลมนุษยชาติก็ย่ำแย่แล้ว มันไม่ถูกไม่ตรง

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปัญญาแยกแยะนามรูปได้เป็นเช่นไร วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 29 มีนาคม 2564 ( 21:25:54 )

หุตังที่เป็นโลกุตระเป็นสัมมา 

รายละเอียด

ฉะนั้นต้องเข้าใจผลอย่าว่าแต่ปฏิบัติ รูปธรรมเลย ยิ่งจิตจริงๆแล้ว จิตได้เป็นโลกุตระ ไม่ว่าจะทานก็ทำให้กิเลสออก ไม่ไปนรกไม่ไปสวรรค์ หรือปฏิบัติศีลจิตก็ไม่ไปสร้างภพสร้างชาติ ไม่ไปนรกสวรรค์ 

หุตังแล้วจิตจริงๆ เมื่อคุณปฏิบัติทานกับศีลแล้วจิตใจของคุณไม่มีภพชาติเลยจริงหรือเปล่าได้หรือเปล่า ได้ศีล 3 ข้อแรก เป็นหลักที่จะเข้าใจต้องปฏิบัติให้ตรงเลยเสร็จแล้วก็ไปเป็นข้อที่ว่ามันจะได้ดีหรือชั่ว สกตทุกฎานัง จะผิดหรือถูก หรือไม่ดี ก็เกิดจากการกระทำ เป็นผลจากกรรมวิบาก ผลังวิปาโก เป็นผลจากการกระทำของเราทั้งสิ้น นี่คือสัมมา ส่วนมิจฉาก็ไม่เป็นอย่างที่พูดนี้ ถ้าถูกต้องก็เป็นสัมมา 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปัญญาแยกแยะนามรูปได้เป็นเช่นไร วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 29 มีนาคม 2564 ( 21:28:45 )

หุ่นขี้ผึ้งของพ่อครู ไม่เหมือนใครในโลก

รายละเอียด

หุ่นขี้ผึ้งของอาตมาอยู่ในท่า ไม่เหมือนใครในโลกไม่เหมือนพระเกจิอาจารย์ พระดังไหนๆ เขานั่งสมาธิ อาตมาอยู่ในท่าไม่เหมือนเขาเลย ปุ้งเต้า เซาสิ้ว ถือไม้กวาดกับที่ตักผง หุ่นขี้ผึ้งก็จะออกมาในรูปนั้น ก็คงจะแปลกไม่เหมือนใคร 

ที่จริงมันมีความหมายดีมากนะ มันเป็นความหมายที่ตรงกันข้ามกับความคิดของกระแสหลัก ความคิดของคนส่วนใหญ่ชาวพุทธส่วนใหญ่ ที่มันเสื่อมแล้ว มันผิดเพี้ยนไปแล้วว่า ภิกษุหรือพระนักบวชของศาสนาพุทธจะต้องเป็นคนชนิดที่นิ่งๆ ไม่กระดุกกระดิก เซื่องๆช้าๆ ซึมๆซึ่งไม่ใช่เลย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ วิญญาณฐิติ 7 ปฏิจจสมุปบาท และวิชชา 8 วันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2566 วันแรม 14 ค่ำเดือนยี่ ปีขาล ที่บวรสันติอโศก


เวลาบันทึก 06 กุมภาพันธ์ 2566 ( 12:43:05 )

หุ่นยนต์ Robot มีมโนเป็นชีวะได้ไหม

รายละเอียด

เขาก็พยายามทำให้หุ่นยนต์ Robot  มีมโนเป็นชีวะ แต่มันไม่ได้หรอก อาตมาว่าเขาก็จะพยายาม พยายามให้หุ่นยนต์นี้ มันกินอาหารเอง มันเลือกอาหารกินเอง และให้มันปรุงแต่งสังขาร เป็นเครื่องที่ให้มันปรุงแต่งเองจะได้ไหม ให้ Robot หุ่นยนต์ คุณเอาอาหารซึ่งเป็นธาตุสารพัดที่มันจะมีใส่เข้าไป คุณก็ทำได้ แต่ธาตุที่คุณใส่เข้าไปดูแล้วแต่เป็นสสารกับพลังงาน คุณเอาธาตุ พีชะ เป็นอาหาร แล้วเอาสัตว์เป็นอาหาร

คุณเอาเนื้อสัตว์กับ พีชะ ใส่ เข้าไปแทนพลังงานที่คุณใส่เข้าไปในหุ่นยนต์ ให้มันขับเคลื่อนอยู่อย่างนี้ จะเป็นความร้อนแสงเสียงแม่เหล็กไฟฟ้า แต่เอาพืชกับเนื้อนี่ใส่เข้าไปเลย มันก็ย่อยไม่เป็นแล้ว ย่อยให้เป็นพลังงาน ไปจัดการกับหุ่นยนต์ตัวนี้ คุณจะทำได้ไหม คุณย่อยเอาใส่อันนี้เข้าไป คุณอย่าเอาความร้อนแสงเสียงแม่เหล็กไฟฟ้าใส่นะ แต่คุณใส่พืชหรือเนื้อสัตว์เข้าไป มันจะได้ไหม ก็ไม่ได้ แต่นี่เขาก็พยายามให้เป็นอย่างน้อยเป็นชีวะเป็นพืช 

แต่คุณจะทำให้หุ่นยนต์เหมือนกลายเป็นสัตว์ ข้ามพืชด้วย คุณยังไม่รู้กันหรอก นักวิทยาศาสตร์ อาตมาเห็นแล้วก็น่าสงสาร จะดันทุรังคิดๆๆ เอาเถอะ มันเหมือนใกล้เคียง แทนได้ แต่มันไม่มีทางที่จะทำสังขาร มโนสังขารนี่ ไม่ได้ คุณทำได้แต่วจีสังขารกับกายสังขาร คุณทำได้ เพราะมันหยาบ แต่คุณทำมโนไม่ได้ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูปฐมนิเทศ พาปฏิญาณศีล 8 งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ปี 2564 ครั้งที่ 45 ออนไลน์วันอาทิตย์ที่ 21กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก

สื่อธรรมะพ่อครู ตอน อจินไตยของฌานวิสัย


เวลาบันทึก 05 มีนาคม 2564 ( 20:50:23 )

หุ่นยนต์มีแต่รูปไม่มีนาม

รายละเอียด

หุ่นยนต์มันเป็นแค่พลังงานกับสสารเท่านั้น ยังไม่มีเนื้อของชีวะแม้แต่พืชเลย แล้วมันจะมาเป็นจิตนิยาม มาเป็นมนุษย์ได้อย่างไร จะมีเวทนาได้อย่างไร วิทยาศาสตร์มันดันทุรังเท่านั้นเอง มันทำไม่ได้หรอก มันได้ขนาดนั้นแหละ ไม่ใช่ว่าอาตมาดูถูกแต่ก็คอยดูสิ ที่เขาจะทำมันไม่ได้ มันได้แค่นี้ มันจะได้จะต้องมาทำให้เป็นชีวะจริง ถึงจะเป็นได้ถ้าไม่ถึงเป็นชีวิตจริงไม่มีทางเลย ถ้าคราวหน้าจากพลังงานอุตุมาเป็นพีชะ จึงจะข้ามขั้นมาเป็นจิตนิยามได้ แล้วจะสร้างหุ่นยนต์ให้เป็นจิตนิยามเกิดมีความรู้สึกเองเลย ให้มันเศร้าเองให้มันดีใจเอง ไม่มีทางหรอก คุณใส่รหัสให้มันดีใจทำเป็นหัวเราะทำเสียงทำรูป มีแต่รูปไม่มีนาม

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์เปิดงานอโศกรำลึก และบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ปี 2564

วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน 2564 แรม 10 ค่ำเดือน 7 ปีฉลู ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2564 ( 21:24:52 )

หูทิพย์ตาทิพย์ วิชชาข้อที่ 4 มีในวิชชา 8

รายละเอียด

หูทิพย์นี้หมายความ ท่านอธิบายความหมายไว้เช่น ได้ยินเสียงดังมาจากที่ไกลเป็นเสียงกลอง เสียงอยู่ในตระกูลของกลอง ฟังดีๆนะ ตระกูลของกลอง เป็นกลอง เป็นตะโพน เป็นเปิงมาง เป็นบัณเฑาะว์ กลองเล็กๆก๊องแก๊ง ก๊องแก๊ง แม้แต่ได้ยินเสียงแต่ไกลๆ ไม่เห็นกลอง ไม่เห็นรูปกลอง แต่ได้ยินเสียงทางโสตทางหู ได้ยินแล้วก็แยกออกได้ว่า เสียงนี้เป็นเสียงกลอง เสียงนี้เป็นเสียงเปิงมาง เสียงนี้เป็นเสียงเปิงมางหรือตะโพน บัณเฑาะว์ แยกเสียงได้ อย่างนี้ต่างหาก 

ลึกเข้าไปอีกกว่านี้ ขออธิบายเสริม การแยกแยะสภาพ 2 ที่ต่างกัน กลองเหมือนกัน ลักษณะของกลองเปิงมาง ตะโพน อะไรก็แล้วแต่ จนถึงขั้นบันเฑาะว์กลองน้อย มันก็คืออยู่ในตระกูลของกลอง แต่มันไม่เหมือนกัน 

เพราะฉะนั้นสิ่งที่อยู่ในตระกูลเดียวกัน หรือเป็นสิ่งที่คล้ายกันเป็น 2 สภาพ เราก็สามารถแยกความต่างของ 2 สภาพนี้ออกได้ จาก อิตถีภาวะ กับ ปุริสภาวะ ออกได้อย่างนี้เป็นต้น

นี่คือธรรมะอันพิเศษ อันเฉลียวฉลาดที่มีธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ ยิ่งใหญ่ สามารถแยกความต่างกัน โดยกำหนดรู้เลยว่าเป็นความต่าง ในสิ่งที่เป็น 2 คล้ายกันใกล้กันตระกูลเดียวกันแต่แยกได้ เช่นคำว่า เทวะแปลว่า 2 นี่รวมๆหมดเลย คำว่าเทวะนี่แปลว่า 2 ยิ่งใหญ่ที่สุดเลย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ จบกิจทั้ง 4 อย่างมีปาฏิหาริย์ของพุทธ วันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม 2566 ขึ้น 10 ค่ำเดือนอ้าย ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 05 มกราคม 2567 ( 22:26:37 )

หูหักรักดี

รายละเอียด

แต่มันยากมาก แค่นี้เขาก็ไม่รู้แล้ว อาตมาจะต้องใช้เวลานานมาก ถ้าเผื่อว่า ทำให้อาตมาอธิบายธรรมะอายุยืนยาวไปถึง 151 ปี อาตมาต้องฝืนไปถึง 100 ปี เพราะทำงานมาตั้งแต่อายุ 36 ถ้า 151 ก็เลยจาก 36 ไปอีกนานมาก 100 กว่าปี ตอนนี้ก็ฟังกันไม่ค่อยรู้หูหักกัน แต่พวกเราฟังได้ หูหักต่อติดแล้วนะ ให้มันต่อสนิทนะ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 21 มีนาคม 2561


เวลาบันทึก 06 มีนาคม 2564 ( 11:08:02 )

ห่าตำปอด

รายละเอียด

นี่เป็นภาษาลาวนะ โรค “ห่าตำปอด” ห่าคือโรค ตำคือชนกระทบกระแทก ที่ปอด ก็พยายามระมัดระวังไม่ได้ประมาทนะ อาตมาก็เป็นแต่เพียงว่าเมื่อไหร่หนอมันจะสิ้นสุด ก็เป็นแต่เพียงก็เท่านั้นเราก็ไปบันดาลอะไรไม่ได้ก็ต้องคอยมันไปจนกว่าจะหมด 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 05 เมษายน 2563 ( 12:14:29 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:03:42 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:33:45 )

ห้าสิบสาม ปีผ่าน สู้งานหนัก

รายละเอียด

_ห้าสิบสาม ปีผ่าน สู้งานหนัก กอบกู้ศักดิ์ ศรีศาสน์ อย่างอาจหาญ

สร้างคนจน จริงใจ ใฝ่ศีลทาน เพื่อสืบสาน สัทธรรม นำสู่ไท

 “ห้าสิบสาม ปีผ่าน สู้งานหนัก” ทำมา 53 ปีแล้วผ่านมาสู้งานหนัก พยายามที่จะกอบกู้ศักดิ์ศรีของศาสนาพุทธขึ้นมาอย่างอาจหาญ 

มาสร้างคนจนจริงๆ ไม่ได้พูดเล่ห์เหลี่ยม ไม่ได้พูดเอาโก้ ไม่ได้พูดมีอะไรแฝง พากันมาจนจริงๆ จนหมายความง่ายๆ คือ ที่มีสตางค์มาก ก็ลด เอาสตางค์ออกแจกให้คนอื่น ให้ตัวเองมีน้อยลงๆๆ สูงสุดคนจนสูงสุดก็คือ 0 ไม่นับนะว่าคนจนคือมีหนี้ ไม่เอา คนจนคือคนมีหนี้ นี้มันออกนอกทางพระพุทธเจ้าสอนแล้ว 

คนจนที่สูงสุดบริบูรณ์สุดคือ ศูนย์ ไม่สะสมเงินทอง อปจยะ ไม่ต้องมีสักบาท แล้วอยู่ได้ยังไง พิลึกพิสดารประหลาดมาก ไม่มีเงินสักบาทอยู่ได้ยังไง มีชีวิตอยู่ได้อย่างไร? มาสิ มาดู เอาชีวิตคุณนั่นแหละ ไม่ต้องมีสักบาท คุณมาอยู่ที่นี่ คุณจะอยู่ได้ไหม มาดูสิ แต่อย่ามาเกเรก็แล้วกัน อย่ามากวนก็แล้วกัน มาสิ  มาพิสูจน์สัจจะความจริงอันนี้ อยู่ได้ไหม 

ซึ่งมันสุดยอด และมันจริงใจนะไม่ใช่ทำเท่ ไม่ใช่ทำโก้ ไม่ใช่ทำอย่างบริสุทธิ์ใจ มาอยู่ด้วยกันอยู่ด้วย สาราณียธรรม 6 เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม ลาภธัมมิกา ศีลสามัญญตา ทิฏฐิสามัญญตา  เสร็จแล้วก็ปฎิบัติกันไป อยู่กันอย่างนี้ มีสาธารณโภคีอย่างนี้สุดยอด 

อาตมาภาคภูมิใจที่พิสูจน์ธรรมะพระพุทธเจ้ามาถึงวันนี้แล้ว เราทำได้สำเร็จ ซึ่งยืนยงมา 

อาตมาไม่ได้คิดถึงขั้นสาธารณโภคีตั้งแต่แรก ตั้งแต่เริ่มทำงานมา ออกมา
สร้างชุมชนปั๊บ มันเป็นสาธารณโภคีเลย เริ่มต้นตั้งแต่แดนอโศกยังไม่มีคฤหัสถ์  ยังไม่มีญาติโยมอะไรมากมาย มีซิ้มอ้วน เป็นญาติโยม หาบไปหาบมา ไกลนะทางเข้าจากปากทาง หาบไป ซิ้มอ้วนเป็นอุปัฎฐาก นึกถึงแกนะ พยายามมา 

เราก็เริ่มต้นเป็นสาธารณโภคีนะ แต่ว่ามันยังไม่ขยายผล จนกระทั่งมันมีองค์ประกอบที่มาเป็นองค์รวมที่มีทั้งรูปนาม มีทั้งพฤติกรรม มีทั้งวัตถุ มีทั้งอะไรต่ออะไร สถานที่เป็นสัปปายะ 4 ขึ้นมา มันก็กลายเป็นสิ่งที่สมบูรณ์แบบตามคำสอนพระพุทธเจ้า สัปปายะ 4 ก็สมบูรณ์แบบ 

แต่ก่อนนี้ อยู่แดนอโศก อาหาร 1 ในสัปปายะ 4 ต้องเอาต้นมะละกอนะ ไม่ใช่ลูกมันนะ เอาต้นมะละกอมาดองเค็มกินกัน โอ้โห สิกขมาตุกล้าข้ามฝันเป็นตัวการดีนัก เอาต้นมะละกอมาดองกินกัน โอ้..เจ้าพระคุณ ไม่ต้องไปพูดถึงความอุดมสมบูรณ์เลยตอนนั้น

ที่มา ที่ไป

ครบรอบ 53 ปี โพธิกิจ พ่อครูเทศนาภาคค่ำ งานมหาปวารณา ครั้งที่ 41 วันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2566 แรม 6 ค่ำ เดือน 11 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 15 กุมภาพันธ์ 2567 ( 16:46:34 )

อ (อรห)

รายละเอียด

ความดับ [ร คือความตั้งอยู่  ; ห คือความเกิด]

หนังสืออ้างอิง

จากหนังสือทางเอก ภาค 3 หน้า 161


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 16:44:14 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 02:47:46 )

อ.ขาดอิทธิบาทไม่สำเร็จ

รายละเอียด

คือ  ทำอะไรก็ตามหากขาดอิทธิบาทก็ไม่สำเร็จ  อิทธิบาทเป็นตัวตั้ง  มีฉันทะ  วิริยะ  จิตตะ  วิมังสา  ศาสนาพุทธ ถ้าไม่มีตัวยินดีที่จริง  คือมีใจยินดี  หากว่ายินดีเกินไป   อุพเพงคาปิติก็มากไป  ต้องยินดีพอสมควร  แล้วตัวที่สำคัญคือ  ตัวอารมณ์  กลางใหญ่  ประธานเป็นความรู้สึก  หรือว่าเวทนาเป็นประธานหลักเป็นกรรมฐาน  ต้องปฏิบัติให้สำเร็จลงไปตรง ความรู้สึก  พระพุทธเจ้าแบ่งกระบวนการ ความรู้สึกออกเป็น  108 อย่าง  อันนี้เป็นหลักธรรมของศาสนาพุทธด้วย  อาชีพทำให้ชีวิต หรืออายุยืนหรือสั้นได้  อาชีพที่สั้นก็มี  เช่น  อาสาที่จะระเบิดพลีชีพ ก็มีคนที่มีความคิด  ความเห็นแบบนี้  ก็ทำ  ทำเพื่อพระเจ้า  คนที่เราจะต้องเสียสละให้  หรือทำเพื่ออะไรก็แล้วแต่  ของพระพุทธเจ้านั้นใช้ทั้งโพชฌงค์  7 กับมรรคมีองค์  8  ควบคู่กัน

ที่มา ที่ไป

รายการทำวัตรเช้า งานมหาปวารณา ครั้งที่ 37 บ้านราช วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 28 พฤศจิกายน 2562 ( 13:01:37 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:05:12 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:36:21 )

อ.ระพีเป็นอาริยบุคคลที่มีเชื้อโพธิสัตว์

รายละเอียด

อย่าง อาจารย์ระพีนี้ พูดได้เลยว่าเป็นอาริยบุคคลที่มีเชื้อโพธิสัตว์ ตลอดชีวิตอาตมาตั้งแต่หนุ่มจนตายจากกันไปนี้ อาจารย์ระพี อายุยาวกว่าอาตมาก็ต้องไปก่อน เป็นธรรมดา จนจากกันไปแล้วอาตมาก็เห็นก็รู้อยู่ ประมวลแล้วเท่าที่เห็นที่รู้มาไม่มีอะไรที่เป็นเรื่องเสียหายเสื่อมเสียของอาจารย์ระพี จริงๆแล้วเมื่อเทียบกัน อาจารย์ระพีไม่มีปากหอกเหมือนอาตมา อาตมานี่มีฉายาสองฉายา 1. ขวานจักตอก 2. ผู้มีสายฟ้าในวาทะ

อาจารย์ระพีเป็นผู้ที่ใช้วาทะคารมภาษานิ่มนวลสุภาพมาตลอดเลย ต่างกันกับอาตมา ต่างกันกับคุณสุลักษณ์ ศิวรักษ์

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ มาทำแก่นชีพ-เชื้อชาติพุทธให้รุดหน้าเกินพัน วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 09 กุมภาพันธ์ 2564 ( 19:31:55 )

อกนิฏฐาพรหม

รายละเอียด

เป็นผู้มีความประเสริฐสูงสุดในจิตที่จะต้องมาก่อนใครๆ หมด  หรือคือจิตจะต้องมีอารมณ์อุเบกขามาก่อนอื่นใด เป็นขั้นสูงสุด ปลายสุด แล้วก็มีอารมณ์เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นขั้นปรุงแต่งในลำดับต่อไปก่อนจะไปมีอารมณ์อื่นใดในตนจริงๆ

หนังสืออ้างอิง

จากหนังสือทางเอก ภาค 2 หน้า 142


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 16:45:27 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 03:19:46 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:37:06 )

อกรณัง

รายละเอียด

ไม่ให้มีการกระทำการผลิตขึ้น

หนังสืออ้างอิง

จากหนังสือสมาธิพุทธ หน้า 361


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 16:46:09 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 03:20:38 )

อกรณีย

รายละเอียด

ไม่ควรทำอย่างยิ่งในกิจนี้ ไม่ควรมีการกระทำอย่างนี้ ไมใช่กิจที่ดีที่ควรจะมีในคนผู้หวังความเจริญแท้สูงจริงเลย เป็นเรื่องที่ไม่กระทำเด็ดขาดสำหรับผู้รู้แท้ บรรลุจริง คือเจริญจริง เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ และจะต้องเลิกกระทำให้ได้จริงๆ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 439


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 16:46:50 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 03:21:35 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 13:10:16 )

อกหักมาทำใจเช่นไร ทำอย่างไรจะไม่ยึดเขา

รายละเอียด

จะตายแล้วไม่มีเขา จะตายให้ได้แล้วหนอไม่มีเขา โอย.. อกหักมา ไม่มีเขานี้ไม่เป็นควายก็ดีแล้ว ไม่มี “เขา”นี้เราก็ไม่เป็นควายก็ดีแล้ว 

เรื่องพวกนี้คือความโง่ ความโง่ที่ไปรัก ไปอกหักอกพังอย่างนั้นอย่างนี้ มันเป็นเรื่องลึกซึ้งซับซ้อนนะ พูดจริงๆ หลวงปู่ในชาตินี้ก็ยังอกหัก เคยอกหัก ชาตินี้นะ ยังเคยอกหัก 

คือมันเป็นธรรมชาติโง่อย่างหนึ่ง แต่ว่าอกหักของหลวงปู่ไม่ได้เดือดร้อน ไม่ได้ทำร้ายทำแรง ไม่ได้เจ็บปวดอะไรมากมาย แต่มันเป็นอาการที่พูดคำว่าอกหัก ถ้ามันไปยึดมากๆมันจะแรง มันจะเป็นจะตายว่ามันเป็นเรื่องจริงๆมันสำคัญ จะเป็นจะตายเลย ดีไม่ดีมันอกหักฆ่าตัวตายเลย นั่นมันโง่สุดโง่ ไม่รู้จะโง่อย่างไร 

มันเป็นเรื่องของกิเลสธรรมชาติระหว่างเพศเท่านั้นเอง ถ้าหลวงปู่จะอธิบายให้ฟังแล้ว เข้าใจดีๆว่า คนเราเกิดมาไม่รู้กี่ชาติ แล้วมีคู่ แล้วก็มีกิเลสนี้ มันระริกระรี้ไปหาเก่าๆที่จะต้องมีอีก มีใหม่ก็จะไปหาใหม่ไปอีก แต่ละชาติแต่ละชาติ เคยมี พอเจอคู่เก่าๆมาก และยังจะระริกระรี้หาคู่ใหม่ๆ นั่นแหละคือคนโง่ โง่ไม่จบ มันก็จะมีอาการที่จะมีเพิ่ม มีวิบากมีคู่วิบากมากขึ้นมากขึ้น มันก็จะเยอะ 

เพราะฉะนั้นคนไหนที่เกิดมาชาติหนึ่งนี่ เสร็จแล้วมีคู่รักคู่เดียว แม้จะอกหักก็คู่เดียว เหมือนพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มีคู่รักคู่เดียวมีคนเดียว ต้องถือว่าพลเอกเปรมนี่อกหัก ใครเคยรู้ประวัติไหมอาจารย์ไตรรงค์ สุวรรณคีรี เคยเขียนเคยบอกไว้ ประวัติความรักของพลเอกเปรม ถือว่าอกหัก แล้วก็ไม่รักใครอีกเลยตั้งแต่บัดนั้นจนตาย แล้วก็อยู่ทำงานอะไรเพลิดเพลินก็อยู่ไป จะเจ็บจะปวดอย่างไรก็คิดว่าคงไม่ เพราะเห็นพลเอกเปรมเขาอยู่เป็นสุขสบายดีตลอดชีวิต 

เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ คนเรายิ่งมากเรื่องมากคนไป มันทรมาน แล้วยิ่งเป็นอาการหนักของตัวเอง สร้างวิบากความโง่ซับซ้อน เพราะฉะนั้นถ้าจะรักคนนี้ก็รักคนเดียวแล้วก็พอแล้วก็เลิก ไม่มีแล้วก็เลิกไป สบายจบ ก็แนะนำได้เท่านี้ อย่าไปเที่ยวร่ำรี้ร่ำไรอะไรกับมัน ทำไมต้องยึดเขา โง่

อกหักมาจะทำใจอย่างไร ก็มันก็เป็นธรรมชาติ มีรักมีชัง มีอะไรอย่างนี้ โดยเฉพาะเรื่องเพศเรื่องกิเลสพวกนี้ ก็ดูที่ในสังคม คนที่เขาไม่แต่งงานเขาไม่มีเรื่องเพศตลอดชีวิตมีให้เห็นไหม ...มี 

ก็ดูเขา แล้วเขาก็ดูเบิกบานร่าเริงเป็นสุขดีตลอดชีวิต เขาก็อยู่ได้ แล้วมันก็จะ คนที่ไม่มีมากแล้วเขาก็ไม่ติดยึด เขาก็มีชีวิตอยู่กับความสุขที่เขาจะทำงานสร้างสรร มีประโยชน์มีคุณค่า มีอะไรต่ออะไรไป ดีไม่ดีอื่นๆที่เป็นโลกีย์ สนุกรื่นเริงไปกับโลกีย์เขาด้วยไม่ต้องเป็นเรื่องเพศ เรื่องรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส เรื่องเงินเรื่องทอง เรื่องวัตถุ เรื่องงานการอะไรต่ออะไรไปเยอะเป็นเรื่องที่จะทำให้เราไปสัมพันธ์ ยิ่งกว่าไปสัมพันธ์แต่เรื่องเพศ เพราะฉะนั้นอย่าไปให้ความสำคัญมันมาก 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูตอบปัญหาให้ปัญญาค่ายยุวชนอโศกสัมพันธ์ พุทธศาสนาตามภูมิ 

วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2566 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 08 พฤษภาคม 2566 ( 05:16:18 )

อกัปปิยะ

รายละเอียด

อกัปปิยะ คือ เป็นเรื่องของความไม่ควรจะเอาเนื้อสัตว์ไปถวายพระพุทธเจ้า และภิกษุ เป็นบาปสูงสุด

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช ครั้งที่ 68 วันจันทร์ที่ 9 เดือนกันยายน 2562


เวลาบันทึก 22 ตุลาคม 2562 ( 14:13:28 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:06:11 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:36:56 )

อกัปปิยะ

รายละเอียด

อกัปปิยะ คือ  ไม่ควร ไม่สมควรแก่ภิกษุจะบริโภคใช้สอย  คือ ต้องห้ามด้วยพระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุใช้หรือฉัน

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายพ่อครู  รายการวิถีอาริยธรรม วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน 2562


เวลาบันทึก 01 ตุลาคม 2562 ( 17:37:06 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:07:18 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 13:10:32 )

อกัปปิยะ

รายละเอียด

ข้อที่ 5 นี้ทำร้ายพระพุทธเจ้าด้วยการเจตนาให้พระพุทธเจ้าและสาวกติดใจในรสชาติเนื้อสัตว์นี้ ซึ่งเป็น อกัปปิยะ คือสิ่งที่ไม่ควรเลย อย่าเอาเนื้อสัตว์ไปถวายพระพุทธเจ้าเลย ย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก 5 ข้อนี้ชัดที่สุดเลยว่า คุณอย่าไปริอาจแม้จะดำริที่จะไปละเมิดสัตว์ ทำให้เขาตาย เอาออกไปถวายพระพุทธเจ้าและสาวก มีบาป 5 ขั้นเลยนะ หากเอาไปถวาย ฟังธรรมะแล้วเข้าใจให้ลึกซึ้งเข้าใจให้ดีๆ เข้าใจให้สมบูรณ์ครบถ้วน อาตมาเอาหลักฐานยืนยันพระพุทธเจ้าพูดไว้ด้วย ช่วงนี้ยังเป็นเทศกาลกินเจอยู่ วันนี้ล้างท้อง ก็เลยพูดเรื่องนี้ประกอบ เพราะกำลังอยู่ในยุคกาลเทศกาลกินเจ 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม 2563


เวลาบันทึก 20 พฤศจิกายน 2563 ( 09:12:21 )

อกัปปิยะ กับบาปเป็นอันมากในชีวกสูตร 5

รายละเอียด

ชีวกสูตร 5 ประการเขายังไม่เข้าใจเท่าไร แค่เอาอาหารเนื้อสัตว์ไปถวายพระพุทธเจ้าหรือสาวกพระพุทธเจ้าก็เป็นบาปเป็นอันมาก ทั้งๆที่ตนเองไม่ได้ฆ่าสัตว์เอง แต่เอาอาหารเนื้อสัตว์ไปถวายพระพุทธเจ้าหรือสาวก มันเป็นอกัปปิยะ ไม่ควรเลย ป่วยการจะกล่าวถึงคนที่บอกให้ฆ่าสัตว์ไปจับสัตว์มาผูกสัตว์มา ได้กล่าวชื่อสัตว์นั้นๆ เป็นบาปมากอยู่แล้ว จริงๆไม่ต้องไปกล่าวชื่อสัตว์ แค่มีจิตเจตนาจะไปจับมันมา ยังไม่ต้องถึงไปฆ่านะ กล่าวชื่อสัตว์ตัวไหนที่จะไปจับมันมา เริ่มตั้งแต่ตรงนั้นบาปเป็นอันมาก

ที่มา ที่ไป

พ่อ‌ครู‌เทศน์‌ ‌ทำวัตร‌เช้า‌ ‌ส่ง‌ท้าย‌ปี‌เก่า‌ ‌งาน‌ ‌ว‌.‌บบบ‌ ‌เพื่อ‌ฟ้า‌ดิน‌ ‌สวด‌อภิธรรม‌ส่ง‌

ท้าย‌ปี‌เก่า‌ให้‌เข้า‌ถึง‌นิพพาน‌ วันศุกร์ที่ 31 ธันวาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 10 มกราคม 2565 ( 19:08:24 )

อกัปปิยะ คืออะไร

รายละเอียด

ถ้าเข้าใจแตกฉานในการฟังคำสอนพระพุทธเจ้าแล้วจะสะดุ้งโหยง ตายๆๆ เอาอาหารเนื้อสัตว์ไปถวายพระพุทธเจ้า พระสงฆ์ทั้งหลายแหล่มันบาปอย่างที่ข้อที่ 5 นี้เชียวหรือซึ่งเป็น อกัปปิยะ เป็นสิ่งไม่ควรอย่างยิ่งเลย เอาอาหารเนื้อสัตว์ไปถวายพระพุทธเจ้า สาวกพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่ไม่ควรเลย ถ้าเข้าใจแตกฉานในคำสอนคำกล่าวของพระพุทธเจ้าแล้วจะสะดุ้งโหยง ตายๆๆ เราทำอย่างซื่อเลย ปรุงอาหารเนื้อสัตว์อย่างประณีตไปถวายพระพุทธเจ้า พระสาวกพระพุทธเจ้าหน้าตาเฉย นึกว่าจะได้กุศลอานิสงส์สูงส่ง แต่ไม่ประสีประสาอะไรจริงๆเลย อาตมาทำงานมา 50 ปีก็ได้ผลพอสมควร 

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ โสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 33 วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 01 เมษายน 2564 ( 20:15:59 )

อกัปปิยะ หมายถึงอะไร

รายละเอียด

แค่คำว่า อกัปปิยะ มันก็เป็นเรื่องไม่สมควรที่จะเอาอาหารเนื้อสัตว์ไปถวายสาวกพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธเจ้า มันไม่สมควร เป็นการไม่สมควรทำอย่างยิ่ง อกัปปิยะ อย่าว่าแต่ฆ่าสัตว์เลย เนื้อสัตว์ ที่คุณเอาไปปรุงแต่งเป็นอาหารเนื้อสัตว์ชั้นดี เอามาถวายสงฆ์ภิกษุสาวกของพระพุทธเจ้าก็ไม่สมควรแล้ว อกัปปิยะ แล้วยังจะกินเข้าไปอีก ยังไกลไม่รู้กี่โยชน์ เห็นไหม นี่คือรายละเอียดที่อาตมาพยายามอธิบายสู่ฟัง ถ้าไม่เข้าใจอย่างนี้ก็ไปกันใหญ่ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 21 ตอบปัญหาให้พ้นความสุขคือความโง่ วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 24 ธันวาคม 2564 ( 20:51:16 )

อกัปปิยะเป็นของไม่ควรเลย

รายละเอียด

คนที่เอาอาหารเนื้อสัตว์ ใน 5 ข้อนี้ในชีวกสูตร ใครเอาอาหารเนื้อสัตว์ไปถวายเพื่อให้เกิดยินดี ท่านจะยินดีหรือไม่ยินดี หากเป็นพระอรหันต์ก็ไม่ได้ยินดี แต่ไม่ใช่ ก็จะเสพติดไป เป็นของ อกัปปิยะ เป็นของไม่ควรเลย 

เพราะฉะนั้นควรหรือไม่ควรแค่นี้ คุณเอาอาหารเนื้อสัตว์ไปถวายภิกษุสาวกพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธเจ้า มันเป็นความไม่ควรก็แค่นี้เป็นบาปไม่ใช่บุญเป็นอันมากเลย มันเป็นของไม่ควรคิดไม่ควรทำ ควรจะมีปัญญามีความเข้าใจมีปฏิภาณปัญญาว่าอย่าเอาเนื้อสัตว์อาหารเนื้อสัตว์ไปถวายพระพุทธเจ้าหรือไม่ถวายพระ มันเป็นของไม่ควร บาปเป็นอันมาก เอาอาหารเนื้อสัตว์ ไปถวายพระไปถวายพระพุทธเจ้า บาปไม่ใช่บุญเลย เป็นอันมาก เท่านี้ก็เข้าใจกันไม่ได้เห็นไหมคนเราปฏิบัติธรรมพระพุทธเจ้าแค่นี้ก็ชัดแล้ว 

ต้องรู้ว่าศาสนาพุทธไม่ฉันเนื้อสัตว์หากเอาเนื้อสัตว์ไปถวายท่านก็เป็นของไม่ควร อกัปปิยะ แค่นี้ก็ตีพระไตรปิฎกตีพุทธพจน์ไม่แตก ใช่ไหม มันเป็นของไม่ควร เอาอาหารเนื้อสัตว์ไปถวายให้ท่านยินดี นี่แกงมาอย่างดี ผัดมาอย่างดี หายากนะครับ กว่าจะได้มา ให้ท่านยินดีเนื้อสัตว์คุณยิ่งเป็นบาปข้อที่ 5 เลย ไปปลุกปล้ำพระ ปลุกปล้ำพระพุทธเจ้าให้ยินดีในเนื้อสัตว์ จะล่อหลอก จะมอมเมาพระพุทธเจ้าและภิกษุ ให้ยินดีในเนื้อสัตว์ จ้างให้ แม้แต่โพธิรักษ์ก็ไม่แล้ว อย่าเอามาถวายเสียให้ยาก เพราะรู้ทันหมดแล้ว คุณเจตนาเจาะจงที่จะเอามาถวายอย่างไร ก็เมินเสียเถิดอย่าคิดถึง 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ฌานของพุทธต้องเกิดจากจรณะ 15 วิชชา 8 วันพุธที่ 13 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 30 มกราคม 2564 ( 12:25:10 )

อกาลิโก

รายละเอียด

คือ ไม่จำกัด กาละ ไม่ว่ายุคใด สมัยใด หากมีหลักฐานคำสอนพระพุทธเจ้าของจริงอยู่ ก็นำมาปฏิบัติพิสูจน์เป็นจริง เกิดจริง ได้ทุกกาละ ขอให้สัมมาทิฏฐิ สัมมาปฏิบัติเถิด

หนังสืออ้างอิง

 “คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1 หน้า 83


เวลาบันทึก 09 พฤศจิกายน 2562 ( 12:29:01 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 04:01:54 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:37:38 )

อกาลิโก

รายละเอียด

คือ ไม่จำกัดกาละยุคสมัย ว่าเป็นได้แต่ในยุคพระพุทธเจ้าเท่านั้น ยุคนี้ก็ยังเป็นได้ แม้คนยุคนี้จะเห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ จัดจ้านสาหัสปานใด หากปฏิบัติตามทฤษฏีพระพุทธเจ้าก็สามารถ เป็นไปได้ ชนิดที่พิสูจน์ “อกาลิโก” กันได้จริง

หนังสืออ้างอิง

 “คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1 หน้า 58


เวลาบันทึก 08 พฤศจิกายน 2562 ( 15:02:55 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 14:47:46 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 13:11:26 )

อกาลิโก

รายละเอียด

คือ ยุคนี้ กาลนี้ มีมรรคมีผลได้ เป็นพระอาริยะได้ ไม่จำกัดกาลเวลา

หนังสืออ้างอิง

 “สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ” หน้า 98


เวลาบันทึก 25 ตุลาคม 2562 ( 14:52:21 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 14:48:21 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:37:58 )

อกาลิโก

รายละเอียด

1. ไม่จำกัดกาล ไม่ว่าจะเป็นเมื่อไหร่ ปางใด ยุคใด สมัยไหน

2. ชั่ว 

3. ไม่ว่ายุคใด กาละไหน 

4. ไม่จำกัดกาละ ,ทุกเวลากาละยุคสมัย

5. บรรลุผลได้ไม่ว่ายุคไหนๆ ไม่จำกัดกาล

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 4

ทางเอก ภาค 3 หน้า 188

รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 56-169

ค้าบุญคือบาป หน้า 94


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 16:48:25 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 03:25:10 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 13:12:45 )

อกาลิโก โลกียะตามไม่ทันโลกุตระ

รายละเอียด

อกาลิโกแปลว่า ไม่ล้าสมัย แปลง่ายๆ อกาลิโก ทุกกาละ 

ธรรมะพระพุทธเจ้าทันสมัย-ใหม่เสมอ ไม่มีล้าสมัย เพราะอะไร? เพราะว่าธรรมะพระพุทธเจ้านำหน้าไม่เคยมีใครทัน นำหน้าไม่เคยมีใครทัน โลกุตรธรรมของพระพุทธเจ้านั้นไม่มีโลกียะใดที่จะไปขับไล่เดินทางไปทันเลย ตลอดกาลนาน ไม่มี ยุคไหนสมัยไหนเมื่อไหร่ก็ไม่มีทัน โลกียะไม่มีทางเดินทางทัน 

ในโลกุตรธรรมมันมีโลกียะสมบูรณ์แบบครบถ้วน เช่น โลกียะว่าเขาประพฤติดี  ทำดี ไม่ทำชั่ว โลกุตระก็มีเช่นเดียวกัน

ในโลกสมมุติ เช่น ชาติๆหนึ่งเขามีสมมุติในชาติเขาว่าอย่างนี้ดีอย่างนี้ชั่ว แม้แต่กฎหมาย คนทั้งชาติก็ต้องถือกฏเดียวกัน อย่างนี้ดีอย่างนี้ชั่ว เหมือนกันหมดทั้งประเทศ เหมือนกันหมดทั้งลัทธิในชุมชนนั้นๆ เขาก็ยึดถือกันอย่างนั้น 

พระพุทธเจ้าเกิดมานับชาติไม่ถ้วน ไอ้ดีๆชั่วๆอย่างชาติแต่ละชาติ มีในยุคหนึ่งๆ ไม่ถึงพันชาติ ไม่ถึงพันประเทศ แม้เดี๋ยวนี้ก็ไม่ถึงพันชาติพันประเทศ ขณะนี้ในโลกมีประมาณ 200 ประเทศ ใช่ไหม เอาละ ให้ประเทศหนึ่งมี 5 ภาษา ภาษาเขาก็สื่อสภาวะ เพราะฉะนั้นเมื่อเข้าสู่สภาวะ จะภาษาอะไรก็แล้วแต่ ดีมันก็คือดี อาจจะพูดกันคนละภาษา เพราะฉะนั้นถ้าภาษานี้ ชาตินี้ เผ่านี้ เขาใช้ภาษาอย่างนี้ว่าไอ้นี่ดี มันก็แบ่งเป็น 2 นัยยะคือ ดีกับชั่ว เพราะฉะนั้นความหมายดี ไม่ชั่ว มี 2 นัยเสมอ สรุปลงมาที่ เทวะ พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้เทวะสมบูรณ์แบบ จบ ชัดหรือยัง

พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เทวะ 2 สมบูรณ์แบบ เพราะฉะนั้น 2 ของดีและชั่ว จบแล้ว แล้วทีนี้ก็มา 2 ของโลกียะกับโลกุตระ 

อันนี้แหละโลกียะไม่มีความรู้ในโลกุตระ แต่โลกุตระมีความรู้ทั้งโลกียะและโลกุตระ พูดไปแล้วเหมือนไปยกตนข่มโลกียะ แต่ที่พูดนี้ไม่ได้ไปยกตนข่มท่าน แต่เป็นเรื่องของสัจธรรม เป็นเรื่องของสัจจะ-ความจริง มันเป็นเช่นนั้น ก็อธิบายบอกความจริงกันไป 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศนารายการ ปรับทุกข์ ปลุกธรรม พ่อครูเล่าความหลังเมื่อตอนอยู่ในวงการบันเทิง วันจันทร์ที่ 11 กันยายน 2566 แรม 11 ค่ำ เดือน 9 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 24 มกราคม 2567 ( 14:41:09 )

อกิริยทิฏฐิ

รายละเอียด

1. ความเห็นที่ว่า ทำอะไรๆ แล้วก็ถือว่าไม่เป็นอันทำ

2. เห็นว่าทำอะไรก็ไม่เป็นไร 

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 339, 551


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 16:49:14 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 03:27:05 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:38:14 )

อกิริยาทิฏฐิ

รายละเอียด

ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ

หนังสืออ้างอิง

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 73


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 16:50:00 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 03:27:57 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:38:28 )

อกุปปะ

รายละเอียด

ไม่กลับกำเริบ

หนังสืออ้างอิง

อีคิวโลกุตระ หน้า 51 , 59 , 167


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 16:50:39 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 03:28:57 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:38:43 )

อกุปปา

รายละเอียด

คือ ไม่หวั่นไหว ไม่กำเริบเสิบสาน

หนังสืออ้างอิง

 “สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ” หน้า 380


เวลาบันทึก 29 ตุลาคม 2562 ( 12:06:28 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 14:48:48 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 13:13:20 )

อกุศล

รายละเอียด

การกระทำชั่ว

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 470


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 16:51:09 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 03:29:37 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:38:57 )

อกุศลกรรมบถ 10

รายละเอียด

อกุศลกรรมบถ 10 (ทางทำความชั่ว)

1. ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์)

2. อทินนาทาน (ลักทรัพย์)

3. กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิดในกาม)

4. มุสาวาท (พูดเท็จ)

5. ปิสุณาวาจา (พูดส่อเสียด)

6. ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ)

7. สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ)

8. อภิชฌา (โลภอยากได้ของเขา)

9. พยาบาท (คิดปองร้ายผู้อื่น)

10. มิจฉาทิฏฐิ (มีความเห็นผิด)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎก เล่ม10 “ปายาสิราชัญญสูตร”  ข้อ 303

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 07 กรกฎาคม 2562 ( 21:10:17 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 14:49:54 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 13:13:53 )

อกุศลจิต

รายละเอียด

จิตที่เป็นภัยเป็นโทษ

หนังสืออ้างอิง

ยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 270


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 16:51:41 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 03:30:33 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:39:11 )

อกุศลวิบาก

รายละเอียด

วิบากเลว

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 398


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 16:53:23 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 03:31:29 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:39:23 )

อกุศลวิบากพวกพยาบาทเหมือนหมาล่าเนื้อ

รายละเอียด

ละอายในปรมัตถ์ในสัจธรรมของพระพุทธเจ้า ละอาย ในสิ่งที่ควรอาย อย่างนี้คนไม่ควรทำอย่างนี้คนเจริญเป็นอาริยะไม่พึงทำ เช่นฆ่าสัตว์ ไปฆ่ามันทำไมมันเป็นวิบากลึกซึ้ง เป็นวิบากที่จะตามติดไปอีกไม่รู้กี่ชาติ ไม่จบนะ ตามกัน เหมือนหมาไล่เนื้อ อกุศลนี่ มันไล่ทันก็จัดการเรา เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงตายสูญ ปรินิพพานเป็นปริโยสานเลยไม่เหลืออัตภาพแล้วคุณก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะฉะนั้นพวกพยาบาทพวกหมาล่าเนื้ออกุศลติดตามนั้น ไม่ได้หมายความว่ามันไม่ถูกทำลายนะ มันทำลายไม่ได้ กุศลอกุศลทำลายไม่ได้นิรันดร เพราะฉะนั้นศาสนาที่เป็นเทวนิยมมีแต่ดีกับชั่วกุศลอกุศลไม่รู้จักสุขทุกข์ไม่ได้เรียนปรมัตถ์ จึงดับไม่เป็น

ที่มา ที่ไป

เทศน์ทำวัตรเช้าโดยพ่อครู งาน ว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน ครั้งที่ 8 วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 28 มกราคม 2564 ( 17:55:34 )

อกุศลวิ่งตามไม่ทันเหมือนหมาไล่เนื้อ

รายละเอียด

เมื่อคุณทำบาป บาปเป็นของคุณ แต่คุณต้องสร้างกุศลจิต ที่เป็นโลกียกุศล ให้มันนำพาเราเป็น กัมโยนิ นำหน้าอกุศล อกุศลวิ่งตามไม่ทัน เหมือนหมาไล่เนื้อ  เราก็ปิดประตูบาป มีแต่กุศลไปของเราเอง หมาไล่เนื้ออกุศลมันจะตามไม่ทัน โดยสัจจะเพราะเรา หยุดบาปมีแต่กุศลทั้งปวง ผู้ที่หมดกิเลสแล้วหรือผู้ที่เจริญถึงขั้นเป็นโลกุตระ

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 07 พฤศจิกายน 2562 ( 15:10:39 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:08:18 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:39:51 )

อกุศลา ธัมมา

รายละเอียด

1. บาป 

2. สิ่งไม่ดี ส่วนไม่ดี 

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 261

ทางเอก ภาค 3 หน้า 93


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 16:54:07 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 03:33:03 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 13:14:14 )

อกุศลเหตุของโมหะหรืออวิชชา

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นในอวิชชา 8 มี 

1. ไม่รู้..ทุกข์ (ทุกฺเข อญฺญาณํ)

2. ไม่รู้..ทุกขสมุทัย (ทุกฺขสมุทเย อญฺญาณํ) 

3. ไม่รู้..ทุกขนิโรธ (ทุกฺขนิโรเธ อญฺญาณํ)  

4. ไม่รู้..ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (มรรคมีองค์ 8)   

5. ไม่รู้ในส่วนอดีต (ที่ไม่เที่ยง) ปุพพันเต อัญญาณัง 

6. ไม่รู้ในส่วนอนาคต (ที่ไม่เที่ยง) อปรันเต อัญญาณัง 

7. ไม่รู้ทั้งส่วนอดีต-ส่วนอนาคต (ไม่รู้สิ่งที่เที่ยงแท้เท่ากันหมดแล้ว) (ปุพพันตาปรันเต อัญญาณัง) 

8. ไม่รู้ในธรรมทั้งหลาย ที่อาศัยกันเกิดขึ้นเป็นห่วงโซ่แห่ง การเกิดทุกข์ หรือดับทุกข์ ตามหลักปฏิจจสมุปบาท (หรืออิทัปปัจจยตา) 

(พตปฎ. ล.34  ข.691 ว่าด้วย อกุศลเหตุของโมหะ) 

เห็นความต่างของตัวที่ 5 กับ 6 และ 7 ไหม 5 กับ 6 มันยังไม่เที่ยงทั้งคู่ ส่วนอนาคตตัวที่ 7 มันเที่ยง ท่านก็สรุปลงที่ ความไม่รู้หรืออวิชชา ท่านแปลว่า อกุศลเหตุของโมหะ (อวิชชา 8) นี่คือสาเหตุของโมหะ 8 ข้อ 

สรุปลง คุณจะมาเรียนรู้เหล่านี้จบด้วย ปฏิจจสมุปบาทข้อที่ 8 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ เจโตปริยญาณ 16 และ
ปฏิจจสมุปบาทโดยพิสดาร วันพุธที่ 21 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 28 เมษายน 2564 ( 04:48:34 )

อกุสลวิรัติ

รายละเอียด

จะละเว้นที่ชั่ว

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 156


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 16:54:40 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 03:35:47 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:40:05 )

อกุสโล ผัสโส

รายละเอียด

สัมผัสอันเกี่ยวเนื่องกับอกุศลจิต

หนังสืออ้างอิง

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 50


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 16:55:13 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 03:37:10 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:40:22 )

อกแตกตาย

รายละเอียด

คนที่ตายเพราะอกแตกตายมีเยอะ แต่เขาไม่รู้ว่าตายเพราะอกแตกตาย ที่จริงคืออัดอั้นด้วยกิเลสมากตาย แต่เขาไม่รู้จักกัน โดยเฉพาะหมอทางปัจจุบันไม่รู้เรื่องหรอก บางทีคนตายเขาก็บอกว่าหัวใจล้มเหลว คือขาดใจตาย เพราะมันไม่เจอโรคไม่เจอเหตุอื่นเลยก็บอกว่าหัวใจล้มเหลวช็อกตาย ทางจิตวิญญาณมีฤทธิ์แรงเอาเป็นเอาตายได้เลย

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 31 ตุลาคม 2562 ( 04:14:50 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:09:06 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 13:13:20 )

อขณะอสมัยประพฤติพรหมจรรย์ 9

รายละเอียด

แม้มีธรรมอันพระสุคต(พระพุทธเจ้าทรงประกาศไว้ แต่ก็มิใช่ขณะ มิใช่สมัย เพื่อประพฤติพรหมจรรย์ ของบุคคลเหล่านี้ คือ 1. บุคคลผู้เข้าถึงนรก (ภาวะเร่าร้อนใจ) 2. ผู้เข้าถึงกําเนิดสัตว์ดิรัจฉาน (ภาวะมีดมัวโง่เขลา) 3. ผู้เข้าถึงลักษณะแห่งเปรต (ภาวะโลกหิวกระหาย) 4. ผู้เข้าถึงอสุรกาย (ภาวะขลาดกลัว) 5. ผู้เข้าถึงเทพ (ภาวะติดสุข) ที่มีอายุยืน 6. ผู้เกิดในปัจจันติมชนบท (ถิ่นเลื่อนสุดเขตแดน) เป็นพวกชนชาติมิลักขะ (คนป่าเถื่อน) ผู้โง่เขลา ซึ่งไร้คติ (แบบอย่าง)ของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา

7. ผู้เกิดในมัชฌิมชนบท (ถิ่นเจริญในส่วนกลาง)

แต่เขาเป็นคนมิจฉาทิฏฐิ (มีความเห็นผิด) มีความเห็นวิปริตว่า ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญ (พิธีกรรม) ที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวย (พฤติกรรม) ที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล ผลกรรมที่ทําดีหรือทําชั่ว ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี โอปปาติกสัตว์(อาการของจิตใจที่เกิดดับอยู่ในจิต)ไม่มี ไม่มีสมณพราหมณ์ผู้ดําเนินไปดี ผู้ปฏิบัติถูกตรง แล้วทําให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกหน้า ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม

8. ผู้เกิดในมัชฌิมชนบท (ถิ่นที่เจริญ)แต่เป็นคนโง่เชอะซะ เป็นคนใบ้ ไม่สามารถรู้เนื้อความแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้

9. มิได้มีผู้แสดงธรรมอันพระสุคตทรงประกาศไว้ ดังนั้นผู้เกิดในมัชฌิมชนบท (ถิ่นที่เจริญ) แม้เป็นคนมีปัญญา ไม่เซอะซะ ไม่เป็นคนใบ้ สามารถรู้เนื้อความแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้ แต่นี้ก็มิใช่ขณะ มิใช่สมัย เพื่อประพฤติพรหมจรรย์

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 11 “สังคีติสูตร” ข้อ 354


เวลาบันทึก 15 มีนาคม 2565 ( 21:25:22 )

อขณะอสมัยประพฤติพรหมจรรย์ 9     

รายละเอียด

แม้มีธรรมอันพระสุคต(พระพุทธเจ้า)ทรงประกาศไว้  แต่ก็มิใช่ขณะ มิใช่สมัย เพื่อประพฤติพรหมจรรย์ของบุคคลเหล่านี้ คือ

1. บุคคลผู้เข้าถึงนรก (ภาวะเร่าร้อนใจ)

2. ผู้เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน (ภาวะมืดมัวโง่เขลา)

3. ผู้เข้าถึงลักษณะแห่งเปรต (ภาวะโลภหิวกระหาย)

4. ผู้เข้าถึงอสุรกาย (ภาวะขลาดกลัว)

5. ผู้เข้าถึงเทพ(ภาวะติดสุข) ที่มีอายุยืน

6. ผู้เกิดในปัจจันติมชนบท (ถิ่นเถื่อนสุดเขตแดน) เป็นพวกชนชาติมิลักขะ(คนป่าเถื่อน) ผู้โง่เขลา  ซึ่งไร้คติ (แบบอย่าง) ของภิกษุ ภิกษุณี  อุบาสก อุบาสิกา

7. ผู้เกิดในมัชฌิมชนบท(ถิ่นเจริญในส่วนกลาง)  แต่เขาเป็นคนมิจฉาทิฏฐิ(มีความเห็นผิด)  มีความเห็นวิปริตว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล  ยัญ(พิธีกรรม) ที่บูชาแล้วไม่มีผล   สังเวย(พฤติกรรม) ที่ -บวงสรวงแล้วไม่มีผล  ผลกรรมที่ทำดีหรือทำชั่ว ไม่มี   โลกนี้ไม่มี  โลกหน้าไม่มี   มารดาไม่มี  บิดาไม่มี  โอปปาติกสัตว์(อาการของจิตใจที่เกิดดับอยู่ในจิต)ไม่มี  ไม่มีสมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปดี ผู้ปฏิบัติถูกตรง  แล้วทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง  แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม

8. ผู้เกิดในมัชฌิมชนบท (ถิ่นที่เจริญ) แต่เป็นคนโง่เซอะซะ เป็นคนใบ้  ไม่สามารถรู้เนื้อความแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้

9. มิได้มีผู้แสดงธรรมอันพระสุคตทรงประกาศไว้   ดังนั้นผู้เกิดในมัชฌิมชนบท(ถิ่นที่เจริญ)  แม้เป็นคนมีปัญญา ไม่เซอะซะ ไม่เป็นคนใบ้  สามารถรู้เนื้อความแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้   แต่นี้ก็มิใช่ขณะ มิใช่สมัย เพื่อประพฤติพรหมจรรย์

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 11 "สังคีติสูตร" ข้อ 354

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก 


เวลาบันทึก 07 กรกฎาคม 2562 ( 17:15:30 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 14:52:29 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:40:52 )

อคติ 4

รายละเอียด

คือความลำเอียง ความไม่ยุติธรรม

1. ฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะรัก)

2. โทสาคติ (ลำเอียงเพราะชัง)

3. โมหาคติ (ลำเอียงเพราะหลง)

4. ภยาคติ (ลำเอียงเพราะกลัว)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 21  "อคติสูตร"  ข้อ  17

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 20 มิถุนายน 2562 ( 12:30:06 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 14:50:51 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 13:14:38 )

อคติ 4

รายละเอียด

คือความลําเอียง ความไม่ยุติธรรม

1. ฉันทาคติ (ลําเอียงเพราะรัก)

2. โทสาคติ (ลําเอียงเพราะชัง)

3. โมหาคติ (ลําเอียงเพราะหลง)

4. ภยาคติ (ลําเอียงเพราะกลัว)

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 21 “อคติสูตร” ข้อ 17


เวลาบันทึก 13 มีนาคม 2565 ( 12:08:40 )

องค์ 3 ที่เป็นตัวเพิ่ม Coefficient

รายละเอียด

องค์ 3 ที่เป็นตัวเพิ่ม Coefficient คือ วิริยะ สติ ปัญญา เป็นองค์ 3 ที่เป็นตัวเพิ่ม Coefficient มันมีศรัทธาสูงขึ้น เป็นสัทธา สัทธินทรีย์ สัทธาพละ ก็ยังมีหิริ โอตตัปปะ กลัวเลย ปฏิบัติได้มากขึ้นก็เป็นพหูสูต ยิ่งมีความรู้มากขึ้น เป็นผู้รู้ ที่ไม่ใช่ผู้รู้ธรรมดาแต่เป็นผู้รู้ที่สูงขึ้น ก็จะยิ่งมีวิริยะ สติ ปัญญาเพราะฉะนั้นพลังงานจากคุณจะต้องเอามาปฏิบัติเพื่อที่จะทำให้เจริญเป็นพหูสูต ก็คือ ฌาน 1 2 3 4 ในจรณะ 15 ที่เกิดอย่างนี้ได้  เพราะคุณปฏิบัติไม่ผิด 3 อย่าง สำรวมอินทรีย์  โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยคะ ถ้าไม่มี 3 อย่างนี้ ไม่มีศรัทธา  หิริ โอตตัปปะ  พหูสูตไม่เกิด วิริยะ ก็หย่อน สติก็หย่อน ปัญญาก็หย่อน ฌาน ก็ไม่เกิด แต่ฌานเกิดเราปฏิบัติไม่ผิดตามศีลแต่ละข้อแล้วมีอธิศีล  อธิจิต อธิปัญญา  อธิวิมุติ ไปตามลำดับ

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 24 กันยายน 2562 ( 05:46:27 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:10:58 )

องค์ 5 ของอุเบกขาเป็นเช่นไร

รายละเอียด

ถ้าตัวพยัญชนะอุเบกขานี่แหละ ท่านก็อธิบายขยายความว่า คือความบริสุทธิ์ บริสุทธิ์จากกิเลส กิเลสกาม กิเลสอัตตา ไม่มีทั้งสองข้างไม่มีทั้งคู่ อย่างที่หยาบกลางละเอียดก็หมด นี่คือบริสุทธิ์ แล้วยิ่งบริสุทธิ์ยิ่งขึ้นในองค์ 5 ปริสุทธา ปริโยธาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา บริสุทธิ์แล้วบริสุทธิ์อีก บริสุทธิ์มากยิ่งขึ้น ปริโยทาตา  มีเหตุปัจจัยมากระทบสัมผัสจะมีลีลาไหนมาด้วยมุมเหลี่ยมไหนมาด้วยความจัดจ้านแบบไหน มาอีกก็ยังสะอาดตามเดิม  มุทุ ตัวธาตุจิต ยิ่งกว่าอธิบายเป็นสภาวะยากมาก จิตมีสภาวะสอง 1 แกนตั้ง 2 แกนเคลื่อ่อน หรือบวกกับลบ  Static กับ Dynamic อยู่ในหนึ่งเดียวกันมี 2 อันนี้อยู่ แข็งแรงเด็ดเดี่ยวเก่งทั้งสองอันเลย ขยายความ 2 อย่างก็คือ 1.Dynamic  2. Static  พลังงานเสถียร แน่วแน่ แนบแน่น ปักมั่น ที่ขยายความในสังกัปปะ7  อัปปนา พยัปปนา เจตโสอภินิโรปนา ฝ่าย Dynamic ก็เป็น ตักกะ วิตักกะ สังกัปปะ เป็นองค์รวมของสามเส้า ล้างกิเลส ทำงานล้างกิเลส ล้างได้สั่งสมตกผลึกเป็นแกนตั้ง เป็นแกนตกผลึกเป็นแกนสมาธิ เป็นอัปปนา พยัปปนา เจตโสอภินิโรปนา เป็นคู่คุณสมบัติ ของมุทุภูตธาตุ เหมือนกับลูกข่างที่ยิ่งหมุนเร็วเท่าไหร่จะยิ่งนิ่ง ก็ยกตัวอย่างได้แค่นี้ แกนมุทุ ยิ่งดีเท่าไหร่ กัมมัญญา ยิ่งมาทำกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมอะไรอีก ก็ยิ่งเก่งขึ้นดีขึ้นถูกต้องขึ้น มีทั้งปัญญา มีทั้งศรัทธาเจโต ที่จัดสัดส่วน สัปปุริสธรรม 7 มหาปเทส4 ก็ยิ่งดีขึ้น ท่านจึงแปลกัมมัญญาว่า การงานอันเหมาะควร จะทำอะไรก็เป็นกรรมที่เหมาะควรดี ไม่ผิดพลาดไม่บกพร่อง ได้สมดุล ได้สัดส่วนตามเหตุการณ์กาละฐานะ ทุกกรรมของปัจจุบันทำได้ดี ยิ่งทำก็ยิ่งดี ปริสุทธา ปริโยธาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา ยิ่งปภัสสรา ยิ่งสะอาดบริสุทธิ์ ยิ่งผ่องแผ้ว ผุดผ่อง สะอาดสะอ้านมากยิ่งขึ้น ยิ่งกว่าเพชรที่ขัดแล้วขัดอีก ยิ่งใส ไม่มีอะไรจะหมองเลย เป็นคุณสมบัติที่อาตมาพยายามอธิบายตามสภาวะที่ตัวเองมีความรู้ ซึ่งพวกเราก็มีคุณสมบัติพวกนี้มากน้อยก็แล้วแต่ เริ่มต้นไป เตาะแตะไป แล้วจะยิ่งเจริญขึ้นเป็นของจริงมากยิ่งขึ้น 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 23 กันยายน 2563 ( 12:33:13 )

องค์ 5 แห่งธรรมกถึก

รายละเอียด

องค์ 5 แห่งธรรมกถึก (ธรรมของผู้แสดงธรรม)
1. แสดงธรรมไปโดยลำดับ (อนุปุพพิกถัง)  
2. แสดงอ้างเหตุผล (ปริยายทัสสาวี)
3. แสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู  (อนุทยตัง  ปฏิจจะ)
4.  เป็นผู้ไม่เพ่งอามิสแสดงธรรม  (น  อามิสันตโร)
5.  ไม่แสดงให้กระทบตน(ทำลายตน)  และไม่กระทบผู้อื่น (อนุปหัจจะ)   
 

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎก เล่ม 22  ข้อ 159


เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2562 ( 14:55:01 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:12:21 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:41:43 )

องค์กรทำอาวุธสร้างขึ้นมาเพื่อฆ่าคน คุณอย่าไปสร้างขึ้นมาเลย

รายละเอียด

ตอนนี้ บริษัทโบอิ้ง หุ้นตก ก็ยังไม่ได้ข่าวว่าบริษัทอาวุธเขาจะหยุดหรือยัง เขาก็เป็นหนึ่ง โรงงานองค์กรที่ทำความคิดทางวิทยาการความก้าวหน้านี้คือนาซ่า เขาก็เป็นหนึ่งเหมือนกัน ดูซิว่าองค์กรที่ทำอาวุธกับองค์กร NASA ใครจะหยุดก่อนกัน ใครจะลดบทบาทก่อนกัน มันต่างกัน องค์กรทำอาวุธกับองค์กรนาซ่า ควรจะหยุดองค์กรไหนก่อน …อาวุธ คนจะตอบทันทีว่าอาวุธ มันก็ชัดเจน องค์กร NASA ยังมีอะไรดีๆอยู่ยังมีการพัฒนาวิศวกรรมทางความรู้อะไรอยู่เป็นประโยชน์อยู่บ้าง แต่อาวุธนั้นรู้กันดีแล้วสำหรับผู้รู้อย่างพวกเรา คุณอย่าไปสร้างขึ้นมาเลย อาวุธไม่ได้สร้างขึ้นมาฆ่าหมา ปืนก็ไม่สร้างขึ้นมาเพื่อยิงหมา  มันสร้างขึ้นมาเพื่อฆ่าคน เถียงมาสิ มันไม่ได้สร้างอาวุธเพื่อยิงหมายิงช้าง จ้างมันก็ไม่คุ้มหรอก มันแฝง จะยิงช้างก็ยิงได้ แต่เจตนาจริงๆคือสร้างมาเพื่อฆ่าคนยิงคน มันอำมหิตหรือไม่ จะไปฆ่าช้างฆ่าแมวฆ่าหมาก็อีกเรื่องหนึ่ง ทำไมไม่ฆ่า covid บ้างล่ะ เก่งจริง ยิงโควิดให้ตายสิ อาวุธคุณ ถ้าโรงงานอาวุธอเมริกา สร้างอาวุธขึ้นมาฆ่า covid ได้ รับรองไปลิ่วเลย นี่บอกใบ้ให้นะ รับรองรวย จะนำหน้าระบบทุนนิยมเลย ใครสร้างขึ้นมาได้ตอนนี้รวยเละเลยตอนนี้ รวยยิ่งกว่าโรงปุ๋ยพลังชีวิตเลย เราแจกคนละ 10 กระสอบคนก็เลยมากันตรึมเลย บางเจ้าบอกว่า มีคนฝากมา 3 เจ้า ก็เอาไป 30 กระสอบ จริงหรือเปล่าเช็คกันได้จริงหรือเปล่า ก็ไม่รู้นะ เขาจะขี้โกงก็เป็นบาปของเขา

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน 2563


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 16:12:25 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:13:20 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 13:15:21 )

องค์ของปาณาติบาต 5

รายละเอียด

ลักษณะของการทำผิดศีล ข้อ 1 การฆ่าสัตว์ คือ

1. เป็นสัตว์มีชีวิต

2. รู้ว่าสัตว์มีชีวิต

3. มีจิตคิดฆ่า

4. มีความพยายามฆ่า

5. สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น

ที่มา ที่ไป

อรรถกถาแปลเล่ม  75  "จิตตุปปาทกัณฑ์"  หน้า  287

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก 


เวลาบันทึก 24 มิถุนายน 2562 ( 23:13:14 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 14:53:02 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:42:01 )

องค์ของปาณาติบาต 5

รายละเอียด

ลักษณะของการทําผิดศีลข้อ 1 การฆ่าสัตว์ คือ

1. เป็นสัตว์มีชีวิต (ปาโณ)

2. รู้ว่าสัตว์มีชีวิต (ปาณสัญญัตา)

3. มีจิตคิดฆ่า (วธกจิตตัง)

4. มีความพยายามฆ่า (อุปักกโม)

5. สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น(เตน มรณัง)

หนังสืออ้างอิง


ธรรมพุทธสุดลึก,อรรถกถาแปลเล่ม 75 “จิตตุปปาทกัณฑ์” หน้า 287


เวลาบันทึก 13 มีนาคม 2565 ( 20:48:09 )

องค์ความรู้ของประเทศไทยในเรื่องศาสนาพุทธผิดเพี้ยน

รายละเอียด

สิ่งที่เกิดในสังคมตอนนี้เป็น status quo สภาพจริงก็ได้วิจัยวิจารณ์ประเทศชาติสังคมไทยไป ใครจะถือสาหาว่าปากจัดก็แล้วแต่ อาตมาก็ต้องว่า เพราะอาตมาเกิดมาก็ต้องว่า เกิดมาชาตินี้อาตมาจำเป็นต้องทำงานนี้ 12 ปีตั้งแต่พ.ศ. 2513 วันที่ 7 พฤศจิกายน บวช วันนี้วันที่ 7 พฤศจิกายน 7 พฤศจิกายน 2513 มาถึง 7 พฤศจิกายน 2525 ก็เป็นหนึ่งนักษัตร 13 ถึง 25 พระจำได้ประมาณพ.ศ 24-25 มีคนๆหนึ่ง ชื่อพันตำรวจตรีอนันต์ เสนาขันธ์ ตีชาวอโศก เอาเรื่องของศาสนาตีหนัก ตีออกหนังสือว่า ศาสดามหาภัย ด่าแหลกเลย ทำตัวเป็นผู้รู้ทางศาสนาดี เข้าใจศาสนาดี นั่งหลับตา แล้วก็ปฏิบัติแบบที่ส่วนใหญ่ที่ความรู้องค์ความรู้ของศาสนาพุทธในประเทศไทยเข้าใจกัน อาตมาขอยืนยันว่าองค์ความรู้ของประเทศไทยในเรื่องศาสนาพุทธ ส่วนใหญ่ขณะนี้ ผิดเพี้ยนตกกระป๋องไปแล้วจากศาสนาพุทธ พูดตรงๆอย่างนี้

ที่มา ที่ไป

ทำวัตรเช้า วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน 2561


เวลาบันทึก 30 มกราคม 2564 ( 11:50:25 )

องค์คุณ 5 ของอุเบกขา

รายละเอียด

องค์คุณ 5 ของอุเบกขา  คือ  จิตสะอาดบริสุทธิ์แม้กระทบกระแทกอย่างไรก็อุเบกขา คนหมดกิเลสแล้วก็หมดสุขหมดทุกข์แล้ว  ทำให้อย่างเร็วไวปรับได้ทั้งเจโตและปัญญาควบคุมกรรมได้ดี 

1. ปริสุทธา  (บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสนิวรณ์ 5) 
2. ปริโยทาตา (ผุดผ่องขาวรอบแข็งแรงแม้ผัสสะกระแทก) 
3. มุทุ  (รู้แววไว อ่อนง่ายต่อการดัดปรับปรุงให้เจริญ) 
4. กัมมัญญา   (สละสลวยควรแก่การงาน ไร้อคติ)   
5. ปภัสสรา   (มีผัสสะอยู่แต่จิตก็ผ่องแผ้วแจ่มใสถาวรอยู่)  
 

ที่มา ที่ไป

ธาตุวิภังคสูตร  พระไตรปิฎก เล่ม 14   ข้อ 690

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2562 ( 14:53:33 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:14:30 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:42:30 )

องค์คุณ 5 ของอุเบกขาเป็นเช่นไร

รายละเอียด

อุเบกขา คือผลของจิต จิตที่ได้ปฏิบัติธรรมบริสุทธิ์ อุเบกขามีองค์คุณ 5 ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา ในพระไตรปิฎก ล.14 ข้อ 690  จิตจะมีความบริสุทธิ์และบริสุทธิ์แข็งแรง ปริโยทาตา บริสุทธิ์อยู่เสมอ จะมีการกระทบกระแทกกระเทือนสัมพันธ์อยู่กับสิ่งที่เป็นเหตุให้เกิดกิเลส ลาภยศสรรเสริญโลกียสุข ก็ไม่เกิดกิเลส จิตใจก็คงที่ ขาวผ่องผุดผ่อง ประภัสสรอยู่ ขาวรอบแข็งแรง แม้ว่าจะมีผัสสะกระแทกกระทุ้งอย่างไรก็แข็งแรงอยู่ มุทุ แปลคุณสมบัติของจิต มุทุแปลว่าอ่อน แต่คุณสมบัติเรียกจิตมุทุธาตุ คือจิตแคล่วคล่อง จิตเป็นฌานวิมุติยิ่งคล่องแคล่วเร็วไวปรับง่าย ในเชิงปัญญาก็รู้ได้เร็วไว ในเชิงเจโตก็ดัดปรับได้เร็ว แข็งแรงทำได้ไว ทั้งเจโตและปัญญา คือมุทุธาตุ กัมมัญญา เมื่อมีคุณสมบัติ 3 อย่างนี้ ทำกรรมการงานอะไรจึงประกอบกันด้วย อัญญา อัญญาคือปัญญา โลกุตระ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันจันทร์ที่ 15 มกราคม 2561


เวลาบันทึก 21 กุมภาพันธ์ 2564 ( 14:32:04 )

องค์คุณของพระโสดาบัน 8

รายละเอียด

เพราะอบายภูมิ 4  สิ้นแล้ว   หมดภัยเวร 5 (คือถือศีล 5 ได้บริสุทธิ์)  อาริยสาวกจึงพยากรณ์ตัวเองเป็นพระโสดาบันคือ

- ส่วนที่ดับไปจากจิต

1. ขีณนิรยะ(มีนรกสิ้นแล้ว, ปิดนรก ดับความเร่าร้อนได้)

2. ขีณติรัจฉานโยนิ(กำเนิดดิรัจฉานสิ้นแล้ว สิ้นจากความโง่ที่ขวางเจริญ)

3. ขีณปิตติวิสยะ(สิ้นจากวิสัยความอยากอย่างเปรต)

4. ขีณาปายทุคติวินิปาตะ(สิ้นจากอบาย ทุคติ วินิบาต)

- ส่วนที่เกิดทางจิต

5. โสตาปันนะ(เข้าสู่กระแสโลกใหม่คือโลกุตระ)   

6. อวินิปาตธัมโม(ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา)

7. นิยตะ(เป็นผู้เที่ยงแท้แน่นอนสู่มรรคผลที่สูงขึ้น)

8. สัมโพธิปรายนะ(มุ่งตรัสรู้-จะตรัสรู้ในภายหน้า)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 19  “คิญชกาวสถสูตรที่ 2 “ ว่าด้วย  ธรรมปริยายชื่อธรรมาทาส ข้อ  1475  และ “เวรภัยสูตร” ข้อ 1574

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก 


เวลาบันทึก 07 กรกฎาคม 2562 ( 16:55:09 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 14:58:13 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 13:17:29 )

องค์คุณของพระโสดาบัน 8

รายละเอียด

เพราะอบายภูมิ 4 สิ้นแล้วหมดภัยเวร 5 (คือถือศีล 5 ได้บริสุทธิ์) อาริยสาวกจึงพยากรณ์ตัวเองเป็นพระโสดาบัน คือ

1. มีนรกสิ้นแล้ว (ขีณนิรยะ)

2. กําเนิดดิรัจฉานสิ้นแล้ว (ขณติรัจฉานโยนิ)

3. ปิตติวิสัยหรือเปรตสิ้นแล้ว (ขีณปิตติวิสยะ)

4. อบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว(ขีณาปายทุคติวินิปาตะ)

5. เข้าถึงกระแสโลกุตรธรรม (โสตาปันนะ)

6. ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา (อวินิปาตธัมโม)

7. เป็นผู้เที่ยง (นิยตะ)

8. จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า (สัมโพธิปรายนะ)

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 19 เวรภัยสูตร” ข้อ 1574


เวลาบันทึก 15 มีนาคม 2565 ( 20:21:08 )

องค์คุณส่วนดับและส่วนเกิดของพระโสดาบัน

รายละเอียด

ก.) ส่วนที่สิ้นเสื่อมไปจากจิต   4 ส่วน 
   1. ขีณนิรยะ (สิ้นจากนรก, ปิดนรก ดับความเร่าร้อนได้)  
   2. ขีณปิตติวิสยะ (สิ้นจากวิสัยความอยากอย่างเปรต)  
   3. ขีณติรัจฉานโยนิ (สิ้นจากความโง่ที่พาขวางเจริญ) 
   4. ขีณาปายทุคติวินิปาตะ (สิ้นจากอบาย ทุคติ วินิบาต) 
ข.) ส่วนที่เกิดทางจิต (โอปปาติกโยนิ)  4 ส่วน
   5. โสตาปันนะ (เข้าสู่กระแสโลกใหม่คือโลกุตระ) 
   6. อวินิปาตธัมโม (ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา) 
   7. นิยตะ (เที่ยงแท้แน่นอนสู่มรรคผลที่สูงขึ้น) 
   8. สัมโพธิปรายนะ (มุ่งตรัสรู้ในภายหน้า)
   เราจักเป็นผู้ไม่ถอยหลัง  จักเป็นผู้มีพรหมจรรย์เป็นที่ไปในเบื้องหน้าฯ   อนิวตฺติ  ภวิสฺสามิ  พฺรหฺมจริยปรายโนติ ฯ  
 

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฏก เล่ม 19  ข้อ 1475, พระไตรปิฏก เล่ม 12  ข้อ 478

ธรรมาธิบายจากพ่อครู รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2562 ( 11:01:48 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:16:26 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:42:50 )

องค์คุณอุเบกขา 5

รายละเอียด

คือ สภาวะจิตวิญญาณบริสุทธิ์ไร้กิเลส (นิวรณ์ 5)

1. ปริสุทธา (จิตบริสุทธิ์หมดจด)

2. ปริโยทาตา (จิตสะอาดผุดผ่องแม้สัมผัสอยู่)

3. มุทุ (จิตหัวอ่อนดัดง่ายแแววไว)

4.  กัมมัญญา (จิตควรแก่การงาน)

5. ปภัสสรา (จิตผ่องใสแวววาว)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม  14 "ธาตุวิภังคสูตร"  ข้อ  690

หนังสืออ้างอิง

พุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 25 มิถุนายน 2562 ( 20:44:10 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 14:59:38 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:43:05 )

องค์คุณอุเบกขา 5

รายละเอียด

คือสภาวะจิตวิญญาณบริสุทธิ์ไร้กิเลส (นิวรณ์ 5)

1. ปริสุทธา (จิตบริสุทธิ์หมดจด)

2. ปริโยทาตา (จิตสะอาดผุดผ่องแม้สัมผัสอยู่)

3. มท (จิตหัวอ่อนดัดง่ายแววไว)

4. กัมมัญญา (จิตควรแก่การงาน)

5. ปภัสสรา (จิตผ่องใสแวววาว)

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 14 “ธาตุวิภังคสูตร” ข้อ 690


เวลาบันทึก 13 มีนาคม 2565 ( 20:51:26 )

องค์คุณอุเบกขาเจตสิก 5

รายละเอียด

คือสภาวะจิตวิญญาณบริสุทธิ์ ไร้กิเลสนิวรณ์ 5 จนมีฐานจิตปริสุทธา (จิตบริสุทธิ์หมดจด) ปริโยทาตา (จิตสะอาดผุดผ่อง) มุทุ (จิตหัวอ่อนดัดง่าย) กัมมัญญา (จิตควรแก่การงาน) ประภัสสรา (จิตผ่องใสแวววาว)

หนังสืออ้างอิง

“สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ” หน้า 205


เวลาบันทึก 27 ตุลาคม 2562 ( 12:27:09 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 15:02:02 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 19:48:57 )

องค์ธรรม 5 ของอุเบกขา

รายละเอียด

ปริสุทธา บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสแล้วบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น แล้วจิตใจจะมีสภาพสองสภาพเป็นสภาพที่ตั้งมั่นและเคลื่อนรอบเร็วไว มุทุ แล้วจิตที่มีธาตุเก่ง พวกนี้จะทำการงานในโลกได้ดี มีแต่ประโยชน์คุณค่าไม่เป็นภัยไม่เป็นโทษอะไรเลย กัมมัญญา แล้วทำกรรมการงานทุกอย่างในเหตุปัจจัยในแต่ละขณะ และองค์ประกอบแต่ละหมวดแต่ละคราวแต่ละครั้ง อย่างพอเหมาะพอดีพอเหมาะสม เรียกว่า กัมมัญญา จะทำงานจะเป็นอย่างไรตลอดไป จิตใจก็ไม่มีเศร้าหมองไม่มีหม่นหมองไม่มีตกต่ำไม่มีเสื่อมเสีย มีแต่เจริญผ่องใสสะอาด สุขสำราญเบิกบานใจประภัสสรตลอดกาล  

เอาละเด็ก 8 ขวบฟังดีๆ จะได้เท่าไหร่ก็เอาเท่านั้นไม่เป็นไรเพื่อผู้ใหญ่เพื่อผู้ที่ใส่ใจสนใจรับไป 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์รายการ โสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 22 วันจันทร์ที่ 4 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 28 มกราคม 2564 ( 20:45:19 )

องค์ธรรม 5 ประการ อนุเคราะห์แล้วให้เกิด สัมมาทิฏฐิ

รายละเอียด

1.ศีลอนุเคราะห์

2.สุตะอนุเคราะห์

3.สากัจฉาอนุเคราะห์

4.สมถะอนุเคราะห์

5.วิปัสสนาอนุเคราะห์

หนังสืออ้างอิง

พระไตรปิฎก เล่ม 12 ข้อที่ 496-497 มหาเวทัลลสูตร


เวลาบันทึก 24 พฤศจิกายน 2562 ( 07:20:10 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 15:03:17 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:43:36 )

องค์ธรรม 5 ประการของอุเบกขา

รายละเอียด

5 ประการ อุเบกขานี้ มันมีกรุ๊ปปิ้งอยู่ในพระสูตรนี้ ที่ท่านอธิบายไว้มี 5 คำด้วยพยัญชนะ ซึ่งจะมีองค์ธรรมถึง 5 ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา 

1. ปริสุทธา (บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสนิวรณ์ 5)

2. ปริโยทาตา (ผุดผ่องขาวรอบแข็งแรงแม้ผัสสะกระแทก) 

3. มุทุ (รู้แววไว อ่อน-ง่ายต่อการดัดปรับปรุงให้เจริญ) 

4. กัมมัญญา (สละสลวยควรแก่การงาน ไร้อคติ)  

5. ปภัสสรา (จิตผุดผ่องแจ่มใสถาวรอยู่ แม้มีผัสสะ)

(ธาตุวิภังคสูตร  พตปฎ. เล่ม 15   ข้อ 690)

เขาก็แปลเป็นไทยในพระไตรปิฎกว่า บริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อน ควรแก่การงาน ผ่องแผ้ว อาตมาตั้งข้อสังเกตว่า ผุดผ่องกับผ่องแผ้ว อันไหนแจ๋วกว่ากัน 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาเอกีภาวะประชาธิปไตยโลกุตระ วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 23 กุมภาพันธ์ 2564 ( 13:32:50 )

องค์ธรรม 5 อุเบกขา

รายละเอียด

มีองค์ธรรม 5 อุเบกขา เวทนากลาง สะอาด ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ ยิ่งปฏิบัติก็เป็นจิตที่ยิ่งคล่องแคล่ว ฌาน หรือสมาธิ จิตที่บรรลุของพระพุทธเจ้านั้นคล่องแคล่วว่องไวปราดเปรียว มุทุภูตธาตุ ซึ่งทำการงานต่างๆ เป็น กายปาคุญญตา แคล่วคล่องว่องไวปราดเปรียว ถึงที่ทำงานได้ถูกต้องเหมาะสมดีลงตัว กัมมัญญุตา จิตก็ปภัสสรตลอดเวลา อาตมาอธิบายซ้ำซากอยู่อย่างนี้ แม้องค์ธรรม 5 ของอุเบกขาเนี่ย น่าเบื่อไหม? หักมุมนั้นมุมนี้มาให้ดู จนไม่รู้กี่ร้อยกี่พันเหลี่ยมมุมแล้ว

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 16 กุมภาพันธ์ 2563 ( 09:11:13 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:17:31 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 13:17:50 )

องค์ธรรม 5 เป็นความตรัสรู้ด้วยปัญญาของพระพุทธเจ้า

รายละเอียด

ความตรัสรู้ด้วยปัญญาของพระพุทธเจ้าซึ่งมีองค์ธรรม 5 ยืนยัน จักษุ ปัญญา ญาณ วิชชา อาโลก(แสงสว่าง) โลกจะต้องเปิดมีพระอาทิตย์มีแสงสว่างมา คุณต้องมีตา มีจักษุ มีหูเปิดรับเสียง มีจมูกเปิดรับกลิ่น มีลิ้นเปิดรับรส นัยละเอียดอีก ลิ้นต่างกันกับเสียงต่างกันกับตาอย่างไรก็มีนัย มีพยัญชนะบาลีอีกเยอะ อาตมาไม่ได้ใส่ใจนัก มันมาก อธิบายให้เข้าใจสภาวะก่อน มีสภาวะแล้วเอาป้ายยาเหล่านี้มาปิด ก็จะไม่ยาก เพราะฉะนั้นผู้ที่ตรัสรู้จะบรรลุธรรม โดยไม่มีดวงตาไม่มีจักษุไม่มีหูรับเสียงไม่มีจมูกรับกลิ่นลิ้นไม่รับรส โผฏฐัพพะภายนอก แล้วก็ต้องตื่นๆไม่ใช่ไปหลับตาไม่รับรู้ ปิดหูไม่รับเสียงไม่รับรสไม่มีการสัมผัสและตรัสรู้เลยไม่มี ศาสนาพุทธไม่มีแบบนั้น อาตมาถึงพยายามพูดอย่างไม่ไว้หน้าตอนนี้ ตีทิ้งเลยนั่งหลับตา ปิดประตูตรัสรู้ศาสนาพุทธ อาตมาพูดได้แต่ตอนพระพุทธเจ้านั้นท่านพูดอย่างนี้ไม่ได้ เดี๋ยวไม่มีใครมาศึกษา ท่านจึงค่อยประนีประนอม ของอาตมาพระพุทธเจ้าท่านเปิดทางให้แล้วแบ่งแยกเดียรถีย์กับพุทธแล้ว สรุป  จรณะ 15 วิชชา 8 เป็นของที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้โดยชอบทุกพระองค์เพราะฉะนั้นเราก็จะได้มาต่อกันตรงนี้ตรง วิชชา จรณะ ให้กระจะกระจ่าง

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน 2563


เวลาบันทึก 28 เมษายน 2563 ( 13:17:32 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:18:08 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:44:19 )

องค์ธรรม 6

รายละเอียด

คำว่า "ฉลาด" จึงต้องหมายถึง "ความรู้" ที่มี "กระบวนทัศน์" (paradigm) "สัมมาทิฏฐิ" ก่อน แล้วจึงปฏิบัติตาม "กระบวนการ" (process) ที่ประกอบด้วย "องค์ธรรม 6" อันได้แก่ "ปัญญา-ปัญญินทรีย์-ปัญญาผล-ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์-สัมมาทิฏฐิ-สัมมาอาริยมรรคองค์ 8" ถึงจะเป็น "ปัญญา" ถูกต้องของพุทธ

หนังสืออ้างอิง

คนจะมีธรรมะได้อย่างไร ? หน้า 35


เวลาบันทึก 11 พฤศจิกายน 2562 ( 17:19:00 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 15:04:53 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 19:50:12 )

องค์ประกอบ ดิน น้ำลม ไฟ

รายละเอียด

นัยลึกสิ ในโลกจะมีอะไรเหนือกว่าฟ้าดิน ก็รวมไว้หมด ในฟ้าดินก็มีมนุษยชาติด้วย ทั้งดินน้ำลมไฟ ทั้งสัตว์ ต้นไม้ พืชพันธุ์ธัญญาหาร ทั้งสัตว์มนุษย์

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช ครั้งที่ 85


เวลาบันทึก 19 มกราคม 2563 ( 15:43:23 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:18:44 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 13:18:45 )

องค์ประกอบของประชาธิปไตย

รายละเอียด

1.อิสระ 2.ไร้อัตตาหมดอัตตา 3.จิตวิญญาณ นี่คือสามเส้า กลุ่มหนึ่ง อีกกลุ่มหนึ่งคือกษัตริย์ ประชาชน และจิตวิญญาณ ประชาธิปไตยต้องมีจิตวิญญาณ มีพระมหากษัตริย์ จึงเป็นประชาธิปไตย 2 ขา ถ้าไม่มีพระมหากษัตริย์ก็เป็นประชาธิปไตยขาเดียว ประเทศอังกฤษเป็นผู้ขานเรียกประชาธิปไตยกำหนดอันนี้ขึ้นมาเป็นประเทศแรก ที่เรียกว่าประชาธิปไตย ก็เป็นประชาธิปไตย 2 ขา อเมริกาทำอวดดีเอาไปจากอังกฤษ จริงๆแล้วเขาแยกมาจากอังกฤษ เอาไปเป็นประชาธิปไตยขาเดียวทุกวันนี้ขาเกมากแล้ว อีกหน่อยก็หมด อย่านึกว่าเก่งเหมือน สว.ลัดดานะสว.ลัดดา เป็น สว.ของอเมริกา ใช้ขาเหล็กทั้งคู่เลย ลัดดา แทมมี่ ดักเวิร์ธ เขาเป็นสมาชิกวุฒิสภาของอเมริกานะ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 3 ตุลาคม 2561


เวลาบันทึก 29 ธันวาคม 2563 ( 11:40:18 )

องค์ประกอบของปาณาติบาต

รายละเอียด

องค์ประกอบของปาณาติบาต คือองค์ประกอบการฆ่าสัตว์ที่ครบองค์ประกอบของการฆ่า 5 ประการ

   1.  ปาโณ สัตว์มีชีวิต

   2.  ปาณสญญิตา  รู้ว่าสัตว์มีชีวิต

   3.  วธกจิตฺตํ  จิตคิดจะฆ่า

   4.  อุปกฺกโม  พยายามที่จะฆ่า

   5.  เตน มรณํ  สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น

ใครที่คิดว่าเนื้อสัตว์เป็นสิ่งอันควรเขาก็กินเป็นเรื่องของเขา  ของเราเองกินพืชพันธุ์ธัญญาหารก็เพียงพอแล้ว

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายพ่อครู  รายการวิถีอาริยธรรม วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน 2562


เวลาบันทึก 01 ตุลาคม 2562 ( 17:38:33 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:19:44 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:44:50 )

องค์ประกอบของภาษาที่มีมาใช้บัญญัติ

รายละเอียด

เรื่องของภาษา  บอกให้เอาไปปฏิบัติ เช่น จรณะ 15 มีข้อบัญญัติกำหนดเอาไว้อย่างนี้ แล้วก็ทำตามปฏิบัติในหลักปฏิบัติ  3 ข้อที่ไม่ผิด  คือจะต้องสัมผสาทวารทั้ง 6  เช่น ศีลข้อ 1  ก็ต้องสัมผัสกับสัตว์ไม่ใช่หนีปลีกวิเวก ออกห่าง หลีกเร้นออกกระเด็นออกไปไกล สัตว์ก็คือคนนั่นแหละ แต่หนีจากคนไปอยู่กับสัตว์  คิดถึงสัตว์คนนี่แหละมันมีหลากหลาย และสัตว์จริงๆ ก็คือแปลว่า ผู้ข้อง   ข้องอยู่กับสิ่งใดที่ไม่ได้ลดละ ไม่ได้ปล่อยวาง  ไม่มีอิสระ มันก็ไม่จบ

ที่มา ที่ไป

รายการทำวัตรเช้า งานมหาปวารณา ครั้งที่ 37 บ้านราช วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 28 พฤศจิกายน 2562 ( 12:15:50 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:20:59 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:45:28 )

องค์ประกอบของสัมมาสมาธิมีอะไรบ้าง

รายละเอียด

หลวงปู่เอามาจากพระไตรปิฎก จากพระพุทธเจ้า สัมมาสมาธินั้น องค์ประกอบ (ปริขาโร)ที่ทำให้เกิดสัมมาสมาธิคือมรรค 7 องค์ แล้วตัวที่ 8 คือสัมมาสมาธิ 

ศาสนาพุทธต้องปฏิบัติมรรค 7 องค์คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

ไม่ใช่ไปนั่งหลับตาสะกดจิต อย่างนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ใช่ศาสนาพุทธ เป็นเรื่องเข้าใจผิดกัน ถ้าหากประเทศไทยมาปฏิบัติสมาธิแบบที่ว่านี้ จะเจริญขึ้นทันที

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ ตอบปัญหาการทำใจในใจให้ถึงแดนเกิด วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน 2561 ที่ บวร ราชธานีอโศก

สื่อธรรมะพ่อครู(ศีล สมาธิ ปัญญา) ตอน ทำไมไม่อยากให้ลูกมีแฟน


เวลาบันทึก 28 กุมภาพันธ์ 2564 ( 16:17:40 )

องค์ประกอบทางจิตวิญญาณ

รายละเอียด

องค์ประกอบทางจิตวิญญาณ  คือ ศึกษาทางจิตวิญญาณที่มีสภาพกรรมวิบาก  มีการสืบทอดของกรรมของวิบากต่างๆ  มายาวไกลจึงจะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินไม่ใช่ว่าใครก็เป็นได้

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 17 กันยายน 2562 ( 14:57:04 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:21:31 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 13:20:25 )

องค์ประกอบเรียรรู้นามรูป

รายละเอียด

อาตมาก็จึงมีกำลังใจทำงานต่อ แค่อาการลิงคนิมิตอุเทส เป็นองค์ประกอบในการเรียนรู้นามรูป จะต้องมีการรู้ อาการลิงคนิมิตอุเทส จะอธิบายในพระไตรปิฎกเล่ม 10 อนุโมทนาสาธุติดตามให้ดีและปฏิบัติ ไม่อย่างนั้นจะฟังเพียงเผินๆไม่ปฏิบัติจะกลายเป็นวิปัสนูปกิเลสไป

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช ธรรมะคือเครื่องถ่วงดุลยุคทุนนิยมเคออส วันพุธที่ 11 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 18 ธันวาคม 2562 ( 14:23:15 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:24:40 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:45:57 )

องค์ประชุมธรรม 3 อย่าง เป็นผัสสะ

รายละเอียด

ให้รู้อยู่ เห็นอยู่ โดยความเป็นของไม่เที่ยง

โคจรรูป
รูปลักษณ์ลีลา

รูปของกลิ่น

รูปแห่งเสียง

รูปแห่งรส

รูปแห่งสัมผัส

รูปในห้วงคำนึง

ปสาทรูป

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

รู้โดยวิญญาณ

จักษุวิญญาณ

โสตวิญญาณ

ฆานวิญญาณ

ชิวหาวิญญาณ

ผัสวิญญาณ

มโนวิญญาณ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งทุกข์ เธอทั้งหลายจงฟัง  ก็ความเกิดแห่งทุกข์เป็นไฉน   ความเกิดแห่งทุกข์นั้น คือ  อาศัยจักษุและรูป  เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรมทั้ง 3 ประการ  (ติณฺณํ สงฺคติ)  เป็นผัสสะ   เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา. เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา  นี้เป็นความเกิดแห่งทุกข์

อาศัยหู... อาศัยจมูก...  อาศัยลิ้น...  อาศัยกาย...  อาศัยใจและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ  รวมธรรม 3 ประการ (ติณฺณํ สงฺคติ) เป็น “ผัสสะ”  เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา  เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา  นี้แลเป็นความเกิดแห่งทุกข์ ฯ 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็ความดับแห่งทุกข์เป็นไฉน ความดับแห่งทุกข์นั้น คือ อาศัยจักษุและรูป  เกิดจักขุวิญญาณ ความประจวบธรรม 3 ประการเป็นผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา   เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา   เพราะตัณหานั้นแลดับ  เพราะสำรอกโดยไม่เหลือ (อเสสวิราโค) อุปาทานจึงดับ

เพราะอุปาทานดับ  ภพจึงดับ   เพราะภพดับ  ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ  ชรา  มรณะ  โสกะ  ปริเทวะ  ทุกข์  โทมนัส  และอุปายาสจึงดับ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้  ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้  นี้แลเป็นความดับแห่งทุกข์

 

ที่มา ที่ไป

ทุกขนิโรธสูตร พตปฎ. เล่ม16  ข้อ162 ทุกขนิโรธสูตร พตปฎ. เล่ม16/162   เล่ม 18/154 ทุกขนิโรธสูตร  เล่ม 16 ข้อ 162  และ  เล่ม18/155)

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 30 กรกฎาคม 2562 ( 20:00:16 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:23:37 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:48:43 )

องค์รวมของการเมืองที่กำลังพัฒนา

รายละเอียด

การเมืองขณะนี้อาตมาว่าไปได้สวยอยู่แล้ว แน่นอนไม่ราบเรียบเหมือนฝั่งทะเลหรือกระจกหรอก มีคลื่นบ้างเป็นธรรมดา แต่คลื่นที่ว่า ดูองค์รวมที่กำลังพัฒนา มีสัมประสิทธิ์ที่มีอัตราการก้าวหน้า ถอยนิดแต่ก้าวไปอีก ดูค่ารวมนะ อาตมาใช้มิเตอร์อาตมาวัด ที่ตะโกนกันโหวกเหวกก็พวกขี้อวดเก่งอวดดี ทั้งที่พิสูจน์ฝีมือแล้ว ตัวเองทำแล้วไม่รอดถูกขับออกนอกประเทศไป เขาเองเขาไม่กล้ามาเผชิญหน้าติดคุก ซึ่งจริงๆก็สองปี แต่มีศักดิ์ศรีใหญ่ ก็ทนไม่ได้หนีไป จนจะเป็น 10 ปีแล้ว เสร็จแล้วก็ใช้ตัวแทนมาใช้อำนาจของตัวเอง เขามีนอมีนีเป็นตุ๊กตาหุ่นเชิด ตั้งแต่สมัคร สมชาย ยิ่งลักษณ์ แล้วมันดีขึ้นไหมล่ะ จะพิสูจน์กันอะไรนักหนาเกินกว่านี้ คนที่เป็นลิ่วล้อหลงลม คลั่งไคล้ได้เศษกากอะไรมาเลี้ยงชีวิต จะหลงเพ้อพกอยู่นั่น ตรวจสอบกันให้ดีๆ ตื่นเสียที อย่าหลับใหลลุ่มหลงอะไรกันนักหนา

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ มาทำแก่นชีพ-เชื้อชาติพุทธให้รุดหน้าเกินพัน วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 09 กุมภาพันธ์ 2564 ( 19:23:14 )

องค์รวมของคุณธรรมในไทยตอนนี้ต่างจากพม่าอย่างไร

รายละเอียด

ตอนนี้ก็มีพลังงานใหญ่ขับเคลื่อนไป อาตมาก็ดูแล้วขำ แสดงฤทธิ์ใหญ่เหลือเกิน แต่มันเล็กนิดเดียว แสดงพลังฤทธิ์ใหญ่เหลือเกินแต่พลังมันเล็กนิดเดียว แต่ตัวมันใหญ่อ้วนพุงโตเลย อาตมาก็ยิ่งเห็นความจริงของมวลรวม องค์รวมของคุณธรรมในประเทศไทย ว่าช่างเมตตาใจดี ถ้าหากใจร้ายพวกนี้ ถ้าเป็นพม่าเสร็จแล้วเรื่องนี้ จบแล้วถ้าเป็นพม่าจบแล้ว แต่นี่ประเทศไทยนะจึงอยู่ได้ ถ้าคุณไปทำอย่างนี้อยู่ในพม่ารับรองเรียบร้อย ถูกย่างกันเลย ตอนนี้พม่าก็ย่างกุ้งกัน ถ้าเป็นที่นี่ก็ย่างสัตว์สองขา ดูแล้วตลก 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ สันติอโศก เอื้อไออุ่นชาวสันตินาคร วันพุธที่ 17 มีนาคม 2564 ที่บวรสันติอโศก 


เวลาบันทึก 22 มีนาคม 2564 ( 14:29:15 )

องค์แห่งมรรคหมายถึงอย่างไร

รายละเอียด

องค์แห่งมรรคหมายถึงมรรคทั้ง 8 หมายถึงมีสัมมาทิฏฐิเป็นประธาน สัมมาวายามะกับสัมมาสติห้อมล้อมช่วยเหลือสัมมาทิฏฐิ เสร็จแล้วก็ต้องใช้ความพยายามใช้สติ เป็นสัมมาวายามะเป็นสัมมาสติ ที่จะทำสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ นี่เป็นองค์ 4 ของมรรค สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะให้เป็นสัมมา

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ เปิดยุคบุญนิยมระดม ปัญญา-อนัตตา ตอน 3 งานปลุกเสกพระแท้ๆของพุทธ ครั้งที่ 44 วันพุธที่ 7 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 11 เมษายน 2564 ( 21:02:20 )

อจินไตย

รายละเอียด

1. เป็นเรื่องเกินคาด เกินเดา 

2. ยากแก่การคิดคาดคะเนตามเหตุผล เพราะจะรู้สึกเวียนวน ค้านแย้ง

3. เป็นเรื่องยากไม่สามารถจะรู้แจ้งได้เพียงแค่ขบคิด แค่ฟัง แค่รับรู้ แต่จะรู้ได้ต้องถึงเอง เป็นเอง มีเอง แม้กระนั้นก็ยังยากที่จะนำออกบอกให้ใครรู้แจ้งได้ตาม

4. ผู้ไม่มีภูมิถึงวิสัยจะรู้ได้ แม้จะเรียนจะคิดให้หัวแตกก็ไม่มีสิทธิ์รู้แจ้งถึงความจริงนั้น แต่ผู้มีวิสัยนั้นแล้วรู้ได้

5. ไม่ควรคิด , คิดเอาไม่ได้ 

6. พ้นความคิดของคนสามัญ ไม่ควรคิด , ไม่พึงคิด,เกินกว่าที่จะคิด

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 33

สมาธิพุทธ หน้า 68, หน้า 133

รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 158

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 17,

พุทธเป็นอเทวนิยมอย่างนี้ หน้า 15, 83


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 16:56:57 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 03:39:15 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 17:11:24 )

อจินไตย

รายละเอียด

คือ เรื่องที่ลึกลับเกินกว่าสามัญจะหยั่งรู้หรือเรื่องที่ศาสตร์โลกีย์ไม่สามารถรู้ได้

หนังสืออ้างอิง

 “คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1 หน้า 245


เวลาบันทึก 10 พฤศจิกายน 2562 ( 13:00:17 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 15:06:42 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 19:50:40 )

อจินไตย

รายละเอียด

คือ มี 4 ประการ คือ พุทธวิสัย ฌานวิสัย กรรมวิบาก โลกจินตา

หนังสืออ้างอิง

 “คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1 หน้า 251


เวลาบันทึก 10 พฤศจิกายน 2562 ( 13:06:46 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 15:07:51 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 19:51:04 )

อจินไตย

รายละเอียด

คือ ไม่น่าเชื่อ คิดเอาไม่ได้-คิด ไม่ถึง-คิดไม่ออก แต่เป็น“ความจริง”ที่สูงส่งแท้ ต้องปฏิบัติ กระทั่งมีความจริงนี้เองได้ในตน จึงจะเป็นผู้มี“ความจริง”นี้แท้

หนังสืออ้างอิง

 คนจนที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1  หน้า 368


เวลาบันทึก 29 ธันวาคม 2562 ( 15:12:46 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:25:36 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 19:51:40 )

อจินไตย

รายละเอียด

คือ เกินกว่าการขบคิด หรือนึกค้นเอาได้

หนังสืออ้างอิง

 คนจนที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1  หน้า 456


เวลาบันทึก 29 ธันวาคม 2562 ( 16:14:36 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:26:16 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 19:52:02 )

อจินไตย 4

รายละเอียด

คือเรื่องที่ไม่ควรคิด หากคิดจะบ้า จะเดือดร้อน

1. พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้า (พุทธวิสยะ)

2. ฌานวิสัยของผู้ได้ฌาน (ฌานวิสยะ)

3. วิบากแห่งกรรม (กัมวิปาโก)

4. ความคิดเรื่องโลก (โลกจินตา)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 21  "อจินเตยยสูตร"  ข้อ 77

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 20 มิถุนายน 2562 ( 12:27:35 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 15:09:29 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:49:00 )

อจินไตย 4

รายละเอียด

คือ ถ้านับจากล่างขึ้นไปขั้น 1 ก็“โลกจินตา” ขั้น 2 ก็ “กรรมวิบาก” ขั้น 3 จึงจะเป็น“ฌานวิสัย”ขั้น 4 “พุทธวิสัย”

หนังสืออ้างอิง

คนจนที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1  หน้า 494


เวลาบันทึก 29 ธันวาคม 2562 ( 16:41:03 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:28:04 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 19:52:25 )

อจินไตย 4

รายละเอียด

แต่ว่ามันเป็นก็ใช่ อาตมาก็บอกแล้วว่าอาตมาเป็น พูดไปอีกเดี๋ยวเขาก็จะไม่ชอบหน้า อาตมาเป็นไก่ตัวพี่ ที่มีความรู้ทางธรรมะโดยเฉพาะพุทธธรรม มีอจินไตย พุทธวิสัยฌานวิสัย กรรมวิบากและโลกจินตา นี่เป็นอจินไตย 4 

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 6 เมษายน 2563


เวลาบันทึก 21 เมษายน 2563 ( 12:43:23 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:26:44 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:49:19 )

statistics

ติดต่อสอบถาม

Facebook : test

Youtube : Name

Twitter : Name

Line : Name

Telegram : Name

Wechat : Name

Skype : Name

Copyright © 2018 Borvornsocial.net all right are reserved. developer สงวนลิขสิทธิ์