@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก
@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก

อภิธานศัพท์ (Glossary) จัดเป็นฐานข้อมูลด้านโลกุตระที่สมบูรณ์ที่สุดที่คัดมาจากหนังสือ คำเทศน์ ฯ

คู่มือการค้นหาอภิธานศัพท์อโศก หรือ ห้องสมุดโลกุตระ 50 ปี

เอกสาร : https://docs.google.com/document/d/1HLGedxqTAOTOTQKGbO6M4qMremQ8K1jBWKRYDDt6MRQ/edit

วีดีโอ Loom 2 : https://www.loom.com/share/e824e62ec1eb4567848e94af124a7ed5

วีดีโอ Loom 1https://www.loom.com/share/2445744a08e74bca95d2f1d2a0526044

วีดีโอ YouTube : https://youtu.be/QyXcGmzhLmk

 

 

อภิธานศัพท์ (ทั้งหมด) พบ 28,074 รายการ

อรหันต์ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา

รายละเอียด

อย่าไปอยากรู้เกินกว่าที่ควร มันเป็นโลกจินตา คิดไปได้ไม่รู้จบแล้วไปคิดทำไม เอาสิ่งที่เป็นประโยชน์แล้วจบได้ในตัวเองดีที่สุด เมื่อคุณมีความรู้มีปัญญาว่าชีวิตสูงสุดเช่นนี้จบเป็นพระอรหันต์แล้วนั่นแหละเป็นที่สุด เมื่อคุณอยากเกิดอีก คุณอยากจะรู้มากกว่านี้ในโลก อยากจะรู้ว่าอัตตาอย่างคนอื่นๆเป็นอย่างไรคุณก็เกิดได้อีก แต่มีฐานรองรับแล้ว เป็นฐานอรหันต์ คุณจะไม่ตกต่ำอีกเป็นธรรมดาเลย คุณก็เกิดสิ อาตมาเป็นอรหันต์แล้วเกิดอีกจนเป็นโพธิสัตว์ปาง 7 มีสูงได้กว่านี้อีก คุณเข้าใจสิ่งที่อาตมาพูดให้ทันก็แล้วกัน จะรู้ขนาดอาตมาได้ไหมล่ะ อาตมาไม่อยากอวดรู้แต่พูดไปอธิบายไปตามที่ควรจะอธิบาย 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 10 มีนาคม 2563 ( 09:00:16 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 14:33:12 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 12:53:20 )

อรหันต์ไม่ต้องทำบุญ

รายละเอียด

เป็นผู้ที่มีความดีความควร ทำสิ่งที่ดีสิ่งที่สมควรในชีวิต สิ่งที่ไม่ดีเรามีความรู้มีปัญญาจะไม่ทำ ทำสิ่งที่ดีสิ่งที่ควรไปเท่านั้น แล้วก็มีชีวิตอยู่อย่างนี้สูงสุดแล้ว เป็นผู้จบแล้ว พระอรหันต์เป็นผู้รู้สิ่งที่ดียังกุศลให้ถึงพร้อม อกุศลไม่ทำเลยบาปไม่ทำเลย ที่ไม่ต้องทำบุญเพราะว่าบุญเสร็จงานแล้ว บุญกำจัดกิเลสโง่ไปหมดแล้ว ความโง่ไม่มีในตัวเราแล้ว บุญก็ไม่มีเช่นกันก็หายไป อรหันต์ทุกองค์เป็นผู้ไม่มีบุญเป็นผู้หมดบุญหมดบาป บุญก็ไม่มีไม่ต้องเอามาใช้

เพราะว่าบุญเป็นพลังงานที่ต้องเอามากำจัดกิเลส เป็นคำพูดที่ในยุคนี้ไม่มีใครพูดแล้วนอกจากสมณะโพธิรักษ์ โบราณาจารย์ก่อนหน้านั้นก็จะมีผู้รู้อยู่ แต่ในยุคนี้ไม่มีผู้รู้อย่างนี้แล้วนอกจากสมณะโพธิรักษ์ นี่ก็พูดความจริง

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการสำมะปี๋ซี่วิต ปฐมอโศก ครั้งที่ 19 วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม 2561

ที่ปฐมอโศก สื่อธรรมะพ่อครู(โพธิปักขิยธรรม 37) ตอน ตีให้แตกแยกให้ออกในธรรมะ 2


เวลาบันทึก 11 กุมภาพันธ์ 2564 ( 12:36:20 )

อรหันต์ไม่ทุกข์แล้วเหลือแต่เหนื่อย

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นคนที่ตั้งใจดีเจตนาดีแสวงหาดีอย่างไม่มีอคติก็จะชัดเจนศึกษาตาม รู้ว่าอันนี้เป็นสิ่งที่ควรมิตรสหายดีสังคมสิ่งแวดล้อมดีจะต้องมาอยู่ด้วย เพราะว่าไม่มีอะไรหรอกสุดแพงที่สุด มาเป็นเช่นนี้ เสร็จแล้วจะเป็นโพธิสัตว์ไปอีกก็เชิญ ซับซ้อน ได้อรหันต์แล้วจะปรินิพพานเป็นปริโยสานก็เชิญ แต่ถ้าผู้ที่จะอยู่อีกมันก็สุดยอดนะ อรหันต์ก็ไม่เป็นทุกข์แล้วเหลือแต่ความรู้สึกเหนื่อยพากเพียรประโยชน์ท่านศึกษา เกิดมาเป็นมนุษย์ทั้งที จะแยกธาตุให้เป็นอุตุธาตุสูญหายไปเลยก็ไม่มีปัญหา แต่คนไหนเห็นว่าน่าลองนะก็มาศึกษาต่อ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 20 วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม 2563
ที่บ้านราชฯ


เวลาบันทึก 02 กุมภาพันธ์ 2564 ( 18:34:58 )

อรหันต์ไม่ผิดได้แต่บกพร่องสัญญาวิปลาสได้

รายละเอียด

โสดาบันก็พลาดได้เป็นวิบากตนเองหากใครไม่อวดดีนักวิบากก็น้อย สูงขึ้นสกิทาฯ อนาคาฯก็ผิดน้อย อรหันต์ไม่ผิดได้แต่บกพร่องสัญญาวิปลาสได้ ทิฏฐิวิปลาสไม่มี จิตวิปลาสไม่มี มีแต่สัญญาวิปลาส อาตมายังสัญญาวิปลาสได้ยังบกพร่องได้และมีวิปลาสอีก 4 คือ เห็นความไม่เที่ยงเป็นความเที่ยง เห็นความไม่มีตัวตนว่ามีตัวตน เห็นความไม่งามว่างาม เห็นความทุกข์เป็นความสุข

ที่มา ที่ไป

เอื้อไออุ่นแพทย์วิถีธรรม วันอังคารที่ 6 มีนาคม 2561


เวลาบันทึก 13 กุมภาพันธ์ 2564 ( 09:58:10 )

อรหันต์ไม่มีปุญญะมีแต่สำนึกดีมีความรู้สูง

รายละเอียด

ในสามอย่างนี้ 1. ปุถุชน 2. อาริยชน (เสขบุคคล) 3. อรหันต์ อรหันต์นี้หมดตัวตน ไม่มีปุญญะแล้ว ตนเองจบไม่ต่อ ปุญญะ จบ มีแต่ให้คนอื่นทำปุญญะต่อ เราหมดเครื่องมือปหานแล้ว เป็นสำนึกของผู้เจริญ ​แต่ไม่ทำร้ายใคร มีเครื่องมือที่สุดยอด ปุญญะ แต่ไม่ไปทำร้ายใคร จัดการแต่กิเลสตัวเอง เมื่อตัวเองหมดกิเลสแล้ว คนนี้ก็มีสำนึกดี ไม่ไปหาเรื่องเลวร้ายต่อเลย สะอาดจิตสะอาดใจจริงๆ ไม่มีเศษเสี้ยว แต่ถ้าขัดแย้งมีเศษเสี้ยวอาฆาต ประชด มันก็ไม่จริง อรหันต์แบบนี้ไม่มีใครยอมรับ ยังมีเศษส่วนที่แฝงอยู่ มันต้องสะอาดจริง ไม่มีแฝงร้ายอะไร เศษนิดหน่อยอะไรไม่มี พระอรหันต์มีความรู้สูง จนกระทั่งเก็บสิ่งที่สูญหรือไม่มีสิ่งที่สูญในตัวเองออกไปได้ อย่างแท้จริง ไม่แท้จริงมันก็ไม่ใช่ แต่ถ้าใช่ มันก็ไม่ผิด มันต้องเป็นอย่างนี้

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 14 มกราคม 2561


เวลาบันทึก 26 กุมภาพันธ์ 2564 ( 11:39:04 )

อรหันต์ไม่สงสัยการเป็นอยู่แล้ว

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นชีวิตของอรหันต์ ท่านไม่สงสัยการเป็นอยู่ แล้วท่านไม่ต้องห่วงตนเองอะไรหรอก ท่านทำงาน แล้วจะมีคนมาเลี้ยงดูไว้ ปรปฏิพัทธา เม ชีวิกา เพราะจะมีคนมีดวงตา มีคนที่เห็นดีเห็นงามว่า คนคนนี้ต้องเลี้ยงไว้ อย่าให้ตายง่ายๆนะ เลี้ยงไว้ใช้ เลี้ยงไว้ใช้ มีประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติเยอะเชียวคนนี้ ยังไงๆ ต้องช่วยรักษาชีวิตเอาไว้ 

อาตมาเห็นผล ทุกวันนี้ อาตมาได้อันนี้อยู่นะ เขาไม่อยากให้ตาย แต่คงจะมีคนอยากให้ตายเหมือนกันนะ แต่ไม่เป็นไรหรอกเขาอยู่นอกๆ อยู่ในๆ นี้ไม่อยากให้ตายก็ช่วยอาตมาอยู่แล้ว เพียงพอแล้ว 

เพราะฉะนั้น คนที่มีการเกื้อกูลผู้อื่นนี่แหละ เป็นจิตใจที่ประเสริฐมีแต่ช่วยเหลือเกื้อกูลไม่แย่งไม่ชิง ไม่ทะเลาะวิวาท อวิวาทะ ใครจะแย่งชิงไปก็ให้ด้วย แต่มันจะมีบารมีซ้อนที่จะมีคนมาแย่งชิงน้อย 

อันนี้เป็นเรื่อง อจินไตย เป็นเรื่องลึกซึ้งมาก คนจะมาแย่งชิงน้อย เพราะเราให้อย่างมาก และ คนที่เขาอยู่ในแวดวงใกล้ๆ คนจะมาขโมยของชาวอโศกนั้น เป็นคนนอกกับคนที่กิเลสหนักแรงหรือจำนนจำเป็นต้องขโมย ไม่เช่นนั้นเขาจะไม่ขโมยอะไรของชาวอโศกเลย เพราะชาวอโศกเป็นผู้ให้ ให้เขาจริงๆ เพราะท่านให้ขนาดนี้แล้วเรายังจะไปทำชั่วกับท่านอีกทำไม อันนี้แหละทำให้คนสำนึก พวกเราไม่ค่อยจะมีเหตุการณ์พูดอย่างนี้เท่าไหร่ นอกจากพวกกิเลสมากจริงๆหรือคนในขโมยนิดๆหน่อยๆ จะเป็นเรื่องใหญ่ๆไม่มี ก็ไม่เกิดการแย่งชิง ไม่เกิดการทะเลาะวิวาท อยู่กันอย่างสามัคคี พร้อมเพรียงกัน 

พร้อมเพรียงกันทำ พร้อมเพรียงกันอยู่  พร้อมเพรียงกันกิน  พร้อมเพรียงกันสร้างสรร พร้อมเพรียงกันเสียสละ เป็นความพร้อมเพรียง ไม่ทะเลาะวิวาท ไม่ขัดไม่แย้งไม่เกิดปัญหา มันสงบอบอุ่นจริงๆ ถึงขั้นเรียกสรุปได้ว่าเป็น เอกีภาวะ เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เป็นปึกแผ่น นี่เป็นคุณสมบัติ 7 ประการที่เกิดในมวลมนุษย์ มาวิจัยได้ความจริง 7 ประการนี้จะเป็นคุณสมบัติ คุณธรรมคุณวิเศษทีเดียวของมนุษย์ ที่จะได้อย่างมีเนื้อหาอย่างมีความสมบูรณ์แบบใน 7 ประการนี้ 7 ลักษณะนี้ คุณธรรม 7 ลักษณะนี้ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ภาคค่ำ เรื่อง กาย งานปลุกเสกพระแท้ๆ ของพุทธ ครั้งที่ 45 วันนี้วันเสาร์ที่ 8 เมษายน 2566 แรม 3 ค่ำ เดือน 5 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 07 พฤษภาคม 2566 ( 14:15:52 )

อรหันต์ไม่สำคัญนิพพานว่าของเรา

รายละเอียด

“...ผู้กำลังเพียรเป็นอรหันต์ ครั้นรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว  อย่าสำคัญ(เราใน)นิพพาน   อย่าสำคัญนิพพาน(ในเรา)   อย่าสำคัญโดยความเป็นพระนิพพาน  อย่าสำคัญพระนิพพานว่าของเรา (มามัญญติ  นิพฺพานมฺเมติ ) อย่ายินดีพระนิพพาน  ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาควรกำหนดรู้ (ปริญเญยยัง)  ส่วนพระอรหันต์ย่อมไม่สำคัญพระนิพพานว่าของเรา (น มัญญติ  นิพฺพานมฺเมติ )  ย่อมไม่ยินดีพระนิพพาน  ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร  เรากล่าวว่า  เพราะเธอกำหนดรู้แล้ว (ปริญญาตัง) ส่วนความรู้ของปุถุชน... ย่อมสำคัญพระนิพพานว่าของเรา ... ฯลฯ     ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร  เรากล่าวว่าเพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้ (อปริญญาตัง)

ที่มา ที่ไป

เล่ม12  ข้อ3 - 5)  ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 15:13:40 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 14:34:17 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 12:54:27 )

อรหัสสะ

รายละเอียด

ไม่ลึกลับ ,ไม่เป็นความลับ

หนังสืออ้างอิง

พุทธเป็นอเทวนิยมอย่างนี้ หน้า121


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:47:08 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:10:08 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 12:54:43 )

อรหโต

รายละเอียด

สิ่งที่สูงสุด สิ่งที่เหมาะควรที่สุดแล้ว

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า253


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:39:35 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:11:34 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 12:55:06 )

อรัญญวาสี

รายละเอียด

สายพระป่า

หนังสืออ้างอิง

ค้าบุญคือบาป หน้า107


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:48:07 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:13:21 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 12:55:21 )

อริยกชน

รายละเอียด

มนุษย์เจริญที่มีการเกิดถึงขั้นเป็นอริยะได้ทีเดียว คือทำความประเสริฐให้เกิดได้เกินกว่ามนุษย์สามัญ เหนือความเป็นอเวไนยสัตว์ถึงขั้นมีอุตตริมนุสสธรรมได้

หนังสืออ้างอิง

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า38


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:48:56 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:16:36 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 12:55:43 )

อริยกชาติ

รายละเอียด

ความเป็นคนที่เจริญถึงขั้นประเสริฐ เป็นเวไนยสัตว์กว่าสัตว์ที่สอนไม่ได้ แม้แต่มนุษย์ด้วยกันก็มีความวิเศษกว่าถึงขั้นมีอุตตริมนุสสธรรมได้ทีเดียว

หนังสืออ้างอิง

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 38


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:49:57 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 02:59:16 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 12:56:03 )

อริยกันตศีล

รายละเอียด

เมื่อทำแล้วมีผลได้เท่าใด พระอาริยะผู้ได้มรรคได้ผลนั้นๆ ก็จะรู้ตนรู้ตัวว่าได้จริง เป็นจริง ก็พึงพอใจ ยินดีในศีลที่ตนได้ ตนเป็น ตนมีนั้นๆ

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 493


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:50:58 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 03:02:04 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 12:56:26 )

อริยจิตฺตัสส

รายละเอียด

ผู้มีมรรคผลไกลข้าศึกอยู่ แต่ยังไม่หมดข้าศึก ยังไม่ใช่ผู้ไกลข้าศึกระดับอรหังสัมบูรณ์ขั้นอรหัตตผล

หนังสืออ้างอิง

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 238


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:51:53 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 03:08:41 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 12:58:24 )

อริยชน

รายละเอียด

ผู้เจริญ ผู้ประเสริฐ ผู้พัฒนา

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 434


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:52:36 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 03:11:45 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 12:58:40 )

อริยบุคคล

รายละเอียด

ผู้อยู่เหนือโลกอบาย

หนังสืออ้างอิง

จากหนังสือสมาธิพุทธ หน้า 437


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:53:33 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 03:13:46 )

อริยมัคค

รายละเอียด

มีความฉลาดรู้รอบในวิถี หรือวิธี ตลอดถึงขั้นตอนที่จะเป็นอยู่ ประพฤติให้เหมาะควรที่สุด

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 125


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:54:24 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 03:24:56 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 12:58:58 )

อริยมัคคสมังคิโน

รายละเอียด

พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค

หนังสืออ้างอิง

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า236


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:06:05 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 03:28:17 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 12:59:18 )

อริยมัคคัง ภาวยโต

รายละเอียด

เจริญอริยมรรคอยู่

หนังสืออ้างอิง

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า236


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:06:50 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 03:31:24 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 12:59:36 )

อริยวสสูตรที่ 1

รายละเอียด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่อยู่แห่งพระอริยะ ที่พระอริยะอยู่แล้วก็ดี กำลังอยู่ก็ดี จักอยู่ก็ดี  10 ประการนี้ 10 คือ  1. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละองค์ 5 ได้แล้ว 

2. ประกอบด้วยองค์ 6  (ฉฬงคสมันนาคโต)

3. รักษาแต่อย่างเดียว (เอการักโข)

4. มีธรรมเป็นที่พักพิง 4 ประการ (จตุราปัสเสโน)

5. มีปัจเจกสัจจะบรรเทาได้แล้ว (ปนุณณปัจเจกสัจโจ)

6.   มีการแสวงหาอันสละเสียแล้วด้วยดี (สมวยสัฏเฐสโน)

7.   มีความดำริไม่ขุ่นมัว (อนาวิลสังกัปโป)

8.   มีกายสังขารอันสงบระงับแล้ว

9.   มีจิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี (สุวิมุตฺตจิตฺโต)

10.  มีปัญญาอันหลุดพ้นแล้วด้วยดี

 

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎก เล่ม 24  ข้อ 19-20 

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2562 ( 16:05:22 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 14:37:05 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:00:28 )

อริยสัจ

รายละเอียด

คือ ความจริงปัจจุบัน อดีตจริงกว่าอนาคต อนาคตเป็นลมๆ แล้งๆ กว่าจะมาถึงปัจจุบัน ไหลไปอีกนับล้าน  ปัจจุบันคุณแยกได้หากไปซอยกาละ ซอยให้เล็กๆ มาก

ที่มา ที่ไป

พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 18 ตุลาคม 2562 ( 15:53:38 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 14:37:44 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:00:51 )

อริยสัจ

รายละเอียด

1. ทางทำให้พ้นทุกข์ 

2. ความจริงที่ประเสริฐจริงยิ่ง 

3. ความจริงอันประเสริฐ

4. พ้นทุกข์

 

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า320, สมาธิพุทธ หน้า290, รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า68

คนคืออะไร? หน้า381,ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า19


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:07:43 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 03:37:18 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:01:24 )

อริยสัจ 4

รายละเอียด

ใช้แทนเสาจำนวน 4 ต้น คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ถือเป็นแก่นกลาง ของหลักธรรมที่ใช้ค้ำจุน พุทธศาสนา

หนังสืออ้างอิง

 “สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ” หน้า137


เวลาบันทึก 26 ตุลาคม 2562 ( 13:05:38 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 16:25:03 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:01:59 )

อริยสัจ 4 (ความจริงอันประเสริฐ)

รายละเอียด

1. ทุกข์  (ต้องควรกำหนดรู้-ปริญเญยยะ สภาวะจิตที่เกิดทุกข์)
2. ทุกขสมุทัย (เหตุให้จิตเกิดทุกข์ คือตัณหา ควรทำให้ดับ )
3. ทุกขนิโรธ (สภาพจิตดับทุกข์จากเหตุตัณหา ควรดับให้แจ่มแจ้ง) 
4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงการดับเหตุแห่งทุกข์คือกิเลสตัณหา  ดับด้วยการภาวนาอริยมรรคองค์ 8) 
 

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎก เล่ม 35  ข้อ 144, ธรรมาธิบายจากพ่อครู รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2562 ( 12:46:57 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 14:39:11 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:02:19 )

อริยสัจ 4 เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่คลุมเคลือ ไม่ลึกลับ!

รายละเอียด

“อริยสัจ 4”เป็นสิ่งที่คนสามารถพิสูจน์ได้ด้วย“กรรม”ใน“กาละ” เป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งไม่ใช่สิ่งคลุมเครือหรือความลึกลับ

ขอให้ทำ“สัมมาทิฏฐิ”ให้แจ้งให้จริง และปฏิบัติให้“สัมมาปฏิบัติ”เถิด ย่อมเกิด“สัมมาปฏิเวธ” เป็น“สัมมาผล”แน่แท้

ตราบใดมีผู้ปฏิบัติดียิ่ง(สัมมัคคตา)มีผู้ปฏิบัติชอบยิ่ง(สัมมาปฏิปันนา)อยู่ ตราบนั้นโลกไม่ว่างจากอรหันต์ สมดังคำตรัสของพระพุทธเจ้า แน่นอน

 

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ รวมเปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อ 191 หน้า 163


เวลาบันทึก 26 มิถุนายน 2564 ( 19:36:16 )

อริยะ

รายละเอียด

1. ฉลาดรู้แจ้งในกิเลสตัณหา 

2. ผู้หลบหลีกศัตรูได้อย่างเก่ง , ผู้แสนฉลาดอย่างยิ่ง

3. เต็ม , ความครบถ้วน , ความรู้นั้นเองครบ , เต็มไปด้วยความรู้นั้นเอง 

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 1,  92,  616


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:10:47 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 03:40:16 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:02:51 )

อริยะ

รายละเอียด

คือ นิยามกันว่า เน้นความเจริญของ “อัตตา” ไม่ยุ่งเกี่ยวกับ“โลก” แต่“หนีโลก” ออกไปสู่ป่า หลีกลี้หนีสังคมคน เป็นลัทธิหลงป่า จึงสุดโต่งไปทาง“จิตนิยม” มันจึงยังเป็น“แบบโลกีย์” ยังไม่ใช่“โลกุตระ”ที่สัมมาทิฏฐิ แม้ชาวพุทธส่วนมากในปัจจุบันนี้ จะใฝ่“นิพพาน”ที่ยังเป็น ลัทธิ“คนเมืองคนบ้าน” แต่“ทิฏฐิ”ยังมี“อริยะ”ได้เท่านี้เช่นนี้ “ความจริงและความรู้”ยังไม่เป็น“อาริยะ” ศึกษาดีๆ

หนังสืออ้างอิง

คนจนที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1 หน้า 398


เวลาบันทึก 29 ธันวาคม 2562 ( 15:35:57 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 14:40:34 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:03:24 )

อริยะ ญายะ

รายละเอียด

ให้มีความรู้ทางธรรม และมีอารยธรรม

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 54


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:11:37 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 03:42:59 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:03:43 )

อริโยสัมมาสมาธิ

รายละเอียด

1. สัมมาสมาธิอันประเสริฐ 

2. สัมมาสมาธิของอาริยะ

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า104 , ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า134,  90


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:12:32 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 03:45:56 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:04:07 )

อรูป

รายละเอียด

1. รูปที่ไม่มีรูปของจริง

2. ไม่มีรูป ไม่ใช่รูป 

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 379,เปิดโลกเทวดา หน้า 162


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:14:17 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 03:48:35 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:04:26 )

อรูป

รายละเอียด

พลังงานของพืช ไม่ใช่นาม

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 15 พฤศจิกายน 2562 ( 15:02:03 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 14:41:12 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:04:26 )

อรูปคืออะไร

รายละเอียด

“อรูป” ตัวท้าย คือเชื้อของเเก่นที่เราไม่ได้ล้าง แก่นที่ยังมีเศษของแก่นธุลีของแก่นที่เรายังไม่ได้ล้าง เราทำข้างนอกแต่เปลือกไปกระพี้ไปถึงแก่น 

ปฏิบัติธรรมต้องล้างกิเลสตั้งแต่เปลือกภายนอกไป แล้วก็มีเชื้อภายในจะเรียกว่าเป็นเชื้อโรคก็ตาม ล้างให้สะอาด จนกระทั่งถึงสุดท้าย หาแก่น บ้างหมด เหลือแต่เชื้อโรคของแก่นหมดไปก็สะอาดได้ ผู้ปฏิบัติธรรมก็อธิบายต่อว่าพวกที่มิจฉาทิฏฐิไปนั่งหลับตา บอกว่าไปละกิเลสในจิตเลย กายวจี  ระดับนอก ระดับกลางไม่เอาเลย ไปเข้าภายในสงบเลยพวกนี้โมฆะพวกนั่งหลับตาสะกดจิต เป็นของเดียรถีย์เก่า ไปนั่งหลับตาปฏิบัติเป็นสมาธิ ซึ่งผิดหมดเลยไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า มันผิดหมดจนกระทั่งมันไม่มีทางออก เป็นอาริยธรรมเกิดเลย ตั้งแต่พระพุทธเจ้ายังไม่เกิด พระพุทธเจ้าเกิดมาก็มาสอนเรื่องใหม่แม้แต่แค่เป็นลำดับ มันก็ไม่มีแล้ว เสร็จแล้วมาถึง 2,500 กว่าปีที่อาตมาเกิดมาในยุคนี้มาทำงาน เขาก็นั่งหลับตากันหมดกลายเป็นเดียรถีย์แบบยุคโน้น อาตมาก็เอามาฟื้นใหม่แล้วเขาก็หาว่าอาตมาเอาอะไรมาพูด เพราะเขายึดติดอันนี้แล้วบอกว่าอาตมาสอนนอกรีต ครูบาอาจารย์สอนกันมาอย่างนี้ทั้งนั้น 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ โสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 24 วันจันทร์ที่ 18 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 30 มกราคม 2564 ( 18:16:57 )

อรูปชีวิต

รายละเอียด

ความเป็นชีวิตที่กำหนดรูปตายตัวไม่ได้

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 446


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:15:10 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 03:51:03 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:04:42 )

อรูปฌาน

รายละเอียด

1. จิตขั้นเล็กละเอียด 

2. ความสงบระดับสูง มีความละเอียดไปเป็นขั้นๆ อีก 4 ขั้น

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 188,239, 386


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:16:09 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 03:55:37 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:05:28 )

อรูปฌาน 4

รายละเอียด

อรูปฌาน 4 แบบพุทธ สภาพที่ตรวจอุเบกขาแท้ ของผู้มีฐานนิพพานแบบพุทธ คือสภาวะจิตแน่วแน่สงบจากกิเลส โดยอาศัยความไม่มีรูปเป็นอารมณ์

1. อากาสานัญจายตนฌาน (เข้าถึงสภาวะอากาศหาที่สุดมิได้, เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง   เพราะปฏิฆสัญญาดับไป  เพราะละการทำใจในนานัตตสัญญา) มีมนสิการว่าอากาศหาที่สุดมิได้)

2. วิญญาณัญจายตนฌาน (เข้าถึงสภาวะวิญญาณหาที่สุดมิได้, เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะ  มีมนสิการว่า… วิญญาณหาที่สุดมิได้)

3. อากิญจัญญายตนฌาน (เข้าถึงสภาวะไม่มีอะไร น้อยหนึ่งก็ไม่มี, เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะ  มีมนสิการว่าต้องดับให้หมด  น้อยหนึ่งก็ไม่ให้มี)

4. เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน (เข้าถึงสภาวะรู้หมดสิ้นไม่ว่าสัญญาใดๆ อื่นๆ, เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะ  แจ้งชัดขึ้นว่า ต้องไม่มีอะไรที่จะไม่รู้)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 18   "โมคคัลลานสังยุตต์"  ข้อ  519, พระไตรปิฎก เล่ม 11   ข้อ 235, ธรรมาธิบายจากพ่อครู รายการพุทธศาสนาตามภูมิ

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 20 มิถุนายน 2562 ( 10:54:31 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 16:26:24 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:06:10 )

อรูปฌาน 4

รายละเอียด

คือสภาวะจิตแน่วแน่สงบจากกิเลส โดยอาศัยความไม่มีรูปเป็นอารมณ์

1. อากาสานัญจายตนฌาน(เข้าถึงสภาวะอากาศหาที่สุดมิได้)

2. วิญญาณัญจายตนฌาน(เข้าถึงสภาวะวิญญาณหาที่สุดมิได้)

3. อากิญจัญญายตนฌาน(เข้าถึงสภาวะไม่มีอะไร น้อยหนึ่งก็ไม่มี)

4. เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน (เข้าถึงสภาวะหมายรู้ก็ไม่ใช่ ไม่รู้ก็ไม่ใช่)

 

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 18 “โมคคัลลานสังยุตต์” ข้อ 519


เวลาบันทึก 13 มีนาคม 2565 ( 05:07:18 )

อรูปฌาน 4 ของพวกมิจฉาทิฏฐิ

รายละเอียด

อรูปฌาน 4 ของมิจฉาทิฏฐิ นั่งหลับตาเป็นอรูป ซึ่งมันผิดมันโมฆะไม่ได้เรื่อง ปั้นอรูปฌาน 4 ของ มิจฉาทิฏฐินั่งหลับตาปฏิบัติคือ กาย 3 คือ นิรมาณกาย ต่างคนต่างหลับตาแล้วมีภพของตัวเองกันทุกคนใช่ไหม ต่างคนต่างปั้น สิ่งที่เกิดในจิตคุณก็สัญญากำหนดหมายเอาเอง รวมแล้ว อยู่ในมิจฉาทิฏฐิ 62 ทั้งหมดที่พระพุทธเจ้ารวบรวมไว้ สร้างวิมานเป็นรูปอย่างนั้นอย่างนี้อาศัยขันธ์ อดีต อนาคต 18 กับ 44 ก็เกิดเป็นนิรมาณกาย ในอนาคต 44 คือนิรมาณกาย อดีต 18 เคยเกิดมาบ้าง แต่ไม่ใช่ตัวบรรลุ แต่อนาคตมี 44 ซึ่งพระพุทธเจ้าประมวลไว้แล้ว คิดฝันปั้นไป สรุปเข้าไปหานิรมาณกาย 3

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม ร้อยมาลัยพระอภิธรรมตามแบบพ่อครู วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 27 มกราคม 2564 ( 22:03:22 )

อรูปฌาน 4 ในสัตตาวาส 9

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นในความเป็นอรูปฌาน 4

อากาสานัญจายตนะฌาน วิญญานัญจายตนะฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน พวกมิจฉาทิฏฐิที่จะหลงว่าเป็นฌาน แต่ที่จริงมันไม่ใช่ฌาน เป็นชานหมาก จริงๆแล้วมันเป็นเพียงนิรมาณกาย สัมโภคกาย เป็นอทิสมานกายทั้งสิ้น ต่างคนต่างสร้างกันไปคนละภพ คนละแดนและภพกัน เหมือนรู้เรื่องกัน สัมโภคกาย แต่แท้จริงเหมือนคนตาบอดหมด คนตาบอดมาแต่กำเนิด ต่างมาชมว่าท้องฟ้าวันนี้สวยจริงหนอ เขาก็บอกว่าจริงหรือวันนี้เมฆเต็มเลย คนตาบอดอีกคนก็บอกว่าเมฆสวยตรงนั้น มีเมฆเป็นรูปหลวงปู่แหวนด้วย มีเมฆเป็นรูปหลวงพ่อสดด้วย เขาเห็นหลวงพ่อสดอยู่บนเมฆเหมือนกัน ต่างคนต่างตาบอดชมท้องฟ้าเหมือนกัน ตาบอดมาแต่กำเนิดชมท้องฟ้ากัน ยิ่งกว่าตาบอดสอดตาเห็นนะ เป็นอย่างนั้น 

อรูปฌาน ทั้งหมดไม่มีเลย พวกอวิชชาจบที่อสัญญีทั้งนั้น อรูปฌานของพวกหลับตา ซึ่งเป็นพวกตาบอดชมท้องฟ้า 

จริงๆ แล้วอรูปฌานของศาสนาพุทธก็เป็นการลืมตาทำ อรูปฌานเป็นการตรวจสอบเหมือนเตวิชโช ตรวจสอบว่ารูปคืออะไร เวทนาคืออะไร สัญญาคืออะไร สังขารคืออะไรวิญญาณคืออะไร ตรวจสอบแล้วลองอ่านปัญญาข้อที่ 8 ด้วย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ เปิดยุคบุญนิยมระดม ปัญญา-อนัตตา ตอน 4 งานปลุกเสกพระแท้ๆ ของพุทธ ครั้งที่ 44  วันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 12 เมษายน 2564 ( 18:49:12 )

อรูปฌานกับเวทนา 108

รายละเอียด

ต้องสัมผัสวิโมกข์ 8 ในข้อที่ 2 อัชฌัตตัง อรูปสัญญี เอโก พหิทา รูปานิปัสสติ จะมีตั้งแต่สัมผัสภายนอกจนถึงภายใน เป็นภาวะ 2 นี่ก็ยังไม่ค่อยตื่น เหมือนแทงด้วยหอกร้อยเล่ม เช้า กลางวัน เย็นก็ยังไม่ตาย เหมือนเอาน้ำรดหัวตอ รดหายๆ เหมือนเข็นเขาขึ้นครก เหมือนสีควายให้ตอฟัง ดีไม่ดีควายมันจะขวิดเอาให้ รูปฌาน อรูปฌานนี้ เป็นอนุบุพพวิหาร 9 เป็นสัมมาทิฏฐิของฌาน สมาบัติแบบพุทธถ้าไม่สัมมาทิฏฐิ จะไม่มีสัญญาเวทยิตนิโรธ แต่จะมีได้ในผู้ที่มิจฉาทิฏฐิไปแปลว่าการดับทั้งสัญญาทั้งเวทนา เป็นสุภกิณหา ดับมิดเลย พวกนี้ก็พวกเดียวกับอาฬารดาบส อุทกดาบส อาฬารดาบส สะกดได้แค่ฌาน 7 ก็ดับแล้ว ต่อไปอีกไม่ได้แล้ว มีอะไรก็ไม่รู้อีกแล้ว แต่อุทกดาบสจะรู้ ไปกดข่มอย่างไรมันก็ยังมีรายละเอียดขึ้นมารู้ได้อีก อุทกดาบสมีญาณปัญญาลึกกว่า สามารถรู้สิ่งที่เล็กละเอียดนี้ได้จึงไปได้อีก แต่ก็เป็นอุปาทานตัวสุดท้าย เนวสัญญานาสัญญายตนะ ที่ละเอียดเล็กนิดหน่อยจริงๆเลยส่วนอาฬารดาบสนิดนึงน้อยนึง ก็ไม่มี คืออากิญจัญญายตนะ แต่อุทกดาบส นิดนึงน้อยนึง ก็ยังมีอยู่นะ เป็นเนวสัญญานาสัญญายะตะนะ แต่เขาก็ดับไปอีก ทำวิกขัมภนปหาน ได้ นั่งหลับตาสะกด นี่คือ ความต่างระหว่างพวกเดียรถีย์ฤาษีโลกียะ ของพระพุทธเจ้าไม่ต้องดับหูหลับตา แต่มีสัญญาชัดเจน เวทยิตก็เคล้าเคลียอารมณ์ต่างๆ มีสัญญาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้อารมณ์ต่างๆ เวทยิตะ แปลว่า เคล้าเคลียอารมณ์ ทั้งเวทนา 108​ ซ้ำแล้วซ้ำอีกทวนแล้วทวนอีก ก็ยืนยันว่า อ๋อ กิเลส ชัดเจนในตัวกิเลส อัตตา ก็ดับสนิทหมด สิ้นอรูป ชัดเจนแล้วก็ยืนนาน เที่ยงแท้ถาวรตลอดกาลไม่เกิดอีกแม้จะมาอีกอนาคตอีกเท่าไหร่ก็สู้ได้ทำได้ในปัจจุบันทุกปัจจุบันจนมั่นใจเลยจึงจบด้วยปัจจุบัน 36 สั่งสมลงเป็นพื้นฐานที่ช่วยกันกับปัจจุบัน สั่งสมเป็นอดีต 36 ปัจจุบัน 36 รวมกันแล้วเป็น 72 ช่วยกันสู้กับอนาคตที่จะมาอีก 36 อนาคตมาถึงเมื่อไหร่ก็เสร็จ 72 ทั้งนั้น 2 ต่อ 1 นี่คือ เวทนา 108 อาตมาก็ค่อยๆอธิบายพวกนี้ เวทนา 2 คือ กายิกเวทนา(เน้นภายนอก แต่ต้องมีจิตรับรู้) กับเจตสิกเวทนา (เน้นมาหาจิต โดยเฉพาะเวทนา)เวทนา 3 คือ สุข ทุกข์ อุเบกขา เวทนา 5 คือ ภายในภายนอกแล้วก็อินทรีย์ที่ต่างกัน  เวทนา 6 ก็ เวทนาทางทวารทั้ง 6 ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ เวทนา 18 เวทนา 6 แต่ละเวทนาก็เป็นได้ทั้ง สุขทุกข์ไม่สุขไม่ทุกข์ เวทนา 36 ก็คือ เวทนา 18 แยกเป็นสองฝ่ายคือ เคหสิตเวทนากับเนกขัมสิตเวทนา เป็นมโนปวิจาร 18 สองฝั่ง นี่แหละคือคู่สำคัญที่สุด หากไม่สามารถแยกแยะเวทนา 2 เคหสิตเวทนากับเนกขัมสิตเวทนา ในองค์ประกอบของแต่ละ 2 อันนี้ก็คืออย่างละ 18 มโนปวิจาร หากอวิชชาก็เคหสิตะ จะมีสุขทุกข์ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ได้จากตาหูจมูกลิ้นกายใจ ก็รวมเป็น 18 โลกียะธรรมดาโลกมันก็มีสุขทุกอย่างนี้หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ทางโลกียเขาก็ทำได้เป็นชั่วครั้งชั่วคราว หรือแม้แต่ไม่สุขไม่ทุกข์บางคราว แต่เจตนามีวิธีทำเป็นโลกียะกดข่ม ทำสมาธิโลกียะ จนเกิดอุเบกขาเป็นฌาน 4 เขาก็ทำได้แต่ไม่ถูกต้องเป็นสัมมาทิฏฐิตามทฤษฎีพระพุทธเจ้า 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน 2563


เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 19:54:08 )

เวลาบันทึก 03 สิงหาคม 2563 ( 08:01:18 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:05:28 )

อรูปฌานที่มิจฉาทิฏฐิ

รายละเอียด

อรูปฌาน อากาสาฯ วิญญานัญจา เนวสัญญาฯ ​ก็คือนิรมาณกาย คือกาย ที่คุณสมมติเอาเองทั้งนั้น ต่างคนต่างสมมติ อทิสมานกาย ต่างคนต่างไม่เห็นของใคร แต่ต่างคนต่างอุปาทานหมู่ลงไปด้วยกัน ใครพูดอะไรก็หยวนไปด้วยกันทั้งนั้น จึงเรียกว่า เสพอุปาทานหมู่ 

สัมโภคกาย ร่วมกันบริโภค ทั้งที่มันเป็นนิรมาณกายสร้างเองทั้งนั้น แต่ละคนต่างเห็นของตัวเองไม่มีใครเห็นของใครเรียกว่าอทิสมานกาย แล้วก็สมมุติว่ามันมีพวกร่วมกัน เป็นอุปทานหมู่ บ้าเองทั้งนั้นนิรมาณกาย อันนี้ไม่ค่อยเข้าใจกันง่ายๆ

สรุปนะ พวกมิจฉาทิฏฐิดับสัญญาแม้แต่รูปฌานก็ปั้นเอง ยิ่งอรูปฌานก็ปั้นเอง ของใครของมันเองทั้งนั้น มันจะปั้นอย่างไรก็ได้ สรุปว่าว่างเปล่าไปทั้งนั้น

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ธรรมบรรยาย คุหัฏฐกสุตตนิทเทส ตอน 3 วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม 2564 ขึ้น 13 ค่ำเดือน 7 ปีฉลู ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 08 กรกฎาคม 2564 ( 19:57:39 )

อรูปฌานใช้ล้างรูปภพ และอรูปภพใช่ไหม

รายละเอียด

อันนี้ก็ตอบไม่ยากเลย เป็นขั้นตอนธรรมดา รูปฌาน นั่นแหละ ฌานที่เป็นต้นเลยเรียกรูปฌาน 

รูปฌานคือฌานข้างนอก อรูปฌานคือฌานข้างใน ที่จะเรียกว่าฌานก็ไม่ได้เรียกกามฌาน เขาเรียกรูปฌาน พอเข้าไปข้างในเขาถึงเรียกอรูปฌาน

แล้วในอรูปฌาน โดยภาษาตามละไว้ในฐานที่เข้าใจ อรูปฌานต้องเป็นฌานที่เรียนรู้รูป อรูป อีกที อันนี้ภาษาสิริมหามายา ก็รูปด้วย อรูปด้วย เรียกว่าอรูป ที่จริงก็คือ รูปกับอรูป 1 เป็น 2  2 เป็นหนึ่ง  

คำว่ารูปฌานหมายเอาข้างนอก อรูปฌานหมายข้างใน ข้างในมี รูป อรูป อีก

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ โสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 34 วันจันทร์ที่ 12 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 16 เมษายน 2564 ( 21:17:55 )

อรูปธรรม

รายละเอียด

ได้แก่นามขันธ์ 4 และนิพพาน

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า478


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:16:43 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 03:58:40 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:06:28 )

อรูปพรหม 4 ชั้นสุดท้าย

รายละเอียด

1. อากาสานัญจายตนภูมิ

2. วิญญาณัญจายตนภูมิ

3. อากิญจัญญายตนะภูมิ

4. เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ

ที่มา ที่ไป

พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชวันพุธที่ 30 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 22 ธันวาคม 2562 ( 15:33:08 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 14:42:23 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:06:50 )

อรูปพรหม 4 ชั้นสุดท้าย

รายละเอียด

ชั้นที่ 17 อากาสานัญจายตนภูมิ

ชั้นที่ 18 วิญญาณัญจายตนภูมิ

ชั้นที่ 19 อากิญจัญญายตนภูมิ

ชั้นที่ 20 เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 25 ธันวาคม 2562 ( 14:23:14 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 14:43:54 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:07:10 )

อรูปภพ , อรูปภูมิ

รายละเอียด

นามธรรมที่ยิ่งละเอียดขึ้นไปอีกในจิต หรือยิ่งลึก

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า407


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:17:16 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 04:00:28 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:07:28 )

อรูปมยอัตตา

รายละเอียด

1. เสพตัวตนที่ไม่มีรูป หนักยิ่งขึ้นไปอีก

2. ไม่จำเป็นต้องปั้นขึ้นเป็นรูปชัดๆ ให้รู้ เหมือนเห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหูจริงๆ ก็ได้ ก็สามารถรู้ตัว รู้ตนของความเกิด ความดับของสิ่งนั้น อันนั้นได้แล้ว 

3. รูปจิต อรูปจิตที่ยังไม่สะอาด 

4. ปั้นอรูปในใจเป็นตัวตน

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 154,ทางเอก ภาค 3 หน้า 72, ทางเอก ภาค 1 หน้า 193, คนคืออะไร? หน้า 387


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:18:29 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 04:05:14 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:08:05 )

อรูปราคะ

รายละเอียด

ความติดใจในอรูปภพ

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 11 มกราคม 2563 ( 13:21:43 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 14:44:44 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:08:24 )

อรูปราคะ

รายละเอียด

1. จิตขั้นสูง ขั้นละเอียด หรืออันเป็นจิตปรุงแต่งที่เป็นราคะ หรือตัณหาขั้นสูงกว่ารูปราคะ 

2. ราคะมันเบาลง จับตัวมันได้ยากขึ้น มันไม่เป็นสิ่งที่ถูกรู้ได้ง่าย

3. ความยินดี ความปรารถนาที่ยังมีตัวตน มีลีลาอาการอยู่

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 368 , 503, ทางเอก ภาค 2 หน้า 73, สมาธิพุทธ หน้า 246


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:19:25 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 04:10:23 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:08:48 )

อรูปราคะ

รายละเอียด

ความติดใจในอรูปภพ

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 10 พฤศจิกายน 2562 ( 14:19:49 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 14:45:59 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:09:05 )

อรูปสัญญี

รายละเอียด

อรูปสัญญี คือ มีสัญญารู้ถึงภายในถึง อรูป แล้วต้องรู้เห็นตั้งแต่ภายนอกจนถึงภายใน

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 20 กันยายน 2562 ( 12:31:05 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 14:46:32 )

อรูปอัตตา

รายละเอียด

1. คือ อรูปี สัญญามโย  คืออรูปที่สำเร็จด้วยสัญญา คือสภาพที่เราสำคัญมั่นหมายอยู่ในจิตแล้วก็หลงยึดเป็นตัวเป็นตนจนสำเร็จ

2. อัตตาชนิดที่หลงยึดสิ่งที่ไม่มีรูปธรรม  อรูปฌานรวมถึงรูปฌานที่ไม่มีนิมิต

3. อัตตาที่หารูปมิได้ คือตัวตนที่สำเร็จด้วยสัญญาซึ่งเป็นอรูปที่เราไปสำคัญมั่นหมายแล้วหลงติดหลงยึดว่าเป็นเรา เป็นของเรา เช่นความรู้ ความเชื่อ ศักดิ์ศรี 

4. ไม่มีรูปรูป[เป็นแค่อรูป] มีแต่นามรูปที่รู้ได้ด้วยสัญญา

หนังสืออ้างอิง

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 179, เปิดโลกเทวดา หน้า 165,184, วิถีพุทธ หน้า 46,ค้าบุญคือบาป หน้า210


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:22:20 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 04:22:01 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:09:53 )

อรูปาวจรจิต

รายละเอียด

จิตตัวในลึกละเอียดเข้าไปอีกในภวังค์ มันเป็นจิตใต้สำนึก จะสั่งห้าม จะทำการใดๆ กับมันยากเข้าไปอีก เพราะมันเล็กมันละเอียดลงไป

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า387


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:23:42 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 04:28:42 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:10:14 )

อรูปาวจโร ผัสโส

รายละเอียด

สัมผัสอันเกี่ยวเนื่องกับอรูปาวจรจิต

หนังสืออ้างอิง

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 50


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:24:28 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 04:37:39 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:10:30 )

อรูปี สัญญามโย

รายละเอียด

อรูปที่สำเร็จด้วยสัญญา หมายถึงสภาพที่เราสำคัญมั่นหมายอยู่ในจิตแล้วก็หลงยึดเป็นตัวเป็นตนจนสำเร็จ

หนังสืออ้างอิง

เปิดโลกเทวดา หน้า162


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:25:09 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 04:43:32 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:10:48 )

อรูโป อัตตปฏิลาโภ

รายละเอียด

การเข้าครองหรือได้ตัวตน(อัตตา)ที่หารูปมิได้ [เป็นอรูปอัตตา]

หนังสืออ้างอิง

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า64 , เปิดโลกเทวดา หน้า143


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:25:50 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 04:49:07 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:11:07 )

อรโห

รายละเอียด

คือ ไม่ลับหูไม่ลับตา

หนังสืออ้างอิง

 “คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1 หน้า 207


เวลาบันทึก 09 พฤศจิกายน 2562 ( 15:34:52 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 16:27:27 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:11:33 )

อลมริยญาณ ทัสสนวิเสโส

รายละเอียด

ญาณทัสนะอันประเสริฐแสนวิเศษซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ธรรมดาๆ นั้นหาได้ยากยิ่ง

หนังสืออ้างอิง

จากหนังสือทางเอก ภาค 3 หน้า229


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:26:31 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 04:53:49 )

อลมริยญาณทัสสนวิเสส

รายละเอียด

มีความเห็นแจ้ง จริงชัด ไม่ขัดแย้ง ไม่บกพร่อง สงสัยใดๆ อีก ผู้มีแล้วในตนนั่นแหละรู้เอง เข้าใจเองแท้ๆ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 109


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:27:26 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 17:25:23 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:11:52 )

อลมริยา

รายละเอียด

อย่างประเสริฐ , อย่างแท้จริง

หนังสืออ้างอิง

อีคิวโลกุตระ หน้า244 ,ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 124


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:28:16 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 06:40:44 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:12:13 )

อลิก , อลิกะ

รายละเอียด

1. ความหลอก ความไม่จริง ความตลบตะแลงแท้ๆ

2. เท็จ , หลอก , ไม่จริง 

3. ความเท็จ 

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 449, ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า178, พุทธเป็นอเทวนิยมอย่างนี้ หน้า 54


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:30:03 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 06:45:36 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:12:34 )

อวจร

รายละเอียด

1. เลื่อนไป , ชั้น , วิสัย

2. ความยังเป็นยังไป , ความยังอาศัยอยู่ ยังเกี่ยวข้อง ยังดำเนินไป

3. ซึ่งอยู่อาศัย , ท่องเที่ยวเป็นไป , ท่องเที่ยวไป ,อาศัยอยู่

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า227, คนคืออะไร? หน้า 258, ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 177


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:31:01 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 06:50:24 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:13:13 )

อวดก็อวด เพราะไม่ได้ของเป็นได้ง่าย เกิดได้ง่าย

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นประชาธิปไตยที่แท้จริงเป็นโลกุตระนั้น จะต้องเป็นประชาธิปไตยคือมีมวลประชาชนที่มีอิสรเสรีจริงๆ ที่พูดไปแล้วเมื่อกี้นี้  อิสระ สบาย สงบ อบอุ่น อิ่มเอม เกษมใส ใจเกื้อกูล เพิ่มพูนเสียสละ อย่างแท้จริง ที่เราพูดไปนั้นมันรู้สึกสบายใจพูดแล้วรู้สึกกระหยิ่ม เรามีอยู่ไม่มากก็น้อยเพราะเราเข้าใจ เขาก็พูดอย่างเต็มที่เหมือนเราไม่ได้ มันสะดุดว่าเขาเองก็ยังไม่มี มันเห็นอย่างนี้ไม่ได้ 

เพราะฉะนั้นโลกทั้งโลกนี่แหละพยายามหา สิ่งที่จะประพฤติปฏิบัติเป็นความรู้เป็นสัจจะแล้วจะมาให้ประชาชนปฏิบัติ ปฏิบัติแล้วมีมรรคมีผล สำเร็จ จริงๆ มีปรากฏการณ์ มีรูปธรรม มีฟีโนมีน่าอย่างแท้จริง จะเรียกว่าฟีโนมีนาของอโศกอันเดียวก็เป็นฟีโนมีนอล แต่มันมีในตัวของมันเองเยอะหลายกลุ่มชุมชนก็เป็นฟีโนมีน่า ปรากฏการณ์จริงของสังคมแบบนี้ ของชาวอโศกแต่ละกลุ่มๆ ปรากฏการณ์จริงแต่ละกลุ่ม มันก็ชัดเจนอย่างนี้ ยืนยันได้ อาตมาพูดอย่าง จะว่าอวดก็อวด เพราะมันเป็นของน่าอวด มันไม่ได้ของเป็นได้ง่าย เกิดได้ง่าย

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ประชาธิปไตย 3 อย่างในโลกวันพุธที่ 4 มกราคม 2566 ขึ้น 13 ค่ำเดือน 2 ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 12 มกราคม 2566 ( 11:34:36 )

อวดดี เอามาขยาย

รายละเอียด

เป็นเรื่องที่อาตมาไม่อวดดี ไม่อวดเรื่องที่ไม่จริง แต่มีดีที่จะอวด อวดดีโดยไม่มีดีเขาเรียกว่าอวดดี แต่อาตมามีดีจริงๆมาอวด แล้วก็ไม่ได้มีความอวด แต่เอาดีมาแสดง เอาดีมาขยาย เป็นภาษาที่สื่อสภาวะความจริง 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 4 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 26 มีนาคม 2563 ( 13:23:37 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 14:47:04 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:13:32 )

อวดดีเพราะมีดีให้อวด

รายละเอียด

อาตมาพูดนี้เหมือนคนอวดดี แต่มันถูกต้องอาตมามีดีให้อวด แล้วท่านมีแต่สิ่งที่ไม่ดีไม่ถูกต้อง อาตมาพูดความจริงไม่ได้ไปใส่ความ ไม่ได้ไปว่าก็น่าสงสาร แต่เขาฟังแล้วก็ยิ่งหมั่นไส้อาตมา เรามันคนซื่อพูดตรงๆ พูดไม่ตรงก็ไม่เป็น เขายิ่งฟังก็ยิ่งหมั่นไส้ ทำไมไม่ลดเลี้ยวเหมือนคนอื่นเขาบ้าง อาตมาพวงมาลัยมันล็อค ตั้งตรงเลย พอเหยียบคันเร่งก็เลยผ่าไม่เลี่ยงหลบเลย ตรงไปเขาก็ไม่ไหว เพราะเขาก็ต้องเลี้ยวลดบ้างสิ อาตมาก็ไม่ได้ยอมพวกนั้นก็เลย ผู้ใดไม่ตรงชอบเลี้ยวลดหลับใหล ก็ไปที่ชอบๆ เราก็ไม่รู้จะทำอย่างไรนะ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปฏิบัติจรณะ 15 พาให้พ้นสวรรค์คนโง่ วันพุธที่ 3 มีนาคม 2564 ที่ บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 15 มีนาคม 2564 ( 14:18:44 )

อวดตัวจะได้คนโง่ ไม่อวดตัวจะได้คนฉลาด

รายละเอียด

อาตมาเลยพยายามพูด ไม่อยากอวดตัว หลักฐานพวกนี้แสดงได้ว่า อาตมาไม่ได้อวดตัวไม่ได้มีสาเฐยจิต อวดตัวนี้จะได้คนโง่ แต่หากอาตมาไม่อวดตัว จะได้คนฉลาด เพราะฉะนั้นอาตมาจะเอามาทำไมคนโง่ ต้องได้คนฉลาดๆมีปัญญา คนโง่ได้ปัญญาก็ฉลาดคนฉลาดก็จะมา อาตมาไม่ไปหลอกไม่มาครอบงำคนโง่ อาตมาจะพูดสัจจะ คุณฉลาดเองคุณเข้าใจ คุณมีความยินดี มีฉันทะว่าอย่างนี้ใช่ อย่างนี้เอา..คุณก็มาเอง พวกคุณมาเองอาตมาไม่ได้ล่อหลอก

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม ร้อยมาลัยพระอภิธรรมตามแบบพ่อครู วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 27 มกราคม 2564 ( 21:57:01 )

อวดรวยเสียเวลาเป็นเรื่องโง่จริงๆ เลย

รายละเอียด

เขาพยายามออกกันก็ได้ พยายามออกจากโลกนี้ไปโลกพระจันทร์ โลกพระอังคารก็ได้แต่เขาไปอยู่ไม่ได้หรอก มันก็จะเหมาะกับโลกๆ นี้ โลกๆ อื่นไปอยู่ไม่ได้ นี่ก็ดันทุรังจะพยายามไปสร้างสถานที่ ไปจองที่ที่โลกพระจันทร์ โลกพระอังคาร แล้วใครเป็นเจ้าของ โง่จริงๆ เลย และมันจองกัน ตลกอวดรวยพวกเศรษฐี แล้วก็จะไปอยู่โลกลูกนั้นลูกนี้ คือมันคิดเกินไป มันเกินที่คนจะไปรู้แล้ว ไปวุ่นวายเสียเวลา เหมือนพระพุทธเจ้าท่านตรัสกับคนที่มาถาม บอกว่าเธอถามเกินปัญหาไปแล้ว มันไม่น่าจะเป็นปัญหา แต่เธอถามนั้นมันเกินปัญหาไปแล้วเหมือนกันมันทำเกินที่ควรจะทำ แต่เขาก็ว่าเขาเก่งนะเสียเวลา 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์เปิดงานปลุกเสกพระแท้ๆ ของพุทธ ครั้งที่ 44 พาปฏิญาณศีล 8 วันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 08 เมษายน 2564 ( 20:58:37 )

อวดอรหันต์เก๊ที่เป็นของเดียรถีย์

รายละเอียด

เอาอีกอัน อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีจริงในตนก็ปาราชิกเหมือนกัน อวดอรหันต์เก๊ มีในตนแต่เป็นของเดียรถีย์ แล้วมาบอกว่าของพระพุทธเจ้าอีก ฟังดีๆ คุณเซียนเบิร์ด 

คุณบอกว่า อรหันต์ของแท้ แต่อาตมาว่าอรหันต์ของเก๊ คุณบอกว่าอาตมามีกรรมหนัก อาตมาว่า อาตมาหนักที่มีกุศลธรรม แต่ทางโน้นอกุศลกรรมหนักกว่าอาตมา อาตมาต้องช่วย

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ มรรคมีองค์ 8 ทำให้พ้น

จากอัญญเดียรถีย์ วันศุกร์ที่ 23 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 01 พฤษภาคม 2564 ( 11:30:12 )

อวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตน

รายละเอียด

(เช่น)ผู้แสดงฌานโดยตนไม่เคยพบ ไม่เคยสัมผัสสภาวะจริงในตน

หนังสืออ้างอิง

จากหนังสือทางเอก ภาค 3 หน้า 44


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:31:49 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 09:46:29 )

อวดอุตตริมนุสสธรรมมี 2 แบบ

รายละเอียด

ปาราชิกมีหลายข้อ ขี้โกง เรื่องผู้หญิง ฆ่าคน อวดอุตริมนุสธรรม 

ธัมมชโยก็อวดอุตตริมนุสสธรรม แต่อย่างอาตมาอวดอุตริมนุสธรรมอย่างมีในตนและสมควรจะอวด ไม่ได้อวดเล่นๆ มีสาเฐยจิต แต่ธัมมชโยอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตน ก็ต้องปาราชิก อวดเพื่อให้คนอื่นมาศรัทธาเลื่อมใส เขาจับได้ก็ยังหลอกเขาต่ออีก ซึ่งมีหลักฐานทั้งนั้นที่เขายืนยัน หลักฐานนั้นอาตมายังจำได้เลย มีคนเอาเรื่องนี้ไปจับผิดธัมมชโย 

คือผู้ที่เขาจับผิด เขาเขียนจดหมายไป เขาก็ตั้งเรื่องเลยว่าพ่อเขาได้มาทำทานกับธัมมชโยแล้วตอนนั้นเท่านั้นเท่านี้ ก็เลยถามธัมมชโยว่า พ่อเขาตอนนี้ตายไปแล้ว ขอถามว่าตอนนี้พ่อเขาอยู่สวรรค์ชั้นไหนไปทำทานกับท่านจะได้อานิสงส์ไหม บอกว่าให้ธัมมชโยดูให้หน่อยเถอะ พ่อเขาอยู่ในสวรรค์ชั้นไหนแล้วเป็นอย่างไรแล้ว ธัมมชโยก็บอกเลยว่าอานิสงส์แบบนี้ได้สวรรค์ชั้นนั้นชั้นนี้ อย่างนั้นอย่างนี้ ให้มาทำอีกนะ เป็นคำตอบที่ตอบออกอากาศเลย เสร็จแล้วคนนี้ก็เลยเปิดเผยว่า พ่อเขายังอยู่ดีมีสุข ยังไม่ตายหรอก ที่เขียนมานั้นเป็นเรื่องมุขทั้งนั้น เล่นลิ้นไปเฉยๆ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ธรรมบรรยาย คุหัฏฐกสุตตนิทเทส ตอน 1 วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม 2564 ขึ้น 10 ค่ำเดือน 7 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 01 กรกฎาคม 2564 ( 10:37:11 )

อวดอุตริ

รายละเอียด

เป็นคนแสดงสิ่งที่ไม่ใช่คุณวิเศษจริง

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 69


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:32:22 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 06:58:34 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:13:47 )

อวดอุตริมนุษยธรรมที่ไม่มีในตน

รายละเอียด

อวดอุตริมนุษยธรรมที่ไม่มีในตน คือ การหลงตัวเองว่าเป็นอรหันต์และหลอกคนอื่นว่าตนเป็นอรหันต์ อัตตาหนา จิตติดยึดในมานะอัตตา โดยที่ตัวเองไม่รู้ตัวว่าตัวเองติดไม่ใช่โลกุตรธรรม  การหลอกคนว่าตนเองเป็นอรหันต์ทั้งทีมีทั้งกามและอัตตามาก เป็นการทำลายรากของศาสนาพุทธ

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 23 กันยายน 2562 ( 07:49:48 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 14:47:29 )

อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน 

รายละเอียด

อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน  คือ  เป็นการอวด  การแสดงธรรมที่ไม่มีในตนเองให้คนอื่นนั่นแหละปาราชิก

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม  บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน 2562


เวลาบันทึก 26 ตุลาคม 2562 ( 12:49:23 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 14:48:30 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:15:11 )

อวดอุตริมนุสธรรมเป็นเรื่องยอดเยี่ยม

รายละเอียด

พระพุทธเจ้าถึงมาตรัสรู้แล้วบอกว่าคนเราวนเวียนอยู่อย่างนั้น จึงจบความวนเวียนได้ตั้งแต่เป็นๆ ไม่ต้องไปแย่งในลาภยศสรรเสริญโลกียสุข พูดไปแล้วอาตมาก็ยังชื่นใจ ที่อาตมาเกิดมาเอาศาสนาพระพุทธเจ้ามาอธิบาย ก็มีคนฟังรู้เรื่องเข้าใจแล้วเอาไปปฏิบัติได้เกิดมรรคผล พูดไปเขาก็หาว่าอวดอุตตริมนุสสธรรม แล้วอุตตริมนุสสธรรมเป็นเรื่องที่สมควรอวดเป็นเรื่องยอดเยี่ยม ทำอย่างนี้ หาว่าผิด คนทั่วไปนั้นเขาโชว์แต่พวกไสยศาสตร์เดรัจฉานวิชาประกาศโฆษณากันจัง ชวนกันให้มาทำ อาตมาก็ไม่รู้จะว่าอย่างไร มันมีประเด็นที่เขาว่าอวดอุตริมนุสธรรมประกาศอุตตริมนุสสธรรม ซึ่งอุตตริมนุสสธรรมนั้นจริงหรือเปล่า คนพูดไม่จริงเป็นจริงแล้วก็แสดงความจริงประกาศความจริงมีผู้มาเอาความจริงหรือเปล่า ถ้าจริงก็หมดปัญหาเลย พูดจริงคือเป็นอรหันต์จริงๆหมดเลย ไม่ต้องมีปัญหาในเรื่องของที่จะต้องผิดอะไรอีกเลยก็เป็นการประกาศได้เลย เขาก็เรียนมา ในเรื่องของสติวินัย อย่าไปจับอาบัติท่าน ไปปรับอาบัติท่าน กับพระอรหันต์อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ชัดเจนธรรมะพุทธเจ้าชัดเจนมาก 

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2563


เวลาบันทึก 22 พฤศจิกายน 2563 ( 12:42:01 )

อวดเก่งกว่าสรีระทำให้เสื่อมสมรรถภาพ

รายละเอียด

เราก็สามารถมีชีวิตมาแล้วเราก็รู้ว่าเราควรกินอะไรพอสมควร มากหน่อย น้อยหน่อยไม่เป็นไรมันจัดการของมันเอง แล้วไอ้ที่ให้ร่างกายมันจัดการเอง มันเก่ง ถ้าไม่ให้จัดการเอง เราไปจัดการให้มันมันก็เสื่อม เสื่อมสมรรถภาพ อย่างอาตมานี้เสื่อมลงไปทุกที ตอนนี้ผอมแห้ง เพราะคนอวดเก่งกว่าสรีระ สอดรู้สอดเห็นสรีระ อาตมาจะพูดตรงนี้วันนี้ว่า อย่ามาจู้จี้กับอาตมามากนัก คุณจะมาเก่งกว่าสรีระอาตมาได้อย่างไร 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 45 ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก

พระอรหันต์เป็นผู้มีความรู้เรื่องอาหารดีกว่าคนโลกีย์


เวลาบันทึก 04 มีนาคม 2564 ( 18:42:29 )

อวยพรสู่แดนทอง ฉลอง 50 ปี โพธิกิจ

รายละเอียด

ยังไม่ถึงวันที่ 5 รู้สึกว่าปีนี้ อวยพรมา เอาของขวัญรางวัลมาถวายก่อนวันที่ 5 ด้วย ก็ขอบคุณ นี่ก็อวยพรมาเป็นกวี 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม 2563


เวลาบันทึก 30 มิถุนายน 2563 ( 08:56:55 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 14:49:10 )

อวยพรหรือให้พร

รายละเอียด

พรคือ คำประเสริฐ คำดี ที่ฟังแล้วนำไปปฏิบัติทำให้เจริญ ให้พรก็คือให้คำที่ดีๆ แล้วก็ทำความเข้าใจมันหมายถึงอะไรจะเอาไปทำอย่างไรเอาไปปฏิบัติตามคำที่ดีนี้ เราก็เจริญตามคำนั้นเรียกว่าคำประเสริฐ หรือคำพร พร แปลว่า ประเสริฐ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์วันอาสาฬหบูชา วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2563


เวลาบันทึก 09 สิงหาคม 2563 ( 10:14:36 )

อวรรณะ

รายละเอียด

คนยังไม่มีชั้น , คนชั้นต่ำ

หนังสืออ้างอิง

วิถีพุทธ หน้า79 , 81


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:32:55 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 07:00:39 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:15:52 )

อวรรณะ 6

รายละเอียด

คือ

1. เป็นคนเลี้ยงยาก (ทุภระ)

2. บำรุงยาก (ทุโปสะ)

3. มักมาก มักใหญ่ (อหิจฉะ)

4. ไม่สันโดษ ไม่มีใจพอ ไม่มีความพอเพียง (อสันตุฏฐิ)

5. คลุกคลีไปด้วยกองกิเลส (สังคณีกะ)

6. เกียจคร้าน (โกสัชชะ)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎก เล่ม 1 ข้อ 20

หนังสืออ้างอิง

“คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1 ห น้า111)


เวลาบันทึก 09 พฤศจิกายน 2562 ( 13:35:16 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 11:41:58 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:16:23 )

อวรรณะ 6

รายละเอียด

คือ การทำตัวเป็นคนน่าตำหนิติเตียน 6 อย่าง

1. เป็นคนเลี้ยงยาก (ทุพภระ)

2. บำรุงยาก (ทุปโปสะ)

3. มักมาก (มหิจฉะ)

4. ไม่สันโดษ ไม่รู้จักพอ (อสันตุฏฐิ)

5. คลุกคลีหมู่กิเลส (สังคณิกา)

6. เกียจคร้าน (โกสัชชะ)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม  1 "ปฐมปาราชิกกัณฑ์"  ข้อ  20

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 04 กรกฎาคม 2562 ( 16:25:43 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 16:29:05 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:16:39 )

อวรรณะ 6

รายละเอียด

คือการทําตัวเป็นคนน่าตําหนิติเตียน 6 อย่าง

1. เป็นคนเลี้ยงยาก (ทุพภระ)

2. บํารุงยาก (ทุบโปสะ)

3. มักมาก (มหิจฉะ)

4. ไม่สันโดษ ไม่รู้จักพอ (อสันตุฏฐิ)

5. คลุกคลีหมู่กิเลส (สังคณิกา)

6. เกียจคร้าน (โกสัชชะ)

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 1 “ปฐมปาราชิกกัณฑ์” ข้อ 20


เวลาบันทึก 14 มีนาคม 2565 ( 11:22:55 )

อวรรณะ 6 คือ 

รายละเอียด

คนไม่สะสม ยอดขยัน 2 อันนี้แหละ เป็นผู้ที่มีอาการที่น่าเลื่อมใส คนที่จะกักตุน ขี้เกียจ

อวรรณะ 6 คือ 

1. เลี้ยงยาก  (ทุพภระ) 

2. บำรุงยาก  (ทุปโปสะ) 

3. มักมาก  (มหัปปิจฉะ) 

4. ไม่รู้จักพอ  (อสันตุฏฐิ) 

5. เกียจคร้าน  (โกสัชชะ) 

6. คลุกคลีหมู่คณะ(คลุกกองกิเลส) (สังคณิกา) 

(พตปฎ. เล่ม 1  ข้อ 20)  ตรงข้ามกับ วรรณะ 9

นี่คือ อวรรณะ 6 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ที่สุดแห่งพุทธศาสนาคือปัญญาอันปราศจากกิเลส วันพุธที่ 26 ตุลาคม 2565 ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 12 ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 13 ธันวาคม 2565 ( 14:02:02 )

อวรรณะ 6 ตรงข้ามกับ วรรณะ 9

รายละเอียด

ส่วน อวรรณะ 6

  1. เลี้ยงยาก  (ทุพภระ)

  2. บำรุงยาก  (ทุปโปสะ)

  3. มักมาก  (มหัปปิจฉะ)

  4. ไม่รู้จักพอ  (อสันตุฏฐิ)

  5. เกียจคร้าน  (โกสัชชะ)

  6. คลุกคลีหมู่คณะ(คลุกกองกิเลส) (สังคณิกา)  ตรงข้ามกับ วรรณะ 9

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม 2561


เวลาบันทึก 30 ธันวาคม 2563 ( 10:53:19 )

อวิชชา

รายละเอียด

คือ มีปัญญามากทางโลก รู้มากในสิ่งที่ไม่ควรรู้ (มีแต่ความรู้ ที่นำพาจิตวิญญาณให้ตกต่ำจมอยู่กับกิเลส)

หนังสืออ้างอิง

“สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ” หน้า152


เวลาบันทึก 26 ตุลาคม 2562 ( 14:47:38 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 16:29:49 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:17:01 )

อวิชชา

รายละเอียด

คือ ความไม่รู้ ที่ทำให้เกิดเป็นคน ที่มีอัตภาพ มีตัวตน อวิชชา จนไม่มีทางที่จะจบ เพราะไม่หมดตัวตน ยังเห็นแก่ตัวอยุ่ไม่มากก็น้อย ชีวิตก็ดำเนินไปอย่างผิดๆโง่ๆ หลงๆยึดดี ยึดชั่ว ถูกโลกหลอกมาเรื่อย ก็เชื่อไปเรื่อย แล้วก็ไม่จริง ชีวิตก็หมุนเวียนไปอยู่แต่ในสวรรค์และนรก

หนังสืออ้างอิง

“สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ” หน้า 116


เวลาบันทึก 25 ตุลาคม 2562 ( 15:43:25 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 16:30:41 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:17:25 )

อวิชชา

รายละเอียด

อวิชชา คือ ความไม่รู้ เป็นธรรมดา  คนเราที่ยังอวิชชาจะเห็นความสูง เป็นความต่ำ ความต่ำเป็นสูง  ความใหญ่เป็นความเล็ก

อวิชชา  คือ ความไม่รู้พาให้เกิด  คุณเกิดอวิชชา  อวิชชาพาให้คุณเกิด  เกิดจาก ดิน น้ำ ไฟ ลม ปรุงแต่งเป็นไปได้สารพัด  วัตถุ  สสาร หรือไม่ใช่นามก็เป็นอรูป  พลังงาน  ความร้อน แสง เสียง  แม่เหล็กไฟฟ้า  วิทยาศาสตร์สามารถเรียนรู้ได้เอามาใช้งานได้เก่ง  พระพุทธเจ้าไม่จำเป็นต้องเรียนรู้พวกนี้

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ

ธรรมาธิบายราย การสำมะปี๋ซี่วิต ปฐมอโศก 30 กันยายน  พ.ศ. 2562


เวลาบันทึก 23 กันยายน 2562 ( 07:51:46 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 14:49:51 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:17:50 )

อวิชชา

รายละเอียด

ความหลง ไม่รู้ อันเป็นเหตุไม่รู้จริง

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราชวันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 11 มกราคม 2563 ( 13:25:53 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 14:50:30 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:20:43 )

อวิชชา

รายละเอียด

การซ่อนอยู่ในความดีความชั่วทั้งนั้น ความดีความชั่วนั้นคืออวิชชามันซ่อนให้คุณผิดจากความดีแล้วก็มาชั่ว อวิชชานี่แหละมันเป็นเรื่องไม่เที่ยง นึกว่าคนมีความเที่ยงแต่ที่จริงแล้วมันมีอวิชชาทำให้ไม่เที่ยง

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชี่วิต บ้านราช  ครั้งที่ 61 วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 15 พฤศจิกายน 2562 ( 14:35:00 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 14:51:12 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:22:15 )

อวิชชา

รายละเอียด

แล้วอวิชชา ก็มีกายที่ไม่รู้ ที่อวิชชาก็จะเกิดกาม เพราะฉะนั้นเบื้องต้นที่สุดก็จะต้องเรียนรู้ตรงนี้เหมือนคุณจะกินทุเรียน คุณก็ต้องแกะเปลือกมันก่อน ต้องหาอะไรมาเฉาะเปลือกออกให้หมดก่อน คุณถึงได้กินทุเรียน หรือ บางอย่างหลายอันจะต้องเฉาะออกเป็น 3 ชั้น เอาเปลือกแล้วก็เอาเนื้อออกถึงจะได้กินเม็ดในแก่นมัน อย่างนี้เป็นต้น 

ถ้าคุณไม่เฉาะเปลือกออกอะไรต่ออะไรออก ไม่ผ่านไปถึงข้างใน เอาออกหรือคุณต้องกินเข้าไปก่อนหรือทำลายก่อน ทำลายอันนี้แล้วก็จะได้เนื้อใน ด้านในสุด มันถึงจะเป็นลำดับ อย่างสายนั่งหลับตา หมด มันไม่มีเบื้องต้น เพราะฉะนั้นเบื้องในที่จะไปเจอไปถูกต้อง ไปมีของจริง..ยกเลิกเลย เพราะในกาม ในกามาวจร ในพื้นภพ คนมีตาหูจมูกลิ้นกาย ปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้าจะต้องมีภายนอกเป็นพื้นฐานเลย ตาหูจมูกลิ้นกาย แล้วล้างกิเลส ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่ออกให้หมด

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ชาวอโศก ทำแล้ว ทำอยู่ และกำลังทำโลกุตระต่อไป วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 ขึ้น 5 ค่ำเดือน 4 ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 14 มิถุนายน 2566 ( 13:08:34 )

อวิชชา

รายละเอียด

“ความไม่รู้”นี้ศัพท์บาลีว่า “อวิชชา” ซึ่งใน“วิญญาณ” ของสัตว์โลก จะสะสมใส่จิตวิญญาณของตนโดย“ความไม่รู้” นั่นแหละ จนกว่าจะได้พบ“ศาสนาพุทธ” ได้พบ“คนชาวพุทธ” ได้ฟังธรรมขั้น“โลกุตระ”จากผู้รู้ที่“สัมมาทิฏฐิ” หรือจาก“สัตตบุรุษ” ยิ่งได้ฟังจากพระพุทธเจ้าก็ยิ่งโชคดีสุดยอด

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปฏิจจสมุปบาท ตอน 3 วันศุกร์ที่ 5 มกราคม 2567 แรม 9 ค่ำเดือนอ้ายปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 08 มกราคม 2567 ( 15:40:46 )

อวิชชา

รายละเอียด

มิจฉา คือ ไม่รู้ ถึงขั้นอวิชชา เพราะฉะนั้นถ้าอวิชชาเสียแล้วตั้งแต่อาริยสัจ 4 ก็อวิชชาแล้ว เขาก็มิจฉาทิฏฐิไป 4 ข้อ แล้วยังจะไปแถมมิจฉาทิฏฐิในเรื่องส่วนที่เป็นอดีต ส่วนที่เป็นอนาคต และทั้งส่วนอดีตและทั้งอนาคต และก็ไม่รู้จักปฏิจจสมุปบาท คุณก็ครบพร้อมอวิชชาสวะ อวิชชาสวะ 8 เต็มๆ เลย แล้วเยอะ เดี๋ยวนี้มีเยอะ อริยสัจ 4 เข้าใจกายกันไม่ได้ ปฏิบัติก็ไม่มีกายก็โมฆะไปแล้ว 

เพราะฉะนั้น ยิ่งไปเข้าใจส่วนอดีต ส่วนอนาคต หรือทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตไม่ได้ ที่เข้าใจไม่ได้ก็เพราะไปหลงด้วย หลงส่วนอดีต หลงส่วนอนาคต แล้วก็ไปจมอยู่กับอดีตกับอนาคต เพราะฉะนั้นเขาไม่ได้เลย 

ผู้พ้นอดีต พ้นอนาคต ก็จะรู้ว่า อ๋อ.. อดีตกับอนาคตก็คือสภาพที่เป็น กาละชนิดหนึ่ง ที่มันไม่เป็นความจริง ไม่มีปัจจุบันชาติ เพราะฉะนั้นต้องมามีปัจจุบันชาติ มาเป็น ทิฏฐธรรม มาเป็นปัจจุบันชาติจึงจะเป็นความจริง แล้วทำความจริงนั้น ถ้าสัมมาทิฏฐิก็จะทำความจริงได้ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ก็จะรู้ชัดว่ามันต่างกันอย่างไร และมันจะเป็นที่สุดได้ต้องเป็นปัจจุบัน ทำที่สุดให้กิเลสหมด จนกระทั่งจมีประสิทธิภาพของจิต 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ คนอยู่เหนือกาละต้องชนะปฏิจจสมุปบาท วันพุธที่ 3 มกราคม 2567 วันแรม 7 ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 09 มกราคม 2567 ( 15:28:30 )

อวิชชา

รายละเอียด

อวิชชา คือ ความยังไม่รู้ตามแบบพุทธที่“สัมมาทิฏฐิ” ซึ่งมีลักษณะ“โลกุตระ”โดยเฉพาะ จึงแตกต่าง“โลกียะ”แน่ 

      เพราะคน“โลกียะ”นั้นยังมีแต่“ความรู้”ที่ชื่อว่า“เฉโก” หมายความว่า “ความรู้”ที่ชื่อว่า “ปัญญา”คน“โลกียะ”เขายังไม่มีเลย คน“โลกียะ”เขาก็มีกันแต่ความรู้ที่อยู่ในกรอบ“โลกียะ”เท่านั้น ยังไม่มี“อื่น”ที่แปลกแยกใหม่ออกไปจาก “ความรู้แบบโลกียะ”เดิมของปุถุชน

      คนโลกียะทั้งหลายนั้น คือ คนที่มีแค่“ความรู้”ที่ชื่อว่า “เฉโก”อยู่  “ความรู้“แบบ“อื่น”ที่แตกต่างไปแท้ ยังไม่มี 

      เฉโก คือ ความรู้ที่อยู่ในฐานะของคนผู้ไม่รู้จักรู้แจ้งรู้จริง“กิเลส”อย่างแยบคายถ่องแท้ และไม่มีวิธีกำจัดกิเลสหมดสิ้น“อาสวะ”ไปจากจิตได้จนกระทั่ง“จบกิจ”เด็ดขาด 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศนาส่งท้ายปีเก่า 2566 เรื่องปฏิจจสมุปบาท ตอน 1 วันวันอาทิตย์ที่ 31 ธันวาคม 2566 แรม 4 ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 10 มกราคม 2567 ( 16:49:42 )

อวิชชา 8

รายละเอียด

อวิชชา 8 (อกุศลเหตุของโมหะ) ความไม่รู้ใน อริยสัจ 4 และอีก 4 คือ ส่วนอดีต – ส่วนอนาคต – ทั้งส่วนอดีตและส่วนอนาคต –  ปฏิจจสมุปบาท

1. ไม่รู้..ทุกข์  (ทุกฺเข  อญฺญาณํ) ไม่รู้ 
2. ไม่รู้..ทุกขสมุทัย  (ทุกฺขสมุทเย  อญฺญาณํ) ความไม่รู้ 
3. ไม่รู้..ทุกขนิโรธ  (ทุกฺขนิโรเธ  อญฺญาณํ)  ยังโง่ 
4. ไม่รู้..ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (มรรคมีองค์ 8)   ความไม่รู้กิเลสทั้งหลาย ทั้งหยาบ กลาง ละเอียด และความไม่รู้ ไม่เห็นแจ้งชัดในความจริงว่าตัวเองมีกิเลสเหลืออยู่
5. ไม่รู้ในส่วนอดีต (ที่ไม่เที่ยง)   ปุพพันเต อัญญาณัง ความโง่ 
6. ไม่รู้ในส่วนอนาคต (ที่ไม่เที่ยง)  อปรันเต อัญญาณัง  ธาตุโง่ที่อยู่ในจิต 
7. ไม่รู้ทั้งส่วนอดีต-ส่วนอนาคต  (ไม่รู้สิ่งที่เที่ยงแท้เท่ากันหมดแล้ว) (ปุพพันตาปรันเต  อัญญาณัง)  ความไม่รู้โลกุตรธรรม 
8. ไม่รู้ในธรรมทั้งหลายที่อาศัยกันเกิดขึ้นเป็นห่วงโซ่แห่ง การเกิดทุกข์ หรือการดับทุกข์  ตามหลักปฏิจจสมุปบาท  (หรืออิทัปปัจจยตา) ผู้ไม่รู้ในอวิชชา 8 แล้วปฏิบัติจนละล้างอวิชชา 8 ได้สำเร็จ โง่ หรือผิดโดยที่ผู้ทำไม่มีปัญญาที่รู้แจ้งรู้จริง

คำอธิบาย

อวิชชา 8 คือ

1.     ความไม่รู้ในทุกข์ (ทุกเข อัญญาณัง)

2.    ความไม่รู้ทุกขสมุทัย (ทุกขสมุทเย อัญญาณัง)

3.    ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ (ทุกขนิโรเธ อัญญาณัง)

4.    ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

5.    ความไม่รู้ในส่วนอดีต (ปุพพันเต อัญญาณัง)

6.     ความไม่รู้ในส่วนอนาคต (อปรันเต อัญญาณัง)

7.    ความไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต (ปุพพันตาปรันเต) ข้อนี้คือความเที่ยง อดีต ปัจจุบัน อนาคต สูญกิเลสหมดทั้งสามกาละ

8.    ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปบาทธรรม ว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น พวกที่ออกป่า ปฏิบัติมิจฏาทิฏฐิ คนพวกนี้ไกลจากวิเวกคือคุณไม่มีสิทธิ์ได้วิเวก 3 เลย กายวิเวก จิตเวิเวก อุปธิวิเวก

รายการวิถีอารยธรรม  บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม 2562

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฏก เล่ม 34  ข้อ 691 ว่าด้วย อกุศลเหตุของโมหะ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 7

สมาธิพุทธ หน้า 399

ทางเอก ภาค 2 หน้า 52 , ภาค 3 หน้า 70 

คนคืออะไร? หน้า 4 , หน้า 252,

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 34, หน้า 39 , หน้า 175

ทางเอก ภาค 3 หน้า 329

สมาธิพุทธ หน้า 547


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:36:12 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 14:56:33 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:26:03 )

อวิชชา 8

รายละเอียด

คือ 

1. ความไม่รู้ในทุกข์  (ทุกเข  อัญญณัง)

2. ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย  (ทุกจสมุทเย  อัญญณัง)

3. ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ (ทุกขนิโรเธ   อัญญาณัง)

4. ความไม่รู้ในทุกจนิโรธคามีนีปฏิปนา

5. ความไม่รู้ในส่วนอดีต (ปุพพันเต  อัญญาณัง)

6. ความไม่รู้ในส่วนอดีต และส่วนอนาคต  (อปรันเต  อัญญาณัง)

7. ความไม่รู้ในส่วนอดีตและส่วนอนาคต(ปุพพันตา  ปรันเต)

8. ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรม ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย  ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น

ที่มา ที่ไป

รายการทำวัตรเช้า งานมหาปวารณา ครั้งที่ 37 บ้านราช วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 28 พฤศจิกายน 2562 ( 14:14:43 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 14:58:16 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:27:26 )

อวิชชา 8

รายละเอียด

อวิชชา 8 คือ

1.    ไม่รู้..ทุกข์  (ทุกฺเข อญฺญาณํ)

2.    ไม่รู้..ทุกขสมุทัย  (ทุกฺขสมุทเย อญฺญาณํ) 

3.    ไม่รู้..ทุกขนิโรธ  (ทุกฺขนิโรเธ อญฺญาณํ)  

4.    ไม่รู้..ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (มรรคมีองค์ 8)   

5.    ไม่รู้ในส่วนอดีต (ที่ไม่เที่ยง)   ปุพพันเต อัญญาณัง 

6.    ไม่รู้ในส่วนอนาคต (ที่ไม่เที่ยง)  อปรันเต อัญญาณัง 

7.    ไม่รู้ทั้งส่วนอดีต-ส่วนอนาคต  (ไม่รู้สิ่งที่เที่ยงแท้เท่ากันหมดแล้ว) (ปุพพันตาปรันเต  อัญญาณัง) . 

8.    ไม่รู้ในธรรมทั้งหลาย ที่อาศัยกันเกิดขึ้นเป็นห่วงโซ่แห่ง การเกิดทุกข์ หรือดับทุกข์  ตามหลักปฏิจจสมุปบาท (หรืออิทัปปัจจยตา) 

(พตปฎ. ล.34  ข.691 ว่าด้วย อกุศลเหตุของโมหะ) 

อดีต อนาคต ผ่านมาแล้ว ทำไมข้อ 7 ต้องมีอีก 

อนาคตหรืออดีตในข้อ 5, 6 เป็นส่วนที่ยังไม่เที่ยง คือ ถ้าคุณยังมีปัจจุบันที่กระทบสัมผัสแล้วก็จะผ่านจากปัจจุบันไปเป็นอดีต ถ้าของคุณ แม้เป็นอรหันต์ไม่ต้องพูดถึงปุถุชนไม่เที่ยงแน่ แม้เป็นอรหันต์แล้ว ไม่ทำบาปทั้งปวงแต่ปัจจุบันคุณก็ยังทำกุศล แต่ก่อนมี 8 มี 9 แล้วทำเพิ่มไปมันก็ต้องเป็น 10, 11 อดีตมันก็ไม่เที่ยง เมื่ออนาคตมาอีกก็ทำเป็นกุศลอีกมันก็ยังไม่เที่ยงอีกมันก็เป็นอดีตที่ไม่เที่ยง เมื่ออนาคตมาอีกคุณก็ต้องทำอีก คุณก็ต้องทำกุศลอีกมันเที่ยงที่ไหนล่ะ ได้กุศลอีกก็ไปตกเป็นอดีตเพราะฉะนั้นอดีตก็ไม่เที่ยง อนาคตมาถึงปัจจุบันนี้ก็ไม่เที่ยง ส่วนอดีต กับปัจจุบันของอันที่ 7 สูญ คือกิเลสสูญ 

ต่างกับอดีตและปัจจุบันที่มีกุศล แต่นี่มันไม่มีกุศล อกุศล มันเป็น 0 เป็นจิตว่างเพราะฉะนั้นตัวที่ 7 คุณจะมี 0 ถาวรไหม ถ้า 0 ถาวร มันจะผ่านมาอย่างไรอีกมันก็ยัง 0 ตัวนี้แหละเป็นตัวตัดสิน ผ่านปัจจุบันทุกปัจจุบัน 108 ทำแล้วทำอีก มันก็ยัง 0 0 0 0 ของปัจจุบัน 

เพราะฉะนั้นถ้ามันมีกุศลมามันก็เป็นอดีตมันก็เพิ่ม อกุศลมาแล้วคุณก็ทำให้เป็นกุศล อกุศลที่เป็นอนาคตมาคุณก็ทำให้เป็นกุศลมันก็เป็นอดีตที่เป็นกุศลอีก แต่ทั้งอดีตและอนาคตนี้ของคุณเอง คุณก็ว่างของคุณตลอดกาลนาน เที่ยงตลอดกาลนาน เพราะฉะนั้นนิพพานของผู้นี้เที่ยง คุณต้องพิสูจน์ความเที่ยงของคุณเอง 

อดีต 36 ปัจจุบัน 36 อนาคต 36 นี้ 0 ทั้งหมด มาอีกกี่อนาคต ปัจจุบันก็ทำให้เป็น 0 อนาคตมาอีกเมื่อไหร่ก็ทำให้ปัจจุบันนี้เป็น 0000 อดีตมันก็เป็น 00000ไปตลอด 

ที่มา ที่ไป

พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช  สภาวะของวิชชาจรณสัมปันโน วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 20 ธันวาคม 2562 ( 13:10:19 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 15:02:23 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:28:38 )

อวิชชา 8

รายละเอียด

อวิชชาคือความหลงผิดไม่รู้กิเลส เกิดมาจากผลสัมพันธ์สืบต่อเป็นลําดับ ดังนี้ 1. ไม่คบสัปบุรุษ (คนที่มีความเห็นถูกต้อง)

2. ไม่ฟังสัทธรรม (ธรรมของคนดี)

3. ไม่มีศรัทธา(ความเชื่ออย่างถูกต้อง)

4. ทําไว้ในใจโดยไม่แยบคาย (ไม่ลงไปถึงที่เกิด)

5. ไม่มีสติสัมปชัญญะ ความระลึกรู้ตัว)

6. ไม่สํารวมอินทรีย์ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)

7. ทําทุจริต 3 (ทําชั่วทางกาย วาจา ใจ)

8. มีนิวรณ์ 5 (กิเลส 5 อย่างที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุธรรม) นิวรณ์ 5 นี้เองทําให้เกิดอวิชชา

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 24 “อวิชชาสูตร” ข้อ 61


เวลาบันทึก 15 มีนาคม 2565 ( 20:25:25 )

อวิชชา 8

รายละเอียด

1. ไม่รู้..ทุกข์  (ทุกฺเข อญฺญาณํ)

2. ไม่รู้..ทุกขสมุทัย  (ทุกฺขสมุทเย อญฺญาณํ) 

3. ไม่รู้..ทุกขนิโรธ  (ทุกฺขนิโรเธ อญฺญาณํ)  

4. ไม่รู้..ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (มรรคมีองค์ 8)   

5. ไม่รู้ในส่วนอดีต (ที่ไม่เที่ยง)  ปุพพันเต อัญญาณัง 

6. ไม่รู้ในส่วนอนาคต (ที่ไม่เที่ยง)  อปรันเต อัญญาณัง 

7. ไม่รู้ทั้งส่วนอดีต-ส่วนอนาคต (ไม่รู้สิ่งที่เที่ยงแท้เท่ากันหมดแล้ว) (ปุพพันตาปรันเต  อัญญาณัง) . 

8. ไม่รู้ในธรรมทั้งหลาย ที่อาศัยกันเกิดขึ้นเป็นห่วงโซ่แห่งการเกิดทุกข์ หรือดับทุกข์ ตามหลักปฏิจจสมุปบาท (หรืออิทัปปัจจยตา) 

(พตปฎ. ล.34  ข.691 ว่าด้วย อกุศลเหตุของโมหะ) 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 53 ประโยชน์อันสูงสุดจากศาสนาที่มนุษย์พึงได้ วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2565 ขึ้น 10 ค่ำเดือน 10 ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 21 ธันวาคม 2565 ( 12:38:22 )

อวิชชา 8 (อวิชชาสวะ 8)

รายละเอียด

 ตามอกุศลเหตุของโมหะ และอวิชชาสวะ  คือความหลงผิดที่หมักหมมอยู่ในสันดาน โดย....

1. ไม่รู้ทุกข์ (ทุกเข  อัญญาณัง)

2. ไม่รู้เหตุให้เกิดทุกข์ (ทุกขสมุทเย  อัญญาณัง)

3. ไม่รู้ความดับทุกข์ (ทุกขนิโรเธ  อัญญาณัง)

4. ไม่รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์  (ทุกขนิโรธคามินิยา    ปฏิปทาย  อัญญาณัง)

5. ไม่รู้ในส่วนอดีต – ที่ไม่เที่ยง (ปุพพันเต  อัญญาณัง)

6. ไม่รู้ในส่วนอนาคต – ที่ไม่เที่ยง (อปรันเต  อัญญาณัง)

7. ไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและอนาคต – ไม่รู้สิ่งที่เที่ยงแท้เท่ากัน  หมดแล้ว (ปุพพันตาปรันเต  อัญญาณัง)

8. ไม่รู้ในธรรมทั้งหลาย ที่อาศัยกันเกิดขึ้นเป็นห่วงโซ่แห่งการเกิดทุกข์ หรือดับทุกข์  ตามหลักปฏิจจสมุปบาท/อิทัปปัจจยตา

    (อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปปันเนสุ   ธัมเมสุ  อัญญาณัง)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 34 “อกุศลเหตุของโมหะ” ข้อ 691 และ  “อาสวโคจฉกะ” ข้อ 712

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก 


เวลาบันทึก 07 กรกฎาคม 2562 ( 16:58:12 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 16:33:37 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 17:19:21 )

อวิชชา 8  ตามอวิชชาสูตร

รายละเอียด

อวิชชาคือความหลงผิดไม่รู้กิเลส  เกิดมาจากผลสัมพันธ์สืบต่อเป็นลำดับ  ดังนี้

1. ไม่คบสัปบุรุษ(คนที่มีความเห็นถูกต้อง)  การไม่คบสัปบุรุษ  เป็นอาหารของการไม่ได้ฟังสัทธรรมที่ถูกต้อง

2. ไม่ฟังสัทธรรม(ธรรมของคนดี)  การไม่ได้ฟังสัทธรรม  เป็นอาหารของความไม่มีศรัทธา (หรือศรัทธาผิดๆ)

3. ไม่มีศรัทธา(ความเชื่ออย่างถูกต้อง)  ความไม่มีศรัทธา (ศรัทธาไม่บริบูรณ์) เป็นอาหารของการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย (กระทำใจไม่เป็น)

4. ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย(ไม่ลงไปถึงที่เกิด)  การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย (หรือทำใจไม่เป็น) เป็นอาหารของความไม่มีสติสัมปชัญญะ

5. ไม่มีสติสัมปชัญญะ(ความระลึกรู้ตัว)  ความไม่มีสติสัมปชัญญะ (หรือทำสติไม่เป็น) เป็นอาหารของความไม่สำรวมอินทรีย์

6. ไม่สำรวมอินทรีย์(ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)  การไม่สำรวมอินทรีย์  เป็นอาหารของทุจริต 3 (กาย วาจา ใจ ทุจริต)

7. ทำทุจริต 3 (ทำชั่วทางกาย-วาจา-ใจ)  ทุจริต 3 เป็นอาหารของนิวรณ์ 5

8. มีนิวรณ์ 5 (กิเลส 5 อย่าง ที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุธรรม)  นิวรณ์ 5  นี้เองทำให้เกิดอวิชชา      นิวรณ์ 5 เป็นอาหารของ  อวิชชา

9. อวิชชา เป็นอาหารของ ภวตัณหา

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 24 “อวิชชาสูตร” ข้อ 61

 

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก 


เวลาบันทึก 07 กรกฎาคม 2562 ( 16:56:40 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 16:38:04 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 17:19:59 )

อวิชชา 8 ข้อที่ 5 ข้อที่ 6 และข้อที่ 7

รายละเอียด

ข้อสังเกตข้อที่ 5 และข้อที่ 6 ก็กล่าวถึงทั้งอดีตและอนาคตมาแล้ว และกล่าวทำไมอีกในข้อที่ 7 เพราะฉะนั้นมันต้องมีนัยยะที่แตกต่างจาก 2 ข้อนั้นมาแน่ เพราะว่าในข้อ 7 ทั้งอดีตทั้งอนาคต ก็ซ้ำกันอยู่อดีตกับอนาคต เพราะฉะนั้นนัยยะจากอดีตและอนาคตก็ต้องแตกต่างจากอดีตข้อ 5 และอนาคตข้อ 6

อวิชชานัยยะสำคัญของข้อ 7 อดีตเฉพาะอดีต มันก็คือลักษณะธรรมชนิดหนึ่ง คืออดีต อดีตก็คือไม่ใช่ปัจจุบันเพราะฉะนั้นอดีตคือผ่านปัจจุบันไปแล้ว และไม่ใช่อนาคตเพราะยังไม่มาถึง นี่คำจำกัดความของอดีต

เพราะฉะนั้นธรรมะในส่วนของข้อ 6 ส่วนอนาคต มันก็ไม่ใช่อดีต และมันก็ไม่ใช่ปัจจุบัน เพราะมันเป็นอนาคต ใช่ไหม เพราะฉะนั้นยิ่งส่วนอนาคตนั้นยิ่งจะไม่เป็นอะไรไม่เป็นตัวเป็นตนเลย เป็นอนาคต 

เพราะฉะนั้นธรรมะในข้อ 6 โดยส่วนอนาคต จึงเป็นธรรมะที่อย่าไปฟุ้งซ่านกับมันเลยเรายังไม่รู้เลยว่ามันจะมาเมื่อไหร่ที่จะมาถึงปัจจุบันกับเรา เพราะฉะนั้นเราจึงอยู่กับปัจจุบันให้ดีที่สุด 

ฉะนั้น ถ้าผู้ใดทำที่นี่ ทำ ณ ปัจจุบัน ส่วนอดีตก็ตามส่วนอนาคตก็ดีทำใจในใจ อย่าไปฟุ้งซ่านกับมันเลย ส่วนอดีตนั้นเราต้องรู้ว่ามันผ่านปัจจุบันไปเป็นอดีตแล้ว เรามีคุณธรรมเรามีสมรรถนะเรามีความสามารถขนาดไหนที่เราทำสิ่งที่อนาคตมันมาถึงปัจจุบันทุกปัจจุบันก็จัดการให้เป็นอดีต เราได้จัดการเราได้ทำเรามีสมรรถนะเราสามารถทำได้สำเร็จแค่ไหน 

เพราะฉะนั้นในข้อที่ 7 ทั้งส่วนอดีตและส่วนอนาคตก็แสดงว่ามันผ่านปัจจุบันมาแล้ว เมื่อผ่านปัจจุบันมาแล้วก็นั่นแหละ ส่วนอดีตส่วนอนาคตคุณบรรลุธรรม ทำสำเร็จ ทำทั้งส่วนปัจจุบันทุกปัจจุบัน ทำให้เป็น 0 ได้ อนาคตยังไม่มาถึง แต่มาเถอะ ถ้ามาหนัก เออเราไม่ 0 เว้ย ถ้ามาขนาดนี้ 0 ยิ่งมาเลยจะมาหนักขนาดไหน อนาคตเอ๋ย มาขนาดไหนมาเจอะปัจจุบัน เสร็จ 0 ได้หมด

นี่คือหมายถึงทั้งส่วนอดีตและส่วนอนาคตอันที่ 3 เป็นตัว Subject บริบูรณ์ได้สำคัญ ชัดเจนไหม พูดไปอีกเดี๋ยวฟั่นเฝือสับสน อธิบายผ่านไปแล้ว มันมีนัยยะสำคัญที่ต่างกัน อย่างนี้ 

สรุปง่ายๆ ข้อที่ 7 ทั้งส่วนอดีตและส่วนอนาคตเป็นผลสำเร็จ ทำ 0 ได้สมบูรณ์แบบ นั่นคือผู้อวิชชามาถึงข้อ 7 นี้แล้วสมบูรณ์แบบ เป็นอรหันต์แล้ว หมดอวิชชาแล้ว อาสวะก็หมด 

เพราะฉะนั้นที่เราจะศึกษาทั้งหมดก็คือข้อ 8 ปฏิจจสมุปบาท คืออวิชชาทั้งพวง อวิชชาสวะ อวิชชา ตั้งแต่กิเลสกาม กิเลสรูป อรูป อาสวะของคุณอย่างเต็มบ้อง หรือคุณ ได้ปฏิบัติมีบารมีลดมาได้บ้างแล้วเท่าไหร่ ก็ตัวใครตัวมันก็ตามจิตของใครของมัน 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปฏิจจสมุปบาท ตอน 3 วันศุกร์ที่ 5 มกราคม 2567 แรม 9 ค่ำเดือนอ้ายปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 08 มกราคม 2567 ( 13:55:11 )

อวิชชา 8 ข้อที่ 7 ไม่รู้ทั้งส่วนอดีต และอนาคต

รายละเอียด

มีคนให้อธิบายข้อที่ 7 ต้องแยกไปทำไม อาตมาเคยอธิบายขยายความไว้แล้ว ส่วนอดีตก็ยังไม่เที่ยง ส่วนอนาคตก็ยังไม่เที่ยง แต่ถ้าคุณสามารถสำเร็จเป็นเวทนา 108 ทั้งส่วนอดีต และส่วนอนาคตเที่ยง มันอยู่ด้วยกันเลยอดีตกับอนาคตหรือรวมลงที่ปัจจุบัน มันทำ 0 ได้  ฉะนั้นอดีตก็ศูนย์  0 ปัจจุบันก็ 0 อนาคตมันจะมาถึงปัจจุบันเมื่อไหร่ไม่ต้องทำเลยบอกแล้วว่ากิเลสไม่มาด้วยหรอก มันปล่อยให้อนาคตตัว 0 มาได้สะดวกเลย เพราะว่ากิเลสมันกลัวรังสี รังสีกัมมันตภาพรังสีของความสำเร็จอันยิ่งใหญ่

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ เจโตปริยญาณ 16 และ
ปฏิจจสมุปบาทโดยพิสดาร วันพุธที่ 21 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 28 เมษายน 2564 ( 04:51:32 )

statistics

ติดต่อสอบถาม

Facebook : test

Youtube : Name

Twitter : Name

Line : Name

Telegram : Name

Wechat : Name

Skype : Name

Copyright © 2018 Borvornsocial.net all right are reserved. developer สงวนลิขสิทธิ์