@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก
@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก

อภิธานศัพท์ (Glossary) จัดเป็นฐานข้อมูลด้านโลกุตระที่สมบูรณ์ที่สุดที่คัดมาจากหนังสือ คำเทศน์ ฯ

คู่มือการค้นหาอภิธานศัพท์อโศก หรือ ห้องสมุดโลกุตระ 50 ปี

เอกสาร : https://docs.google.com/document/d/1HLGedxqTAOTOTQKGbO6M4qMremQ8K1jBWKRYDDt6MRQ/edit

วีดีโอ Loom 2 : https://www.loom.com/share/e824e62ec1eb4567848e94af124a7ed5

วีดีโอ Loom 1https://www.loom.com/share/2445744a08e74bca95d2f1d2a0526044

วีดีโอ YouTube : https://youtu.be/QyXcGmzhLmk

 

 

อภิธานศัพท์ (ทั้งหมด) พบ 28,074 รายการ

อัปมรรคผล

รายละเอียด

ในยุคกึ่งพุทธกัปอัปมรรคผล พุทธชน ช่างออก นอกวิถี 

หมู่มิจฉา อาสัตย์ อลัชชี เดียรถีย์ อาธรรม นำสังคม 

ความก็ชัด ไม่ยากอะไร เป็นยุคนี้ยุคกึ่งพุทธกาล อัปมรรคผลก็หมายความว่า มรรคผลมันไม่มีแล้ว อัป- ก็คือไม่มี ปิดประตูมรรคผล 

กล่าวถึงพุทธชน พุทธศาสนิกชนทั่วไป ออกไปนอกวิถี  แม้แต่ผู้มีหน้าที่ทางศาสนา เป็นผู้ที่จะต้องให้ความรู้-ดูแล-สั่งสอนก็ตาม ก็ออกนอกวิถี ผิดพลาด มิจฉาทิฏฐิไปจากธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็นหมู่มิจฉา อาสัตย์ อลัชชี เดียรถีย์ อาธรรม โอ้! ครบเลย ครบเครื่องเรื่องตำหนิ  

หมู่มิจฉา อาสัตย์ อลัชชีคือพวกหน้าไม่อาย เดียรถีย์พวกนอกรีตนอกศาสนาพุทธ อาธรรม-พวกไม่มีธรรมะ แต่นำสังคม

ที่มา ที่ไป

ครบรอบ 53 ปี โพธิกิจ พ่อครูเทศนาภาคค่ำ งานมหาปวารณา ครั้งที่ 41 วันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2566 แรม 6 ค่ำ เดือน 11 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 15 กุมภาพันธ์ 2567 ( 16:06:22 )

อัพพภูตธัมม

รายละเอียด

1. เป็นธรรมะชั้นพิเศษ เป็นธรรมะอันเยี่ยมที่ทุกคนควรทำให้ได้ หรือควรแจ้ง ควรถึง ควรรู้ ควรเห็นให้ได้จริง ๆ

2. (อ + ภูต + ธัมม  ;   อ = ไม่  ;  ภูต = เกิดแล้ว , วิญญาณ) อัจฉริยะ,  ธรรมที่เกิดแล้วแต่ก็ไม่เกิด หรือธรรมที่ประเสริฐสุดขั้นวิญญาณที่ไม่มีอาสวะวิญญาณ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 157 , ทางเอก ภาค 3 หน้า 428


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:02:54 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 20:16:46 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:03:13 )

อัพพยากต

รายละเอียด

ยังแยกไม่ออกว่าจะเป็นดีหรือจะเป็นชั่ว

หนังสืออ้างอิง

(จากหนังสือทางเอก ภาค 3 หน้า 188)


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:00:50 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 20:17:48 )

อัพภูตธรรม

รายละเอียด

อัพภูตธรรม  คือ  ความรู้ที่เข้าใจลำดับที่เป็นความสลับซับซ้อนอันน่าอัศจรรย์

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 17 กันยายน 2562 ( 15:42:25 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:34:16 )

อัพยากตธรรม

รายละเอียด

1. รู้ดีรู้ชั่วแท้ และรู้สภาพพ้นดีพ้นชั่ว

2. เป็นผู้รู้แจ้งในกุศลธรรม อกุศลธรรม และธรรมที่สำเร็จแล้ว ไม่มีขาดตกบกพร่องเลย

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 93 , ทางเอก ภาค 2 หน้า 427


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:00:11 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 20:19:06 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:04:16 )

อัพยากฤต

รายละเอียด

ชา

หนังสืออ้างอิง

(จากหนังสือทางเอก ภาค 1 หน้า 139)


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 13:57:29 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 20:20:24 )

อัพยากโต ผัสโส

รายละเอียด

สัมผัสอันเกี่ยวเนื่องกับอัพยากตจิต

หนังสืออ้างอิง

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 50


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 13:58:25 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 20:21:26 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:40:55 )

อัมพัฏฐสูตร

รายละเอียด

ส่วนอัมพัฏฐสูตร คือพระสูตรที่บอกเลยว่า ตั้งแต่สมัยนั้นศาสนาพุทธยังไม่เสื่อมบอกว่าผู้จะบรรลุวิชชาและจรณะที่หลงออกป่าไปหาอาจารย์ในป่า เมื่อตามหาอาจารย์ในป่า ก็ได้ข้อ 1  2 ข้อที่ 3 และ 4 ก็สร้างเรือนไฟเลย มีสิญจนยัญ อัคคียัญ ออกนอกรีตศาสนาพุทธหมด อาตมาอ่านแล้วชัด แต่เขาไม่ค่อยกระจ่างก็เป็นเช่นนั้น

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ  วิญญาณฐีติ 7 สัตตาวาส 9 วิโมกข์ 8 วันพุธที่ 17 มกราคม 2561 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 18 เมษายน 2564 ( 10:53:32 )

อัมพัฏฐสูตรชี้ทางเสื่อมวิชชาและจรณะ

รายละเอียด

มันจะบริบูรณ์มากถ้าอาตมาจะอ่าน อัมพัฏฐสูตร 

พระไตรปิฎกอัมพัฏฐสูตร ล.9 ทางเสื่อมวิชชาและจรณะ 4

3. อัมพัฏฐสูตร ล.9  ข้อ [141] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ประมาณ 500 รูป(คำว่าห้าร้อยรูปเป็นการประมาณ) บรรลุถึงพราหมณคาม แห่งชาวโกศล ชื่ออิจฉานังคลคาม. ได้ยินว่า สมัยนั้นพระองค์ประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคลวัน เขตอิจฉา นังคลคาม.

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์กัณฑ์พิเศษ เนื่องในวันวิสาขบูชา พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสรู้วันเพ็ญเดือน 6 วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม 2565 ขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ปีขาล ตรงกับวันวิสาขบูชา ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 05 สิงหาคม 2565 ( 19:08:37 )

อัมพัฏฐสูตรว่าด้วยพระพุทธเจ้าทำนิมิตหมายให้เห็น

รายละเอียด

คำว่า องคชาติ อยู่ในฝักหรือไม่ อาตมาก็ตอบตรงๆ องคชาติอาตมาอยู่ในฝักแน่นอนเรียบร้อย อาตมากำลังเอาอัมพัฏฐสูตร มีเหมือนกัน อาจารย์ของอัมพัฏฐะนี้ส่งเขาให้ไปดูว่า องคชาติของพระพุทธเจ้าอยู่ในฝักหรือไม่ถ้าเป็นจริงก็จะเชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้าเขาก็ต้องพยายามไปหาวิธีที่จะเห็นองคชาติของพระพุทธเจ้าให้ได้ ขออภัยที่ไม่ได้พูดลามกนะ 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 02 เมษายน 2563 ( 13:20:46 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 08:34:41 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:09:07 )

อัมพัฏฐได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าตามที่ถูกใช้ข้อ 144

รายละเอียด

 [144] สมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปกำลังจงกรมอยู่กลางแจ้ง.

ลำดับนั้น อัมพัฏฐมาณพเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่จงกรม ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะภิกษุเหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญ เวลานี้ท่านพระโคดมพระองค์นั้นประทับอยู่ที่ไหน พวกข้าพเจ้าพากันเข้ามาที่นี่ เพื่อจะเฝ้าพระองค์ท่าน.

ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นคิดเห็นร่วมกันเช่นนี้ว่า อัมพัฏฐมาณพผู้นี้เป็นคนเกิดในสกุลที่มีชื่อเสียง ทั้งเป็นศิษย์ของพราหมณ์โปกขรสาติผู้มีชื่อเสียงอันการสนทนาปราศรัยกับพวกกุลบุตร เห็นปานนี้ ย่อมไม่เป็นการหนักพระทัยแก่พระผู้มีพระภาคเลย ดังนี้แล้วจึงตอบ อัมพัฏฐมาณพว่า อัมพัฏฐะ นั่นพระวิหารมีประตูปิดอยู่ ท่านจงสงบเสียงเข้าไปทางพระวิหารนั้นค่อยๆ เข้าไปที่เฉลียง กระแอมไอแล้ว เคาะบานประตูเถิด พระผู้มีพระภาคจักทรงเปิดประตูรับท่าน.

ลำดับนั้น อัมพัฏฐมาณพสงบเสียง เข้าไปทางพระวิหารซึ่งมีประตูปิดอยู่นั้น ค่อยๆเข้าไปยังเฉลียง กระแอมไอแล้ว เคาะบานประตู พระผู้มีพระภาคทรงเปิดประตู อัมพัฏฐมาณพเข้าไปแล้ว แม้พวกมาณพก็พากันเข้าไปปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์กัณฑ์พิเศษ เนื่องในวันวิสาขบูชา พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสรู้วันเพ็ญเดือน 6 วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม 2565 ขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ปีขาล ตรงกับวันวิสาขบูชา ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 05 สิงหาคม 2565 ( 19:23:20 )

อัศจรรย์ไม่เคยมีมา มหาสมุทรกับพุทธธรรม

รายละเอียด

1. ดูกรปหาราทะ   มหาสมุทรลาดลุ่ม  ลึกลงไปโดยลำดับ  ไม่โกรกชันเหมือนเหว  ฉันใด   ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน  มีการศึกษาไปตามลำดับ (อนุปุพฺพสิกฺขา)   มีการกระทำไปตามลำดับ . (อนุปุพฺพกิริยา)  มีการปฏิบัติไปตามลำดับ (อนุปุพฺพ-ปฏิปทา)  มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง  (นายตเกเนวะ อัญญปฏิเวโธ)

 2. มหาสมุทรเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ ไม่ล้นฝั่งฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ล่วงสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต 

3. มหาสมุทรไม่เกลื่อนด้วยซากศพ  เพราะในมหาสมุทร  คลื่นย่อมซัดเอาซากศพเข้าหาฝั่งให้ขึ้นบก  ฉันใด  

  บุคคลผู้ทุศีล  มีบาปธรรม  มีสมาจารไม่สะอาดน่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญญาว่าประพฤติพรหมจรรย์  เสียใน ชุ่มด้วยราคะ  เป็นเพียงดังหยากเยื่อ  สงฆ์ย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น  ประชุมกันยกวัตรเธอเสียทันที แม้เขาจะนั่งอยู่ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ก็จริง  ถึงกระนั้น  เขาก็ชื่อว่าห่างไกลจากสงฆ์  และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเขา 

ที่มา ที่ไป

ปหาราทสูตร เล่ม23  ข้อ109 ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2562 ( 13:21:07 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:35:17 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:13:01 )

อัสส

รายละเอียด

พึงมี พึงเกิด พึงเป็น

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 155


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 13:56:34 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 20:22:13 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:04:43 )

อัสสาททิฏฐิ

รายละเอียด

ทิฏฐิที่ยังเสพรสอร่อย อันเป็นโลกียรสอยู่ , ความเห็นเป็นรสอร่อย

หนังสืออ้างอิง

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 60


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 13:55:19 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 20:23:00 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:05:21 )

อัสสาทะ

รายละเอียด

คือ รสอร่อยทางโลกีย์

หนังสืออ้างอิง

 “คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1หน้า156


เวลาบันทึก 09 พฤศจิกายน 2562 ( 13:55:43 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 17:07:57 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:05:50 )

อัสสาทะ

รายละเอียด

1. รสนิยมโลกย์ ๆ

2. รสของโลก , คุณ

3. รสอร่อย รสสนุกที่ชาวโลกหลง

4. รสอร่อย

5. ความมีรส , รสที่คนติด , รสสุขสมใจ , รสชื่นใจ , ของอร่อย

6. รสสุข , รสอร่อยที่ยังไม่พ้นวัฏฏะ

7. รสแห่งอารมณ์ , รสเสพ , รสชาติ

8. อารมณ์รสสุข

9. รสสุข ๆ ทุกข์ ๆ

10. ความยินดี , รสนิยม , ผลน่ายินดี

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 320, ทางเอก ภาค 2 หน้า 302 , 494 , สมาธิพุทธ หน้า 182

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 57 , คนคืออะไร? หน้า 370 , อีคิวโลกุตระ หน้า 84

คนคืออะไร? หน้า 343 , 494 , 495 , 496 , 199, อีคิวโลกุตระ หน้า 81,82

อีคิวโลกุตระ หน้า 84,85, 89 , ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 184 


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 13:54:14 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 20:27:45 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:07:13 )

อัสสุตัง สุณาติ

รายละเอียด

ได้ฟังสิ่งใหม่ หรือสิ่งที่ยังไม่เคยได้ยินได้ฟัง

หนังสืออ้างอิง

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 275


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 13:46:29 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 20:28:30 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:44:35 )

อัสฺสุตํ สุณาติ

รายละเอียด

ผู้ฟังย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 51


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 13:45:26 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 20:29:21 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:07:32 )

อากังขา , อิจฉา , อากังขา

รายละเอียด

1. มีความมุ่งมาดปรารถนา , มีความต้องการ , มีความอยากได้

2. ประสงค์

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 281 , รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 101 , คนคืออะไร? หน้า 283


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 13:44:42 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 20:30:30 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:07:59 )

อากังขาวจร (อิจฉาวจร)

รายละเอียด

อาการปรารถนา , อาการอยาก

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 258


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 13:43:12 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 20:31:05 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:08:59 )

อาการ

รายละเอียด

1. การไหว ความกระเพื่อมนั้น ๆ 

2. กริยา , ทางกริยา 

3. กิริยา 

4. กิริยาหรือวิญญัติของนามธาตุ

5. กิริยาของสิ่งนั้น 

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 54, หน้า 295 , 303, ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 124, ค้าบุญคือบาป หน้า 210, 

ชีวิตนี้มีปัญหา / เราคิดอะไร ฉบับ266


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 13:39:29 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 20:32:44 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:08:38 )

อาการ

รายละเอียด

นามธรรมละเอียดนิดๆคือจับตัวได้ หมายจับอะไรกำหนดใหม่เอาเองว่าอาการอย่างนี้คืออาการโกรธ อาการโลภมันต่างกัน ตุณต้องมีความมุ่งหมายกำหนดรู้ของใครของมันผู้ที่กำหนดได้ กำหนดรู้คุณก็มีความรู้นั้น หากกำหนดไม่ได้แยกความต่างไม่ได้ คุณก็ไม่รู้ปฏิบัติธรรมก็ไม่ไปไหนแค่นี้ยังหยาบนะ การศึกษาจึงแยกให้ออกตั้งแต่ความอยากของพระพุทธเจ้าให้ทำตั้งแต่หยาบไปหาละเอียดหากยังทำไม่ได้ก็จะไกลจากวิเวกคือหมดทางสงบ

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 06 ธันวาคม 2562 ( 17:09:44 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 13:14:39 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:10:47 )

อาการ 2 เป็นไฉน

รายละเอียด

คือ อาการ 2 นี้มันมีตัวหลอกอยู่ตัวหนึ่ง ก็ต้องเรียนรู้ 2 เวทนา แยกให้ออกโดยสภาวะสมมุติของมัน ว่า มันมี โดยโลก มันจึงมีสมมุติที่แปลว่าโง่ อวิชชา ไปหลงตามอุปาทานที่เขาหลอกว่ามีแต่สวรรค์ แสวงหาสวรรค์กัน สังสัคคะๆ จะประกอบสวรรค์หาสวรรค์ สังสัคคะ จะสร้างแต่สวรรค์ให้แก่ตัวเองอยู่อย่างนั้น แต่ที่แท้คุณสร้างสวรรค์คุณก็นรกอยู่ด้วยกัน เพราะมันแยกไม่ออก เมื่อแยกไม่ออกก็ไม่มีวันจบ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม เรียนอัตถิราคสูตรให้หมดสุขหมดทุกข์แท้จริง วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 24 กุมภาพันธ์ 2564 ( 16:36:55 )

อาการ 32 กับความต่างที่เรียกว่า ลิงค หรือเพศ

รายละเอียด

ส่วนในตัวเราปรุงแต่งกันเสร็จแล้วเป็นอาการ 32 ท่านก็บอกว่าแล้วอาการ 32 ส่วนไหนมันจะเหมือนอย่างข้างนอก 

1. เหมือนดินน้ำไฟลม 

2. เหมือนพืช 

3. เหมือนสัตว์ทั้งหลาย

แล้วมันต่างกันไหม? มันสังขารกันอยู่ด้วยพลังงาน ดินน้ำไฟลมก็สังขารปรุงแต่งกันอยู่ ปรุงแต่งเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ แยกแค่ 4 ธาตุ แล้วปรุงแต่งกันเป็นพืช เป็นชีวะ แล้วมีชีวะต่างกัน 

แล้วชีวะ เป็นสัตว์ ต่างกันอีก สัตว์ก็ต่างกับพืชเป็น ชีวะเหมือนกัน ที่มีชีวะกับไม่มีชีวะนี้ต่างกันแน่ แต่ชีวะด้วยกันก็ต่างกันอีก  ท่านก็ศึกษาความจริงที่มันต่างกันเรียกว่า ลิงค หรือเพศ เป็น 2 สภาพเปรียบเทียบกันว่ามันต่างกันอย่างไร 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 45 ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก

สังขารกับการเวียนว่ายตายเกิด


เวลาบันทึก 04 มีนาคม 2564 ( 15:04:46 )

อาการ ลิงค นิมิต อุเทส

รายละเอียด

แล้วจริงที่สุด จึงจะต้องมาเรียน อาการ ลิงค นิมิต ตามคำสอนที่อาตมาพูดคือ อุเทส ฟังให้เข้าใจและไปจับนิมิต จับอาการที่จิตตลอดเป็น อาการอย่างนี้คือโกรธ อาการอย่างนี้คือโลภ อาการอย่างนี้คือกาม อาการอย่างนี้คือราคะ 

อาการอย่างนี้คืออาการหนักๆแรงๆ อาการกลางๆ อาการเบาๆ มันมีเกิดที่จิต อ่าน เกิดจริงๆ เกิดสัมผัสจริง อย่าไปคิดเอาเท่านั้น คิดเอาเท่านั้นมันพอรู้ มันไม่พ้นทุกข์จริง จะจริงต้องมีผัสสะแล้วรีบอ่านอาการในขณะที่เกิดในปัจจุบันชาติขณะนั้น อ๋อ.. อาการจริงเป็นอย่างนี้ แล้วเราจะได้เห็นของจริง รู้ของจริง ถูกตัวตนจริง มันลัดคัดสั้น concise จริงๆ มันจะตัดเร็ว แต่ไม่ใช่ไปลัดตัดตอนนะ ไม่ใช่ตัดลำดับ แต่มันจะเข้าถึงเนื้อแท้เร็ว ไม่งั้นเราก็ขี่ม้ารอบค่าย นาน นี่ คนสอนกันมันจะมีอะไรไม่เข้าเป้า อันนี้เป็นตัวมุ่งเป้าที่แท้เลย หัดเอาที่อาตมาพูดนี้ดีๆ แล้วไปฝึกให้ตรง ดี เข้าใจ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ชนะมารอย่างไร้สารพิษ สุจริตแท้ ด้วยพหุงฯ8 วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 28 กุมภาพันธ์ 2566 ( 13:06:36 )

อาการ ลิงค นิมิต อุเทส ของเวทนา

รายละเอียด

คือ ต้องชัดเจน อาการ ลิงค นิมิต อุเทส ของเวทนาแล้วเพิ่งรู้เวทนา 108 แยกเนกขัมมะ กับเคหสิตะ เข้าใจแล้วเรียนทีละคู่ จิตไปกระทบสัมผัสทางตาก็เรียนรูป นาม หรือ สัตว์ หรือ วิญญาณ ที่เกิดทางตา ที่มีเวทนาติดสุขติดทุกข์ บ้างออกไป  ก็จะได้ผลอันนี้  แล้วเรียนรู้เหตุปัจจัยอื่นๆ ให้หมดความสุขความทุกข์ ทำไป 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 เป็นร้อยเป็นพัน เป็นแสนคน ก็สมบูรณ์แบบขึ้นเรื่อยๆ ถ้าคุณติดอยู่แค่แสนก็ทำแสนอันคุณก็เป็นอรหันต์  แต่จริงๆ แล้ว ถ้ามีปฏิภาณปัญญามันไม่ถึงแสนหรอก มันจะมีปฏิภาณปัญญาเห็นตัวที่ล้อเลียนกัน  พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ย่อลงไปแล้วจัดการกามโลกที่หมุนเวียนกับภายนอกเบื้องต้น

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 22 ธันวาคม 2562 ( 23:24:45 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:38:31 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:12:32 )

อาการ ลิงค นิมิต  อุเทส 

รายละเอียด

อาการ ลิงค นิมิต  อุเทส  คือ การรู้รูปนาม  ก็ต้องรู้ด้วยอาการ  ลิงค นิมิต อุเทส พระไตรปิฎก  เล่ม 10 ข้อ 60 ที่พูดดังนี้เป็นสัจจะที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วเอามาประกาศ  คนไหนเข้าใจแล้วเอาไปปฏิบัติได้ก็จะเกิดเป็นคนมีความรู้ทางธรรม  รู้จักจิต เจตสิก รูป นิพพาน  ทำได้แล้วก็บรรลุฐานนิพพาน  คือ อุเบกขา ต้นทางนิพพาน คือ อุเบกขา

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต สันติอโศก วันพุธที่  2 ตุลาคม  2562


เวลาบันทึก 05 ตุลาคม 2562 ( 12:52:44 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:39:48 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:46:13 )

อาการ ลิงค  นิมิต  อุเทส

รายละเอียด

อาการ ลิงค  นิมิต  อุเทส คือ สิ่งที่คุณต้องเข้าใจความสำคัญ  ลิงค ความแตกต่างของสภาวะ กายสภาวะ 2 ภาวะ 2 อิตถึภาวะ ปุริสภาวะ  ต้องเข้าใจแล้วแยกแยะออกให้ได้แล้วต้องทำให้เป็นหนึ่ง  ธรรมทั้งสองเหล่านี้ รวมเป็นอันเดียวกันกับเวทนาโดยส่วนสอง (เทว ธมฺมา  ทฺวเยน เวทนาย เอกสโมสรณา  ภวนฺติฯ) เล่ม 10 ข้อ 60 หากไม่อธิบายให้ถึงจุดตรงนี้ก็ไม่มีจุดที่บรรลุสำเร็จผล  เป็นจุดจบของศาสนาเลย อาตมาก็ต้องอธิบายซ้ำซากอย่างนี้  เพราะไม่มีใครอธิบาย ที่จริงจะต้องอธิบายตลอดทุกวินาที  เพราะคนไม่ได้ฟังอีกมาก

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 16 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 22 ตุลาคม 2562 ( 12:01:28 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:42:06 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:11:40 )

อาการกิริยาของเวทนา

รายละเอียด

ผู้ที่รู้อาการกิริยาของเวทนา รู้อาการกิริยาของสัญญา รู้อาการกิริยาของสังขาร คนที่อวิชชาไม่รู้สังขาร แน่นอนย่อมไม่รู้จักเวทนา ย่อมไม่รู้จักสัญญา 

เพราะฉะนั้นเมื่อใช้สัญญารู้จักหน้าที่ของสัญญาเราก็ใช้สัญญาเป็น เอามากำหนดรู้อาการกิริยาของเวทนา นี่อาตมากำลังเจาะลึกลงไปที่ปฏิจจสมุปบาท 

จิตเริ่มมีวิชาก็เริ่มเป็นจิตที่รู้จัก ความรู้ที่เป็นปัญญาหรือความเฉลียวฉลาดครบ ฉฬายตนะ ฉลาด  ซึ่งอาตมาก็เคยยืนยันว่าภาษาไทยคำว่าฉลาดมันกร่อนมาจากคำ ฉฬายตนะ ที่แปลมาจากคำว่า ฉ คือ 6 กับอายตนะหรือ สฬายตนะ 

มีอายตนะเชื่อมต่อระหว่างรูปกับนาม ตากระทบรูป หูกระทบเสียง จมูกกระทบกลิ่น ลิ้นกระทบรส โผฏฐัพพะกระทบภายนอก มโนกับธัมมายตนะภายใน 5 คู่ภายนอก อีกคู่หนึ่งเป็นภายในทำ 5 คู่ภายนอกหมดแล้วก็เหลืออีกคู่หนึ่งภายในก็จบกิจ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปฏิจจสมุปบาท ตอน 3 วันศุกร์ที่ 5 มกราคม 2567 แรม 9 ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 08 มกราคม 2567 ( 14:54:48 )

อาการของการบรรลุธรรมเป็นเช่นไร

รายละเอียด

อาการของการบรรลุธรรม จะสรุปให้เข้าจุดเลย อาการของการบรรลุธรรมนั้นคือ คุณจะต้องรู้จักกิเลส มีญาณ ปัญญา สัญญา กำหนดรู้ในขณะปัจจุบันเลย มีสัญญากำหนดรู้และมีเหตุการณ์จริงสัมผัสอยู่เดี๋ยวนี้ เช่นตอนนี้สัมผัสแตงไทย จิตใจมันก็เกิดชอบเพราะเคยกิน เช่น กินแตงไทยน้ำกะทิ มันๆแล้วก็หนวานๆ หน่อยตามที่ชอบ ดีไม่ดีหย่อนน้ำแข็งลงไป คิดถึงรสอร่อยอันนี้ เป็นสัญญาเป็นความจำ แต่ตอนนี้นึกได้แล้ว ว่าเคยอร่อยนะ แต่เดี๋ยวนี้สัมผัสแล้วอาการรสอร่อยนั้นไม่มี ไม่เกิดที่จิต อาการมันไม่มี เราเคยปฏิบัติมาแล้วก็ทบทวนได้ ว่ามันเบาบางลงจนกระทั่งมันไม่มี ตอนนี้มันก็ไม่มี และคุณเริ่มต้นรู้ว่ามันไม่มี นี่คือการบรรลุ แล้วยิ่งคุณทบทวนแบบนี้คล้ายอย่างนี้ เคยมีมาแล้วแล้วตอนนี้ก็ไม่มี เรื่องกาม เรื่องรสชาติ อะไรก็แล้วแต่ เดี๋ยวนี้มันก็ไม่มีอาการอร่อย มันเป็นอาการเฉยๆกลางๆ มันไม่มีอาการเดิมแล้ว คุณก็รู้ความจริงนั้น อันนี้คืออาการบรรลุธรรม 

ยิ่งมีหลายครั้ง มีเหตุปัจจัยให้ทบทวน เอามาเตวิชโชระลึกถึง อีกหลายครั้งหลายคราวนับเป็นสิบครั้งหนึ่งร้อยครั้งก็เด็ดขาด คุณยิ่งมันใจว่าเราไม่มีอาการในจิตของเราอีกแล้ว นั่นเป็นการรู้แจ้งของจริงที่คุณบรรลุธรรม มันไม่มีกิเลส มันไม่มีอาการกิเลส ไม่มีรสกามรสโลกีย์

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ธรรมบรรยาย คุหัฏฐกสุตตนิทเทส ตอน 1 วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม 2564 ขึ้น 10 ค่ำเดือน 7 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 01 กรกฎาคม 2564 ( 10:43:59 )

อาการของจิต

รายละเอียด

จิตมีกิริยาที่ปรากฏให้เห็น

หนังสืออ้างอิง

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 246


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 13:38:04 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 20:33:39 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 17:20:18 )

อาการของจิตกับการหลงไปกับจิต

รายละเอียด

ถ้าคุณพูดอย่างนี้ คุณห้ามกินข้าวนะถ้าคุณหิว ตกลง ถ้าหิวอาตมาก็ไม่กิน แต่อาตมาไม่หิว แต่เขาเอามาให้กินควรกินอาตมากินได้นะ เพราะอาตมาไม่ได้กินด้วยความหิวอย่างที่คุณว่า ที่บอกว่าเป็นกิเลสความอยากมันก็ใช่ความหิวเป็นกิเลสของความอยาก ความรู้ว่าควร ควรกินกับไม่ควรกินนั่นไม่ใช่กิเลส 

เพราะนั่นคือ กิเลสคือความอยากเหมือนกันก็เพราะว่าคุณยังแยกไม่ออกเลยว่า ไม่หิว ไม่อยาก แต่ควรกิน กับหิว อยาก ที่เป็นกิเลส คุณก็ยังไม่รู้ แล้วคุณไม่มีสิทธิ์รู้ว่าคนไม่อยากไม่หิวมีอยู่หรือ มี อาตมานี่ไง

เขาทิ้งท้ายด้วยคำว่า กรุณาแยกด้วยนะ อาการของจิต กับการหลงไปกับจิต ดีคุณใช้ภาษานี้ก็ดี 

อาการจิต กับการหลงไปกับจิต นี่ เขาแยกแตกต่าง การตามความกำหนดหมายของเขา อาตมาก็กำหนดหมายตามที่เขาเขียนมา อาการของจิต ที่มันเป็นจริงอยู่กับการหลง หลงไปกับอาการของจิต เพราะฉะนั้นถ้าใครสามารถเข้าใจอาการของจิต มันก็เป็นความจริงของอาการของจิต เป็นเช่นใดมันก็เป็นเช่นนั้น คุณเป็นคน คุณยังไม่ตาย คุณยังมีชีวิต มีชีวะ มีภูมิปัญญาพอ จะรู้จักอาการของจิต 

อาการนี้ต่างกันกับอาการอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า ลิงค หรือเพศ นิมิต คือเครื่องหมายของอาการนั้นๆ กำหนดให้รู้ให้ตรงตาม อุเทส ตามภาษาที่อาตมาพูดก็ดี คุณพูดก็ดี ใครพูดก็ดีที่ชี้แจงออกมานั้น มันตรงกันไหมล่ะ ตรงกันไหมล่ะว่าอาการเดียวกันนิมิตเดียวกัน หรืออาการต่างกัน กับนิมิตต่างกัน แยกได้ไหมล่ะ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 36 แยกกายแยกจิตอย่างไรให้ถึงอรหันต์ วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 04 สิงหาคม 2565 ( 14:55:16 )

อาการของจิตเจตสิกของผู้ที่ฝึกดีแล้วก็จะเป็นอย่างนี้

รายละเอียด

การไปยินดีในสิ่งที่ได้มา จนกระทั่งเราเห็นชัดเจนว่าสิ่งที่ได้มามันดี มันไม่เสียหาย เราก็อย่าไปให้เกิดจิตฟูขึ้นมาถือเป็นอุปกิเลส ของอาริยชนชั้นสูง ชั้นละเอียด รู้ความจริงตามความเป็นจริงแล้วก็ วางใจ มุทิตา เห็นว่าดีแล้วก็วางไม่ต้องมีจิตฟูใจ มุทิตา แล้วก็อุเบกขา มุทิตา คือ มันรับรู้ในทันทีทันใดนั้นว่าอันนี้มันควรแล้ว แม้เรื่องไม่ควร เราก็รู้มีปฏิภาณซ้อนว่าอันนี้บกพร่องอยู่นะไม่ควร จะต้องปรับปรุงให้มันดี แต่อันนี้ดีแล้วควรแล้วก็มุทิตาดีแล้ว แล้วก็อุเบกขา ใจของเราก็เข้าใจอย่างนี้ ทำใจในใจของเราได้อย่างนี้ อย่างชำนาญอย่างเร็วอย่างได้โดยไม่ยากได้โดยไม่ลำบากใน ฌานทั้ง 4 นี่แหละเป็นอาการของจิตเจตสิกของผู้ที่ ฝึกดีแล้วก็จะเป็นอย่างนี้

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาผ่าการเลือกตั้ง 2566  วันพุธที่ 19 เมษายน 2566 แรม 14 ค่ำเดือน 5 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 09 พฤษภาคม 2566 ( 17:31:09 )

อาการของจิตไม่สุขไม่ทุกข์ที่เป็นอรหันต์ กับอาการไม่สุขไม่ทุกข์ของเดียรถีย์ก็ทำได้เหมือนกัน

รายละเอียด

เพราะฉะนั้น พวกเรามาเรียนถึงขั้นปรินิพพานแม้แต่การมีปานังชีวิตตาก็ไม่น่าเป็นแล้ว เพราะฉะนั้นจึงทำตนให้เป็นปรินิพพานเป็นปริโยสาน เลิกเป็นดินน้ำไฟลม ไม่มีเชื้อชีวิตปานังชีวิตตังก็ไม่มี อย่างนี้เป็นต้น

เพราะฉะนั้นผู้ที่วางอาวุธ วางศาสตรา มีใจละอาย เอ็นดู ไม่ทำลายสัตว์ ไม่ทำลายมนุษย์ มีใจเมตตากรุณาเอ็นดู จริงๆแล้วอาตมาเองก็ยังไม่ถึงขั้นนั้น ยังมองพวกที่ยังสร้างอาวุธฆ่าคน ยังไม่เอ็นดูเขา ใจยังไม่เอ็นดูเขา มองว่ามันร้าย มันเอ็นดูไม่ไหว เอ็นดูไม่ลง อาตมาเห็นคนสร้างอาวุธ มันยังทำไม่ได้ มันยังเห็นไม่ได้ จิตยังไม่ถึงขั้นอย่างพระพุทธเจ้าท่าน แต่สังเวสนะ 

กรุณาคือการกระทำ กระทำให้เขาเลิกจากบาป ให้เขาเลิกจากไปหลงสุขหลงทุกข์ แค่ดีแค่ชั่วเทวนิยมเขาก็สอน ให้เลิกชั่ว ประพฤติดี แต่มาเลิกสุขหรือเลิกทุกข์นี่แหละ เพราะมันพูดกันรู้ง่าย เลิกทุกข์มันรู้ง่าย แต่เลิกสุข เลิกทำไมวะ มันยากกว่า แต่พวกเราเข้าใจแล้ว สุขกับทุกข์มันมายาหลอกเรา เพราะฉะนั้นผู้ที่มีจิต ไม่มีกิเลสแล้ว จิตสะอาดบริสุทธิ์แล้วเรียกว่า อุเบกขา ปริสุทธา ปริโยธาตา มุทุกัมมัญญา จิตพระอรหันต์เป็นจิตอย่างนั้น จิตไม่มีกิเลสก็สะอาดบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้นไม่มีสุขไม่มีทุกข์

อาการของจิตไม่สุขไม่ทุกข์ที่เป็นอรหันต์ กับอาการไม่สุขไม่ทุกข์ของเดียรถีย์ก็ทำได้เหมือนกัน จิตไม่สุขไม่ทุกข์ เขากดข่มทำหลอกตัวเอง ทำจนกระทั่งตัวเองไม่สุขไม่ทุกข์ เพราะการกดข่ม เพราะการหลอกตัวเองไว้ เช่น พวกลืมตาใช้สติ ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป มันเป็นสามัญลักษณ์ อย่าไปติดใจปล่อยวาง ใครจะเป็นยังไงช่างหัวมัน เราจะเป็นยังไงช่างหัวเรา มันก็โง่เอาอะไรมาประเล้าประโลมใจไปเฉยๆ ยังไม่ได้เจาะลึกเข้าไปถึงอาการของจิต อาการ ลิงคะ นิมิต  อุเทศ  ไม่ได้เจาะเข้าไปถึงจิตพวกนี้ และไม่ได้แยกแยะกิเลสที่เป็นเหตุใหญ่ เหตุแห่งทุกข์เหตุแห่งสุข

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ศีลที่เป็นกุศลย่อมยังความเป็นอรหันต์โดยลำดับ วันพุธที่ 21 มิถุนายน 2566 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 8 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 13 มีนาคม 2567 ( 20:24:11 )

อาการของฌาน

รายละเอียด

ฌาน คือวิมุติ วิมุติคือฌาน ฌานเป็นไปเพื่อล้างกิเลสออกไปเรื่อยๆ ก็คือวิมุติ พลังงานจิตที่คุณมนสิการ คุณทำใจในใจของคุณถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของพระพุทธเจ้า แล้วกิเลสหลุดออกจางคลายออกไปเรื่อยๆ นั่นคืออาการของฌาน แล้วคุณต้องมีสติมีสัมโพชฌงค์ ต้องมีสติและมีธัมมวิจัย ลืมตามาวิจัยธรรมอย่างลืมตาสัมผัสตาหูจมูกลิ้นกายใจ รู้จักรูป รส กลิ่นเสียง สัมผัส รู้จักลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข มันเป็นเหตุแห่งกิเลสทั้งนั้น 

กระทบแล้วมันก็เกิดกิเลสจริง กิเลสที่เกิดในการกระทบสัมผัสเป็นปัจจุบันชาติ เรียกว่ากิเลสจริง ไปหลับตามันไม่มีกิเลสจริง มีแต่กิเลสจำ คุณหลับตาเข้าไปนั้นมันมีแต่สัญญา นึกคิดถึงของเก่าทั้งนั้น มันไม่มีปัจจุบันชาติไม่มีปัจจุบันหลัดๆโต้งๆ เดี๋ยวนี้ทนโท่ กระทบปังกิเลสเกิดในจิตจริง ก็จะรู้ว่านี่คือกิเลสตัวจริง 

คุณไปนั่งหลับตานึกถึงกิเลสมันมีแต่กิเลสจำไม่มีกิเลสจริง มันเป็นโมฆะ เพราะฉะนั้นก็จะได้ทิฏฐิ 62 วนอยู่ในนั้นในกะลาครอบอย่างเดิม หลับตาน่ะ อ่านพระไตรปิฎกใน พรหมชาลสูตรแท้ๆ ไม่แตกมันต้องมีผัสสะเป็นปัจจัย มีผัสสะเป็นที่ตั้ง ถ้าไม่งั้นไม่มีเวทนาเป็นกรรมฐานแล้วต้องปฏิบัติที่เวทนา 108 ศาสนาพุทธนั้นเรียนรู้สุขเรียนรู้ทุกข์ แล้วก็ดับเหตุแห่งทุกข์จบกิจ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบคนมืดบอดให้เห็น ผลงาน 8 ปี นายกฯลุงตู่ วันพุธที่ 10 พฤษภาคม 2566 แรม 6 ค่ำเดือน 6 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 14 พฤษภาคม 2566 ( 12:29:00 )

อาการของฌาน

รายละเอียด

มาขยายคำว่า “ฌาน”ต่อ ซึ่งเป็นฌานวิสัย เป็นฌานอจินไตย ฌานของพุทธไม่เข้าไม่ออก ความเป็นอาการของฌาน ความเป็นจิตที่เรียกว่าฌาน ไม่มีเข้า ไม่มีออก มีแต่พลังงานที่เรียกว่าฌาน เพราะฉะนั้นคุณปฏิบัติตนเอง ประพฤติตนเอง เรียนรู้ตนเอง มีกายวาจาใจ มีตาหูจมูกลิ้นกาย มีสัมผัสกับทุกๆอย่าง แล้วคุณก็ไปสังขารเรียกว่า ปรุงแต่งที่จิต แล้วเราก็เรียนจิตตัวนี้  เรียนจิตตัวนี้แหละ เมื่อมันปรุงแต่งออกมาแล้ว แล้วคุณก็เกิดธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์หรือมีโพชฌงค์ 7 มีสติตื่นรู้แล้วก็ธรรมวิจัย พากเพียรให้มันวิจัยให้ได้ วิจัยกิเลส แล้วรู้ด้วยปัญญาว่ากิเลส กิเลส กิเลส กิเลสมันจะแพ้ปัญญา คุณทำได้คุณก็ปีติ ปัสสัทธิ ได้ผลก็สั่งสมลงเป็นสมาธิจนถึงขั้นเป็นฐานอุเบกขา นี่คือ โพชฌงค์ 7 

อุเบกขาแปลว่าจิตบริสุทธิ์ ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสรา โพชฌงค์ 7 ขยายออกมาเป็นโพธิปักขิยธรรม 37 สติปัฏฐาน 4 และอิทธิบาท 4 หลับตาไม่ใช่สัมมัปปธาน 4 หลับตาไม่มีสังวร สำรวมอินทรีย์ 6 ไม่มีปหานปธาน ไม่ได้ประหารกิเลสได้เลย ฌานคือการเผาผลาญ ฌานคือพลังงานที่เรียก ในภาษาไทยว่า ไฟ เผากิเลสเป็นผุยผงเลย 

เพราะฉะนั้น ถ้าปฏิบัติฌานไม่เป็นสัมมาทิฏฐิ ไม่ถูก ไปนั่งหลับตา ไม่มีวันที่จะได้ฌานของพระพุทธเจ้า ไม่มีวันจะเผากิเลสได้เลย ไม่มี มันผิด มันมิจฉาทิฏฐิ ถ้าผู้ที่เข้าใจผิดไปโน้น ได้มีความตื่นฟังอาตมารู้เรื่องเลิกมาได้ ศาสนาพุทธจะเจริญขึ้นอีกเยอะเลย มาฟังดีๆที่อาตมาพูด สุตสูสังลภเตปัญญัง ฟังด้วยดีจะเกิดปัญญา ปัญญา 8 จะเกิดเพราะคุณจะได้พบสัตบุรุษ ได้ฟัง คุณจะละอายอย่างแรงกล้า คุณจะรักอย่างแรงกล้า เคารพอย่างแรงกล้า เพราะฉะนั้นสัจธรรมจะเกิดอย่างนั้นจริงๆ แต่ก่อนไปศรัทธาอย่างนู้นอย่างแรงกล้าๆๆ ทีนี้จะเห็นจริงว่าโอ๊ยตาย…เพิ่งรู้จะมาศรัทธาแรงกล้าทางนี้จะรู้ประโยชน์ ปัญญา 1 2 เกิด แล้วปัญญา 3 ก็จะเข้าใจ คุณจะได้เกิดจะเห็นความสงบ 2 อย่างได้ 

ความสงบอย่างไปนั่งสะกดจิตหลับตา สงบอย่างนั้นยิ่งบื้อยิ่งตื้อเข้าไปอยู่ในภพในชาติ นี่มาสงบตื่นรู้เข้าใจโลก เข้าใจอัตตา เข้าใจว่าความสงบนี้คือปราศจากกิเลส กิเลสมันออกๆๆ กิเลสจิตมันยิ่งคล่องแคล่ว ว่องไว ปราดเปรียว สดชื่น เบิกบาน อิสรเสรี ยิ่งวิเศษ มันตรงกันข้ามไปหมดเลย ไม่เหมือนที่คุณยืนยันศึกษามา อันนั้นมันผิดมันเพี้ยน อันนี้มันถูก ไม่เหมือนๆ เห็นหมายความไม่เหมือนจะยิ่งๆขึ้น คุณจะยิ่งเข้าใจว่ามันไม่เหมือนยิ่งขึ้นๆ อาตมายังพูดความไม่เหมือนต่างๆยังไม่หมดเลย ฌานก็ไม่เหมือน สมาธิก็ไม่เหมือน

เพราะฉะนั้น ฌานที่เขาได้ มันไม่ได้เผากิเลส มันมีแต่หมักดองกิเลส ทำกิเลสหมักดองเป็นปลาร้า เป็นบูดู เป็นน้ำเน่า เน่าไปกันใหญ่เลย ยิ่งเน่า ยิ่งกลิ่นฉุน ยิ่งชอบอะไรอย่างนี้ เปรียบเทียบกับรูปธรรม บูดูของคนปักษ์ใต้ นี่คนปักษ์ใต้เขานั่งอยู่ข้างหน้า ปลาร้าเน่าของอีสาน ทางเหนือก็ถั่วเน่าหรืออะไรเน่า มันเป็นอุปาทานว่าอันนี้น่าได้ น่ามี น่าเป็น อสุภะเป็นสุภะไปแล้ว มันวิปลาส

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ธรรมะพ่อครูไม่เหมือนใครตรงที่...คนทำตามบรรลุได้จริง วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2566 ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 8 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2566 ( 11:23:29 )

อาการของตัณหา

รายละเอียด

ตัณหาที่มันพักยกไว้เรียกอุปาทานนิ่งไว้เป็นอุปาทาน เคลื่อนออกมาเป็นตัณหา อาตมาพูดถึงอาการของจิตเจตสิกมันเป็นเช่นนั้นถ้าเข้าใจก็อ่านเถอะ 

ที่อาตมาอธิบายเป็นภาษาไทยง่ายๆ ฟังดีๆ คุณจะเข้าใจได้ปัญญาแล้วก็ไปปฏิบัติได้เลย เออ พวกนี้ตัณหา เป็นอาการเห็นแก่ตัวเอามาเสพที่เป็นสุขเป็นทุกข์อยู่ มาเสพ ตามอำเภอใจที่ต้องการ อย่างไม่ชอบอย่างนี้ไม่ชอบ ไม่ชอบอย่างนี้ก็เป็นทุกข์ดีด ทะเลาะกันแย่งกันฆ่ากัน ทะเลาะกัน ก็บอกว่าเอามามากๆๆ มันไม่ให้ก็แย่งมัน ไม่ให้อีกก็ฆ่ามันเลย ฆ่ามันตายแล้วมันก็หมดสิทธิ์เราก็แย่งได้ จบแล้วก็แค่นั้นโหดร้าย เดี๋ยวนี้ในโลกก็ดีขึ้นแต่มันก็ยังทำกันอยู่ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศนาวันมาฆบูชา งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 45 ออนไลน์ วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 17 มีนาคม 2564 ( 15:40:52 )

อาการของสมาธิ 4

รายละเอียด

เมื่อจิตเป็นสมาธิบริบูรณ์ผ่องแผ้วไม่มีกิเลส จิตย่อมมีอาการ 4 อย่าง

1. มุทุภูเต (แววไว ดัดง่าย)

2. กัมมนีเย (เหมาะควรแก่การงาน)

3. ฐิเต (ตั้งมั่น)

4. อเนญชัปปัตเต (ไม่หวั่นไหว)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 9"สามัญญผลสูตร"  ข้อ 131

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 20 มิถุนายน 2562 ( 12:45:17 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 17:09:43 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 17:20:53 )

อาการของสมาธิ 4

รายละเอียด

เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส จิตย่อมมีอาการ 4 อย่าง

1. มทุภูเต (แววไว ดัดง่าย)

2. กัมมนีเย (เหมาะควรแก่การงาน)

3. ฐิเต (ตั้งมั่น)

4. อเนญชัปปัตเต (ไม่หวั่นไหว)

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 9 “สามัญญผลสูตร” ข้อ 131


เวลาบันทึก 13 มีนาคม 2565 ( 12:25:50 )

อาการของสัญญา

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นผู้ที่สามารถรู้จัก อาการของสัญญา ใช้อาการของสัญญา คือ อาการที่มันมีสองอย่าง สัญญาคือ มีหน้าที่ 

1. กำหนดรู้ 

2. จดจำ 

มี 2 หน้าที่ของมันยิ่งใหญ่ทำงานหนัก ในคนนี้ใช้สัญญาหนัก ใช้สัญญาทำงานทุกขณะกำหนดรู้อันนั้นอันนี้ หลับก็ปล่อย ให้ความจำทำงานอย่างเดียว ฝันเลอะเทอะ ฟุ้งซ่านไปก็เป็นสิ่งที่ความจำทำงานตามสังขารของความจำปรุงเข้าไป ไม่มีสติเข้าไปควบคุม แต่เมื่อเวลาคนไม่หลับ ตื่นรู้ มีสัมผัสเป็นปัจจัย นอกจากคนเบลอๆลอยๆ ปล่อยจิตฟุ้งซ่านไปก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าเผื่อว่ามีความตื่นกำหนด ตากระทบรูป หูกระทบเสียง ก็รู้ จิตเจตสิกพวกนี้จะทำงานเร็วรู้เร็ว 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ วิญญาณฐิติ 7 ปฏิจจสมุปบาท และวิชชา 8 วันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2566 วันแรม 14 ค่ำเดือนยี่ ปีขาล ที่บวรสันติอโศก


เวลาบันทึก 06 กุมภาพันธ์ 2566 ( 13:20:16 )

อาการของอธิปไตยอาการของอุตระ

รายละเอียด

อาการของอธิปไตยเป็นลักษณะเทวนิยม ส่วนอาการของอุตระ อาการของปัญญา เป็นอาการของโลกุตระ เป็นอเทวนิยม เป็นอาการที่ไม่มีการไปกดข่มไปเบียดเบียน อำนาจอธิปไตยแปลว่าอำนาจ แต่ถ้าปัญญาเป็นอิสระเสรีภาพโล่งว่างกลางเปล่าปัญญา มันจะมีความต่างที่ละเอียดไปอย่างนี้ เข้าใจไหม ทำได้บ้างบางอย่างใช่ไหม จะเข้าใจว่าอย่างนี้คือความจริงที่ก็คือการชี้ความจริง แล้วเรามีความจริงนั้นเราจึงรู้ความจริงแล้ว มีความจริงถึงขั้นสภาวะปรมัตถ์ธรรม ไม่ใช่แค่สมมุติไม่ใช่แค่ภาษาบัญญัติเท่านั้น มันก็เข้าใจ มันก็จะมี 2 นี่แหละบัญญัติกับสภาวะอย่างนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้นเราเรียนรู้ศึกษาไปแล้ว แล้วทำได้จริง ภูมิธรรมปัญญารู้ว่าความดีความประเสริฐสุดมันเป็นคนที่มีคุณค่าอยู่ถ่ายเดียว ไม่มีโทษภัยอะไรๆเลย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์เปิดงานอโศกรำลึก วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน 2563


เวลาบันทึก 12 กรกฎาคม 2563 ( 11:39:51 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 08:34:59 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:48:28 )

อาการของอรหัตตผลเป็นเช่นไร

รายละเอียด

พีชะ ไม่มีเวทนาไม่มีความรู้สึก เจ็บปวดไม่มี บาปบุญไม่มี เพราะฉะนั้นเล็บที่มันพ้นปลายประสาทออกมายังเป็นพืช เป็นชีวะ ไม่เจ็บไม่ปวดไม่บาปไม่บุญ ไม่มีจองเวรจองกรรมไม่มีรักไม่มีชัง ตัดมันก็ขาดออกมาไม่เจ็บ ที่ขาดออกไปแล้วเป็นอุตุ ไม่มีเจริญแล้วมีแต่แห้ง เสื่อม แต่มันทน ขี้ไคลก็เปื่อยง่ายกว่าเล็บ ฟันก็ทน

ส่วนที่ยังเป็นพีชะ เราต้องอ่านให้ได้ว่าเป็นพีชะเป็นชีวะ เพราะฉะนั้นเราต้องไปเทียบกับจิตนิยาม ถ้าจิตของเรามีเวทนามีความรู้สึก เหมือนอย่างเล็บ ส่วนที่ไม่ติดกับประสาทไม่เกี่ยวข้องกัน ให้ขาดจากประสาท แล้วจิตเป็นประสาทแต่ยังมีชีวิตอยู่กับตัวเรายังไม่ตาย จิตนิยามนี้ยังไม่ตาย ให้จิตนิยามมีอาการของพืชะ เอาอาการของพีชะ ให้เกิดความรู้สึกที่ไม่รู้สึกไม่มีสุขไม่มีทุกข์ เป็นต้น ทำให้เกิดอาการอย่างนี้ให้ได้ 

เพราะฉะนั้นอาการของความไม่สุขไม่ทุกข์จึงเป็นอาการของ อรหัตตผล ในศาสนาพุทธของเราเอาอย่างนี้ ไม่ใช่ดีชั่ว แต่อยู่ที่สุขที่ทุกข์ เป็นพื้นฐาน

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 23 ความมหัศจรรย์ของการแยกกายแยกจิตได้ วันจันทร์ที่ 10 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 25 มกราคม 2565 ( 21:17:26 )

อาการคำว่า หิริหรือละอายยิ่งใหญ่มาก

รายละเอียด

ต้องศึกษาให้ดีอย่ายึดมั่นถือมั่น ซึ่งมันไม่ง่าย แล้วต้องเอาความจริงที่ถูกต้อง จนกระทั่งเขาเกิดปัญญาคมชัดที่แยกสภาวะ 2 ออกชัดเจน จนกระทั่ง    อะโห เราไปหลงนึกว่า ที่เราหลงว่าถูกมันเป็นของผิด กว่าจะรู้ได้ว่ามันผิด กว่าจะรู้ แล้วผู้ที่เกิดรู้อย่างนั้น จะละอายมาก ละอายต่อสิ่งที่เราแสดงออกไปขายขี้เท่อขนาดหนัก จะอาย อาการคำว่า หิริหรือละอาย มันยิ่งใหญ่มาก ซึ่งคนไม่เข้าใจความหมายของคำว่าหิริ แต่โอตตัปปะคือ กลัวเลยถอยเลย เกรงกลัวต่อบาปเลย ก็ค่อยๆ ศึกษาไป

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ โสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 30 วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 มีนาคม 2564 ( 18:53:53 )

อาการจิตของพระอรหันต์

รายละเอียด

คือตัวฉลาด  ตัวปัญญา จะต้องรู้  อาศัยธาตุที่ไม่สุข ไม่ทุกข์  ไม่เป็นชีวะ พระอรหันต์จะต้องรู้อาการนี้ของจิต  ถ้าตนไม่รู้อาการนี้ของจิต อาการที่ไม่ทุกข์  ไม่สุข มันเป็นสัจจะนะ  มันเป็นอาการที่ไม่สุข  ไม่สุขจริง  จิตของคนต้องเป็นอย่างพืช  คุณต้องทำพลังงานจิตของคุณให้เป็นพีชะได้จริง หากคุณไม่เข้าใจ  ไม่รู้เรื่อง จะทำมันก็ไม่ได้หรอก  จะทำใจในใจ  มนสิการได้อย่างไร  ต้องทำมนสิการ ทำใจของคุณให้เป็นพีชะเพื่อให้ได้ ถ้าคุณทำใจของคุณให้เป็นอย่างพูดไม่ได้  คุณก็เป็นอรหันต์ไม่ได้  ฟังชัดเจนไหมว่า  ความเป็นพระอรหันต์อยู่ตรงไหน  พืชมันไม่ทำชั่ว  มันไม่ไปเบียดเบียนใคร  มันไปตามประสาของมัน มันจะดับบางอย่างไปได้  พอสมควรมันก็ทำ  มันไม่สู้หรอก  มันก็แพ้ถ้าดันไม่ได้  รากจะดันมาก  ยอดนี้ไม่ดันเท่าไหร่ พลังงานลักษณะของพืช  จึงเป็นพลังงานที่ปลอดภัย ถ้าหากจิตใจของเราไม่เบียดเบียนใคร มีแต่ดูแลตัวเอง  ทำให้ตัวเองมีชีวะ แข็งแรงเต็มที่  จึงสามรถรู้ และทำได้ ทำให้จิตของเราเป็นจิตที่เป็นอย่างพืชได้  มันก็ไม่ทุกข์  ไม่สุขไม่เบียดเบียนใคร  สร้างสรรค์ตัวเองให้อยู่ดีให้อยู่  สุขภาพดี สมบูรณ์แบบพอแล้ว เมื่อไม่ทำร้ายใครก็ไม่มีเวรภัย

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม สันติอโศก วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 29 พฤศจิกายน 2562 ( 12:51:55 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:43:18 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:18:05 )

อาการจิตของพระอรหันต์

รายละเอียด

ตัวฉลาด  ตัวปัญญา จะต้องรู้  อาศัยธาตุที่ไม่สุข ไม่ทุกข์  ไม่เป็นชีวะ พระอรหันต์จะต้องรู้อาการนี้ของจิต  ถ้าตนไม่รู้อาการนี้ของจิต อาการที่ไม่ทุกข์  ไม่สุข มันเป็นสัจจะนะ  มันเป็นอาการที่ไม่สุข  ไม่สุขจริง  จิตของคนต้องเป็นอย่างพืช  คุณต้องทำพลังงานจิตของคุณให้เป็นพีชะได้จริง หากคุณไม่เข้าใจ  ไม่รู้เรื่อง จะทำมันก็ไม่ได้หรอก  จะทำใจในใจ  มนสิการได้อย่างไร  ต้องทำมนสิการ ทำใจของคุณให้เป็นพีชะเพื่อให้ได้ ถ้าคุณทำใจของคุณให้เป็นอย่างพูดไม่ได้  คุณก็เป็นอรหันต์ไม่ได้  ฟังชัดเจนไหมว่า  ความเป็นพระอรหันต์อยู่ตรงไหน  พืชมันไม่ทำชั่ว  มันไม่ไปเบียดเบียนใคร  มันไปตามประสาของมัน มันจะดับบางอย่างไปได้  พอสมควรมันก็ทำ  มันไม่สู้หรอก  มันก็แพ้ถ้าดันไม่ได้  รากจะดันมาก  ยอดนี้ไม่ดันเท่าไหร่ พลังงานลักษณะของพืช  จึงเป็นพลังงานที่ปลอดภัย ถ้าหากจิตใจของเราไม่เบียดเบียนใคร มีแต่ดูแลตัวเอง  ทำให้ตัวเองมีชีวะ แข็งแรงเต็มที่  จึงสามรถรู้ และทำได้ ทำให้จิตของเราเป็นจิตที่เป็นอย่างพืชได้  มันก็ไม่ทุกข์  ไม่สุขไม่เบียดเบียนใคร  สร้างสรรค์ตัวเองให้อยู่ดีให้อยู่  สุขภาพดี สมบูรณ์แบบพอแล้ว เมื่อไม่ทำร้ายใครก็ไม่มีเวรภัย

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม สันติอโศก  วันอาทิตย์ที่  17 พฤศจิกายน  2562


เวลาบันทึก 29 พฤศจิกายน 2562 ( 17:28:24 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 13:21:58 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:20:10 )

อาการจิตของอรหันต์

รายละเอียด

มีอภิปโมทยังจิตตัง คือจิตของอรหันต์มันสบายเบิกบานร่าเริงไม่มีการเศร้าหมอง อโศกะ ปริเทวะ ทุกข โทมนัส อุปายาส ไม่มี คิดที่เป็น อภิปโมทยังจิตตัง ไม่ใช่มีจิตยินดีแบบนันทิ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูตอบปัญหา งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 45 ออนไลน์ วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 17 มีนาคม 2564 ( 14:18:43 )

อาการจิตที่ตกต่ำ

รายละเอียด

1. นรก 2. เปรต 3.อสุรกาย 4. เดรัจฉาน  5. อติวินิปาต

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 07 พฤศจิกายน 2562 ( 15:35:49 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:45:58 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 17:21:17 )

อาการจิตที่หมดสุขหมดทุกข์เป็นอย่างไร

รายละเอียด

ในฐานะที่ตัวเองเกิดมาเป็นคน มีความรู้พยัญชนะและสภาวะที่ลงตัวกัน พูดอย่างไรก็มีสภาวะอย่างนั้น มีสภาวะอย่างไรก็พูดอย่างนั้น แล้วเอามาสื่อให้ฟัง ให้รับรู้ให้ศึกษา เสร็จแล้วมาเรียนรู้ปฏิบัติตามจนกว่าคุณจะมีอย่างที่อาตมามี เป็นต้น 

คือ 1. จบอรหันต์ จบแล้วก็หมดสุขหมดทุกข์ อาการจิตที่หมดสุขหมดทุกข์เป็นอย่างไร มันมีจริงๆ อาตมาก็บอกได้ว่าอาตมาหมดสุขหมดทุกข์ อาตมารู้จัก อาการ ลิงค นิมิต อุเทส รู้ความแตกต่างของสภาพ 2 เครื่องหมายของสภาพ 2 เป็นอย่างไร ความสุขเป็นอย่างไรความทุกข์เป็นอย่างไร แล้วอาการเวทนารู้ความรู้สึกของจิตของเรา มันเป็นอาการ 2 อย่างเทียบเคียงกัน เรารู้แล้วเราทำได้จริง แล้วมีได้อาศัยมันจริง ให้เป็นอย่างนี้ไม่สุขไม่ทุกข์สบาย แล้วก็มีความรู้ตามที่พระพุทธเจ้าท่านเอามาเปิดเผย แล้วเราก็เรียนรู้ตามได้มาก เท่าที่จะมากได้ มีได้ศึกษาตามได้ เอามาสาธยายแจกจ่ายสืบทอดของพระพุทธเจ้าอยู่

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 53 ประโยชน์อันสูงสุดจากศาสนาที่มนุษย์พึงได้ วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2565 ขึ้น 10 ค่ำเดือน 10 ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 21 ธันวาคม 2565 ( 13:34:09 )

อาการติดยึดหลงงมงายเป็นความเสื่อม

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นผู้ที่มีปัญญาก็น่าจะเกิดสำหรับผู้มีความเฉลียวฉลาด แต่เห็นอาการติดยึดหลงงมงายไหม ผู้ข้องอยู่ในถ้ำ คุหัฏฐกสุตตทิทเทส อาตมาเห็นอันนี้แล้วอยากจะมาขยายความ แต่ก็ยังติดอยู่ที่ปัญญาอยู่นี่ เอามาเตือนเพื่อให้คุณรู้ว่าจมอยู่ในลักษณะต่างๆ เหล่านี้หรือไม่ พระพุทธเจ้าแจกแจงรายละเอียดชัดเจนว่าความเสื่อมของคนมันจะเป็นอย่างนี้ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ผู้ไม่รู้ตัวเองไม่รู้ทั้งหมด ผู้รู้ทั้งหมด รู้ตัวเอง วันศุกร์ที่ 16 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 21 เมษายน 2564 ( 10:57:18 )

อาการถีนมิทธะหมดไปจากจิตเป็นอย่างไร

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นกว่าจะรู้โลกุตระ กว่าจะเข้าใจแท้ๆกับความเป็นพุทธ โอ้โห อาตมาพยายามจะอธิบาย ถีนมิทธะ มันหมดไปจากจิตมันเป็นอย่างไร ความติดรสอาการของความง่วงมันหมดไปจากจิต อาตมาทำได้ ซึ่งอธิบายไปหลายทีแล้ว มันจึงไม่มีความง่วงเลย ไม่มีถีนมิทธะเลย นิวรณ์ 5 ไม่มี กามก็ไม่มี ปฏิฆะ ก็ไม่มี หรือแม้แต่ฟุ้งซ่านก็ไม่มี ถีนมิทธะก็ไม่มี ยังไม่มีความสงสัยไม่มีวิจิกิจฉา มีญาณปัญญาแต่เห็นความจริงมีญาณปัญญารู้ อาการ ลิงค นิมิต อุเทส จริงๆ นอกจากร่างกายมันต้องการพักมันเปลี้ยต้องการพัก แต่มันไม่มีรส ถีนมิทธะ มันไม่อยากนอนนะ แต่บางทีมันต้องนอน มันไม่ใช่ง่วงแต่มันเปลี้ย ก็ต้องนอน

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ พญานาคมีจริง พญานาคไม่มีจริง วันพุธที่ 8 ธันวาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 10 ธันวาคม 2564 ( 20:32:13 )

อาการทางนามธรรมของใครของมัน

รายละเอียด

เมื่อผ่าน โคจรรูป วิสยรูปแล้วก็มาเป็น 

 ค. ภาวรูป 2 เป็นความจริงที่มีความแตกต่างกัน จึงต้องเรียนความต่างนี่แหละจาก 2 ให้เป็น 1 เป็นหัวใจแท้ที่จะเรียนรู้ให้ได้ 

10. อิตถัตตภาวะ, อิตถินทรีย์ (ญ) 

11. ปุริสสัตตภาวะ, ปุริสสินทรีย์ (ช) 

ต่อจากนั้นก็มาเป็น หทยรูป คือ จิตวิญญาณ ใจของเรา จิตของเรา ไม่ได้อยู่กับที่ ไม่ได้มีสถานที่ ไม่มีรูปร่าง ไม่มีตัวตน ไม่มีอะไรกำหนดได้ง่าย แต่คุณต้องกำหนดว่า มันอยู่ที่จิตของเรานะ มันเป็นจิต เป็นหทัย เป็นวิญญาณ มันเป็นอาการชนิดหนึ่งที่เป็นอาการทางนามธรรม ของใครของมัน

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ จบรูป 28 สู่เรือนาวาบุญนิยมพาพ้นไฟโลกีย์ วันพุธที่ 3 สิงหาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 27 สิงหาคม 2565 ( 21:49:40 )

อาการที่ 33 ตาวติงสา หรือดาวดึงส์

รายละเอียด

อย่าไปหอบโลกมาเป็นของเราเลย เขาจะทำเราก็ไปห้ามเขาไม่ได้ อาตมาอธิบายธรรมะมา คุณเข้าใจว่ามีอาการที่ 33 เกิด เท่านี้อาตมาก็คุ้มแล้ว 

อาการ 33 เป็นอาการบ้าๆบอๆที่คนอุปาทานขึ้นมา หลงว่ามี ตาวติงสา หรือดาวดึงส์ เป็นแดนที่จะต้องได้ ว่าเป็นแดนแห่งความสุข คุณคนนี้อธิบายมา แสดงว่าเข้าใจ แต่คุณจะไปเอาเรื่องอะไรกับมันเล่า ก็ปล่อยมัน มันจะมาจะไปก็อย่าไปยุ่งอะไรกับมัน ไม่ต้องไปยุ่งอะไรกับมันหรอก 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ประเด็นโลกุตระจากงานศพอาจารย์สมเกียรติ วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2564 ขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 22 พฤศจิกายน 2564 ( 11:52:00 )

อาการที่น่าเลื่อมใส

รายละเอียด

คือ อาการที่ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง หรือมีการขัดเกลา โลภ โกรธ หลง ลงไปเรื่อยๆ ไม่สะสม แต่เป็นคนขยันหมั่นเพียรสร้างสรร (วิริยารัมภะ) แล้วก็แจกจ่าย เจือจาน มีทาน มีบริจาค มีการเกื้อกูล เสียสละ ช่วยเหลือผู้อื่นอย่างนี้ ให้ยิ่งๆขึ้น ให้จริงจังขึ้น จริงใจขึ้น

หนังสืออ้างอิง

 “สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ” หน้า169


เวลาบันทึก 26 ตุลาคม 2562 ( 15:25:22 )

เวลาบันทึก 30 กรกฎาคม 2563 ( 06:47:31 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 17:21:54 )

อาการที่น่าเลื่อมใสทำอย่างไร

รายละเอียด

ทำอย่างไร ไม่เป็นอย่างไร ฟังดีๆนะ อาการโพธิรักษ์ มีท่าทีลีลาทั้งกายกรรมวจีกรรมมโนกรรมน่าเลื่อมใส ขออภัยพูดอย่างจริงใจ แต่คนไม่เข้าใจก็หาว่าอาตมาเป็นอย่างนั้น มันไม่เหมือนกับ Concept ที่เขายึดถือกำหนดไว้แล้ว ความยึดถือ ความหมายอย่างนั้นแล้วเขายึดถือว่าจะต้องดีอย่างนั้น บอกว่าคนดีคือคนสุภาพ กายกรรมของอาตมาสุภาพ เพราะกายกรรมของอาตมาแรง ดี ถูกต้อง กระจ่างชัด ไม่พราง ไม่มัว ไม่มืด เปิดหมดเต็มๆ ยิ่งกว่าเพชรที่ไม่ต้องเอาหนังชามัวร์มาเช็ด ใส ผ่อง ฟังขึ้นไหมนี่? คืออาการที่ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง นี่แหละคือ อากรน่าเลื่อมใสทางกาย พอทีนี้วาจา อธิบายแล้วอธิบายอีกกระจ่างใสสว่างชัดเจนไหม ไม่มีไม่มีเลี้ยวไม่มีลดไม่มีหลบไม่มีหรี่ไม่มีลี้ วาจาก็หือ สุดยอดปาสาทิกะ ที่น่าเลื่อมใส มาจากใจที่สะอาด มาจากใจขออภัยต้องพูดอย่างนี้ จากที่มีความรู้เต็มๆ แล้วก็เอาความรู้เต็มๆนี้ออกมาเปิดออกมาขยาย ออกมาอธิบาย ออกมาแจกๆๆๆ มีแต่ความรู้มีแต่โลกุตระธรรมเป็นสิ่งที่ดี

ที่มา ที่ไป

เทศน์ทำวัตรเช้า วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563


เวลาบันทึก 23 พฤศจิกายน 2563 ( 11:17:48 )

อาการที่สงบจากกิเลส

รายละเอียด

สงบของพระพุทธเจ้านี้ปราดเปรียวคล่องแคล่วว่องไว เป็นกายปาคุญญตา เป็นจิตปาคุญญตา คล่องแคล่วว่องไวไม่ใช่ไปเฉื่อยเนือย นั่นไม่ใช่ของพุทธ พุทธปราดเปรียวคล่องแคล่วว่องไวทั้งนอกและในเหมือนอย่างโพธิรักษ์ ยังปราดเปรียวน้อยไปนะ แล้วหาว่าเรานั้นยิ่งกว่าลิง แต่จริงๆแล้วมันเร็วยิ่งกว่าแสง นี่ยังน้อยนะ ถ้าถึงแสงเมื่อไหร่คุณเอ๋ย ไหม้คุณไม่เหลือ 

ซึ่งมันเข้าใจผิดจริงๆเลยคนละเรื่อง เป็นไปเพื่อการสงบระงับกิเลส กิเลสยิ่งหมดไปเท่าไหร่ยิ่งแคล่วคล่องว่องไวยิ่งปราดเปรียวยิ่งแรงและเร็ว ธรรมะของพระพุทธเจ้ามันจึงเป็นความรู้ยิ่งเร็วไวหมดเลย เป็นความตรัสรู้เพื่อนิพพาน เพราะฉะนั้นกิเลสมันจะแอบมาเล็กน้อยอย่างไรไม่เหลือหรอความเร็วของเรารู้ทันหมด

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปฏิบัติจรณะ 15 พาให้พ้นสวรรค์คนโง่ วันพุธที่ 3 มีนาคม 2564 ที่ บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 15 มีนาคม 2564 ( 14:40:35 )

อาการที่เจริญขึ้นเรื่อยๆ

รายละเอียด

อยู่ในสาธารณโภคี คนไม่มีสมบัติเลยเป็น 0 อยู่กันอย่างสบาย เกื้อกูล พึ่งเกิด พึ่งแก่ พึ่งเจ็บ พึ่งตาย กันได้จริงๆ นี่คือตัวยืนยันสัจจะของพระพุทธเจ้า วรรณะจนถึง สัลเลขะ ใครยังมีกิเลสก็ขัดเกลาออก ตามหลักธรรมที่สูงขึ้นเจริญขึ้นได้ เคร่งขึ้นได้ คนที่ทำศีลเคร่งได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากคือคนที่เจริญ ธูตะ เจริญขึ้นเรื่อยๆ มีอาการที่เจริญขึ้นเรื่อยๆ เรียกว่า ปาสาทิกะ อาการกาย วาจา ใจ คล่องแคล่ว มุทุภูตธาตุ ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากซึ่งฌานทั้ง 4 

มีความไม่สะสมและยอดขยันอีก 2 ข้อสุดท้าย เป็นความสุดยอดถึงสวนกระแสของโลกียะทุนนิยมโลกส่วนใหญ่เกือบทั้งหมด มันเจริญแบบโลกียะทั้งนั้น มันเป็นเทวนิยมอยู่ที่แสวงหาอะไร สุข แสวงหาความสุข หลงความสุข ติดความสุขทั้งนั้นเลย ยังไม่รู้จักสุขทุกข์ ว่ามันเป็นตัวมายา ความสุขมันเป็นตัวมายาตัวเบ้งเลย ไม่รู้ ยังแสวงหาความสุขติดความสุข ชนิดยังไม่มีปฏิภาณปัญญาที่จะลดละ อัตตาหรือกิเลสที่มันไปติดสุข ไปหลงสุข แม้แต่ กามารมณ์ ที่เป็นกิเลสหยาบข้างนอกเลย ยังไม่รู้ ยังไม่เข้าใจว่าจะต้องละเป็นเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์ กาม รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส หรือแม้แต่เมถุนธรรมแม้เรื่องเพศ มีความสำเร็จความใคร่ทางด้านกามารมณ์ยังไม่รู้จัก ยังไม่ได้เคยลดละ ว่า อ๋อ.. นี่มันเป็นเบื้องต้นของคนที่จะเจริญหรือ ลดละ อันนี้เขาก็ยังไม่รู้ แม้บางศาสนาไม่รู้เรื่องว่าอันนี้คือกิเลสตัวตนที่ต้องลดนะ ไม่ ยังบำเรอกันอยู่เลย แม้แต่ศาสดาก็ยังมี อะไรต่ออะไรต่างๆนานายังเยอะอยู่

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ แบบมีกษัตริย์กับไม่มีกษัตริย์ ประชาธิปไตยแบบไหนดีกว่า วันศุกร์ที่ 6 มกราคม 2566 ขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 12 มกราคม 2566 ( 19:50:37 )

อาการที่เจ็บปวดทรมานเกิดจาก กายที่มีวิญญาณเป็นเวทนาใช่ไหม

รายละเอียด

ใช่ คุณใช้พยัญชนะถามมาถูกต้อง แต่คุณจะเข้าใจคำว่ากายที่มีวิญญาณเป็นเวทนา ที่คุณใช้ภาษาเขียนมาเองเลย กาย คือขนาดไหน วิญญาณ คือขนาดไหน เวทนาคือขนาดไหน ถ้าคุณเข้าใจชัดเลย เพราะจริงๆแล้วคำว่า กาย มันไม่รู้สึกเจ็บปวด กายนี่ ไม่รู้สึกเจ็บปวด เพราะฉะนั้น เมื่อ กาย มันไม่รู้สึกเจ็บปวด ก็คือมันไม่มีกายกับจิตของเรา ถ้า กายยังรู้สึกเจ็บปวด เราก็มีจิตวิญญาณ มีเวทนา เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด เฉยๆ อาตมาใช้เล็บอธิบาย ทีนี้คุณฉลวยไปเอาฟัน ฟันก็เป็นสิ่งหนึ่งในมูลกรรมฐาน 5 ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง แต่ ฟัน มันจะยาก อธิบายยากกว่าเล็บ ก็ไม่เป็นไร ลองฟัง ฟันดูก็ได้

คุณฉลวยถามว่า ถอนฟันออกแล้วมันจะไม่รู้สึกเจ็บปวดอีกแล้วมันเป็นอุตุไปเลยก็ใช่ มันก็ไม่มีปัญหา ง่าย ถอนออกไปเลยทั้งดุ้น ฟันนั้นก็เหตุแห่งทุกข์ แต่ถ้าแผลหรือเหงือกของคุณ ตรงที่มันถอนออกมานั่นแหละ มันยังระบม มันยังมีความไม่สนิท มันก็เจ็บตรงนั้น แต่มันไม่ได้เจ็บที่ฟันเป็นเหตุ ฟันมันหลุดออกไปแล้ว ก็น่าจะหาย เป็นวิธีบำบัดที่ง่ายที่สุดคือ ทำลาย จัดการให้มันเป็นอุตุไปเลย มันถอดออกไป มันถอดตัวเองมันเป็นอุตุ แต่ถ้ามันยังมีอยู่ในตัวเรา แต่มันเป็นพีชะ ฟังดีๆนะ อันนี้ไม่ง่าย แต่ต้องเข้าใจให้ได้แล้วทำแล้วก็รู้จักความจริงมันจึงบรรลุอรหันต์ ถ้าไม่รู้มันไม่บรรลุอรหันต์นะ นี่ตรงนี้

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาโยมบุญ ให้รู้จักทำบุญอย่างถูกพุทธ วันพุธที่ 14 ธันวาคม 2565 แรม 6 ค่ำ เดือนอ้าย ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 24 ธันวาคม 2565 ( 11:30:45 )

อาการที่ไม่ต่างกันมี 1 มีนิพพานอย่างเดียว

รายละเอียด

ถ้าแยกได้ก็รู้จัก 2 รู้จักการต่างกันมันต้องมี 2 อาการที่ไม่ต่างกันมี 1 มีนิพพานอย่างเดียว 0 ไม่ใช่ 1 ไม่ใช่ 2 แต่ 0 อย่างเดียว คือสูญ หมดจากความไม่รู้ 0 หมดจากความจริงที่จะมาแย้งกัน มันลงตัวคือ 0 มันไม่มี 2 ไม่มี  1 ด้วย สภาวะอย่างนี้ คุณมีสภาวะกับพยัญชนะภาษาบอกว่า 0 บอกว่า 1 บอกว่า 2 ไหมล่ะ ถ้าคุณมีความรู้สภาวะ และพยัญชนะมันลงกัน คุณก็จบ 

เพราะฉะนั้นพระอรหันต์ท่านลงกันตรงที่สัจจะมีหนึ่งเดียวคือนิพพาน ก็จบด้วยกันทั้งคู่พระอรหันต์ด้วยกัน คนไม่ใช่อรหันต์ก็แย้ง คนยังไม่ใช่เป็น 1 ด้วยกันก็แย้ง มันไม่ใช่เรื่องแปลกไม่ใช่เรื่องพิสดารไม่ใช่เรื่องประหลาด แต่มันเป็นเรื่องจริงๆต้องเป็นธรรมดาธรรมชาติอย่างนั้น 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 36 แยกกายแยกจิตอย่างไรให้ถึงอรหันต์ วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 04 สิงหาคม 2565 ( 14:56:54 )

อาการนิพพานเป็นไฉน

รายละเอียด

จิตไม่มีกิเลสกวนเลยคืออาการนิพพาน อาการว่างจากกิเลสตลอดกาลคือนิพพาน พระอรหันต์มีนิพพานตลอดเวลา จิตท่านบางจากกิเลสตลอดเวลา ไม่มีกิเลสเลยคือพระอรหันต์ เวลาใดก็ไม่มีกิเลสเข้าเลยนั่นคือสภาพของความเป็นนิพพาน เป็นจิตว่าง จิตว่างจากกิเลส แจ่มใส จิตใจยิ่งมีปัญญาเต็ม ยิ่งเป็นคนมีสติเต็มสัมปชัญญะเต็ม สัมปชานะเต็ม นั่นคือจิตว่าง

ที่มา ที่ไป

พ่อครู เทศน์ ทวช.อโศกรำลึก ครั้งที่ 37 นาม 5 รูป 28 ให้ถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ

วันที่ 9 มิถุนายน 2561 ที่สันติอโศก

สื่อธรรมะพ่อครู(ศีล สมาธิ ปัญญา) ตอน อานิสงส์ของคนที่ให้คู่ครองไปบวช


เวลาบันทึก 14 กุมภาพันธ์ 2564 ( 11:03:55 )

อาการน้อยเนื้อต่ำใจเกิดจากอะไร จะแก้ไขจิตแบบนี้อย่างไร

รายละเอียด

ต้องตัดสินที่กาละปัจจุบันว่าอันไหนสำคัญกว่ากัน

เรื่องน้อยเนื้อต่ำใจ เกิดจากความไม่เข้าใจอย่างสมบูรณ์ ใจของเราที่มันพอดีพอดีอย่างนี้ ใจมันต่ำ คุณน้อยใจของคุณเอง คุณโง่เอง เสียใจเศร้าใจ เว้าใจแหว่งใจ คุณทำใจตัวเองเอง ใจก็คือใจ ไม่ต้องไปน้อยไปต่ำ มันจะต่ำจะสูงก็อยู่ที่ใจของเราเอง นี่ก็พูดทั้งพยัญชนะและสภาวะให้ฟัง อ่านอาการใจเหล่านี้ให้ดีและอ่านสภาวะสังคมที่เกี่ยวพัน ใช้คำว่าน้อยคืออะไร ใช้คำว่าต่ำคืออะไร คำว่าสูงคืออะไร คำว่ามากคืออะไร

จะแก้จิตอย่างไรก็อ่านอาการจิต อ่านสภาวะที่เขาสมมุติ สอดคล้องกัน ติดตามพยายามปฏิบัติมันละเอียดลออในนามธรรมตอนนี้ ศึกษาในมิติต่างๆรอบด้าน ทั้งนัยยะ นัยยะละเอียดกว่ามิติอีก มิติมีด้านต่างๆ ส่วนนัยยะนี้แตกต่างกันแหลกราญเลย

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการวิถีอาริยธรรม  อธิปไตย อภิบาล อภิปัญญาคือประชาธิปไตยแท้ วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม 2561ที่บ้านราชฯ

สื่อธรรมะพ่อครู(สมาธิพุทธ) ตอน โสดาบันจะพ้นมิจฉาอาชีพ 5 หรือไม่


เวลาบันทึก 13 กุมภาพันธ์ 2564 ( 20:34:59 )

อาการน้อยใจเป็นการเห็นแก่ตัวชนิดหนึ่ง

รายละเอียด

คือการน้อยใจก็เป็นตัวเราเอง เป็นคนทำให้ใจเราน้อย เราก็ทำให้ใจเรามันมากขึ้นเสีย น้อยใจก็หมายความว่า ของเรารู้สึกลักษณะหนึ่ง ภาษาไทยว่า น้อยใจ  คือใจมันรู้สึกต่อรอง ทำไมไม่ให้เรา ทำไมไม่เป็นอย่างนี้ มันเป็นการต่อรอง  มันเป็นการเห็นแก่ตัว  เพราะฉะนั้นจงรู้ว่า น้อยใจนี้คือ การเห็นแก่ตัว ชนิดหนึ่ง ก็ต้องทำใจให้มันเต็ม ทำใจให้มากๆ ไว้ อย่าไปเห็นแก่ตัว  ให้เห็นแก่ผู้อื่นให้มากๆ  ถ้าเราน้อยใจเห็นแก่ตัว  แล้วก็เลิกน้อยใจ  ก็ต้องรู้ว่า มันน้อยใจ เรื่องอะไร  น้อยใจที่เขาไม่ตามใจตัวเอง  น้อยใจเรื่องที่เราไม่ได้ดังใจเรา  เท่านั้นแหละ  ก็เอาเถอะเราไม่ได้ดั่งใจ  เขาไม่ตามใจก็ไม่เป็นไร แต่ให้เลือกใจที่น้อยๆ ใจไม่แข็งแรง  ใจอ่อนแอ จริงๆ  ก็คือใจไม่ดี  ใจมันชั่ว  คนทำน้อยใจ เป็นการทำใจชั่ว ชนิดหนึ่ง เป็นอกุศลชนิดหนึ่ง  อย่าไปทำใจเช่นนั้นให้ทำใจเต็ม  สัมผัสกับอะไรก็ให้ทำ  แต่สิ่งที่ดี เลิกทำให้ใจน้อย น้อย มาทำใจเต็มกับสิ่งที่เราอยู่ด้วยอะไรเป็นสิ่งที่ไม่ดี   อาการ อารมณ์อย่างนั้น เลิกไปเสีย   เรามาสนใจกับสิ่งที่ดีที่เราควรจะใส่ใจดีกว่า แล้วจะเห็นได้ว่า ที่หลังคุณจะได้ประโยชน์ อย่าไปหัวซากับน้อยใจเลย  อย่าไปเอาใจใส่ สนใจมันเลย ทิ้งไปเลย ปล่อยมันไปช่างหัวมัน   Let  it be   ทิ้งไปแล้วเราก็ทำในสิ่งที่เราควรจะสัมพันธ์เกี่ยวข้องควรมีกรรมกิริยาด้วยดีกว่า

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช ครั้งที่ 82 วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 04 ธันวาคม 2562 ( 14:51:38 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:47:29 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:53:33 )

อาการน้อยใจเป็นการเห็นแก่ตัวชนิดหนึ่ง

รายละเอียด

การน้อยใจก็เป็นตัวเราเอง เป็นคนทำให้ใจเราน้อย เราก็ทำให้ใจเรามันมากขึ้นเสีย น้อยใจก็หมายความว่า ของเรารู้สึกลักษณะหนึ่ง ภาษาไทยว่า น้อยใจ  คือใจมันรู้สึกต่อรอง ทำไมไม่ให้เรา ทำไมไม่เป็นอย่างนี้ มันเป็นการต่อรอง  มันเป็นการเห็นแก่ตัว  เพราะฉะนั้นจงรู้ว่า น้อยใจนี้คือ การเห็นแก่ตัวชนิดหนึ่ง ก็ต้องทำใจให้มันเต็ม ทำใจให้มากๆ ไว้ อย่าไปเห็นแก่ตัว  ให้เห็นแก่ผู้อื่นให้มากๆ  ถ้าเราน้อยใจเห็นแก่ตัว  แล้วก็เลิกน้อยใจ  ก็ต้องรู้ว่า มันน้อยใจ เรื่องอะไร  น้อยใจที่เขาไม่ตามใจตัวเอง  น้อยใจเรื่องที่เราไม่ได้ดังใจเราเท่านั้นแหละ  ก็เอาเถอะเราไม่ได้ดั่งใจ  เขาไม่ตามใจก็ไม่เป็นไร แต่ให้เลือกใจที่น้อยๆ ใจไม่แข็งแรง  ใจอ่อนแอ จริงๆ  ก็คือใจไม่ดี  ใจมันชั่ว  คนทำน้อยใจ เป็นการทำใจชั่วชนิดหนึ่ง เป็นอกุศลชนิดหนึ่ง  อย่าไปทำใจเช่นนั้นให้ทำใจเต็ม  สัมผัสกับอะไรก็ให้ทำแต่สิ่งที่ดี เลิกทำให้ใจน้อย น้อย มาทำใจเต็มกับสิ่งที่เราอยู่ด้วย อะไรเป็นสิ่งที่ไม่ดี   อาการอารมณ์อย่างนั้นเลิกไปเสีย   เรามาสนใจกับสิ่งที่ดีที่เราควรจะใส่ใจดีกว่า แล้วจะเห็นได้ว่า ทีหลังคุณจะได้ประโยชน์ อย่าไปหัวซากับน้อยใจเลย  อย่าไปเอาใจใส่สนใจมันเลย ทิ้งไปเลย ปล่อยมันไป ช่างหัวมัน   Let  it be   ทิ้งไปแล้วเราก็ทำในสิ่งที่เราควรจะสัมพันธ์เกี่ยวข้อง ควรมีกรรมกิริยาด้วยดีกว่า

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่  25พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 20 ธันวาคม 2562 ( 20:17:30 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 08:35:25 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 17:23:13 )

อาการปริสุทธาในเรื่องเสื้อผ้า

รายละเอียด

ธาตุรู้มันจึงเป็นตัวที่ปล่อยทุกอย่างด้วยปัญญาอันยิ่ง มีพยัญชนะเรียกอย่างไร สภาวะแต่ละคน ไม่รู้ของตนเองของใครของมัน 

อุเบกขาทำให้กิเลสหมดไปจนจิตสะอาด เรียกว่าปริสุทธา ทำได้แล้วก็เข้าใจอาการปริสุทธาเป็นอย่างนี้ คุณก็ทำอย่างอื่น คุณไปติดยึดอะไรอย่างอื่นอีกก็ทำไปต่างๆนานา ที่ยังติดสภาพของหยาบขนาดไหนก็แล้วแต่ เกี่ยวกับสัตว์ เกี่ยวกับของ เกี่ยวกับพืช ของคือวัตถุต่างๆ เพชรนิลจินดา ธนบัตร วัตถุปรุงแต่งอะไรต่างๆนานา เสื้อผ้าหน้าแพร เครื่องตกแต่งอะไรก็แล้วแต่ หลายอย่างคุณอาศัยก็ไม่ได้ดูดไม่ได้ผลักอะไร ยกตัวอย่างเสื้อผ้า 

คุณอาศัยเสื้อผ้า คนที่ยังติดยึดอย่างนั้นอย่างนี้ติดรูปทรงสีสัน เขาก็ว่ากันไป แต่คุณไม่ติดในเสื้อผ้า คุณก็สักแต่ว่าใส่กันร้อนกันหนาว ถ้าในวาระที่ไม่ต้องใส่ก็ไม่ต้องใส่ วาระที่ควรใส่คุณก็รู้ความควรของมนุษยชาติคุณก็ใส่ ใส่เท่านี้มันทนหนาวไม่ได้ก็ใส่ให้มันหนาหน่อยให้มันกันหนาว ถ้ามันร้อนก็เอาออก ดีไม่ดีก็ถอดหมดเลย หาความเย็น ถอดแล้วยังร้อนอยู่เลยก็ต้องหาอะไรมาเป่า เอาน้ำเย็นมารด มันก็ธรรมดาธรรมชาติ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ชาติ 5 แยกวิญญาณฐีติ 7 สัตตาวาส 9 วันพุธที่ 27 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 กุมภาพันธ์ 2564 ( 12:24:34 )

อาการภายนอกและภายใน

รายละเอียด

พระพุทธเจ้าท่านก็สอนว่าอย่าไปยึดติดตามอาการ โดยเฉพาะอาการภายนอก คุณไปหยั่งรู้อาการภายในจิตของเขาได้อย่างไร ซึ่งยากมาก ยิ่งเป็นคนที่สามารถ เห็นอาการความไม่เที่ยง อาการเหล่านี้ถ้าไปติดยึดอยู่เห็นมันเที่ยง มันก็จะมีทุกข์มีสุข เป็นเทวะ

 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 18 มกราคม 2562


เวลาบันทึก 12 กุมภาพันธ์ 2563 ( 17:58:58 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:48:23 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 17:23:54 )

อาการลิงค

รายละเอียด

ลักษณะบอกความต่าง

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 301


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 13:36:22 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 20:34:20 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:14:35 )

อาการลิงค นิมิต อุเทส เป็นเช่นไร

รายละเอียด

ถ้าคุณทำกิเลสภายนอกนี้ตายไม่ได้ คุณก็ไม่มีสิทธิ์ทำกิเลสข้างในต่อไป ลัดไม่ได้ตัดไม่ได้ แต่พวกหลับตาทำเป็นเก่ง ไปหลับตาตัดลัดภายนอก จึงไม่มีความรู้ทางภายนอกเลยเหมือนมหาบัว กิเลสกามคุณ 5 เต็มเลย เคี้ยวกิเลสสิ่งเสพติดก็ไม่รู้ ว่าตัวเองติดรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสอยู่ขนาดไหนอย่างไร ไม่รู้เลย มีแต่หลับตา ปึ๊ง กิเลสตายเกลี้ยง แล้วกิเลสเป็นตัวอย่างไร อธิบายอาการมันไม่ได้แล้วแตกต่างกันยังไงในจิต แยกออกเป็น 2 อย่างในจิต 

อย่างหนึ่งเป็นธาตุรู้สึกธรรมดา อีกอย่างหนึ่งเป็นธาตุของกิเลส 

เช่น ดอกกุหลาบนี้สวย คุณสมมุติว่าสวย จริงๆดอกกุหลาบมันไม่มีสวย ไม่มีไม่สวยหรอก มันก็คือของมันอย่างนี้ ใครเห็นอย่างนี้ก็เหมือนกันหมด ฝรั่ง เจ๊ก แขก ไทย เทวนิยม อเทวนิยม ก็เห็นเหมือนกันหมดนั่นคือ ตัวแท้ 

จะบอกว่าสวยจะบอกว่าแปลกไม่เหมือนของเรา สู้ของเราไม่ได้อะไรพวกนี้ไปใหญ่เลยทีนี้ พวกนั้นต่างหากคือพวกปลอม แล้วก็ต้องดูความปลอมนี้ให้ได้ ตัวเองเอาของปลอมมา
กลบความจริง อยากให้เป็น 2 ที่จริงแล้วสัจจะเป็นหนึ่งเดียว 

หอม เพราะที่จริงมันก็มีกลิ่นของมันอย่างนี้ อันอื่นก็มีกลิ่นของมัน เอาดอกอุตพิดมาแล้วบอกว่าหอม ก็คุณไปเรียกหอม ก็กลิ่น มันก็ต่างจากที่อื่นๆ อุตพิดคุณบอกว่ามันเหม็น ที่จริงแล้วมันเป็นความแตกต่างกัน มันมีอาการ ลิงค นิมิต อุเทส อุเทสคือคำอธิบายที่อาตมากำลังพูดนี่แหละคือ อุเทส 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปัญญา 8 ประการ 3 ข้อแรก โดยพิสดาร วันพุธที่ 9 มีนาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 17 มีนาคม 2565 ( 21:52:06 )

อาการว่างของอารมณ์สุขอารมณ์ทุกข์

รายละเอียด

อาการว่างของอารมณ์ความรู้สึกว่างจากความสุข ว่างจากความทุกข์ ความทุกข์นั้นรู้ได้ง่ายกว่าความสุข ความทุกข์มันหยาบมันแรง ไม่สบายมันรู้ง่ายกว่า ความสุขมันเนียน ความสุขมันหลอก ความสุขมันทำให้คนเผลอ หลงไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นรู้สุขจึงรู้ได้ยาก พระพุทธเจ้าก็ไม่เอาความสุขมาสอนให้ดับ ฉะนั้นก็สอนให้ดับความทุกข์ พระท่านตรัสรู้ว่าความสุขความทุกข์มันเป็นเทวะ เทวะ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในมหาจักรวาลคือพระเจ้า เขานับถือพระเจ้ากันว่าเป็นภาวะนิรันดร เป็นภาวะที่ยิ่งใหญ่ ภาวะที่บันดาล สั่ง สร้าง เพราะฉะนั้นพระเจ้าจึงถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่มีวันตาย ศาสนาพุทธ ก็เรียนรู้ว่าพระเจ้าคืออะไร พระเจ้าคือธาตุจิต ธาตุวิญญาณ ธาตุรู้อันเดียวกันกับของมนุษย์ ธาตุรู้ของพระเจ้ากับธาตุรู้ของมนุษย์ทุกคนอันเดียวกัน 

ที่มา ที่ไป

รายการ ทำวัตรเช้า งานว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน ครั้งที่ 7 สู่แดนทองฉลอง 50 ปีโพธิกิจ วันที่ 1 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 10 มกราคม 2563 ( 17:22:38 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:49:36 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 17:24:38 )

อาการสุข

รายละเอียด

เป็นสภาวะอาการที่สภาพได้ดังหวัง หวังอะไรแล้วได้สมหวังก็ชื่นใจสุขใจ นั่นเป็นสุขโลกีย์ แต่ความสุขของศาสนาพุทธนั้น สุข แปลว่า ว่างนั้นแหละดี มันว่างจากสุขจากทุกข์ เป็นความเจริญขั้นที่ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ เป็นปรมังสุขัง มันยิ่งกว่า เขาไปแปลว่าสุขอย่างยิ่ง มันซ้ำเดิมสุขโลกีย์อย่างเก่ามากขึ้นแต่นี่มันไม่ใช่ มันเป็นยิ่งกว่าสุข 

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซีวิต ที่บวรปฐมอโศก ครั้งที่ 65 วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 15 พฤศจิกายน 2562 ( 16:01:26 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:51:01 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:15:14 )

อาการสุขทุกข์ไม่มีมีแต่อาการเดียวคืออุเบกขา หรืออทุกขมสุข

รายละเอียด

อาการอย่างไรเป็นสุข อาการอย่างไรเป็นทุกข์ มันเป็นเรื่องมายาทั้งคู่ เมื่อผู้ใดที่รู้จริงแล้วอาการอย่างนี้เป็นสุข อาการอย่างนี้เป็นทุกข์ มันหลอกเรานะ มันไม่มีหรอกอาการทั้งสุขและทุกข์ มีแต่ความรู้ความจริงตามความเป็นจริงอย่างเดียว ซึ่งเป็นเรื่องที่พูดให้สั้นให้ง่าย แต่จะมีปัญญาญาณหยั่งรู้ความจริงที่เป็นอาการอย่างเดียวไม่สุขไม่ทุกข์นี้ที่เรียกว่า อุเบกขา หรือ อทุกขมสุข ภาษาก็รู้แล้ว แต่สภาวธรรมที่...คุณเอ๋ย..มันไม่ง่าย ยิ่งจะทำให้ได้แล้วจะรู้ความจริงที่เราทำได้อีก โอ้โห นะ แต่ไม่พ้นไปจากความพยายาม ที่จะปฏิบัติประพฤติให้ถึงได้ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปัญญาแยกแยะนามรูปได้เป็นเช่นไร วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 29 มีนาคม 2564 ( 20:59:30 )

อาการหิริ

รายละเอียด

อาการหิริ อาการละอายเป็นตัวชี้บ่งความเจริญ มันไม่ใช่ละอายอย่างเหนียมๆ แต่มันรู้สึกว่า เรานี่ไม่ควร มันจะรู้สึก

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศนาต้อนรับปีใหม่ 2567 เรื่องปฏิจจสมุปบาท ตอน 2 วันจันทร์ที่ 1 มกราคม 2567 แรม 5 ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 13 มกราคม 2567 ( 19:25:53 )

อาการอรูปจิตที่มีปิติ

รายละเอียด

ประเด็นคือเกิดอาการอะไรขึ้นมาก็เอามาถาม สรุปคือเห็นจิตใจตัวเองสงบเย็นแล้วน้ำตาไหล ก็แสดงว่าเราพอใจยินดีในสิ่งที่เราทำได้มันก็เป็นปีติ เรียกว่าอรูปจิตหรืออนุสัย มันเป็นอรูปจิตจริง ไม่ใช่ตัวตนไม่ใช่อนุสัย มันเป็นผลที่ได้ ไม่ใช่อนุสัย แต่เป็นผลได้ และมีจิตอุปกิเลส ปีติ คืออุปกิเลส หากมันแรงก็ถึงน้ำตาไหล หากปีติเบาก็ไม่มากมายอะไร มีปัญญาเข้าใจว่าอันนี้คืออะไร มีความลึกซึ้งอย่างไร ก็จะไม่มีอาการออกมากเท่าไหร่ จนกระทั่งไม่มีอาการเลยก็ค่อยๆลดลงก็ค่อยสังเกตไป

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 3 ตุลาคม 2561


เวลาบันทึก 29 ธันวาคม 2563 ( 11:13:03 )

อาการอุตุ

รายละเอียด

อาการอุตุ คือ การอ่านอาการของจิต ความรู้สึกที่ไม่มีความรู้สึก อย่างเช่น อุตุ มันไม่มีความรู้สึก เป็นพลังงานที่ไม่มีความรู้สึก คุณจะทำจิตของคุณอย่างไรให้เป็นธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ที่มีความรู้สึกนี้ได้ คุณจึงจะเป็นอรหันต์ ถ้าคุณแยกตอนเป็นๆ นี้ก็ทำให้เป็นปัจจุบัน คุณแยกไม่ได้ แล้วตายคุณจะไปแยกได้อย่างไรต้องแยกจิตคุณเห็นอาการลิงคะว่า จิตคุณเป็นอุตุหรือเป็นพีชะ หากเราสัมผัสแล้วจิตไม่รับรู้ หรือรับรู้แล้ว ขอให้มีความสุข ความสุขก็ต้องแยกความแตกต่าง ถ้ารับรู้แล้วมันก็ไม่เกิดความประพฤติเลย เหมือนเล็บตัดออกไปเป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม แต่คุณทำจิตของคุณให้เป็นอุตุอย่างนั้นได้ไหม ถ้าทำได้แล้วก็ไม่เกี่ยว เพราะในโลกนี้มี ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข คุณสัมผัสมันก็เหมือนเราตัดส่วนเล็บนี้ทิ้งไป แล้วเราก็รู้ความจริงตามความเป็นจริง ส่วนเล็บนี้เป็นดิน น้ำ ไฟ ลม แล้วมันมีธาตุอะไรประกอบ ผมมันมีธาตุอะไรประกอบบ้าง หนังน่าจะประกอบด้วยโปรตีนเยอะ ฟันก็คงมีแคลเซียมเยอะ มันก็คงแตกต่างกันไป แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้สอนให้เป็นผู้รู้รายละเอียดพวกนี้หรอก  เข้าใจไม่ได้ก็ไม่เป็นไร แต่ที่สำคัญคือความสุขความทุกข์ เพราะความสุขความทุกข์ เป็นตัวกำหนดจิตให้คุณไปวุ่นวายกับอะไรเขา ไปวุ่นวายกับดิน น้ำ ไฟ ลม มันก็ไม่จองเวรจองกรรม ทำให้สุจริตก็แล้กันอย่าไปทุจริตกับดิน น้ำ ไฟ ลม แต่กับพืชพรรณธัญญาหาร คุณก็จะต้องเกี่ยวข้องเป็นอาหาร ดิน น้ำ ไฟ ลม ก็มีส่วนเป็นอาหารน้อย  แต่พืชนี้เป็นอาหาร เป็นอาหารสัตว์ อาหารคน กินพืช ศาสนาพุทธอีกว่าสัตว์ไม่ใช่อาหารของคน ดิน น้ำ ไฟ ลม ก็ไม่ใช่อาหารทั้งหมดมีส่วนบางส่วนที่มาเป็นอาหาร  แต่หลักๆ นั่นคือพืช คุณดูความจริงตามความเป็นจริง ชีวิตคุณก็อยู่กับที่ทำไปลงเกี่ยวกับพืช เกี่ยวกับสัตว์ ก็ไม่ไปเบียดเบียนสัตว์ ดิน น้ำ ไฟ ลม ที่อาศัย ก็อาศัยไปอาศัยพืชเป็นอาหารหลักไปเลี้ยงขันธ์ คุณก็รู้ความจริง คุณก็ทำถูกต้องตามสิ่งที่ควรตามหน้าที่ตามความเหมาะสมทุกอย่าง คุณก็ไม่ทะเลาะไม่ไปเปลี่ยน ไม่ไปวุ่นวายอะไรกับคนก็เป็นคนปลอดภัย  เป็นพระอรหันต์อย่างที่ท่านพูดมาเป็นคนอย่างนั้นก็ปลอดภัยกับสัตว์ก็ปลอดภัย กับคนก็ปลอดภัย  เป็นแต่เพียงคนมีความถือดี ท่านพูดถึงความไม่ดีก็ถูกเขา แต่ว่าเราด่าเพื่อให้เขาเอาออก เราปรารถนาดี ด่าให้รู้ตัวว่าอย่าไปเก็บไว้มันเลว เอาออก สิ่งที่ดีไม่ต้องพูดมากไม่ต้องเอาออก แต่สิ่งที่ไม่ดีจะเอาไว้ทำไมมันเป็นสิ่งไม่ดี เราช่วยคุณนะ

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 09 ตุลาคม 2562 ( 08:53:20 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:52:11 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 17:26:45 )

อาการอุเบกขาหรือฌานเป็นเรื่องอจินไตย

รายละเอียด

อาการอุเบกขา อาการฌาน เป็นเรื่องอจินไตย ที่เข้าใจไม่ได้ง่ายๆหรอก 

บุคคลที่อยู่ด้วยกันมีสัจจะหนึ่งเดียวตรงกันคือนิพพาน จะเข้าใจกันว่าจริง ผู้ที่มีความไม่รู้สึกหิวกระหาย เช่นว่าร่างกายควรต้องให้อาหาร มันบกพร่องเกิดอาการ 32 ของร่างกายทำหน้าที่ของมัน มันมีอัตโนมัติ พอมันบกพร่องก็จะสะดุดตรงนั้นตรงนี้ อะไรที่ขาดแล้วแต่สรีระของแต่ละคน อวัยวะส่วนนั้นส่วนนี้ทำงานไม่เต็มที่ของมัน ของใครก็ตามที่สะดุดความไม่เต็มที่สมดุลก่อนก็แสดงอาการ ตับเป็นต้น หัวใจเป็นต้น ปอดเป็นต้น ไตเป็นต้น แม้แต่เรื่องของน้ำเลือดน้ำหนอง ต่างๆนานา มันก็ไม่เต็มเต็ง ไม่เต็มที่ของมัน บกพร่องทางด้านสรีระ ซึ่งก็สัมพันธ์ทางด้านจิต เขาก็เรียนรู้วิชาการทางแพทย์ วิชาการทางวิทยาศาสตร์ ก็พยายามทำให้สมดุลคงที่ มันก็ถูกแล้ว ก็ทำกันไป

ในความจริงที่ไม่รู้สึกหิวกระหายคือจิต แต่ร่างกายมันต้องการ มันโหยหา หรือมันขาด กว่ามันจะรู้สึกโหยหา ถ้าให้อาตมาอดข้าวก็ตั้งหลายวันกว่าจะโหย ทางร่างกาย เพราะจิตเราอยู่เหนืออาการทางสรีระ อย่างนี้เป็นต้น 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ พ่อครูผู้ปราบมารเพื่อยังพุทธศาสนาให้ถึง 5000 ปี วันพุธที่ 10 มีนาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 21 มีนาคม 2564 ( 08:58:45 )

อาการเคหสิตเวทนา

รายละเอียด

อาการเคหสิตเวทนา คือ อาการสงบแบบโลกีย์กดข่ม เป็นพวกที่เป็นสมถะโลกีย์ดับๆๆ แยกไม่ออกหรอก แยกว่าตัวนี้เป็นอาการตัณหาแล้วมีวิธีการพิจารณากับกดข่ม  กดข่มพุทธใช้ด้วยเป็นธรรมดาสามัญ ไม่มีใครจะปล่อยกิเลสออกมาหมดหรอก  มันเป็นสัญชาตญาณที่จะต้องเก็บไว้บ้าง  กดข่มตามมารยาทสังคม  แม้แต่สัตว์เดรัจฉาน  จนกระทั่งมาเป็นคนนอกจากกิเลสมันแรงจนมันไม่อายก็จะทำตามกิเลสเป็นไป แต่เป็นสัญชาติญาณของคนมีหิริโอตตัปปะ มากกว่า มีสัทธรรม รู้จักความละอายรู้จักทำให้กิเลสลดหมด  จนกระทั่งไม่ละอายเพราะว่ากิเลสหมดแล้ว  แสดงออกก็มีแต่สิ่งที่ไม่ใช่กิเลส  แม้เราจะพูดเหมือนเชิงอยากให้คนอื่นเป็นอย่างนั้นอย่างนี้เหมือนมีความอยาก  แต่คนไปอ่านตามอาการว่า เรามีความอยาก ถ้าเราอยากให้คุณดี เราก็ไม่ได้มีตัวตน  ไม่ได้อยากเพื่อตัวเอง  แต่อยากให้คุณได้พูดโดยไม่มีตัวตนให้คุณหมดตัวตน แต่เราไม่มีตัวตน แต่ถ้าเกิดอยากได้แล้วหยิบมาไม่ได้ก็จองเวรจองกรรมก็มีกิเลสไปยึดเกินไป

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 9 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 19 ตุลาคม 2562 ( 09:29:23 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:53:23 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 17:27:46 )

อาการเนกขัมสิตเวทนา

รายละเอียด

อาการเนกขัมสิตเวทนา คือ การแยกเวทนาว่าเป็นอาการที่ทำให้กิเลสลดได้เบาบางจนมันดับหมดโดยเราล้างเหตุมันออกได้ ก็จะรู้ความเป็นจริงอย่างนี้

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 9 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 19 ตุลาคม 2562 ( 09:28:17 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:54:54 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 17:28:31 )

อาการเบากายเบาใจเวลาเดินเหมือนสโลโมชั่นเป็นอาการของอะไร

รายละเอียด

กำลังไปหลงทางผิด ไปหลงทางสะกดจิตทำให้กายวาจาใจช้า ซึ่งเป็นเรื่องของเดียรถีย์ที่ปฏิบัติกันผิดอยู่ทุกวันนี้ ของพระพุทธเจ้ายิ่งปฏิบัติแล้ว กายก็แคล่วคล่อง เป็นกายปาคุญญตา จิตก็แคล่งคล่อง จิตปาคุญญตา เป็นสมาธิที่แคล่วคล่องและนี่คือการปฏิบัติที่มิจฉาทิฏฐิ แต่เขาไปปฏิบัติธรรมให้ยิ่งมืดยิ่งเชื้องช้าแข็งทื่อ สรุปคือคุณกำลังไปปฏิบัติแบบเดียรถีย์ที่ผิดๆ อย่างที่ศาสนาพุทธใหญ่ๆทุกชนิดสอนกัน แล้วอยากจะใช้คำว่าทั้งนั้นเลย แต่ก็เอาล่ะ ผิดเกือบทั้งนั้นเลย แต่อยากจะใช้คำว่าทั้งนั้น คือจะไม่เหลือเลยน่าสงสาร

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 28 ตุลาคม 2563


เวลาบันทึก 22 พฤศจิกายน 2563 ( 10:11:36 )

อาการเวทนาให้เรากำหนดรู้ได้ทุกภาวะ

รายละเอียด

ข้อที่ 3 เป็นภาวะมีอาการ ให้เรากำหนดรู้ได้ทุกภาวะ คือสิ่งที่ปรากฏให้เรารู้ เวทนาปรากฎให้เรารู้ เรากำหนดรู้ได้ด้วยสัญญาของเรา สัญญาจึงมีหน้าที่เป็นตัวกำหนดรู้ หรือเขาเรียกอีกสำนวนหนึ่ง เป็นภาษาวิชาการว่าสำคัญมั่นหมายซึ่งเข้าใจยากกว่าคำว่ากำหนดรู้ ทำความสำคัญมั่นหมายว่ามันหมายความอย่างไร ความสำคัญของอาการอย่างนี้หมายเอาอย่างไร คุณก็ต้องทำความสำคัญมั่นหมาย พูดภาษาไทยง่ายๆว่า กำหนดรู้ 

หน้าที่ของสัญญาเป็นตัวกำหนดรู้ คุณก็ต้องกำหนดให้ถูกต้อง อาการ ลิงค นิมิต ของมัน จับความหมายเครื่องหมายของอาการมันต้องอย่างนี้แล้วมันทำได้ที่ของมัน สัญญากำหนดรู้เวทนา สัญญากำหนดรู้สังขาร สัญญากำหนดรู้วิญญาณ สัญญาเป็นตัวกำหนดรู้ทั้งหมด

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ จบรูป 28 สู่เรือนาวาบุญนิยมพาพ้นไฟโลกีย์ วันพุธที่ 3 สิงหาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 27 สิงหาคม 2565 ( 21:29:18 )

อาการโกรธ

รายละเอียด

มันเป็นอาการร้อนหรือเย็นอาการนี้ควรมีหรือไม่ ต้องเห็นว่าอาการนี้มันไม่ควรจะมีในจิตเรา มันเป็นอาการที่ปรุงแต่งสังขารขึ้นมาก็อย่าให้มันเกิดการปรุงแต่งอันนี้ อาการนี้ให้มันว่างจางคลาย อาการแบบนี้ กลางๆเฉยๆสักว่ารู้ตามความเป็นจริง ก็จบแล้ว

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซีวิต ที่บวรปฐมอโศก ครั้งที่ 65 วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 15 พฤศจิกายน 2562 ( 16:22:27 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:55:51 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 17:29:28 )

อาการโกรธ

รายละเอียด

มันเป็นอาการร้อนหรือเย็นอาการนี้ควรจะมีหรือไม่ ต้องเห็นว่าอาการนี้มันไม่ควรจะมีในจิตเรา มันเป็นอาการที่ปรุงแต่งสังขารขึ้นมาก็อย่าให้มันเกิดการปรุงแต่งอันนี้ อาการนี้ให้มันว่างจางคลาย อาการแบบนี้ กลางๆเฉยๆสักแต่ว่ารู้ตามความเป็นจริง นี้ก็จบแล้ว

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซีวิต ที่บวรปฐมอโศก วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 15 พฤศจิกายน 2562 ( 16:27:22 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 08:35:51 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:54:25 )

อาการโล่งสบายไม่สุขไม่ทุกข์ได้แล้วได้เลย

รายละเอียด

ได้แล้วได้เลย คือมันเริ่มได้แล้ว แล้วคุณก็ทำอีก อนุรักขณาปธาน พากเพียรสะสมผล อาเสวนา ภาวนา พหุลีกัมมัง ทำซ้ำทำคุ้นอย่างที่เคยได้ อย่างที่เกิดผล ทำอย่างนี้แล้วเกิดผลอย่างนี้ทำซ้ำๆๆ อย่างไรๆก็ได้อย่างที่ภาวนาให้เกิดผล สำเร็จได้ ทำซ้ำ อาเสวนา ทำซ้ำให้มากๆ พหุลีกัมมัง นี่คืออนุรักขณาปธาน รักษาผล ทำอย่างนี้ก็จะสั่งสมเป็นอเนญชาภิสังขาร สะสมเป็นความตั้งมั่นแข็งแรงไม่หวั่นไหว อัปปนา พยัปปนา เจตโสอภินิโรปนา

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 01 เมษายน 2563 ( 10:30:17 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 10:48:50 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 17:29:56 )

อากาศคือรวมของดินน้ำลมไฟ

รายละเอียด

อากาศคือรวมของดินน้ำลมไฟ มันจับตัวเป็น 2 มันจะต้องมีช่องว่างที่มันจะไม่เป็นตัวเดียวกัน แตะกันดูดกันอย่างไรก็ต้องมีที่จะขาดกันอยู่ จึงเรียกว่าอากาศหรือช่องว่าง มันอาจจะเหลื่อมมันอาจจะสานอยู่เหมือนจะสนิทเนียน แต่ถ้าไม่ลงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจริงๆ เลยมันก็ไม่ใช่ตัวเดียวกัน

ปรมาณูที่เล็กที่สุดขนาดไหนก็ตาม ไม่มีอะไรที่จะลงตัวเป็นตัวเดียวกันได้เลย ไม่มี ความเล็กที่สุดของที่สุดไม่ใช่ 2 มีแค่ 1 กับ 0 เท่านั้น ความเล็กที่สุดแห่งที่สุดมี 1 กับ 0 ไม่มี 2

แฝดก็สองแล้ว เพราะฉะนั้นต้องเป็นหนึ่งไม่มีแฝด หากแฝดเมื่อไหร่เป็นสอง แฝดขนาดไหนเหมือนขนาดไหนก็มีสอง เล็กขนาดไหนก็มีสอง

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ ความสมานฉันท์ 7 แบบ

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม 2561 ที่บวรราชธานีอโศก แรม 7 ค่ำ เดือน 8


เวลาบันทึก 04 มิถุนายน 2565 ( 15:48:21 )

อากาศหรือแสงเดินทางเป็นเส้นตรงไม่ได้

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นเลยเกิด ทุกอย่างก็เกิด ไม่ smooth ไม่เป็นเส้นตรง ไม่เป็นเส้นตรงก็เป็นเส้นเลอะ อากาศมันวิ่งตรงไม่ได้ อย่างว่าไปเจอภูเขา ไปเจอเหว ไปเจอโน่นนี่ มันก็ต้อง อากาศมันก็ต้องเคลื่อนขึ้นลงไปตามอะไรต่ออะไรอีก มันก็เลยเอากลมดิ๊กไม่ได้

แสงเป็นเส้นตรงไม่ได้เลย แสงเดินทางเป็นเส้นตรงไม่ได้ ถ้าแสงเดินเป็นเส้นตรงเมื่อไหร่ เอกภพหาย

ไม่มีการกลับไง ถ้าแสงเดินทางเป็นเส้นตรงมันก็เป็น nuclear fission ไปหมดเลย แล้วมันอะไรจะกลับมาเป็นก้อนล่ะ เส้นตรงไปไม่มีเส้นโค้งเลย อะไรจะเกิดก้อน 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูสนทนากับปัจฉาฯ 31 ก.ค. 2561


เวลาบันทึก 02 มีนาคม 2564 ( 16:06:17 )

อากาส , อากาสา

รายละเอียด

1. ว่าง , อาการว่าง , ความว่างของจิต

2. ความว่างที่เจริญสูงขึ้นมายิ่งกว่าความว่างที่เรียกว่าอุเบกขา

3. สภาพจิตใดที่เป็นอยู่อย่างว่าง เบา โปร่ง โล่ง ง่ายตลอด มองเห็นอะไร ได้ยินอะไร สัมผัสอะไรอยู่ก็ตาม ก็ไม่ติดไม่ขัดไม่ข้อง

4. ที่ว่าง , ท้องฟ้า , แสงสว่างกระจายไปไกลโล่งกว้าง

5. ทางรูปธรรมหมายถึงที่ว่าง หรือท้องฟ้า  ทางนามธรรมหมายถึงอารมณ์ว่างๆ  อาการของนามธรรมที่ว่างใส ว่างๆ แจ่มใส เวิ้งๆ ว้างๆ ประหนึ่งท้องฟ้าที่สะอาดขาว ใส โล่งโปร่งไปไกลไม่มีที่สุด

หนังสืออ้างอิง

อีคิวโลกุตระ หน้า 109,121, 170ทางเอก ภาค 2 หน้า 585, ป่ากับพุทธศาสนา หน้า 152, ชีวิตนี้มีปัญหา / เราคิดอะไร ฉบับ270


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 13:35:15 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 20:36:11 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:16:11 )

อากาสธาตุ

รายละเอียด

ภาวะว่าง ก็คือ “ไม่มี” นั่นเอง

หนังสืออ้างอิง

รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 142


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 13:33:12 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 20:36:46 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:55:14 )

อากาสัฏฐเทวดา

รายละเอียด

เทวดาที่สุขุม ละเอียดยิบ ประหนึ่งเป็นอากาศทีเดียว  ที่จริงนั้นมันยิ่งกว่าอากาศเป็นไหนๆ แต่ก็พูดวน นำมาเทียบกับอากาศอยู่อย่างนี้แหละ เพราะมันก็มีวัตถุกับจิตเท่านี้ที่จะต้องเทียบกันไปๆ มาๆ

หนังสืออ้างอิง

จากหนังสือทางเอก ภาค 2 หน้า 260


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 13:32:31 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 20:38:04 )

อากาสานัญจายตน

รายละเอียด

1.  คือ อรูปฌาน 4 ซึ่งต้องอาศัย ในชีวิตต้องอาศัยใช้งานฌาน 4 แต่ไม่ได้อยู่ที่การหลับตา ไม่ต้องกดข่ม จะรู้ด้วยปัญญาด้วยมีจิตเมตตาไม่ลบหลู่แม้เขาจะมาด่ามาทำร้าย เป็นเชิงรุกรานเรามาเราก็ไม่ได้ถือสาไม่ได้มีใจที่จะไปต่อต้าน ไม่มี Reaction ฟังด้วยใจว่างสบายๆ รู้สาระ รู้เนื้อแท้ของสัจธรรม แม้แต่พยัญชนะก็รู้ประกอบกันว่าสื่ออันนี้หรือพยัญชนะเข้าใจตรงสภาวะอย่างนี้ตรงหรืออย่างนี้กลับกัน แต่จิตของเราว่างด้วยปัญญาไม่ต้องกดข่ม กดข่มมันต้องช่วยหากยังไม่เก่งแต่เก่งแล้วไม่ต้องกดข่มเลย สู้ได้ไม่โกรธไม่โลภไม่หลงได้แท้จริง ปฏิบัติได้โดย

1. ไม่โกรธเป็นฐานแรก พลังงานโกรธ  เป็นพลังงานผลักพลังงานทำร้ายตัดออกไปก่อนเลย โกธะ ตัดออกไปก่อนเพื่อนเลยไม่มีประโยชน์อะไร

2. ไม่รักไม่โลภฐานรองลงมา พลังงานราคะ โลภะ ความชอบพลังดูดมันจะต้องอาศัยในชีวิตยุคสุดท้าย เป็นพลังงานที่ต้องอาศัยประคองไว้ แต่ไม่ได้ยึด เพียงอาศัย แม้แต่อาลัยก็ไม่มี

3. ไม่หลงก็ต้องชัดเจนไม่สับสน สรุปอากาสานัญจายตนะ

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายพ่อครู จากรายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 24 กันยายน 2562 ( 21:41:34 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 15:00:00 )

อากาสานัญจายตนสัญญา

รายละเอียด

1. การกำหนดรู้อย่างสำคัญในอายตนะที่เป็นความว่าง

2. การกำหนดรู้ความว่างจากกิเลส 

หนังสืออ้างอิง

อีคิวโลกุตระ หน้า 136, ค้าบุญคือบาป หน้า 134


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 13:30:52 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 20:39:41 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:16:33 )

อากาสานัญจายตนะ

รายละเอียด

1. จิตมีความสงบเป็นที่พักที่อาศัย  ขั้นละเอียด จิตหยุดวุ่นจริง ๆ จิต-พักได้จริง มีแต่ความว่าง นิ่ง โปร่ง โล่งตลอด แจ่มใส สว่างใสอยู่ชนิด-ไม่มีตัว ไม่มีตนกันทีเดียว

2. เป็นเหมือนอากาศ มันจะรู้สึกว่างๆ บาง ๆ เบา ๆ เหมือนอากาศ มันก็โล่ง ๆ โปร่ง ๆ ว่าง ๆ

3. สภาพความว่าง โปร่งของจิตวิญญาณ

4. ความเป็นอากาศธาตุ , ความว่าง ๆ ของจิตเรา

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 40 ,ทางเอก ภาค 3 หน้า 537

สมาธิพุทธ หน้า 277 , คนคืออะไร? หน้า 194


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 13:28:53 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 20:41:23 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:56:54 )

อากาสานัญจายตนะ กับเนวสัญญานาสัญญายตนะ

รายละเอียด

คำว่า อากาสา ไม่ใช่แค่อากาศ แต่อากาสานัญจายตนะมันมีอายตนะต่อระหว่างอากาศกับธาตุรู้ ธาตุรู้ละไว้ในฐานที่เข้าใจว่าคุณสัมผัสกับอันนี้แล้วจิตใจคุณเป็นอากาศ อ่านไปที่นามที่จิตตัวเองเป็นอากิญจัญญายตนะ เป็นเทวะ ธาตุคู่ ส่วน เนวสัญญาฯกับอากิญจัญญาฯ อธิบายในเชิงสภาพตัวตนว่า นิดหนึ่งน้อยหนึ่งก็ไม่มี อะไรที่จะไม่มีความรู้สึกเป็นตัวเป็นตนก็ไม่มี กับเนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็คือต้องพยายามรู้ให้จริง จะว่ารู้ก็ไม่ใช่ไม่รู้ก็ไม่ใช่ ไม่ได้ นานัตตสัญญา เนวะคือเชิงปฏิเสธ รู้ก็ไม่ใช่ไม่รู้ก็ไม่ใช่ นานัตตะคืออัตตาต่างๆ สัญญาการกำหนดรู้อัตตาต่างๆ ขั้นนี้เป็นอรูปอัตตาแล้ว ต้องรู้ให้ครบนานัตตสัญญาด้วยการสัมผัสทางอายตนะ

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต สันติอโศก วันพุธที่ 14 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 24 พฤศจิกายน 2562 ( 12:37:05 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 15:00:58 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:17:26 )

อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ

รายละเอียด

ส่วนอีก 3 ข้อนั้น อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ หมายความว่าคุณภาพหรือคุณสมบัติของจิตวิญญาณ ที่บรรลุธรรมแล้ว จาก 4 ข้อนี่ เป็น พระอรหันต์เป็นต้นก็จะรู้สภาพของ อากาศคือความว่าง กับ วิญญาณคือธาตุรู้ กับ อากิญจัญญายตนะ คือความไม่มีกิเลส นิดหนึ่งน้อยหนึ่งก็ไม่มีแล้ว วิญญาณฐีติ 7 ก็จบอยู่ที่ 7 นี้เท่านั้น ไม่ไป ignore จะว่ารู้ก็ไม่รู้ จะว่าไม่รู้ก็ไม่รู้ ยังงงๆงวยๆอยู่อย่างนั้น สุดท้ายก็เลยกลายเป็นคนไม่รู้เรื่อง กลายเป็นพวก ignorance ไม่รู้อะไร ไม่รู้จริงเลยอย่างนี้เป็นต้น เป็นพวก เนวสัญญานาสัญญายตนะ ของวิญญาณฐีติ 7 จึงไม่มีข้อนี้ข้อที่เป็น เนวสัญญานาสัญญายตนะ มีแค่ อากิญจัญญายตนะ หมดแล้วนิดหนึ่งก็ไม่มี น้อยหนึ่งก็ไม่มี ก็จบ ไม่ต้องสงสัยว่ามันจะหมดหรือไม่หมด จะมีหรือไม่ นี่คือวิญญาณฐิติคือมี 7 ไม่ต้องมี เนวสัญญานาสัญญายตนะ

ส่วนผู้ที่มิจฉาทิฏฐิไปทั้งหมด แถมทั้ง อสัญญีสัตว์ แถมทั้งเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นสัตว์ที่ผิดไม่ถูกต้องตามสัจธรรม ก็จะจมอยู่กับความเป็นสัตว์ เพราะฉะนั้นถ้าเผื่อว่าไม่เข้าใจ ไม่รู้ความจริง ไม่สัมมาทิฏฐิ ปฏิบัติธรรมะไปอย่างไรก็ไม่พ้นจากความเป็นสัตว์ทั้ง 9 และก็เป็นหลายชนิดด้วย ดีไม่ดีเป็นทั้งหมด 9 ข้อเลย มันผิดไปหมดทั้ง 9 ข้อ

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ วิญญาณฐิติ 7 ปฏิจจสมุปบาท และวิชชา 8 วันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2566 วันแรม 14 ค่ำเดือนยี่ ปีขาล ที่บวรสันติอโศก


เวลาบันทึก 08 กุมภาพันธ์ 2566 ( 12:29:40 )

อากาสานัญจายตนะต้องมีอายตนะมีจิตวิญญาณ

รายละเอียด

จุดมุ่งหมายของพุทธเจ้าคือจิตใจสูญจากกิเลสอย่างหยาบกลางละเอียดหมดเลยไม่เหลือเลย คือจิตสะอาดผ่องแผ้ว หมดจด นั่นแหละคือ 0 เขาเผินไปเข้าใจ อากาสาฯ บอกว่าสูญคืออากาศ คำว่า”อากาสานัญจายตนะ” ปกติมิจฉาทิฏฐิ ทำจิตให้เป็น 0 เขาก็จะทำจิตแบบเวิ้งว้างหาที่สุดมิได้ อากาศหาที่สุดมิได้เขาก็จะทำจิตให้เป็นอากาศกลางๆ หาที่สุดมิได้ ที่จริงไม่ใช่ มันมีคู่ อากาสานัญจายตนะกับวิญญาณัญจายตนะ อากาสานัญจายตนะต้องมีอายตนะมีจิตวิญญาณ วิญญาณมันเป็นอากาศคือมันว่างจากกิเลสเป็นเหมือนอากาศว่างๆ ในว่างๆนี้ว่างจากอะไร ว่างจากสิ่งที่เป็นอกุศลอยู่ในวิญญาณว่างจากอกุศลว่างจากบาปที่อยู่ในวิญญาณ ไม่มีแล้ว เพราะฉะนั้นก็เรียนรู้ความไม่มี อากาศคือว่างวิญญาณคือว่าง ว่างจากกิเลส  เพราะวิญญาณมี 2 ต้องรู้ นาม รูป อากาศเหมือนกับมีอันเดียวว่าง แต่วิญญาณมีธาตุรู้ร่วมด้วย ถ้าอากาศมันก็กลายเป็นสภาพนึง อากาศนี่นะมันไม่เป็นอะไรเลย มหาภูตรูป มี 4 คือดินน้ำไฟลม แต่มันอีกสิ่งหนึ่งคืออากาศ อากาศคือช่องว่างระหว่างดิน ดินมีอากาศคือมีช่องว่าง น้ำก็มีช่องว่างคืออากาศแทรกอยู่ในน้ำ แทรกอยู่ในลม แทรกอยู่ในไฟ มีช่องว่าง ช่องว่างเป็นอีกอันนึงที่รู้ได้ยาก มันไม่ใช่มหา ท่านก็เลยไม่ได้จัดอยู่ในมหาภูตรูป 4 แต่มันมีอยู่ แม้แต่เรามาเอาหยาบๆ ว่านี่คือลม ที่จริงมันเป็นธาตุลม แต่ไปเรียกอากาศ มันไม่ใช่อากาศมันเป็นลม มันพลิ้วไปพลิ้วมาสัมผัสได้ แต่อากาศ มันสัมผัสไม่ได้มันว่างๆ มันระหว่างอันนี้กับอันนี้ 

ที่มา ที่ไป

เทศน์ทำวัตรเช้า วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563


เวลาบันทึก 23 พฤศจิกายน 2563 ( 10:57:42 )

อากาโสติ

รายละเอียด

ผู้ก้าวล่วงได้แล้วดังนี้จนไม่ติดขัด โล่ง ว่าง โปร่ง เบา สบาย ล่วงง่าย เป็นก็ง่าย ไม่เป็นก็ได้ สบายเป็นที่สุด

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 526


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 13:26:52 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 20:42:20 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:19:06 )

อากิญจัญญ

รายละเอียด

1. ความไม่มี 

2. ความไม่มีอะไรเลย นิดหนึ่งน้อยหนึ่งก็ไม่มี

3. ความมีของความไม่มี 

หนังสืออ้างอิง

อีคิวโลกุตระ หน้า 114176รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 199


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 13:25:03 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 20:43:38 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:18:47 )

อากิญจัญญายจนะ

รายละเอียด

อากิญจัญญายจนะ คือ นิดหนึ่ง น้อยหนึ่ง ก็ไม่มีใช้พยัญชนะแทนสภาวะเราก็รู้ มันไม่มีมันว่างคือ นิดหนึ่ง น้อยหนึ่ง ก็ไม่มีใช้พยัญชนะแทนสภาวะเราก็รู้ มันไม่มีมันว่าง

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอารยธรรม  บ้านราช  วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน 2562


เวลาบันทึก 26 ตุลาคม 2562 ( 13:59:51 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 15:01:54 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:57:35 )

อากิญจัญญายจนะ

รายละเอียด

นิดหนึ่ง น้อยหนึ่ง ก็ไม่มีใช้พยัญชนะแทนสภาวะเราก็รู้ มันไม่มีมันว่าง

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน 2562


เวลาบันทึก 27 พฤศจิกายน 2562 ( 19:36:15 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 15:03:41 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 17:31:14 )

อากิญจัญญายตนพรหม

รายละเอียด

ผู้รู้ และทำให้เป็นไปได้ในสภาพผู้มีจิตวิญญาณที่เป็นธาตุรู้อันบริบูรณ์ และเป็นอยู่ในสภาพคนปกติ รู้อย่างมีปัญญาเข้าใจในอกุศลและกุศล ในทุจริต – สุจริต ในส่วนที่เป็นโลภะ โทสะ โมหะ  หรือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ แล้วก็ทำให้สิ่งที่ไม่ดี ไม่ควรนั้นหมดไปอย่างสิ้นเกลี้ยง

หนังสืออ้างอิง

จากหนังสือทางเอก ภาค 2 หน้า 487


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 13:23:26 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 20:44:48 )

อากิญจัญญายตนสัญญา

รายละเอียด

1. ภาวะกำหนดตนเองไม่ให้มีการรู้อะไรเลย แม้นิดแม้น้อย

2. การกำหนดรู้ธุลีละอองนิดหนึ่งน้อยหนึ่งก็ไม่มี

หนังสืออ้างอิง

อีคิวโลกุตระ หน้า 114, ค้าบุญคือบาป หน้า 134


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 13:22:41 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 20:45:58 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:20:21 )

อากิญจัญญายตนะ

รายละเอียด

1. ความไม่มีอะไรเลย

2. เมื่อเฉย เมื่อว่างมาก ๆ จะไปหาความดับจิต ดับความรับรู้ในจิต  ที่จริงมันคืออสัญญีหรืออสัญญายตนะ

3. ดับกิเลสในจิตให้หมดสิ้นโดยวิธีทำความรู้จักกิเลสให้จริงให้บ่อย หัดดับทั้งเวลาลืมตา หลับตา

4. ความไม่มีกิเลสใด ๆ แม้อย่างไรอย่างไหนอย่างหนึ่งออกปานฉะนี้-แล้ว

5. สภาวะทำความไม่รับรู้ให้เกิดกับจิตของตนให้ยิ่ง ๆ ขึ้นเป็นที่สุด

รู้อะไรนิดหนึ่งหน่อยหนึ่งก็พยายามไม่ให้มี

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 209 ,ทางเอก ภาค 2 หน้า 171 ,ทางเอก ภาค 2 หน้า 488

สมาธิพุทธ หน้า 278 ,ทางเอก ภาค 3 หน้า 41


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 13:20:09 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 20:47:57 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:59:42 )

อากิญจัญญายตนะ ในวิญญาณฐิติ 7 

รายละเอียด

อากิญจัญญายตนะเป็นอย่างไร ผู้ที่สามารถสิ้นอากิญจัญญายตนะในฌานของเราเผากิเลสให้เกลี้ยง ที่ตั้งของเรา ตากระทบแล้วก็รู้ว่ามันมีอะไรเกิดขึ้นมาจากอันนี้ เหตุจากมะม่วง จากดอกแค เราก็เกิดอาการอยู่ที่จิตปรุงแต่งชอบหรือไม่ชอบ อยากได้หรือไม่อยากได้คุณก็ต้องรู้ตัว ชังหรือชอบอะไรอย่างนี้ คุณอ่านจิตได้ว่ากลางไม่มีอันตา ไม่มีปลายของขั้วชอบหรือไม่ชอบ อันตา แปลว่าปลายส่วนเหลือข้าง ไม่มีเลยอันตาไม่มีฝ่ายไม่มีข้างใดอย่างนี้เป็นต้น เป็นผู้รู้อาการของจิตอย่างละเอียดดี เมื่อไม่มีแล้วคุณก็จบได้เป็นวิญญาณฐิติข้อที่ 7 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม เรียนรู้วิญญาณฐิติ 7 ให้ถึงอรหันต์ วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 พฤษภาคม 2564 ( 15:07:59 )

อากิญจัญญายตนะกับนิโรธ

รายละเอียด

วิญญาณฐิติ พระพุทธเจ้าจึงสอนให้เปิดตา มีทุกอย่างครบครันชัดเจน ก็ทำแค่นิดนึงน้อยนึงให้ไม่มี ก็จบเลยชัดเจน ก็เรียนรู้ตามลำดับมาชัดเจนหมดทั้งกายและสัญญา จนกระทั่งมาถึงตัวที่ 7 วิญญาณฐีติ 7 อากิญจัญญายตนะ จบ 

มีคนสงสัยว่าทำไมไม่มีเนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็มันไม่มีวิจิกิจฉา  มันไม่มีที่เหลือว่าใช่หรือไม่ใช่ ไม่ใช่ก็ไม่ใช่ มันไม่มี มันใช่ๆๆๆ มาเป็นลำดับจนใช่ตัวที่ 7 จบกิจเลย จะพูดว่าสัญญาเวทยิตนิโรธ มันก็นิโรธอยู่ในนั้นแหละ มันดับมันไม่มี นิโรธ ดับสนิท ไม่เหลือแม้แต่นิดนึงน้อยนึงเลย เพราะฉะนั้นอากิญจัญญายตนะกับนิโรธ จึงเป็นซินโนนีมใช้แทนเป็นไวพจน์กันได้ ในสภาวะที่แท้จริง 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปฏิจจสมุปบาทสลายอวิชชาให้สิ้นอาสวะอนุสัย วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 16 มีนาคม 2564 ( 20:09:11 )

statistics

ติดต่อสอบถาม

Facebook : test

Youtube : Name

Twitter : Name

Line : Name

Telegram : Name

Wechat : Name

Skype : Name

Copyright © 2018 Borvornsocial.net all right are reserved. developer สงวนลิขสิทธิ์