@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก
@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก

อภิธานศัพท์ (Glossary) จัดเป็นฐานข้อมูลด้านโลกุตระที่สมบูรณ์ที่สุดที่คัดมาจากหนังสือ คำเทศน์ ฯ

คู่มือการค้นหาอภิธานศัพท์อโศก หรือ ห้องสมุดโลกุตระ 50 ปี

เอกสาร : https://docs.google.com/document/d/1HLGedxqTAOTOTQKGbO6M4qMremQ8K1jBWKRYDDt6MRQ/edit

วีดีโอ Loom 2 : https://www.loom.com/share/e824e62ec1eb4567848e94af124a7ed5

วีดีโอ Loom 1https://www.loom.com/share/2445744a08e74bca95d2f1d2a0526044

วีดีโอ YouTube : https://youtu.be/QyXcGmzhLmk

 

 

อภิธานศัพท์ (ทั้งหมด) พบ 28,074 รายการ

นั่งหลับตาไกลจากวิเวก เป็นสัมภเวสีไม่ได้ออกจากถ้ำ

รายละเอียด

พวกคุณนั่งหลับตาก็ไกลจากวิเวก ในคุหัฏฐกสุตตนิทเทส อาตมาว่าครบ ตั้งแต่ผู้ไกลจากวิเวก ไปหลงในป่าข้องอยู่ในถ้ำ แล้วก็นั่งหลับตาอีก อาตมาว่าอธิบายละเอียดได้อีก คนที่จมอยู่ในถ้ำก็จะไม่แสวงหาที่เกิด เหมือนกับคนที่จมในการนั่งหลับตา ยึดในป่า เป็นเดียรถีย์ อาตมาจะพูดให้ตายอย่างไรเขาก็จมอยู่ในถ้ำ เป็นสัมภเวสีที่ไม่ได้ออกจากถ้ำ เขาก็เป็นคนที่จะพายเรือแล้วไม่แก้เชือก เชือกมัดอยู่ที่ฝั่ง เขาพายจ้ำพายๆเป็นอย่างนั้น ก็ดูน่าสงสาร เป็นอุทาหรณ์ที่จะชัดเจนขึ้น เหมือนกับพระพุทธเจ้ายกตัวอย่างพ่อแม่กินเนื้อบุตร วัวไม่มีหนัง คนเขาช่วยหิ้วปีกกลับก็วิ่งลงหลุมนรกอีก ฟังแล้วมันชัดเจนทำไมโง่ วิ่งไปลงหลุมนรกใหม่ คนที่ไม่รู้จักเจตนา ที่เป็นอาหารข้อที่ 3ก็ยังไม่เท่าไหร่นะ เขาอยากขึ้นจากนรก แต่ตัณหามันจะพาไปลงนรก อาตมาพูดกลับกันแต่พวกคุณก็เข้าใจได้ ก็ยังไม่เท่าอันที่ 4วิญญาณาหาร ไม่รู้จักนามรูป แยกไม่เป็น จมอยู่กับวิญญาณเหมือนหนอนกินขี้ แล้วคนก็ไปชี้ให้ ว่าขึ้นมาเถอะ แล้วมาล้างตัวจากสิ่งสกปรกก็ไม่เอา จะจมอยู่กับสิ่งนั้น จมอย่างไม่รู้ อย่าว่าแต่แยกนามรูปเลย คุณรู้ได้พยัญชนะภาษาเป็นได้ แยกเป็น2 คุณก็พอเข้าใจได้เหมือนกัน Static Dynamic แต่ไม่เข้าใจถึงขั้นที่ว่าแรงเคลื่อนนี้มันเป็นนามธรรมมันเป็นธาตุรู้นะ ธาตุรู้ก็ต้องเป็นธาตุรู้ที่เข้าใจในรูปต่างๆ รูปเป็นอุตุ เป็นพีชะ เป็นจิตนิยามก็มีกรรมจัดการ เราตีแตกธรรมะ2 เทวธัมมา ฟังไม่เป็น อาตมาอธิบายธรรมะเขาฟังไม่เป็นหรอก เขาไม่รู้ว่าพูดอะไร แล้วจะให้อาตมาไปพูดภาษาที่ไม่ใช่ธรรมะ อาตมาก็ไม่พูดไม่ไหวมันยาวมากจะใช้เวลานาน จะต้องไปยกตัวอย่างแม่น้ำร้อยสาย ไม่ใช่แม่น้ำ 5 สาย 

ที่มา ที่ไป

รายการ ทำวัตรเช้า งานว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน ครั้งที่ 7 พ่อครูบวชมาย่าง 50 ปี มีผลอะไร 1 วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม2562


เวลาบันทึก 10 มกราคม 2563 ( 15:31:03 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 06:32:17 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 14:39:20 )

นั่งหลับตาไม่มีของจริง

รายละเอียด

เวลาเขานั่งหลับตาเขาจะนั่งสะกดจิตตัวเอง แล้วก็นึกว่าจิตเป็นอย่างนี้ เอาตัวที่มีอาการรับรู้เป็นจิต แล้วก็ให้เรียนรู้จิตนี้แล้วทำให้มันสูญ

ที่เขากำลังคิดกำลังสร้างอยู่เป็นการสร้างภพชาติใหม่ โลกนี้ทั้งโลกเขาไม่ได้แตะตั้งแต่ เบื้องนอกเข้าไปเลย เขานั่งหลับตาเข้าไปข้างในเลย สร้างขึ้นมา ซึ่งมันเป็นความเพ้อเจ้อเหลวไหล ไม่มีของจริงเลย เป็นเรื่องสูญเปล่า น่าสงสาร ไม่มีโลกนี้ให้เขาทำ มีแต่โลกฟ่ามๆเฟ้อๆ ให้เขากำหนดรู้ได้อาศัยตรงที่ตัวเองมี ธาตุรู้ แล้วเอาหน้าที่ของธาตุรู้ เช่นสัญญามีกำหนดหมายอย่างไรก็ขึ้นมา มันรู้สึกระลึกได้ก็เอาความจำเก่าๆจากสัญญาที่ระลึกได้นี้ ก็เป็นความรู้สึกใหม่ไม่ใช่เวทนาตัวที่มันมีจริง จะเป็นของจริงตากระทบรูป เกิดเป็นความรู้สึก แล้วความรู้สึกนี่แหละคือสังขารปรุงแต่ง มันปรุงแต่งกับกิเลสเรา กับธาตุรู้ของเราปรุงแต่งสังขารกัน เพราะฉะนั้นเวทนา สัญญา สังขาร ก็มีตัวจริงของมันทั้งนั้น กระทบจึงเกิดเวทนาจริง ปรุงแต่งจริงเป็นสังขาร นี่แหละคือเจตสิกของวิญญาณ นี่แหละวิญญาณมันมีอย่างนี้ต้องรู้ด้วยนามรูปแล้วจึงจะเกิด สัญญาเวทนาสังขารปรุงแต่ง แต่อันนี้ไม่มีสักอย่างเดียว ไม่มีของจริงพวกนี้เลย 

คนหลับตาเข้าไปไม่มีอะไรเป็นจริงมีแต่อดีตกับอนาคต ทิฏฐิต่างๆที่คิดปรุงแต่งอยู่ในจิตเป็นสิ่งเพ้อฝันอยู่ในอดีตกับอนาคต ในทิฏฐิ 62 พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพรหมชาลสูตร

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ เรียนรู้อาหารให้บรรลุถึงอรหันต์ วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 24 กุมภาพันธ์ 2564 ( 11:55:15 )

นั่งหลับตาไม่มีทางได้เป็นพระอรหันต์

รายละเอียด

นั่งหลับตาไม่มีทางได้เป็นพระอรหันต์ จึงมีแต่อรหันต์เก๊ แต่เขาก็เชื่อถือว่าเป็นพระอรหันต์ ยกย่องกัน เชิดชูสรรเสริญ สร้างสรรค์ ทำอนุสาวรีย์ให้พระอรหันต์ ทำทำเนียบ ทำหนังสือบันทึก ออกไปป่าเขาถ้ำออกไปนั่งหลับตาไปสู้กับเสือสิงห์กระทิงแรด เข้ามาเป็นนักปฏิบัติธรรมพระกรรมฐานพระธุดงค์อะไรก็แล้วแต่ โอ้โห เลอะเทอะไปกันใหญ่ มันหลงผิดหลงทาง แล้วก็อธิบายกัน ถ้าไม่มีอาตมาเข้ามาขวางไว้เขาก็จะไปหลงผิดอย่างนี้ไปอีกนาน 2,500 กว่าปีผ่านไป    อาตมาก็เกิดมาทำงานเพื่อจะเอาศาสนาพุทธคืน ดึงเอาพุทธธรรมกลับ ไม่เช่นนั้นไม่ได้เป็นคนของพระพุทธเจ้า กลายเป็นคนของเดียรถีย์ไป

ที่มา ที่ไป

 เทศน์ทำวัตรเช้าโดยพ่อครู งาน ว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน ครั้งที่ 8 วันที่ 2 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 26 มกราคม 2564 ( 07:53:32 )

นั่งหลับตาไม่มีภายนอกมีแต่ภายในเป็นคนไม่เต็มคน

รายละเอียด

คนไม่มีภายนอกมีแต่ภายในเป็นคนไม่เต็มคน เป็นคนไม่เต็มเต็ง ยิ่งกว่าอีเดียดอีก ออทิสติกก็ยังไม่เหมือนอีเดียดทีเดียว อีเดียดยังพอรู้บ้างแต่นี่ยิ่งกว่าอีเดียด เพราะว่าทั้ง 5 ทวารไม่รับรู้ รู้แต่ทวารในจิตอย่างเดียว ทิ้งไปตั้ง 5 ด้วยสัจจะมันมีตั้ง 5 แต่คุณไปเอาอยู่อันเดียวทิ้งไปตั้งห้าอย่าง ไม่เต็มเต็งใช่ไหม นี่ไม่ได้ไปว่าเขานะ แต่มันเป็นสัจธรรมอย่างนั้นใช่ไหม

นั่งหลับตาไม่ใช่ของศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนอย่างนั้นเลย อาตมาพูดไปตามความจริง ส่วนใครจะยึดถือการนั่งหลับตา ที่บอกว่าเรียนมาตั้งนานจะไปทิ้งได้อย่างไร คุณก็ยึดถือของคุณไปแล้วคุณก็ไม่เปลี่ยนแปลงคุณก็จมอยู่อย่างนั้นอีกนานนับชาติ งมงาย เลอะเทอะอยู่อย่างนั้นอีกนาน แล้วคุณก็จะมาพูดอย่างอาตมาพูด ยืนยันอย่างอาตมายืนยันไม่ได้ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ อภิภูผู้รู้จบสัตตาวาสและวิญญาณฐีติ วันพุธที่ 27 เมษายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 15 กรกฎาคม 2565 ( 14:44:08 )

นั่งหลับตาไม่ใช่ อปัณณกปฏิปทา 3

รายละเอียด

สรุปเลย ตีทิ้งเลย นั่งหลับตานั้นไม่ใช่ อปัณณกปฏิปทา 3 อปัณณกปฏิปทา 3 ต้องมีสำรวมอินทรีย์ 6 จะต้องรู้ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ในขณะกิน ขณะมีการใช้เครื่องใช้เครื่องกิน ต้องสำรวมระวังรู้รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส ไม่ใช่ไปหลับตา ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ไม่ใช่ นั่นไม่ใช่ จรณะ 15 วิชชา 8 ไม่ใช่ อปัณณกปฏิปทา 3 มันไม่ใช่คนตื่น มันเป็นคนหลับ ปิดตาก็คือหลับแล้ว จะหลับหรือไม่หลับก็ตาม แต่ปิดตาคือหลับ ไปจากโลกสามัญ เพราะฉะนั้นอย่าไปปิดตา จะหลับหรือไม่หลับก็อย่าไปปิดตา 

พระอาจารย์อะไรที่อยู่ในพระสูตรพระพุทธเจ้าตรัสไว้ ถามอุตรมานพว่า อาจารย์ของเธอสอนอย่างไร สอนว่า ให้ปิดตาเสียอย่าให้เห็นรูป ปิดหูเสียอย่าให้ได้ยินเสียง พระพุทธเจ้าก็เลยบอกว่า อ้อ สอนให้คนตาบอดหูหนวก มันน่าจะจุกนะ ได้ฟังแล้ว น่าจะมีปฏิภาณไหวพริบเข้าใจได้ ว่าตัวเองไปงมงายอยู่การหลับตาปฏิบัติได้อย่างไร มันแสดงถึงความเสื่อมจากศาสนาว่าเข้าใจธรรมะพระพุทธเจ้าไม่ได้กันเลย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรม รายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 38 อัมพัฏฐสูตรและกายในกาย วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 01 กันยายน 2565 ( 13:41:50 )

นั่งหลับตาไม่ใช่ของศาสนาพุทธ

รายละเอียด

อาตมาพูดซ้ำพูดว่าเตือนให้มีสติ นั่งหลับตาไม่ใช่ของศาสนาพุทธไม่มี อปัณณกปฏิปทา 3 ไม่มีจรณะ 15 วิชชา 8  ไม่มีพุทธคุณ มันออกนอกพุทธคุณไปหาเดียรถีย์คุณ เป็นศาสนาเดียรถีย์การนั่งหลับตา เอาพยัญชนะบาลีมาประกอบให้ฟัง เข้าไปยึดถือกันตั้งนานจนเดี๋ยวนี้ไปเป็นอาจารย์ใหญ่เพราะว่านั่งหลับตาต่างๆนานา ดีไม่ดีเขาว่าได้เป็นอรหันต์นั่นแหละ ที่จริงแล้วเป็นอรหันต์เก๊ๆหลอกกัน

ที่มา ที่ไป

เทศน์ทำวัตรเช้าโดยพ่อครู งาน ว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน ครั้งที่ 8 วันที่ 2 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 26 มกราคม 2564 ( 07:49:06 )

นั่งอย่างไรจิตนิ่ง

รายละเอียด

พระพุทธเจ้านั้น นิ่งคือให้มาลืมตาปฏิบัติ 

ตากระทบรูป หูกระทบเสียง จมูกกระทบกลิ่น แล้วก็เรียนรู้กิเลสด้วยโพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8 หรือเรียกเต็มว่า โพธิปักขิยธรรม ให้รู้ทั้งภายนอกภายในเรียกว่ากาย กระทบแล้วก็มีกายนอก กายใน เกิดเวทนา เกิดจิต แล้วก็ทรงไว้ซึ่งธรรม ก็จัดการปฏิบัติกายในกายเวทนาในเวทนา จิตในจิต โดยรู้จิตในจิต แยกจิตในจิต ที่มันเกิดอยู่ที่เป็นเจตสิกอยู่ที่เวทนา จิตที่เป็น ราคะ สราคะก็รู้ ทำให้มันลดลงไปหรือหมดเรียกว่า วีตราคะ เหลือน้อยลงหรือหมด 

มันเป็นอโทสะ   สโทสะ ทำให้มันน้อยลงหรือหมดเรียกว่า วีตโทสะ เป็นโมหะก็เหมือนกันทำให้มันลดน้อยลงหรือหมด พากเพียรทำตาม เจโตปริยญาณ 16 กิเลสลดจริงแล้ว จิตเราจะคล่องแคล่วว่องไวปราดเปรียวเลย นี่แหละคือ ถือว่าจิตนิ่ง 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ คนอยู่เหนือกาละต้องชนะปฏิจจสมุปบาท วันพุธที่ 3 มกราคม 2567 วันแรม 7 ค่ำเดือนอ้ายปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 09 มกราคม 2567 ( 14:42:04 )

นั่งเจโตสมถะ

รายละเอียด

คือ เพื่อศึกษา จิต หรือพักผ่อนหรือเพื่อทำเตวิชโช ระลึกย้อนทบทวนอดีตที่ได้ผ่านไป ได้พากเพียรอย่างไร มีอะไรเกิด อะไรดับ มีเหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยอย่างไร มีมรรคมีผล แพ้ – ชนะกิเลส แค่ไหน มีอาการอย่างไร นั่งทบทวนตนเองเหมือนตรวจสอบลงบัญชี

หนังสืออ้างอิง

 “สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ” หน้า 111


เวลาบันทึก 25 ตุลาคม 2562 ( 15:32:22 )

เวลาบันทึก 30 กรกฎาคม 2563 ( 06:44:43 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 14:40:24 )

นั่งเจโตสมถะ มีประโยชน์ 4 อย่าง 

รายละเอียด

1. ได้พักผ่อนแบบสงบจิต มีอุปการะมาก 

2. ศึกษาเพิ่มทักษะในเจโตสมถะ และใช้ตรวจอ่าน  ภาวะจิตต่างๆ ในภวังค์ 

3. เอื้อให้ปฏิบัติเตวิชโช (ทบทวน) ได้อย่างดี . 

4. สร้างพลังทางจิต ที่จะนำไปทำฤทธิ์ต่างๆ  (แต่ฤทธิ์ในพุทธศาสนา หมายถึง  ฤทธิ์ที่ระงับ ดับกิเลส เพื่อไปสู่นิโรธ-วิมุติ-วิโมกข์-นิพพาน) 

ข้อที่ 3 เป็นการตรวจนะ ไม่ใช่เป็นการทำจิต จริงก็คือ เตวิชโช เป็นการตรวจอ่านอดีต 

บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ ตรวจกิเลสเราเกิดไหม เราทำให้กิเลสดับไหม อันไหนที่ดับได้แล้ว ระดับไหนที่ยังดับไม่ได้ หรือว่าสับสนไม่เป็นลำดับเลย ไม่มีลำดับลำดา ก็ตรวจสอบดีๆ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ โลกุตระคือสิ่งสำคัญสุดที่เกิดมาแล้วต้องเอาให้ได้ วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 16 พฤษภาคม 2565 ( 11:07:42 )

นั่งเพ่งลมหายใจไม่ใช่ส้มมาสมาธิ

รายละเอียด

ถ้าเป็นดังที่ว่านี้ ท่านคึกฤทธิ์ก็คือเข้าป่าลงนรกแล้ว ผิดทั้งหมดทั้งมวลเลย แค่จะบอกว่ามรรคมีองค์ 8 นี้คือนั่งลง กำหนดลมหายใจเข้าออกนั่งสมาธิก็ผิด เพราะสัมมาสมาธิของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกเล่ม 14 ข้อ 252 ถึง 281 พระพุทธเจ้าตรัสว่าสัมมาสมาธินั้นเกิดจากการปฏิบัติมรรคทั้ง 7 องค์ นี่คือความเข้าใจผิดอย่างมหันต์ของชาวพุทธทั้งหมด นั่งสะกดจิตดูลมหายใจเข้าออกก็เป็นวิธีของเดียรถีย์ที่ทำกันในยุคโน้น

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ คนจนจริงจึงทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมจริง วันพุธที่ 30 มกราคม 2562 ที่บวรราชธานีอโศก

สื่อธรรมะพ่อครู(สมาธิพุทธ) ตอน นั่งเพ่งลมหายใจไม่ใช่ของศาสนาพุทธ


เวลาบันทึก 02 มีนาคม 2564 ( 19:38:47 )

นั่งแล้วเอาตาเข้าไปดูข้างใน

รายละเอียด

มันตลก.. ไม่เคยมีคำสอนของพระพุทธเจ้าเลย ตาทิพย์ มันเป็นตากระจกเงา เป็นตาเข้าไปสะท้อนอ่านข้างในหมด เป็นเลเซอร์ อันนั้นมันก็ทำได้ แต่ว่าไม่ยั่งยืน ไม่ๆ พระพุทธเจ้าไม่ได้ให้เล่นแบบนี้ ไม่เกี่ยว  สรีระก็คือสรีระ จิตก็คือจิต ความหงุดหงิดที่จิต มันไม่ชอบ พวกนี้ล่ะให้อ่าน ให้รู้อันนี้

ที่มา ที่ไป

การสนทนาธรรมกับพ่อครู สมาธิพุทธเร็วจี๋และนิ่งสนิท บ้านราช วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม 2562


เวลาบันทึก 11 มกราคม 2563 ( 13:17:10 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 06:35:50 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 03:06:55 )

นาค

รายละเอียด

1. หมายความว่างูก็ได้ ช้างก็ได้  ที่เน้นเป็นงูก็เพราะคนพวกนี้จะ-กลายเป็นคนสันหลังยาวเหมือนงู จะเอาแต่กิน เอาแต่เสพ แล้วก็-

นอน ๆ เกลือกไปเช่นนั้น กลายเป็นสัตว์ซึมเซา เอาแต่หลับ ๆ หลบ ๆ

2. ผู้ประเสริฐ เป็นผู้ที่จิตวิญญาณสูงระดับหนึ่งแล้ว

3. จิตวิญญาณของผู้หลับ ปลุกให้ตื่นยาก 

หนังสืออ้างอิง

จากหนังสือทางเอก ภาค 2 หน้า 241

จากหนังสือสมาธิพุทธ หน้า 288 , 289

 


เวลาบันทึก 12 กรกฎาคม 2562 ( 07:45:36 )

เวลาบันทึก 10 พฤษภาคม 2563 ( 16:31:21 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 14:44:29 )

นาคกับครุฑใช้แทนสภาวะอย่างไร

รายละเอียด

นาคก็ดี ครุฑก็ดี ใช้แทนสภาวะ นาค แทนถีนมิทธะ ครุฑใช้แทนอุจธัจจะ กุกุจจะซึ่งเป็นนิวรณ์ 5 นิวรณ์ 5 ทั้ง 2 ข้อนี้ เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มาก ไม่นับกาม พยาบาท ยิ่งใหญ่มากที่มันไปปิดที่คุณจะไปรู้ กามรู้พยาบาท สายหลับตาเป็นพญานาคจนไม่รู้เลยว่าเรื่องของ กามคืออะไร พยาบาทคืออะไรไม่รู้ อาตมาอธิบายธรรมะไปนี้ เขาไม่ชอบใจนะ แล้วอาตมากล้าพูดด้วยว่าเขามีจิตพยาบาทแต่เขาไม่กล้าเถียงออกมา เพราะว่าเถียงออกมาอาตมาเปิดพระไตรปิฎกยืนยันเอา เขาก็ยังไม่กล้าเถียง ไม่ว่าจะพวกติดกามอยู่ อย่างสายอ.มั่น มหาบัว อาตมาว่าติดกาม หมากเคี้ยวเปรอะปาก ของที่หยาบจะตายยังไม่รู้เป็นอบายมุข ลึกเข้าไปเป็นมานะอติมานะหลงใหญ่ เรี่ยไรคนเอาเงินมาบริจาคเป็นทองคำมากมาย แล้วให้เป็นคงคลังของประเทศ ป่านนี้อนุสัยของมหาบัวคงอยู่ที่คลังของประเทศ ส่วนพญาครุฑนั้นรู้มากมายเป็นปราชญ์เอกเป็นปัญญาชนสยาม เป็นผู้รู้วิชาการ  มีรางวัลมากมาย คนให้รางวัลเยอะ รับรองส่งเสริมกัน จึงเป็นพญาครุฑจากวิมาน ยิ่งใหญ่ในกระบวนของสัตว์ปีกทั้งหลาย ครุฑ เป็นสมมติในโลกที่รู้กัน ประเทศไทยเราเอาพญาครุฑมาใช้เป็นสัญลักษณ์ 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563


เวลาบันทึก 20 ธันวาคม 2563 ( 13:50:46 )

นาคปรก 7 เศียร

รายละเอียด

เมื่อ“นาค”พยายามซึมแทรกเข้ามาบวชในศาสนาพุทธได้ ก็พยายามจะไม่ให้“ความเป็นนาค”บังเกิดออกมาอย่างยิ่ง อย่างใหญ่อย่างมหายิ่งมหาใหญ่ จนต้องเรียกว่า “พญา”ผู้ยิ่งใหญ่ ที่รักศรัทธาศาสนาพุทธ ก็พากเพียรที่จะ “ไม่ให้ตนเป็นนาค” ก็เท่ากับผู้เฝ้ารักษาความเป็นพุทธอย่างยิ่งใหญ่ จึงมีสัญลักษณ์เป็น“นาคปรก 7 เศียร” นั่นหมายถึงผู้รู้ว่า ตัวเป็น“นาค”ผู้มีรากฐานมาจากงู แต่รักศรัทธาศาสนาพุทธสุดชีวิต จึงคอยปกป้องรักษาศาสนาพุทธจริงจังเต็มที่ แล้วปณิธานของตนก็จะเป็นพุทธสุดยอดให้ได้ ถึงพระพุทธเจ้าโน่นแหละ ก็แสดงถึงความเป็น“นิยตะ” ซึ่ง“ปุคคลาธิษฐาน”ก็คือ “พญานาค 7 ตัว 7 หัว”ปกปักรักษาพระพุทธ 

นั่นคือ มี“ความปรารถนาเจตสิก”เข้าขั้นยินดีในพุทธแล้วแน่นอน ไม่มีเปลี่ยนแปลง ยึดมั่นไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา จึงนับเข้าขั้นผู้รู้ดีในความเป็น“นาค”อย่างยิ่ง และจะออกจากความเป็นนาคให้ได้เด็ดขาดจริงแท้ด้วย จึงนับเข้าขั้นเป็นผู้รู้ทันคนปลอมตัวมาบวชในศาสนาพุทธ ก็กลายเป็นทั้งมือปราบคนปลอมตัวมานอน มาหลับ มาซุกตัวเผยแพร่“ความเป็นงู-ความเป็นนาค”ทั้งตนก็ยังเป็น“นาค”อย่างยิ่งอยู่ ที่มาเผยแพร่ลัทธิงูลัทธินาคในพุทธเสียเลย ซึ่งเป็น“ภาวะมายา” คือ “ภาวะ 2”ซ้อนอยู่ใน“ภาวะ 1” โดยตนก็“อวิชชา”อยู่ตลอด

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 30 ตำนานพญานาค ตอนที่ 1 วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก  


เวลาบันทึก 31 พฤษภาคม 2565 ( 13:31:20 )

นาคหรืองูคือผู้นำวิธีหลับตาลัทธิวิชาของเดียรถีย์มาเผยแพร่ในพุทธ

รายละเอียด

ผู้นำวิธี“หลับตา”มาใช้ในศาสนาพุทธจึงเป็น“นาค” หรือ“งู”ปลอมเข้ามาเผยแผ่ลัทธิวิชาของเดียรถีย์ ในพุทธ 

เมื่อ“ปลอมตัว”เข้ามาอยู่ในศาสนาพุทธแล้วก็พยายามที่จะไม่ทำตนเป็น“งู” ก็ยังพยายามไม่ให้แสดงหลับ ไม่ให้แสดงนอน เดี๋ยวจะจับได้ว่า เป็นเดียรถีย์คือ“งู” จนที่สุดนาคที่ปลอมเข้ามาบวชในศาสนาพุทธก็ต้องเผย“ธาตุแท้”ออกมาจนได้ คือ ตอนมาขอบวชนั้นปลอมตัวเป็นคน  แต่เผลอนอน เผลอหลับให้จับได้ นั่นคือ ร่างที่ปลอมเป็นคนมานั้นมันกลับคืนไปเป็นงู ตอนเผลอนอนหลับอยู่ในกุฏิ หางโผล่ออกมานอกประตู มีผู้พบเห็นก็จับได้ว่าเป็น“นาค”ปลอมตัวเข้ามาบวช จึงจับสึก ไล่ออกไป  

แต่นาคก็อ้อนวอนขอให้เห็นใจ คนผู้รักศาสนาพุทธ ศรัทธาศาสนาพุทธ อยากเป็นพุทธ จึงขอให้เรียกผู้ที่จะได้บวชเป็น“ภิกษุ”ในศาสนาพุทธ โดยใช้คำว่า “นาค”เป็นอนุสรณ์ จึงมีคำว่า “นาค”เรียกผู้เตรียมบวชก่อนเป็นภิกษุ

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาพาถลกหนังพญานาคจอมหลับตา วันพุธที่ 26 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 22 พฤษภาคม 2565 ( 16:02:02 )

นาคแปลได้ 2 นัยยะ

รายละเอียด

แต่พวกคุณไม่ใช่นาค นาคแปลได้ 2 นัยยะ พวกหนึ่งเป็นงูที่อยู่ใต้น้ำใต้ดิน อีกพวกหนึ่งเป็นช้างใหญ่เป็นสัตว์ประเสริฐ สัตว์ใหญ่เป็นช้างใหญ่ ท่านก็ไม่ได้ใช้ว่าเป็นไดโนเสาร์นะไดโนเสาร์มันโง่ แต่ช้างมันมีความฉลาดเท่าเทียม เข้าใกล้คนได้มากที่สุด เป็นช้างใหญ่ ก็สามารถรับรู้ได้ สอนได้บอกได้ ก็เป็นเวไนยสัตว์ สอนได้บอกได้ พัฒนาให้เจริญขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นพวกเรานี้ได้เรียนรู้ธรรมะตามพระพุทธเจ้า อาตมาเอาธรรมะต่างๆแม้แต่ตำนานที่อธิบายประกอบพวกนี้ ฟังดีเข้าใจดีไหม มันถูกต้องตามธรรมะพระพุทธเจ้าหมด 

ที่มา ที่ไป

ธรรมะรับอรุณโดยพ่อครู งาน ว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน ครั้งที่ 8 วันพฤหัสบดีที่ 31ธันวาคม 2563 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 06 กุมภาพันธ์ 2564 ( 18:14:45 )

นางวิสาขากับพระเทวทัตใครบรรลุก่อน

รายละเอียด

ตอบไม่ได้ วิสาขาติดทางสุข แต่เทวทัตสายทุกข์ ใครจะเข็ดหลาบก่อนกัน

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ สำมะปี๋ซี่วิต ปฐมอโศก ครั้งที่ 30 วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2561

สื่อธรรมะพ่อครู(กรรม) ตอน สำนึกผิดดีได้ถ้าไม่ตีกิน


เวลาบันทึก 02 มีนาคม 2564 ( 17:09:47 )

นางวิสาขามีอะไรที่ควรเอาอย่างและไม่ควรเอาอย่าง

รายละเอียด

 คือนางวิสาขาเป็นตัวอย่างอันหนึ่ง ในลักษณะนี้ด้วย ลักษณะที่เป็น วัฏฏภิรตโสดาบัน เป็นโสดาบันที่ติดอยู่ในวัฏฏะ ติดอยู่ในความยินดี ยินดีในสถานะตัวเอง มี ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข มีโลกธรรมเต็มรูป แต่ที่ว่าเป็นโสดาฯ อันนี้เป็น อจินไตย เป็นตัวอย่างอันหนึ่งของบุคคลในยุคพระพุทธเจ้า เป็นอิสีติสาวก เป็นตัวอย่างอันหนึ่ง ในตัวอย่างการติดแป้น 

ติดแป้น เขาก็จะต้องตายเกิด เกิดตาย ตายเกิด ถ้าเผื่อว่านางวิสาขานี่นะ อาตมาก็ไม่ได้รู้รายละเอียดต่อไปว่า ถ้านางวิสาขาเป็นโสดาบัน เข้ากระแสไม่จริง มันก็ไม่ใช่นางวิสาขา ก็ไม่ใช่ตัวอย่างของโสดาบัน เพราะฉะนั้นนางวิสาขาเป็นตัวอย่างของโสดาบัน ก็บอกได้ว่าจิตเข้ากระแส โสตาปันนะ เพราะฉะนั้นก็จะต้องมี อวินิปาตธรรม ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา มันยึกยัก ขึ้นๆลงๆๆขึ้นๆชาติแล้วชาติเล่าๆ ทุกข์ๆสุขๆๆๆๆตามที่ตัวเองมี 

เพราะฉะนั้น นางวิสาขาก็จะมีทุกข์มีสุข จากเหตุแวดล้อมคือ ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข ตามวิบาก ถ้าวิบากนางวิสาขาทำได้ดี วิบาก ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข ก็จะทำให้นางวิสาขาต้องทุกข์ต้องสุขตามที่ตัวเองยังไม่มีปัญญาพอที่จะวาง อันนี้เป็น อจินไตย เป็นเรื่องของนางวิสาขา แต่แน่นอนคุณจะต้องวนอยู่ในที่ระดับนี้อีกนาน ไม่รู้กี่ร้อยกี่พันชาติ ซึ่งมันไม่ควรจะเอาอย่าง นางวิสาขา ควรเอาอย่างว่า เป็นผู้ที่มั่นคงในโสดาบัน แต่ไม่เอาอย่างที่เป็นคนติดแป้น เพราะฉะนั้นอย่าเอาอย่างนางวิสาขาตรงที่ติดแป้น แต่เอาอย่างโสดาบันที่เอาจริง 

ถ้าเป็นโสดาบันที่ครบก็มี โสตาปันนะ อวินิปาตธรรม นิยตะ สัมโพธิปรายนะ จะไปขึ้นสู่ที่สูง สัมโพธิปรายนะ จะไปขึ้นสู่ที่สูงที่สุดก็ช้า กาละเวลาที่ช้าพวกนี้นี่พระพุทธเจ้าไม่ส่งเสริม พระพุทธเจ้าไม่ส่งเสริม ปปัญจรามตา ยินดีในความเนิ่นช้า พระพุทธเจ้าไม่สรรเสริญ เอาอย่างให้เป็นโสดาบันให้ได้ แล้วก็เป็นคนมีทาน เป็นคนมีความอนุเคราะห์เกื้อกูล เป็นคนเสียสละ แล้วก็รวยมาก รวยมากจนกระทั่ง คนใช้ของนางวิสาขานี่ เป็นเศรษฐีอันดับ 6 ของยุคนั้น คนใช้นะ แล้วคิดสิว่านางวิสาขาจะรวยขนาดไหน และรวยด้วย ไม่ได้ทุจริตด้วย อย่าไปเทียบกับทักษิณ

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปัญญาต้องเกิดในปัจจุบัน จึงรู้เท่าทันเทวทัตยุคดิจิตอล วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม 2566 ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 01 ตุลาคม 2566 ( 17:19:35 )

นาถกรณธรรม 10

รายละเอียด

คือคุณธรรมที่ทำให้พึ่งตนเองได้ ทำให้อยู่เป็นสุข  หากไม่มีธรรมอันเป็นที่พึ่ง  ย่อมอยู่เป็นทุกข์

1. ศีล (ข้อปฏิบัติไม่ทำชั่วทางกายวาจาใจ  มีกรรมโดยความประพฤติดี)

2. พาหุสัจจะ (ผู้ฟังมาก รู้มาก ปฏิบัติธรรมแทงตลอดได้มาก  และพิสูจน์รู้เห็นผลของสัจจะมามาก  เช่น พิสูจน์ผลของโสดาบัน ฯลฯ)

3. กัลยาณมิตตตา (มีมิตรดีงาม มีผู้แนะนำดี  ช่วยขัดเกลาดี)

4. โสวจัสสตา (เป็นคนว่าง่าย สอนง่าย  ฟังเหตุผล  ปรับใจเก่ง)

5. กิงกรณีเยสุ  ทักขตา (ขยันช่วยงานที่ควรทำ เอาใจใส่ในกิจธุระของหมู่คณะ)  

6. ธัมมกามตา (เป็นผู้ใคร่ในธรรม  มีใจใฝ่รักในธรรม  ยินดีใฝ่หายิ่งขึ้น ๆ)

7. วิริยารัมภะ (เป็นผู้ตั้งอยู่ในความเพียร  ขยันหมั่นเพียรในการละหน่าย  ให้คลายจากอำนาจกิเลส)

8. สันตุฏฐี (เป็นผู้สันโดษ  มีใจพอ)

9. สติ (มีพลังแห่งความรู้ตัว  ระลึกรู้ตัวเสมอแม้สิ่งที่ทำ/คำที่พูดนานแล้ว)

10. ปัญญา (มีปัญญาเข้าใจสิ่งทั้งปวงตามความเป็นจริง มีความรู้ชำแรกกิเลสได้)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 11 ข้อ 357  และเล่ม 24 “นาถสูตร” ข้อ 17

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก 


เวลาบันทึก 07 กรกฎาคม 2562 ( 17:34:41 )

เวลาบันทึก 30 กรกฎาคม 2563 ( 06:45:16 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 14:46:20 )

นาถกรณธรรม 10

รายละเอียด

คือธรรมอันเป็นที่พึ่ง ทําให้อยู่เป็นสุข หากไม่มีธรรมอันเป็นที่พึ่ง ย่อมอยู่เป็นทุกข์

1. มีศีล (ข้อปฏิบัติไม่ทําชั่วทางกายวาจาใจ)

2. เป็นพหูสูต (ผู้รู้มากฟังมากศึกษามาก)

3. กัลยาณมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรดี)

4. โสวจสสตา (เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย)

5. กิงกรณีเยสุ ทักขตา(ขยันช่วยงานที่ควรทําของเพื่อน)

6. ธัมมกามตา (เป็นผู้ใคร่ในธรรม)

7. วิริยารัมภะ (เป็นผู้ตั้งอยู่ในความเพียร)

8. สันตุฏฐี (เป็นผู้สันโดษมีใจพอ)

9. สติ (ระลึกรู้ตัวเสมอ แม้สิ่งที่ทําคําที่พูดนานแล้ว)

10.ปัญญา (มีความรู้ชําแรกกิเลสได้)

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 24 “นาถสูตร” ข้อ 17


เวลาบันทึก 16 มีนาคม 2565 ( 03:36:55 )

นาน , นานา

รายละเอียด

ต่าง ๆ , ต่างกัน , ไม่เหมือนกัน , เว้นเสีย , ทิ้งแล้ว , อย่างนั้นอย่างนี้ , หลายอย่าง , ทุกชนิด

หนังสืออ้างอิง

จากชีวิตนี้มีปัญหา / เราคิดอะไร ฉบับ276


เวลาบันทึก 12 กรกฎาคม 2562 ( 07:46:23 )

เวลาบันทึก 10 พฤษภาคม 2563 ( 16:31:57 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 14:48:23 )

นานัตตกายา

รายละเอียด

กายต่างกันไป

หนังสืออ้างอิง

ชีวิตนี้มีปัญหา / เราคิดอะไร ฉบับ 272


เวลาบันทึก 12 กรกฎาคม 2562 ( 07:47:16 )

เวลาบันทึก 12 พฤษภาคม 2563 ( 14:12:54 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 03:07:17 )

นานัตตสัญญา

รายละเอียด

1. อารมณ์ต่าง ๆ ที่มี ที่เป็นอยู่ในจิต 

2. อย่าไปสำคัญสภาวะอัตตาต่าง ๆ ผิดไป จงเห็นความสำคัญในสิ่งที่ควรสำคัญ 

3. กำหนดรู้ในความเป็นอัตตาต่าง ๆ

หนังสืออ้างอิง

อีคิวโลกุตระ หน้า 170, ทางเอก ภาค 3 หน้า 245, ยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 335


เวลาบันทึก 12 กรกฎาคม 2562 ( 07:48:30 )

เวลาบันทึก 12 พฤษภาคม 2563 ( 14:14:15 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 14:48:01 )

นานัตตสัญญาณัง

รายละเอียด

ควรกำหนดสัญญา ควรเรียนรู้ หมายรู้ในอัตตาต่าง ๆ ใด ๆ ทั้งหลายทั้งสิ้น ให้รู้ความต่าง ให้รู้ความหมาย

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 525


เวลาบันทึก 12 กรกฎาคม 2562 ( 07:49:14 )

เวลาบันทึก 12 พฤษภาคม 2563 ( 14:14:52 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 03:07:38 )

นานัตตสัญญิโน

รายละเอียด

สัญญาที่ต่างกันอีกอย่างหนึ่ง

หนังสืออ้างอิง

จากชีวิตนี้มีปัญหา / เราคิดอะไร ฉบับ275


เวลาบันทึก 12 กรกฎาคม 2562 ( 07:49:59 )

เวลาบันทึก 12 พฤษภาคม 2563 ( 14:15:28 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 14:49:31 )

นานาความคิด อยู่ในเกณฑ์ที่เป็นไปได้

รายละเอียด

ความคิดต่าง คือ นานาความคิด เป็นสังวาสเดียวกันคือคนไทยร่วมกัน แต่มันมีความคิดต่าง จะให้มันมีความคิดเหมือนกันไม่ได้หรอก เพราะฉะนั้นอันไหนที่มันต่างจนกระทั่งเข้ากันไม่ได้ก็ต่างคนต่างอยู่ อันไหนพอเข้ากันได้ก็มารวมกัน เข้ากันได้ 1% เข้ากันได้ 10% เข้ากันได้ 50% เข้ากันได้ 80% แต่จะหาที่เข้ากันได้ถึง 100 นั้นไม่ได้หรอก สูงสุดได้ 90 ถึง 99 ก็ยอดเยี่ยมแล้วในมนุษยชาติ อย่างพวกเรานี้อยู่กันอย่างดี 99-100 ไม่ถึง 100  90-99 อยู่ในเกณฑ์ที่เป็นไปได้แล้วก็สูงสุดแล้ว 

คนพูดคงหมายให้วางใจกันก็ใช่ ตามหลักพระพุทธเจ้าเรียกว่า นานาสังวาส เมื่อพิจารณาดูแล้วความเห็นของเธอก็อย่างหนึ่ง ความเห็นของเราก็อย่างหนึ่ง ท่านตรัสกับสงฆ์ ท่านตรัสกับหมู่ชนว่า 

เทวทัตนั้นก็เป็นผู้ที่มีความเห็นของเทวทัตก็เป็นอย่างหนึ่ง เป็นของเทวทัต ของเราก็เป็นอย่างหนึ่งของเรา ท่านตรัสอย่างนี้คือความเป็นนานาสังวาส ต่างคนต่างอยู่ก็แล้วกัน ไม่ต้องมาทะเลาะกัน จะว่ากันจะวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างไรอย่างแรงๆได้ ต่อว่าต่อขานคัดค้านอย่างแรง ตำหนิอย่างแรงได้ แต่อย่าฟ้องร้องกัน อย่าทำคดีกัน ปากหอกไม่ว่า อย่าให้เกิดเป็นคดีแล้วจะตีกัน ยิ่งไม่เอา ให้เกิดแค่คดีกัน ขึ้นโรงขึ้นศาลเป็นคดีฟ้องร้องกันก็ไม่ ให้เป็นสิทธิของแต่ละคน 

คุณเห็นอย่างของคุณก็ว่ากันไปจะตำหนิอย่างโน้นก็ว่าไปแรงๆเลยเต็มที่เลยได้ นี่เป็นเรื่องของนานาสังวาสในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบคนมืดบอดให้เห็น ผลงาน 8 ปี นายกฯลุงตู่ วันพุธที่ 10 พฤษภาคม 2566 แรม 6 ค่ำเดือน 6 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 14 พฤษภาคม 2566 ( 10:15:36 )

นานาลีลาของกาม

รายละเอียด

กามรส  คือ รสของกาม ที่ชอบชื่นใจอยู่ในกาม

กามานุสารี  คือ มีใจเยื่อใยใฝ่กามอยู่ ยังต่องแต่งอยู่

กามาธิกรณะ  คือ มีความใคร่เป็นเหตุให้เกิดเรื่อง

กามาวจรกิริยา  เห็นอาการอวจรที่จิตกำลังเสพกามอยู่

กามาวัฏฏะ  คือ ความวนเวียนอยู่ในเรื่องของกาม

กามาวจรวิบาก  คือ  ผลที่สั่งสมลงเป็นวิบาก

กามุปาทาน คือ การยึดในกาม

กามาสวะ  คือ อาสวะของกามอันเหลือน้อย

กามาภิภู  คือ ผู้ครอบงำความใคร่ในกามได้

ที่มา ที่ไป


ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2562 ( 21:32:34 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 06:41:37 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 03:08:10 )

นานาวิธีละกามด้วยการข่ม ปราบ ย่ำยี . (วิกขัมภนโต กาเม ปริวัชเชติ) . .

รายละเอียด

กามทั้งหลายเปรียบด้วย(เนื้อติด)โครงกระดูก  เพราะอรรถว่าเป็นของมีความยินดีน้อย  ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้  

กามทั้งหลายเปรียบด้วยชิ้นเนื้อ  เพราะอรรถว่า เป็นของสาธารณะแก่ชนหมู่มาก  ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้

กามทั้งหลายเปรียบด้วยคบเพลิง เพราะอรรถว่าเป็นของตามเผา  กามทั้งหลายเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถว่าเป็นของให้เร่าร้อนมาก  ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้

กามทั้งหลายเปรียบด้วยเพราะอรรถว่าเป็นของปรากฏชั่วเวลาน้อย ..ฯ ผู้เห็นอยู่ว่าความฝัน กามทั้งหลายเปรียบด้วยของขอยืม เพราะอรรถว่า เป็นของเป็นไปชั่วกาลที่กำหนดฯ  

ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยต้นไม้มีผลดก เพราะอรรถว่าเป็นของให้กิ่งหักและให้ต้นล้ม ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้

กามทั้งหลายเปรียบด้วยดาบและมีด เพราะอรรถว่าเป็นของฟัน   กามทั้งหลายเปรียบด้วยหอกหลาว เพราะอรรถว่าเป็นของทิ่มแทง ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้  

กามทั้งหลายเปรียบด้วยหัวงู เพราะอรรถว่าเป็นของน่าสะพึงกลัว  กามทั้งหลายเปรียบด้วยกองไฟ เพราะอรรถว่าเป็นดังไฟกองใหญ่ให้เร่าร้อน ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้

แม้ผู้เจริญพุทธานุสสติ  ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้  แม้ผู้เจริญธัมมานุสสติ ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้   แม้ผู้เจริญสังฆานุสสติ  แม้ผู้เจริญสีลานุสสติ ... แม้ผู้เจริญจาคานุสสติ ... ผู้เจริญเทวตานุสสติ  ผู้เจริญอานาปานัสสติ ... ผู้เจริญมรณานุสสติ ... ผู้เจริญกายคตาสติ ... ผู้เจริญอุปสมานุสสติ

แม้ผู้เจริญปฐมฌาน ... เจริญทุติยฌาน ...  เจริญตติยฌาน .เจริญจตุตถฌาน .. เจริญอากาสานัญจายตนสมาบัติ .. ผู้เจริญวิญญาณัญจายตนสมาบัติ .. ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติ ... ผู้เจริญเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ  ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้  ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้อย่างนี้.

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎก เล่ม 29 ข้อ 12 , ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2562 ( 16:00:11 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 06:43:06 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 14:53:17 )

นานาวิธีละสังโยชน์-และอาสวะ

รายละเอียด

1. อาสวะที่พึงละได้ด้วยการเห็น (ทัสสนา ปหาตัพพา) 
2. อาสวะที่พึงละได้ด้วยการสำรวม-สังวร (สังวรา ฯ) 
3. อาสวะที่พึงละได้ด้วยการเลือกเฟ้นส้องเสพ(ปฏิเสวนา)
4. อาสวะที่พึงละได้ด้วยการอดทนข่มฝืน (อธิวาสนา ฯ) 
5. อาสวะที่พึงละได้ด้วยการหลีกเว้น (ปริวัชชนา ฯ) 
6. อาสวะที่พึงละได้ด้วยการบรรเทา (วิโนทนา ฯ) 
7. อาสวะที่พึงละได้ด้วยการอบรมให้เจริญผล (ภาวนา)

ที่มา ที่ไป

สัพพาสวะสังวรสูตร พระไตรปิฏก เล่ม 12  ข้อ 12 - 18, ธรรมาธิบายจากพ่อครู รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 31 กรกฎาคม 2562 ( 13:58:34 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 06:45:26 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 14:53:24 )

นานาสังวาส

รายละเอียด

คือ เป็นพุทธเหมือนกัน แต่เข้าใจต่างกัน (น.360) นานา แปลว่า แตกต่าง มีอะไรๆต่างกัน, สังวาส แปลว่า อยู่ร่วมกัน คือยังเป็นพุทธอยู่ร่วมกัน, นานาสังวาส คือ สงฆ์ที่ยังยึดถือหลักธรรมวินัยเดียวกัน แต่เกิดทิฏฐิต่างกัน กรรมต่างกัน อุเทศต่างกัน ศีลสิกขาไม่เสมอกัน

หนังสืออ้างอิง

“สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ” หน้า 371


เวลาบันทึก 29 ตุลาคม 2562 ( 11:43:54 )

เวลาบันทึก 30 กรกฎาคม 2563 ( 06:46:04 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 03:08:54 )

นานาสังวาส

รายละเอียด

คือ ความแตกต่าง

หนังสืออ้างอิง

 “สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ” น.303


เวลาบันทึก 29 ตุลาคม 2562 ( 10:59:36 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 12:30:26 )

นานาสังวาส

รายละเอียด

เป็นสงฆ์คนละคณะที่ต่างปกครองตนเอง

ภิกษุประกาศแยกออกจากกัน เพราะ มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วมที่ต่างกัน  ศีลต่างกัน  บรรยายอุเทสต่างกัน,   สงฆ์ผู้ไม่ร่วมสังวาส  คือ   ไม่ร่วมอุโบสถและสังฆกรรมด้วยกัน  เรียกว่า  เป็นนานาสังวาสของกันและกัน 

  เหตุที่ทำให้นานาสังวาสมี 2  คือ    ภิกษุทำตนให้เป็นนานาสังวาสเอง เช่น  แตกจากพวก เพราะเหตุวิวาทาธิกรณ์อย่างหนึ่ง   อีกอย่างหนึ่งถูกสงฆ์พร้อมกันประกาศยกออกให้เป็นนานาสังวาส  (และทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้น้อยไม่ควรไหว้ภิกษุที่เป็นนานาสังวาส อันเป็นผู้มีพรรษาแก่กว่าแต่เป็นผู้ไม่มีธรรมวาที  ผู้น้อยไม่ไหว้ก็ย่อมได้)

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ

หนังสืออ้างอิง

จากค้าบุญคือบาป หน้า 21


เวลาบันทึก 12 กรกฎาคม 2562 ( 07:50:39 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 07:05:17 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 14:55:04 )

นานาสังวาส

รายละเอียด

คือ การยึดถือความเห็น  การอธิบายสิ่งที่ศาสนาพุทธที่แตกต่างกัน  ยึดถือต่างกันคือต่างคนต่างทำนานาสังวาส  เห็นอะไรเป็นธรรมวาทีก็ทำตามที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้พระพุทธเจ้าแสดงว่า  ผู้ที่เป็นนานาสังวาสก็แยกกันฟัง  คุณเห็นควรพอใจอย่างนั้นว่าเป็นธรรมวาที  ก็ไปฟังอันนี้ไม่เป็นธรรมวาทีก็ไม่ต้องฟัง  ส่วนพวกอื่นพวกที่เห็นต่างเขาก็ฟังอีกแบบ  ต่างคนต่างอยู่ก็สบาย  ไม่ต้องไปทะเลาะกัน  เถียงกัน  แต่มีสิทธิ์ที่จะปฏิกโกสนา  ก็หมายความว่า  ฟังได้ที่เขายึดถืออย่างนี้  ก็มีสิทธิ์ที่จะประท้วง  แย้งอย่างแรงๆ ตรงๆ แย้งเต็มที่ได้  ปฏิกโกสนาในนานาสังวาส  มีวินัยให้ค้านแย้งอย่างแรงๆ ได้เลยท่านไม่ได้ห้าม  แย้งแรงๆ ได้แต่อย่าให้ผิด ใครก็ต้องเชื่อว่าที่ตนแย้งไปจะถูก

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 20 ธันวาคม 2562 ( 07:35:39 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 06:55:42 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 03:09:32 )

นานาสังวาส

รายละเอียด

คือ เป็นพุทธร่วมกันแน่นอน(สังวาส เดียวกัน) สงฆ์หมู่ใหญ่ก็เป็นพุทธ เราก็เป็นพุทธ ก็อิสระทั้งคู่ เพียงแต่มีความแตกต่างกัน(นานา)จริง เป็นต้นว่ามีศีล ไม่เสมอสมานกัน(ศีลไม่เป็นสีลสามัญญตา) คือ ถือศีลกันคนละ อย่าง สงฆ์หมู่ใหญ่ถือศีลคือ“วินัย 227” ส่วนเราชาวอโศก ถือศีลคือ จุลศีล 26,มัชฌิมศีล 10,มหาศีล 7 เป็น “ศีล 43” มีกรรม(การกระทำ)หรือการประพฤติก็ต่างกัน เราไม่นิยมกินเนื้อสัตว์ สงฆ์หมู่ใหญ่นิยมกินเนื้อสัตว์ สงฆ์อโศก ไม่นิยมใช้เงิน สงฆ์หมู่ใหญ่นิยมใช้เงิน เราไม่มีเดรัจฉานวิชา สงฆ์หมู่ใหญ่มีเดรัจฉานวิชา เราไม่นิยมสวดมนต์อย่างเทวนิยม สงฆ์หมู่ใหญ่นิยมสวดมนต์อย่างเทวนิยม ฯลฯ อุเทศต่างกัน คือ หัวข้อธรรมต่างๆยกขึ้นมาสาธยาย อธิบายขยายความแตกต่างกัน เช่น“ศีล” ก็อธิบายต่างกัน “สมาธิ”ก็อธิบายต่างกัน “ปัญญา”ก็อธิบายต่างกัน “วิมุติ”ก็อธิบายแตกต่างกัน แม้แต่คำว่า“บุญ” คำว่า“กาย”คำว่า“ปัญญา” คำว่า“โลกุตระ” คำว่า“อาริยะหรืออริยะ” โดยเฉพาะคำ“บาลี”ต่างๆมากมาย อธิบายขยาย ความแตกต่างกัน ดังนี้เป็นต้น ตรวจสอบกันดีๆเถิด เราจึงเป็น“นานาสังวาส”กันจริงๆตามพระวินัยของ พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ถูกต้องที่สุดแล้ว เป็นจริงแล้ว

หนังสืออ้างอิง

คนจนที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1 หน้า 357-358


เวลาบันทึก 29 ธันวาคม 2562 ( 14:33:24 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 06:59:07 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 14:57:03 )

นานาสังวาส

รายละเอียด

สิ่งเหล่านี้เป็นกลเม็ดพูดกลับไปกลับมาที่เขาใช้กันมานาน สิ่งเหล่านี้ก็ให้ฟังทั้งสองฝ่ายแล้วตัดสินเอง นานาสังวาสกัน มีประเด็นที่จะค้านจะว่ากันแรงๆก็ทำไป แต่อย่าทำให้ถึงเป็นคดีความฟ้องร้องขึ้นศาล อันนี้เป็นวินัยของพระพุทธเจ้าเรื่องนานาสังวาส อาตมาปฏิบัติตรงตามพระพุทธเจ้าทุกอย่าง ทุกวันนี้ก็ใช้ มุขสตี ปฏิกโกสนา ค้านอย่างแรงอย่างจัง แต่ไม่ฟ้องร้อง ไม่ทะเลาะเบาะแว้งไม่ตีรันฟันแทง

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 05 เมษายน 2563 ( 12:15:53 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:39:09 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 03:09:51 )

นานาสังวาส

รายละเอียด

หลวงปู่พุทธะอิสระเป็นนิกายเดียวกันกับหมู่ใหญ่ ท่านฟ้องร้องกันได้ แต่อาตมาไปฟ้องร้องเขาไม่ได้อธกรณ์เขาไม่ได้ คนก็บอกว่าทำไมเราไม่ทำงานเอง ทำไมต้องพึ่งหลวงปู่พุทธะอิสระ ก็บอกว่าเราทำไม่ได้เพราะผิดธรรมวินัย ไปเอาเรื่องเอาราวฟ้องร้องเขาไม่ได้ อธิกรณ์เขาไม่ได้ เป็นวิธีการของพระพุทธเจ้าที่แยกกันทำเรียกว่านานาสังวาส ไม่ใช่อสังวาส แต่ก็ไม่ใช่สมานสังวาส สังวาสแปลว่าร่วมกัน ถ้าเป็นอสังวาสก็คือไม่ร่วมกัน เช่น เป็นคนละนิกายซึ่งก็มีนัยยะละเอียด ก็เล่าให้ฟังเป็นความรู้กันบ้าง ศึกษาให้ดีในวินัยมีทั้งที่เป็นพระวินัยปิฎก อ่านในพระไตรปิฎก จากนั้นก็เป็นพระสูตรและก็มีพระอภิธรรม รวมกันแล้วฉบับสยามรัฐนี้มี 45 เล่ม

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรม พิธีบูชาพระบรมสารีริกธาตุ งานอโศกรำลึกครั้งที่ 37 วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน 2561 


เวลาบันทึก 08 กุมภาพันธ์ 2564 ( 21:02:22 )

นานาสังวาส คือ การตัดสินปัญหาความยึดถือที่เห็นต่างกันอย่างมีปัญญา 

รายละเอียด

ใช่ คุณยังผิดอยู่ คนละขั้วแต่ขั้วของคุณเป็นขั้วที่ผิด อาตมายืนยันว่าผิด ผิดจริงๆ ยืนยัน ถ้าคุณยังเชื่อว่าของคุณถูกอยู่ คุณก็ยังไม่มีทางจะพ้นทุกข์ ไม่มีทางบรรลุธรรม คุณจะบรรลุธรรมอย่างมหาบัว บรรลุเหมือนกัน จริงๆ ถ้าได้อย่างมหาบัว คุณก็ยังจะพอใจด้วย ก็จบตรงที่นานาสังวาส คุณก็เชื่อถือและเข้าใจอย่างนั้น อาตมาก็เข้าใจและเชื่อถืออีกอย่างตกลงนะ มีสำนวนที่ว่า ตกลงนะเข้าใจตรงกันนะ คุณก็เชื่ออีกอย่างนึง 

สำนวนของพระพุทธเจ้าบอกว่าใครเห็นอะไรเป็นธรรมวาทีก็จงทำตามที่คุณเห็น คนนี้เห็นอย่างอาตมาพูดเป็นธรรมวาที คุณก็เอาตามนี้ แต่ถ้าคุณเห็นอย่างที่มหาบัวพูดเป็นธรรมวาทีคุณก็เอาตามนั้น ตรงกันเนาะ เข้าใจตรงนี้ตรงกันก็จบเนาะไม่ทะเลาะกันเนาะ ต่างคนต่างเข้าใจต่างคนต่างยึดถือ นี่เป็นคำพิพากษาของพระพุทธเจ้า เป็นความจบของนานาสังวาสต่างคนต่างเห็นต่างกัน นานาแปลว่า ต่างคนก็ต่างดำเนินไปพิสูจน์ความจริงกันไป ไม่มีปัญหาหมดปัญหามีแต่ปัญญา 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาโยมบุญ ให้รู้จักทำบุญอย่างถูกพุทธ วันพุธที่ 14 ธันวาคม 2565 แรม 6 ค่ำ เดือนอ้าย ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 24 ธันวาคม 2565 ( 13:02:20 )

นานาสังวาส สมานสังวาสก็ตามวินัยเหมือนกันใครจะมาร่วมก็มา

รายละเอียด

อาตมานี่พูดแล้วพูดอีกว่าอาตมาไม่เป็นนิกายกับใครนะ ใครจะเป็นนิกายกับอาตมาก็เป็นเรื่องของเขา อาตมาเป็นนานาสังวาสกับทุกคน ใครจะมาร่วมก็มา มีหลักเกณฑ์วินัยหมดเลย จะเข้ามาสมานสังวาสก็ตาม วินัยเหมือนกัน ถ้าคนยังเป็นเดียรถีย์ก็ต้องมาตามกฎตามเกณฑ์ 

ผู้ใดที่อยู่ในเกณฑ์เข้ามา มาสมัครก็เป็นสมานสังวาสได้เลย ก็เข้ามาได้ มีขั้นมีตอนอย่างที่ว่า สงฆ์ทางเถรสมาคมมาที่นี่ ก็ต้องมีตามขั้นตอนก็ต้องเช็คกัน เช่น คุณบวชเท่าไหร่ ได้ประพฤติมาอย่างไร แม้แต่ที่สุด พ้น มีเงินมีทอง พ้น นิสสัคคิยปาจิตตีย์ คุณยังมาร่วมไม่ได้ ทำสังฆกรรมร่วมกับเราไม่ได้ อย่างนี้เป็นต้น เราก็ทำทุกอย่างตามพระธรรมวินัยหมด ไม่ได้ไปแกล้งกัน เพราะมันเป็นสัจธรรม ถ้าทำผิดมันก็ผิดมันไม่ดี ทำให้ศาสนาพุทธเสื่อม เราก็ทำตามจริง 

แต่ทางเถรสมาคมนั้น เงินทองของ สะสมกัน ร่ำรวยกัน เป็นพระมหาศาลเหมือนกับยุคเสื่อมของพราหมณ์มหาศาลนั่นแหละ เหมือนกันเลย เอาละพอ ไปว่าเขามาก

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ทำไมสายศรัทธาจึงช้าและยากกว่าสายปัญญา วันพุธที่ 10 สิงหาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 31 สิงหาคม 2565 ( 14:21:26 )

นานาสังวาสคือต่างคนต่างเห็นต่างคนต่างทำ

รายละเอียด

สุดท้ายนานาสังวาสพระพุทธเจ้าบอกว่าต่างคนต่างเห็นต่างคนต่างทำ เมื่อทำแล้ว สำหรับคุณ อาตมาก็ว่า อย่าทิ้งอาตมา ฟังไปเรื่อยๆและตรวจสอบกับของพระพุทธเจ้า คือ อาตมายืนยันว่าอาตมาถูกตามของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่มีตัวตนของพระพุทธเจ้าแล้วก็เอาตรวจสอบกับพระไตรปิฎกพระสูตรนั้นข้อนี้ อาตมานำมาอธิบายอยู่บ่อยๆคุณก็พิจารณาตามที่อาตมาอธิบายตามพระสูตรต่างๆ อาตมาอธิบายผิดอย่างไรถูกอย่างไรนี่แหละคุณแสดงมาถ้าคุณเห็นว่าอาตมาอธิบายผิดในพระสูตรใดๆที่อธิบายไปโปรดเขียนแสดงความเห็นของคุณมาเลยจะได้เห็นเปรียบเทียบกัน ว่าอันใด มันควรจะเป็นอย่างไรกรุณาเลย 

ถ้าคุณเอาแต่มองเพ่งอย่างเดียว ไม่พัฒนาเลยคุณก็จะอยู่กับหมู่เก่าความเห็นเก่าของคุณคุณก็จะจมอยู่อย่างนั้นน่าสงสาร อาตมาพูดอย่างจริงใจและสงสารคุณจริงๆ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ  เจโตปริยญาณ 16 มาตรวัดจิตสมาธินิมิต วันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 กุมภาพันธ์ 2564 ( 15:46:03 )

นานาสังวาสตัดสินเองด้วยธรรมวาที

รายละเอียด

ก็เป็นความเห็นของใครก็ของใคร ส่วนใครจะเห็นว่าความเห็นของใครจะผิดจะถูกต้องนั้นก็แล้วแต่ มันเป็นนานาสังวาส ก็ไปฟังทั้งสองฝ่าย แล้วตัดสินกันเองว่าอันไหนเป็นธรรมวาที คุณนั่นแหละเป็นคนตัดสินเอง คนอื่นเขาก็ว่ากันไป อาตมาก็พูดตามพระพุทธเจ้าตรัสไว้ก็แล้วกัน

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม2563


เวลาบันทึก 28 มกราคม 2563 ( 18:11:49 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 07:14:27 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 03:10:10 )

นานาสังวาสต่างจากนิกายอย่างไร

รายละเอียด

มันเป็นเรื่องสุดวิสัยจะไปห้ามอย่างไร หลักการอย่างนี้เป็นเรื่องสุดยอดไม่ใช่คนอย่างพระพุทธเจ้าตั้งหลักการนี้ไม่ได้ ไม่ใช่คนอย่างพระพุทธเจ้าไม่มีใครสามารถตั้งหลักการนานาสังวาสไม่ได้เลย แล้วก็มีหลักเกณฑ์ต่างๆนานาในการปฏิบัตินานาสังวาสอีกเยอะ ต่างคนต่างต่างกันแล้ว แต่พระพุทธเจ้าท่านประนีประนอมว่าก็อยู่ร่วมกันนั่นแหละเรียกว่าสังวาสอยู่ร่วมกัน อย่าแตกกันนะ ถ้าแตกก็เป็นนิกาย อนันตริยกรรม นิกายคือไม่มีทางจะกลับเข้ามาคืนสู่กันได้อีกเลย นิกาย คือกายแตก ไมใช่กายเดียวกัน กายมีภาวะสอง ถ้านิกายแล้วไม่เป็นสอง มันรวมกันไม่ได้แล้วหนึ่งใครก็หนึ่งมันแล้ว นั่นแหละหนัก อาตมาถึงบอกว่า ใครอย่ามาว่าชาวอโศกเป็นนิกาย คุณพูดคุณบาป เพราะว่าเราเป็นนานาสังวาสไม่ใช่นิกาย เข้าใจนิยามคำว่านานาสังวาสกับคำว่านิกายเขาเข้าใจไม่ได้ หากคนใดเอานิกายมาใส่เราคนนั้นบาป นิกายเป็นการลงโทษเป็นการว่าเกินความจริงบาปนะ เป็นการพูดผิด เราเพียงนานาสังวาส ยืนยันว่าเราเป็นนานาสังวาสไม่ใช่นิกาย 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 04 กันยายน 2563 ( 10:25:34 )

นานาสังวาสนั้นต้องท้วงติงกันได้ พาดพิงบุคคลได้

รายละเอียด

อันนี้ถูก อาตมาบวชทีหลังท่าน อาตมาบวชที่วัดอโศการาม จะว่าสายหลวงปู่มั่นก็ใช่ อาจารย์ลีเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นอยู่วัดอโศการาม อาตมาไม่ทัน อาจารย์ลีตายก่อนอาตมาจะบวช อาตมาบวชอุปัชฌาย์ไม่ใช่อาจารย์ลี อุปัชฌาย์เป็นพระราชวรคุณ ตอนหลังท่านก็เป็นพระเทพวรคุณ เป็นอุปัชฌาย์ทางด้านธรรมยุต แล้วอาตมาก็มา สวดญัติที่วัดหนองกระทุ่มอีกทีเป็นมหานิกาย ก็หลวงอาเป็นอุปัชฌาย์เป็นผู้สวดญัติให้ 

อาตมาเลยเป็นพระทั้งสองนิกาย เข้าพิธีบวชเป็นพระทั้งธรรมยุตและมหานิกายและอาตมาก็ลาออกมาเป็นนานาสังวาสในวันที่ 6 สิงหาคม 2518 วันที่ 7 สิงหาคมก็เป็นนานาสังวาสกับทั้งมหานิกายและธรรมยุต ประกาศตนเองออกมาตามพระธรรมวินัยไม่ได้ผิดพระธรรมวินัยเลย แต่ท่านไม่รู้เรื่องธรรมวินัยนานาสังวาส เพราะมันลึก ลึกซึ้งสุด ในยุคพระพุทธเจ้าก็มีนานาสังวาสที่พระพุทธเจ้าประกาศธรรมวินัยกับพระเทวทัต ท่านไม่ได้ประกาศนิกายกับพระเทวทัตแต่ท่านประกาศนานาสังวาส ส่วนเทวทัตจะถือว่าท่านเป็นคนละนิกายก็เป็นเรื่องของเทวทัต เช่นเดียวกันกับอาตมาประกาศนานาสังวาสกับมหาเถรสมาคมที่มีทั้งธรรมยุตและมหานิกาย 

แต่ทางโน้นทั้งธรรมยุตและมหานิกายถือว่า อาตมาเป็นนิกายซึ่งอาตมาไม่ได้ถือว่าพวกท่านเป็นนิกาย เรื่องนี้ลึกซึ้งมาก ธรรมะซับซ้อนเป็นสิริมหามายา มันก็ต่างคนต่างยึด ต่างคนต่างถือ ต่างคนต่างเห็น เขาก็เป็นอย่างนั้นอาตมาก็เป็นอย่างนี้ จิตก็คนละสัญญา คนละกำหนดหมาย ก็เป็นคนละอย่าง ศึกษาไปอันนี้ลึกซึ้ง นานาสังวาสนี้ลึกซึ้งสุด มันเป็นเครื่องตัดสินสุดท้ายที่เป็นการจำนนแล้ว ระหว่างมนุษย์ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า เมื่อความเห็นของเธอกับความเห็นของเรามันเห็นกันคนละอย่าง ก็อยู่เป็นสุขเป็นสุขกันเถอะ ต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างเข้าใจว่า อันนี้เราเข้าใจอย่างนี้ถือว่าเป็นธรรม อันนี้ถือว่าอย่างนี้เป็นอธรรม คุณก็ถือธรรมอันนี้ แต่อีกคนเห็นว่า อันนี้เป็นธรรมะ แต่อันนี้มันเห็นขัดกัน อันโน้นเป็นอธรรมก็ต่างคนต่างเข้าใจต่างคนต่างยึดถือ ต่างคนต่างปฏิบัติไปก็แล้วกัน และผลมันจะออกมาตามสัจธรรม สัจธรรมไม่มีใครไปบิดพลิ้วมันหรอก มันเป็นของมันเอง มันเป็นของมันจริง 

และอาตมาก็ไม่งง ไม่สงสัย ไม่ประหลาดว่า พวกเราจะเป็นหมู่น้อย ไม่สงสัย ไม่ประหลาด อย่างพวกเราชาวอโศกที่เป็นโลกุตรธรรมเป็นหมู่น้อยที่เป็นยอดพีระมิด มหานิกายธรรมยุตของมหาเถรสมาคมก็เป็นอีกหมู่หนึ่ง แน่นอนมหานิกายกับธรรมยุตก็ยังจะเป็นหมู่น้อยของเทวนิยม ซึ่งเทวนิยมเขาเป็นฐานพีระมิดส่วนใหญ่มากเลย แม้ว่าของเถรสมาคมหรือสงฆ์หมู่ใหญ่ กระแสหลักของประเทศ จะไม่เป็นโลกุตรธรรมเหมือนอย่างชาวอโศก แต่ก็มีเชื้อของธรรมะพระพุทธเจ้า มากกว่าเทวนิยมอีก เป็นสัจจะ เทวนิยมเขาก็มีหลายขั้น อาตมาก็ไม่อยากจะไปวิจารณ์เขามาก หลายอย่างหลายขั้นแล้วเขาก็เข้ากันไม่ได้ อยู่ด้วยกันไม่ได้ด้วย ไม่เป็นสังวาสเดียวกันไม่ร่วมกัน มันเกินกว่าจะเรียกว่านิกายแล้ว มันคนละศาสนา ไม่ใช่แค่ต่างนิกายเท่านั้นแต่คนละศาสนาเลย ดีไม่ดีฆ่ากันด้วย แข่งดีแข่งเด่นกันนั้นแน่นอน 

ทีนี้กลับมาหาเรา อย่างเราชาวอโศกกับเถรสมาคม เราไม่ได้ไปแข่งดีแข่งเด่นกับเขานะ มันไปตามสัจจะ คนเข้าใจว่าอย่างนี้ดี น้อยด้วย อย่างอโศกนี้คนเข้าใจว่าดีมีน้อยด้วยก็ไม่เห็นเป็นปัญหา เราอยู่แล้วว่าสัจจะนั้นยอดพีระมิดก็จะมีน้อยแค่นั้น มันก็เป็นสัจจะ เราจะไปงงไปสงสัยอะไร ทางโน้นเขามีมากกว่าดีแล้ว ท่านก็ทำของท่านให้ดีอย่าให้มันเสื่อมยิ่งกว่านี้ แต่มันก็ยาก เพราะลักษณะที่ไม่เสื่อมกับลักษณะที่ยังเสื่อมอยู่ แน่นอนเสื่อมอยู่ก็ต้องเสื่อม อันที่ไม่เสื่อมแล้วเป็นสิ่งที่ไม่ตกต่ำ อวินิปาตธรรม ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา ไม่เสื่อมแล้ว ดีไม่ดีมันนิยตะเที่ยงด้วย

 ที่ไม่เสื่อมนั้นก็ยังยึกยักอยู่นะ ไม่เที่ยง ยังขยับไปขยับมา สุขบ้างทุกข์บ้างมีเยอะ แต่นิยตะนี้ จะยิ่งน้อยลงไปแล้วใช้ศัพท์คำว่าเที่ยงได้ มีแต่ไม่ยึกยักแล้วมีแต่จะ สัมโพธิปรายนะ ไปสู่ที่สูงที่สุดที่จบ นี่คือลักษณะสัจธรรมพวกนี้ พระพุทธเจ้าสอนไว้หมด พยัญชนะบาลีอาตมาเอาของพระพุทธเจ้ามาใช้ อาตมารู้สภาวะพวกนี้ ของเรามีตรงกันกับของพระพุทธเจ้าทั้งนั้น 4 ขั้น โสตาปันนะ อวินิปาตธรรม นิยตะ สัมโพธิปรายนะ พระพุทธเจ้าตรัสไว้เป็นคุณสมบัติขั้นพระโสดาบัน 

สรุปก่อนว่าทำไมอาตมาต้องไปว่า เพราะอาตมาเวทนาหรือว่าสงสาร แต่ก็สงสาร ท่านก็เสียไปหมดแล้ว สงสารหลวงปู่เสาร์สงสารหลวงปู่มั่น มหาบัวแต่สงสารท่านก็เสียไปหมดแล้วก็คือต้องสงสารลูกศิษย์ อาตมาจึงจำเป็นจำนนต้องว่าเพราะท่านผิดเพราะท่านยังไม่สัมมาทิฏฐิ ท่านยังมิจฉาทิฏฐิ อาตมาก็พูดความจริง พวกคุณยึดถือว่าของอาจารย์มั่น อาจารย์เสาร์ อาจารย์มหาบัวสัมมาทิฏฐิ แน่นอนคุณก็ต้องค้านแย้งกับอาตมา แต่อาตมาก็ต้องพูดความจริง ว่าอันนั้นยังมิจฉาทิฏฐิ ถูกมันอันนี้ คุณก็ค่อยแง้มใจดูสิ แง้มใจมาฟังอาตมาหน่อย อย่าปิดใจมาฟังอาตมาเลย ถ้าปิดใจมาฟังอาตมา มันก็รับอะไรไม่เข้า ต้องแง้มๆหน่อย ขอแง้มๆก็พอก่อน แล้วถ้าคุณเจตนาดี แสวงหาจริงๆนะ ให้แง้มมาเถอะแล้วฟังอาตมาบ่อยๆ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ความเป็นอรหันต์นั้นมีลำดับอันน่าอัศจรรย์ วันพุธที่ 28 มิถุนายน 2566 ขึ้น 11 ค่ำเดือน 8 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2566 ( 08:57:56 )

นานาสังวาสระหว่างฆราวาสกับสมณะ

รายละเอียด

ดีเหมือนกัน ถ้าคิดจะมามีนานาสังวาสระหว่างฆราวาสกับสมณะ มันคนละฐานะกัน มันตลก คุณจะขอเป็นนานาสังวาส แต่คุณจะขอใช้สตางค์ของส่วนกลางทั้งสงฆ์และฆราวาสเขา คุณนานาสังวาสออกไปจากสังวาสนี้ กลุ่มใหญ่นี้แล้ว คุณยังจะมาขอใช้เงินส่วนกลาง มันก็ผิดสิ อาตมาลาออกมาจากสมาคมแล้ว ไม่ได้หน้าด้านไปขอเงินจากเถรสมาคมมาใช้ จบแค่นี้ดีกว่า ชักแรงแล้ว

ที่มา ที่ไป

พ่อครูตอบปัญหา พุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหารย์แห่งพุทธ ครั้งที่ 46 วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 แรม 2 ค่ำ เดือน 3 ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 23 กุมภาพันธ์ 2565 ( 11:00:10 )

นานาสังวาสอย่าเอาของพระพุทธเจ้ามาพูดเล่นบาป

รายละเอียด

คืออย่าทำบ้า พูดเล่นไม่ดีอย่าเอาของพระพุทธเจ้ามาพูดเล่นพูดหัว เป็นคำสำคัญนะ นานาสังวาส สมณะก็ดี พระก็ดี มาเรียกตนเองว่าพระ หรือสมณะนี้ หรือจะกล้าพูด พูดเล่นพูดหัวกันได้อย่างไร ไปพูดกับคนที่ถือสาไม่ได้นะ กรรมเป็นอันทำบาปกินหัว 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม2563


เวลาบันทึก 08 กุมภาพันธ์ 2563 ( 13:27:52 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 07:15:40 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 14:58:10 )

นานาสังวาสาสของชาวอโศกกับเถรสมาคม

รายละเอียด

มีส่วนถูกต้อง ผู้ไม่รู้จักเบื้องหลังอาตมาเลยมาติดตามฟังธรรมเอาสาระธรรม ก็ชัดเจน เพราะมันไม่มีอะไรกวน เพราะถ้ารู้จักเบื้องหลังหรือติดตามประวัติมา อาตมา  ถูกดิสเครดิต ถูกถล่มทลายจากเถรสมาคมหรือว่าคณะกระแสหลักของประเทศ ที่เขาต้องนับถือ พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงนับถือขนาดนั้น แน่นอนเขาก็จะต้องยกให้คณะนั้นว่าถูกต้องดีแท้ แต่อาตมากลับมาซัดเลยว่านั่นแหละคือความเสื่อม เถรสมาคมนั่นแหละคือความเสื่อม คือผิดออกไปหมดเลย เรียกว่าเล่น นานาสังวาส เลย และ อาตมาก็เอาหลักนานาสังวาสที่เป็นหลักธรรมวินัยมายืนยัน และปฏิบัติตามนานาสังวาสที่อาตมาเข้าใจธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าในหลักนานาสังวาสดี แล้วก็ทำมาถูกต้อง ทางโน้นกลับไม่รู้เรื่อง 

ตอนแรกก็งงๆ ปล่อยให้อาตมาประกาศนานาสังวาสมาตั้งแต่ พ.ศ.2518 มาถึง พ.ศ. 2532 วันร้ายคืนร้ายไปกินยาผิดอย่างไรไม่รู้ กลับมาดึงอาตมาไปเล่นงาน นี่ก็ผิดพระธรรมวินัยแล้ว การประกาศนานาสังวาสก็จะมาทำอธิกรณ์อะไรกันไม่ได้เลย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ อาการ ลิงค นิมิต อุเทส ของ นาม 5 รูป 28 วันพุธที่ 11 พฤษภาคม 2565 บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2565 ( 13:42:43 )

นานาสังวาสเกิดขึ้นได้อย่างไร

รายละเอียด

ถามตัวเองสิ คุณรู้ ขออภัย คุณรู้เท่าอาตมารู้ไหมคุณถามตัวเองสิ แล้วอาตมารู้นี่เถียงได้หรือไม่ แย้งได้หรือไม่ ถ้าแย้งได้ก็มาแย้งดูกัน อาตมาก็อยากรู้เหมือนกัน ว่าเขาจะแย้งว่าอย่างไรจะได้รู้ทิฏฐิ ของเขาบ้าง ก็จะได้สาธยายวิเคราะห์วิจัยกัน ว่าทิฏฐิของคุณกับของเรามันอย่างไร ถ้าเมื่อวิจัยกันเสร็จแล้ว ต่างคนต่างพูดกันไม่รู้เรื่อง ลงกันไม่ได้เลย ก็จบด้วยนานาสังวาส ทิฏฐิของเธอนั้นก็เป็นอย่างหนึ่งและ ทิฏฐิของเราก็เป็นอีกอย่างหนึ่งแล้ว ก็จงดำเนินไปตามที่คุณเห็นของคุณ ที่เราเห็นของเรา ไม่ต้องตีกันไม่ต้องทะเลาะกัน แต่จะสามารถว่ากันได้ ปฏิกโกสนา ว่าของคุณยังผิดอย่างนู้นอย่างนี้ ของเราผิดอย่างนั้นอย่างนี้ เต็มที่เลย มุขสตี ปากหอก ปฏิกโกสนา แต่อย่าไปฟ้องร้องอย่าไปทำร้ายกันเบียดเบียนกันเกินกว่านี้ นี่คือขีดของนานาสังวาสชัดเจน 

อาตมาถูกเถรสมาคมฟ้องร้องคือท่านทำผิดหมดทุกอย่างเลย ไม่ได้รู้เรื่องเลย เอาธรรมยุติกนิกายและมหายุทธมารวมกันตีอาตมา ซึ่งรวมกันไม่ได้ในหลักนานาสังวาส ตอนนี้รวมตัวกันมาตีอาตมาเลย แล้วท่านก็ตายกันไปหลายคนแล้ว เป็นโรคตายไปบ้าง ตายโหงก็มี

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาเปิดตาพญานาคลงสู่การเมืองไทย วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 12 พฤษภาคม 2565 ( 20:28:05 )

นานาสังวาสเกิดจากพุทธวิสัยเป็นอจินไตย ซึ่งเข้าใจได้ยาก!

รายละเอียด

ความรู้สุดยอดเหล่านี้เป็น“ความตรัสรู้”ของพระพุทธเจ้า  เป็น“พุทธวิสัย”

อันเป็น“อจินไตย”สูงสุด ที่คนปุถุชนหรือชาว

“เทฺวนิยม”ไม่สามารถรู้จักรู้แจ้งรู้จริงได้ด้วยตนเองเป็นอันขาด 

ต้องได้ยิน-ได้ฟัง-ได้อ่าน หรือได้รู้จากผู้ที่“รู้”โลกุตระ อันเป็น“พุทธวิสัย”

นี้มาจาก“ผู้ได้เรียนรู้“โลกุตระ”มาก่อนเป็นลำดับๆจึงจะสามารถมี“ปัญญา”เรียนรู้“ฌานวิสัย-กรรมวิบาก-”ได้ “พุทธวิสัย”จึงเป็น“อจินไตย”

ที่ผู้ยังไม่มี“พุทธนิสัย”มากพอ

ที่ถึงขีดเข้าขั้น“วิสัย”ก็ไม่สามารถจะอาจเอื้อมไปรู้จักรู้แจ้งรู้จริง

“พุทธวิสัย”ไปเป็นลำดับต้น-กลางได้เลย

ก็ต้อง“อาสัย”ศึกษาพุทธคุณเพิ่มขึ้นๆไปอีกให้ได้ถึงขีดถึงขั้นเป็นลำดับๆไป “อาสัย-นิสัย-วิสัย”ซึ่งล้วนเป็น“สย”ทั้งสิ้น

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ เปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อ 275 หน้า 216


เวลาบันทึก 02 สิงหาคม 2564 ( 13:42:13 )

นานาสังวาสเกิดจากภูมิรู้ต่างกัน ศีลไม่เสมอกัน

รายละเอียด

อาตมาเองก็ถูกเขาจัดอยู่ในพวกนอกรีต อธิบายนอกธรรมะพระพุทธเจ้า เขาเท่านั้นแหละที่อธิบายธรรมะถูกต้อง อาตมาก็ไม่แย้งไม่เถียงหรอก เขาจะยึดว่าถูก ก็ตามที่เขายึด อาตมาจะไปทำอะไรได้ อาตมาก็ทำสิ่งที่เห็นว่าเขายึดถือของเขาก็เป็นภูมิรู้ของเขา เราก็เป็นสิ่งที่เราเข้าใจเราก็ยึดถืออย่างนี้ มันก็นานาสังวาสกันเท่านั้นเอง แต่เขาจะจัดว่าเราเป็นนิกาย ซึ่งอาตมาไม่ไปทำอนันตริยกรรมแยกนิกายอย่างนั้นหรอก ซึ่งก็เป็นจริงอย่างที่เขาทำอาตมาไม่ได้ทำนิกาย อาตมาทำแค่นานาสังวาส 

ก็ยึดถือไม่เป็นสังวาสเดียวกัน ทำสังฆกรรมร่วมกันไม่ได้ เพราะศีลไม่เสมอสมานกัน ปฏิบัติกันไปคนละอย่างก็เป็นนานาสังวาสกันไม่มีปัญหา 

เพราะฉะนั้นการรู้ การเข้าถึงการปฏิบัติบรรลุในธรรม จึงไม่เสมอสมานกัน ก็ปรากฏจริงอย่างเช่นชาวอโศกปฏิบัติเข้าใจอย่างนี้ ปฏิบัติตามที่เราเข้าใจได้ผลมาอย่างนี้ เป็นอย่างนี้ แตกต่างกันกับทางเถรสมาคม 

เขาก็อาศัยที่เขาได้ เถรสมาคมเขาก็อาศัย เป็นสุข แต่เขาไม่รู้จักสุขทุกข์ที่เป็นโลกุตระที่เป็นอริยสัจ เขาไม่รู้จัก เถรสมาคมไม่รู้จักสุข ทุกข์ ไม่รู้จักอริยสัจ 4 หลงความทุกข์เป็นความสุข ยังวิปลาสกันอยู่ หลงโลกียะ เป็นสิ่งที่น่าได้ น่ามี น่าเป็น ไม่มีโลกุตระ 

เพราะฉะนั้นจึงอาศัยแค่อยู่กับโลกียะ อยู่กับลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข คนอย่างนั้นเขาไม่หมดสุขหมดทุกข์ ไม่รู้จักสุขจักทุกข์ ไม่มีอนัตตา ไม่มีสุญญาตา ไม่มีนิพพาน เถรสมาคม หรือ แม้ว่าจะเป็นพระปฏิบัติก็ตามสายหลับตานั่งไป เสร็จแล้วก็หลงว่าตัวเองหมดภพหมดชาติเป็นอรหันต์ ซึ่งก็เป็นอรหันต์ เก๊ เพราะมันไม่สัมมาทิฏฐิ หรือจนกระทั่งเรียนปริยัติไปกลายเป็นมหายาน ก็หลงตัวเองก็เป็นอรหันต์ได้เหมือนกัน จิตว่าง จิตไม่มีแล้วกิเลสพวกนี้ 

ซึ่งไม่ได้บรรลุเพราะจิตเป็นจริง จิตเข้าถึงธรรมบรรลุธรรมจริง ผู้ที่จะรู้ถึงธรรมจริงบรรลุถึงธรรมจริง ผู้ที่บรรลุแล้วเป็นอรหันต์ได้จริงแต่ไม่มีปฏิสัมภิทาญาณ ก็เอามาอธิบายเอามาสาธยายสู่ผู้คนฟัง ไม่ค่อยได้ ได้ก็อย่างสังเขป อย่างสั้นๆ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 48 อยากหมดอวิชชาต้องเริ่มคบพ่อครูผู้สัตบุรุษ วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม 2565 ที่ บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2565 ( 19:16:07 )

นานาสังวาสเป็นอย่างไร

รายละเอียด

ในการประกาศอิสระเสรีภาพของวันที่ 6 สิงหาคม 2518 มาถึงวันที่ 7 ก็เป็นวันอิสระเสรีภาพวันนี้แหละ ที่อาตมาประกาศตัวเองแยกเป็นนานาสังวาส ตอนนั้นเขาก็ เงอะงะๆกัน วงการศาสนาก็ยังไม่รู้ว่านานาสังวาสเป็นอย่างไร แม้แต่เดี๋ยวนี้ก็ไม่รู้ว่าเขาจะรู้หรือไม่ มันเป็นการอยู่ร่วมกันแต่มีความต่าง นานาแปลว่าแตกต่าง สังวาสแปลว่า อยู่ร่วมกัน เป็นพระธรรมวินัยที่สุดยอดแห่งอิสระเสรีภาพ ที่พระพุทธเจ้าท่านตราเป็นธรรมวินัยเป็นกฎเกณฑ์ของสัจธรรม ที่ให้โอกาสของมนุษย์สุดทางแล้ว มนุษย์ที่มันไม่รู้จะทำอย่างไรด้วยกันได้ ต่างคนต่างเข้าใจว่าต่างคนต่างยึดถือกันแล้ว ทางด้านเถรสมาคมท่านก็ยึดถืออย่างที่ท่านยึดถือ มันเปลี่ยนไม่ได้ อาตมาก็ไม่ได้คิดจะไปเปลี่ยนท่าน เพราะอาตมาเข้าใจอยู่ว่าเปลี่ยนไม่ได้ แล้วอาตมาก็ไม่คิดจะไปเป็นแบบนั้นอย่างท่าน  ท่านให้ศาสนาเป็นอย่างนั้น นอกจากเปลี่ยนไม่ได้แล้วอาตมาก็ไม่อยากให้ศาสนาเป็นอย่างที่เถรสมาคม อยากให้ประชาชนเชื่อเป็นพุทธศาสนิกชนมาเป็นอย่างที่ชาวอโศกเป็น ไม่ใช่เป็นอย่างที่ชาวเถรสมาคมเป็น เพราะฉะนั้นจะเอาทางโน้นมาทางนี้ทำไม อันนั้นเลิกได้ก็ดี เลิกได้แล้วมาเป็นอย่างนี้ก็ดีนี่คือสัจจะ นานาสังวาสเป็นจุดที่ทำให้แสดงความอิสระเสรีภาพได้สูงสุด เอาผิดกันไม่ได้ถือสากันไม่ได้ เพราะถือว่ามันเป็นความสุดวิสัย ของมนุษยชาติ ไปบังคับกันไม่ได้ บังคับด้วยเหตุปัจจัย บังคับด้วยความยึดถือ หรือบังคับด้วยความรู้ ไม่ได้ เขารู้อย่างนั้น เขาเชื่ออย่างนั้น เขายึดถืออย่างนั้นจริงๆ หรือเขาตกกระไดพลอยโจนเป็นอย่างนั้น เขาเปลี่ยนแปลงมาทางนี้ไม่ได้แล้ว เช่น ขณะนี้มีพระภิกษุเถรสมาคมเข้าใจเรา แต่เขา ชาตินี้เขาจำนน เขามาไม่ได้ แต่เขาเข้าใจเรา แล้วเขาก็เอาประโยชน์จากเราได้ อาตมาก็ขออนุโมทนาที่เขาเข้าใจสัจธรรม ท่านผู้นั้นก็จะได้ประโยชน์ไป ส่วนท่านใดที่ยังมีอคติยังดึงดัน เอ็งไม่ถูกหรอกข้าถูก พูดถึงตรงนี้แล้วก็นึกถึง จูฬวิยูหสูตร โอ้โห.. พระพุทธเจ้าตรัสไว้ อาตมาเห็นใจคนอ่าน จูฬวิยูหสูตรที่ 12.ข [519] เล่ม 25 ข [419]  วันนี้ จึงเป็นวันที่อาตมาระลึกถึง ไม่ใช่เรื่องฟื้นฝอยหาตะเข็บ ทุกอย่างมันก็วนเวียนอย่างนี้แหละ เป็นสิ่งที่เอาไว้เตือนใจพวกเราว่า มีสิ่งที่ได้ทำสิ่งที่จริง การประกาศอิสระเสรีภาพ อาตมาไม่ได้ทำเพราะความหยิ่งผยอง ไม่ได้ทำเพราะความอวดดี ไม่ได้ทำเพราะความคะนอง พ่อท่านประกาศลาออกจากการปกครองคณะสงฆ์เถรสมาคม  เมื่อวันพุธ ที่ 6  สิงหาคม 2518  (แรม 14 ค่ำ ด.8 วันโกน)  ขณะกำลังประชุมพระนวกะ ณ ศาลาวัดหนองกระทุ่ม ต.กระตีบ อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม  ซึ่งมีเจ้าคุณพระปฐมนคราภิรักษ์ (ชุณห์ กิตฺติวณฺโณ) วัดวังตะกู  เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม  เป็นประธาน ..พระครูปราการลักษาภิบาล วัดใหม่ปีนเกลียว เจ้าคณะ อำเภอกำแพงแสน  และพระครูปทุมธาดา วัดปทุมทองสุทธา-ราม เจ้าคณะตำบลกระตีบ  เป็นพระเถระผู้ใหญ่ในที่ประชุมพร้อมด้วยพระสงฆ์รวม 180 รูป  พระรัก โพธิรักขิโต พร้อมด้วยสงฆ์จำนวน 21 รูป ประกาศลาออกจากการปกครองในตอนบ่าย (ข้อมูลโดย  พระครูสิริวรรณวิวัฒน์) นี่คือหลักฐานต่างๆ ไม่ใช่เรื่องลึกลับเป็นสิ่งที่จะต้องเป็น ต้องมี 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 04 กันยายน 2563 ( 10:23:08 )

นานาสังวาสแตกต่างจากนิกาย

รายละเอียด

จะขยายความนานาสังวาสกับนิกายให้ฟังเป็นธรรมะที่ลึกซึ้งแล้วเป็นธรรมวินัยที่ยิ่งใหญ่ ผู้ที่ทำนิกาย อย่างที่มีอวิชชา มิจฉาทิฐิหนักจนถึงขั้นอวิชชา คือเห็นกายเป็นคนละกาย 

นิกาย อันที่เป็น พรหมกายหรือธรรมกาย ของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสว่าพระพรหมกายหรือธรรมกายก็ดี มันหมายถึงตัวเราตถาคตนะ อยู่ในพระไตรปิฎกมี แล้วทางธรรมกายเขา เอาไปตีกินว่าเขาเป็นธรรมกายเป็นกายของพระพุทธเจ้า ที่จริงแล้วเขานั่นแหละยอดแย่ยอดนิกายเลย คือธัมมชโย สมีธัมมชโย เป็นสมี 2 ตัวด้วย หมายถึงคนปาราชิกไปแล้ว ต้องไล่ไปให้ไกลจากวงการศาสนาพุทธเลย อย่าให้มาฟัง เพราะมันเสื่อม เดี๋ยวนี้สมีที่ปาราชิกอยู่แล้วก็เอามาคลุกคลีอยู่เละเทะ ซึ่งมันเสื่อมจากธรรมวินัยไม่อยู่ในร่องในรอยของพระพุทธเจ้าเลย ลำบากมาก เค้าไม่เข้าใจคำว่ากายเป็นยอดเดิม 200 ไม่รู้เข้าใจเลย

นิ แปลว่าไม่ คือ ไม่ใช่ธรรมกาย ไม่ใช่พรหมกายของพระพุทธเจ้า มันเป็นกายของ เดียรถีย์ ของซาตาน ของผีนรก มันเป็นเช่นนั้น กาย แปลว่าองค์รวม กายคือ จิตคือมโน คือวิญญาณ ที่เกี่ยวข้องกับภายนอกอยู่ แต่พระพุทธเจ้าท่านเน้นเอาที่จิต มโนวิญญาณ ตถาคตเรียกกายว่าจิตมโนวิญญาณ พระไตรปิฎกเล่ม16 ข้อ 230 

เพราะฉะนั้นพวกที่เขาไม่รู้ เขาไม่เข้าใจเลย อันนี้แหละคือมิจฉาทิฏฐิที่ขอยืนยันว่า เถรสมาคมได้มิจฉาทิฐิจนอวิชชาไปแล้ว ในความเป็นกายและเขาก็ได้ทำนิกายแล้ว เขาก็ได้อนันตริยกรรม ผู้ที่ทำตนเองหรือสงฆ์ของหมู่ตนเอง ให้เป็นหมู่ที่แตกจากธรรมกายหรือพรหมกายของพระพุทธเจ้า เป็นนิกาย นั่นแหละคือผู้ได้ทำอนันตริยกรรมเป็นนรกหนัก เป็นนรกใหญ่นรกลึก โดยที่เขาเข้าใจสมมุติ เข้าใจปรมัตถ์ไม่ได้เลยสับสนไปหมดซับซ้อนด้วย ความซับซ้อนถูกต้องเป็นผิด ผิดเป็นถูกต้องสลับซับซ้อนจนไม่รู้กี่ชั้น เห็นผิดเป็นถูก แต่ละชั้นแต่ละชั้นไป 1 2 3 กลายเป็นทำให้สงฆ์แตกแยกเป็นนิกาย เป็นอนันตริยกรรมข้อที่ 5 ทำให้สงฆ์เกิดความแตกแยก 

อาตมาทำถูกต้องตามพระธรรมวินัยโดยประกาศนานาสังวาสในวันที่ 6 สิงหาคม 2518 ทนอยู่ได้ถึง 5 ปีนะอยู่กับสงฆ์หมู่ใหญ่ แล้วก็เป็นสงฆ์ที่เป็นนิกายเป็นการออกนอกรีตไปแล้ว อาตมาอยู่ด้วยไม่ได้จึงได้ขอประกาศตามธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า 

เสร็จแล้ว ยิ่งสงฆ์หมู่ใหญ่แสดงความจริงออกมาให้เห็นว่าเขาไม่เข้าใจความเป็นนานาสังวาสเขาก็ไม่ ยำเละอาตมาใหญ่เลย ดึงอาตมาเข้าไปอีกทั้งๆที่ ได้ลาออกมาตั้งแต่ 18 อยู่กันดีนะอาตมาก็อยู่มาได้ จนกระทั่งพ.ศ 2525 พันตำรวจตรีอนันต์ เสนาขันธ์ ก็ไปเล่นงานท่านพุทธทาส แล้วก็มาแขวะเล่นงานอาตมาบ้าง เราก็สงสารนะ ตอนแกเข้าคุกก็ยังส่งข้าวส่งน้ำให้แกเลย ขออภัยที่พูดเหมือนรื้อฟื้นบุญคุณ แต่เราเห็นใจเข้าใจ เราไม่ได้ถือสาและอโหสินั้นเราไม่ได้มีอยู่ถือสาไม่ได้ติดใจอยู่แล้ว เขาน่าสงสารด้วย จนกระทั่งแกเขียนเป็นหนังสือออกมาว่าข้าวของท่านมียาง คือขอบคุณนั่นเอง ระลึกถึงบุญคุณพวกเรา ครูหนูนี่แหละเป็นตัวเชื่อมซึ่งครูหนูก็เสียชีวิตไปแล้ว ครูหนูชื่ออำไพ หุ่นตระกูล ช่วยกัน 

จนมา 2532 ทีนี้สมเด็จพุทธโฆษาจารย์หรือมหาประยุทธ์ ท่านเป็นคนเปิดเรื่องเลย ซัดอาตมาใหญ่ โดยไปยึดถืออาตมาผิด จริงอาตมาผิดเพราะยังไม่ได้เข้าใจในพยัญชนะ ไปใช้พยัญชนะสับสนผิดไปจากความจริงไปหน่อย ท่านก็ถืออันนี้เป็นใหญ่เป็นโต ตีอาตมาเละเลย ว่าอาตมาไม่มีความรู้ในสภาวธรรมของโลกุตรธรรมหรือธรรมะของพระพุทธเจ้า ใส่ใหญ่เลย เขียนหนังสือว่าอาตมา มา 3 เล่ม 

เถรสมาคมก็ร่วมกันใส่อาตมาใหญ่เลย ต้องไปอ่านในหนังสือประนีประนอมกันด้วยนานาสังวาสที่อาตมาได้เขียนไว้ เป็นการเอาธรรมวินัยมาขยายความไว้ ว่าเถรสมาคมไม่น่าทำอย่างนี้เลย มันผิดมันเป็นบาป เป็นอกุศลแก่ตัวเองจริงๆ ก็ทำไว้ให้ผู้ที่เขามาศึกษา คนจะได้รับรู้ความจริง ไม่ได้เจตนาจะไปว่าไปด่าเขาหรอก แต่อาตมารักษาความจริง เอาประกาศความจริง มายืนยันความจริงที่มันผิดว่าผิด ถูกว่าถูก ก็ทำออกไปเป็นหลักฐาน 

เสร็จแล้วก็จนป่านนี้อาตมาก็ว่าก็ยังไม่กลับใจ เหมือนอย่างฝ่ายแดงเขาก็กลับใจ จนกระทั่งจะหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นดีเจต้อย จตุพรพรหมพันธุ์ เจ๋งดอกจิก แรมโบ้อีสานก็กลับใจมาหมดแล้ว เดี๋ยวนี้ยกขบวนแดงกลับใจกันมา อาตมาว่าจะหมดเนื้อหมดตัวแล้วนะทักษิณ เพราะว่าผู้ที่เขามาถึงวันนี้แล้วมาไกลแล้ว ทักษิณถูกเขากลับใจออกมา แต่เขาเกรงใจยังไม่ประกาศตัวอีกเยอะ ยังไม่พูดยังไม่ประกาศตัว แต่ก็ไม่เอาทักษิณแล้วมันเป็นพวกเสียงเงียบจะมีอยู่เยอะ แล้วจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ เมื่อเห็นค้านแย้งจากผู้สัมมาทิฏฐิย่อมคือผู้มีบาป วันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม 2566 แรม 8 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 16 พฤษภาคม 2566 ( 13:14:49 )

นานาสังวาสแบบเทวะนิยมไม่เที่ยง

รายละเอียด

และ ถ้าได้ ถูกต้องและได้จริงๆ มันก็เป็นลักษณะของ จิต ที่อาตมา กำลังสาธยายว่านี่แหละคือคุณลักษณะที่วิเศษของศาสนาพุทธ เป็นโลกุตระ ตรงกันไหม ถ้าคุณศุภวรรณ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ฟังอยู่ ไม่ใช่ตรงกันแต่คนละอย่างแตกต่างกัน ที่คุณพูด มันเป็นลักษณะนานาสังวาส มันหยุดพัก ไม่ต้องรบกัน ไม่ต้องเถียงกัน ต่างคนต่างๆกัน นานาสังวาส มันต่างกันแต่อยู่ร่วมกันให้ได้ ในโลกนี้มันมีต่างกันไม่เหมือนกันทีเดียว 

พระพุทธเจ้าท่านรู้เรื่องนี้ จึงเอาเรื่องนี้มา ก็ต่างกันทั้งนั้น แม้แต่เทวนิยม พวกหลับตา พวกที่ไม่ได้เรียนรู้รายละเอียดอย่างสะอาดบริสุทธิ์ ทุกอย่างกระจ่างเปิด เขาต่างคนต่างทำ แต่เขาไม่ได้หยุดจริงหรอก สักวันหนึ่งกิเลสก็ขึ้น ก็ตีกันอยู่ไม่จบ แต่ในชั่วระยะที่เขาต่างคนต่างระงับ ต่างคนต่างอย่าทำกันเลยเป็นมิตรกันก่อน ประเดี๋ยวในอีกอนาคตมันไม่เป็นแล้วมันไม่เที่ยง มันก็ทะเลาะกันก็ตีกันไป เดี๋ยวก็ตกลงสัญญาสงบศึกกันก่อน สงบแล้วก็พัก อีกต่อไปในอนาคตก็รบกันใหม่ หรือในอีกต่อไปหลายรุ่นก็มาตีกันใหม่ มันก็เป็นอย่างนั้นแหละ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 22 ยุคนี้สมาธิชาวอโศกเกิดจากจรณะ 15 วิชชา 8 วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 08 มกราคม 2565 ( 21:57:16 )

นานาสังวาสในอโศก

รายละเอียด

ตกลงอาตมาตอบ คุณจะถือว่าจบด้วยการต้องเป็นนานาสังวาส ก็ได้ คุณก็เป็นนานาสังวาสกลุ่มน้อย ทางนี้ เขาเป็นนานาสังวาสกลุ่มใหญ่ คุณก็อยู่ของคุณ เขาไม่ว่าอะไรเขาก็แบ่งที่ให้คนที่จะเป็นนานาสังวาส คุณก็อยู่แล้วนี่คุณจะต้องการอะไรอีก 

ฝั่งบุญ...อย่างพ่อท่านแยกออกจากมหาเถรสมาคมยังทำได้ อันนี้ก็ไม่ต่างกัน

พ่อครูว่า... ไม่ต่าง เราก็ทำของเรา ฟังเถรสมาคมท่านกระทำของท่านอยู่ ทางเราหมู่ใหญ่ก็ทำอยู่ ตั้งหมู่กลุ่มก็ทำไปสิ ไม่ได้ไปบังคับใครจะเข้ากับหมู่คุณก็ทำสิ 

ฝั่งบุญ...ขอเบิกตังค์ก็ไม่ให้

พ่อครูว่า... ก็นานาสังวาส คุณก็เบิกตังค์ของคณะคุณสิ ทางนี้ก็เบิกตังค์ทางนี้สิ

ฝั่งบุญ...นึกว่า เป็นสาธารณโภคี

พ่อครูว่า... อย่างเราประกาศออกมาแล้วก็เป็นนานาสังวาส คุณจะไปเอาเงินทางเถรสมาคมมาใช้ได้ไหม เขาให้ไหม ก็ไม่ได้

ฝั่งบุญ...ก็อยู่มา 30 ปีตั้งหลักตั้งฐานขอช่วยเหลือเกื้อกูลบ้าง

พ่อครูว่า... ก็ชัดๆ ควรจะเบิกตังค์ ของเถรสมาคมได้ไหม ก็ไม่ได้ เราจะไปขึ้นรถไฟเขาก็ยังเก็บเงินเราเต็มราคาเลย ไม่ให้เรามีสิทธิ์เหมือนทางโน้นเลย แล้วคุณจะมาเรียกร้องเอาทรัพย์ได้อย่างไร คุณถือว่าคุณเป็นนานาสังวาส ถ้าคุณล้มเลิกนานาสังวาสมาอยู่ทางนี้ ก็จบ แต่คุณจะดันอยากเป็นนานาสังวาสคุณก็ต้องรับ 

ถ้าจะอวดดี นานาสังวาสจะแยกไปก็ต้องช่วยตัวเองให้รอด ช่วยไม่รอดคุณก็ตายอย่างเขียดเหยียดขาตาย 

เอาให้ชัด ดี ที่จริง มันก็ไม่น่าจะมีประเด็นอันนี้แถมขึ้นมาก็ดีเหมือนกัน แถมขึ้นมาก็ได้รับเพิ่มเติมชัดเจนขึ้นอีก 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์เปิดงานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหารย์แห่งพุทธ ครั้งที่ 46 พาปฏิญาณศีล 8 วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 15 พฤษภาคม 2565 ( 11:01:59 )

นานาสังวาสไม่ได้

รายละเอียด

เขานานาสังวาสเราไม่ได้ เขาก็ต้องพยายามจัดการเรา จนกว่าเขาจะนานาสังวาสได้ หรือไม่นานาสังวาสแล้ว เอ็งไม่ใช่พุทธ ข้าคือพุทธ เป็นนิกายไปเลยจบ ฉะนั้นคนที่เขาเข้าใจอาตมาว่าไม่ใช่พุทธ อันนี้คือนิกายเป็นอนันตริยกรรม 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปฏิจจสมุปบาท ตอน 3 วันศุกร์ที่ 5 มกราคม 2567 แรม 9 ค่ำเดือนอ้ายปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 08 มกราคม 2567 ( 14:16:34 )

นานาสารพัดกาย

รายละเอียด

กายกลิ สิ่งชั่วช้าอยู่ในกาย , กายกสาวะ ความหมักหมมแห่งกองกาย

กายคตาสติ คือ การใช้สติควบคุมจิตพิจารณากาย

กายกัมมัญญตา  คือ  ความคล่องแห่งกาย, ความเป็นของควรแก่การงานแห่งกองเวทนา สัญญา และสังขาร

กายคันถะ คือกองกิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดกาย

กายปาคุญญตา ความแคล่วคล่องแห่งกองกาย (เวทนา สัญญา สังขาร)

กายมุทุตา คือ ความอ่อนแห่งนามธรรมคือกองเจตสิก (เวทนา สัญญา สังขาร) กายกัมมัญญตา ความเป็นของควรแก่การงานแห่งกองเวทนา, สัญญาและสังขาร

หนังสืออ้างอิง

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 15:06:21 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 07:16:27 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 14:59:08 )

นานาอัตตา

รายละเอียด

คือ อัตตาต่างๆ นานัตตะ ที่นี้มันแยกออกเป็นภาษาไทย

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปิ๋ซี่วิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน2562


เวลาบันทึก 27 พฤศจิกายน 2562 ( 12:44:30 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 07:22:57 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 03:10:31 )

นานาอัตตา

รายละเอียด

คืออัตตาต่างๆ นานัตตะ ทีนี้มันแยกออกเป็นภาษาไทย 

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2563


เวลาบันทึก 26 พฤศจิกายน 2563 ( 09:25:50 )

นาบุญ

รายละเอียด

ทำประโยชน์ตอบแทนแก่โลกคืน ใครไปหว่านพืชหรือหว่านอะไรลงไปที่ท่าน ท่านก็จะงอกผลประโยชน์คืนมายังโลกเสมอ

หนังสืออ้างอิง

จากหนังสือทางเอก ภาค 1 หน้า 191


เวลาบันทึก 12 กรกฎาคม 2562 ( 07:51:32 )

เวลาบันทึก 12 พฤษภาคม 2563 ( 14:17:08 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 15:03:09 )

นาม

รายละเอียด

1. ความรับรู้ , ความรู้สึก, รส 

2. สิ่งที่เรียกว่า อนัตตา คือสัมผัสแล้วก็วางไปตามสภาพนั้น ๆ

3. ตัวที่เข้าไปรู้ เป็นตัวที่เข้าไปยึดอะไรต่ออะไรได้เร็วสุด (ยิ่งเป็นจิตยิ่งยึดอย่างเก่งที่สุด) มีฤทธิ์ มีแรง มีความเก่งได้ตามระดับของมัน ๆ

4. สภาวะธรรมที่เป็นผู้รู้ หรือเป็นตัวรู้ 

5. สภาพตัวรู้ 

6. สิ่งที่รับรู้ได้ 

คำอธิบาย

คือ ธาตุผู้รู้

 

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต ปฐมอโศก ครั้งที่ 71  30 กันยายน  พ.ศ. 2562

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 28, หน้า 59, ทางเอก ภาค 1 หน้า 53, ทางเอก ภาค1 หน้า 53, ทางเอก ภาค 2 หน้า 25, สมาธิพุทธ หน้า 252

 


เวลาบันทึก 12 กรกฎาคม 2562 ( 07:53:50 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 07:20:54 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 15:05:03 )

นาม

รายละเอียด

ธาตุรู้

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 25สิงหาคม2562


เวลาบันทึก 16 พฤศจิกายน 2562 ( 19:27:18 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 07:24:00 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 03:10:58 )

นาม

รายละเอียด

คือ เวทนา  สัญญา   สังขาร  วิญญาณ

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราชฯ วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 27 พฤศจิกายน 2562 ( 12:05:54 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 07:24:48 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 15:04:18 )

นาม

รายละเอียด

คือ สัญญาของเราที่กำลังทำงานกําหนดหมายรู้สภาวะนั้นๆให้ได้ซึ่งก็คือการปฏิบัติพิจารณาธรรมะ 2 ทั้งนั้น

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ คนจนที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1  หน้า 293


เวลาบันทึก 29 ธันวาคม 2562 ( 13:30:42 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 07:25:57 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 15:05:09 )

นาม 5

รายละเอียด

คือ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ 

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎก เล่ม 16 ข้อ 14

หนังสืออ้างอิง

 “คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1 หน้า 73


เวลาบันทึก 09 พฤศจิกายน 2562 ( 12:07:34 )

เวลาบันทึก 30 กรกฎาคม 2563 ( 06:48:25 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 03:11:40 )

นาม 5

รายละเอียด

นาม 5  คือ เวทนา  สัญญา  เจตนา  ผัสสะ  มนสิการ นาม 5 ที่คุณจะต้องใช้ ผู้ปฏิบัติธรรมะไม่ต้องไปท่องพระอภิธรรม  จิต  เจตสิก 89  150  อะไรอย่างนั้น ให้รู้รูป 28 นาม 5 แล้วมาปฏิบัติธรรมะนี่แหละ คือ รูปนามที่จะต้องปฏิบัติ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช  วันพุธที่ 16  ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 22 ตุลาคม 2562 ( 12:59:58 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 05:09:13 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 03:12:19 )

นาม 5

รายละเอียด

นาม 5 คือ เวทนา  สัญญา  เจตนา  ผัสสะ  มนสิการ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ  วันพุธที่ 16 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 22 ตุลาคม 2562 ( 11:56:38 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 05:06:23 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 14:45:30 )

นาม 5

รายละเอียด

คือ เวทนา  สัญญา  เจตนา  ผัสสะ  มนสิการ

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราชธานีอโศก วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 15 ตุลาคม 2562 ( 16:10:19 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 05:11:51 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 15:11:45 )

นาม 5

รายละเอียด

นาม 5  คือ เวทนา  สัญญา  ผัสสะ  มนสิการ หากไม่มีนาม 5  ปฏิบัติเต็มไม่ได้  ต้องมีผัสสะ  สมณะโพธิรักษ์ บอกว่าไปหลับตาไม่มีผัสสะ  ถ้าไม่มีผัสสะ ไม่มีฐานแห่งการปฏิบัติ  มีแต่กิเลสตัณหาเป็นตัวดิ้นรน  ไม่มีที่จะปฏิบัติได้

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต สันติอโศก วันศุกร์ที่4 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 07 ตุลาคม 2562 ( 12:35:20 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 05:12:16 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 14:13:35 )

นาม 5

รายละเอียด

ถ้าคุณไม่รู้จักนาม 5 ไม่รู้จัก เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ เมื่อเกิดเจตนาจึงมีสัมผัส แล้วถึงจะทำงานกับจิตเรียกว่ามนสิการทำใจในใจ จัดการใจ จัดการใจนั่นแหละมาเกี่ยวข้องกับชีวิตทั้งหมดเรียกว่ารูป 28 เริ่มตั้งแต่ดินน้ำไฟลม มหาภูตรูปสรุปไว้หมดแล้ว คือสิ่งที่มีในโลกเป็นดินน้ำไฟลมแล้วก็มีเราที่มีประสาท ทั้ง 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วมาทำงานกระทบสัมผัสใจเป็นตัวกลางเป็นตัวรู้ ก็จะมีตาหูจมูกลิ้นกายกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สัมผัสทางภายนอก เพื่อให้ใจเป็นตัวกำหนดรู้ แล้วมันก็ร่วมอยู่กันหมดทั้ง 5 ทวาร ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป  รส  กลิ่น  เสียง  สัมผัส ใจอยู่ร่วมกับ 5 คู่นี้ ท่านก็เลยเรียกสิ่งนี้ว่ามันมีอยู่ 9 เพราะมันมีใจร่วมอยู่ในโน้น อยู่ซ้อนอยู่กับผัสสะ ซ้อนอยู่กับกาย กับโผฏฐัพพะ เห็นความเป็นของพระพุทธเจ้าไหม พวกเรียนอภิธรรมจะงงว่าทำไมมีอยู่ 5 คู่เป็น10และทำไมบอกว่ามีแค่ 9 ซึ่งมันซ้อนอยู่ที่กายหรือ โผฏฐัพพะ ตาหูจมูกลิ้นกายแล้วก็มีโผฏฐัพพะ กายมันมีทั้งนอกและใน กายมันมีทั้งรูปและนาม เพราะฉะนั้นความผิดเพี้ยนความเสื่อมไปในความรู้เสื่อมไปจนถึงทุกวันนี้ศาสนาพุทธโดยเฉพาะคำว่ากาย มันไม่มีนามแล้ว มันมีแต่มหาภูตรูป มันไม่มีความรู้สึกเลย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน 2563


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 14:58:05 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 07:27:05 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 15:07:06 )

นาม 5

รายละเอียด

มีนาม 5 มาจัดการ คือ1.เวทนา 2.สัญญา 3.เจตนา 4.ผัสสะ 5.มนสิการ ในตัวเราต้องมีนาม 5 เรียนรู้ประพฤติด้วยผัสสะ ด้วยมนสิการ หากไม่มีผัสสะปฏิบัติล้มเหลวโมฆะจากศาสนาพุทธ คนหลับตาในภพไม่มีผัสสะ 6 ก็โมฆะจากศาสนาพุทธ เขาไม่รู้เรื่อง เหมือนฆ่าด้วยหอกร้อยเล่ม เช้า เที่ยง เย็น ก็ไม่ตาย เขาก็ยังมีวิญญาณดื้อด้าน ฆ่าหรือทุบหัว สอนให้มารู้จักรูปนาม วิญญาณ ให้ปฏิบัตินาม 5 รูป 28 ตีไม่แตก จมอยู่อย่างนั้นตลอดกาลนาน มันน่าสงสารคนเหล่านี้ ใช้นาม 5 โดยมีผัสสะ แล้วมนสิการใจเราเป็น รู้เวทนาเป็นตัวหลัก แล้วมีสัญญาใช้กำหนดชัดเจน เป็นตัวทำงาน กำหนดรู้รูปนาม นอกใน อัตตา กิเลส มรรคองค์ 8 โพธิปักขิยธรรม ที่จะล้างกิเลส สัญญาเป็นตัวกำหนดรู้ทั้งนั้น สัญญาตัวสำคัญมากที่จะพัฒนาเป็นปัญญา ก็ทำงานกันไป สัญญาเป็นตัวทำงาน ปัญญาเป็นตัวประธานความรู้ ก็กำหนดรู้ รูปนามวิญญาณ กำหนดรู้ทุกอย่าง แล้วก็มาสร้างความสงัด เรียกว่าวิเวก ไปตามลำดับ วิเวก 3ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ใน คุหัฏฐกสุตตนิทเทส ชาวพุทธทุกวันนี้เป็นผู้ที่ไกลจากวิเวก เพราะข้องในถ้ำ 

ที่มา ที่ไป

วิถีอาริยธรรมบ้านราช วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 19 มกราคม 2563 ( 13:35:19 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 05:07:25 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 14:10:50 )

นาม 5

รายละเอียด

คือสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง เป็นภาวะของตัวที่เข้าไปรู้ คือ

1. เวทนา (ความรู้สึกรับรู้)

2. สัญญา (ความกำหนดหมาย , ความจำ)

3. เจตนา (ความจงใจ , ความมุ่งหมาย)

4.ผัสสะ (ความกระทบสัมผัส)

5.มนสิการ (ความทำใจในใจ)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 16  "พุทธวรรค"  ข้อ  4

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก, ค้าบุญคือบาป หน้า 244- 245

 


เวลาบันทึก 21 มิถุนายน 2562 ( 13:40:59 )

เวลาบันทึก 30 กรกฎาคม 2563 ( 06:49:16 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 15:07:05 )

นาม 5

รายละเอียด

นาม 5 เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ ในพระไตรปิฎกเล่ม 16 วิภังคสูตร สูตรแรก หากไม่มีนาม 5 ปฏิบัติธรรมครบ ไม่มีรูป 28 ทั้งดินน้ำไฟลมและอุปาทายรูป 24 คุณปฏิบัติอย่างไรก็ไม่ได้เป็นพระอรหันต์ แยกไม่ออกไม่เข้าใจ แล้วคุณจะรู้จักกิเลสและไม่เป็นกิเลสได้ครบบริบูรณ์ได้อย่างไร พระพุทธเจ้าจึงยกให้ว่าดับอาสวะบางอย่าง ยิ่งไปนั่งหลับตาปิดทวาร 5 จะได้กี่อย่างกันภายใน

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม2562


เวลาบันทึก 17 ธันวาคม 2562 ( 20:04:06 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 05:08:18 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 15:08:28 )

นาม 5

รายละเอียด

นาม 5 เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ เป็นนามหลักเลยที่จะใช้ในการศึกษาเรียนรู้กระบวนการของจิต รูปนั้นมีกระบวนการ 28 แต่ว่านามนั้นมี 5 มีเวทนา สัญญา เจตนาผัสสะ มนสิการ ในเล่ม16 ข้อ 14  นาม 5 เป็นตัวชี้บ่งชัดเจนว่า ถ้าเผื่อว่านักปฏิบัติธรรม ไม่มีกระบวนการ 5 นี้ โมฆะจากศาสนาพุทธ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 15 มีนาคม 2563 ( 11:18:38 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:40:04 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 15:09:00 )

นาม 5

รายละเอียด

นามมี เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ เพราะฉะนั้น ถ้านามธรรมนี้ไม่มี 5 ตัว นี้นะ เช่น คุณไม่มีผัสสะ ไม่มีที่ตั้งของการทำงาน ใน พรหมชาลสูตรท่านตรัสไว้ชัดเจน ไม่มีผัสสะภายนอกภายในโดยเฉพาะไม่มี กาย คุณก็มีแต่ภายในของคุณ อยู่ในปภวะหรือสัมภวะ สัมภเวสี มีเวทนากับสัญญา แม้ว่าคุณจะมีเจตนาแต่ไม่มีผัสสะ คุณก็ทำใจในใจมนสิการของคุณแบบนึง พวกที่นั่งหลับตาไม่มีผัสสะ เขาก็จะทำใจในใจของเขาแบบนั้น อย่าง สายนั่งหลับตาทั้งหมด มหาบัว อาจารย์มั่น สายหลับตาทั้งหมด ไม่มีผัสสะตัวเดียวนี่แหละ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 60 ยากที่สุดในโลกนี่แหละคือความเป็น 2 วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 16 ธันวาคม 2565 ( 11:17:26 )

นาม 5

รายละเอียด

นาม 5 เวทนา  สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ อาตมาพูดนี้ไม่ใช่แค่มีภาษา แต่ต้องมีสภาวะจริงด้วย มนสิการต้องมีผัสสะ พวกไปหลับตาไม่มีผัสสะ เป็นโมฆะ มนสิการขยำขี้นั่งอยู่กับอดีตและอนาคตไม่มีของจริงสักอย่าง 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ศีลกับอปัณณกปฏิปทา 3 ในวิชชาจรณะ วันศุกร์ที่ 13 มกราคม 2566 ที่บวรสันติอโศก  


เวลาบันทึก 17 มกราคม 2566 ( 13:02:56 )

นาม 5 คืออย่างไร

รายละเอียด

ในจิตมีเวทนา  สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี่คือนาม 5 คุณรู้กำหนดหมายความเป็นเวทนาได้ไหม โดยเฉพาะสัญญากำหนดรู้สัญญาตัวเองได้ไหม ทำไมท่านให้ศึกษา 5 อันนี้ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ เพราะฉะนั้นตัวนาม 5 นี้เป็นตัวกำหนดชัดเจน ว่าคุณต้องมีผัสสะ ต้องรู้จักการมนสิการ ต้องรู้จักการทำใจในใจได้ ถ้าไม่มีผัสสะ ไม่มีมนสิการคุณปฏิบัติธรรมของพุทธไม่ได้ นามมันไม่มี 5 มันต้องมี 5  มีผัสสะมีมนสิการแล้วก็มาเรียนรู้เวทนา สัญญา เจตนา เพราะในเวทนามีสัญญาเป็นตัวสำคัญในการกำหนดรู้ คุณต้องใช้สัญญาเป็นสัญญากำหนดรู้เวทนาในเวทนา รู้ว่าในเวทนานั้นมีอกุศลเจตนา เป็นเจตสิกที่เป็นกิเลสอยู่ในเวทนา ก็จัดการตัวนี้ มโนสัญเจตนา 3 มันเป็นกาม เป็นภพ เป็นวิภวตัณหา ไปตามลำดับ กำจัด กาม ภว คือรูป อรูป ก็หมดภพ จบเลย

ที่มา ที่ไป

เทศน์ ทวช. วันเสาร์ที่ 7 เมษายน 2561


เวลาบันทึก 28 กุมภาพันธ์ 2564 ( 12:03:50 )

นาม 5 ทำอย่างไร

รายละเอียด

ใช่ ในนาม 5 มี เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ ใช้งานมากร่วมกับรูป 28 พระพุทธเจ้าได้อธิบายให้ฟัง  แต่ทุกวันนี้บกพร่องไปแล้วใช้ไม่เป็น เอาไปปฏิบัติไม่ได้ ใน นาม 5 สัญญา เป็นตัวทำงานหนัก กำหนดรู้เวทนา กำหนดรู้เจตนา แล้วจะรู้เวทนาได้จะต้องมีผัสสะ จะทำใจในใจได้ ก็จะต้องมีเวทนา เมื่อมีเวทนาแล้วคุณก็ทำกับเวทนา ในเวทนานี้แหละมันปรุงแต่งเป็นสุขเป็นทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ก็ตามในเวทนา 3  ในเวทนานี้ มันมีสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี หรือไม่สุขไม่ทุกข์ที่ยังอวิชชา แบบเคหสิตเวทนา มันเฉยได้เหมือนกัน แต่เอาไว้ก่อน มันมีความสุขทุกข์โลกีย์อย่างไรก็รู้ เราก็เรียนรู้ว่าความสุขความทุกข์มันเป็นอันเดียวกัน มันเป็นมายาหลอกเราว่าเป็นความสุข คุณไม่ได้ศึกษาความทุกข์ ความทุกข์มันเป็นมายาหลอกให้คนหลงความสุข คุณควรรู้ว่าความทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป แท้จริงแล้วความทุกข์มันเป็นตัวชักใยความสุขอยู่ เป็นตัวการหมด พระพุทธเจ้าถึงให้ฆ่าความทุกข์ให้ตาย เมื่อฆ่าความทุกข์ให้ตาย ความสุขก็หมด ไม่มีตัวชักใยมันก็ตาย 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 20 กันยายน 2563 ( 11:51:32 )

นาม 5 ประการ

รายละเอียด

เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นาม 5 นี่แหละ พระไตรปิฎกเล่ม 16 ข้อ 14 สภาวะ 5 นี้แหละเวทนาสัญญาเจตนา เป็นนามธรรมตัวแท้ที่จะต้องเรียนรู้โดยมีสัญญาเป็นตัวกำหนดเข้าไปทำการเลย ตั้งแต่การกำหนดรู้ สำคัญมั่นหมายในสิ่งที่มันเป็นอย่างนั้นกำหนดสิ่งที่เป็นตัวการปฏิบัติ สัญญา อ่านเวทนา พออ่านเวทนาได้แล้วเจาะเวทนา ในเวทนาจะมีตัณหา มีผัสสะแล้วมีเวทนามีตัณหา ตามปฏิจจสมุปบาท ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ตัณหาเป็นตัวเคลื่อนที่เป็น Dynamic ส่วนอุปาทานเป็นกิเลสตัวคงที่ static เท่านั้นเอง อ่านตัวนิ่งอ่านยาก อ่านตัวตัณหาทำลายตัณหาก็หมดอุปาทานไปด้วย มันจะหมด มันจะเข้าใจไปเรื่อยๆ ไม่ใช่เป็นตัวปฏิบัติจะเป็นตัวผลของการปฏิบัติ ตัดตัณหาได้อุปาทานก็ลดลงๆๆ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 28 กุมภาพันธ์ 2563 ( 10:17:26 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 07:28:09 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 14:11:25 )

นาม 5 รูป 28 พระอภิธรรมเขาไม่ได้เรียนนะ นาม 5 เขาเรียน แต่รูป 28 เขาไม่ได้เรียนและไม่รู้ที่ทำ

รายละเอียด

นาม 5 รูป 28 พระอภิธรรมเขาไม่ได้เรียนนะ นาม 5 เขาเรียน แต่รูป 28 เขาไม่ได้เรียนและไม่รู้ที่ทำ เขาไปรู้เจตสิกย่อยๆเลย เขาจะไม่ทำจนเกิดผลได้ผลเป็นหมู่มวลมนุษยชาติอยู่ร่วมกันด้วยสาราณียธรรม 6 เป็นหมู่มิตรสหายดีสังคมสิ่งแวดล้อมดี ล้วนแต่เป็นคนที่มีความยินดี ไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของโลกก็แล้วแต่จะรวมกันอยู่ที่นี่ มีสถานที่ที่เป็นสัปปายะ 4 มีบุคคลมิตรสหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี มีอาหารมีเครื่องอาศัยครบพร้อม มีธรรมะสัปปายะ 4 ต้องอยู่อย่างนี้ชัดเจนอย่างนี้ เข้ามาแล้วก็จะต้องมีศีล อย่างน้อยศีล 5 มีศีลแล้วก็จะต้องเรียนรู้อัตตาสภาวะของอัตตาคืออะไร 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน 2563


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 15:42:19 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 05:06:56 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 14:12:46 )

นาม 5 เป็นตัวปฏิบัติตามปฏิจจสมุปบาทอย่างไร

รายละเอียด

ใช่ ถ้ารู้ว่านาม 5 นี่คือ นามคืออะไร รูปคืออะไร รูป 28 นาม 5 จบ เขาไม่พูดถึงเลย พวกนั่งหลับตา เขาไม่พูดถึงเลย ไม่พูดถึงนาม 5 เลย ไปพูดถึงจิตเจตสิก  89  121 อะไรไปโน่นเลย ไปเอาตัวที่มันเป็นตัวผล ตัวที่เขาแยกสำเร็จไปเอามา ไอ้ตัวนาม 5 ที่เป็นตัวปฏิบัติตามปฏิจจสมุปบาท ที่ท่านตรัสไว้ ไม่พูดถึงเลย ไอ้เราก็เพิ่งมารู้ใน ปฏิจจสมุปบาทของพระพุทธเจ้า นาม 5 ที่พูดไว้ อ๋อ มี เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี่เอง โอ้โห ชัดเจนเลย คุณต้องทำใจในใจด้วยผัสสะ ด้วยผัสสะ แล้วคุณต้องมีเจตนา เจตนา 3 กาม มโนสัญเจตนา มีกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ไง  และคุณก็ต้องจัดการกับ กามตัณหา ภวตัณหาไป ก็หมด วิภวตัณหาเป็นตัณหาแบบวิมุติ

ที่มา ที่ไป

สื่อธรรมะพ่อครู(ปฏิจจสมุปบาท) ตอน การใช้นาม 5 ให้เกิดสัมประสิทธิ์

วันที่ 14 กรกฎาคม 2561


เวลาบันทึก 01 มีนาคม 2564 ( 15:17:46 )

นาม 5 ใช้ในกรรม คิดพูดทำ

รายละเอียด

กรรมในการพูด การทำ การคิด เอานาม 5 ไปใช้ บทต้นคือเวทนา บทสองคือสัญญา บท 3คือเจตนา บท 4คือผัสสะ บท 5 คือ มนสิการ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 29 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 12 กุมภาพันธ์ 2563 ( 17:56:22 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 05:08:44 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 03:12:39 )

นามกาย

รายละเอียด

1. อารมณ์ในจิต 

2. องค์ประชุมในความเป็นนาม

3. องค์ประกอบที่ยังประชุมกันอยู่ของจิตวิญญาณ

4. องค์รวมอยู่ในใจที่หมายเน้นเข้าไปหากายวิญญาณภายในยิ่ง ๆ ขึ้นจนถึงที่สุดของภายใน 

5. ความเป็นรูปของนามธรรมหรือนามธาตุ

6. องค์รวมหรือองค์ประกอบของนามกับนามโดยเฉพาะ เป็นการเน้นหนักในข้างฝ่ายนาม 

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 200, รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 202, เปิดโลกเทวดา หน้า 184, ค้าบุญคือบาป หน้า 147, หน้า 181, หน้า 194, หน้า 222

 


เวลาบันทึก 12 กรกฎาคม 2562 ( 07:58:43 )

เวลาบันทึก 12 พฤษภาคม 2563 ( 14:19:53 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 15:10:58 )

นามขันธ์

รายละเอียด

1. สิ่งที่แปรปรวนง่ายกว่ารูปโดยจริง 

2. ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ 

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 282

คนคืออะไร? หน้า 60


เวลาบันทึก 12 กรกฎาคม 2562 ( 07:59:51 )

เวลาบันทึก 12 พฤษภาคม 2563 ( 14:20:43 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 14:14:12 )

นามขันธ์ทำงานอย่างไร

รายละเอียด

จากคำกล่าวของพ่อครูข้างต้น เวทนา_สัญญา_สังขาร = วิญญาณ 4 อย่างนี้คือนามขันธ์ เวทนาก็คือความรับรู้ รับรู้สึกแล้วก็จดจำ ก็เป็นสัญญา แล้วกำหนดหมายเอาไว้  แล้วก็นำมาปรุงแต่ง เพิ่มเติมขึ้นไปอีก ก็เป็นสังขาร ว่าสิ่งนั้นน่าพอใจหรือไม่น่าพอใจ ตัวเองมีเจตนามีความรู้ น่าพอใจก็เอา ไม่น่าพอใจก็ไม่เอา ที่ไม่น่าพอใจก็หลายอย่าง บางทีมันคงไม่อยู่อย่างนี้ อนิจจังหรือมันต้องฝืนหนักเกินลำบากก็ตัดออก ทีนี้ ตัวที่รับรู้รับรสพวกนี้มาจากที่มันปรุงแต่ง สังขาร ตัวรับรู้รับรสเป็นเวทนา จากการปรุงแต่ง เช่นว่าอันนี้พริก อันนี้บีทรูท เป็นต้น

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 14 มกราคม 2561


เวลาบันทึก 13 กุมภาพันธ์ 2564 ( 11:02:34 )

นามธรรม

รายละเอียด

คือ สิ่งที่อธิบายได้ยาก จิตวิญญาณเป็นนามธรรม กิเลสเป็นนามธรรม เราก็ต้องรู้กิเลส ให้จริงแล้วทำให้กิเลสลด ให้มันจางคลายมันหายมันดับไป เราก็ยืนยัน ก็รู้ เข้าใจมาจนถึงปัญญามีสัญญา เป็นธาตุรู้ที่ใช้คู่กันอย่างสำคัญ

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม2562


เวลาบันทึก 07 พฤศจิกายน 2562 ( 13:38:31 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 08:03:37 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 14:15:05 )

นามธรรม

รายละเอียด

1. อารมณ์ที่ปรุงเป็นรสชาติในจิตซ้อนอยู่กับรูปจิต หรืออรูปจิต

2. จิต , ความรู้ – รู้สึกของตนเองในตนเองและเห็นเองในความรู้สึกของตนเอง 

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 227

ค้าบุญคือบาป หน้า 290


เวลาบันทึก 12 กรกฎาคม 2562 ( 08:06:52 )

เวลาบันทึก 12 พฤษภาคม 2563 ( 14:21:32 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 14:15:37 )

นามธรรมกลับไปกลับมาไม่ตายตัว

รายละเอียด

เพราะมันพูดกลับไปกลับมาได้ทันทีทันใดเลย ผู้ใดไม่แม่นจริงๆจะมองแล้วสับสน ต้องศึกษาให้ดีถึงจะจับสภาวะได้แม่น ผู้พูดที่พูดกลับไปกลับมาพูดเร็วโดยไม่ได้อธิบายซ้ำซ้อนมันก็น่ารำคาญ ถ้าหากอธิบายซ้ำ มันไม่เก่งเหมือนพระพุทธเจ้าที่ท่านตรัสสอนละเอียดซ้ำแล้วซ้ำอีกมันจึงไม่สับสน แต่คนเรามันใจไม่เย็นเท่าพระพุทธเจ้าก็พูดไว้อย่างละไว้ในฐานที่เข้าใจ ปุ๊บปั๊บ เมื่อเป็นนามธรรมแล้วมันจะกลับไปกลับมา ถ้าหากเอารูปที่เป็นวัตถุข้างนอกมันจะไม่กลับไปกลับมา รูปนั้นมันตายตัวมันมาเป็นเวทนาไม่ได้ มันเป็นอุตุก็คืออุตุแล้ว แต่นามที่ยังเป็น กึ่งนามกึ่งรูป เดี๋ยวก็เป็นตัวรู้เดี๋ยวก็เป็นตัวถูกรู้ เมื่อไหร่จะหยิบมาพูด ผู้พูดเจตนาจะหมายถึงตัวใดที่จะต้องชัดเจน ปัญญาตัวนี้จะต้องแหลมคมแม่นเป็นอุตุธาตุจริง หากไม่มีภูมิรู้จะสับสนกำหนดผิด จะไปกันไม่รอด ศึกษาให้ดีจะเกิดมุทุภูตธาตุ เป็นจิตที่ละเอียดเร็วไวและเร็วมากที่สุด sensible รู้สถานะก็เร็วเปลี่ยนสถานะก็เร็ว มันจัดการเปลี่ยนสถานะตัวเองได้เร็วด้วย รู้ก็ชัดเจนตามรู้ตามเห็นความเข้าใจไวเร็วด้วย 

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 05 เมษายน 2563 ( 11:10:48 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:40:53 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 14:16:50 )

นามธรรมประกอบกับรูปเรียก อุปาทายรูป

รายละเอียด

ศาสนาพุทธเรียนรู้จิตเจตสิกแล้วเรียนรู้รูป แล้วสร้างนาม พัฒนานาม จิตนิยาม ก็มีรูปที่ถูกรู้ ตั้งแต่ มหาภูตรูป 4 ดินน้ำไฟลม ซึ่งใครๆก็ต้องรู้ ถ้าใครไม่รู้รูปทั้ง 4 แล้ว แล้วนามธรรมประกอบกับรูป เรียก อุปาทายรูป อีก 24 แล้วจะไปรู้ได้อย่างไร ทีนี้ คนที่เรียนผิด ไม่มีรูปข้างนอกไม่มีกาย ก็ปิดประตูอีกเหมือนกัน อุปาทายรูป 24 คุณไม่มีสิทธิ์รู้ ตั้งแต่เริ่ม อุปาทายรูป 24 ข้อแรก

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ เรียนรู้สภาวะของรูป 28 สู่ความเป็นอรหันต์ วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 04 สิงหาคม 2565 ( 19:10:31 )

นามธรรมละเอียดลึกซึ้งในเหตุปัจจัยต่างๆ 

รายละเอียด

อาจเป็นลำคลองที่ไปบรรจบกัน มันเป็นเรื่องยาก เป็นอจินไตย เป็นเรื่องที่เดาไม่ได้ เป็นเรื่องลึกซึ้งซับซ้อนมีเหตุปัจจัยของมันแต่ละเหตุปัจจัย อยู่ๆจะเกิดโดยไม่มีเหตุปัจจัยไม่ได้ มันละเอียดลึกซึ้งในเหตุปัจจัยต่างๆ 

พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสถึงปฏิจจสมุปบาท 11 สภาพ มันก็หยาบเยอะแล้ว แต่คนก็ยังตามเรียนไม่ได้ ละเอียดเกินจะเข้าใจ เพราะเป็นนามธรรม  สังขาร วิญญาณ นามรูป อายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา ภพ ชาติ ชรา มรณะ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาอย่างอวดตัวแต่ถ่อมตน ด้วยความจริง วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2564 แรม 7 ค่ำ เดือน 12 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 30 พฤศจิกายน 2564 ( 21:23:56 )

นามธรรมในอักขระ

รายละเอียด

ฝ่ายเจโต (หรือ รูป)

                    ฝ่ายปัญญา (หรือ นาม)

ก   ข   ค   ฆ   ง 

                      จ   ฉ   ช   ฌ  ญ

ฏ   ฐ   ฑ  ฒ   ณ

                      ต   ถ   ท   ธ   น

ป   ผ   พ   ภ   ม

 

ย   ร    ล   ว

ส   ห   ฬ   อํ 

                       อะ-อา   อิ-อี   อุ-อู 
                       เอ  โอ

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 15:24:13 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 08:11:51 )

นามรูป

รายละเอียด

1. ความเป็นรูปของนามธรรมหรือนามธาตุ

2. นามเมื่อถูกรู้  เป็นนามกับรูป ไม่ใช่รูปกับรูป

3. ภาวะของนามที่ถูกรู้(เป็นรูป)อยู่ภายในจิตตนเอง รู้ตนเองอยู่ในภายใน

หนังสืออ้างอิง

จากค้าบุญคือบาป หน้า 194 , 212 ,221

 


เวลาบันทึก 12 กรกฎาคม 2562 ( 08:07:49 )

เวลาบันทึก 12 พฤษภาคม 2563 ( 14:22:36 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 15:12:30 )

นามรูป

รายละเอียด

จะสลับไปสลับมา รูปที่เราจัดการ มีตั้งแต่ดินน้ำไฟลมภายนอก เป็นเหตุปัจจัยเข้ามาปรุงแต่งกันอยู่ภายใน แล้วเราก็มาหาภายในก็คือตัวนาม สิ่งที่ถูกรู้ภายในเรียกมันว่า รูป สิ่งที่ถูกรู้คือรูป นามที่ไปรู้ซ้อนคือนามที่ลึกเข้าไปอีก เป็นภูมิธรรมปัญญาธาตุรู้ลึกซึ้งขึ้นเรื่อยๆ ก็สลับไปสลับมา ก็ไปเป็นตัวใหม่ ตัวที่ถูกรู้แล้วก็เจริญพัฒนาขึ้นมาเราก็ไปเป็นตัวรู้ขึ้นมาใหม่อีก นามจะไปรู้ตัวใหม่อีก ตัวใหม่ที่ถูกรู้มันก็จะเป็นรูปอีก ไปเรื่อยๆสลับไปสลับมา ลักษณะพวกนี้ไม่ใช่เรื่องที่จะรู้กันได้ง่ายๆไม่เข้าใจกันได้ง่ายๆ อาตมาอธิบายในหนังสือ “คนคืออะไรทำไมสำคัญนัก” การสลับ รูปเป็นนาม นามเป็นรูป คนตามได้ยาก แต่ก็ไม่รู้ว่าทำไมมันต้องเขียนต้องอธิบาย อธิบายไปถึงตรงนี้ก็แล้วแต่ภูมิ หลายคนหาว่าอาตมาผิด นามก็นามสิ รูปก็รูปสิ นามจะกลายเป็นรูปได้อย่างไร เขาเข้าใจไม่ได้หากวิญญาณไม่ปรากฏไม่มีนามรูปให้ศึกษา ชาติ ชรา มรณะ ก็ไม่ปรากฏ 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 15 กุมภาพันธ์ 2563 ( 17:08:44 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 08:14:40 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 14:17:21 )

นามรูป

รายละเอียด

คือสิ่งที่รู้กับสิ่งที่ถูกรู้

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 16 กุมภาพันธ์ 2563 ( 08:58:43 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 08:15:21 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 14:17:47 )

นามรูป

รายละเอียด

นามรูป คือกาย กายคือนามรูป และ สำคัญที่นามแต่ไม่ขาดรูป กายเป็นภาวะ 2 อย่าง มีภายนอกกับภายในไม่ขาดกัน ผู้ใดเข้าใจคำว่ากายไม่ได้ โดยไปเรียนศาสนาพุทธผู้ที่มาบวชมาศึกษาแล้ว พระพุทธเจ้ามีพระวินัยข้อต้นให้พระอุปัชฌาย์ต้องสอนพระบวชใหม่ให้แยกกายแยกจิตให้ได้ ถ้าหากแยกกายแยกจิตยังไม่สัมมาทิฏฐิ ก็อย่ามาบวชเลย บวชก็โมฆะ ท่านก็ให้พิจารณาวัตถุ คือผมขนเล็บฟันหนัง ผม ก็แยกได้ เมื่อใดเป็นกาย เมื่อใดไม่เป็นกาย เมื่อใดเป็นจิต เมื่อใดเป็นพีชธาตุ 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 05 มีนาคม 2563 ( 13:37:01 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:41:45 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 14:18:34 )

นามรูป

รายละเอียด

นั่นคือคุณเข้าใจนามรูปไม่ได้ นามคือชีวะ คือธาตุรู้ รูปที่ถูกรู้เป็นสภาวะของสสารพลังงานนั้น เป็นดินน้ำไฟลม คุณแยกดินน้ำไฟลมรวมกับวิญญาณไม่ออก คุณแยกแค่มหาภูตรูป 4 กับอุปาทายรูปอีก 24 คุณแยกไม่ได้ คุณไม่รู้เรื่อง คนที่พูดนี้ เขาแยกไม่ออกนามกับรูปเขาก็แยกไม่ออก พลังงานสสารกับนามธรรมก็แยกไม่ออก 

พลังงานกับสสารเป็นคู่หนึ่งของรูป นามธรรมคือชีวะ และพระพุทธเจ้าก็แยกชีวะเป็น พีชะ แยกเป็นจิตนิยาม ส่วนอุตุ คือ พลังงานกับสสารแท้ๆคุณแยกพลังงาน อุตุนิยาม พีชนิยาม จิตนิยามได้ไหม หากแยกไม่ออกก็ไม่สามารถ ปรินิพพานเป็นปริโยสานได้ 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 10 ออกจากกาละได้โดยใช้ มูลสูตร10 และวิญญาณฐิติ 7 วันจันทร์ที่ 23 มกราคม 2566 ขึ้น 2 ค่ำเดือน 3 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 16 กุมภาพันธ์ 2566 ( 12:35:39 )

นามรูป 33

รายละเอียด

นามรูป 33

   ก็คือนาม (ตัวที่เข้าไปรู้) และรูป (สิ่งที่ถูกรู้)  เกิดเพราะวิญญาณ (ความรับรู้)เป็นปัจจัย (เหตุ)

-นาม 5

   คือตัวผู้รู้ หรือสภาวะที่เข้าไปสัมผัสกับรูปนั้น ๆ  นามเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่อาจรู้ได้ด้วยตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย แต่ รู้ได้ด้วยใจ

1. เวทนา (ความรู้สึก)

2. สัญญา (ความกำหนดหมาย  ความจำ)

3. เจตนา (ความจงใจ  ความมุ่งหมาย)

4. ผัสสะ (ความกระทบสัมผัส)

5. มนสิการ (ความทำใจในใจ)

คือสิ่งที่ถูกรู้ หรือสภาวะที่นามเข้าไปรู้สิ่งนั้น  รูปเป็นวัตถุภายนอกที่มีรูปร่างก็มี เป็นจิตภายในที่ไม่มีรูปร่างก็มี  ได้แก่

มหาภูตรูป 4   คือรูปที่เป็นวัตถุภายนอก 

1. ปฐวีธาตุ (ธาตุดินที่มีสภาวะแค่นแข็ง)

2. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำที่มีสภาวะเอิบอาบ)

3. เตโชธาตุ (ธาตุไฟที่มีสภาวะร้อน)

4. วาโยธาตุ (ธาตุลมที่มีสภาวะเคลื่อนที่)

     - อุปาทายรูป 24 คือรูปที่อาศัยเกิดจากมหาภูตรูป :-

     ก) ปสาทรูป 5 (รูปที่มีประสาทเป็นตัวรับรู้อารมณ์) ได้แก่

1. จักขายตน ะ(ตามีประสาทตาเป็นภาวะเชื่อมต่อกับสิ่งที่ถูกรู้)

2. โสตายตนะ (หูมีประสาทหูเป็นภาวะเชื่อมต่อกับสิ่งที่ถูกรู้)

3. ฆานายตนะ (จมูกมีประสาทจมูกเป็นภาวะเชื่อมต่อกับสิ่งที่ถูกรู้)

4. ชิวหายตนะ (ลิ้นมีประสาทลิ้นเป็นภาวะเชื่อมต่อกับสิ่งที่ถูกรู้)

5. กายายตนะ (กายมีประสาทผิวหนังเป็นภาวะเชื่อมต่อกับสิ่งที่ถูกรู้)

     ข) โคจรรูป หรือ วิสัยรูป 4 (สภาพเป็นอยู่ของรูปที่ถูกรู้)

6. รูปายตนะ (รูปที่ถูกสัมผัสเชื่อมต่อกับตัวรู้)

7. สัททายตนะ (เสียงที่ถูกสัมผัสเชื่อมต่อกับตัวรู้)

8. คันธายตนะ (กลิ่นที่ถูกสัมผัสเชื่อมต่อกับตัวรู้)

9. รสายตนะ (รสที่ถูกสัมผัสเชื่อมต่อกับตัวรู้)

(หมายเหตุ...โผฏฐัพพายตนะ ผัสสะข้อนี้ไม่ได้นับ เพราะผัสสะเป็นนาม ไม่ใช่เป็นรูป)

     ค) ภาวรูป 2 (รูปที่ปรากฏเครื่องชี้ความแตกต่าง)

10. อิตถินทรีย์ (ภาวะของความเป็นหญิง)

11. ปุริสินทรีย์ (ภาวะของความเป็นชาย)

     ง) หทัยรูป 1 (รูปที่เป็นจิตใจ จิตวิญญาณ)

12. หทัยวัตถุ (ที่ตั้งของจิตใจ  เกิดที่ใดก็ตั้งอยู่ที่นั้น)

     จ) ชีวิตรูป 1 (รูปที่มีชีวิตความเป็นอยู่)

13. ชีวิตินทรีย์ (ภาวะความประพฤติที่เป็นไปอยู่)

     ฉ) อาหารรูป 1 (รูปที่เป็นอาหาร)

14. กวฬิงการาหาร (อาหารที่ค้ำจุนชีวิต)

     ช) ปริจเฉทรูป 1 (รูปที่กำหนดตัดรอบขอบเขต)

15. อากาศธาตุ (สภาวะช่องว่าง  ความว่างเปล่า)

     ญ) วิญญัติรูป 2 (รูปที่เป็นการเคลื่อนไหวสื่อความหมาย)

16. กายวิญญัติ (การเคลื่อนไหวกายสื่อความหมาย)

17. วจีวิญญัติ (การกล่าววาจาสื่อความหมาย)

     ฎ) วิการรูป 3 (รูปที่แสดงอาการผันแปรไป)

18. ลหุตา (สภาวะความเบา  ความรวดเร็ว)

19. มุทุตา (สภาวะความแววไว  ความไม่กระด้าง)

20. กัมมัญญตา (สภาวะความควรแก่การงาน)

     ฏ) ลักขณรูป (รูปที่เป็นลักษณะอาการต่าง ๆ)

21. อุปจยะ (ความก่อตัว  ความสั่งสม)

22. สันตติ (ความสืบต่อความเจริญ)

23. ชรตา (ความชรา  ความเสื่อม)

24. อนิจจตา (ความไม่เที่ยง  ความแตกสลาย)  

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 34 “รูปวิภัตติ” ข้อ 515 – 538 ,

พระไตรปิฎกเล่ม 35 “ปัจจยาการวิภังค์” ข้อ 259  และ

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ฉบับประมวลธรรม

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก 


เวลาบันทึก 07 กรกฎาคม 2562 ( 22:04:51 )

เวลาบันทึก 30 กรกฎาคม 2563 ( 06:52:04 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 14:19:22 )

นามรูป 33

รายละเอียด

คือนาม (ตัวที่เข้าไปรู้) และ รูป สิ่งที่ถูกรู้) เกิดเพราะวิญญาณ (ความรับรู้) เป็นปัจจัย (เหตุ)

นาม 5

คือ ตัวผู้รู้ หรือ สภาวะทู้ที่เข้าไปสัมผัสกับรูปนั้นๆ นามเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่อาจรู้ได้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่รู้ได้ด้วยใจ

1. เวทนา (ความรู้สึก)

2. สัญญา (ความกําหนดหมาย ความจํา)

3. เจตนา (ความจงใจ ความมุ่งหมาย)

4. ผัสสะ (ความกระทบสัมผัส)

5. มนสิการ (ความทําใจในใจ)

รูป 28

คือ สิ่งที่ถูกรู้ หรือ สภาวะที่นามเข้าไปรู้สิ่งนั้น รูปเป็นวัตถุภายนอกที่มีรูปร่างก็มี เป็นจิตใจภายในที่ไม่มีรูปร่างก็มี ได้แก่

-มหาภูตรูป 4 คือ รูปที่เป็นวัตถุภายนอก

1. ปฐวีธาตุ (ธาตุดินที่มีสภาวะแข้นแข็ง)

2. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำที่มีสภาวะเอิบอาบ)

3. เตโชธาตุ ธาตุไฟที่มีสภาวะร้อน)

4. วาโยธาตุ ธาตุลมที่มีสภาวะเคลื่อนที่)

-อุปาทายรูป 24 คือรูปที่อาศัยเกิดจากมหาภูตรูป

- ก. ปสาทรูป 5 (รูปที่มีประสาทเป็นตัวรับรู้อารมณ์)

1. จักขายตนะ (ตาเป็นสื่อเชื่อมต่อกับสิ่งที่ถูกรู้)

2. โสตายตนะ (หูมีประสาทหูเป็นภาวะเชื่อมต่อกับสิ่งที่ถูกรู้)

3. ฆานายตนะ (จมูกมีประสาทจมูกเป็นภาวะเชื่อมต่อกับสิ่งที่ถูกรู้)

4. ชิวหายตนะ (ลิ้นมีประสาทลิ้นเป็นภาวะเชื่อมต่อกับสิ่งที่ถูกรู้)

5. กายายตนะ (ร่างกายมีประสาทผิวหนังเป็นภาวะเชื่อมต่อกับสิ่งที่ถูกรู้)

- ข. โคจรรูป หรือ วิสัยรูป 4 (สภาพเป็นอยู่ของรูปที่ถูกรู้)

6. รูปายตนะ (รูปที่เป็นรูปที่ถูกรู้)

7. สัททายตนะ (เสียงที่เป็นรูปที่ถูกรู้)

8. คันธายตนะ (กลิ่นที่เป็นรูปที่ถูกรู้)

9. รสายตนะ (รส ที่เป็นรูปที่ถูกรู้)

(โผฏฐัพพายตนะ ข้อนี้ไม่ได้นับ เพราะตรงกับปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ) - ค. ภาวรูป 2 (รูปที่ปรากฏเครื่องชี้ความแตกต่าง)

10. อิตถินทรีย์ (ภาวะของความเป็นหญิง)

11. ปุริสินทรีย์ (ภาวะของความเป็นชาย)

- ง. หทัยรูป 1 (รูปที่เป็นจิตใจ จิตวิญญาณ)

12. หทัยวัตถุ 1 (ที่ตั้งของจิตใจ เกิดที่ใดก็ตั้งอยู่ที่นั้น)

- จ. ชีวิตรูป 1 (รูปที่มีชีวิตความเป็นอยู่)

13. ชีวิตินทรีย์ (ภาวะความประพฤติที่เป็นไปอยู่)

- ฉ. อาหารรูป 1 (รูปที่เป็นอาหาร)

14. กวฬิงการาหาร (อาหารที่ค้ำจุนชีวิต)

- ช. ปริจเฉทรูป 1 (รูปที่กําหนดตัดรอบขอบเขต)

15. อากาศธาตุ (สภาวะช่องว่าง ความว่างเปล่า)

- ญ. วิญญัติรูป 2 (รูปที่เป็นการเคลื่อนไหวสื่อความหมาย)

16. กายวิญญัติ (การเคลื่อนไหวกายสื่อความหมาย)

17. วจีวิญญัติ (การกล่าววาจาสื่อความหมาย)

- ฎ.วิการรูป 3 (รูปที่แสดงอาการผันแปรไป)

18. ลหุตา (สภาวะความเบา ความรวดเร็ว)

19. มุทุตา (สภาวะความอ่อน ความไม่กระด้าง)

20. กัมมัญญตา (สภาวะความควรแก่การงาน)

-ฏ.ลักขณรูป 4(รูปที่เป็นลักษณะอาการต่างๆ)

21. อุปจยะ (ความก่อตัว ความสั่งสม)

22. สันตติ (ความสืบต่อ)

23. ชรตา (ความชรา ความเสื่อม)

24. อนิจจตา (ความไม่เที่ยง ความแตกสลาย)

 

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 34 “รูปวิภัตติ” ข้อ 515-538 พระไตรปิฎกเล่ม 35 “ปัจจยาการวิภังค์” ข้อ 259 พจนานุกรมพุทธศาสตร์ (ป.อ.ปยุตโต) ฉบับประมวลธรรม


เวลาบันทึก 16 มีนาคม 2565 ( 16:16:51 )

นามรูป 4

รายละเอียด

1.รู้ด้วย "อาการ" คือ รู้จักรู้แจ้งรู้จริง "สภาพหรือความเป็นไปเป็นอยู่ของจิตขณะนั้น"

2.รู้ด้วย "ลิงคะ" คือ รู้จักรู้แจ้ง "ความจริงนานาว่า อะไร "ต่าง" จากอะไร ได้จริงแท้

3.รู้ด้วย "นิมิต" คือ ความจริงต่างๆนั้นมี "เครื่องหมายแสดงลักษณะ" แจ้งชัดให้เรารู้

4.รู้ด้วย "อุเทศ" คือ ผู้เรียนปริยัติมา ย่อมได้รับการชี้แจง ให้เห็นให้เข้าใจ การอ้างอิงยกอะไรต่ออะไรขึ้นมาแสดง การอธิบายหัวข้อธรรมต่างๆ ซึ่งเป็นแผนที่นำทาง เป็นหลักอ้างอิงยืนยัน เป็นการทำให้ชัดเจนชัดแจ้งในความหมายของธรรมต่างๆ

หนังสืออ้างอิง

เปิดโลกเทวดา หน้า 18

พระไตรปิฎกเล่ม 10 ข้อ 60


เวลาบันทึก 12 ธันวาคม 2562 ( 16:00:13 )

เวลาบันทึก 30 กรกฎาคม 2563 ( 06:53:01 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 14:20:00 )

นามรูปกับวิญญาณาหาร

รายละเอียด

ผู้ใดเห็นว่าหอกแทงร้อยเล่มแทง รู้สึกเจ็บได้ กำหนดรู้วิญญาณาหารได้ คนใดเข้าใจคำว่านามรูปเท่านั้นแหละจะเรียนรู้วิญญาณได้ เท่านี้ล่ะศาสนาพุทธ เห็นไหมว่านามรูปไม่ใช่เรื่องง่ายเลย 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช ฌานวิสัยของอรหันต์และโพธิสัตว์ ศุกร์ที่ 13 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 18 ธันวาคม 2562 ( 16:14:28 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 08:18:53 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 15:14:09 )

นามรูปคือสภาวะของพระพุทธเจ้า

รายละเอียด

มาจบที่รู้ นามรูป ผู้ที่สามารถรู้นามรูปได้ ผู้ปฏิบัตินี้มีความรู้นามรูปได้ จบ ไม่มีความรู้อะไรที่ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีกแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าใครที่เข้าใจไม่ถ้วนรอบ เข้าใจสั้นๆ อ้อเรารู้นามรูปได้ก็จบ ตามที่พระพุทธเจ้าท่านตรัส คุณไม่จบหรอก คุณก็จะได้แต่ความรู้ว่า นามรูป ฟังดีๆนะ จริง นามรูป ที่พระพุทธเจ้าตรัส แต่นามรูปของคุณ อันเดียวกับที่พระพุทธเจ้าตรัสมั้ย ไม่ใช่ ต้องมีคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่คุณเข้าใจ แล้วคุณต้องมีสภาวะของคุณ สภาวะของคุณไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า คุณต้องรับผิดชอบของคุณ แล้วคุณต้องทำสภาวะของคุณ ในนามรูปนี้แหละให้สมบูรณ์ แต่ก่อนจะสมบูรณ์ถ้าคุณไม่เริ่มต้นมีความรู้ที่นามรูป คือ กาย 

ที่มา ที่ไป

รายการกายนี้คือวิญญาณ วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 03 มีนาคม 2563 ( 10:53:00 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:42:31 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 14:21:09 )

นามรูปในปฏิจจสมุปบาทคืออะไร

รายละเอียด

อาตมาอยากจะอธิบายให้ดี แต่มีเรื่องที่จะอธิบายเยอะเหลือเกิน เอาน่า ติดตามตั้งใจฟัง ที่จริงแล้วจะว่าไปไม่ใช่ว่าไม่ได้อธิบายปฏิจจสมุปบาท อาตมาอธิบายเรื่องอวิชชา อวิชชาเป็นต้นตอตัวที่ 1 ของปฏิจจสมุปบาท อธิบายเรื่องสังขาร เรื่องวิญญาณ นามรูป อายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพชาติ อธิบายอยู่ตลอด เอาบัญญัติมาอธิบายสภาวะที่อาตมามั่นใจว่าถูก 

ง่ายๆเช่น นามรูป คือ สภาวะ 2 อะไรอะไรทั้งหมดคุณต้องเรียนรู้ในสภาวะ 2 แล้วจะเกิดการเปรียบเทียบ ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าสภาวะ 2 จะเปรียบเทียบกัน คุณไม่รู้1 อันใดที่ดีกว่าหรือถูกกว่า คุณเรียนได้แต่ 1 เช่นไปนั่งหลับตาสะกดจิตมีแต่ 1 คุณไม่ได้เรียนแบบมีธัมมวิจัยมีการเปรียบเทียบเป็นธรรมะ 2  โดยเฉพาะเปรียบเทียบภายนอกกับภายใน คุณไม่มีเจ๊งกระบ๊ง ในศาสนาพุทธคุณไม่รู้จักเทวะที่สำคัญเป็น เทวธัมมา 

แล้วพระพุทธเจ้าก็จับหัวใจของศาสนาพุทธอยู่ตรงที่เวทนา เพราะตัวเวทนาคือตัวอารมณ์ ความรู้สึกของสุขทุกข์ ศาสนาพุทธเน้นที่สุขทุกข์ แล้วเรียนรู้สุขทุกข์ให้ได้ว่า มันเป็นมายา มันเป็นอนัตตา มันไม่เที่ยง มันพาให้เกิดความทุกข์ต่างหาก ที่หลงว่าเป็นสุข มันเป็นตัวผีหลอก มันเป็นของเก๊ 

เพราะฉะนั้นจึงต้องเรียนนามรูป พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในอาหาร 4 สรุปไว้ว่าเมื่อรู้วิญญาณก็คือรู้นามรูป ก็คือรู้ทุกอย่าง ท่านตรัสไว้ทิ้งท้ายอย่างนั้น สำหรับนามรูป 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ ฌานของพุทธต้องเกิดจากจรณะ 15 วิชชา 8 วันพุธที่ 13 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 30 มกราคม 2564 ( 10:49:24 )

นามสกุลเกี่ยวกับความจน

รายละเอียด

เรามีนามสกุลเกี่ยวกับความจนหลายอย่าง ความเข้าใจเรื่องความ มาจน นั้นเป็นคุณสมบัติอันประเสริฐเลิศยอดของชาวพุทธ คนมาจนทำตนให้เป็นคนจนจะมีปฏิภาณปัญญา เราก็จนจริงๆไม่ได้จนเล่นๆด้วย คือว่ามีก็สละออก จนกระทั่งไม่มีสะสมเป็นของตนเองเลย

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช ครั้งที่ 66  วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม2562


เวลาบันทึก 27 พฤศจิกายน 2562 ( 19:20:13 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 13:20:44 )

เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2563 ( 14:23:44 )

statistics

ติดต่อสอบถาม

Facebook : test

Youtube : Name

Twitter : Name

Line : Name

Telegram : Name

Wechat : Name

Skype : Name

Copyright © 2018 Borvornsocial.net all right are reserved. developer สงวนลิขสิทธิ์