@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก
@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก

อภิธานศัพท์ (Glossary) จัดเป็นฐานข้อมูลด้านโลกุตระที่สมบูรณ์ที่สุดที่คัดมาจากหนังสือ คำเทศน์ ฯ

คู่มือการค้นหาอภิธานศัพท์อโศก หรือ ห้องสมุดโลกุตระ 50 ปี

เอกสาร : https://docs.google.com/document/d/1HLGedxqTAOTOTQKGbO6M4qMremQ8K1jBWKRYDDt6MRQ/edit

วีดีโอ Loom 2 : https://www.loom.com/share/e824e62ec1eb4567848e94af124a7ed5

วีดีโอ Loom 1https://www.loom.com/share/2445744a08e74bca95d2f1d2a0526044

วีดีโอ YouTube : https://youtu.be/QyXcGmzhLmk

 

 

อภิธานศัพท์ (ทั้งหมด) พบ 28,074 รายการ

อานาปานสติ 16

รายละเอียด

นั่งคู้บังลังก์ (ขัดสมาธิ)  ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า

มีสติหายใจเข้า (อัสสสติ)  หายใจออก (ปัสสสติ)   กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกทั้ง 16 ขั้น

 1. รู้ชัดหายใจเข้ายาว  หายใจออกยาว

 2. รู้ชัดหายใจเข้าสั้น  หายใจออกสั้น

 3. รู้แจ้งกาย (ภายนอก-ภายใน)ทั้งปวง (สัพพกายปฏิสังเวที)

 4. ระงับกายสังขาร (ปัสสัมภยัง  กายสังขารัง)

 5. รู้แจ้งปีติ (ปีติปฏิสังเวที)

 6. รู้แจ้งสุข (สุขปฏิสังเวที)

 7. รู้แจ้งจิตตสังขาร (จิตตสังขารปฏิสังเวที)

 8. ระงับจิตตสังขาร (ปัสสัมภยัง  จิตตสังขารัง)

 9. รู้แจ้งจิต (จิตตปฏิสังเวที)

10. ทำจิตให้ร่าเริง (อภิปปโมทยัง  จิตตัง)

11. ตั้งจิตมั่น (สมาทหัง  จิตตัง)

12. เปลื้องจิตให้หลุดพ้นกิเลส (วิโมจยัง  จิตตัง)

13. พิจารณาตามเห็นความไม่เที่ยงของกิเลส  (อนิจจานุปัสสี)

14. พิจารณาตามเห็นความคลายกำหนัด (วิราคานุปัสสี)

15. พิจารณาตามเห็นความดับกิเลส (นิโรธานุปัสสี)

16. พิจารณาตามเห็นความสละคืน (สลัดทิ้ง)กิเลส (ปฏินิสสัคคา-นุปัสสี)    

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 14“อานาปานสติสูตร” ข้อ 288

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก 


เวลาบันทึก 07 กรกฎาคม 2562 ( 21:57:49 )

เวลาบันทึก 30 กรกฎาคม 2563 ( 06:50:44 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 03:17:53 )

อานาปานสติ 16

รายละเอียด

อานาปานสติ 16 นั้น เป็นการรวมสรุปสภาพธรรมว่า ยังมีลมหายใจเข้าลมหายใจออกอยู่ การมีลมหายใจเข้าออกแค่นี้แหละคุณต้องมีสติสัมปชัญญะและวิจัยให้ออก ว่ามีลมหายใจออก ลมหายใจเข้านะ แค่นี้ก็เป็นประเด็นลิงค เทวะ ความต่างกันสองอย่าง หายใจเข้ายาวๆหายใจเข้าสั้นๆก็เป็นลิงคเป็นประเด็นที่ต่างกัน มีลิงค นิมิตที่ต่างกัน เป็นการสรุปการเรียนการสอนโดยเอาลมหายใจเข้าหายใจออก อานากับอาปานะ มาเป็นเครื่องศึกษาเท่านั้นเอง เสร็จแล้วการเรียนรู้นี้ก็เป็นการเรียนรู้ทั้งหมดของศาสนาพุทธ  ศีล สมาธิ ปัญญาจรณะ 15 วิชชา 8 ปฏิจจสมุปบาทโพธิปักขิยธรรมทั้งนั้นแหละ เอามาใช้ประกอบกับการทำขณะที่มีลมหายใจเข้าลมหายใจออกอยู่คือ คุณยังไม่ตาย คุณจะเดิน คุณจะทำอาชีพอยู่ คุณจะทำการงานกัมมันตะ การงาน ทุกอย่างอยู่คุณจะพูดอยู่ คุณจะคิดสังกัปปะอยู่ คุณก็ปฏิบัติ 16 อย่าง 16 ขั้น 

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 29 มีนาคม 2563 ( 15:21:22 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 10:55:38 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:17:57 )

อานาปานสติ 16

รายละเอียด

นั่งคู่บังลังก์ (ขัดสมาธิ) ตั้งกายตรง ดํารงสติไว้เฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า (อัสสสติ) หายใจออก (ปัสสสติ) กําหนดรู้ลมหายใจเข้าออกทั้ง 16 ขั้น

1. รู้ชัดหายใจเข้ายาว หายใจออกยาว

2. รู้ชัดหายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้น

3. รู้แจ้งกาย(กองลม)ทั้งปวง (สัพพกายปฏิสังเวที)

4. ระงับกายสังขาร (ปัสสังภยัง กายสังขารัง)

5. รู้แจ้งปิติ ปีติปฏิสังเวที)

6. รู้แจ้งสุข (สุขปฏิสังเวที)

7. รู้แจ้งจิตตสังขาร (จิตตสังขารปฏิสังเวที)

8. ระงับจิตตสังขาร (ปัสสัมภยัง จิตตสังขารัง)

9. รู้แจ้งจิต (จิตตปฏิสังเวที)

10. ทําจิตให้ร่าเริง (อภิปปโมทยัง จิตตัง)

11. ตั้งจิตมั่น (สมาทหัง จิตตัง)

12.เปลื้องจิตให้หลุดพ้นกิเลส (วิโมจยัง จิตตัง)

13. พิจารณาตามเห็นความไม่เที่ยงของกิเลส(อนิจจานุปัสสี)

14. พิจารณาตามเห็นความคลายกําหนัด(วิราคานุปัสสี)

15. พิจารณาตามเห็นความดับกิเลส(นิโรธานุปัสสี)

16. พิจารณาตามเห็นความสละคืน (สลัดทิ้ง)กิเลส(ปฏินิสสัคคานุปัสสี)

 

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 14 “อานาปานสติสูตร” ข้อ 288


เวลาบันทึก 16 มีนาคม 2565 ( 11:48:48 )

อานาปานสติ คืออะไร

รายละเอียด

ถึงแม้อานาปานสตินี่ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก อานาปานสติ ในศาสนาโดยเฉพาะศาสนาในประเทศไทย หลงอานาปานสติกัน แล้วก็มีอีกหลายประเทศ ในหลายกลุ่มของนักปฏิบัติธรรม ไปหลงว่า อานา อาปานะ ว่าเป็นการหลับตา แล้วก็เอาลมหายใจเป็นกสิณ เอาความรู้สึกมาจับที่ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า สุดท้ายก็มิจฉาทิฏฐิ 

ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า มันก็มีอยู่นะ แต่ว่าความรู้สึกคุณดับไป สัญญาและเวทนาไม่รับรู้ที่คุณหายใจออกหายใจเข้า คุณก็ไปอยู่ภายในภพ แต่กายของคุณนั้นยังมีหายใจออกหายใจเข้า แต่คุณไม่รู้กายแล้ว เพราะฉะนั้นในอานาปานสติ พระพุทธเจ้าท่านมีอยู่วลีหนึ่งบอกไว้ว่า ลมหายใจนี้เป็นกายของเรา ถ้าขาดลมหายใจแล้ว ไม่รับรู้ลมหายใจแล้วคุณไม่มีกาย คุณก็เป็นคนพิการ พิการไปมากเลยนะเพราะตาหูจมูกลิ้นกายคุณไม่มี คุณมีแต่เวทนาไปรู้ลมหายใจอยู่ที่จมูกเท่านั้น สัมผัสอื่นคุณไม่รับรู้ ทางเสียง ทางรูป ทางรสอะไร คุณไม่รู้เรื่องหมดเลย 

ซึ่งมันพิกลพิการไปหมด แล้วไปหลงอานาปานสติ คือว่าไปนั่งหลับตากำหนดสติที่ลมหายใจเข้าออก แล้วก็ไปเล่นกับเวทนากับสัญญา โดยไปพาซื่อหลงเลอะเทอะไปดับเวทนา ไปดับสัญญา เป็น อสัญญีสัตว์ เป็นสัตว์ที่ไม่มีความรับรู้อะไรไป แล้วหลงว่าเป็นนิโรธ เป็นนิพพาน แล้วก็บรรลุ ปึ๊ง เหมือนมหาบัวทำ ซึ่งมันก็น่าสงสาร มันเข้าใจผิด แล้วมันก็เลอะเทอะกันไปใหญ่เลย ศาสนาพระพุทธเจ้า อานาปานสตินั้นคือศัพท์ภาษาที่ให้เรียนรู้ มีสติ อยู่ทุกขณะที่คุณมีลมหายใจเข้าลมหายใจออก หมายความว่ามีชีวิตอยู่ ยังไม่ตาย คุณก็ปฏิบัติธรรมทุกอย่างเลย รู้จักกาย รู้จักจิต แล้วก็ลดละกิเลสทางกาย ทางจิตได้ ปัสสัมภยัง จิตสังขารัง หมดกิเลสทางกายแล้ว เหลือแต่ ปัสสัมภยังจิตสังขารัง ก็ทำความสงบให้ทางจิตต่อที่เหลือ 

คำว่าสงบนี่แหละในปัญญาข้อที่ 3 มีความสงบ 2 อย่าง ความสงบของโลกียะกับของโลกุตระ เมื่อเข้าใจผิดตั้งแต่คำว่า กาย จะเข้าใจเรื่องธรรมนิยาม 5 ไม่ได้ จะแยกกาย แยกจิตไม่เป็น เพราะฉะนั้นจะไม่มีสิทธิ์เลยที่จะบรรลุธรรม ไม่มีสิทธิ์เลย 

1. สักกายทิฏฐิ ไม่พ้น เพราะฉะนั้น 2.คุณจะมาปฏิบัติโดยการแยกกาย แยกจิต โดยแยกเป็นธรรมนิยาม 5 คุณก็ไม่ได้แล้ว เพราะคุณเข้าใจกายผิด เพราะฉะนั้นจะมาปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 เริ่มตั้งแต่คำว่ากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ซึ่งต่อเนื่องกัน เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กันและกัน เป็นอิทัปปัจจยตากัน คุณก็ปฏิบัติเริ่มต้นตั้งแต่กายก็ผิดแล้ว เพราะคุณมิจฉาทิฏฐิตั้งแต่เริ่มต้น 

เพราะฉะนั้นยิ่งจบด้วยการตรวจสอบสมบูรณ์สุดด้วยวิญญาณฐิติ 7  มีสัญญากับกาย กำหนดรู้ทุกอย่างในภพภูมิต่างๆ ตั้งแต่ วิญญาณฐิติข้อที่ 1 จนถึงข้อที่ 7 ที่เป็น อากิญจัญญายตนะ มีอายตนะที่ไม่มีแล้วกิเลสหมดเกลี้ยง จิตเป็นอากาศ จิตเป็นวิญญาณ 3 อันสุดท้าย คุณก็ไม่จบ คุณก็เรียนรู้ไม่ได้ เมื่อเรียนรู้ไม่ได้ ภาษาก็ไม่เข้าใจเข้าใจก็ไม่ถูก เข้าใจผิด แล้วมันจะไปได้เรื่องอะไร อาตมาพูดนี้อาตมาพูดด้วยความเข้าใจ และอาตมาก็ปฏิบัติได้ จึงนำมาขยายความให้ฟัง 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 29 พ่อครูฝืนสังขารเพื่อต้องการลูกๆได้ PI(โพธิรักษ์ Intelligence)วันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม 2566 แรม 8 ค่ำเดือน 8 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2566 ( 16:29:14 )

อานาปานสติของพระพุทธเจ้า

รายละเอียด

ครบโพธิปักขิยธรรม 37 คือโลกุตรธรรม 37 เป็นอานาปานสติของพระพุทธเจ้า ส่วนการไปนั่งหลับตาดูลมหายใจเข้าออกอยู่อย่างนั้น เป็นอานาปานสติแบบเดียรถีย์ นอกรีตศาสนาพุทธ

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช ครั้งที่ 66 วันจันทร์ที่26 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 27 พฤศจิกายน 2562 ( 19:32:16 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 13:35:51 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 03:18:24 )

อานาปานสติของพระพุทธเจ้า

รายละเอียด

อานาปานสติของพระพุทธเจ้านั้น ท่านลืมตาในทุกลมหายใจเข้าออกก็ปฏิบัติธรรม จนเห็นชัดเจนในอนิจจานุปัสสี วิราคานุปัสสี นิโรธานุบัสสี จบ หมดเวลา เลยไปแค่ 12 นาที ไม่มีใครว่าเลย ปล่อยให้เราไปเรื่อยๆ เมื่อพระพุทธเจ้าเข้าทรงแล้ว สำหรับวันนี้ก็พอแค่นี้เจริญธรรมทุกคน 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 9 พ่อครูพบญาติธรรมสันติอโศก 

วันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2566 แรม 10 ค่ำเดือน 2 ปีขาล ที่บวรสันติอโศก


เวลาบันทึก 29 มกราคม 2566 ( 12:27:49 )

อานาปานสติคือการปฏิบัติธรรมอย่างไร

รายละเอียด

ที่อาตมาอธิบายธรรมะพระพุทธเจ้านั้นเป็นเรื่องที่ยาก เป็นเรื่องที่ไม่ง่าย แต่อธิบายอย่างที่เขาอธิบายกันไปให้ทำทานแล้วจะได้สวรรค์ อยู่อย่างนั้นเต็มไปหมด ถ้าจะไปปฏิบัติธรรมะต้องไปนั่งสมาธิและก็ไปเดินจงกรม แล้วก็นั่งสมาธิ ก็ไม่เห็นมีธรรมะอะไรที่จะเขาปฏิบัติกัน เดินจงกรมแล้วก็นั่งสมาธิ นอกนั้นก็ทำทาน จัดงานให้คนสนุกรื่นเริง ชวนคนมาทำทานเพื่อจะหาข้าวของทรัพย์สินมาเข้าวัด (โกเอ็นก้าใครนั่งสมาธิได้ดีจะให้อยู่ห้องเดี่ยว ) คือยังเข้าใจธรรมะพระพุทธเจ้าไม่ได้ ศาสนาพุทธไม่ได้กำหนดสถานที่ ไม่ต้องใช้เวลาแบ่งเวลาไปปฏิบัติธรรม ไม่ต้อง ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นจะปฏิบัติให้เกิดสมาธิเป็นสัมมาสมาธิทั้งในขณะทำงานอาชีพอยู่ ไม่ต้องแยก ไม่ต้องไปปลีกหนีจากงานการ ในทุกกัมมันตะ ทุกกรรมกิริยาการงานทุกอย่างแม้แต่งานอาชีพ งานไซด์ไลน์ งานอดิเรก ทุกงานทุกกรรมกริยา เราก็สามารถปฏิบัติธรรมเพื่อสร้างสัมมาสมาธิ ได้ทุกเวลา ได้ทุกการงาน ได้ทุกลมหายใจเข้าออก เรียกว่าอานาปานสติ มีสติอยู่ทุกลมหายใจเข้าออกที่เรายังมีอยู่ เราปฏิบัติธรรมะพระพุทธเจ้าได้ตลอดเวลา อานาปานสติไม่ได้หมายความว่า นั่งจุมปุ๊ก ดูลมหายใจเข้าออก ไม่ใช่ นั่นดีนะที่คุณยังมีลมหายใจเข้าออก ลมภายนอก ถ้าไม่มีลมหายใจเข้าออกเลยก็นอกรีต การปฏิบัติธรรมะพระพุทธเจ้าต้องมีทั้งนอกและในขาดหายกันไม่ได้ ผู้ที่ไปปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิทำให้ลมหายใจอ่อนลงจนไม่รู้สึกเลยถึงลมหายใจ มันจะอยู่กับจิตเท่านั้น ตอนนี้จิตของเราจะเป็นสมาธิ ไปเลย ออกนอกศาสนาพุทธไปไหนก็ไม่รู้ แล้วเขาก็นึกว่านี่คือสุดยอดของการปฏิบัติสมาธิ มันคนละเรื่องเลย คือฟังแล้วเห็นแล้วก็น่าสงสาร ออกไปไกลหลงผิดกันไป แล้วก็เป็นคณะเป็นอาจารย์เป็นลัทธิ เจ้าลัทธิเยอะ พยายามหาวิธีการที่จะทำสมาธิแบบที่สะกดจิตนี้ มีรูปแบบต่างๆ เช่น โกเอ็นก้า หรือว่าแต่สำนักไทยเยอะแยะ ซึ่งไปหลงผิดอย่างนี้กันทั้งนั้น อาตมาดึงกลับ

ที่มา ที่ไป

เทศน์ ทวช. วันเสาร์ที่ 7 เมษายน 2561


เวลาบันทึก 28 กุมภาพันธ์ 2564 ( 11:30:50 )

อานาปานสติที่พระพุทธเจ้าพาทำ 

รายละเอียด

เพราะฉะนั้น อานาปานสติของพระป่าของผู้ที่นั่งหลับตา กับอานาปานสติของอาตมาที่ยืนยันว่าเป็นของพระพุทธเจ้าพาทำ 

พระพุทธเจ้าอยู่ในป่าแรกๆไปปฏิบัติแบบนั่งหลับตาสะกดจิตหมดคือเพราะตอนนั้นเขามิจฉาทิฏฐิหมด เริ่มแรกยังไม่มีพระพุทธเจ้าอุบัติ ก็เป็นมิจฉาทิฐิไปหมดเลย ยังไม่มีสิ่งที่สัมมาทิฏฐิเลย  พระพุทธเจ้าจึงต้องอุบัติขึ้นมาแล้วมาเปิดโลก เอาโลกุตรธรรมมาสถาปนาลงไป เริ่มต้นท่านเป็นลิงลมอมข้าวพองเข้าป่า เสียเวลาอยู่ในป่า 6 ปี บำเพ็ญทุกรกิริยา ซึ่งมันไม่เป็นทางบรรลุ หนักหนาสาหัส แบบไหนๆ ท่านก็ลองกับเขาหมด แต่มันไม่ใช่ จนท่านมา ระลึกได้เองว่าสิ่งที่ท่านมีมันถูกต้องหมดแล้ว ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ตอนอายุ 35 ปี 

ระลึกรู้ว่า อย่างนี้เองๆ ท่านจึงได้เอาเรื่องนี้มาสถาปนาลงไปในโลกใหม่ ตอนนั้นมันไม่มีแล้ว ท่านบรรลุแล้วจึงเริ่มมาประกาศกับพราหมณ์ 5 รูป ท่านได้ระลึกว่า 2 องค์นี้น่าจะสอนได้แต่ท่านไปพบว่าตายแล้ว 7 วัน 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ อานาปานสติอย่างพุทธ ไม่มี
นัตถิกทิฏฐิ วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2565 ( 19:32:50 )

อานาปานสติลืมตาอันแรกรู้จักกาย 2 ข้อ 2 แยกกายแยกจิตได้

รายละเอียด

อธิบายอานาปานสติลืมตา กันชัดๆ ตลอดเวลา ที่ยังมีลมหายใจเข้าออกอยู่ คุณจะต้องรู้จัก กาย ถ้าคุณไม่รู้จักกาย เบื้องต้นต้องรู้จัก 2 อย่าง 

อันแรกคือรู้จักภายนอกภายใน มีจิตเจตสิกต่างๆ คุณทิ้งไม่ได้กายต้องมี 2 อย่าง ภายนอกภายในต้องมีพร้อมกัน แล้วรู้อื่นๆอีกอยู่ในนั้นโดยการลืมตา นี่เป็นข้อที่ 1 

ข้อที่ 2 ต้องรู้ความเป็นกายที่แยกกายแยกจิต ให้ได้ ว่าเมื่อไหร่มีกายในจิตเจตสิก เมื่อไหร่ไม่มีกายในจิตเจตสิก ก็ต้องเข้าใจกายที่ไม่มีได้ ว่า คำว่า กายนี้ เป็นเรื่องของสิ่ง 2 สิ่ง เทวะ ภาวะ 2 กายก็ภาวะ 2 เทวะก็ภาวะ 2 แต่เทวะ 2 ของ 2 สิ่งนี้คือ สุขทุกข์ เมื่อไหร่มีกาย เมื่อนั้นมีสุขมีทุกข์ เมื่อไหร่ไม่มีกาย เมื่อนั้นไม่มีสุขไม่มีทุกข์ ด้วยการดับความสุขความทุกข์ ดับอย่างมีสติสัมปชัญญะ ปัญญา เมื่อนั้นคือ อาริยะ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ หากเลิกหลับตาปฏิบัติได้ประเทศไทยเจริญ วันพุธที่ 15 มิถุนายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2565 ( 14:18:58 )

อานาปานสติอย่างพุทธกับแบบฤาษี

รายละเอียด

มาสู่สิ่งที่อาตมาตั้งใจอธิบาย เป็นประเด็นละเอียดลึกซึ้งอยู่มากคือเรื่องของอานาปานสติ สายหลับตาเข้าใจอานาปานสติอย่างหนึ่ง อาตมาก็เข้าใจอานาปานสติอย่างหนึ่ง 

อานาปานสติของพวกที่บอกว่านั่งกายตรงดำรงสติคงมั่น แล้วนั่งหลับตาหรือไม่หลับตาก็แล้วแต่ ตรวจเข้าไปอยู่ในภพภายใน ส่วนมากก็หลับตา แล้วก็ไม่เข้าใจแม้แต่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ที่ท่านออกป่าตั้งแต่ตอนต้น ก่อนจะออกมาก็เจอพวกนี้แหละ ซึ่งเป็นมิจฉาทิฐิกันหมดแล้ว หลงว่าผู้ที่จะบรรลุต้องไปอยู่ในป่า ผู้ที่มีจรณะวิชชาสมบัติ คือคนอยู่ในป่า เหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสกับ อัมพัฏฐมานพที่ศึกษา วิชชาจรณะสมบัติ ศึกษาแต่ในตำรา แต่ตัวเองไม่ได้ปฏิบัติไม่รู้เรื่อง ถกกับพระพุทธเจ้ายาว 

ทีนี้อานาปานสติที่อาตมาเข้าใจคือ อานาปานสติที่ลืมตามีสติ มีชีวิตเต็มๆธรรมดา ก็คือคนมีลมหายใจเข้าหายใจออก ยังไม่ตาย สามัญปกติชีวิต ไม่ไปจำเพาะกำหนดเอาแต่ว่า ดูแต่ อานาอาปานะ คือ ดูแต่ลมหายใจเข้าออก แต่ผู้ที่ไปนั่งหลับตาสะกดจิต สายพระป่า นั่งแล้วหลับตาแล้ว ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกอยู่ในอานาปานสติ ท่านก็ตรัสไว้ชัดว่า นี่คือยังมีกาย ผู้ที่รู้จักลมหายใจเข้าออกข้างจมูกและยังมีความรู้สึกกับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ออกคือออกมาภายนอก เข้าก็คือเข้าไปภายใน 

แต่ผู้ที่นั่งหลับตานั้น ไม่มีลมหายใจ ไม่รู้สึกไม่รู้จัก ไม่รู้สึกกับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก แล้ว นี่แหละคือประเด็น 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ อานาปานสติอย่างพุทธ ไม่มี
นัตถิกทิฏฐิ วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2565 ( 19:12:02 )

อานาปานสติอย่างมิจฉากับสัมมาทิฏฐิต่างกันอย่างไร

รายละเอียด

คำว่า อานากับอาปานะ กับ สติ  มีคำอยู่ 3 คำ  อานา กับ อาปานะ จะใช้อันไหนสลับกันระหว่างลมหายใจเข้า ลมหายใจออกก็ได้ ไม่เป็นไร เป็นสิริมหามายาเป็นคำสลับไปสลับมาได้ กำหนดให้ถูกก็แล้วกัน สัญญาอย่างไร กายอย่างใด ให้ตรงกันก็แล้วกัน อานาอาปานะ

สรุป การปฏิบัติอานาปานสติอย่างมิจฉาทิฏฐิ เหมือนสายอาจารย์มั่น สายมหาบัว 

การปฏิบัติมิจฉาทิฏฐิ ใช้ลมหายใจเข้าออกเหมือนกัน โดยไปเข้าใจว่า การปฏิบัติที่ใช้ลมหายใจเข้าออกนี่แหละ เป็นเครื่องยังสติสัมปชัญญะแล้วให้เกิดปัญญา ด้วยการนั่งอยู่กับที่และหลับตาด้วย ตัดทวารทั้ง 5 ข้างนอกอีก ไม่รู้ว่ามิจฉาทิฏฐิอย่างนี้ เต็มๆรูปอย่างนี้ มันจะอวิชชาหรือมันจะโง่ไปถึงไหน มันจะบรรลุธรรมไม่ได้ เพราะมันไม่มีความฉลาด มันไม่มี ฉฬายตนะ ไม่มีความรู้ทั้ง 6 ทวาร มีแต่ความรู้ทางทวารเดียว

คนมันมีความรู้ทั้ง 6 ทวาร ข้างนอกตั้ง 5 ทวาร ตาหูจมูกลิ้นกาย และไปปิดมัน แล้วไปหลับตา คำว่า กาย เป็นคำกลาง ที่มีทั้งภายนอกและภายใน 2 อย่าง และของศาสนาพุทธอย่าทิ้งภายนอก ถ้าทิ้งภายนอกไปเอาแต่ภายใน ไม่เอาภายนอกเลยนั่นคือ มิจฉาทิฏฐิ 100% 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ หากเลิกหลับตาปฏิบัติได้ประเทศไทยเจริญ วันพุธที่ 15 มิถุนายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2565 ( 14:46:21 )

อานาปานสติอย่างสัมมาทิฏฐิ

รายละเอียด

พระพุทธเจ้าทำอานาปานสติอย่างสัมมาทิฏฐิ คือให้นั่งนี่แหละแต่อย่าทิ้งภายนอก แม้จะหลับตาก็ต้องมีความรู้สึกอยู่กับลมหายใจมีภายนอกอยู่ ตาก็หลับ หูไม่ได้ยิน แต่ว่าต้องรู้สึกลมหายใจภายนอกอยู่เสมอ จริงๆแล้วไม่ต้องไปเหลือแต่ทวารเดียวคือลมหายใจเข้าออกมันปิดทวารอีก 5 อย่าง มันกลายเป็นทำให้สติเหลือนิดเดียว ไม่ครบ 6 ทวาร ก็เลยน้อย คุณทำให้ตัวเองได้น้อยมีผลน้อยโดยการหลงผิดอย่างนี้เป็นต้น คนที่ฟังด้วยดีก็จะชัดเจน

อานาปานสติถึงไม่ใช่วิธีนั่งหลับตา อานาปานสตินั้นจะต้องมีสติปัฏฐานอยู่ด้วย พิจารณากายในกายเวทนาในเวทนาจิตในจิตธรรมในธรรมรู้จักการเดินการก้าวการกินการเคี้ยวการอุจจาระปัสสาวะ หมดทุกอย่าง จึงจะเรียกว่าปฏิบัติอานาปานสติถูกต้องครบถ้วน จะไปนั่งหลับตานั้นเป็นพวกที่ผิด เพราะศาสนาพระพุทธเจ้านั้นหลับตาไม่ได้

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการวิถีอาริยธรรม บ้านราชฯ ตีแตกเทวะด้วยคอมเม้นท์ที่เห็นต่างจากพ่อครู วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2562 ที่บวรราชธานีอโศก

สื่อธรรมะพ่อครู(สัมมาทิฎฐิ 10) ตอน สมณพราหมณ์ผู้มาเปิดเผยสัมมาทิฏฐิของพุทธ


เวลาบันทึก 03 มีนาคม 2564 ( 12:33:37 )

อานาปานสติโดยย่อ

รายละเอียด

อานาปานสติ คนที่ตัดขาดจากการรับรู้สึกลมหายใจเข้าออกภายนอก คุณต้องตื่นรู้ทั้งนอกและใน ถ้าลมหายใจเข้าลมหายใจออกของคุณ ขาด ไม่รับรู้สึกแล้วแม้แต่ลมหายใจเข้าออก คุณก็เลยตกอยู่ในภวังค์ อันนั้นแหละคือ ไม่มีการปฏิบัติอานาปานสติ อันนั้นแหละตัดทิ้งเลยไม่ใช่ศาสนาพุทธ อานาปานสติสรุปได้อีกที ต้องตื่นลืมตามีลมหายใจเข้าออกที่เต็ม และมีสติเต็มอยู่กับการหายใจเข้าหายใจออกแล้วสัมผัสอะไรต่ออะไรต่างๆเต็มๆเลย นี่คืออานาปานสติที่คุณจะต้องปฏิบัติกับสิ่งใดที่คุณเกี่ยวข้องอยู่ในขณะนั้น วิเคราะห์วิจัยเรียนรู้จากการสัมผัส สัมผัสเครื่องกิน สัมผัสกับเครื่องใช้ เป็นต้น การทำงาน เรื่องกินเรื่องใช้ อย่างอื่นก็เจาะกิเลส กับการสัมผัสสัมพันธ์กันอยู่เพื่อล้างกิเลสให้ได้ จนกระทั่งสัมผัสอะไรก็ไม่ต้องมีกิเลสๆๆ ก็จบ 

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2563


เวลาบันทึก 26 ธันวาคม 2563 ( 10:17:19 )

อานาปานสติไม่จำเป็นต้องมีหลับตา

รายละเอียด

ที่เขาเข้าใจผิดก็คืออานาปานสติต้องนั่งหลับตา ที่คุณถามมาคงหมายถึงว่าอานาปานสติแบบนั่งหลับตา เป็นการเข้าใจผิด หลับตาก็ได้แต่จะลืมตามากกว่า อานา อาปานะแปลว่า ลมหายใจเข้ากับลมหายใจออก สลับกันก็ได้ หมายความว่าตราบที่คุณยังมีลมหายใจเข้าออกยังมีชีวิตอยู่คุณต้องมี อานา อาปานะ ยังไม่ตายคุณต้องมีสติ และมีสติเต็มที่ต้องรู้ทั้งกายกรรมข้างนอก ก็มีสติควบคุมดูแลในการสัมผัส คุณจะพูดอยู่ก็มีสติ แล้วรู้จักทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณได้รับสัมผัสแล้วคุณโอภาปราศรัยเจรจาไปด้วย หรือนักปฏิบัติก็ปฏิบัติได้ในขณะทำ ทางกายกรรม แม้ขณะทำวจีกรรม หรือในขณะนึกคิด มโนกรรม คุณต้องมีสติและปฏิบัติ ธรรมะพระพุทธเจ้าทั้งหมดตั้งแต่ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์ พากเพียรปฏิบัติให้เกิดผลคือรู้กิเลส แล้วก็มีวิธีทำให้กิเลสดับ ทำให้กิเลสลดลงไปจนดับได้ จนดับได้ถาวรก็จบ เป็นวิมุติญาณทัสนะนั่นคือจบรอบหนึ่ง จบรอบหนึ่งก็ขยายเป็นกระบวนการออกไปเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ วิมุติญาณทัสนะ ก็จบไปเป็นเรื่อง ก็สะสมความรู้และความจริงอย่างนี้ไปเรื่อยๆเป็นฐานปฏิบัติจนมีจิตสำเร็จมีวิชาที่บรรลุสั่งสมลงไปเรื่อยๆ และจิตที่ประสบผลสำเร็จนั้นจะไปจบลงที่อุเบกขาจิตไม่มี 2 อย่างดีก็มี 1 เป็นที่อาศัย กับ 0 คือหมดกิเลส หมดตัณหา หมดสิ่งที่จะต้องกังวลเลย แล้วคุณก็มีชีวิตสบายโล่งโปร่งเบาทุกอย่าง เท่าที่คุณมีฐานะของแต่ละคน แต่ละเรื่อง 

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2563


เวลาบันทึก 26 ธันวาคม 2563 ( 09:59:05 )

อานาปานสติไม่ใช่การนั่งหลับตาปฏิบัติ

รายละเอียด

ประเด็นหลับตาเป็นประเด็นเรื่องหลักเลย ยุคพระพุทธเจ้าอุบัติ พอออกป่าไปตามลิงลมอมข้าวพอง ท่านก็เลยออกป่าตามเขาบ้าง ตามวัฒนธรรมของยุคนั้นที่ครอบครองอยู่ ออกไปก็เจอเขานั่งหลับตาเดินจงกรม แล้วท่านยังไม่มีมรรคยังไม่มีการประกาศโลกุตระ ไม่เหมือนอาตมาที่พระพุทธเจ้าได้ประกาศโลกุตรธรรมมาก่อนแล้ว แต่ในยุคพระพุทธเจ้าจะไม่มีคนประกาศโลกุตรธรรมด้วย 

พระพุทธเจ้าท่านจึงต้องทรงอนุโลมหลายอย่าง เช่น อานาปานสติ ก็พากันนั่งหลับตา อานาปานสติ ไม่ได้หลับตาเลย ลืมตา คำว่า อานา อาปานะ คือ ลมหายใจเข้าออก ก็คือทุกลมหายใจเข้าออกจะต้องมีสติ  การปฏิบัติที่มีสติเต็ม การทำงานอาชีพเป็นสัมมา ทุกกัมมันตะ การกระทำก็เป็นสัมมา จะพูดก็เป็นสัมมา จะคิดก็สัมมา มีหลักฐาน ไม่ใช่ไปหลับตาปฏิบัติ 

ทำอาชีพหลับตาปฏิบัติได้อย่างไร ทำกรรมกิริยาจะไปหลับตาปฏิบัติตัวอย่างไร มันไม่ใช่ มันเป็นปกติของคนธรรมดาก็ลืมตา นอนหลับพักผ่อนก็หลับสิ ก็จะไปทำอย่างอื่นทำไม เรื่องง่ายๆชัดๆ ตอนนี้ไปหลับตาจะเอาความรู้ครบ มันจะไปครบได้อย่างไรเพราะหลับตาก็มีแต่มืด แคบๆ อยู่ในกะลาครอบ จะรู้ได้อย่างไร อาตมาก็พูดหนักพูดจริง เขาก็ไม่สะเทือน ไม่สะดุ้ง ไม่หวั่นไหวไม่เปลี่ยนแปลง ทำไมโง่ดักโง่ดานอย่างนี้ มันน่าสงสารจริงๆ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 10 วันจันทร์ที่ 20 กันยายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 10 กุมภาพันธ์ 2565 ( 11:10:52 )

อานาปานสติไม่ใช่ปฏิบัติขณะหลับตาแต่ต้องปฏิบัติตามพุทธคุณ 9 ข้อวิชาจรสัมปันโน

รายละเอียด

หากเลิกหลับตาปฏิบัติได้ประเทศไทยเจริญ 

เรื่องที่จะพูดนี้คือเรื่องของ ทิฏฐิ ในการเห็นหลักปฏิบัติผิดเพี้ยนเรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ หลักปฏิบัติของพระพุทธเจ้าในเรื่องของคำว่า อานาปานสติ ผู้มิจฉาทิฏฐิจะปฏิบัติอานาปานสติในขณะหลับตาหนีเข้าป่า แล้วเห็นว่าหลับตาหนีเข้าป่าปฏิบัตินี่แหละจะได้สมบัติที่ชื่อว่า จรณะ วิชชา หลงว่า จะได้วิชชา จรณะ ด้วยการหนีเข้าป่าแล้วไปนั่งหลับตาสะกดจิต หลับตาสะกดจิต คำนี้ก็ยังเข้าใจกันยาก มันต่างกัน อาตมาก็ยังไม่เก่งเท่าไหร่ พยายามอธิบายแต่ยังเข้าใจกันไม่ได้  ในบรรดาพุทธคุณทั้ง 9 ของพระพุทธเจ้า มีข้อเดียวเท่านั้นที่พูดถึงภาคประพฤติ และผลของการประพฤติ คือจรณะ 15 วิชชา 8 หรือวิชชาจรณสัมปันโน 

ใน 9 ข้อนั้นอีก 8 ข้อเป็นคำยกย่องพระพุทธเจ้าทั้งนั้น เป็นฉายาที่ยกย่องท่านทั้งนั้นไม่ใช่ตัวคำสอนและภาคที่จะปฏิบัติให้เกิดผล เป็นของพระพุทธเจ้าโดยตรงทั้ง 8 ข้อ ส่วนข้อวิชชาและจรณะ เป็นของทุกๆคน ที่จะต้องเรียนรู้ตาม และปฏิบัติตาม ให้เกิดผลตามจนกว่าคุณจะได้เป็นพระพุทธเจ้าและได้รับฉายาอีก 8 ข้อนี้ตามท่าน เพราะฉะนั้นในความสำคัญของพุทธคุณ 9 เนื้อแท้จึงอยู่ที่จรณะวิชชา เรียกเต็มๆว่า วิชชาจรณสมบัติ คือภาคประพฤติและปัญญา วิชชาคือปัญญา จรณะ คือ ความประพฤติ ภาคปฏิบัติมีตั้งแต่ เรียนรู้จักคำสอนซึ่งไม่ใช่คำสั่ง คำสั่งเป็นเรื่องของแบบศรัทธาเขาทำ สายปัญญาไม่ใช้คำสั่ง แต่ใช้คำสอน สอนแล้วใครเต็มใจยินดีพอใจก็มาเอา มารับไปปฏิบัติ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ หากเลิกหลับตาปฏิบัติได้ประเทศไทยเจริญ วันพุธที่ 15 มิถุนายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2565 ( 14:41:41 )

อานาปานะสติเรียนรู้ตัวเองทุกอิริยาบท

รายละเอียด

คุณเข้าใจอานาปานสติเท่าไหร่ไปอ่านอานาปานสติสูตรให้ดี เล่ม 14 ข้อ 282 เป็นต้นไป ซึ่ง อานาปานสติไม่ได้หมายความว่าให้นั่งอยู่กับที่ อานาปานสติ แปลว่า ในช่วงชีวิตที่คุณยังมีลมหายใจเข้าลมหายใจออกเรียกว่า อานาอาปานะ คุณก็ต้องมีสติแล้วเรียนรู้ตัวเองทุกอิริยาบถ กายคตาสติ ไปจนกระทั่งถึงจิต ไปจนกระทั่งถึงกิเลส อ่านกิเลสออกแล้วลดกิเลสได้ทุกเวลา แต่เมื่อศาสนาเพี้ยน อย่างยุคพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมา เขาก็ออกป่านั่งสมาธิอานาปานสติอยู่อย่างนั้น นั่งในที่นั่งแห่งเดียวอยู่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าก็เลยบอกว่าแม้จะนั่งอยู่อย่างนั้นก็ดีจะอยู่ป่าก็ดีอยู่ถ้ำก็ดีอยู่โคนไม้ก็ดี ก็เเรียนอย่างเดียวกันได้หมดแล้วจึงไม่จำเป็นต้องออกป่าเขาถ้ำ ในขณะที่มีตาหูจมูกลิ้นกายใจครบทุกอย่าง ให้รู้สุดยอดคือ ตามรู้ อนิจจานุปัสสี วิราคานุปัสสี นิโรธานุปัสสี ปฏินิสสัคคานุปัสสี ตามรู้ให้หมด พอรู้แล้วก็จัดแจงทำให้ได้ว่า ตัวที่จะทำให้มันไม่เที่ยง แล้วทำให้มันไม่มี ก็คือ กิเลส เพราะฉะนั้นมันไม่เที่ยงหรือไม่ใช่ตัวตน ทำให้มันจางให้มันมีราคานุปัสสีจนกระทั่งมันหมด นิโรธานุปัสสี ไม่ต้องอาศัยสุขทุกข์ในกิเลสของคุณอีกแล้ว นั่นต่างหาก เพราะฉะนั้นผู้ที่หลงทางไปนั่งอยู่กับที่จึงทำไม่ได้ คุณก็ไม่เกิดความรู้ให้เกิดปฏิภาณ ปัญญาเคลื่อนไหวให้สติตามรู้แล้วตามให้ทัน คุณไปนั่งจุมปุ๊กก็ตามภูมิคุณ แต่อาตมาทำได้แม้กระทั่งการเคลื่อนไหวที่เร็วก็ทำได้เป็น กายปาคุญญตา จิตปาคุญญตา เข้าออกสัมผัสเร็วไวเป็น มุทุภูตธาตุ อย่างคุณทำนั้นสบายมากนั่งนิ่งไม่เคลื่อนไหว ก็ทำได้สบาย อย่างนั้นไม่ยากอะไร 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 3 เมษายน 2563


เวลาบันทึก 09 เมษายน 2563 ( 11:20:49 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 10:56:22 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:47:19 )

อานาอาปานะคือลมหายใจเข้าออกที่จะต้องมีสติปฏิบัติธรรมตลอด

รายละเอียด

คุณนั่นแหละอ่านธรรมะพระพุทธเจ้าไม่แตก พระพุทธเจ้าสอนไว้ชัดเจนแต่ที่คุณชัดเจนยังมัวซัวอยู่ 

ไม่ใช่.. ธรรมดาไม่ต้องไปรู้ลมหายใจเข้าออก มันก็มีลมหายใจเข้าออกก็ต้องอัตโนมัติอยู่แล้ว คนมันก็รู้อยู่แล้ว ใครๆก็รู้ว่า คนมีลมหายใจเข้าลมหายใจออก แล้วเราก็รู้ว่าลม มีลมหายใจเข้าลมหายใจออกโดยไม่ต้องไปรู้ อัตโนมัติมันก็รู้อยู่แล้ว ถ้าไม่มี มันก็ตาย เพราะฉะนั้นมันรู้อยู่แล้ว ลมหายใจเข้าลมหายใจออก เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปปฏิบัติอะไรเลยกับการมีลมหายใจเข้าลมหายใจออก แต่ต้องปฏิบัติธรรมทุกขณะที่คุณยังมีลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หมายความว่าคุณยังมีทั้งเข้าทั้งออกอยู่ ยังไม่ตาย ถ้าคุณตายแล้วลมหายใจเข้าไม่มีออกก็ตาย ลมหายใจออกไม่มีเข้าก็ตายทั้งนั้น มันยังมีภาวะ 2 ลมหายใจเข้าลมหายใจออกคุณยังไม่ตาย 

อานาอาปานะ แปลว่า ลมหายใจเข้าออก คุณยังไม่ตาย ไม่ต้องไปหาสถานที่ปฏิบัติ

..ไม่ใช่ ปฏิบัติแบบลืมตา ขนาดพระพุทธเจ้าก็ยังปฏิบัติลืมตา แล้วก็ตรัสรู้ลืมตา ภาวะที่ท่าน ตรัสรู้คือ จักษุ ญาณ ​ปัญญา วิชชา อาโลก มีหลักฐานยืนยันในพระไตรปิฎกเล่ม 1 ท่านตรัสรู้มี จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา อาโลก มีแสงสว่างของพระอาทิตย์ นี่เป็นสิ่งยืนยันเลยว่าท่านลืมตาไม่ได้หลับตา 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ  พุทธศาสนาตามภูมิ อภิภูผู้รู้จบสัตตาวาสและวิญญาณฐีติ วันพุธที่ 27 เมษายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 15 กรกฎาคม 2565 ( 12:24:01 )

อานิสงค์การเกินจงกรม

รายละเอียด

ก็มีหลายอย่าง เช่นทำให้เดินทน สมัยก่อนการเดินทางต้องใช้การเดินเป็นหลักแต่สมัยนี้ไม่ต้องเพราะพาหนะมีเยอะแยะก็ลดลงไป ประโยชน์อย่างอื่นคนก็ค่อยๆศึกษาไป 

ที่มา ที่ไป

ธรรมมาธิบาย  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 25 กันยายน 2562 ( 16:10:00 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 08:40:23 )

อานิสงค์ในการฟังธรรม 5

รายละเอียด

1. ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง

2. เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว

3. บรรเทาความสงสัยเสียได้

4. ทำความเห็นได้ถูกตรง

5. จิตของผู้ฟังย่อมเลื่อมใส

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม  22"ธัมมัสสวนสูตร"  ข้อ  202

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก 


เวลาบันทึก 26 มิถุนายน 2562 ( 20:59:29 )

เวลาบันทึก 30 กรกฎาคม 2563 ( 06:53:12 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 03:18:43 )

อานิสงส์

รายละเอียด

1. ประโยชน์

2. ประโยชน์ หรือผล

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3หน้า 513 ,พุทธเป็นอเทวนิยมอย่างนี้ หน้า 164, ค้าบุญคือบาป หน้า 174


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 12:18:28 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 02:50:50 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:19:27 )

อานิสงส์

รายละเอียด

แปลว่าประโยชน์คือ การทำให้กิเลสลดหมดไปได้เรื่อยๆ กิเลสหมดคือ ผลของอานิสงส์ได้สูงสุด คือ ประโยชน์แท้คือการกำจัดกิเลส

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 23 ธันวาคม 2562 ( 21:20:37 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 13:37:38 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 17:37:10 )

อานิสงส์ 5 ของการฟังธรรม

รายละเอียด

(การฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา สุตสูสัง ลภเต ปัญญัง) 

1. ผู้ฟังย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง (อัสสุตัง  สุณาติ) 

2. ย่อมเข้าใจชัดในสิ่งที่ได้ฟังแล้ว (สุตัง  ปริโยทเปติ) 

3. ย่อมบรรเทาความสงสัยเสียได้ (กังขัง  วิหนติ) 

4. ย่อมทำความเห็นให้ถูกตรง  (ทิฏฐิง อุชุง กโรติ) . 

5. จิตของผู้ฟังย่อมเลื่อมใส (จิตตมัสสะ  ปสีทติ) 

(พตปฎ. เล่ม 22  ข้อ202) 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธสาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 22 มกราคม 2563

หนังสืออ้างอิง

พตปฎ. เล่ม 22  ข้อ202


เวลาบันทึก 06 กุมภาพันธ์ 2563 ( 20:21:54 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 14:06:37 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:20:05 )

อานิสงส์ 5 ประการ ของการกินมื้อเดียว

รายละเอียด

1. ร่างกายไม่เจ็บป่วย  อาพาธน้อย  (อัปปาพาธัง)
2. ไม่มีอะไรบกพร่อง  (อัปปาตังกัง)
3. กระปรี้กระเปร่า เบากาย เบาใจ  (ลหุฏฐานัง)
4. มีพละกำลังเหลือใช้  (พลัง)
5. เป็นอยู่สบาย จิตใจผาสุก  (ผาสุวิหารัง)
 

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎก เล่ม 12ข้อ 265  พระไตรปิฏก เล่ม 13 ข้อ 160


เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2562 ( 15:09:21 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 13:55:44 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 03:19:04 )

อานิสงส์ 5 ประการในการฟังธรรม

รายละเอียด

 แล้วทุกวันนี้ไม่มีพระพุทธเจ้าแล้ว ก็มาซักถามจากสัตตบุรุษนี่แหละ ข้อที่ 1 ก็ได้แต่ว่าข้อที่ 2 เข้ามายังมีรายละเอียดจากข้อที่ 2 ตรงที่มาถามแล้วถามอีก ไม่ใช่พบสัตตบุรุษหรือพบพระพุทธเจ้าแล้วฟังครั้งเดียวแล้วจบเลยไม่ใช่ ต้องมาถามแล้วถามอีก ถามแล้วถามอีก ก็จะเข้าใจลึกซึ้งไปเรื่อยๆ อานิสงส์ในการฟังธรรม 5 ประการจะสูงขึ้นได้เรื่อยๆ แม้ ฟังความเดิมที่เคยพูดไปแล้ว แล้วท่านจะมีพลความที่อธิบายเพิ่มจากความเดิม อ๋อๆ อานิสงส์ 1. ได้ฟังสิ่งใหม่เพิ่มขึ้น 2. เข้าใจยิ่งขึ้น 3. บรรเทาความสงสัยได้ 4. ทิฏฐิตรงขึ้น 5. จิตผ่องใส เลื่อมใส สมบูรณ์แบบ นี่คืออานิสงส์ 5 ประการ มีจริงในศาสนาพุทธ 

ผู้ใดตรวจสอบสภาวะ 5 ประการในการฟังธรรมทุกที ทุกที ทุกที ไปตรวจสอบตัวเองดู 

1. ผู้ฟังย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง (อัสสุตัง  สุณาติ) 

2. ย่อมเข้าใจชัดในสิ่งที่ได้ฟังแล้ว (สุตัง  ปริโยทเปติ) 

3. ย่อมบรรเทาความสงสัยเสียได้ (กังขัง  วิหนติ) 

4. ย่อมทำความเห็นให้ถูกตรง  (ทิฏฐิง อุชุง กโรติ) . 

5. จิตของผู้ฟังย่อมเลื่อมใส (จิตตมัสสะ  ปสีทติ) 

(พตปฎ. เล่ม 22   ข้อ 202) 

นี่สุดยอดทั้งนั้น พูดให้ฟังธรรมะจากสัตบุรุษทุกวันนี้ไม่มีพระพุทธเจ้า อาตมาก็ประกาศว่าอาตมาเป็นสัตบุรุษแล้วไม่ได้หลอกไม่ได้พูดผิด ถ้าหากอาตมาพูดผิดตัวเองไม่ได้เป็น แล้วไปหลอกชาวบ้านบาปกินหัวหนัก อาตมาไม่ทำบาปให้แก่ตัวเอง มั่นใจไม่ได้ทำบาปให้แก่ตัวเองเพราะอาตมามีปัญญาพอที่จะรู้ว่า อาตมาทำนี้มันจริงหรือไม่จริงถูกหรือไม่ถูก ไม่มีปัญญาพอจริงๆ เพราะฉะนั้นปัญญาข้อที่ 2 ที่คุณแสงอรุณเขียนมาว่าเขาใช้ข้อนี้ เพราะยุคนี้ไม่มีพระพุทธเจ้ามีแต่สัตบุรุษ แล้วก็ถามแล้วถามอีก 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ การวัดคุณค่าของมนุษย์กับสิ่งสร้างขึ้นของมนุษย์  วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม 2565 ขึ้น 1 ค่ำ เดือนยี่ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 03 มกราคม 2566 ( 12:54:37 )

อานิสงส์ 5 ประการในการฟังธรรม

รายละเอียด

การจะพิสูจน์ว่าเรานี้สัมมาทิฏฐิในศาสนาพุทธหรือไม่ เอาตรงนี้ เอาการได้อานิสงส์ 5 ประการในการฟังธรรม ฟังธรรม ถ้าฟังธรรมอาตมา ฟังแล้วมีอานิสงส์ 5 เช่น 

ข้อที่ 1 ได้ฟังสิ่งที่ อันนี้แปลกหู แปลกไปจากที่เราเคยรู้ เราเคยได้ยิน เราเคยเข้าใจ มันผิดเพี้ยนไปด้วยซ้ำจากที่เราเคยรู้ เคยได้ยิน เคยเข้าใจไว้ เอ๊ะ… ใหม่ๆแปลกๆ แตกต่างไป นี่ข้อที่ 1 ทีนี้คนที่ยึดติดตัวเองว่าสิ่งที่เรารู้แล้วจริงนอกจากนี้ไม่มีอะไรจริง ถ้าแตกต่างนี้ตัดทิ้งไปเลย คนนี้จบ คนนี้เกมเลย คนนี้ไม่มีปรโตโฆษะ มิจฉาทิฏฐิถ่ายเดียว ไม่มีสัมมาทิฏฐิได้เป็นอันขาด นี่ก็เป็นหลักเกณฑ์ที่พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ให้ยืนยันพิสูจน์ เป็นคนปฏิเสธความเข้าใจความเห็นความรู้ของคนอื่น ไม่มีปรโตโฆษะ ไม่มีความเข้าใจไม่นึกว่าของคนอื่นเขาจะถูกบ้าง ตัดประเด็นไปเลย คนนี้รีบร้อนเกินไปก็มิจฉาทิฏฐิถาวร เพราะฉะนั้นในข้อที่ 1 เออ อันนี้แปลกใหม่ 

ข้อที่ 2 ยิ่งฟังใหม่ๆนี้เข้าใจได้ เออ… ที่ว่าไม่ใช่ มันเข้าใจขึ้นนะ พอฟังไปอีก ฟังไปอีก เข้าใจขึ้น เพราะฉะนั้นในปัญญาของพระพุทธเจ้าจึงมีปัญญาข้อที่ 1 ปัญญาข้อที่ 2 ต้องเข้าไปฟังแล้วฟังอีก ถามแล้วถามอีกในข้อที่ 2 ให้บริบูรณ์  ต้องคบสัตตบุรุษให้บริบูรณ์ ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ จึงจะเกิดศรัทธาที่บริบูรณ์ จึงจะเกิดโยนิโสมนสิการที่บริบูรณ์ อย่างนี้เป็นต้น อาตมาก็เอา อวิชชาสูตร ที่มีอาหาร 9 ข้อ 10 ข้อ  เอามาสาธยายอธิบาย เพราะฉะนั้นผู้ที่ปฏิเสธ อานิสงส์ฟังธรรม 5 ประการ ไม่เกิด ไม่เกิดครบเลยนี่ คนนี้ก็ไปไม่ออก 

ข้อที่ 2 เข้าใจมากขึ้น ข้อที่ 1 ได้ฟังสิ่งใหม่ แปลก แตกต่างจากที่เราเคยได้ยินได้ฟังได้ยึดถือเคยเชื่อ อันนี้ เอ๊… อันที่ 2 นี้เข้าใจเพิ่มขึ้น เอ๊ะ…. มันก็น่าฟังนะมันเข้าใจขึ้นมาเรื่อยๆ 

ข้อที่ 3 ทำความสงสัยข้องใจ ความสงสัยที่มีเก่าๆมันคลายออก อ๋อ ชัดขึ้น โอ้..จริงขั้น โอ้..มันจะคลายหมดความสงสัยขึ้นไปเรื่อยๆก็เป็นความเห็นใหม่ เป็นความเห็นที่ถูกต้อง เป็นความเข้าใจความเห็นหรือภูมิปัญญาที่ค่อยๆยกระดับทิฏฐิ เจริญขึ้น งอกงามไพบูลย์ขึ้นเรื่อยๆ ตรงขึ้น ตรงขึ้น จิตใจก็ผ่องใสเลื่อมใส ในสัจธรรมนี้เลยตอนนี้ โอ้.. เลื่อมใสเชื่อถือ จิตใจเบิกบาน ผ่องใส อิ่มใจเลย ดีใจเปรมใจ ที่ได้รู้สิ่งใหม่ สิ่งลึกซึ้งซาบซึ้ง มันจะมีอานิสงส์ 5 ประการนี้จริงๆเลย เพราะมันลึกซึ้งจริงๆ 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 10 ออกจากกาละได้โดยใช้ มูลสูตร10 และวิญญาณฐิติ 7 วันจันทร์ที่ 23 มกราคม 2566 ขึ้น 2 ค่ำเดือน 3 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 10 กุมภาพันธ์ 2566 ( 12:54:41 )

อานิสงส์ 5 ประการในการฟังธรรมของพระพุทธเจ้า

รายละเอียด

อานิสงส์ 5 ประการในการฟังธรรมของพระพุทธเจ้า 

1. ผู้ฟังย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง (อัสสุตัง  สุณาติ) 

2. ย่อมเข้าใจชัดในสิ่งที่ได้ฟังแล้ว (สุตัง  ปริโยทเปติ) 

3. ย่อมบรรเทาความสงสัยเสียได้ (กังขัง  วิหนติ) 

4. ย่อมทำความเห็นให้ถูกตรง  (ทิฏฐิง อุชุง กโรติ)  

5. จิตของผู้ฟังย่อมเลื่อมใส (จิตตมัสสะ  ปสีทติ) 

(พตปฎ. เล่ม 22  ข้อ 202) 

อานิสงส์ 5 ประการของการฟังธรรมที่ถูกต้องและคุณก็พัฒนาสัมมาทิฏฐิเพิ่มขึ้นๆ นี่แค่ฟังธรรมนะ ถ้ายิ่งปฏิบัติไปอีกก็จะยิ่งละเอียดซ้อนจะมีอานิสงส์ซ้อนสูงขึ้นไปอีก 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ  Neo Protest ประชาชนปฏิวัติอันยิ่งใหญ่ของประเทศไทย วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 03 ธันวาคม 2565 ( 12:00:37 )

อานิสงส์การเดินจงกรม

รายละเอียด

ก็มีหลายอย่าง เช่นทำให้เดินทน สมัยก่อนการเดินทางต้องใช้การเดินเป็นหลักแต่สมัยนี้ไม่ต้องเพราะพาหนะมีเยอะแยะก็ลดลงไป ประโยชน์อย่างอื่นคนก็ค่อยๆศึกษาไป 

ที่มา ที่ไป

620821_พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ


เวลาบันทึก 18 ตุลาคม 2562 ( 15:22:05 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 14:31:40 )

อานิสงส์ของการฟังธรรม 5 ประการ

รายละเอียด

ความชัดเจนในการฟังธรรมนั้น ความชัดเจนที่ว่า ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในอานิสงส์ของการฟังธรรม 5 ประการ ฟังแล้ว เหมือนได้ฟังสิ่งใหม่ๆเพิ่มขึ้นๆ เหมือนเติมขึ้นมา และที่ว่า ได้ฟังสิ่งเพิ่มเติม เสร็จแล้วก็ทำให้เราเข้าใจชัดมากยิ่งขึ้น ทำให้ความข้องใจสงสัยบรรเทาลง ก็เกิดทิฐิความเห็นความเข้าใจความเชื่อถือเจริญขึ้นมามากยิ่งขึ้นถูกตรงมากยิ่งขึ้น จิตใจก็สว่างขึ้นมา โอ้โห จะรู้สึกชื่นใจในการได้รับอะไรขึ้นมานี่เป็นอานิสงส์ 5 ประการในการฟังธรรม พระไตรปิฎกเล่ม 22 ข้อ 202 มันเกิดลักษณะนั้นจริงๆ ผู้ที่ฟังธรรมก็ลองทดสอบดูเถอะ 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 24 มิถุนายน 2563


เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 19:18:37 )

เวลาบันทึก 03 สิงหาคม 2563 ( 08:02:03 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 03:19:39 )

อานิสงส์ของการไม่กินเนื้อ

รายละเอียด

อานิสงค์ของการไม่กินเนื้อ  คือ

1.  ขี้ไม่เหม็น  มันก็เหม็นนิดๆ ไม่เหมือนกินเนื้อสัตว์

2.  ตดก็ไม่เหม็นหรือเหม็นไม่มาก

3.  เยี่ยวก็ไม่เหม็น หรือเหม็นไม่มาก

4.  กลิ่นตัวก็ไม่เหม็น หรือเหม็นไม่มาก

สัตว์เดรัจฉานปล่อยเขาไป  เกี่ยวกับคนก็เป็นวิบากต่อกันมากมายมหาศาลหาก หมามาอยู่กับเราก็เอาไปปล่อย ไปไกลๆ จนมันไม่กลับมานั่นแหละ หมามันมีสัญชาตญาณว่าอยู่กับเราปลอดภัยสัตว์อื่นๆ ก็เช่นกัน นกกระจาบก็มาทำรังที่หมู่บ้านของเรา  คนนี่แหละจะต้องเมตตากันตามศีลข้อที่ 1 พระสมณโคดม ละการฆ่าสัตว์  เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาสตรา มีความละอาย  มีความเอ็นดู  มีความกรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่  ศีลข้อ 1 ความหมายกว้าง  หากใครปฏิบัติศีลข้อ1 โดยเกี่ยวข้องกับสัตว์ สัตว์เดรัจฉาน  มนุษย์ เราไม่ฆ่ากัน  ไม่ฆ่าสัตว์มนุษย์  เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์มนุษย์ วางทัณฑะอุปกรณ์ในการฆ่า วางศาสตรา คือ เครื่องฆ่าที่เป็นความรู้  ทัณฑะ  คือ  วัตถุอาวุธที่ใช้ในการฆ่า  เช่น ลูกระเบิด  ไม้หน้าสาม มีด ผา ก็วาง  วางไม่ได้หมายความว่า ไม่เอามาใช้งานเลยนะ มีดต้องเอามาใช้งานอย่าพาซื่อ  หากคนมีศีลข้อ1  ประเทศนั้นจะไม่สร้างอาวุธประเทศไทยไม่เก่งในการสร้างอาวุธอย่าน้อยใจ  อย่าเสียใจ  ประเทศที่ก่อสร้างอาวุธนั้น  เป็นประเทศที่สร้างบาป  เป็นประเทศที่ได้บาปยิ่งอาวุธร้ายเท่าไหร่  บาปยิ่งมากเท่านั้น สร้างความรู้เพื่อฆ่ามนุษย์ ยอกย้อน โจรก็สอนอย่างโจรแต่โจรผู้ดีนี้สอนอย่างซับซ้อน  สอนการฆ่าเห็นมี 2 คน สอนการฆ่าคือ คนหนึ่งจบทางโลก อาชญวิทยา  ฆ่ามนุษย์ด้วยศาสตรา ทุกวันนี้ก็ยังไม่หมดกระแส ก็อาวุธ  ที่ยัดใส่หัวของพวกติดอาวุธ  ที่ยัดใส่หัวของพวกติดอาวุธทางศาสตราไว้  เดี๋ยวนี้ก็ยังใช้อยู่ตลอด ไม่วางศาสตรา แม้แต่เป็นพระเป็นเจ้าไม่เข้าใจก็สร้างความรู้เป็นศาสตรา ฆ่าศาสนาของตนเอง  เป็นการขยายความอย่างพิสดาร  การฆ่าสิ่งที่ไม่ควรฆ่า ไม่ละอาย  คำว่าไม่ละอายเป็นจรณะ 15 ของพระพุทธเจ้าเป็นสัทธรรมที่ลึกซึ้งมากคำสอนพระพุทธเจ้า  วิชชาจรณะสัมปันโน รวมไว้หมดแล้ว  ตั้งแต่ศีล อปัณกปฏิปทา 3  สัทธรรม7 ศรัทธา  หิริ  คือ  ละอาย  โอตตัปปะ  คือ เกรงกลัว  การสัมผัสสัมพันธ์กับมนุษย์ด้วยกัน  หากมีจิตคิดจะฆ่า  จะทำร้าย คนที่หยาบถึงจะฆ่าจะละอายในจิตจะมีอย่างนั้นขึ้นมา  คนที่มีจิตจริงๆพอรู้สึก  จิตตนเองมีอาการอยากฆ่าก็จะอายหากมีหิริแต่โอตตัปปะจะกลัวเลย  หากไปมีจิตคิดฆ่า  คนไม่มีจิตคิดฆ่าคน ฆ่าคนไม่ได้เลย  คือ มีหิริ โอตตัปปะ  หากโลกนี้มีคนฆ่าคนไม่ได้จะเสียหายไหม? ก็ไม่เสียหาย  นอกจากละอายแล้วยังมีความเอ็นดู

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอารยธรรม  บ้านราช  วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน 2562


เวลาบันทึก 26 ตุลาคม 2562 ( 13:29:47 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 13:45:03 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:51:09 )

อานิสงส์ของคนที่ยอมให้คู่ครองไปบวช

รายละเอียด

อานิสงส์ของคนที่ยอมให้คู่ครองไปบวช จะเต็มใจหรือไม่เต็มใจก็ตาม แต่ยอมให้ไปบวช ถ้ายิ่งเต็มใจให้ไปบวชมันก็ยิ่งดีใช่ไหม ถ้าแม้ว่าไม่เต็มใจแต่เอาเถอะไปบวชก็ยอม อย่างนี้นะ

พูดถึงเรื่องนี้ต้องพูดถึงตัวเองบ้างอาตมา ก่อนจะมาบวช ก่อนจะมาทำให้เต็มตัว ขออนุญาตแฟนเลย ก็บอกว่า พี่จะมาทางนี้แล้วนะ เขาก็ไม่ขัดข้องเลย อาตมาก็ประพฤติปฏิบัติ ก็เลยตกลงกัน ดังนั้นก็เอาไดอารี่มาเขียน เดือนนี้พบกันอาทิตย์ละกี่วัน ต่อมาก็พบกันนานขึ้นอีก ห่างกันไป ปักษ์หนึ่ง เดือนหนึ่งพบกันกี่วัน เสร็จแล้วก็ประพฤติ เสร็จแล้วก็ไม่ถึงเดือนละกี่วันหรอก อาทิตย์หนึ่งไม่กี่วัน ตามที่ตกลง แล้วก็ค่อยพบกันน้อยลง เขาก็บอก ตามสบายเลย หากเขาอยากพบเมื่อไหร่ก็จะมาหา จากวันนั้นก็ไม่ได้กำหนดเลยก็ค่อยห่างไปๆ เป็นเวลา 6 ปี อาตมาก็ออกมาทางนี้มาบวช เขาก็รออยู่ถึง 6 ปีไม่ไปมีแฟน เดี๋ยวนี้เขาไปอยู่อังกฤษ มีลูกคนนึง ลูกก็แต่งงานกับฝรั่งไป

ผู้ที่มีอานิสงส์ หรืออานิสงส์ที่ได้จากการยอมให้คู่ครองมาบวช อาตมาว่าเป็นเรื่องของโลกุตระเป็นอานิสงส์สูงมาก การมาบวชก็แสดงว่า เป็นผู้ชายจะให้มาบวช เราก็มีบวชสิกขมาตุเป็นผู้หญิง แต่ที่อื่นเขาไม่มีโดยทั่วไปก็มีแต่ผู้ชาย ก็แสดงถึงการยอมปล่อยวาง โลกีย์ก็มีคู่ ปล่อยวางคู่ให้ไปประพฤติพรหมจรรย์ ก็แสดงถึงว่าจิตจะต้องมีจิตใจดี จิตใจดีเป็นกุศลแน่นอน ถึงขั้นเป็นโลกุตระก็ที่สุด

ถ้าการจำยอม ข่มใจก็เป็นแบบสมถะ ถ้าแบบมีปัญญารู้ว่าไปเถอะด้วยความรู้ความเข้าใจ ความกดข่มจะน้อยลง หรือมีปัญญารู้ว่าไปแล้วก็ดีแล้ว ไม่มีการหวงแหนไม่มีการหน่วงเหนี่ยวเลยอานิสงส์ก็จะสูงจริง ตามที่จิตของเรามีคุณภาพคุณธรรม ตามที่อธิบายตามระดับให้ฟังนี้ บอกไม่ได้ว่าอานิสงส์กี่เปอร์เซ็นต์ แต่มีมากมีน้อยตามลำดับนี้ นี่เป็นความรู้ของอาตมาที่เข้าใจกุศล อกุศล แม้แต่ในระดับโลกุตระก็มีกุศลโลกุตระ

อานิสงส์ในการครองคู่แล้วปล่อยให้คู่ครองไปประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ที่เป็นคู่ครองไปประพฤติพรหมจรรย์แล้วยิ่งเป็นอรหันต์ ก็อนุโมทนาสาธุด้วย ก็ยิ่งดี เป็นอานิสงส์สูงสุด นี่คือ เรื่องของอานิสงส์ ของการให้คู่ครองไปบวช ไม่ต้องพูดถึงคู่ครองไปเป็นโพธิสัตว์เป็นพระพุทธเจ้าก็ยิ่งสูงสุด อย่างเช่นอาตมา คู่ครองให้ไปบวชอานิสงส์ก็ต้องสูง ยกตัวอย่างตัวตนเลย

ที่มา ที่ไป

พ่อครู เทศน์ ทวช.อโศกรำลึก ครั้งที่ 37 นาม 5 รูป 28 ให้ถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ

วันที่ 9 มิถุนายน 2561 ที่สันติอโศก

สื่อธรรมะพ่อครู(ศีล สมาธิ ปัญญา) ตอน อานิสงส์ของคนที่ให้คู่ครองไปบวช


เวลาบันทึก 14 กุมภาพันธ์ 2564 ( 10:53:58 )

อานิสงส์ของทาน

รายละเอียด

ผลนี่เป็นโลกีย์ อานิสงส์เป็นโลกุตระ

คู่โลกุตระคือ มีกิเลสกับการละกิเลส นี่คือประโยชน์ของศาสนา คุณทำทานแล้วคุณได้ละกิเลสทำให้กิเลสลดลงจางคลายลงหรือไม่ ถ้ายิ่งให้ทานแต่กิเลสยิ่งเพิ่ม กิเลสยิ่งโตภพชาติยิ่งเพิ่มขึ้นอันนี้แหละไม่มีอานิสงส์ มีอานิสงส์ภพชาติต้องลดลงหรือดับภพกับชาติ เพราะฉะนั้นทานต้องอย่าให้เกิดภพเกิดชาติ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ เปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ตอน 1 วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน 2564 ขึ้น 2 ค่ำเดือน 8 ปีฉลู ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 05 สิงหาคม 2564 ( 19:21:00 )

อานิสงส์ของศีล 10

รายละเอียด

ศีลที่เป็นกุศล ย่อมยังอรหัตผลให้บริบูรณ์ไปตามลำดับ (กุสลานิ  สีลานิ  อนุปุพเพนะ  อรหัตตายะ  ปูเรนตีติ) ดังนี้

1. อวิปปฏิสาร (มีความไม่เดือดเนื้อร้อนใจ)

2. ปามุชชะ (ปราโมทย์ – มีความเบิกบานยินดี)

3. ปีติ (มีความอิ่มใจ)

4. ปัสสัทธิ (มีความสงบระงับจากกิเลส)

5. สุข (มีความสุขอันเกิดจากความสงบซึ่งไม่บำเรอตน เป็น วูปสมสุข)

6. สมาธิ (มีจิตมั่นคง ตั้งมั่น)

7. ยถาภูตญาณทัสสนะ(มีความรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง)

8. นิพพิทา (มีความเบื่อหน่ายกิเลส)

9. วิราคะ (มีความคลายกิเลส จางคลายสิ้นความยินดี)

10. วิมุตติญาณทัสสนะ(มีความรู้แจ้งเห็นจริงในความหลุดพ้น)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 24“กิมัตถิยสูตร” ข้อ 1 และข้อ 208

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 07 กรกฎาคม 2562 ( 21:16:27 )

เวลาบันทึก 30 กรกฎาคม 2563 ( 06:56:54 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 17:37:28 )

อานิสงส์ของศีล 9

รายละเอียด

ศีลที่เป็นกุศล ย่อมถึงอรหัตตผลโดยลําดับ ดังนี้

1. อวิปปฏิสาร (ไม่เดือดเนื้อร้อนใจ)

2. ปามุชชะ (เบิกบานยินดี)

3. ปีติ (อิ่มใจ)

4. ปัสสัทธิ (สงบระงับกิเลส)

5. สุข (ความสุขอันเกิดจากความสงบ)

6. สมาธิ จิตตั้งมั่น)

7. ยถาภูตญาณทัสสนะ (รู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง)

8. นิพพิทาวิราคะ (เบื่อหน่ายคลายกําหนัด)

9. วิมุตติญาณทัสสนะ(รู้แจ้งเห็นจริงในความหลุดพ้น)

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 24 “กิมัตถิยสูตร” ข้อ 1


เวลาบันทึก 15 มีนาคม 2565 ( 21:37:48 )

อานิสงส์ของศีลมีอะไร

รายละเอียด

พระพุทธเจ้าตรัสไว้เลย การได้อานิสงส์ 10 ของศีล กุสลานิ สีลานิ อนุปุพเพนะ อรหัตตายะ ปริปูเรนตีติ ศีลที่เป็นกุศล ย่อมยังอรหัตผลให้บริบูรณ์ไปตามลำดับ

ที่ปฏิบัติธรรมไปแล้วผลของศาสนาหรือศีลจะเกิดที่จิตไม่ใช่เกิดแค่กายเจริญ วจีเจริญ เขาแบ่งแยกตีแยกเลย ว่าศีล มีประโยชน์เกิดแค่กายกับวาจา ส่วนสมาธินั้นไปนั่งหลับตาเอา ไม่เป็นอิทัปปัจจยตากับศีล ตอนนี้อาตมากำลังตรวจหนังสือเปิดยุคบุญนิยม สรุปเรื่องศีลมีอานิสงส์อย่างไรโดยละเอียด

ศีล มีอานิสงส์ทางจิตเริ่มตั้งแต่ กาย วจี ใช้กุศล ส่วนใจใช้บุญ ทำให้กิเลสลดเมื่อกิเลสลดก็ไม่เดือดร้อน 

1. อวิปฏิสาร (ความไม่เดือดร้อนใจ) 

2. ปามุชชะ - ปราโมทย์ (มีความยินดี) ความยินดีมีหลายระดับ 

3. ปีติ (ความอิ่มเอมใจ) 

4. ปัสสัทธิ (สงบระงับจากกิเลส) เป็นตัวมรรคผลของการปฏิบัติธรรม ปัสสัทธิ มาจาก ปัสสะ เป็นราก เกิดจากการเห็นตากระทบรูป จะมีทวารทั้ง 5 กระทบมีผัสสะ แล้วมีกิเลสก็ทำการสงบจากกิเลส ไม่ใช่สงบอย่างไม่มีเหตุปัจจัยเป็นลิงไปหยุดเลย ต้องมีคำขยายความว่าสงบจากกิเลส กิเลสมันลด มันดับ มันตาย ดับไม่เกิดอีกเลยอย่างนี้เป็นต้น 

5. สุข (แบบไม่บำเรอตน คือ วูปสมสุข) เป็นจิตที่ว่าง แต่ยังไม่ว่าง อนุโลมมาเรียกภาษาโลกีย์ สุข ทุกข์ เป็นภาษาโลกุตระ แต่อนุโลมใช้สุข เป็นฐานนำมาสู่โลกุตระไม่บำเรอตน มีคำว่า วูปสโมสุข เป็นสุขที่ทำให้เกิดความสงบตามทฤษฎีพระพุทธเจ้า ไม่ใช่สุขบำเรอกิเลส สุขแบบโลกีย์ คนละอย่าง ต้องสำคัญมั่นหมายในความเป็นสุขให้ชัดให้คม แต่ละคนต้องพึ่งพาตนเองว่าสัญญาต้องแม่นคมชัดละเอียด สัญญาจะต่างกัน สัญญาต้องพึ่งมากเลย ของแต่ละคน ต้องใช้สัญญาเจตสิกทำงานมากตั้งแต่ต้นจนจบเรียกว่า วัวงานที่ยิ่งใหญ่ของจิต ยิ่งใหญ่ของนามธรรม ต้องอนุโลมใช้คำว่าสุข ที่เป็นปรมังสุขัง เขาแปลว่า สุขอย่างยิ่ง แต่อาตมาแปลว่า ยิ่งกว่าสุข ถ้าเข้าใจแค่นี้ไม่ได้ก็ยากจะอธิบายให้รู้เรื่องโลกุตระ

สุขอย่างยิ่งกับยิ่งกว่าสุข ถ้าแยก 2 อย่างนี้ไม่ได้ อาตมาก็ว่าคุณจะเรียนโลกุตรธรรมได้ยาก เรียนไปหาอรหันต์ได้ยาก 

6. สมาธิ (จิตมั่นคง) ท่านใช้คำกลางๆ ของพระพุทธเจ้า สมาหิโต หรือจะบอกสมาธิก็จะมีคำว่าสัมมาสมาธิ แบ่งเป็นมิจฉาสมาธิกับสัมมาสมาธิ ถ้าเป็นสมาธิสมบูรณ์แบบเรียก สมาหิโต ส่วนที่มีเจโตสมาธิ หรือคำอื่นๆก็มีคำควบอีกเยอะ เป็นคำที่พิสดาร 

7. ยถาภูตญาณทัสสนะ (ความรู้ยิ่งในความจริง) คือความเจริญทางปัญญาความเฉลียวฉลาดทางปัญญา ยถาภูตญาณทัสสนะ เรียกก็คือธาตุรู้  ญาณทัสนะคือความรู้ยิ่ง ปัญญา ญาณ วิชชา คำว่าญาณ ทางโลกีย์เขาก็เอาไปใช้คำว่าปัญญาคำว่า วิชชา โลกีย์ ก็เอาไปใช้ผิดเพี้ยนตามใจชอบเขา เสียหมด อาตมาก็ต้องดึงขึ้นมาใหม่แต่จะไปตั้งภาษาใหม่ก็ไม่ไหว พระพุทธเจ้าท่านใช้มาแล้วใช้มาไม่รู้กี่รุ่นก็ขอใช้อันนี้ก็แล้วกัน บาลีเป็นภาษาที่ตายแล้วให้กลับคืนไปเข้าใจให้ถูกก็แล้วกัน เอาให้มันเข้าใจให้ถูกตรงกันก็ใช้ได้ 

สรุป ยถาภูตญาณทัสสนะคือความรู้ทางปัญญาอันยิ่ง ปัญญา ญาณ วิชชา 

8. นิพพิทา (เบื่อหน่าย) มันเบื่อหน่ายคลาย แรกๆจะเบื่อจะผลัก แรง 

9. วิราคะ (คลายกิเลส) คลายราคะ ไม่เอาราคะ ปฏิเสธราคะ ราคะต้องละเอียดขึ้นไป หมดกามราคะ รูปราคะ อรูปราคะ ไล่ไปตามชั้น 

10. วิมุติญาณทัสสนะ (ปัญญารู้แจ้งเห็นจริงในนิพพาน)  (กิมัตถิยสูตร พตฎ. เล่ม 24  ข้อ 1, 208) ขยายจาก ยถาภูตญาณทัสนะ ยถาภูตะ หมายถึงจิต ส่วนวิมุติ หมายถึงหลุดพ้น ญาณทัสนะตัวเดียวกัน ส่วนตัวที่ 10 วิมุติญาณทัสนะคือ ปัญญาญาณที่รู้แจ้งเห็นจริงในวิมุติหรือนิพพาน 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม ทำไมพ่อครูพาชาวอโศกลงสู่สนามการเมือง วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 19 กุมภาพันธ์ 2564 ( 05:09:23 )

อานิสงส์ของเมตตา 11

รายละเอียด

อานิสงส์ของเมตตา 11

1. ย่อมหลับเป็นสุข

2. ย่อมตื่นเป็นสุข

3. ย่อมไม่ฝันลามก

4. ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ (คนจิตใจประเสริฐ) ทั้งหลาย

5. ย่อมเป็นที่รักของอมนุษย์ (คนจิตใจต่ำ) ทั้งหลาย

6. เทวดา (คนจิตใจสูง) ทั้งหลายย่อมรักษา

7. ไฟ ยาพิษ หรือศาสตรา กล้ำกรายไม่ได้

8. จิตย่อมตั้งมั่นโดยรวดเร็ว 

9. สีหน้าย่อมผ่องใส 

10. ไม่ตายไปด้วยความหลงผิด, เป็นผู้ไม่หลงใหลทำกาละ (อยู่อย่างไม่ประมาท)

11. แม้ยังไม่บรรลุธรรมก็เข้าถึงพรหมโลก, เมื่อไม่แทงตลอดคุณอันยิ่ง ย่อมเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก (เป็นผู้มีคุณธรรมชั้นสูง)  (เป็นโลกของคนที่มีเมตตา   กรุณา มุทิตา อุเบกขา , เป็นผู้มีคุณธรรมชั้นสูง)    

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 24“เมตตาสูตร” ข้อ 222

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 07 กรกฎาคม 2562 ( 21:36:00 )

เวลาบันทึก 30 กรกฎาคม 2563 ( 06:59:48 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:21:06 )

อานิสงส์ของเมตตา 11

รายละเอียด

1 . หลับเป็นสุข

2. ตื่นเป็นสุข

3. ไม่ฝันลามก

4. เป็นที่รักของมนุษย์ (คนจิตใจประเสริฐ)

5. เป็นที่รักของอมนุษย์ (คนจิตใจต่ำ)

6. เทวดา (คนจิตใจสูง) ย่อมรักษา

7. ไฟ ยาพิษ ศาสตรา กล้ำกรายไม่ได้

8. จิตตั้งมั่นได้รวดเร็ว

9. สีหน้าผ่องใส

10. ไม่ตายไปด้วยความหลงใหล

11. แม้ยังไม่บรรลุธรรม ก็เข้าถึงพรหมโลก(โลกของคนเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 24 “เมตตาสูตร” ข้อ 222


เวลาบันทึก 16 มีนาคม 2565 ( 09:07:01 )

อานิสงส์ฉันมื้อเดียวมีอานิสงส์ 5 ประการ

รายละเอียด

1. ร่างกายไม่เจ็บป่วย  อาพาธน้อย  (อัปปาพาธัง)

2. ไม่มีอะไรบกพร่อง  (อัปปาตังกัง)

3. กระปรี้กระเปร่า เบากาย เบาใจ  (ลหุฏฐานัง)

4. มีพละกำลังเหลือใช้  (พลัง)

5. เป็นอยู่สบาย จิตใจผาสุก  (ผาสุวิหารัง)

ที่มา ที่ไป

560808


เวลาบันทึก 01 มีนาคม 2563 ( 12:46:05 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 13:57:08 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 03:20:02 )

อานิสงส์ฟังธรรม 5 ประการในงานปลุกเสกฯ

รายละเอียด

เจริญธรรมทุกๆคน วันนี้วันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน 2566 แรม 1 ค่ำ เดือน 5 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 

เราก็เริ่มคุยกันพูดกันเรื่องที่ควรจะคุย ควรจะพูด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องธรรมะหรือเป็นเรื่องการเป็นอยู่ของชีวิต ปลุกเสกฯก็ดี พุทธาภิเษกฯ ก็ดี ก็คือเรามาพยายาม อาตมาก็พยายามเทศน์ พวกเราก็พยายามมารับฟัง ทำให้มันเป็นธรรมะ ถ่ายทอดธรรมะ สาธยายธรรมะกันออกมา ให้ได้เข้าใจยิ่งๆขึ้น ยิ่งๆขึ้น 

46 ปี ใช่ไหม 45 ครั้ง ครั้งนี้ครั้งที่ 45 เราทำปีละครั้ง ก็ 45 ปีผ่านมาแล้ว 45 ปีนี้พระพุทธเจ้าท่านก็ไปแล้วนะ 45 ปีท่านก็พอแล้ว ท่านไม่ไปถึง 46 แต่เรายังต้องทำต่อไปอีก 46 ก็ต้องต่อ ยังไม่ตาย ถึงอาตมาตายพวกเราก็ทำต่อได้ สมมุติว่าอาตมาตายปีนี้ ปีหน้าก็มีกันอยู่ ผู้ใดนำพากันอยู่ก็ทำต่อไม่มีปัญหาอะไร สืบทอดกันไป 

เพราะมันเป็นวิธีการที่จะได้เสริมความรู้ความเข้าใจ ความละเอียดลออของธรรมะพระพุทธเจ้านี้ ซึ่งแหม..มันละเอียดจริงๆ อาตมายิ่งเขียนยิ่งคิด เห็นความละเอียดลึกซึ้งครบถ้วนบริบูรณ์ ขนาดอาตมายังรู้ไม่ครบถ้วนบริบูรณ์เท่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย ยังเห็นความมากมายหลากหลาย ครบถ้วนจริงๆเลย ที่พูดออกมา พูดออกมา สาธยายออกมาๆ มันออกมาจากที่อาตมาเองเข้าใจและเห็นจริง เห็นยังไงเข้าใจยังไงก็เอามาพูดให้พวกเราฟัง พวกเรารู้สึกว่ามันมีอะไรที่ละเอียดลึกซึ้ง ฟังธรรมมีอานิสงส์ในการฟังธรรม 5 ประการขึ้นเรื่อยๆไหม 

1.ได้ฟังสิ่งใหม่ที่มีใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆ 

2. เข้าใจยิ่งขึ้นๆๆๆ 

3. ขจัดความสงสัย ขจัดสิ่งที่มันข้องจิตข้องใจให้หมดไปๆๆ 

4. ทิฏฐิก็ตรง ตรง ตรง ตรง ตรงขึ้น เพราะฉะนั้นสัมมาทิฏฐิที่จะตรง ตรง ตรง ตรงจนกระทั่งมันไม่มีเป๋เลยได้ ไม่ใช่บอกว่าสัมมาทิฏฐิแล้ว พ้นมิจฉาทิฏฐิแล้ว ครั้งเดียว แนวเดียว ทีเดียวเลย ไม่ใช่ ไม่พอ เพราะฉะนั้นปัญญาของพระพุทธเจ้าข้อที่ 2 จึงต้องไต่ถามแล้วไต่ถามอีก แต่สำหรับพวกคุณมาฟังอาตมาบรรยายแล้วบรรยายอีก อาตมาไม่เบื่อ ใครจะเบื่อก็ช่างศีรษะใคร ของใครของมัน แต่อาตมาไม่เบื่อจะอธิบาย บางคนฟังแล้วอาจจะเบื่อก็ช่างสิ ตัวใครตัวมัน ศีรษะใครศีรษะมัน 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ภาคค่ำ เรื่อง กาย งานปลุกเสกพระแท้ๆของพุทธ ครั้งที่ 45 วันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน 2566 แรม 1 ค่ำ เดือน 5 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 10 เมษายน 2566 ( 11:07:39 )

อานิสงส์มากน้อยตามลำดับ

รายละเอียด

อานิสงส์รองลงมาคุณทำไม่สูงสุดอย่างนี้แต่คุณทำได้ถึงขั้น ปฏิพัทจิตโต ยังมีการผูกพันในการให้นั้นยังเป็นเราเป็นของเราอยู่บ้าง ยังมีการผูกพันว่าฉันได้ให้นะฉันเป็นเจ้าของ เป็นเจ้าของนี้ไปถึงขั้น สันนิธิเปกโข อันนี้เอาใส่คลังไว้เลยมาเป็นของเรานะ ไอ้ที่ให้นี้ เป็นตัวยึดติดว่าเราได้ให้คุณ ใส่คลังความจำไว้เลย 

ส่วนอันที่ 4 ปริภุญชิตสามีติ อันนี้ผูกพันแล้วก็เชื่อเลยว่านี่เป็นของฉัน จะได้เป็นผลในชาติหน้า จะได้เป็น ไปนู่นเลย เป็นภพเป็นชาติเป็นตัวกูของกู เต็มรูปเลย การทานหรือการให้ 4 ประการนี้ ไม่มีอานิสงส์ มีอานิสงส์แต่มันไม่มากตามลำดับ ถ้ามีอานิสงส์มากก็คือทานอย่างไม่มี สาเปกโขเลย นั่นคืออานิสงส์สูงสุด ทาน อย่างไม่มีตัวตน ทาน อย่างหมดตัวหมดตน นี่คือ สุดยอดของการให้ทาน 

นี่อาตมาเปิดตำราพระพุทธเจ้าจากพระไตรปิฎกมาขยายความเลยนะ ที่จริงอาตมาเตรียมอธิบายแต่ว่าไม่ได้เตรียมหลักฐานพระไตรปิฎกอ้างอิงอันนี้มา จะถือว่าเป็นข้อบกพร่องก็ได้ ไม่มีตัวนั้นมายืนยัน คนเขาจะเชื่อน้อย แต่คุณไปเปิดทวนได้ว่า อาตมาไม่ได้อ้างผิด เพราะฉะนั้นผลสำเร็จที่ว่า มยะหรือมยัง อันเป็นผลสำเร็จภาวนามัยคือเป็นผลสำเร็จจากภาวนานุโยคะมาเป็นภาวนามยะ มันจึงเป็น ไม่เป็นผลสำเร็จ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์วันมาฆบูชา งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 47  วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม 2566 ขึ้น 15 ค่ำเดือน 4 ปีเถาะ ที่บวรปฐมอโศก 


เวลาบันทึก 09 พฤษภาคม 2566 ( 15:52:32 )

อานิสงส์หรือประโยชน์ของการรักษาศีล

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นในศีลข้อที่ 1 ข้อเดียว ใครจะบอกว่าอาตมาไม่พาไปไหน อธิบายอยู่แค่ศีล นั่นแหละ อาตมาอธิบายอภิธรรมในศีลนะ เป็นขั้นความรู้ที่เข้าไปถึงจิต เจตสิก รูป นิพพาน ในศีลนี่แหละ 

ศีล ปฏิบัติศีลไปเพื่ออะไร ใน กิมัตถิยสูตร เล่ม 24/ข้อ 1 อานิสงส์ของศีล

อานิสงส์ 10 ของศีล

กุสลานิ สีลานิ อนุปุพเพนะ อรหัตตายะ ปูเรนตีติ

ศีลที่เป็นกุศล ย่อมถึงอรหัตตผลให้บริบูรณ์ไปตามลำดับ ดังนี้

1. อวิปปฏิสาร (ความไม่เดือดเนื้อร้อนใจ)

2. ปามุชชะ - ปราโมทย์ (มีความยินดี ปราโทย์ เบิกบาน)

3. ปีติ (ความอิ่มเอมใจ)

4. ปัสสัทธิ (สงบระงับจากกิเลส)

5. สุข (แบบไม่บำเรอตน คือ วูปสโมสุข อันเป็นยิ่งกว่าสุข )

6. สมาธิ (จิตมั่นคง / จิตตั้งมั่น)

7. ยถาภูตญาณทัสสนะ (ความรู้ยิ่งในความจริง รู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง)

8. นิพพิทา (เบื่อหน่ายกิเลส)

9. วิราคะ (จางคลายกิเลส)

10. วิมุตติญาณทัสสนะ (ปัญญารู้แจ้งเห็นจริงในนิพพาน/รู้แจ้งเห็นจริงในความหลุดพัน)

(พระไตรปิฎกเล่ม 24 "กิมัตถิยสูตร" ข้อ 1, ข้อ 208)

อานิสงส์ของศีล การปฏิบัติศีล มันได้สุดยอดเลย รวบจบเลยก็ได้ ถึงข้อที่ 10 ประโยชน์ของการรักษาศีลก็คือวิมุติติญาณทัสสนะ มันคือข้อที่ 10 เพราะฉะนั้นถ้าคุณไม่มีศีลเป็นพื้นฐานเป็นที่ตั้ง วิมุติของคุณก็เป็นวิมุติที่ไม่มีศีลเป็นที่ตั้ง มันจึงเป็นวิมุติขาลอย เป็นวิมุติเพ้อเจ้อ เป็นวิมุติตรรกะ เป็นวิมุติไม่มีพื้นฐานอะไรเลย คุณก็เป็นขอมดำดินไม่รู้มาจากไหนโผล่แล้วก็มีวิมุติ มุดแลัวก็โผล่มา

ปฏิบัติศีล ไปเพื่ออะไร การได้อานิสงส์ 10 ของศีล .

พระพุทธเจ้าท่านตรัส อานิสงส์ของศีล  10 ประการ 

ปฏิบัติศีลเป็นไปเพื่อจิต ไม่ใช่ปฏิบัติศีลเป็นไปเพื่อกาย-วาจาเท่านั้น นี่เขาสอนกันอย่างนั้น ก็เป็นการลบล้างคำสอนพระพุทธเจ้า  

กุสลานิ สีลานิ อนุปุพเพนะ อรหัตตายะ ปูเรนตีติ 

ศีลที่เป็นกุศล ย่อมยังอรหัตผลให้บริบูรณ์ไปตามลำดับ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ อภิธรรม‌ของ‌ศีล‌ข้อ‌ ‌1‌ ‌ที่‌ชาว‌อโศก‌ปฏิบัติ‌ได้‌ ‌วันศุกร์ที่ 14 มกราคม 2565 ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 2 ปีฉลู ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 09 กุมภาพันธ์ 2565 ( 21:13:26 )

อานิสงส์แห่งการฟังธรรม 5 ประการ

รายละเอียด

ถ้าไม่รู้นาม 5 รูป 28 เอามาเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติ คุณก็จะไม่ได้รู้สภาวะธรรมที่ละเอียดลออ สมบูรณ์แบบจริงๆ อาตมาก็พยายามอธิบายวนเวียนซ้ำซาก ผู้ที่มีธรรมรส ไม่เบื่อหรอก ฟังแล้วยิ่งจะเข้าใจซาบซึ้ง อธิบายแล้วจะ จับมุมเหลี่ยม มิติของสภาวะที่มีมากมายไม่รู้กี่ร้อยกี่พันเหลี่ยม เหมือนเดิม แต่ฟังมุมใหม่ๆๆ ฟังให้ดี สุสูสังลภเตปัญญัง อานิสงส์แห่งการฟังธรรม 5 ประการ ได้ฟังสิ่งที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน ก็ได้ฟังอันนี้ใหม่ ขึ้น ความเข้าใจก็ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทิฏฐิของเราก็ตรงมากยิ่งขึ้น ทิฏฐิงอุชุงกโรติ ความสงสัยคลางแคลงวิจิกิจฉาก็หมดลงๆๆ จิตใจก็เลื่อมใส สว่าง ยิ่งเจริญขึ้นสว่างโล่งโปร่ง 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563

 


เวลาบันทึก 28 กุมภาพันธ์ 2563 ( 10:15:36 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 13:53:35 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 19:54:44 )

อานิสงส์แห่งการฟังธรรม 5 ประการ

รายละเอียด

ฟังธรรมะพระพุทธเจ้าแล้วจะมีความซ้ำ แต่มีรายละเอียดเพิ่มขึ้นทีละน้อย พูดให้ฟังแล้วไม่เข้าใจก็จะรำคาญได้ว่าวนเวียนซ้ำซากน่าเบื่อได้ ผู้ที่เขาไม่ละเอียดะออก็จะไม่รู้สึก แต่ผู้ที่ฟังแล้วเกิดความลึกซึ้งละเอียด อานิสงส์แห่งการฟังธรรม 5 ประการเกิด ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยได้ยินได้ฟัง นิดๆหน่อยๆ สิ่งที่ไม่เคยได้ยินได้ฟัง ละเอียดยิ่งขึ้น ได้ฟังแล้วเข้าใจสิ่งที่ได้เข้าใจยิ่งขึ้น ความสงสัยทั้งหลายที่เคยสงสัยก็คลายสงสัยไป ทิฐิที่ไม่ตรง ก็ตรงขึ้น จิตใจก็เลื่อมใสเต็มที่ จิตตมัสสปสีทติ อานิสงส์ 5 ประการจะเกิดจริงเลย ใครรู้สึกในตัวเองไหม มันจริงเลย พระพุทธเจ้าตรัสไม่มีอะไรไม่จริง ผู้ที่ปฏิบัติตรงตามพระพุทธเจ้าสอนได้จริง อาตมาแสดง ก็เป็นความจริงตามจริงสอดคล้องกันด้วยมันก็เป็นอย่างนี้ ตถตา มันต้องเป็นเช่นนั้นแหละ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปัญญา 8 เล่ม 1 ตอนที่ 1

วันพุธที่ 23 มีนาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 30 มีนาคม 2565 ( 20:41:20 )

อานิสงส์แห่งฌานหลับตาปฏิบัติ!!

รายละเอียด

เพราะ“ฌาน”หลับตาปฏิบัติไม่มีกระบวนการของ“สัมมาสังกัปปะ 7” จึงมีแต่ทำให้จิตหยุดดำรินึกคิดอย่างพาซื่อ ให้เจตสิกมันหยุดๆนิ่งๆ แล้วจิตใจก็กลายเป็น“จิตเฉื่อยช้า” ยิ่งทำให้“เจตสิก 3”พิกลพิการ ตรงกันข้ามกับแบบของพุทธ คนละขั้วกันเลย 

แทนที่“เจตสิก”ต่างๆจะเจริญด้วย“วิการรูป 5”เป็น“กายปาคุญญตา”(ความคล่องแคล่วแห่งกองเวทนา,สัญญา,สังขาร เป็นต้น)

เจริญเป็น“กายปัสสัทธิ”(ความสงบเพราะเกิดจากสัมผัสภายนอกอยู่ก็ทำให้กิเลสตายไปจากจิตได้ ยิ่งมีความสงบกายจึงยิ่งแคล่วคล่องว่องไวตื่นเต็มตาเปิดทวารทั้งทวาร 6 มีอธิปไตยในโลก มีอธิปไตยในอัตตา ไม่ใช่แค่สงบแบบสงบด้วยสะกดจิตให้สมถะอยู่ใน“ภวังคจิต”เท่านั้น) 

เป็น“จิตฺตปัสสัทธิ”(ความสงบเพราะทำกิเลสที่เป็นภายในตายไปจากจิตได้ต่อจาก“กายปัสสัทธิ”อีกที จึงยิ่งมีความสงบจิตยิ่งแคล่วคล่องว่องไวตื่นเต็มตา มีอธิปไตยในโลก มีอธิปไตยในอัตตา ไม่ใช่จิตได้แค่สมถะอยู่ใน“ภวังคจิต”เท่านั้น)

เป็น“กายลหุตา”(ความเบาคล่องง่ายของ“กาย”เพราะกิเลสที่เกิดจากเมื่อสัมผัสภายนอกอยู่ กิเลสก็ได้ตายไป เจตสิก 3 ก็ยิ่งเบาว่างสบายยิ่ง) 

เป็น“จิตฺตลหุตา”(จิตว่างโล่งโปร่งเบา เพราะกิเลสที่เหลือในภายในหมดสิ้นไปอีก)

เป็น“จิตฺตมุทุตา”(จิตยิ่ง“หัวอ่อน”คือเป็นจิตที่ปรับหรือดัดfได้เร็วไว และไหวพริบก็ยิ่งเฉลียวฉลาดปราดเปรียว)

เป็น“จิตฺตกลฺลตา”(จิตยิ่งมีการฉับไวยิ่งๆขึ้น) เป็นต้น   

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ เปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อ 310 หน้า 235


เวลาบันทึก 02 สิงหาคม 2564 ( 14:49:08 )

อานิสงส์แห่งศีลสมบัติ 5 ประการสำหรับคหบดี

รายละเอียด

1. คนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมได้กองโภคทรัพย์ใหญ่หลวง เพราะเหตุแห่งความไม่ประมาท (มหันตัง  โภคักขันธัง  อธิคัจฉติ) 

2. ชื่อเสียงอันดีงามของคนมีศีล  ถึงพร้อมด้วยศีล  ย่อมเฟื่องฟุ้งไป (กิตติสัทโท   อัพภุคคัจฉติ )

3. เข้าไปหาบริษัทใดๆ เช่น ขัตติยะ  พราหมณ์  คหบดี  สมณะ  ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้า  ไม่ขวยเขินเข้าไปหาบริษัทนั้นๆ  (วิสารโท  อุปสังกมติ  อมังกุภูโต)

4. คนมีศีลถึงพร้อมด้วยศีล  ย่อมไม่หลงในการทำกาละ  (อสัมมูโฬฺห   กาลัง   กโรติ)

5. เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:56:47 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 14:04:11 )

อานิสงส์ในการฟังธรรม

รายละเอียด

พวกคุณที่มานั่งฟังธรรมฟังได้ฟังดีนี่แหละ คนที่เข้าใจว่าการฟังธรรมเป็นของสำคัญ​ เป็นสิ่งประเสริฐกับชีวิต ชีวิตจะเกิดกี่ชาติ เราไปหลงลาภยศสรรเสริญ อยู่อย่างนั้น คน 7 พันล้านในโลกนี้ เอาแต่ชาวพุทธ เอาแต่ในเมืองไทย 95 เปอร์เซ็นต์ของคนในเมืองไทย ประมาณ 60 ล้านคน เขาก็ไปใส่ใจในมิจฉาทิฏฐิที่เป็นธรรมะ ในสำนักนั้นสำนักนี้อาจารย์นั้นอาจารย์นี้ อธิบายอย่างนั้นอย่างนี้ เขาก็ได้ยึดถือตามที่เขาเองมีสิ่งที่มันต้องกันมันถูกโฉลกกัน ตรงกันกับจิตใจที่เขาได้ยึดถือมา แม้มันจะผิดเขาก็ผิดไปด้วยกันอยู่ สิ่งเหล่านี้มันเป็นเรื่องที่ อธิบายไปยาก คนที่มีทิฏฐิเป็นโลกีย์อย่างนี้ ภาษาบาลี คือเฉโก ซึ่งคำนี้ความหมายคนไม่เข้าใจกันแล้ว อาตมาไม่ได้ไปดูถูกเขา แต่มันมีบัญญัติภาษามา ศาสนาอื่นไม่มีปัญญา ศาสนาอื่นไม่มีความรู้โลกุตระ ปัญญาเป็นความรู้โลกุตระ ปัญญา 8 นี้ มีปัญญาที่ต้องได้ยินจากพระพุทธเจ้าจากสัตบุรุษจากผู้อยู่ในฐานะครู คุณไม่ได้ยินได้ฟังจากคนเหล่านี้มาก่อนไม่มีทางเกิดปัญญาเลย อย่างปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 โกณฑัญญะ ภัททิยะ มหานามะ วัปปะ อัสสชิ โกณฑัญญะเป็นคนแรกที่เกิด อัญญธาตุ เกิดจิต รับอันนี้ได้ เข้าใจเลย ชัดเจน ใช่เลย จิตเปลี่ยนออกจากโลกียภูมิออกมาเลย ไม่ใช่เรื่องเล่นนะ แต่เป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้งมากเลย คนที่จะเข้าใจอย่างพวกคุณที่เข้าใจอย่างนี้ที่อยู่ข้างนอกมีมั้ย.. อาตมาว่าไม่มีหรอก ที่เรียนด็อกเตอร์ ที่เรียนจบเปรียญ 9 กัน คนที่มีปฏิภาณฟังธรรมะโลกุตระเข้าใจ จะรู้ว่าเข้าใจได้ในสิ่งที่แปลกใหม่ เป็นอัญญธาตุ เป็นความรู้ใหม่แปลกอย่างที่ไม่เคยได้ยิน แต่เข้าใจ แต่ฟังแล้วมันใช่ เกิดจิตอัญญธาตุ พอคนที่ฟังสิ่งที่แปลกใหม่แต่เข้าใจรับได้ นี่แหละคือตัวแรกที่ได้ฟังสิ่งแปลกใหม่ เป็นอานิสงส์ในการฟังธรรม 5 ประการ แต่ถ้าใครฟังที่อาตมาพูดแล้ว มันแปลกใหม่จริงมันไม่เหมือนที่เคยได้ยินได้ฟังมาจริง แต่ก็บอกว่าพูดไม่เหมือนที่เคยรู้เคยได้ฟัง คุณก็อยู่ในกะลาครอบอย่างเดิม คุณไม่มีปรโตโฆษะ อย่างที่คุณรู้กัน ขออภัย เรารู้ มันโลกียะ มันเก่า แต่มันยังเก่าเอี่ยมอยู่ไง คนก็เลยยอมรับอยู่ มันเก่าแต่คนก็เอามาขัดสีฉวีวรรณก็เลยดูเหมือนใหม่ แต่เก่าเอี่ยม อาตมาว่า เขามีใหม่แล้วจ้า ลุง เขามีใหม่แล้วจ้า ป้า

อานิสงส์ในการฟังธรรม 5​ ประการ

  1. ผู้ฟังย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง (อัสสุตัง  สุณาติ) 

  2. ย่อมเข้าใจชัดในสิ่งที่ได้ฟังแล้ว (สุตัง  ปริโยทเปติ) 

  3. ย่อมบรรเทาความสงสัยเสียได้ (กังขัง  วิหนติ) 

  4. ย่อมทำความเห็นให้ถูกตรง  (ทิฏฐิง อุชุง กโรติ) . 

  5. จิตของผู้ฟังย่อมเลื่อมใส (จิตตมัสสะ  ปสีทติ) 

(พตปฎ. เล่ม 22   ข้อ 202) 

 

จะรู้ว่าท่านมาสอนให้เราถอนจากสิ่งที่เคยยึดติด สิ่งที่เราไม่ควรจะไปให้มันมาเป็นนายของเรา ที่เราหลงใหล จะค่อยๆลดละจางคลาย รู้จักสิ่งต่างๆในโลก หากคิดว่ามันน่าได้น่ามีน่าเป็นเท่าไหร่ได้มามันก็จะยึดติด แต่นี่มันเป็นไปเพื่อความ ละหน่ายคลาย

อาตมายิ่งอธิบายก็ทำให้รู้และคลายในสิ่งที่ไม่ควรติดยึด คุณก็ยิ่งเกิดปัญญาโลกุตระเข้าใจมากยิ่งขึ้น บรรเทาความสงสัย พูดคุยก็จะรู้ว่าแต่ก่อนเราเคยโง่เราเคยงง ต่อมาได้ฟังก็หายสงสัย ทิฏฐิอุชุงกโรติ ทิฏฐิก็ตรง ทำความตรงให้แก่ทิฏฐิมากขึ้นเรื่อยๆ 

เมื่อพวกคุณฟังธรรมฟังได้ฟังดีฟังทุกวัน คนเขาแยกแยะไม่ได้ก็จะบอกว่าทำไมพูดซ้ำซากอย่างเก่าอยู่นั่นแหละไม่เห็นไปไหนเลย เข้าไปถึงนอกโลก Star Wars กันแล้ว มีอาวุธประหลาดกันแล้ว แย่งชิงเพชรนินจินดาแย่งดาวคนละดวงกันแล้ว นี่ยังงมงายอยู่ในโลกเก่าๆซ้ำซาก เขาจะรู้สึกยังงั้น นี่คือสัจจะที่อาตมาพยายามอธิบายให้ลึกให้พิสดารให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นจากที่ได้พูดมาแล้วอธิบายมาแล้ว ขยายความมาแล้ว แต่ขยายความมากยิ่งขึ้น ได้อานิสงส์ 5 ประการไหม ใหม่ขึ้น เข้าใจมากขึ้น ได้คลายความสงสัย ทิฏฐิตรงขึ้น ใจยิ่งใสและเลื่อมมากยิ่งขึ้น 

บางคนง่วง ถ้าฟังแล้วไม่เข้าใจก็เลยไม่รื่นเริงในธรรมมันไม่ได้รับรส หากมีธรรมรส จะได้อานิสงส์ในการฟังธรรม 5 ประการ ใจมันก็ลดความโง่ทั้ง 5 ข้อนี้ ได้ฟังสิ่งใหม่ แล้วเข้าใจมากขึ้นในสิ่งเก่าก็ลดความโง่ลง บรรเทาความสงสัยลง ทิฐิมันก็ตรงขึ้นมันก็ลดความโง่ ใจมันก็ยิ่งใสสะอาดมากยิ่งขึ้น เป็นลักษณะสภาวะทั้งนั้น ฟังธรรมมีอานิสงส์ในการฟังธรรม ที่ฟังธรรมแล้วไม่จมอยู่แต่ในการฟังแล้วก็ได้แต่ตรรกะแต่ในจิตใจของคนมันเกิดสภาวะพวกนี้สภาวะ 5 อย่างนี้เป็นสภาวะนะ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 5 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 04 กันยายน 2563 ( 09:35:01 )

อานิสงส์ในการฟังธรรม 5

รายละเอียด

1. ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง (อัสสุตัง สุณาติ)

2. เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว (สุตัง ปริโยทาเปติ)

3. บรรเทาความสงสัยเสียได้ (กังขัง วิหนติ)

4. ทําความเห็นได้ถูกตรง (ทิฏฐิง อุชุง กโรติ)

5. จิตของผู้ฟังย่อมเลื่อมใส (จิตตมัสสะ ปสีทติ)

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 22 “ธัมมัสสวนสูตร” ข้อ 202


เวลาบันทึก 13 มีนาคม 2565 ( 21:01:13 )

อานิสงส์ในการฟังธรรม 5 ประการ

รายละเอียด

อธิบายอยู่นี้มีอานิสงส์ในการฟังธรรม 5 ประการตามพระพุทธเจ้าสมณโคดมพูดได้ไหม 1. ได้ฟังสิ่งที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน 2. เข้าใจได้ยิ่งขึ้น 3. หายสงสัยข้องใจ 4. มีทิฐิที่ตรงขึ้น 5. จิตใจก็สุขสบายเลื่อมใสมากยิ่งขึ้น นี่คืออานิสงส์ในการฟังธรรมเพิ่มขึ้น พวกเราถึงแน่น อาตมาอธิบายลึกยิ่งขึ้น พวกเรารู้ยิ่งขึ้น แต่คนไม่รู้ก็จับไม่ติด เห็นใจเขาเหมือนกัน แล้วก็ตีทิ้งอาตมา หาว่ามาหลอกอีก อาตมาว่าอาตมาจะไปทำทำไม ขนาดพวกคุณมีแค่นี้อาตมายังเหลือเฟือ ปฏิเสธในปัจจัยกินใช้อยู่ รับแต่เรื่ององค์ประกอบที่จะเอามาใช้งานสร้างให้แก่ผู้อื่นดีกว่านี้ แต่สำหรับตัวเอง เฟ้อเกิน เครื่องกินเครื่องอยู่

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจแบบอโศก วันอาทิตย์ที่ 7 มกราคม 2561 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 28 มีนาคม 2564 ( 21:32:19 )

อานิสงส์ในการฟังธรรม 5 ประการ

รายละเอียด

ซึ่งอาตมาก็ว่าได้สาธยายเนื้อหาสาระจนกระทั่งเกิดเป็นกลุ่มหมู่ชาวอโศกมีสาราณียธรรม 6 สาราณียธรรม 6 เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม มีลาภร่วมกันก็เอามารวมกันกินกันใช้เป็นสาธารณะ ลาภธัมมิกา ศีลสามัญตา ทิฏฐิสามัญตา พิสูจน์ได้ว่าแม้ในยุคนี้ก็ปฏิบัติได้ตามทฤษฎีพระพุทธเจ้าถูกต้องสมบูรณ์แบบหมดเลย ยืนยันได้ว่า แม้ยุคปัจจุบันนี้เป็นยุคที่เสื่อมที่สุด ธรรมะพระพุทธเจ้านี้ยากที่สุด แต่ก็เกิดได้เป็นสังคม สาราณียธรรม 6 สาธารณโภคี มีวรรณะ 9 

เป็นมนุษย์ที่พัฒนาทางโลกุตรธรรมได้ง่าย มีอานิสงส์ในการฟังธรรม 5 ประการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 

1. ผู้ฟังย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง (อัสสุตัง  สุณาติ) 

2. ย่อมเข้าใจชัดในสิ่งที่ได้ฟังแล้ว (สุตัง  ปริโยทเปติ) 

3. ย่อมบรรเทาความสงสัยเสียได้ (กังขัง  วิหนติ) 

4. ย่อมทำความเห็นให้ถูกตรง  (ทิฏฐิง อุชุง กโรติ)  

5. จิตของผู้ฟังย่อมเลื่อมใส (จิตตมัสสะ  ปสีทติ) 

(พตปฎ. เล่ม 22   ข้อ 202) 

พวกเรายิ่งปฏิบัติยิ่งลึกขึ้นและบรรลุธรรมได้ด้วยการฟังธรรมด้วย ตั้งใจฟังด้วยดีย่อมเกิดปัญญา สุสสูสังลภเตปัญญัง คนที่ฟังมากๆแล้วบรรลุได้ด้วยธรรมะจึงเป็นหมู่มวลที่แน่นขึ้นมาเรื่อยๆ ทางสายหลับตาเขาอายุยาวยืนเป็น 100 ก็มีเยอะ แต่รู้สึกว่าแสดงออกไม่เหมือนอาตมาจะพูดบรรยายจะไปจะมาไม่เหมือนอาตมา มันจะมีความต่าง ก็ดูกันไป เป็นสิ่งที่ประกอบการศึกษา ว่ามีความพิเศษอะไรอยู่นะ 

ประวัติของอาตมาอีกหน่อยคนจะมาวิจัย ตอนนี้คนยังไม่เห็นความสำคัญเท่าไหร่ โลกจะเข้าใจโลกุตรธรรมที่อาตมาอธิบายและพาทำโลกุตรธรรมเป็นหลักการยืนยัน มันจะเป็นสิ่งที่ตราไว้ในสังคมมนุษย์แล้ว มันจะเป็นหลักฐานในอนาคตคนจะค่อยๆเข้าใจและเห็นความสำคัญขึ้นมา อาตมาตายไปโน่นแหละคนจะค่อยๆขุดขึ้นมาจะค่อยๆเห็นความสำคัญถูกต้องได้ อาตมามั่นใจว่าไม่สูญหายหรอก 

 

 

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ สันติอโศก ผลงาน 50 ปี ตามอนุสาสนีปาฏิหาริย์ของพ่อครู วันพุธที่ 18 มกราคม 2566 แรม 12 ค่ำ เดือนยี่ ปีขาล ปี 2566 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 01 กุมภาพันธ์ 2566 ( 12:51:39 )

อานิสงส์ในการฟังธรรม 5 ประการ

รายละเอียด

ไม่หลงยึดผิดหรือ อาตมาก็ว่าอาตมาพยายามอยู่นะ ทำสิ่งที่มันไม่ได้ซ้ำซากจนเกินไป แต่ธรรมะพระพุทธเจ้าซ้ำซาก ไปอ่านพระไตรปิฎกเถอะ รับรองคุณไม่อ่านข้ามให้มันรู้ไป ใครอ่านพระไตรปิฎกไม่ทนอ่านทุกตัวอักษรเรียงไปหรอก มันต้องมีวนแล้วท่านขยันซ้ำจริงๆ บางทีซ้ำตรัสอย่างนี้ขึ้นแล้ว 10 ข้อท่านก็ซ้ำ 10 ข้อนั่นแหละท่านก็ขยายเพิ่มนิดหนึ่ง บางทีคำเดียว บางทีวลีเดียวบางทีประโยคเดียว ขยายไปละเอียดจริงๆโอ้โห…สุดยอดจริงๆเลย 

เข้าใจอย่างนั้นแล้วได้อย่างนั้นจริงก็ดีแล้วล่ะอาตมาก็เจตนาให้เป็นอย่างนั้นแหละ ไม่ได้หมายความว่าสอนไปทุกวันนี้ วนอยู่ที่เก่าไม่มีอะไรต่ออีกแล้ว อาตมาว่ายังมีอะไรละเอียดๆที่เป็นอานิสงส์ในการฟังธรรม 5 ประการอยู่นะ 

ทวนซิ 5 ประการมีอะไรบ้าง 

1.ได้ฟังสิ่งที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมา 

2. เข้าใจชัดขึ้น 

3. หายสงสัย 

4. ทิฐิถูกตรงขึ้น 

5. จิตผ่องใส จิตเลื่อมใสขึ้น 

เป็นอานิสงส์ 5 ประการจริงๆเพราะว่าธรรมะพระพุทธเจ้าละเอียดจริงๆ และอาตมาก็ว่าอาตมายังอธิบายละเอียดขึ้นได้ อาตมาว่าอย่างนั้นนะ 

แต่คนที่เขาภูมิไม่ถึงนั้น เขาไม่ได้ เขาจับไม่ติด ต้องใช้ศัพท์คำว่าเขาจับไม่ติดแล้ว มันไปไกลหรือมันพ้นจากภูมิของเขา พ้นสิ่งที่เขาจะรู้ตาม เอาง่ายๆ 

โทรทัศน์ของเราช่องนี้ รีรันอาตมาก็วันหนึ่งไม่รู้กี่เที่ยว ทุกวัน แสดงสดบ้าง บางวันไม่ได้แสดงสดแต่รีรันวันละ 2-3 เที่ยว เพราะ 1 วันมีตั้ง เอากลางวันก็ได้ 12 ชั่วโมง อาตมาเทศน์ อาตมาบรรยายนี่ ไม่ได้มีโฆษณา ไม่ได้เหมือนที่อื่น ช่องอื่นๆเขาเลย ไอ้ที่สำคัญที่สุดก็คือ ไม่ได้เรี่ยไรเลย ไม่เหมือนช่องอื่น ช่องธรรมะเหมือนกันแต่เขาเรี่ยไรทุกช่อง เว้นช่องบุญนิยมช่องเดียว ไม่มีเรี่ยไร 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรมโดยพ่อครู ครั้งที่ 14 GDP แบบพุทธสุดจบกิจ วันจันทร์ที่ 13 มีนาคม 2566 แรม 7 ค่ำเดือน 4 ปีเถาะ ที่บวรสันติอโศก


เวลาบันทึก 10 เมษายน 2566 ( 21:06:11 )

อานิสงส์ในการฟังธรรมหรือการศึกษา 5 ประการ 

รายละเอียด

นี่ เห็นไหม มันมีรายละเอียดของผู้ที่ปฏิบัติธรรมมีสัมมาทิฏฐิที่ดีๆมันจะค่อยๆได้ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า อานิสงส์ในการฟังธรรมหรือการศึกษา 5 ประการ 

อานิสงส์ในการฟังธรรม 5 ประการ 

1. ผู้ฟังย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง (อัสสุตัง  สุณาติ) 

2. ย่อมเข้าใจชัดในสิ่งที่ได้ฟังแล้ว (สุตัง  ปริโยทเปติ) 

3. ย่อมบรรเทาความสงสัยเสียได้ (กังขัง  วิหนติ) 

4. ย่อมทำความเห็นให้ถูกตรง  (ทิฏฐิง อุชุง กโรติ)  

5. จิตของผู้ฟังย่อมเลื่อมใส (จิตตมัสสะ  ปสีทติ) 

(พตปฎ. เล่ม 22 ข้อ 202) 

ฟังธรรมด้วยดีย่อมเกิดปัญญา และยิ่งเอาไปปฏิบัติจบครบจิตผ่องใสประภัสสรเลย 

ธรรมะพระพุทธเจ้าที่อาตมาเอามาอบรมสั่งสอนนั้น เราต้องใช้สติปัญญาศรัทธาเชื่อมั่น 

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาให้ถึงปัญญาวิมุติ

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม 2566 แรม 3 ค่ำ เดือนยี่ ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 15 มกราคม 2566 ( 13:19:04 )

อานิสสงส์ของการปฏิบัติศีล

รายละเอียด

อาตมาพูดศีลข้อที่ 1 พูดอยู่แค่นี้แต่ที่จริงอาตมาสอนอภิธรรม ผู้ปฏิบัติศีลเรียนรู้เรื่องศีลและปฏิบัติศีลได้ผลเรียกว่า อานิสงส์ของศีล 10 ประการ  ในกิมัตถิยสูตรข้อที่ 1  

การได้อานิสงส์ 10 ของศีล 

กุสลานิ  สีลานิ  อนุปุพเพนะ  อรหัตตายะ  ปูเรนตีติ 

ศีลที่เป็นกุศล ย่อมยังอรหัตผลให้บริบูรณ์ไปตามลำดับ

1. อวิปฏิสาร (ความไม่เดือดร้อนใจ) 

2. ปามุชชะ - ปราโมทย์ (มีความยินดี) 

3. ปีติ (ความอิ่มเอมใจ) .

4. ปัสสัทธิ (สงบระงับจากกิเลส) 

5. สุข (แบบไม่บำเรอตน คือ วูปสมสุข) 

6. สมาธิ (จิตมั่นคง) 

7. ยถาภูตญาณทัสสนะ (ความรู้ยิ่งในความจริง) . .

8. นิพพิทา (เบื่อหน่าย) .

9. วิราคะ (คลายกิเลส) 

10.วิมุติญาณทัสสนะ (ปัญญารู้แจ้งเห็นจริงในนิพพาน)  

(กิมัตถิยสูตร พตฎ. เล่ม 24  ข้อ 1 ,  208) 

พระพุทธเจ้าอธิบายว่าศีลมีอานิสงส์ถึงจิต อานิสสงส์ของการปฏิบัติศีลไม่ใช่ได้แค่กายกับวาจา คุณเลิกได้คุณจะไม่เดือดร้อนเนื้อร้อนใจ
อวิปฏิสาร คุณจะเห็นสัตว์เป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้นจริง ไม่เอามาค้าขาย มาหลอก มาล่อ มาปรุงแต่งกินกันเข้าไป มอมเมากันเข้าไปจนกลายเป็นโรค เป็นภัย เป็นพิษ เห็นโทษภัยในสิ่งเหล่านี้ 

ต่อมาผู้ที่มีอานิสงส์ได้ก็จะมีปามุชชะมีความยินดี เราหลุดพ้นไม่ละเมิด จิตก็จะพัฒนานี่เรียกว่า เป็นอานิสงส์ของศีล สัมมัปทาน 4 สติปัฏฐาน 4 ในการปฏิบัติศีล

เอาข้อเกี่ยวกับสัตว์นี่แหละ คุณก็เอามาระวังกาย เวทนา จิตธรรมที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ เกี่ยวข้องกับเนื้อสัตว์ เนื้อสัตว์คุณจะเอามาทำอะไรถ้าไม่เอามากิน เอามาพิจารณาละเลิก เลิกได้ไม่เดือดร้อน ไม่กินเนื้อสัตว์ ไม่เกี่ยวกับสัตว์ ไม่ต้องมารักมาชัง มาค้ามาขาย ผู้ที่เลิกมาได้แล้วจิตไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์ศีลข้อที่ 1 จิตยินดีสูงส่งขึ้นไปเป็นปิติอิ่มเอมใจ เกิดความสงบปัสสัทธิ สงบเพราะกิเลสของคุณลด ไม่ใช่สงบเพราะไปสะกดจิต ไม่ใช่ไปนั่งสมถะ ไม่ใช่หนีจากของจากคน..ไม่ใช่

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ศีลที่เป็นกุศลย่อมยังความเป็นอรหันต์โดยลำดับ วันพุธที่ 21 มิถุนายน 2566 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 8 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 13 มีนาคม 2567 ( 20:55:17 )

อานุสาสนีปาฏิหาริย์

รายละเอียด

คือ การฝึกฝนแต่ในเรื่องคำสอนที่เป็นประโยชน์ แล้วนำคำสอนนั้นมาถ่ายทอดอธิบายให้คนรู้ ชี้แจงให้เห็นบาป เห็นบุญ เห็นทุกข์ เห็นภัย เห็นโทษ ให้เห็นตามด้วยญาณปัญญา

หนังสืออ้างอิง

“สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ”หน้า 176


เวลาบันทึก 27 ตุลาคม 2562 ( 11:00:32 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 12:52:22 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 17:38:10 )

อาบน้ำกลัวเปียก

รายละเอียด

อาตมาสบายใจอาตมาเปิดเผยแล้ว อาตมาเป็นอรหันต์เป็นโพธิสัตว์ อาตมาอธิบายสัจธรรมได้เต็มที่ไม่ต้องไปยับยั้งอธิบายเต็มไปเลย ใครเชื่อว่าอาตมาเป็นอรหันต์ก็สบาย แต่คนที่ยังติดใจว่าอาตมาคุยตัวก็จะฟังอาตมายาก เพราะว่าอาบน้ำกลัวเปียกคุณจะไม่ได้ความสะอาดจากการอาบน้ำเลย

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม 2563


เวลาบันทึก 19 พฤศจิกายน 2563 ( 12:48:02 )

อาบน้ำในแม่น้ำคงคาล้างบาปได้จริงหรือ?

รายละเอียด

ไม่มีบาปทั้งนั้น ปูปลามันก็อยู่ตลอดชีวิตในแม่น้ำ มันก็ได้อาบน้ำมนต์อยู่ทุกวัน มันจะไปมีบาปอะไรล่ะ เพราะฉะนั้นคนอยากจะล้างบาปก็ไปลงไปจุ้มๆ โผล่ จุ้มโผล่ ที่ชาวอินเดียเขาไปจุ้มโผล่ จุ้มโผล่กันที่แม่น้ำคงคา นึกว่าได้อาบในแม่น้ำจะล้างบาป อะไรอย่างนี้ ซึ่งมันงมงายกันจริงๆ ก็ไม่มีคำพูดใดที่ชัดกว่านี้อีกแล้ว มันโง่งมงายมืดกันอยู่อย่างนั้น มันเป็นไปไม่ได้นะ เพราะฉะนั้นถ้าจะไปมัวงมงายอยู่อย่างนั้น มันก็มืดอยู่อย่างนั้นไปอีกนาน นนนนนนนนนน.. จนไม่รู้ว่าจะไปจบสิ้นตรงไหน

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ฌานโลกีย์กับฌานโลกุตระ สภาวะต่างกันเช่นไร วันพุธที่ 13 ธันวาคม 2566 ขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 10 มีนาคม 2567 ( 15:20:12 )

อาบัติ

รายละเอียด

เกิด

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 66


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 12:15:50 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 21:08:49 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 17:37:45 )

อาบัติพระนิสสัคคิยปาจิตตีย์

รายละเอียด

มันเป็นเรื่องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ แล้วเมื่อมีเงินเป็นของส่วนตัวอย่างนี้ไม่เอาออกก็เป็นการปลงอาบัติที่เปล่าฟรี ปลงอาบัติไม่ตกหรอก นิสสัคคิยปาจิตตีย์ พระทั้งนั้นแหละที่มีเงินรายได้อยู่ ก็เป็นพระที่ อปกตัตตะ อาบัติ ก็อยู่กับหมู่พระอาบัติทั้งสิ้น บวชกันไปไม่ได้เป็นปกติมันไม่เป็น สัมมุขาวินัยเลย ขออภัยที่อาตมาวิจารณ์ตามวิชาการของพระพุทธเจ้าตามธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ไม่ได้ไปว่าพวกคุณหรอก แต่ก็คือว่านั่นแหละ มันแก้ไม่ได้แล้วอาตมาเห็นว่ามันแก้ไม่ได้ อย่างไรคุณก็จะต้องจมอยู่กับความผิดอย่างนี้ไปตลอดจนละลายไป เพราะฉะนั้นก็เอาคนที่ส่วนตัวเลยมาเข้าใจแล้วเลิกตัดขาด อาตมาจึงแยกตนเอง

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 08 เมษายน 2563 ( 10:59:45 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 10:58:08 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 03:21:39 )

อาปานะ

รายละเอียด

ลมหายใจออก

หนังสืออ้างอิง

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 287


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 12:14:53 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 21:09:24 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:23:20 )

อาภัพพะของโพธิรักษ์

รายละเอียด

เป็นความอาภัพของอาตมา พูดอย่างสัจธรรมนะ อาตมาเป็นอาภัพพบุคคล เป็นยุคที่เกิดมาแล้วคนไม่รู้จัก โลกุตระ คนทั้งหลายไม่รู้จักโลกุตระ จึงเป็นสังคมที่น่าสงสาร คนยุคนี้เป็นคนอาภัพ อาตมาเป็นอาภัพพบุคคล คุณต้องมาศึกษาจาก อาภัพพบุคคล แล้วพวกคุณจมในอวิชชา จึงต้องมาศึกษา อาภัพพบุคคล คืออาตมา เขาไม่เข้าใจภาษาสิริมหามายาอย่างนี้หรอก ยุคนี้เข้าใจดำเป็นขาว เป็นยุคที่คุณจะชอบจะเชื่อนักมายากล สลับดำสลับขาว อาตมามาบอกตรงกันข้ามกับเขา มาเปิดเผยนักมายากล เขาไม่เชื่อ เขาเชื่อนักมายากลยิ่งกว่าอาตมา เขาเชื่อว่านักมายากลเป็นคนจริง แต่คนจริงมาเขาเชื่อว่าเป็นนักมายากล

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช ยอดคนอาภัพที่มีระดับของศาสนาพุทธ วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 13 ธันวาคม 2562 ( 20:46:18 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 14:09:17 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 17:39:41 )

อาภัสรากับสุภกิณหา

รายละเอียด

อากาสาฯก็แม่นเป็นรูป วิญญานัญจาฯก็แม่นเป็นนาม ว่างสว่างใสจะกลายเป็นอาภัสรา ใสของสัมมาทิฏฐิกับมิจฉาทิฏฐิ ส่วนวิญญาณนั้นก้ำกึ่ง สุภกิณหา ซึ่งมันเข้าใจยากอยู่ 

อาภัสรา แจ้งสว่างไปไกลเหมือนธัมมชโย ส่วน สุภกิณหา เอาแต่ดับไม่รู้เรื่องอย่างพวกสายอาจารย์มั่น หลวงตาบัว พวกหนึ่งก็สว่างเกินจนจับอะไรไม่ติด รู้เกินจับไม่ติด เราเข้าใจทั้งสองข้างแล้วรู้จักความถูกต้องพอเหมาะพอดี จะว่าสว่างก็รู้พอเหมาะพอดี จะว่ามืดก็พอเหมาะพอดี ไม่ติดทั้งมืดและสว่าง มืดดับดำอะไรคือกิเลส มืดดับดำหมดไปเลยเหมือนกับหลุดเข้าไปในสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้าเลย ชัดเจน ส่วนสว่างก็สว่างอย่างมีจักขุ ญาณ ปัญญา วิชชาแสงสว่าง อาโลก สมบูรณ์แบบครบครันถูกต้อง

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ธรรมวิจัยให้รู้ความต่างในวิญญาณฐิติ 7 วันศุกร์ที่ 30 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 19 พฤษภาคม 2564 ( 20:43:55 )

อาภัสราพรหม

รายละเอียด

อาภัสราก็สูงละเอียดไปอีก อาภัสราใหญ่กว่ามหาพรหมที่ละเอียดกว่าสว่างกว่า มหาพรหมคือเบื้องต้นอยู่ เสมือนเด็กๆ

ชั้นที่ 4 ปริตตาภาภูมิ

ชั้นที่ 5 อัปปมาณาภาภูมิ

ชั้นที่ 6 อาภัสราภูมิ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 25 ธันวาคม 2562 ( 14:28:00 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 14:10:17 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 17:39:05 )

อาภัสสรา

รายละเอียด

1. มีมาก มีจริง มีคุณภาพยิ่งขึ้นจนเรืองรองส่องแสง ล้นพ้นออกนอก-ตน นอกตัว นอกร่าง นอกกาย ประดุจเปล่งรัศมีออกมารอบ ๆ กายเลยทีเดียว

2. ความสว่าง ความรุ่งเรือง

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 405 ,  483


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 12:10:42 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 21:10:35 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 17:38:41 )

อาภัสสราพรหม

รายละเอียด

ผู้ยังเกิดวนเวียนอยู่ในภูมิสูงขึ้นไปอีก เรียนรู้มากขึ้น ทำได้จริงขึ้น มี-ปัญญา มีความสว่างมากขึ้น มีของจริง

หนังสืออ้างอิง

(จากหนังสือทางเอก ภาค 2 หน้า 483)


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 12:09:31 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 21:11:24 )

อาม

รายละเอียด

รับรอง ทวนตอบทวนรับ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 452


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 12:08:48 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 21:12:12 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:24:52 )

อามิส

รายละเอียด

เครื่องล่อ , สิ่งแลกตอบแทน

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 388


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 12:08:01 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 21:12:48 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 17:39:56 )

อาย

รายละเอียด

กำไร , ประโยชน์

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 470 ,ทางเอก ภาค 3 หน้า 410


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 12:06:57 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 21:13:42 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 17:40:22 )

อายตกะ

รายละเอียด

ทันทีทันใด

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 364


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 12:06:01 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 21:14:38 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 17:41:53 )

อายตนะ

รายละเอียด

1. ส่วนที่ยังติดต่อ ทำหน้าที่รู้และเชื่อมต่อการรู้อยู่

2. เครื่องรู้และสิ่งที่รู้

3. บ่อเกิด,แหล่งเชื่อมต่อ

4. เครื่องเชื่อมต่อที่ทำหน้าที่เมื่อมีเหตุปัจจัยสัมผัสกันเท่านั้น

หนังสืออ้างอิง

อีคิวโลกุตระ หน้า 110 , ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 122

อีคิวโลกุตระ หน้า 129 , รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 121


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 12:03:16 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 21:16:04 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 17:40:55 )

อายตนะ

รายละเอียด

ก็คงจะเคยได้ยินอายตนะนิพพาน คำว่าอายตนะไม่มีตัวตนเหมือนธาตุ คำว่าธาตุ เป็นตัวตนกว่า เพราะฉะนั้นจะเรียกว่าธาตุก็ตามสมมุติ แต่จริงๆ อายตนะเป็น Dynamic ธาตุ  เป็น Static แยกเป็นตัวเคลื่อนไหวกับตัวนี่ ในอวิชชาก็จะเกิดตัณหา หากธาตุในผู้ที่บรรลุแล้วหรือยังไม่บรรลุมีอวิชชาหรือปัญญา พอเป็นอรหันต์แล้วธาตุที่เคลื่อนไหวก็จะเป็นปัญญา อายตนะไม่ตั้งอยู่ในที่ใดส่วนธาตุนั้นตั้งอยู่ อายตนะนั้นเกิดตอนสัมผัสมีผัสสะ หากไม่มีการผัสสะ อายตนะนั้นก็หายไป อายตนะคือสะพาน สะพานจะเกิดเมื่อมี 2 สิ่ง มีต้นทางกับปลายทางสัมผัสกันก็เกิดตรงกลาง เมื่อเลิกสัมผัสกัน อายตนะก็หายไปไม่มีที่ตั้ง คล้ายๆกับผัสสะ ไม่มีผัสสะแล้วอายตนะก็ไม่เกิด ที่จริงไม่มีผัสสะแล้ว ทำให้ผู้มิจฉาทิฏฐิเข้าใจว่าผู้ที่ดับคือไม่มีอะไรเกิดไม่มีอะไรเป็นก็คือไม่มีผัสสะ ก็เลยหนีจากผัสสะก็เลยไม่ได้บรรลุอะไร

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 10 มีนาคม 2563 ( 09:03:54 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 14:10:57 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 17:41:32 )

อายตนะ

รายละเอียด

ส่วนบุญนั้นฆ่ากิเลส ทำนิดนึงแล้วก็จบไม่สะสม หรืออาจบุญทำได้ยิ่งจนกำจัดกิเลสอาสวะอนุสัยได้เลยก็ไม่สะสม บุญไม่สะสมที่ไหนเลยเช่นเดียวกันกับอายตนะจะไม่ตั้งอยู่ที่ไหนเลย อายตนะจะเกิดเมื่อมีเหตุปัจจัย 2 อันสัมผัสกันและมีสะพานเชื่อมต่อ อายตนะก็คือสะพานเชื่อมต่อ ถ้ามีสิ่งเดียวไม่มีการกระทบสัมผัสก็ไม่มี แต่ถ้ามีจะต้องมีการศึกษา พอเลิกกิจการงานที่คุณจะใช้แล้วมันก็เหลือเพียง 1 หรือ 0 อายตนะก็ไม่ตั้งอยู่ที่ไหน มันหายไปเลย สิ่งเหล่านี้เป็นความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าศึกษาให้ดีๆ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 12 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 05 กันยายน 2563 ( 09:23:58 )

อายตนะ

รายละเอียด

อายตนะ คุณจะต้องมีผัสสะ มีเวทนาอยู่ในอายตนะ แล้วก็อ่าน อายตนะนี้ ทางตา จักขายตนะ ทางหูโสตายตนะ ก็เกิดการรู้รูปรู้นาม แล้วมันเกิดกิเลสไหม

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ สันติอโศก ผลงาน 50 ปี ตามอนุสาสนีปาฏิหาริย์ของพ่อครู วันพุธที่ 18 มกราคม 2566 แรม 12 ค่ำ เดือนยี่ ปีขาล ปี 2566 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 30 มกราคม 2566 ( 11:50:31 )

อายตนะ 2 (ของพระอรหันต์)

รายละเอียด

คือภาวะเชื่อมต่อกัน ที่ต่างก็อาศัยกัน 2 อย่างของผู้จะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ต้องรู้แจ้งการหมดกิเลสสิ้นเกลี้ยงแล้วของตน

1.กำหนดรู้หมดสิ้นไม่ว่าสัญญาใดๆอื่นๆ

2.กำหนดรู้แจ้งอารมณ์ว่ากิเลสดับสนิทหมดสิ้นเด็ดขาดแล้ว

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 23 "ฌานสูตร" ข้อ 240

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 15 มิถุนายน 2562 ( 13:28:26 )

เวลาบันทึก 30 กรกฎาคม 2563 ( 07:04:59 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 17:42:43 )

อายตนะ 6

รายละเอียด

ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพารมณ์ ธรรมารมณ์

หนังสืออ้างอิง

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 98


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 12:01:03 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 21:16:36 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 17:42:23 )

อายตนะ ผัสสะ เวทนา เป็นหตุปัจจัยแก่กันและกัน

รายละเอียด

อายตนะก็อธิบายขยายความไปเยอะแล้ว

สิ่งที่มาปรุงแต่ง วิญญาณต้องมีนามรูปมาปรุงแต่งกัน มาปะทะสัมพันธ์กัน มันก็จะเกิดมีตัวกลางเรียกว่าอายตนะ ท่านก็ยืดตัวกลางนี้ออก ยืดสะพานแล้วหยิบมาอธิบาย ว่าเมื่อผัสสะก็เกิดอายตนะ ตัวกลางที่ยืดออกมาคือ เวทนา มันเป็นหตุปัจจัยแก่กันและกันทั้งนั้น

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตำหนิให้เขาดื่มได้คือหน้าที่ของผู้ทำงานศาสนา วันพุธที่ 28 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 07 พฤษภาคม 2564 ( 19:02:12 )

อายตนะ เกิดเช่นไร

รายละเอียด

ซึ่งคำว่า 2 ใน 1   1 ใน 2 นี้เป็นสุดยอดความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าแล้ว 

2 คือ รูปนาม ปรุงแต่งกันขึ้น ถ้ารู้ก็เรียกว่า อายตนะ ถ้าไม่รู้ก็เรียกว่า สังขารมันปรุงแต่งกันเป็นสังขาร คนไม่รู้ก็อวิชชา พอมีวิชชาก็รู้ว่าสังขารนี้มันก็คือธาตุรู้ตัวสำคัญเป็นประธาน มันปรุงแต่งกับเหตุปัจจัยดินน้ำไฟลมสังขารร่างกายก็มีวิญญาณเป็นเจ้าของ วิญญาณเป็นธาตุ 2 ธาตุรูปนามปรุงแต่งกันขึ้นเรียกว่าอายตนะ 

อ้อ อายตนะนี้ก็แยกไปเป็นมันต้องมีผัสสะ ถ้าไม่มีผัสสะไม่เกิดอายตนะ รูปไม่มีนามไม่มีรู้ นามไม่มีรูปสัมผัสกัน ก็ไม่มีรู้ รู้อยู่ในตัวเองอยู่ในภพภูมิที่ไม่มีใครรู้เรื่องด้วย ถ้ามีผัสสะก็รู้เรื่องด้วยรู้จักสิ่งที่สัมผัสเกี่ยวข้อง เกี่ยวข้องกับคนอื่นที่มีสัมผัสเหมือนกันกับเรา เช่นไอ้นี้มะระนะ ภาษาไทยเรียกว่ามะระ ภาษาอะไรอื่นอัตโนมัติไม่รู้ ภาษาเจ๊กเขาเรียกอะไร ภาษาจีนเขาเรียกอะไร ภาษาอังกฤษเขาเรียกอะไรไม่รู้ รู้แต่ภาษาไทย มีประโยชน์มีโทษอะไรก็ว่ากันไป ก็ขยายความออกไป จนกระทั่งชอบหรือชัง สุขหรือทุกข์เป็นเวทนา 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ อาหาราธิปไตย สร้างอายะ 3 ด้วยอาหาราวุธ วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 แรม 12 ค่ำเดือน 3 ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 08 เมษายน 2566 ( 10:13:01 )

อายตนะ เป็นตัวกลางระหว่างนามรูปกับผัสสะ 

รายละเอียด

วิญญาณคือตัวรู้ ขยับมาเป็นนามรูป อายตนะ ก็ไปแยกนามรูป รู้ 2 ตัวปรุงแต่งกัน พอปรุงแต่งกันก็เป็นอายตนะ คือ อายะ กับ ตนะ อายะคือประโยชน์ ตนะคือตัวเราเอง

ต คือมีอยู่ น คือไม่มี อายะคือประโยชน์ รายได้ ตัวสาระแก่นสาร ก็อาศัยตัวเรากับสาระ ตัวเรากับสาระ อายะ มันก็ต้องใช้ต้องอาศัยนะ เพราะฉะนั้น อายตนะ จึงเป็นตัวกลางมากเลย ตัวกลางระหว่างนามรูปกับผัสสะ 

นามรูป แล้วก็อายตนะ แล้วก็ผัสสะ ตามให้ดีๆ ท่องปฏิจจสมุปบาท 11 ข้อนี้ไม่ได้ ไม่รู้เรื่อง

นามรูป อายตนะ ผัสสะ หากไม่มีผัสสะก็ไม่เกิดสภาพของนามรูป อายตนะไม่เกิดไม่ตั้งในที่ใดเลย ถ้าไม่มีผัสสะถ้าไม่มีกระทบก็ไม่มีอายตนะเกิด มันต้องเกิดผัสสะกระทบ คนหลับตาปฏิบัติไม่มีผัสสะ โมฆะ จากศาสนาพุทธ ต้องมีผัสสะ สัมผัส วิโมกข์ 8 ด้วยกาย วิโมกข์ 8 คือรูปกับนามเป็นสภาพ 2 ถ้าไม่มีสัมผัสด้วยกาย สัมผัสด้วยสภาพที่มันจะจับตัวกันเป็นกายอีกที คุณไม่รู้จักกายคืออะไร 

กาย จะต้องมีสภาพภายนอกและภายในเสมอ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า งานอโศกรำลึก 2564 วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2564 ( 15:48:05 )

อายตนะคือเชื่อมรู้อย่างไร

รายละเอียด

ตัวนามรูปนี้แหละ เมื่อมี 2 ตัวนี้ปฏิบัติกระทบสัมผัสกันขึ้น เรียกว่าผัสสะ ก็จะเกิดสะพานต่อเนื่องเรียกว่าอายตนะ  พอผัสสะ จะมีอายตนะต่อเนื่อง อายตนะคือพลังงานเมื่อเกิดกระทบกัน 2 ตัวก็จะเกิดสภาวะเชื่อมรู้ 

อายตนะคือเชื่อมรู้ รู้ระหว่างสิ่ง 2 สิ่งคือ 1 สิ่งที่ถูกรู้กับอีกหนึ่งคือจิตวิญญาณของเรา เป็นธาตุรู้ของเราเข้าไปรู้ เมื่อรู้แล้วกระทบกันเข้าไปแล้ว ผัสสะ เข้าไปแล้วมันปรุงปุ๊บเวทนา สังขารนั่นแหละมันปรุงแต่งเป็นเวทนา เป็นอาการของความรู้สึก เราเรียกภาษาหนึ่งว่าเป็นอารมณ์ ปรุงแต่งด้วยอวิชชา ถ้ามีวิชชาก็รู้แล้วไม่ปล่อยให้เป็นไปตามอารมณ์ไม่ปล่อยให้เป็นไปตามความรู้สึก จะรู้สึกต้องเอาความรู้สึกที่บริสุทธิ์ ความรู้สึกที่ไม่บริสุทธิ์คือมี ตัณหาเข้าไปร่วมมันเป็น กลิ กิเลส

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศนาวันมาฆบูชา งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 45 ออนไลน์ วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 17 มีนาคม 2564 ( 15:39:36 )

อายตนะคู่สุดท้าย ที่ยังเหลือความเป็นสัตว์

รายละเอียด

1. อสัญญีสัตตายตนะ
2. เนวสัญญานาสัญญายตนะสัตว์
พ้นนี้แล้วจึง สัญญาเวทยิตนิโรธ (สัญญาที่เคล้าเคลียอารมณ์) 
เป็นผู้ที่รู้แจ้งนิโรธแล้วย่อมอาศัยความฉลาดในการเข้าแล้ว  ออกแล้วซึ่งสมาบัติ (สัญญาสมาบัติมีเท่าใด  สัญญาปฏิเวธก็มีเท่านั้น) 
 

ที่มา ที่ไป

วิญญาณฐีติ 7 ,  มหานิทานสูตร เล่ม 10  ข้อ 65  ธรรมาธิบายจากพ่อครู รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2562 ( 18:00:11 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 14:13:01 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 03:22:05 )

อายตนะมีกี่แบบ

รายละเอียด

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ อายตนะไม่มีที่ตั้ง ล.25 ข.158 จะเกิดเมื่อมีตากระทบรูป หูกระทบเสียง ลิ้นกระทบรส ฯ เมื่อจัดการกับภายนอกได้แล้ว จึงค่อยไปว่ากันภายในอีกที ค่อยถึงเวลาที่คุณจะรู้สภาวะอายตนะภายใน ถ้ารู้สภาวะอายตนะภายนอก 5 ได้แล้วดี คุณจะไม่ถามว่าอายตนะภายในคืออะไร อายตนะภายในที่เหลือนั้นคือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ กับอสัญญีสัตตายตนะ คืออายตนะสองสุดท้าย พูดทิ้งไว้ให้นิดเดียว เพราะคุณต้องรู้กายรู้สัญญารู้วิญญาณฐิติ 7 รู้ในสัตตาวาส 9 จนดับสัตว์ได้ไปครบ 7 เหลือสัตว์สองตัวสุดท้ายคือ เนวสัญญานาสัญญายตนสัตว์กับอสัญญีสัตว์

ที่มา ที่ไป

เอื้อไออุ่นแพทย์วิถีธรรม วันอังคารที่ 6 มีนาคม 2561


เวลาบันทึก 13 กุมภาพันธ์ 2564 ( 09:48:36 )

อายตนะหมายความว่าอย่างไร

รายละเอียด

คำว่า อายตนะ ควรศึกษา อายตนะ หมายความว่า สะพาน แต่มันเป็นสะพานพิเศษมาก สะพานนี้เป็นนามธรรม จะเกิดเมื่อมีภาวะ 2 เมื่อไม่มีภาวะ 2 อายตนะไม่เกิด อายตนะแต่เกิดจะต้องมีรูปกับนามสัมผัสกัน เมื่อสัมผัสกันเมื่อไหร่อายตนะก็เกิดทันที คุณมีตา แต่คุณไม่สัมผัสกับอะไรก็ไม่เกิด สัมผัสนี้จะต้องสัมผัสภายนอก เป็นสำคัญ คุณได้ภายนอกหมดแล้วเหลือแต่ภายใน คุณค่อยมาดูอีกทีเหลือแต่ภายใน ถ้าภายนอกยังไม่บริบูรณ์ คุณจะไปดูทางภายในมันลัด ไม่เป็นลำดับอันน่าอัศจรรย์

ที่มา ที่ไป

เอื้อไออุ่นแพทย์วิถีธรรม วันอังคารที่ 6 มีนาคม 2561


เวลาบันทึก 13 กุมภาพันธ์ 2564 ( 09:46:32 )

อายตนะแยกศัพท์โดยอัตโนมัติแบบพ่อครู

รายละเอียด

อาตมาแยกศัพท์โดยอัตโนมัติของอาตมา พวกบาลีเขาคันหัวใจที่อาตมาแยกคำอย่างนี้

สฬายตนะหรือฉฬายตนะคือ สะพาน 6 สะพาน 

อายะ แปลว่าประโยชน์ แปลว่า ส่วนที่ได้ แปลว่ากำไร ภาษาไทยมาจากภาษาบาลีเยอะเลย ถ้าเข้าใจ ตน อาตมาก็แจก ตัว ต กับ ตัว น 

ต คือตัวตั้ง น คือตัวไม่

อ ที่จริงแปลว่า ไม่ น ก็แปลว่า ไม่ จนมี อตต ก็คือ อัตตา

ตน แปลว่า สิ่งที่จิตนิยามหรือจิตวิญญาณของแต่ละสัตว์หรือคน ที่มีปัญญาศึกษากันรู้เรื่อง คนอเวไนยสัตว์ก็พูดกันไม่รู้เรื่อง คนเวไนยสัตว์พอฟังกันรู้เรื่อง เมื่อมีตนะ แล้วก็สามารถรู้จักสิ่งที่เกี่ยวข้อง 2 2 2 สัมพันธ์ทีละ 2 เทวะ มันก็จะเกิดปฏิกิริยาเรียกว่าสังขาร ทำงานร่วมกันมีอะไรขึ้นมาให้รู้ นี่แหละจึงเรียกว่า สภาวะ หรือ ตัวที่เชื่อมต่อเป็นอันนั้น เป็นอายตนะ เป็นสะพานเชื่อม 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตำหนิให้เขาดื่มได้คือหน้าที่ของผู้ทำงานศาสนา วันพุธที่ 28 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 07 พฤษภาคม 2564 ( 18:48:59 )

อายตนะโตขึ้นเป็นอภิภูหรืออภิภายตนะ 8 ได้อย่างไร

รายละเอียด

พระพุทธเจ้าตรัสรู้สิ่งที่สุดยอด มีทั้งมรรควิธีมีทั้งความเป็นจริง สรุปแล้วรู้ว่าจิตวิญญาณคือธาตุผสมกันอยู่เรียกว่าสังขาร ปรุงแต่งกันอยู่ แล้วก็เป็นวิญญาณ ผู้ศึกษาก็แยกรูปนามได้ มีนามมีรูปให้ศึกษา เมื่อนามรูปสัมผัสกันก็เกิดสภาพอายตนะ 2 

อายตนะนี้ ผู้ที่เป็นเจ้าของธาตุรู้มีเวทนา รู้จัก พอสัมผัสกันมีอายตนะมีสภาพ 2 เชื่อมกันขึ้นมา ต่อกันขึ้นมา ก็เป็นตัวกลาง ให้รู้ว่าอะไรคืออะไร ถ้ารู้มากรู้ได้เยอะ อายตนะก็จะใหญ่จะมากจะกว้าง เป็นองค์ประชุม เป็นกระบวนธรรมที่เยอะ เริ่มรู้ตั้งแต่คู่แรก 2 ตัว 4 ตัว 8 ตัว 16 ตัวขยายไปอีกเยอะแยะ ไม่รู้กี่คู่ต่อกี่คู่ ก็รู้กันไปเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เรียกว่า อภิภู ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้รู้จริง รู้จักสภาวธรรมที่แท้แต่ละคู่ ๆๆ ไปนี่ จนมากมายหลากหลาย อาตมากำลังนำเอา อภิภู หรือ อภิภายตนะ 8 มาค่อยๆขยายความ ซึ่งมันละเอียดลึกซึ้งมาก ค่อยๆขยาย ยังไม่ได้ขยายตูมตามโครมครามทีเดียว เพราะคนยังไม่มีพื้นฐาน มันไม่ง่าย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมพิธีบูชาพระบรมสารีริกธาตุ งานอโศกรำลึก ปี 2565 ณ ราชธานีอโศก วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2565 ( 20:17:11 )

อายตนะในปฏิจจสมุปบาท

รายละเอียด

อายตนะก็เป็นตัวกลาง ที่จริงอายตนะก็คือ ตัวเวทนาหรือตัววิญญาณนั่นแหละ มันเป็น 2 ตัว อายะ กับ ตนะ อาตมาแยกพยัญชนะสภาวะให้ฟังนี่ทบทวนอีกที

อายะ แปลโดยภาษาคือ ประโยชน์ ตน คือ ตะนะ คือตัวตั้ง อาศัยตั้งไว้ที่จริงมันไม่ คือ นะ อาตมาไม่ได้โมเมจับแพะชนแกะ พยัญชนะก็อาศัยมันเท่านั้น

คู่ระหว่างอายะกับตนะ ศึกษาแยกให้ได้ว่าอันนี้คือประโยชน์กับตัวกูของกูคือ ตนะ ถ้าจะเป็นตัวตนก็เป็นโลกีย์ไปหมด แต่จะใช้ประโยชน์ก็ใช้ประโยชน์ได้ สร้างเป็น ทำเป็น มีประโยชน์เอาไปกินไปใช้ในชีวิต หรือเอาไปทำได้ดีกว่านั้น ให้คนอื่นเขาเอาไปทำ เช่นเอาไปปลูกเป็นพืชผักมากินและสร้างวัตถุ เราสอนนามธรรมที่ลึกซึ้งไปเรื่อยๆ พวกนี้จะได้อาศัยความรู้ทางนามธรรมศึกษาพัฒนาตัวเองซ้อนๆๆ ขึ้นมา อาตมาว่าสอนเรื่องความรู้นี้ก็เหลือเฟือแล้ว ผู้ที่รู้จักการสร้างทำวัตถุก็สร้างขึ้นมา แล้วก็แบ่งมาให้อาตมากินใช้บ้าง อาตมากินไม่มาก ใช้ไม่มากหรอก นอกนั้นก็เกื้อกูลกันไป

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม ถอดรหัส นายทุน-ศักดินา-นักวิชา-ข้าราชการ-พาลชน วันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม 2564 แรม 13 ค่ำเดือน 6 ปีฉลู ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 10 มิถุนายน 2564 ( 18:42:19 )

อายตนะ“มีอยู่” แต่ไม่ตั้งอยู่นั้นเป็นอย่างไร?

รายละเอียด

แต่“อายตนะ”นั้น“มีอยู่(อัตถิ ตทายตนัง)”ทว่าไม่ตั้งอยู่ใน ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น เท่านั้น 

เพราะถึงจะเป็นผู้มีที่สุดแห่งทุกข์แล้ว หรือเป็นอรหันต์แล้วก็ยังมีชีวิตอยู่ ยังมีตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ ก็ย่อมมี“ผัสสะ”อยู่ จึงมี“อายตนะ”เป็นปัจจัยเป็นธรรมดา 

ทว่า“อายตนะ”นั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป(อัปปวัตตัง) หาอารมณ์มิได้(อนารัมมณเมว) “อายตนะยังมีอยู่”จึงมีนัยะเดียวกันกับผู้หมด“เวทนา”แต่“เวทนา”ก็ยังมีอยู่ แม้ผู้นั้นเป็นผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์แล้วคือเป็นอรหันต์แล้ว ท่านก็ยังมี“เวทนาขันธ์”ที่บริสุทธิ์จากกิเลสแล้วอยู่

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ รวมเปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อที่ 71 หน้า 85


เวลาบันทึก 14 มิถุนายน 2564 ( 20:52:43 )

อายตเกเนว อัญญาปฏิเวโธ

รายละเอียด

เป็นการบรรลุสูงสุดโดยปัจจุบันทันด่วน

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 364


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 12:04:08 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 21:17:08 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 03:50:07 )

อายทำไมเมื่อเขาชมในเมื่อเราไม่ได้ทำผิด

รายละเอียด

เขาถามว่า ได้รับคำชมแล้วไม่รู้จักเหนียมไม่รู้จักอาย ไม่รู้จักห้ามไม่ให้เขาชม เขาบอกว่าคนมีหิริโอตัปปะก็ต้องรู้จักอายสิ ใครชมก็ต้องรู้จักอาย ก็จะไปอายทำไมก็เราไม่ได้ทำผิด เขาชมก็ต้องให้เขารู้ความจริง ไม่กระดุกกระดิกอะไร ก็รับตรงๆด้วย เขาชมเราก็รับว่าดีก็ใช่ เขาชมว่าท่านดีจริง อาตมาก็ว่าดี แล้วทำไมจะต้องไปโกหกเขา ทำไมว่าอาตมาไม่ดีจริง เขาบอกว่าท่านดีจังเลยดีมากๆ อ้อก็ดีมาก เขาก็ว่าหา? ทำไมไปรับอย่างนั้น เห็นไหมว่าความรู้สึกของสามัญชนหรือปุถุชนจะสะเทือนสะท้าน มันหยาบกว่ามังกุ สะเทิ้นสะท้าน อุทธัจจะ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมในงานพิธีน้อมกตัญญูบูชา พ่อครูสมณะโพธิรักษ์ งานอโศกรำลึก 2564 วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2564 ( 15:34:20 )

อายะ 3 คือ

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นจากภาษาคำว่า “โลก”ภาษาคำว่า “ตน” ก็มาสู่ประโยชน์เรียกว่า อายะ 3 คือ พหุชนหิตายะ (เพื่อประโยชน์สุขของหมู่มวลมหาชนเป็นอันมาก) พหุชนสุขายะ(เพื่อความสุขของหมู่มวลมหาชนเป็นอันมาก) โลกานุกัมปายะ (รับใช้โลก ช่วยโลก) 

โลกานุกัมปายะ คือ โลก ไปช่วยโลกได้ คุณจะช่วยโลกได้คุณต้องรู้ หิตะกับสุขะ

หิตะ คือประโยชน์หรือรายได้หรือกำไร จริงๆ ก็เป็น synonym กับคำว่า อายะ คือประโยชน์ คือรายได้ คือกำไร นี่คืออายะ 3 

พหุชนะ หิตะ อายะ โลกา กัมปะ อายะ ทั้ง 3 ตัวก็คือสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นคุณค่าที่จะได้ให้แก่ผู้อื่น ผู้อื่นคือใครก็คือ พหุชน 

พหุชน ทั้งหมดก็คือโลก มวลมนุษยชาติ หรือ ศัพท์สมัยใหม่ว่าประชาชน มวล เติมเข้าไปอีกเต็มๆ ก็คือมวลประชาชน พหุชนคือมวลประชาชน

ที่มา ที่ไป

พ่อครูตอบปัญหาให้ปัญญาค่ายยุวชนอโศกสัมพันธ์ พุทธศาสนาตามภูมิ 

วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2566 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 08 พฤษภาคม 2566 ( 05:54:31 )

อายะ 3 คือความหมายประชาธิปไตยของพระพุทธเจ้า

รายละเอียด

คนที่เขาฟังอาตมาพูดเขาก็บอกว่าเขาเรียนมา เรียนมาจากต่างประเทศประชาธิปไตยต่างประเทศทั้งนั้น ประชาธิปไตยของพระพุทธเจ้าไม่รู้เรื่อง มีด้วยหรือ พระพุทธเจ้าเป็นประชาธิปไตย ท่านเคยพูดไว้เหรอ จริงที่คำว่าประชาธิปไตยท่านไม่เคยพูดไว้ แต่คุณพอจะมีปฏิภาณรู้ไหมว่าที่ว่า พหุชนหิตายะ(เพื่อประโยชน์ของหมู่มวลมหาชนเป็นอันมาก), พหุชนสุขายะ(เพื่อความสุขของหมู่มวลมหาชนเป็นอันมาก), โลกานุกัมปายะ(รับใช้โลก ช่วยโลก) คือประชาธิปไตย หรืออายะ 3 ประชาธิปไตยต้องเพื่อมวลประชาชนเพื่อประโยชน์ประชาชนจริงหรือเปล่า นี่คือแปลออกจากคำพูดที่ว่า พหุชนะเลย คือ เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขเพื่อรับใช้โลก เต็มภาคภูมิเลยนี่คือความหมายประชาธิปไตยของพระพุทธเจ้ารู้ความแตกฉานใน อายะ 3 นี้ ของพระพุทธเจ้าหรือไม่ พหุชนหิตายะ(เพื่อประโยชน์ของหมู่มวลมหาชนเป็นอันมาก), พหุชนสุขายะ (เพื่อความสุขของหมู่มวลมหาชนเป็นอันมาก), โลกานุกัมปายะ (รับใช้โลก ช่วยโลก) อายะคือ gain หรือประโยชน์ที่ควรได้รับของประชาชน 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ระบอบการปกครองของมนุษย์ ที่สุดยอด วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม 2564 ที่บวรปฐมอโศก


เวลาบันทึก 21 มีนาคม 2564 ( 10:54:08 )

อายะ 3 คือสุดยอดของประโยชน์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้

รายละเอียด

พหุชนหิตายะ (เพื่อประโยชน์ของหมู่มวลมหาชนเป็นอันมาก) พหุชนสุขายะ (เพื่อความสุขของหมู่มวลมหาชนเป็นอันมาก) โลกานุกัมปายะ(รับใช้โลก ช่วยโลก)

อายะคือ gain คือ ประโยชน์ คือรายได้ คือกำไร 

อายะ 3 เป็นสุดยอดของประโยชน์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ แล้วก็เป็นให้ได้ เป็นคนที่มีคุณค่ามีประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ พหุชนะนี่แหละคือ ประชาธิปไตยเป็นอำนาจประชาชน แล้วให้ได้รับความสุข ใช้คำว่าสุขมาอาศัยใช้ เขายังไม่เข้าใจว่าความสุขเป็นมายาชนิดหนึ่ง แต่ก็ต้องยอมให้เขาอาศัยก็ยังดีกว่า จนทำให้คนเข้าใจได้ว่า คนจะสุขเพราะได้เป็นคนไม่มีตัวตน คนจะเป็นสุขเพราะได้เสียสละเต็มที่ คนจะสุขเพราะมีความรู้ความสามารถ มีสมรรถนะ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม คนจนโลกุตระมีประชาธิปไตยที่ดีสุดในโลก วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 01 เมษายน 2564 ( 19:34:36 )

อายะ 3 ส่วนอธิปไตย 3 คือ

รายละเอียด

อาตมานำคำสอนพระพุทธเจ้า ภาษาบาลีที่อาตมารู้จักสภาวะและเข้าใจถึงปฏิสัมพันธ์ของมันด้วย 

พหุชนหิตายะ พหุชนสุขายะ โลกานุกัมปายะ คืออายะ 3 ส่วนอธิปไตย 3 คือ โลกาธิปไตย อัตตาธิปไตย และ ธรรมาธิปไตย  

อายะ แปลว่า ประโยชน์แปลว่า กำไรหรือสิ่งที่ได้ แปลว่า รายได้ เป็นสิ่งที่ได้มา เป็นประโยชน์ที่ควรสร้าง 

หิตายะ ก็คือ ประโยชน์ ประโยชน์ที่มนุษย์พึงได้ พึงมี พึงเป็น 

พหุชนะ ก็คือ มวลประชาชน พหุ คือใหญ่ ชนะ คือประชาชน

คือเป็นประโยชน์ยิ่งใหญ่แก่มวลประชาชน 

พหุชนสุขายะ คือทำความสุขให้กับมวลประชาชน 

อนุเคราะห์ช่วยเหลือเกื้อกูลโลก โลกากัมปายะ เป็นผู้ทำประโยชน์ให้แก่โลกอยู่ตลอดเวลา เพราะรู้จักโลก รู้จักอัตตา รู้จักธรรมะ แล้วมีอธิปไตยเป็นพลัง พลังอธิปไตยที่เป็นโลกุตระ อยู่เหนือโลก เหนืออัตตา หรือจะเรียกว่าเหนือธรรมะก็ได้เพราะเป็นโลกุตรธรรม เป็นธรรมะที่เหนือจริงๆ เป็นอุตตระ

เพราะฉะนั้นอธิปไตยทั้ง 3 อธิปไตย 3 โลกาธิปไตย อัตตาธิปไตย และ  ธรรมาธิปไตย  รวมเรียกว่า ประชาธิปไตย ภาษาสมัยพระพุทธเจ้านั้นยังไม่มี ก็คืออธิปไตย 3 นั่นแหละเพราะรู้โลกรู้อัตตาและรู้ธรรมะที่เป็นโลกุตรธรรม จึงอยู่เหนือโลกในอัตตามันไม่ไปแบ่งส่วนอะไรแก่โลกเพราะท่านไม่มีตัวตน 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ แสดงธรรมโดยพ่อครูสมณะโพธิรักษ์ จอมยุทธ์โลกุตระจบกิจเศรษฐกิจ ด้วย 9 เคล็ดวิชา วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2566 ขึ้น 3 ค่ำเดือน 5 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 09 เมษายน 2566 ( 11:25:03 )

อายะ 3 ของพุทธสุดประเสริฐอย่างไร

รายละเอียด

เรียนรู้ตัว 2 ได้จากเวทนา ดับได้ ทั้งสุขทั้งทุกข์ในเวทนา จบ แล้วคุณจะเป็นผู้รู้โลกหมด โลกวิทู เพราะรู้อัตตา ทำลายอัตตา จบ โลกวิทูก็รู้ด้วย สุดท้ายมีชีวิตอยู่ด้วยโลกานุกัมปายะ อยู่ด้วย อายะ 3 

พหุชนหิตายะ(เพื่อประโยชน์ของหมู่มวลมหาชนเป็นอันมาก) พหุชนสุขายะ(เพื่อความสุขของหมู่มวลมหาชนเป็นอันมาก) โลกานุกัมปายะ(รับใช้โลก ช่วยโลก) อยู่กับมวลชน ทำประโยชน์ให้เขาทำให้คนเขาอยู่กันอย่างสงบสุข เขาติดในความสุขก็ทำให้สงบให้ได้ จนไม่ต้องติดในความสุขความทุกข์เลยสูงสุด เราก็มีหน้าที่รับใช้โลก โลกานุกัมปายะ ผู้ที่รู้ตัวแล้วว่าตัวเองไม่มีตัวตนคือผู้รับใช้โลกจริงๆ เป็นนักการเมืองตัวยิ่งใหญ่จริงๆ 

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม เปิดยุคบุญนิยมเล่ม 2 ตอน 2 
วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน 2564 ขึ้น 4 ค่ำเดือน 8 ปีฉลู ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 09 สิงหาคม 2564 ( 20:09:50 )

อายุ

รายละเอียด

1. มีการตั้งอยู่ ทรงสภาพเช่นนั้นอยู่ในขอบเขตที่กำหนด ยังไม่เสื่อม-สลายไปเกินขอบเขตนั้น แล้วนับเวลาที่ตั้งอยู่ ทรงสภาพนั้นได้เท่าใด ๆ นั่นแลคืออายุเท่านั้น ๆ

2. ยังมีชีวิตอยู่ จะได้รับอิทธิบาทเป็นพรให้แก่ชีวิต

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 225 ,ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 60


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 11:59:46 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 21:18:26 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 17:43:12 )

อายุ 60 ปีแล้วจะมาบวชกับชาวอโศกได้ไหม

รายละเอียด

เรามีว่า อายุ 60 แล้ว จะมาบวชนี้ เราไม่อยากบวชให้หรอก ต้องมาดูก่อน ต้องดูตัว มาอยู่คบคุ้นอยู่ทางนี้ ถ้ายังตั้งใจจะบวชและอยู่ดูไป พอหมู่เห็นว่าได้ ก็ค่อยบวช อันนี้เราบอกตายตัวไม่ได้ บางคนอายุ 60 มาดูตัวแล้ว ทั้งอุปนิสัยใจคอด้วยแล้ว องค์รวมไม่สมควรบวช ก็ไม่ให้บวช ถ้าเห็นว่าสมควรพอบวชได้ก็ให้บวช ที่คุณถามว่า อยู่ข้างนอกจะบรรลุพุทธภูมิได้ไหม ได้ แต่มันยาก ไม่มีมิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี คุณต้องแข็งแรงกับภาวะที่จะต้องกระทบสัมผัสกับโลกที่มันยั่วยุมันแรง มันไม่มีใครเป็นเพื่อนช่วยสะกิด เพื่อนที่จะมีตัวอย่าง มันยากถ้าไม่ได้อยู่กับหมู่กลุ่ม 

คนไม่ค่อยเข้าใจธรรมะพระพุทธเจ้าที่บอกว่า อย่าไปคลุกคลีกับหมู่กลุ่มหรือหมู่คณะ เลยไปปลีกอยู่แต่ผู้เดียว โดยไปแปลเพื่อน 2 ไม่มีเพื่อนสอง ว่าต้องไปปลีกอยู่แต่เพียงผู้เดียว เพราะฉะนั้น คำว่า ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ อสังคณิกะ เขาแปลว่า ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ โดยไปแปลผิดเพี้ยนไปหมด

มันมีแนวลึกซึ้งอยู่ว่า ไม่คลุกคลีกับหมู่คณะที่เป็นพาลชน แต่มิตรดีไม่ใช่พาลชน แต่เป็นบัณฑิตชน ต้องอยู่กับบัณฑิตชน นี่ก็รายละเอียดที่เขาตีความไม่ครบ ไม่คลุกคลีกับหมู่คณะที่เป็นพาลชน แต่คุณต้องคลุกคลีกับหมู่คณะที่เป็นบัณฑิตชนคืออาริยะนั้นแหละ หมู่ชนอย่างชาวอโศกนี้ คุณต้องมาคบคุ้น ต้องมาอยู่ร่วมดีที่สุด การมีมิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี รวมกันหมดแล้วเจริญเร็ว 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ การถืออยู่ป่าของพระป่าเป็นสิ่งผิดตามธุดงควรรคที่ 6 วันพุธที่ 5 กรกฎาคม 2566 แรม 3 ค่ำ เดือน 8 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2566 ( 19:00:08 )

อายุกาลของศาสนาพุทธ

รายละเอียด

คือ ช่วงที่จะไม่มีศาสนาพุทธ เกิดอยู่ในโลก มีอยู่ 2 ยุค 2 ลักษณะ คือ

1.ยุคสมัยที่คนดีพร้อม คือ ยุคที่มีแต่คนมีบุญ บารมีมาเกิด ไม่ทุกข์ร้อน ไม่มีปัญหาอะไร อยู่กันอย่างสุขสงบ มีอายุยืนยาว มีความสุข มีความเจริญอยู่ในสังคม ไม่ต้องการศาสนาพุทธ มาสอนมาแก้ปัญหา ยุคนั้น พระพุทธเจ้าก็ไม่ต้องอุบัติ

2.ยุคเลวร้าย (กลียุค) คือ ยุคที่ต่อจากยุคศาสนาของสมณโคดมนี้ไป จะถึงขั้นกลียุค ไฟบรรลัยกัลป์ไหม้โลก คนจะเลวร้ายรุณแรง จนพูดกันไม่รู้เรื่อง เลว ชั่ว ต่ำ ทรามมาก นี่ก็ใกล้แล้ว จะเห็นว่าความเลวร้ายหน้าด้านๆทุจริตอกุศลกันรุนแรง เป็นช่วงสุดท้ายแล้ว ที่จะไม่มีศาสนาพุทธ แม้พาระพุทธเจ้าเกิดมา ก็จะสอนกันไม่ได้เลย คนเหล่านี้ โง่เง่า ดื้อด้าน รุนแรง เลวร้าย กิเลสหนา ตัณหาจัด

หนังสืออ้างอิง

 “สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ” หน้า150-151


เวลาบันทึก 26 ตุลาคม 2562 ( 14:43:51 )

เวลาบันทึก 30 กรกฎาคม 2563 ( 07:12:54 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 03:51:48 )

อายุของพุทธศาสนาของสมณโคดม 5,000 ปี หน้าที่สมณะโพธิรักษ์ฟื้นฟู

รายละเอียด

ปัญหามีสภาพ 2 หากมีแต่ดีอย่างเดียวไม่มีอะไรแย้งเลยก็ไม่ต้องมีปัญหา เป็นธรรมดาธรรมชาติ แต่มันต้องมีมันห้ามไม่ได้หรอก พระพุทธเจ้าอยู่ทั้งองค์เก่งขนาดไหนก็ยังมีสิ่งที่เป็นคู่ต้องเป็นสภาพ 2 ถ้าไม่มีสภาพสองก็มีแต่ทรุดเสื่อม แต่ศาสนาพุทธเกิดมาเพื่อเจริญ พระพุทธเจ้าแต่ละองค์ศาสนาไปได้นาน แต่พระพุทธเจ้าสมณโคดมมีศาสนาได้ถึง 5,000 ปีเท่านั้น ถือว่าน้อยที่สุด เกือบจะไม่ได้ประกาศแล้วนะ อาตมามีหน้าที่เป็นส่วนเกี่ยวเนื่องต้องมาช่วยให้ศาสนายืนยาวไปถึง 5,000 ปี อย่างที่มันเป็นจริงทุกวันนี้ 2,500 กว่าปีโลกุตระหายเกลี้ยงไปจากศาสนา อาตมาจึงจำเป็นต้องมาทำหน้าที่ และอาตมาก็ยังเป็นโพธิสัตว์ที่จะต้องมาฝึกฝนอบรมตามเหตุปัจจัยความจริงเพื่อสร้างบารมีเพิ่มแน่นอน ก็เหมาะสมกันด้วย มันก็เลยมา แล้วก็มาทำหน้าที่ ซึ่งยากจริงๆเพราะเป็นยุคที่ใกล้กลียุคจริงๆ แล้วก็สมเหมาะสมควรกับอาตมาเป็นโพธิสัตว์ระดับ 7 ไม่ได้สบายหรอกนี่แหละเป็นอาภัพพบุคคล รูปไม่หล่อพ่อไม่รวยไม่มียศฐาบรรดาศักดิ์ปริญญาจัตวาก็ไม่ได้กับเขา อย่าว่าแต่ปริญญาตรีเลย ได้แต่แค่ปวส. สูงสุด อุตส่าห์ได้เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเขา จุฬาฯก็ไปเดินศึกษา ตอนนั้นไม่ได้บรรจุเข้าไปเป็นคณะ อาตมาก็เรียนดนตรีจากอาจารย์ อาตมาเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยTrinity จากอังกฤษ เรียนทางไปรษณีย์ ได้มาหลายเกรดเลยนะ ได้แค่เกรด 4 ยังมีใบ certificate อยู่เลย เกรด 4 นี้อยู่แค่ชั้นประถมนะ เกรด 12 ถึงจะขึ้นมัธยม แล้วถึงจะไปเป็นปริญญาตรี แต่ว่าอาตมาก็มีพรสวรรค์ทางดนตรีของตัวเอง การศึกษาทางศิลปะก็เหมือนกัน ศิลปะก็เรียนแค่ปวส.วิจิตรศิลป์ เทียบก็เป็นอนุปริญญาเท่านั้นเอง ก็ได้ใบรับรอง แต่อาตมาว่าอาตมามีความรู้เกินกว่าดอกเตอร์ปริญญาเอกทางศิลปะ อาตมาก็มั่นใจ ศิลปะ แต่ทุกวันนี้มันเป็นศิลป์เปรอะ ยิ่งเมืองนอกก็เละมาก 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช ธรรมะคือเครื่องถ่วงดุลยุคทุนนิยมเคออส วันพุธที่ 11 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 18 ธันวาคม 2562 ( 14:21:04 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 14:15:48 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 06:44:01 )

อายุจะยืนยาวด้วยปฏิบัติศีลให้ถึงจิต

รายละเอียด

นี่แหละ อาตมาพาทำ ตั้งแต่เราจะมีอายุ 100 เต็มกัป พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าต่อไปรุ่นพ่ออายุได้ 100 ปี รุ่นลูกก็จะได้ 200 ปี รุ่นหลานก็ได้ 400​ ปี รุ่นเหลนก็ 800 ปี รุ่นต่อไปอีกก็เป็น 1,600 ปี มันเป็นสูตร แต่อาจไม่ลงตัวหรือทับทวียกกำลังไปเลยทีเดียว แต่ถ้าเต็มสภาพก็จะเป็นอย่างนี้ เต็มไปทีละครึ่ง คูณ 2 ไปเรื่อยๆ อายุคนก็ยาวถึง 80,000 ปีได้ นี่สรุปอธิบายง่ายๆ แต่จริงแล้วเราก็ต้องอาศัยเวลา กว่ามันจะขึ้นได้แต่ละปีๆ แต่ละ 2 ปี แต่ละทับทวีเป็น Coefficient หรือเป็นสัมประสิทธิ์ที่มันจะต้องพัฒนาเป็นระดับคูณ จนกระทั่งถึงขั้นยกกำลัง ถ้าทำขั้นคูณไม่ได้ ไม่มีทางที่จะยกกำลังได้ ต้องทำพลังงานให้ถึงขั้นคูณสัมประสิทธิ์ประมาณนั้น มาเติมให้สร้างพลังงานในระดับสัมประสิทธิ์ในระดับคูณ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ โสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 20 วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม 2563
ที่บ้านราชฯ


เวลาบันทึก 02 กุมภาพันธ์ 2564 ( 19:02:21 )

อายุทิพย์ (ทิพเพนอายุ)

รายละเอียด

สภาพของความปรารถนาที่จะให้มีช่วงชีวิตอันดีเลิศเกิดอยู่เสมอ

หนังสืออ้างอิง

(จากหนังสือทางเอก ภาค 2 หน้า 249)


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 11:58:08 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 21:19:26 )

อายุที่เราอยู่ในโลกนี้เป็นประโยชน์อย่างไร

รายละเอียด

อายุก็เป็นกาลเวลาที่เราเอามาคำนวณ ดูกาละเวลา ที่เราอยู่ในโลก เราอยู่ในโลกเป็นประโยชน์อย่างไร ประโยชน์ในโลก คนปลูกข้าว แล้วก็ได้ข้าวมา ให้คนอื่นได้กินได้ใช้ คนนี้มีประโยชน์ในโลก คนสร้างอาวุธมา โอ้โห บรรลัยจักร เป็นโทษในโลก สร้างมาไว้ทำลายกัน  ฆ่ากัน ข่มกัน ทำความไม่สงบให้แก่มนุษยชาติ เป็นความชั่วช้าสามานย์มากเลยทีเดียว นี่พูดสัจธรรมไม่ได้ไปด่าว่าใคร แต่คนที่เขาไม่ได้เรียนรู้สัจธรรมลึกซึ้งอะไร ก็ทำไปด้วยอวิชชา โง่งมงายมิจฉาทิฏฐิไป

เพราะฉะนั้นเมืองไทยเรานี้ สร้างอาวุธไม่เป็น อย่าไปน้อยใจเด็ดขาด ดีแล้ว ไม่ได้เป็นคนที่อยู่ในข่ายของคำว่าชั่วช้าสามานย์ สร้างอาหาร พืชพันธุ์ธัญญาหาร สร้างข้าว สร้างพืช นี่แหละ มันอยู่ในโซนที่เหมาะสมที่จะสร้างด้วย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 18 วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 02 ธันวาคม 2564 ( 19:25:07 )

อายุยาวยืนอย่างแข็งแรงและตายอย่างสงบดีที่สุด

รายละเอียด

ถ้าเผื่อว่าเราจะอายุยาวยืน เราก็จะต้องอายุยาวยืนอย่างแข็งแรง ไม่ใช่อายุยาวยืนอย่างมนุษย์พืช มนุษย์ติดเตียง มนุษย์พิการ มันก็ไม่ดีใช่ไหม มันก็ต้องเป็นมนุษย์ที่แข็งแรง เวลาจะตายก็ตายไปอย่างสงบอะไรอย่างนี้นะ แข็งแรงอยู่ดีๆเลย กลางคืนตื่นเช้ามาไม่ลุกแล้ว ไปดูก็ไปเสียแล้วอย่างนี้ แบบนี้ไปอย่างสงบไปอย่างเรียบร้อย เหมือนอย่างสุเทพ วงศ์กำแหง ตายอย่างสงบดีหรือหลายคนจะมีแบบนี้ ตายอย่างสงบ นอนไปแล้วก็ตายไปเลย หรือจะนอนกลางวันกลางคืนก็แล้วแต่ บางทีนอนกลางวันพักไปก็ไม่ตื่นตายไป หรือนอนกลางคืนรุ่งเช้าทำไมไม่ตื่นสักทีพอไปดู ชีพจรไม่มีแล้วอะไรอย่างนี้ ก็ตายอย่างสงบ ตายอย่างสงบนี้ดีที่สุด

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์รายการ โสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 22 วันจันทร์ที่ 4 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 28 มกราคม 2564 ( 21:34:28 )

อายุยาวแล้วความเสื่อมมันก็เป็นปฏิภาคทวี 

รายละเอียด

อาตมาอายุ 100 ปีถึงอายุครบ 100 ปีเต็มนี่นะ วันครบ 100 ปี นี่ก็วันที่ 4 มิถุนายนเป็นวันสุดท้าย วันที่ 5 มิถุนายนก็เป็นวันขึ้น 101 ปี เพราะเกิดวันที่ 5 มิถุนายนตอนเช้า ตกฟากตอนเช้า 8:00 น 

เพราะฉะนั้นถ้าอายุ 100 ปีนี่ แหม!!..คงจะสนุก คงจะได้ฉลองกัน มันก็ดูตื่นเต้นพอได้นะ เพราะตอนนี้อาตมาก็อายุ 88 - 89 แล้ว นี่ก็ 88 ปีนับไปจะถึง 89 เมื่อถึง 89 ก็นับ 89 ไปเรื่อยๆจนกว่าจะครบ 90 ปี กว่าจะ 100 ปีก็อีก 11 ปีกว่าๆ กว่าจะถึงอายุ 100 …10 ปีไม่น้อยนะสำหรับคนอายุยาว แต่เด็กๆมันไม่มีปัญหาอะไร 10 ปีแป๊บเดียว แต่ไอ้เรานี้เสื่อม เสื่อมลงมากๆอายุยาวแล้วความเสื่อมมันก็เป็นปฏิภาคทวี 

เราก็พยายามโด๊ป พยายามที่จะเพิ่มส่วนที่มันควรจะเสริมเติมได้ก็ว่ากันไป 

ก็มันเป็นประโยชน์ อาตมาก็เห็นว่ามันเป็นประโยชน์ ที่ดูก็ยังมีอะไรที่ละเอียดลึกซึ้ง ที่จะต้องสาธยายได้ วนกลับมาสู่เก่า ที่เคยพูดแล้ว หยาบๆ แล้วก็อธิบายละเอียดในหยาบ มันซับซ้อนตีลังกากลับ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาคนตาบอดชวนคนตาบอดไปดูท้องฟ้าสวย วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 23 กุมภาพันธ์ 2566 ( 12:04:12 )

statistics

ติดต่อสอบถาม

Facebook : test

Youtube : Name

Twitter : Name

Line : Name

Telegram : Name

Wechat : Name

Skype : Name

Copyright © 2018 Borvornsocial.net all right are reserved. developer สงวนลิขสิทธิ์