@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก
@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก

อภิธานศัพท์ (Glossary) จัดเป็นฐานข้อมูลด้านโลกุตระที่สมบูรณ์ที่สุดที่คัดมาจากหนังสือ คำเทศน์ ฯ

คู่มือการค้นหาอภิธานศัพท์อโศก หรือ ห้องสมุดโลกุตระ 50 ปี

เอกสาร : https://docs.google.com/document/d/1HLGedxqTAOTOTQKGbO6M4qMremQ8K1jBWKRYDDt6MRQ/edit

วีดีโอ Loom 2 : https://www.loom.com/share/e824e62ec1eb4567848e94af124a7ed5

วีดีโอ Loom 1https://www.loom.com/share/2445744a08e74bca95d2f1d2a0526044

วีดีโอ YouTube : https://youtu.be/QyXcGmzhLmk

 

 

อภิธานศัพท์ (ทั้งหมด) พบ 28,074 รายการ

มหาบัวไม่ติดยศไม่ติดลาภ

รายละเอียด

มหาบัวไม่เข้าใจ มหาบัวมีอุปาทานซ้อน ดีที่ว่ามาศึกษาธรรมะก็เลยมีภูมิธรรมบ้าง ที่ว่าลาภยศอย่ายึดเป็นเราเป็นของเรา มหาบัวมีความรู้อันนี้นะ มหาบัวมีตำแหน่ง ชั้นธรรมนะ ท่านก็ไม่ติดยศเท่าไหร่ ลาภท่านก็ไม่ติดนะมหาบัว ฟังให้ดี ส่วนชมอาตมาก็ชมนะ ส่วนติก็ตินะ ลาภ ยศท่านไม่ติด แต่ท่านติดอัตตา ติดอุปาทาน ท่านไม่รู้อันนี้ ลาภท่านไม่เยอะ ไม่ได้หาเองหรอก เหมือนธัมมชโยหว่านล้อมให้คนมาทำทาน บอกว่ามาทำทานให้แก่ประเทศ เป็นวิธีการ คนก็เอามาทำทาน แล้วไม่ได้เอามาให้ท่านนะ มหาบัวก็ทำ ที่ได้ธนบัตรได้ทองคำมาเป็นหมื่นล้าน ก็ยกให้ประเทศ โอ้โห มันซ้อนอัตตามานะอีก ท่านไม่รู้ก็เลยภาคภูมิใจอย่างมาก ตอนนี้ก็ยังติดอยู่ไม่หาย อาตมาไม่ได้ลบหลู่ไม่ได้รังเกียจ แต่สงสารท่านที่ไม่ได้หลุดพ้น ท่านติดยึด อาตมาพูดคือความจริงและจริงใจไม่ได้พูดเล่นลิ้นหลอกล่อ ไม่ได้พูดเอาดีเอาเด่นอะไร เป็นความยึดถือในนามธรรม ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นฝีกลัดหนองอยู่ในหัวใจ แต่ท่านก็ไม่รู้จักฝี สักวันหนึ่งจะปวดขึ้นมา นี่คือความซับซ้อนหมุนรอบเชิงซ้อนที่อาตมาอธิบายให้เข้าใจ ทำไมรู้ในสิ่งที่ท่านติดยึด ยังไม่รู้แล้วจะไปรับจริงๆได้อย่างไรมันต้องรู้แล้วจึงละ ละโดยไม่รู้ไม่ได้ ต้องรู้ก่อนแล้วละ เป็นลำดับอย่างน่าอัศจรรย์ ไม่งั้นสับสนวนไปวนมา เพราะฉะนั้นการออกจากกาม นรชนจะละกาม ออกได้ ไม่ใช่ของง่ายเป็นเรื่องยากมาก ที่อาตมายกตัวอย่างมาแม้แต่แค่หมากพลู ติดในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสของหมาก ท่านก็ว่าไม่ได้เสพติด มันก็เลยไม่ต้องพูดกันเลย เสร็จแล้วเมืองไทยก็ซวย มีคนโปรโมทว่าเป็นอรหันต์อีก อาตมาก็ต้องมาแก้สิ่งที่ผิด โปรโมทสิ่งที่เก๊ว่าเป็นของจริง 

ที่มา ที่ไป

เทศน์ทำวัตรเช้า วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 27 พฤศจิกายน 2563 ( 13:30:50 )

มหาบัวไม่มีทางบรรลุอรหันต์เพราะเหตุใด

รายละเอียด

เพราะว่ามหาบัวนี้แค่สักกายทิฐิอันแรกก็ยังเข้าใจไม่ได้เลย สังโยชน์ข้อแรก อย่างไรคือจิตนิยามเบื้องต้น คือแยกกายแยกจิต อันนั้นเป็นมูลกรรมฐานของนักบวชทุกองค์ก็ไม่รู้เรื่องกันแล้ว ไม่เข้าใจแยกกายแยกจิตไม่ได้ไม่มีทางจะบรรลุอรหันต์ แยกกายแยกจิตไม่ได้ไม่มีทางบรรลุอรหันต์ ขอยืนยัน ซึ่งเป็นมูลกรรมฐานเบื้องต้น อุปัชฌาย์ เข้าใจผิดเพี้ยนไปก็จบเห่ เพราะชีวิตในชาตินี้ขออภัยยกตัวอย่างมหาบัว บวชมาตั้งแต่ 10 กว่าปี สุดท้ายก็สอนผิดๆไป แล้วเขาก็ยอมรับนับถือกัน ซึ่งต้องเห็นใจอาตมาบ้าง อาตมาต้องแก้ มันเป็นเรื่องหัวใจของศาสนาพุทธ หากไม่แก้ไม่บอกไม่ชี้อย่างแท้จริงมันไม่ได้ มันจบเลย ปิดประตูเลย ก็ขอยืนยัน 

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม 2563


เวลาบันทึก 18 พฤศจิกายน 2563 ( 10:30:27 )

มหาบัวไม่รู้จักกาม เพราะไม่รู้จักกาย

รายละเอียด

กายกับกาม อย่างมหาบัวไม่รู้จักกาม รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสไม่รู้จัก เสพติดเกิดจากหมากพลู รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสครบอยู่ในนั้นเลย กินติดปากจนกระทั่งตายไปพร้อมกับหมาก ไม่เข้าใจเรื่อง กาม เพราะไม่เข้าใจเรื่องกาย ไม่รู้จักกาย ไม่พ้นสักกายทิฏฐิ ข้อที่ 1 ของสังโยชน์ เข้าใจกายไม่ได้ อย่าว่าแต่เข้าใจกายไม่ได้เลย สักกะของตนก็ไม่รู้ แต่พอรู้ว่าเพื่อผู้อื่นให้ผู้อื่นดี 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ  ธรรมบรรยาย คุหัฏฐกสุตตนิทเทส ตอน 6 วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม 2564 แรม 5 ค่ำเดือน 7 ปีฉลู ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 11 กรกฎาคม 2564 ( 19:07:53 )

มหาบัวไม่รู้ตัวที่ไปหลงพาคนหลง

รายละเอียด

อาตมาจะไปขอขมากรรมทำไม เพราะอาตมาไม่ได้ทำผิดอะไร หลวงตาบัวต้องมาขอขมาต่อศาสนาพุทธต่อพระพุทธเจ้าที่ พาคนหลง มหาบัวไม่รู้ตัวที่ไปหลง หลงว่าที่ตัวเองเรี่ยรายทองและเงินจากประชาชนได้เยอะเอาเข้ากองคลัง อันนี้เป็นเวรเป็นภัยของมหาบัวที่ไม่รู้เท่าทันสิ่งเหล่านี้ แล้วก็ตกเป็นมานะ อติมานะ หยิ่งผยองดีใจ เป็นสารัมภะ ใครพูดอะไรก็ไม่ฟัง ถัมภะ เธอไม่รู้จักมายา สาเฐยยะ ไม่รู้จักสโฐ โอ้อวด แต่ว่าทำโชว์พวกนี้ หน้าที่ของพระปฏิบัติธรรมไม่ต้องทำเก่ง จะต้องเรี่ยไรเงินทองหาเงินทองแล้วเอาเงินทองเป็นกอบเป็นกำไปช่วยโลกไปช่วยสังคม ไม่ใช่หน้าที่เลย เขาตั้งให้เป็นหัวหน้าเศรษฐกิจหรือไง ปัดโธ่ มันไม่ใช่หน้าที่ไม่ใช่เรื่องเลย จะวิจัยไปมากกว่านั้นก็ได้ แต่เอาล่ะ อาตมาก็สงสารคุณตันตัน อาตมาก็ขอพูด…คุณจะเข้าใจว่าจะมาหยิ่งผยอง สารัมภะก็ได้ ให้อาตมาไปขอขมากรรมกับหลวงตาบัว มันไม่ได้หรอก อาตมาจะไปขอขมาทำไม อาตมาไม่ได้ทำผิดมหาบัวต่างหากทำผิด เป็นคนทำสิ่งต่างๆที่เลยเถิด มันเป็นเรื่องเข้าใจได้ยาก ที่คนสามัญจะรู้ได้ในเรื่องนี้ 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม 2563


เวลาบันทึก 12 สิงหาคม 2563 ( 10:19:56 )

มหาบัวไม่เข้าใจอุปกิเลสในตัวเอง

รายละเอียด

เป็นตัวอย่างได้ว่ามันซ้อนหยาบ ซ้อนละเอียดเข้าไป ตัวเองยึดถือของตัวเองอย่างแน่นเลย เป็นอุปกิเลสเป็นตัวกูของกู พอพูดถึงทองที่เข้าพระคลังเรี่ยไรได้ ไม่ใช่น้ำพักน้ำแรงตัวเองนะ ไม่ใช่ตัวเองสร้างขึ้นมาแล้วก็แลกเปลี่ยนด้วยอัตราค่าแลกเปลี่ยนตามควรไม่ใช่ไปเอาเปรียบอย่างนายทุน แล้วคุณก็ได้ทองคำเท่านั้นบาท หมื่นล้านบาทอะไร แสนบาทอะไรก็แล้วแต่ มีทองคำเข้าคลัง มีเงินดอลลาร์ เข้าคลัง กี่หมื่นล้านอะไรก็แล้วแต่ ก็ยึดถือว่าเป็นของเราจนตาย พูดขึ้นมาเมื่อไหร่ก็ภูมิใจ ว่านี่ฝีมือเรา ไปเรี่ยไรเขามาแต่อ้างว่าเพื่อประเทศไทย เอาประเทศมาเป็นจำเลย ใครก็เอามาให้สิ แล้วก็เอาไปช่วยคลัง นี่มันเป็นความซับซ้อน คนฉลาดจะใช้ความซับซ้อนพวกนี้สร้างอัตตาตัวเองให้โตได้ แล้วติดยึดในอัตตาตัวเองแน่นเหนียวไม่เข้าใจ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ธรรมบรรยาย คุหัฏฐกสุตตนิทเทส ตอน 6 วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม 2564 แรม 5 ค่ำเดือน 7 ปีฉลู ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 11 กรกฎาคม 2564 ( 19:10:05 )

มหาบัวไม่เดียงสาในเรืองกามคุณ 5 แล้วโกหกในสิ่งที่ตัวเองรู้ว่าเป็นคำโกหก

รายละเอียด

ขอยกตัวอย่างให้ฟัง ไม่เดียงสา..ขออภัยนะ อย่างมหาบัว ไม่เดียงสาในเรื่องกามคุณ 5 กินหมากกินพลูคือกามคุณ 5 เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ แล้วก็เหมือนเด็กๆไม่รู้เลยว่านี่คือกิเลสที่ตัวเองเสพติด นี่พูดอย่างเห็นใจ เข้าใจ แต่จริงๆลึกๆอาตมาไม่เชื่อหรอกว่ามหาบัวไม่รู้ว่านี่คือกิเลสกามคุณ อาตมาไม่เชื่อ เพราะฉะนั้นอาตมาถึงจึงเห็นจริงว่า มหาบัวนี่ ขออภัยต้องพูดความจริง โกหกในสิ่งที่ตัวเองรู้ว่าเป็นคำโกหก อาตมาก็ว่าไม่รู้จะช่วยอย่างไรเลยคนแบบนี้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้บอกว่าคนที่โกหกทั้งทั้งที่รู้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่จริงคนคนนี้ทำชั่วได้ทุกอย่างไม่มีความชั่วใดที่คนคนนี้ทำไม่ได้

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 21 ตุลาคม 2563


เวลาบันทึก 20 พฤศจิกายน 2563 ( 14:55:05 )

มหาบุรุษผู้มีปัญญาใหญ่

รายละเอียด

1.บุคคลในโลกนี้เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก  เพื่อสุขแก่ชนหมู่มาก  ยังประชุมชนมากให้ตั้งอยู่ในธรรมที่ควรรู้ เป็นอริยะ  ได้แก่ ความเป็นผู้มีกัลยาณธรรม  ความเป็นผู้มีกุศลธรรม
2.บุคคลนั้นเมื่อจำนงเพื่อตรึกวิตกใด ย่อมตรึกวิตกนั้น  เมื่อไม่จำนงเพื่อตรึกวิตกใด ย่อมไม่ตรึกวิตกนั้น  เมื่อจำนงเพื่อดำริเหตุที่พึงดำริใด ย่อมดำริเหตุที่พึงดำรินั้นได้  เมื่อไม่จำนงเพื่อดำริเหตุที่พึงดำริใด ย่อมไม่ดำริเหตุที่พึงดำรินั้น  เป็นผู้ถึงความชำนาญแห่งใจในคลองแห่งวิตกทั้งหลาย (เจโตวสิปัตตะ) ด้วยประการดังนี้ .
 

ที่มา ที่ไป

เล่ม 21  ข้อ 35  ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 28 กรกฎาคม 2562 ( 21:04:38 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:04:55 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 08:24:51 )

มหาปเทส 4

รายละเอียด

คือ

1.       สิ่งใดไม่ห้ามว่า – ไม่ควร แต่สิ่งนั้นเข้ากับสิ่งไม่ควร ขัดกับสิ่งควร สิ่งนั้นจึงไม่ควร

2.       สิ่งใดไม่ห้ามว่า – ไม่ควร แต่สิ่งนั้นเข้ากับสิ่งควร – ขัดกับสิ่งไม่ควรสิ่ง นั้นจึงควร

3.       สิ่งใดไม่อนุญาตว่าควร แต่สิ่งนั้นเข้ากับสิ่งไม่ควร – ขัดกับสิ่งควร สิ่งนั้นจึงไม่ควร

4.       สิ่งใดไม่อนุญาตว่า – ควรแต่สิ่งนั้นเข้ากับสิ่งไม่ควร สิ่งนั้นจึงควร

หนังสืออ้างอิง

“สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ”หน้า 558


เวลาบันทึก 02 พฤศจิกายน 2562 ( 13:26:22 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 16:04:43 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 08:25:12 )

มหาปเทส 4

รายละเอียด

ไม่มีในสิ่งที่พระพุทธเจ้าได้บัญญัติไว้ห้ามหรืออนุญาต เราก็ต้องใช้การพิจารณาของตัวเอง อาศัยตัวเองอย่างไม่มีลำเอียง ไม่มีอคติแล้วตัดสินเอง มันสุดทางแล้ว มหาปเทส สุดทางแล้ว คำสอนพระพุทธเจ้าไม่มีในสิ่งที่จะห้ามหรืออนุญาตในส่วนนี้แล้ว เราก็ต้องพึ่งตนเอง

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 7 มกราคม 2562


เวลาบันทึก 12 มกราคม 2563 ( 17:14:38 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:06:52 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 08:25:31 )

มหาปเทส 4

รายละเอียด

คือหลักการใหญ่ที่ใช้อ้างอิงตรวจสอบ แล้วตัดสิน

1. สิ่งใดไม่ห้ามว่า ไม่ควร แต่สิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งควร สิ่งนั้นจึงไม่ควร

2. สิ่งใดไม่ห้ามว่า ไม่ควร แต่สิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งไม่ควร สิ่งนั้นจึงควร

3. สิ่งใดไม่อนุญาตว่า ควร แต่สิ่งนั้นเข้ากับสิ่งไม่ควร ขัดกับสิ่งควร สิ่งนั้นจึงไม่ควร

4. สิ่งใดไม่อนุญาตว่า ควร แต่สิ่งนั้นเข้ากับสิ่งควร ขัดกับสิ่งไม่ควร สิ่งนั้นจึงควร

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 5   "เภสัชชขันธกะ"  ข้อ  92

 

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 19 มิถุนายน 2562 ( 14:15:38 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 16:06:40 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 08:25:52 )

มหาปเทส 4

รายละเอียด

  1. สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า  สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร  ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย  

  2. สิ่งที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า  สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร  ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย

  3. สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า  สิ่งนี้ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร  ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย  

  4. สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า  สิ่งนี้ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร  ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย. 

คุณก็ต้องประมวลเอาเองตัดสินเอาเองว่าอันไหนควรหรือไม่ควร รายละเอียดที่ลึกซึ้งพวกนี้ก็อยู่ที่แต่ละคนที่จะต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบความรอบรู้พิจารณาจริงๆ อาตมาก็ใช้ จริงๆแล้วทุกคนใช้โดยสามัญมีมากมีน้อยก็แล้วแต่ตามจริงของแต่ละคน พระพุทธเจ้าเอาความจริงมาตรัสเท่านั้น 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 8 เมษายน 2563

หนังสืออ้างอิง

พระไตรปิฎก เล่ม 5  ข้อ 92


เวลาบันทึก 23 เมษายน 2563 ( 13:15:30 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:05:39 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 08:26:37 )

มหาปเทส 4

รายละเอียด

  1. สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า  สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร  ขัดกับสิ่งที่ควร  สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย  

  2. สิ่งที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า  สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร  ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร  สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย

      3. สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า  สิ่งนี้ควร  หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร  ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย  

  1. สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า  สิ่งนี้ควร  หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร  สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย. (พระไตรฯ ล.5  ข.92) 

มันจะมีแปลกใหม่บ้างเช่นคอมพิวเตอร์นี้จะควรหรือเปล่า เช่นโพธิรักษ์นี้เป็นนักบวชแล้วจะเอาคอมพิวเตอร์นี้มันควรหรือเปล่ามันเป็นสิ่งใหม่ในยุคพระพุทธเจ้าไม่มีแล้วท่านก็ไม่ได้ตรัสไว้ แต่เอ๊ สิ่งที่ควรนะ มาดูข้อ 3 ข้อ 4 ถ้าเราอยู่ในองค์ประกอบใดที่เราจะเอาอันนี้ไปใช้ คอมพิวเตอร์ กับหมู่กลุ่มที่เขาติดเขาถือสามากเลยเราก็ไม่ควรใช้ เพราะมันจะเกิดการทะเลาะกันเปล่า เอาคอมพิวเตอร์ไปใช้กับอันนี้เขาใช้ไม่เป็นแล้วก็บอกว่าไม่เอา อย่างที่อาตมายกตัวอย่าง ในกลุ่มนี้ไม่ให้อ่านแม้แต่หนังสือพิมพ์ อย่าไปว่าแม้แต่คอมพิวเตอร์เลย นี่คือในกลุ่มที่เขาไม่ควร เราอยู่ในกลุ่มนั้นแล้วจะเอาหนังสือพิมพ์ไปอ่านก็โดนเขาก็เอาเท้าเขี่ยแรงๆให้ออกไปเท่านั้นเอง เราเรียนธรรมะ ที่อาตมาอธิบายไปเป็นสิ่งยาก เป็นโลกุตระเป็นสิ่งยาก ซึ่งแต่พวกเราก็ฟังได้ฟังดีไม่ง่วง ฟังแล้วเกิดอานิสงส์ในการฟังธรรม 5 ประการอีกต่างหาก พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าในยุคต่อไป ในอนาคต ในอาณิสูตร 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 5 สิงหาคม 2563

หนังสืออ้างอิง

พระไตรฯ ล.5  ข.92


เวลาบันทึก 04 กันยายน 2563 ( 09:47:42 )

มหาปเทส 4

รายละเอียด

คือหลักการใหญ่ที่ใช้อ้างอิงตรวจสอบ แล้วตัดสิน

1. สิ่งใดไม่ห้ามว่า ไม่ควร แต่สิ่งนั้นเข้ากับสิ่งไม่ควร ขัดกับสิ่งควร สิ่งนั้นจึงไม่ควร

2. สิ่งใดไม่ห้ามว่า ไม่ควรแต่สิ่งนั้นเข้ากับสิ่งควร ขัดกับสิ่งไม่ควร สิ่งนั้นจึงควร

3. สิ่งใดไม่อนุญาตว่า ควร แต่สิ่งนั้นเข้ากับสิ่งไม่ควร ขัดกับสิ่งควร สิ่งนั้นจึงไม่ควร

4. สิ่งใดไม่อนุญาตว่า ควร แต่สิ่งนั้นเข้ากับสิ่งควร ขัดกับสิ่งไม่ควร สิ่งนั้นจึงควร

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 5 “เภสัชชขันธกะ” ข้อ 92


เวลาบันทึก 12 มีนาคม 2565 ( 21:35:28 )

มหาปเทส 4 ต้องใช้ status quo

รายละเอียด

คุณจะพูดอย่างมีหรือไม่มีจะปฏิเสธหรือยอมรับอย่างไร ซึ่งมันมีสภาพ 2 อยู่ตลอดกาล เราก็รู้ทั้งสองอย่าง แต่เราไม่เป็นทั้งสองอย่าง แต่เราจะอนุโลม ถ้าสิ่งที่ควรลงท้ายใช้ภาษาว่า ควรหรือไม่ควร อะไรมันควร เป็นองค์ประกอบที่เป็นปัจจุบันธรรม พระพุทธเจ้าตรัสถึงมีอะไรที่ห้ามหรืออนุญาต ตรัสไว้หมด

จนกระทั่งในคำตรัสทั้งหลาย ไม่อนุญาตไม่ได้ห้ามไว้เลย ต้องอาศัยของจริงที่เป็นสภาวะตอนนี้ตัดสินพิจารณาว่า อย่างนี้ พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ห้าม อาศัยคำสอนพระพุทธเจ้ามาประกอบ องค์ประกอบอย่างนี้ควรจะทำอย่างไร เพราะฉะนั้นสิ่งที่ควรก็ทำตามควร สิ่งที่ไม่ควรเราก็จะไปทำทำไม ก็พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ตรัสไว้เลย ทั้งอนุญาตและไม่อนุญาตก็ไม่ได้ตรัสไว้ในมหาปเทส 4 

1. สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า  สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร  ขัดกับสิ่งที่ควร  สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย  

2. สิ่งที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า  สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร  ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร  สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย

3. สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร  ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย  

4. สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย. 

(พระไตรฯ ล.5  ข.92) 

ต้องใช้ status quo ในยุคพระพุทธเจ้ามีสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีทาส ไม่รู้สิทธิมนุษยชน แต่ในยุคนี้มันได้ อาตมาก็ไขความไว้หมดแล้ว ทำสาธารณโภคีถึงฆราวาส เพราะว่ามีองค์ประกอบทำได้ ไม่ใช่อาตมาเก่ง แต่เหตุปัจจัยมันลงตัวเป็นไปได้ ก็ยากที่จะเข้าใจกัน

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาความเข้าใจเรื่องกายของอ.แปลง วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 29 พฤศจิกายน 2564 ( 11:22:33 )

มหาปเทส 4 มีหลักอย่างไร

รายละเอียด

แบ่งเป็น สอง สอง

1. สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า  สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร  ขัดกับสิ่งที่ควร  สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย 

2. สิ่งที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า  สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร  ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร  สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย

3. สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า  สิ่งนี้ควร  หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร  ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย 

4. สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า  สิ่งนี้ควร  หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร  ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร  สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.

(พระไตรปิฎก เล่ม 5  ข้อ 92)

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ ตอบปัญหาการทำใจในใจให้ถึงแดนเกิด วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน 2561 ที่ บวร ราชธานีอโศก

สื่อธรรมะพ่อครู(ศีล สมาธิ ปัญญา) ตอน มหาปเทส 4 มีหลักอย่างไร


เวลาบันทึก 28 กุมภาพันธ์ 2564 ( 16:42:58 )

มหาภิเนษกรมณ์

รายละเอียด

การเสด็จออกบวชของพระพุทธเจ้าช่วงที่ยังไม่ตรัสรู้

หนังสืออ้างอิง

ค้าบุญคือบาป หน้า 107


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 15:42:22 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 14:34:07 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 08:26:54 )

มหาภูต

รายละเอียด

มหาภูต เป็นดินน้ำลมไฟ แล้วก็มาเป็นพืช มาเป็นภูตคาม พีชคาม แล้วมาเป็นเจตภูติ เริ่มมาเข้ามาเหลื่อม overlab มาหาธาตุจิตวิญญาณ ธาตุสัตว์

จากปาณะถึงเจริญมาเป็นเจตสิก มาเป็น เจตสิก แล้วมาเป็นสัตตะ รวมแล้วก็เป็นจิตนิยาม 

รายละเอียดพวกนี้อาตมาอธิบายนี้อธิบายจากสภาวะที่อาตมามี แล้วก็พยายามอธิบายเป็นพยัญชนะ แล้วอาตมาก็เข้าใจพยัญชนะคำบาลีต่างๆ เข้าใจอย่างแบบของอาตมา ซึ่งท่านสมเด็จพุทธโฆษาจารย์ท่านก็พูดเสียดสี กระแนะกระแหนอาตมาอยู่ว่า ท่านโพธิรักษ์ท่านว่าท่านรู้ได้ด้วยญาณ ไม่ได้อาศัยภาษาอย่างที่อื่นเขาเรียนกัน 

ที่เขาเรียนกัน ไวยากรณะ วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณ์  ที่เขาเรียนกันเป็นตำราสากล 

จริง อาตมาไม่ได้เรียนอย่างนั้นจริง  แต่อาตมาเข้าถึงตัวความเป็นสภาวะแท้ แล้วก็มาอาศัยภาษา ส่วนผู้ที่อาศัยภาษาเหตุผลของภาษานั้น มันก็เจริญแต่ภาษา มันเจริญออกนอกกรอบ เขาไม่รู้ 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ปลุกธรรม ครั้งที่ 40 พ่อครูเล่าความหลังเมื่อตอนอยู่ในวงการบันเทิง วันจันทร์ที่ 11 กันยายน 2566 แรม 11 ค่ำ เดือน 9 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 07 มีนาคม 2567 ( 16:35:32 )

มหาภูตรูป

รายละเอียด

รูปหยาบที่เกี่ยวจากภายนอกทั้งหมด

หนังสืออ้างอิง

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 58


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 15:43:09 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 14:34:44 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 08:27:09 )

มหาภูตรูป 4

รายละเอียด

มหาภูตรูป 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม

 

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต  สันติอโศก ครั้งที่ 69 วันจันทร์ที่ 16 กันยายน  2562


เวลาบันทึก 22 ตุลาคม 2562 ( 11:43:33 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:07:29 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 08:27:45 )

มหาภูตรูป คืออะไร

รายละเอียด

รูปแท้ๆเลยที่เป็นสสารเรียกว่า มหาภูตรูป คือดินน้ำไฟลม 4 อย่าง เป็นมหาภูตรูป 4 ก็ต้องร่วมกัน มีรูปมีนาม เพราะฉะนั้นถ้าเข้าใจโดยสภาวะโดยปัญญาแท้แล้ว รูป4 ที่เป็นมหาภูตรูปก็ร่วมกับรูปอีก 24 เป็น 28 

28 ก็คือมีรูปแทรกอยู่ในนั้น กับนามธรรมอีก 24 อาการ สังขารกันอยู่ปรุงแต่งกันอยู่ มหาภูตรูป 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ จบรูป 28 สู่เรือนาวาบุญนิยมพาพ้นไฟโลกีย์ วันพุธที่ 3 สิงหาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 27 สิงหาคม 2565 ( 21:39:15 )

มหามารดา

รายละเอียด

พระผู้สร้าง หรือผู้ให้ ผู้ก่อกำเนิดแท้ ๆ จริง ๆ เป็นแม่ยิ่ง

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 427


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 15:43:53 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 14:35:24 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 08:28:05 )

มหายาน

รายละเอียด

คือ สภาพพระที่ปกครองศาสนาในเมืองไทย เป็นสภาพ “มหายาน” มีแต่เรียนๆ มีวิชาความรู้โน่นนี่ ต่างๆนานา มีปริญญาดีกรีทางศาสนา หลายใบเป็นพระนักพัฒนา ช่วยคนอื่น เพื่อสร้างบัลลังก์ สร้างวัง สร้างเวียง สร้างวัตถุเก่ง ร่ำรวย คนก็ให้ค่า ให้ยศ ให้ตำแหน่ง แล้วก็ได้เป็นพระบริหารปกครองเป็นพระสังฆาธิการ แต่ตัวเองไม่มีวิมุติ ก็กลายเป็นสิ่งหลอกระบบอย่างนี้ กลายมาเป็นระบบโลก เป็นระบบมหายานในเมืองไทย  มหายาน เป็นสายปัญญา การปฏิบัติหนักไปทางธัมมานุสารี จะเจริญเป็นทิฏฐิปัตตะจากนั้นก็จะเจริญไปเป็นปัญญาวิมุติ โดยไม่จำเป็นจะต้องไปจดจำหลัก “วิโมกข์ 8” (สภาวะจิตหลุดพ้น 8 ขั้นตอน) สายปัญญา หรือ ธัมมานุสารี ปฏิบัติลืมตาจะเดินไปตามหลักวิโมกข์ 8 จะมีวิโมกข์ 8 เป็นอัตโนมัติ จึงไม่ต้องเข้าออกใน วิโมกข์ 8 มหายาน เนื้อหาสัจจะความรู้ ที่แท้ ถูกต้องจริงๆของพระพุทธเจ้านั้นพระไตรปิฎกของมหายานมีมากกว่า ของเถรวาทมีแต่เนื้อไม่แท้ ฟุ้งเฟ้อ เกินเลยเอาของใครๆ มาใส่ปลอมปน ก็มีมากกว่าจึงร่อนออกยาก เชื่อถือได้ยาก 

หนังสืออ้างอิง

 “สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ” หน้า 93และ หน้า 95


เวลาบันทึก 25 ตุลาคม 2562 ( 14:37:59 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 16:08:04 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 08:28:49 )

มหาวิทยาลัยขยะวิทยา

รายละเอียด

การศึกษาขยะวิทยา คือ ในอนาคตจะเป็นสถานที่ของการศึกษาขยะวิทยา  ที่ขยะแหล่งรวมที่สันติอโศกเป็นหลักเป็นตัวอย่าง  ถ้ามีมหาวิทยาลัย อาตมาก็จะตั้งในนั้นจะมีทั้งนักวิทยาศาสตร์วิจัย  มีทั้งเรื่องของพาณิชย์ชั้นเยี่ยมเลยถ้าจะตั้งคณะขยะวิทยา จะมีแผนกต่างๆ สารพัดตั้งไม่รู้กี่แผนก  จะต้องเรียนเพื่อมารวมกันจัดการขยะอย่างครบวงจร  คนก็ยังไม่กระเตื้องเท่าไหร่  ถ้าอยู่สักวันจะเกิดหรือคนอื่นจะเอาไปทำก่อน  จะรวยก่อน  สมไทย วงค์พาณิชย์  ตอนนี้มีสาขาหลายร้อยแห่ง เขาว่า มองไปทางไหนมีแต่เงิน  ตอนนี้แงะทองแดงกันตั้งแต่ผู้จัดการและพนักงานก็มาช่วยกัน

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 19 ตุลาคม 2562 ( 13:55:45 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:08:01 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 08:30:03 )

มหาวิทยาลัยของพุทธแท้ๆ ต้องอโศก

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นคำว่าบรรลุธรรมจึงไม่ง่าย รู้ได้ยากเพราะว่าเป็นผู้รู้เยอะเลย ขออภัยที่ต้องพาดพิง ในเถรสมาคมเป็นเปรียญ 9 เป็นด็อกเตอร์ จบมาจากเมืองนอกเป็นด็อกเตอร์ทางพุทธศาสนา แล้วเมืองนอกจะมาสอนโลกุตรธรรมพุทธศาสนาได้อย่างไร เพราะเขาเป็นเทวนิยม เขาเป็นศาสนาพระเจ้า จะมารู้สภาวะของโลกุตรธรรมได้อย่างไร 

ต้องเรียนจากโรงเรียนเดิมมหาวิทยาลัยของพุทธแท้ๆ อยู่ในเมืองไทย โดยเฉพาะต้องอโศก เพราะในเถรสมาคมจริงๆ ต้องขออภัยที่บอกว่าเขาไม่มี ก็เกรงใจอาตมาไม่อยากให้ไปลบหลู่ เพราะต้องอาศัย ให้อาตมาไปทำอย่างที่เถรสมาคมทำ อาตมาก็ทำไม่ไหวเพราะมันเยอะ เละเทะหยำฉ่ากัน อาตมาทำไม่ได้ เขาก็ต้องช่วยกันไปก็ต้องขอบคุณเขาเหมือนกัน 

ทางเถรสมาคมก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะต้องรับผิดชอบแล้วก็รักษาไว้ขนาดหนึ่ง ก็ช่วยกัน ก็ต้องขอบคุณทางเถรสมาคมอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นความรู้ที่เป็น ปทปรมบุคคล จึงเป็นผู้ที่น่าสงสารมาก เพราะท่านก็มุ่งหมายศึกษากัน เพื่อที่จะให้บรรลุธรรมเหมือนกันนั่นแหละ แต่จะด้วยบารมี จะด้วยกรรมวิบากอะไรของท่านก็แล้วแต่ ท่านก็มาไม่ได้ ท่านก็ต้องติดอยู่อย่างนั้นแหละ 

เพราะฉะนั้นก็ต้องเตือนให้สติท่าน อาตมาก็สงสารจริงๆก็พยายามพาดพิงถึง แต่ก็เกรงใจ ที่จริงผู้ที่ท่านไม่บรรลุธรรม แต่ท่านรู้พุทธพจน์ก็มาก ท่านก็เอาพุทธพจน์มาเขียนมาบันทึก อาตมาได้รับประโยชน์จากที่ท่านบันทึกไว้มาก ได้อาศัยของท่านก็ต้องขอบคุณจริงๆ ได้อาศัยที่ท่านบันทึกไว้ ท่านค้นคว้ามากรู้มาก และท่านไปเก็บไว้หมดนะ ของอาจาริยวาทของอรรถกถาจารย์ ท่านก็เก็บมาหมด มันเยอะแยะไปหมดอาตมาก็ต้องเอามาคัดเอาสิ่งที่ถูกต้อง ก็ระลึกถึงบุญคุณท่านอยู่หลายๆท่าน อาศัยท่านหลายคน 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ ธัมมิกราชประกาศโลกุตรธรรม งานอโศกรำลึก 2566
สื่อธรรมะพ่อครู ตอน ประกาศธัมมิกราชต้องมีองค์ประกอบครบ
วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน 2566 แรม 6 ค่ำเดือน 7 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 15 กรกฎาคม 2566 ( 20:06:37 )

มหาวิทยาลัยที่จะประสาทปริญญาโลกุตระอยู่ที่นี่

รายละเอียด

มีมหาวิทยาลัยที่จะประสาทปริญญาโลกุตระอยู่ที่นี่ ตอนนี้ก็ จดทะเบียนทางสังคมเขาแล้ว หมอเขียวก็ ตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเป็นวิทยาลัยขึ้นมา ก็ค่อยๆทำไป ไม่ได้ยิ่งได้ใหญ่อะไร แม้การศึกษาเราก็ค่อยๆทำไป คนเขามีดวงตาคนจะมาสมัคร เราไม่ได้หาเงินหาทอง ไม่ได้หายศหาศักดิ์อะไร มาช่วยกันให้เจริญขึ้นจริงๆ การศึกษาเข้ามาช่วยกันจริงๆ ก็ทำ 

แม้ที่สุด การเมือง ตั้งพรรคการเมืองกับเขา ตอนนี้ยังไม่ได้รับอนุมัติ ก็บอกว่ายังเป็นข้อบกพร่องของเราเอง ก็ทำให้สมบูรณ์ ดูซิ จะทำต่อไป เราก็จะประพฤติปฏิบัติทางการเมืองแบบแนวของที่เราทำ ไม่ได้ไปแย่งอำนาจ ไม่ได้ไปแย่ง สส. อะไรเขา แต่เราจะมีคนไปสมัคร สส.บ้างก็ทำไปตามควร ไม่ไปแย่ง 400 ที่นั่งจะต้องได้เท่านี้เท่านี้ ไม่เอา มีเท่าไหร่ก็ว่ากันไป 

ซึ่งอาตมาก็ยังเห็นว่า อาตมายังตายไม่ลง จะต้องพยายามพาพวกเราทำ ด้านการเมืองนี่ทุกวันนี้ ทั้งโลกทั่วโลกตื่นตัวกันมากเลย เพราะฉะนั้นจะต้องพยายามพากันทำ เรื่องของการเมืองด้วย ก็สรุปลงที่ กสิกรรมกับการเมือง แน่นอน ต้องมีการศึกษาอยู่ในสิ่งนี้ และต้องมีสื่อสารอยู่ในสิ่งนี้ การศึกษาและการสื่อสารจะต้องนำพากันไป เพราะฉะนั้นในที่อาตมาถือเป็น บุญญาวุธ 7 ประการ คุณต้องมีอาหารที่พาให้ได้ยืนยาวคือมังสวิรัติ แล้วก็ต้องมีการสะพัดเป็นตลาดอาริยะ โดยมีเหตุปัจจัยคือ กสิกรรมไร้สารพิษเป็นแกนกับสุขภาพ คู่กันไปอีก และการศึกษากับสื่อสารที่พูดผ่านไปเมื่อกี้ คู่กันไปอีก สรุปแล้วนี่แหละคือการเมือง 

การเมืองก็จะต้องพาให้ประชาชนมนุษยชาติ มีอาหารการกิน มีการสะพัด เอาอะไรมาสะพัด ก็คือเอากสิกรรม แล้วกสิกรรมก็จะต้องเป็นพืชพันธุ์ธัญญาหารที่เจริญสุขภาพ เป็นทั้งยาเป็นทั้งอาหาร แล้วต้องมีความรู้มีการศึกษา มีการสื่อสารกัน บอกให้รู้ให้เข้าใจ ให้ถึงกัน สื่อสารให้ถึง เดี๋ยวนี้การสื่อสารก็โกลโบไลเซชั่นแล้ว ฟ้าบ่กั้น สำนวนลาวเขาบอกว่า ฟ้าบ่กั้น เมืองไทยเรียกว่าโลกาภิวัตน์ ทะลุหมด ถึงกันหมด ฟ้าบ่กั้น ไม่มีอะไรกั้นได้แม้แต่ฟ้าก็กั้นไม่ได้ อาตมาว่าสวยกว่าโลกาภิวัตน์ตั้งเยอะ ฟ้าบ่กั้น ของลาว ฟ้าไม่กั้นก็ได้ ไทยๆ

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยที่ประสาทปริญญาโลกุตระ วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 ขึ้น 8 ค่ำ วันพระน้อย เดือน 4 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 29 มิถุนายน 2566 ( 13:56:50 )

มหาวิทยาลัยที่ประสาทวิชาโลกุตระได้

รายละเอียด

ในยุคนี้มีโลกุตระ มีมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนคือ “อโศก” ที่ประสาทวิชาโลกุตระได้ บรรลุสมณะ 4 เหล่าได้จริง รู้กำหนดกฎเกณฑ์ของความเป็นสมณะ 4 เหล่า เอามายืนยันเอามาอธิบายได้ มีตัวตนบุคคล มีพฤติกรรมจริง มีปรากฏการณ์จริง มีสังคมกลุ่มหมู่จริง ยืนยันได้ 

ต้องขออภัยไม่ได้พูดยกตนข่มท่าน เกรงใจแต่ต้องพูดความจริงให้เห็นชัดๆ เพื่อจะได้เอาไปยืนยันศึกษา ผู้ที่ศึกษาแสวงหาจะได้เปรียบเทียบว่าอาตมาพูดนี่มันเกินความจริงมัน Over เกินไปหรือเปล่า หรือว่ามันเป็นความจริง มันฟังแล้วดูเหมือนโอเวอร์จริง แล้วเหมือนหลงตัวหลงตนยกตัวยกตนจริงๆ ก็น่าเห็นใจเขา 

เพราะในยุคนี้เป็นยุคที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วเป็นยุคของความเสื่อม เป็นเวลาเกินครึ่งพุทธศตวรรษ คือ2500กว่าปีมาแล้ว มันเสื่อมอย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในอาณิสูตร กลองอานกะ มันไม่มีแล้วโลกุตรธรรม อาตมาต้องลงมือรื้อฟื้นขึ้นมา ทำงานรื้อฟื้นมา 50 กว่าปีแล้ว

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ทำไมสายศรัทธาจึงช้าและยากกว่าสายปัญญา วันพุธที่ 10 สิงหาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 31 สิงหาคม 2565 ( 04:42:48 )

มหาวิทยาลัยพระพุทธเจ้าอยู่ที่ชาวอโศก

รายละเอียด

ชาวอโศกมันจบ มันไม่ต้องแก้ปัญหาเศรษฐกิจอีก เพราะฉะนั้นอาตมาเคยอธิบาย เคยพูด ไม่รู้กี่ทีว่า โลกทั้งโลกนี้จบมหาวิทยาลัย จบปริญญาเอกทางเศรษฐศาสตร์ แก้ปัญหาโดยจะต้องให้คนไปร่ำรวย ความหมายและความจริง Concept ของเขา เขาต้องการเป็นคนร่ำรวยจริงๆ ให้รวยให้มากๆเลย คนในประเทศเอง ทรัพย์ศฤงคารมันก็มีเป็นส่วนกลาง ถ้าจะให้คนไปรวยๆๆ มันก็แย่งกันอยู่ในนั้น ไม่พอ ก็จะไปแย่งของต่างประเทศเขามาอีก เอาเปรียบเอารัดจากต่างประเทศเขามาอีก พูดแล้วเหนื่อยเลยนะ อาตมาฟังแล้ว โอ้โห…. มันไม่รู้จักชีวิต ...ชีวิตอะไรจะเหน็ดเหนื่อยกันขนาดนั้น แล้วแย่งเท่าไรก็ไม่พอ ไม่หยุดนะ 

พูดไปแล้วจะเห็นได้ว่าน่าสงสารมากนะคน มันต้องพูดให้ชัดเจนเพราะมันก็ไม่เสร็จ เพราะฉะนั้นคนจะจบความโง่ความอวิชชาจริงๆ มันต้องมาเรียนรู้วิชาของมหาวิทยาลัยพระพุทธเจ้า เดี๋ยวนี้มหาวิทยาลัยอยู่ที่ชาวอโศก ในประเทศไทย เถรสมาคมก็ไม่ได้สอนหรอก ไม่มีครูบาอาจารย์สอนเรื่องนี้ได้เขาก็บอกว่า เขาเป็นพุทธเหมือนกัน แต่นานาสังวาสกับเรา  เขาก็สอนของเขาอย่างนั้น เราก็สอนของเราอย่างนี้ ต่างคนต่างความเห็น  มีความเข้าใจ ความเชื่อ ความรู้ ก็ต้องทำไปตามที่ตัวเองเป็นตัวเองมี บังคับกันไม่ได้หรอกอันนี้ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ชีวิตหนอพออยู่พอกิน เพราะมีอาหาร 4 วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2565 แรม 10 ค่ำเดือน 12 ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 พฤศจิกายน 2565 ( 20:36:14 )

มหาวิทยาลัยมันยากเราไม่มีเงินไม่มีทอง

รายละเอียด

มันจะหนักได้แค่นี้ก็เอาล่ะ พิสูจน์มา 20,30 ปี อาตมาได้ทำโรงเรียนที่ช่วยสังคมประเทศ ช่วยการศึกษาให้เยาวชน เยาวชนก็จบไปจากอโศก

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิบ้านราช วันศุกร์ที่ 10 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 21 มกราคม 2563 ( 19:38:48 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:08:47 )

มหาศีล

รายละเอียด

ส่วนมหาศีล เป็นศีลของศาสนาพุทธไม่ใช่สิ่งที่จะปฏิบัติในแต่ละบุคคลแต่ทุกคนต้องปฏิบัติโดยเฉพาะภิกษุ เพราะเป็นศีลของศาสนา หมายความว่า ให้ละเว้นในมหาศีล ในวงการศาสนาไม่มี แต่เดี๋ยวนี้เต็มไปหมด เดรัจฉานวิชชา เดรัจฉานกถา ทวนไปอีกหน่อยศีลสังวร เอาข้อสุดท้ายข้อเดียวก็ได้ 7.ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก อันนี้พระพุทธเจ้าพูดทำนองเชิงเปรียบเทียบ มีอาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากรบอกว่าไปเฝ้าเอาเสมหะของหลวงปู่แหวน เป็นไปอย่างงมงาย ดูโทรทัศน์บางช่องก็เห็นความงมงายที่พุทธศาสนิกชน ไปนั่งเฝ้ากันอยู่นั่นแหละ มีอิริยาบถฉันอาหาร เสร็จแล้วก็มีการสวดมนต์ ยะถาวาริวะหาฯ ถ้าไม่ยะถาฯก็นั่งเฝ้ากันอยู่นั่นแหละไม่ไป ศาสนาพุทธมันก็ไปเรื่อยๆ ออกนอกเรื่องนอกรีตนอกราว อย่างนั้นเป็นเดรัจฉานวิชชาทั้งนั้น ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ถามจริงๆนั่งอยู่ที่นี่มีใครเคยไปบนบานไหม?…ยกมือเพียบ…เคยสำเร็จผลแล้วไปแก้บนไหม? ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตาทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.ทำพิธีแล้วก็ได้คนฮือฮา ได้ลาภยศสรรเสริญ ย้อมสีใส่รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสไปไกล ศาสนาพุทธเลยน่าสงสาร เป็นสมณะ ภิกษุจะมาปรุงยาอะไรไม่ได้ ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็กใส่ยาชะแผล แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง อ่านเพียงข้อเดียวนะ ข้ออื่นๆไม่ต้องพูดเลย ก็เคยสรุปไว้หลายทีว่าทุกวันนี้ไม่มีศีลเลย ไม่ว่าจะเป็นจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล พระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดเจนว่า แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.. ก็เหลือเพียงวินัย 227 เมื่อถามว่าภิกษุมีศีลเท่าไหร่เขาก็จะบอกว่า 227 แล้วก็ไม่รู้ความต่างระหว่างวินัย เป็นข้อกำหนดที่ให้งดเว้นแล้วถ้าละเมิดก็มีบทลงโทษเป็นอาชญา ไม่ใช่เป็นศีล ที่เป็นพระอนุสาสนี ใครปฏิบัติตามก็ได้ผล

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 8 กรกฎาคม 2563


เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 10:27:18 )

มหาศีล

รายละเอียด

เป็นศีลองค์รวมศาสนา ไม่ใช่ของบุคคล ในศาสนาพุทธต้องไม่มีเดรัจฉานวิชาทั้งหมดในมหาศีล ถือว่าเป็นศาสนาที่สมบูรณ์ดีบริสุทธิ์สมบูรณ์แบบ  อาตมาภาคภูมิใจในชาวอโศกไม่ว่านักบวชหรือฆราวาสก็ไม่มีเดรัจฉานวิชา จึงขึ้นป้ายว่าเป็นแผ่นดินพุทธ เพราะว่าที่นี่ไม่มีเดรัจฉานวิชาไม่มีไสยศาสตร์ รู้แจ้งรู้จริงดี ไม่หลง ไม่มีไสยศาสตร์ ไม่มีเดรัจฉานวิชาเป็นสาระสัจจะที่สมบูรณ์แบบอย่างนี้เป็นต้น เพราะว่าบริสุทธิ์ในมหาศีล

จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล พระพุทธเจ้าสำทับไว้ว่า แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่งภิกษุทั้งหลาย

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม2562


เวลาบันทึก 11 มกราคม 2563 ( 21:36:03 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:09:25 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 08:31:25 )

มหาศีล

รายละเอียด

ส่วนมหาศีล เป็นศีลที่ ห้ามทำเดรัจฉานวิชชา

มหาศีล

1. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทายอวัยวะ ทายนิมิต ทายอุปบาต ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ ทำนายหนูกัดผ้าทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธีซัดรำบูชาไฟ ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่าบูชาไฟ ทำพลีกรรมด้วยโลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ ดูลักษณะที่บ้านดูลักษณะที่นา เป็นหมอปลุกเสก เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน เป็นหมองูเป็นหมอยาพิษ เป็นหมอแมลงป่อง เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด เป็นหมอทายเสียงนก เป็นหมอทายเสียงกา เป็นหมอทายอายุ เป็นหมอเสกกันลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 39 พุทธานุสสติ และอัมพัฏฐสูตร วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 04 สิงหาคม 2565 ( 17:27:48 )

มหาศีลตีกรอบพุทธต้องไม่เดรัจฉานวิชา

รายละเอียด

ในยุคพระพุทธเจ้าพราหมณ์เป็นใหญ่ แต่พราหมณ์ก็เหมือนกับพุทธ สมัยนี้ เรียกภิกษุของพุทธสมัยนี้ว่าพระ พระก็กลายเป็นพระมหาศาล สมัยโน้นก็เรียกว่าพราหมณ์มหาศาลคือเป็นพราหมณ์แบบมิจฉาทิฏฐิ ในยุคพระพุทธเจ้า พระสมณโคดมนี่แหละ 

เขาก็มีพราหมณ์มหาศาลผู้เจริญบางจำพวก ฉันอาหารที่เขาให้ด้วยศรัทธาอยู่แล้ว ยังมีน้ำหน้ามาหากินด้วยเดรัจฉานวิชชา คือ เดรัจฉานวิชชาไม่ใช่ภาษาหยาบ แต่เป็นวิชชาที่ขวางทางนิพพาน เป็นวิชาที่มิจฉาทิฏฐิออกไปไกล จนกระทั่งกลายเป็นอบายมุข ทฤษฎีอะไรเลอะเทอะเอามาใส่เข้าไป พระพุทธเจ้าจึงตั้งศีลขึ้นมา 

มหาศีลเป็นเรื่องของ ความรู้ตีกรอบของศาสนาพุทธที่จะต้องไม่มีเดรัจฉานวิชา เขาไม่เข้าใจแล้วในยุคนี้ เพราะฉะนั้นศาสนากระแสหลักชาวพุทธกระแสหลักทุกวันนี้จึงเต็มไปด้วยเดรัจฉานวิชา แถมมีไสยศาสตร์ ยิ่งเป็นพวกงมงาย 

ไสยศาสตร์ คือ ศาสตร์ของคนหลับ ไม่ใช่ศาสตร์ของคนตื่น ชาคริยา

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปฏิจจสมุปบาทเริ่มอธิบายที่ชาติ 5 วันศุกร์ที่ 15 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 30 มกราคม 2564 ( 16:39:48 )

มหาศีลธรรมนูญของพุทธ

รายละเอียด

อาตมาภาคภูมิใจที่เอามาให้พวกเราปฏิบัติ เช่นกลายเป็นบุคคลที่มีศีล ไม่ว่าจะวัยไหน ปฏิบัติศีลกันทั้งนั้น มากหรือน้อย แล้วมาอยู่ในนี้มันมีสนามแม่เหล็กของศาสนาพุทธ อย่างน้อยศีลห้าคุณจะปฏิบัติศีลสูงขึ้นก็ได้ แม้แต่มหาศีล เป็นเดรัจฉานวิชชา พวกเราไม่ทำแล้วก็สะอาด แต่ในวงการศาสนาพุทธทั่วไปก็ทำพวกนี้หมด จึงได้เสื่อม นี่เป็นธรรมนูญของศาสนาพุทธแต่พระไม่รู้เรื่อง จึงเสื่อม ไม่เรียนไม่เอาภาระวงการสงฆ์ก็ไม่รู้ โดยเฉพาะมหาศีลเป็นเรื่องของสังคมสงฆ์เลย เขาละเมิดหมด ไม่ประสีประสา พูดไปแล้วก็ทำให้เขาอาจเกลียดน้ำหน้าก็ได้ว่าเอาๆ ก็เห็นใจแต่ไม่รู้จะทำอย่างไรต้องพูดสัจจะ

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 6 มกราม 2563


เวลาบันทึก 19 มกราคม 2563 ( 16:03:18 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:10:40 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:23:28 )

มหาศีลเป็นเครื่องชี้ความเป็นศาสนาพุทธ

รายละเอียด

ศาสนาพุทธเอาอะไรเป็นเครื่องชี้ว่าเป็นศาสนาพุทธ เอามหาศีลเป็นเครื่องชี้ความเป็นศาสนาพุทธ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ปัจฉิมกถาปิดงาน มหกรรมคืนชีวิตให้แผ่นดินครั้งที่ 12
ที่มาบเอื้อง จ.ชลบุรี วันที่ 18 มีนาคม 2561


เวลาบันทึก 10 กุมภาพันธ์ 2564 ( 13:39:41 )

มหาสมบัติ อาริยะสมบัติของพระพุทธเจ้า ขั้นสุดยอด

รายละเอียด

ถ้าเผื่อว่ามีคนเข้าใจว่าศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่คือพระพุทธศาสนา แล้วก็มาศึกษา ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐศาสตร์แบบพุทธ รัฐศาสตร์แบบพุทธ สังคมศาสตร์แบบพุทธ มาศึกษาเถอะ ศึกษาให้ถึงแก่นให้เข้าใจโลกุตรธรรมว่าเศรษฐศาสตร์ต้องเป็นโลกุตระ มันไม่เหมือนกับที่เขาคิดตื้นๆ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐศาสตร์รัฐศาสตร์สังคมศาสตร์ สังคมแบบไหนที่เป็นสังคมเจริญ ขออภัยที่ต้องพูดว่าเป็นสังคมชาวอโศกเป็นสังคมเจริญเป็นสังคมอาริยะ เป็นสังคมที่อยู่กันอย่างเมตตากายกรรม เป็นพยัญชนะที่อาจจะไม่ซาบซึ้ง แต่มีพฤติกรรมแต่ละคน ทำงานเป็นอยู่อย่างดี ถึงขั้นสาธารณโภคี มีกายกรรมที่เกื้อกูลกันเลี้ยงดูกันช่วยเหลือเฟือฟายกัน มโนกรรมมีเมตตา มีแต่อยากให้ มีแต่ต้องการช่วยเหลือกันอุ้มชูกัน ไม่เห็นแก่ตัว แม้เราเองจะเหน็ดเหนื่อยเขาไม่เหนื่อยเท่าไร เขามีข้อจำกัดป่วยบ้างแก่บ้าง พิการบ้างหรือเป็นเด็ก ก็มีความเอ็นดูช่วยเหลือเกื้อกูล มีจิตวิญญาณเป็นหลัก จิตวิญญาณมีพรหมวิหารที่แท้จริงแล้วก็อยู่กันอย่างสังคมสาธารณโภคี มีศีลสามัญญตา ทิฏฐิสามัญญตา เป็นพระสูตรของพระพุทธเจ้าที่สุดยอดจริงๆ อาตมาเสียดายว่าศาสนาพุทธมันออกนอกทางพระพุทธเจ้าไปเป็นโลกีย์เละเทะ เป็นศาสนาที่มีแต่ใบไม้ดอกไม้ผลไม้ ไม่มีแม้แต่สะเก็ด ศีลไม่มี ไม่มีสมาธิคือเปลือก ไม่มีกระพี้คือปัญญา มีแต่ฟฤผลดอกใบ คือโลกียะ ศาสนาพุทธศาสนาพุทธได้แค่นั้นทุกวันนี้ เอาหลักฐานอ้างอิงยืนยันเลยนะจากพระพุทธเจ้า เป็นเรื่องที่ต้องพูดให้ดังให้แรงให้มาก เพราะมันเป็นมหาสมบัติเป็นอริยะสมบัติของพระพุทธเจ้า ขั้นสุดยอด 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม 2563


เวลาบันทึก 30 สิงหาคม 2563 ( 12:53:54 )

มหาสุญญตสูตรหรือจูฬสุญญตสูตร

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นแค่จะดับอะไรก็แยกไม่ถูก ในมหาสุญญตสูตรหรือจูฬสุญญตสูตร ไปอ่านดีๆ ว่าการดับต้องดับหรือไม่มีหรือว่าง จากอันหนึ่งมีอันหนึ่ง ตลอดจบ ไม่ใช่ไม่มี หมดดับไม่มีแล้ว แต่ต้องรู้ว่าอะไรมี 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า วันอังคารที่ 9 มิถุนายน 2563


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 09:17:18 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 07:17:29 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:29:14 )

มหาสุตโสมชาดกที่ 5

รายละเอียด

ในพระไตรปิฎก เล่ม 28 ข้อ 393 

1. พระราชาใดชนะคนที่ไม่ควรชนะ  พระราชานั้นไม่ชื่อว่าเป็น “พระราชา” 

2. ผู้ใดเอาชนะเพื่อน  ผู้นั้นไม่ชื่อว่าเป็น “เพื่อน”
..ใครที่จะไปหาทางเอาชนะอะไรใครนั้นไม่ควรทำ ที่จริงพระราชาควรชนะคน แต่คนที่ไม่ควรชนะก็ไปเอาชนะคะคานเขา พระราชาผู้นั้นไม่ชื่อว่าพระราชา หรือผู้ที่เป็นเพื่อนกัน อยากเอาชนะเพื่อน ตั้งอกตั้งใจเอาชนะเพื่อน ผู้นั้นก็ไม่ได้ชื่อว่าเพื่อน ยอมแพ้ได้ก็เป็นเพื่อน 

3. ภรรยาใดย่อมไม่กลัวเกรงสามี  ภรรยานั้นไม่ชื่อว่า เป็น “ภรรยา”
..อันนี้ก็หนักเหมือนกัน เป็นปัญหาอยู่ที่ทางยุโรป หรือพวกเสมอภาค ไม่รู้จักอะไร ฝ่ายเทวนิยมพวกโน้น ชอบเสมอภาค มาแย้งอาตมา อาตมาก็เลยว่า พวกคุณถือศาสนาเทวนิยมพวกคุณก็ต้องไปตกลงกับพระเจ้าก่อนว่าผู้หญิงกับผู้ชาย พระเจ้าสร้างอาดัมขึ้นมาก่อน แล้วก็ค่อยเอาซี่โครงซี่ที่ 7
ของอดัมมาเสกสร้างเป็นผู้หญิงเป็นภรรยา 

ภรรยาหรือผู้หญิงเป็นส่วนหนึ่งของผู้ชายเท่านั้นเอง ไม่ใช่เป็นเอกอะไร คุณต้องไปล้มล้างตำนาน ล้มล้างสัจธรรมของศาสนาคุณเสียก่อนสิ คุณถึงค่อยมาแย้งอาตมา ศาสดาของคุณก็มีตำนานก่อเกิดมาอย่างนั้น อดัมเป็นเจ้าของคุณ คุณเป็นส่วนหนึ่งเป็นซี่โครงซี่ที่ 7 ของอดัม เอามาเสกตัวผู้หญิง แล้วคุณจะมาเป็นใหญ่กว่าอดัมได้อย่างไร อาตมาก็ต้องแก้อย่างนี้ ต้องตอบเขาอย่างนี้ ไม่รู้จะตอบจะเถียงเขาอย่างไร เขายกอ้างสิทธิมนุษยชน หลักการของโลกมันยึดถือกันคนละอย่าง โดยเฉพาะคุณจะยึดถืออย่างนั้น ก็เป็นเรื่องของความเห็นของคุณ เป็นอัตตามานะของคุณ 

4. บุตรเหล่าใด ไม่เลี้ยงดูมารดาบิดาผู้แก่แล้ว  บุตรเหล่านั้นไม่ชื่อว่าเป็น “บุตร” 

5. ในที่ประชุมใดไม่มีสัตบุรุษ ที่ประชุมนั้นไม่ชื่อว่า “สภา” (น สา สภา  ยัตถะ  น สันติ สันโต)

6. ชนเหล่าใดไม่พูดเป็นธรรม  ชนเหล่านั้นไม่ชื่อว่าเป็น “สัตบุรุษ” (น เต สันโต เย น ภณันติ ธัมมัง)  

7. คนผู้ละราคะ  โทสะ โมหะ ได้แล้ว   พูดเป็นธรรมนั่นแล  ชื่อว่าเป็น “สัตบุรุษ”  (ราคัญจะ  โทสัญจะ  ปหายะ โมหะ ธัมมะ ภณันตาวะ  ภวันติ  สันโต) 

บัณฑิตผู้อยู่ปะปนกับคนพาล  เมื่อไม่พูด ใครๆ ก็ไม่รู้ว่าเป็นบัณฑิต   แต่ว่าบัณฑิตเมื่อพูด  แสดงอมตธรรม  ใครๆ จึงจะรู้ว่าเป็นบัณฑิต   เพราะเหตุนั้น  บัณฑิตพึงกล่าวธรรมให้กระจ่าง  พึงยกธงของพวกฤๅษี    ฤๅษีทั้งหลายมีคำสุภาษิตเป็นธง   ธรรมเหล่านั้นแลเป็นธง(หรือเครื่องหมาย)ของฤๅษีทั้งหลาย. 

มหาสุตโสมชาดกที่ 5 พตปฎ.เล่ม 28  ข้อ 393

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาด้วยปัญญามุทุภูเตของพ่อครู วันพุธที่ 24 มีนาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 28 มีนาคม 2564 ( 15:31:25 )

มหาอำนาจทางกสิกรรม

รายละเอียด

อาตมามั่นใจเลยว่าประเทศไทยเราจะเป็นมหาอำนาจทางกสิกรรม ก็ย้ำยืนยันมามากมาย เกษตรมีทั้งปศุสัตว์มีทั้งประมง เราเอากสิกรรม อันหมายถึงพืชพันธ์ธัญญาหารเท่านั้น เราไม่อยากไปยุ่งเกี่ยวกับสัตว์ เรารู้แล้วว่าเกี่ยวกับสัตว์เป็นเรื่องวิบาก เราไม่เอาไปฆ่าแกงไปเลี้ยงแล้วไปฆ่าเขากิน คนหนอคน เลี้ยงเขามาฟูมฟักไว้ดีแล้วฆ่ากิน คนเราไม่เข้าใจเรื่องชีวะ ชีวิตสัตว์โลกมันมีวิบากต่อกัน คนเขาไม่เข้าใจก็ทำ เราเข้าใจแล้วก็ไม่ทำให้เกิดวิบากต่อไปอีก

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช  วันศุกร์ที่ 4 มกราคม 2562


เวลาบันทึก 11 มกราคม 2563 ( 17:21:44 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:11:43 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:34:30 )

มหาอำนาจแบบอโศกเป็นธรรมาธิปไตย

รายละเอียด

ชาวอโศกจึงเป็นคนที่ พึ่งพาตนเองให้รอด สร้างปัจจัยสำคัญกับชีวิต อะไรที่ไม่เป็นเราไม่เก่ง เราไม่เก่งอุตสาหกรรม เราเก่งทางกสิกรรม เป็นปัจจัย 4 เราก็มีปัจจัย 4 นี้แหละ แล้วเราก็มองเห็นว่า โลกทั้งโลก ปัจจัยสี่เป็นสิ่งจำเป็นสำคัญต่อโลก ต้องสร้างให้อุดมสมบูรณ์ สร้างให้เป็นของดีราคาถูก แจกจ่ายเจือจานไป เท่านี้ก็เป็นมหาอำนาจแล้ว

มหาอำนาจไม่ใช่ว่าเป็นด้วยอาวุธหรืออำนาจอย่างอื่น มหาอำนาจ ที่เป็นธรรมาธิปไตย เขาให้เราเอง เคารพนับถือเราเองเพราะเรามีประโยชน์ต่อเขา มีเมตตาเกื้อกูลด้วย มีประโยชน์ด้วย และมีความซื่อสัตย์จริงใจด้วย อย่างนี้ต่างหาก เป็นสิ่งประเสริฐที่เราควรจะมี

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ สุดยอดวรรณะกรรมโลกุตระของโลก วันศุกร์ที่ 5 มกราคม 2561ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 26 มีนาคม 2564 ( 14:09:57 )

มหาเถรสมาคมทำผิดติดอยู่กับเดรัจฉานวิชา

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นธรรมะของพระพุทธเจ้าจึงสมบูรณ์แบบที่สุด “ศีล” ต้องมีศีล แต่ละข้อๆ จะมีสมาธิ, มีปัญญา, มีวิมุติ แต่ละข้อ จะมีของมันแต่ละข้อเลยอธิบายได้ 

ศีลข้อ 1 ศีลข้อที่ 2 3 4 5 อย่างนี้เป็นต้น หรือ จุลศีล 26 ข้อ มัชฌิมศีล 10 ข้อ มหาศีล 7 ข้อ

มหาศีลของศาสนาพุทธแบบที่มหาเถรสมาคมผิดเต็มไปหมด ไม่รู้เรื่องแล้วก็ทำกันเป็นจารีตประเพณี ผิดศีลนะ มหาศีล เช่น 

จุดไฟ บูชาไฟ บูชาด้วยไฟ จุดธูปจุดเทียน อย่างนี้ง่ายๆชัดๆ รดน้ำมนต์ ใช้น้ำเป็นสื่อ สิญจนยัญ อยู่ในมหาศีลทั้งหมด รักษาไข้ใบ้หวยเป็นต้น

สิ่งเหล่านี้เรียกว่า “เดรัจฉานวิชา” เดรัจฉานวิชาไม่ใช่วิชาเสกให้เป็นสัตว์ แต่เป็นวิชาที่ขวางทางนิพพาน วิชาที่ขวางทางนิพพานไม่พาให้บรรลุธรรม แล้วทำอยู่อย่างนั้นจะบรรลุธรรมได้ที่ไหน.. ติดอยู่กับวิธีการพวกนั้น เลยกลายเป็นจารีตประเพณี

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม ดับชาติ 5 ด้วยวิชชา 8 วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 กุมภาพันธ์ 2564 ( 17:01:10 )

มหาเถรสมาคมหมู่ใหญ่ไม่เดียงสาต่อธรรมวินัย

รายละเอียด

เขาว่า เถรสมาคมไล่ แต่ที่จริงเราประกาศลาออกก่อนตั้งแต่พ.ศ 2518 เสร็จแล้ว เป็นการประกาศนานาสังวาสซึ่งเขาก็ยอมรับด้วย แต่ต่อมาเขาก็ดึงเราเข้าไปร่วมแล้วบอกว่าประกาศไล่ออก ปกาสนียกรรม อย่างนี้มันขัดแย้งกับตัวเอง ทั้งที่มันเสร็จไปตั้งนานแล้ว เขาไปกินยาผิดหรืออย่างไร แล้วตัวเองก็อาบัติ เพราะเรื่องมันสำเร็จไปแล้วรื้อฟื้นเรื่องขึ้นมามันก็เป็นอาบัติ เถรสมาคมก็เป็นอาบัติทำอะไรก็โมฆะไปหมด เพราะว่าเราทำนานาสังวาสสำเร็จไปก่อนแล้ว เสร็จแล้วเขาก็เอาธรรมยุตและมหานิกายมารวมกันประกาศปกาสนียกรรมอาตมาก็เป็นการผิดพระธรรมวินัย ทำไม่ได้เขาก็ไม่รู้ ทั้งที่เป็นพระหมู่ใหญ่ นี่แหละมันน่าสงสารประเทศไทย มหาเถรสมาคมหมู่ใหญ่ ไม่เดียงสาต่อธรรมวินัย มันก็น่าสงสาร อาตมาก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ไม่พูดมากก็ไม่ได้ อาตมาก็พูดอย่างมีหลักการ เอาพระวินัยพระไตรปิฎกมายืนยันเขาก็หาว่าอวด แล้วจะทำอย่างไรกันเล่า

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการวิถีอาริยธรรม ตีแตกเทวะด้วยคอมเม้นท์ที่เห็นต่างจากพ่อครู วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2562 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 03 มีนาคม 2564 ( 13:12:25 )

มหาเอกัคคตารมณ์

รายละเอียด

อารมณ์ทีเอกอัครมหายิ่งใหญ่

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 233


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 15:44:35 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 14:36:06 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:36:03 )

มหโต อัตถายะ

รายละเอียด

การทำกิจการงาน มีแก่นสาร มีประโยชน์อันเป็นประโยชน์ใหญ่ ประโยชน์มาก

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 302


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 15:30:58 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 14:36:52 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:37:15 )

มองตัวเองก่อนค่อยติผู้อื่นอย่างสัมมา

รายละเอียด

มองตัวเองอ่านความเป็นเทวะของตัวเองให้ออกความเป็น 2 ในตัวเองให้ออก แล้วทำให้เป็น 1 เป็น 0 ได้ อาตมาทำได้แล้วแวะมาบอก ถ้าหากมองความเป็นเทวะตัวเองไม่ออกยังเป็นเทวนิยมยังตีเทวะไม่แตก หากแยกไม่ออก คุณก็จะหยุดแค่นั้น โดยเฉพาะแยกแยะเนกขัมมะ กับเคหสิตเวทนา คุณแยกธรรมะ 2 อันนี้ไม่ออก แยกเวทนา 2 นี้ไม่ออก แล้วทำให้เวทนาเป็นเนกขัมมะจนสมบูรณ์แบบ ออกจากกาม ออกจากโทสะ ออกจากวิหิงสา

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการวิถีอาริยธรรม บ้านราชฯ ตีแตกเทวะด้วยคอมเม้นท์ที่เห็นต่างจากพ่อครู วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2562 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 03 มีนาคม 2564 ( 13:33:24 )

มองตื้นเหมือนดี แต่ในแนวลึกซับซ้อนมันแย่

รายละเอียด

เพื่อที่จะอธิบายหรือชี้สัจจะได้ชัดเจน อาตมาก็ยอมให้ ลูกศิษย์ลูกหาเขาชังน้ำหน้าถือสา แต่อาตมาว่า จะมีลูกศิษย์ลูกหามหาบัวอยู่มาก แต่ว่าคนที่เป็นพุทธศาสนิกชนก็ยังมีมากกว่าที่นับถือมหาบัวแน่นอน คนที่มีปฏิภาณปัญญาพอจะรู้ และก็มองว่า ไปเรี่ยไรเงินเข้าคลังก็ดี เป็นเรื่องโลกๆอย่างหนึ่ง แต่มันไม่ใช่สาระสัจจะอะไรของนักบวชหรอก แต่ก็ต้องเข้าใจยอมรับในโลกเขาถือว่าดีก็ใช่ เราไม่ได้โง่ มันก็เป็นความสามารถแต่ก็ไม่ได้สามารถอะไรมากมายหรอก ไปเรี่ยไร 

1.อ้างอิงประเทศชาติช่วยชาติ 

2.อ้างอิงเบื้องสูงอีก อย่างนี้เป็นต้น คุณก็ได้สิ ทำไมจะไม่ได้ อ้างชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ไปช่วยชาติ แล้วก็เป็นภิกษุ เรี่ยไร อิงสถาบันเบื้องสูงหมด 

ชาติก็ระคายเคือง ศาสนาก็ระคายเคือง สถาบันก็ระคายเคือง แต่เขาก็ไม่รู้ไม่เข้าใจว่ามันระคายเคือง จะพระบาทห้อเลือดบ้างหรือเปล่าก็ไม่รู้ ระคายเคืองหรือเปล่า อาตมาสาธยายให้ความรู้ เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนอธิบายไปจะชัดเจนใช่ไหม อย่าไปคิดอ่านอย่างนี้ เอาเป็นเยี่ยงอย่าง มันซับซ้อน มองตื้นเหมือนดี แต่ในแนวลึกซับซ้อนมันแย่ ความจริงของสิริมหามายามันเป็น 2 สภาพซับซ้อน อันนึงดูดีๆ แต่มันแย่ๆ 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม พ่อครูพบอาจารย์หมอเขียวและทีมงานแพทย์วิถีธรรม วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2565 แรม 6 ค่ำ เดือน 12 ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 25 พฤศจิกายน 2565 ( 20:20:40 )

มองผู้ที่ผิดอยู่ให้ออก 

รายละเอียด

บางคนก็ยังมีความซับซ้อนเช่น ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสพแล้วก็เป็นสุขโดยที่ไม่เข้าใจตนเอง อย่างเช่น หลวงพ่อคูณที่นั่งชันเข่า ก็ไม่รู้ตัวเอง ยังหลงหาเงินได้มาก แล้วหาเงินขายอะไร ขายพระเครื่อง ขายเดรัจฉานวิชชา ซึ่งมันทำให้คนเข้าใจผิดว่า หลวงพ่อคูณเป็นพระอาริยะมันก็เสื่อมสิ ไปเข้าใจพระมิจฉาทิฏฐิเดรัจฉานวิชาว่าเป็นพระที่ถูก อย่างนี้เป็นต้น 

หลวงพ่อคูณไม่ใช่เป็นพระที่จะต้องน่านับถืออะไรหรอก ขออภัย ใจดีที่ ได้เงินทองเอาไปบริจาคเป็นประโยชน์ อันนี้เป็นสภาพที่ไปล่อคนให้มานับถือ ซ้อนลงไป คนก็นับถือนับถือแบบนั้นเหมือนมหาบัว เรี่ยไรเงินได้ เอาประเทศชาตินี้แหละเป็นตัวประกัน ก็เรี่ยไร คนก็ให้สิเพราะเอาประเทศชาติเป็นตัวประกัน เอาสถาบันเป็นเครื่องเคียง ไปเรี่ยไรก็ได้เงินมาสิ แล้วเอาเงินมาเข้าคงคลัง แล้วบอกว่าอย่าไปใช้นะ 

ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของข้าของตัวเอง แล้วไม่รู้ในนัยยะลึกซึ้งของสัจธรรม ปรมัตถ์อาตมาขอขยายความจริงให้ฟัง ไม่ใช่อาตมาไปโกรธไปเกลียดชัง แต่ท่านมีกิเลสหนามาก ไม่รู้ตัวเองที่ปฏิบัติ เพราะฉะนั้นศึกษาให้ดีๆ มองผู้ที่ถูกต้อง มองผู้ที่ผิดอยู่ให้ออก แล้วประเด็นที่บอกว่า แบบนี้เขาไม่ชอบ คุณไม่ชอบนี่สิยิ่งถูก แต่ไปชอบในสิ่งที่ผิดคุณซวย จบตรงนี้ก็แล้วกัน 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ทศพิธราษฎรธรรมมีจริงในชาวอโศก วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม 2565 แรม 8 ค่ำ เดือนอ้าย ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 24 ธันวาคม 2565 ( 18:49:23 )

มองมุมนายกประยุทธ์บริหารประเทศเจริญ หรือเสื่อม

รายละเอียด

เรื่องเหมืองทองต้องดูต่อไปจะมาสรุปผลไม่ได้หรอกตอนนี้ 6 ปีที่ท่านประยุทธ์ทำมานั้น มันกลับพาเจริญ แต่มันมองเห็นต่างกัน “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม เห็นดวงดาวอยู่พราวพราย” คนเขามองว่าเสียอาตมามองว่าเจริญมันก็เท่านั้นเอง ส่วนความจริงหรือไม่จริงนั้นก็ดูกันต่อไป แต่อาตมาเห็นตั้งแต่ที่ทำมา 6 ปีมันพาให้เจริญมาทั้งนั้น แต่คุณกลับมองว่าไม่เจริญก็ต้องดูต่อไปอีกว่ามันจะเท่าไหร่เท่ากัน อย่างที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่าเมื่อเห็นต่างกัน ต่างคนต่างจะเชียร์ก็เชียร์กันไปแต่ละข้าง เห็นว่าใครเป็นธรรมวาที คุณก็ไปส่งเสริมของคุณ คุณส่งเสริมใครล่ะ จะส่งเสริมหัวหน้าเอาคุณเพนกวินหรือเอาคุณรุ้งขึ้นมาเป็นนายกฯก็ว่าไป ส่วนอาตมานั้นก็ยังส่งเสริมท่านประยุทธ์อยู่ก็ว่าไป 2 คนก็ยลตามช่อง ก็ต้องดูยาวกันไปเป็นนานาสังวาส ต่างคนต่างเห็นต่างกันแล้วก็อยู่กันไปอันใดที่เห็นต่างควรก็ต่างคนต่างทำ ก็เชียร์กันก็ส่งเสริมกัน อันไหนเป็นธรรมวาที ก็เชียร์กันไปเป็นสัจจะที่ต้องแยกกัน เพราะความเห็นมันต่างกันแล้วความเห็นของเธอก็อีกอย่างหนึ่งความเห็นตรงเราก็อีกอย่าง เหมือนพระพุทธเจ้าตรัสไว้ ที่สุดแล้วไม่ต้องไปฆ่าแกงกันไม่ต้องทะเลาะกัน ไม่ต้องฟ้องร้องกันด้วย ต่างคนต่างทำไปสุดท้ายก็พิสูจน์ด้วยการกระทำ ฝ่ายนี้เราก็ทำไปฝ่ายนั้นเขาก็ทำไป เขายังไม่หยุดหรอก ก็ดูกันไปต่อ 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 21 ตุลาคม 2563


เวลาบันทึก 20 พฤศจิกายน 2563 ( 15:09:28 )

มองสองขั้วสองอย่างต้องต่างกันเปรียบเทียบไม่ได้ 

รายละเอียด

แต่กระนั้นคนหลายๆคนก็มองว่าอาตมาไม่เร็วแล้ว เขาก็ยังไม่ไหวแล้ว ก็เป็นจริง จะเอามาเปรียบเทียบกันไม่ได้    เพราะความรู้สึกของอาตมากับพวกคุณประมาณให้อาตมามันก็ไม่เหมือนกัน แล้วคุณเห็นว่ายังต่างห่างจากอาตมาก็แน่นอน ก็มองสองขั้วสองอย่าง ก็ต้องต่างกันเป็นธรรมดา

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม พระอรหันต์มาตอบปัญหาประชาธิปไตยแท้ วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 22 กุมภาพันธ์ 2564 ( 15:06:31 )

มององค์รวมของสติปัฏฐาน 4 และ วิโมกข์ 8

รายละเอียด

 “สติปัฏฐาน 4” เหมือนมององค์รวม “วิโมกข์ 8” เหมือนมองเจาะลงไปที่ใดที่หนึ่ง “สติปัฏฐาน 4” เหมือนกับ common noun ส่วน “วิโมกข์ 8” เหมือนกับวิสามัญนาม 

 

“สติปัฏฐาน 4” (ฐานปฏิบัติให้บริสุทธิ์ด้วยสติ) มีการพิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม

  1. กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน “กายในกาย” (การกำหนดสติพิจารณากาย คือ องค์รวมประชุมกัน ทั้งกายนอก-ใน ให้รู้เห็นความจริง) 

  2. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณา “เวทนาในเวทนา” (ทั้ง 108 เวทนา) ให้รู้เห็นทุกข์(ที่เป็นทุกขอริยสัจ) ตามความเป็นจริง 

  3. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน  การตั้งสติพิจารณาเห็น “จิตในจิต” ให้รู้จิตที่เจริญขึ้นหรือยังตามสัจจะจริง 

  4. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณา “ธรรมในธรรม” ให้รู้เห็นจริงตามความจริง ได้แก่ นิวรณ์ 5, ขันธ์ 5, อายตนะ 6, โพชฌงค์ 7, อริยสัจ 4 

(พตปฎ. เล่ม 10 ข้อ 273 – 300)

“สติปัฏฐาน 4” เป็น common noun มันไม่ใช่มีแต่พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม แต่มันเป็นหัวต้น มันเป็นข้อต้นของโพธิปักขิยธรรม 37 ข้อต่อมา 

  1. สติปัฏฐาน 4 สติตรวจสอบจิตให้บริสุทธิ์

  2. สัมมัปปธาน 4 ยุทธวิธีเพียรทำลายกิเลส 

  3. อิทธิบาท 4 ทะยานยันไปสู่ความสำเร็จ 

  4. อินทรีย์ 5         สั่งสมเป็นกำลังธรรมของจิต  

  5. พละ 5         ขุมกำลังธรรมะของจิต 

  6. โพชฌงค์ 7       การก้าวเดิน..สู่การตรัสรู้ 

  7. มรรคมีองค์ 8    ทางเอกเพื่อเดินสู่การตรัสรู้ 

ส่วน “วิโมกข์ 8” เป็นการปฏิบัติเจาะลงไปที่จะต้องอ่านรูปและนาม

  1. ผู้มีรูป  ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย   (รูปี, รูปานิ, ปัสสติ)  แปลว่า เห็นด้วยตา มีลูกตามองกระทบรูป ผู้มีรูปจึงจะปฏิบัติอย่างคนที่มีรูป เอาตาไปกระทบรูปได้ แต่คนที่มีตาแต่ไม่มีรูปให้สัมผัส เช่น คนไปนั่งหลับตามันก็ไม่ได้สัมผัสรูป มันก็จะไปเห็นอะไร..ไม่ปัสสติ คนที่ไปนั่งหลับตาผิดตั้งแต่วิโมกข์ 8 ข้อแรก แต่พวกหลับตา เขาตีขลุมว่าวิโมกข์ 8 คือสมาบัติ เข้าสมาบัติ

สมาบัติ จริงๆแล้วก็คือการปฏิบัติ โดยองค์รวมที่เป็นมิจฉาทิฏฐิก็ได้ สัมมาทิฏฐิก็ได้ เพราะฉะนั้น สมาบัติแบบหลับตาคือมิจฉาทิฏฐิ สมาบัติแบบลืมตาคือสัมมาทิฏฐิเท่านั้นเอง 

เพราะฉะนั้นวิโมกข์ 8 ไปเข้าใจว่าสมาบัติคือหลับตา ข้อ 1 ก็ผิดแล้ว ต้องเห็นด้วยตากระทบรูป..ปัสสะ ปัสสี หูได้ยินเสียง เอาคำว่า เห็น มาขยายความ หูก็คือได้รับรู้ ปัสสะ ก็คือ วิปัสสนา วิปัสสติ 

2.*ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปภายใน (10/66) ย่อมเห็น รูปทั้งหลายในภายนอก (อัชฌัตตัง  อรูปสัญญี เอโก พหิทธา รูปานิ ปัสสติ)  (*พ่อท.แปลว่ามีสัญญาใส่ใจในอรูป)

อัชฌัตตังแปลว่าภายใน แต่ท่านไปแปลผิดๆ เอาคำว่า อ ไปใส่สัญญี กายไปแปลว่า ผู้ไม่กำหนดสำคัญมั่นหมายในอะไร เขาก็ไปแปลว่าผู้มีอสัญญี ไม่มีความสำคัญมั่นหมายในรูปแทนที่จะเป็นอรูปกับสัญญี 

หากไม่มีสภาวะจะสับสนเพราะกลับไปกลับมา  ทำจากภายนอก ค่อยเข้าไปถึงภายใน อัชฌัตตัง คือรูปและ อรูป 

ข้อที่ 2 ตัวพระเอกคือสัญญา ผู้มีสัญญาคือสัญญี แล้วให้เรียนรู้ตั้งแต่รูปภายนอก

หมดแล้วไม่ได้ทิ้งภายนอก เช่น คุณพ้นจากกามก็อยู่กับกิเลสกามในโลกได้อย่างสบาย ล้างกิเลสกามหมด ก็เหลือกิเลสภายในคือ ภวตัณหา รูปตัณหา ที่เหลือโดยมีข้างนอกอยู่ไม่ได้หลับตา ไม่ได้หนี แต่อยู่เหนือ ลืมตาเป็นคนปกติ หมดรูปก็เหลืออรูป ก็จบข้อที่ 2 แต่ก็อธิบายกันผิดหมดเลย 

  1. ผู้ที่น้อมใจเห็นว่าเป็นของงาม (สุภันเตวะ อธิมุตโต โหติ หรือ อธิโมกโข โหติ (พ่อครู แปลว่า เป็นโชคอันดีงามที่ผู้นั้นโน้มไปเจริญ สู่การบรรลุหลุดพ้นได้ยิ่งขึ้น) 

น้อมใจ ฟังแล้วก็เป็นอาการของใจน้อมไปหา โน้มไปหา ไปหาอะไร ก็ไปหาของงามมันก็เป็นกามสิ ของงามของสวยก็กามสิ เห็นไหม ความไม่รู้จักสภาวะ สุภะแปลว่า ของน่าได้น่ามีน่าเป็นหรืองาม เขาไปสรุปรวมว่า งาม เป็นภาษากลางๆ แต่คำว่างาม เอาไปใช้ในวงการของ กาม ของผู้หญิงเป็นผู้หญิงงามผู้หญิงสวย ผู้ชายก็ใช้คำว่าหล่อ ผู้หญิงใช้คำว่าสวยหรืองาม เป็นภาษา กาม ที่จริงเป็นคำกลางๆ น่าได้น่ามี เป็นของน่าได้น่ามี อะไรน่าได้น่ามีคือวิโมกข์ ออกจากกาม เนกขัมมะ ออกจากรูป อรูปต่อไป

ในการน้อมจิตหรือโน้มจิตไป เป็นจิตที่ค่อยๆเจริญเข้าไปหา มันเป็นทิศทางของจิต มันก็จะเจริญขยับเข้าไปหาความสูง ความเจริญ เข้าไปหาพระอริยสงฆ์ขึ้นจากพระโสดาบัน เป็นสกิทาคามีเข้าไปหาอนาคามีเข้าไปหาอรหันต์ อย่างนี้คือ อธิ อธิโมกข์ อธิมุติ 

เรามีเลขโค้ดของพวกเราคือ 4578 

มาปฏิบัติแล้วจะเกิดเป็นพลังรวม เป็นอินทรีย์ เกิดพละ 

  1. สัทธา (ความเชื่อที่ปักมั่นยิ่งขึ้น เป็นสัทธินทรีย์ ฯ)

  2. วิริยะ (ความเพียรที่มีพลังขึ้น เป็นวิริยินทรีย์ ฯ)

  3. สติ (ความระลึกรู้ตัวแววไวขึ้น เป็นสตินทรีย์ ฯ) 

  4. สมาธิ (ความมีจิตตั้งมั่นแข็งแรงเป็นฌานยิ่งขึ้น ฯ)

  5. ปัญญา (ความรู้จริงในความจริงแห่งธรรม ฯ)

พระพุทธเจ้าเกิดโพชฌงค์ 7 จึงเกิด พระพุทธเจ้าเกิดมรรคมีองค์ 8 จึงเกิด ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้าโพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8 ไม่เกิด ไม่มี โพชฌงค์ 7 คือการก้าวเดิน 7 หลัก เขาก็ทำเป็นรูปธรรม พระพุทธเจ้าเกิดมาก็มีดอกบัวรองรับแล้วเดิน 7 ก้าว มันผิดเพี้ยนเป็นตัวตน ทั้งที่มันเป็นนามธรรม บางคนก็บอกว่าขยายศาสนาไป 7 แคว้น ด้วยความไม่ค่อยรู้สภาวะ 

อย่างอ.ข้าดินมองก็ถูก สติปัฏฐาน 4 เหมือนมองสวนทั้งบ้านราชฯ​ วิโมกข์ 8 คือเจาะลงในสวนใดสวนหนึ่ง จนกระทั่งวิโมกข์ 3 แล้วไปถึงอรูปฌาน ก็ถึงเป็นอากาสาฯ วิญญานัญจา อากิญจัญญาฯ เนวสัญญาฯ สัญญาเวทยิตนิโรธ เทียบกับอนุปุพพวิหาร 9 ก็มีสัญญาเวทยิตนิโรธ

 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม ร้อยมาลัยพระอภิธรรมตามแบบพ่อครู วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม 2564 ที่บ้านราชฯ


เวลาบันทึก 27 มกราคม 2564 ( 17:43:26 )

มองเพี้ยนเรื่องสีจีวร

รายละเอียด

เขาก็มองได้เท่านี้ แค่นี้คุณมองอาตมาเพี้ยนเลย คุณนั่นแหละเพี้ยน  นี่สีเหลืองหรือ หาว่าอาตมาห่มเหลืองไม่ใช่ อาตมาไม่ได้เคยห่มเหลืองเลย มีห่มสีแก่นขนุนบ้างในยุคแรกๆที่บวชที่วัดอโศการาม แต่อาตมาก็มาห่มสีย้อมน้ำฝาด สีน้ำตาลมาตลอด เอาแค่ห่มเหลือง คุณว่าอาตมาเพี้ยน อาตมาก็ว่าคุณเพี้ยนก่อน เรื่องสีจีวร

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 13 พฤษภาคม 2563


เวลาบันทึก 03 มิถุนายน 2563 ( 11:16:56 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 07:18:17 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:39:46 )

มองแต่เปลือกว่าสบายไม่รู้ว่าเหนื่อยขนาดไหน

รายละเอียด

ลูกศิษย์ลูกหาของอาตมาก็ยินดีที่จะมาพาทำนี้ คุณบอกว่าอาตมาเอาแต่สบาย คุณไม่รู้ว่าอาตมาเหนื่อยขนาดไหนคุณมองแต่เปลือกว่าอาตมาสบาย ลูกศิษย์อาตมาพยายามประคบประหงม บำเรอ ก็เลยมีรูปธรรมต่างๆ พยายามให้อาตมาสบาย เช่นหาเกือกให้อาตมาใส่ อาตมาก็ว่าไม่เอามันลำบากลำบน อาตมาก็รู้ว่าเขาเจตนาดีปรารถนาดีหลายอย่างมันก็ถูกของเขา อาตมาอายุมากแล้วเขาก็ต้องป้องกัน แต่อาตมาก็ว่า อาตมาไม่ได้เป็นถึงขนาดนั้นอาตมาไปได้อยู่ ก็เลยยาก

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ แก้กรรมฐานให้ถูกพุทธ วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 ที่บ้านราชฯ


เวลาบันทึก 07 กุมภาพันธ์ 2564 ( 14:37:08 )

มองโลกในแง่ร้าย

รายละเอียด

มองโลกในแง่ร้าย คือ คนหาความสุขใส่ตัวเองมันจะไม่มีความสุขหรอก การมองโลกในแง่ร้าย มันมีทั้งความร้ายและความดี  ก็ต้องมองให้จริง  เราไม่ต้องมองแง่ร้ายและดี  เรามองแต่แง่ความจริง  พิจารณาความจริงว่ามันไม่ดี มันบกพร่อง หรือมันดี กูมันไม่ดีเอามากๆ มันไปทางร้าย ก็พิจารณาความจริงไม่ต้องไปตั้งเป้าไว้ก่อนจะร้ายหรือดีก็ต้องมีความรู้

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต สันติอโศก วันพุธที่  2 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 05 ตุลาคม 2562 ( 13:58:27 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:12:27 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:41:32 )

มอบเรือให้ทักษิณเหมือนมีนิมิต

รายละเอียด

พวกเราก็ดำเนินรอยตามพระพุทธเจ้า ให้ดำเนินไปอย่างไม่ใช่อยากดีอยากเด่น แต่อันนี้เป็นลักษณะที่อาตมาเห็น รับได้ รู้ได้ ว่า พลเอกประยุทธ์ มี จะมีมากมีน้อยก็แล้วแต่ อาตมาถึงเชียร์ หรือว่า พยายามให้สัญญาณไป ตามประสาอาตมา อาตมาไม่เคยพบกันเลยกับพลเอกประยุทธ ทักษิณยังเจอกันมาที่นี่ก็ยังมาเลยทักษิณ อาตมามอบเรือให้ กว่าแกจะล่องลอยไปแกคงทิ้งเรือไปแล้ว เรือไม่พอ อาตมาก็ยังมอบกลดเข้าไปอีก มันเหมือนนิมิตเหมือนสัญญาณ เหมือนรางชนิดหนึ่ง แต่แกก็ไม่รู้เรื่องอะไรหรอก 

เรือให้ที่นี่ เรือสลักอันหนึ่ง สล่าปั๋นทำให้ เหมือนเรือกระแชง หลังคาครอบ สลักว่า บุญนิยม แต่แกก็ไม่รู้เรื่องอะไรหรอก เสร็จแล้วไปที่ศีรษะอโศกก็ได้มอบกลดคือ Moving House ไปกางที่ไหนก็ไปกางได้เป็นบ้านเร่ร่อน ก็เหมือนอย่างที่แกเป็น ตอนนี้ก็ลอยเท้งเต้งไป 

สิ่งนี้มันเป็นนิมิตที่อาตมาอธิบายให้ฟัง ใครจะเข้าใจ ใครจะเห็นด้วยไม่เชื่อหรือเชื่อก็ไม่มีปัญหา 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ นวนิยายโลกุตระที่เราอย่ารีบตายก่อนได้ดู วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2565 ขึ้น 2 ค่ำ เดือนอ้าย ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 26 พฤศจิกายน 2565 ( 11:32:41 )

มะปรางกับหมากผู

รายละเอียด

คือ มันจะมีต่างกันอยู่ แต่อาตมาว่ามะปรางก็กินดีนะ มันจะน้ำฉ่ำกว่าหมากผู แต่หมากผูนี่ไม่มีเปรี้ยวเลยหรือมีฝาดด้วย หวานถ่ายเดียว ก็เพิ่งเจอ ตอนที่อาตมาตัวเล็กๆก็เจอแต่ตอนนี้หายไปแล้วก็เพิ่งเจอ ก็เอามาแพร่พันธ์ุ เมล็ด ตอนกิ่งก็ได้

กล้วยอีกไม่รู้กี่ชนิด ต่างกันไปสารพัด นี่ก็กล้วยของหินเข้มอุตส่าห์มาโชว์ เป็นกล้วยไข่ อันนี้กล้วยไข่เครือ จากลานเบิ่งฟ้า (กล้วยหอมคาร์เวนทิส สายพันธุ์จากแอฟริกา) ญาติธรรมร้อยเอ็ดปลูกมา มีแตงกวา ของศีรษะอโศกบอกยี่ห้อมาหมดเลย กระเทียมของเครือแห ฟักหอมของบ้านราชฯ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปัญญาแยกแยะนามรูปได้เป็นเช่นไร วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 29 มีนาคม 2564 ( 20:20:50 )

มักขะ

รายละเอียด

1. ลบหลู่คุณท่าน

2. ลบหลู่คุณท่าน ลืมคุณที่เขามี ลดค่าความเป็นผู้มีประโยชน์ของเขาลง

3. ลบหลู่คุณอีกฝ่ายหนึ่งลงไปหมดจนกระทั่งมองไม่เห็นคุณงามความมีส่วนถูกส่วนดีของอีกฝ่ายหนึ่งไปเลย

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 46, หน้า 419, หน้า 433, สมาธิพุทธ หน้า 439

 


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 15:47:49 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 14:39:40 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:43:59 )

มักน้อย

รายละเอียด

อัปปิจฉะคือคนกล้าจน มีน้อยก็ได้แล้วเป็นจิตจริง มนุษยชาติที่มักน้อยเป็นคน classic เป็นเกณฑ์ของความเป็นมนุษย์ชนิดนี้ สูงขึ้นไปเรื่อยๆ จากมักน้อย มีน้อยๆ จนๆก็ได้อย่างชาวอโศกไม่ต้องอยากมีมาก ดีไม่ดีบางคนไม่สะสม มีอะไรใช้สอยผ่านมือ มีมากก็เข้ากองกลางแจกจ่ายกัน แบบนี้คือเศรษฐกิจสุดยอด 

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 27 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 09 กุมภาพันธ์ 2563 ( 08:32:57 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:12:59 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:45:48 )

มักน้อยที่สุดสมดุลที่สุด

รายละเอียด

มีสันโดษอย่างแท้จริง แค่นี้พอ ก็ตามแต่ละฐานะของคน มันน้อยได้อีกก็ทำได้อีก มักน้อยที่สุดสมดุลที่สุด

เช่น เสื้อผ้าของพวกเรามี 5 ชุดก็พอแล้ว ไม่รู้จะไปเก็บอะไรกันนักกันหนา มีชุดเอาบุญ ภาษาอีสานว่าชุดสวยชุดเก่งชุดโก้นานๆจะควักออกมาใส่ เมื่อมีงานทีก็เอามาใส่แล้วก็เก็บไว้นอกนั้นก็มีชุดลำลองสามัญใส่ประจำ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ เทวนิยมใหญ่สุดโต่งอย่างไรในศาสนาพุทธ วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 17 มิถุนายน 2564 ( 20:09:17 )

มักน้อยมีน้อยก็พอ

รายละเอียด

ไม่มีเลยก็ยังอยู่ได้ไม่มีทรัพย์สินศฤงคาร ส่วนตัวไม่มีบ้านช่องเรือนชานส่วนตัว เป็นอนาคาริกชน อยู่กับหมู่นี่ ใครเป็นคนอย่างนี้ยกมือสิ…เราไม่เป็นหมาหัวเน่า ถึงขนาดเขาไม่อยากให้อยู่ใกล้ๆอย่างนี้ก็ยาก แต่ไม่ถึงขั้นหมาหัวเน่าก็อยู่ได้ พักบ้านโน้นบ้านนี้จะกินจะอยู่กับส่วนกลางสบายอยู่แล้ว นี่เป็นรายละเอียดของสังคมสาธารณโภคีสังคมที่กินใช้ร่วมกัน ต่างคนต่างขยันหมั่นเพียรสร้างสรร ใครสร้างสรรมาก แต่เรากินน้อยใช้น้อยก็ไม่ได้ขาดทุนอะไร คุณจะสร้างสรรมากแล้วเอาเข้ากองกลางกินใช้ร่วมกัน ไม่ต้องไปคิดหรอกวิบากจะจัดสรรของมันเอง ไม่ต้องเป็นห่วงกังวลว่าไม่ได้ลงบัญชีไว้ เราทำได้ 5000 เรากินแค่ 200 ไม่ต้องลงบัญชีว่าของเรา 4800 ไม่ต้องเลย เสียเวลา วิบากจะจัดสรรของมันเองตามสัจธรรมสบายจะตาย ข้อสำคัญต้องรู้ตัวจริงๆว่า อันนี้คุณกินใช้มากกว่า หรือคุณทำงานเข้ากองกลางมากกว่า อันนี้เป็นสิ่งที่ควรจะคำนึงควรจะตรวจสอบตัวเอง ว่าอยู่ไปยิ่งเป็นหนี้หรือไม่ 

ที่มา ที่ไป

รายการ ทำวัตรเช้า งานว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน ครั้งที่ 7 พ่อครูบวชมาย่าง 50 ปี มีผลอะไร 1 วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 10 มกราคม 2563 ( 16:20:50 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:14:09 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:50:29 )

มัคคจิต

รายละเอียด

มีปัญญาที่เข้าจุดสูงสุดของแต่ละรอบ แต่ละเรื่อง แม้ยังทำไม่ได้ก็ตาม

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 206


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 15:48:38 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 14:40:30 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:51:58 )

มัคคังคะ

รายละเอียด

คือ  ต้องมีมรรคมีองค์ 8 ปฏิบัติในขณะมีการงานอาชีพอยู่ ปฏิบัติได้ทุกกรรมกริยา กัมมันตะ ปฏิบัติในขณะมีวาจา แม้แต่ในขณะเวลาที่ขบคิดก็ต้องขบคิดด้วย  แต่การไปนั่งไม่ให้ขบคิด  ทำไมถึงทำได้อย่างย้อนแย้งกับพระพุทธเจ้า

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 07 พฤศจิกายน 2562 ( 13:44:57 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:15:27 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:53:31 )

มัคคังคะ

รายละเอียด

1. องค์แห่งมรรค

2. สมบูรณ์ด้วยองค์มรรค

หนังสืออ้างอิง

จากถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 136 , เปิดโลกเทวดา หน้า 50, จากหนังสือสมาธิพุทธ หน้า 333


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 15:51:17 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 14:41:46 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:58:56 )

มัคคังคะ คืออะไร

รายละเอียด

มัคคังคะ คือองค์ทั้งหมดของ มรรคมีองค์ 8 มีทั้งกัมมันตะ วาจา ทำอาชีพ ร่วมกันอยู่ ทำกิริยาต่างๆกัมมันตะ พูดกันก็ได้ยินเสียงรู้เรื่องคิดว่าแน่นอนต้องร่วมกับกัมมันตะอาชีวะ แต่ถ้าคุณไม่ร่วมคุณมีแต่จิตของคุณอยู่ในสังกัดป่ะคิดอยู่คนเดียว วาจาก็ไม่มี กัมมันตะข้างนอกไม่มี กายกรรมวจีกรรมไม่มี งานอาชีพยิ่งไม่มีใหญ่เลย ก็รู้อยู่คนเดียว 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2563


เวลาบันทึก 27 ธันวาคม 2563 ( 11:19:57 )

มัคคานัฏฐังคิโก เสฏโฐ

รายละเอียด

ทางมีองค์ 8 ประเสริฐกว่าทางทั้งหลาย

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 287


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 15:51:59 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 14:42:34 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:01:10 )

มังกุ

รายละเอียด

1. เก้อยาก

2. ลักษณะเก้อ ๆ ยาก ๆ

3. เก้อเขิน

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 401

 ค้าบุญคือบาป หน้า 173

 อีคิวโลกุตระ หน้า 226

ถอดรหัส-อัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 109


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 15:54:44 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 14:45:28 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:05:55 )

มังสวิรัติ

รายละเอียด

งดกินเนื้อสัตว์ สมณะโพธิรักษ์พยายามย่อเป็นการกินมังฯ

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายราย การสำมะปี๋ซี่วิต ปฐมอโศก ครั้งที่ 71  30 กันยายน  พ.ศ. 2562


เวลาบันทึก 03 ตุลาคม 2562 ( 17:09:05 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:17:46 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:10:01 )

มังสวิรัติ เป็นภาษาบาลี มังส กับ วิรัติ แปลว่า งดเว้นเนื้อสัตว์

รายละเอียด

ใช่ มังสาวิรัช ไม่มีในพระไตรปิฎก มีแต่มังสวิรัติ เป็นภาษาบาลี มังส กับ วิรัติ แปลว่า งดเว้นเนื้อสัตว์ ไม่ได้เรียกโดยภาษา แต่มีพยัญชนะอันนี้ในพระไตรปิฎก

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 17 มิถุนายน 2563


เวลาบันทึก 28 กรกฎาคม 2563 ( 12:29:59 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 07:18:46 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:17:56 )

มังสะ

รายละเอียด

เนื้อสัตว์

หนังสืออ้างอิง

วิถีพุทธ หน้า 87


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 15:55:27 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 14:46:03 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:19:31 )

มัจฉริยะ

รายละเอียด

1. ตระหนี่

2. ตระหนี่ ความไม่ยอมให้ที่ไม่ยอมให้แม้กระทั่งความร่วมมือ หรือที่สุดแม้จนไม่ยอมให้ความร่วมใจ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 46, หน้า 433

 สมาธิพุทธ หน้า 367


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 15:56:28 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 14:47:36 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:21:24 )

มัจฉริยะ 5

รายละเอียด

คือความตระหนี่ หวงไม่อยากให้

1. ตระหนี่ที่อยู่ (อาวาสมัจฉริยะ)

2. ตระหนี่สกุล (กุลมัจฉริยะ)

3. ตระหนีลาภ (ลาภมัจฉริยะ)

4. ตระหนี่วรรณะ (วัณณมัจฉริยะ)

5. ตระหนี่ธรรม (ธัมมมัจฉริยะ)

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 23 “มัจฉริยสูตร” ข้อ 273


เวลาบันทึก 13 มีนาคม 2565 ( 20:04:32 )

มัจฉริยะ 5 (ความตระหนี่)

รายละเอียด

1. อาวาสมัจฉริยะ    (ตระหนี่ที่อยู่) 
2. กุลมัจฉริยะ    (ตระหนี่ตระกูล) 
3. ลาภมัจฉริยะ    (ตระหนี่ลาภ) 
4. วัณณมัจฉริยะ    (ตระหนี่วรรณะ) 
5. ธัมมมัจฉริยะ    (ตระหนี่ธรรม) 
 

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎก เล่ม 23 ข้อ 273


เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2562 ( 14:33:44 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:18:53 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:23:37 )

มัจฉะริยะ 5

รายละเอียด

คือ ความตระหนี่ หวงไม่อยากให้

1. ตระหนี่ที่อยู่ (อาวาสมัจฉริยะ)

2. ตระหนี่สกุล (กุลมัจฉริยะ)

3. ตระหนี่ลาภ (ลาภมัจฉริยะ)

4. ตระหนี่วรรณะ (วัณณมัจฉริยะ)

5. ตระหนี่ธรรม (ธัมมมัจฉริยะ)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม  23"มัจฉริยะ"  ข้อ 273

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 23 มิถุนายน 2562 ( 11:58:31 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 16:09:14 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:25:52 )

มัชช

รายละเอียด

ใจเดี๋ยวนี้ เป็นเรื่องของใจแท้ ๆ เดี๋ยวนี้

หนังสืออ้างอิง

จากหนังสือทางเอก ภาค 3 หน้า 447


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 15:57:10 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 14:48:38 )

มัชชะ

รายละเอียด

1. เมา

2. สิ่งมอมเมา

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 286

วิถีพุทธ หน้า 87


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 15:58:07 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 14:49:42 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:28:18 )

มัชฌิมศีล

รายละเอียด

อธิศีลละเอียดขึ้นเป็นตัวอย่างให้จุลศีล หากคุณมีหลักจุลศีล ขยายเป็นอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา อธิวิมุติ

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม 2562


เวลาบันทึก 11 มกราคม 2563 ( 21:35:11 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:19:36 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:31:50 )

มัชฌิมะ คือเจาะหัวใจตรงกลาง

รายละเอียด

พูดถึงเรื่องกลางแล้ว ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่รู้จักเรื่องของ กลาง ที่ ภาษาบาลีว่า มัชฌิมะ แปลว่าท่ามกลางความเป็นกลางหรือเป็นกลาง กลางก็มีท่าม คือมันอยู่ตรงนี้แหละ คือกลาง มัชฌิมะ แล้ว คนก็ไปแปลมัชฌิมาปฏิปทาว่าทางสายกลาง เป็นเรื่องที่ทำให้เข้าใจไม่ถูกเต็มเข้าใจเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งเท่านั้นเอง ไปแปลตีขลุม ที่จริงแล้วความสำคัญมันอยู่ที่ตรงกลาง ตรงระหว่างกลางเลย มันเจาะตรงหัวใจของกลางเลย ท่ามกลาง มัชฌิมะ คือเจาะหัวใจตรงกลางเลย

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการวิถีอาริยธรรม บ้านราชฯ หัวใจประชาธิปไตยครบสูตร 2 หมวด 3 ประการ วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม 2561 ที่บวรราชธานีอโศก

สื่อธรรมะพ่อครู(อาริยสัจ 4) ตอน ความเป็นกลางคือหมดสิ้นอันตา


เวลาบันทึก 28 กุมภาพันธ์ 2564 ( 19:41:51 )

มัชฌิมา

รายละเอียด

   คือ ความเป็นกลางของจิต คือ ไม่มีสุขที่เป็นสุขัลลิกะใน “โลกแห่งกามคุณ 5” และไม่มีทุกข์ที่เป็น “ความลำบากของอัตตา” (อัตตกิลมถะ) แล้ว

หนังสืออ้างอิง

 “คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1 หน้า 52


เวลาบันทึก 08 พฤศจิกายน 2562 ( 14:47:47 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 16:10:27 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:33:02 )

มัชฌิมา

รายละเอียด

1. พอดี สมควร

2. รู้จักความปานกลาง ความเหมาะสมตามควร

3. กลาง , สมดุล

4. ตัวความปานกลาง ความพอดีตัวนี้จึงละเอียด สุขุม สุดยากนัก

5. เหมาะสมลงตัวดีแล้ว

6. กลาง , ความเป็นกลาง

7. ใจเป็นกลาง

8. กลาง , ตรงกลาง , ท่ามกลาง

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 89, หน้า 224

ทางเอก ภาค 2 หน้า 459, หน้า 482

คนคืออะไร? หน้า 490

รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 21, หน้า 205

ค้าบุญคือบาป หน้า 47

 


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 16:01:06 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 14:53:23 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:42:12 )

มัชฌิมา

รายละเอียด

มัชฌิมาคือ เป็นกลางๆ เป็นความหมายที่สุดยอด ปฏิปทาคือวิธีปฏิบัติ แต่เขาไปแปล มัชฌิมาปฏิปทาว่าทางสายกลาง ก็เลยเข้าใจไม่ชัดเจน เข้าใจหลวมๆ ปฏิปทาแปลว่าทาง ก็เลยรวมกันเป็นทางสายกลาง ที่จริงมันไม่ใช่ มันคือ วิธีปฏิบัติให้สู่ความเป็นกลาง 

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 27 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 09 กุมภาพันธ์ 2563 ( 08:41:41 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:20:04 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:44:18 )

มัชฌิมา อย่ามาใช้กับการงาน

รายละเอียด

อันนี้ก็พอได้ ดีแล้ว อย่ามาใช้กับการงาน หากการงานใช้เป็นกลางคืองานไม่เข้าข้างไหน ข้างนี้เบา ข้างนึงหนัก กูก็ไม่ไปข้างไหนเลย

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม 2563


เวลาบันทึก 20 พฤศจิกายน 2563 ( 09:57:53 )

มัชฌิมาปฏิปทา

รายละเอียด

คือ การปฏิบัติตนที่เป็นกลาง คือ ไม่หย่อนเกินไปไม่ตึงเกินไป (ไม่สุดโต่ง 2 ฝั่ง กามสุขขัลลิกะกับอัตตกิลมถะ)

หนังสืออ้างอิง

 “สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ” หน้า 214


เวลาบันทึก 27 ตุลาคม 2562 ( 12:46:15 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 16:11:31 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:46:13 )

มัชฌิมาปฏิปทา

รายละเอียด

1. เคร่งครัดให้ตึงตรง ไม่หย่อนของตน มีแต่จะให้สูงขึ้น

2. ข้อปฏิบัติไปสู่ตรงกลาง , ทางปฏิบัติไปสู่ความเป็นกลาง, ทางดำเนินไปถึงความเป็น
กลาง..ถึงความเป็นท่ามกลาง..ถึงความเป็นตรงกลาง 

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 56

ค้าบุญคือบาป หน้า 47


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 16:07:27 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 14:55:05 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:48:26 )

มัชฌิมาปฏิปทา

รายละเอียด

มัชฌิมาปฏิปทาเขาแปลกันว่าเป็นทางสายกลาง เขาไม่รู้ว่าเขาแปลผิด เขาก็เลยปฏิบัติไม่ได้ ก็ดูแต่ในทาง จริงๆแล้วไม่ใช่ทาง ต้องเรียนรู้ทำจิตให้ไม่เป็น 2 เลย กลางนี่คือไม่มีทั้งข้างนี้ ทั้งข้างนั้น นี่คือกลาง แล้วข้างอะไร ที่ต้องเรียนคือ กาม กับ อัตตา ต้องเลิกกามเป็นตัวต้น กามหมดจะอยู่เหนือกาม แต่จะอยู่กับรูป อรูปต่อ ไม่ได้หนีจากกามคุณนะ แต่กระทบลาภยศสรรเสริญสุข เราก็อยู่เหนือมันได้ แล้วเราไม่ได้หลงเป็นทาสกับมัน มีก็ได้ ไม่มีก็ได้ อย่างนี้เป็นต้น ถ้าไม่เรียนรู้ทำใจให้เป็นกลาง มัชฌิมะ คือ ปราศจากกาม  อัตตา นี่ต่างหาก ไม่ใช่แค่ทางเดิน แต่เป็นวิธีปฏิบัติ หรือดับกิเลสที่ไปหลงกามอัตตาจนหมดได้ ทำหยาบให้ลดลงๆ ต้องทำคู่กันนะกามกับอัตตา จนเหลืออันนี้หน่อยๆ อากิญจัญญายตนะ เหลือนิดหน่อยก็ต้องเอาให้หมดไม่มีเนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่มีข้างใดเลยอันนั้นคือมัชฌิมะ เขาเข้าใจไม่ได้เป็นสภาวะอย่างนี้จึงได้แต่เพียงภาษา มัชฌิมาปฏิปทา อย่าให้โต่งไปทางไหนเหมือนพิณสามสาย อย่าให้มันตึงไปอย่าให้มันหย่อนไป เทียบเคียงเป็นปรัชญาไปโก้ๆเท่านั้น แต่ไม่ได้ปฏิบัติถึงจุดที่จะบรรลุได้ ต้องกระทบวัตถุแล้วเกิดนามธรรมเหล่านี้จนไม่มีอาการของกาม ไม่มีอาการของอัตตา หมดสูญ คนนี้คือผู้ที่มีมัชฌิมะ โดยวิธีปฏิบัติคือมัชฌิมาปฏิปทา 

มัชฌิมาแปลว่า กลาง

ปฏิปทาแปลว่า ทางปฏิบัติ หรือ วิธีปฏิบัติ

ใช้ภาษาที่แปลว่าทางสายกลางก็พูดหวัดๆ มันไม่ชัดมันไม่สื่อความตรงความแม่นอะไรเลยทีเดียว ที่ถูกคือทางปฏิบัติหรือวิธีปฏิบัติให้เกิดผล ผลนั้นจะเป็นกลาง จิตจะหมดกิเลส กิเลสกามก็ดีกิเลสอัตตาก็ดีต้องเรียนรู้ กิเลส กามคือ มีภายนอกและมีภายใน คำว่า กามคือกามคุณ 5 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ต้องสัมผัสกามคุณ 5 จึงปฏิบัติได้ หากว่าปฏิบัติโดยไม่เอากลับมาค้นหาทิ้งไปเลยทั้ง 5 ทวารแล้วไปนั่งหลับตา คุณจะเอากลางมาจากไหน กลางตั้งแต่หยาบๆภายนอกคุณยังไม่รู้จักตัวเลย คุณจะไปรู้กลางที่ละเอียดเล็กๆบางๆของนามธรรม คุณจะรู้ได้อย่างไร ความเป็นกลางของอารมณ์ที่มันกลาง ตั้งแต่ตากระทบรูป คุณก็เกิดกามหรืออัตตา ไม่ใช่กระทบรูปข้างนอกแล้วไม่มีอีตตา แต่คือคุณไปรับรู้มันแล้วมีกิเลสปรุงไปกับลาภยศสรรเสริญสุข คุณลดกามก็คือลดอัตตา ลดจนหมดกาม เหลือรูป อรูป ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ใช่กาม รูปคือราคะที่เหลือจากกาม อรูปคือราคะที่เหลือจากกาม รูป คนที่ปฏิบัติไม่เป็น ทิ้งกามก็ไปนั่งหลับตาอยู่ภายในพวกนี้คือพวก กิลมถะ อัตตกิลมถะ ปฏิบัติลำบากแล้วไม่มีผลอะไร ปฏิบัติไม่มีขั้นตอน คุณจะขึ้นไปยอดภูเขา คุณก็กระโดดขึ้นไปอยู่ยอดภูเขาเลย ไม่เดินไปขั้นต้นกลางปลายแล้วไปถึงยอด ไม่ได้เรียนรู้ขั้นต้นว่ามีขวากหนามอะไรคุณไม่เอา จะเอาบนยอดเบาบางเล็กน้อยเลย คุณจะเป็นกังฟูวิชาตัวเบากระโดดขึ้นไปเลยคุณทำได้หรือ 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 17 พฤศจิกายน 2562 ( 10:11:08 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:25:04 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:52:11 )

มัชฌิมาปฏิปทา

รายละเอียด

“เป็นกลาง”ในที่นี้ต้อง“กำหนดหมาย(สัญญา)”ให้ถูก มัชฌิมาปฏิปทาเขาไปแปลคำว่าทางสายกลาง คำว่าปฏิปทาแปลว่า การปฏิบัติ แต่ไปกำหนดว่าทางอย่างเดียว ก็เลยไม่รู้ว่าอะไรคือกลาง จิตเจตสิกจะต้องเกิดกลาง คืออะไร กลางคือ ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร กลางคือไม่มีอันตาไปในทางกาม ไม่มีอันตาไปในทางอัตตา นี่คือจิตเป็นกลาง เพราะฉะนั้นตั้งแต่หยาบของกาม อันหยาบเราเรียกว่าโอฬาริกอัตตา ก็คือกาม ก็เรียนรู้อัตตา ที่ต้องใช้ตาหูจมูกลิ้นกาย หยาบที่ไปติด เรียกว่าอบายภูมิ ยังต่ำ เรียนรู้อันนี้แล้วเลิกให้ได้ เหนือให้ได้

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุทธที่ 9 พฤษภาคม 2561


เวลาบันทึก 31 ธันวาคม 2563 ( 13:13:59 )

มัชฌิมาปฏิปทา

รายละเอียด

มัชฌิมาปฏิปทาเขาไปแปลกันว่าทางสายกลาง แต่ปฏิปทาก็คือวิธีปฏิบัติ สายกลางเขาเปรียบเทียบเหมือนพิณ 3 สาย คือให้มันไม่ตึงไม่หย่อนไป ก็จะได้เสียงดี ต้องเดินสายกลาง แล้วคุณจะไปไหนเดินสายกลาง จะไปนรกหรือสวรรค์ แท้จริงแล้วมันต้องทำความเป็นกลางให้เกิดในจิต จิตของคุณมีกาม กับมีอัตตา ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เริ่มที่กามหยาบ โอฬาริกอัตตา คุณล้างเหตุที่เกิดในโอฬาริกอัตตาหรือกามหยาบล้างได้ก็มีจิตที่เป็นกลางเป็นเนกขัมมสิตอุเบกขา ไม่ทุกข์ไม่สุข อยู่กับมันนี่แหละอบายก็มีในโลก

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 9 พฤษภาคม 2561


เวลาบันทึก 31 ธันวาคม 2563 ( 13:23:00 )

มัชฌิมาปฏิปทา

รายละเอียด

ลึกซึ้งมากเลยอันนี้ ท่านไปแปล มัชฌิมาปฏิปทาว่า ทางสายกลาง แล้วปฏิบัติให้เดินทางสายกลาง คนคนนี้ก็เดินไปในทางสายกลาง อย่าแวะข้างทางนะจ๊ะ ทางซ้ายทางขวาไม่เอาแล้วไม่มีก็เดินไปอีกยาวววววว ไกล ไม่ถึงที่หมายหรอก เพราะเขาเดินทางสายกลาง ไม่มาเรียนรู้ 2 ข้างว่าเป็นกามกับอัตตา จนรู้แจ้งในกามและอัตตาแล้ว ไม่มีกามและอัตตา ก็รู้ในความมีและไม่มี ไม่มีกามไม่มีอัตตา 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ โฮมแฮงกันซัดหอกเพื่อฆ่าโจรทำลายศาสนา วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 พฤศจิกายน 2564 ( 10:57:41 )

มัชฌิมาปฏิปทา คืออย่างไร

รายละเอียด

ถือศีลไม่เคร่งครัดก็ถูกเจ้านาย คือกิเลสตัณหาบงการ ก็เป็นทาสตัณหาไปตลอดกาล ข้อสำคัญคือไม่รู้สภาวธรรม จึงมั่วๆกันไป คำว่า มัชฌิมา แปลว่า สภาพกลางๆ ความเป็นกลาง คือไม่มีซ้ายไม่มีขวาแล้ว ส่วนปฏิปทาคือข้อปฏิบัติให้เกิด กลาง กลางที่ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร คือ ไม่มีอันตา (ไม่โต่งไปข้างใด) ไม่มาทางกาม ไม่มาทางอัตตา แต่รู้จักกาม รู้จักอัตตา ตนเองล้างกามหมด อัตตาหมดก็เป็นสุญญตา

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม 2561


เวลาบันทึก 30 ธันวาคม 2563 ( 10:01:31 )

มัชฌิมาปฏิปทาการปฏิบัติไปสู่ความเป็นกลางของจิต

รายละเอียด

อาตมาก็พูดหลายทีแล้ว เรื่องของมัชฌิมาปฏิปทาที่แปลกันว่าทางสายกลาง อาตมาขอยืนยันว่าเป็นคำแปลที่ผิด มัชฌิมาปฏิปทาไม่ได้ไปอย่างนั้น ถ้าแปลอย่างนั้นก็ถึงได้ปฏิบัติผิดไง เลยไปสำคัญที่ทาง แล้วเดินไปตามกลางทาง เดินอยู่กลางทางไปแต่ไปไหนก็ไม่รู้ ไม่มีความหมายเลย ความหมายก็ไม่มี จุดหมายก็ไม่มีในทางสายกลาง ที่จริงแล้วมัชฌิมาปฏิปทาแปลว่าทางปฏิบัติไปสู่ความเป็นกลาง ไม่ใช่ทางสายกลาง ความหมายมันคนละเรื่องเลย แปลว่าทางสายกลางมันผิดขอยืนยันไ ม่ว่าจะเป็นเปรียญ 9 หรือด็อกเตอร์ทั้งหลาย จะแปลว่า ทางปฏิบัติ วิธีปฏิบัติซึ่งก็คือปฏิปทา ไปสู่ความเป็นมัชฌิมามัชฌิมาแปลว่าความเป็นกลางสภาวธรรมของจิตที่เกิดความเป็นกลาง 

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 29 มีนาคม 2563 ( 14:56:31 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 16:56:47 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:56:03 )

มัชฌิมาปฏิปทาคือ กลางหรือความว่าง

รายละเอียด

ทีนี้คำว่า ว่าง ขอขึ้นต้นด้วยคำว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ กลาง หรือ ความว่าง ว่างจากสองข้าง คือ อันตา ภาษาบาลี ข้างหนึ่งคือกาม  อีกข้างหนึ่งคืออัตตาไม่ใช่เราเดินไปในทางกลางๆที่ มีกามกับอัตตาก็อยู่ระหว่าง 2 อันนี้แล้วจะไปถึงไหน มันไม่ใช่เอาแต่เดินเดินๆอยู่ทางสายกลางแล้วมันคืออะไร ที่จริงคำว่าทาง เป็นซินโนนีม เป็นไวพจน์กับคำว่า วิธีปฏิบัติ หรือพระบาลีบอกว่าปฏิบัติธรรม ปฏิปทา แปลว่า ทางเดินหรือวิธีปฏิบัติ ทีนี้ทางเดินหรือวิธีปฏิบัติ ก็คือทฤษฎีต่างๆ จรณะ 15 หรือว่า อปัณณกปฏิปทา 3 ต้องเข้าใจความหมายของสิ่งเหล่านั้น อย่างละเอียดดี ในกระบวนการกระบวนธรรมต่างๆ แล้วเอามาปฏิบัติให้ได้ เมื่อปฏิบัติถูกต้องเป็นสัมมา เข้าใจถูกเป็นสัมมาทิฏฐิ แล้วมาปฏิบัติก็เป็นสัมมาปฏิบัติอีก มรรคผลก็จะเกิด มรรคผลเกิดก็คือ เราละได้ มันจะมีส่วนสุดโต่ง หรืออันตาอยู่สองอย่าง ข้างนอกเรียกว่ากาม ข้างในเรียกว่าอัตตาทำข้างนอกที่หยาบ ลดกิเลสภายนอกคือกามาวจร ลดได้จนหมดกาม ก็จะเหลือแต่ข้างใน รูปาวจร กับอรูปาวจรตัวแรก คือ ราคะคู่กับกาม กามราคะ เรียกรูปราคะ อรูปราคะเป็นภวภพ เป็นกามภายใน กามราคะเป็นคู่ไวยพจน์

ที่มา ที่ไป

รายการเอื้อไออุ่นออนไลน์ วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน 2563


เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 18:30:01 )

เวลาบันทึก 03 สิงหาคม 2563 ( 07:47:08 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:57:43 )

มัชฌิมาปฏิปทาไม่ใช่ทางสายกลาง

รายละเอียด

ผู้ที่แปลว่ามัชฌิมาปฏิปทาว่าทางสายกลางนั้นมันผิด จริงคำว่าปฏิปทาแปลว่าการปฏิบัติหรือวิธีปฏิบัติ มัชฌิมาแปลว่าความเป็นกลาง 2 คำนี้แปลแล้วมันไม่ได้แปลตื้นเขินว่า ทางสายกลาง ก็เลยทำให้คนเข้าใจผิดไปเดินกลางกลางทาง เดินตรงกลางทางอย่าให้ออกนอกกลางทางแล้วจะไปถึงนิพพาน มันไม่ใช่อย่างนั้น

ที่มา ที่ไป

รายการเอื้อไออุ่นออนไลน์ วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม 2563


เวลาบันทึก 20 มิถุนายน 2563 ( 12:39:35 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 07:19:04 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 15:00:04 )

มัชฌิมาปฏิปทาไม่ใช่ทางสายกลาง

รายละเอียด

เป็นผู้ที่ถึงความเป็นกลาง มัชฌิมา ท่านที่อธิบายมัชฌิมาปฏิปทาว่าทางสายกลาง ซึ่งเป็นการแปลที่ผิด คนก็เลยหลงไปเดินอยู่ในทางสายกลาง อย่าไปเดินออก 2 ข้างนะ อย่าไปเข้าหา 2 ข้างนะ เดินตรงกลางอย่างนั้นแหละ 2 ข้างนั้นไม่ต้องไปรู้ไปเห็นไปมีอะไร เดินมันกลางๆนี้ไปตลอด ไปไหนก็ไม่รู้ ไม่มี 2 อย่างให้เปรียบเทียบ บอกว่าสายกลาง ภาษาก็พาซื่อ ภาษาอีสานเรียกว่า...มันก็พาซื่อไปโลด ซื่อไปอย่างเดียวเลย เหมือนที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในปุตตมังสสูตร 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 18 วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 02 ธันวาคม 2564 ( 13:34:32 )

มัชฌิมาแปลว่า ความเป็นกลาง ไม่ใช่ทางสายกลาง

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นในสภาวะที่เป็น รูปราคะ เราก็ล้าง จนจิตเราไม่มีผลักไม่มีดูดในรูปราคะ เบาบางแล้ว มันก็ยังมีเชื้อกามหรือราคะอยู่ภายใน อันตา คือปลายข้างหนึ่งหรือฝ่าย มันก็หมดกาม เดี๋ยวก็มาหมดอัตตา หมดกามหมดอัตตา ภาษาว่ากลาง ไม่มีข้างกามข้างอัตตา นี่คือสภาวะเป็นกลาง ก็จะกลางไปเรื่อยๆ น้อยลงไปอีก ก็ทำตัวน้อยที่เหลือน้อยให้น้อยไปอีก จนหมดกาม เหลือรูปราคะ อรูปราคะ ก็ต้องรู้หยาบกับละอียด เป็นคู่กันไป อันตา ทีละคู่ ก็จะเล็กลงไปอีก จนเหลืออรูป จนหมดเลย แยกไม่มีกับน้อยที่สุด ยากมาก แต่คุณสูงมากแล้ว ฐานจิตคุณเหลือน้อยที่สุดกับจบที่ความไม่มี ก็ไม่เป็นพิษภัยกับใคร คุณจะตัดสินสุดท้าย ได้ไม่ได้ก็อยู่ที่คุณ คุณจะตอบตัวคุณเอง คุณทำไปจริงๆแล้วก็จะรู้ความจริงว่ามันวนอยู่ได้ เรานี่ ยังมีวนอยู่ในโลก เมื่อหมดโลกไม่วนอีกก็จบ มันก็สูญ ก็กลาง เพราะฉะนั้น มัชฌิมา แปลว่า ความเป็นกลาง จึงไม่ใช่แปลว่าทางสายกลาง ไปตีความว่าเป็นทางคือวิธีปฏิบัติอยู่อย่างนี้เดินอยู่ในทาง แล้วจะไปไหนจ๊ะ ไม่รู้ทิศรู้ทาง ไม่รู้ที่จบไปอยู่ที่ไหน แล้วฝั่งนี้รู้ที่จบไปไหนก็คือที่จบไปตามลำดับของ 2 นี้ มันจะหมดไปเรื่อยๆ เมื่อหมดทั้ง 2 ข้าง มันก็ว่างก็กลาง จากหยาบก็เป็นละเอียดลงไป เห็นไหม แค่อธิบายนี้ก็ยังยากเลย

ที่มา ที่ไป

รายการเอื้อไออุ่นออนไลน์ วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน 2563


เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 18:33:17 )

เวลาบันทึก 03 สิงหาคม 2563 ( 07:46:17 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 15:03:05 )

มัชเฌนธรรมที่แท้จริงคือ

รายละเอียด

ยากมาก มัชเฌนธรรม หมายถึงการทรงสิ่งที่ทรงไว้ซึ่งความเป็นกลาง ไม่ได้หมายถึงทางสายกลาง มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่าทางปฏิบัติเพื่อจะให้ถึงความเป็นกลาง แต่ไปปนเปแปล อธิบายโดยไม่เข้าใจสภาวธรรมว่า วิธีปฏิบัติเพื่อไปสู่ความเป็นกลางนั้นคือ ทางสายกลางที่คุณจะต้องเดินกลางๆไปโดยไม่ต้องเรียน กาม ไม่ต้องเรียน อัตตา คุณก็จะเดินไปอีกเรื่อยๆ เหมือนกับที่พระพุทธเจ้าบอกว่า 

ผัวเมียคู่หนึ่งมีลูกน้อยเดินไปในทางไกลทุรกันดาร ไม่รู้ว่าที่ตัวเองเดินคือทางทุรกันดารไม่ได้ใช้ทางสายกลาง เพราะคุณไม่ได้เรียน 2 ข้าง กามกับอัตตา คุณไม่ได้รู้จัก อันตาสองข้างเลย ข้างกามข้างอัตตา แล้วเรียนกามก่อน กามหยาบครบพร้อมข้างนอกข้างใน 

จนล้างกามนอกก่อน และเหลือรูปราคะ อรูปราคะ ต่อไป ขณะปฏิบัติล้าง รูปอัตตา อรูปอัตตา คุณก็ยังมีการกระทบสัมผัสอยู่กับตา หู จมูก ลิ้น กายที่เป็น กาม กาย ภายนอกอยู่นะ แต่ข้างนอกมันไม่มีแล้ว คุณอยู่เหนือกิเลสภายนอกแล้ว ไม่ใช่ไปหลับตาหนีมัน ไม่ใช่ ต้องอยู่เหนือ ไม่ใช่ตรัสรู้หนี หลับตานั้นมันหนีออกป่าเขาถ้ำ มันหนี ของพระพุทธเจ้าต้องมีผัสสะเป็นปัจจัย ประเด็นแค่นี้สัมมาทิฏฐิไม่ได้ ปฏิบัติไม่ถูกก็โมฆะ ไม่มีทางที่จะเรียนรู้อะไรได้

มาเข้าสู่คำถามที่ว่า มีวิสัยทัศน์อย่างไร คำว่า วิสัย มันเป็นคำที่ลึกของจิตวิญญาณ ที่จะต้องสั่งสม สิ่งที่คุณจะรู้แล้ว คุณเอามาพูดได้อธิบายได้

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ วิสัยทัศน์ของพ่อครูสมณะโพธิรักษ์ วันศุกร์ที่ 23 กันยายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 12 ตุลาคม 2565 ( 12:19:54 )

มัญญา หรือ มัญญติ

รายละเอียด

ความสำคัญมั่นหมายที่สะสมไปเรื่อยๆ จนเป็นปัญญา ความรู้แบบพุทธ เรียกว่า ปัญญา

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 11 มกราคม 2563 ( 13:52:59 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:32:07 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 15:05:06 )

มัณฑนะ

รายละเอียด

ประกอบกัน ตกแต่งกัน

หนังสืออ้างอิง

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 45


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 16:08:09 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 14:55:35 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 15:09:32 )

มัตต

รายละเอียด

ประมาณ , ความกำหนดให้พอประมาณ กะให้พอควร ดูให้พอดี กะประมาณค่อนข้างไปข้างน้อย สักว่า

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 380


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 16:08:55 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 14:56:11 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 15:11:04 )

มัตตัญญุตา

รายละเอียด

คือ ศาสนาพุทธสอนในเรื่องความประมาณให้ได้สัมมาให้ได้มัชฌิมาได้กลางๆได้เหมาะสม ไม่เดือดร้อนรุนแรงเกินไป แต่ให้ได้คุณภาพ ให้ได้ประโยชน์ ให้ได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้น

หนังสืออ้างอิง

 “สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ” หน้า 416


เวลาบันทึก 29 ตุลาคม 2562 ( 12:30:51 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 16:12:31 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 15:12:30 )

มัตตัญญุตา

รายละเอียด

1. ทำความรู้ให้แก่ตนในเรื่องรู้จักประมาณ รู้จักกำหนด จำกัด

2. ประมาณให้ไปทางน้อยไว้เสมอ

3. การประมาณ

4. รู้จักประมาณ , ประมาณการ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 150, หน้า 193

สมาธิพุทธ หน้า 255

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 54, หน้า 88


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 16:10:08 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 14:59:16 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 15:15:45 )

มัตตัญญุตา

รายละเอียด

ทำให้ได้สัดส่วน มัตตัญญุตา ดีที่สุด ผู้ที่มีธัมวิจัยสัมโพชฌงค์จะจัดสรรสัดส่วนต่างๆได้อย่างพอเหมาะสม ปโหติ อย่างเหมาะควรเสมอๆ หรือสัมมานั่นแหละเสมอๆ สมะ สัมมา จะได้อย่างเหมาะอย่างควร อย่างพอเหมาะพอดีๆ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ โพชฌงค์ 7 สัปปุริสธรรม 7 โดยพิสดาร วันพุธที่ 14 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 17 เมษายน 2564 ( 20:22:54 )

มัตตัญญู

รายละเอียด

ประมาณ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 62


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 16:10:46 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 14:59:57 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 15:16:56 )

มัททติ

รายละเอียด

หัดขยี้(กิเลส)

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 302


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 16:11:35 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:00:37 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 15:18:40 )

statistics

ติดต่อสอบถาม

Facebook : test

Youtube : Name

Twitter : Name

Line : Name

Telegram : Name

Wechat : Name

Skype : Name

Copyright © 2018 Borvornsocial.net all right are reserved. developer สงวนลิขสิทธิ์