@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก
@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก

อภิธานศัพท์ (Glossary) จัดเป็นฐานข้อมูลด้านโลกุตระที่สมบูรณ์ที่สุดที่คัดมาจากหนังสือ คำเทศน์ ฯ

คู่มือการค้นหาอภิธานศัพท์อโศก หรือ ห้องสมุดโลกุตระ 50 ปี

เอกสาร : https://docs.google.com/document/d/1HLGedxqTAOTOTQKGbO6M4qMremQ8K1jBWKRYDDt6MRQ/edit

วีดีโอ Loom 2 : https://www.loom.com/share/e824e62ec1eb4567848e94af124a7ed5

วีดีโอ Loom 1https://www.loom.com/share/2445744a08e74bca95d2f1d2a0526044

วีดีโอ YouTube : https://youtu.be/QyXcGmzhLmk

 

 

อภิธานศัพท์ (ทั้งหมด) พบ 28,074 รายการ

อจินไตย 4

รายละเอียด

คำพูดที่อธิบายอยู่นี้ เป็นอจินไตยทั้งนั้น ไม่ใช่เรื่องวิสัยที่ควรจะเข้าใจได้ง่าย 

  1. พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย 

  2. ฌานวิสัยของผู้ได้ฌาน  

  3. วิบากแห่งกรรม 

  4. ความคิดเรื่องโลก (โลกจินตา) (จักรวาล เอกภพ) 

(พตปฎ. เล่ม 21  ข้อ 77)

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมในงานพิธีน้อมกตัญญูบูชาพ่อครูสมณะโพธิรักษ์ งานอโศกรำลึก 2564 วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2564 ( 15:57:54 )

อจินไตย 4

รายละเอียด

คือเรื่องที่ไม่ควรคิด หากคิดจะบ้า จะเดือดร้อน

1. พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้า (พุทธวิสยะ)

2. ฌานวิสัยของผู้ได้ฌาน ฌานวิสยะ)

3. วิบากแห่งกรรม (กัมมวิปาโก)

4. ความคิดเรื่องโลก โลกจินตา)

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 21 “อจินเตยยสูตร” ข้อ 77


เวลาบันทึก 13 มีนาคม 2565 ( 12:05:34 )

อจินไตย 4 อันใดที่ควรรู้

รายละเอียด

ในอจินไตย 4 พุทธพิสัยนี้สุดยอดแล้วนะ 1.พุทธพิสัย 2. กรรมวิบาก 3. ฌานวิสัย 4. โลกจินตา พุทธวิสัยนี้ยกไว้เลยไม่ต้องเอามาพูด แม้อาตมาเป็นโพธิสัตว์เข้าใกล้พระพุทธเจ้าเข้าไปเรื่อยๆ ก็ไม่ใช่มีวิสัยที่จะเอามาพูดเล่น อธิบายตามภูมิตามควรไปตามลำดับ เช่นอธิบายถึงกรรมวิบาก ตามควร อันนี้เกินไป เราอธิบายไม่ไหว สาเหตุใดทำกรรมวิบากอันใดมาจึงเป็นเช่นนี้ มันเป็นเรื่องที่อธิบายได้พอสมควร แต่อย่างกรรมวิบากละเอียดไม่ได้ หรือจะทำอย่างไรที่เรียกว่า ละได้ คือฌานวิสัย ทำอย่างไรจะมีพลังงานไฟวิเศษที่เรียกว่า ไฟฌาน และพลังงานฌานนี้ จะเป็นเพื่อนของเราเป็นวิบากทำงานไปได้เรื่อยๆ อันนี้ ยิ่งภูมิยังไม่ถึงแล้ว อย่าไปอธิบายเลย ผู้มีภูมิถึงแล้วจะรู้เอง เราอธิบายผู้อื่นก็ไม่ได้ และในเวลาที่อธิบายให้ผู้มีภูมิพอรับได้ สอนเรื่องฌานวิสัย เราก็อธิบายฌานกันอยู่ ยิ่งไปละเอียดถึงกรรมวิบากก็อธิบายได้ยาก กรรมวิบากที่สูงขึ้นๆ คนนั้นคนนี้มีกรรมวิบากอย่างไรถึงเป็นอย่างนี้ๆ ยิ่งจะยากกว่าฌานวิสัยอีก โลกจินตา คือโลกที่เป็นความคิดของทางโลก มันฟุ้งซ่านไปไกล บางอย่างจะเป็นไปได้ก็ไร้สาระ ยกตัวอย่างมันจะสร้างความอร่อยที่ไม่มีที่สิ้นสุด หลอกให้คนโง่ตาม สลับไปสลับมา ไม่มีที่สิ้นสุด เรียกว่าโลกจินตา สมมุติขึ้นได้ หลอกไม่รู้กี่ชั้น

คนหลงในรสอร่อยก็วน ใครหลุดพ้นมาแล้ว ก็จะเข้าใจ คนติดอร่อยอยู่ หากดึงเขามามันก็ไม่มาเพราะมันติดอยู่ ให้เขาดูเองว่าเขาวนเวียน มันนาน ก็ยิ่งจมหนัก จัดจ้านไปเรื่อยๆไม่มีขีดสุด จะจัดจ้านอีกเท่าไหร่ เหมือนสังคมในยุคนี้ ร้องแบบ Hard Rock หนักๆ จนน่าสงสาร แล้วมันอยู่ที่ไหน ทุกวันนี้มันก็ไม่หยุด อาตมาเห็นเมื่อไม่นานมานี้ทางโทรทัศน์ อาตมาว่ามันแรงกว่าเอลวิส เพรสลีย์มันทำ ทั้งตีลังกาหกคะเมน เก่งชิบหายเลย แล้วมันทำไปทำไมวะ มันมันส์มันอร่อยอย่างไร ดีไม่ดีพลาดท่าคอหัก ดีไม่ดีช็อคตายเลย เขาไม่รู้พลังงานเหล่านี้มันช็อคได้เป็น Stroke ได้ ขาดกลางทาง หมุนเวียนไม่ทัน สมองสูบฉีดโลหิตไม่ทัน ไม่ได้เกิดจากวัตถุ เกิดจากความหลงของคุณที่เอาพลังงานเอาแต่บำเรอความอร่อย จนขาดพลังงานทางรูปธรรม เลือดสูบฉีดไม่ทัน ไปหาสมองไม่ทัน

ที่มา ที่ไป

เอื้อไออุ่นแพทย์วิถีธรรม วันอังคารที่ 6 มีนาคม 2561


เวลาบันทึก 13 กุมภาพันธ์ 2564 ( 09:29:06 )

อจินไตย คือ

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นชาวเทวนิยมนี้อาตมาใช้ภาษาบัญญัติแล้วมาเปรียบเทียบในสิ่งที่เราเป็นได้มี อิสระ สบาย สงบ อบอุ่น อิ่มเอม เกษมใส ใจเกื้อกูล เพิ่มพูนเสียสละ อย่างนี้เป็นต้น 

เพราะฉะนั้นนามธรรมที่พูดมาเหล่านั้นไม่ว่าจะเป็นความอิสระ สบาย สงบ อบอุ่น อิ่มเอม เกษมใส ใจเกื้อกูล เพิ่มพูนเสียสละนั้น ใครมีเองรู้เอง แต่เทวนิยมจะไม่สามารถรู้ เขายังไม่มีความสามารถที่จะรู้จริงๆถึงจิตเจตสิก ขั้นเวทนา ขั้นสัญญา ขั้นสังขาร ขั้นวิญญาณ นามรูป อายตนะ เขาจะยังไม่เข้าใจเลย เพราะฉะนั้นอีกนานชาวเทวนิยม 

ชาวไทยจะมีความรู้เรื่องนี้ มีอัตราการก้าวหน้านำหน้าชาวยุโรป ชาวตะวันตก ชาวอเมริกา ไม่ต้องไปพูดถึงเกาหลีเหนือ เพราะนั่นโอ้โห.. ยังอยู่ในหล่มหลุมมืดดำอีกเยอะ ชาวเกาหลีเหนือน่าสงสารเขา เป็นตัวอย่างของโลกอย่างชาวเกาหลีเหนือนี่ เป็นประเทศไม่ใหญ่โตอะไรหรอก เขาไปอย่างนั้นเขามิจฉาทิฏฐิหนัก ซับซ้อน อาตมาจะไม่ขยายความ เป็นความซับซ้อนของเผด็จการประชาธิปไตยของอะไรต่ออะไร เขาดึงเอาไปหมดเอาไปเป็นของเขาหมดเลย 

นี่ก็ขอขยายความ อจินไตย อย่างหนึ่งว่า คิมจองอึนไม่มีลูกชายที่จะสืบทอด นี่เป็น อจินไตย อย่างหนึ่ง มันก็จะสิ้นสูญไปเรื่อยๆ แต่เขาก็พยายามเข็นน้องสาวขึ้นไป เหมือนกับทักษิณพยายามเข็นลูกสาว เพราะว่าลูกชายไม่เอาอ่าวอะไร ไม่มีท่าทีที่พอจะรับได้ ก็มีลูกสาวคนเล็กพอจะเข็นขึ้นได้ มันก็หมดก้นครัวแล้วทักษิณ ยังไม่หมดนะเขายังหวังลูกของอุ๊งอิ๊งอีก ถ้าโตมาพอสมควรแล้ว ถ้าเผื่อว่าเป็นไปได้เนาะ เราก็พูดเผื่อๆไว้ เอาละเดี๋ยวจะออกนอกเรื่องไปมาก 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์งานอัฏฐาริยสัจจายุ ประชาธิปไตยแบบไทยโดยเฉพาะ ตอนที่ 1

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566 แรม 6 ค่ำ เดือน 3 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2566 ( 13:18:44 )

อจินไตย 

รายละเอียด

อจินไตย  คือ เรื่องเกินคาดคิด  อาตมายังแยกไม่ได้ว่าว่า เขา (เด็กที่ถามคำถาม)  จะเน้นไปทางสายศรัทธา หรือสายปัญญา  แต่เป็นเด็กที่ตามศึกษา  ศึกษาธรรมะชั้นโลกุตระ  ปรมัตถ์ด้วยพวกผู้ใหญ่ยังไม่ค่อยเอามาถามเลย  ก็เป็นอย่างที่เขาเป็น หากเด็กทั่วไปไม่ยินดีเอามาศึกษาหรอก  แต่นี่เขาจะรู้สึกเท่  ดีใจ  ภาคภูมิ  แต่ก็มีจิตร่วมกับอันนี้  เป็นสิ่งที่เขาได้  มันเกินวัย  เขาไปเขามีพิเศษจึงเป็นอย่างนี้  สิ่งเหล่านี้เป็น อจินไตย

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 19 ตุลาคม 2562 ( 14:09:34 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:28:46 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 19:53:14 )

อจินไตยกรรมวิบากของพ่อครู

รายละเอียด

อันนี้เป็นอจินไตยกรรมวิบาก เป็นสัมภาระวิบากของอาตมาที่ต้องเอาความจริงมาประกาศ โดยไม่ต้องอาศัยอะไรเลย เอาธรรมะแท้ๆมาเพียวๆสดๆล่อนจ้อน มาจริงๆเลย แก่นๆจริงๆ เอาธรรมะแก่นๆ แต่แก่นของอาตมาไม่ใช่มีแต่แก่น ไม่มีกระพี้ ไม่มีเปลือกไม่มีสะเก็ด แต่มีหมด จะไม่มีก็แต่ใบดอกผล พระพุทธเจ้าท่านตรัสเปรียบเทียบว่า ศีลคือสะเก็ด สมาธิคือเปลือก ปัญญาคือกระพี้ วิมุติคือแก่น

ทุกวันนี้อาตมาว่าศาสนาพุทธไม่มีแม้แต่ศีลมันชัดยิ่งกว่าชัด แต่เขาก็ไม่สะดุดกันเลย ไปถามใครก็ได้ชาวพุทธ ว่าพระภิกษุมีศีลเท่าไหร่ เขาก็ตอบมา 227 ข้อ ซึ่งอันนั้นเป็นพระวินัย ไม่ใช่ศีล เขาเชื่ออย่างสนิทใจเอาวินัยเป็นศีลวินัยเป็นหลักเกณฑ์ตั้งขึ้นเพื่อปรับอาบัติแต่ศีลไม่มีอาบัติ เป็นภาวะซับซ้อน วินัยหยาบกว่าศีล ศีล เป็นอิสรเสรีภาพ อาตมาก็เอาศีลมายืนยัน  จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล อาตมายืนยันในเถรสมาคม เขาก็ไม่มีมหาศีลกันเลย แต่จุลศีล มัชฌิมศีลก็ยังพอมี

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 10 วันจันทร์ที่ 20 กันยายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 10 กุมภาพันธ์ 2565 ( 19:55:04 )

อจินไตยของกรรมวิบาก

รายละเอียด

คนที่เปลี่ยนแปลงตัวเองได้ ก็จะรู้วิบากตัวเอง เกิดมาอีกหลายชาติเข้า อันนี้เป็นอจินไตยที่นึกเอาเองไม่ได้ อาตมาอธิบายซ้อนถึงการวนเวียนเกิดใช้หนี้วิบากจนกระทั่งระลึกได้ จนกระทั่งได้เข้าใจ อ๋อ แท้จริงก็คือกรรมวิบาก กรรมเป็นของของตน ตนเองก็ต้องมาทดแทนใช้หนี้กรรมอย่างนี้ ก็จะไม่พยายามทำกรรมชั่วกรรมบาปกรรม จึงดีจึงเกิดเป็นคนเจริญ เจริญสูงสุดก็เป็นศาสดาจนกระทั่งเป็นศาสดาสุดยอด ถ้าเผื่อว่า ศาสดานั้นยังไม่พัฒนามาเจอพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งพระพุทธเจ้าองค์ก่อน องค์ที่เกิดมาองค์แรกไม่รู้ว่าองค์ไหนเป็นองค์ต้น แต่มีแล้ว แล้วก็ไม่ได้เกิดประจำยุค

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ระบอบการปกครองของมนุษย์ ที่สุดยอด วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม 2564 ที่บวรปฐมอโศก


เวลาบันทึก 21 มีนาคม 2564 ( 12:23:26 )

อจินไตยของกษัตริย์

รายละเอียด

คุณไม่เข้าใจกรรมวิบากซึ่งเป็นอจินไตย คนจะได้เป็นกษัตริย์แม้เป็นกษัตริย์ไม่ดีเขาก็มีอจินไตยในกุศลของเขาส่วนหนึ่ง เป็นกุศลส่วนหนึ่งของกษัตริย์ สะสมส่วนกุศลมาจึงเป็นกษัตริย์ไม่ดี พูดอย่างวิชาการไม่ใช่หมิ่นพระบรมเดชาฯนะ มีดีบ้างไม่ดีบ้างก็มี 

เรื่องกษัตริย์เทวนิยมไม่ได้ศึกษาเลย เพราะตายเกิดเขาเชื่อว่าชาติเดียวไม่มีเวียนว่ายตายเกิด 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ประชาธิปไตยไทยดีที่สุดเพราะมีโลกุตระ วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 04 มีนาคม 2564 ( 20:52:16 )

อจินไตยของจิตกลางๆ

รายละเอียด

อาการจิตที่ไม่มีสุขไม่มีทุกข์เป็นอาการของจิตกลางๆ จริงๆนี่ เป็นอจินไตย ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ ต้องรู้ของตนของตน แล้วไม่ต้องไปเชื่อใคร ไปบอกใครก็บอกได้ แต่เขาต้องเป็นของเขาเอง เหมือนพระพุทธเจ้าบอกว่าเราเป็นผู้ที่บอกทางเท่านั้น เราไปทำให้ไม่ได้ ใครอยากได้ ต้องทำเอาเอง

ที่มา ที่ไป

พ่อครูตอบปัญหา งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 46 วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 แรม 2 ค่ำ เดือน 3 ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 23 กุมภาพันธ์ 2565 ( 21:12:39 )

อจินไตยของฌานทั้ง 4 ในยุคนี้มีแต่พ่อครูที่สอนได้

รายละเอียด

เข้าประเด็นกับคำว่า อาตมาไม่เหมือนใคร ไม่เหมือนจริงๆเพราะยุคนี้เป็นยุคที่อาตมาเป็นตัว ต้องเป็นอย่างนี้ ซึ่งได้พูดไปจนกระทั่งน่าเกลียดๆ แต่อาตมาก็จำนน จำเป็น จำยอม จำต้องแสดงความจริงว่าไอ้ตัวจริงนี่คืออาตมา มันไม่เหมือนใคร เพราะมันเป็นเรื่องของคนเป็นเช่นนี้ เป็นอย่างอาตมา มันนานนนน...มากแล้วพันๆปีจะปรากฏขึ้นมาสักคนหนึ่ง หลายพันปี 

อาตมา 2,500 กว่าปีจึงมาเกิดยุคนี้ มาปรากฏตัวยุคนี้ คนหนึ่ง ไม่เหมือนใคร ขึ้นมาทำไรๆ ขึ้นมาทำพรื๊อ ขึ้นมากอบกู้พระศาสนาพระพุทธเจ้า ยืนยันตนเอง มีหลักฐานอ้างอิงแล้วก็พาประพฤติบรรยายให้ฟัง พวกคุณเข้าใจพาประพฤติจนเกิดมรรคเกิดผลจนมาเป็นคนชนิดนี้ จนเป็นสังคมกลุ่มรวมอย่างนี้ ยืนยันตรงตามคำสอนพระพุทธเจ้าตามพระอนุสาสนี แน่นอนพิสูจน์ได้เป็นวิทยาศาสตร์ทางศาสนา นี่เป็นวิทยาศาสตร์ทางศาสนา เพราะศาสนาพุทธเป็นศาสนาวิทยาศาสตร์ไม่ใช่ศาสนาลึกลับเหมือนเทวนิยม ไม่เหมือน นี่ก็ท้าวความเอาคำหรือเอาภาษา เอาสิ่งที่บรรยายมายืนยันมา เอามายืนยันว่าอาตมาไม่ได้ทำหลงๆเลอะๆ แต่คนที่เขาไม่เชื่อเขาไม่มีภูมิปัญญาจะรู้ว่า อันนี้เป็นสิ่งประเสริฐ เป็นธรรมะขั้นโลกุตระ เป็นธรรมะที่ไม่ใช่เรื่องสามัญ คนจะเข้าใจไม่ได้ง่ายๆ เทวนิยมไม่ต้องพูด 

เพราะฉะนั้นอาตมาไม่มีปัญหาในเรื่องที่ทำไมอาตมาไม่ได้รางวัลจากต่างประเทศสักอย่าง แต่ขออภัยเดี๋ยวจะหาว่าไปลบหลู่เขา เกาหลีใต้ให้อาตมามา 1 รางวัลในชีวิตนี้แต่ก็ไม่มีใครรู้หรอกอาตมาพูดไปหลายทีแล้ว แต่ไม่มีใครเขาฮือฮาอะไรด้วยและไม่กล้าส่งเสริมอาตมาด้วยเพราะถูกไม้กุมเหงกั้นไว้ว่า อย่ามายกย่องเชิดชูโพธิรักษ์นะ ใครมายกย่องเชิดชูจะเป็นพวกกบฏของประเทศไทย เป็นกบฏในประเทศไทยเลยนะ ถูกกั้นอย่างนั้นไว้สำหรับอาตมาเป็นถึงอย่างนั้น ซึ่งอาตมาไม่ได้เสียใจ ไม่ได้น้อยใจนะ มันยิ่งท้าทายให้อาตมานำธรรมะพระพุทธเจ้าเอามายืนยัน เอามาประกาศไป ไม่ใช่คนจะรู้ได้ง่ายๆ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ธรรมะพ่อครูไม่เหมือนใครตรงที่...คนทำตามบรรลุได้จริง วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2566 ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 8 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 10 สิงหาคม 2566 ( 11:06:28 )

อจินไตยของท่านพุทธโฆษาจารย์

รายละเอียด

จนกระทั่งเกิดพุทธโฆษาจารย์อยู่ในเมืองไทยเป็นคนไทย เดี๋ยวนี้ก็ยังเป็นพุทธโฆษาจารย์อยู่ ก็เป็นเรื่องอจินไตยอาตมาไม่แปลกใจอะไร เพราะท่านก็ต้องมาเป็นอาจารย์นามสกุลท่านก็ อาจาริยางกูร เป็นตระกูลของอาจารย์ เป็นองค์ธรรมของอาจารย์ อาจาริยางกูร นามสกุลท่าน ท่านประยุทธ์ท่านก็เป็นพุทธโฆษาจารย์อยู่อย่างนั้น ขออภัยพูดอย่างวิชาการ ไม่ได้ไปลบหลู่ท่าน อาตมาก็ได้รับประโยชน์จากท่าน ต้องขอบคุณท่านอย่างยิ่งและที่ท่านบันทึกความรู้พยัญชนะอะไรไว้ อาตมาต้องพึ่งตลอด โดยหนังสือของท่าน 2 เล่มที่อาตมามีประจำอยู่ เดี๋ยวนี้ก็ยังใช้อยู่ ใช้อาศัยท่านมากเป็นพระคุณอย่างมาก ที่ได้พยัญชนะพวกนี้บันทึกเก็บ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม ถอดรหัส นายทุน-ศักดินา-นักวิชา-ข้าราชการ-พาลชน วันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม 2564 แรม 13 ค่ำเดือน 6 ปีฉลู ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 10 มิถุนายน 2564 ( 18:36:00 )

อจินไตยของนักรบกับนักรัก

รายละเอียด

อาตมาจะอธิบาย อจินไตยให้ฟังนิดนึง 

พลเอกประยุทธ์นี้ชื่อว่าประยุทธ์คือนักรบ เพราะฉะนั้นมาทำงานกัน มันก็ต้องรบอยู่ตลอดเวลาเลย มันไม่สบาย จะต้องรบระวังตัว นอนก็ระมัดระวัง นั่งก็ระมัดระวัง ไปมาก็ระมัดระวัง เพราะคนยังไม่เข้าใจ มันยังใหม่ แล้วยังไม่ไว้ใจ แม้แต่พวกเดียวกันก็ไม่เข้าใจกันง่ายๆอย่างนี้เป็นต้น ถึงบอกว่าบุกเบิกยากมากลำบากได้ยากมาก อาตมาเห็นใจพลเอกประยุทธ์ เพราะเห็นใจตัวเองเหมือนกัน 

เป็นแต่เพียงพล.อ.ประยุทธ์กับอาตมาคนละอย่างกันอาตมาชื่อนักรัก พลเอกประยุทธ์ชื่อนักรบมันคนละมุมเท่านั้นเอง อันหนึ่งค่อนข้างจะต้องรุนแรงหน่อย แต่อันหนึ่งของอาตมานี้โรแมนติกอิซึ่ม แต่โรแมนติก อาตมาก็ออกลวดลายลีลาป้องกันตัวนะ ของอาตมาจึงลำบากเหมือนกันแหละ จะบอกว่าป้องกันตัวก็ป้องกันตัวอย่างซับซ้อน ป้องกันตัวอย่างนักรัก ป้องกันตัวต้องระมัดระวังอย่าให้ไปทำให้คนอื่นเขาโกรธจนกระทั่งเขามาย้อนแย้งเอา มันจะไม่มีพลังพอที่จะไปทำงานต่อได้ เพราะฉะนั้นการประมาณในการที่จะพูดทั้งคำพูดสุ้มเสียงสำเนียงและเนื้อหาสาระ โอ้โห! ไม่แรงก็ไม่ได้ ถ้าแรงก็ไม่ได้ ยาก ไม่แรงก็ไม่ได้ ถ้าแรงเกินไปก็ไม่ได้ การประมาณนี้สุดยอดยากมากและอาตมาต้องทำ จึงเห็นใจพลเอกประยุทธ์มาก ทำงานระดับประเทศ อาตมาก็ทำงานระดับประเทศเหมือนกันแต่เป็นทางนามธรรมหรือทางธรรมะ และคนก็ไม่ค่อยเข้าใจ ไม่เอาใจใส่อาตมาเยอะ แต่ของพลเอกประยุทธ์คนเอาใจใส่เยอะ คนสนใจเยอะมันต่างกันคนละมุม 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม พระอรหันต์มาตอบปัญหาประชาธิปไตยแท้ วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 22 กุมภาพันธ์ 2564 ( 18:47:30 )

อจินไตยของประเทศไทย เกี่ยวกับนายกรัฐมนตรี 2 คน ต่างกันคนละขั้ว

รายละเอียด

อจินไตยของประเทศไทย เมืองไทยเคยมีนายกฯ สองคนที่ชื่อว่า สัญญา กับประยุทธ์สัญญาเป็นเจโต นายกสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกที่สุภาพเรียบร้อยสงบตรงกันข้ามกับพลเอกประยุทธ์คนละขั้วกับพลเอกประยุทธ์ การบริหารประเทศมา นายกสัญญา เป็นสุดยอดของข้าราชการ ยังไม่เคยมีใครมาลบสถิติได้ คือเป็นทั้งประธานสภา เป็นทั้งประธานศาลฎีกา เป็นทั้ง นายกรัฐมนตรี 3 สถาบันเลย เป็นคนไทยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่ง มีบารมีมาก เพราะเกิดมาในชีวิตเดียวได้เป็นทั้งประธานสภา ได้เป็นทั้งนายกรัฐมนตรี ได้เป็นทั้งประธานศาลฎีกา เยี่ยมยอด สุดยอดจริงๆ แล้วนายกสัญญาเคยมาพบอาตมาลักษณะไปรเวท มาคุยกับอาตมาเป็นชั่วโมง คุยเสร็จก็รับรองว่าอาตมาเป็นพระอรหันต์

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 08 กุมภาพันธ์ 2563 ( 13:10:57 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:29:37 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:49:50 )

อจินไตยคืออะไร

รายละเอียด

อจินไตยคือความไม่รู้ ถ้าไม่สามารถศึกษาไปถึงขีดคั่นจะไม่เห็นความจริงของอจินไตย พุทธวิสัย คือของพระพุทธเจ้า ฌานวิสัยคือ ผู้มีความรู้ความสามารถทำฌานของพระพุทธเจ้าต้องมีจริงเป็นจริงจึงจะเข้าถึง ฌานวิสัย

แล้วก็มามีความรู้เรื่องกรรมวิบาก กรรมมีผลเป็นวิบาก หมุนเวียนอยู่ในโลกเป็นชีวะเริ่มเป็นชีวะที่เป็นจิตนิยามมีกรรมวิบาก ซึ่งจะเนื่องต่อไปจนหมดเป็นอัตภาพ เริ่มต้นมีอัตภาพ เป็นสัตว์เซลล์เดียวแล้ว จับตัวกันเข้า ไม่มีใครสามารถแตกตัวสัตว์ให้สลายไปเป็นดินน้ำไฟลมได้นอกจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้วิธี

ที่มา ที่ไป

พ่อครูให้โอวาทพิธีรับกลด นักเรียนสัมมาสิกขา ปีการศึกษา 2562-2563

วันเสาร์ที่ 10 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 16 เมษายน 2564 ( 17:19:25 )

อจินไตยทำไมอโศกต้องสะสมเรือ

รายละเอียด

อจินไตย อโศกทำไมต้องมาสะสมเรือ ทำไม ก็เพราะเรือนี้เป็นพาหนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด สุดยอด เป็นเรือโนอาห์ น้ำท่วมใหญ่น้ำท่วมโลก เขาไม่เอาไฟประลัยกัลป์ แต่เขาเอาน้ำท่วมโลกก็ราบ อย่างที่เทวนิยมเขารู้ อาตมาว่าพวกคุณสะสมเรือเหมือนอย่างอาตมาหรือเปล่า คุณไม่ได้สะสม อาตมาต้องจ่ายเงินเรื่องเรือไม่รู้เท่าไหร่ แต่ทำไมเราต้องไปยุ่งกับเรือมันเป็น อจินไตย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ เจโตปริยญาณ 16 และ
ปฏิจจสมุปบาทโดยพิสดาร วันพุธที่ 21 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 28 เมษายน 2564 ( 05:21:13 )

อจินไตยสิริมหามายา โพธิสัตว์

รายละเอียด

สุขอันนี้มันยิ่งกว่าสุข เพราะมันรู้จักสุขที่มันเป็นมายา เราจะเลิกมายาได้หรือจะอยู่กับมายาก็อยู่อย่างเป็นนายมายา เป็นสิริมหามายาเป็นมายาอย่างใหญ่เป็นมายาอย่างดี เป็นนายของมายา เป็นผู้ให้การเกิดมายา 

สิริมหามายาคือแม่ของเนื้อแท้ของสิทธัตถะ เนื้อแท้ของผลสำเร็จ สิทธัตถะ แม่ของเนื้อแท้ผลสำเร็จที่ประสบผลสูงสุดแล้ว สิทธัตถะ นี่ของจริงเลย 

พระพุทธเจ้าต้องชื่อสิทธัตถะ โดยเฉพาะในยุคนี้ จะยุคไหนพระพุทธเจ้าองค์ไหนจะใช้ชื่อภาษาไหนก็แล้วแต่ แต่ภาษาที่ใช้กับพระพุทธเจ้า ภาษานั้นต้องลงตัวกับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจะใช้ภาษาไหนก็ต้องลงตัว แต่พระสมณโคดมต้องใช้ภาษาบาลี ก็ต้องลงตัวกับภาษาบาลี ต้องสิทธัตถะ แม่ก็คือมายาที่เป็นนายของมายา เป็นสิริมหามายา ต้องลงตัวกัน ตัวคนจริงกับพยัญชนะกับสภาวะธรรมลงกันหมด ไม่มีอะไรแย้งกันได้สักอย่าง อันเดียวกันหมดเลย แม่ต้องชื่ออย่างนี้ ลูกต้องชื่ออย่างนี้ นี่เป็นอจินไตยที่อาตมาเอามายืนยันให้ฟัง เป็นอื่นไปไม่ได้ แม้แต่ชื่อพระสาวกต่างๆ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม เรียนอัตถิราคสูตรให้หมดสุขหมดทุกข์แท้จริง วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 24 กุมภาพันธ์ 2564 ( 17:15:43 )

อจินไตยหลายอย่างที่อาตมารู้

รายละเอียด

มันมี 2 พวกใหญ่เลยในประเทศไทย นักการเมืองพยายามตั้งหลัก แต่ก็ช้าไปหน่อย ขอบอกเลย นักการเมืองทุกคน อย่าแอ๊คเลย พยายามตั้งพรรค ตั้งคณะขึ้นมา ให้เหนือชั้นกว่า พลเอกประยุทธ์ผู้บริหารอยู่ อย่างทักษิณเขาก็ไม่เอา อย่างพลเอกประยุทธ์เขาก็ไม่เอา บอกว่าไม่ยอมสยบ ก็ช้าไปต๋อย เพราะว่าการที่จะสั่งสมบารมีได้ถึงขนาดนี้ สิ่งแวดล้อมเหมาะสมกับ กาละเป็นอจินไตย อาตมามีอจินไตยหลายอย่างที่อาตมารู้ ก็ความคิดของใครก็ฉลาดของใคร ใครไม่เท่าทันก็จะเป็นเหยื่อแร้งกาให้พวกเราเห็น

เพราะฉะนั้นพวกที่ต้องการจะขึ้นมาเป็นใหญ่ในการเมือง อาตมาก็ขอปรามว่าไม่ง่าย ทั้งๆที่ขณะนี้ จริงๆแล้ว โพลทุกโพล ก็ออกมาหมดแล้ว เห็นสอดคล้องกันหมดแล้ว ประเทศไทยตอนนี้พลเอกประยุทธ์ได้คะแนนนำ พวกคนไม่มีปัญญา ทั้งหลายแหล่ ยังไม่หยุดรวน เพราะว่าเขาไม่มีความยินดีที่จะมาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเด็ดขาด ไม่มีความยินดีที่มาสมานฉันท์ปรองดอง ซึ่งความจริงก็เพราะว่า คนฝ่ายหนึ่งนั้นโง่ อีกฝ่ายหนึ่งฉลาดจริงๆ

พวกฉลาดจริงๆ มีเป็นส่วนใหญ่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พวกที่โง่นั้นก็โง่จริงๆ พวกฉลาดก็อยู่ร่วมกันเป็นหมู่ใหญ่ พวกที่โง่จริงๆนี้มันจะโง่ไปอีกนานกว่านาน อีกนานเท่านาน  อย่าหวังเลยว่าคนที่มีความต้องการจะมาเป็นใหญ่จะมาแย่งอำนาจในตอนนี้ พวกที่หลงใหลว่ากูต้องได้ ทั้งๆที่เขาหมดสิทธิ์แล้ว เห็นทางจะแย่งได้ปานใด เขาก็ไม่หยุดรวนไม่หยุดเห่า เขาไม่รู้ตัวว่าเขาเป็นคนโง่สนิทบอดถาวร คนที่ไม่รู้จักสมานฉันท์จะเป็นอย่างนี้

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ ความสมานฉันท์ 7 แบบวันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม 2561 แรม 7 ค่ำ เดือน 8 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 04 มิถุนายน 2565 ( 14:24:19 )

อจินไตยอัครสาวกเบื้องซ้ายเบื้องขวา

รายละเอียด

คนนี้ก็สังเกตจากนามจากชื่อ นั่นก็เป็นอจินไตย อย่างพระพุทธเจ้าท่านเคยพยากรณ์ ว่าผู้นี้จะได้เกิดเป็นอัครสาวกของพระพุทธเจ้าสมณโคดม ชื่อพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายเบื้องขวา มันก็บอกกล่าวชื่อระบุบุคคลลงตัวหมด เช่น พระพุทธเจ้าสมณโคดมจะต้องชื่อสิทธัตถะ พระมารดาของพระพุทธเจ้าจะต้องชื่อสิริมหามายา อย่างนี้เป็นต้น อาตมาเข้าใจ แต่อาตมาไม่เก่งพอจะอธิบายอย่างลงตัว คือรูปนาม เหตุปัจจัยที่ลงตัวเหมาะสมแล้วต้องเป็นเช่นนั้น ไม่เป็นเช่นนั้นไม่ใช่ความจริง อันนี้เป็นสัจจะที่อาตมาก็อาศัยใช้อยู่ แต่พวกคุณอย่ามาลอกเลียนอาตมา มันเป็นอจินไตย อย่าทำเล่น

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 1 เมษายน 2563


เวลาบันทึก 09 เมษายน 2563 ( 10:42:08 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:30:06 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 19:53:51 )

อจินไตยเกี่ยวกับชื่อประยุทธ

รายละเอียด

 อาตมาก็ขอพูดอันสุดท้ายขณะนี้ต่อหน้าเรามีคนๆหนึ่งตาย อยู่ที่โลงเย็น เผาพรุ่งนี้ คนๆนี้ชื่อประยุทธ และคือชื่อนายกฯไทย คือชื่อคนมีความรู้ทางศาสนาพุทธเมืองไทย ตอนนี้ประยุทธเราตายแล้ว ไม่ได้ว่าใคร ก็หมดการรบสำหรับเรา การรบคือเราไมรบใคร แต่ใครมารบเราก็ต้องเป็นไปตามธรรมชาติอจินไตย เพราะประยุทธนีนามสกุล เชื้อจง เชื่ออะไร เชื้อรบหมดไป จง คืออะไร จงทำ 

ที่มา ที่ไป

พิธีบูชาพระสารีริกธาตุ วันอังคารที่ 9 มิถุนายน 2563


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 11:09:19 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:30:46 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:50:15 )

อจินไตยในชุดสีน้ำเงินชุดชาวอโศก

รายละเอียด

อาตมาถามดูว่าในประดาสีแม่สี แดงเหลืองน้ำเงิน เราชอบสีไหนมากสุด อาตมาก็ว่าอาตมาชอบสีน้ำเงินมากกว่า ก็ตอบไปแล้ว ..เขาอยากรู้อจินไตย

คือแม่สีจะทำให้ตายอย่างไรในโลกก็มีแม่สี แดงเหลืองน้ำเงินก็เท่านั้นเอง อาจสงสัยอจินไตยคืออาตมาหมกเม็ดว่า ในคนไทย นี่มีสีแดงขาวน้ำเงิน

สีน้ำเงินคือพระมหากษัตริย์ คือมนุษย์ ชาติศาสนาก็ไม่ใช่มนุษย์ ส่วนน้ำเงินคือคน แล้วน้ำเงินมีแถบโตกว่าเพื่อนเท่านั้นเอง เป็นสัจจะชนิดหนึ่ง

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการสำมะปี๋ซี่วิต ครั้งที่ 29 วันรัฐธรรมนูญ ที่บ้านราชฯ  

สื่อธรรมะพ่อครู(สัมประสิทธิ์) ตอน อัตราเร่งอย่างไรเรียกว่าสัมประสิทธิ์ วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม  2561

 


เวลาบันทึก 12 กุมภาพันธ์ 2564 ( 15:46:03 )

อจินไตยในนิมิต 16 ครั้ง

รายละเอียด

ที่อาตมารู้ เพราะอาตมาสนิทกับท่านจริงๆ อย่าหมั่นไส้นะขออภัย เพราะว่ามันสุดท้ายแล้ว สุดท้ายจนกระทั่งถึงขั้น จะอธิบายอจินไตยให้ฟัง ท่านทำนิมิตถึง 16 ครั้ง ให้พระอานนท์เห็น ให้อาราธนาอยู่ต่อ แต่มารก็มาบังตาหมด เป็นอจินไตย ไปให้พระอานนท์เห็น ถึง 16 ครั้ง เพื่อให้เป็นหลักฐานว่าพระพุทธเจ้าบอกว่า อานนท์เราได้ธรรมนิมิตถึงท่านถึง 16 ครั้งแล้วตอนนี้เริ่มปลงอายุสังขารแล้ว อย่างนี้เป็นต้น เป็นเรื่องที่เกินคิดเกินคาดเกินที่จะรู้ 

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2563


เวลาบันทึก 26 ธันวาคม 2563 ( 10:19:56 )

อจินไตยในเรื่องของคนมีบารมีได้เป็นในหลวงฯ

รายละเอียด

เป็นสัจจะเป็นเรื่อง อจินไตย เป็นเรื่องจิตวิญญาณไม่สามารถรู้ได้ง่ายๆเลยว่ามันเป็นอย่างไร เป็นเรื่องสำคัญมาก คนจะมีบารมีได้เป็นในหลวงฯไม่ใช่อยู่ดีๆได้เป็น เพราะว่าในหลวงฯสืบสายทางโลหิต ไม่ใช่เลือกตั้ง 

การเลือกตั้งมีพลังงานแต่ภายนอก พลังงานสร้างเอาไม่ใช่อจินไตย แต่การสืบสายเลือดสายจิตวิญญาณ การสืบสายเลือด แล้วไม่ใช่สืบสายเลือดโดยไม่ใช่ไม่มีอะไร สืบสายเลือดตามธรรมดาพ่อแม่เลี้ยงลูกก็จะให้ลูกเป็นคนดี พยายามสั่งสอนอบรมช่วยเหลือ เท่าที่จะสามารถ ยิ่งในสันตติวงศ์ มีกฎมณเฑียรบาลมีหลักเกณฑ์ มีองค์ประกอบของสิ่งที่ต้องฝึกฝน เป็นพระประยูรญาติสืบสันตติวงศ์ทุกพระองค์ จากในหลวงมา สำคัญมา ต้องมีการเลือกเฟ้นไม่ใช่อยู่ๆจะไปเป็นได้เลย ต้องผ่านชีวิตผ่านการฝึกฝนอบรมประกอบกันมา นั่นแหละเป็นองค์ประกอบภายนอก ส่วนภายในนั้นสืบ DNA เลย ที่เป็นการเลือกตั้งนั้นไม่ได้เป็นการสืบทอดจิตวิญญาณเลย ใครมีอำนาจทางค่ายกลทางการเงินเหมือนกับประธานาธิบดีทั้งหลาย หรือว่านายกการเลือกตั้งก็ตามมันไม่ใช่ อันนี้องค์ประกอบมันลึกซึ้งซับซ้อนมากกว่าเลย เพราะฉะนั้นเรื่อง อจินไตยพวกนี้คนไม่เข้าใจก็เลยคิดกันง่ายๆตื้นๆ พวกนี้มีวิบากนะ ไม่ใช่ว่าเป็นการขู่เล่น แต่เป็นวิบากไม่ดีเป็นอกุศลวิบากของเขา ที่เขาไปทำกับผู้ที่ไม่ควรกระทำ ผู้ที่เขาไม่มีบารมีเท่า 

พูดให้ชัดง่ายๆ การที่คุณเป็นคนสามัญแล้วคุณไปฆ่าพระเจ้าแผ่นดิน วิบากมันไม่ใช่เรื่องเล่นๆ จะเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่พูดให้ชัด พระเจ้าแผ่นดินที่ไม่ดีก็ตาม ใช่ไหม แล้วคุณจะไปทำร้ายไปพระเจ้าแผ่นดินที่ไม่ดี มันก็เป็นวิบาก ไม่ใช่ไม่มีวิบากมันซับซ้อนนะ คุณอาจจะปรารถนาดีนะ สิ่งที่ไม่ควรจะทำ พูดมากก็ไม่ค่อยสวย พอสมควรเพื่อเป็นการศึกษา 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 20 วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม 2563
ที่บ้านราชฯ


เวลาบันทึก 02 กุมภาพันธ์ 2564 ( 18:54:37 )

อจินไตยในโควิดเมืองไทยสามารถพิชิตได้

รายละเอียด

เป็นอจินไตยจริงๆ คือ คิดไม่ออกคิดไม่ได้ง่ายๆ แต่ทุกอย่างมาแต่เหตุ ไม่ใช่อยู่ดีๆมาโดยไม่มีที่มาที่ไปไม่มีเหตุปัจจัย ทุกอย่างมาแต่เหตุทั้งสิ้น เรื่องนี้เป็นเรื่องลึกซึ้ง 

สรุปง่ายๆว่า ทำไม เมืองไทยจึงไม่ติดโควิด โรคโควิดนี่ เป็นโรคที่ส่งมาจากสวรรค์ เพื่อมาปราบความไม่ดีไม่งามของมนุษย์โลก เป็นโรคที่ส่งมาปราบคนไม่ดีคนไม่ประเสริฐ ในโลกในประเทศเขาก็ดูเขาก็จัดการ แม้แต่บางประเทศ เรามองว่าประเทศด้อยพัฒนาแต่ covid ก็ไม่มีมาก ในบางประเทศ แต่ทำไมประเทศที่เจริญก้าวหน้าอันดับ 1 ของโลกเลยอย่างอเมริกา ถึงได้เกิดโรคพวกนี้อย่างมากตายเป็นเบือ เก่งทุกอย่าง ทางด้านการแพทย์ก็เก่ง ทางด้านอย่างอื่นก็เก่งทั้งนั้น แต่ทำไม? มันเป็นเรื่องที่ค้านแย้งกับความเป็นจริง เก่งนะ แต่ทำไมสู้โควิดไม่ได้ ประเทศด้อยพัฒนาต่างๆ เขาก็ไม่เกิดอะไรรุนแรง

เพราะฉะนั้นสิ่งที่มันเกิดในยุคนี้ขณะนี้โดยเฉพาะเจ้า covid จึงเป็นเรื่องชี้บ่งของความเป็นมนุษยชาติ Covid มันยังไม่จบไม่ได้หยุดทำงานนะ ให้มันเลยไปอีกหน่อยแล้วจะรู้ แม้ว่าจะคิดวัคซีนได้ ก็คอยดูต่อไป แม้ว่าจะมีวัคซีนแล้วจะเป็นอย่างไร 

Covid ซึ่งเป็นดั่งมัจจุราชไร้เงามันเป็นกระบวนการต่อไป

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการวิถีอาริยธรรม ศีลที่เป็นกุศลย่อมยังความเป็นอรหันต์โดยลำดับ วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม 2563 ที่บ้านราชฯ


เวลาบันทึก 04 กุมภาพันธ์ 2564 ( 15:43:22 )

อจินไตยไม่ใช่สิ่งควรถาม

รายละเอียด

ต่อไปอีกจะมีคำถามขึ้นมาอีกไปเรื่อยๆ เป็นอจินไตยอย่างหนึ่ง อย่าคิดเลย อย่าถามเลย เพราะตอบก็ยาก อาตมาตอบก็ยากคุณฟังก็เข้าใจยาก ไม่ค่อยอยากอธิบายอจินไตย อย่างอู๊ดนี่ชอบถามอจินไตย คนที่พยายามถามให้อาตมาตอบอจินไตย นี่ทรมานอาตมา แล้วจะได้บาปหรือบุญ…บาป อย่าดันทุรังไปหา อจินไตย ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่น่าถาม คุณมีภูมิพอ ก็จะไม่ถามเพราะจะรู้เอง รู้เองคือของจริง

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2563


เวลาบันทึก 26 ธันวาคม 2563 ( 10:26:49 )

อจินไตยไม่ได้คิดแต่มีจริง

รายละเอียด

เขาว่าหากใครคิดอจินไตยจะบ้า แต่อาตมาไม่ได้คิด อาตมามีจริงของอาตมา อาตมามีฌานวิสัย พุทธวิสัยอาตมามีอยู่บ้างแต่ไม่ครบ 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 02 เมษายน 2563 ( 13:31:32 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:31:17 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 19:54:11 )

อชานาโต อปัสสโต

รายละเอียด

ผู้ไม่รู้ไม่เห็น

หนังสืออ้างอิง

ยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 268


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 21:56:17 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 03:40:25 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:50:31 )

อชิก

รายละเอียด

ผู้ไม่ได้เป็นเจ้าของความชนะแน่ ๆ  ผู้แพ้แล้ว

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 438


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 21:57:07 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 03:41:26 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:50:47 )

อชีวะ

รายละเอียด

ไม่ใช่ความเป็นชีวิต

หนังสืออ้างอิง

เปิดโลกเทวดา หน้า 12


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 21:57:52 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 03:42:13 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:51:02 )

อฐานะ

รายละเอียด

ไม่ใช่ฐานะ

หนังสืออ้างอิง

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 81


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 21:58:28 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 03:43:04 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 19:54:48 )

อฐิฏฐานา อภินิเวสานุสยา

รายละเอียด

มันจะกำหนัดหรือมันจะยินดีด้วยประการใดๆ มันจะเพลิดเพลิน พอใจ มันอยากปรารถนา เข้าไปยึดถือ เข้าไปตั้งมั่นหรือเข้าไปนอนตามแห่งจิต ตัวนี้อาตมาเห็นใจคนแปลภาษาบาลี 

อฐิฏฐานา อภินิเวสานุสยา ท่านก็แปลว่าความนอนตามแห่งจิต ฟังเป็นภาษาไทยแล้วก็ไม่รู้เรื่อง 

ซึ่งมันตรงกันข้ามของพระพุทธเจ้ายิ่งกระทบกระแทก ไม่มีนอนมีแต่ตื่นเต็ม รู้โลกวิทู รู้โลกทุกอย่าง มันมีแรงมีเบามันมาอย่างทุกทิศทุกทางทุกเล่ห์เหลี่ยม อย่างรู้ทันหมดเลย กิเลสเกิดไม่ได้ อย่างเร็วอย่างไวอย่างไม่ต้องกระพริบตา เร็วยิ่งกว่ายอดจอมยุทธ ยิ่งกว่านักมายากลพลิกฝ่ามือ นี่เร็วยิ่งกว่าพลิกฝ่ามือ เร็วไวยิ่งกว่าปรมาณู ไม่มีใครเห็นไม่มีใครรู้ทัน เป็น มุทุภูตธาตุ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า งานอโศกรำลึก 2564 ประกาศโลกนี้โลกหน้า
วันอังคารที่ 8 มิถุนายน 2564 แรม 13 ค่ำเดือน 7 ปีฉลู ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 31 กรกฎาคม 2564 ( 11:58:56 )

อดีต

รายละเอียด

สิ่งที่ได้ดับไปแล้ว

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 208


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 21:59:06 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 03:43:45 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:51:17 )

อดีต 18 อนาคต 44 เป็นทิฐิ 62

รายละเอียด

ในพรหมชาลสูตรเขียนไว้ว่ามี 18 อย่างที่เป็นอดีต ส่วนอนาคตนั้นปรุงแต่งใหม่ พระพุทธเจ้าก็ประมวลว่าการปรุงแต่งของสังขารที่จะพิสดารอย่างไรก็ตาม มันได้ทำมาแล้วแล้วก็สะสมเก็บไว้ได้แค่ 18 กรณี 18 ประเด็น พวกคิดใหม่ปรุงแต่งใหม่ทำไมมันมาก เพราะมันมีเรื่องที่เป็นไปไม่ได้คิดแล้วเป็นไปไม่ได้เลย คุณจะคิดอย่างไรก็เป็นไปไม่ได้ เอามาปรุงแต่งให้ครบตา หู จมูก ลิ้น กายไม่ได้ ที่ปรุงแต่งให้ครบตา หู จมูก ลิ้น กายได้เต็ม ก็มีแค่ 18 ประเด็นเท่านั้น แต่คิดไปเพ้อเจ้ออนาคตมันมีฟุ้งซ่าน ไปได้เยอะแยะพระพุทธเจ้าประมวลได้ 44 รวมแล้วเป็นทิฏฐิ 62 

ที่มา ที่ไป

เทศน์ทำวัตรเช้า วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน 2563


เวลาบันทึก 23 พฤศจิกายน 2563 ( 09:01:32 )

อดีตกับวิบากที่สั่งสมเป็นพลังงานจิตความโลภของกู

รายละเอียด

ผู้ที่รู้ธรรมะพระพุทธเจ้ารู้ปฏิจจสมุปบาทของพระพุทธเจ้า อาตมาพูดถึงอวิชชา 8 ท่านสรุปไว้ที่อาริยสัจ 4 แล้วสรุปลงที่อดีต อนาคต และส่วนอดีตส่วนอนาคต 

คนไม่ใช่จะรู้ได้ง่ายๆ เอาอดีตมาพูดประกอบเพื่อให้คุณศึกษาเพื่อให้คุณเข้าใจ ว่าคนนี่มันมีวิบาก มันมีสิ่งที่สั่งสมเป็นพลังงานจิต มีตัวกูของกู มีความโลภของกู คุณยึดคุณรักษาเอาไว้ ไม่กล้าจะสละออกในชาตินี้ให้หมด อย่างพระอรหันต์พระโพธิสัตว์จะกล้าสละให้หมด เป็นอรหันต์ธรรมดาก็สละ แต่ยังเหลือติ่งของตัวเองมากหน่อย เป็นโพธิสัตว์สูงขึ้นก็จะไม่เลยของตัวเอง เป็นพระพุทธเจ้าเลย เกิดมาท่านก็มีสมบัติตามบารมี เมื่อท่านออกมาเป็นพระพุทธเจ้าทิ้งหมดเลย ไม่มีสมบัติอะไรเป็นของตัวเอง ไม่สะสมสมบัติอะไรเป็นของตัวเองอีกเลยเป็นพระพุทธเจ้า นี่ก็เป็นสิ่งที่ยืนยันพิสูจน์อ้างอิงได้ชัดเจน แล้วมีชีวิตอยู่ได้ไหม คุณไม่มีอะไรเลย ไม่มีอะไรเป็นของตัวเองเลย อยู่ได้ไหม

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศนาวันมาฆบูชา งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 45 ออนไลน์ วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 17 มีนาคม 2564 ( 18:39:41 )

อดีตและอนาคตไม่เที่ยงอย่างไร

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นในส่วนที่เป็นอดีตส่วนที่เป็นอนาคตไม่เที่ยงอย่างไร 

ส่วนที่เป็นอดีต สมมุติว่าปัจจุบันอยู่ตรงนี้ กาละเดินทางมาถึงปัจจุบัน แม้ตัวอนาคต มันเดินทางมาถึงปัจจุบัน ถ้ามันยังไม่เที่ยง มันยังไม่เป็น 0 มันมาที่นี่ก็จัดการให้เป็น 0 คุณจัดการได้ก็เกิดอดีตเป็น 0 แต่ถ้าคุณจัดการไม่ได้มันก็ไม่เป็น 0 เพราะฉะนั้นอดีตก็ไม่เที่ยงได้ 

หรืออนาคต บางที เอ็งมาไม่ 0 บางทีมี 1 แฝงมาด้วย เพราะฉะนั้นคุณต้องเอาปัจจุบันเป็นหลัก อย่าไปเอาอนาคตและอดีตเป็นหลัก ต้องเอาปัจจุบันให้ 0 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ เจโตปริยญาณ 16 และ
ปฏิจจสมุปบาทโดยพิสดาร วันพุธที่ 21 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 28 เมษายน 2564 ( 04:52:47 )

อตักกาวจร , อตักกาวจรา

รายละเอียด

1. เดาเอาไม่ได้

2. ไม่สามารถรู้ได้ด้วยตรรกศาสตร์

3. ใช้ตรรกะหรือคาดคะเนขบคิดจนให้หัวแตกก็ไม่สามารถรู้ความจริงนี้ได้

4. คาดคะเนเอาไม่ได้

5. จะใช้เหตุผลมาคำนวณคะเนเอาไม่ได้

6. ไม่ใช่วิสัยที่จะรู้กันได้ด้วยตรรกะ , ไม่มีทางเกิดได้ด้วยตรรกะ

7. คิดหัวแตกเปล่าก็ไม่ถึงความจริง

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 539 , อีคิวโลกุตระ หน้า 81 , รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 22 ,พุทธเป็นอเทวนิยมอย่างนี้ หน้า 67-136,ค้าบุญคือบาป หน้า 159,161 , 199 


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 22:01:28 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 03:48:04 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 19:55:35 )

อตักกาวจรา

รายละเอียด

คาดคะเนด้นเดามิได้

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 16 พฤศจิกายน 2562 ( 19:23:11 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:31:51 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:51:38 )

อตักกาวจรา

รายละเอียด

อตักกาวจรา (คาดคะเนด้นเดามิได้) เกินกว่าที่จะคิด จะคาด จะเดา หรือขบคิดเดาเอายังไงก็ไม่ได้ คาดคะเนด้นเดาเอาเองไม่ได้ เป็นสัจจะที่เป็นอจินไตย เดาเอาไม่ได้ ต้องปฏิบัติเอง บรรลุเองจึงจะมีปัจจัตตัง (คือ)จะรู้ได้ด้วยตนเองตามบารมี มีบารมีสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ก็จะรู้ได้เป็นลำดับๆ 

นิปุณา (ละเอียดลึกถึงขั้นนิพพาน) 

เพราะฉะนั้นจึง บัณฑิตจริง บัณฑิตเวทนียา (รู้แจ้งได้เฉพาะผู้เป็นบัณฑิต บรรลุแท้จริงเท่านั้น) 

ผู้ที่เป็นบัณฑิตแท้ๆ ไม่ใช่เป็นบัณฑิตที่ไปสอบวัดจากมหาวิทยาลัย ที่เขาเรียกว่า บัณฑิต หรือว่าเป็นบัณฑิตที่ตั้งกันโก้เก๋เฉยๆ ไม่ใช่ แต่ผู้ที่เป็นบัณฑิตจริงนี้เป็นด้วยตัวท่านเองที่มี “เวทนียา” เป็นด้วยปัญญา ที่มีความรู้นั้นๆในตัวท่านเอง เป็นบัณฑิต เป็นสัตบุรุษ เป็นอาริยบุคคลที่แท้จริง เป็นผู้เป็นบัณฑิตที่แท้จริง 

เพราะฉะนั้นผู้นั้นจึงจะรู้ได้ด้วยตนเอง หรือผู้ที่มีดวงตา มีภูมิปัญญาถึงจะสัมผัสได้เอง รู้ได้เอง สัมผัสแล้วจะรู้ว่าคนนี้เป็นบัณฑิต คนนี้เป็นปราชญ์ คนนี้เป็นผู้รู้ที่แท้จริง จะเข้าใจอย่างนั้นเลย

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ พ่อครูคือก้อนแห่งสัมมาทิฏฐิที่คนต้องมีฉันทะมาเอา วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม 2566 ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 07 มีนาคม 2567 ( 19:01:27 )

อตัมมยตา

รายละเอียด

1. ความทำได้ดังประสงค์ เช่นสามารถยึดได้(เกี่ยวได้) – วางได้-ง่ายดาย

2. จะยึดก็ได้ – จะวางก็ได้  จะตายก็ได้ – จะเกิดก็ได้

หนังสืออ้างอิง

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 23,29

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 133


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 22:02:54 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 03:49:35 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:52:14 )

อติถิพลี

รายละเอียด

การพลีให้ผู้ที่ด้อยกว่าก็เป็นการพลีที่ดี อติถิ คือผู้ที่ด้อยกว่า

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 07 พฤศจิกายน 2562 ( 15:02:40 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:32:29 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 19:57:09 )

อติมานะ

รายละเอียด

1. ยิ่งถือหยิ่ง , ยิ่งจะดูหมิ่นท่าน ยิ่งยึดในตัวใหม่ของตน หรืออัตตาใหม่นั้นหนัก

2. เย่อหยิ่ง

3. ดูหมิ่นถิ่นแคลนอีกฝ่ายหนึ่ง หรืออีกเรื่องหนึ่งไปเลย , ตนดีตนเด่น ตนแน่ตนแท้ หยิ่งยโส , ผยองพองขน

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 177 ,

 ทางเอก ภาค 3 หน้า 46 , 433 ,

สมาธิพุทธ หน้า 367

 


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 22:04:27 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 03:51:08 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 19:57:53 )

อติลีนวิริยะ

รายละเอียด

เลยเถิด ชนิดไม่พอ , น้อยไป หย่อนไป ย่อหย่อนในความเพียร

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 244


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 22:05:11 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 03:52:18 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:52:35 )

อตีตภวังค์

รายละเอียด

ภพที่ตนเองรับรู้ไม่ได้แล้ว เป็นสภาพที่ตนไม่รู้ไตรลักษณ์ของจิตในแดนนั้นของตนได้แล้ว แต่มันก็มีภพมีชาติในตนนี่แหละ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 275


เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2562 ( 06:36:19 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 03:54:14 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:52:55 )

อตีโต ผัสโส

รายละเอียด

สัมผัสอันเกี่ยวเนื่องกับอดีต

หนังสืออ้างอิง

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 50


เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2562 ( 06:36:53 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 03:55:30 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:53:16 )

อทินนาทาน

รายละเอียด

การเอาของที่เขาไม่ได้ให้ หรือการลักขโมย เป็นการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินของผู้อื่นอย่างหยาบๆ

คือ การให้ในขณะที่ใจของผู้นั้นยังไม่คิดจะให้จริง (การให้ ความหมายดังกล่าวแตกต่างหรือลึกซึ้งกว่าความหมายในพจนานุกรมของราชบัณฑิตยสถานที่ให้ความหมายของคำนี้ว่า คือการถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้แก่ตน) เป้าหมายของการให้ทานเพื่อกำจัดทานที่เป็นอทินนะอยู่

ที่มา ที่ไป

ธรรมมาธิบาย  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 385


เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2562 ( 06:37:34 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:33:18 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 20:02:06 )

อทินนาทาน

รายละเอียด

คือ การให้ในขณะที่ใจของผู้นั้นยังไม่คิดจะให้จริง (การให้ ความหมายดังกล่าวแตกต่างหรือลึกซึ้งกว่าความหมายในพจนานุกรมของราชบัณฑิตยสถานที่ให้ความหมายของคำนี้ว่า คือการถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้แก่ตน) เป้าหมายของการให้ทานเพื่อกำจัดทานที่เป็นอทินนะอยู่

ที่มา ที่ไป

620821_พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช


เวลาบันทึก 18 ตุลาคม 2562 ( 15:34:31 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:34:23 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:53:44 )

อทินนาทานาเวรมณี

รายละเอียด

คือ  เว้นขาดจากการให้โดยที่จิตใจของคนที่ให้ยังคิดว่าจะได้อะไรจากคนอื่นอยู่ ศีลข้อที่ 2 คือปฏิบัติเว้นจากการที่ให้โดยที่ใจของผู้ให้นั้นยังคิดที่จะได้อะไรคืนมาจากผู้ที่ตนได้ให้ไป ก็ถูกแล้วเอาแค่นี้ ไม่อย่างนั้นก็จะวนพูดไปอย่างละเอียดละเลียดมันก็ดี แต่อย่าไปละเลียดกับคนที่เขาไม่ไหว 

ที่มา ที่ไป

620821_พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช


เวลาบันทึก 18 ตุลาคม 2562 ( 15:35:32 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:35:04 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 20:02:44 )

อทินนาทานาเวรมณี

รายละเอียด

คือเว้นขาดจากการให้โดยที่จิตใจของคนที่ให้ยังคิดว่าจะได้อะไรจากคนอื่นอยู่ ศีลข้อที่ 2 คือปฏิบัติเว้นจากการที่ให้โดยที่ใจของผู้ให้นั้นยังคิดที่จะได้อะไรคืนมาจากผู้ที่ตนได้ให้ไป ก็ถูกแล้วเอาแค่นี้ ไม่อย่างนั้นก็จะวนพูดไปอย่างละเอียดละเลียดมันก็ดี แต่อย่าไปละเลียดกับคนที่เขาไม่ไหว 

 

ที่มา ที่ไป

ธรรมมาธิบาย  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 25 กันยายน 2562 ( 17:02:22 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:35:51 )

อทินฺนาทานัง

รายละเอียด

อทินนาทาน

หนังสืออ้างอิง

จากหนังสือสมาธิพุทธ หน้า 117


เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2562 ( 06:38:21 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 03:56:44 )

อทินฺนาทานา เวรมณี

รายละเอียด

งดเว้นจากเอาของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 117

 


เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2562 ( 06:39:02 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 03:58:58 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 20:03:29 )

อทิสสมาณกาย

รายละเอียด

คือ กายที่เห็นจริง สัมผัสจริงไม่ได้เลย มันจะลึกลับมากสำหรับผู้ยังอวิชชา และหลงเสพสม สุขสมอยู่ในจิตใครจิตมันแท้ๆเอาออกมาข้างนอกบอกให้คนอื่นสัมผัสกันไม่ได้เลย

หนังสืออ้างอิง

“คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1 หน้า 197


เวลาบันทึก 09 พฤศจิกายน 2562 ( 15:14:03 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 15:12:37 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:54:51 )

อทิสสมาน

รายละเอียด

มองไม่เห็น – ไม่ปรากฏ

หนังสืออ้างอิง

ค้าบุญคือบาป หน้า 240


เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2562 ( 06:39:38 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 03:59:47 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:55:11 )

อทิสสมานกาย

รายละเอียด

องค์ประชุม(กาย)ที่มองไม่เห็น , มีองค์ประชุมของกายทั้งหลายอยู่ทั้งภายนอกภายในที่มีความเป็นปกติของคนคนหนึ่งอยู่ แต่มีภาวะที่มองไม่เห็นไม่ปรากฏนั้นแล้วอยู่ในใจ นั่นคือไม่เห็นสัตว์ตัวนั้นแล้วอยู่ในใจ ไม่มีองค์ประชุม(กาย)ของสัตว์นั้นแล้ว เพราะเราได้กำจัดมันดับสูญหายไปแล้ว

หนังสืออ้างอิง

ค้าบุญคือบาป หน้า 240


เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2562 ( 06:41:09 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 04:00:30 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 20:05:09 )

อทุกขมสุข

รายละเอียด

1. ไม่สุข ไม่ทุกข์

2. ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข 

3. ชิน ชา 

4. ไม่มีอารมณ์สุข – อารมณ์ทุกข์ 

5. ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ที่ชาวปุถุชนโลกีย์เขาเป็นเขามีกันแล้ว

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 121, หน้า 318

อีคิวโลกุตระ หน้า 86 ,102

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 314

เปิดโลกเทวดา หน้า 55


เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2562 ( 06:43:53 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 04:02:26 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:55:58 )

อทุกขมสุข

รายละเอียด

อทุกขมสุข คือ อุเบกขา ฐานนิพพาน

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต สันติอโศก วันพุธที่ 2 ตุลาคม  2562


เวลาบันทึก 05 ตุลาคม 2562 ( 13:49:44 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:36:30 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:56:21 )

อทุกขมสุข

รายละเอียด

คือ คำอธิบายของความมี อุเบกขา คือ คำอธิบายของ สูญ กลางๆไม่มีอะไรเป็นคู่เทียบเปรียบแล้ว สูญ หรือหนึ่งก็ได้ ผู้ที่เป็นอรหันต์ทำ 1 ให้เป็น 0 ได้ ก็จบบริบูรณ์ แยกธาตุให้เป็น 0 ได้ เทวะสอง รูปนาม สิ่งที่มีกับสิ่งที่ไม่มีทำให้ไม่มีได้สำเร็จ เช่นเป็นอุตุธาตุ หรือสังคมที่แต่ก่อนนี้เราจะต้องไปคลุกคลีด้วย สังคมอบายมุข เดี๋ยวนี้สังคมอบายมุขมันก็ยังมีจัดจ้านแต่เราไม่เกี่ยว เราหลุดพ้นมาแล้วตั้งแต่เป็นพระโสดาบัน เรียกว่าเป็นเอกราชทั่วทั้งแผ่นดิน ลอยตัว แม้ว่ามันจะมี บ่อนไพ่ประเทศไทยก็ยังมี ไปชายแดนเขมรมีเยอะ เราไปไหนเราก็อยู่เหนือมันไม่มีรสชาติ มาเก๊า ไป ลาสเวกัสมีเยอะแยะ 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 15 มีนาคม 2563 ( 10:33:01 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:37:02 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 20:32:10 )

อทุกขมสุข

รายละเอียด

ความทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ อทุกขมสุข หรือเรียกพยัญชนะไวพจน์กันว่า อุเบกขา สูญจากความสุขความทุกข์ เป็นกลางๆ

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 26 พฤศจิกายน 2563 ( 09:18:26 )

อทุกขมสุข หยาบกว่าอุเบกขา

รายละเอียด

หากจะมีก็มีอย่างสะอาดบริสุทธิ์มีอย่างไม่มีทั้งบวกและลบมีอยู่ที่ 0 หรือกลางๆ เรียกโดยภาษาว่า อุเบกขาหรือไวยพจน์คือ ไม่สุขไม่ทุกข์ คำว่าไม่สุขไม่ทุกข์หรือ อทุกขมสุข หยาบกว่าอุเบกขา

อุปะ(ใกล้) +เอก(1) + ข (0) ความใกล้ที่สุดก็คือ 1 กับ 0 ใกล้ที่สุดคือ 1 ตัวมีและ 0 คือตัวไม่มี ก็จบที่ตัวมีและตัวไม่มีตามที่พระพุทธเจ้าสอนว่าคนก็ต้องอาศัยสิ่งที่มีและไม่มีนี่แหละ คือโลกสมุทัยคือมี และโลกนิโรธคือไม่มี พระไตรปิฎกเล่ม 16 ข้อ 43 ยังมีชีวิตอยู่ก็อาศัย 2 อย่างคือ มีและไม่มี คนที่ยืนอยู่ใน 0 คือไม่มีแล้ว ก็คือจิตเป็นอุตุนิยามได้แล้ว เป็นอุตริมนุสธรรม เหนือกว่าปุถุชนคนธรรมดา เป็นคนจบ คนสำเร็จ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า งานอโศกรำลึก 2564 วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2564 ( 15:53:31 )

อทุกขมสุข หรืออุเบกขามีความละเอียดลอออย่างไร 

รายละเอียด

สุขทุกข์นี้เขาเข้าใจกันยากมาก เพราะว่าสุขทุกข์เป็นโลกียะ ถ้ารู้สุข รู้ทุกข์ เป็นอริยะ 

สุขทุกข์เป็นโลกียะ พอมาเรียนรู้ความสุขความทุกข์และความสุขความทุกข์ดับหมดก็จบโลกียะเป็นพระอรหันต์เลย ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ อทุกขมสุข หรืออุเบกขา จิตมีอุเบกขานิรันดรด้วย ไม่ได้เดานะ อุเบกขาไม่ใช่เดา เป็นอจินไตย แต่มีความละเอียดละออ ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา ที่ท่านแยกไว้ใน ธาตุวิภังคสูตร 

ปริสุทธาคือ บริสุทธิ์จากกิเลส ปริโยทาตา ยิ่งบริสุทธิ์แข็งแรงจากกิเลสมากขึ้น มุทุ จิตมีคุณสมบัติเป็นธาตุจิต 2 สภาพทั้ง เจโตและปัญญา ไวเร็ว นิ่ง ยิ่งไวยิ่งนิ่งๆๆๆ ซึ่งอธิบายแยกไม่ได้ มุทุ ทั้งนิ่งและไวๆๆ เป็นจิตที่ มุทุ การแปลโดยพยัญชนะวรรค ว่าอ่อน อาตมาแปลว่าจิตหัวอ่อน ทำให้เป็นก็ง่าย ทำให้ฉลาดก็เร็วทั้งสองสภาพ ทั้งเจโตและปัญญา เร็ว เจริญ เพราะจิตเจริญจึงมีกัมมัญญา มีอัญญาคือจิตฉลาดของโลกุตระ อัญญธาตุมาเป็นอัญญา กัญญา ปัญญา ชัญญา อะไรพวกนี้ ยังไม่ลงลึกในพยัญชนะเหล่านี้ อาตมารู้ในรากฐานพยัญชนะโดยมีสภาวะรองรับ เขาเรียนมาไม่เหมือนกับอาตมา เขาเรียนไวยากรณ์ตามวจีวิพากษ์ วากยสัมพันธ์ตามสมัยใหม่ ไม่ใช่รากฐานเดิม รากฐานเดิมไม่มีไวยากรณ์ เป็นธรรมชาติสภาวะเกิดตามภาษาธรรมชาติและผู้รู้มาเรียบเรียง ตอนนี้ไวยากรณ์เขาเรียนกันมาผิดเพี้ยนกันก็เลยแปลสภาวะผิดเพี้ยนไปด้วย แต่ไม่เป็นไร อาตมารู้ว่ามันเป็นความจำเป็นที่ต้องเป็นอาตมาต้องมาแก้มันเป็นสัมภาระวิบาก ที่ต้องทำ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม ทำไมพ่อครูพาชาวอโศกลงสู่สนามการเมือง วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 19 กุมภาพันธ์ 2564 ( 04:57:28 )

อทุกขมสุข เวทนี โย สัมผัสโส

รายละเอียด

สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา

หนังสืออ้างอิง

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 50


เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2562 ( 06:44:55 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 04:03:43 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:56:40 )

อทุกขมสุข ไม่ใช่อุเบกขา

รายละเอียด

ก็อย่างที่เรียนรู้เวทนา รู้ความจริงตามความจริงเป็นเวทนาเดียว รู้ความจริงตามความเป็นจริงหนึ่งเดียว ก็จบได้ 

เพราะฉะนั้นที่พูด “อทุกขมสุข ไม่ใช่อุเบกขา” 

อุเบกขาเป็นจิตสะอาดจากกิเลสโง่ มันโง่สุขมันโง่ทุกข์ 

คำว่าไม่สุขไม่ทุกข์ ก็หมายความว่า คุณก็ยังมีภาวะของสุขของทุกข์อยู่

ทีนี้ เมื่อภาวะของสุขของทุกข์ยังอยู่คือยังไม่เลิกไปเลย คุณทำให้ไม่มีสุขก็ไม่มีทุกข์ก็ไม่มีเลิกไปเลยเท่ากับคุณทำให้จิตมีปัญญา แล้วไอ้ตัวที่โง่คือตัวกิเลสทำให้กิเลสสลายออกไปจากจิตหมดเลย ให้ไม่มีความเป็นกิเลส แม้แต่กิเลสไปติดความไม่สุขไม่ทุกข์ก็ไม่มี จึงเป็นจิตสะอาด ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา เกินกว่าจะฟังแล้วเข้าไปถึงรายละเอียดของสภาวะคำเหล่านี้ได้ง่าย ยาก

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 21 ตอบปัญหาให้พ้นความสุขคือความโง่ วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 24 ธันวาคม 2564 ( 22:00:59 )

อทุกขมสุขต่างจากอุเบกขาอย่างไร

รายละเอียด

อทุกขมสุข จะเป็นไวพจน์กับคำว่าอุเบกขา ซึ่งต่างกัน อุเบกขาคือรู้ด้วยปัญญา ทำให้กิเลสมันออกไปหมดจนกระทั่งบริสุทธิ์ จิตบริสุทธิ์ตัวแรก ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา 

จิตอุเบกขาไม่มีกิเลส ก็ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์อย่างถาวรอย่างดี แต่ไม่สุขไม่ทุกข์ที่ไม่รู้เลย กดข่มเฉยๆ ที่เรียนหลับตาสะกดจิตก็ได้แค่ไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่ได้อุเบกขา อุเบกขาลึกกว่า อทุกขมสุข คือ รู้กิเลสแล้วฆ่ากิเลสตายไปจากจิต จึงจะเป็นอุเบกขา

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 23 ความมหัศจรรย์ของการแยกกายแยกจิตได้ วันจันทร์ที่ 10 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 25 มกราคม 2565 ( 21:19:12 )

อทุกขมสุขที่เป็นอุเบกขา

รายละเอียด

ของพระพุทธเจ้านั้น อ๋อ.. อทุกขมสุข ที่เป็นอุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะจิตสะอาดจากกิเลส อุเบกขา ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา 

มันมีความเหมือนกันตรง กายเหมือนกันสัญญาเหมือนกัน แต่มันต่างกันที่สัมมาทิฏฐิและมิจฉาทิฏฐิ เห็นไหม 

เพราะฉะนั้นในวิญญาณฐิติข้อที่ 5 6 7 สัมมาทิฏฐิ อากาสา นัญจายตนะ คือ ความว่าง อากาศ นั้นอย่างหนึ่ง เป็นรูป 

วิญญานัญจายตนะ นั้นก็อย่างหนึ่ง เป็น นาม 

ระหว่างรูปกับนาม ระหว่างอากาศกับวิญญาณนี้ ไม่มีนิดหนึ่งที่ต้องการไม่ให้มีเรียกว่า สิทธัตถะ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ภาคค่ำ เรื่อง กาย งานปลุกเสกพระแท้ๆของพุทธ ครั้งที่ 45 วันจันทร์ที่ 10 เมษายน 2566 แรม 5 ค่ำ เดือน 5 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 09 พฤษภาคม 2566 ( 09:59:14 )

อทุกขมสุขเวทนา

รายละเอียด

1. จิตไม่สุขไม่ทุกข์ 

2. อารมณ์ไม่สุขไม่ทุกข์ คือเฉยๆ หรือกลางๆ

หนังสืออ้างอิง

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 115-118


เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2562 ( 06:46:17 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 04:04:59 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 20:32:31 )

อธรรม

รายละเอียด

1. ภาวะที่ยังมี หรือยังทรงอยู่ที่เป็นฝ่ายไม่ดีทั้งหลายทั้งปวง ทั้งหยาบ – กลาง – ละเอียด 

2. ในความเป็นคนไม่ควรมีภาวะนั้นหรือสิ่งนั้นในตน ทั้งภาวะภายนอก โดยเฉพาะภาวะภายใน(คือใจ)ตนเลย

3. ความตกต่ำของสิ่งซึ่งทรงไว้เป็นแก่นชีพในตัวเรา (ความเสื่อมของเรา , เราตกต่ำลง ชั่วลง เลวลง ไม่เจริญขึ้น)

หนังสืออ้างอิง

ค้าบุญคือบาป หน้า 274

คนจะมีธรรมะได้อย่างไร / เราคิดอะไร ฉบับ 287 หน้า 43

คนจะมีธรรมะได้อย่างไร / เราคิดอะไร ฉบับ288 หน้า 42


เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2562 ( 06:48:20 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 04:06:27 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:57:30 )

อธรรมสุดฉลาดสร้างเฉโกอัจฉริยะ!

รายละเอียด

“เฉโก”จึงคือ ความฉลาด ซึ่งเป็นความฉลาดคนละโลกกับ“ปัญญา”กันเลย ที่สามารถมีได้ถึงขั้นอัจฉริยะทีเดียว แต่เป็น“ความฉลาด”ที่ร้ายกาจมาก เพราะจะซับซ้อนด้วยเล่ห์ที่สุดยอดแห่งความฉลาด ทำทุกข์ให้ตน “หลงทำสุข”ให้ตน ให้สังคมคนที่ครองตนด้วย“โลกียธรรม”มาตลอดกาลนานซึ่งคนผู้อยู่ใน“โลกียธรรม”นั้นออกจาก“โลก”ที่เต็มไปด้วยอำนาจลาภยศสรรเสริญสุขไม่ได้อยู่นั่นแหละ 

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ รวมเปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อ 109 หน้า 110


เวลาบันทึก 15 มิถุนายน 2564 ( 20:55:56 )

อธิ

รายละเอียด

1. ยิ่ง ๆ ขึ้น 

2. การรู้กับการทำได้ตามที่รู้ความยิ่ง ความเหนือกว่า อันคือโลกุตรจิตแท้

3. ยิ่งขึ้น ,สูงขึ้น 

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 488 ,ทางเอก ภาค 3 หน้า 453,เปิดโลกเทวดา หน้า 58


เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2562 ( 06:49:24 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 04:07:45 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 13:39:29 )

อธิกรณสมถะ 7

รายละเอียด

คือ วิธีระงับข้อวิวาท (อธิกรณ์) ที่เกิดขึ้นแล้ว

1. สัมมุขาวินัย คือ เมื่อเกิดการวิวาทกัน ก็ให้พร้อมเพียงกันประชุมโดยพร้อมหน้า

     แล้วพิจารณาตามแบบแผนธรรม ให้ข้อวิวาทนั้นระงับลงได้ต่อหน้ากัน

2. เยภุยยสิกา คือ หากไม่อาจระงับข้อวิวาทในที่นั้นได้ ให้พากันไปยังอาวาส (ที่อยู่)

     ซึ่งมีภิกษุมากกว่าแล้วพร้อมเพรียงกันประชุมในที่นั้นพิจารณาตามแบบแผนธรรม

    ให้ข้อวิวาทนั้นระงับลงได้ ด้วยการตัดสินตามเสียงข้างมาก

3. สติวินัย คือ มีการโจท (กล่าวหา) ภิกษุ (อรหันต์) ด้วยอาบัติ (ความผิด) หนัก สงฆ์ต้องใช้ข้อวิวาทระงับลง

     ด้วยการถือว่า ภิกษุผู้เป็นอรหันต์นั้นเป็นผู้มีสติเต็มที่ย่อมไม่ทำผิด จึงยกฟ้องเสีย

4. อมูฬหวินัย คือ มีการโจทภิกษุ (ผู้หายเป็นบ้าแล้ว) ด้วยความผิดหนัก (ในขณะที่เป็นบ้าอยู่)

     สงฆ์ต้องให้ข้อวิวาทระงับลง ด้วยการถือว่าภิกษุนั้นขณะเป็นบ้าอยู่ ย่อมเป็นผู้หลงขาดสติกระทำไป ให้ยกฟ้องเสีย

5. ปฏฺญญาตกรณะ คือ การระงับข้อวิวาทด้วยการปรับความผิดของจำเลย ตามคำที่จำเลยยอมรับผิดตามสัตย์

6. ตัสสปาปิยสิกา คือ การระงับข้อวิวาทด้วยการลงโทษตามความผิด แม้จำเลยจะพูดกลับกลอกไปมา กว่าจะจำนนยอมรับผิดก็ตาม

7. ติณวัตถารกวินัย คือ การระงับข้อวิวาทในความผิดเบา ที่ได้ประพฤติล่วงเกินกัน

     โดยใช้วิธีแบบกลบไว้ด้วยหญ้า คือตัดตอนยกเลิกเสียไม่ต้องชำระสะสางความเดิม

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม  14 " สามคามสูตร" ข้อ  57-64

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก 


เวลาบันทึก 06 กรกฎาคม 2562 ( 12:41:13 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 15:17:25 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:57:57 )

อธิกรณสมถะ 7

รายละเอียด

การระงับอธิกรณ์ มี 7 อย่าง คือ

1. ความระงับอธิกรณ์ทั้ง 4  นั้น  ในที่พร้อมหน้าสงฆ์  ในที่พร้อมหน้าบุคคล  ในที่พร้อมหน้าวัตถุ  ในที่พร้อมหน้าธรรม  เรียกว่า สัมมุขาวินัย

2. ความที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมติแก่พระอรหันต์ ว่า  เป็นผู้มีสติเต็มที่  เพื่อจะยกไว้ไม่ให้ใครโจทด้วยอาบัติ  เรียกว่า สติวินัย 

3. ความที่สงฆ์สวดประกาศให้ยกเว้นแก่  ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว เพื่อจะไม่ให้ใครโจทด้วยอาบัติที่เธอทำในขณะเป็นบ้า   เรียกว่า อมูฬหวินัย

4.  การปรับเอาผิดตามคำสารภาพของจำเลย  รับเป็นสัตย์  เรียกว่า ปฏิญญาตกรณะ

5.   การลงโทษแก่ผู้ผิด  เรียกว่า ตัสสปาปิยสิกา

6.   ความตัดสินเอาตามคำของคนหมู่มากเป็นประมาณ  เรียกว่า เยภุยยสิกา 

7.    ความให้ประนีประนอมกันทั้ง 2  ฝ่าย  โดยกลบปัญหาไว้ไม่ต้องชำระความเดิม เรียกว่า ติณวัตถารกวินัย

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 05 สิงหาคม 2562 ( 21:23:14 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:38:16 )

อธิกรณสมถะ 7

รายละเอียด

คือวิธีระงับข้อวิวาท(อธิกรณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว

1. สัมมุขาวินัย คือ เมื่อเกิดการวิวาทกัน ก็ให้พร้อมเพรียงกันประชุมโดยพร้อมหน้า แล้ว พิจารณาตามแบบแผนธรรม ให้ข้อวิวาทนั้นระงับลงได้ต่อหน้ากัน

2. เยยยสิกา คือ หากไม่อาจระงับข้อวิวาทใน ที่นั้นได้ ให้พากันไปยังอาวาส(ที่อยู่) ซึ่งมีภิกษุ มากกว่า แล้วพร้อมเพรียงกันประชุมในที่นั้น พิจารณาตามแบบแผนธรรม ให้ข้อวิวาทนั้นระงับลงได้ ด้วยการตัดสินตามเสียงข้างมาก

3. สติวินัย คือ มีการโจท(กล่าวหา)ภิกษุ(อรหันต์)ด้วยอาบัติ(ความผิด)หนัก สงฆ์ต้องให้ข้อวิวาท ระงับลง ด้วยการถือว่า ภิกษุผู้เป็นอรหันต์นั้น เป็นผู้มีสติเต็มที่ ย่อมไม่ทําผิด จึงยกฟ้องเสีย

4. อมูพหวินัย คือ มีการโจทภิกษุ (ผู้หายเป็นบ้าแล้ว) ด้วยความผิดหนัก (ในขณะที่เป็นบ้าอยู่) สงฆ์ต้องให้ ข้อวิวาทระงับลง ด้วยการถือว่า ภิกษุนั้นขณะเป็นบ้าอยู่ ย่อมเป็นผู้หลงขาดสติกระทําไป ให้ยกฟ้องเสีย

5. ปฏิญญาตกรณะ คือ การระงับข้อวิวาทด้วยการปรับความผิดของจําเลย ตามคําที่จําเลยยอมรับผิดตามสัตย์

6. ตัสสปาปิยสิกา คือ การระงับข้อวิวาทด้วยการลงโทษตามความผิด แม้จําเลยจะพูด กลับกลอกไปมา กว่าจะจํานนยอมรับผิดก็ตาม

7. ติณวัตถารกวินัย คือ การระงับข้อวิวาทในความผิดเบา ที่ได้ประพฤติล่วงเกินกัน โดยใช้วิธี แบบกลบไว้ด้วยหญ้า คือตัดตอนยกเลิกเสีย ไม่ต้องชําระสะสางความเดิม

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 14“สามคามสูตร” ข้อ 57-64


เวลาบันทึก 15 มีนาคม 2565 ( 03:27:52 )

อธิกรณ์ 4

รายละเอียด

1.   ความเถียงกันว่า  สิ่งนั้นเป็นธรรม  สิ่งนี้เป็นวินัย สิ่งนี้ไม่ใช่ธรรม-ไม่ใช่วินัย  เรียก วิวาทาธิกรณ์
2.  ความโจทกันด้วยอาบัตินั้น ๆ  เรียก อนุวาทาธิกรณ์
3.  จัดการอาบัติทั้งปวง  เรียก อาปัตตาธิกรณ์
4.  กิจที่สงฆ์จะพึงทำ  เรียก กิจจาธิกรณ์

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2562 ( 13:55:09 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:39:20 )

อธิจิต

รายละเอียด

1. จิตที่ขาดกิเลส ตัณหา อุปาทาน 

2. การสร้างจิตให้เจริญยิ่งขึ้น

3. จิตอันยิ่ง 

4. จิตเจริญ 

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 305, สมาธิพุทธ หน้า 95, หน้า 250, คนคืออะไร? หน้า 492


เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2562 ( 06:50:42 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 04:09:16 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 13:41:16 )

อธิฏฐาน

รายละเอียด

ตั้งใจ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 298


เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2562 ( 06:51:28 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 04:10:03 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:58:46 )

อธิฏฐานบารมี

รายละเอียด

มีฐานที่ดี ที่สูงยิ่งๆ  มีหลักอันมั่นคงขึ้นๆ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 146


เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2562 ( 06:52:13 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:59:02 )

อธิฏฐานะ (ในบริบทของฌาน)

รายละเอียด

การสั่งสมผลฌานให้ตกผลึกตั้งมั่นขึ้นในจิต

หนังสืออ้างอิง

จากกำไร-ขาดทุนแท้ของอาริยชน / เราคิดอะไร ฉบับ 265


เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2562 ( 06:52:51 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 04:12:42 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 16:59:25 )

อธิบาย 2

รายละเอียด

อาตมาพยายามประคองชีวิตอยู่ให้ยาวๆ นานๆ เพื่ออธิบาย 

  1. ศาสนา 

  2. ประชาธิปไตย 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภุมิ บ้านราช วันพุธที่ 12 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 05 กันยายน 2563 ( 09:14:55 )

อธิบาย 3

รายละเอียด

3 อันใหญ่ๆที่ทั่วโลกเขาเข้าใจ 1. การเมือง 2. เศรษฐกิจ 3. สังคม จะอยู่เพื่ออธิบาย 3 อย่างนี้ไปเรื่อยๆ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 12 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 05 กันยายน 2563 ( 09:15:37 )

อธิบาย สะเก็ด เปลือก กระพี้ แก่น

รายละเอียด

ทีนี้มาพูดถึงเปลือก ก็ขออธิบาย สะเก็ด เปลือก กระพี้ แก่น เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยมในลาภและความสรรเสริญ เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีลาภสักการะและความสรรเสริญ  ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ไม่ปรากฏ มีศักดาน้อย เขาย่อมมัวเมา ถึงความประมาท เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้วย่อมอยู่เป็นทุกข์ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นอยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือก ละเลยสะเก็ดไปเสีย   ตัดเอากิ่งและใบถือไป สำคัญว่าแก่น…

มหาสาโรปมสูตร ล.12  ข.347-352 ศีลเป็นสะเก็ด สมาธิเป็นเปลือก ปัญญาเป็นกระพี้ วิมุติเป็นแก่น ดอกใบผลเป็นลาภสักการะสรรเสริญ ในกระบวนการของโลก พระพุทธเจ้าท่านเปรียบธรรมะเหมือนกับต้นไม้ ผู้ที่จะได้แก่น ของต้นไม้ แก่นนี้คือวิมุติ ปัญญาคือกระพี้ สมาธิคือเปลือก ศีลคือสะเก็ด นี่คือต้นไม้ และผู้ที่มาบวช มาบวชเพื่อต้องการหาแก่นคือหาวิมุติ คือนิพพานของต้นไม้ แต่เสร็จแล้วมาเจอต้นไม้ ไม่เห็นต้นไม้แม้แต่สะเก็ดก็ไม่เอา ไปเอาใบเอาดอกเอาผล คือลาภยศสรรเสริญสุข อยู่ข้างบนนู้น พวกพญาครุฑทั้งหลาย ตาสูงนะพวกนี้ ไม่มองต่ำ เหมือนมีคนสองคน ไทยกับฝรั่งไปเดินที่สนามหลวง คนไทยมองเห็นกองขี้อยู่ข้างหน้า คนไทยจะพูดขี้ก็ดูหยาบ เลยพูดว่า มูลๆๆ คือมูลขี้สัตว์ ฝรั่งนึกว่า มูลคือพระจันทร์ ฝรั่งก็เลยมองไปข้างบน เดินไปก็เหยียบขี้เลย

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ใครคือผู้ถึงแก่น ใครเป็นผู้หลงกิ่งใบดอกผล วันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 03 สิงหาคม 2565 ( 09:19:04 )

อธิบายขยายความถึงรากศัพท์

รายละเอียด

อาตมาเป็นผู้อธิบายความถึงรากศัพท์เหล่านนี้ในยุคนี้ วิ คือ 3 สภาพ  สูงยิ่งก็ได้  กลางก็ได้ ต่ำก็ได้  ต้น กลาง ปลาย  ก็ได้  ไม่ก็ได้ยิ่งก็ได้กลางๆ ก็ได้  วิ คือ 3 ตัว สำคัญมาก  วะ คือ พฤติกรรมของพลังงาน ย ร ล ว คือ ตัวที่4 ของพลังงานเศษวรรค  มี 3 เส้า  แล้วมีตัวที่ 4  เป็นพลังงานเก่งกว่า สามเส้าออกมา ว  ยังไม่ใช่ ภ ตัว จ คือ เศษวรรค  แต่ถ้าเข้าใจละเอียด ว. ละเอียดสุขุมรูปกว่า ภ. อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งไม่มีใครอธิบายขยายความถึงรากศัพท์พวกนี้ในยุคนี้  พูดไปแล้วเหมือนอวดตัว อวดตน  แต่ย้ำให้รู้ว่าอาตมาเป็นผู้รู้อันนั้นจริงๆ  มาทำขณะนี้  อย่ารังเกียจอาตมานักเลย  บอกความจริงอันนี้

ที่มา ที่ไป

พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 18 ตุลาคม 2562 ( 16:34:01 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:40:48 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 17:00:42 )

อธิบายความทุกข์ 6 อย่างที่เลี่ยงไม่ได้ ข้อที่ 1

รายละเอียด

ความทุกข์อีก 6 อย่างที่เลี่ยงไม่ได้

ก. ทุกข์ที่เลี่ยงไม่ได้ (ทุกข์อันเกิดจากกาย) 

1. สภาวทุกข์ ทุกข์ประจำสังขาร เกิด แก่ เจ็บ  ตาย คนจะมีความทุกข์นี้ เกิดเป็นชีวิตขึ้นมาแล้วก็พยายามโตขึ้น ถึงขั้นแก่บางคนก็ตายก่อนแก่ ตายตั้งแต่ตอนเด็ก ตายตอนหนุ่มสาว ตายในระหว่างกำลังเป็นวัยทำงาน เป็นวัยแข็งแรงอย่างบีนี้ อายุ 45 กำลังเป็นวัยสร้างสรรทำงานแต่ก็ตาย เกิดแก่แล้วก็ตาย ไม่มีใครเลี่ยงได้เรียกว่าสภาวทุกข์

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 24 ศึกษาความผูกพัน-ความสัมพันธ์ กรณี บี-ประทับใจ วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม 2566 ขึ้น 10 ค่ำเดือน 7 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2566 ( 15:41:48 )

อธิบายความทุกข์ 6 อย่างที่เลี่ยงไม่ได้ ข้อที่ 2

รายละเอียด

2. นิพัทธทุกข์ ทุกข์อยู่เนืองนิตย์ คือ หนาว ร้อน หิว กระหาย ปวดอุจจาระ  ปวดปัสสาวะ ร่างกายเรามีความรู้สึกมีการกระทบ มีร้อนมีหนาวกระทบอยู่กับธรรมชาติใครก็เลี่ยงไม่ได้ มันร้อนเกินก็เป็นทุกข์ มันหนาวเกินไปก็เป็นทุกข์ เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ที่จะอยู่กับสิ่งแวดล้อม มันร้อนมันหนาว หรือมันกระทบ มันเจ็บมันปวด เป็นแผลเกิดขึ้นต่างๆนานา มันปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ อั้นไว้ก็เป็นทุกข์ มันเลี่ยงไม่ได้หรอก นิพัทธทุกข์ 

เป็นพระพุทธเจ้าก็ต้องมีร้อน มีหนาว มีหิว มีกระหาย เพื่อที่จะเอามาบำบัดร่างกายถ้ามันขาดแม้เราไม่อยาก แต่มันก็ต้องกระหายเอามาบำบัดตามควร ถ้าไม่ให้มัน มันก็ไม่ได้เหตุปัจจัยก็เหี่ยวแห้งก็ตาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะอย่างนี้เป็นต้นมันต้องมีมันเป็น นิพัทธทุกข์ มันเลี่ยงไม่ออก

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 24 ศึกษาความผูกพัน-ความสัมพันธ์ กรณี บี-ประทับใจ วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม 2566 ขึ้น 10 ค่ำเดือน 7 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2566 ( 15:44:29 )

อธิบายความทุกข์ ที่เลี่ยงไม่ได้ ข้อที่ 3

รายละเอียด

3. อาหารปริเยฏฐิทุกข์ ทุกข์ในการหากิน-การทำงาน คือการแสวงหา จะต้องหาอาหารมาเลี้ยงชีพ จะต้องช่วยตนเอง แม้คนอื่นจะหามาให้ เราก็ต้องพยายามกิน อย่างอาตมาต้องแสวงหาความมีชีวิตต้องกินให้มัน ไม่กินให้มันก็อยู่ไม่ได้ มันก็ฝืนก็เป็นทุกข์ถ้าไม่อยากกินก็เป็นทุกข์ เราก็รู้ความจริงเป็นทุกข์แบบนี้เรียกว่า อาหารปริเยฏฐิทุกข์ ผู้ที่จะต้องพากเพียรให้มีชีวิตอยู่ ถ้าเราไม่ต้องการแต่เราควรจะอยู่มันก็ต้องกิน  

หรือแสวงหางานการ ถ้าไม่ทำงานการก็ไม่ใช่คนยิ่งกว่าเดรัจฉานก็ต้องแสวงหาการงานทำ งานที่สร้างสรรมันก็ลำบากมันก็ทุกข์เราก็รู้ความจริงที่ต้องทำต้องจำเป็นจำนน มันก็ควร 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 24 ศึกษาความผูกพัน-ความสัมพันธ์ กรณี บี-ประทับใจ วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม 2566 ขึ้น 10 ค่ำเดือน 7 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2566 ( 15:51:56 )

อธิบายความทุกข์ ที่เลี่ยงไม่ได้ ข้อที่ 4

รายละเอียด

4. พยาธิทุกข์ อวัยวะเจ้าการทำหน้าที่ไม่เป็นปกติ มีความทุกข์เพราะว่าความเจ็บป่วย อวัยวะเจ้าการไม่สมดุล มันเจ็บมันป่วยมันขัดข้อง มันขาดแคลน มันไม่สมดุล อย่างอาตมานี้เลือดลมไม่สมดุลอยู่ข้างใน เจ็บจี๊ดจ๊าดข้างใน ตรงที่แขนที่ขาที่โน่นที่นี่ วันนี้ก็เจ็บตรงนี้หลังคอก็ปวดร้าวๆขึ้นมา เขาก็เอายาทาให้หน่อย นวดให้หน่อย ก็ค่อยยังชั่วแล้ว มันก็เป็นพยาธิทุกข์ 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 24 ศึกษาความผูกพัน-ความสัมพันธ์ กรณี บี-ประทับใจ วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม 2566 ขึ้น 10 ค่ำเดือน 7 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2566 ( 11:48:37 )

อธิบายความทุกข์ ที่เลี่ยงไม่ได้ ข้อที่ 5

รายละเอียด

5. วิปากทุกข์ ทุกข์เพราะผลกรรม เลี่ยงวิบากเก่าไม่ได้ อันนี้เป็นอจินไตยไม่ต้องคิด เราทำมาแล้ว มันเป็นวิบาก ชาตินี้มีวิบาก วิบาก มันมาถึงมันก็ต้องทุกข์ อย่างอาตมามีวิบากหนักหนาสาหัส ไปเนื่องจากอวัยวะมันไม่ดี มีกระเปาะอะไรขึ้นมาเบียดบังเส้นเสียงเส้นลม ทำให้ไอ มันก็เป็นวิบาก และเป็นอย่างที่หมอผ่าไม่ได้ด้วยถ้าหมอผ่าได้ป่านนี้ผ่าออกไปนานแล้ว นี่หมอผ่าไม่ได้ มันเสี่ยงมาก มันติดกับหลอดลมที่จะหายใจเลย เสี่ยงมากเลย จะไปปะผนังหลอดลมมันติดกับผนังหลอดลมปะไม่ได้ แล้วจะปล่อยให้ผนังหลอดลมรั่วก็ไม่ได้ มันก็เลยเป็นวิบากที่หนักกับอาตมา เป็นทุกข์ที่เลี่ยงไม่ได้ อาตมายังมีวิบากพวกนี้อยู่ก็ดีแล้ว นอกจากพวกนี้แล้วอาตมาก็ไม่เจ็บไม่ป่วยที่เป็นโรคร้ายแรงเท่าไหร่เลยในชีวิตมา 

ที่จริงเคยเป็นโรคอยู่ 2 โรค 1. เป็นกาฬโรค 2.เป็นไทฟอยด์ ตอนเป็นกาฬโรค ยายบอกว่าตายไปแล้ว 15 วินาทีเลย ชัก ไม่หายใจ แลบลิ้นยาวออกมา ยายก็ร้องไห้แล้ว พับไปเลยเสร็จแล้วก็ฟื้นขึ้นมา อาตมาจำได้ตอนนั้นเหมือนกับเข้าสนามรบ เป็นเด็กอยู่เลย อยู่ประมาณชั้นม. 2 เดี๋ยวนี้ก็ประมาณป.6 หายจากโรคแล้วก็หัวโกร๋นผมร่วงเลย 

2. มาเป็นโรคไทฟอยด์ ประมาณอยู่ม. 8 ปีแรกเลย อยู่กับพี่ล้วน ควันธรรม อาศัยอยู่กับเขาทำงานเลี้ยงลูก ทำกับข้าวให้เขา เราก็เรียนหนังสือไป เป็นโรคไทฟอยด์ ก็เกือบตายเหมือนกัน สลบไป ไม่รู้ตัวไปหนึ่งวันแล้วก็ฟื้นขึ้นมาหาย หัวโกร๋นอีกเหมือนกัน 2 ครั้งเป็นวิบากที่อาตมาเจอในชีวิต เป็นวิบากที่เลี่ยงไม่ได้ ไม่ได้อยากเป็น แล้วก็เกือบตาย นอกนั้นก็ไม่มีโรคอะไรหนัก ก็มีที่คออย่างที่ว่า 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 24 ศึกษาความผูกพัน-ความสัมพันธ์ กรณี บี-ประทับใจ วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม 2566 ขึ้น 10 ค่ำเดือน 7 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2566 ( 11:51:41 )

อธิบายความทุกข์ที่เลี่ยงไม่ได้ ข้อที่ 6

รายละเอียด

6. ทุกขขันธ์ ทุกข์รวบยอดเพราะการประชุมแห่งขันธ์ 5 อันยังอาศัยมีชีวิตอยู่ ขันธ์นี่คือหมู่กอง ได้มันเป็นกองทุกข์ มีรูป มีเวทนา มีกาย มีความรู้สึก มีสัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นทุกข์ มีขันธ์ทั้ง 5 เป็นทุกข์ มันมีสิ่งที่มันเป็นอาการของจิตต่างๆ จิตสัมพันธ์กับอื่นๆเรียกว่า รูป แล้วก็กลายเป็นความรู้สึก เป็นการกำหนดรู้เป็นหน้าที่ของเจตสิกต่างๆ แล้วก็ปรุงแต่งสังขารรวมตัวกันเรียกเต็มๆว่า วิญญาณ ก็มันมีอยู่มันยังไม่ ปรินิพพานเป็นปริโยสาน ยังไม่ตายสูญเกิดมาต้องมีพวกนี้ 

แม้ไม่มีรูปเป็นวิญญาณล่องลอยสัมภเวสีไม่มีใครเห็นรูป แต่ก็มีเวทนา มีความรู้สึก มีสัญญากำหนดรับรู้ของตัวเองอยู่ ปรุงแต่งเป็นวิญญาณของตัวเอง แต่อยู่กับตัวเองไม่ได้พบกับใคร ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับใคร มีอยู่กับวิบาก ถ้าเป็นวิบากที่ตัวเองอวิชชาตัวเองไม่รู้เรื่องไม่รู้ตัวแล้วก็ไปตามที่เราคิดเราปรุงแต่งจะดิ้นออกจาก อยากหาที่เกิด อยากหาตาเห็น จมูกได้กลิ่น อยากหาลิ้นได้รับรส อยากมีกายสัมผัสกับอะไร อยากมันไม่หยุดหรอก เหมือนกับคนนอนหลับนี่มันต้องตื่นมา พอนอนพอสมควรแล้วก็ต้องตื่นมาหาอะไรมาบำเรอตา,หู,จมูก,ลิ้น,กายสัมผัสเสียดสี หลงว่ามันเป็นความสุขหลงว่ามันเป็นความน่าได้น่ามีน่าเป็น มันก็เป็นธรรมดาธรรมชาติอย่างนั้นคนที่ไม่รู้ 

นอกจากมันเบื่อมันทุกข์มากก็อยากจะตาย ตายไปแล้วมันยังไม่หมดกิเลส มันก็จะมีอยู่นั่นแหละ เสร็จแล้วก็ไปอยากดิ้นรนใหม่ยิ่งโง่อยากจะดิ้นรน เห็นว่าถ้ามีตากระทบรูป หูกระทบเสียงพวกนี้แหละเป็นสุข ก็ยิ่งดิ้นรนอยากจะหาที่เกิด ดิ้นอยากจะมีตาหูจมูกลิ้นกาย เป็นสัตว์นรกเรียกว่า จิตวิญญาณที่ตายไปแล้วเป็นสัตว์นรก ที่มันดิ้นรนอยากได้ตาหูจมูกลิ้นกาย ซึ่งมันไม่มี มันก็เลยดิ้นรนที่รวมเรียกด้วยศัพท์ว่าดิ้นรนหาที่เกิด คือหาที่ที่จะมีตาหูจมูกลิ้นกายครบ นั่นแหละตายไปแล้วเป็นสัตว์สัมภเวสีดิ้นหาที่เกิดร่างเกิดที่มีครบตา จมูก ลิ้น กาย มันเป็นความทุกข์ดิ้นรนแล้วตามวิบากมันจะไม่ได้ ถ้าไปมีวิบากที่จะต้องได้รับนรกอเวจีต้องไปตกทุกข์ดิ้นอยู่นั่นแหละ ก็ดิ้นจนกระทั่งมีวิบากอื่นที่ตนเองฝังไว้ในสัญญา มีอาฆาตมีพยาบาท มีแก้แค้น มีอยากได้อยากมีอยากเป็น แล้วมันก็ไม่ได้ 

อยากได้แล้วไม่ได้ไม่รู้แล้ว อวิชชาด้วย ก็ดิ้น อยากมากดิ้นมาก แล้วก็ไม่มีทางออก ไม่มีทางได้ จะขาดใจก็ไม่มีใจจะขาด เพราะมันไม่มีชีวิตชีวะ ไม่มีลมหายใจอะไร มันไม่ต้องใช้ตับปอดไส้พุงอะไรมันไม่ต้องใช้ มันมีแต่นามธรรม พวกเราก็คงนึกออกยาก แต่มันทุกข์ชนิดที่เรียกว่า มันโง่ มันดิ้นรนในสิ่งที่มันเป็นไปไม่ได้ 

แล้วมันอยากได้สิ่งที่มันเป็นไปไม่ได้ มันก็ดิ้น แล้วก็ไม่มีทางอื่นนอกจากความทุกข์อาการจิตของตัวเอง อาตมาจึงบอกว่า ทุกข์กระแทก ฆ่าทำร้ายทำลายอาการจิตของตนเอง ใช้ภาษาเรียกอันนี้ใช้พยัญชนะเรียกอันนี้ มันโง่ขนาดนั้นมันไม่รู้ มันอยากทำลายสิ่งนั้นเพราะคิดว่าทำลายแล้วมันจะได้เปลี่ยน เปลี่ยนออกมามี อยู่อย่างนั้นมันไม่มีสิ่งที่ตนเองอยากได้ก็เลยจะเปลี่ยนสภาพนั้น ออกมาเพื่อให้มันมีสิ่งที่ตัวเองคิดว่าจะได้ แต่มันเป็นไปไม่ได้อีก มันก็เลยแต่เจ็บปวด ยิ่งทุกข์ยิ่งเจ็บปวด ยิ่งทุกข์ยิ่งดิ้นรน 

เหมือนกับสัตว์ตัวที่มันดิ้นรนออกจากกรงขัง ก็ยิ่งกระแทกกรงไปเรื่อยๆมันยังไงอย่างนั้นอยู่ เสร็จแล้วมันก็ตาย กระแทกจนมันต้องตายเพราะมันกระแทกก็จะมีแต่ความกระทบกระเทือน ความเจ็บความแตก ความทำลายตาย ตายแล้วมันก็ไม่มีตาย แล้วมันจะเป็นอย่างนั้นอีก มันหนักกว่าเก่าเพราะโง่ไง เพราะอวิชชา มันก็ทำอย่างนั้นอีกหนักกว่าเก่า ความทุกข์ซ้ำซาก ความทุกข์หนักขึ้นหนักขึ้นโดยไม่รู้จักทุกข์ ยิ่งเป็นทุกข์ทับถมทุกข์ นี่คือโง่ 

พวกเราได้รับการศึกษาพวกนี้แล้ว เราจะไม่ทำทุกข์ทับถมทุกข์หรือไม่ทำทุกข์ทับถมตน เราจะมีทางออก เราจะมีมิตรดีสหายดีสังคมสิ่งแวดล้อมดี เราจะมาเกิดเร็ว จะมาเกิดอย่างนั้นอย่างนี้ มาหาที่เกิดแล้วจะมีที่เกิด ได้ที่เกิดที่ดีด้วย มาอยู่ในหมู่กลุ่มแวดวงที่ดีด้วย ไม่ไปอยู่ในแวดวงที่ยิ่งโง่ ไปพาเราเจอวิบากสารพัดนี่ไม่ มันมีวิบากดีเป็นกุศลวิบากมันก็จะมา อย่างบีนี่ ไม่ต้องห่วงหรอกไม่ไปไหนไกลเดี๋ยวก็มาเกิดในนี้แหละ ดูแลกันก็แล้วกันแล้วอย่าไปขี้ตู่กันมากว่าคนนี้แหละบีมาเกิด เดี๋ยวจะเป็นบีหลายคน เด็กน้อย เกิดมาในนี้หลายคนเดี๋ยวก็เป็นบีไปหมด มันก็จะไปไม่รอด ความทุกข์ที่เลี่ยงได้อย่างที่พระพุทธเจ้าท่านสอน โศก ปริเทว ทุกข โทมนัส อุปายาสะ(คือความคับแค้นใจอึดอัดขัดเคืองอยู่ในใจ) มันจะลดลงจนกระทั่งหายหมด 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 24 ศึกษาความผูกพัน-ความสัมพันธ์ กรณี บี-ประทับใจ วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม 2566 ขึ้น 10 ค่ำเดือน 7 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2566 ( 11:59:30 )

อธิบายความหมายของเพลงชีวิตหมายเลข 9

รายละเอียด

เพลงชีวิตหมายเลข 9 

"ถ้าสิ่งใดยิ่งน้อย และหายากแล้วรู้สึกว่า สิ่งนั้นยิ่งมีค่า และมีอำนาจสูง เช่น "เพชร" เช่น "เงิน" ของกระยาจก  ณ โลกนั้น ก็คือ โลกียะ หรือ แดนปุถุชน ! 

ถ้าสิ่งใดยิ่งน้อย และหายาก แล้วรู้สึกว่า สิ่งนั้นยิ่งมีค่า และ มีอำนาจสูง เช่น "ความโลภ" เช่น "เงิน" ของมหาเศรษฐี ณ โลกนั้นแหละ คือ โลกุตระ หรือ แดนอาริยชน !" 

สรุปง่ายๆ พวกเราเป็นเศรษฐีหรือเป็นกระยาจก... เศรษฐี เพราะฉะนั้นความรู้สึกที่เป็นกระยาจก แม้เขาจะร่ำรวยเขาก็ยังอยากจะได้มากขึ้นเขาก็คือกระยาจก แต่คนที่มีอย่างพวกเราไม่รวย หายาก ก็หายากอยู่ไม่รวยก็หายากมีน้อย หายาก แต่จิตไม่ได้มีความโลภมาก ขยันหมั่นเพียรสร้างสรร เพราะฉะนั้นคนที่จะเข้าใจสภาวะธรรมที่เป็นโลกุตระแบบนี้นี่ มันต้องชัดเจนทั้งรูปธรรมและนามธรรม

รูปธรรม เราก็มาเป็นคนจนจริงๆ นามธรรมเราก็มาเป็นคนจนจริงๆ แต่เป็นคนที่ไม่ทุกข์ไม่ร้อน ไม่เดือด ไม่ฟุ้งไม่อะไร ก็อยู่กับความเป็นจริงในสภาวะปัจจุบัน ขยันหมั่นเพียรสร้างสรรแล้วก็รู้ความจำเป็นของชีวิต และรู้จักพอ แต่เป็นคนมีวรรณะ 9 มีชีวิตอยู่สบายแล้ว สุภระ พัฒนาชีวิต สุโปสะ ด้วยโลกุตรธรรมได้ง่ายแล้วก็เป็นคนมักน้อย ก็ชัดเจนแล้วน้อยก็ดีแล้ว สันโดษ พอ นอกนั้นก็ขัดเกลาตนเอง สัลเลขะ ธูตะ การก็เจริญขึ้นเรื่อยๆคนที่มีปัญญาเห็นก็น่าเลื่อมใส ปาสาทิโก และอปจยะ ไม่สะสมแต่ขยัน วิริยารัมภะ

พวกเรานี้แม้ใครจะขี้เกียจมาก่อน พอปฏิบัติธรรมแล้วจะขี้เกียจน้อยลง ขยันขึ้น ขยันขึ้น จริงๆ มันจะรู้สึกเราจะรู้สึกจริงๆ จะรู้สึกว่าเราทำไมขี้เกียจ ไม่ดีนะ ยิ่งมาอยู่กับหมู่กับฝูงพากันขยันไปเฉยเลย จริง นอกจากคนอายุมากคนป่วยมันก็เป็นไปตามธรรมมันจะเป็นลักษณะของธรรมชาติที่ดี มันจะพัฒนาขึ้นไปอย่างนั้นอย่างนั้น 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ คนอยู่เหนือกาละต้องชนะปฏิจจสมุปบาท วันพุธที่ 3 มกราคม 2567 วันแรม 7 ค่ำเดือนอ้ายปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 15 มีนาคม 2567 ( 18:43:29 )

อธิบายความเป็นธรรมดา 4 ประการที่สัมมาทิฏฐิ

รายละเอียด

เวทนา 108 คือกรรมฐานของพุทธ มันลึกซึ้งนะ คำตรัสของพระพุทธเจ้าแค่นี้ก็เถอะ คนเราเกิดมานี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่าก็เป็นธรรมดา มีความเกิดเป็นธรรมดา ความแก่เป็นธรรมดา ความเจ็บเป็นธรรมดา ควาตายเป็นธรรมดา 

เป็นธรรมดาก็หมายความว่า เป็นปกติสามัญ มันจะต้องเป็นอย่างนี้ เป็นตถตา มันจะต้องเกิดมา แล้วก็แก่ แล้วก็เจ็บป่วย ผู้ที่ไม่เจ็บไม่ป่วยเลย การเกิดมาแต่ละชาติและไม่เจ็บไม่ป่วยนี่ โอ้โห สุดยอด เป็นผู้ที่หลุดพ้น ชีวิตนี้ปลอดโปร่งมาก ความตายเป็นธรรมดา สุดท้ายก็จะตาย 

ความตาย ตายไม่จริง ความตายนี้ตายไม่จริง คำว่าตายคำนี้ ภาษาไทยว่าตาย ก็รู้กันดีว่าตายคือสิ้นลมหายใจ แล้วก็เอาไปใช้ในทางภาษาธรรม ว่ามันคือตาย คือสิ้นหมด หมายถึงกิเลสสิ้นหมด คือตาย แล้วก็ไปเข้าใจว่ากิเลสหยุด มันแค่หยุด มันแค่พักยก หยุด ก็ไปเชื่อว่ามันตาย โดยไม่เข้าใจ 

สายนั่งหลับตาหรือว่าสายที่ใช้ตรรกะ เออมันก็เป็นเช่นนั้นเอง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อย่าไปยึดมั่นถือมั่น ใช้คาถา ใช้ภาษาพวกนี้แล้วก็วาง จิตเขาวางอย่างสายท่านพุทธทาส วาง วาง อันนี้คือสมถะลืมตา วาง วาง วาง สายท่านพุทธทาส อย่าไปคิดมัน ซึ่งผิด พระพุทธเจ้าท่านรู้จักมีสติรู้ว่ามันคิดอย่างนี้ มีเหตุปัจจัยอย่างนี้ แล้วมีธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจัยให้ดี วิจัยให้ออกเลยว่ามันประกอบไปด้วยสังขาร นี่แหละมันเป็นจิตวิญญาณ แยกแล้วจะเป็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็จับคู่ทีละคู่ เรียกว่านามรูป นามรูปรวมกันก็จะเป็นอายตนะ 

ก็ปฏิบัติอายตนะนี่แหละคือตัว 2 มันจะปรุงแต่งกันเนียนมากเลยนะ ถ้าไม่รู้มันก็จะกลายเป็นตัวแท่งก้อน เป็นตัวเวทนา เป็นตัวตัณหาอุปาทาน ภพชาติ อยู่ในนี้ทั้งหมด ผู้ที่สามารถแยกอายตนะเป็น 2 ได้ จะเห็นว่ามีเวทนา เมื่อมีผัสสะเกิดเวทนา เกิดความรู้สึกเมื่อมีการสัมผัส เมื่อมีการสัมผัสปั๊บ มันก็จะเกิดเวทนาให้เรารู้ ปรุงแต่งปุ๊บ เป็นเวทนา เป็นอารมณ์ รวมเป็นหนึ่งเลย เอกสโมสรณา ในตัวอัตโนมัติ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ สังคมของคนที่ตายจากกิเลสจนเป็นพระอาริยะ วันศุกร์ที่ 9 กันยายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 05 ตุลาคม 2565 ( 11:31:24 )

อธิบายคำว่ากายคำว่าบุญคำว่าฌานชัดในรอบที่เป็นอรหันต์ได้

รายละเอียด

ในพุทธศาสนาเมืองไทยก่อนอาตมาจะมาเกิด เข้าใจว่า กาย คือภายนอกเป็นวัตถุเท่านั้น ไม่ได้เข้าใจว่า กาย นี้มีจิตร่วม กายนี้ไม่มีนามธรรมร่วมไม่ได้เป็นมิจฉาทิฏฐิ 

กาย อยู่เอกเทศ เป็นสาระของวัตถุเท่านั้น ผิด ก่อนอาตมามาเกิด เข้าใจว่า กายคือ สาระทางวัตถุเท่านั้น อาตมามาเกิดแล้วก็มาสาธยาย มาเปิด อาตมาไม่ได้เปิดทันทีด้วย มาเปิดเผยรายละเอียดของกายนี้ภายหลัง แรกๆ ก็ไม่ได้อธิบาย คำว่า บุญ ก็ดี คำว่า กาย ก็ดี อธิบายสมาธิมาก่อนทั้งนั้น ฌานก็ยังไม่ได้อธิบายชัดนัก แต่ตอนนี้นี่ ได้ขยายความมาหมดแล้ว คิดว่าหมดแล้วด้วย หมดในรอบที่จะเป็นอรหันต์ได้ หมดในสาระที่จะเป็นอรหันต์ได้ หมด 

เพราะฉะนั้นฟังอาตมาแล้วจึงมีอรหันต์เกิด พวกเราจึงเกิดอรหันต์ แล้วมีอรหันต์จริง ซึ่งเขายังเข้าใจยาก เข้าใจไม่ง่ายความเป็นอรหันต์คือผู้มีนิพพาน พ่อครูบอกให้ค้นหาที่เขียนไว้ในหนังสือปัญญา 8 เล่ม 2 เพื่อจะใช้อธิบาย สอุปาทิเสสนิพพาน กับ อนุปาทิเสสนิพพาน

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ อาการ ลิงค นิมิต อุเทส ของ นาม 5 รูป 28 วันพุธที่ 11 พฤษภาคม 2565 บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2565 ( 12:33:16 )

อธิบายคำว่าปัญญา

รายละเอียด

ในยุคนี้ศาสนาพุทธผ่านมา 2500 กว่าปี อาตมาเกิดมาในยุคนี้ อาตมาจึงมาอธิบายคำว่าปัญญา ก็ขอยืนยันว่ามั่นใจว่าที่อธิบายไปถูก การเอาความเฉลียวฉลาดทางโลกีย์ มาปนเปกับความเฉลียวฉลาดทางปัญญามันก็แยกไม่ออกมันไม่ชัดเจน คุณก็เสียประโยชน์ คนที่ไม่ยอมแยกว่าปัญญามันเป็นความเฉลียวฉลาดโลกุตระ คนไม่ทำความเข้าใจในปัญญาโลกุตระ ความเฉลียวฉลาดโลกุตระมันเป็นอย่างนี้เอง มันต่างจากโลกียะอย่างนี้ หากไม่สามารถแยกอันนี้ได้คุณไม่มีทางบรรลุนิพพาน 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน 2563


เวลาบันทึก 26 พฤศจิกายน 2563 ( 11:42:57 )

อธิบายคุณลักษณะพระอรหันต์อย่างสมณะดินดี และสิกขมาตุผุสดี

รายละเอียด

สมณะดินดีหรือสิกขมาตุผุสดี นั้น มีคุณลักษณะ รู้จักเวทนาของตน ก็ทำให้กิเลสของตนเองเบาบางและลดได้ เมื่อลดได้แล้วก็เป็นคนไม่มีกิเลส เจ้าตัวเขาก็ บางทียังไม่ค่อยรู้ตัวเลย อย่าว่าแต่ใครเลยพระสารีบุตรเองยังไม่รู้เลย ไม่ใช่พระสารีบุตรไม่รู้ตัว พระสารีบุตรไม่รู้กิเลสของลูกศิษย์ ให้อาตมาไปรู้กิเลสของท่านดินดี ท่านผุสดี กระนั้นต้องคบคุ้นกัน ถ้าไม่คบคุ้นกันก็ไม่ได้ 

ขนาดพระสารีบุตรยังมีหลักฐานว่าลูกศิษย์ของท่านบรรลุอรหันต์แล้วพระสารีบุตรยังไม่ทราบเลย เพื่อนภิกษุก็เลยบอกว่าอาจารย์ ท่านองค์นี้ท่านบรรลุอรหันต์แล้ว มีอยู่พระสูตรหนึ่งอย่างนี้เป็นต้น มันไม่ง่าย ขนาดพระสารีบุตรนี้ยังเป็นได้ จะให้อาตมาไปชี้บ่งทีเดียวได้ยังไง แต่มันพอรู้ได้ คบคุ้นกัน พระพุทธเจ้าบอกว่าอาศัยความคบคุ้นกันจะเข้าใจ รู้ว่าคนนี้มีกิเลสหรือไม่มีกิเลส 

พุทธเจ้าไม่เคยสอนอย่างนั้น ส่งจิตไปยังงั้น อย่างนั้นมันเป็นโมเม มันจะต้องรู้จักกายกรรม วจีกรรม เชื่อมไปถึงมโนกรรม แล้วเราก็จะพิจารณาได้ จาก กายกรรม วจีกรรม มันก็เชื่อมไปถึงจิตไปถึงประธานแสดงออกว่าอย่างนี้มีหรือไม่มี อย่างนี้เป็นต้น 

แต่คนที่บรรลุธรรมแล้วนี่ มันเข้าใจคนบรรลุธรรมยาก คนที่ยังเต๊ะท่าเหมือนกับอย่างไม่มีกิเลส คือคนที่ยังเต๊ะท่า คนที่กิเลสหมดแล้วไม่มีเต๊ะท่า จะอนุโลมปฏิโลมกับคนที่สัมพันธ์กัน คนนั้น คนนี้มาเกี่ยวข้องกัน เราก็อนุโลมปฏิโลมคุยกันสัมผัสกัน ก็อนุโลมปฏิโลม จะมีรู้จักอนุโลมปฏิโลม เพราะฉะนั้นก็เหมือนกับคนมีกิเลสกับคนนี้คนนี้ เขาจะดูไม่ออกหรอก เขาจะอ่านตามอาการ ซึ่งผิด อ่านตามอาการ 

และยิ่งผู้ที่หมดกิเลสแล้ว ไม่มีตัวตน ใครจะว่ามีกิเลส ใครจะว่าอย่างไรก็ว่าไปสิ ก็เราไม่มีกิเลสแล้ว ไม่มีตัวตนก็ไม่มีปัญหาอะไร อย่างนี้เป็นต้น 

เพราะฉะนั้นอาตมาก็ตอบได้ประมาณนี้ก็แล้วกัน 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ คนอยู่เหนือกาละต้องชนะปฏิจจสมุปบาท วันพุธที่ 3 มกราคม 2567 วันแรม 7 ค่ำเดือนอ้ายปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 15 มีนาคม 2567 ( 19:33:32 )

อธิบายถึงความจบ อธิบายถึงความต่าง

รายละเอียด

อาตมาใช้พยัญชนะอ้างอิงตามพระพุทธเจ้า ไม่ได้อ้างอิงเอง เป็นสัจจะเอาของพระพุทธเจ้ามาขยายความ มันก็ยังไม่ใช่จะเข้าใจได้ง่ายๆ ที่จริงมีสิ่งที่ยืนยันอ้างอิงแล้วแต่คุณยังไม่รู้ว่ามันมีจริงขึ้นมา อะไรมาอ้างอิงสิ่งที่พูดนี้บ้าง ในสิ่งที่มันปรากฏขึ้นได้ ที่มนุษย์เข้าใจและเอาไปทำขึ้น ลหุตาคือความเบา มุทุตา คือสภาพของสิ่งที่เป็นทั้ง เจโตและปัญญา ทุกสิ่งที่เป็นสภาพ 2 มุทุนี่ สภาพ 2 ซ้อนแน่นอยู่ใน มุทุนี่ เป็นตัวกลางของจุดศูนย์กลางของความรู้ความสามารถของสมรรถนะอะไรทุกอย่าง อยู่ในนี้ ทั้งเจโตทั้งปัญญา มุทุ แล้วเอามาแสดงเป็นกัมมัญญา เป็นการกระทำที่มีอัญญา อัญญาคือ อัญญธาตุ ที่เป็นพหูพจน์ไปจนกระทั่งเป็นปัญญา อย่างนี้เป็นต้น อาศัยพยัญชนะอธิบายขยายสภาวธรรมไปให้ฟัง 

เพราะฉะนั้นอาตมาวันนี้มาอธิบายถึงความจบนั้นอย่างหนึ่ง มาอธิบายถึงความต่าง ความต่างที่เป็นสภาพเงินก็ดีกับอาหารก็ดี ความต่างของการสร้างอาวุธกับการเสียสละพืชพันธุ์ พวกสร้างอาวุธมาหารายได้กับสร้างพืชพันธ์ุธัญญาหารไปเสียสละ ฟัง 2 คำนี้ให้ชัดมันมีแนวลึกซ้อน สร้างอาวุธไปเป็นรายได้มาเลี้ยงตนมาสร้างอำนาจให้แก่ตน กับมาสร้างพืชพันธุ์ธัญญาหารไปเสียสละ ให้ผู้อื่นไม่ใช่ไปให้ตัวเองเลย การสร้างอำนาจสร้างอาวุธมาสร้างรายได้ให้แก่ตน เห็นไหมว่ามันเทียบกันอย่างไรชัดเจนไหม อะไรมันร้ายแรงอะไรมันเป็นประโยชน์คุณค่ากว่ากันอย่างไร 

ฉะนั้นรายได้กับการขายอาวุธกับค่าการเสียสละอาหารให้แก่มนุษย์ มันเป็นคู่ที่เทียบเคียงกันแล้วจะเห็นได้ พวกคุณฟังนี้เข้าใจไหมแล้วจะไปอยู่ฝ่ายไหน ...ฝ่ายอาหาร เอาให้จริงนะ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศนาธรรมต้อนรับปีใหม่ 2566 งานตลาดอาริยะครั้งที่ 41 วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม 2566 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 09 มกราคม 2566 ( 12:49:20 )

อธิบายทานสูตร

รายละเอียด

พตปฎ. ล.23 ข.49 ทานสูตร เทวดา 6 อย่าง พรหม 1 อย่าง คือ ทำทานแล้ว 

1. ยังมีความหวังให้ทาน : สาเปกฺโข(มุ่งหวัง) ทานํ เทติ 

2. มีจิตผูกพันในผลให้ทาน : ปฏิพทฺธจิตฺโต(ผูกพัน) ทานํ เทติ 

3. มุ่งการสั่งสมให้ทาน : สนฺนิธิเปกฺโข(สั่งสม) ทานํ เทติ 

4. ให้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปจักได้เสวยผลทานนี้  : เปจฺจ ปริภุญฺชิสฺสามีติ (ให้ข้ามภพชาติ) ทานํ เทติ 

ข้อที่ 1. ทำทานต้องไม่มีสาเปกโข ข้อที่ 2. ทำทานแล้วไม่มีความเกี่ยวข้อง ปฏิพัทธจิตโต ไม่มีอะไรเกี่ยวผูกพันเกี่ยวกับการทาน ข้อที่ 3. สั่งสม สันนิธิ สั่งสมสิ่งที่เอาไปทำทานเป็นกุศล ซึ่งมันผิดเลย ของที่ผิด ยิ่งอัน 4.ไปให้พ่อมแม่กินใช้ชาติหน้า หรือตัวเองหวังเอาไว้กินชาตินี้ชาติหน้า นั้นคือ มิจฉาทิฏฐิทั้งหมด ทำทานอย่างมิจฉาทิฏฐิ

อันนี้จนกระทั่งศาสนาพุทธยุคนี้มันเสื่อม ไม่ได้มีอธิบายกันเลย ดีนะอยู่ในพระไตรปิฎกมีชัดเจน อยู่ในทานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 23 ข้อ 49 

อธิบายซ้ำอีกบ้างก็ดี ฟังดีๆ นะ  

พระสารีบุตรทูลถาม

สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้ทานเช่นนั้นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก 

 “ให้แล้ว” คือทำทานแล้วนี้ ทานมีผลนะ ทานมิจฉาทิฏฐิก็มีผลได้นรก ได้ภพชาติ ถ้าทานเป็นสัมมาทิฏฐิมีอานิสงส์ละกิเลส ทำทานนี่มิจฉาทิฏฐิก็ตาม มีผล ผลกุศล กุศลเป็นนรก ฟังให้ดีนะ กุศลเป็นนรกเพราะอวิชชา ไปเข้าใจว่าได้ภพได้ชาตินี้เป็นผล 

เพราะฉะนั้น โลกุตระแล้วยังได้ภพได้ชาติอยู่ก็ยังไม่ใช่โลกุตระ ยังมีสวรรค์มีนรกอยู่ เพราะสวรรค์กับนรกอันเดียวกัน คู่กันอีกเหมือนกัน มิจฉาทิฏฐิก็เป็นนรก บอกว่าสัมมาทิฏฐิแบบโลกีย์ก็ว่าเป็นสวรรค์ บำเรอสุข สุข สุข ภพของสวรรค์ก็ยิ่งมากยิ่งโต ศาสนาพุทธไม่มีนรกไม่มีสวรรค์ ใครยังหลงนรกหลงสวรรค์อยู่ยังไม่ใช่พุทธแท้ ยังเป็นพุทธข้างๆ เคียงๆ พุทธ แปะๆ แพะๆ อยู่ พุทธแค่เป็นหมัดเป็นเล็น ยังไม่ได้เนื้อได้หนังอะไรนะ

อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้ทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ

พระพุทธเจ้าตรัสสอนพระสารีบุตร (พ่อครูอ่าน พตปฎ.)

พ. ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังมีความหวังให้ทาน สาเปกฺโข(มุ่งหวัง) ทานํ เทติ 

มีความหวัง นี่คือสาเปกโข ทำทานหรือให้ทานแล้ว มีความหวัง มีสาเปกโข 

ต่อมาอันที่ 2 มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ปฏิพทฺธจิตฺโต(ผูกพัน) ทานํ เทติ 

ผูกพันที่เราทำทาน ยังยึดผลอยู่ว่าจะได้ผลจากทาน เรียกว่า ปฏิพัทธจิตโต ทานัง เทติ ทำทานแล้วก็หวังผล 

มุ่งการสั่งสมให้ทาน สนฺนิธิเปกฺโข(สั่งสม) ทานํ เทติ 

อันที่ 3 สั่งสมเลยทีนี้ ใส่กระป๋องออมสินเลย ใส่เซฟตู้คลังสะสมเลย มุ่งการสะสมให้ทาน สันนิธิเปกโข ทานแบบมีการ มุ่งสะสม 

ให้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปจักได้เสวยผลทานนี้ เปจฺจ ปริภุญชิสฺสามีติ ทานํ เทติ 

อันที่ 4 นี้ทำทานไว้กินชาติหน้าชาติไหนแล้วแต่ เปจฺจ ปริภุญชิสฺสามีติ 

นี้คือให้ทานแล้วมีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก 

ไม่มีอานิสงส์ทั้ง 4 แบบนั้นแหละ ไม่มีอานิสงส์ที่เป็นพุทธเป็นโลกุตระนะ ไม่มีผล ไม่มีอานิสงส์ คำว่า ผล เอาไปใช้ทางโลกีย์ คำว่า อานิสงส์ ไปใช้ทางโลกุตระนะ 

นี้คือทานที่มีผล แต่ไม่มีอานิสงส์ นะ ยังมีความหวังให้ทาน จิตผูกพันในผลให้ทาน มุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปจักได้เสวยผล ไปมีภพมีชาติ ไม่เป็นนิพพาน มันยังมีภพมีชาติต่อ อยากไปเสวยผลชาตินี้ชาติหน้า

เพราะฉะนั้นการทำใจในใจอย่างสัมมาทิฏฐิ ปฏิบัติให้ตรง เข้าใจให้ถูก ปฏิบัติให้ตรงจึงจะมีผล ขออภัยไม่ใช่มีผลเท่านั้นมีอานิสงส์ อานิสงส์ก็มีผล แต่ว่าเป็นผลโลกุตระตามศาสนาพุทธเจ้า 

นี่ก็ขยายความ หลวงพ่อซันเต๋อศึกษาดีๆ มาสนใจธรรมะ ฟังธรรมะอาจจะขัดหูมากอยู่นะ เพราะว่าคงไม่เคยได้ยินอย่างที่อาตมาได้พยายามพูดนี่แหละ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ถือศีลให้รู้รูปนาม ให้เกิดปัญญาจนอวิชชาหายไป วันพุธที่ 29 พฤศจิกายน 2566 แรม 2 ค่ำเดือน 12 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 12 มีนาคม 2567 ( 18:57:25 )

อธิบายธรรมะโดยใช้คำพื้นๆ

รายละเอียด

สติปัฏฐาน 4 ยังไม่ได้กำชับไว้ว่า ถ้าไม่ใช่สติปัฏฐาน 4 แล้วไม่ใช่ธรรมะพระพุทธเจ้า อันนี้กำกับไว้เลยว่าเป็น นี่แหละ ถ้าไม่มี 3 ข้อนี้ เป็น อปัณกะ คือ ไม่ใช่ของพุทธ ของพระพุทธเจ้าต้องมี 3 ข้อนี้ ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด สำรวมอินทรีย์ โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยค เดี๋ยวจะขยายความให้เป็นภาษาพื้นๆ พระพุทธเจ้าให้อธิบายธรรมะโดยใช้ภาษาพื้นๆ ไม่ใช่เอาภาษาวิชาการพูดกันมากเกินไป ให้อธิบายเป็นภาษาพื้นๆที่คนฟังเข้าใจได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นภาษาปกาเกอะญอ ภาษาอะไรก็แล้วแต่ที่คนจะเข้าใจได้เป็นภาษาพ่อภาษาแม่สามข้อนี้ เข้าใจให้ได้เลยถ้าเผื่อว่าการปฏิบัติธรรมใดๆ ตกไป ไม่อยู่ในกรอบของ 3 ข้อนี้ นั่นไม่ใช่ของพุทธ เพราะฉะนั้นตั้งแต่คุ้มครองทวารอินทรีย์ เป็นภาษาวิชาการ ภาษาแปลมาจากภาษาโบราณ ก็ขอขยายความให้ฟังว่า ทวารอินทรีย์ทั้ง 6 ทวารนี้ คือ ตาหูจมูกลิ้นกายนี้คุณจะต้องระมัดระวัง ตาสัมผัสรูป หูสัมผัสเสียงจมูกสัมผัสกลิ่นลิ้นสัมผัสรส โผฏฐัพพะสัมผัสกายภายนอก แล้วใจ สัมผัส ร่วมด้วย 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 15 เมษายน 2563


เวลาบันทึก 01 พฤษภาคม 2563 ( 11:43:36 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:41:24 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 20:36:03 )

อธิบายนิรุตติภาษา สภาวะแห่ง “อาการ-ลิงคะ-นิมิต-อุเทศ”!

รายละเอียด

ซึ่งกำหนดให้ได้ทั้ง“อาการ-ลิงคะ-นิมิต” ตรงตามที่เราได้ยินได้ฟังมา(อุเทศ) ตรงตามคำสอนของพระศาสดาพระพุทธเจ้ามั้ย?แล้วเรามั่นใจว่าเป็น“ความจริง”หรือไม่? ตรวจความจริงแท้แน่ด้วยตัวเราเองอีกทีด้วยนะ! ไม่ใช่ว่า เราถูกครอบงำทางความคิดของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ดังคำตรัสพระพุทธเจ้าให้อิสระสัมบูรณ์ไว้ใน“กาลามสูตร 10”(พระไตรปิฎก. เล่ม 20 ข้อ 505)

1.“อาการ (ความเคลื่อนไหวหรือกิริยาของจิต)”ตามจริงที่เป็นอยู่นั้นอย่างไร?  

2.“ลิงคะ”ความแตกต่างกัน (เพศ)ไฉน?  

3.เราก็ประมวลเป็น“นิมิต”(เป็นเครื่องหมายเอาเองด้วยการกำหนดตามที่มันมี“รูป”มี“นาม”อย่างนั้นอย่างนี้ไว้ในใจของเราให้แม่นมั่นชัดเจน)ให้ได้ 4.“อุเทศ”(คำอธิบายของพระพุทธเจ้าหรือผู้เป็นครูอธิบายไว้ ก็ตรวจด้วยว่าตรงตามหรือไม่)” 

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ เปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อ 289 หน้า 224


เวลาบันทึก 02 สิงหาคม 2564 ( 14:25:00 )

อธิบายปฏิจจสมุปบาทที่เอามาจากพระไตรปิฎก

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นท่านก็บอกใหม่อีกในปฏิจจสมุปบาท พยัญชนะ “อายตนะ”คุณก็ผิด อย่างที่อธิบายแล้ว ท่านก็บอกอีกว่า มามีผัสสะ มาตั้งหลักใหม่ซะ คุณก็จะมีเวทนา มามีผัสสะคุณจึงจะมีกาย ต้องมีผัสสะทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (คุณ)ก็ไม่อีกแหละ ไม่กระเตื้องอีกแหละ ปฏิจจสมุปบาทไม่รู้เรื่อง ท่องได้แต่พยัญชนะ เก่งขยายความตามอาจารย์ที่อธิบายแค่นั้น ตื้นอยู่กับพยัญชนะ ไม่ได้รู้จักสภาวะ 

ที่อาตมากำลังขยายความนี้เป็นแบบ”อภิธรรม” บรรยายแบบ”ปรมัตถธรรม” บรรยายเข้าสู่จิต-เจตสิก-รูป-นิพพาน โดยไม่ฟังเสียงคำอธิบายของอาจารย์ก่อนๆหรอก อาตมาไม่เอาตามอาจารย์ก่อนๆ อาตมาเอาตามที่อาตมาสื่อให้คุณฟังนี้ คุณจะเข้าใจได้-ไม่ได้ก็ฟังไปเถอะ หรือแม้แต่ข้างนอกอาตมาก็เชื้อเชิญให้ฟัง ไม่ใช่ท้าหรอก 

เพราะฉะนั้นเมื่อมามีผัสสะจึงมีเวทนา จึงจะศึกษาจากเวทนานี้ มันมีตัณหามีอุปาทานนั้นอยู่กับเวทนา คุณต้องแยกตัณหาออก 

ตัณหาเป็นอาการของกิเลสเคลื่อนไหว อุปาทานเป็นอาการของกิเลสเกาะยึดนิ่ง กบดาน ไม่แสดงตัว อุปาทานเป็นกิเลสสะแตติค (Static นิ่ง) ตัณหามันเป็นกิเลสไดนามิค ( Dynamic ไหว) 

นี่อธิบายอย่างภาษาสมัยใหม่ ทันสมัย นำสมัยเข้ากับยุคนี้เลย ไม่มีใครมาอธิบายธรรมะพุทธศาสนาแบบอาตมาหรอก อธิบายกิเลส อุปาทานเป็นกิเลส Static ตัณหามันเป็นกิเลส Dynamic มี ดร. ทางศาสนาพุทธคนไหนอธิบายบ้างล่ะ อาตมาใช้ภาษาสมัยใหม่นี้ เอาภาษาวิทยาศาสตร์มาอธิบาย เข้าใจไหม? รู้สภาวะดีด้วยใช่ไหม? (โยมตอบกันว่า เข้าใจ) เออ 

อาตมาไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นอธิบายติดในพยัญชนะ ไม่แกะพระไตรปิฎกจ๋า แต่อาตมาก็ไม่ได้ออกจากพระไตรปิฎก ขณะนี้กำลังอธิบายปฏิจจสมุปบาทก็เอามาจากพระไตรปิฎกเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ นิยามของเศรษฐศาสตร์ฉบับโพธิรักษ์ วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2566  ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 12 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 16 มีนาคม 2567 ( 16:32:07 )

อธิบายประชาธิปไตย 3 ข้อเกี่ยวกับการเมือง

รายละเอียด

Democracy แปลว่า ประชาธิปไตย เต็มๆ คำธรรมดานี่เอง ทีนี้ Democratic ก็เหมือนกับ Domestic คือความเป็นประชาธิปไตยองค์รวมประชาธิปไตยที่ตีกรอบ ส่วน Democratize คือ ทำให้เป็นประชาธิปไตย Democratic คือ ทำได้แล้วเกิดไปทีละอย่าง โสดาบันก็ได้ความเป็นประชาธิปไตยโสดาบัน เศรษฐกิจเท่ากับโสดาบัน 

สกิทาคามีก็ได้ประชาธิปไตย ความรู้ความสามารถทางเศรษฐกิจเท่ากับสกิทาคามีไป ก็เป็น democratic 

Democracy คือ ความเป็นกลางๆความเป็นประชาธิปไตยทั่วๆไป 

Democratic คือ ความเป็นประชาธิปไตยที่ทำได้ตามกรอบเป็นระดับๆไป 

Democratize เป็นกิริยาอยู่ แปลว่ากำลังทำ ทำให้เป็นประชาธิปไตย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ เคล็ดวิชา 9 ประการ ของจอมยุทธโลกุตระ วันพุธที่ 22 มีนาคม 2566 ขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 23 เมษายน 2566 ( 20:32:04 )

อธิบายภพชาติ ฟังดีๆ 

รายละเอียด

มีคนอยากให้อธิบายภพชาติ ฟังดีๆ  เริ่มต้นตั้งแต่ อวิชชา แปลว่าความไม่รู้ ไม่ใช่ว่า ไม่รู้ว่าทำป่นทำแจ่วทำอย่างไร เตะฟุตบอลเข้าโกลทำอย่างไร ไม่ใช่ไม่รู้อย่างนั้น แต่คือไม่รู้ในสัจจะที่สำคัญยิ่ง คือไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาท คำว่าไม่รู้ อวิชชาคำนี้ ไม่ใช่เอาไปขยายความทั่วไปหมด เช่น ไม่รู้วิธีเตะบอลเข้าโกลก็อวิชชา ไม่ใช่ ไม่รู้วิธีทำแจ่ว ทำป่น ทำลาบคืออวิชชา ไม่ใช่ ไม่ใช่ไม่รู้วิธีโกง คืออวิชชา มันไม่ใช่อย่างนั้น 

อวิชชาคือ ไม่รู้ในเรื่องของ จิต เจตสิก รูป นิพพาน คำว่า สิริมหามายา คำว่าไม่มีนั้น ไม่มีอะไร ไม่มีตัวตน ต้องเข้าใจการลดละตัวตนตั้งแต่ หยาบ กลาง ละเอียด ไป อวิชชาคือตัวไม่รู้ ไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาท ตัวเริ่มต้นคือ ไม่รู้จักสังขาร 

สังขารคือการปรุงแต่ง คำว่าปรุงแต่งเป็นศัพท์วิชาการขึ้นมา มันมีอะไรมาสังเคราะห์สังขาร ปรุง ทำงานร่วมกัน ประชุมกันอยู่แล้วมันก็ทำงานร่วมกัน มีปฏิกิริยาร่วมกันเรียกว่าสังขาร คุณเอาน้ำมา แล้วเอาน้ำตาลมา เอาเกลือ เอาซีอิ๊วมาเทปนกันคนกัน เรียกว่า สังขาร เด็กๆฟังเข้าใจไหม ? คุณเอาน้ำมา เอาน้ำปลามา เอาน้ำส้มมา แล้วมาเทปนกันเข้าไป เอามาคนรวมกันมันก็สังขารร่วมกัน ปรุงปนร่วมกัน

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 55 ธรรมิกราชแจกแจงสังขารในปฏิจจสมปบาท วันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 22 ธันวาคม 2565 ( 19:17:19 )

อธิบายภาวะ 2 ภาวะ 1 และภาวะ 0 อีกที!  

รายละเอียด

“ความจริง” มันต้องไม่ขาด“ภาวะ 2” คือ ไม่ขาดทั้งความเป็น“เทฺว” ไม่ขาดทั้งความเป็น“กาย” ไม่ขาดทั้งบัญญัติทั้งสภาวะแท้ ต้องจัดการ“ภาวะ 2”คือ ธรรมชาติ ให้เหลือ“ภาวะ 1”แล้วก็“ภาวะ 0”จึงจะหมด“ธรรมชาติ” แม้แค่“อยู่เหนือธรรมชาติ”นั้นๆอยู่ก็ยังคือ“ภาวะ 1” ส่วน“ภาวะ 0”นั้นคือ กิเลสดับสนิทแม้มีจิตอยู่นี่ก็สาธยาย“ความจริง”สู่กันฟังไป เท่าที่พอแจกแจงให้รู้กันได้จากความจริงใจแท้ๆของอาตมา ใครได้ประโยชน์ก็สาธุ! 

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ รวมเปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อ 152 หน้า 136


เวลาบันทึก 22 มิถุนายน 2564 ( 05:26:30 )

อธิบายภาวะ 2 ระหว่างโลกียะกับโลกุตระแตกต่างกันตรงไหน

รายละเอียด

ทีนี้ก็มาสาธยายต่อไป ถึงเรื่อง“โลกียะ”กับ“โลกุตระ”นี้แหละ เป็นเรื่องสุดยอด ซึ่งก็คือ“ภาวะ 2”เรื่อง“เทฺว”แท้ๆนะ! 

เพราะ“ความรู้-ความฉลาด”ของคนในโลกนั้นยังเป็นแบบ“โลกียะ” เป็น“เทฺวนิยม”นี่แหละมาก มีอยู่ตลอดกาลนาน ยังไม่ใช่“อเทฺวนิยม” ยังไม่เป็น“โลกุตรธรรม”

 

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ รวมเปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อที่ 11 หน้า 50


เวลาบันทึก 13 มิถุนายน 2564 ( 12:48:09 )

อธิบายภาษาศาสตร์สักเล็กน้อย

รายละเอียด

“สุกต”ส่วนใดที่ดีสุดแล้ว ดีเสร็จแล้ว ดีจบแล้วจะใช้อักษร“ตะ”จากวรรค“ตะฯ”ส่วน“ทุกฺกฏ”ยังใช้อักษรวรรค“ฏะฯ”อยู่เพราะ“ไม่ดี”(ทุ) นั้นมันยังต้อง“มีงานกำจัดเหลืออยู่อีก” แม้จะน้อยๆนิดๆเท่าใดๆ ก็ตาม มันยังไม่“จบกิจ”สัมบูรณ์นั่นเอง นี้คือ รากอักษรทีเดียว ที่ท่านใช้กันอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง“อักษร”หรือ“ไวยากรณ์”สร้างขึ้นจาก“สภาวธรรม”ทั้้งนั้น “สภาวะ”จึงเป็นเนื้อแท้แห่ง“ความจริง” กว่าอักษร-กว่าไวยากรณ์ ด้วยประการฉะนี้

 

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ รวมเปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อที่ 61 หน้า 78


เวลาบันทึก 14 มิถุนายน 2564 ( 20:03:47 )

อธิบายมาตลอดปฏิบัติเข้าถึงโลกุตระต้อง “ลืมตา”!

รายละเอียด

การเกิด“โลกุตรธรรม”ได้นั้นต้องปฏิบัติแบบ“ลืมตา” ซึ่งมี“ศีล”ประกอบกับการปฏิบัติกันอยู่เสมอไม่ขาด ทุกขั้นตอนต้องมี“ศีล”เป็นเครื่องกำหนด และมีการ“สำรวมอินทรีย์ 6” จะได้ทำการกำจัดกิเลสในขณะบริโภคอาหาร ตามบาลีว่า “โภชเนมัตตัญญุตา” และมีการประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ ตามบาลีว่า “ชาคริยานุโยคะ” ไม่ผิดไปจาก“อปัณณกปฏิปทา 3”จริงถูกต้องกันแท้ๆ “สัทธรรม 7”ก็จะได้มีการปฏิบัติจริง “ฌาน 4”จึงจะได้เป็น“ฌานลืมตา”กันจริงๆ โดยมี“วิปัสสนา”ลืมตา  มี“วิชชา 8”กันอย่าง“ลืมตา”เห็นๆแจ้งๆ ไม่ใช่“มืดๆ”งมๆคลำๆกันอยู่แต่ใน“ภวังค์” ดังที่“หลับตา”ปฏิบัติกันมาเนิ่นนาน งมงายหลงยึดถือผิดๆกันอยู่นั้นหลักปฏิบัติธรรมทั้งหลายของพระพุทธเจ้านั้น“ลืมตาปฏิบัติ” ทั้งนั้น ส่วน“หลับตา”นั้นใช้ในการทำ“เตวิชโช”ตรวจสอบ“ผล”ของการปฏิบัติไปว่า ได้แค่ไหน อย่างไรจบกิจหมดสิ้นหรือยัง? ต่างหาก  

การเกิด“โลกุตรธรรม”ได้นั้นต้องปฏิบัติแบบ“ลืมตา” ซึ่งมี“ศีล”ประกอบกับการปฏิบัติกันอยู่เสมอไม่ขาด ทุกขั้นตอนต้องมี“ศีล”เป็นเครื่องกำหนด และมีการ“สำรวมอินทรีย์ 6” จะได้ทำการกำจัดกิเลสในขณะบริโภคอาหาร ตามบาลีว่า “โภชเนมัตตัญญุตา” และมีการประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ ตามบาลีว่า “ชาคริยานุโยคะ” ไม่ผิดไปจาก“อปัณณกปฏิปทา 3”จริงถูกต้องกันแท้ๆ “สัทธรรม 7”ก็จะได้มีการปฏิบัติจริง “ฌาน 4”จึงจะได้เป็น“ฌานลืมตา”กันจริงๆ โดยมี“วิปัสสนา”ลืมตา  มี“วิชชา 8”กันอย่าง“ลืมตา”เห็นๆแจ้งๆ ไม่ใช่“มืดๆ”งมๆคลำๆกันอยู่แต่ใน“ภวังค์” ดังที่“หลับตา”ปฏิบัติกันมาเนิ่นนาน งมงายหลงยึดถือผิดๆกันอยู่นั้นหลักปฏิบัติธรรมทั้งหลายของพระพุทธเจ้านั้น“ลืมตาปฏิบัติ” ทั้งนั้น ส่วน“หลับตา”นั้นใช้ในการทำ“เตวิชโช”ตรวจสอบ“ผล”ของการปฏิบัติไปว่า ได้แค่ไหน อย่างไรจบกิจหมดสิ้นหรือยัง? ต่างหาก  

หนังสืออ้างอิง

เปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 หน้า 433 ข้อที่ 594


เวลาบันทึก 09 มิถุนายน 2565 ( 14:19:01 )

statistics

ติดต่อสอบถาม

Facebook : test

Youtube : Name

Twitter : Name

Line : Name

Telegram : Name

Wechat : Name

Skype : Name

Copyright © 2018 Borvornsocial.net all right are reserved. developer สงวนลิขสิทธิ์