@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก
@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก

อภิธานศัพท์ (Glossary) จัดเป็นฐานข้อมูลด้านโลกุตระที่สมบูรณ์ที่สุดที่คัดมาจากหนังสือ คำเทศน์ ฯ

คู่มือการค้นหาอภิธานศัพท์อโศก หรือ ห้องสมุดโลกุตระ 50 ปี

เอกสาร : https://docs.google.com/document/d/1HLGedxqTAOTOTQKGbO6M4qMremQ8K1jBWKRYDDt6MRQ/edit

วีดีโอ Loom 2 : https://www.loom.com/share/e824e62ec1eb4567848e94af124a7ed5

วีดีโอ Loom 1https://www.loom.com/share/2445744a08e74bca95d2f1d2a0526044

วีดีโอ YouTube : https://youtu.be/QyXcGmzhLmk

 

 

อภิธานศัพท์ (ทั้งหมด) พบ 28,074 รายการ

อุทิศ

รายละเอียด

1. การมุ่งหมาย การเจาะจง

2. เจาะจง , เพ่งเล็งถึง , มุ่งหมาย , เจตนาเฉพาะ

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 325 ,คนคืออะไร? หน้า 438


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:28:43 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:22:13 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 03:59:09 )

อุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติที่ตายไปแล้ว

รายละเอียด

การแปลเป็นแบบตัวตนบุคคลเรา เขาก็ตามความเข้าใจของเขา ก็ถูกตามของเขาไม่ถูกตามปรมัตถ์  ไม่ถูกตามสัจจะที่ควรเป็น พวกเรารู้จักปรมัตถ์แล้ว ก็ทำอันนี้ยังมีประโยชน์คุณค่า เพราะทางโน้นทำก็อย่างไรก็ไม่ถึง  ยกตัวอย่างพ่อแม่ชอบทุเรียน พ่อแม่ตายไปแล้วลูกก็ไปซื้อทุเรียน เอาไปถวายพระบอกว่าให้อุทิศ ส่วนกุศลให้แก่พ่อแม่ที่ตายไปแล้ว เป็นทุเรียนอย่างดีด้วยนะ พระก็ให้อาบน้ำไป  3 ตุ่ม 5 ตุ่ม  ถามว่าทุเรียนออกจากท้องพระไหม ..ไม่ออก..อยากเป็นเศษที่เหลือ ก็ได้ธาตุอาหารไปเลี้ยงขันธ์แต่ ได้อุจจาระออกมา แต่ทุเรียนนี้ให้ตายยังไงก็ไม่แปลงตัวเป็นนามธรรม เป็นธุลีละอองไปถึงจิตวิญญาณ คนที่อุทิศให้เลย นี่เป็นนิยายหลอกโลกรู้ตัวเสียว่าถูกหลอก ถูกล้วงตับกินไส้มานาน ใครไม่เคยถูกล้วง กินตับ กินไส้ มายกมือ เคยทั้งนั้นท่านก็เคย เคยถูกหลอกลวงมาถูกล้วงกินตับกินไส้มา แต่ทุกวันนี้ เขายังหลอกกันเหมือนคนขี้หลอกตกทอง แต่อันนี้ยิ่งกว่า จะอยู่กับชีวิตไปตลอดกาลนาน ว่าอุทิศ ส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย เขาอวดดีว่าอุทิศส่วนบุญให้แก่คนเป็นเขาเรียกบังสกุลเป็น สวดแล้วให้แก่ คนเป็นอันนี้น่าท้าทาย แต่ลองไปถามดูซิ เมื่อคืนเมื่อวานอุทิศทุเรียน 2 ลูกให้คุณไปได้รับไหม? หลวงพ่อก็อิ่มแปล้เลย ดีไม่ดีจะไม่ไหวกินสองลูกเลยสวาปามทีเดียวเลยก็อาการหนัก

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 07 พฤศจิกายน 2562 ( 15:34:20 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 14:36:04 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:44:12 )

อุทิสมังสะ

รายละเอียด

อุทิสมังสะ  คือ สัตว์ที่ถูกฆ่าแล้วเจาะจงให้คนนี้กิน  คนชื่อนี้กินแล้วบาป แต่คนอื่นกินแล้วไม่บาป เป็นการเบี้ยวบาลีเพื่อจะกิน

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายพ่อครู  รายการวิถีอาริยธรรม วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน 2562


เวลาบันทึก 01 ตุลาคม 2562 ( 17:33:36 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 14:37:28 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 03:59:33 )

อุทิสมังสะกับปวัตตมังสะ เป็นเช่นไร

รายละเอียด

ไปสู่อะไรก็ได้ จิตคุณมุ่งหมายไปสู่อะไร อุททิสะ ก็ดี สัญจิจจะ ก็ดี แปลว่า จิตมุ่งหมาย จิตเจาะจง จิตจงใจเจตนามีที่หมาย เจตนามีที่ไปสู่ มีที่จะไปสู่ตรงนี้ตรงนั้นยกตัวอย่างเช่น ชีวกสูตร 5 ข้อ เอาขึ้นมาอธิบายละเอียดอีกที มันละเอียดสุดยอดเลย 

ชีวกสูตร 1. ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมา” อุทฺทิสฺส ปาณํ อารภนฺติ (อุทิศ, อุททิสสะ คือ เจาะจงมุ่งหมายไปที่สัตว์ชื่อนั้น)คำว่า สัญจิจจะ หรือ อุททิสสะ 

ในชีวกสูตรท่านใช้คำนี้ อุททิสสะ แต่มันก็ความหมายเดียวกันกับประโยคว่า สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตุง (สญฺจิจฺจ ปาณํ ชีวิตา โวโรเปตา) ที่อาตมาเคยใช้บ่อยๆ คือจิตมุ่งหมาย หรือจิตมีทิศมุ่ง อุทิสสะ หรือ สัญจิจจะ นี้ จิตมีทิศมุ่ง มุ่งไปสู่อะไร? นี้แหละท่านไปเบี้ยวบาลีกันว่า มุ่งหรือเจาะจง เจาะจงอะไร? นี้แหละท่านไปเลี่ยงบาลี-เบี้ยวบาลีว่า เจาะจงบุคคล บุคคลคือใครใน 5 ข้อ? ก็คือภิกษุหรือพระตถาคต ในข้อที่ 5 เพราะฉะนั้นในเรื่องทั้งเรื่องนี้นะ คือเรื่องของการฆ่าสัตว์ 5 ข้อนี้ คือเรื่องการฆ่าสัตว์เป็นบาป คนที่ทำบาปในการฆ่าสัตว์ ในข้อที่ 5 นี้ มันเลยการฆ่าสัตว์ไปแล้ว ในข้อที่ 4 สัตว์ตายแล้วเอามาทำอาหาร แล้วเอามาถวายภิกษุ ถวายตถาคต ถวายพระพุทธเจ้า ซึ่งมันไม่ใช่เพียงการฆ่าสัตว์แล้ว มันเลยการฆ่าสัตว์แล้ว มันเป็นข้อสุดท้ายที่บาปที่สุด บาปมากกว่าคือ บาปข้อที่ 5 

ไล่มาตั้งแต่ข้อที่ 1 ของชีวกสูตร 

ข้อที่  1. ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมา” (อุทิศ, อุททิสสะ คือ เจาะจงมุ่งหมายไปที่สัตว์ชื่อนั้น) อุทฺทิสฺส ปาณํ อารภนฺติ หรือ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตุง (สญฺจิจฺจ ปาณํ ชีวิตา โวโรเปตา) กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายจงไปนำไก่มา” สัตว์ชื่อนั้น ชื่อไหนก็แล้วแต่ ก็กล่าวชื่อนั้น เอามา ท่านทั้งหลายจงไปนำไก่ นำเป็น นำตัวนั้น เอาอะไรๆ มานั้น ข้อที่ 1 แค่นี้บาปแล้ว ไม่ใช่บุญเลย นั้นแหละๆ ไปกล่าวชื่อสัตว์ขึ้นมา นั้นแหละบาปแล้ว ฟังดีๆ นะ ลึกซึ้งละเอียดมาก 

ข้อที่ 2. สัตว์นั้นเมื่อถูกเขาผูกคอนำมา ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัส ผูกคอ ผูกแขน ผูกขา ผูกอะไรก็แล้วแต่ ผูก นำมา ไปทำให้สัตว์มันทุกข์ กล่าวชื่อสัตว์มันบาปแล้ว แล้วยิ่งไปผูกมันมา นี่หยาบขึ้นอีก ก็บาปทวีคูณเพิ่มขึ้นอีก 

ข้อที่ 3. ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายจงไปฆ่าสัตว์นี้”  เอาละสิ ตอนนี้ให้ฆ่าเลย สั่งฆ่าเลย ถ้าเป็นกฏหมาย ผู้ไปสั่งเขาฆ่านี้ติดคุกยิ่งกว่าผู้ฆ่าเอง 

ข้อที่ 4. สัตว์นั้น เมื่อกำลังถูกเขาฆ่าย่อมเสวยทุกข์โทมนัสผลจากการที่ทำให้สัตว์ทุกข์โทมนัสพวกนี้ มันจึงเป็นบาป เป็นการผูกเวรจองเวรจริง เป็นเรื่องกรรมวิบาก เป็นอะไรต่ออะไรอีกหนักหนาสาหัสเข้าไปอีก ถึงข้อ 4 นี้ก็หนัก บาปที่สุดแล้ว

ข้อที่ 5. ผู้นั้นย่อมยังตถาคตและสาวกตถาคต ให้ยินดีด้วยเนื้อเป็นอกัปปิยะ ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก (ตถาคตํ วา ตถาคตสาวกํ วา อกปฺปิเยน อสฺสาเทติ อิมินา ปญฺจเมน ฐาเนน พหุง อปุญฺญํ ปสวตีติ)
(ชีวกสูตร พตปฎ.ล.13 ข.60)

เพราะฉะนั้น สัตว์ที่ถูกจิตเจาะจงฆ่า ไม่ได้ไปบอกว่าเจาะจงบุคคล แต่ใน 5 ข้อนี้ สัตว์ที่ถูกเจาะจงฆ่า ไม่ใช่ถูกเจาะจงบุคคล ไปเอาแต่ข้อ 5 เป็นภิกษุกับตถาคต ว่า “ผู้นั้นย่อมยังตถาคตและสาวกตถาคต ให้ยินดีด้วยเนื้อ” มันละเอียดลงไปถึงขั้น ทำเสร็จแล้ว ฆ่าแล้ว ทำอาหารอย่างดี เอามาถวายเพื่อที่จะให้มากินเนื้อ แล้วท่านจะได้ติดใจเนื้อสัตว์ ติดใจอาหาร ทั้งๆ ที่ท่านเองไม่ได้ฉันเนื้อสัตว์กันเลย ทั้งภิกษุหรือตถาคต 

“นี้ ลองสิจ๊ะ นกพิราบน้ำแดงนะ เนื้อหมีดำนะ เนื้อเสือดำนะ” ตัวอย่างอะไรอย่างนี้ จะให้ยินดีด้วยเนื้อสัตว์ นี้รวมหมดเลยเป็น อกัปปิยะ ไม่ควรอย่างยิ่งเลยที่จะเอาอาหารเนื้อสัตว์มาถวายภิกษุถวายตถาคต เป็นอกัปปิยะ เป็นสิ่งที่ชาวพุทธไม่ควรกระทำ ข้อ 5 นี้ข้อเดียวก็ผิดหมดแล้ว ใครเอาอาหารเนื้อสัตว์ไปถวายภิกษุถวายตถาคต มันเป็นอกัปปิยะ สิ่งที่ไม่ควร เพราะเนื้อสัตว์ที่จะเอามาเป็นอาหารต้องฆ่ามาทั้งนั้น การที่สัตว์ถูกฆ่า จึงเป็นบาปเต็มรูปแบบเลย เป็น อุทิสมังสะ ไม่ใช่ ปวัตตมังสะ ปวัตตมังสะ คือพระพุทธเจ้าท่านตรัสยกไว้ว่า ปวัตตะมังสะ ถ้าจะกินก็กินได้ มันไม่เป็นโทษเป็นภัยอะไร ซึ่ง ปวัตตมังสะ มี 2 อย่างคือ 

1. สัตว์มันตายเอง ไม่มีใครฆ่า 

2. เดนสัตว์กิน 

สัตว์มันตายเอง ไม่มีใครฆ่า เห็นไหมก็อธิบายกันไว้ อาตมาก็หยิบมาอธิบายต่อ ผู้รู้ท่านก่อนท่านก็อธิบายไว้แล้วนะ สัตว์ที่มันตายเอง มันก็ทิ้งร่างมันแล้ว เดนสัตว์กิน เนื้อสัตว์ที่เป็นเดนสัตว์กิน คือสัตว์มันฆ่ากัน ไม่ใช่ถูกคนเจาะจงฆ่า ที่ถูกฆ่าโดยคนเจาะจงฆ่าสัตว์นี้ เพราะฉะนั้น ปวัตตมังสะคือเนื้อสัตว์จากที่สัตว์มันฆ่ากันเอง มันกินกันเอง มันทำวิบากกันไปแล้ว เพราะฉะนั้นสัตว์ที่จะไปจองเวรผู้ฆ่ามันก็คือสัตว์ตัวที่ฆ่ามัน แต่เราไปเอาเศษเดนเนื้อสัตว์มากิน สัตว์ที่มันเป็นตัวเจ้าของเนื้อ มันก็ไปจองเวรที่ไอ้ตัวฆ่ามันแล้ว มันก็ไม่ได้มาจองเวรคนกิน กินเดนสัตว์เหลือจากสัตวกินแล้ว เป็นเนื้อทิ้งแล้ว เป็นบังสุกุลแล้ว นี้ก็นัยยะละเอียด 

เพราะฉะนั้น ในชีวกสูตรนี้ จึงไม่ได้หมายถึงเจาะจงตัวบุคคล แต่เจาะจงว่าสัตว์ถูกฆ่าโดยคน คนที่ไปเจาะจงฆ่ามันให้ตาย เนื้อสัตว์อย่างนั้นพระพุทธเจ้าบอกว่ากินไม่ได้ก็เท่านั้น ถึงจะถูกต้อง แต่ไปเบี้ยวบาลีไปเป็นว่าเจาะจงบุคคลข้อที่ 5 ข้อเดียว อีก 4 ข้อเอาไปทิ้งไว้ไหนจ๊ะ เจาะจงบุคคลข้อที่ 5 นั้นหมายถึงว่าบาปเสร็จหมดแล้ว บาปเต็มถ้วยแล้ว แล้วเอาบาปเต็มถ้วยมาถวาย เอาบาปมาถวายพระพุทธเจ้าถวายภิกษุทำไม คุณจะบาป คุณก็ไปกินบาปของคุณเอง (คุณสู่แดนธรรมว่า เป็นบาปสองต่อครับ) เออ คุณบาป คุณไปฆ่า คุณไปอะไรทำมา คุณก็เอาบาปของคุณไป แล้วจะเอาบาปนั้นมาให้คนอื่นเขาทำไม เพราะฉะนั้นภิกษุหรือตถาคตรู้ดีอยู่แล้วว่า สัตว์ที่ถูกฆ่าโดยคนนี้  ไม่ใช่ ปวัตตมังสะ ท่านไม่ฉันหรอก แล้วที่ไหนจะมี ปวัตตมังสะ เอามาทำอาหารถวายพระ ก็ไม่มีอีก แล้วคุณจะเอาเนื้อสัตว์มากินจากตรงไหนละ  

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาผ่าอวิชชาหลับตาโง่ๆ วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม 2566 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 30 สิงหาคม 2566 ( 18:10:30 )

อุทเฉทะ

รายละเอียด

1. อัตภาพตายชาติเดียวสูญ

2. ขาดสูญ

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 552 , ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 20


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 16:09:58 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:23:16 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 03:59:59 )

อุทเทส

รายละเอียด

1. ยกขึ้นมาแสดง

2. ชี้แจงแสดงขึ้นมา , ยกขึ้นมาให้รู้ขั้นเห็นได้

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 54 ,ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 124


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 16:09:10 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:02:12 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 04:00:22 )

อุบัติ

รายละเอียด

เกิด , เกิดใหม่ , การเกิด

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 283 , ทางเอก ภาค 2 หน้า 61 , ภาค 3 หน้า 221 , ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 138


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:24:48 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:24:25 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 04:01:21 )

อุบัติเทพ

รายละเอียด

1. เทวดาจริง

2. เทวดาโดยการเกิด หรือเทวดาที่เกิดจากเหตุที่ยึดว่าดีพาเกิด

หนังสืออ้างอิง

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 301,เปิดโลกเทวดา หน้า 16


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:22:13 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:25:53 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 04:01:47 )

อุบัติเทพ คือ

รายละเอียด

อุบัติเทพ คือ ผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิที่จะเกิดเป็น โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ ค่อยๆเรียนรู้ที่จะหมดอวิชชาไปตามลำดับ นี่คือเทวดา

สุดท้าย ที่เป็นเทวดาไม่รู้เรื่องมิจฉาทิฐิกัน เทวดาเป็นรูปเป็นเรื่องเป็นตัวเป็นตน เอามาพูดกันเละเทะหมดเลย ไม่พูดเป็นสภาวธรรมอย่างที่อาตมาพูด เรียนรู้แล้วลดและปฏิบัติได้แล้วเลิกเป็นเทวดา

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ วิญญาณฐิติ 7 ปฏิจจสมุปบาท และวิชชา 8 วันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2566 วันแรม 14 ค่ำเดือนยี่ ปีขาล ที่บวรสันติอโศก


เวลาบันทึก 08 กุมภาพันธ์ 2566 ( 15:23:07 )

อุบัติเหตุไฟช็อต

รายละเอียด

อุบัติเหตุไฟช็อต  คือ  เหตุการณ์ไฟฟ้าช็อตทั้งสองราย  ก็เป็นเรื่องเหตุปัจจัยตามจริง  ผิดพลาดไปบ้าง  มันเป็นทั้งทุกอย่างเลยว่า  ตัวเราระมัดระวังน้อยหรือเป็นที่เหตุปัจจัยองค์ประกอบร่วมไม่ใช่ตัวเราคนเดียวได้  หรือแม้แต่เป็นเรื่องของวิบาก  เราไปโทษถึงวิบากก็ได้  เราเอาที่เจตนา  เจตนาคือ ความตั้งใจ  เหตุปัจจัยประกอบ บวก ลบ คูณหาร  อะไรที่เป็นสิ่งที่ควรที่สุด  เราก็ตั้งใจทำอันนั้น เรียกว่า เจตนา  นี่คือ หลักเกณฑ์ตัดสินกรรมต่างๆ ที่เอาเจตนา  สติ  สัมปชัญญะ  ปัญญาเป็นตัวร่วมกันตัดสินองค์ประกอบ  และทำตามที่เราตัดสิน

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 19 ตุลาคม 2562 ( 14:06:22 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 14:39:51 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:44:59 )

อุบายเครื่องออกจากกิเลส

รายละเอียด

การออกจากกิเลสจะะต้องมีผัสสะเป็นปัจจัย จะต้องมีเวทนาเป็นตัวกรรมฐานเป็นตัวปฏิบัติ ถ้าไม่มีการจับเวทนาในขณะมีผัสสะ ธรรมทั้งสองเหล่านี้ รวมเป็นอันเดียวกันกับเวทนา โดยส่วนสอง (เทฺว ธมฺมา ทฺวเยน เวทนาย เอกสโมสรณา ภวนฺติ ฯ )  ล.10 ข.60 ต้องมี 2 สภาพ มีการปฏิบัติสัมผัสกันอยู่แล้วเกิดเวทนา ต้องเข้าใจนาม 5 มี เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ

คุณไม่มีผัสสะคุณทำใจไม่ได้ มนสิการในมูลสูตร ที่สู่แดนธรรมท้วง คุณไม่แสวงหาแดนเกิด คุณรู้แดนเกิดแล้วมาอยู่ในแดนเกิดแล้ว แต่ไม่ทำใจในใจคุณเอง ไม่มนสิการ คุณทำเป็นด้วยแต่คุณยังไม่ทำ คุณก็ยังเล่นหัวลูบคลำ อยู่กับกิเลส เหมือนกับสิงโต เล่นกับลูกกวาง ยังไม่กินเสียที ทำให้มันอ่อนแรง ทำอย่างนั้นสัตว์มันก็เกิดอะดรีนาลีนนะ มันยิ่งกลัวมันยิ่งไม่ดี กินมันขณะที่มีเอ็นโดรฟินมีสารสุขสิ แต่นี่กินตอนมีสารทุกข์ ขออภัยไปดูถูกสิงโต ที่จริงดูถูกแล้วมันไม่รู้หรอก แต่คนนี้สิ คิดผิด

สรุป พ้นจากสีลัพพตุปาทาน แต่ไม่ทำให้พ้นสีลัพตปรามาส คุณก็ไม่ได้ ผัดผ่อนก็จมอยู่กับสีลัพตปรามาสที่เป็นสัมมามรรคด้วย ในทางที่ถูกแต่ไม่ทำ คนประมาทอย่างนี้ มันน่า เขกหัว เป็นลูกขี้ดื้อ ดื้อจริงๆ ทำไมประมาทเล่นหัวกับโจร ดีไม่ดีอาศัยโจรหากินอีกบาปซ้ำซ้อน ผิดทำผิด จะถูกเข้าคุกก็ไม่รู้ตัว

ที่มา ที่ไป

รายการทำวัตรเช้า งานว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน บ้านราช วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 31 ธันวาคม 2562 ( 16:09:34 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 14:41:25 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:45:30 )

อุบายเครื่องออกจากกิเลสจะต้องมีผัสสะเป็นปัจจัย

รายละเอียด

จะต้องมีเวทนาเป็นตัวกรรมฐานเป็นตัวปฏิบัติ ถ้าไม่มีการจับเวทนาในขณะมีผัสสะ ธรรมทั้งสองเหล่านี้ รวมเป็นอันเดียวกันกับเวทนา โดยส่วนสอง (เทฺว ธมฺมา ทฺวเยน เวทนาย เอกสโมสรณา ภวนฺติ ฯ )  ล.10 ข.60 ต้องมี 2 สภาพ มีการปฏิบัติสัมผัสกันอยู่แล้วเกิดเวทนา ต้องเข้าใจนาม 5 มี เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ คุณไม่มีผัสสะคุณทำใจไม่ได้ มนสิการในมูลสูตร ที่สู่แดนธรรมท้วง คุณไม่แสวงหาแดนเกิด คุณรู้แดนเกิดแล้วมาอยู่ในแดนเกิดแล้ว แต่ไม่ทำใจในใจคุณเอง ไม่มนสิการ คุณทำเป็นด้วยแต่คุณยังไม่ทำ คุณก็ยังเล่นหัวลูบคลำ อยู่กับกิเลส เหมือนกับสิงโต เล่นกับลูกกวาง ยังไม่กินเสียที ทำให้มันอ่อนแรง ทำอย่างนั้นสัตว์มันก็เกิดอะดรีนาลีนนะ มันยิ่งกลัวมันยิ่งไม่ดี กินมันขณะที่มีเอ็นโดรฟินมีสารสุขสิ แต่นี่กินตอนมีสารทุกข์ ขออภัยไปดูถูกสิงโต ที่จริงดูถูกแล้วมันไม่รู้หรอก แต่คนนี้สิ คิดผิด สรุป พ้นจากสีลัพพตุปาทาน แต่ไม่ทำให้พ้นสีลัพตปรามาส คุณก็ไม่ได้ ผัดผ่อนก็จมอยู่กับสีลัพตปรามาสที่เป็นสัมมามรรคด้วย ในทางที่ถูกแต่ไม่ทำ คนประมาทอย่างนี้ มันน่า เขกหัว เป็นลูกขี้ดื้อ ดื้อจริงๆ ทำไมประมาทเล่นหัวกับโจร ดีไม่ดีอาศัยโจรหากินอีกบาปซ้ำซ้อน ผิดทำผิด จะถูกเข้าคุกก็ไม่รู้ตัว

ที่มา ที่ไป

รายการ ทำวัตรเช้า งานว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน ครั้งที่ 7 พ่อครูบวชมาย่าง 50 ปี มีผลอะไร 1 วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 10 มกราคม 2563 ( 16:09:15 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 14:43:11 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 16:49:59 )

อุบายเครื่องออกทำอย่างไร

รายละเอียด

เอาออกได้มีอุบายเครื่องออก มีการพิจารณาให้เห็นถึงไตรลักษณ์ มันมีมาแว่บ ไม่ได้มีมาตลอด คุณเกิดราคะอยู่ตลอดหรือไม่ ก็ไม่ คุณเกิดโทสะอยู่ตลอดหรือไม่ ก็ไม่ ขณะนี้คุณมีราคะโทสะหรือโมหะ โมหะ หมายความว่ามันไม่รู้เรื่อง มุ่น ไม่รู้ว่ามีราคะโทสะหรือเปล่า

ที่มา ที่ไป

เทศน์ ทวช. วันเสาร์ที่ 7 เมษายน 2561


เวลาบันทึก 28 กุมภาพันธ์ 2564 ( 10:42:24 )

อุบาลีสูตร

รายละเอียด

พระพุทธเจ้าตรัสในอุบาลีสูตร พระอุบาลีปรารถนาจะไปอยู่ป่า  และราวป่าอันสงัด พระพุทธองค์ตรัสว่า...  ป่าและราวป่าอันสงัดอยู่ลำบาก  ทำความวิเวกได้ยาก   ยากที่จะอภิรมย์ในการอยู่ผู้เดียว. มันยากที่จะอภิรมย์   ป่าทั้งหลายเห็นจะนำใจของภิกษุผู้ไม่ได้สมาธิไปเสีย ผู้นั้นจำต้องหวังข้อนี้  คือ  จักจมลงหรือจักฟุ้งซ่าน เปรียบเหมือนกระต่ายหรือเสือปลาลงสู่ห้วงน้ำใหญ่   หวังจะเอาอย่างช้างใหญ่สูง 7 ศอก  หรือ 7 ศอกกึ่ง  กระต่ายหรือเสือปลานั้น จำต้องหวังข้อนี้  คือ จักจมลง   หรือจักลอยขึ้น !!

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 07 กันยายน 2563 ( 10:25:29 )

อุบาลีสูตร

รายละเอียด

พระพุทธเจ้าออกบวชครั้งแรกก็ไปหลงป่าผิด ท่านบอกว่านั่นไม่ใช่ทางบรรลุ ก็เข้าใจไม่ได้ ในอุบาลีสูตร ก็ตรัสไว้ชัดที่สุด

 เล่ม 24  ข้อ 99   อุบาลีสูตร...ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปรารถนาเพื่อสร้องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรอุบาลี เสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด อยู่ลำบาก ทำความวิเวกได้ยาก ยากที่จะอภิรมย์ในการอยู่ผู้เดียว ป่าทั้งหลายเห็นจะนำใจของภิกษุผู้ไม่ได้สมาธิไปเสีย ดูกรอุบาลี ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราเมื่อไม่ได้สมาธิจักสร้องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด ผู้นั้นจำต้องหวังข้อนี้คือ จักจมลงหรือจักฟุ้งซ่าน

ดูกรอุบาลี เปรียบเหมือนมีห้วงน้ำใหญ่อยู่ มีช้างใหญ่สูง 7 ศอกหรือ 7 ศอกกึ่ง มาถึงเข้า ช้างตัวนั้นพึงคิดอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ เราลงสู่ห้วงน้ำนี้แล้วพึงขัดถูหูเล่นบ้าง พึงขัดถูหลังเล่นบ้าง ครั้นแล้ว จึงอาบ ดื่มขึ้นมากลับไปตามต้องการ ช้างนั้นลงสู่ห้วงน้ำนั้นแล้วพึงขัดถูหูเล่นบ้าง ขัดถูหลังเล่นบ้าง ครั้นแล้วจึงอาบ ดื่มขึ้นมาแล้วกลับไปตามต้องการ

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าช้างนั้นเป็นสัตว์มีร่างกายใหญ่ ย่อมได้การลงในน้ำลึก ครั้นกระต่ายหรือเสือปลามาถึง (ห้วงน้ำนั้น) เข้า กระต่ายหรือเสือปลาพึงคิดอย่างนี้ว่าเราเป็นอะไรและช้างใหญ่เป็นอะไร ไฉนหนอ เราพึงลงสู่ห้วงน้ำนี้แล้วจึงขัดถูหูเล่นบ้าง พึงขัดถูหลังเล่นบ้าง ครั้นแล้ว จึงอาบ ดื่มขึ้นมาแล้วกลับไปตามต้องการ กระต่ายหรือเสือปลานั้นก็ลงสู่ห้วงน้ำนั้นโดยพลัน ไม่ทันได้พิจารณา

กระต่ายหรือเสือปลานั้นจำต้องหวังข้อนี้ คือจักจมลงหรือจักลอยขึ้นข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่ากระต่ายหรือเสือปลานั้นเป็นสัตว์มีร่างกายเล็กย่อมไม่ได้การลงในห้วงน้ำลึก แม้ฉันใด ดูกรอุบาลี ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราเมื่อไม่ได้สมาธิจักสร้องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด ผู้นั้นจำต้องหวังข้อนี้ คือ จักจมลงหรือฟุ้งซ่าน ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ

ดูกรอุบาลี เปรียบเหมือนเด็กอ่อนนอนหงาย ย่อมเล่นมูตรและคูถของตน ดูกรอุบาลีเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การเล่นนี้เป็นการเล่นของเด็กอ่อนอย่างเต็มที่สิ้นเชิงมิใช่หรือท่านพระอุบาลีกราบทูลว่า เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า ฯ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ  วิญญาณฐีติ 7 สัตตาวาส 9 วิโมกข์ 8 วันพุธที่ 17 มกราคม 2561 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 18 เมษายน 2564 ( 10:57:53 )

อุบาสกจัณฑาล 5

รายละเอียด

คือ อุบาสกที่เลวทราม เศร้าหมอง น่ารังเกียจด้วย

1. เป็นผู้ไม่ศรัทธา

2. ทุศีล

3. เชื่อถือมงคลตื่นข่าว ไม่เชื่อกรรม

4. แสวงหาเขตบุญนอกศาสนาพุทธ

5. ทำการสนับสนุนในที่นอกศาสนาพุทธ

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม  22 "จัณฑาลสูตร"  ข้อ  175

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก 


เวลาบันทึก 26 มิถุนายน 2562 ( 21:26:15 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 19:03:33 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 04:03:06 )

อุบาสกจัณฑาล 5

รายละเอียด

คืออุบาสกที่เลวทราม เศร้าหมอง น่ารังเกียจด้วย....

1. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา

2. ทุศีล (ทําผิดศีล)

3. เชื่อถือมงคลตื่นข่าว ไม่เชื่อกรรม

4. แสวงหาเขาบุญนอกศาสนาพุทธ

5. ทําการสนับสนุนในที่นอกศาสนาพุทธ

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 22 “จัณฑาลสูตร” ข้อ 175


เวลาบันทึก 13 มีนาคม 2565 ( 21:05:56 )

อุป

รายละเอียด

เข้าไป ,ใกล้ , มั่น

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 145 ,ทางเอก ภาค 3 หน้า 48 ,คนคืออะไร? หน้า 366


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:11:39 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:27:20 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 04:02:24 )

อุปกรณ์การแพทย์

รายละเอียด

สถานที่ของพวกเราบางแห่งเป็นสถานที่ผลิตอุปกรณ์การแพทย์นะ คือที่ผลิต ขวดดีท๊อกซ์ กับสายดีท็อกซ์ หนังสือเราคิดอะไร โรงพิมพ์ฟ้าอภัยขายขวดดีท็อกซ์เลี้ยง พิมพ์หนังสือทีหนึ่งเป็นหมื่นเป็นแสน ก็ได้รายได้จากขวดดีท็อกซ์นี่แหละ แล้วเราไม่ได้ขายแพงด้วยนะ เป็นอุปกรณ์การแพทย์

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 08 เมษายน 2563 ( 10:45:48 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 11:24:57 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:45:51 )

อุปกรณ์เรียนรู้แยก“ธรรมนิยาม 5” ได้ดีที่สุดคือ“เวทนา”!

รายละเอียด

ก็จะต้องเรียนรู้ได้ที่“เวทนา”นี้แหละ 

ที่จะสามารถรู้จักรู้แจ้งรู้จริงได้อย่างถ่องแท้สัมบูรณ์ 

ไม่มีส่วนสิ่งอื่นใดที่จะสามารถใช้เป็นอุปกรณ์เรียนรู้ให้รู้จักรู้แจ้งรู้จริงในการแยก“ธรรมนิยาม 5”ได้ดีที่สุด และสัมบูรณ์ที่สุดได้เท่า“เวทนา”นี้เลย (เทฺว ธัมมา  ทฺวเยนะ เวทนายะ เอกสโมสรณา ภวันติ ; ตรวจดูได้จากพระไตรปิฎก เล่ม 10 ข้อ 60) 

การเรียนรู้จึงอ่าน“ความรู้สึก”ที่บาลีคีือ“เวทนา”นี่เอง 

ให้รู้จักรู้แจ้งรู้จริงจาก“กายในกาย-เวทนาในเวทนา”

ขณะที่เรามี“การสัมผัส”อยู่กับ“เหตุภายนอก”ขณะนั้นอยู่ในปัจจุบันชาติ(ทิฏฐกาล)เลย  

แล้วเกิด“อาการของความรู้สึกภายในขึ้นมา”ในใจเรา 

เราก็อ่าน“ความจริง”กันตรงนี้ว่า มันมี“อาการของความรู้สึก”..สุขหรือทุกข์ หรือไม่?

แต่ถ้าเป็นการทำให้“ไม่มีความสุข-ไม่มีความทุกข์”ได้ชนิดที่“ไม่มีสัมผัสภายนอก”เลย 

รู้สึกอยู่แต่“ภายในภวังค์” แบบนี้มันก็ไม่มี“กาย” การ“หลับตา”ปฏิบัตินี้แหละ คือผู้ยังเป็น“มิจฉาทิฏฐิ”อยู่ เพราะมันไม่มีความเป็น“กายภายนอก 5”ตั้งแต่ต้นแล้ว จึงไม่ชื่อว่า มี“กาย” 

 

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ รวมเปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อที่ 431 หน้า 314


เวลาบันทึก 12 มิถุนายน 2564 ( 18:55:56 )

เวลาบันทึก 12 มิถุนายน 2564 ( 20:46:45 )

อุปการะ

รายละเอียด

ทางเสริม

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 311


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:10:50 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:28:08 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 04:02:41 )

อุปกิเลส 16

รายละเอียด

        1.  อภิชฌาวิสมโลภะ (เพ่งเล็งอยากได้)

        2.  พยาปาทะ (ปองร้ายเขา)

        3.  โกธะ  (โกรธ)

        4.  อุปนาหะ(ผูกโกรธ)

        5.  มักขะ (ลบหลู่คุณท่าน)

        6.  ปลาสะ(ยกตนเทียบเท่า, ตีเสมอท่าน)

        7.  อิสสายะ (ริษยา  ไม่อยากเห็นคนอื่นได้ดี)

        8. มัจฉริยะ(ตระหนี่) คือของข้า ยึดของกู  ใครอย่าแตะ

        9.  มายายะ (มารยาท มารยาทเสแสร้ง)

       10.  สาเถยยะ (โอ้อวด  การโอ่แสดง)

       11.  ถัมภะ(หัวดื้อ เชื่อมั่นหัวตัวเองมาก)

       12. สารัมภะ(แข่งดี เอาชนะคะคาน)

       13.  มานะ (ถือดี  ยึดดี  จนถือสา)

       14. อติมานะ(ดูหมิ่นท่าน)

       15.  ทมะ (มัวเมา)

       16. ปมาทะ (ประมาทเลินเล่อ)

            (พตปฎ  เล่ม 12  ข้อ 93)

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต  ปฐมอโศก  วันจันทร์  18  พฤศจิกายน  2562

หนังสืออ้างอิง

พระไตรปิฎก  เล่ม 12 ข้อ 93


เวลาบันทึก 29 พฤศจิกายน 2562 ( 18:49:40 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 14:50:27 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:46:27 )

อุปกิเลส 16

รายละเอียด

อุปกิเลส 16 คือ กิเลส มี 16 ข้อ

1.     อภิชฌาวิสมโลภะ (เพ่งเล็งอยากได้)

2.     พยาปาทะ (ปองร้ายเขา)

3.     โกธะ (โกรธ)

4.     อุปนาหะ (ผูกโกรธ)

5.     มักขะ (ลบหลู่คุณท่าน)

6.     ปลาสะ (ยกตนเทียบเท่า ตีเสมอท่าน)

7.     อิสสายะ (ริษยา  ไม่อยากเห็นคนอื่นได้ดี)

8.     มัจฉริยะ (ตระหนี่)

9.     มายายะ (มารยา มารยาทเสแสร้ง)

10.   สาเถยยะ (โอ้อวด กระโอ่แสดง)

11.   ถัมภะ (หัวดื้อ เชื่อมั่นหัวตัวเองมาก)

12.   สารัมภะ (แข่งดี เอาชนะคะคาน)

13.   มานะ (ถือดี ยึดดี จนถือสา)

14.   อติมานะ (ดูหมิ่นท่าน)

15.   มทะ (มัวเมา)

16.    ปมาทะ (ประมาท เลินเล่อ)  (พระไตรปิฏก เล่ม 12 ข้อ 93)

อภิชฌาวิสมโลภะ  พยาปาทะ โกธะ อุปนาหะ คือ สายโลภ สายดูด ต่อจากนั้นเป็นสายผลักทั้งหมด  ลักษณะพวกนี้มันมีจริงที่เราเกิดจิตไม่ดี  พออาการจิตเรามีอุปกิเลสจะละอายจิตเราเกิดขี้เหนียว  มัจฉริยะ  จิตเราริษยา  อาการจิตพวกนี้หากเกิดในจิต คุณก็จะมีหิริโอตตัปปะ  นี่คือ ศาสตรา เป็นอาวุธไปทำร้ายคนอื่น  ไม่เอา  อาการเหล่านี้ไม่ดีทั้งนั้นไปริษยาก็ไม่ดี  ไปขี้เหนียวก็ไม่ดี

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม  บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน 2562


เวลาบันทึก 26 ตุลาคม 2562 ( 13:31:34 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 14:13:00 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:47:01 )

อุปกิเลส 16

รายละเอียด

คือกิเลสที่ทำให้จิตเศร้าหมอง 16 อย่าง

1. อภิชฌาวิสมโลภะ (ละโมบเพ่งเล็งอยากได้)

2. พยาบาท (ปองร้าย)

3. โกธะ (โกรธ)

4. อุปนาหะ (ผูกโกรธ)

5. มักขะ (ลบหลู่คุณท่าน)

6. ปลาสะ (ยกตนเทียบเท่าท่าน  ตีเสมอท่าน)

7. อิสสา (ริษยา  ไม่อยากให้คนอื่นได้ดี)

8. มัจฉริยะ (ตระหนี่)

9. มายา (มารยา  มารยาทเสแสร้งแกล้งทำ)

10. สาเฐยยะ (โอ้อวด  การโอ่แสดง)

11. ถัมภะ (หัวดื้อ  เชื่อมั่นหัวตัวเองมาก)

12. สารัมภะ (แข่งดี  เอาชนะคะคาน)

13.มานะ (ถือดี  ยึดดีจนถือสา)

14. อติมานะ (ดูหมิ่นเขา)

15. มทะ (มัวเมาหลงระเริง)

16. ปมาทะ (ประมาทเลินเล่อ)     

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 12 “วัตถูปมสูตร” ข้อ 93

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก 


เวลาบันทึก 07 กรกฎาคม 2562 ( 21:59:15 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 19:02:22 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:47:21 )

อุปกิเลส 16

รายละเอียด

        1. อภิชฌาวิสมโลภะ (เพ่งเล็งอยากได้)

        2. พยาปาทะ (ปองร้ายเขา)

        3. โกธะ  (โกรธ)

        4. อุปนาหะ(ผูกโกรธ)

        5. มักขะ (ลบหลู่คุณท่าน)

        6. ปลาสะ(ยกตนเทียบเท่า, ตีเสมอท่าน)

        7. อิสสายะ (ริษยา  ไม่อยากเห็นคนอื่นได้ดี)

        8. มัจฉริยะ(ตระหนี่) คือของข้า ยึดของกู  ใครอย่าแตะ

        9. มายายะ (มารยาท มารยาทเสแสร้ง)

       10. สาเถยยะ (โอ้อวด  การโอ่แสดง)

       11. ถัมภะ(หัวดื้อ เชื่อมั่นหัวตัวเองมาก)

       12. สารัมภะ(แข่งดี เอาชนะคะคาน)

       13. มานะ (ถือดี  ยึดดี  จนถือสา)

       14. อติมานะ(ดูหมิ่นท่าน)

       15. ทมะ (มัวเมา)

       16. ปมาทะ (ประมาทเลินเล่อ)

        พยาบาท คือ แรงโกรธ ทั้งชาตินี้ ชาติหน้า  เอ็งกับข้า  ข้าอยู่เอ็งตาย ข้าตายเอ็งอยู่ไม่เผาผี กันเลย  แยกมาเป็น อุปนาหะ คือ  ผูกโกรธ  จากนั้น มักขะ ปลาสะ  มัจฉริยะ  อิสสา

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต ปฐมอโศก ครั้งที่ 81  วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2562

หนังสืออ้างอิง

พระไตรปิฎก เล่ม 12 ข้อ 93


เวลาบันทึก 29 พฤศจิกายน 2562 ( 14:18:04 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 11:27:15 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:47:43 )

อุปกิเลส 16 ข้อ

รายละเอียด

 คือ

1.     อภิฌาวิสมโลภะ  (เพ่งเล็งอยากได้, ความกำหนัด)

2.    พยาปาทะ (ปองร้อยเขา)

3.    โกธะ (โกรธ)

4.    อุปนาหะ (ผูกโกรธ)

5.    มักขะ (ลบหลู่คุณท่าน)

6.     ปาลาสะ (ยกตนเทียบเท่า, ตีเสมอท่าน)

7.    อิสสายะ (ริษยา ไม่อยากเห็นคนอื่นได้ดี)

8.    มัจฉริยะ (ตระหนี่)

9.     มายายะ (มารยา, มารยาเสแสร้ง)

10.  สาเฐยยะ (โอ้อวด, การโอ่แสดง)

11.  ถัมภะ (หัวดื้อ, เชื่อมั่นหัวตัวเองมาก)

12.  สารัมภะ (แข่งดี เอาชนะคะคาน)

13.   มานะ (ถือดี-ยึดดี จนถือสา)

14.   อติมานะ (ดูหมิ่นท่าน)

15.  มทะ (มัวเมา)

16.   ปมาทะ (ประมาทเลินเล่อ)  พระไตรปิฎก เล่ม 12 ข้อ 93

ที่มา ที่ไป

พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 18 ตุลาคม 2562 ( 16:39:25 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 11:54:11 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:48:01 )

อุปกิเลส 16 

รายละเอียด

คือกิเลสที่ทําให้จิตเศร้าหมอง 16 อย่าง

1.อภิชฌาวิสมโลภะ (ละโมบเพ่งเล็งอยากได้)

2.พยาบาท (ปองร้าย)

3. โกธะ (โกรธ)

4. อุปนาหะ (ผูกโกรธ)

5. มักขะ (ลบหลู่คุณท่าน)

6. ปลาสะ (ยกตนเทียบเท่า)

7. อิสสา (ริษยาไม่อยากให้คนอื่นได้ดี)

8. มัจฉริยะ(ตระหนี่)

9. มายา (มารยาเสแสร้งแกล้งทํา)

10. สาเฐยยะ (โอ้อวด)

11. ถัมภะ (หัวดื้อ)

12.สารัมภะ (แข่งดีเอาชนะกัน)

13. มานะ (ถือดี)

14. อติมานะ (ดูหมิ่นเขา)

15. มทะ (มัวเมาหลงระเริง)

16. ปมาทะ (ประมาทเลินเล่อ)

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 12 “วัตถูปมสูตร” ข้อ 93


เวลาบันทึก 16 มีนาคม 2565 ( 11:54:38 )

อุปกิเลส 16

รายละเอียด

อภิชฌาวิสมโลภะ – พยายาท – โกธะ – อุปนาหะ – มักขะ – ปลาส – อิสสา – มัจฉริยะ – มายา – สาเฐยยะ – ถัมภะ – สารัมภะ – มานะ – อติมานะ – มทะ – ปมาทะ

หนังสืออ้างอิง

(จากหนังสือทางเอก ภาค 3 หน้า 238)


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:10:06 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:29:09 )

อุปกิเลส16

รายละเอียด

มหาบัว ไม่รู้แม้ กามภพ รูปภพ อรูปภพ หลงอรูปภพ ข้าเก่งข้าหาเงินเข้าคงคลังประเทศมากที่สุดในโลกมากที่สุดกว่าใครๆหลงตัวตนยึดในมานะอัตตา จนประมาท อุปกิเลส 16 มีอยู่เต็มตัวเลย ขออภัยที่เอาวิชาการพระพุทธเจ้ามาใส่ ไม่รู้มายา สาเฐยยะ เป็นเรื่องอวดตัว สาเฐยจิต มักขะปลาสะ ตีตนข่มท่านเสมอ ท่าน อิสสา มัจฉริยะ นึกว่าตัวเก่ง อิจฉา แปลว่าความต้องการกลางๆ แต่อิสสา แปลว่าความริษยาคือความไม่ต้องการให้ผู้อื่นได้ดี ขออภัยไม่ใช่ขี้ตู่ มหาบัวมีครบ ไปจนสุดท้ายปมาทะ เป็นผู้ประมาทที่สุด ไม่ประมาทได้อย่างไร ก็ยืนยันว่าตัวเองเป็นอะไร ตายแล้วจะไม่เกิดอีก พูดอย่างนี้เลยว่าตัวเองเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายแล้วชัดเจนหมดเลย ไปนั่งหลับตาแล้วบรรลุในวันที่นั้นเดือนนั้นเวลานั้น จำในสิ่งที่ผิดผนึกเข้าไปในอนุสัย นึกว่าตัวเองสำคัญมั่นหมายว่าทุกอย่างที่ทำนี้ดีแล้ว กลายเป็นปักใจปักมั่นในสิ่งที่ผิดแล้วยึดไว้ สำคัญมั่นหมายผิดใส่อนุสัยตัวเองไป อีกนาน แล้วจะลงผิดไปอีกนานไม่รู้กี่ชาติออกกี่ชาตินับชาติไม่ถ้วนเลย ที่บอกว่าจะไม่เกิดอีกนั้น มหาบัว จะต้องเกิดในนรกเยอะกว่าสวรรค์ ชาตินี้ก็มาหลอกมนุษย์เป็นอนันตริยกรรมเป็นบาปเยอะมาก ขออภัยที่เอาสภาวะมาพูด มหาบัวจึงกลายเป็นตัวอย่างเป็น specimenให้อาตมายืนยัน ต้องขออภัยและขอบคุณ ให้เอามาสาธยายให้รู้ว่าผิด ผิดตรงไหนผิดแบบไหนจะได้เข้าใจลึกซึ้ง 

ที่มา ที่ไป

รายการกายนี้คือวิญญาณ วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 04 มีนาคม 2563 ( 13:35:32 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:08:52 )

อุปกิเลสคืออะไร

รายละเอียด

อุปกิเลสคือ กิเลสที่ซ้อนอยู่ มันเป็นเชิงดีใจ ที่จริงไม่ใช่จิตที่เสีย จิตที่ดี แต่ดีเกินไป มันก็เสียพลังหรือไปหลงติดเสียเวลา หลงติดยึด ถ้าไม่ได้แล้วก็ไม่สบายใจ กลายเป็นอุปาทานซ้อน มันโง่ซ้อนไม่ดี ท่านก็ให้รู้ตัว แล้วก็เลิกอาการพวกนี้เสีย มันเป็นธรรมดา พอรู้แล้วก็เลิกได้จนกระทั่งเป็นธรรมดา

ที่มา ที่ไป

พ่อครูตอบปัญหา งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 45 ออนไลน์ วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 17 มีนาคม 2564 ( 12:26:20 )

อุปกิเลสทั้งหมด

รายละเอียด

คือ ผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว  ที่ปิดบังไว้ทั้งหมด  คืออุปกิเลสจึงต้องล้างอุปกิเลสทั้งหมดจึงจะเป็นผู้วิเวก  เข้าสู่ปัสสัทธิ เข้าสู่สันติเข้าสู่นิพพาน

ที่มา ที่ไป

พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 18 ตุลาคม 2562 ( 16:37:39 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:09:38 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:48:54 )

อุปกิเลสสายโทสะมูลกับสายโลภะมูล

รายละเอียด

ได้คุณจะเรียกว่าโทสะหรืออัตตาก็ได้หรือโกรธก็ได้ แต่ก็เป็นอัตตาที่เบา เป็นมโนมยอัตตา รูปอัตตา อรูปอัตตาของคุณ มันเป็นแค่อาการของจิตละเอียดบางเบาเราก็รู้อยู่แล้วมันไม่ถึงกับโกรธ แต่มันไม่พอใจ ไม่ใช่ไม่เห็นด้วย คือคุณม่านพรยังรู้สึกว่า เรายอมเขาแต่เราขัดแย้ง ก็เลยใช้ภาษาว่า ไม่ใช่ไม่เห็นด้วย คือ ก็ยอมเขา แต่ก็รู้สึกว่ามันก็มีเล็กๆเบาๆบางๆมันเงียบๆ เข้าใจเขาได้ แต่ว่าก็ยังมีอะไรที่ไม่โล่งไปเลย ไม่สมบูรณ์ด้วยกันไปหมดเลยเป็นความข้องใจของคุณ ม่านพร เรียกว่า อัตตา ได้ แต่คำว่าโทสะ ใช้กับต้นตระกูลความโกรธเลย โทสะ โกธะ อุปนาหะ แล้วก็ไล่ไปในสายไม่พอใจขัดแย้งเป็นอุปกิเลสไปทั้งสาย มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเฐยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ ซึ่งละเอียดมากเลยเป็นรายละเอียดของจิตสายโทสะมูล จิตที่ยังไม่ลงกันเลยไม่เห็นด้วย แต่ถ้ายอมก็เลยเป็น อภิชาวิสมโลภะ แล้วก็ยกให้ไม่ติดใจไม่ขัดแย้งอะไรเลย แต่ว่ามันก็ยังเป็นสิ่งที่ไม่สมบูรณ์ มันก็ยังค่อยๆอธิบายไปอีก เพราะว่าในลักษณะของจิตวิญญาณของผู้ที่มีอยู่ ยังต้องอาศัยจิตวิญญาณที่จะต้องมี หรือตั้งแต่ 2 หน่วยขึ้นไป เป็น 3 4 5 6 7 เป็นองค์ประชุมของสังขารที่จะต้องปรุงแต่งอาศัยอยู่ในชีวิต เพราะฉะนั้นคนที่มีสมรรถนะมีบารมีสูง ก็จะเข้าใจหน่วยของเจตสิกต่างๆ ที่มันปรุงแต่งร่วมกันอยู่ แม้จะเป็นการปรุงแต่งกันอยู่อย่างสายความมี ความรวมตัวกันเป็นนิวเคลียร์ฟิวชั่น รวมตัวกันอยู่เพื่อที่จะอาศัยเป็นชีวะหรือเป็น อัตตา อัตตาอาศัย มันก็ต้องใช้งานอยู่ สับสนไหม อธิบายเข้าใจดีนะก็ฟังไป 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม 2563


เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 10:52:30 )

อุปคัมมะ มีหรือไม่

รายละเอียด

อาตมาไม่ได้ไปเจอคำนี้ แต่คิดว่าเป็นได้ภาษามันไม่แปลกอะไร อนะ + อุปคัมมะ ก็เป็น อนุปคัมมะ ถ้าอุปคัมมะก็ตรงกันข้ามกับ อนุปคัมมะ ดังนั้น อุปคัมมะคือ เข้าไปข้างใดข้างหนึ่งเลย แต่อนุปคัมมะคือ ไม่เข้าไปข้างใดข้างหนึ่ง

ที่มา ที่ไป

พ่อครูตอบปัญหา งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 46 วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 แรม 2 ค่ำ เดือน 3 ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 23 กุมภาพันธ์ 2565 ( 06:34:39 )

อุปจย

รายละเอียด

ยังมีการเพิ่ม ยังมีสิ่งสั่งสมขึ้นอยู่

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 281


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:09:16 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:30:01 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 04:03:26 )

อุปจยะ

รายละเอียด

คือ จิตมันจะเกิด คุณก็สามารถควบคุมการเกิดนี้ได้ การเกิดจิตมีปัจจัยจะเกิดคือ อุปจยะ อุปะ คือ ใกล้, จย คือ ปัจจัย  ควบคุมการเกิดได้จะให้เกิดมากเกิดน้อยเท่าไหร่ก็ตามบารมีควบคุมยังไม่ได้ก็มีตัวกิเลสมีตัว “สสังขาริกัง” ก็ว่าไปแต่ผู้ไม่มีตัวเหตุนำพาให้เป็นแล้ว “อสังขาริกัง” แล้ว ผู้นี้ก็จะมีสติสัมปชัญญะปัญญากำหนด เราจะให้เกิดหรือไม่ให้เกิด

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราชธานีอโศก วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 15 ตุลาคม 2562 ( 16:40:55 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:10:33 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 04:04:48 )

อุปจยะ

รายละเอียด

คือ  ตัวเกิด  สันตติ  คือตัวเชื่อมต่อกลาง  ถ้าไม่ต่อก็จะสู่ความเสื่อมเป็น ชรตา ตบท้ายด้วย อนิจจตา  อยู่ที่ดุลพินิจของเจ้าของที่เป็นจิตนิยาม  จะเคลื่อนไปสู่ความเจริญหรือความเสื่อมก็อยู่ที่ตัวประธาน

ที่มา ที่ไป

รายการทำวัตรเช้า งานมหาปวารณา ครั้งที่ 37 บ้านราช วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 28 พฤศจิกายน 2562 ( 12:49:45 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:12:20 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 04:03:51 )

อุปจยะ

รายละเอียด

คือ จิตเกิด พระอรหันต์จะรู้จักอย่างดี ท่านจะทำให้เกิดอย่างควบคุมได้ ไม่ให้เกิด ไม่ให้ต่อความเกิดสันตติ 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 15 กุมภาพันธ์ 2563 ( 17:00:49 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:13:09 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 04:04:09 )

อุปจยะ

รายละเอียด

คือการทำให้เกิด

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 12 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 05 กันยายน 2563 ( 09:32:51 )

อุปจยะกับอาหารหล่อเลี้ยงชีวิตตินทรีย์

รายละเอียด

สำหรับอาตมานั้น รู้ว่ามันเสื่อมแล้วก็พยายามเพื่อรู้ว่าพลังงานที่มันทำให้เกิด อุปจยะ พลังงานนี้สร้างความเกิด อาตมาจึงทำงานสร้างตัวตนของ อุปจยะ การเกิดให้มันเก่งขึ้นให้มันสามารถรู้และให้มันสร้าง อุปจยะ สังขารร่างกายตัวเองขึ้นไปอีก ถ้าจะให้อาตมา อธิบายต่อก็ได้แต่วันนี้คงไม่เหมาะ อาตมาจะอธิบายรูป 28 หรืออุปาทายรูป 24 ที่จะต้องรู้ธาตุตัวใด พอมา หทยรูป แล้วเกิดชีวตินทรีย์หรือชีวิตรูป รูปของชีวะ แล้วรู้จักอินทรีย์ ความเป็นพลังงานของมัน เราจะต้องรู้อันนี้แหละว่ามันจะมีอะไรเป็นอาหาร อาหารที่จะให้หล่อเลี้ยงชีวิตินทรีย์ ให้มันไปได้อีกๆๆ เป็นอาหาร 

  1. อาหารทางกาย อาตมาก็บอกแล้ว อาหาร 8 อ. ก็ทำให้ได้สมดุล 

  2. วิญญาณาหาร จะเป็นตัวประธาน ก็ถึงทำได้จริงทั้งรูปและนาม สร้างให้มันมีชีวิตต่อไปๆ ไม่ใช่พูดด้วยปากเปล่าพูดเล่นๆ แต่มันรู้จริงเป็นจริงทำจริงมันก็เป็นจริงได้ อาตมาเอาตัวเองเป็นตัวพิสูจน์ ว่า อาตมาอยู่ไม่ถึงขนาดนี้หรอก ตายไปแล้ว แต่อาตมารู้จักการสร้างพลังงานอันนี้ ให้รู้จักรักษาขันธ์ 5 นี้ได้มาถึง 87 แล้วก็จะสร้างไปอีกทำไปอีก ตั้งตัวเลขไปให้ถึง 151 ก็ลองดู ว่า อาตมานี้ โพธิสัตว์ระดับ 7 จะทำได้ไหม 7 ของอาตมาจะทำได้ไหม ก็ลองดู ซึ่งมันไม่ได้เก่งเท่าไหร่หรอกระดับ 7 ซึ่ง 8 ก็จะเก่งกว่านี้ หรือ 9 ก็จะเก่งกว่านี้อีก 

แต่จะได้ไหม ซึ่งอาตมามั่นใจว่ามันต้องได้ประมาณหนึ่ง แต่จะขนาดไหน อย่าเพิ่งรีบตาย 

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม 2563


เวลาบันทึก 12 สิงหาคม 2563 ( 10:46:42 )

อุปจารสมาธิ

รายละเอียด

1. อยู่ปกติ ลืมตาธรรมดา จึงสามารถมีสมาธิจิตในวาระใดวาระหนึ่ง
2. สมาธิเฉียดฌาน หรือจิตใกล้จะเป็นฌานแท้ ฌานคงนาน

3. ใกล้ความเป็นจริง ใกล้ความสำเร็จ เด็ดขาดเข้าไปเรื่อย ๆ

4. ตั้งมั่นได้มากขึ้นไปเรื่อย ๆ จนใกล้ความสำเร็จ

5. ใกล้เคียงความสำเร็จ

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 250 ,คนคืออะไร? หน้า 251 , ทางเอก ภาค 2 หน้า 304

เปิดโลกเทวดา หน้า 53 , ป่ากับพุทธศาสนา หน้า 147


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:08:30 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:31:55 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 04:06:56 )

อุปทาน 4

รายละเอียด

คือ

1. กามุปาทาน

2. ทิฏฐปาทาน

3. สีลัพพตุปาทาน

4. อัตตวาทุปาทาน

หนังสืออ้างอิง

 “คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1 หน้า 198


เวลาบันทึก 09 พฤศจิกายน 2562 ( 15:15:34 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 19:00:36 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 04:07:27 )

อุปทานของการนั่งหลับตา

รายละเอียด

การนั่งหลับตาก็จะได้ทิฏฐิใน 62 อย่างนี้ เป็นอดีต 18 อนาคต 44 นี้เท่านั้น ปฏิบัติธรรมหลับตาก็อยู่ในภพ ไม่มีแสงสว่างภายนอก ดีไม่ดีปั้นแสงสว่างภายในเองเลย ปั้นให้ใสๆๆ เป็นอุปาทานทั้งนั้น เป็นภพชาติ ตาที่หลับลงไป แม้จะมีแสงสว่างลอดหากอยู่ในที่ที่มีแสง แต่ถ้าอยู่ในที่มืด หลับตาก็จะไม่มีแสง แต่ถ้ามีแสงอะไรเกิดขึ้นก็เป็นอุปาทานทั้งนั้น อาโลกสัญญา ไม่มีโลก ไม่มีแสงสว่างอะไร อาโลกะคือแสงสว่าง มันไม่มีมันมืด

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม 2561


เวลาบันทึก 30 ธันวาคม 2563 ( 10:33:20 )

อุปทานคือสิ่งที่หลงยึดถือว่ามีทั้งรสอร่อยและผีสางเทวดา

รายละเอียด

อาตมาก็ขอรับรองว่า หลวงปู่แหวนหลวงปู่ตื้อ หลวงตาม้าหรือหลวงพ่อฤาษีลิงดํา ไม่ใช่อริยะ ไม่ใช่อรหันต์ ขอยืนยันและบอกคุณตรงๆด้วยความสงสาร อย่าหลงงมงาย ตื่น มีปรโตโฆสะ ฟังเสียงอาตมาบ้าง แล้วก็ตั้งใจฟังดีๆอย่าฟังด้วยอคติ ฟังดีๆตั้งใจดีๆแล้วจะได้ปัญญา เรื่องผีเรื่องวิญญาณขออธิบายให้ฟัง

เรื่องผีเรื่องวิญญาณที่เห็นแล้วเขาเอามาพูดกัน มันมีสิคนมีกิเลสอุปาทานมันก็มี แต่คนไม่มีกิเลสไม่มีอุปทานมันก็ไม่มี คนมีก็คือมีกิเลสเป็นตัวตั้งให้มันมี ฟังใหม่อีกที โปรดฟังครั้งที่ 2 

คือ เรื่องผี เรื่องตัวตน ผีเป็นรูปร่างตัวตน เป็นสิ่งที่ยังมีอยู่ มันเป็นอุปาทาน 

อุปาทาน แปลว่า การหลงยึดว่า มี

เช่นว่า รสอร่อย คุณกินกระเจี๊ยบนี้เปรี้ยว แต่ก็บอกว่าอร่อยดีจัง 

อีกคนกินกระเจี๊ยบเปรี้ยว จะบอกว่าไม่ไหวไม่เข้าท่าเลย 

คนหนึ่งบอกว่าอร่อยดีจังอีกคนนึงบอกว่าไม่เข้าท่าเลย แต่รสกระเจี๊ยบมันเป็นอย่างเดียวกันอย่างนี้ของแท้ แต่คนๆหนึ่งบอกว่าไม่ได้เรื่อง อีกคนหนึ่งบอกว่าอร่อยดีจัง ไอ้นั้นแหละคืออุปาทาน คือของยึดมั่นถือมั่นตามคนอื่นพาให้ยึดถือมา 

คุณยึดถือว่ามี แค่รสอร่อยรสไม่อร่อยมันก็มีแล้ว จริงๆ จะไปปั้นเป็นผีเป็นตัวเป็นตนมันยากกว่ารสอร่อยรสไม่อร่อย มันยากกว่าอีก แล้วยังไปยึดถืออีก แต่คนที่ไปยึดถือมากกว่านี้มันเป็นอย่างไร คนที่ไปยึดถือสิ่งที่มันเป็นไปได้ยากและอุตส่าห์ไปเป็นได้อีกอันนี้แหละเป็นคนโง่ มาเรียนรู้รสอร่อย รสไม่อร่อยนี่ให้ได้ แล้วผีสางเทวดาตัวตนอย่างนั้นเลิกได้ง่ายเลย 

ฟังอาตมาเข้าใจตามนี้นะคุณเลิก อย่าสนใจว่าเป็นผีเป็นเทวดาเป็นตัวเป็นตน ไม่เช่นนั้นคุณจะมีนิยายลวงโลกอีกมากเลย มีคนสร้างหนังผีละครผี เล่าเรื่องผีกันเต็มอยู่ในโลก เป็นเทวนิยมมันมีอยู่อย่างนั้น ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ตั้งใจให้ดีๆ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาพาตนให้รู้ความเป็นอรหันต์ วันพุธที่ 9 ธันวาคม 2563 ที่บ้านราชฯ


เวลาบันทึก 02 กุมภาพันธ์ 2564 ( 19:45:32 )

อุปทานจิต

รายละเอียด

คือ พลังงานที่ยึดมั่นถือมั่นในจิต พลังงานที่หลอมรวมกันขึ้นเป็นตัวตน (อัตตา) มันหลอกตนเองได้จริง เป็นผีหลอกได้แท้

หนังสืออ้างอิง

“คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1 หน้า 77


เวลาบันทึก 09 พฤศจิกายน 2562 ( 12:17:07 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 18:59:33 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 04:08:16 )

อุปทานสิ่งที่ไม่มี ทำให้มี สามารถเป็นได้

รายละเอียด

พวกนั่งหลับตาสะกดจิต  พอนั่งสงบไปแล้ว ก็บอกว่าเห็นร่างกาย นอนตายเน่าไป เสร็จแล้ว เขาก็จะเห็นอย่างนั้น  เป็นนิรมาณกาย  ปั้นเองในจิต เห็นตัวเนาคาตาเลย  เขาก็ว่าของแท้เลย  การแยกกายแยกจิต  จิตมีฤทธิ์มากเลย  เห็นตาย ไตรลักษณ์เลยนะ พวกนี้คืออุปทาน  หรือเพ่งเห็น คนเดินเหมือน กระดูกเดินเลย  ตายิ่งกว่า  X-ray  เลย เขาเห็นอย่างนั้นจริงๆ  เลยนี่  คือพวกที่หลอกหลอนตัวเอง  อุปาทานมันเป็นได้  สิ่งที่ไม่มี  ทำให้มี  ในวิชาการแพทย์  เขาเรียกว่าเป็น  Psycosis  หรือว่าเป็น  neurosis  ทางประสาท  คนไม่ป่วยไข้  ก็มีไข้  แต่หมอหาสมมุติฐานไม่ได้

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่  11 พฤศจิกายน 2562                           


เวลาบันทึก 28 พฤศจิกายน 2562 ( 19:52:10 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:16:23 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:50:44 )

อุปทานเป็นพลังงานซับซ้อน

รายละเอียด

เขาก็คิดกันว่าน่าจะศักดิ์สิทธิ์เราน่าจะเอามาใช้เป็นน้ำมนต์ ก็บ้าบอเป็นพวกเดรัจฉานวิชาอยู่ในจิตคนมันเป็นจริงๆ แม้แต่นะโมตัสสะมันยังเอาไปใช้เลย ก็จริง มันเป็นอุปาทาน อะไรก็เอามาทั้งนั้น เป็นอุปาทานซ้อน ทำให้เกิดติดยึดอุปาทาน ขลัง แล้วเป็นจริงได้ด้วย เพราะสมมุติ อุปาทานเป็นพลังงานซับซ้อนสิ่งที่ไม่เป็นจริงก็เกิดจริงได้เพราะว่าอุปาทานนี่แหละโลกจึงเดือดร้อน รสอร่อยมีจริงไหม ...ไม่มี พวกคุณตอบเองได้ แต่ข้างนอกเขาจะบอกว่า รสอร่อยไม่มีมันจะเป็นไปได้อย่างไร ทำให้รสอร่อยหมดไป ได้อย่างไร เขาไม่เชื่อหรอก มันทำได้ด้วยหรือ เขามีแต่จะอร่อยมากยิ่งขึ้น อร่อยมากเรื่องยิ่งขึ้น ชีวิตก็ โอ้โห อร่อยมากขึ้น มีอร่อยใหม่มาเสนอ เท่านั้นเอง มันคนละเรื่องกัน โลกมันเข้าใจคนละเรื่องเป็นการทวนกระแสคนละอัน เขาก็ไม่มีหมดหรอก มีแต่หอบ ใส่เก๊ะลิ้นชักอนุสัยไว้ไม่รู้กี่ชาติ คุณก็ไม่มีนิพพาน

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 07 กันยายน 2563 ( 10:17:55 )

อุปทานเพ้อพก

รายละเอียด

เหมือนอย่างอาจารย์มั่น มีเรื่องราวสนุกสนาน เป็นนิยาย ถ่ายเป็นหนังสนุกสนานมากเลย แล้ววิญญาณอาจารย์มั่นนี้ยิ่งใหญ่นะ พูดกันพวกพนักงานยมทูตเสร็จแล้วพญายมราชยังมากราบพระอาจารย์มั่นเลย โอ้โห เข้าใจช่างนิยายยกฐานะของอาจารย์มั่น ก็วิจัยวิจารณ์ให้ฟังนะสิ่งเหล่านั้นเป็นการเพ้อพก แม้แต่คุณอุปาทานว่ายังมีนรกสวรรค์ มีจริงๆอย่างที่อาจารย์มั่นมีเพราะเป็นคนอวิชชามีเต็มไปหมด สิ่งที่มีนั้นมีสำหรับคนที่อวิชชา สำหรับคนที่หมดอวิชชาแล้วสิ่งทั้งๆหลายนั้นไม่มี จึงเลิกความมีได้ 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 15 กุมภาพันธ์ 2563 ( 18:45:09 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:23:57 )

อุปธิ

รายละเอียด

คือ  กิเลส ท่านให้เรียนรู้ขันธ์  5  มีความรู้อภิสังขาร  สามารถล้างและจัดการกิเลสได้ ก็เป็นอุปธิวิเวก ล้างกิเลสได้หมด ก็เป็นนิพพานเป็นอมตะ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 07 พฤศจิกายน 2562 ( 12:27:12 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:24:56 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:56:42 )

อุปธิ

รายละเอียด

อุปธิ  คือ 1 กิเลส  หรือ 2 ขันธ์  หรือ 3  อภิสังขาร

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอารยธรรม วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน 2562


เวลาบันทึก 01 ตุลาคม 2562 ( 17:54:22 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:25:54 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:57:35 )

อุปธิ

รายละเอียด

อุปธิ คือ ต้องรู้กิเลส  ต้องสามารถแยกกิเลสออกจากจิต จากขันธ์ ต้องมีความรู้ในอภิสังขาร  ปุญญาภิสังขาร  กำจัดกิเลสได้  ขันธ์เราก็สะอาดขึ้น  อภิสังขารเราเป็นสัมมาทิฏฐิล้างกิเลสได้หมด  ก็เป็นอุปธิวิเวก ก็เป็นอมตะเป็นนิพพานได้ ได้ธรรมะเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง  สละทั้งกิเลส ทั้งขันธ์  ทั้งอภิสังขาร ที่ดับ ที่สำรอก ออกจากตัณหาเครื่องร้อยรัด (ฐาน หลัก ขันธ์ 5 ร่างกาย)

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 367


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:05:19 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:33:25 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:58:50 )

อุปธิ

รายละเอียด

แปลว่ามีส่วนที่ยังมีอยู่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดเจนในพระไตรปิฎกเล่ม 19

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 06 ธันวาคม 2562 ( 16:57:53 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:26:44 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 14:00:04 )

อุปธิ

รายละเอียด

ซึ่งเป็นสภาพที่มันทรงอยู่เรียกว่า อุปธิ อุปะคือมันยังเกิดอยู่ ส่วน ธิ ซึ่งก็กิเลสนี่แหละเป็นตัวสำคัญที่มันจะอยู่กับรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ 

อุปธิ พระพุทธเจ้าถึงแยกไว้ 3 กิเลส ขันธ์ อภิสังขาร

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ วิธีจบนิยาม 5 จบนิยายของตนอย่างนิรันดร วันจันทร์ที่ 26 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 พฤษภาคม 2564 ( 05:20:20 )

อุปธิ 3

รายละเอียด

พอเราสามารถแยก 1. คือกิเลสหรือกลิได้ 2. มันแฝงในขันธ์ 5 และ 3. อภิสังขาร 

อยู่ที่รู้ อุปธิ 3 ก็จัดการ สังขารเป็นสำคัญอย่างยิ่งอย่างผู้เจริญยอดเป็นอภิปัญญา ก็คือ การปรุงแต่งให้มันสะอาดจากกิเลส ขันธ์ก็สะอาดหมด กระนั้นแล้ว ขันธ์ก็ไม่ใช่เรา รูปก็ไม่ใช่เรา เวทนาก็ไม่ใช่เรา สัญญาก็ไม่ใช่เรา สังขารก็ไม่ใช่เรา วิญญาณก็ไม่ใช่เรา เรายึดไปเป็นเรา ถ้าไปหลงยึดมั่นถือมั่นก็เวียนวนโดนหลอก 

อาการของยึดมั่นถือมั่นคืออย่างไร อาการของยึดอาศัยคือขนาดไหน 

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ผู้ไม่รู้ตัวเองไม่รู้ทั้งหมด ผู้รู้ทั้งหมด รู้ตัวเอง วันศุกร์ที่ 16 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 21 เมษายน 2564 ( 11:38:35 )

อุปธิวิเวก

รายละเอียด

นิพพาน หรือ อมตะ

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 10 พฤศจิกายน 2562 ( 12:15:02 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:27:55 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 14:00:31 )

อุปธิวิเวก

รายละเอียด

อุปธิวิเวก คือ กิเลสก็ดี  ขันธ์ก็ดี  อภิสังขารก็ดี เรียกว่า อุปธิ อมตะ นิพพาน  เรียกว่า อุปธิวิเวก ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง  เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง  เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สำรอก เป็นที่ดับ เป็นที่ไปออกจากตัณหา  เป็นเครื่องร้อยรัดนี่ชื่อว่า “อุปธิวิเวก”

คำอธิบาย

อุปธิวิเวก  ย่อมมีแก่บุคคลผู้หมดอุปธิถึงซึ่งนิพพานอันเป็นวิสังขาร

รายการวิถีอารยธรรม  บ้านราช  วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม 2562

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอารยธรรม  บ้านราช  วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 26 ตุลาคม 2562 ( 16:49:57 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:28:50 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 14:02:17 )

อุปธิวิเวก

รายละเอียด

อุปธิวิเวก คือ กิเลสก็ดี  ขันธ์ก็ดี  อภิสังขารก็ดี  เรียกว่า “อุปธิ  อมตะ นิพพาน” เรียกว่า อุปธิวิเวก ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง  เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง  เป็นที่สิ้นตัณหาเป็นที่สำรอก เป็นที่ดับ เป็นที่ออกไปจากตัณหา  เป็นเครื่องร้อยรัดนี้ชื่อว่า  อุปธิวิเวก

อุปธิวิเวก คือ มีกิเลสเป็นหลัก กิเลส สังขาร ต้องเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ จนหมดความเกาะยึด หมดความติดยึด  ให้เป็นอมตะให้ได้

 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช  วันพุธที่ 16 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 22 ตุลาคม 2562 ( 13:56:46 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:29:37 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 14:02:56 )

อุปธิวิเวก

รายละเอียด

อุปธิวิเวก  คือ  กิเลส ขันธ์  อภิสังขาร  เรียกว่า อุปธิ

อุปธิวิเวก คือ ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง  เป็นที่สิ้นตัณหา  เป็นที่สำรอก  เป็นที่ดับ  เป็นที่ออกไปจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด  นี้ชื่อว่า อุปธิวิเวก

1. ดับกิเลสแน่ ๆ

2. สภาพของกิเลสเป็นเป้าหมายใหญ่ จะต้องวิเวก มุ่งถึงขนาดสงบสงัด ดับสนิท สิ้นสูญให้จริง ๆ จนชื่อว่าไม่มีให้ได้

3. ความสงบของตัวกิเลสซึ่งไม่มีในใจ กิเลสมันตายไป

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 356, หน้า 369, ค้าบุญคือบาป หน้า 90


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:03:43 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:35:12 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 14:04:23 )

อุปธิวิเวก

รายละเอียด

อุปธิวิเวก ไม่ยากจะเข้าใจ แต่ยากที่สุด ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สำรอก เป็นที่ดับ เป็นที่ออกไปจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด นี้ชื่อว่าอุปธิวิเวก.ก็กายวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออกแล้ว ยินดียิ่งในเนกขัมมะ จิตตวิเวกย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตผ่องแผ้วอย่างยิ่ง อุปธิวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้หมดอุปธิถึงซึ่งนิพพานอันเป็นวิสังขาร.คำว่า อุปธิ เฉยๆนี่นะ ท่านก็ว่าไว้ชัด กิเลส ขันธ์ 5 อภิสังขาร คุณจะต้องรู้ 3 อย่างนี้ คืออุปธิ แล้วทำให้มันวิเวก เป็นอุปธิวิเวก คือต้องทำให้เกิดนิพพานตามลำดับเป็นอมตะ ท่านตรัสไว้แค่นี้ อุปธิวิเวกถึงขั้นนิพพาน ถึงขั้นอมตะนิพพานหรือวิมุติเป็นไวยพจน์ในมูลสูตร 10

1. มูล-รากเหง้า (มูลกา) . . 

2. มนสิการ เป็นแดนเกิด (สัมภวะ) . . . .

3. มีผัสสะ เป็นเหตุเกิด (สมุทัย) . . . 

4. มีเวทนา เป็นที่ประชุมลง (สโมสรณา) . 

5. มีสมาธิ เป็นประมุข (ปมุขะ) . . . 

6. สติ เป็นใหญ่ (อธิปไตย = พลังอำนาจ) . . . . 

7. ปัญญา เป็นยิ่ง (อุตระ = เหนือ) . กัปตันรู้ยิ่งยอด  

8. มีวิมุติ เป็นแก่น (สาระ) . หลุดพ้นสุดยอดที่จะรู้ยิ่ง 

9. อมตะ เป็นที่หยั่งลง (โอคธา). = สอุปาทิเสสนิพพาน.  

10.นิพพาน เป็นที่สุด (ปริโยสาน) = อนุปาทิเสสนิพพาน 

(พระไตรปิฎก เล่ม 24 ข้อ 58)

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิบ้านราช วันศุกร์ที่ 10 มกราคม 2563

หนังสืออ้างอิง

พระไตรปิฎก เล่ม 24 ข้อ 58


เวลาบันทึก 21 มกราคม 2563 ( 19:46:17 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:33:54 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 14:07:25 )

อุปธิวิเวก

รายละเอียด

อุปธิวิเวก อุปธิวิเวกเป็นไฉน? กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี เรียกว่าอุปธิ. อมตะ นิพพานเรียกว่าอุปธิวิเวก ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สำรอก เป็นที่ดับ เป็นที่ออกไปจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด นี้ชื่อว่าอุปธิวิเวก

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช เศรษฐกิจที่ดีที่สุดในโลก วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 19 มกราคม 2563 ( 14:28:31 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:34:53 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 14:08:46 )

อุปธิวิเวก

รายละเอียด

ท่านพระสารีบุตรว่าไว้ 2 แบบคือ ของอรหันต์เก๊กับของพระโพธิสัตว์

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 10 พฤศจิกายน 2562 ( 12:56:12 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:41:23 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 14:09:39 )

อุปธิวิเวก

รายละเอียด

ของพระอรหันต์เก๊ไม่สามารถระงับสังขารทั้งปวงได้ แต่โพธิสัตว์ไม่ระงับหมดแต่สามารถต่อพุทธภูมิได้ แม้แต่พระพุทธเจ้าก็อาศัยวิภวตัณหาในการสร้างศาสนา คนก็ท้วงอาตมาว่าพระพุทธเจ้าไม่มีปัญหา แล้วอาตมาพูดเกินภูมิที่เขาจะเข้าใจได้

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 10 พฤศจิกายน 2562 ( 12:58:20 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:15:25 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:50:18 )

อุปธิวิเวก

รายละเอียด

คือ  กิเลส ขันธ์ อภิสังขาร คุณไม่มีทางจะรู้กิเลส กิเลสจะรู้ได้ต่อเมื่อคุณมีกาย มีรูปนาม มีสัมผัสเป็นปัจจัย แล้วเกิดกิเลสในปัจจุบันนั้นเชียว ไม่ใช่ไปนั่งหลับตาแล้วนึกถึงอดีต อนาคตที่เป็นกิเลสมันเป็นกิเลสที่อยู่ในภพ ไม่ใช่กิเลสจริงที่เกิดในปัจจุบัน ไม่ใช่ปัจจุบันไม่มีสัมผัส ปัจจุบันยังไม่มีความจริง เป็นกิเลสไม่จริง กิเลสในอดีต  กิเลสในอนาคต มีได้แต่มันไม่ใช่กิเลสจริง คุณจะไปล้างอดีตได้หรือไม่ อนาคตมันยังมาไม่ถึง ยังไม่มีแล้วจะไปล้างได้หรือ แล้วจะไปทำทำไมให้สูญเปล่า ทำเป็นโมฆะ การไปล้างกิเลสในอดีตกับอนาคต สมเด็จพ่อของสมณะโพธิรักษ์ไม่ได้สอนหรอกแต่ว่าพ่อของคุณสอนก็เรื่องของคุณ เป็นการใช้โวหารเป็นการใช้ศิลปะของท่านว่าเขาท่านพูดสบายๆไม่ได้พูดสัจจะอะไร

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 24 พฤศจิกายน 2562 ( 12:39:20 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:42:11 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 14:11:22 )

อุปธิวิเวก

รายละเอียด

กิเลส ขันธ์ อภิสังขาร คุณไม่มีทางจะรู้กิเลส กิเลสจะรู้ได้ต่อเมื่อคุณมีกาย มีรูปนาม มีสัมผัสเป็นปัจจัย แล้วเกิดกิเลสในปัจจุบันนั้นเชียว ไม่ใช่ไปนั่งหลับตาแล้วนึกถึงอดีต อนาคตที่เป็นกิเลสมันเป็นกิเลสที่อยู่ในภพ ไม่ใช่กิเลสจริงที่เกิดในปัจจุบัน ไม่ใช่ปัจจุบันไม่มีสัมผัส ปัจจุบันยังไม่มีความจริง เป็นกิเลสไม่จริง กิเลสในอดีต  กิเลสในอนาคต มีได้แต่มันไม่ใช่กิเลสจริง คุณจะไปล้างอดีตได้หรือไม่ อนาคตมันยังมาไม่ถึง ยังไม่มีแล้วจะไปล้างได้หรือ แล้วจะไปทำทำไมให้สูญเปล่า ทำเป็นโมฆะ การไปล้างกิเลสในอดีตกับอนาคต สมเด็จพ่อของอาตมาไม่ได้สอนหรอกแต่ว่าพ่อของคุณสอนก็เรื่องของคุณ เป็นการใช้โวหารเป็นการใช้ศิลปะของท่านว่าเขาท่านพูดสบายๆไม่ได้พูดสัจจะอะไร

ที่มา ที่ไป

พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 27 พฤศจิกายน 2562 ( 20:45:27 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:36:18 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 16:51:29 )

อุปธิวิเวก

รายละเอียด

คือผู้มีจะเป็นผู้รู้จักวิเวก 3  แล้วผู้ที่เข้าถึง อุปธิวิเวก  ก็คือ  ผู้ที่มี อมตะ คือผู้ที่มีนิพพาน  ก็ต้องเป็นผู้รู้จักกิเลส  รู้จักขันธ์  รู้อภิสังขาร  กิเลสมันอยู่ในขันธ์  5  แล้วคุณ  ก็รู้จักการทำ อภิสังขาร กำจัดกิเลส  แต่ต้องรู้จักกิเลสจึงจะสามารถกำจัดกิเลสออกได้หมด  เมื่อกำจัดได้หมด  จึงจะมีอุปธิวิเวก  ถึงจะเป็นผู้ที่นิพพาน  หรือเป็นอมตะบุคคล  แต่นี่กายวิเวก ก็ผิดแล้ว จะมีจิตวิเวก หรืออุปธิวิเวกที่ไหน

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 05 ธันวาคม 2562 ( 10:43:36 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:37:42 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 16:04:55 )

อุปธิวิเวก

รายละเอียด

ผู้มีจะเป็นผู้รู้จักวิเวก 3  แล้วผู้ที่เข้าถึงอุปธิวิเวกก็คือผู้ที่มีอมตะ คือผู้ที่มีนิพพาน  ก็ต้องเป็นผู้รู้จักกิเลส  รู้จักขันธ์  รู้อภิสังขาร  กิเลสมันอยู่ในขันธ์  5  แล้วคุณก็รู้จักการทำ อภิสังขาร กำจัดกิเลส  แต่ต้องรู้จักกิเลสจึงจะสามารถกำจัดกิเลสออกได้หมด  เมื่อกำจัดได้หมดจึงจะมีอุปธิวิเวก  ถึงจะเป็นผู้ที่นิพพานหรือเป็นอมตะบุคคล  แต่นี่กายวิเวกก็ผิดแล้ว จะมีจิตวิเวกหรืออุปธิวิเวกที่ไหน

ที่มา ที่ไป

พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช  วันพุธที่   27 พฤศจิกายน  2562


เวลาบันทึก 21 ธันวาคม 2562 ( 14:42:44 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:38:46 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 16:04:25 )

อุปธิวิเวก

รายละเอียด

อุปธิวิเวก ก็หมายถึงขันธ์ 5 หมายถึงอภิสังขาร นี่คืออุปธิ ที่มี 1. กิเลส 2.ขันธ์ 5  3. อภิสังขาร

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 25 มีนาคม 2563 ( 09:44:13 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 11:28:53 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 16:03:48 )

อุปธิวิเวก เป็นไฉน

รายละเอียด

ผู้ที่สามารถทำรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รู้จักขันธ์ 5 อาการ ลิงค นิมิต ของ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จนพูดได้อธิบายได้อุเทสได้ สาธยายได้อย่างอาตมา แต่ไม่ได้เก่งสุดเหมือนพระพุทธเจ้า  ก็จะเก่งไปเรื่อยๆ เก่งทางความจริงไม่ได้ดัดจริต ยังประมาณความเก่งด้วยซ้ำไป ไม่ได้อวดเก่ง เมื่อรู้ว่าครบ ขันธ์ทั้ง 5 

ในคุหัฏฐกสูตร อุปธิวิเวกเป็นไฉน? กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี เรียกว่าอุปธิ. อมตะ นิพพานเรียกว่าอุปธิวิเวก ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สำรอก เป็นที่ดับ เป็นที่ออกไปจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด นี้ชื่อว่าอุปธิวิเวก.

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ อรหันต์ตีตราด้วยปัญญา 8 ประการ วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 23 พฤษภาคม 2564 ( 12:59:48 )

อุปธิวิเวก 

รายละเอียด

อุปธิวิเวก  คือ กิเลสก็ดี  ขันธ์ก็ดี  อภิสังขารก็ดี  เรียกว่า  อุปธิ  อมตะ นิพพาน  เรียกว่า “อุปธิวิเวก”  ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง  เป็นที่สิ้นตัณหาเป็นที่สำรอก  เป็นที่ดับ  เป็นที่ออกไปจากตัณหา  เป็นเครื่องร้อยรัด  นี้ชื่อว่า “อุปธิวิเวก”  อย่างคำว่า “บุญ” นี้ก็เข้าใจผิด ไปเป็นกุศลกันไปแล้ว บุญเป็นอเทวะดับเทวะเป็นสูญไปได้เลย

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช  วันพุธที่ 16  ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 22 ตุลาคม 2562 ( 12:47:09 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:40:17 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 16:03:23 )

อุปธิเวกขั้นอมตะ ขั้นนิพพาน

รายละเอียด

อมตะคือผู้อยู่เหนือความเกิดความตายแล้วจะเกิดก็ได้จะตายก็ได้ คือจะไม่ตายก็ได้นิรันดร อย่างพระอวโลกิเตศวร ป่านนี้ยังไม่ตายจะรื้อขนสัตว์จนหมดตัวสุดท้ายปรินิพพานก่อนตัวเองถึงปรินิพพานเป็นปริโยสาน ถือว่าอมตะนิรันดรก็ได้ แล้วบอกว่าจะรื้อขนสัตว์ต่อไป มันเป็นอุดมการณ์อย่างหนึ่งของทางศาสนา ไม่ได้นิรันดรเหมือนเทวนิยมที่จิตวิญญาณนิรันดร แต่ของพุทธสูญได้แต่จะไม่สูญก็ได้นิรันดรก็ได้ แต่เป็นผู้ที่มีนิพพานแล้วเป็นอมตะบุคคลแล้ว คำว่าอมตะ คำว่านิพพานที่อุปธิวิเวก คุณจะต้องศึกษาอุปธิแล้วทำอุปธิให้สูญสมบูรณ์แบบเป็นวิมุติอมตะ เป็นนิพพานให้ได้

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 10 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 21 มกราคม 2563 ( 19:48:17 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:45:08 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:15:51 )

อุปธิเวปักกา

รายละเอียด

1. ให้ผลแก่ขันธ์

2. ให้ผลแก่ขันธ์ จะต้องมีผลทำลายแห่งการเวียนเกิดให้แก่ชีวิตของผู้ปฏิบัตินั้น ๆ อยู่ตลอดเวลายิ่งขึ้น เจริญยิ่ง ๆ อยู่

หนังสืออ้างอิง

อีคิวโลกุตระ หน้า 98 , รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 58 , สมาธิพุทธ หน้า 194


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:56:41 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:37:12 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 15:48:03 )

อุปธิเวปักกา

รายละเอียด

คือ ให้ผลวิบากแก่ขันธ์

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 23 ธันวาคม 2562 ( 12:55:47 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:45:46 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:16:09 )

อุปนาหะ

รายละเอียด

1. ผูกโกรธไว้

2. ผูกใจ , ผูกความไม่ดีไว้ , สะสม หมักหมมความไม่สะอาดไว้ในใจ

3. ผูกใจเคือง ผูกใจโกรธ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 46 ,  433,สมาธิพุทธ หน้า 244,367 


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:55:17 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:39:01 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:17:34 )

อุปนิสา

รายละเอียด

เหตุ

หนังสืออ้างอิง

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 133


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:53:41 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:39:36 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:17:51 )

อุปนิโส

รายละเอียด

เหตุ

หนังสืออ้างอิง

พุทธเป็นอเทวนิยมอย่างนี้ หน้า 88


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:52:28 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:40:13 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 15:46:56 )

อุปปักฆาตกรรม

รายละเอียด

อุปปักฆาตกรรม คือกรรมตัดรอน

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเชัา พุทธาภิเษกฯ ครั้งที่ 42 ปฐมอโศก ความจนที่มีสัมประสิทธิ์ ตอน 3 วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 ที่บวรปฐมอโศก

สื่อธรรมะพ่อครู(ศีล สมาธิ ปัญญา) ตอน ศีล 3 ข้อแรกคือสามเส้าหลักสู่อรหันต์


เวลาบันทึก 26 กุมภาพันธ์ 2564 ( 12:27:08 )

อุปปัชชมาเน

รายละเอียด

กำลังอุบัติ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 213


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:51:33 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:40:56 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:18:07 )

อุปปัตติ

รายละเอียด

การเกิด

หนังสืออ้างอิง

พุทธเป็นอเทวนิยมอย่างนี้ หน้า 107


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:50:39 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:41:53 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:18:24 )

อุปปัติ

รายละเอียด

การปรากฏขึ้น

หนังสืออ้างอิง

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 199


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:49:26 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:42:28 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:18:42 )

อุปปิลวติ . อุปฺปิลวติ

รายละเอียด

1. ฟุ้งซ่าน

2. เพ้อ ๆ ลอย ๆ

หนังสืออ้างอิง

อีคิวโลกุตระ หน้า 161


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:48:25 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:43:22 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 15:47:26 )

อุปมา 3 ข้อในการละพรากออก

รายละเอียด

1. เปรียบเหมือนไม้สดชุ่มด้วยยาง ทั้งตั้งอยู่ในน้ำ  เมื่อนำไปเป็นไม้สีไฟ  ไฟย่อมไม่ลุกติด

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่งก็ฉันนั้น มีกายยังไม่หลีกออกจากกาม  ยังมีความพอใจในกาม  ยังเสน่หาในกาม  ยังหลงอยู่ในกาม  ยังกระหายในกาม  ยังมีความเร่าร้อนเพราะกาม  ยังละไม่ได้ด้วยดี  ยังให้สงบระงับไม่ได้ด้วยดีในภายใน.

 

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎก เล่ม13 ข้อ 492

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 30 กรกฎาคม 2562 ( 19:31:52 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:46:45 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:19:35 )

อุปมา อุปมัยจะเอาเมล็ดผลไม้ ก็ต้องเจาะผ่านเปลือก ผ่านเนื้อเสียก่อน!

รายละเอียด

เพราะคนผู้จะทำลาย“เปลือกผลไม้-เนื้อผลไม้”เข้าไปถึง“เม็ดในผลไม้”ได้นั้น มันก็ต้องทำลาย“เปลือกภายนอกก่อน เป็นขั้นต้นแล้วจึงจะได้ทำลาย“เนื้อผลไม้”เป็นขั้นต่อไป แล้วจึงจะเข้าไปถึง“เม็ดใน”ให้ทำลายได้เป็นที่สุด ใครมันจะดันทุรังเข้าไปทำลาย“เม็ดใน” หรือ “เนื้อผลไม้” ของผลไม้ได้ยังไง? ถ้าไม่ได้จัดการผ่าน“เปลือกนอก”หรือทำลายเปลือกนอกก่อน พิลึกแท้ๆ!!!    

“รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส”ที่ท่าน“กินหมากพลู”คือกามคุณ 5” เป็น“ภายนอก”แท้ๆ ต้องจัดการก่อนสิ! แค่นี้ไม่รู้จริงๆหนะเหรอ?

สาย“หลับตา”ปฏิบัติจึงเป็นเดียรถีย์อยู่ “แสวงบุญนอกขอบเขตพุทธ”กันอยู่ได้ เพราะมิจฉาทิฏฐิแค่นี้ ก็ยังอวิชชากันอยู่  

ที่จริงแล้วอาตมาเชื่อว่า “ท่านรู้นะ!” เพราะท่านเคยพยายามที่จะเลิกกินหมากพลูนี้เหมือนกัน แต่ท่านเลิกไม่ได้ มันติดหนักมาก จากนั้นท่านก็หาคำหาความ หาอะไรต่ออะไรมาหลอกลูกศิษย์ทั้งหลาย กลบเกลื่อนไปว่า ที่ท่านกินหมากพลูอยู่ไม่ขาดปากนี้ ท่านหลุดพ้นเกินกว่าคำว่า“เสพติด”ไปแล้ว ..เข้าใจ๋?!!!???   

ขออภัยที่ต้องยกเอาท่านมหาบัว มาเป็นตัวอย่างอ้างอิง

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ รวมเปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อ 375 หน้า 273


เวลาบันทึก 03 สิงหาคม 2564 ( 12:32:51 )

อุปมาความไม่มีสาระแห่งขันธ์ 5

รายละเอียด

รูป  อุปมาด้วยกองฟองน้ำซึ่งแม่น้ำนำมา ฯ เป็นของว่างเปล่า
เวทนา  อุปมาด้วยฟองน้ำซึ่งฝนตกนำมา ฯ  เป็นของว่างเปล่า
สัญญา  อุปมาด้วยพยับแดดเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน  ย่อมเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้ (ตุจฺฉกัญเจวะ  อสารกัญเจวะ)

สังขาร  อุปมาด้วยหยวกกล้วย ปอกกาบใบออกไม่พึงได้แม้แต่กระพี้  ไม่พึงได้แก่น  ย่อมเป็นของว่างเปล่า (ตุจโฉ)

วิญญาณ  อุปมาดั่งมายากล หาสาระมิได้ เป็นของว่างเปล่า

ที่มา ที่ไป

เผณปีณฑสูตร เล่ม17 ข้อ242

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2562 ( 13:00:15 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:48:04 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 16:02:19 )

อุปมาพรหมจรรย์กับแก่นไม้

รายละเอียด

เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยมในลาภและความสรรเสริญ  เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีลาภสักการะและความสรรเสริญ  ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ไม่ปรากฏ มีศักดาน้อย.      เขาย่อมมัวเมา ถึงความประมาท เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น  เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้วย่อมอยู่เป็นทุกข์

เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้แสวงหาแก่นไม้  เที่ยวเสาะหาแก่นอยู่  เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่  ละเลยแก่น  ละเลยกระพี้  ละเลยเปลือก ละเลยเสก็ดไปเสีย   ตัดเอากิ่งและใบถือไป สำคัญว่าแก่น.

 

ที่มา ที่ไป

มหาสาโรปมสูตร เล่ม12  ข้อ347

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2562 ( 12:48:54 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:48:54 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 15:48:50 )

อุปมาอุปมัย “บุญ” คือลูกระเบิด!

รายละเอียด

เหมือนลูกระเบิด เมื่อระเบิดทำหน้าที่“ระเบิดแตกแล้ว” ระเบิดก็สลายตัวหมดความเป็น“ลูกระเบิดแล้ว ไม่เหลือลูกระเบิดอีกแล้ว ฉันใด “บุญ”ก็เป็น“ลูกระเบิดที่ระเบิดแล้ว”ฉันนั้น

ลูกระเบิด“ระเบิดแล้ว”จะกลับมาเป็น“ลูกระเบิด”ขึ้นมาอีกที หรือจะยัง“คงเป็นลูกระเบิดอยู่อย่างเก่า”กันยังไง?

“บุญ”นั้นทำหน้าที่สำเร็จแล้วมันก็มีแต่จะ“ไม่เป็นตัวเอง-ไม่เหลือตัวเอง-ไม่ใช่ตัวเอง”ได้อีกแล้ว เป็นได้แต่“อนัตตา”ท่าเดียว   

หาก“บุญ”ก็ยังขืนเป็น“2”ได้ มันก็เป็น“สมบัติ”กันอยู่ไม่รู้แล้ว ไม่สิ้นซาก“วิบัติ”กันสักที แล้ว“การสูญสิ้นชนิดไม่เหลืออะไรเลย”ที่ชื่อว่า“ปรินิพพพานเป็นปริโยสาน”(พระไตริปฎก เล่ม 24 ข้อ 58“มูลสูตร 10” ข้อที่ 10) มันจะมีภาวะนี้กันได้อย่างไรล่ะ?

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ รวมเปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อ 397 หน้า 287


เวลาบันทึก 03 สิงหาคม 2564 ( 15:58:14 )

อุปมาอุปมัยหลงติดหมากแต่อ้างเป็นยารักษาฟัน!

รายละเอียด

ขออภัย ที่เรายกตัวอย่างว่า มหาบัว ญาณสัมปันโน ที่ท่านเสพติดรสชาติของ“กามคุณ 5” คือ รสชาติของ“หมากพลู”ที่ท่านเสพติดอยู่แท้ๆนั้น

เพราะท่าน“ไม่รู้”ในความเป็น“กาม” ทั้งๆที่ท่าน“เสพรสชาติของกามในหมากพลู”นั้นอยู่จริง ท่านก็ยังพูดด้วยภาษาว่า 

“ท่านไม่ได้เสพติด” แถมท่านเบี้ยวความจริงไปเสียอีกว่า “ท่านกินยารักษาฟัน”ฟันมันเป็นอะไร ..แล้วทำไมฟันมันไม่หายสักที ตั้งแต่

หนุ่ม จนแก่ ท่านก็กินหมากพลูนี้กันอยู่นั่นแหละ จนตาย ซึ่งใครๆ

ก็รู้ว่า ท่านไม่ได้รักษาฟันจริงหรอก!  ท่านคือ“คนกินหมาก” ท่าน

เคี้ยวหมากอย่าง“เสพติด”แท้ๆ

แต่ที่จริงนั้นท่านมหาบัว ไม่รู้จัก“กาม” หรืออาจจะรู้อยู่แต่ท่านพูดแก้

เกี้ยวให้มันเบี้ยวมันเพี้ยนไปเสียว่า “ไม่ใช่การเสพติด-ไม่ใช่สิ่งเสพติด”

ไม่เช่นนั้นท่านจะได้ชื่อว่า ยังเสพ-ยังติดหมากติดพลูอยู่ ท่านก็จะเป็นอรหันต์ไม่ได้  เพราะอรหันต์คือผู้สิ้นเสพสิ้นติดยึดใดๆทุกสิ่งอย่าง

ดังนั้น ท่านจึงยืนยันว่า “หมากพลู”ไม่ใช่“สิ่งเสพติด”!

ท่านกินหมากกินพลูอยู่ตลอดอย่างนั้น ท่านไม่ได้เสพติดหรอก!!!

ใครเชื่อท่านมั่ง???  ยกมือ..!!!! 

แล้วท่านก็เสพ“กาม”ที่เป็น“รสต่างๆของหมากพลู”นี้ไปจนตาย ซึ่งเป็นปรากฏการณ์จริง ไม่ใช่นิทาน หรือเรื่องแต่งขึ้นมาหาเรื่องกันแต่อย่าง

ใดเลย 

ใครจะเชื่ออย่างไร? ...ก็ใช้วิจารณาญาณของตนๆเองเทอญ

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ รวมเปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อ 384 หน้า 278


เวลาบันทึก 03 สิงหาคม 2564 ( 12:43:18 )

อุปมาอุปไมยของพระพุทธเจ้านี้สุดยอดอย่างไรในเรื่องวิญญาณาหาร

รายละเอียด

พระพุทธเจ้าเป็นพระราชาสั่งพนักงานให้เอาโจรไปฆ่าด้วยหอก 100 เล่มตอนเช้า อาตมาก็เป็นพนักงานของพระพุทธเจ้า ไปฆ่าด้วยหอก 100 เล่มเช้า สาย เย็น หอกหักหมดเลย โจรก็ยังไม่ตาย และมันไม่สะดุ้งสะเทือนอะไรเลย ก็ไม่อยากพบพระราชาอีกเดี๋ยวจะถามว่าฆ่าตายหรือยัง หอกเราก็หักหมดแล้ว เจอกลางวันอีก เป็นไงตายหรือยังโจร ยังไม่ตายพระเจ้าข้า ก็ไปฆ่าอีก เย็นไปทำหอกอีก 100 เล่มเอาไปฆ่าอีก ละไว้ในฐานที่เข้าใจ ไม่ถามอีกแล้ว เช้ากลางวันเย็น จนป่านนี้หอกอาตมาหักไปไม่รู้กี่ร้อยดอก เป็นพันเป็นหมื่นเป็นแสน เป็นล้านดอกแล้ว ยังหนังเหนียวอยู่เลย

พระพุทธเจ้าท่านตรัสตรงนี้เอาไว้ว่า เป็นโจรร้ายที่ทำลายศาสนา ต้องเอาไปฆ่าให้ตาย ไม่อย่างนั้นเขาก็ไปทำวิบากร้ายอยู่อย่างนั้น ไปฆ่าให้เขาตายไปถ้าจะซ้อนลึกลงไปอีก การฆ่าโจรให้ตาย เทียบกับหอก 100 เล่มที่อาตมาพยายามทำธรรมะให้คมๆ มันยังไม่ทิ่มเนื้อโจรเข้าไปได้เลย หอกหักเลย โอ้ทำไมหนอ ถึงเป็นขนาดนี้ ข้ออุปมาอุปไมยของพระพุทธเจ้านี้สุดยอดเลย 

อาตมาเอามาขยายความถ้าไม่มีสภาวะจริงไม่มีความจริง ขยายไม่ออกนะ  อาตมาขยายออก นี่แหละคืออาหาร 4 ของพระพุทธเจ้าคือสุดยอดอาหาร 4 ตั้งแต่ กวฬิงการาหาร ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร เขามีวิญญาณหนังเหนียวจริงๆ สุดยอดเลย  

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธ‌ศาสนา‌ตาม‌ภูมิ‌ ‌ทุนนิยม‌คือ‌ ‌Infinity‌ ‌แต่‌บุญ‌นิยม‌​‌นี้‌ ‌0‌ ‌ยิ่ง‌กว่า‌ ‌0‌ วันศุกร์ที่ 24 กันยายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 06 กุมภาพันธ์ 2565 ( 05:29:12 )

อุปวาท

รายละเอียด

การพูดร้าย

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 374


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:45:46 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:44:56 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:19:50 )

อุปสม

รายละเอียด

สงบ หรือดับกิเลสนั้น ๆ ได้สนิทถึงฐานนิพพานก็ยิ่งดีใหญ่

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 187


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:44:47 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:45:48 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:20:09 )

อุปสมะหรือวูปสมะ

รายละเอียด

แปลว่าสงบ แต่เอาภาษาไทยมาใช้อธิบายไม่พอ สงบคือจิตของเราไม่มีกิเลสมากวนเลย นี่คือจุดสำคัญเนื้อแท้ไม่มีอะไรอย่างอื่นมาก 

จิตกับกิเลสจะว่าตัวเดียวกันมันก็ตัวเดียวกัน จะว่าไม่ใช่มันก็ไม่ใช่ พระพุทธเจ้าบอกว่ามันไม่ใช่ตัวเดียวกับจิตหรอก มันเป็นแขกมันเป็นอาคันตุกะ มาทำทียึดครองจิตเรา เราโง่ให้มันยึดครองจิตใจเรามานาน เมื่อเรารู้แล้วว่ามันมาบงการมาเป็นเจ้าของสั่งการอยู่ ก็กลายเป็นตัวเรา กลายเป็นเจ้าหนี้มาบงการ ให้เป็นสัตว์นรกอเวจีไปใหญ่เลยไม่รู้ตัว พอรู้ตัวก็กว่าจะแก้กลับ กว่าจะมาทำคืน ก็ยากแสนยาก 

ที่มา ที่ไป

รายการทำวัตรเช้า งานว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 10 มกราคม 2563 ( 17:56:57 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:51:16 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:20:42 )

อุปสมา

รายละเอียด

ความลดลง ความเล็กลง ความหมดลง ความหยุดลง สภาพที่เบาบาง-เข้า ๆ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 492


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:42:52 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:46:45 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:20:58 )

อุปสมานุสติ

รายละเอียด

ให้ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า หรือพุทธคุณ และระลึกถึงคุณของ-นิพพาน หรือความสงบราบรื่นอันยิ่ง ๆ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 89


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:42:07 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:47:21 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:21:18 )

อุปสรรคคือของทำให้คนพัฒนา

รายละเอียด

อาตมาแม้เหนื่อย แต่ไม่เคยท้อ เพราะเห็นคุณค่า แต่ก็เห็นว่าเรามีอุปสรรคไม่ใช่น้อย อาตมาก็ชัดเจนว่าอุปสรรคคือของทำให้คนพัฒนา แต่อย่าตะกละอุปสรรค ตายลูกเดียว เอาให้สมสัดส่วน ตัวเองตั้งต้นบนความลำบากกุศลธรรมเจริญยิ่ง นี่คือคำสอนหพระพุทธเจ้าชัดเจน อย่าเหยาะแหยะ อย่าทำน้อยเกินไป ให้ทำพอสมควรเลย ให้ตั้งตนบนความลำบาก หากคุณเองอยู่บนความสบายอกุศลธรรมเจริญยิ่ง ยถาสุขังโขเมวิหารโต อย่าเชียว ปล่อยตนตามอกุศลกรรมตัวเองไม่ดีเลย ต้องขวนขวายตั้งตนบนความลำบาก ต้องพยายามหาอุปสรรคให้กับตัวเองอย่างพอเหมาะ อย่ามีอุปสรรคเกินตัวไม่ได้ต้องประมาณ นี่คือการจัดสัดส่วนให้ตัวเองที่พอเหมาะ แล้วจะเจริญ ภาษาพูดใช้ได้แค่นี้ ใครประมาณได้พอดีก็เจริญได้สัดส่วนดี เหยาะแหยะเกินไม่เจริญ​ ทำเกินตัวตายกลางคันไปไม่ออกเสื่อมทรุดด้วย ไม่ดี ลักษณะนามธรรมเหล่านี้มีรูปธรรมประกอบ แต่นามธรรมนั้นเป็นตัวสำคัญเป็นความรู้สึก เราจะรู้ความพอเหมาะของอาการอารมณ์ความรู้สึก คุณต้องใช้ความรู้สึกใช้อารมณ์ใช้อาการของจิต ที่รู้สึก หากใช้ไม่เป็น ใช้อารมณ์ความรู้สึกไม่เป็นใช้เวทนาไม่เป็น เพราะฉะนั้นเวทนาเป็นธาตุรู้ตัวสำคัญของจิตวิญญาณ พื้นฐานการศึกษาของพระพุทธเจ้า 

ที่มา ที่ไป

รายการ ทำวัตรเช้า งานว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน ครั้งที่ 7 สู่แดนทองฉลอง 50 ปีโพธิกิจ วันที่ 1 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 10 มกราคม 2563 ( 17:39:39 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:52:15 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:22:38 )

อุปสรรคดีอย่างไร

รายละเอียด

อุปสรรคทำให้เราแข็งแรงทำให้เราเจริญ คนไม่มีอุปสรรคไม่เจริญหรอกไม่แข็งแรง จำไว้เลย มันจะมากเกินไปจนเราสู้ไม่ไหวก็หลบหน่อย แต่ถ้าเผื่อว่าเราสู้ได้ก็สู้เลย อุปสรรคนี้ทำให้เราแข็งแรงทำให้เราก้าวหน้า

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม 2561


เวลาบันทึก 10 มกราคม 2564 ( 11:42:59 )

อุปสรรคในการกสิกรรมของราชธานีอโศก

รายละเอียด

แผ่นดินนี้แต่ก่อนก็ต้องมีสารพิษสารเคมีบ้าง ที่นี่เป็นที่ลุ่มมีน้ำท่วม คนก็ทิ้งไม่ทำกสิกรรมที่นี่ น้ำท่วมก็เกิดการ dilute ดินก็ดีขึ้นพอควร เราดีที่ไปจับจองที่ๆคนไม่เอา เราไม่กลัวน้ำท่วม น้ำท่วมมาพืชก็ตาย ตายก็ปลูกใหม่ อาตมาจำได้เลย ฤดูน้ำท่วม ดาวเพ็ญนี่แหละ น้ำกำลังท่วมก็ยังไปดำนา พอดำเสร็จน้ำก็ท่วม เราก็รู้ว่าน้ำท่วม ท่วมตายก็ตาย เราก็ปลูกใหม่ คือเราไม่กลัวเสียอย่าง อะไรตายก็ตายอะไรเกิดก็เกิดถึงที่สุด ความเกิดความตายก็คือสามัญ เราก็ทำเท่าที่เราทำได้ เราก็ทำอย่างไม่กลัว เราไม่ได้เสียดายอะไรมากมาย หมดไปก็ทำใหม่ในสิ่งที่ต้องทำ สิ่งที่ไม่ต้องทำก็ไม่ทำเลยเพราะมันไม่ควรทำ ทำแล้วมันหมดไปก็ทำใหม่ ก็อยู่กับอันนี้ เราก็ไม่เห็นเดือดร้อนอะไร เราก็มีอุดมสมบูรณ์เหลือเฟือแจกจ่ายคนอื่นได้ด้วย สรุปว่าประสบความสำเร็จทั้งคุณภาพและความอุดมสมบูรณ์ ปริมาณมาก Quality quantity บริบูรณ์

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช  วันพุธที่ 9 มกราคม 2562


เวลาบันทึก 12 มกราคม 2563 ( 17:39:41 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:53:05 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 15:50:26 )

อุปสัมบัน

รายละเอียด

1. ผู้ที่ภูมิเพียงพอที่จะรับได้

2. ผู้ที่มีภูมิพอจะรับรู้..พอจะรับไปปฏิบัติให้เข้าถึงได้ , เป็นนักบวชด้วยกัน

หนังสืออ้างอิง

อีคิวโลกุตระ หน้า 197 , พุทธเป็นอเทวนิยมอย่างนี้ หน้า 82


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:40:26 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:48:29 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:23:03 )

อุปสัมบัน กับ อนุปสัมบัน

รายละเอียด

เขาบอกว่าผู้ที่เป็น อุปสัมบัน คือ ผู้ที่บวชแล้ว ทำพิธีบวชแล้ว ก็อาจารย์ทั้งหลายผ่านพิธีบวชแล้ว อาตมาอธิบายว่า อุปสัมบัน ไม่ต้องเอาเขาไปผ่านพิธีบวชหรอก ผู้ที่สามารถสอนได้ เข้าถึงได้ คือผู้ที่มีภูมิพอเรียกว่า “อุปสัมบัน” ผู้ที่ยังไม่มีภูมิพอจะสอนได้เรียกว่า “อนุปสัมบัน” พระพุทธเจ้าบอกว่าอย่าไปเปิดเผยกับ อนุปสัมบัน ท่านปรับโทษปาจิตตีย์ ไปเปิดเผยไปบอกว่าตัวเองมีคุณธรรมอุตริมนุสธรรมนี้กับอนุปสัมบัน กับคนที่มีภูมิไม่ถึง อย่าไปพูดไปพูดกันแล้วจะอาบัติปาจิตตีย์ ท่านก็ออกพระวินัยกันไว้ ว่าอย่าไปพูดถ้าหากท่านไม่มีในตน พูดให้ฟัง อุปสัมบันหรืออนุปสัมบันก็ตาม พูดไม่ได้ แต่เดี๋ยวนี้ผู้ที่ผ่านพิธีบวชทุกวันนี้ก็จะเป็น อนุปสัมบัน แต่เขามาฟัง อาตมาไม่ผิดนะเพราะเขาบวชให้ คนที่เป็นฆราวาสเขาไม่มีภูมิเขาไม่ฟังอาตมาหรอก คนไม่เข้าใจศาสนาแท้ๆเขาไม่ฟังอาตมาหรอก เพราะฉะนั้นอย่าไปหาเลย อนุปสัมบัน จะมาฟังอาตมาอาตมาไม่อาบัติหรอก และอาตมาเป็นพระอรหันต์ สงฆ์ยกสติวินัยให้ อาตมาพูดอย่างไรก็ไม่อาบัติ นี่ก็พูดให้มันครบนะไม่ใช่อวดตัวอวดตนอะไร ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าทุกอย่าง 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2563


เวลาบันทึก 25 พฤศจิกายน 2563 ( 13:17:18 )

อุปสัมบัน อนุปสัมบัน

รายละเอียด

ผู้ที่สามารถสอนได้ เข้าถึงได้ คือผู้ที่มีภูมิพอเรียกว่า “อุปสัมบัน”
ผู้ที่ยังไม่มีภูมิพอจะสอนได้เรียกว่า “อนุปสัมบัน”

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์รายการ พุทธศาสนาตามภูมิ วันศุกร์ ที่ 13 พฤศจิกายน 2563 ที่บ้านราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 13 พฤศจิกายน 2563 ( 20:53:32 )

อุปสัมปทา

รายละเอียด

ถึงพร้อม

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 271


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:39:13 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:49:15 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:23:23 )

อุปสัมปัชช , อุปสัมปัชชะ

รายละเอียด

1. เข้าถึง

2. เข้าฌาน (ในบริบทของฌาน)

หนังสืออ้างอิง

อีคิวโลกุตระ หน้า 170 , กำไร-ขาดทุนแท้ของอาริยชน / เราคิดอะไร ฉบับ 265


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:37:59 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:50:22 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:23:58 )

อุปสัมปัชชติ

รายละเอียด

เข้าถึง , บรรลุธรรม

หนังสืออ้างอิง

ยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 119


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:36:01 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:51:27 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:24:17 )

statistics

ติดต่อสอบถาม

Facebook : test

Youtube : Name

Twitter : Name

Line : Name

Telegram : Name

Wechat : Name

Skype : Name

Copyright © 2018 Borvornsocial.net all right are reserved. developer สงวนลิขสิทธิ์