@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก
@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก

อภิธานศัพท์ (Glossary) จัดเป็นฐานข้อมูลด้านโลกุตระที่สมบูรณ์ที่สุดที่คัดมาจากหนังสือ คำเทศน์ ฯ

คู่มือการค้นหาอภิธานศัพท์อโศก หรือ ห้องสมุดโลกุตระ 50 ปี

เอกสาร : https://docs.google.com/document/d/1HLGedxqTAOTOTQKGbO6M4qMremQ8K1jBWKRYDDt6MRQ/edit

วีดีโอ Loom 2 : https://www.loom.com/share/e824e62ec1eb4567848e94af124a7ed5

วีดีโอ Loom 1https://www.loom.com/share/2445744a08e74bca95d2f1d2a0526044

วีดีโอ YouTube : https://youtu.be/QyXcGmzhLmk

 

 

อภิธานศัพท์ (ทั้งหมด) พบ 28,074 รายการ

กาย

รายละเอียด

กาย พจนานุกรมบาลีไทย กายแปลว่า กอง แปลว่าฝูง หมู่ ประชุม ไม่ได้แปลว่าหนึ่งเดียวเลย จะต้องมี 2 ขึ้นไป เมื่อเป็นจิตก็เป็นหมู่ของเจตสิก เจตสิกของวิญญาณ กายนี้คือวิญญาณกายนี้คือวิญญาณก็คือเจตสิกของกาย คือ เวทนา สัญญา สังขารแล้วมันก็ละไว้ในฐานที่เข้าใจว่าต้องมีรูป องค์รวมขึ้นมาแล้วก็ต้องเป็นรูปสัมผัสได้ สัมผัสได้ในความหมายของกายนี้คือวิญญาณนั้น ต้องสัมผัสได้ด้วยภายนอก ตา หู จมูก ลิ้น กาย โผฏฐัพพะ ข้างนอก กายต้องมีภายนอกด้วย ใช้ศัพท์คำว่ากายในกายพิจารณาในโพธิปักขิยธรรมจะต้องพิจารณากายในกาย 

ที่มา ที่ไป

รายการบ้านราช กายนี้คือวิญญาณ วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 29 กุมภาพันธ์ 2563 ( 16:38:00 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:35:27 )

กาย

รายละเอียด

รู้ว่ากายคือสภาวะสอง รูปกับนาม กายไม่ใช่หนึ่งเดียว กายเป็นแต่รูปไม่ได้ กายเป็นแต่นามเป็นแต่ จิต มโน วิญญาณ ยังดีเสียกว่าถูกกว่าที่ว่ากายมีแต่รูปไม่มีนาม หากเข้าใจว่า กายคือ จิต มโน วิญญาณยังแก้ไขได้ หากคิดว่า กาย คือรูปอย่างเดียวก็แก้ไขไม่ได้ ซวย ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 16 ข้อ 230  ว่า ตถาคตเรียกกายว่าคือ จิต มโน วิญญาณ ท่านปยุต ท่านแปลลุยไปเลย ไม่ได้แปลว่า กายคือ จิต มโน วิญญาณ ในหนังสือพุทธรรม อาตมาเลยตั้งใจอ่านให้มากที่สุด

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 18 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 01 เมษายน 2563 ( 11:16:06 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:38:20 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 07:18:21 )

กาย

รายละเอียด

กาย แปลว่า องค์ประชุม หมวดหมู่ กายไม่ได้แปลว่าหนึ่ง ไม่ได้แปลว่าสรีระที่เป็นร่างที่ไม่มีจิต ไม่ใช่ ตรัสไว้ชัดเจนว่า ตถาคต เรียกกายว่า จิต มโน วิญญาณ ย้ำว่า เน้นเอา จิต มโนวิญญาณ เป็นหลัก แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่เอาภายนอกแต่ว่าเอาที่จิตหลัก แต่ก็ต้องไม่ขาดจากภายนอก คำว่ากาย คำนี้ จึงเป็นคำแรกใน สังโยชน์ 10 จะต้องรู้จักคำว่ากาย หากคนเข้าใจคำว่ากายคำแรกไม่ได้ก็จบ ไม่ต้องเรียนธรรมศาสนาพุทธ ถ้ายังไม่สัมมาทิฏฐิอันนี้ ต้องรู้ กาย ของตน แยกกาย แยกจิตของตนให้ออก สักกะ แปลว่าของตน ตัวตน กายะ คือ สภาพของรูปนาม สภาวะ 2 ภายนอกภายใน และเกี่ยวข้องการปรุงแต่งกันอยู่ 2 ต้องรู้อันนี้

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม 2563


เวลาบันทึก 19 พฤศจิกายน 2563 ( 12:06:03 )

กาย

รายละเอียด

กาย ไม่ใช่สรีระอย่างเดียว ภาษาบาลีกายคือร่างข้างนอก คือ ดินน้ำไฟลมไม่มีจิตวิญญาณ แต่กาย ต้องมีจิตวิญญาณเป็นหลักเลย เมืองไทยทุกวันนี้คำว่า “กาย”มันเป็นภาษาไทยแล้ว เป็นภาษาไทยสนิทแล้ว ทุกคนลองนึกดู ถ้าไม่ได้ฟังอาตมาแต่ก่อนนี้ยังไม่ได้ฟังอาตมาอธิบาย เข้าใจว่า กายคืออะไร คือร่างข้างนอกอย่างเดียวใช่ไหม ไม่มีจิตเข้าไปร่วมเลย นี่คือความเสื่อมความเข้าใจผิดของศาสนาพุทธ 

คำว่า กาย ต้องรู้อย่างสัมมาทิฏฐิเป็นข้อต้นเลย มันคือต้องพ้น สักกายทิฏฐิ ในสังโยชน์ 10 ผู้จะเรียนรู้ธรรมะพระพุทธเจ้าต้องเข้าใจคำว่ากายอย่างสัมมาทิฏฐิจึงเรียกว่าพ้นสักกายทิฏฐิ และก็อยู่ที่ตัวเรานี่แหละ มีทิฏฐิต้องรู้ สักกะคือเกี่ยวกับกายของเราเสมอ สัมผัส ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สัมผัส รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส(โผฏฐัพพะ) ต้องรู้ทันแล้วต้องวิจัย ต้องรู้ว่า มันมีกิเลสแล้วก็กำจัดกิเลสออกได้ ถ้าได้ก็นั่นแหละ มีธรรมะ มีผลของธรรมะ กำจัดกิเลสได้ๆๆ มันก็มีหวังหมด

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ วิญญาณฐิติ 7 ปฏิจจสมุปบาท และวิชชา 8 วันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2566  วันแรม 14 ค่ำเดือนยี่ ปีขาล ที่บวรสันติอโศก


เวลาบันทึก 07 กุมภาพันธ์ 2566 ( 12:50:26 )

กาย

รายละเอียด

เรียนรู้คำว่ากายมาแล้วมันเกี่ยวกับภายนอกด้วย แน่นอนภาษาไทยหรือคนมิจฉาทิฐิจะเข้าใจกายว่าเป็นเฉพาะร่าง หรือ สรีระ คือ บอดี้ข้างนอกของคน อันนั้นมิจฉาทิฏฐิ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการพุทธศาสนาตามภูมิ ปฏิจจสมุปบาท ตอน 3 วันศุกร์ที่ 5 มกราคม 2567 แรม 9 ค่ำเดือนอ้ายปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 08 มกราคม 2567 ( 14:09:51 )

กาย

รายละเอียด

ชาวพุทธทุกวันนี้“มิจฉาทิฏฐิ”ในคำว่า “กาย” ไปจริงๆ เสื่อมกันไปหนักมาก จึงเข้าใจความหมายคำว่า “กาย”ผิดสารสัจจะไป จนเละเทะ เลอะเทอะ

      เช่น แม้แต่คำว่า “กาย” ก็มิจฉาทิฏฐิกันไปสนิทสนม

แล้ว เข้าใจว่า “กาย”มีแค่“สรีระ(ร่างเฉพาะภายนอก)”

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการพุทธศาสนาตามภูมิ ปฏิจจสมุปบาท ตอน 3 วันศุกร์ที่ 5 มกราคม 2567 แรม 9 ค่ำเดือนอ้ายปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 08 มกราคม 2567 ( 18:18:53 )

กาย 3

รายละเอียด

คือ นิรมาณกาย สัมโภคกาย อทิสมานกาย

หนังสืออ้างอิง

 “คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1 หน้า 195


เวลาบันทึก 09 พฤศจิกายน 2562 ( 15:10:09 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 14:57:51 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 13:24:56 )

กาย 3

รายละเอียด

เราตถาคตเรียก "กาย" (องค์ประชุมของรูปกับนาม) อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ว่า

1.จิตบ้าง คือ นามที่เป็นตัวรู้

2.มโนบ้าง คือ นามที่เป็นแก่นสุดท้ายของตัวรู้

3.วิญญาณบ้าง คือ นามที่เป็นตัวรับรู้ความรู้สึกรวมยอด

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 16 "อัสสุตวตาสูตร" ข้อ 230

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 15 มิถุนายน 2562 ( 13:45:02 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 14:58:23 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 13:26:48 )

กาย 3

รายละเอียด

เพราะฉะนั้น กายแต่ละกายที่หลับตามีกาย เนรมิตเองทั้งนั้น เป็นนิรมาณกาย แล้วโมเมเป็นสัมโภคกาย ก็เห็นของกันและกัน ซึ่งต่างคนต่างไม่เห็นของกันและกัน หลับตาก็เป็น กายสัมภเวสีก็ได้ เรียกว่ากาย 3 ก็ได้ เป็นพาล ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ในพระไตรปิฎกเล่ม 16 ข้อ 59 ยังเป็นพาลชนยังเป็นคนโง่ คนไม่เดียงสา คนยังอ่อนปัญญา คนยังไม่มีปัญญายังเข้าใจไม่ได้ ยังไม่รู้ประสีประสาเหมือนเด็กๆไร้เดียงสา มันก็ต้องพากเพียรศึกษาขึ้นมา ให้มันได้สภาวะจริงๆกันขึ้นมา 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า พุทธาภิเษกฯ ครั้งที่ 46 วิญญาณกับวิญญัติ วันมาฆบูชา วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 28 พฤษภาคม 2565 ( 19:30:24 )

กาย 3 ของสิ่งเพ้อพก ไม่มีจริง

รายละเอียด

นิรมาณกาย  สัมโภคกาย  และ อาทิสมาณกาย  เพราะจริงแล้ว  มันเป็นอาทิสมานกาย  มันไม่มีจริงหรอกมันเป็นเพียงภพชาติ ไม่มีใครรู้ ใครเห็นด้วยกันได้ เหมือนคนตาบอด จูงคนตาบอด และไปดูหนังใบ้อีกด้วย  ไม่ได้เห็นอะไรเลย  แถมไม่มีเสียงให้ฟังอีก คนตาบอดไม่เห็นอะไรแล้ว แล้วไปดูหนังใบ้ด้วย คนตาบอดจูงคนตาบอดจะดูหนังใบ้เต็มโรงเลย  แล้วคนตาบอดได้ดูหนังอะไร ภาพก็ไม่เห็น เสียงก็ไม่มี เสร็จแล้วตบมือ สนุกๆ เพ้อเจ้อกันอุปาทานว่า คุณเห็นไหมๆ  สร้างอุปาทานภพชาติ เสร็จแล้วก็ก็เลยจ้องบอกว่าเห็นด้วยกับเขาไม่อย่างนั้นจะไม่เหมือนคนอื่นหลอกกันจนเป็นอุปาทานหมู่  จนกระทั้งมันไม่มี  ก็กลายเป็นมีมันไม่เห็น ก็กลายเป็นเห็น เป็นมโนมยอัตตา  เนรมิตขึ้นมาเอง เหมือนคนเห็นผีหลอก  ตัวตนของผีหลอกจริงไม่มีหรอก

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2562                            


เวลาบันทึก 28 พฤศจิกายน 2562 ( 19:49:23 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:51:35 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 07:19:35 )

กาย 3 คืออุปาทานหมู่

รายละเอียด

เป็นการสร้างนิรมาณกายสร้างสภาพ 2 เนรมิตเอาเอง ทุกคนของใครของมันแล้วพูดกันไม่รู้เรื่องกลายเป็น กาย 3 นิรมาณกาย สัมโภคกาย อทิสมานกาย อันนี้ก็ยากที่คนจะเข้าใจ 3 กายนี้

สร้างภพชาติของตัวเอง แต่ละคนไม่เห็นตรงคนอื่นนะ อยู่ในภพในภวังค์ของจิตตัวเอง แต่มาทำเป็นมีสัญญาณกันเหมือนคนใบ้ ไม่ได้กระทบเห็นหรอกหรือบางทีก็มีแค่เสียง นอกนั้นไม่ได้ครบทั้ง 5 ทวาร แต่สมมุติ รู้จัก จากการประเมินประมาณค่าเอาเรียกอุปาทานหมู่ตรงกัน เหมือนเห็นหลวงปู่แหวนนั่งบนเมฆตรงกัน เห็นหลวงปู่สด นั่งบนก้อนเมฆลอยบนท้องฟ้าร่วมกัน เป็นอุปาทานหมู่ เห็นกันเป็นหมื่นคน เหมือนคนเขาสะกดจิตคุณก็เห็นสิ่งที่ปลอมเหมือนกันหมด ฉันใดฉันนั้นเลย มันเป็นของลวงหลอก อุปาทาน 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ ตอบปัญหาเอกีภาวะประชาธิปไตยโลกุตระ วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 23 กุมภาพันธ์ 2564 ( 13:12:42 )

กาย คำสำคัญมาก

รายละเอียด

กาย เป็นคำสำคัญมาก ตั้งแต่ตัวต้นต้องพ้น สักกายทิฏฐิ ต้องมีความรู้ความเข้าใจสัมมาทิฏฐิในเรื่องความเป็นกาย และเกี่ยวกับตัวเอง กาย มันเป็นอาการอย่างไร ต้นๆเลย ต้องทำความรู้อันนี้เมื่อเข้าใจ กาย จึงได้ปฏิบัติพิจารณาสติปัฏฐาน 4 ได้ 

กายในกาย  เวทนาในเวทนา  จิตในจิต ธรรมในธรรมได้ ถ้าไม่สัมมาทิฏฐิใน สักกายทิฏฐิ จะไปพิจารณากายในกายไม่ได้ มันจะต้องมีทั้ง กายนอก กายในจึงมีคำว่า กายในกาย ก็ต้องหมายถึงอีกอันหนึ่ง กาย ต้องมีข้างในและข้างนอก แต่พวกหลับตาปฏิบัติไม่มีกายแล้ว เจ๊งกระบ๊งเลย ปิดประตู โมฆะในการปฏิบัติธรรมพระพุทธเจ้าเลย สักกายทิฏฐิ ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิเข้าไปนั่งหลับตา แล้วจะไปปฏิบัติกายในกาย เวทนาในเวทนา เอาพยัญชนะมาพูดมันก็ไม่ได้ เพราะว่ากำหนดเรื่องกายยังไม่ถูกเลย 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 9 พ่อครูพบ ญาติธรรมสันติอโศก วันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2566 แรม 10 ค่ำเดือน 2 ปีขาล ที่บวรสันติอโศก


เวลาบันทึก 29 มกราคม 2566 ( 11:50:33 )

กาย คือ สภาวะ  2

รายละเอียด

กาย คือ สภาวะ  2 หมายถึง จิต มโน วิญญาณ ด้วย  คนไทยไปเข้าใจคำว่า “กาย” นี้ไม่มีจิตไม่มี มโน ไม่มีวิญญาณ ธาตุรู้ ประกอบเลย  กาย คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม หากเข้าใจเช่นนี้เลย  คนๆ นี้จะไม่สามารถล้างความข้องอยู่ในถ้ำ สัตว์ คือ ตัวคุณมีจิตข้องในถ้ำ  จะไปนั่งสมาธิอะไรก็โมฆะหมด  อธิบายให้เห็นว่า  ผู้ที่หลงทางผิดในวงการศาสนาพุทธส่วนใหญ่ เลยหลงว่า ผู้เข้าป่าเขา ถ้ำ  นักสะกดจิต  หลับตา  เป็นพระอรหันต์อีก  มันจึงไกลจากวิเวก ไม่มีวิเวกเลย

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม  บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 26 ตุลาคม 2562 ( 14:41:29 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:40:17 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 05:10:41 )

กาย คือ อะไร

รายละเอียด

กาย คือ ภาวะสอง รูป กับ นาม ที่อยู่ร่วมกัน กายไม่มี 1 กายมี 2 เสมอ มีรูปกับนาม มีภายนอกกับภายใน เป็นต้น กาย หรือ อายตนะ อายตนะ คือการกระทบสัมผัสแล้วเกิดสภาพ 2 นั่นแหละ กายตนะ สภาวธรรมมันอันเดียวกันแต่มันเกิดกันคนละ กาละ คนละขณะ ก็เรียกมันเป็นชั้นๆไป

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ วิญญาณฐิติ 7 ปฏิจจสมุปบาท และวิชชา 8 วันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2566  วันแรม 14 ค่ำเดือนยี่ ปีขาล ที่บวรสันติอโศก


เวลาบันทึก 06 กุมภาพันธ์ 2566 ( 13:17:54 )

กาย คือองค์รวมของความเป็นเทวะ

รายละเอียด

คำว่า กาย นี่แหละคือ องค์รวมของรูปนาม องค์รวมของภายนอกภายใน องค์รวมของความเป็นเทวะ ความเป็นเทวะ แปลว่า 2 ก็มาเรียนรู้ 2 จากแต่ละคู่ๆ ภายนอกกับภายใน กายกับจิต เวทนากับสภาพที่มันร่วมกับเวทนา มันเป็นเหตุเป็นปัจจัยปรุงแต่งอยู่กับเวทนา 

พระพุทธเจ้าท่านเรียนรู้สิ่งที่มันอาศัยกันอยู่ อาศัยปรุงแต่งกันขึ้นมาเป็นเวทนา อาศัยปรุงแต่งกันขึ้นมาเป็นเจตนา นี่มันอาศัยกันอย่างสำคัญ อาศัยกันเป็นเวทนา สามารถรู้แล้วมันก็ควบคุมไปทางไหนได้

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า งานพุทธาภิเษกฯ ครั้งที่ 45 ออนไลน์ พระอรหันต์เป็นผู้มีความรู้เรื่องอาหารดีกว่าคนโลกีย์ วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก

 


เวลาบันทึก 04 มีนาคม 2564 ( 18:59:36 )

กาย ตถาคตเรียกว่า จิต มโน วิญญาณ

รายละเอียด

ที่บอกว่า กาย นั้น ตถาคตเรียกว่า จิต มโน วิญญาณ พวกที่ยึดติดกายเป็นร่างเฉยๆไม่เกี่ยวกับจิตก็หูหักสิ เอ๊ พระพุทธเจ้านี่ตรัสผิดตรัสใหม่ได้นะ กายจะไปหมายถึงจิต ถึงมโน วิญญาณได้อย่างไร เห็นไหม ไปสู่รู้ ว่า พระพุทธเจ้าตรัสผิดได้อย่างไร แต่ยังดีนะพระไตรปิฎกยังแปลมาตามพยัญชนะด้วยความซื่อสัตย์ 

เพราะฉะนั้นที่ความรู้ความฉลาดที่เขามีและเขาก็เรียกกันว่าปัญญาไปหมด ยังไม่ใช่ปัญญาของพระพุทธเจ้า ต้องมาแยกแยะให้เห็นดีๆ ปัญญาของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร มันไม่ใช่ปัญญาของพระพุทธเจ้าแต่เป็นความรู้ความฉลาด ที่เฉโกอยู่ คือความฉลาดที่ยังไม่มีโลกุตรธรรม มันเป็นความฉลาดที่มีแต่โลกียธรรม มันยังหลงสุขมันยังไปกับ ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข มันยังเต็มไปด้วย รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส(โผฏฐัพพะ) ที่ไม่สามารถจะหมดกิเลสาวะได้เด็ดขาด ยังยังไม่สามารถที่จะออกจากตรงนี้ได้ 

เพราะฉะนั้นประชาธิปไตยตะวันตกที่ไปเรียนด็อกเตอร์มาจากตะวันตกมา ได้ด็อกเตอร์ทางรัฐศาสตร์ ก็เป็นประชาธิปไตยแบบโลกียะ ประชาธิปไตยที่เป็นลัทธิประชาธิปไตยเทวนิยม ประชาธิปไตยที่ยังไม่ออกนอกกรอบ ไม่เหมือนประชาธิปไตยเมืองไทยที่มีแกนหลักของพระพุทธเจ้า ซึ่งมันเสื่อมไปหมดแล้วล่ะอาตมาเอามาสถาปนาขึ้นมาใหม่ แล้วก็เรียกชาวอโศกนี่ว่าเป็นนักการเมือง ออกไปประท้วงเปิดตัวตั้งแต่พ.ศ 2549 อาตมาพาไป ทำงานการเมืองอย่างจริงจังมาตั้งแต่พ.ศ 2549 จนถึงบัดนี้แน่นอน ก็ยืนยันว่าการเมืองต้องมีธรรมะโดยเฉพาะธรรมะโลกุตระ ธรรมะโลกียะนั้นมันเป็นสมบัติผลัดกันชม ธรรมะโลกียะมันก็แย่งอำนาจแย่งความใหญ่โตแย่งลาภยศสรรเสริญแย่งความสุขกันอยู่ ยังวนเวียนอยู่ในโลกียะนั่นแหละ มันไม่หยุดเด็ดขาดหรอก มันไม่หยุดแย่งหรอกไม่สงบได้หรอก 

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์งานอัฏฐาริยสัจจายุ ประชาธิปไตยแบบไทยโดยเฉพาะ ตอนที่ 1วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566 แรม 6 ค่ำ เดือน 3 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 11 กันยายน 2566 ( 15:56:56 )

กาย ยิ่งใหญ่ตั้งแต่เบื้องต้นจนจบ

รายละเอียด

วิจัยคำว่า กายเบื้องต้นให้ฟังก่อน

คำว่า กาย ยิ่งใหญ่ ตั้งแต่เบื้องต้นจนจบ พระพุทธเจ้าท่านมีวินัยสำหรับพระอุปัชฌาย์เมื่อบวชให้ก็จะต้องสอนคำว่าแยกกายแยกจิตให้แก่สัทธิวิหาริก สอนในตอนนั้นเลยตอนที่บวชได้ยิ่งดี ถ้ายังไม่มีโอกาสก็ต้องรีบพยายามสอนให้เขารู้ ไม่อย่างนั้นมันจะผิดพลาดไปหมด เพราะว่าการแยกกายแยกจิตไม่เป็นไม่มีทางรู้ความรู้สึกสุขแล้ว ยังลืมตาเป็นเป็น มีสติเต็มร้อยกระทบสัมผัสสิ่งนั้นสิ่งนี้อยู่จริง คือตามสมถะ แล้วจิตของคุณก็ไม่รู้สึกทุกข์ ไม่รู้สึกสุข ไม่มีเวทนา ผลักดูดไม่มี เฉยๆ แล้วก็รู้ความเฉยๆนี่เพราะเราทำด้วยปัญญาไม่ใช่เฉยๆเพราะสะกดจิต ที่เป็นแบบสมถะของฤาษีเดียรถีย์ต่างกันตรงนี้ คุณทำได้จิตของคุณก็รู้ว่าจิตของคุณเป็นพีชะแล้ว ก็เหลือแต่จะแยกให้มันเป็นอุตุ เป็นพีชะ ก็สบายแล้ว ไม่ทุกข์ไม่สุข ถ้าสุดท้ายเก่งจริงๆแยกได้ละเอียดถึงขั้นอนุสัยหรืออาสวะ คุณก็จะหมดเป็นอุตุไปได้ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการวิถีอาริยธรรม เรียนรู้วิญญาณฐิติ 7 ให้ถึงอรหันต์ วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 พฤษภาคม 2564 ( 14:54:14 )

กาย รูปนาม ฌาน สมาธิ บุญ​ แก้กลับให้ตรงสัจจะ

รายละเอียด

ซึ่งอาตมาว่า ไม่มีใครชัดเจนในโลกุตรธรรมเท่าอาตมา ว่าอาตมาชัดเจน แล้วก็แยกแยะขยายความเปิดเผยมา ภาษาธรรมะสัจธรรมมันได้ผิดเพี้ยนไปมากแล้ว อาตมาก็ต้องมาแก้กลับ ตั้งแต่คำว่ากาย รูปนาม ฌาน สมาธิ บุญ​ สารพัดที่อาตมาต้องมาแก้กลับ อธิบายให้ตรงกับสัจจะ เอาความหมายตามพระไตรปิฎกมาอ้างอิงยืนยันก็พอไปได้ เคราะห์ดีโชคดีที่มีพระไตรปิฎกเป็นหลักฐาน ที่ต่างคนเขาก็นับถือพระไตรปิฎกอันนี้กัน ถ้าเขาไม่นับถือพระไตรปิฎกฉบับนี้กัน อาตมาก็ไม่รู้จะเอาอะไรมาเป็นหลักยืนยันตายแน่ๆเลย พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐที่มี 45 เล่มนี่แหละ ก็แล้วจะอาศัยอันนี้แหละไป จนกระทั่งอาตมาตายไปชาตินี้คงต้องใช้หลักฐานอันนี้ นับวันนับคืน ผู้ที่มีปัญญาจึงจะเข้าใจได้จริงๆ นับวันมันก็จะดีขึ้นๆๆ ผู้ที่ยึดมั่นถือมั่นยังไงก็ไม่ยอมเชื่อ หัวเด็ดตีนขาดก็ไม่เชื่อว่าเราเป็นอาริยะ ไม่เชื่อว่าเป็นผู้รู้  ไม่เชื่อว่าโพธิรักษ์เป็นสยังอภิญญาเป็นพระโพธิสัตว์ที่จะมาสืบทอด เอาโลกุตรธรรมพระพุทธเจ้ามาสถาปนาลงให้ชัดเจน เพราะธรรมะพระพุทธเจ้าได้เลือนหายเหมือนกับกลองอานกะแล้ว

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 3 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 11 มกราคม 2563 ( 10:24:40 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:42:33 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 07:21:09 )

กาย รูปนาม สงบ

รายละเอียด

กาย รูปนาม สงบ คือ กิเลสสงบ กิเลสไม่มีกิเลสหายไปจากจิต เพราะไม่มีตัวกวน จิตยิ่งแคล่วคล่อง ว่องไว สงบของพระพุทธเจ้าเป็นเช่นนี้ เป็นกายมุทุตา ไม่ได้หมายความว่า กายคือ ร่างสงบนิ่งเฉย แข็ง ไม่กระดุ๊กกระดิ๊ก มันก็เลยไปจัดการกับสิ่งไม่เป็นสาระมากมาย

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 09 ตุลาคม 2562 ( 08:32:38 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:43:33 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 07:21:45 )

กาย สัญญาในวิญญาณฐิติหรือสัตตาวาส 9

รายละเอียด

สรุป กาย ก็ดี สัญญา ก็ดี ยกตัวอย่าง ในวิญญาณฐีติ หรือสัตตาวาส 9

ข้อ 1. กายต่างกันสัญญาต่างกัน ก็จะเห็นความเป็นเทวดา สัตว์นรก หรือเป็นมนุษย์ต่างกันไป รายละเอียดมีอีกเยอะ 

ข้อ 2. บางพวกมีความเห็นของกายต่างกัน แต่สัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกที่ได้ฌาน ขั้นที่ 1 ปฐมฌาน คือจิตสงบ จิตสงบจากนิวรณ์ 5 เพราะฉะนั้นผู้ที่นั่งหลับตานี้ เขาก็มีทิฏฐิของเขานั่งหลับตา ซึ่งไม่ใช่สัญญานะ ทิฏฐิก็เพ่งให้เกิดกำหนดหมายไม่มีนิวรณ์เหมือนกัน สัญญาอย่างเดียวกัน ศาสนาพุทธก็มีฌานที่ไม่มีนิวรณ์ 5 เหมือนกันแต่อย่างลืมตา ไม่ได้ไปหลับตาเลย แต่รู้จักจิตเจตสิกต่างๆ อย่างใดจิตเจตสิกเป็นนิวรณ์ เป็นกาม พยาบาท ถีนมิทธ อุทธัจจะกุกกุจจะ วิจิกิจฉา เราก็มีสัญญากำหนดว่าไม่มีสิ่งเหล่านี้เหมือนกับพวกที่นั่งหลับตาเขาก็ไม่มีเหมือนกัน แต่การรับสารนั้นทำให้เขาได้องค์รวมอีกอย่างหนึ่ง ของการลืมตานั้นก็มีองค์รวมของการปฏิบัติแตกต่างกันอีก ทั้งภายนอกภายในก็แตกต่างกันอย่างนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้นตรงนี้ ลวงมาก คือเขาไปนั่งหลับตา เขาไม่มีนิวรณ์​ เพราะฉะนั้นคนก็ไปเข้าใจว่า กิเลสคือนิวรณ์ 5 ก็เขาทำนิวรณ์ 5 ไม่มีได้นี่ แต่ได้ของเขานี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับชีวิตสามัญ โดยจริงๆแล้วเขานั่ง ปั้นภพ เป็นภพที่ไม่มีนิวรณ์​ มันเป็นอุปาทานอย่างหนึ่งด้วยซ้ำไป พวกที่นั่งหลับตาสะกดจิตตัวเองต่างๆนานาก็ทำให้จิตตัวเองมันนิ่ง ไม่คิดอะไร มันก็ไม่มีนิวรณ์ ก็คุณสัญญาว่าจิตคุณไม่มีนิวรณ์ก็จริง แต่วิธีสังคมมันแตกต่างกับเรา แต่ของพระพุทธเจ้านั้นไม่มีนิวรณ์เพราะว่ากิเลสนิวรณ์มันหายไปไม่มีในจิต เนื่องจากมันถูกชำระมันถูกเผาด้วยพลังงานฌานอย่างลืมตาเป็นไฟเผาผลาญนิวรณ์ ในข้อ 2 ก็จึงกายต่างกัน แต่สัญญาอย่างเดียวกัน

ข้อ 3. บางอย่างกายอย่างเดียวกันแต่สัญญาต่างกัน อย่างพวกอาภัสราพรหม ตัวอย่างชัดที่สุดก็คือพวกธรรมกาย ธรรมกายนั้นเป็นพวกตาบอดตาใส ใส เขาหลับตาเขาก็ใส เขาลืมตาเขาก็ใสๆๆ เรียกว่า กายอย่างเดียวกัน แต่สัญญากำหนดหมาย วิธีการของเขา การปฏิบัติประพฤติของเขา เขานั่งหลับตา แต่ของพระพุทธเจ้านั้นลืมตา มันสัญญาคนละอย่างกัน ของพุทธเจ้าก็ใสเหมือนกันโปร่งโล่งเหมือนกัน ไม่มีรูปไม่มีร่างไม่มีอะไรติดขัดใสสว่าง โดยไม่ต้องมีภพชาติไม่ต้องมีรูปร่างอะไรเลยมันใส อาภัสราพรหม แถมอีกอัน

ข้อ 4. สุภกิณหา อันนี้อธิบายง่ายๆ สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกันสัญญาอย่างเดียวกัน อันนี้อย่างเดียวกันทั้งกายทั้งสัญญา การได้องค์ประชุม กายคือองค์ประชุมทั้งนอกทั้งใน กิณหา แปลว่า ดำ มืด  พวกหลับตาก็ได้ความดำความมืด เขาก็ได้กาย ได้สภาพปึ๊บก็ได้นิโรธดำมืด เขาก็ได้ เขาก็ว่า สุภะ น่าได้น่ามีน่าเป็น เขาก็ได้ของเขามันก็อย่างเดียวกันกับพวกที่ลืมตาแบบพุทธ ลืมตาก็ได้ความมืดความดับ หลับตาก็ได้ความมืดความดับ โดยสัญญาของผู้ที่หลับตาก็ตาม ถ้าพยัญชนะบอกว่าความมืดความดำ ก็หลับตาสิ ถ้าหากลืมตามันก็สว่าง มันก็เป็นสัจจะที่แท้จริง แต่ไปกำหนดกันที่กิณหา หนึ่งเดียวกัน กายอย่างเดียวกัน สัญญาอย่าสงเดียวกัน ไปกำหนดที่กิณหาอย่างเดียวกัน แต่ของพุทธ ไม่หลับไหลไม่ลงไหล บอกว่าลืมตาก็ลืมตาสิหลับตาก็หลับตาสิ 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน 2563


เวลาบันทึก 28 เมษายน 2563 ( 13:12:57 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:47:17 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 05:09:44 )

กาย เทวะ แปลว่าภาวะคู่

รายละเอียด

คำว่า เทวะ แปลว่า 2 กายก็มีนัยยะ แปลว่า 2 แล้วลงลึก กายคือรูปนาม เพราะฉะนั้น คำว่า กาย เป็นภาวะคู่ เทวะก็แปลว่าภาวะคู่ แต่เทวะครอบคลุมไปหมดทั้งภาวะคู่ ตั้งแต่ 2 3 4 5 6 7 จนกระทั่งถึง Infinity เทวะ แต่สำคัญก็คือต้องมาแยกทีละคู่ เป็นลำดับๆไป เพราะฉะนั้นผู้ที่เป็นเทวะจะต้องรู้จักรูปนามคู่แรก แยกรูปแยกนามให้ได้ รูป เป็นสิ่งที่ถูกรู้ นาม เป็นตัวผู้รู้ แล้วตัวเองนั่นแหละคือเทวะ  เทวะ นี่แหละคือ อัตตาหรืออาตมัน 

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 10 มีนาคม 2563 ( 08:02:15 )

เวลาบันทึก 30 กรกฎาคม 2563 ( 12:43:24 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 13:15:50 )

กาย เป็นคำแรกที่ผู้มาศึกษาธรรมพระพุทธเจ้าจะต้องรู้จักอย่างสัมมาทิฏฐิ

รายละเอียด

ธรรมนิยาม 5 มี อุตุนิยาม พีชนิยาม จิตนิยาม  กรรมนิยาม ธรรมนิยามพระพุทธเจ้าท่านสอนอุปัชฌาย์ ให้อุปัชฌาย์ต้องแยกจิตแยกกาย คำว่ากายนี้สำคัญคำว่ากายที่จะต้องเข้าใจมาก เข้าใจอย่างลึกซึ้ง มีความหมายมากเลยในคำว่ากาย เพราะฉะนั้นคำว่ากาย จึงเป็นคำแรกที่ผู้จะมาศึกษาธรรมะพระพุทธเจ้าจะต้องรู้จักคำว่า กาย อย่างสัมมาทิฏฐิ แต่ถ้ารู้คำว่ากายไม่สัมมาทิฏฐิเลย ไม่ต้องเรียนต่อ 

สังโยชน์ 10 ต้องพ้นสักกายทิฏฐิ กายแล้วก็สักกะคือของตน อ่านในตนนี่แหละ อ่านความเป็นรูปนาม ความเป็นกาย ความเป็นภาวะ 2 ความเป็นภายนอกภายใน นี่ล้วนแล้วแต่เป็นความหมายของคำว่ากายทั้งนั้น ซึ่งอาตมาก็ยังอธิบายอยู่ทุกวันนี้ นี่ก็ยังหลายทีแล้วว่าจะหยิบคำว่ากาย ที่แบ่งไว้สัก 10 ข้อก่อน ในเรื่องของกาย จะเอามาขยายความ เขียนไว้แล้วในปัญญา 8 ว่าจะขยายความสักวันหนึ่ง เอาฝากไว้ก่อน

อุปัชฌาย์จะต้องสอนธรรมนิยาม 5 คือแยกกายแยกจิต ให้แก่ลูกศิษย์ให้เข้าใจอย่างสัมมาทิฏฐิให้ได้ เมื่อบวชให้เสร็จ ท่านก็ต้องอธิบายธรรมนิยาม 5 ให้ลูกศิษย์ เดี๋ยวนี้ไม่ได้อธิบายกัน เพราะไม่มีความรู้อันนี้ ท่านสอนเฉยๆ ยังเหลือภาษาอยู่บ้าง ว่าจะต้องมีธรรมนิยาม 5 แต่ไม่มีความรู้กันแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเป็นความเสื่อมของศาสนาพุทธจริงๆ อุปัชฌาย์ไม่รู้จักธรรมนิยาม 5 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการพุทธศาสนาตามภูมิ เรียนรู้โลก 9 แบบ จนเป็นมนุษย์พืชมหัศจรรย์ วันพุธที่ 19 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 01 มีนาคม 2565 ( 21:15:48 )

กาย เวทนา จิต ธรรม ไม่แยกกันแต่เป็นปฏิสัมพันธ์กัน

รายละเอียด

กายนี้คือ 2 แล้วในกาย ก็มาเป็นเวทนา กาย เวทนา จิต ธรรม มันจะเป็นปฏิสัมพันธ์กัน ไม่แยกกันเลย จากกาย ลึกซึ้งมาเป็นเวทนา จากเวทนาก็จะต่อไปรู้จักจิตต่างๆที่พระพุทธเจ้าท่านแยกเจโตปริยญาณ 16 เอาไว้ ตั้งแต่ สราคะ สโทสะ สโมหะ แล้วเราก็ต้องรู้ว่าจิตที่มันไม่มีราคะ ลดราคะลงมา จนมันไม่มีเรียกว่า วีตราคะ หรือโทสะกับโมหะ ก็เหมือนกันที่เป็น 3 คู่แรกของเจโตปริยญาณ 16 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 28 วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 03 มีนาคม 2564 ( 20:34:01 )

กาย เวทนา จิต ธรรมกับจิต เจตสิก รูป นิพพาน

รายละเอียด

กาย เวทนา จิต ธรรม มันเป็นนัยยะที่มาแจกในระยะที่มีละเอียดขึ้นฝันดี ส่วนจิต เจตสิก รูป นิพพานนั้นเป็นหลักใหญ่ ความเป็นจิต แยกจิตออกมาเป็นเจตสิก แล้วจิตเจตสิกนี้ก็แยกมาจากวิญญาณ วิญญาณธาตุมาเป็นจิตเจตสิก เจตสิกก็เป็นสิ่งที่ย่อยลงไปเรื่อยๆจากจิต จิตท่านก็มาแยกเป็นหัวข้ออีกตั้ง 89 หรือ 121 เสร็จแล้วก็มีแยกเป็นเจตสิก แต่ว่าเจตสิกที่นำมาอธิบายนั้น เจตสิกสำคัญที่ศาสนาพุทธเอามาใช้ก็คือเวทนา อันอื่นมี แต่ก็ไม่ต้องเอามาพูดเลยเรียนที่เวทนานี้ให้จบบริบูรณ์เวทนา 108 จบเป็นพระอรหันต์เลยแล้วจะรู้อันอื่นไปโดยปริยาย ธรรมทั้งสองเหล่านี้ รวมเป็นอันเดียวกันกับเวทนา โดยส่วนสอง (เทฺว ธมฺมา ทฺวเยน เวทนาย เอกสโมสรณา ภวนฺติ ฯ )  ล.10 ข.60 ซึ่งจะเรียนรู้ที่ละ 2 ไปเรื่อยๆ กาย เวทนา จิต ธรรม จะเป็นตัวที่แยกลงละเอียด  ส่วน จิตเจตสิก รูป นิพพาน ก็ให้รู้ว่าเป็นมิติอย่างไร อย่างนี้เจตสิก อย่างนี้รูป ก็บอกรูปกับนาม รูปมีทั้งรูปนอกและรูปใน จิตเจตสิกคือมีสองเหมือนกัน รูปก็มีรูปนอกรูปใน ส่วนนิพพานคือตัวจบ นิพพานก็ตัวใหญ่ จิตเจตสิกก็ตัวใหญ่ รูปก็ตัวใหญ่ ส่วนกาย เวทนา จิต ธรรมนั้น ก็เอาจิตนั่นแหละมาแจก เอากายมาแจก เรียนรู้ก็ต้องมาเรียนรู้เรื่องกายและจิต แยกกายแยกจิตให้เป็นให้ได้ ให้สัมมาทิฏฐิ แล้วจะรู้ละเอียดไปจนกระทั่งถึงนิพพาน 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563


เวลาบันทึก 25 พฤศจิกายน 2563 ( 08:40:31 )

กาย เวทนา จิต รวมเรียกว่าสังขาร

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นคำว่ากายคำว่าเวทนาคำว่าใจ หรือเรียกว่าจิต ใจเป็นภาษาไทย จิตเป็นภาษาบาลี 

กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต สามเส้านี้แหละ กาย เวทนา จิต ก็จะเกิดการเรียนรู้จากตรงนี้ กาย กับ จิต เป็น 2 อย่าง ปรุงร่วมกันเข้า ตรงกลางเรียกว่า เวทนา รวมทั้งหมดเรียกว่าสังขาร อันเดียวกันนะไม่แยก 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 28 วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 03 มีนาคม 2564 ( 17:45:02 )

กาย ไม่ใช่สรีระ

รายละเอียด

เดี๋ยวนี้เพี้ยนไปหมดคำว่ากายเป็นภาษาไทยแล้ว ไปเข้าใจว่ากายคือสรีระ นั่นแหละมิจฉาทิฏฐิ เพราะฉะนั้นจะพ้น สักกายทิฏฐิ คือต้องเข้าใจให้ถูกว่า กาย ไม่ใช่สรีระ สรีระมันคือซากศพ มันคือร่างข้างนอก ไม่มีจิตวิญญาณร่วมด้วย สรีระไม่มีจิตวิญญาณร่วมด้วย ฟังดีๆนะตรงนี้ ภาษาอาตมาอธิบายเป็นภาษาไทยชัด 

สรีระไม่มีวิญญาณ ไม่มีจิตวิญญาณเข้าร่วม เป็นเฉพาะร่างอย่างเดียว หรือซากศพ หรือคนตายนี่คือสรีระ แต่ กายนี่ เป็นสรีระไม่ได้ เป็นเฉพาะร่างอย่างเดียวก็ไม่ได้ กายจะเป็นจิต เป็นมโน เป็นวิญญาณ ด้วยซ้ำ นี่คือศาสนาพุทธทุกวันนี้ คนเสื่อมจากศาสนาพุทธโดยเฉพาะคนไทย คำว่ากายเป็นภาษาไทย และไปแปลกายว่าสรีระ และแถมไปแปลว่า สรีระแปลว่าร่างกาย อ้าว.. ผิดซ้ำผิดเยอะผิดซ้อนเข้าไปอีก 

สรีระมันแปลว่าร่างก็ถูกแล้ว แล้วไปเอากาย คำผิดมาใส่เข้าไปอีกแปลเป็นไทยนะ เอาคำไทยที่ตัวเองก็ผิดแล้ว ผิดอย่างไร ผิดเข้าใจว่ากายคือสรีระ แล้วเอามาแถมซ้ำเข้าไปอีกว่าเป็นร่าง ๆ โอ้โห..เป็นร่างใหญ่เลย สรีระเลยเป็นร่างๆใหญ่เลย ซึ่งเอาคำว่ากายที่มันแปลว่าจิตนี้ไปใส่สรีระผิด มันก็เลยผิดซ้อน 2 เข้าไปอีก

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการพุทธศาสนาตามภูมิ คนอยู่เหนือกาละต้องชนะปฏิจจสมุปบาท วันพุธที่ 3 มกราคม 2567 วันแรม 7 ค่ำเดือนอ้ายปีเถาะ  ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 15 มีนาคม 2567 ( 19:00:22 )

กาย 

รายละเอียด

กาย  คือ  เอาภายนอกเป็นหลักแต่ไม่ได้ขาดจากจิต  กายคำนี้ขาดจิตไม่ได้  กายต้องเป็นสองขึ้นไป  กายนี้ไม่ใช่แค่สอง  แต่เป็นหมวดหมู่ก็ได้  กายคือ  หมวดของเวทนา  หมวดของสังขาร  หมวดของวิญญาณ  วิญญาณเป็นองค์รวมของเจตสิก 3 กายเอียงโต่งมาข้างภายนอก  ส่วนจิตเอียงโต่งมาทางภายใน

คำอธิบาย

กาย  คือ รูป กับ นาม  คนที่ไม่รู้จักกาย จะมาทำจิตวิเวกไม่ได้  แต่เป็นความรู้แม้เอาร่างกายออกป่าเขาถ้ำ  ผู้ที่สัมมาทิฏฐิ แล้วก็ทำจิตวิเวกได้  แต่ท่านมีสัมมาทิฏฐิกว่านั้น  ไม่ต้องแบกกลดออกไปไหนเลย  ไม่กล้าอยู่กับสังคม ธรรมดาท่านก็ไม่ต้องเอาตัวเองไปหาที่ทำสมาธิมีวิธีการคิด การพูด การทำที่มีสัมมาทิฏฐิ  กายไม่พูดต้องทำอย่างไรก็มิจฉา  นั่งหลับตาสะกดจิตบอกว่าได้มรรคผลเป็นรูปฌาน  อรูปฌาน  ได้ที่คุณได้นึกว่าคุณได้  แต่มันไม่ใช่มันเป็นสิ่งที่คุณสร้างขึ้นมา เป็น รูป ลวง  ภาวะลวงที่คุณได้  เป็นมิจฉาหมดเลย คุณยิ่งไกลจากวิเวกไปอย่างลิบลับเลย

(รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช  วันพุธที่ 16  ตุลาคม 2562)

ที่มา ที่ไป

  รายการวิถีอารยธรรม   วันอาทิตย์ที่  29   กันยายน  2562


เวลาบันทึก 01 ตุลาคม 2562 ( 17:53:55 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 16:21:05 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 14:06:25 )

กาย 

รายละเอียด

กาย  คือ  ไม่ได้หมายถึงข้างนอกอย่างเดียวต้องมีทั้งนอกและในซึ่งเขาเข้าใจแค่ภายนอก  เบื้องต้นต้องพ้นสักกายะแต่เขาไม่รู้จักกาย  ก็จะไม่รู้สักกายะมีแต่สักจิตตะ

 

ที่มา ที่ไป

 รายการพุทธศาสนาตามภูมิ  วันศุกร์ที่ 27 กันยายน  2562


เวลาบันทึก 30 กันยายน 2562 ( 09:24:51 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 16:18:25 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 14:05:17 )

กายกรรม

รายละเอียด

งานที่ปรากฏออกมาหยาบใหญ่ เป็นรูปร่าง

หนังสืออ้างอิง

จากหนังสือทางเอก ภาค 3 หน้า 20


เวลาบันทึก 09 กรกฎาคม 2562 ( 14:18:16 )

เวลาบันทึก 30 เมษายน 2563 ( 14:27:23 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 14:00:50 )

กายกรรม

รายละเอียด

การกระทำหรือสิ่งที่พึง กระทำของกายคือรูปกับนาม

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช  วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 16 พฤศจิกายน 2562 ( 19:32:12 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 15:03:04 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 14:06:46 )

กายกรรม

รายละเอียด

คือ สิ่งที่พึงกระทำทางกาย

หนังสืออ้างอิง

“คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1 หน้า 237


เวลาบันทึก 10 พฤศจิกายน 2562 ( 12:50:46 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 14:58:52 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 04:38:59 )

กายกรรม

รายละเอียด

กายกรรม ภาษาไทยเรียกทับศัพท์ หมายถึงสิ่งที่พึงกระทำทางกาย การออกกำลังกาย  กรรมแปลว่าการกระทำ กายก็ทับศัพท์ คนที่เข้าใจคำว่ากายหมายถึงเพียงแต่ร่างเฉยๆ มันก็หมายถึงกรรมทางร่าง กระทำ

ที่มา ที่ไป

รายการบ้านราช กายนี้คือวิญญาณ วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 29 กุมภาพันธ์ 2563 ( 16:59:09 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 15:04:06 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 14:08:02 )

กายกรรม

รายละเอียด

กายกรรมคือ การกระทำ มีการเคลื่อนไหว มีการกระทบสัมผัส จะมีบทบาทเรื่องราวหน้าที่ มีการงานเกิดขึ้นเรียกว่า กายกรรม ออกมาครบทั้งรูปทั้งนาม มีตาหูจมูกลิ้นกายใจออกมาทำงานครบรูปนาม แต่เขาไปแปลความหมายตามพจนานุกรม กายกัมม(บาลี) ก็แปลว่ากายกรรม(สันสกฤต) จากบาลีมาเป็นภาษาสันสกฤต แล้วเขาแปลไปอีกว่า เป็นสิ่งที่พึงกระทำทางกาย ก็หมายความว่า รูป กับนาม ที่เราเป็นเจ้าของ เราเป็นเจ้าเรือน เป็นเจ้าของนาม กายคือนาม พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า กาย ตถาคตเรียกว่า จิต มโน วิญญาณ

ที่มา ที่ไป

(630606)


เวลาบันทึก 06 มิถุนายน 2563 ( 15:30:41 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 15:04:56 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 14:18:05 )

กายกรรม 

รายละเอียด

กายกรรม  คือ  แปลว่าการกระทำทางกายซึ่งกระทำด้วย รูป – นาม (มีนามด้วย) ให้เกิดผลตามตนต้องการคำ กายอื่นๆ เช่น กายกัมมัญญตา  กายปัสสัทธิ  กายปาคุญญตา  กายสักขี  กายมุทุตา  กายลหุตา  กายวิการ  ล้วนพาซื่อไปหมายเอาเฉพาะร่างกายนอกเท่านั้นไม่มีความเป็นจิตร่วมด้วยเลย  ซึ่งผิดอย่างมหันต์ทีเดียว  ถ้าเข้าใจอย่างนี้ก็จะไม่สามารถทำความเป็นฌานแบบพุทธได้เป็นอันขาด  จะไม่บรรลุโลกุตรธรรมได้เลย  สังคมคนทั้งหลายทั่วไปในโลกนั้นทำฌานแบบทั่วไปของเทวนิยมกันทั้งนั้น  แต่ฌานของพุทธมันตรงกันข้ามกับฌานของเทวนิยมเดินทางไปคนละทิศ

 

ที่มา ที่ไป

  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ   วันศุกร์ที่ 27 กันยายน 2562


เวลาบันทึก 30 กันยายน 2562 ( 09:37:15 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 15:12:15 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 14:16:20 )

กายกรรมต่างจากกายวิญญัติอย่างไร

รายละเอียด

ถ้า กายกรรมแล้ว มันจะชัดเจนเลยว่าเป็นการกระทำของกาย เป็นการงานของกาย เพราะฉะนั้น การงานของกาย เป็นการงานที่เกิดของทั้งรูปและนาม เกิดทั้งภายนอกและภายใน ไม่ใช่แค่กายวิญญัติ เคลื่อนเพียงภายนอก เคลื่อนเพียงวจี ก็เป็นเรื่องภาษาพูด “มโนวิญญัติ” ก็เป็นเรื่องภายใน ก็จะเป็นกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

กายกรรม มันมีจิตประกอบด้วย มันลึกซึ้งกว่า กายวิญญัติ การปฏิบัติธรรมทั้งกายทั้งจิต กายมีจิตคู่ไปด้วยเสมอ การกระทำนี้มีจิตบงการให้กระทำอย่างนี้ ถ้าวจี ก็มีจิตบงการให้พูดอย่างนี้ ๆ มโนกรรมก็มีจิตบงการก็ทำกรรมอยู่ในใจยังไม่เป็นตน ถ้ากายเฉยๆ พูดลอยๆก็ไม่แยก 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแดงธรรมรายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 24 วันจันทร์ที่ 18 มกราคม 2564 ที่
บ้านราชฯ


เวลาบันทึก 30 มกราคม 2564 ( 17:42:27 )

กายกรรมปรุงแต่ง

รายละเอียด

ตั้งแต่เริ่มคิด ดำริ อะไรขึ้นมามันก็มีตัวอาการ มีกาม มีปฏิฆะ เข้าไปร่วมปรุง ปรุงขึ้นมา ก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ จิตของเรามันปรุงอย่างไร จนมาเป็นสังกัปปะที่เรียกว่า มิจฉาสังกัปปะเพราะมันไม่รู้ว่าอวิชชา มันไม่มีวิธีการไม่รู้การเรียนรู้ศึกษา

ที่มา ที่ไป

รายการทำวัตรเช้า งาน ว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน บ้านราช  วันอังคารที่ 1 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 11 มกราคม 2563 ( 12:24:28 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 15:13:37 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 14:21:03 )

กายกลิ

รายละเอียด

กายกลิ คือ กิเลส สิ่งเป็นโทษเป็นภัย เป็นความชั่วช้า ไม่ดีที่อยู่ในกายเมื่อหมายเอากายนี้เอาที่จิต เขามองว่าเป็นขี้ไคล แผลเน่าเปื่อยแล้วจะได้ปฏิบัติธรรมไหมนี่

คำอธิบาย

คือ คำว่า กลิ คือ กิเลส เป็นอาการที่อยู่ในกาย

(รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราชฯ ครั้งที่ 68 วันจันทร์ที่ 9 เดือนกันยายน 2562)

กายกลิ  คือ กิเลส ความเป็นโทษที่อยู่ในรูปนามของคุณ เป็นตัวไม่ดี เป็นตัวที่ต้องเอาออกจากตัวเอง

(รายการวิถีอารยธรรม  บ้านราช  วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม 2562)

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม  บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 09 ตุลาคม 2562 ( 08:26:12 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 15:15:30 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 14:25:59 )

กายกลิ

รายละเอียด

กิเลส , สิ่งชั่วช้าที่อยู่ในกาย

หนังสืออ้างอิง

จากค้าบุญคือบาป หน้า 129


เวลาบันทึก 09 กรกฎาคม 2562 ( 14:18:57 )

เวลาบันทึก 29 เมษายน 2563 ( 16:11:51 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 02:45:57 )

กายกลิ

รายละเอียด

กิเลส หรือ สิ่งชั่วช้าที่อยู่ในกาย

ที่มา ที่ไป

รวมศัพท์อโศก


เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 08:15:26 )

กายกลิ

รายละเอียด

กลิ โทษภัย แล้วโทษภัยของนาม จิตวิญญาณ สิ่งที่ชั่วช้าเป็นโทษที่อยู่ในกาย ก็คือ กิเลสนั่นเอง กลิ ก็คือ กิเลสนั่นเอง

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม  2562


เวลาบันทึก 16 พฤศจิกายน 2562 ( 19:35:16 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 15:16:49 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 14:30:30 )

กายกลิ

รายละเอียด

คือตัวกิเลส  กายคือ องค์ประชุมของกลิ  กลิ แปลว่า ตัวโทษภัยของจิต  ต้องทำลาย กายกลิให้แตกตายไปได้  อย่าง นิจจัง  (เที่ยงแท้) ชุวัง (ถาวร)สัสตัง (ยืนนาน) อสิปรินามธัมมัง(ไม่แปรเปลี่ยน)  อสังหิรัง (ไม่มีอะไรหักล้างได้) อสังกุปปัง (ไม่กลับกำเริบ) พระอรหันต์ ทำให้ กายกลิตายอย่างนิรันดร  แต่ร่างกายของพระอรหันต์ยังไม่ตาย

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช  วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 04 ธันวาคม 2562 ( 14:07:09 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:21:11 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 14:28:32 )

กายกลิ

รายละเอียด

สิ่งที่เป็นโทษในกายคือกิเลส

หนังสืออ้างอิง

รวมคนจะมีธรรมะได้อย่างไร ? หน้า 176


เวลาบันทึก 11 ธันวาคม 2562 ( 12:42:13 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 14:59:20 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 02:44:02 )

กายกลิ

รายละเอียด

กายกลิ กลิ แปลว่าโทษภัย องค์ประชุมของพลังงานจิตที่มันเป็นภัย กายกลิคือ องค์ประชุมของโทษภัยคือ กายกลิ เขาแปลว่า สิ่งชั่วช้าที่อยู่ในกาย กายคือธาตุ 2 อยู่ในธาตุ 2 อยู่ในกายนี้สิ่งนั้นสิ่งที่ชั่วช้า เพราะฉะนั้นสิ่งที่ชั่วช้าที่บงการอยู่ก็คือจิต สิ่งที่ถูกจิตบงการก็คือกรรมกิริยาภายนอก กายวิญญัติ วจีวิญญัติให้ออกไปเป็นกายกรรม หากไปแปลกายกรรมว่าแค่ออกกำลังกายก็ไม่ผิด แต่ลึกๆคือ บ่งบอกทั้งข้างนอกข้างในเป็นกายกรรมครบพร้อมหมายถึงจิตและท่าทีลีลาของการเคลื่อนไหวภายนอกด้วย

ที่มา ที่ไป

รายการบ้านราช กายนี้คือวิญญาณ วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 29 กุมภาพันธ์ 2563 ( 17:13:50 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:24:07 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 14:35:48 )

กายกลิ

รายละเอียด

กายกลิ กลิคือโทษ คือภัย เพราะฉะนั้นตัว กลิ คือตัวโทษตัวภัย ขยายกลิก็คือกิเลส ตัวสำคัญเลย ตัวที่เป็นตัวกิเลสนั่นแหละ เป็นตัวเชื้อโรค เชื้อร้ายที่มันอยู่ในจิตอยู่กับจิต ควบคุม กายกลิ ควบคุมตัวเรา เป็นโทษเป็นภัยออกมาทางกายตลอดเวลา ภายนอกไม่สำรวมอยู่ในจิตเท่านั้น 

ความมืดความดำความโง่ กายลิ คือเป็นโทษ คือสิ่งชั่วช้าที่อยู่ในกาย ถ้าเข้าใจว่า กายมีแต่ร่างภายนอก สิ่งชั่วช้ามีแต่เพียงภายนอกก็ไปทำอะไรกับมันไม่ได้เลย เช่น เป็นมะเร็ง เป็นแผล เป็นฝี เป็นตัวภายนอก แม้แต่เป็นขี้ไคล เป็นคราบอะไรก็แล้วแต่ แต่จริงๆแล้วคือหมายถึง กิเลส สิ่งชั่วช้าที่ครอบงำจิต สิ่งชั่วร้ายที่อยู่ในกายอยู่ในจิต กายคือจิต สิ่งชั่วช้าที่ครอบงำอยู่แล้วออกมาภายนอกด้วยเลย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 23 ความมหัศจรรย์ของการแยกกายแยกจิตได้ วันจันทร์ที่ 10 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 25 มกราคม 2565 ( 21:00:26 )

กายกลิ 

รายละเอียด

กายกลิ  คือ กิเลส อาการกิเลส

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต สันติอโศก วันพุธที่  2 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 05 ตุลาคม 2562 ( 13:48:06 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:25:30 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 14:43:51 )

กายกลิ 

รายละเอียด

กายกลิ  คือ  กลุ่มหรือกองของจิตที่เป็นโทษ สิ่งชั่วช้าที่อยู่ในกายตัวแท้

 

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ  วันศุกร์ที่ 27 กันยายน 2562


เวลาบันทึก 30 กันยายน 2562 ( 09:40:55 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:26:46 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 14:46:39 )

กายกลิ 

รายละเอียด

กายกลิ  คือ  สิ่งชั่วช้าที่อยู่ในกาย  คือ  กิเลส คือ กายโทษ =โทษที่อยู่ในกาย

 

ที่มา ที่ไป

  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ วันศุกร์ที่  27 กันยายน  2562


เวลาบันทึก 30 กันยายน 2562 ( 09:25:46 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:27:52 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 14:42:29 )

กายกลิ 

รายละเอียด

กายกลิ  คือ  ตัวตนของกิเลสในตน

 

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ  วันศุกร์ที่ 27 กันยายน 2562


เวลาบันทึก 30 กันยายน 2562 ( 09:20:13 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:29:09 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 14:49:03 )

กายกันสัญญาไม่ใช่อันเดียวกัน

รายละเอียด

คำว่า กายต่างกันสัญญาต่างกัน ที่คุณว่า เพราะกายต่างกันสัญญาก็ย่อมต่างกัน อันนี้อาตมาว่า คุณไปเข้าใจว่า แแล้วนะ ความหมายของคุณที่พูดอย่างนี้มา ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดแน่นอน

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม ตอบปัญหาผ่าวิญญาณฐีติ 7 วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม 2563
ที่บ้านราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 02 กุมภาพันธ์ 2564 ( 13:12:20 )

กายกับกายกรรม

รายละเอียด

ขึ้นต้นคำว่า กายก็ยืนยันได้ว่าเป็นหมวดแห่งเจตสิก เวทนา สัญญา สังขาร ฟังดีๆนะ ที่เข้าใจกาย เป็นสรีระ เป็นวัตถุธาตุ คุณผิดมานานมาก แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่เกี่ยวกับดินน้ำไฟลม ไม่เกี่ยวกับสรีระ ต้องเป็น 2 กายต้องเป็น 2 อีกคำ กายกรรม ตามพจนานุกรมแปลว่า สิ่งที่พึงกระทำทางกาย กรรมแปลว่าการกระทำ หรือแปลว่าการออกกำลังกาย ซึ่งที่จริงมันไม่ใช่ กายกรรม เป็นการกระทำทั้งภายนอกภายในของคุณนั่นแหละที่เรียกว่ากายกรรม ทั้งภายนอกและภายใน มีจิตเป็นประธาน

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 23 ความมหัศจรรย์ของการแยกกายแยกจิตได้ วันจันทร์ที่ 10 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 25 มกราคม 2565 ( 20:51:56 )

กายกับจิต

รายละเอียด

อาตมาก็พยายามอธิบาย พระพุทธเจ้าท่านอธิบายไว้ผู้จะมาบวชศาสนาพุทธต้องไปนิพพาน ผู้ที่เริ่มบวชพระพุทธเจ้าก็ให้ศึกษาการแยกกายแยกจิตก่อน 

เดี๋ยวนี้ทำไม่เป็น แยกกายแยกจิต เขาก็ไปทำกันนั่งสมาธิแล้วให้ถอดกายทิพย์ออกไป กายที่ถอดออกไป กายที่ถอดไปก็คือจิตถอดออกไปจากร่าง เสร็จแล้วก็ไปมองกลับมาที่ร่างเห็นร่างตัวเองนั่งนิ่งๆอยู่ เขาก็บอกว่าทำได้เก่ง แล้วกายที่ถอดออกไปได้นั่นคือจิตวิญญาณของเรา ส่วนกายก็คือร่างที่นั่งอยู่ตรงนั้นเราก็เห็นตัวเรานั่งอยู่ เขาบอกว่านี่แหละคือความสำเร็จของการแยกกายแยกจิตไปนู่น เป็นเดียรถีย์ไปเลยแบบนั้นคือการเข้าใจแบบเดียรถีย์ ซึ่งมันง่ายที่ไหน พยายามทำมันไม่ได้ทำง่ายๆนะมันเป็นอุปาทาน คนที่ไม่มีอุปาทานทำไปเถอะก็จะไม่ได้เลยนึกว่าตัวเองไม่มีบารมี ที่จริงคุณแยกไม่ได้ทำไม่ได้เหมือนที่เขาบอกนั่นแหละคนมีบารมี แต่คนไปถูกครอบงำทางความคิดต้องแยกให้ได้ให้จิตเราออกไปเห็นตัวเรานั่งอยู่ คนนี้แหละเก่งชะมัดเลย คนนี้ยอดเยี่ยม เอาไปโชว์ให้ลูกหลานเพื่อนฝูงคนอื่นบอกว่าแยกกายแยกจิตได้แล้ว ขี้หมาแหละครับ คนละเรื่องเลย 

ที่มา ที่ไป

รายการทำวัตรเช้า งานว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน บ้านราช  วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 10 มกราคม 2563 ( 17:57:54 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:34:30 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 14:55:24 )

กายกับจิตต่างกันอย่างไร

รายละเอียด

 

ต่างกันคือ “กาย” นั้น เรียกความเป็น 2 ร่วมกันอยู่ เรียกว่า ภายนอกกับภายใน ของชีวิตสัตว์ จะเป็นสัตว์เดรัจฉานก็ตามคนก็ตาม หนึ่งชีวิตนี้มี กาย คือมีภายนอกกับภายใน 

ภายนอกท่านเรียกด้วยภาษาว่า “รูป” ภายในเรียกว่า “นาม”

“รูป” มีดินน้ำไฟลมผสมกันอยู่อย่างสนิทเนียน เหมือนอย่างดินน้ำไฟลมไปเป็นพืชต่างๆเป็นหอมเป็นต้น แต่ทีนี้ผสมแต่สูงกว่าหัวหอม มันมีความเป็นชีวิตผสมอยู่ เป็นสิ่งมีชีวิตมีคุณภาพสูงกว่าความเป็นพืชเรียกว่า “จิต หรือ ใจ” 

“กาย” มีทั้งดินน้ำไฟลม แล้วมีทั้งจิตหรือใจ รวมกันเป็น 2 อยู่ ส่วน “จิต” นั้นหยิบมาอธิบายแต่จิตใจความรู้สึก หรือธาตุที่เป็นกิริยาอาการของจิต การงานของจิต การงานของใจ มันไปรู้สึกสุขทุกข์หรืออย่างนั้นอย่างนี้ จะเป็นตัวประธานของ กาย ประธานของทั้งกายทั้งจิต

มีตัวหนึ่งเป็นประธานตัวนั้นเรียกว่าความรู้ยอดหรือความไม่รู้ยอด ภาษาบาลีเรียกว่า “วิชชา กับ อวิชชา”

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแดงธรรมรายการ โสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 24 วันจันทร์ที่ 18 มกราคม 2564 ที่
บ้านราชธานีอโศก

 


เวลาบันทึก 30 มกราคม 2564 ( 18:15:15 )

กายกับจิตเป็นนามธรรมทำงานร่วมกันเร็วมาก

รายละเอียด

ถ้าสามารถรู้เรื่องกายเรื่องจิต กายกับจิตเป็นนามธรรมก้อนใหญ่ สัญญาเป็นเจตสิกอีกที ไปทำงานย่อยกำหนดรู้แล้วทำงานสองอย่างสำคัญมากมีทั้งลักษณะ static dynamic ในตัว บวกกับลบในตัวเองเลย บวกสั่งสมลงนิ่ง ลบก็เคลื่อนไหว เหมือนกับลูกข่างหมุนเร็วนิ่ง เร็วจนแทบจะวัดความเร็วยาก แยกกันไม่ได้ แต่ทำงานร่วมกัน เมื่อเป็นชีวะจะเริ่มแยกไป เป็นอุตุก็แยกกันเป็นดินน้ำไฟลม หมดอัตภาพ หมดอัตตา จิตนิยามเราก็สูญไม่เหลือ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 15 มีนาคม 2563 ( 09:54:59 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 07:46:04 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 14:57:49 )

กายกับจิตเป็นสภาวะสิริมหามายา

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นท่านบอกว่าเป็นกายกับจิต กายกับจิต ก็เป็นสภาวะสิริมหามายา กายกับจิตคือ 1 แต่เป็น 2  นี่แหละ สิริมหามายาเล่นกล 2 แต่เป็น 1  และ 1 แต่เป็น 2 จะพลิกมุมใดก็ได้ สิริมหามายาจึงเป็นเรื่องยาก สิริมหามายาเป็นผู้ให้ความเกิดเป็นแม่ เพราะฉะนั้นผู้ที่ยังให้ความเกิดอยู่ แต่ก็เป็นผู้ที่รู้จักตาย ผู้ที่ให้ความเกิดแล้วตายได้อยู่ในตัวเอง ซึ่งเป็นเรื่องของความเกิดและตายเป็นเรื่องสิริมหามายาเหมือนมายา แต่เป็นสัจธรรมคือสิริมหามายา ขึ้นต้นก็ชักจะมึนๆ ของยากๆ ฟังไว้ อาตมาจำเป็นต้องพูดสัจธรรมพวกนี้ให้ได้รับรู้ความจริงกัน ถ้าอาตมาไม่เอามาขยายความ ก็ไม่รู้กัน 

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม 2563


เวลาบันทึก 20 พฤศจิกายน 2563 ( 12:15:29 )

กายกับจิตเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

รายละเอียด

กายกับจิต มันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่กายกับจิต มันแยกกันได้ มันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแต่แยกกันได้ ที่สุด กายไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่กาย ก็ได้ แต่ไม่แยกกัน สิ้นขาดด้วยความรู้ในธรรมนิยาม โดยเฉพาะธรรมนิยาม 4 ก็คือ อุตุนิยาม พีชนิยาม จิตนิยาม และธรรมนิยาม

ที่มา ที่ไป

รายการกายนี้คือวิญญาณ วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 03 มีนาคม 2563 ( 10:13:25 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 07:49:07 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 14:59:44 )

กายกับจิตแยกกันไม่ได้นอกจากจะเป็นพระอรหันต์

รายละเอียด

กายกับจิตแยกกันไม่ได้ แยกกันเมื่อไหร่ มิจฉาทิฏฐิหรืออวิชชาไปเลย หรือไม่ก็เป็นพระอรหันต์ไปเลยถ้าแยกกันได้ คุณแยกได้แยกสำเร็จก็เป็นพระอรหันต์ คุณแยกให้เป็นแยกไม่ได้แต่มันแยกคุณก็โง่ เพราะมันแยกไม่ได้อยากได้คุณจะต้องอยู่เหนือมัน ต้องชัดเจนว่าส่วนที่คุณแยกมาให้มันเป็นเครื่องอาศัย กับคุณผู้ที่เป็นคนควบคุมเครื่องอาศัย คุณต้องเป็นนายสิ่งเหล่านี้ และควบคุมสิ่งเหล่านี้ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม ปฏิบัติศีล ให้ถึงอรหัตตผลโดยลำดับ วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 19 พฤษภาคม 2564 ( 13:45:22 )

กายกับรูปต่างกันอย่างไร

รายละเอียด

คำว่า กาย นี้ พอถามว่า กาย กับ รูป กาย นี่ มีรูป กับนาม ทีนี้ เวลาปฏิบัติท่านให้เน้นนาม กายจะเน้นนาม เพราะรูปมันหยาบ รู้ง่าย เป็นเบื้องต้น แต่ก็ไม่ทิ้งภายนอก ไม่ทิ้งความหยาบ แต่รู้เท่าทันจนเหนือความหยาบ เราจึงยืนเหนือสิ่งนั้น สิ่งนั้นครอบงำเราไม่ได้ มีอำนาจจิต ยังจิตให้อยู่ในอำนาจได้ วสวัตตี จิต กายที่หยาบมาเรื่อยๆ การปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้น ทีนี้ กายที่เลื่อนไหลเข้ามาเรื่อยๆนั้นพระพุทธเจ้าตรัสว่ากายนี้คือ จิต มโน วิญญาณ ภาษาพยัญชนะกับสภาวะ ถ้าไม่รู้ถึงจุดหมายในองค์ประกอบหรือปริเฉทของสิ่งที่กำลังพูดถึงนี้ เข้าใจไหม เอาระดับไหนก็แล้วแต่ องค์ประกอบขั้นไหนแล้ว ขั้นหยาบภายนอก กลางหรือละเอียดลึกซึ้ง หรือขั้นที่รวมรูปวัตถุข้างนอกเลย หรือพ้นแล้ววัตถุภายนอก เหลือแต่ข้างใน ขนาดระดับกลาง ก็เหลือระดับในสุดละเอียดเป็นอรูป เราก็จะต้องเข้าใจไปตามลำดับ 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 20 กันยายน 2563 ( 11:44:36 )

กายกับสรีระ

รายละเอียด

กายเป็นภาษาไทยแล้ว ไปเข้าใจว่ากายคือสรีระ นั่นแหละมิจฉาทิฏฐิ เพราะฉะนั้นจะพ้น สักกายทิฏฐิ คือต้องเข้าใจให้ถูกว่า กาย ไม่ใช่สรีระ สรีระมันคือซากศพ มันคือร่างข้างนอก ไม่มีจิตวิญญาณร่วมด้วย สรีระไม่มีจิตวิญญาณร่วมด้วย ฟังดีๆนะตรงนี้ ภาษาอาตมาอธิบายเป็นภาษาไทยชัด 

สรีระไม่มีวิญญาณ ไม่มีจิตวิญญาณเข้าร่วม เป็นเฉพาะร่างอย่างเดียว หรือซากศพ หรือคนตายนี่คือสรีระ แต่ กายนี่ เป็นสรีระไม่ได้ เป็นเฉพาะร่างอย่างเดียวก็ไม่ได้ กายเป็นจิต เป็นมโน เป็นวิญญาณ ด้วยซ้ำ นี่คือศาสนาพุทธทุกวันนี้ คนเสื่อมจากศาสนาพุทธโดยเฉพาะคนไทย คำว่ากายเป็นภาษาไทย และไปแปลกายว่าสรีระ และแถมไปแปลสรีระว่าร่างกาย

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ คนอยู่เหนือกาละต้องชนะปฏิจจสมุปบาท พุทธศาสนาตามภูมิ วันพุธที่ 3 มกราคม 2567 วันแรม 7 ค่ำเดือนอ้ายปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 09 มกราคม 2567 ( 15:21:16 )

กายกับสัญญาคืออะไรทำไมสำคัญนัก

รายละเอียด

ก็ต้องศึกษา กาย กับสัญญาคืออะไร หากกายกับสัญญาไม่รู้เรื่อง คุณจะปฏิบัติธรรมะพระพุทธเจ้าไม่รู้เรื่องเลย ไม่มีทางได้มรรคผลเลย สังโยชน์ 1 คือ ต้องรู้กายสักกายทิฏฐิ ต้องรู้จักและใช้กายของตน ปฏิบัติกับกาย ถ้าไม่รู้ว่ากายคือรูปกับนาม ต้องเกี่ยวข้องกัน ต้องสังขารกันต้องปรุงแต่งกันอยู่ตลอด ถ้าคุณไม่สามารถจะรู้อย่างนี้ คุณปฏิบัติจรณะ 15 วิชชา 8 ไม่ได้เลย หรือปฏิบัติปฏิจจสมุปบาทไม่ได้เลย ก็จะมีอวิชชาเพราะคุณจะมีสังขาร สังขารคือการปรุงแต่งของรูปนาม ปรุงแต่ง 2 สภาวะคือ สิ่งหนึ่งกับจิต นี่แหละ เรียกเป็นอีกสิ่งหนึ่งคือ กาย กายนี้มีทั้งรูปและนามแยกกันไม่ออกแยกกันไม่ได้ กายเป็น 2 ตลอด ทีนี้จะแยกกายแยกจิตต้องแยกให้เป็น ถ้าแยกไม่เป็นก็ทำจิตให้เป็นอุตุนิยาม พีชนิยามไม่ได้ คุณก็ไม่มีทางทำมรรคผลที่จะสำเร็จ ก็คือคุณต้องทำจิตให้เป็นอุตุ เป็นพีชะได้ ด้วยกรรมทรงไว้เป็นธรรมะตั้งแต่เป็นๆ 

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2563


เวลาบันทึก 28 ธันวาคม 2563 ( 14:48:32 )

กายกับสัญญาในวิญญาณฐิติ 7 ข้อที่ 1

รายละเอียด

วิญญาณฐีติ 7

ข้อที่ 1 ถ้าเข้าใจคำว่ากายต่างไปจากผู้สัมมาทิฏฐิ เข้าใจผิดหรือสัญญากำหนดผิดต่างไปจากผู้ที่สัมมา ฉะนั้นพวกนี้ก็จะเห็นความเป็นมนุษย์ก็ดี เห็นพวกเป็นเทวดาก็ดี เห็นเป็นสัตว์นรกก็ดี ต่างกัน เห็นต่างกัน นี่แหละตาไปกระทบมนุษย์ด้วยกัน ที่จริงเป็นสัตว์นรกเป็นเทวดาก็อยู่ในมนุษย์นี่แหละ ร่างกายมีจิตอันแยกไม่ออก ทำงานอยู่ด้วยกัน เมื่อมันปรุงแต่งเป็นความต่ำ ความบาป ความอกุศล มันก็เป็นสัตว์นรก ถ้ามันปรุงแต่งเป็นกุศลมันก็ดี ก็เป็นเทวดา

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการวิถีอาริยธรรม เรียนรู้วิญญาณฐิติ 7 ให้ถึงอรหันต์ วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 พฤษภาคม 2564 ( 15:29:55 )

กายกับสัญญาในวิญญาณฐิติข้อที่ 4

รายละเอียด

ข้อที่ 4  สัตว์ที่มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพ

ชั้นสุภกิณหะ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ 4

คนที่หลงความมืดความดำเป็นภพชาติเก่าก็ต้องมีภพชาติ แต่ถ้าเขาสัมมาทิฏฐิตรงกับพระอรหันต์แล้วเขาก็จะรู้ว่า ภพ ก็เป็นที่อาศัยเฉยๆ ถ้าจะภพมืดดำก็มืดดำ ภพอาภัสราก็สว่าง ไม่ได้หลงผิดไปจากความมืดและสว่างแต่อย่างใด แต่ถ้าไปหลงผิดว่าความมืดคือนิโรธ มืดนี่แหละคือนิโรธมืด นี่แหละคือจิตดับจากกิเลส อันนี้แหละสัญญาวิปลาส กำหนดผิดแน่นอนมีทิฐิผิดแน่นอนมีจิตที่วิปลาสแน่นอนในวิปลาส 3 จิตไปใหญ่เลยเป็นโรคจิตอย่างสำคัญเป็นโรคอวิชชา จิตวิปลาสเป็นโรคจิต ไม่ถึงขั้นโรคจิตแต่ความเห็นความเข้าใจยังไม่วิปลาสยังพอแก้ แม้ทิฏฐิวิปลาสก็แก้ได้แล้ว แต่สัญญาบางครั้งบางคราวก็กำหนดพลาด โพธิรักษ์ก็ยังมี แต่ไม่ได้เป็นคนจิตวิปลาส แต่สัญญาวิปลาส

ไม่ได้มิจฉาวิปลาส แต่เป็นวิปลาสเป็นครั้งคราวที่มันกำหนดผิดได้ สำคัญมั่นหมายผิด จะพูดอันนี้แต่ไปพูดอีกอันหนึ่ง มันสลับไปสลับมาได้ โดยพยัญชนะกับสภาวะสลับกันนิดหน่อย ไม่ตรงกันทีเดียว 

เพราะฉะนั้นผู้ที่เป็นสัมมาทิฐิต้องเอาสัมมาทิฏฐิเป็นหลัก ใครต่างจากสัมมาทิฏฐิก็จะเป็นมิจฉาทิฐิ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดกายต่างกัน สัญญาต่างกันกับสัมมาทิฏฐิ คุณผิด

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม เรียนรู้วิญญาณฐิติ 7 ให้ถึงอรหันต์ วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 พฤษภาคม 2564 ( 15:52:04 )

กายกับสัญญาในวิญญาณฐิติข้อที่ 5

รายละเอียด

ผู้ที่พ้นเรียกว่า สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆะสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ 5

ก็ขออธิบายพยัญชนะที่เป็นบาลีอากาสานัญจายตะ ก็คืออากาศ อากาศหาที่สุดมิได้ ก็หมายความว่าสภาพของความว่าง อากาศคือความว่าง อา หรือ อว จริงๆแล้ว นัยยะที่ลึกซึ้ง อว ยังมีสภาวะ ถ้า อา แล้วไม่มีสภาวะยิ่งกว่า อว 

อากาศ กับ อวกาศ คือ ความควบแน่นของอากาศต่างกัน แต่นี่เอาอาการของจิต อาจร ไม่เอา อจร เดี๋ยวจะอาเจียน อากาสาฯคือไม่มีสภาพที่มันมีเศษธุลีละอองของกิเลสหยาบ ละเอียด ไม่มี เพราะว่า ล่วงรูปสัญญา เพราะรูปที่คุณไปกำหนดรู้ก็ดี ดับปฏิฆสัญญา แม้รูปไปกระทบแล้ว กามก็ไม่มี ปฏิฆะก็ไม่มี

คำว่าไม่ใส่ใจ คือ อมนสิการ ไปแปลว่าไม่ใส่ใจ ไม่สนใจ มันก็เลยเป็นแบบ เด๋อๆ ที่จริง อมนสิการคือไม่ได้ทำใจในใจ ไม่ได้ฝึกฝน แต่ผู้ที่ฝึกฝนแล้วจนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จบแล้ว ก็ไม่ต้องฝึกฝนอีก จึงเรียกว่าไม่ต้องทำใจในใจอีก

คำว่าไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา ภาษาบาลีคือ อมนสิการ แต่เขาไปแปลว่า ไม่ใส่ใจ ถึงนาสัตตสัญญา คืออัตตาต่างๆ สัญญากำหนดอัตตาต่างๆอย่างถ่องแท้ เรียก โยนิโสฯไม่ใช่ว่าไม่ใส่ใจ (อโยนิโสฯ)

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม เรียนรู้วิญญาณฐิติ 7 ให้ถึงอรหันต์ วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 พฤษภาคม 2564 ( 15:54:36 )

กายกับสัญญาในวิญญาณฐิติข้อที่ 6

รายละเอียด

กายกับสัญญาในวิญญาณฐิติข้อที่ 6

สัตว์ที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุด

มิได้ เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ 6

ก็ยังมีวิญญาณมีธาตุรู้ ก็ต้องกำหนดรู้ความจริงตามความเป็นจริง วิญญาณเป็นหัวหน้าใหญ่ของเวทนา สัญญา สังขาร หรือ เวทนา สัญญา เจตนา เวทนาก็สะอาด สัญญาก็สะอาดเจตนาก็สะอาด เจตนาไม่มีกิเลสปนเลย มันต้องอ่านความจริงของจิตวิญญาณคุณได้ อ่านเจตสิกของคุณว่า มันสะอาดหมด ถ้ายังไม่สะอาดก็คือคุณนั่นแหละ ถ้าตาของคุณหยาบ ธาตุรู้คุณหยาบ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ของคุณไม่ละเอียดพอ มันก็เรื่องของคุณใครจะไปช่วยได้ คุณก็ต้องศึกษาฝึกฝนให้มันแหลมคม ให้มันกำหนดรู้เองว่าอาการของกิเลสหยาบ กลางละเอียด นิดนึงน้อยนึง เศษธุลีละออง แม้แค่ ยังโศกะ วิรชะ ธุลีหมอง ธุลีเริง ให้อโศกะ(ไม่มีธุลีหมอง)  วิรชะ(ไม่มีธุลีเริง) 

ข้อที่ 6 นี้จึงรู้ว่าวิญญาณก็คือวิญญาณ วิญญาณคือธาตุรู้ผู้ที่ยังมีวิญญาณอยู่ยังไม่ดับสลายแยกวิญญาณไปเป็นอุตุนิยามหมดเลย ขณะนี้คุณยังมีกาย โดยจริงๆ คุณสมมุติก็ตามปรมัตถ์ก็ตาม คุณก็ยังมีองค์ประชุมของภายนอกภายใน องค์ประชุมของสองสภาพแต่ซับซ้อนคุณทำให้จิตของคุณไม่ให้เป็นกาย ทำให้ไม่มีเวทนา ไม่มีวิญญาณ เป็นพีชนิยามได้แล้ว ดีไม่ดีคุณทำให้เป็นอุตุนิยามได้อีกด้วย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม เรียนรู้วิญญาณฐิติ 7 ให้ถึงอรหันต์ วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 พฤษภาคม 2564 ( 16:05:01 )

กายกับสัญญาในวิญญาณฐิติข้อที่ 7

รายละเอียด

สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร

เพราะล่วงขั้นวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ 7

คำว่าวิญญาณ​ชัดเจนว่า วิญญาณคือธาตุรู้ที่บริบูรณ์ที่สุดซึ่งแยกเป็นเจตสิกเวทนาสัญญาสังขาร หรือเวทนาสัญญาเจตนา ก็ไม่มีกิเลสยึด แม้ในเวทนาที่มันสะอาดจากกิเลส รูปสะอาดจากกิเลส เวทนาสะอาดจากกิเลส สัญญาสะอาดจากกิเลส สังขารหรือเจตนา ที่สะอาดจากกิเลสแล้ว ก็เข้าใจว่าเป็นเครื่องอาศัยเป็น สยะที่ อา อยู่

เมื่อไม่มีมิจฉาไม่มีความเข้าใจผิด มีแต่ความเข้าใจถูกเป็นสัมมาหมด คุณก็แยกได้ว่าอากาศก็อย่างหนึ่ง วิญญาณก็อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็น 2 ธาตุเทวะที่คุณต้องอาศัยอยู่ และอากิญจัญญายตนะไม่มีแล้วนะกิเลส ธุลีละอองกิเลสอาสวะอนุสัยไม่มีเหลือแล้ว แต่จริงๆแล้วคุณก็ต้องอาศัยหรือ อนุสัยอยู่ 

อนุ คือ น้อง น้อย เล็ก ขออาศัยอยู่ เท่านั้นเอง วางได้ ไม่ได้ยึดว่า อนุเป็นเรา ไม่ได้ยึดว่า สย เป็นเรา อนุก็ไม่ใช่เรา สย ก็ไม่ใช่เรา แต่อาศัย 2 สภาวะ อนุสยะ อยู่เท่านั้นเอง

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการวิถีอาริยธรรม เรียนรู้วิญญาณฐิติ 7 ให้ถึงอรหันต์ วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 พฤษภาคม 2564 ( 16:13:04 )

กายกับอัตตา หรือกายกับจิต

รายละเอียด

รู้กาย 2 ที่มีทั้งภายนอกและภายใน มีทั้งรูปกับนามทำงานร่วมกัน สังเคราะห์สังขารกันตลอดไป จากหยาบ จึงมาศึกษาจากหยาบ แล้วเราก็มาปลงรูปภายนอก ปล่อยรูปภายนอกเข้าใจรูปภายนอกให้ได้ว่า มันเป็นสิ่งหนึ่งที่พร้อมจะหลุดเป็นอย่างอื่นได้ ส่วนของเราข้างในก็เป็นธาตุที่เราเกาะกลุ่มเป็นตัวเราเอง ข้างนอกก็เป็นกาย ข้างในก็เป็นอัตตา กายกับอัตตา หรือกายกับจิต

เพราะฉะนั้นกายนี้ขาดภายนอกไม่ได้ แต่จิตขาดภายนอกได้ ถึงวาระที่จะขาด ถ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิก็ไม่รับเสียดื้อๆ หลับตาซะเลย ไม่รับรู้ภายนอกเลย เข้าไปในจิต คนนี้ไม่มีวันแก้ไขจิตตัวเองที่จะพัฒนาให้มันเข้าใจถ้วนรอบในเทวะใน 2 อย่างแล้วเลือกสลายเทวะจน นิพพาน ปรินิพพาน ทำไม่เป็น เรียนรู้ไม่ได้

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการพุทธศาสนาตามภูมิ ผู้ไม่รู้ตัวเองไม่รู้ทั้งหมด ผู้รู้ทั้งหมด รู้ตัวเอง วันศุกร์ที่ 16 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 21 เมษายน 2564 ( 11:30:13 )

กายกับเทวะ

รายละเอียด

คุณไม่มีความรู้ในนามรูป ก็โมฆะเลย ต้องรู้เรื่องนี้ก่อน ต้องแยกกายแยกนามรูป คือต้องมีนามรูปแล้วรวมที่กาย กายแยกเป็น 1 ไม่ได้ กายต้องมี 2 เสมอ กาย กับ เทวะต่างกัน เทวะคือคำของคนโง่ กายคือคำของคนฉลาด ฉลาดโลกุตระด้วย ฉลาดโลกุตระจะรู้ความเป็น 2 ทั้งสภาวะและพยัญชนะ ครบถ้วนไม่หลงผิดเมื่อใด จะหมายถึงพยัญชนะ ก็ไม่สับสน เมื่อใดหมายถึงสภาวะก็ไม่สับสน คนจะสื่อให้รู้กันต้องใช้พยัญชนะ แต่ผู้ที่รับฟังจากพยัญชนะไปแล้วต้องมีสภาวะของตัวเองตรวจสอบ มีแล้วยืนยัน ถ้ายังไม่มีคุณจะทำอย่างไรจึงจะมี ?

ที่มา ที่ไป

รายการกายนี้คือวิญญาณ วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 03 มีนาคม 2563 ( 10:55:16 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 07:50:12 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 15:01:59 )

กายกัมมัญญตา

รายละเอียด

กายกัมมัญญตา แปลว่า ความควรแก่การงานแห่งกองเวทนา สัญญา เอาอะไรที่ควรแก่การทำงาน  ถ้าเข้าใจว่าเป็นความปราดเปรียวแคล่วคล่อง เขาเข้าใจว่า กายคือร่างกายนอกอย่างเดียวว่าสิ่งที่พึงกระทำทางกาย แปลว่าการออกกำลังกาย Exercise กายกรรมเปียงยางไปโน่นเลย หรือ แต่หากเข้าใจเพียงว่า แค่ความคล่องแคล่วของร่างกายนี้ เป็นนักวิ่งนั้น ดิ้น กระโดด ก็ไม่ได้จัดการกับจิต เจตสิก ก็ไม่ได้ปฏิบัติธรรม

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช  วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม2562


เวลาบันทึก 09 ตุลาคม 2562 ( 08:25:42 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:37:33 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 15:04:10 )

กายกัมมัญญตา

รายละเอียด

ความคล่องแห่งกาย , ความเป็นของควรแห่งการงาน แห่งกองเวทนา – สัญญา – สังขาร ซึ่งไม่ใช่ร่าง ที่เป็นธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ

หนังสืออ้างอิง

จากค้าบุญคือบาป หน้า 214

คนจะมีธรรมะได้อย่างไร / เราคิดอะไร ฉ.287 หน้า 47


เวลาบันทึก 09 กรกฎาคม 2562 ( 14:20:16 )

เวลาบันทึก 29 เมษายน 2563 ( 16:12:24 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 15:09:39 )

กายกัมมัญญตา

รายละเอียด

เหมาะควรแก่การงานนั้นๆโดยจะใช้ "สัปปุริสธรรม 7 และมหาปเทส 4"

ที่มา ที่ไป

รวมคนจะมีธรรมะได้อย่างไร ? หน้า 177


เวลาบันทึก 11 ธันวาคม 2562 ( 13:24:26 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 14:59:49 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 15:11:38 )

กายกัมมัญญตา

รายละเอียด

ความคล่องแห่งกาย , ความเป็นของควรแห่งการงาน แห่งกองเวทนา – สัญญา – สังขาร ซึ่งไม่ใช่ร่าง ที่เป็นธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ

ที่มา ที่ไป

รวมศัพท์อโศก


เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 08:16:36 )

กายกัมมัญญตา

รายละเอียด

ต่อมา กายกัมมัญญตา ท่านก็แปลว่า ความคล่องแห่งกาย ความเป็นความควรของกองแห่งเวทนา สัญญา สังขาร กายกัมมัญญตา คำว่า กัมมัญญตา มีคำว่า กาย คำหนึ่ง เป็นการกระทำความเหมาะสมควรทางกาย หมายความว่ามีการกระทำ กัมมัญญะ ควบ มีอำนาจของจิต อัญญธาตุ ควบคุมกรรม กัมมัญญตาหรือกัมมัญญา มี อัญญธาตุหรืออัญญา ธาตุรู้ตัวใหม่ที่ควบคุมการ กระทำออกมาทางภายนอก เรียกว่า กายกัมมัญญตา

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 23 ความมหัศจรรย์ของการแยกกายแยกจิตได้ วันจันทร์ที่ 10 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 25 มกราคม 2565 ( 20:55:31 )

กายกัมมัญญตา/กายปาคุญญตา

รายละเอียด

คือ เป็นความยิ่งเจริญเร็วไว คล่องตัวแห่งกาย คือ ความเป็นภาระควรแก่การงานแห่งกองเวทนา ความเป็นภาวะควรแก่การงานแห่งกองสัญญา ความเป็นภาวะควรแก่การงานแห่งกองสังขาร

หนังสืออ้างอิง

 “คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1  หน้า 238


เวลาบันทึก 10 พฤศจิกายน 2562 ( 12:55:53 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 15:00:55 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 15:13:20 )

กายกัมมัญญา

รายละเอียด

แปล กายกัมมัญญตา คือ ความเป็นของควรแก่การงานของกองเวทนาสัญญาและสังขาร ความเป็นของควร พยายามแปลตามพยัญชนะก็ไม่ผิด แต่การงานแห่งกองเวทนา กองสัญญา กองสังขาร เป็นเจตสิกใหญ่ 3 ของวิญญาณ  วิญญาณประกอบด้วยรูป เวทนา สัญญา สังขาร รวมแล้วทั้งหมดปรุงแต่งกันอยู่เรียกว่าวิญญาณ 

ที่มา ที่ไป

รายการบ้านราช กายนี้คือวิญญาณ วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 29 กุมภาพันธ์ 2563 ( 17:07:00 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:39:11 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 15:14:31 )

กายของชีวะ

รายละเอียด

กายของชีวะ คือ เขาไม่เรียกกาย แต่เป็นชีวะที่ไม่เรียกกายเพราะคำว่ากายไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข ไม่มีเจ็บ ไม่มีปวด ไม่มีรักไม่มีชัง เพราะฉะนั้นในคนมีชีวะที่เป็นพีชะ

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราชครั้งที่ 68  วันจันทร์ที่ 9  เดือนกันยายน  2562


เวลาบันทึก 22 ตุลาคม 2562 ( 14:37:16 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:40:38 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 15:16:15 )

กายของพุทธขาดความเป็นจิตไม่ได้

รายละเอียด

กาย ของศาสนาพุทธขาดความเป็นจิตไม่ได้ เพราะกายเป็นเทวะ กายเป็นธาตุคู่ อันนี้แหละศาสนาพุทธในเมืองไทย คนไทย มันเสื่อมไปจากความถูกต้อง เสื่อมไปจากความเป็นจริงที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ คำว่า กายมาเป็นภาษาไทย  คนไทยเข้าใจคำว่ากาย เป็นหนึ่งเดียวเพียงภายนอกหนึ่งเดียว เข้าใจคำว่ากายคือธาตุดินน้ำไฟลมไม่มีจิตร่วม ผิดเพี้ยนเป็นมิจฉาทิฐิไปอย่างนั้นเลย แม้แต่อาตมาแต่ก่อนก็เข้าใจเช่นนั้น เพราะคำว่า กาย มาเป็นภาษาไทยอย่างเนียนสนิท ผิดเพี้ยนไปอย่างสนิทเนียนเลย มันเลยยากมากเลย คนไทยมาศึกษาธรรมะแล้วก็ยังไม่มีผู้รู้มาแยกให้ฟังอย่างสัมมาทิฏฐิ ก็ยังเข้าใจกายอยู่อย่างนั้น แม้จะเป็นอาจารย์ทางศาสนาพุทธก็ยังเข้าใจกายเป็นอย่างนี้อยู่ทุกวันนี้ โชคยังดีที่แม้ในพจนานุกรมบาลีไทยยังแปล กาย ว่าเป็นองค์ประชุม ไม่ได้แปลว่า 1 เขาแปล กาย ว่า องค์ประชุม แปลว่าพวก แปลว่า หมู่ แปลว่า ฝูง  แปลว่า กอง มันไม่ได้เป็นสิ่งเดียว 

สรุปแล้วคุณจะเห็นความสำคัญมากเรื่องของกาย แล้วต้องมีความรู้เรื่องวิญญาณฐีติ 7

ที่มา ที่ไป

พ่อครูตอบปัญหาระดมปัญญา-อนัตตา งานปลุกเสกพระแท้ๆ ของพุทธ ครั้งที่ 44 วันศุกร์ที่ 9 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 16 เมษายน 2564 ( 15:57:40 )

กายของสาธารณโภคืที่มีผลจริง

รายละเอียด

โดยเฉพาะพวกคุณแต่ละคนมาปฏิบัติจนเกิดมรรคผล เกิดจิตบรรลุจริง ได้มรรคได้ผลจริง ต่างจากโลกียะมาเป็นโลกุตระ เริ่มต้นรู้ กาย ภาวะ สอง แม้จะรู้ภาษาไม่ค่อยดีแต่สภาวะจริงคุณมีมาได้เรื่อยๆ แล้วจนกระทั่ง เอาตัวเองมาลง จนลงตัว สำนวนท่านเพาะพุทธ 

ก็อยู่อย่างนี้จนรวมเป็นหมู่กลุ่มชุมชน มีพฤติกรรมหนึ่งเดียว เอกีภาวะ รวมกันอยู่อย่างสอดคล้องสามัคคียะ ไม่ขัดแย้งไม่ทะเลาะวิวาทไม่มี วิวาทะ อวิวาทะ แล้วก็อยู่อย่างพิสูจน์ยืนยันว่ามี สังคหะ มีคุรุกรณะ มีสาราณียะ จริง รวมกันอยู่

ระลึกถึงกัน สาราณียะ ปิยกรณะ รักกัน รักกันอย่างญาติธรรม รักกันอย่าง มีความรักมิติที่ 7 -8 -9 ขึ้นไป ไม่ใช่มีมิติต่ำๆ แต่ยังมีเชื้ออยู่บางคนยังติดในระดับ พัวพันกันอยู่กับญาติบ้างอยู่กับสังคมบ้างก็มีอยู่ตามลำดับความรัก 10 มิติ อาตมาก็อธิบายไว้หมด ซึ่งยืนยันพิสูจน์ความจริงเหล่านี้ได้ 

ฉะนั้นพวกเราเข้าถึงยอด ยอดสาธารณโภคี ยอดเสียภาษี100% คนเขาฟังแล้วก็บอกว่ามันพูดไปอวดดิบอวดดีมันจะเป็นจริงเหรอ มันเสียภาษีร้อยเปอร์เซ็นต์ คือทำงานแล้วก็เอาเข้าส่วนกลาง เราก็มีสิทธิ์ที่จะเบิกแบ่งกินแบ่งใช้ ขอเบิกเอาไปใช้ส่วนนั้นส่วนนี้ ถ้ากรรมการเขาพิจารณาแล้วว่าเป็นการสุรุ่ยสุร่ายเกินเขาก็ไม่ให้ เขาให้เราก็ให้ ไม่มีปัญหาเชื่อมั่นในกรรมการ ให้ก็ใช้ไม่ให้ก็ไม่ใช้เท่าที่อยู่ได้ไป ถ้าไม่ให้ แล้วเราก็ไม่พอใจ เราก็ออกไป ถ้ายังบอกว่าไม่ให้ เราก็ยังพอใจจะอยู่อย่างไรก็อยู่ที่นี่แหละดีที่สุดแล้วคุณก็ไม่ไป 

บางทีมันแย่ยิ่งกว่า จนกระทั่งหมู่เขาไม่อยากให้อยู่ อยากให้ไป ไม่ไป ตกลงเขาไล่ ก็ไม่ไป ต้องเอาตำรวจมาเชิญออก แต่ก็ยังไม่ถึงขนาดนั้นนะ พวกเรายังไม่เคยถึงขั้นต้องให้เชิญตำรวจมาไล่ออก ซึ่งมันเป็นสัจจะจากจิตวิญญาณของแต่ละคนพวกเรานี้ มันมีภูมิธรรมที่มีความจริง มาเป็นสามัคคียะ มารวมกันด้วยสัจจะเป็นหมู่กลุ่มสามัคคีอย่างเป็นสัจจะ 

มันจึงอยู่กันอย่างสงบอบอุ่นเรียบร้อย แล้วความจริงอันนี้อาตมามั่นใจ เป็น นิจจัง(เที่ยงแท้) ธุวัง (ถาวร) สัสตัง(ยืนนาน) อวิปริณามธัมมัง(ไม่แปรเปลี่ยน) อสังหิรัง(ไม่มีอะไรหักล้างได้) อสังกุปปัง(ไม่กลักำเริบ) เป็นสัจจะที่จะยั่งยืนถาวร 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์เปิดงานพุทธาภิเษกฯ ครั้งที่ 46 พาปฏิญาณศีล 8 วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 15 พฤษภาคม 2565 ( 11:23:27 )

กายของเล็บ

รายละเอียด

อุตุคืออะไร อาตมาถนัดที่เล็บ ไม่ถนัดอธิบายที่ผม แต่เล็บนี่นิ่งก็นิ่งแข็งก็แข็งจับได้ง่าย ติดกับเรา หรือเล็บตัดออกไปแล้วเล็บที่ตัดออกจากร่างกายเป็นอุตุ 100% เป็นดินน้ำไฟลมไม่มีกลับมาต่อกันได้ เอาเล็บที่ตัดออกไปแล้วมาต่ออีกกลับไปไม่ได้ ถ้าเนื้อหรือหนัง ก็อธิบายยาก หากเราเอาหนังใหม่ขึ้นมาก็ไม่ใช่หนังเก่า อันนี้ยากอธิบาย เล็บ ตัด ออกไปจากตัวเราแล้วก็เป็นอุตุ แต่เล็บที่ติดกับตัวเรา ไม่มีเวทนา ผม ฟัน หนังขน ก็เช่นกันติดกับตัวเรา ยังไม่ตัดออกไปยังไม่เป็นอุตุ 100% ก็เป็นชีวะ แต่เราไม่เรียกกาย เพราะมันไม่มีความรู้สึกไม่มี เวทนา แม้มันจะติดอยู่กับตัวเรา เขาบอกว่าหยิกเล็บเจ็บเล็บก็ไม่ใช่ แต่หยิกเล็บเจ็บเนื้อ ไม่ใช่เจ็บเล็บ ตรงที่เล็บมันติดอยู่กับเนื้อก็เจ็บตรงนั้นมันแยกกันไม่ออก เราก็ชัดเจน เนื้อกับเล็บมันติดกันสนิทเลย หากมันฉีกปั๊บก็เลือดไหล เลือดเป็นตัวเชื่อม แต่ถ้ามันออกนอกมาแล้วตัดออกเลือดไม่ไหลเจ็บก็ไม่เจ็บ ตัดออกได้ที่พ้นจากเนื้อ ตัดได้ เพราะฉะนั้นถ้าคุณไม่สามารถเข้าใจ การแยก เมื่อใดเป็นกาย เมื่อใดเป็นจิต ยกตัวอย่างเล็บ ที่มันติดกับเราอยู่ มันก็ยาวออกไปได้เมื่อได้อาหาร ทำลายมันก็ไม่เจ็บปวดไม่มีเวทนา การไม่มีเวทนานั่นแหละคือไม่ใช่จิต จิตต้องมีเวทนา แต่เมื่อมันยังมีชีวะอยู่ ติดกับร่างกายอยู่มันก็เป็นแต่เพียง พีชะ เป็นเพียงพืช เป็นชีวะที่ไม่มีเวทนา 

ที่มา ที่ไป

รายการกายนี้คือวิญญาณ วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 03 มีนาคม 2563 ( 10:59:29 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 07:51:04 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 15:17:07 )

กายคต

รายละเอียด

สิ่งที่เป็นไปอยู่ในกาย

หนังสืออ้างอิง

จากค้าบุญคือบาป หน้า 226


เวลาบันทึก 09 กรกฎาคม 2562 ( 14:20:55 )

เวลาบันทึก 29 เมษายน 2563 ( 16:12:51 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 02:51:54 )

กายคต

รายละเอียด

สิ่งที่เป็นไปในกาย สิ่งที่อยู่ในกาย

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช  วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 16 พฤศจิกายน 2562 ( 19:37:35 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:43:03 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 15:19:10 )

กายคต

รายละเอียด

คือ สิ่งที่เป็นไปในกาย สิ่งที่อยู่ในกายที่ดำเนินไป

หนังสืออ้างอิง

 “คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1 หน้า 238


เวลาบันทึก 10 พฤศจิกายน 2562 ( 12:54:06 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 15:01:41 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 04:40:41 )

กายคต

รายละเอียด

สิ่งที่ดำเนินไปในกาย

ที่มา ที่ไป

รวมคนจะมีธรรมะได้อย่างไร ? หน้า 176


เวลาบันทึก 11 ธันวาคม 2562 ( 12:39:38 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 15:02:21 )

กายคตะ

รายละเอียด

กายคตะ คำว่าคตะแปลว่าดำเนินไป สิ่งที่อยู่ในกาย สิ่งที่ไปในการสิ่งที่อยู่ในกายก็ต้องดำเนินการดำเนินไป ไม่ใช่มันอยู่นิ่ง กายคตะ คตะ แปลว่าดำเนินไปไม่ใช่แปลว่านิ่ง มันอยู่ข้างในมันก็เคลื่อนที่อยู่ จะเคลื่อนที่อยู่ในวงกลมก็ตาม เคลื่อนที่อยู่ในแวดวงเดิมก็ตามเรียกว่า กายตะ หากออกนอกวงได้ก็เก่ง ขยายไปตามต้องการได้ออกไปในวงใหญ่ วงมโหฬาร ก็ยิ่งเก่งไปตามความสามารถยิ่งชัดเจนยิ่งทำได้คุณก็จะรู้การขยายผล ของความสามารถนั้นขึ้น

ที่มา ที่ไป

รายการบ้านราช กายนี้คือวิญญาณ วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 29 กุมภาพันธ์ 2563 ( 17:18:02 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 14:04:47 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 06:39:52 )

กายคตา

รายละเอียด

ความเป็นไปของกลุ่ม ความเป็นไปของก้อน ความเป็นไปของความรวมกัน ของความประชุมกัน รวมกัน

หนังสืออ้างอิง

จากหนังสือทางเอก ภาค 3 หน้า 491


เวลาบันทึก 09 กรกฎาคม 2562 ( 14:21:28 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 14:20:48 )

เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2563 ( 02:52:24 )

กายคตาสติ

รายละเอียด

กายคตาสติ คือพยายามใช้ธาตุรู้ของเราไปรู้ มีตั้งแต่ สติ สัมปชัญญะ รู้ว่าเรามีกิเลส แล้วมีวิธีจัดการกำจัด คนทั่วไปก็ระงับได้ มีมารยาทสังคม ทำตามสัญชาตญาณ มันก็ทำการกดข่มระงับ ให้ไม่ออกไปหรือออกไปพอสมควร จะให้ออกไปแค่ไหนจึงเหมาะเป็นต้น

สัมปชัญญะ   =  ความรู้ต่อจากการมีสติรู้สึกตัว    

สัมปชานะ     =  ความรู้สึกตัวในการปฏิบัติอยู่

สัมปาเทติ     =  เหตุไปสู่การละเลงเพื่อสัมปัชชติ

สัมปัชชติ      =  ความรู้จากการแยกแยะขจัด

สัมปาเปติ     =  การสังเคราะห์กันขึ้นอย่าง อวจร

สัมปฏิสังขา   =  ญาณรู้จักการทบทวนกระทำซ้ำ .

สัมปัชชลติ    =  เข้าสู่การโหมไหม้ สว่างเรืองรอง

สัมปัตตะ, สัมปันนะ  =  การเข้าบรรลุผล .

สัมปฏิเวธ     =  ความรู้ที่รู้แจ้งแทงตลอด 

ที่มา ที่ไป

560420 


เวลาบันทึก 29 กุมภาพันธ์ 2563 ( 04:24:43 )

เวลาบันทึก 31 กรกฎาคม 2563 ( 13:30:12 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 15:20:45 )

กายคติ

รายละเอียด

กายคติ คือ การดำเนินไปของรูป นาม หรือแปลว่าสิ่งที่เป็นไปในกาย สิ่งที่อยู่ในกาย

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 09 ตุลาคม 2562 ( 08:28:10 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:45:03 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 15:22:41 )

กายคัณฑธ

รายละเอียด

กลิ่นที่เกิดจากกาย เครื่องหอมที่ใช้ลูบไล้ร่างกาย

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช  วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 16 พฤศจิกายน 2562 ( 19:39:38 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:46:15 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 15:24:13 )

กายคันธะ

รายละเอียด

กายคันธะ คำว่าคันธะ แปลว่ากลิ่น กิเลสเครื่องร้อยรัดกาย แปลว่ากลิ่น แปลว่าเครื่องหอมสำหรับร้อยรัดกาย คันธะ แปลว่ากลิ่นแปลว่าเครื่องหอม เครื่องเหม็นก็แปลว่ากลิ่น ไปๆเอาแต่เครื่องหอมมันเป็นการลำเอียงนะนี่ กลิ่นมันกลางๆ มีทั้งหอมเหม็นและไม่หอมไม่เหม็นมีทั้งหอมมากหอมน้อยเหม็นมากน้อยไม่รู้อีกกี่ระดับ กายคันธะ 

 

ที่มา ที่ไป

รายการบ้านราช กายนี้คือวิญญาณ วันอาทิตย์ที่ 9  กุมภาพันธ์  2563


เวลาบันทึก 29 กุมภาพันธ์ 2563 ( 17:19:15 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:47:12 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 15:26:11 )

กายคือ จิต มโน วิญญาณ ยืนยันอย่างมีหลักฐาน

รายละเอียด

ใหม่ ๆ  อาตมาไม่เก่งพยัญชนะ  เอาสภาวะมาพูดสลับไปก็เลยโดนเล่นงาน  แต่เดี๋ยวนี้ศึกษาให้ดีขึ้นมากแล้ว  แต่เรื่องของสภาวะกับพยัญชนะนี้เป็นเรื่องสลับกันไปมา  เช่นเรื่องกาย  ตถาคตเรียกว่า จิต มโน  วิญญาณ  อาตมาอ่านอันนี้ก็โล่งเลย  ไม่เช่นนั้น กาย เขาก็จะหมายถึงเรื่องสรีระภายนอกเท่านั้น  กายนั้นเป็นภาษาไทยเสร็จแล้วเรื่องกายในภาษาไทย  เขาหมายถึงเพียงร่างกายภายนอกเท่านั้น  แต่เมื่อพระพุทธเจ้าบอกว่ากายคือจิต  มโน  วิญญาณ   อาตมาเอามายืนยัน หลายคนยังนึกว่าพระพุทธเจ้าจะพูดว่าอย่างนั้นจริงเหรอ  แต่มันก็มีหลักฐานอยู่แล้ว  โดยเฉพาะเรื่องสมาธิเป็นเรื่องยิ่งใหญ่มาก

ที่มา ที่ไป

พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช  วันพุธที่   27  พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 21 ธันวาคม 2562 ( 14:39:45 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:49:31 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 15:30:04 )

กายคือ จิต มโน วิญญาณ

รายละเอียด

แต่ผู้ที่พยายามศึกษาตามที่อาตมาพาทำก็จะค่อยๆเข้าใจขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นเมื่อเข้าใจคำว่า กายก็ตาม คำว่าสัญญาก็ตาม คนละเรื่องกันแล้ว ตลอดตายเลย คุณก็เป็นสัตตาวาส 9 กันอยู่นั่นแหละไม่เข้าใจคำว่ากาย ไปเข้าใจคำว่ากาย คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เข้าใจผิดแค่นี้คุณก็โมฆะไปแล้วทั้งชาติ ที่จะบรรลุธรรมะพระพุทธเจ้า เพราะว่าในเล่ม 16 ข้อ 230 พระพุทธเจ้าตรัสยืนยันชัดเจน กายนี้คือ จิตมโน วิญญาณ เขาก็คงจะงง คงจะไปเปิดพระไตรปิฎกกันใหญ่ ในพระไตรปิฎกว่าอย่างนี้จริงเหรอ กายที่เป็นมหาภูตรูป พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็น จิตบ้าง  มโนบ้าง วิญญาณบ้าง เขาก็มึนแน่ มหาภูตรูป เป็นดินน้ำไฟลมแล้วจะไปเป็นจิตได้อย่างไร พระตถาคตพูดผิดพูดใหม่ได้นะ 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 08 เมษายน 2563 ( 10:32:07 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 07:53:24 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 15:32:12 )

กายคือ จิต มโน วิญญาณ คนที่ไม่มีภูมิจะเข้าใจไม่ได้

รายละเอียด

พระพุทธเจ้าบอกว่า กายคือ จิต มโน วิญญาณ แต่คนที่มีอวิชชา มันเข้าใจไม่ได้ ไม่มีภูมิที่จะเข้าใจก็เข้าใจไม่ได้ ไม่ได้ไปดูถูกเขานะ เขาไม่มีภูมิพอจะเข้าใจ ไปบังคับให้เข้าใจเขาก็เข้าใจไม่ได้ มันไม่รู้และเข้าใจไม่ได้อยู่นั่นแหละ 

เพราะฉะนั้น พวกคุณมาเข้าใจได้นี้ มันไม่ใช่เรื่องธรรมดา มันวิสามัญ มาเข้าใจที่อาตมาพูดได้แล้วเกิดธรรมรส ฟังธรรมะที่อาตมาพูดนี่มันละเอียดลออ ลึกซึ้งเข้าไปหาสัจธรรม เข้าไปหาโลกุตรธรรมขั้นสูงๆๆๆ อันนี้เรื่องสัจจะจริงๆเลย เพราะฉะนั้นอาตมาถึงไม่เดือดเนื้อร้อนใจ ไม่ได้กลัวอะไรเลย โลกุตรธรรมจะอยู่ในสังคมโลก มันจะเดินทางไปอีก ไปถึงกลียุค คนก็จะตามหาสุดยอดของความรู้ไปอีกเหมือนกัน คนจะตามหาเกี่ยวข้องศึกษาข้อมูลเขาก็จะปฏิบัติจะค่อยๆรู้ ว่าจริงๆแล้วโพธิรักษ์ อาตมาเกิดมาในยุคนี้เป็นไก่ตัวพี่จริงๆ 

เขาจะรู้ไหมว่า มีไก่ตัวที่ 2 ที่เป็น 1 ในยุคนี้ผู้รู้ยอดใกล้พระพุทธเจ้าที่สูงสุด รองจากพระพุทธเจ้าเท่านั้น ไม่มีใครรอง อย่างนี้เป็นต้น เขาจะเข้าใจว่า อ๋อ.. เมื่อนั้น เขาจะยอมรับอาตมา ถ้าเขามีอิทธิพลในสังคมเขาจะประกาศรับรองให้รางวัลไป แต่อาตมาก็ไม่ได้วุ่นวายในเรื่องเหล่านี้ เขาจะรับรองหรือไม่รับรองอะไร เพราะอาตมามั่นใจในสัจธรรมที่อาตมานำมาเปิดเผย นำมาสืบทอด เอาของพระพุทธเจ้ามาสืบทอด อาตมามั่นใจอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นจึงไม่มีปัญหาอะไร 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ กษัตริย์คือจิตประชาชนคือกายของประเทศ วันศุกร์ที่ 2 กันยายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 23 กันยายน 2565 ( 13:32:06 )

กายคือจิต มโน วิญญาณ

รายละเอียด

ถ้าคุณเข้าใจเป็นสัมมาทิฏฐิมันไม่ต่างกันหรอกมันจะเชื่อมโยงกันได้ ไม่มีอะไรผิดสับสน แต่ถ้าคุณเข้าใจไม่สัมมาทิฏฐิ สับสนแน่ วุ่นวายแน่ อย่างที่เป็นกัน ปนกันเละหมดเลย เขาไม่เข้าใจ แม้แต่ สักกายทิฏฐิ ข้อแรกของสังโยชน์เบื้องต้นก็เข้าใจคำว่า กาย ไม่ได้ เถรสมาคมทั้งเถรสมาคม ไม่เข้าใจคำว่า กาย หรอก ไปเข้าใจคำว่ากายคือวัตถุ แต่เข้าใจว่ากายคือวัตถุดินน้ำไฟลมภายนอกอย่างเดียว พออาตมาบอกว่ากาย ไปเน้น จิต มโน วิญญาณด้วย เขาก็จะเอาอาตมาตาย หากไม่มีหลักฐานจากพระไตรปิฎก 

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 08 เมษายน 2563 ( 11:12:49 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 07:54:59 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 15:34:44 )

กายคือธรรมะสอง

รายละเอียด

ธรรมะสองนี้เมื่อมีสิ่งทรงในความเป็นสอง เรียกอย่างหนึ่งว่า รูป เรียกอย่างหนึ่งว่า นาม นี่คือธรรมะสองหรือเรียกรวม ว่า “กาย” เรียกว่า “รูป กับ นาม” หรือ “กาย”

คำว่า กาย ย้ำว่า คือสภาพองค์รวมที่มีตลอดเวลา ที่ประพฤติขาดจากความเป็นกายไม่ได้ กายนี้ที่ขาดไม่ได้คือที่มีสัมผัสภายนอกไม่ได้ หากขาดแล้วไม่มีกาย ผิดจากธรรมะสองผิดจากศาสนาพุทธเลย ผู้ที่ไปนั่งหลับตาปฏิบัติ ตัดทวาร ตา หู จมูก ลิ้น กาย คุณเหลือแต่ลมหายใจ มีความรู้สึกแค่ลมหายใจเท่านั้น ที่เหลือดินน้ำไฟ ...ลม เหลือแต่ลมเท่านั้น

เพราะฉะนั้นหากขาดจากลมไปแล้วไม่มีกาย คนที่ปฏิบัติธรรมไม่มีความรู้สึกกับลมที่หายใจเข้าออกที่มีภายนอก อยู่ภายนอกนี้ แล้วก็บอกว่าไม่มีความรู้สึกแล้ว ลมภายนอกก็ไม่มี มีแต่ลมภายในก็อยู่กับลมภายใน แล้วก็บอกว่าเข้ากสิณลม ว่างั้นเลยนะ แล้วลมขึ้น ลมลง ลมขยายใหญ่ เล็ก ไปใหญ่เลย ซึ่งก็เล่นไปได้ออกนอกทางศาสนาพุทธ เสี่ยงมากที่จะออกนอกทาง ต้องไม่ไปทำ ต้องทำการลืมตามีตาหูจมูกลิ้นกาย มหาภูตรูป ดินน้ำไฟลม ทั้งสัตว์ทั้งมนุษย์ ทุกอย่างที่มีอยู่ภายนอก คุณอยู่ขณะนี้อยู่ในกรอบขอบเขตที่คุณสัมผัส คุณก็ต้องรับรู้มีสติเต็ม รับรู้ทุกอย่าง สัมผัสอะไรที่จะต้องพิจารณาก่อนอยู่ใกล้ ทำร่วมก็ทำงานร่วมกับอันนั้น อย่างรู้เต็มๆ สติเต็ม ความพยายามเต็ม แล้วก็พยายามปฏิบัติ

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 42 ปฐมอโศก ความจนที่มีสัมประสิทธิ์ ตอน 2 สื่อธรรมะพ่อครู(พลังสัมประสิทธิ์) ตอน สัมประสิทธิ์สองทิศทางที่ต่างขั้ว วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561

 


เวลาบันทึก 25 กุมภาพันธ์ 2564 ( 17:02:21 )

กายคือธาตุที่ต้องมีความรู้สึก หากกายไม่มีความรู้สึกไม่ใช่กาย

รายละเอียด

แยกเมื่อใดไม่ใช่กายเลย ให้ธาตุจิตเราหมดความเป็นกาย กายคือธาตุที่ต้องมีความรู้สึก หากกายไม่มีความรู้สึกไม่ใช่กาย แล้วความรู้สึกอีกอย่างคือความรู้สึกในระดับพืช เอาภาษามาใช้เท่านั้น ที่จริงไม่มีความรู้สึก แต่มันมีธาตุรู้ในส่วนจำกัดของมัน มันไม่ใช่อุตุนิยาม เราแยกจิตนิยามนี้แล้วทำจิต มนสิการ ทำจิตของเราให้เป็นพืชให้เป็นอุตุให้ได้ เรียกว่ากรรมนิยาม 

ที่มา ที่ไป

ทำวัตรเช้า วันอังคารที่ 9 มิถุนายน 2563


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 09:05:54 )

เวลาบันทึก 28 กรกฎาคม 2563 ( 04:55:55 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 15:36:16 )

กายคือภายนอก จิตคือภายในเป็นมิจฉาทิฏฐิ

รายละเอียด

แม้แต่ในคำว่า กาย คำว่า ตัวตน เช่น สักกะ กับ กายะ 

สักกะ คือ ตนของตน ใน สก สว สยะ ที่อาตมาเคยไล่ให้ฟัง

แต่เขารู้ตนเองไม่จริงไม่เต็ม อาจจะรู้กายกรรม วจีกรรมเพราะมันหยาบ แต่ว่ามโนกรรมนั้นไม่รู้ชัดเจน เพราะแม้แต่คำว่า กาย ก็ยังเข้าใจไม่ชัดเจน กาย ต้องเกี่ยวเนื่องกับภายนอกด้วยแต่ผู้ที่มิจฉาทิฏฐิเข้าใจว่ากายเป็นแต่เพียงภายนอก จิตเป็นแต่เพียงภายในก็เลยแยกกายแยกจิตเป็นคนละส่วน เพราะฉะนั้นผู้ที่ยังไม่สัมมาทิฏฐิมาแต่คำว่า สักกายทิฏฐิ ตั้งแต่ต้นก็ยังไม่สัมมาทิฎฐิ ยังเข้าใจกายเป็นแต่เพียงภายนอกไม่มีจิต แล้วจะไปต่อได้อย่างไรเพราะว่ากิเลสอยู่ภายในจิต ไม่ได้อยู่ที่ร่างกาย

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ  วิญญาณกินข้าวได้ไหม อย่างไรคือสัมมาทิฏฐิ วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน 2564 ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 8 ปีฉลู ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2564 ( 19:17:59 )

กายคือภาวะ 2

รายละเอียด

ขณะนี้อาตมาก็ย้ำเรื่องกายมากเลย พยายามยืนยันให้เข้าใจคำว่ากาย เพราะคำว่ากายคำนี้ยิ่งใหญ่มาก ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งถึงที่สุดจบ กายคือสภาวะ 2 กายไม่ใช่สภาวะเดียว แล้วกายไม่ใช่เป็นหมายเอาถึงสรีระด้วย กายหมายเอาจิต มโนวิญญาณ ด้วย นี่ก็เป็นคำตรัสของพระพุทธเจ้าว่า กาย ตถาคตเรียกว่าจิต มโน วิญญาณ พระไตรปิฎกเล่ม 16 ข้อ 230 พวกเราพยายามปฏิบัติธรรมแล้วยืนยันตามพระไตรปิฎกมาตลอดเวลา ขนาดนั้นคนที่ตั้งใจฟัง ตั้งใจศึกษาแสวงหา ก็ยังไม่พยายามเปลี่ยน

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 23 ความมหัศจรรย์ของการแยกกายแยกจิตได้ วันจันทร์ที่ 10 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 25 มกราคม 2565 ( 20:12:34 )

กายคือร่าง ดิน น้ำ ลม ไฟ โมฆะ

รายละเอียด

กายต้องเป็นจิต ถ้าผู้ใดเข้าใจว่ากายไม่มีจิตร่วมเลย โมฆะเลย จบเห่เลย กายคือร่างดินน้ำไฟลม ไม่เกี่ยวกับจิต ผู้ใดมีทิฏฐิเข้าใจได้แค่นี้ก็วนอยู่กับโลกียะสร้างภพชาติกับอาจารย์มั่นหลวงตามหาบัวหรือธัมมชโย เขาสร้างภาษาสมัยใหม่เป็นสวรรค์เฟสที่ 2 3 4 ธัมมชโยไปใหญ่เลย ขออภัยต้องขอบคุณทั้งธัมมชโยทั้งมหาบัวหรืออาจารย์มั่น ที่อาตมาหยิบมาอาศัยตัวละครในการอธิบาย เป็นเรื่องมีจริงเป็นจริงปรากฏ phenomenal ไม่ใช่สร้างนิยายเอา แต่นี่ตัวบุคคลจริง 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์  2563


เวลาบันทึก 07 มีนาคม 2563 ( 09:58:04 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 07:57:04 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 15:37:20 )

กายคือร่างหนึ่งเดียวมิจฉาทิฏฐิ

รายละเอียด

รายละเอียดพวกนี้แม้แต่คำว่ากรรมคำเดียวที่อาตมามาขยายความให้เห็นชัดเจน บรรดาอาจารย์ทางศาสนาทั้งหลายแหล่ไม่ได้ขยายความ ก็ไปเชื่อกันว่า กายนี้คือร่างหนึ่งเดียว คือวัตถุไม่มีความรับรู้ไม่มีธาตุจิต ไม่ต้องไปพูดถึงธาตุพีชะเลย ไปหมายเอาอุตุอย่างเดียวเลย ใช่ไหม เพราะฉะนั้นจึงไม่มีทางสามารถชัดเจนได้เลย ยิ่งมาเป็นกายกัมมัญญตา ความคล่องแคล่วแห่งกาย ทับศัพท์ เขาก็แปลกัน ว่าคือร่างก็หมายถึงความคล่องแคล่วของร่างซึ่งไม่มีจิตไปกำหนดกำกับไปบัญชา มันก็เป็นการสะเปะสะปะไปตามแรงดูดภายนอกที่มีกำลังกว่ามันก็เอาไปกินหมด เพราะฉะนั้นจึงตกเป็นทาสของพลังภายนอก พลังงานของอบายมุขพลังงานของสังคมพลังงานของรสนิยมค่านิยมสังคมไปตามเขาหมดเลย กลายเป็นทาส ของสังคม ธาตุของโลกธรรม ไปถึงเป็นธาตุอบายมุข ชาวนรก 

ที่มา ที่ไป

รายการบ้านราช  กายนี้คือวิญญาณ วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 29 กุมภาพันธ์ 2563 ( 17:03:40 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:50:47 )

เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2563 ( 15:42:43 )

กายคือสภาพ 2 ภายนอกภายใน

รายละเอียด

มาเข้าคำว่า กาย คำว่ากายคือสภาพ 2 ภายนอกภายใน ขาดภายนอกไม่ได้ ต้องมีภายนอกกับภายในเสมอ 

เพราะฉะนั้นผู้เข้าใจคำว่า กาย อย่างไม่สัมมาทิฏฐิ ถือว่า จิตไม่มีภายนอก แล้วปฏิบัติกับจิต ผู้นี้ตกคำว่า กาย เพราะจิตต้องมีกาย ต้องมีภายนอกภายใน จึงจะครบความเป็นบริบูรณ์ความเป็นโลก ความเป็นอัตตา ความเป็นมนุษย์สามัญ ต้องมีจักขุ แล้ว จึงมีปัญญา ญาณ วิชชา อาโลก ต้องมีผัสสะตา หู จมูก ลิ้น กาย โผฏฐัพพะ หมด ต้องมีภายนอก ที่ท่านตรัสว่า จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา อาโลก ที่จริงต้องครบทุกทวารทั้ง 5 จึงจะมีปัญญา มีญาณ มีวิชชา และต้องมีแสงสว่าง มีจักษุแล้วไม่ใช่ไปหลับตา แต่ต้องลืมตาเห็นแสงสว่าง ไม่ต้องหิวแสงแต่เห็นแสง แล้วก็เห็นรูป รู้รส รู้กลิ่น เสียงสัมผัสหมด แล้วปฏิบัติจึงเกิด ปัญญา ญาณ​ วิชชา

กาย พิจารณานอกในแล้ว แล้วจึงจะพิจารณาต่อไปคือ ตัวเวทนา ฟังให้ดีนะต่อเนื่องกันไป พิจารณากายแล้ว มีความรู้เวทนา เอาความรู้สึกมาอ่าน มีสัมผัสมีกายภายนอกภายใน กายในกาย ก็ไม่ขาดภายนอก ตามอภิภายตนะ 8 โอ้โห! โพธิรักษ์อธิบายธรรมะ มันเฟื่องเหลือเกินนะ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรม รายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 38 อัมพัฏฐสูตรและกายในกาย วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 01 กันยายน 2565 ( 14:27:38 )

กายคืออย่างไร

รายละเอียด

ถึงซับซ้อนมากเลย กายคืออย่างไร จิตคืออย่างไร ต้องมาแยกให้ชัด กายคือ จะต้องเชื่อมโยงจากข้างนอกเข้ามา ทั้งวัตถุและอะไรที่สัมผัส เสร็จแล้วก็พิจารณาอย่างที่ สู่แดนธรรม ทำให้ละเอียดมา ว่าทีละตัวทีละอัน สัมผัสอันนี้แล้ว 

ถ้ารูปก็ทางรูป จมูกก็ทางกลิ่น เสียงก็ทางหู จิตมันเร็ว มีความสามารถทำให้เสร็จ ก็รีบจัดการเมื่อสิ่งที่มาสัมผัสจริง มีสัมผัสจริง ตาสัมผัสรูปข้างนอกจริง รูปีรูปานิปัสสติ ในวิโมกข์ 8 

1. ผู้มีรูป  ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย   (รูปี  รูปานิ  ปัสสติ) 

2. *ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปภายใน (10/66)   ย่อมเห็น   รูปทั้งหลายในภายนอก (อัชฌัตตัง  อรูปสัญญี .   เอโก  พหิทธา รูปานิ  ปัสสติ) . (*พ่อครูแปลว่ามีสัญญาใส่ใจในอรูป)

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ เปิดยุคบุญนิยมระดม ปัญญา-อนัตตา ตอน 3 งานปลุกเสกฯครั้งที่ 44 วันพุธที่ 7 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 11 เมษายน 2564 ( 20:51:38 )

กายคืออะไร

รายละเอียด

พระพุทธเจ้าตรัสว่ากายคือจิตมโนวิญญาณ คนไม่รู้ก็บอกว่าพูดผิดหรือเปล่า เอาไปเข้าใจว่ากายนั้นคือมหาภูตรูปไม่เกี่ยวกับจิตเลย ใครไปเข้าใจว่ากายคือรูปภายนอกเท่านั้นดินน้ำไฟลมไม่เกี่ยวกับจิตเลย พอบอกว่ากาย พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระไตรปิฎกเล่ม 16 ข้อ 230 ที่บอกว่า ตถาคตเรียกกายว่าคือจิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณ​บ้าง หากศึกษาไม่ดีไม่มีสัมมาทิฏฐิไม่มีผู้รู้อธิบายจะยาก เข้าใจไม่ได้หรอก ทำไมบอกว่า ตถาคตเรียกกายว่าคือจิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณ​บ้าง พวกเราฟังแล้วก็เฉยไม่สะดุดไม่ขัดข้อง ถามจริงมาฟังกันนี่ มาปลุกเสกฯฟังที่อาตมาว่า ตถาคตเรียกกายว่าคือจิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณ​บ้าง มีสะดุดใจ งง ยกมือขึ้น … เข้าใจได้กันหมดเลยเหรอ มีอยู่คนนึงเหรอ อาจจะมีหลายคนแต่มองไม่เห็น

ที่มา ที่ไป

เทศน์ ทวช. วันเสาร์ที่ 7 เมษายน 2561


เวลาบันทึก 28 กุมภาพันธ์ 2564 ( 11:27:25 )

statistics

ติดต่อสอบถาม

Facebook : test

Youtube : Name

Twitter : Name

Line : Name

Telegram : Name

Wechat : Name

Skype : Name

Copyright © 2018 Borvornsocial.net all right are reserved. developer สงวนลิขสิทธิ์