@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก
@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก

อภิธานศัพท์ (Glossary) จัดเป็นฐานข้อมูลด้านโลกุตระที่สมบูรณ์ที่สุดที่คัดมาจากหนังสือ คำเทศน์ ฯ

คู่มือการค้นหาอภิธานศัพท์อโศก หรือ ห้องสมุดโลกุตระ 50 ปี

เอกสาร : https://docs.google.com/document/d/1HLGedxqTAOTOTQKGbO6M4qMremQ8K1jBWKRYDDt6MRQ/edit

วีดีโอ Loom 2 : https://www.loom.com/share/e824e62ec1eb4567848e94af124a7ed5

วีดีโอ Loom 1https://www.loom.com/share/2445744a08e74bca95d2f1d2a0526044

วีดีโอ YouTube : https://youtu.be/QyXcGmzhLmk

 

 

อภิธานศัพท์ (ทั้งหมด) พบ 28,074 รายการ

ศีลข้อที่ 1

รายละเอียด

คุณก็ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับสัตว์เลยทั้งสัตว์เดรัจฉานสัตว์คน คุณก็ไม่ได้เกี่ยวข้อง  ไปนั่งปลีกวิเวกอยู่แต่ผู้เดียวไม่เกี่ยวกับอะไร มันออกนอกเรื่องนอกทางนอกวิธีปฏิบัติของพระพุทธเจ้าไปไกลเลยแสนไกล จากวิเวกเป็นการข้องอยู่ในถ้ำไปนั่งหลับตาอยู่ในถ้ำ พูดไปเมื่อไหร่เขาจะสะดุ้งสะเทือน เหมือนจะสิ้นหวังจริงๆหรือนี่ อาตมาก็พยายามคิดว่าจะไม่สิ้นหวัง จะกระตุกพวกเขาจะได้หยุดเสียบ้าง ในบรรดาพวกนับถือศาสนาพุทธ 95 เปอร์เซ็นต์ ใน 70 ล้านคนในคนไทยได้สัก 7 คนก็เอา 

ถ้าหากว่าโทรทัศน์ธรรมะแต่ละช่องลดและหยุดการสอนที่ผิดแบบนั้น ถ้าอย่างนั้นอาตมาอายุ 151 แน่ เป็นทิพย์โอสถเลยนะ 

เขายึดถือความผิดไว้อย่างนั้นแหละไม่กล้าปล่อย ก็กลัวจะไม่ผิดก็เลยได้สิ่งที่ผิดไป กลัวว่าจะทิ้งสิ่งที่ผิดไป 

ไม่ได้เริ่มด้วยศีล ปัญญาข้อที่ 4 ก็ไม่ได้ เป็นศีล สมาธิ ปัญญา

ศีลสมาธิก็ผิดเพี้ยนเพราะไปแยกกัน ต้องปฏิบัติ ศีลข้อที่ 1 ปฏิบัติการเกี่ยวข้องกับสัตว์สัมผัสกับสัตว์และคุณก็จะต้องรับรู้มีเวทนามีสัญญากำหนดหมายรู้เจตนา แล้วก็ทำใจในใจ เพราะคุณมีนาม 5 คุณมีเวทนา มีสัญญา มีเจตนา มีผัสสะ มนสิการก็ทำใจในใจได้ เมื่อคุณมีผัสสะมีเวทนา  เกิดเวทนาสัญญาก็กำหนดหมายอ่านเจตนาให้ออก จิตคุณมีเจตนา 3 

ที่มา ที่ไป

รายการทำวัตรเช้า งานว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 10 มกราคม 2563 ( 18:11:21 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 08:59:16 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 14:42:33 )

ศีลข้อที่ 1

รายละเอียด

เกี่ยวกับสัตว์กับคน

ที่มา ที่ไป

รายการทำวัตรเช้า งานว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน บ้านราช วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 31 ธันวาคม 2562 ( 16:21:18 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 13:28:47 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 09:00:15 )

ศีลข้อที่ 1

รายละเอียด

เรื่องสัตว์เป็นวิบากกรรมอย่าไปยุ่งกับเขา ถ้าไปยุ่งก็ต้องไปเกี่ยวข้อง จะต้องไปช่วยหรือคุณจะต้องไปถูกเขาแก้แค้น จะไปช่วยเขาหรือเขาจะแก้แค้นคุณ มันก็ต้องมีบวกลบ มีดูดมีผลัก เพราะฉะนั้นเรื่องสัตว์ปล่อยเลยไปตามกรรมวิบาก ถ้าคุณจะช่วยสัตว์บ้างก็บางครั้งบางคราว ที่สมควรหรือจำเป็น สัตว์เดรัจฉานทั้งหลายเขาจะอยู่ในวิบากของเขาอีกนานกว่าเขาจะขึ้นมาเป็นคน เพราะฉะนั้นเราอย่าไปเสียเวลาเลย ให้เขาสำนึกเอง ให้เขามีวิบากแล้วสำนึกเปลี่ยนแปลงเอง เขาก็จะเปลี่ยนแปลงของเขาจริงได้ คนก็มาเปลี่ยนแปลงมาสอนคนช่วยคนให้รู้ คนจะได้ไปช่วยสัตว์อีก เพราะคนที่จะต้องมีวิบากกับสัตว์ต้องเลี้ยงสัตว์ มันมีอีกเยอะแยะเลย เคยพูดนะ จะมาฟังธรรมเพื่อเอาคุณให้รอดแต่คุณห่วงหมา มาไม่ได้เพราะไม่มีใครมาดูแลหมา คุณจะเอาตัวคุณเองหรือคุณจะเอาหมากันแน่ จะเอาตัวเองให้รอดหรือเอาหมาให้รอดแล้วคุณต้องหนักหนาสาหัสที่ตัวคุณ คุณจะอยู่นานกี่ปีตาย เอาเวลาไปช่วยหมา คุณเองสูญเปล่ากับหมา จะมีบุญคุณกับหมาแล้วชาติหน้ามัน หมามันจะจำได้หรือบางทีมันก็จะมากัดคุณฆ่าคุณได้ มันไม่ได้เรื่องหรอกอย่าไปยุ่งกับสัตว์หน้าขนคนหน้าหมา

 เพราะฉะนั้นระวังพวกหน้ายื่นๆจมูกโด่งๆมันเรียกว่าคนหน้าหมานะ หน้าคนเขาได้สัดส่วนของคน

เป็นบาปมิใช่บุญเลยในเจตนากล่าวชื่อมัน ก็คือจะเอามันมาเลี้ยงเป็นบริวารเป็นวิบากซับซ้อนอีก คนเอาสัตว์มาใช้งานยังไม่ผูกพันเท่ากับเอาสัตว์มาเลี้ยงแล้วประคบประหงมให้มันดูดดึง อาตมาเคยอธิบาย ดีไม่ดีต่อไปมันจะมาเป็นผัวเป็นเมียกับคุณในชาติต่อไปสัตว์นี่แหละ อธิบายให้ลึกๆชัดๆเรื่องการเกิดแล้วตาย

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในลังกาวตารสูตร คนเราเกิดมาแล้วไม่เคยมีใครที่ไม่เคยเกิดมาเป็นพ่อเป็นแม่ เป็นลูก เป็นพี่เป็นน้องกันกับสัตว์ทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้นอย่าไปเกี่ยวข้องกับสัตว์เลย

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม 2562


เวลาบันทึก 11 มกราคม 2563 ( 21:30:54 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 09:00:34 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 14:41:23 )

ศีลข้อที่ 1

รายละเอียด

คือ ไม่ฆ่าสัตว์ มันมีรายละเอียดอีก อีกหลายประโยค อีกหลายวลี แม้แต่ที่ท่านละเว้นว่าปฏิบัติเฉพาะสมณะก็ไม่ได้กำกับไว้ วางทัณฑะ วางศาสตรา วางเครื่องมือที่จะไปฆ่า เป็นผู้มีความละอาย มีความเอ็นดู เป็นผู้มีความกรุณาหวังประโยชน์เพื่อสัตว์ทั้งปวงอยู่ อย่างนี้เป็นต้น มีความละอาย เป็นความรู้สึกจริงใจเลยว่า ทำบาปทำกรรมเราจะไม่ทำ มีแต่ใจที่ละอาย มันไม่ดีไม่เข้าท่า หากโอตตัปปะ ก็กลัวเลยไม่ทำ แต่หิรินี่ หากกิเลสยั่วแรงหน่อยก็ละเมิดได้ ยังไม่แข็งแรงเท่าไหร่ มีความละอาย มีความเอ็นดูสัตว์กรุณาสัตว์ หวังประโยชน์ต่อสัตว์ทั้งปวงอยู่ 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 25 ธันวาคม 2562 ( 12:48:44 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 13:33:16 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 09:00:59 )

ศีลข้อที่ 1 2 3

รายละเอียด

ศีลข้อที่ 1 2 3

ศีลข้อ 1 เกี่ยวข้องกับการสัมผัสเกี่ยวกับมนุษย์กับสัตว์แล้วไม่ให้เกิดกิเลส 

ศีลข้อ 2 สัมผัสวัตถุเข้าของพืชพันธุ์ธัญญาหาร เราก็ไม่มีความทุจริตเอาของเขามา พืชกับสิ่งของมันไม่มีอะไรโต้ตอบกับเรา แต่สัตว์กับคนมันมีวิบากโต้ตอบเราได้ พืชกับของมันก็เรื่องทุจริตได้

ศีลข้อที่ 3 เกี่ยวกับรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เกี่ยวกับกาม ราคะ เป็นตัวปฏิบัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเป็นตัวกิเลสเลย อย่างวัตถุกับพืช ก็มีกิเลสกับวัตถุุ แต่ข้อ 3 นี้ เกี่ยวกับรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสเลย ไม่เข้าใจศีลทั้ง 3 ข้อเราก็ปฏิบัติกับชีวิตที่เราเกี่ยวข้องกับอะไร 

เกี่ยวข้องกับสัตว์ หรือคน ก็จะเกิดกิเลสคุณก็ต้องศึกษา แน่นอน คุณต้องเกี่ยวข้องกับของ เกี่ยวข้องกับพืชพันธุ์ธัญญาหารของกินของใช้ เครื่องอุปโภคบริโภค แล้วคุณมีความทุจริตหรือไม่คุณก็ต้องเรียนรู้ หากไม่ทุจริตก็ปฏิบัติได้ลาภโดยธรรม มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนหรือสมมุติกำหนดของเราของเขาตามหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย 

ส่วนข้อ 3 ปฏิบัติธรรมะเรียนรู้ใจในใจ เมื่อสัมผัสรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสเราก็อ่านกิเลสที่เกิดขึ้น แล้วเกิดกามเกิดอัตตา เป็นตัวปฏิบัติแท้ 

ถ้ารู้ว่าศีลปฏิบัติอย่างนี้ แล้วคุณก็ปฏิบัติตรงตามที่อาตมาอธิบายคร่าวๆคุณก็มีมรรคผลในตัวเอง ชาวอโศก อาตมาอธิบายธรรมะพวกเราเข้าใจ แม้จะไม่กระจ่างละเอียดมาก แต่ก็เอาไปปฏิบัติจนเกิดมรรคผลได้จึงเกิดสังคมชาวอโศก 

สังคมชาวอโศกจึงเป็นสังคมที่มีสาราณียธรรม 6 เป็นสังคมที่มีวรรณะ 9 ได้จริง 

เอาหลัก ตรวจสอบ ธรรมะพระพุทธเจ้า 8 หรือเอากถาวัตถุ 10 มาตรวจสอบก็เป็นได้จริง

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 15 พฤศจิกายน 2562 ( 16:34:35 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 09:01:19 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 14:39:40 )

ศีลข้อที่ 2

รายละเอียด

เกี่ยวกับข้าวของเพชรนิลจินดาแม้กระทั่งพืชผักผลไม้ต่างๆ มันเป็นของ ไม่ใช่สัตว์ สัตว์มันก็เป็นอีกชนิดหนึ่ง อธิบายแยกกันให้ชัดเจน

ที่มา ที่ไป

รายการทำวัตรเช้า งานว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน บ้านราช วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 31 ธันวาคม 2562 ( 16:22:27 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 13:38:45 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 09:01:46 )

ศีลข้อที่ 2

รายละเอียด

เป็นเรื่องศักดินา เป็นลาภ ยศ สรรเสริญ เป็นข้าวของ

เพราะฉะนั้นไม่เป็นทาสเรื่องเหล่านี้ ไม่เป็นห่วง

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม 2562


เวลาบันทึก 11 มกราคม 2563 ( 21:29:56 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 13:39:56 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 09:02:11 )

ศีลข้อที่ 2 ขโมยของผู้ที่ไม่หวงแหน จะบาปขนาดไหน

รายละเอียด

มาเข้าข้อที่ 2 ของที่เขาไม่ได้ให้ เมื่อเขาไม่ได้ให้ เราไปเอาของเขามา หรือเอาของเขาไปจากเจ้าของเขา โดยเขาไม่ได้อนุญาตไม่ได้ยอม เป็นทุจริตกรรม 

ของที่ว่าไม่ใช่สัตว์ แต่เป็นวัตถุก็ดี เป็นพืชพันธุ์ธัญญาหารก็ดี ทั้งนั้นแหละที่ไม่ใช่ของของเรา ศีลข้อ 2 นี้แยกจากข้อหนึ่งคือเรื่องของสัตว์ มีชีวิตจองเวรจองภัย ในศีลข้อที่ 1 

ศีลข้อที่ 2 ของที่เราเอามาโดยทุจริต โดยตัวมันเองมันไม่รู้เรื่อง มันไม่มีการจองเวรจองภัย แต่เจ้าของ ฟังให้ดีนะซ้อนแล้วนะ 

เจ้าของ ของของนั้น ไม่ว่าจะเป็นวัตถุหรือพืชพันธุ์ธัญญาหาร เขาจองเวรจองภัย เป็นความลึกซึ้งซับซ้อนอีก 

คนที่ไม่หวงแหนของ ยิ่งไม่หวงแหน ยิ่งคุณไปเอาโดยทุจริตยิ่งบาปซับบาปซ้อน เป็นร้อยเท่าพันเท่า ตรงนี้ซับซ้อนมาก 

คุณไปขโมยของโจร ก็บาปประมาณนึง แต่ถ้าคุณไปขโมยของคนที่เขาสุจริตเขาไม่ใช่โจร บาปกว่าไปขโมยของโจร 

คุณไปขโมยของผู้ที่ไม่หวงแหนของ ซึ่งไม่ใช่คนสามัญธรรมดา ที่เขาหวงแหนของเขา แต่ว่า คนนี้ไม่ใช่โจรก็บาปแล้ว ทีนี้คนนี้ไม่หวงแหนแล้ว ระดับต้นจนถึงระดับปลาย ก็บาป ยิ่งขึ้นไปอีก ยิ่งไม่หวงแหน ยิ่งไม่มีตัวตนเลย พูดลัดๆ ไปขโมยของพระพุทธเจ้า เป็นต้น มันจะบาปขนาดไหน ขโมยของพระอรหันต์  ของพระอาริยะระดับต้นก็บาปขนาดหนึ่ง ของพระอรหันต์ก็บาปยิ่งกว่า ของพระโพธิสัตว์ยิ่งสูงขึ้นไปอีกบาปบาปบาป ขึ้นไป กี่ชั้น กี่ชั้น อย่าเล่นกับกรรมวิบากนะ เป็นของจริงนะกรรมวิบาก ไม่ใช่อาตมาไปตั้งอัตราลงโทษเอาเองไม่ใช่ แต่มันเป็นสัจจะ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ คนถือศีล 5 ได้ถือเป็นความมหัศจรรย์อย่างยิ่ง วันศุกร์ที่ 7 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 21 มกราคม 2565 ( 15:09:00 )

ศีลข้อที่ 2 เกี่ยวกับข้าวของ

รายละเอียด

การปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้าแม้แต่ศีลข้อที่ 1 เกี่ยวกับสัตว์ ข้อที่ 2 เกี่ยวกับข้าวของ ของจะเป็นของอะไรก็แล้วแต่ พ้นไปจากร่างกายของเรา แม้แต่ร่างกายของเราท่านก็ให้เรียนรู้ว่ามันไม่ใช่ของเรา ของที่นอกตัวเรานอกร่างกายเรา ไม่ใช่สิทธิ์ของเราไม่ใช่ของของเราก็อย่าไปแค่ วิสาสะ ต้องระมัดระวัง ยิ่งไปฉวยมาเป็นของเราเลย ยิ่งไปปล้นจี้ใช้อำนาจไปเอาของเขามา ฆ่าผัวมันเสียเอาเมียมันมา มันเลวร้ายที่สุด นี่เป็นคุณธรรมของพระพุทธเจ้าที่สอน แค่ของกับสัตว์เราก็ปฏิบัติให้ได้ดี ทำได้เราก็ไม่เป็นพิษเป็นภัยไม่เป็นโทษภัยกับใคร เป็นประโยชน์คุณค่าต่อผู้อื่น

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้างานพุทธาภิเษกฯ ครั้งที่ 42 ปฐมอโศก ความจนที่มีสัมประสิทธิ์ ตอน 2 วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561

สื่อธรรมะพ่อครู(ศีล สมาธิ ปัญญา) ตอน การปฏิบัติอย่างมีลำดับของศีล 5


เวลาบันทึก 25 กุมภาพันธ์ 2564 ( 16:49:56 )

ศีลข้อที่ 2 เป็นเรื่องทุจริต

รายละเอียด

ศีลข้อที่ 2 นั้นเป็นเรื่องทุจริตที่มีเต็มโลกเลย อาตมาคิดวิธีทุจริตตามเขาไม่ไหวในโลกนี้ เพื่อจะขี้โกงเพื่อจะหลอกลวงเพื่อจะอำพราง อาตมาไม่สู้ ยอมแพ้จริงๆเลย เขาคิดซับซ้อนลึกลับ ลึกซึ้งอะไรก็แล้วแต่ โอ้โห ความคิดของคน เพราะฉะนั้นศีลข้อ 2 ก็อย่างนั้น 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ หนูตัวเล็กอย่างไทยจะช่วยราชสีห์ซาอุฯตัวใหญ่ได้ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 14 กุมภาพันธ์ 2565 ( 18:58:20 )

ศีลข้อที่ 3 กามคุณ 5

รายละเอียด

ส่วนข้อที่ 3 คือรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่เป็นพิษภัยต่อตนเอง ตนเองโง่ หลงรูปอย่างนี้ เราชอบรูปอย่างนี้ไม่ชอบรูปแบบนี้ก็ทำร้าย เสียงอย่างนี้ชอบ เสียงอย่างนี้ไม่ชอบถึงขั้นทำร้าย กลิ่น รส ก็เหมือนกันทั้งนั้น ไม่ชอบก็ทําร้าย อย่างนี้ต้องศึกษา มันเป็นภัยต่อตนเอง และมีการเกี่ยวข้อง พันธกิจ เกี่ยวข้องกับผู้อื่นไปทำร้ายผู้อื่นต่อ ถ้ามีแต่เฉพาะรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสตัวเอง ไม่ไปถึงขั้นศีลข้อที่ 1 ข้อ 2 ก็เป็นภัยแก่ตัวเองอย่างเดียว

เพราะฉะนั้นศีลข้อที่ 3 กามคุณ 5 เราติด เราหลงผิดในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส แล้วเราก็ไม่เรียนรู้ธรรมะพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นเรื่องลึกซึ้ง มีศาสนาพุทธนี่แหละสมบูรณ์แบบที่สุด เรียนรู้อาการของความรู้สึกที่เรียกว่าเวทนา แล้วมันรู้สึก เวทนานี้เป็นกรรมฐานหลักของศาสนาพุทธ ถ้ารสชาติสามัญเป็นรสแท้ สัมผัสต่างๆมันเป็นรูปอย่างไรก็รู้อย่างนั้น มันไม่มีความชอบความชัง ไม่มีดีไม่มีชั่วอะไร มันก็อยู่ของมัน แต่ถ้ามันไปเกี่ยวข้องกับอะไรแล้วมันจะเป็นพิษเป็นภัยกับอะไรได้ ก็ขยายความไป รู้แล้วก็ช่วยจัดการ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้างานพุทธาภิเษกฯ ครั้งที่ 42 ปฐมอโศก ความจนที่มีสัมประสิทธิ์ ตอน 2 วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561

สื่อธรรมะพ่อครู(ศีล สมาธิ ปัญญา) ตอน การปฏิบัติอย่างมีลำดับของศีล 5


เวลาบันทึก 25 กุมภาพันธ์ 2564 ( 16:53:21 )

ศีลข้อที่ 3 คนเผินมากด้วยเหตุใด

รายละเอียด

มาเกี่ยวกับรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย นี่เป็นศีลข้อที่ 3 ศีลข้อที่ 3 นี่แหละ คนเผินมาก ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไร บอกในเรื่องทุจริตต่อวัตถุ ต่อพืชพันธ์ธัญญาหาร โกงกันไป ทุจริตกันมาก็พอเข้าใจ แต่รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสนี่ ละเอียดยิ่งกว่านั้น ติดยึดเป็นสุขเป็นทุกข์อยู่นี่ สัมผัสทั้งนั้น แตะต้องกัน ตากระทบรูป เสร็จแล้วมีตัณหาอุปาทานพอใจได้มา  เออ สุข ได้ดูได้ชมก็เป็นสุข 

ยิ่งได้ไปเค้าท์ดาวน์ยิ่งดี เห็น ได้ดูกะหล่ำปลีหัวใหญ่ ​สวยจังเอาไปสิ ดี เห็นเฉยๆหัวใหญ่ก็ว่าดีแต่ถ้าเขาให้ก็ยิ่งดีเลย ได้เป็นของเราแล้วได้เอาไปกิน เห็นไหมสัจธรรมพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วมันก็เป็นอย่างนี้แหละ ก็มีตัวตนเป็นหลัก ได้เห็นก็ว่าดี ได้ยินเป็นของเราได้ยิ่งดีถ้ามันชอบ ถ้าไม่ชอบใจก็อย่าเอามานะเอาไปเอาไปเอาคืนไปเกะกะ 

อาการเหล่านี้พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้หมดเลย ถ้าเราจะมีเราจะได้เราก็ทำขึ้นมาเอง ถ้าเราไม่ทำเอง อาตมาไม่ทำเองให้พวกคุณทำแล้วก็เอามาให้ ไม่เอามาให้ก็ไม่ว่าเอามาให้ก็กิน แต่อาตมาทำอันนี้ทำความรู้ธรรมะ ซึ่งมันไม่มีใครทำได้เท่าอาตมา อาตมาทำอันนี้ เป็นหน้าที่เป็นความจำเป็นด้วย เป็นสิ่งสำคัญด้วย ถ้าจะว่าไปแล้ว สำคัญกว่าปลูกกะหล่ำปลีไหม อาตมาอธิบายธรรมะสำคัญกว่ากะหล่ำปลีไหม โอ้โห ราคาแพง 

ที่มา ที่ไป

พ่อ‌ครู‌เทศน์‌ ‌ทำวัตร‌เช้า‌ ‌ส่ง‌ท้าย‌ปี‌เก่า‌ ‌งาน‌ ‌ว‌.‌บบบ‌ ‌เพื่อ‌ฟ้า‌ดิน‌ ‌สวด‌อภิธรรม‌ส่ง‌

ท้าย‌ปี‌เก่า‌ให้‌เข้า‌ถึง‌นิพพาน‌ วันศุกร์ที่ 31 ธันวาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 10 มกราคม 2565 ( 19:15:48 )

ศีลข้อที่ 3 เกี่ยวกับรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส

รายละเอียด

ศีลข้อที่ 3 เกี่ยวกับรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส เกี่ยวข้องกับการติดยึด เสพรสอัสสาทะ ของรูป เสียง กลิ่น รสทางลิ้น สัมผัสทางกาย สัมผัสทางใจ แล้วคุณก็ติดในรสอัสสาทะของมัน อันนี้ยากกว่าไม่ฆ่าสัตว์ ยากกว่าไม่ทุจริตในข้าวของ 

แล้วมันก็ติดอยู่ในชีวิตของคนทุกคน ซึ่งจริงๆแล้วเบื้องต้นต้องทำก่อนด้วยซ้ำ แต่หยาบๆก็ละไว้ในฐานที่เข้าใจ คุณปฏิบัติก็ดีขึ้นเรื่อยๆ จนมาอยู่ในระดับ 3 รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส ก็ค่อยๆเรียนไป จนกระทั่งภายนอก ตาหูจมูกลิ้นกาย เรียกว่า กามคุณ 5 ไม่เสพมาเป็นรสอร่อย มาเป็นรสสุข ลดลงๆๆ จนกระทั่งสัมผัสแล้ว  เราก็ไม่สุขไม่ทุกข์ภายนอก เกิดกิเลสกับภายนอก แต่มันยังมียุกยิกๆ อยู่ภายใน เป็นรูปธรรมภายใน เรียกว่ารูปราคะ แล้วยังมีลึกเข้าไปจากหยาบ รูปราคะ ดับรูปลดให้หมดจึงเหลืออรูป อรูปราคะ เป็นตัวสุดท้าย ถ้าไม่ทำไปตามลำดับ ไม่ได้ไปสะสมไม่ได้ ตัดลัดไขว้หัวไขว้หาง ไม่ได้เรื่อง นี่ก็เป็นรายละเอียดที่สำคัญมาก 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาพาปฏิบัติเป็นลำดับอย่างไม่กดข่ม วันพุธที่ 16 มีนาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 23 มีนาคม 2565 ( 21:41:11 )

ศีลข้อที่ 5

รายละเอียด

คือความเสพติดทุกอย่าง ความเสพติดหมด จึงไม่ต้องใช้ในกุศลกรรมบถ 10 ก็ได้ในโนโศลกที่ว่า  เบิกบาน  แจ่มใส มัธยัสภ์  สุภาพ  สงบ หมดความอยาก  สิ้นความเสพ  คำเสพติดในศีลข้อ 5 มันเสพตั้งแต่หยาบไป  สุรา  เมรยะ  มัชชะ มทะ  ก็แปลว่าเมาแต่เมาต่างระดับกัน มทะนี้ละเอียดที่สุดกว่า  สุรา  เมรยะ  มัชชะ ขออภัยยกตัวอย่าง  สิ่งเสพติดหยาบ ๆ  อยากได้ รูปรส กลิ่น เสียง มหาบัวติดหมาก  หมากนั้นเป็นทั้งรูปรส กลิ่น เสียง สัมผัส อยู่ในนั้นหมดเลย

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปิ๋ซี่วิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 27 พฤศจิกายน 2562 ( 13:17:51 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 13:41:45 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 09:02:43 )

ศีลข้อที่ 5

รายละเอียด

คือความเสพติด ทุกอย่างคือความเสพติดหมด จึงไม่ต้องใช้ในกุศลกรรมบถ 10 ก็ได้ ในโศลก ที่ว่า “เบิกบานแจ่มใสมัธยัสถ์สุภาพสงบหมดความอยากสิ้นความเสพ”คำว่าเสพติดในศีลข้อ 5 มันเสพตั้งแต่หยาบไป สุรา เมรยะ มัชชะ มทะ ก็แปลว่าเมาแต่เมาต่างระดับกัน มทะนี้ละเอียดที่สุดกว่า สุรา เมรยะ มัชชะ ขออภัยยกตัวอย่าง สิ่งเสพติดหยาบๆ อยากได้ รูปรสกลิ่นเสียงมหาบัวติดหมาก หมากนั้นมีทั้งรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสอยู่ในนั้นหมดเลย 

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2563


เวลาบันทึก 26 พฤศจิกายน 2563 ( 09:56:53 )

ศีลคืออะไร

รายละเอียด

ตอบ ฟังดีๆ ศีลคือหลักที่แข็งแรงคงมั่น มาจากรากศัพท์คือศิลา ศิลาแปลว่าแท่งหิน หินแข็ง เป็นแท่งที่คงมั่นเป็นหลักที่จะให้คนอาศัย ให้คนยึดถือ เอาไปใช้ปฏิบัติ เป็นหลักที่จะให้คนศึกษา เช่น ศีลข้อที่ 1 ท่านบอกว่า อย่าฆ่าสัตว์ ศีลเป็นหลักของชีวิตอย่างนี้หรือเป็นคนต้องไม่ฆ่าสัตว์   คือเราก็ต้องทำให้ได้มันเป็นสิ่งประเสริฐ การฆ่าไม่ดี การฆ่าสัตว์ไม่ดี ไม่ต้องไปโหดร้ายกับสัตว์ ต้องเมตตาสัตว์ แล้วมันก็จะเสริมขึ้นไปจากศีลข้อที่ 1 จะต้องเกื้อกูลเอ็นดูหวังประโยชน์ต่อสัตว์ทั้งหลาย นี่เป็นรายละเอียดดังนี้เป็นต้น สรุปแล้ว ศีล ก็คือหลักที่จะเอามาใช้ปฏิบัติ ศีลนี่คือสิ่งที่ไม่ให้ทำ ท่านห้ามอะไร เป็นสิ่งที่ควรเว้นขาดควรให้เลิกให้ละให้เว้นให้ขาด เราก็เรียนรู้ แล้วก็ทำตามปฏิบัติตามความหมายแก่ศีลแต่ละข้อ ศีลข้อที่ 2 อย่าไปทุจริต อย่าไปขี้โกง อย่าไปทำชั่ว อย่าไปเอาสิ่งที่ไม่ใช่ของเรา ศีลข้อที่ 3 เกี่ยวกับตาหูจมูกลิ้นกายข้างนอกของเรา มันจะต้องศึกษาลึกซึ้งเข้าไปอีก ที่อธิบายไปทางตาก็สวย ฟังเสียงก็ไพเราะ ฟังหูก็เสียงเพราะ รสทางลิ้นก็อร่อยทั้งสัมผัสก็เย็นร้อนอ่อนแข็ง ชอบใจ ไม่ชอบใจ อย่างนี้เป็นต้น เรารู้ว่าอะไรเป็นทีก็เลิกทีพวกนี้ได้ก็เป็นคนเจริญ เป็นผู้ที่อยู่เหนือผี เหนือมาร เหนือซาตาน เป็นผู้ที่สูงส่ง 

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 22 กันยายน 2563 ( 18:48:24 )

ศีลจะมีผลต้องไม่ขาด อปัณณกปฏิปทา 3

รายละเอียด

ศีลแล้วก็มีหลัก อปัณณกปฏิปทา 3 ขาดไม่ได้ หากขาดก็ไม่เป็นผล

มีศีลข้อที่ 1 ก็ต้องมาปฏิบัติหลัก 3 นี้ มีศีลข้อที่ 2 ก็ปฏิบัติหลัก 3 มีศีลข้อ 3 รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสก็ต้องมาปฏิบัติหลัก 3 

เพราะฉะนั้นศีลคือหลักกำหนด กำหนดข้อ 1 คือสัตว์ ข้อที่ 2 คือวัตถุกับพืช ก็แยกมา เพราะวัตถุกับพืชมันต่างกับสัตว์ สัตว์เป็นจิตนิยาม วัตถุกับพีชเป็นพืชนิยามกับอุตุนิยาม ก็ขยายความไปละเอียดลออหมดแล้ว 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์เปิดงานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 46 พาปฏิญาณศีล 8 วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 15 พฤษภาคม 2565 ( 12:08:09 )

ศีลต่างจากวินัย

รายละเอียด

ในสังคมศาสนาพุทธทุกวันนี้เดรัจฉานวิชาเดรัจฉานกถาเต็มไปหมด อยู่ในนั้นหมดเลยเต็มไปหมด มหาศีลไม่เหลือ มหาศีลละเมิดหมด แล้วตั้งใจเป็นวิธีการด้วย เอามหาศีลเป็นวิธีการหาเงินด้วย นี่คือศาสนาพุทธที่ล้มเหลว เอาศีลมาวัดได้หมดเลย คนนี้เขาก็ยืนยันเองว่าไม่มีศีลมีแต่วินัย 227 ถามว่าศีลของพระมีเท่าไหร่ก็ 227 นั่นมันพระวินัยเป็นกฎหมายอาชญา มีการลงโทษ ศีลนี้ใครทำถูกต้องก็ได้เอง มีผลทางเปลี่ยนแปลงจิตใจเอง มันคนละอย่างกับวินัย แต่เขาเองไม่เข้าใจนึกว่ามีศีล 227 อันนั้นมันวินัย สมณะที่นี่บวช รับศีล 43 จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล ส่วนวินัยนั้น ภิกษุก็ต้องมีวินัยสวดปาฏิโมกข์กัน 227 ข้ออยู่แล้ว ไม่มีปัญหาอะไร ขออภัยพูดแล้วเหมือนยกตนข่มท่านก็ขออภัยสำหรับผู้ที่ไม่เป็นไม่มี

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 9 พฤษภาคม 2561


เวลาบันทึก 31 ธันวาคม 2563 ( 13:07:32 )

ศีลต้องปฏิบัติตามหลักอปัณณกธรรม 3

รายละเอียด

ศีล จะต้องปฏิบัติตามหลักอปัณณกธรรม 3 ถ้าไม่มีหลัก อปัณณกธรรม 3 อย่างนี้ไม่ใช่ศาสนาพุทธ คำว่าอปัณณกะ แปลว่า แท้จริง ปัณก แปลว่า ผิด คำสองคำนี้สับสนกันมากเลย

อปัณณกะ แปลว่า ของพระพุทธเจ้าแท้จริง อปัณณก คือ 3 ข้อนี้จริง ปัณณกะคือไม่มี 3 ข้อนี้ก็ผิด 

พยัญชนะ 2 คำนี้เป็นสภาวะเป็นสิริมหามายาสลับกันไปสลับกันมา เขาสลับไม่ถูกมันก็จะผิด มันสลับกันไปกันมาไม่เที่ยงยึดมั่นถือมั่นอะไรไม่ได้เป็นสิริมหามายา แต่ผู้ที่กำหนดถูกตรงกันแล้ว พวกเราจะกำหนดตรงกันหมด แล้วเราจะไปกำหนดกับคนอื่นรู้ว่าเขากำหนดไม่ตรง เขาไปทางไหนเราก็ไปทางนั้นกับเขาได้ เขากำหนดอันไหนว่าผิดว่าถูกเราก็รู้ความจริงตามเขาได้ 

ฉะนั้นในการปฏิบัติหลักจรณะ 15 นี้ เข้าใจการปฏิบัติธรรมตามหลักจรณะ 15 ไม่ได้ ไม่เป็นสัมมาทิฏฐิและปฏิบัติไม่ตรงตามนี้ ไม่มีทางบรรลุธรรม เช่นศีลไม่เอาเลยก็เลิกเลย เอาศีลแล้วแต่เป็นสีลัพพตุปาทาน เอาแต่ศีลตามจารีตประเพณี ไม่มีอปัณณกธรรม 3 ไม่รู้เรื่อง

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม ปฏิบัติศีลให้ถึงอรหัตตผลโดยลำดับ

วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 19 พฤษภาคม 2564 ( 14:33:30 )

ศีลทำให้จิตเจริญอย่างไร

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นศีลจะทำให้เกิดจิตเจริญเป็น อธิจิต จิตเจริญคือ ทำจิตให้สูญจากกิเลส หน้าที่ของผู้ศึกษาจึงต้องรู้จักกิเลส รู้จักกลิธาตุ ธาตุที่เป็นตัวกลิ เป็นตัวโทษตัวภัย

เริ่มตั้งแต่ กายกลิภายนอกก่อน กว่าจะมาถึงจิตกลินี้อีกนาน ล้างกายกลิก่อน ที่เกี่ยวข้องกับภายนอก ในแวดวงรัศมีที่ตนเองเกี่ยวข้องสัมผัสด้วยตาหูจมูกลิ้นกาย สัมผัสด้วยสิ่งที่เป็นวัตถุ เป็นพืชเป็นสัตว์ เป็นคน เกี่ยวข้องกันอยู่นี่สัมผัสกันอยู่นี้ อันใดสัมผัสแล้วมันก่อให้เกิดกิเลส ก่อกลิ ก่อให้เกิดโทษ ดูดก็เป็นภัย ผลักก็เป็นภัย ดูดมากเกินเป็นภัยแน่ ผลักมากเกินเป็นภัยแน่ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม ปฏิบัติศีลให้ถึงอรหัตตผลโดยลำดับ

วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 19 พฤษภาคม 2564 ( 14:52:57 )

ศีลทำให้เกิด สมาธิ ปัญญา วิมุติ

รายละเอียด

ส่วนศาสนานั้นมีกระพี้ มีสะเก็ด มีเปลือก มีแก่น เขาไม่เอาเลย สะเก็ดคือศีล เขาไม่เอา เอาแต่แบบสีลัพพตุปาทาน สีลัพพตปรามาส ไม่ได้เป็นศีลที่ยิ่งยอด ทั้งที่ศีลนี่แหละทำให้เกิด สมาธิ ปัญญา วิมุติ เขาไม่เชื่อ เขาไม่ได้เข้าใจอย่างนั้น เพราะฉะนั้นเรื่องของศีลไม่มี ก็อย่าไปพูดเรื่องของสมาธิ ปัญญาเลย

ศีล ของเขามิจฉาทิฏฐิ แล้วสมาธิ ปัญญา วิมุติ ก็เป็นมิจฉาทิฐิไปหมดแล้ว อาตมาทำงานมา 50 ปีเลย 50 ปีแล้ว อาตมาไม่ขออมพะนำ แต่ขอพูดอย่างเต็มปากเต็มคำแรงๆว่าเป็นเช่นนั้นและก็ยังเป็นอยู่

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม คนจนโลกุตระมีประชาธิปไตยที่ดีสุดในโลก วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 01 เมษายน 2564 ( 16:40:57 )

ศีลที่เป็นกุศลย่อมยังอรหัตผลโดยลำดับ

รายละเอียด

พระไตรปิฎกเล่ม 24 ข้อ 1 กับข้อ 208 กิมัตถิยสูตร ฟังนะ ศีล ในประเทศไทยเขาสอนกันอย่างไร สอนว่า ศีลไปควบคุมกายกับวาจาให้ดี มันออกนอกเรื่องของพระพุทธเจ้าเลยพระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ ท่านตรัสไว้

ในกิมัตถิยสูตร เล่ม 24 ข้อ 1 และ 208 

กิมัตถิยสูตร

[1] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้วได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ 

ศีลที่เป็นกุศลมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์

ศีลที่เป็นกุศล มีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ ฯ

อานนท์..  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อวิปปฏิสารมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ

พ. ดูกรอานนท์ อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ฯ

อานนท์.. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปราโมทย์มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ

พ. ดูกรอานนท์ ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ ฯ

อานนท์.. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปีติมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ

พ. ดูกรอานนท์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ฯ

อานนท์.. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปัสสัทธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ

พ. ดูกรอานนท์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สุขมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ

พ. ดูกรอานนท์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ฯ

อานนท์.. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมาธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ

พ. ดูกรอานนท์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ฯ

อานนท์.. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ยถาภูตญาณทัสสนะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ

พ. ดูกรอานนท์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาวิราคะเป็นอานิสงส์ ฯ

อานนท์.. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็นิพพิทาวิราคะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ

พ. ดูกรอานนท์ นิพพิทาวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล มีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทาวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาวิราคะเป็นอานิสงส์ นิพพิทาวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ด้วยประการดังนี้ ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อมถึงอรหัตโดยลำดับด้วยประการดังนี้แล ฯ

จบสูตรที่ 1

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการพุทธศาสนาตามภูมิ ชาวอโศกคือชุมชนบุญนิยมที่มีมรรคผลจริง วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม 2563 ที่สันติอโศก


เวลาบันทึก 05 กุมภาพันธ์ 2564 ( 15:52:52 )

ศีลที่เป็นกุศลย่อมยังอรหัตผลให้บริบูรณ์ไปตามลำดับ

รายละเอียด

เขาไปแยกส่วนบอกว่าศีลขีดเกลาปฏิบัติแค่กายวาจา ส่วนใจนั้นต้องไปทำสมาธิแยกออกไป ไปนั่งหลับตาสะกดจิตคือสมาธินั่นแหละเป็นมิจฉาทิฏฐิ ที่หลงผิด หลงทิศหลงทาง แม้แต่อานิสงส์ศีลทั้ง 10 ข้อ เขาก็ไม่เข้าใจ ว่ามันเป็นการต่อเนื่องอิทัปปัจจยตาเป็นปฏิจจสมุปบาทไปถึงกันและกันหมด ให้บริบูรณ์ไปตามลำดับ  

ทำไม วิราคะ จึงมาทีหลังสมาธิ ใน อานิสงส์ของศีลทั้ง 10 ข้อ คำว่า สมาธิ เป็นคำกลางๆ ที่เรียกกันมาตลอด เอามาใช้ มันผิดเพี้ยนไปแล้ว สภาวะของสมาธิ แต่เขาก็ยังเรียกสมาธิอยู่ สมาธิทุกวันนี้เป็นสมาธิที่ไม่มีปัญญา ไม่มีปัญญาเป็นตัวกำกับสำคัญ ปัญญาเป็นตัวที่ปล่อยวาง ปัญญาเป็นตัวที่รู้ มีธรรมฤทธิ์ ที่ทำให้กิเลสมันยอม กิเลสไม่รอหน้า กิเลสไม่เข้ามาใกล้ กิเลสไม่กล้าเข้ามาแตะ ปัญญามีพลังฤทธิ์ในตัวเอง กิเลสไม่กล้าเข้าใกล้ เพราะฉะนั้นมันจึงจบเด็ดขาด ตื่นๆลืมตา สัมผัสรู้ ว่ากิเลสมี หยาบ กลาง ละเอียด ตั้งแต่กิเลสใน กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร อวจรคือ ยังดำเนินไปอยู่ 

ในกาม ก็ยังดำเนินในกามภพ ลดลงได้แล้วก็ยังมีกิเลสให้ลดอีกนะ รูปภพ อรูปภพ หมดแล้ว ก็ยังลืมตาสัมผัสโลกมีกามคุณ 5 ที่มีตาหูจมูกลิ้นกายเปิดอยู่ อวจรอยู่ เหลืออรูป อวจรในจิต เป็นชีวิตินทรีย์อย่างไร ก็รู้ชัดเจน ดับกิเลสกับตัวชีวิตินทรีย์ อินทรีย์คือชีวิตของกิเลสต้องการขั้น อรูปก็จบ รู้ๆ ลืมตา เป็น จักขุมาปรินิพพุโพติ ไม่ใช่ไปหลับตาเลย 

พยัญชนะก็เป็นอย่างนั้นแต่มันผิดไปจากสภาวะแล้ว พระพุทธเจ้าจึงมาเรียงใหม่ เรียงใหม่ ให้เป็นตามที่เขาว่า สมาธิ แต่เขาเป็นสมาธิที่มิจฉา เขาก็ทำได้แค่นั้น เพราะฉะนั้นจึงตามด้วย วิราคะ หรือนิพพิทา ตามหลังคำว่า สมาธิ ของพระพุทธเจ้ามีความละเอียดรู้จักความจางคลาย รู้จักความเบื่อหน่ายเลย ทิ้งกิเลสเลย มันจึงสูงกว่าสมาธิ สามัญที่เขาใช้กัน 

ของพระพุทธเจ้านั้นท่านชัดเจนว่า สมาธิของท่าน คือสมาหิโตหรือสมาหิตะ ที่มีเจโตปริยญาณ 16 1. สราคจิต  (จิตมีราคะ)  2. วีตราคจิต  (จิตไม่มีราคะ)  3. สโทสจิต  (จิตมีโทสะ) ทำให้มันดับทำให้ไม่มีเป็น 4. วีตโทสจิต  (จิตไม่มีโทสะ)  5. สโมหจิต  (จิตมีโมหะ)  6. วีตโมหจิต  (จิตไม่มีโมหะ)  สายเจโตก็เป็น 7. สังขิตฺตํจิตตํ (จิตเกร็ง-จับตัวแน่น หด คุมเคร่งอยู่) สายปัญญาก็เป็น 8. วิกขิตฺตํจิตตํ (จิตกระจาย-ดิ้นไป ฟุ้ง จับไม่ติด) 

จนกระทั่งไม่ว่าสายไหนก็ทำให้มันเจริญได้เป็น 9. มหัคคตจิต (จิตเจริญยิ่งใหญ่ขึ้น) หากว่ามันไม่เจริญขึ้นไปกว่าก็เป็น10. อมหัคคตจิต (จิตไม่เจริญขึ้น)  มันเจริญไปแล้วแต่ว่ามันก็ยังมีที่เจริญกว่านี้อีก 11. สอุตตรจิต (จิตมีดีแต่ยังมีดียิ่งกว่านี้-ยังไม่จบ) 12. อนุตตรจิต (จิตไม่มีจิตอื่นสูงยิ่งกว่า) . 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาให้ถึงปัญญาวิมุติ

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม 2566 แรม 3 ค่ำ เดือนยี่ ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 14 มกราคม 2566 ( 13:04:54 )

ศีลธรรมนูญ

รายละเอียด

คือ จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล

หนังสืออ้างอิง

 “คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1หน้า 59


เวลาบันทึก 08 พฤศจิกายน 2562 ( 15:35:30 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:34:29 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 14:38:12 )

ศีลนั้นเมื่อเจริญขึ้นย่อมเกิดฌานจนสามารถเผากิเลสให้หมดสิ้น จึงเกิด“บุญ”เป็นที่สุด! จึงจบกิจในทันที!

รายละเอียด

ผู้ปฏิบัติตาม“จรณะ 15 วิชชา 8”ไปตามลำดับ อันมี“ศีล”เป็นข้อต้น แล้วเจริญ“อธิศีล-อธิจิต-อธิปัญญา” ก็จะเกิด“ฌาน”สัมมาทิฏฐิตามแบบพุทธ จนมีประสิทธิภาพ“เผากิเลส”ได้ผลไปตามขั้นตอน กระทั่ง“กิเลสหมดสิ้นสูงสุด”ก็เป็น“บุญ”สำเร็จจริง “บุญ”คือ ผลสำเร็จของ“พลังงานไฟวิเศษ” “พลังงานไฟวิเศษ”เป็นพลังงานทางจิต ภาษาก็คือ“ฌาน”

“ฌาน”ชำระกิเลสไปตามขั้นตอน กระทั่งถึง“ผลสูงสุดของการชำระกิเลส”ก็เรียกด้วยศัพท์ว่า“บุญ”“ผลสูงสุดของการชำระกิเลส”นี้แหละ ที่ยืนยันว่า“จบกิจ”กันเด็ดขาดจริงๆเป็นที่สุดแห่งที่สุด 

ไม่ต้องมี“บุญ”เหลือหรือกลับมาวนเวียนใน“ชีวิต”ใน“กรรม”ของคนผู้นั้นกันอีกเลยเด็ดขาด จึงชื่อว่า“หมดสิ้นบุญสิ้นบาป (ปุญญปาปปริกฺขีโณ)” คือ ขีวิต”ของคนผู้นี้ไม่ต้องมี“กรรม”ที่จะต้องให้เป็น“บุญ”กันอีก

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ เปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อ 226 หน้า 186


เวลาบันทึก 01 สิงหาคม 2564 ( 13:26:43 )

ศีลบุคคล

รายละเอียด

คนปกติ คนมีศีลสมบูรณ์

หนังสืออ้างอิง

อีคิวโลกุตระ หน้า 196


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 08:36:23 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:41:47 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 14:37:36 )

ศีลปรามาส

รายละเอียด

เป็นแค่คำท่อง คำจำได้ เป็นแค่ภาษา

หนังสืออ้างอิง

จากหนังสือทางเอก ภาค 1 หน้า 81


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 08:37:04 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:42:14 )

ศีลปัญญาช่วย

รายละเอียด

ศีลเป็นต้น ปัญญาเป็นต้น ศีลเป็นแม่ ปัญญาเป็นพ่อ ช่วยกันทำให้เกิด อธิจิต อธิศีล อธิปัญญา คือช่วยให้มีจิตเกิดสัตว์โอปปาติกะที่เกิดบรรลุ พระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ เกิดทางจิตวิญญาณได้ หรือโพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 4 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 26 มีนาคม 2563 ( 13:17:38 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 04:03:28 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 14:21:06 )

ศีลพต

รายละเอียด

1. จารีต พิธี เกิดออกมาเป็นวัตถุรูป 

2. วิธีปฏิบัติ 

หนังสืออ้างอิง

จากหนังสือทางเอก ภาค 1 หน้า 48, จากหนังสือธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 231


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 08:42:10 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:43:29 )

ศีลพตปรามาส

รายละเอียด

1. การหลงยึดแต่แบบ แต่วิธี ยึดแต่ “รู้ภาษา” อยู่เท่านั้น “ผล” ได้กลายเป็นออกนอกโลกุตรธรรม 

2. มีศีล มีพรตแบบไม่เกิดผล ไม่เกิดคุณค่า ถือศีลก็สักแต่ว่าถือ ๆ กันไปเป็นจารีตประเพณี 

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 2,104


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 08:43:20 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:45:54 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 14:21:43 )

ศีลพรต

รายละเอียด

ข้อกำหนดที่ใช้ประพฤติ และธรรมเนียมที่ใช้ปฏิบัติกัน

หนังสืออ้างอิง

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 62


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 08:43:59 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:46:17 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 14:37:06 )

ศีลพรตอย่างไรที่พ้นสีลัพพตุปาทานและสีลัพพตปรามาส

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นจึงศึกษาสังโยชน์ 10 ข้อแรกต้องเรียนกายของตน เรียกว่า สักกายะ ทำความเข้าใจ กาย ให้สมบูรณ์ ให้สัมมาทิฏฐิให้ได้ แล้วจึงจะได้ แล้วจะไม่มีข้อสงสัย อาตมาพูดไปอธิบายไปให้เข้าใจได้จนพ้นวิจิกิจฉา จึงจะดำเนินการปฏิบัติได้ แล้วข้อสามต่อไปต้องมีข้อปฏิบัติมีศีลพรต แล้วเป็นศีลพรตที่พ้นสีลัพพตุปาทาน พ้นสีลัพพตปรามาส พ้นสีลัพพตุปาทาน คือ พ้นจากการยึดถือศีลพรตอย่างจารีตประเพณี ทุกวันนี้เขาคิดว่าศีลควบคุมแค่กายกับวาจา ซึ่งมันมิจฉาทิฐิไปหมด ยิ่ง สีลัพพตปรามาส แม้ว่าจะสัมมาทิฎฐิแล้วต้องปฏิบัติศีลให้ไปลดกิเลสได้ แม้ว่ามีสัมมาทิฎฐิแล้วแต่ไม่ปฏิบัติเอาจริงเอาจัง ได้แต่เล่นๆหัวๆ ลูบๆคลำๆ เหลาะๆแหละๆ ไม่เอาจริงในการปฏิบัติไม่ได้หรอก ไม่พ้น สังโยชน์ 3 ข้อ เริ่มตั้งแต่ กาย ปฏิบัติจริงๆโลกุตรธรรม 37 จึงเริ่มพิจารณากายในกาย แล้วก็เป็นเวทนาในเวทนา  จิตในจิต ธรรมในธรรม เป็นต้น 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 28 ตุลาคม 2563


เวลาบันทึก 22 พฤศจิกายน 2563 ( 10:09:16 )

ศีลพัตตะ

รายละเอียด

ไม่ยึดมั่น ถือมั่น ให้ได้ที่ใจนั่นแหละเป็นที่สุด

หนังสืออ้างอิง

จากหนังสือทางเอก ภาค1 หน้า 232


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 08:44:38 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:46:43 )

ศีลพัตตุปปาทาน

รายละเอียด

1. ยึดเอาแต่จารีต ประเพณี แบบพิธีรีตอง ยึดมั่นถือมั่นได้แต่ศีล มีแต่พรตอันเดิม ลำดับเดิม เท่าเดิมเหนียวแน่นอยู่

2. ยึดเอาจารีตประเพณี พิธีการ แบบอย่าง รูปแบบ ไม่ลด ไม่ละ ไม่อนุโลมปฏิโลมใด ๆ  พาซื่ออยู่แต่กับจารีต ประเพณี พิธีรีตอง แบบอย่าง รูปแบบ โดยเข้าใจพิธี จารีต ฯลฯ ไม่ได้  ยึดโดยไม่รู้จักคุณของจารีต ไม่รู้จักขอบเขตของจารีต 

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 33,35 


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 08:46:19 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:47:32 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 14:22:50 )

ศีลพาบรรลุนิพพาน

รายละเอียด

ไม่มีศีลบรรลุนิพพานไม่ได้ ศีลข้อที่ 1 คุณเกี่ยวข้องสัมผัสกับสัตว์ ก็ไม่ฆ่าวางอาวุธ วางศาสตรา มีจิตกรุณาเอ็นดู หวังประโยชน์เพื่อสัตว์ทั้งปวงอยู่ หากคุณปฏิบัติอย่างนี้จริงๆ จิตของคุณก็เกิดพัฒนาการ สัมผัสกับสัตว์ต่างๆจะมีใจอย่างนี้เกิดขึ้น มีความเมตตากรุณามีความเอ็นดู จะช่วยเหลือเกื้อกูลอย่างไม่มีความประสงค์ร้าย แม้เขาจะทำร้ายเรา ก็ไม่ทำร้ายตอบ หลีกเลี่ยงได้ก็หลีกเลี่ยง อย่างพระโมคคัลลานะก็ยอมให้ถูกฆ่าเพราะว่าเป็นวิบากเก่าของท่าน ท่านก็ยอมตาย คนที่ปฏิบัติศีลข้อที่ 1 จนกระทั่งสามารถอยู่กับสัตว์ อยู่กับคน จิตลึกซึ้ง มีคุณสมบัติคุณธรรมจนกระทั่ง จิตไม่มี โลภ โกรธ รัก ชัง ก็มีจิตบริสุทธิ์ในศีลข้อ 1 เป็นจิต เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช ครั้งที่85 วันจันทร์ 6 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 19 มกราคม 2563 ( 16:06:00 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 13:43:27 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 14:36:43 )

ศีลมัย

รายละเอียด

บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 309


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 08:46:52 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:47:53 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 14:23:16 )

ศีลมี 3 ข้อหลักอย่างไร

รายละเอียด

หลักธรรมะของพุทธเจ้าเน้นที่ ศีล หรืออธิศีล ทำให้เกิดอธิจิต คือสมาธิ อาตมาพยายามย่อให้ง่าย เช่น ศีลข้อที่ 1 2 3 ศีลข้อที่ 1 ปฏิบัติก็ต้องปฏิบัติกับความเป็นสัตว์ ศีลข้อที่ 2 ปฏิบัติกับของ สัตว์ก็คือชีวะ ของก็คืออุตุนิยามกับพีชนิยาม แม้พีชนิยามก็ไม่เป็นจิตนิยามไม่ใช่สัตว์ สัตว์เป็นจิตนิยาม นับพีชะกับอุตุเป็นของ ศีลข้อที่ 3 ก็เกี่ยวกับตา หู จมูก ลิ้น กายกระทบสัมผัสแล้วเกิดรส เราก็รู้อันนี้ ศีลก็มี 3 ข้อหลักๆ หากเข้าใจปฏิบัติถูกหมดคุณก็เป็นอรหันต์ 3 ข้อนี้ ส่วนศีล 4 5 เป็นวาจา กับจิต แต่หากคนไม่รู้เรื่องก็เมา หยาบ กลาง ละเอียด ใน ข้อ 1 2 3 นี่แหละ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม 2561


เวลาบันทึก 30 ธันวาคม 2563 ( 10:27:33 )

ศีลมีความสำคัญอย่างไรแค่ไหน 

รายละเอียด

เข้าเนื้อหาสาระของศาสนา ที่บอกว่า แม้แต่สะเก็ดก็ยังไม่ได้ ศีลก็ยังไม่ได้คืออะไร เพราะยังไม่รู้จักเลยว่าศีลนี้มีความสำคัญ อย่างไรแค่ไหน 

สีลนิทเทส พระสารีบุตรรวบรวมเอาไว้ 

อะไรเป็นศีล ,ศีลมีเท่าไหร่ ,มีอะไรเป็นสมุฏฐาน ,ศีล เป็นที่ประชุมแห่งธรรมอะไร 

อันที่ 1 อะไรเป็นศีล? คือ เจตนาเป็นศีล เจตสิกเป็นศีล ความสำรวมเป็นศีล ความไม่ล่วงเป็นศีล 

อันที่ 2 ศีล มีเท่าไหร่? ศีล มี 3 คือ กุศลศีล อกุศลศีล อพยากตศีล

อันที่ 3 ศีลมีอะไรเป็นสมุฏฐาน? คือ กุศลศีล มีกุศลจิต เป็นสมุฏฐาน อกุศลศีล มีอกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน อพยากตศีล มีอพยากตจิตเป็นสมุฏฐาน 

อันที่ 4 ศีล เป็นที่ประชุมแห่งธรรมะอะไร? คือ ศีลเป็นที่ประชุมแห่งสังวร ปฏิบัติธรรมที่ไม่มีการสังวรก็จบเห่เลย คุณต้องสังวรตาหูจมูกลิ้นกายใจ หากคุณไม่ได้สังวรไม่ได้ปฏิบัติอะไรเลย คุณมีหลักปฏิบัติก็ต้องสังวร ศีลข้อแรกหมายถึงสัตว์ ศีลข้อที่ 2 หมายถึงข้าวของกับพืช ศีลข้อที่ 3 หมายถึงตาหูจมูกลิ้นกายใจ คุณจะต้องสังวรสิ่งเหล่านี้ 

พื้นฐานคือ จะต้องสังวรเรื่องสัตว์ที่จะต้องเกี่ยวข้องกัน ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เดรัจฉานก็ตาม อธิบายไปไม่รู้กี่ที สัตว์เดรัจฉานปล่อยไปตามยถากรรม ไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับมัน ไม่ต้องเอามากิน ไม่ต้องเอามาใช้งาน คุณเอามาใช้งานก็เป็นบาปนะ แต่คุณก็บอกว่าเอามันมาสอน… ปัดโธ่เอ้ย.. คุณจะไปสอนอะไรกับมัน สอนมันก็ลืม ตายไปแล้วมันจะได้อะไร ตอนนี้คุณก็ได้กับมันตอนนี้ดีอกดีใจสอนให้มันกระดิกหางได้ สอนให้มันยกมือยกไม้ สอนให้มันเห่า ให้มันร้องเพลง 

ศีล เป็นที่ประชุมแห่งสังวร สโมสรณาสีลัง เป็นที่ประชุมแห่งการไม่ก้าวล่วง เป็นที่ประชุมแห่งเจตนาให้เกิดขณะที่เป็นอย่างนั้น 

ชื่อว่าศีลเพราะอรรถว่า ไม่ก้าวล่วง ปาณาติปาตา อทินนาทานา กาเมสุมิจฉาจาร พยัญชนะเหล่านี้รวมกิเลสที่เป็นอกุศลไว้หมดแล้ว 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการพุทธศาสนาตามภูมิ ชาวอโศกคือชุมชนบุญนิยมที่มีมรรคผลจริง วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม 2563 ที่สันติอโศก


เวลาบันทึก 05 กุมภาพันธ์ 2564 ( 16:00:47 )

ศีลมีอยู่ในพระสูตรแรกคือพรหมชาลสูตร

รายละเอียด

ตกลงเขาอ่านพระไตรปิฎกกันหรือเปล่า แสดงว่าไม่เปิดพระไตรปิฎก ไปเปิดก็จะเจอเลย โดยเฉพาะพระสูตร พระวินัยมี 8 เล่ม ศีลมีอยู่ในพระสูตรตั้งแต่พระสูติแรกคือพรหมชาลสูตร ท่านเปิดด้วยโลกอุบัติขึ้นมาอย่างไร และผู้เป็นเจ้าอุบัติขึ้นมา ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม หรือชมพระสงฆ์ ในคำชมนั้น คำที่จริง เธอทั้งหลายควรปฏิญาณให้เห็นโดยความเป็นจริงว่า นั่นจริงแม้เพราะเหตุนี้ นั่นแท้ แม้เพราะเหตุนี้ แม้คำนั้นก็มีในเราทั้งหลาย และคำนั้นจะหาได้ในเราทั้งหลาย.

จุลศีล

 [2] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต จะพึงกล่าวด้วยประการใดนั่นมีประมาณน้อยนักแล ยังต่ำนัก เป็นเพียงศีล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ปุถุชนกล่าวชมตถาคตจะพึงกล่าวด้วยประการใด ซึ่งมีประมาณน้อย ยังต่ำนัก เป็นเพียงศีลนั้น เป็นไฉน?

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการวิถีอาริยธรรม  กาลามสูตรและเตวิชชสูตร วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม 2561 ที่บวรสันติอโศก

 สื่อธรรมะพ่อครู(ศีล สมาธิ ปัญญา) ตอน จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล มีที่ไหนในพระไตรปิฎก


เวลาบันทึก 11 กุมภาพันธ์ 2564 ( 18:34:17 )

ศีลย่อมยังให้ถึงอรหันต์โดยลำดับ

รายละเอียด

ทุกวันนี้ ไปนั่งหลับตาไม่เกี่ยวกับศีลเลย ศีลเขาสอนแค่ควบคุมกายวาจาเท่านั้น ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนอย่างนั้นเลย พระพุทธเจ้าสอนศีลบรรลุถึงจิตเลย 

ในกิมัตถิยสูตร เล่ม 24 ข้อ 1 และ 208 

กิมัตถิยสูตร

[1] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้วได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ 

ศีลที่เป็นกุศลมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์

ศีลที่เป็นกุศล มีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ ฯ

อานนท์ ..ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อวิปปฏิสารมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ

พระผู้มีพระภาค ..ดูกรอานนท์ อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ฯ

อานนท์ ..ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปราโมทย์มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ

พระผู้มีพระภาค ..ดูกรอานนท์ ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ ฯ

อานนท์ ..ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปีติมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ

พระผู้มีพระภาค ..ดูกรอานนท์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ฯ (ปัสสัทธิมีรากศัพท์มาจากการเห็น ปัสสะ เช่นตากระทบรูปเห็น หูกระทบเสียง เป็นต้น)

อานนท์ ..ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปัสสัทธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ

พระผู้มีพระภาค ..ดูกรอานนท์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ ฯ (สุขตัวนี้ยืมภาษามาเรียกเฉยๆ แต่ไปเข้าใจไปใช้อุเบกขาคือไม่สุขไม่ทุกข์ จริงๆแล้ว ความสุขจริงๆนั้นไม่มี) 

อานนท์ ..ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สุขมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ

พระผู้มีพระภาค ..ดูกรอานนท์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ฯ

พ่อครูว่า…ปฏิบัติศีลในจรณะ 15 และวิชชา 8 จึงจะเกิดเป็นสมาธิ สมาธิเกิดจากการสั่งสมจิตที่บริสุทธิ์สะอาดตกผลึกเป็น สมาหิโต ไม่ใช่สมาธิแบบโลกีย์ที่เขาเข้าใจกัน

อานนท์ ..ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมาธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ

พระผู้มีพระภาค ..ดูกรอานนท์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ฯ

อานนท์ ..ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ยถาภูตญาณทัสสนะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็น
อานิสงส์ ฯ

พระผู้มีพระภาค ..ดูกรอานนท์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาวิราคะเป็นอานิสงส์ ฯ

พ่อครูว่า…ปฏิบัติศีลแล้วจะมีปัญญารู้แจ้งเป็นวิมุติ

 อานนท์ ..ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็นิพพิทาวิราคะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ

พระผู้มีพระภาค ..ดูกรอานนท์ นิพพิทาวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล มีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทาวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาวิราคะเป็นอานิสงส์ นิพพิทาวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ด้วยประการดังนี้ ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อมถึงอรหันต์โดยลำดับด้วยประการดังนี้แล ฯ

จบสูตรที่ 1

พ่อครูว่า…กุสลานิ  สีลานิ  อนุปุพเพนะ  อรหัตตายะ  ปูเรนตีติ  ศีลที่เป็นกุศล ย่อมยังอรหัตผลให้บริบูรณ์ไปตามลำดับ

ทำไมเขาไปหลงงมงายอยู่อย่างนั้นไม่ตื่นสักที ปลุกแล้วปลุกอีก ก็ต้องทน ไม่รู้จะทำยังไงเพราะเขายึดมั่นถือมั่น 

เพราะฉะนั้นในคำว่าศีล ที่ท่านสรุปว่า กุสลานิ  สีลานิ  อนุปุพเพนะ  อรหัตตายะ  ปูเรนตีติ  ศีลที่เป็นกุศล ย่อมยังอรหัตผลให้บริบูรณ์ไปตามลำดับ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการวิถีอาริยธรรม  ศีลที่เป็นกุศลย่อมยังความเป็นอรหันต์โดยลำดับ

วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม 2563 ที่บ้านราชฯ


เวลาบันทึก 04 กุมภาพันธ์ 2564 ( 16:44:32 )

ศีลศึกษา

รายละเอียด

ศีลศึกษา คือ จุลศีล เป็นคำสอนเบื้องต้นเลย แต่ภิกษุทุกวันนี้ไม่ได้เรียนกัน แค่วินัยก็ไม่ไหวแล้วเลอะเทอะ ถ้าเผื่อว่าผู้ใดรู้จักเหตุปัจจัย ถ้าเรามีปฏิภาณปัญญาเข้าใจว่ามีอะไรบ้าง พระพุทธเจ้าตั้งเป็นศีล  มีสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา มีคนมีสัตว์สิ่งของพืชพันธุ์ธัญญาหาร กระทบทางหูจมูกลิ้นกาย เราก็จะต้องรู้จักรู้เท่าทัน เมื่อกระทบแล้วก็จะมีสิ่งสะท้อนตอบ แล้วคนก็คือมีจิตวิญญาณสะท้อนตอบออกมา ถ้าเผื่อว่ามีกิเลสก็จะมีกิเลสมาปรุงแต่ง คนเราที่ไม่ได้เรียนรู้ธรรมะก็สะท้อนตอบมามีกิเลสทั้งนั้น จนกระทั่งมาศึกษา รู้เท่าทันกิเลส แล้วก็กำจัดกิเลส เลยกลายเป็นคนที่มีประโยชน์คุณค่าพัฒนาได้สูง นี่คือศาสนาพุทธที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้สุดยอด 

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 27 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 08 กุมภาพันธ์ 2563 ( 17:07:01 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 13:45:59 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 14:24:06 )

ศีลสมาธิปัญญาต้องเกี่ยวเนื่องกันเป็น RELATIVE

รายละเอียด

จริงๆนะขออภัยอาตมาพูดตรงชัดๆ ผู้ที่ยังเหลืออยู่ก็ยืนยันได้ นอกนั้นอาตมาบรรยายออกไป โดยที่เรียกว่าท่านก็สอนไม่เหมือนอาตมา อาตมาสอนอย่างเป็นอภิธรรมเป็นสัจธรรม ศีลสมาธิปัญญาขนาดไหน แจกแจงต่างๆนานา ศีลก็แจกแจงอย่างละเอียดลออ ว่าศีล มันจะต้อง เกี่ยวเนื่องกันนะเป็น relative ไม่ใช่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย ศีลก็ไปปฏิบัติอย่างนี้ สมาธิก็ไปนั่งหลับตา ปัญญาก็เอาเหตุผลความรู้ความคิดมันไม่ใช่ มันเกิดในกระบวนการเดียวกัน คุณได้ปฏิบัติศีล

1 คุณมีศีลข้อที่ 1

2 คุณสำรวมอินทรีย์ ระมัดระวังตาหูจมูกลิ้นกาย

3 โภชเนมัตตัญญุตา คุณจะต้องระมัดระวังในสิ่งกินใช้ อุปโภคบริโภคของกินของใช้ที่เกี่ยวข้อง เป็นอปัณณกปฏิปทา 3 สำรวมอินทรีย์โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยคะ

เกี่ยวข้องกันมาหมดเลยคุณจะต้องมีสติตื่นรู้ สัมผัสเกี่ยวข้องกับศีลข้อที่ 1 สัมผัสกับสัตว์ คุณก็จะต้องสำรวมสังวรศีล สำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 ชีวิตของเราจะต้องมีอุปโภคบริโภค คุณอย่าได้เอาสัตว์มาบริโภค คุณอย่าเอาสัตว์มาเป็นเครื่องอุปโภค คุณรู้ว่า สัมผัสกับสัตว์ก็ดี ข้าวของที่ไม่ใช่ของเรา อย่าไปละเมิดมันผิด ส่วนสัตว์ของเราหรือไม่ใช่ของเราก็ต้องอย่าไปยุ่ง ของจริงไม่ใช่ชีวะ ของเหล่านี้ไม่ใช่ของเราก็อย่าไปผิด มันมีขั้นตอน ของสัตว์ก็คือสัตว์ ไม่ต้องเกี่ยวข้องเลยก็ได้สัตว์ ส่วนของนั้นเกี่ยวข้องกันได้อยู่ แต่อย่าไปทุจริตจะไปผิดศีลธรรม 3 ระวังตาหูจมูกลิ้นกายในศีลข้อที่ 3 สัมผัสแล้วอย่าไปติด ข้าวของก็อย่าไปมีกิเลสละโมบโลภมาก คุณทำได้คุณก็วิมุติ ไม่ใช่ไปมุดหลับตาไม่รู้เรื่องไม่ใช่มุดไปในถ้ำของภพชาติ ภวังค์ไม่ใช่ แต่ลืมตาตื่นอย่างมีวิมุติ หลุดพ้นแล้ว จากสัตว์ สัตว์มันก็เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายก็เป็นสุขเป็นสุขเถิด กัมมุนาวัตตติโลโก ต่างคนต่างอยู่กรรมใครกรรมมัน ส่วนข้าวของต่างๆ ไม่ได้ทุจริตอะไรนะ จะใช้อุปโภคบริโภคก็ว่ากันไป อย่างนี้เป็นต้น รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสคุณก็สังวร มันจัดจ้าน เอาอะไรนักหนา ต้องสวยขนาดนี้ตกแต่งขนาดนี้ไพเราะขนาดนี้ ปรุงแต่งขนาดนี้ รสชาติขนาดนี้สัมผัสเสียดสีเย็นร้อนอ่อนแข็งขนาดนี้จึงจะชอบใจ มันจะอะไรกันนักกันหนา อย่างนี้เป็นต้น ผู้ที่มีสติตื่นรู้ ก็จะเห็นความหลุดพ้นอยู่ ดูว่าเราเป็นคนไม่ได้ลำบากไม่ได้ต้องทุกข์ยากอะไรกับสิ่งเหล่านี้แล้ว อยู่ประมาณนี้สบายแล้ว นี่คือสมาธินี่คือวิมุตของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่เป็นเรื่องหลับตาที่พูดกันไม่รู้เรื่องมันมุดอะไรอยู่นะ ปิดหูปิดตาพูดก็ไม่ฟัง แล้วมันจะไปรู้เรื่องกันได้อย่างไร ตัวเองจะไม่ตื่นดูอะไร มันไปกันใหญ่เลยไม่เข้าใจว่าศีลคืออะไรสมาธิคืออะไรปัญญาคืออะไรวิมุตคืออะไร ไม่รู้เรื่อง มันได้เพี้ยนไปอย่างนี้ อาตมาก็ได้พยายามเทศน์อย่างนี้ตอนนั้น แต่นี่ได้ขยายความเพิ่ม หากฟังแล้วเพ่งโทษก็จะรับไม่เข้า แต่ถ้าตั้งใจฟังด้วยดียังไม่มีอคติไม่เป็นชาล้นถ้วยเขาจะเข้าใจว่าอาตมาพูดนี้เป็นศาสนาของพระพุทธเจ้า เอา ศีลสมาธิปัญญาวิมุตมาพูดอย่างชัดเจนไม่ได้นอกรีด

ที่มา ที่ไป

ทำวัตรเช้า วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน 2561


เวลาบันทึก 30 มกราคม 2564 ( 12:19:12 )

ศีลสมาธิปัญญาสัมพันธ์กับทานศีลภาวนา

รายละเอียด

คือทานนี่ ถ้าเผื่อว่าทานมันไม่เป็นผลตรงที่อธิบายว่าไม่เป็นภาวนามัย ไม่สำเร็จผลอย่างสัมมาทิฏฐิ คุณไม่ได้สละออก ล้างกิเลสล้างจิตออก สำเร็จผลเป็นภาวนา ศีลของคุณก็เหมือนกัน วิธีของโลกมันมี 2 วิธีเท่านั้นคือ 1. ทาน 2. ศีล เพราะฉะนั้น ทานกับศีลจึงไม่ใช่อันเดียวกัน ทานกับศีลสัมพันธ์กันตรงที่ ศีล พระพุทธเจ้าท่านตั้งหลักให้ปฏิบัติว่า คุณจะละออก สละออกได้ คือ ทาน คุณเริ่มต้นจากศีลข้อที่ 1 

ศีลข้อที่ 1 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสัตว์ ตั้งแต่สัตว์เดรัจฉาน คุณเกี่ยวพันกับสัตว์ เอาสัตว์มาใช้ เอาสัตว์มาเลี้ยง เอาสัตว์มาใช้งาน เอาสัตว์มากินเนื้อมันฆ่ากินกัน คุณทาน ฟังให้ดีนะศีลสัมพันธ์ไปถึงทานแล้วนะ คุณเลิกได้ไหม ปลดปล่อย สัตว์ ออกจากชีวิตและวิบากของคุณเลย ถ้าคุณทำได้ คุณสำเร็จศีล สำเร็จอะไร สำเร็จคือคุณได้สละคุณได้ให้ คุณติดอาหารเนื้อสัตว์ คุณก็ต้องกินเนื้อสัตว์แล้วเมื่อไหร่มันจะจบวิบากล่ะ ยิ่งคุณไปเอามันมาตั้งแต่เอามันมาฆ่า ฆ่าเล่นยังได้เลย เหมือนคนยังฆ่าแกงกันอยู่นี่ การฆ่าสัตว์ก็มีวิบากเท่านั้นแล้ว แล้วยิ่งฆ่าคนที่เป็นคน แล้วคนที่เขาฆ่ากันนั้นเขาอวิชชาอยู่ มันจะไม่จองเวรหรือ คนจะไม่จองเวรหรือ แล้วจองเวรวิจิตรพิสดารมากกว่าสัตว์อีก ใช่ไหม 

เพราะฉะนั้น หยุดการฆ่า ศีลข้อที่ 1 หยุดเลย อาตมาขอสรุปว่าท่านตรัสไว้ชัดเลยว่า หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ คำสุดท้ายของศีลข้อที่ 1 มีความเอ็นดู มีความปรานีช่วยเหลือเกื้อกูลกันจนถึงขั้น หวังประโยชน์เพื่อสัตว์ทั้งปวง สำหรับสัตว์ทั้งหลายแหล่หรือคนเหมือนกัน คนยิ่งดีใหญ่ ทำกับคนนี่แหละศีลข้อที่ 1 อภัย หรือเมตตากัน แม้เขาทำชั่วแม้เขาทำร้ายเรา เลิก แล้วมันจะมีบารมี คนเหล่านั้นจะ คนที่ปองร้ายเราจะเข้ามาทำร้ายเราไม่ได้ มีจะห่างหรือจะไม่ติดเข้ามา ทำไม่ได้ อันนี้เป็นอจินไตย เรายิ่งมีบารมีสูงคนที่เขาโกรธเราแค้นเรา เขาก็ยิ่งจะไกล ยิ่งหมดสิทธิ์ที่จะมาทำร้ายอะไรเราได้ 

ยกตัวอย่างง่ายๆ อาตมาว่ามหาบัว แล้วมหาบัวจะมาทำร้ายอาตมาได้ไหม .. ตายแล้ว จะมาทำร้ายอย่างไร เพราะฉะนั้นอาตมาจึงยังไม่ไปว่ามหาประยุทธ์มากเท่ามหาบัว เพราะมหาประยุทธ์ยังมีบริวาร ยังมีผู้ถือหาง ยังมีพรรคพวก มหาประยุทธ์ไม่มาทำเองหรอกเดี๋ยวพรรคพวกจะมาเอาอาตมาตาย จริงๆ ก็ไม่น่าตายแบบนี้เปล่าๆ อาตมาก็พอมีปฏิภาณอยู่ ก็ไม่ลงหนัก แต่ อย่างสมีธัมมชโย อาตมาไม่กลัวเพราะพวกนี้เข้าหาอาตมาไม่ติด ก็ตัวเองจะปรากฏตัวยังยากเลยแล้วจะมาทำอะไรได้ ขออภัยที่พูดโอหังหน่อย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์วันมาฆบูชา งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่  47 วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม 2566 ขึ้น 15 ค่ำเดือน 4 ปีเถาะ ที่บวรปฐมอโศก 


เวลาบันทึก 09 พฤษภาคม 2566 ( 16:21:20 )

ศีลสัมปทา

รายละเอียด

คือการปฏิบัติศีล  จนถึงการบรรลุศีล เข้าถึงศีล  ทำให้เกิดประโยชน์ 10 ข้อ

1.     อวิปฏิสาร (ความไม่เดือดร้อนใจ)

2.    ปามุชชะ – ปราโมทย์ (ความยินดี)

3.    ปีติ (ความอิ่มเอมใจ)

4.    ปัสสัทธิ (สงบระงับจากกิเลส)

5.    สุข (แบบไม่บำเรอตน คือ วูปสมสุข)

6.     สมาธิ (จิตมั่นคง)

7.    ยถาภูตญาณทัสสนะ (ความรู้ยิ่งในความจริง)

8.    นิพพิทา (เบื่อหน่าย)

9.     วิราคะ (คลายกิเลส)

10.  วิมุติญาณทัสสนะ (ปัญญารู้แจ้งเห็นจริงในนิพพาน)

 

 

ที่มา ที่ไป

กิมัตถิยสูตร พระไตรปิฎก เล่ม 24 ข้อ 1, ข้อ 208 ธรรมาธิบายพ่อครู จากรายการพุทธศาสนาตามภูมิ

หนังสืออ้างอิง

เปิดโลกเทวดา หน้า 65  วิถีพุทธ หน้า 71 – 72


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 08:47:38 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 13:49:25 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 14:35:01 )

ศีลสามเส้าลัดคัดสั้น

รายละเอียด

อาตมาแบ่งสามเส้าของศีลไว้สมบูรณ์แล้ว สั้น ลัดคัดสั้นที่สุดแล้ว ศีลข้อ 1 เกี่ยวกับสัตว์ศีลข้อที่ 2 เกี่ยวกับวัตถุพีชะ ศีลข้อที่ 3 เกี่ยวกับกามคุณ 5 รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสภายนอก  คุณอย่าเกลียดกามคุณ 5 ต้องมามีสัมผัสแล้วต้องเรียนต้องเลิกลดละไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นมหาบัวไม่รู้กับผัสสะแล้วจมอยู่กับผัสสะ  สิ่งเสพติดแต่ไม่รู้เรื่อง สายนั้นกินหมากกันเต็มเลย สายหลับตามหาบัว อ.มั่น สายหลับตาที่มีกินหมากก็คือธัมมชโย หลับตาแล้วเป็น ภพอาภัสรา ยิ่งพร่ามาก สายหลับตาก็ยังดีกว่าอีก  

ที่มา ที่ไป

รายการบ้านราช เรื่องบุคคล 7 วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 14 มีนาคม 2563 ( 11:31:50 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 14:24:50 )

ศีลสูตร

รายละเอียด

พหูสูตรแท้ๆนั้นต้องมีทั้ง 5 ข้อดังนี้

1.พหุสฺสุตา ได้ยินได้ฟังมาก นี่คือ ต้องได้ยินจากสัตบุรุษ ไม่ใช่ไปได้ยินนักรู้ความรู้ทางโลกเท่านั้น ฟังสัตบุรุษให้บริบูรณ์ (รู้ให้ถ้วน)

2.ธตา จำได้ จับหลักหรือสาระได้ ซึ่งก็ต้องเป็นสาระที่เป็นสัจธรรม ให้บริบูรณ์ (จำได้)

3.วจสา ปริจตา สะสมธรรม ประพฤติรอบคอบ จะสอนจะพูดอยู่เสมอคล่องปาก จนเคยชินทีเดียว (อธิบายได้ถูกต้องคล่องปาก)

4.มนสานุเปกฺขิตา พิจารณาไตร่ตรองสัจธรรมนั้นจนขึ้นใจ (ขึ้นใจ)

5.ทิฏฺฐิยา สุปฏิวิทฺธา แทงทะลุธรรม เห็นแจ้งชัดด้วยปัญญา (แทงตลอดด้วยดี)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎก เล่ม 22 ข้อ 87ใน "ศีลสูตร"

หนังสืออ้างอิง

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 49-50


เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2562 ( 15:55:49 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:34:06 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 14:26:38 )

ศีลหลักใหญ่มี 3 ข้อ

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นเราต้องมาเรียนรู้ศีล อาตมาแยกแยะวิจัยให้ฟังว่า หลักใหญ่มี 3 ข้อ ศีล 3 เส้า เกี่ยวกับสัตว์ เกี่ยวกับของ เกี่ยวกับตา หู จมูก ลิ้น กาย 

เกี่ยวกับสัตว์เป็นจิตนิยาม เกี่ยวกับของอุตุนิยาม และก็เกี่ยวกับตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูปนามวิญญาณ ที่คุณจะจัดการ จะอยู่อย่างไรกับสัตว์  จะอยู่อย่างไรกับของ ของนี่เป็นสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ ไม่มีเวทนา ดิน น้ำ ไฟ ลมก็ไม่มีวิญญาณไม่มีเวทนา พืชพันธุ์ธัญญาหารมันก็ไม่มีวิญญาณไม่มีเวทนา หรืออีกคำหนึ่งคือ มันไม่มีกาย อุตุ กับพีชะคือมันไม่มีกาย จิตนี่มีกาย

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม ปฏิบัติศีลให้ถึงอรหัตตผลโดยลำดับ

วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 19 พฤษภาคม 2564 ( 13:43:48 )

ศีลานุสสติ

รายละเอียด

ศีลานุสสติ คือหลักเกณฑ์ปฏิบัติตามแต่ละคนกำหนด ถ้าเข้าใจว่าทำเพื่อละหน่ายคลาย ก็ต้องรู้ว่าปฏิบัติศีลให้เกิดอะไร ในกิมัตถิยสูตร

1.อวิปฏิสาร (ความไม่เดือดร้อนใจ) .

2.ปามุชชะ - ปราโมทย์ (มีความยินดี)

3.ปีติ (ความอิ่มเอมใจ) .

4.ปัสสัทธิ (สงบระงับจากกิเลส)

5.สุข (แบบไม่บำเรอตน คือ วูปสมสุข)

6.สมาธิ (จิตมั่นคง)

7.ยถาภูตญาณทัสสนะ (ความรู้ยิ่งในความจริง) . .

8.นิพพิทา (เบื่อหน่าย) .

9.วิราคะ (คลายกิเลส)

10.วิมุติญาณทัสสนะ (ปัญญารู้แจ้งเห็นจริงในนิพพาน) 

คำอธิบาย

ต้องปฏิบัติตามลำดับ ศีล พิสูจน์ศีลไปทีละระดับ เพื่อให้เกิดการจาคะ คือการเอาออก เมื่อเอาออกได้ก็มีจาคานุสสติ ก็มีจิตสูงจิตเจริญก็มี เทวตานุสสติ (เทวดามีเทวดาหลอกกับเทวดาอุบัติเทพและวิสุทธิเทพ) เทวดาหลอกคือสมมุติเทพ คือบำเรอกามบำเรออัตตาตนเอง  เราต้องเลิกจากเทวดาเท็จทางอบายมุขก่อน เมื่อลดละได้เป็นเทวดาสูงขึ้นก็จะถึง ความสงบ อุปสมานุสสติ คือผู้ถึงซึ่งความสงบจากกิเลส  ต้องละอัตตา คือโอฬาริกอัตตา-มโนมยอัตา-อรูปอัตตา โดยต้องสัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย (กาเยน ผุสิตวา วิหารติ) สัมผัสให้ครบคือสำเร็จอิริยาบถอยู่ และต้องสัมผัสอยู่ทุกอานาอาปานะ

ที่มา ที่ไป

กิมัตถิยสูตร พระไตรปิฎก เล่ม 24 ข้อ 1, 208 (560420)


เวลาบันทึก 29 กุมภาพันธ์ 2563 ( 04:17:45 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 13:59:19 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 14:34:09 )

ศีลเทียม

รายละเอียด

คือ คนที่ท่องศีลได้อย่างเก่ง  แต่ไม่ได้ปฏิบัติเลยนั่นแหละคือ ผู้มีศีลเทียม ไปวัดก็มยัง ภันเต  วิสุง  วิสุง  รักขณถายะ  ติสรเณนสหะ  ปัญจสีลานิยาจามะ  หากปฏิบัติจริงจะเห็นจิตใจพ้นทุกข์ ศีลข้อ 1 จะเห็นว่าใจเกิดเมตตาขึ้นมา  ไม่มีจิตคิดจะไปรังแกสัตว์ ฆ่าสัตว์  ทำร้ายสัตว์เลย

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 19 ธันวาคม 2562 ( 18:32:57 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 14:00:37 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 14:33:10 )

ศีลเป็นข้อต้นเป็นหลักใหญ่ของศาสนาพุทธ

รายละเอียด

เรามาต่อที่ได้บรรยายอัมพัฏฐสูตร ก็มาต่อที่ศีล ศีลเป็นข้อต้นเป็นหลักใหญ่ของศาสนาพุทธเป็นหัวข้อหลัก ถ้าปฏิบัติธรรมไม่มีหัวข้อหลักคือศีลเป็นตัวยืนยันแล้วล่ะก็ การปฏิบัติศีล ปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้าก็ล้มเหลว ผู้ที่ไม่ได้เรียนรู้จรณะ 15 วิชชา 8 อันเป็นพุทธคุณของพระพุทธองค์ มีศีลเป็นหัวข้อหลัก ศีลข้อที่ 1 คุณก็จะต้องปฏิบัติตามกระบวนการของจรณะอีก 14 วิชชาอีก 8 ศีลข้อที่ 2 คุณก็จะต้องปฏิบัติตามกระบวนการของจรณะอีก 14 วิชชาอีก 8 ศีลข้อที่ 3 4 5 6 ก็ทำเหมือนกันเลย เพราะฉะนั้นศีลแต่ละข้อก็จะได้ปฏิบัติ แล้วก็จะมีผลตามกระบวนการ มีผลของอธิจิต เพราะศีลปฏิบัติแล้วก็จะเกิดผลของศีลสมาธิปัญญา วิมุติ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 8 กรกฎาคม 2563


เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 10:18:50 )

ศีลเป็นตัวกำหนด อปัณกรรม 3 สัทธรรม 7 เกิด

รายละเอียด

เมื่อมีการสัมผัส รูป รส กลิ่น เสียงสัมผัสแล้วเกิดกิเลส แต่ก่อนคุณไม่ได้ละอายเลยที่คุณเกิดกิเลส ได้แต่สวาปามเอาเพิ่มกิเลสพวกนั้น ผูกสัมพันธ์เพิ่มน้ำหนักให้มันโตมันหนามันอ้วนอยู่ทุกวัน แต่ตอนนี้มารู้แล้วว่าเราเอ๋ย เพิ่งจะรู้ความโง่ของตัวเอง มันก็เกิดความละอาย ผู้สำนึกรู้จักละอายต่อความความผิดความติดของตัวเอง กิเลสมันมีเยอะแยะเราก็ละอายหมดก็คงจะหมดแรง ไม่ใช่ไม่ได้ ต้องเอาตัวไหนที่คุณกำหนดก่อน เรื่องไหนที่คุณจะปฏิบัติก่อน ไม่อย่างนั้นคุณทำไม่ไหวหรอก มันต้องทำเป็นตัวๆเป็นคู่ๆไป เมื่อเก่งขึ้นก็ 2 คู่ เก่งขึ้นก็ 3 คู่ เป็นศีล 5 ก็ทำให้เต็มที่เถิดรับรองว่าศีล 5 อย่างละเอียดขึ้นไป คุณบรรลุพระอรหันต์แน่นอน เมื่อคุณปฏิบัติถึงขั้นที่เกิดจิตใจที่ละอายต่อสิ่งที่แต่ก่อนว่าตัวเองทำ แต่ก่อนนี้ทาปากแดงใครก็ชื่นชมชื่นใจ แต่เดี๋ยวนี้ละอายหากว่าเราต้องทาปาก หรือแม้แต่นัยอื่นก็แล้วแต่ คุณต้องรู้สึกตัวว่า แต่ก่อนคุณไม่รู้ประสีประสา แต่เดี๋ยวนี้คุณรู้แล้ว มีเดียงสาแล้ว แต่ก่อนไม่รู้เดียงสาทำอะไรเหมือนเด็กๆ จนกระทั่งเกิดความละอาย อาย ที่มีน้ำหนัก อาย นี้ต่อหน้าไม่ทำ แต่ลับหลังเอาละน่า ไม่มีใครรู้ใครเห็นนี่หว่าทำลับหลัง แต่ถ้าเป็นโอตตัปปะ ต่อหน้าก็ไม่ทำลับหลังก็ไม่เอา เพราะเราเชื่อในกรรมวิบาก พอมันแวบขึ้นมา เราก็ไม่เอาแล้ว โอตตัปปะ ความกลัวต่อบาปต่อสิ่งที่ไม่ดีไม่งามที่เราตั้งใจจะลดละ มันก็เกิดน้ำหนักของความไม่เอาความปล่อยความวางความไม่คลุกคลีไม่เกี่ยวข้อง แต่ไม่ได้หมายความว่าดับความจำ ดับความรับรู้ ดับความกำหนดรู้ ไม่ใช่ แต่กำหนดรู้อยู่ รู้อยู่แต่อ่านสอนว่าจิตใจเราไม่มีอาการของกิเลสเคลื่อนไหวเลย สัมผัสอยู่ มันยั่วยุ ทีรู้ตัว ทีไม่รู้ตัว สัมผัสแล้วกิเลสก็ไม่เกิดอย่างนี้ เราก็จะอ่านจะเจอ เราได้อย่างสนิทขึ้นๆ มันจะเห็นจริงเลย เพราะฉะนั้นอำนาจของ หิริ โอตตัปปะ ต้องเกิดจริง คุณก็ทำการลดละได้ สั่งสมลงเป็นพหูสูต แปลว่าเป็นผู้รู้มากขึ้น พหุ มาก สูตะ คือรู้ เป็นผู้รู้

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิบ้านราช วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 27 มีนาคม 2563 ( 12:18:58 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 04:04:31 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 14:27:54 )

ศีลเป็นตัวกำหนดสมาธิอย่างไร

รายละเอียด

ในคราวนี้ที่เราตั้งหัวข้อว่าศีลเป็นตัวกำหนดสมาธินั้น เป็นความรู้ศาสนาพุทธที่สำคัญมาก ซึ่งศาสนาพุทธทุกวันนี้มันไม่ค่อยรู้เรื่องแล้ว อาตมาบอกว่าศีลเป็นตัวกำหนดสมาธิ ศีลของเขาไม่เกี่ยวกับสมาธิเลย เขาไปนั่งหลับตาทำสมาธิ ในศีล 5 เขานั่งหลับตาไม่สัมผัสกับสัตว์ใดๆเลย ไม่เกี่ยวข้องกับข้าวของใดๆเลย เขาไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย เขาปิดตา หู จมูก ลิ้น กาย หลับตาปี๋ คือ มันคนละเรื่องกันกับศาสนาพุทธเลย มันไม่มีศีลเป็นตัวกำหนดสมาธิ ตั้งแต่ศีลข้อที่ 1 2 3 4 5 หรือจุลศีลทั้งหมด มัชฌิมศีลก็ตามหรือมหาศีล ไม่เลย ไม่มีศีล หั่นศีล สมาธิ ปัญญาออกจากกันหมดเลย ตัดหัวหางกลางปลาย ของศาสนาพุทธหมด ทุกวันนี้

อาตมาก็พยายามมาเก็บมา ต่อหัวหางกลางตัว ปู้ยี่ปู้ยำศาสนาพุทธ น่าสงสารพระพุทธเจ้าไม่รู้เขาจะบาปเท่าไหร่ เอาศีลเป็นตัวกำหนดสมาธินี้ฟังพอเข้าใจขึ้นไหม

ถ้าไม่มีศีลเป็นตัวกำหนด ศีลข้อที่ 1 เป็นต้น คนทำได้แล้วจิตของคนจะเกิดการสะอาดปราศจากกิเลสตกผลึกเป็นสมาธิเป็นจิตแข็งแรงตั้งมั่น

ศีลข้อ 1 2 3 เป็นต้น แล้วคุณก็ปฏิบัติตามนี้ เช่นศีลข้อที่ 3 เกี่ยวกับการรู้สัมผัสตาหูจมูกลิ้นกายใจ สัมผัสแล้วคุณก็ทำให้กิเลสลดได้ จิตของคุณก็สะอาดขึ้นสะอาดขึ้น เก่งขึ้นมากขึ้นตกผลึกลงเป็นสมาธิได้ ได้สมาธิ ก็เกิดจากศีล ศีลทำให้เกิดสมาธิ ศีลจะเป็นตัวกำหนดสมาธิ คุณทำศีลข้อที่ 1 ก็ได้สมาธิตามศีลข้อที่ 1 เกี่ยวกับสัตว์ คุณทำศีลข้อที่ 2 คุณก็ได้สมาธิเกี่ยวกับข้าวของต่างๆไม่ใช่สัตว์ รวมทั้งพืชก็ตาม เสร็จแล้วคุณก็ไม่เกิดกิเลสราคะ โทสะ โมหะ จิตของคุณทำก็ได้มากได้น้อยตกผลึกแล้วแต่จะเก่ง คนเก่งก็ทำได้มาก ก็สั่งสมสัมมาสมาธิของศาสนาพุทธ การได้สมาธิของศาสนาพุทธจึงได้โดยมีศีลกำหนดสมาธิอย่างนี้ เกิดปัญญาหรือเกิดสัมมาทิฏฐิเข้าใจขึ้นหรือยัง ถ้าหากสัมมาทิฏฐิคุณเข้าใจได้แล้วก็เอาไปปฏิบัติครบตามมรรคมีองค์ 8 ทำอาชีพ ทำกรรมการงานทุกอย่าง ทำการพูดการคิด คุณก็มีสัมมาวายามะ สัมมาสติตามสัมมาทิฏฐิที่คุณได้ ปฏิบัติตามมรรคทั้ง 7 องค์ก็จะสั่งสมสมาธิขึ้นตามศีล มาในงานนี้ศีล 8 ก็ปฏิบัติให้ได้ทั้งศีล 8 เลย เพราะฉะนั้นถ้าคุณรู้ว่าอันนี้ จิตได้เกิดต้นมาจากศีลข้อ 1 ได้มาจากศีลข้อที่ 2 3 4 5 6 7 8 สั่งสมลงเป็นสัมมาสมาธิ เห็นกระบวนการของสมาธิแบบพุทธกับกระบวนการสมาธิของฤาษีเดียรถีย์ว่ามันต่างกันไหม ใครเคยไปนั่งหลับตาสะกดจิตมาบ้างยกมือ กับการมาฟังอาตมาอธิบายสมาธิของศาสนาพุทธ มันคนละเรื่องกันไหม อันหนึ่งอยู่ที่เมืองนิวกินี่ อีกอันหนึ่งอยู่ประเทศไทย มันคนละเรื่องราว อันหนึ่งไปอยู่กับผีตองเหลือง อันหนึ่งอยู่กับคนในเมืองก็คนละทาง อย่างนั้นมันง่ายใครๆก็เข้าใจใครๆก็รู้ติดตามไม่ยาก แต่อย่างนี้ยากกว่า ของพระพุทธเจ้านี้ยากกว่า แต่ก็ต้องเรียนรู้ แล้วก็ต้องทำให้เป็นปกติ ทำให้เป็นสำคัญ ทำให้เป็นประจำทำอยู่กับชีวิต คุณก็เป็นคนมีธรรมะของพระพุทธเจ้า ปฏิบัติธรรมะมีมรรคมีผล ก็เป็นอรหันต์ได้

ที่มา ที่ไป

เทศน์ ทวช. วันเสาร์ที่ 7 เมษายน 2561


เวลาบันทึก 28 กุมภาพันธ์ 2564 ( 10:44:09 )

ศีลเป็นตัวกำหนดให้เรามีสมาธิมีปัญญา

รายละเอียด

ศาสนาพุทธต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา พุทธศาสนิกชนใครปฏิบัติ ศีลเป็นตัวกำหนดให้เรามีสมาธิมีปัญญาตามศีลที่เรารู้ ที่เราละลดได้ จนหมดสิ้นกิเลสเป็นวิมุติ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ ตอบปัญหาการทำใจในใจให้ถึงแดนเกิด วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน 2561 ที่ บวร ราชธานีอโศก

 สื่อธรรมะพ่อครู(ศีล สมาธิ ปัญญา) ตอน ในศีล 8 ข้อนั้นศีลข้อใดสำคัญที่สุด


เวลาบันทึก 28 กุมภาพันธ์ 2564 ( 13:11:48 )

ศีลเป็นต้นธาตุต้นธรรมของนิพพาน

รายละเอียด

ดีมาก อาตมาก็พยายามเอาคำว่าศีลมาอธิบายให้เห็นความสำคัญของศีล มันเป็นต้นธาตุต้นธรรมของการปฏิบัติธรรมศาสนาพุทธ ทุกวันนี้เขาไม่เข้าใจเรื่องศีล ไม่เข้าใจสภาวธรรมที่ต้องเริ่มต้นด้วยศีลนี่มันสำคัญอย่างไร แล้วมันจะนำพาไปสู่นิพพาน ถ้าไม่มีศีล-ไม่มีนิพพาน ไม่มีเลยศีลข้อ 1 2 3 4 5 โดยเฉพาะ 3 ข้อแรก ถ้าไม่เข้าใจจริงๆแล้วว่ามีความสำคัญอย่างนี้ แล้วเราได้ลดกิเลสจากศีลข้อ 1 อย่างนี้ ตั้งแต่ศีลข้อ 1 เลยเกี่ยวกับสัตว์ ไว้ค่อยอธิบายไปเรื่อยๆ ถึงขั้นคนที่มีปฏิภาณปัญญาชัดเจนว่าเนื้อสัตว์ไม่ใช่ของที่ควรกิน ไม่ใช่ของที่ควรเอาไปถวายพระภิกษุ ไม่ใช่ของที่ควรเอาไปถวายพระตถาคต มันเป็น อกัปปิยะ เป็นของไม่ควรอย่างยิ่ง เพราะมันเป็นบาป 

อย่าง ชีวกสูตร ที่อธิบายแล้วอธิบายอีก น่าจะเข้าใจชัด มันบาปตั้งแต่มี สัญจิจจะ มีอุทิศะ มีจิตมุ่ง มีจิตเจาะจงไปหาสัตว์ตัวใดๆ ด้วย อาการจิตที่เป็น โวโรเปตะ หรือโวโรเปตุง เป็นจิตที่มุ่งไปในทางไม่ดี เป็นเรื่องละเอียดอ่อนนะ จิตที่มุ่งจะฆ่าสัตว์ หรืออาจจะไม่ถึงขั้นฆ่า พระพุทธเจ้าท่านสอนแค่ ปาณาติปาตา ถ้าจิตวิญญาณขั้น ปาณะ แค่ทำให้ตกร่วง ปาตะ ไม่ใช่ฆ่านะ แต่ทำให้มันตกร่วงตกต่ำ จาก ปาตะ ลงมา ปาณา ปาตะ ลงมา แค่นั้นก็บาปเป็นอันมากแล้ว ไม่ใช่บุญเลย 

เพราะฉะนั้นศีลข้อปาณาติปาตา นี้ไม่ใช่แค่ฆ่า ปาตะ ไม่ได้ถึงฆ่านะ แต่ตกร่วงลงมา ตกจากฐานที่ควรจะเป็นลงมา ปาตะ แปลว่าร่วง เช่น ข้าวใส่บาตร บิณฑปาตะ บิณฑปาตัง ก็คือเอาข้าวหย่อนลงไปให้ร่วงลงไปในบาตร อย่างนี้เป็นต้น นี่คือสภาวธรรมที่ละเอียดลออ คนเข้าใจยังไม่ได้ก็เลยไม่รู้ เพราะฉะนั้นคนที่เข้าใจศีลและเข้าใจสภาวะที่ละเอียดละออจะชัดเจนทุกอย่างเลยว่า บาปตั้งแต่บอกชื่อสัตว์และมีจิตไปทางไม่ดี โวโรเปตะ โวโรเปตุง มันบาปแล้วตั้งแต่ข้อต้น ยิ่งบอกให้ไปจับมันมา ผูกมันมาก็ยิ่งบาปหนักเข้าไปอีก แล้วยิ่งสั่งฆ่าอีก แล้วจะไม่บาปได้ยังไง ลงมือฆ่าอีก มันก็แน่นอน ยังไม่พอยังมีน้ำหน้าจะเอาเนื้อสัตว์นี้ไปถวายภิกษุ ถวายพระตถาคต เวรจริงๆ เวรโกๆ ไม่ใช่เวลคัม (Welcome) โอ้โห! แย่จริงๆเลย นี่คือสัจธรรม ฟังดีๆ ฟังธรรมะแล้วจะรู้ว่าสภาวธรรมนี่มันสุดยอด 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 37 ฌานเป็นพลังงานปัญญาล้านองศาเผากิเลส วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม 2566 ขึ้น 5 ค่ำเดือน 9 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 28 สิงหาคม 2566 ( 12:11:04 )

ศีลเป็นต้นหลักของความรู้และความจริงอย่างไร

รายละเอียด

มาเข้าถึงบทเรียน อัมพัฏฐสูตร อาตมาได้พูดถึงศีลที่พระพุทธเจ้าได้คุยกับ อัมพัฏฐมานพ พูดถึงจรณะและวิชชา พระพุทธเจ้าไล่เรียงถึงต้นตระกูล อัมพัฏฐมานพว่า ตระกูลตัวเองเป็นตระกูลพราหมณ์ ส่วนพระพุทธเจ้าเป็นกษัตริย์ พระพุทธเจ้าก็เลยไล่ไปว่า พราหมณ์นี้ที่เป็นต้นตระกูลของอัมพัฏฐมานพ ต้นตระกูลนี้เป็นทาสคนหนึ่งของพระเจ้าโอกากราช สุดท้ายอัมพัฏฐมานพก็จำนน ง่อยกินหมดไปไม่ออก ก็ไล่ไปถึงจรณะและวิชชา อัมพัฏฐะอธิบายไม่ได้ พระพุทธเจ้าก็เลยอธิบาย จรณะ เริ่มต้นที่ศีล อนาคตทิ้งศีลไม่ได้ซึ่งเป็นต้นหลักของความรู้และความจริง ศีล เป็นหลักเกณฑ์ ศีลข้อที่ 1 เป็นต้น คุณก็ต้องศึกษาปฏิบัติจนได้บรรลุความจริงด้วยความรู้ ได้เต็มความรู้ความจริงในศีลข้อที่ 1 ความรู้ความจริงของมันคืออะไร เกี่ยวข้องกับสัตว์ในโลก ศีลข้อที่ 2 เกี่ยวข้องกับของซึ่งมีทั้งพืชและวัตถุ  จะทุจริตไม่ทุจริตอย่างไรก็ศึกษาในศีลข้อที่ 2 ซึ่งวัตถุกับพืชมันไม่จองเวรจองกรรมไม่เหมือนกับสัตว์ พืชกับวัตถุมันไม่มีวิบาก แต่มันทุจริตได้ง่ายกว่า ถ้าเกี่ยวกับสัตว์โดยเฉพาะกับคน มันมีเรื่องมาก แต่พืชกับวัตถุ มันมีเรื่องน้อย เพราะตัวมันเองไม่เป็นตัวตนของมัน พืชก็ดี วัตถุก็ดี อย่างนี้เป็นต้น ก็มีนัยยะสำคัญที่ต่างกัน ส่วนศีลข้อที่ 3 ก็คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่สัมผัสแล้วก็เกิดเวทนา ให้ศึกษาเวทนานี่แหละเป็นจุดสูงสุดของศาสนาพุทธ ถ้าไม่ศึกษาที่เวทนา ป่วยการเลย ถ้าไปศึกษาอันอื่นๆ ยิ่งไปนั่งดับเวทนา สัญญาเวทยิตนิโรธเข้าไปนั่งดับสัญญา ดับเวทนาเป็นนิโรธ คนนี้หมดท่าเลย ลงทะเล ยะเยือกเย็นเลย ไม่ได้เข้าทางของพระพุทธเจ้าเลย โมฆะไป เสร็จ 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 19 กันยายน 2563 ( 14:44:53 )

ศีลเป็นที่ตั้งของสมาธิพุทธอย่างไร

รายละเอียด

สมาธิของพระพุทธเจ้าต้องมีศีลเป็นที่ตั้ง ถ้าคุณสามารถปฏิบัติโดยการลืมตาแล้วสัมผัสกับสัตว์เล็กสัตว์น้อยสัตว์ใหญ่ จนกระทั่งถึงมนุษย์มนา เป็นสัตว์ทั้งนั้น แล้วจิตของคุณก็แข็งแรงตั้งมั่น ไม่เกิดโกรธเกิดโลภเกิดหลงอะไรเลย จิตของคุณว่างตลอดเลย สัมผัสกับสัตว์สัมผัสกับคน ศีลข้อที่ 1 นี้จิตของคุณเป็นสมาธิเป็นวิมุตติ เพราะจิตของคุณสัมผัสแตะต้องกระแทกกระทุ้งกระเทือน ไม่ว่าจะเป็นมาทางกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมก็ตาม คุณสัมผัสเกี่ยวข้องทุกขณะ ทุกกรรมกิริยาที่สัมผัสกระทบกระเทือนกระแทกกระทุ้งกัน คุณไม่เกิดกิเลสในจิตเลย ไม่เกิดราคะโทสะโมหะเลย จิตมันว่างสบาย จิตมันมีอะไรไปตามเรื่องตามราวไม่มีเกิดแวบวาบถึงราคะโทสะโมหะ แล้วคุณก็อ่านจิตคุณออกว่าไม่มีจริง คุณก็เป็นอรหันต์แล้ว จิตข้อเดียวนี้ก็เป็นอรหันต์ได้ เป็นอรหัตผลได้ ถ้าคุณเข้าใจจิตของคุณว่ากระทบกระแทกกระเทือนความเป็นสัตว์ กระทบกระแทกกระเทือนความเป็นของ เพชรนิลจินดา ธนบัตร ข้าวของเงินทอง ที่คุณไปสมมุติราคากัน ว่าน่าได้น่ามีน่าเป็น ราคาแพงของโลกที่ต้องการ คุณไปสัมผัสเกี่ยวข้องแล้วก็ไม่เกิดความโลภ โกรธ หลงอะไร ควรได้ก็ได้ ไม่ควรได้ก็ไม่ได้ ไม่ควรเอาก็ไม่เอา ควรจะเอาก็เอาพอสมควร อยู่ก็โลกเขาได้อย่างสบายไม่แย่งชิง ไม่ว่าจะสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ศีลข้อที่ 3 คุณก็รู้เท่าทันเวทนาทั้งหมดเวทนา 108 แล้วก็ทำได้เนกขัมมะได้ เป็นเนกขัมมสิตอุเบกขาเวทนา กระทบเมื่อไหร่ก็เป็น เนกขัมมสิตอุเบกขาเวทนา กระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เป็นเนกขัมมสิตอุเบกขาเวทนา คุณก็เป็นอรหันต์แล้ว ง่ายจะตาย ที่อาตมาพูดนี้คือสรุป เพราะฉะนั้นคุณจะเกิดจิตเป็นสมาธิ จะเกิดจิตเป็นวิชชา เป็นวิมุตติ แต่ละข้อๆ คุณรู้ชัดเจนไหม ในทุกอย่าง ในสัมผัสทั้งหลาย สัมผัสกับสัตว์ สัมผัสกับข้าวของ สัมผัสกับ ทวารตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีเท่านี้แหละ ถ้ามีมากกว่านี้มาบอกหน่อยสิ มีเท่านี้ สรุปแล้วมีเท่านี้

ที่มา ที่ไป

เทศน์ทวช. วันเสาร์ที่ 7 เมษายน 2561


เวลาบันทึก 28 กุมภาพันธ์ 2564 ( 11:32:06 )

ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้นอย่างไร

รายละเอียด

ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย เป็นประมุขของธรรมทั่วไป เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์ การปฏิบัติที่ผิดถึงไม่ได้เกิดตามที่พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้เลย เช่น สมาทานศีล 5 ศีลข้อ 1 เป็นตัวกำหนดว่าเมื่อคุณเองคุณมีชีวิตอยู่ คุณจะทำงานอาชีพ ตื่นๆอยู่นี่แหละ มีสภาวะธรรมดาไม่ใช่นั่งหลับตาสะกดจิต ตื่นอยู่มีชีวิตสามัญทำงานอาชีพ สัมผัสกับสัตว์ เช่น สัมผัสกับนกกระจอก บินว่อนอยู่อย่างนี้ มันไม่เคารพยำเกรงอาตมาขณะทำการสอนเลย ดีไม่ดีมันบินผ่านหัว ดีไม่จิกหัว เราไม่ได้ไปรู้สึกรำคาญ ไปรู้สึกลงโทษอะไรต่ออะไรกับสัตว์ อื่นๆใดๆก็แล้วแต่ที่เราเกี่ยวข้องสัมผัสเราก็มีธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ มีความเอ็นดูปรารถนาดีมีความรัก หวังประโยชน์ต่อสัตว์ทั้งปวงอยู่ ก็ควรจะช่วยกันไปอย่างไร ไม่ใช่มาปรารถนาร้ายต่อกัน ดีไม่ดี หาอาวุธมา ถ้าเจอก็ฆ่าเลย มันมากินข้าวเปลือกเราข้างหน้านี้ มาประดับฉาก นกกระจอกมันก็กิน นกธรรมดามันยังกินเลย นกกระจอกก็กินนกกระจาบก็กิน นกกระจอกนี่มันมีอาหารมากกว่านั้น มันมีกิเลส ไอ้นี่ไม่ค่อยอร่อยกินยาก อันอื่นกินดีกว่านี้ อยู่ในนี้เยอะแยะเลือกกินได้ ยิ่งกว่า เซเว่นอีเลฟเว่น มันเลือกได้เยอะแยะ นกกระจอกนี่มันเยี่ยม

ที่มา ที่ไป

เทศน์ทวช. วันเสาร์ที่ 7 เมษายน 2561


เวลาบันทึก 28 กุมภาพันธ์ 2564 ( 10:27:55 )

ศีลเป็นปฐมบทของการปฏิบัติธรรมสู่ความหลุดพ้นไม่มีข้อยกเว้น!

รายละเอียด

“ศีล”จึงเป็น“ตัวแรก-มูลต้น”ใน“จรณะ 15 วิชชา 8” ที่จะกำหนดไว้เป็น“เรื่องๆ เป็นข้อๆ เป็น“ตัวตน” ชี้บ่งชัดยิ่งว่าอะไรคืออะไร อะไรเป็น“เหตุ” อะไรเป็น“ผล” ซึ่งมีตัวเทียบตัววัด จึงสามารถรู้จักรู้แจ้งรู้จริงความเป็น“เทฺว” แต่ละ“คู่”ชัด แยกภาวะ“2”ได้ทุกสิ่งส่วน ทุกภาวะ ทุกอาการ ว่า อะไรแตกต่างจากอะไร 

พุทธจะมี“ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์”ใน“เทฺว”เสมอ จึงสามารถรู้จักรู้แจ้งรู้จริงว่าอะไรต่ำ-อะไรสูง อะไรดี-อะไรชั่ว อะไรโลกียะ-อะไรโลกุตระ อะไร“อยู่เหนือ”อะไรกันจริงๆแท้ๆเห็นความสำคัญยิ่งยอดของ“ศีล”ขึ้นมาบ้้างมั้ย?   

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ รวมเปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อ 130 หน้า121


เวลาบันทึก 18 มิถุนายน 2564 ( 05:26:50 )

ศีลเป็นสภาวะปฏิฆสัมผัสโสยังไม่ใช่อธิวจนสัมผัสโส

รายละเอียด

ก็ทำให้ประชาชนคนไทยลึกๆในจิตว่าอันนี้คือความถูกต้อง อันนี้คือความดีงามและ อันนี้คือประชาธิปไตย ไม่มีความรู้เป็นภาษาพยัญชนะบัญญัติ แต่ลึกๆมันรู้ว่าอย่างนี้แหละใช่ จะเรียกว่าอะไร ประชาธิปไตย มันยังไม่มีภาษาอย่างนี้ เป็นแค่ ปฏิฆสัมผัสโส ยังไม่ใช่อธิวจนสัมผัสโส ยังไม่มีชื่อเรียก มันเป็นสภาวะปฏิฆสัมผัสโส มันเป็น Action Reaction ที่เกิดผลให้เห็นว่าอย่างนี้แหละ ปฏิฆสัมผัสโสเท่านั้นเอง ส่วนการแพ้ชนะมาวิจัยกันอีกที ว่าการชนะนั้น คนดีหรือคนชั่วชนะ ซึ่งปัจจุบันก็ตอบได้ว่าคนดีชนะ 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 13 กันยายน 2563 ( 11:03:48 )

ศีลเป็นหลัก

รายละเอียด

เป็นข้อกำหนดเลย ศีลข้อที่ 1 คุณต้องเรียนรู้รายละเอียดของมันทั้งหมดกำหนดศีลข้อที่ 1 เรื่องเกี่ยวกับสัตว์ ศีลข้อที่ 2 เกี่ยวกับข้าวของและพืชอย่าไปทุจริต ส่วนสัตว์นั้นต้องมีเมตตาต้องช่วยกันหวังประโยชน์เพื่อสัตว์ทั้งปวง ส่วนของนั้นอย่าทุจริต ทำอย่างสุจริตเสียสละแบ่งปันกัน 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 10 มีนาคม 2563 ( 14:13:15 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 14:01:49 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 14:32:36 )

ศีลเป็นหลักปฏิบัติจนถึงจิต

รายละเอียด

 เอาศีลเป็นหลัก ตั้งแต่เกี่ยวกับสัตว์ก็ปล่อยมันไปตามกรรม เราอย่าไปยุ่งกับมัน เกี่ยวกับคนมีวิบากร่วมกันเยอะแยะ แล้วก็ในของ อย่าทุจริตในของ ส่วนทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็ทางศีล 1 2 3  ศีลข้อ 1 สัตว์เลี้ยง ศีลข้อ 2 เรื่องข้าวของ ศีลข้อ 3 ในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสต่างๆ เป็น 3 ข้อหลักใหญ่ ศีล 5 ส่วนศีลข้อ 4 ก็เป็นวาจา ศีลข้อ 5 เกี่ยวกับจิต 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ชาวอโศกคือมนุษย์อัศจรรย์ตามปหาราทสูตร วันพุธที่ 15 ธันวาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 17 ธันวาคม 2564 ( 18:17:15 )

ศีลเป็นหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติจรณะ 15

รายละเอียด

หากเริ่มต้นไม่เข้าใจเรื่องศีลแล้วไม่มีศีลเป็นหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติจรณะ 15 จนเกิดฌาน จนเกิดวิชชาสมบูรณ์แบบ นั้นก็ไม่ได้ ผู้ปฏิบัติต้องมีศีลเป็นมรรคผลอย่างเป็นลำดับแล้วรู้จักความเป็นโลกหน้าที่ต่างจากโลกนี้ คือโลกียะ รู้จัก อยังโลโก และปโรโลโก หรือสัมปรายภพ คือโลกหน้า โลกหน้าอย่างสัมมาทิฏฐิ ไม่ใช่ไปเอาแบบวิมานจินตนาการที่ตายไปแล้วไปอยู่อย่างนั้นไม่ใช่ โลกหน้าคือโลกุตระ ปัจจุบันนี้คือความหมุนเวียนเปลี่ยนออกจากโลกนี้ไปสู่โลกใหม่โลกหน้าที่เป็นโลกโลกุตระ 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2563


เวลาบันทึก 13 มกราคม 2564 ( 09:45:57 )

ศีลเป็นหลักแท้ของการปฏิบัติ ไม่มีศีลเป็นหลักไม่ใช่ศาสนาพุทธ 

รายละเอียด

จับหลักแท้ของการปฏิบัติ ศีลเป็นหลัก ไม่มีศีลเป็นหลัก ไม่ใช่ศาสนาพุทธ 

พูดถึงศีล ศีลของพระพุทธเจ้าแท้ๆคือ จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล 

จุลศีล เป็นศีลต้น 26 ข้อ 

ปฏิบัติไปสรุปง่ายๆ 26 ข้อ สรุปมาเป็นสังเขปได้ศีล 5 

ศีลข้อที่ 1 เกี่ยวกับสัตว์กับคน ศีลข้อที่ 2 เกี่ยวกับของและพืช ศีลข้อที่ 3 เกี่ยวกับรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส 

ปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ วิมุติญาณทัสนะ 

ปฏิบัติศีลทั้ง 26 ข้อ ขยายผลให้ผู้ปฏิบัติ ทำได้มรรคได้ผล รู้จักเนื้อแท้ของโลกุตรธรรมสมบูรณ์แบบ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 39 พุทธานุสสติ และอัมพัฏฐสูตร วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 04 สิงหาคม 2565 ( 17:23:15 )

ศีลเป็นอิสรเสรีภาพวินัยเป็นตัวบังคับ

รายละเอียด

ศีลเป็นอิสรเสรีภาพ  แต่วินัยมันเป็นตัวบังคับ วินัยมันเป็นเรื่องข้อบังคับมีโทษมีภัย มันคนละอย่างเลย ส่วนศีลนั้นมันไม่(ไม่มีบทลงโทษ) ใครปฏิบัติก็ได้เอง ผิดก็ของคุณ ก็เป็นกรรมวิบาก ศีลไม่มีข้อบังคับ เป็นอิสรเสรีภาพสมบูรณ์ แค่นี้เขาก็ไม่เข้าใจแล้ว เห็นไหม นี่คือ ศีลไม่มี 

เพราะฉะนั้น  จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล เขาไม่มีปฏิบัติ ปฎิบัติได้แค่วินัยก็ยังแย่แล้ว เอาแค่วินัย 227 ก็ยังเละเลย เพราะฉะนั้นมาพูดศีลยิ่งไม่รู้เรื่อง สะเก็ดก็ไม่ได้ เปลือก สมาธิ ไม่ต้องพูดเลย หลับตาออกป่า ออกเขา  ออกถ้ำ  ทำตัวเป็นคนตาบอด หูหนวกไปหมด ฟังแล้วก็แรงนะอาตมาพูดนี่ มันเป็นความจริงที่ชัดใช่ไหม 

ปัญญาไม่ต้องพูดเลย เฉโกทั้งนั้น เป็นเรื่องโลกียะไปหมด ปัญญา 8 อย่าไปพูดเลย ความสงบ 2 อย่างในปัญญาข้อที่ 3 เขาก็ยังยากที่จะเข้าใจ เขาถึงบอกว่าหลับตาของเขานี้ สงบสบาย (แต่) สงบของพระพุทธเจ้านั้น สงบอย่างลืมตา อย่างแคล่วคล่อง ว่องไว ปาคุญญตา กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม การสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย สัมผัส รู้เท่าทันกิเลสได้ ลดกิเลสได้ แล้วแคล่วคล่อง อยู่เหนือมันเลย จะเข้าใจได้ที่ไหน ความสงบ 2 อย่างในปัญญาข้อที่ 3 เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปพูดเลย ยิ่งข้อที่ 4 เรื่องของศีล ข้อที่ 5 เรื่องของพหูสูตร ข้อที่ 6 เรื่อง วิริยารัมภะ ข้อที่ 7 เป็นบัณฑิตไปหมด ข้อที่ 8 สรุปรวมหมดเป็นปัญญา 8 ข้อ เขาไม่รู้เรื่องหรอก แยกไม่ได้หรอก ขยายความอธิบายปัญญา 8 ไม่ได้ นี่ปัญญา 8 อาตมาเขียนมา 2 เล่มแล้ว มีเล่ม 3 อีก

ที่มา ที่ไป

พ่อครูบวชมาครบ 53 ปี มีอะไรจริง พ่อครูเทศนาภาคค่ำ งานมหาปวารณา ครั้งที่ 41 วันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน 2566 แรม 9 ค่ำ เดือน 11 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 16 กุมภาพันธ์ 2567 ( 16:03:02 )

ศีลเป็นเครื่องชำระอันวิเศษไปตามลำดับอย่างไร

รายละเอียด

ศีล จะเป็นเครื่องชำระอันวิเศษไปตามลำดับ โดยเฉพาะมาบวชเป็นภิกษุแล้วก็บอกว่าตนเองมีศีล 227 แต่จุลศีล 26 ก็ไม่รู้เรื่อง ศีลข้อ1 เกี่ยวกับสัตว์  ศีลข้อที่ 2 เกี่ยวกับข้าวของ  ศีลข้อที่ 3 เกี่ยวกับรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ก็ไม่รู้เรื่อง ศีลข้อที่ 1 สัมผัสกับสัตว์แต่ละลดกิเลสได้หรือเปล่า แต่ก็ไม่รู้บอกว่าฉันมีศีล 227 แล้วทำอย่างไร ก็อย่าทำให้ผิดจากบัญญัติ 227 ก็บอกว่าฉันเคร่งในศีล 227 แต่อ่านจิตเจตสิกไม่เป็น สัมผัสกับสัตว์ ข้าวของ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สัมผัสและติดยึดในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสก็ไม่รู้เรื่อง ไม่ได้เข้าในการศึกษา 3 ของพระพุทธเจ้าเลย ศีล สมาธิปัญญาไม่มี ถือศีลแล้วก็เป็นสีลัพพตปรามาส สีลัพพตุปาทานไป ตามจารีตประเพณี สมาธิก็ไปนั่งหลับตาพากันไป ปัญญาเข้าไปเรียนเป็นเปรียญ 9 เป็นด็อกเตอร์ ได้ครบเปรียญ 9 และดอกเตอร์ก็ได้ สมาธิก็ทำได้ ศีล 5 ศีล 8 ก็ทำได้ทั้งนั้น แต่สีลัพพตุปาทาน ระงับได้สะกดได้ เข้ามาเข้าคอร์สถือศีล 5 ศีล 8 ก็ทำได้ ถือศีล 10 ก็ทำได้ ได้เฉพาะตอนเข้านะ แต่ออกจากศีลแล้วใช้เงินเยอะแยะ ไม่เคยสละเงิน เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ นอนอยู่ในแบงค์ เป็นการเลี่ยงบาลี ไม่ได้เป็นการเรียนรู้ความจริงใจ ที่จะสละออก หรือ จะให้พ้นจากนิสสัคคิยปาจิตตีย์แค่ไหนก็ไม่ ซึ่งพูดแล้วมีรายละเอียดอีกเยอะ ไม่ได้เอาจริงไม่ได้รู้จริง เพราะฉะนั้น ไม่เข้าสู่หลักการศึกษา 3 ศีล สมาธิ ปัญญา และเรียนไปตามลำดับ อ่านจิตเจตสิกอ่านกิเลสออก กำจัดกิเลสได้ ตั้งแต่ศีลข้อที่ 1 2 3 4 5 คุณจะเป็นอรหันต์ได้ แม้ไม่ถึง 26 ข้อของจุลศีล ปฏิบัติศีลไปไม่ถึง 26 ข้อ หากสัมมาทิฏฐิและสัมมาปฏิบัติจริงก็เป็นอรหันต์ได้รับรองขอยืนยัน อาตมาสรุปธรรมะพระพุทธเจ้า วันนี้สรุปได้เยอะ

ที่มา ที่ไป

เทศน์ ทวช. วันเสาร์ที่ 7 เมษายน 2561


เวลาบันทึก 28 กุมภาพันธ์ 2564 ( 11:51:54 )

ศีลเป็นเครื่องบ่งชี้ความเป็นอาริยะอย่างไร

รายละเอียด

เคยได้ยินใครอธิบายศีลอย่างอาตมาไหม ถ้าศีลไม่ใช่เครื่องชี้บอกว่าคุณจะเป็นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ คุณพูดไม่ออกพูดไม่ได้ ทุกวันนี้บอกว่าโสดาบันเป็นอย่างไรประมาณหนึ่ง จิตไม่มีกิเลสระดับหนึ่งแบบนี้โมเมอยู่ จะต้องมีขนาดกำหนด มีกรอบ ปฏิบัติศีล 5 เป็นเครื่องชี้บ่ง ศีล 5 ทำให้จิตใจเป็นสมาธิเป็นวิมุติได้ เป็นสมาธิเป็นวิมุติ ต้องมีปัญญารู้ตลอดว่าศีลเป็นอย่างนี้ สมาธิเป็นอย่างนี้เป็นวิมุติอย่างนี้ ปัญญาจะเป็นตัวอธิปัญญา รู้แจ้งรู้จริงในการปฏิบัติตลอดเวลา ไม่ใช่ปฏิบัติแล้วก็ไม่รู้เรื่อง เอาแต่นั่งหลับตาไปเป็นยังไงก็ไม่มีเหตุปัจจัยที่จะวัดได้ วัดค่าอย่างนั้นอย่างนี้ได้  ศีล 5 นี้ ข้อ 1.เกี่ยวกับสัตว์ คุณอยู่ในโลกมีสัตว์กับของ 2.คือวัตถุสมบัติที่ไม่ใช่ของๆเรา คุณจะไปทุจริตจะไปทำร้าย อย่าไปละเมิด สัตว์เขาเป็นอิสรเสรีภาพส่วนตัวเขา อย่าไปละเมิดชีวิต เขาก็เป็นของเขา ไปจับเขามา เป็นบาป เป็นอันมาก

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันจันทร์ที่ 15 มกราคม 2561


เวลาบันทึก 21 กุมภาพันธ์ 2564 ( 15:29:28 )

ศีลเป็นแม่ ปัญญาเป็นพ่อ

รายละเอียด

ผู้ที่เข้าใจความเป็นแม่เป็นพ่ออย่างสัมมาทิฎฐิก็จะเกิดสัตว์โอปปาติกะที่เป็นลูกที่สัมมาทิฏฐิ ยกตัวอย่างศีลเป็นแม่ ปัญญาเป็นพ่อ ก็คงเข้าใจ ศีลจะนำพาอย่างไร ปัญญานำพาอย่างไร มันเป็นสภาวธรรมที่ไม่ใช่เป็นตัวตนบุคคลเราเขาที่เป็นพ่อเป็นแม่อย่าง ชลาพุชโยนิ ไม่ว่าจะเป็นของสัตว์เดรัจฉานหรือคนแล้ว ก็ชัดเจนแล้วมันไม่ใช่ แต่เป็นลักษณะที่ร่วมกันผู้หนึ่งมีลักษณะ เพศหรือลิงคะ ที่มีความแตกต่างสองนัย ตั้งแต่วัตถุที่เล็ก สิ่งที่มีภาวะเครียดมากกว่าก็จะเป็นเพศแม่ สิ่งที่นิ่งกว่าแข็งแรงกว่าก็เป็นเพศผู้

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 07 กันยายน 2563 ( 09:35:55 )

ศีลเพื่อล้างกิเลส

รายละเอียด

ต่อมา ศีล ก็มีนัยคล้ายกันกับทาน ยังยึดเป็นตัวกูของกู ปฏิบัติศีลแล้วจะได้คุณสมบัติแบบนี้ เอาไปข่มเบ่งคนอื่น เรียกร้องให้คนอื่นมาเอา ดีไม่ดีให้เขาแล้วต้องมีค่าตอบแทนอีก นี่คือสองข้อหลัก ทานกับศีล ทานก็ล้างกิเลสศีลก็ล้างกิเลส หากไม่ชัดเจน ก็ไม่หมดกิเลส หุตัง คือผลแท้จริงหรือไม่ในการทาน ศีล หุตัง แปลว่าผลแท้ที่หยั่งลงยาก ทาน ศีล ภาวนาอรรถกถาจารย์เอามาผสม เป็นบุญกิริยาวัตถุ 10 เลยบานตะโก้ เป็นเทวนิยมอีกเยอะ เขามีส่วนดีแต่ไม่ถูกต้อง เพราะเข้าใจบุญผิด บุญแท้ๆมีแค่ 3 อย่าง ขยายอีก 7 อย่างเป็นโลกียผสมมา

ที่มา ที่ไป

 พ่อครูเทศน์วันมาฆบูชา บ้านราช เนื้อแท้ประชาธิปไตยพุทธ 5 ประการ วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 29 กุมภาพันธ์ 2563 ( 11:42:15 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 14:03:00 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 14:28:31 )

ศีลเยี่ยมที่หนึ่ง

รายละเอียด

ศีลยอดเยี่ยมในโลก 

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 27"สีลวีมังสนชาดก" ข้อ 86

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 01 มิถุนายน 2562 ( 15:43:43 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:33:02 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 14:29:04 )

ศีลเยี่ยมที่หนึ่ง 1

รายละเอียด

 ศีลยอดเยี่ยมในโลก

(สีลัง โลเก อนุตตรัง) 

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 27 “สีลวีมังสนชาดก” ข้อ 86


เวลาบันทึก 11 มีนาคม 2565 ( 20:07:33 )

ศีลแต่ละข้อมีเหตุปัจจัยมีสภาวะต่างกัน

รายละเอียด

ศีลข้อที่ 1 เกี่ยวกับสัตว์ ศีลข้อที่ 2 เกี่ยวกับข้าวของ กับพืช ศีลข้อที่ 3 เกี่ยวกับ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 06 ธันวาคม 2562 ( 16:03:37 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 14:06:11 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 14:31:59 )

ศีลและวัตรต่างกันอย่างไร

รายละเอียด

เอาที่สู่แดนธรรมได้เกริ่นมา ท่านพระสารีบุตรสอนในพระไตรปิฎกเล่มที่ 29 ข้อ 918 เกี่ยวกับ ศีลวัตรว่าด้วยศีลและวัตร คำว่า พึงเป็นผู้มีศีลและวัตรอย่างไร? ความว่า พระเถระย่อมทูลถามถึงความบริสุทธิ์แห่งศีลและวัตรว่า ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ประกอบด้วยศีลและวัตรอย่างไร คือ ด้วยศีลและวัตรที่ดำรงไว้อย่างไร มีชนิดอย่างไร มีส่วนเปรียบอย่างไร.ความบริสุทธิ์แห่งศีลและวัตรเป็นไฉน? บางแห่งเป็นศีลและเป็นวัตร บางแห่งเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 15 กรกฎาคม 2563


เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 13:38:06 )

ศีลและวินัยต่างกันอย่างไร

รายละเอียด

วงการหลักศาสนาพุทธเถรสมาคม เขาไม่ถือศีลแต่เขาถือวินัย 227 วินัยเป็นกฎหมายอาญามีบทลงโทษ ส่วนศีลนั้นไม่มีบทลงโทษ เป็นข้อปฏิบัติประพฤติเป็นธรรมนูญ เหมือนรัฐธรรมนูญไม่มีโทษ แต่กฎหมายลูกกฎหมายอาญาจึงแยกมา ตั้งเป็นข้อย่อย ที่มีโทษในแต่ละระดับ แต่ว่าธรรมนูญไม่มีบทลงโทษ เป็นนิติศาสตร์ วินัยเป็นกฎหมายอาญา มีโทษ ส่วนศีลเป็นหลักปฏิบัติ ปฏิบัติได้ก็เจริญ ปฏิบัติไม่ได้ก็ไม่เจริญ ซวยไป ศีลเป็นอิสระ แต่วินัยเป็นหลักเกณฑ์ที่มีการบังคับ จึงต่างกัน ความหมายของวินัยกับศีล ประเด็นง่ายๆ ศีลไม่ใช่ข้อบังคับ แต่วินัยเป็นข้อบังคับและมีหลักลงโทษ ศีลไม่มีหลักลงโทษ นี่เป็นประเด็นง่ายๆ ที่ให้เห็นความแตกต่าง แค่นี้ก็ไม่เข้าใจ จนกระทั่งทำผิด ศีลไม่มี ภิกษุเขาบอกว่าถือศีล 227 นั่นมันพระวินัย ส่วนจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล เขาก็ไม่เข้าใจ ศีลเกิดก่อนวินัย พระพุทธเจ้าสร้างศาสนาด้วยศีล ไม่ใช้สร้างศาสนาด้วยวินัย วินัยนั้นห้ามปฏิบัติละเมิด หากละเมิดก็มีบทลงโทษ ถ้าใครยังไม่ทำสิ่งที่เป็นโทษท่านก็ไม่ตั้งพระวินัยไม่ออกกฎระเบียบข้อนี้ วินัยมีหลักเกณฑ์มีโทษรับรอง ต้องบังคับด้วย ส่วนศีลเป็นหลักปฏิบัติจะเลือกทำอะไรก็ได้ จะปฏิบัติเมื่อไหร่ก็ได้ เป็นอิสระ ความอิสระระหว่างพระวินัยกับศีลก็มีต่างกัน แค่นี้ก่อนก็ไม่รู้ความแตกต่าง ลิงคะ ได้อย่างนี้เป็นต้น

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน 2561


เวลาบันทึก 11 มกราคม 2564 ( 10:58:10 )

ศีลและอธิศีล

รายละเอียด

ก็จะต้องปฏิบัติให้ถูกคืออปัณณกปฏิปทา 3 ถ้ามีศีลอื่นแล้วแต่ก็ปฏิบัติไม่ตรงอปัณณกปฏิปทา 3  ไม่มี สำรวมอินทรีย์ โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยค ไม่มีหรือมีไม่ตรงมันก็ไม่เกิดผลเป็นสัทธรรม 7 ไม่เกิดฌานแบบพุทธ ก็ไม่มีวิชชา 8 ก็กลายเป็นอวิชชาไป อวิชชาหนา เพิ่มเติมความเข้าใจผิดความไม่ถูกต้องซับซ้อนเข้าไปอีกใหญ่เลย ยึดมั่นถือมั่นความไม่ถูกนั้นความที่เป็นผิดนั้นซับซ้อนเข้าไปหนักเข้าไปอีก อวิชชาก็งอกงามไพบูลย์ ไกลไปจากวิเวก ไกลแสนไกลไปกันใหญ่เลย มันคนละทางเลย 

ที่มา ที่ไป

รายการทำวัตรเช้า งานว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน บ้านราช วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 02 มกราคม 2563 ( 14:31:03 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 14:08:20 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 14:29:45 )

ศีลและอปัณณกปฏิปทา 3 เป็นข้อยืนยันการปฏิบัติไม่ต้องนั่งหลับตา

รายละเอียด

พุทธเป็นศาสนาที่มี “จรณะ 15” นะ! คือ การประพฤติปฏิบัติที่มี “ศีล” ต้อง “ลืมตา” ปฏิบัติไปกับ “ศีล” โดยเฉพาะมี “อปัณณกปฏิปทา 3” ที่ตรัสกำกับไว้ชัดๆ แท้ๆ ว่า ต้องปฏิบัติไปกับ “อปัณณกปฏิปทา 3” ถ้าไม่เช่นนั้นก็ผิดไปจากความเป็นศาสนาพุทธ! “อปัณณกปฏิปทา 3” ก็ยืนยันอยู่โทนโท่ ว่าต้อง “ลืมตา” ปฏิบัติ ถ้าขืน “หลับตา” ก็ไม่ใช่ “พุทธ” ตามหลักนี้ก็ชัดๆอยู่แล้ว ยังจะไปหลงงมงายเหมือนพวกเดียรถีย์ที่เขา “โง่” นิรันดรอยู่ตลอดมาทำไม ถ้าแค่นี้ก็ยัง “ฉลาด” ที่จะ “รู้” ไม่ได้ มันก็สุดวิสัยจะช่วยกันแล้วจริงๆ ! 

หนังสืออ้างอิง

เปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 หน้า 459 ข้อที่ 637


เวลาบันทึก 18 มิถุนายน 2565 ( 13:43:21 )

ศีลไม่เสมอสมานกันเป็นไฉน

รายละเอียด

การร่วมกันเป็นสังวาสเดียวกัน การเป็นนานาสังวาสนั้นแตกต่างกันด้วยศีลไม่เสมอสมานกัน ทางโน้นเขาไม่มีศีลแล้วเขาถือวินัย 227 ข้อ เราก็มีวินัย 227 ข้อ แต่มีจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล ถือศีล 43 ข้อ ทำให้เกิด ศีล สมาธิ ปัญญา ไปตามลำดับ วินัยเป็นรั้วป้องกันของศาสนา ป้องกันสัตว์ร้ายเข้ามา ส่วนเรื่องของศีลนั้น เป็นธรรมนูญเป็นหลักเกณฑ์สำหรับพุทธปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติได้อย่างสัมมาทิฏฐิ สัมมาปฏิบัติก็สัมมาปฏิเวธ ในวินัยนั้นเป็นเรื่องแรงผู้ที่ไปที่ไหนต้องถูกลงโทษต้องปลงอาบัติต้องมาสารภาพผิด อย่างอื่นก็จะมีตามลำดับของการอาบัติซึ่งพระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้หมดแล้ว เป็นสวากขาโตที่ทำถูกต้องใช้ได้ทุกกาละ

สรุปแล้วนั้น นานาสังวาสก็ต่างกันด้วยศีล ศีลสามัญญตา ใน จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล เป็นต้น แต่เขาถือศีล 227 ซึ่งมีแต่วินัย ไม่มีจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล สำหรับเถระสมาคม โดยในมหาศีลก็คือเดรัจฉานวิชาเป็นไสยศาสตร์ แม้แต่เดรัจฉานวิชาเป็นเรื่องลึกลับ เป็นเรื่องไม่จริง เป็นเรื่องไม่จริงด้วยเช่นการรดน้ำมนต์แล้วก็จะได้อิทธิฤทธิ์อิทธิเดชไป ได้ประสบผลสำเร็จอย่างนี้ อะไรต่างๆนานา เป็นอิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์ พระพุทธเจ้าก็ไม่ให้ใช้กัน ถ้าไปใช้อยู่ก็เป็นอาบัติ อย่างนี้เป็นต้น บางอย่างอย่าเอาไปพูดอย่าเอาไฟในออก เรื่องในหมู่สงฆ์อย่าไปพูดข้างนอกก็มีอาบัติตั้งแต่อาบัติเบาปาจิตตีย์ ไฟในอย่าเอาออกไปพูด อย่าออกไปพูดเล่น อย่าหาเรื่อง

โดยเฉพาะสวดมนต์ เอาธรรมบทของพระพุทธเจ้าไปสวดมนต์สองคนพร้อมกัน สวดกันต่อหน้าอนุปสัมบัน แม้เป็นเพื่อนสหธรรมิก อย่าเอาไปสวดต่อหน้าสหธรรมิกที่เป็นฆราวาสบ้าง อย่างนี้เป็นต้น แต่ถ้าเป็นศาสนิกไปสวดพร้อมกัน ถ้าอย่างที่ธรรมกายทำ มันเป็นเรื่องที่ผิดแต่เขาไม่เข้าใจ ไปลงโทษเขาก็ไม่ได้เพราะเขาโง่ มีบางคนรู้ว่าหลักเกณฑ์พระพุทธเจ้าห้ามไว้ แต่กิเลสมันอยากจะทำก็ยิ่งบาปซ้ำซ้อน

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรม พิธีบูชาพระบรมสารีริกธาตุ งานอโศกรำลึกครั้งที่ 37 วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน 2561 


เวลาบันทึก 08 กุมภาพันธ์ 2564 ( 21:07:41 )

ศีลไม่ใช่วินัย 227 ข้อ

รายละเอียด

ศีล สมาธิ ปัญญา อวดเก่งอธิบายกันแต่ไม่เข้าเป้า ทุกวันนี้ศาสนาพุทธในเมืองไทยพระสงฆ์ ภิกษุไม่มีศีลแล้ว เถรสมาคม หรือหมู่คณะใหญ่ ไม่มีศีลแล้ว พระนับถือศีลเท่าไหร่ ไม่ใช่ศีลมันเป็นวินัย 227 ข้อ

วินัยเป็นกฎหมายลูก เป็นกฎหมายที่มีบทลงโทษ ถ้าไปผิดวินัยก็มีบทลงโทษตั้งแต่อ่อนจนถึงแรงขั้นปาราชิก ส่วนศีล ไม่มีบทลงโทษ เป็นอิสระเสรีภาพสมบูรณ์ ไม่มีการ command อิสระเสรีภาพสมบูรณ์ ใครเข้าใจได้ก็เป็นประโยชน์ต่อตนเอง

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ปัจฉิมกถาปิดงาน มหกรรมคืนชีวิตให้แผ่นดินครั้งที่ 12
ที่มาบเอื้อง จ.ชลบุรี วันที่ 18 มีนาคม 2561


เวลาบันทึก 10 กุมภาพันธ์ 2564 ( 13:34:21 )

ศึกษา การเกิด การตาย

รายละเอียด

ก็ตอบตรงนี้ก่อนเลยว่า คนที่ตายแล้วไม่มีใครมารับไปหรอก ตายแล้วเราก็ไปของเราเอง ตายแล้วเราก็ไปของเรา ตามกรรมวิบากของเรา หลังตายนี่อาตมาก็ไม่ค่อยอยากจะพูดเท่าไหร่ เพราะพูดไปแล้วก็จะมีคนอวดดี อวดเป็นผู้รู้ แล้วก็พูดต่อไป ก็มันไม่มีใคร ที่ยังไม่ตายจะไปรู้ได้คนที่ตายไปแล้ว คนละภพ มันก็ไม่รู้ก็ไม่ชัดเจนกัน 

มันต้องศึกษาดีๆแล้วก็จะรู้ว่าการเกิด การตาย และการเดินทางของจิต มันเป็นการเดินทางที่จิตเหมือนคนนอนหลับและคนตื่น คนตื่นอยู่ก็อยู่ในภพตื่น พอหลับก็ตกไปสู่อีกภพหนึ่งเป็นภพหลับ มันก็จะเป็นอีกภพหนึ่ง ซึ่งมันไม่ค่อยต่อกันหรอก มันคนละภพ แล้วคนที่ยังไม่ได้ศึกษา ไม่ได้เรียนรู้จริงแล้ว ทุกคนของตนเองแต่ละคนก็ฟังสิ่งที่อาตมาพูดก็คงเข้าใจ มันจะเหมือนกับคนละโลกกันเลย แล้วเราก็เหมือนจะเป็นคนละคน แต่รู้สึกว่าตัวเองเป็นตัวเอง อาตมาว่ามันเป็นอีกคนละเรื่อง อีกคนละความเข้าใจ อีกคนละการคบหา ต่างๆ นานาพวกนี้ เป็นเรื่องเป็นราวเป็นละคร คนละเวลาวาระ มันลืมเรื่องที่เรามีชีวิตตอนเป็นๆตื่นๆ 

หลับไปแล้ว มันก็ไปเหมือนอีกโลกหนึ่งเหมือนอีกชีวิตหนึ่ง เหมือนละครคนละเรื่องกัน แต่ตัวเราก็ยังเป็นตัวเรา แต่มันมีตัวละครอื่นโดยมีเรื่องราวอื่นอีกคนละเรื่อง นอกจากคุณจะศึกษาฝึกฝนจนกระทั่ง ให้ชีวิตตื่นกับหลับนี่ มันต่อเนื่องกันแล้วมันก็เหมือนตื่นกับหลับ ตื่นกับหลับ ซึ่งไม่ง่าย มันยาก อาตมาทำได้ แต่ก็ไม่ง่าย ต้องพยายามทำ แต่ก็ทำได้ 

พอตื่นก็คือตื่น พอหลับก็คือหลับเป็นเรื่องเดียวกัน ความรู้สึกเดียวกัน ภพเดียวกัน แต่พอตกลึกลงไปก็เปลี่ยนเหมือนกัน แต่ถ้าเผื่อว่าเราจะประคองให้เป็นเรื่องราวต่อเนื่องเหมือนที่เราตื่นอยู่ เอาเรื่องที่เราคิดตอนตื่นนี่แหละ ที่เราปรุงแต่ง ที่เราจะดำเนินเรื่องอะไร มันก็ไปด้วยเรื่องนี้ได้ แล้วก็ยาว มีเรื่องมีราวอะไรไปได้ แต่มันจะไม่ได้หลับลึก มันกินพลังงานเหมือนกัน 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 31ประชาธิปไตยจะให้คะแนนกันอย่างไร ตอน 1 วันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม 2566 ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 8 เดือน 8 เดือนที่ 2 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 16 กันยายน 2566 ( 13:48:47 )

ศึกษา อาการ ของนาม และรูป 28

รายละเอียด

ใช่ รูปนามเป็นสภาวะ 2 รูปคือสิ่งที่เป็นอีกอันหนึ่งจะต้องคู่กัน เป็นสิ่งที่ให้เรารู้มัน มันจะต้องเป็นสิ่งที่ถูกรู้ เป็นสิ่งที่ถูกรู้ 2 นามธรรมคือตัวรู้ของคุณ เพราะฉะนั้น 2 อันนี้มันจะต้องมาสัมผัสกัน ถ้าไม่มีอะไรสัมผัส มีแต่นามคือความคิดของคุณ คุณไม่ได้เปิดตาไม่ได้รับเสียง ไม่ได้รับกลิ่น ไม่ได้รับรสแตะลิ้น ไม่ได้มีกายสัมผัสภายนอก มีแต่ในใจ มันมีนามแต่หนึ่งเดียว อันนี้แหละอาตมาอธิบายแล้วอธิบายอีกว่า มีแต่นามอย่างเดียว คิดอยู่ในภพอยู่ในภวังค์ของตนมันไม่ใช่ความจริง อธิบายมานานมามากแล้ว คนก็ยังไม่ชัดเจนในตรงนี้ 

ว่ากายต้องมีภายนอก 5 ทวาร ตา หู จมูก ลิ้น กาย ตากระทบรูปเอออย่างนี้เป็นคู่ สิ่งที่เกิดเป็นความจริง หูกระทบเสียง สิ่งที่เกิดอย่างนี้เป็นความจริง จมูกกระทบกลิ่นอย่างนี้เป็นความจริง ลิ้นกระทบรส กายสัมผัสเสียดสีเย็นร้อนอ่อนแข็ง อย่างนี้เป็นความจริง แต่ถ้าไม่มีกาย 5 ทวารภายนอกโผฏฐัพพารมณ์ การสัมผัสแล้วก็เกิดความรับรู้ (ถ้าไม่มีสัมผัสภายนอก)มีแต่ในภายใน โดยไม่เกี่ยวข้องกับภายนอกเลย อันนี้ไม่ใช่ความจริง ความจริงอันนี้แหละพระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ใน พรหมชาลสูตร มันเป็นแต่เพียงสัญญาในสัญญา มันไม่มีปัญญาเลย ปัญญาต้องมีภายนอกด้วยอีก 

ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ อยู่ในมหาจัตตารีสกสูตร พตปฎ.เล่มที่ 14 ข้อ 258 พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ชัดว่า ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ จะเกิดได้ต้องมีสัมมาทิฏฐิ มีธรรมะวิจัยสัมโพชฌงค์และที่สำคัญต้องมี มัคคังคะ คือมีองค์แห่งมรรคทั้งหมด องค์แห่งมรรคทั้งหมดคือมรรคมีองค์ 8 คุณต้องมีทั้งหมดเลย ตั้งแต่สัมมาทิฏฐิไปยังสัมมาสมาธิ มีครบ ตัวที่ยืนยันว่าต้องอยู่ในชีวิตธรรมดา คือต้องมีสัมมาสังกัปปะสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นชีวิตธรรมดาสามัญ ไม่ใช่คุณไปนั่งหลับตาไม่ได้ทำงานอาชีวะอะไร ไม่ได้มีกัมมันตะอะไร ไม่ใช่ อาจจะมีกัมมันตะอยู่ที่คุณทำใจในใจของคุณอย่างเดียว ไม่มีอาชีพการงานอะไร ไม่ได้สร้างสรรค์อะไร ไม่ได้มีกายกรรม วจีกรรมไม่มี ไม่ใช่ ต้องมี 

เพราะฉะนั้นปัญญาไม่เกิด ปัญญินทรีย์ไม่มี ปัญญาผลหรือปัญญาพละไม่มี คุณวิจัยก็วิจัยแต่เพียงในภายใน วิจัยข้างในจิตอย่างเดียว ไม่มีข้างนอกผสมเลย อาตมาถึงสรุปว่า การหลับตาปฏิบัติมันโมฆะด้วยประการฉะนี้ มันจะไม่เกิดปัญญาตัวจริง มันจะไม่เกิดความจริงที่จริง ไม่มีปัจจุบันชาติ ไม่มีกามภพ ไม่มีกามาวจร คนที่ปฏิบัติ ฌาน ของพระพุทธเจ้าเรียกว่า มีปัญญารู้จักกิเลส แล้วก็เผากิเลสได้ ก็ต้องมีตั้งแต่ กามาวจร มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นเหตุเป็นปัจจัย แล้วคุณก็ล้างกิเลสไปแต่ละเรื่อง แต่ละเรื่อง ตามศีลเป็นหลักก็ได้ ศีลข้อ 1, 2, 3 แล้วคุณก็ลดกิเลสไปตั้งแต่ข้างนอก นี้แหละ กาม 

กิเลสข้างนอกมันลดมันดับ ดับไม่เกิดอีกเลย สัมผัสอย่างไรก็ไม่เกิดอีกเลย อยู่เหนือ อุตระ ก็เหลือข้างใน กิเลสข้างใน ปรุงแต่งอยู่เป็นภวังค์ เป็นภวภพ เป็นรูปภพ-อรูปภพ คุณก็เข้าไปล้างมันอีก ในขณะที่คุณสัมผัสอยู่ข้างนอก ตากระทบรูปอยู่อย่างนี้ ข้างนอกคุณไม่มีหรอก ปฏิกิริยาข้างนอกคุณไม่มีเลย เรื่องราวที่จะเกิดกามจากปัจจัยภายนอกก็หมด หมดกามภพแล้ว หมดจากการเป็นสกิทาคามี ไปอยู่อนาคามี ข้างใน มันอยู่ข้างในแล้ว

ถ้าอย่างนี้แล้วก็ไม่ได้หลับตา ก็มีการกระทบสัมผัส รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส (โผฏฐัพพะ) วัตถุทุกอย่างกระแทกกระทุ้งกระเทือนอยู่แต่ข้างนอกคุณไม่ได้มีปฏิกิริยาตอบรับ ไม่ปรุงแต่งร่วมเลย ไม่มีสังขารภายนอก กายสังขารไม่มี แต่ข้างในรูปสังขารคุณมี ก็ล้างอาการข้างใน ในขณะปฏิบัตินี่แหละมันถึงเป็นความจริง เป็นปัจจุบันชาติ ไม่ใช่ไปคิดเอา ไอ้ที่เอาแต่คิดนี่แหละ มันเป็นได้คือ เป็นอดีต 18 เป็นอนาคต 44 ตามที่พระพุทธเจ้าท่านตรัส เพราะฉะนั้นพวกนั่งหลับตา ท่านเรียกเต็มๆว่า เจโตสมาธิ ผู้ทำเจโตสมาธินี่คือพวกหลับตาทำ ไม่มีทางบรรลุธรรม เพราะมิจฉาทิฏฐิทั้งหมดทั้ง 62 แล้วพระพุทธเจ้าก็บอกสรุปแล้วมีเท่านี้ อดีต-อนาคตมีเท่านี้ มีผู้สรุปมา ในพรหมชาลสูตร เขาใช้นามแฝงของเขาว่า ทำมาด้วยใจ นามสกุล ใต้ร่มโพธิ์ เขียนส่งมาให้อาตมา ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2566 หลายหน้าเหมือนกัน อาตมาจะอ่านให้ฟังตอนนี้ก็ยังเกรงใจ SMS อยู่ ก็ขอ SMS ต่อก็แล้วกัน เดี๋ยวจะอธิบาย ดีเหมือนกันเรื่องนี้ก็เจตนาจะอธิบายอยู่ 

ตอบคำถาม อาการคือลีลาของมัน กิริยาของมัน อาการของมันกิริยาของรูป กิริยาของนาม อาการที่มันไม่นิ่ง อาการนิ่งก็เรียกว่าอาการได้ อาการอยู่นิ่งๆ คุณก็รู้ เออ นี่มันเคลื่ออนที่แล้ว มันเคลื่อนที่แล้ว เป็นอาการอย่างนี้แล้ว เกิดไปเกี่ยวข้องกับอันอื่นสัมผัสเป็น 2 3 4 ปรุงแต่งเป็นเรื่องไปอีก คุณก็ต้องรู้อาการที่มันเกิดปรุงแต่งกันขึ้น จากนิ่งๆ 1 ขึ้นเป็น 2 ขึ้นเป็น 3 4 5 อาการเหล่านั้นเป็นนามธรรมทั้งสิ้น แล้วคุณก็ต้องรู้สิ่งที่มันเกิดอาการนั้น มันก็ถูกรู้เป็นรูป อาการที่มันเกิดให้เราสัมผัสนามธรรมแล้วเป็นตัวสัมผัสรู้ ไอ้รู้นั้นเป็นนาม เป็นสัญญากำหนดรู้ ไอ้ที่ถูกรู้นั้นเป็นรูป ต้องมีอย่างนี้ มันมีแต่รูปมันไม่มีนามไปแตะไปเกี่ยวข้องเลย ไปศึกษาอะไรมัน มันเป็นธรรมชาติของมัน มันก็อยู่ของมัน เมื่อเราไปเกี่ยวข้องกับมันเมื่อไหร่เราก็รับรู้แล้วก็เรียนรู้กับมันได้ 

เพราะฉะนั้นสิ่งที่ไม่ได้สัมผัสเลย ไม่เกี่ยวข้องเลย คุณจะไปเอามันมาทำไม ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ดาวมันวิ่งของมันอยู่โน่นเป็นล้านๆ ปี แล้วเราก็ไม่เคยเกี่ยวข้อง แล้วก็ไปเอามันมาวิจัยอย่างโน้นอย่างนี้ไปเกี่ยวไปข้องกับมัน มันจะมีผลส่งต่อเราอย่างนู้นอย่างนี้ ก็ดีอยู่ ก็รู้ว่าเราก็มีปฏิกิริยาต่อกัน มันมีประโยชน์หรือมีโทษอะไร ก็ดี แต่ว่าเราจะไปยุ่งอะไรกับมันมาก ชีวิตจริงๆเราก็อยู่ตรงนี้ จะนานเท่าไหร่ ดาวมันอยู่นานกว่าเราหลายล้านปี ก็ไม่ต้องไปยุ่งกับมัน มันก็ไม่เป็นทุกข์เป็นสุขอะไร ดาวไม่เป็นทุกข์เป็นสุข แต่ตัวคนนี่แหละเป็นทุกข์เป็นสุข แล้วตัวคนนี้แหละจะต้องรู้นิพพานให้ได้ หมดสุขหมดทุกข์แล้วคุณจะอยู่หรือไม่อยู่ มีจิตนิยาม มีชีวะ คุณเลิกได้เป็นอรหันต์คุณมีภูมิธรรมถึงขั้นอรหัตผล คุณก็เลิกไปเลย มันมีที่จบสำหรับธรรมะพระพุทธเจ้า แต่คนที่ไม่รู้จักกรอบของความจบ ก็ไม่มีการจบกิจ จบทำ จบการกระทำ จบงาน 

ฉะนั้นย่อลงมาถึงขั้น อาการ ลิงค นิมิต นี่แหละเป็น 3 สภาพที่คุณจะต้องรู้ สรุปลงเป็นนามธรรมที่ละเอียดที่สุดแล้ว  คืออาการกับนิมิตอาการก็เป็นสิ่งที่รู้ บางเบาหรือเป็น Dynamic อาการมันจะต้องเคลื่อน ส่วนนิมิตนั้นมันไม่เคลื่อน มันเป็น Static เป็นตัวคู่กัน มันต่างกันอย่างที่มันมีนัยยะต่าง และมันไปต่างกับอะไรอื่นๆ  มันก็ไปต่างกับอันอื่นอีก คุณก็รู้ไปเรียนรู้ไป อย่างนี้เรียกว่ารู้จักอาการ 

 

_2. โยมเข้าใจว่า "รูป" อย่างเดียวโดดๆไม่น่ามีอาการ 

เมื่อกี้อธิบายผ่านมาแล้ว ก็ถูก รูปคือสิ่งที่เป็น Static  นิมิต เมื่อกี้อธิบายผ่านมาแล้ว ถ้าอาการมันจะเคลื่อน นิมิตมันก็นิ่งๆ รวมแล้วมันเป็นรูปนี้ เป็นตัวนี้ รูปอย่างเดียวมันไม่มีอาการก็ได้ แต่มันก็คืออันนั้นอันเดียวกันกับอาการนั่นแหละ นิมิตตัวนี้ มันมีอยู่ในมัน ถ้าคุณไม่ละเอียดพอ เช่น ก้อนหินก้อนนี้(พ่อครูยกก้อนหินที่อยู่บนโต๊ะ) คุณนึกว่าในตัวมันเองมีอาการเคลื่อนไหวไหม คุณเดา จริงคุณเหรอว่ามันเคลื่อนไหว คุณไม่เห็นมัน  ไม่รู้ว่ามันมีอาการเคลื่อนยังไงหรอก แต่มันก็เคลื่อนเพราะมันก็ไม่นิ่งแน่นอน มันเสื่อมไปเป็นธรรมดาของมัน หรือมันจะปรุงเนื้อตัวของมันขึ้นมาก็ไม่รู้นะ สักวันหนึ่งมันจะโต-กว่านี้ไหม มันโตก็มี หินต่างๆ มันก็มีดึงตัวนั้นตัวนี้ มันมีพลังงานในตัวของมัน มันก็ดูดมาเป็นตัวของมัน เป็นหินก้อนโตขึ้นไปได้
เรื่องรูปเรื่องนามนี้แหละ ย่อเข้าไปสูงสุดแล้ว คุณก็เอาเรื่องรูปนามที่ใกล้ตัวและเป็นเรื่องที่มันก่อทุกข์ ให้มาเรียนรู้ให้มากๆ ไม่จำเป็นจะต้องไปรู้รายละเอียด ไอ้นั้นรูป-นาม ใช่ไหม ละเอียดลงไปโดยไม่เกี่ยวข้องกับเราเลย จนกระทั่งไปถึงดวงดาวพระอาทิตย์ โฮ! มันเปลือง มันไกลตัวเกินไป สรุปมาให้ถูก สรุปให้เข้าเป้า อะไรจะลดละ

เพราะฉะนั้นรูปที่เรียน ท่านให้เรียนรู้ว่า เราแค่รู้รูปอื่นที่มันไม่กระดิกหรือมันไม่เกี่ยวกับเราเลย มีมหาภูตรูป 4 ดินน้ำไฟลมที่ท่านย่อว่าอย่างสรุปหยาบที่สุดหรือครบที่สุดแล้วดินน้ำไฟลม มหาภูตรูป 4 นอกนั้นเป็นอุปาทายรูปอีก 24 นี้ให้เรียนรู้อันนี้ เรียนรู้รูป 24 นี้ อาตมาก็อยากอธิบายอยู่ แต่ตอนนี้ยังไม่ได้โอกาส ยังไม่ได้ฤกษ์งามยามดีที่จะอธิบาย จะอธิบายทวนอีก เคยอธิบายไปแล้วในอุปาทายรูป 24 

ถ้ารู้อุปาทายรูป 24 ครบและเข้าใจ แม้คุณจะท่องไม่ได้ แต่คุณเข้าใจมันหมดโดยกระบวนการ โดยลีลาเกี่ยวข้องสัมพันธ์ของมันทั้งหมดแล้ว คุณท่องไม่ได้ คุณจำภาษาไม่ได้ ก็ไม่เป็นไร คุณรู้กระบวนการของการเป็นอยู่ใน อุปาทายรูปที่ 24 ตั้งแต่ มหาภูตรูป 4 (ดินน้ำลมไฟ) 

อุปาทายรูป 24

ก. ปสาทรูป 5

จักขุ (ตา) 

โสตะ (หู) 

ฆานะ (จมูก) 

ชิวหา (ลิ้น) 

กายา (กาย)

 

ข. โคจรรูป, วิสัยรูป 4

รูปะ (รูป) 

สัททะ (เสียง) 

คันธะ (กลิ่น) 

รสะ (รส)

โผฏฐัพพะ (สัมผัส) 

 

ปสาทรูป 5 กับโคจรรูปหรือวิสัยรูป อีก 4 รวมกันแล้วเป็น 9 

อธิบายเป็น 9 นี้ก็ยังยากเลย มัน 5 คู่ แต่มันเป็น 9 เพราะ กายนี้มันเป็นตัวหนึ่ง และกายมันเป็นรูปกับนามคู่กัน ก็เลยต้องหักมันออกไป 1 ที่จริงกายมันนามกับรูป หรือกายกับจิต แต่มันทำงานเป็นหนึ่ง ก็ต้องหักออก 1 เพราะฉะนั้น 5 คู่ ก็เลยเหลือ 9 อธิบายยากตรงนี้

กายกับโผฏฐัพพะ ถือว่าเป็นอันเดียวกัน 5 คู่ก็เลยเหลือเป็น 9 

อุปาทายรูป เริ่มต้นตั้งแต่ปสาทรูป 5 กับโคจรรูป 4 เป็น 9 แล้วก็ไป ภาวรูป 2  

 ค. ภาวรูป 2

10. อิตถัตตภาวะ, อิตถินทรีย์ (ญ) 

11. ปุริสสัตตภาวะ, ปุริสสินทรีย์ (ช) 

ภาวะ 2 เราก็ต้องรู้รูป รู้ อิตถีภาวะ ปุริสภาวะ ต้องรู้ภาวะ 2 นี้ให้ดี รวมแล้วมันเป็นรูปที่อยู่ในรูปที่เรียกว่ารวมๆว่า หทยรูป 

ง. หทัยรูป 1 = 12.หทัยรูป ที่ตั้งการเกิดอาการของรูป รูปที่เป็นจิตใจ จิตวิญญาณ เกิดที่ใดก็ตั้งอยู่ที่นั้น

หทยรูป รูปทางนามธรรม รูปทางใจ มี 3 เส้า หะ ทะ ยะ ไม่ขอลงถึงพยัญชนะ 

หะ ตัวนี้ จริง 

ทะ ตัวแข็งแรง แกล้วกล้า มีฤทธิ์มีแรงทั้งหมด 

ยะ เป็นพยัญชนะตัวแรกของเศษวรรค ยะ นี้คือความจริงแท้ทั้งหมด  

รวม 3 เส้าอันนี้เป็นพลังงานที่เรียกว่าจิตวิญญาณ เรียกว่าหทัย มันไม่ได้มีอยู่ที่ไหน (เฉพาะ) มันในร่างกาย แต่มันเกิดอาการตรงไหนที่มีองค์รวม เกิดสัมผัส เกิดปรุงแต่ง เกิดเป็นเรื่องราวขึ้นมาตรงไหน ตรงนั้นคือ หทัย อยู่ตรงนั้น มันไม่ได้อยู่กับที่ มันไม่ได้อยู่จำเพาะ มันไม่ยึดที่ 

จากหทยรูป ต่อไปก็ดูอาการชีวะ ชีวิตรูป

 

จ. ชีวิตรูป1 = 13.ชีวิตินทรีย์ รู้ความมีชีวิตอยู่ของกิเลส

ชีวิตรูป จาก หทัยรูป อธิบายไปถึงชีวิตินทรีย์ พลังงานของชีวิตนั้น รูปนี้มันมีชีวิต เอากำลังของมัน พลังงานของมัน ชีวิตินทรีย์ของมัน เรียนรู้อาการของมันเป็นชีวิต อินทรีย์คือมันมีพลัง มันเป็นพลังของชีวิตอยู่นะ มันยังไม่ดับพลังงานชีวิต  ถ้าพลังงานชีวิตจิตนิยามดร็อป(drop)ลงมาถึงพืช  มันก็เป็นชีวิตในระดับพืช ชีวิตินทรีย์ก็เหลือแต่แค่พีชนิยาม รูปที่มันมีชีวิตพลังงานที่มันมีชีวิตินทรีย์ เป็นพลังงานของชีวิตอยู่นะมันไม่ ถ้าพลังงานชีวิตปรับตัวลงมาเป็นพืชมันก็เจริญเป็นแค่ พีชนิยาม ให้มันเป็นอุตุ อุตุมันก็กลายเป็น มหาภูตรูป ไม่เป็นชีวะแต่เป็นพลังงานของดินน้ำไฟลม นี่เราก็จะต้องเข้าใจอาการจริงของมัน สภาวะจริงของมัน ตั้งแต่มหาภูตรูปหรืออุตุนิยาม จนพีชะ มนุษย์พืช จนจิตวิญญาณ จิตนิยาม อย่างนี้เป็นต้น เมื่อเรียนรู้อันนี้แล้ว ท่านให้เรียนรู้ตรงจุดสำคัญคือ อาหารรูป 

 

ฉ. อาหารรูป1 = 14.กวฬิงการาหารจนถึงวิญญาณาหาร 

โดยเฉพาะอาหารที่เป็นคำข้าว กินเข้าไปเคี้ยว เข้าปาก ถ้าอาหารภายนอกไม่เคี้ยวเข้าปากไม่ครบลิ้น ไอ้ลิ้นนี่แหละตัวร้าย เรียนรู้ลิ้นนี้ได้ มันจะรู้รูปรสกลิ่นสิ่งสัมผัสที่ติดยึดมันสำคัญมาก ก็เราจะรู้ได้จาก กวฬิงการาหาร อาหารคำข้าวที่เคี้ยวกินเข้าไปเคี้ยวกลืนเข้าไปสัมผัสกับลิ้น หมากพลู ก็ลิ้น ก็สำคัญ แล้วคุณไม่ได้กินกลืนเข้าไปด้วยซ้ำไป มันไม่ใช่อาหารจริงด้วยซ้ำไป หมากพลูไม่ได้กินกลืน แต่คุณติดรสแท้ๆเลย รูปรสกินสิ่งสัมผัสของมันจริงๆเลย คุณไม่ได้เรียนรู้ก็ไม่ได้รู้ว่ามันเป็นกิเลส เหมือนสายมหาบัวติดกันเยอะ กินหมากปากเปรอะแดงกัน เพราะไม่ได้เรียนรู้สัจธรรมของพระพุทธเจ้า ก็พยายามบอกกันอยู่นี้ ก็ไม่รู้ว่า ออกอากาศอยู่ทุกวันก็อยากให้ดูนะ 

อาตมาพยายามอดทนฝืนที่จะจ่ายเงินค่าดาวเทียม เพื่อให้ท่านทั้งหลายสะดวก ได้ดู ได้รู้ ได้เห็น แหม! นี่มันก็จะสุดทนแล้ว อีกหน่อยก็ไม่เอาละ ก็เอาแต่สื่ออื่น ไม่ต้องสื่อดาวเทียมที่มันค่าใช้จ่ายสูง เดือนละ 4 แสนกว่าบาท 5แสนบาท แล้วก็อุปกรณ์อีกหลายอย่าง เอาแต่เครื่องมือเดี๋ยวนี้เขามีอินเตอร์เน็ต ไม่ต้องเป็นถึงขนาดอันนู้นก็เหลือแหล่แล้ว ตอนนี้ก็ยังเอา ก็สงสาร ก็ให้ประโยชน์แก่พวกนี้แหละ เขาจะได้รับบ้าง หรืออาตมาเห็นแก่คนแก่ เหมือนอาตมาใช้ไม่เป็นไอ้ตัวพวกนี้ (สมาร์ทโฟน) ก็เลยต้องอาศัยเปิดดูจากตู้ (โทรทัศน์) เอารีโมทกดไปมายังพอทำเนา อยู่ในมือถือกดไม่ได้ไม่รู้เรื่อง ต้องไปนั่งจำรหัสมันอีก อาตมาก็เลยไม่ไหว ก็ไม่เคยใช้ อาตมาทำไม่เป็น ทำเขียนหนังสือได้นี่ก็เก่งแล้วทุกวันนี้ 

 

ช. ปริเฉทรูป 1 = 15.อากาสธาตุ=รูปที่กำหนดจะให้ว่าง 

ซ. วิญญัติรูป 2 = 16.กายวิญญัติ  17.วจีวิญญัติ ไหวให้รู้ 

ฌ. วิการรูป 3 = 18.ลหุตา  19.มุทุตา  20.กัมมัญญตา 

ญ. ลักขณรูป 4 = 21.อุปจยะ ความเกิดอยู่เจริญขึ้นไป  

22.สันตติ ความเชื่อมต่อสืบเนื่อง 

23.ชรตา เคลื่อนไปสู่ความเสื่อม 

24.อนิจจตา เคลื่อนไปเสื่อม>เจริญ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตำราพิชัยสงคราม พรหมชาลสูตร ตอน 1 วันพุธที่ 20 กันยายน 2566 ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 10 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 14 ธันวาคม 2566 ( 12:07:38 )

ศึกษา เรื่องจิต เจตสิก

รายละเอียด

สิ่งเหล่านี้ มีรายละเอียดมาก ศึกษาดีๆแล้วจะรู้ เรื่องจิต เจตสิกมันก็มีตื่นกับหลับ มีตายกับเกิด มีสุดท้ายคือ มีกับไม่มี สุดท้ายเราก็จัดการความมีให้ไม่มี อะไรที่เราจะทำให้ไม่มี กิเลส หยาบ กลางละเอียด ที่เกิดในจิตเรา จนมันไม่มี มันไม่มีแล้วมันก็ไม่เกิดอีกในจิตเรา จนจะดึงมันกลับมารู้สึกอีก ไม่ได้ โอ้โห.. อันนี้อาตมาก็เจอกับตัวเอง อย่างเช่น รสอร่อยที่พูดกัน อาตมาดึงกลับคืนมาไม่ได้ กินอาหารเพื่อจะให้ได้ปริมาณ เพื่อจะยังขันธ์ ไปแต่ละวัน ใช้เวลา 2 ชั่วโมงเคี้ยวไป ไม่ได้กินด้วยความหิวกระหายความตะกละตะกราม ความเอร็ดอร่อย มันช้านาน กว่าจะได้ปริมาณพอที่จะเลี้ยงขันธ์

ซึ่งก็พยายามอยู่ แต่ฟื้นขึ้นมาบ้างนิดๆหน่อยๆก็เอา ก็พอเป็นพอไป อย่างเขาสนุกสนาน ไม่ใช่แต่เรื่องกินหรอก ดูเรื่องเขาสนุกสนาน เขาโกรธ เขาแค้น ดูอารมณ์เราจะไปกับเขายังไง เขาจริงเขาจังสนุกกันเล่น อาตมาก็พยายาม พยายามร้องเพลง พยายามรื่นเริง แต่ว่าเรื่องเศร้าๆสร้อยๆ เรื่องที่มันไม่ดี มันบั่นทอนกำลังมาก อาตมาไม่ทำหรอก ก็ทำแต่เบิกบานร่าเริงไปเท่านั้นเองที่เห็นได้ ใครคบใครได้อยู่ใกล้ชิดสัมผัสสัมพันธ์อยู่ก็จะเห็นอาตมาเป็นเช่นนั้น อธิบายอีกที สรุปว่า ศึกษาปฏิบัติธรรมเอาเอง แล้วจะรู้ความจริง ไอ้ที่พูดนั้นนิยายไม่รู้กี่เรื่องก็เล่ากันไป ก็ตอบให้ได้ว่า ไอ้ที่พูดกันนี้ คนเขานึกว่ามันมีมันก็มีได้ จะเป็นเรื่องหลอกตัวเองโกหกก็ได้ เป็นอุปาทาน มีได้ แต่ที่จริงแล้วคนส่วนใหญ่เขาไม่มีอย่างนั้น คุณบ้าอยู่คนเดียวตอบง่ายๆ 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 31ประชาธิปไตยจะให้คะแนนกันอย่างไร ตอน 1 วันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม 2566 ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 8 เดือน 8 เดือนที่ 2 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 16 กันยายน 2566 ( 14:07:26 )

ศึกษากามและอัตตา

รายละเอียด

สรุปแล้วศาสนาพุทธมี 2 อย่างนี้ เรียนกาม อัตตา แล้วมาลด กาม อัตตา

คุณหมดกาม ก็เหลืออัตตา กามที่ต้องล้างคือ ราคะ พยาบาท ถ้าคุณไม่ต่อให้มันหมดไปหมดไปให้จบสิ้นอีก อนาคามีจะเหลืออัตตา กามหมด ถ้าคุณไม่เร่งทำอัตตาให้หมดอีก มันจะขยายกลับมาเป็นกาม หมุนมาเป็นกาม เพราะฉะนั้นต้องเร่งทำต่อให้จบให้หมดเลย แล้วกามมันก็จะไม่เกิดอีก ประมาทไม่ได้

สรุปแล้วถ้าไปเข้าใจธรรมะพระพุทธเจ้าที่ท่านสรุปไว้ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรพระสูตรแรก ก็ให้ศึกษากามและอัตตา ลดกาม ก็อย่าไปยึดมั่นถือมั่นในอัตตา

สมมุติว่ากามมี 100 หน่วยทำให้หมดไปได้ 25 หน่วย แล้วคุณก็จมอยู่ที่นี่ เสร็จแล้วกามก็ดึงออกมาอีกได้ มันต้องกลับมาหาเอาพลังที่ได้เป็นตัวรวมของพลังรวม เป็น static ของการฆ่ากาม เอาตัวนี้เป็นตัวตั้ง กามหมด 25 เป็นโสดาฯก็เอาให้หมดกามของสกิทาฯอีก 25 ก็จะมีต้นทุนของการฆ่ากามนี้ได้ ลดกามต่อ กามก็หมดไป 50 เหลืออีก 50 ลดไปอีก 25 ลดได้ 75 ก็เบา เหลือรูปราคะ อรูปราคะอีก 25 ก็ล้างไปอีก หมดเกลี้ยงเลย ทีละส่วนที่ละควอเตอร์ ทีละ 25

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการวิถีอาริยธรรม บ้านราชฯ หัวใจประชาธิปไตยครบสูตร 2 หมวด 3 ประการ วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม 2561 ที่บวรราชธานีอโศก

สื่อธรรมะพ่อครู(อาริยสัจ 4) ตอน ความเป็นกลางคือหมดสิ้นอันตา


เวลาบันทึก 28 กุมภาพันธ์ 2564 ( 20:12:46 )

ศึกษาความ หยุดวนเวียน

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นคนที่ไม่ศึกษาความเป็นคน หรือความเป็นสังคมที่คุณจะเกิดอีกกี่ชาติ ถ้าคุณวิบากไม่ดีก็ไปเวียนวนเป็นสัตว์นรกมาเป็นสัตว์เดรัจฉาน ก็รู้ได้ยาก จะวนเวียนไปถ้าไม่ได้เรียนรู้อันนี้มันจะวนเวียนนับไม่ถ้วนเลยชีวิต ชีวิตไม่มีจบกิจ 

จบกิจ คือ หยุดวนเวียน ชีวิตของอรหันต์ คือ ชีวิตของผู้ที่จะตายแล้วสามารถแยกธาตุจิตนิยามของตนเองออกเป็นอุตุนิยาม เป็นดินน้ำไฟลมไปได้เลย ไม่มาจับตัวกันเป็นจิตนิยามอีก อัตภาพเราก็สูญสิ้น สลายไม่เวียนตายเวียนเกิดในวัฏสงสาร ในภพชาติไหนๆอีกเลย หรือจะอยู่ก็อยู่อย่าง ไม่มีตกต่ำ ไม่มีทำความชั่ว ไม่สุขไม่ทุกข์ มีแต่เป็น จะว่าจริงๆ แล้วมีวิญญาณ แต่ยิ่งกว่าวิญญาณเพราะว่ายิ่งกว่าโรบอท ยิ่งกว่าหุ่นยนต์ ที่ไม่สุขไม่ทุกข์กับโลกนี้ แต่รู้ว่าสิ่งนี้ดีสิ่งไม่ดีไม่ทำจริงๆ ตามสมมุติของแต่ละกลุ่ม ซึ่งไม่เที่ยง สมมุติกันคนละอย่าง ชัดเจนหมด แล้วก็เป็นคนไม่มีโทษไม่มีภัย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ เกิดมาต้องรู้จักความเป็นคนกับสังคมจึงไม่เสียชาติเกิด วันศุกร์ที่ 21 เมษายน 2566 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 27 เมษายน 2566 ( 11:39:26 )

ศึกษาความผูกพัน-ความสัมพันธ์ กรณี บี-ประทับใจ ตอน 1

รายละเอียด

วันนี้วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม 2566 ขึ้น 10 ค่ำเดือน 7 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 

วันนี้เรามีศพ อยู่ข้างหน้าอาตมานี่ตั้งอยู่ข้างหน้าอาตมานี่เป็นศพของ นางสาวประทับใจ รักพงษ์อโศก ซึ่งเพิ่งเสียชีวิตไป เมื่อวานนี้ ถูกรถจักรยานยนต์ชนในขณะที่ไปทำงานแล้วรถมันเสียน้ำมันหมด แล้วลงมาจากรถเอาไฟมาส่องถนนมันเป็นที่มืดๆ รถมอเตอร์ไซค์มาจากไหนไม่รู้ซัดตูมเดียวซี่โครงหัก ขาหัก แล้วก็เลือดตกใน ช่วยกันไม่ทัน ก็สิ้นชีวิตไปเสียก่อน 

ชื่อเล่นของประทับใจเขามีชื่อว่าบี เป็นชาวอโศกเราจนกระทั่งอยู่ในตระกูลรักพงษ์อโศก ซึ่งมีท่านซาบซึ้ง สิริเตโช เป็นต้นตระกูล เมื่ออยู่กับพวกเราแล้วก็อยู่กันอย่าง ชาวอโศกจริงๆมานาน โดยเฉพาะเป็นครูด้วยสอนเด็ก สอนนักเรียนมามากมายหลายรุ่น เป็นครูตัวอย่างที่ทุกคนควรจะต้องได้ศึกษาอย่างดีชีวิตเขา เขาได้ประพฤติเขาได้กระทำ ทำงานไปด้วยศึกษาไปด้วย ปฏิบัติธรรมไปด้วย ครบสูตรของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ไปปฏิบัติธรรมหนีเข้าป่าเขาถ้ำหลับตาสะกดจิตไม่ใช่ อันนั้นมันของเดียรถีย์นอกรีตมันผิดมิจฉาทิฐิ แต่ของพระพุทธเจ้าที่อาตมาพาทำปฏิบัติลืมตามีอายตนะ 6 รับรู้ทางทวาร ตาหูจมูกลิ้นกาย แล้วก็ทำงานเกี่ยวเนื่องกันมีอายตนะต่างๆ โยงใยจิตวิญญาณภายนอกกับภายใน แล้วก็รับรู้ตัว 

ถ้าดูที่ชื่อว่าอายตนะคือมีทั้งภายนอกภายในระหว่างนามรูปวิญญาณอายตนะ สัมพันธ์กันเกิดเป็นสามเส้า วิญญาณแล้วก็แยกเป็นนามรูปมี 2 สภาพนามกับรูป ตั้งแต่รูปภายนอกแล้วก็มีภายในกำหนดรู้เป็นกาย เห็นรู้ชัดเจนอยู่ เรียกว่าอายตนะเป็นสภาพเชื่อมต่อระหว่างภายนอกภายใน ระหว่างกายระหว่างจิตอันนี้เป็นต้น 

ซึ่งพวกเราศึกษากันมารู้จักสภาวธรรมจากพยัญชนะจากภาษาที่อาตมาหยิบมาเป็น อุเทส เป็นคำอธิบายขยายความแล้วสามารถมีธาตุรู้มีปัญญามีสัญญากำหนดสภาวธรรมต่างๆ พวกนี้รู้ด้วย ทั้งพยัญชนะและสภาวะมารวมเป็นอันเดียวกันเรียกว่าอายตนะ แล้วก็ปฏิบัติตนมา กำลังจะทำปริญญาเอก จวนจะดีเฟน กำลังจะได้ปริญญาเอกแล้วก็บอกอาตมาอยู่ว่า อย่างไรปีนี้ก็คงได้จบปริญญาเอก อาตมาก็ถามเขาอยู่เสมอ เขาก็ตั้งใจทั้งทำงานทั้งปฏิบัติธรรมทั้งสอนหนังสือ ครบครัน เพราะฉะนั้นจึงมีความสำคัญสัมพันธ์ มีกับพวกเราจนกระทั่งพวกเราได้เผลอ ไปมีความผูกพัน 

สัมพันธ์กับผูกพันนี้ต่างกัน ผูกพันคือสังโยชน์คือความติดยึดผูกพันกันจะไม่พรากจากกันว่างั้นเถอะ เพราะฉะนั้นมันก็เลย ทั้งๆที่พวกเราศึกษาธรรมะศึกษาอย่างเห็นๆอ่านอาการรู้สภาวะอย่างอื่นๆ รู้แจ้งในภาวะมีสติสัมปชัญญะปัญญา มีสติตื่นเต็มทั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม รู้เห็นอาการของจิตเจตสิกรูป แต่เราไม่ถึงขั้นให้จบเป็นนิพพานได้ นี่แหละก็ต้องศึกษากัน 

ศึกษาถึงจิตที่มันผูกพันไม่รู้จักจบ ฟังเรื่องของความผูกพันกับความสัมพันธ์ให้ดีๆ สัมพันธ์มันต้องเกี่ยวข้องกันสัมพันธ์คือการเกี่ยวข้องกันทำงานร่วมกันอยู่ด้วยกัน ส่งเสริมกัน ขัดเกลากัน ทำประโยชน์แก่กันและกันจนกระทั่งมีประโยชน์มากขึ้น สร้างสรรมีประโยชน์ต่อผู้อื่นทั้งวัตถุทั้งพฤติกรรม กายกรรมวจีกรรมมโนกรรมทั้งความรู้ความคิด ปัญญา เชื่อมโยงกันอยู่ไม่ขาดตลอดเวลา 

เป็นคนมีปัญญาเป็นคนมีการศึกษาเป็นคนไม่เสียชาติเกิดคือ ชีวิตนี้ก็ได้อาศัยชีวิตอยู่ และรู้จักทุกข์รู้จักสุข และก็ได้ลดทุกข์ อาศัยสุขซึ่งเป็นการใช้อาศัยภาษาพยัญชนะมาใช้ ลำลอง ให้เป็นการติดยึดอารมณ์นั้นไม่ใช่ แต่มันก็ยิ่งกว่าอารมณ์นั้นเรียกว่า ปรมังสุขัง เป็นอารมณ์ที่ยิ่งกว่าสุข เขาเรียกว่าสุขคนโลกๆคือการบำเรอ แต่ยิ่งกว่าสุขนี้ไม่มีการบำเรอเป็นแต่เพียงอารมณ์หรืออาการความรู้สึกที่อาศัย ให้เป็นความรู้สึกที่เพียงอาศัยกันอยู่เท่านั้น จึงเป็นผู้ที่รู้สภาพที่เรียกโดยโลกๆว่าทุกข์กับสุข รู้ทั้งสภาพที่ไม่มีและสภาพที่ยังมีสภาวะที่เหลือ บางๆเบาๆ เล็กๆน้อยๆ มันก็มีอยู่เรียกว่า อนุสยะ น้อยคืออนุ สยะ คือตัวตน ยังมีตัวตนน้อยๆนิดๆ ไม่ถึงขั้น สกะ และไม่เป็นถึงขั้น สวะ 

สยะ สวะ สกะ สยะนี้ น้อยกว่าเพื่อน ย ล ฬ ว ส ห

สยะตัวนี้ คือเศษวรรค สักกายะ สักกะ เป็นตัวตนที่เต็มรูป หยาบ รู้ยาก ศึกษาลดสักกะ แล้วมาลด อาสวะ แล้วมาลดอาสยะ หรือจบด้วยอาศัย อาสยะ เพียงแต่รู้จัก สยะ แล้วอยู่กับ สวะ อาสวะหมด ยิ่ง สกะ ให้หมดก่อนเลย มันหยาบ ตัวตนที่เป็นสักกะ เช่น สักกายะ เป็นต้น

ผู้รู้ใช้พยัญชนะแล้วก็รู้จักสภาวะศึกษาจนสามารถลดกิเลสตัวนั้นลงได้ พระพุทธเจ้าสอนเราถึงความทุกข์ทั้ง 10 แม้พระพุทธเจ้าบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณแล้วก็เลี่ยงไม่ได้เรียกว่าเป็นทุกข์ที่เลี่ยงไม่ได้ 6 อย่าง ฟังดีๆนะพวกเรายังมีทุกข์อยู่ มี โศก ปริเทว ทุกข  ยังมี โทมนัส ยังมี อุปายาสะ อยู่ นี่คือคนที่ยังไม่รู้ความจริงยังมีโศกอยู่ ทั้งๆที่พวกเราคือพวกที่ไม่โศกแล้วบรรลุความโศกเป็นอโศกแล้ว แต่ก็มีผู้ที่ยังไม่บรรลุมีความโศกอยู่ ยังมีแค่พิรี้พิไร ติ่งต่องๆ แหม่นี่ พรากจากกันตายจากกัน เรามีชีวิตเคยร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมประโยชน์ร่วมสร้างสรร ร่วมเรียนรู้ ร่วมอาศัยซึ่งกันและกันสัมพันธ์กันอยู่ มีความสัมพันธ์ด้วยกันมา แต่เสร็จแล้วมาตายจากกัน 

มีใครจะไม่ตายจากกัน มีไหม ใครจะไม่ตายจากกันเลยตลอดนิรันดร ยกมือ เด็กก็เข้าใจผู้ใหญ่ก็เข้าใจ ไม่มีใครจะไม่ตายพรากจากกัน ถ้ายิ่งเข้าใจลึกซึ้งไปว่าคนเรานี้ตายพรากเฉพาะร่างกายนี้แต่จิตวิญญาณไม่พรากจากกันง่ายๆ ถ้าหากผูกพัน 

ถ้าผูกพันก็จะต้องมาเจอกัน แม้จะผูกพันแบบอาฆาตก็ต้องมาเจอกัน ผูกพันแบบรักใคร่ก็ต้องมาเจอกัน แล้วก็เกิดบุพเพสันนิวาส จะเป็นนิทาน เป็นเรื่องของการอาศัยร่างกายอาศัยชีวิต อาศัยบทบาท อาศัยเรื่องราวที่เราเคยสร้างนิยายร่วมกัน ไม่ว่ารัก ไม่ว่าโกรธ ไม่ว่ารักหรือชัง สร้างหนังมาเป็นล้านๆเรื่องแล้ว แล้วก็เห็นกันดูกันไปเป็นเรื่องเป็นราว จึงไม่ใช่เรื่องไม่จริง เป็นเรื่องจริง 

อาจจะเป็นเรื่องปรุงแต่งบ้าง เสริมเรื่องนั้นเรื่องนี้ให้มันหวือหวากว่าเวิ่นเว้อไปหน่อยบ้างแล้วแต่ แต่มันจริง มันก็มีโลภโกรธหลง หนังนี่เขาเอาเรื่องของความโลภความโกรธความหลง มาเป็นรสชาติ ปรุงแต่ง แล้วก็สร้างเป็นลีลาของผู้แสดงตัวแสดงออกมา เป็นหนังแต่ละเรื่องทุกเรื่องแค่นั้นแหละ ใช้โลภโกรธหลงเท่านั้นแหละมาสร้าง ทีนี้พระพุทธเจ้าสอนเราถึงทุกข์อีก 4 อย่างที่มันเป็นเรื่องรสชาติของความโลภโกรธหลง เป็นทุกข์ 4 อย่างที่พระพุทธเจ้าบอกว่าอันนี้เลี่ยงได้ 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 24 ศึกษาความผูกพัน-ความสัมพันธ์ กรณี บี-ประทับใจ วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม 2566 ขึ้น 10 ค่ำเดือน 7 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2566 ( 15:38:27 )

ศึกษาความผูกพัน-ความสัมพันธ์ กรณี บี-ประทับใจ ตอน 2

รายละเอียด

มาเข้าสู่พวกเราที่ยังมีทุกข์อันโง่ ยังมีทุกข์อันโหยหา ผูกพันกับบีเขา เขาตายก็คือตาย เลี้ยงลูกให้รู้จักโต เลี้ยงพ่อแม่ให้รู้จักตาย อาตมาเคยใช้โศลกนี้ ผู้ที่จะต้องตายก็ต้องตาย ผู้ที่จะต้องโตก็ต้องรู้ว่าเขาโตแล้วนะ อย่าทำเป็นเหมือนเขายังเล็กอยู่ เขาเป็นอธิบดีแล้วก็ยังบอกว่าลูกเอ๋ย ปัดโธ่ เขามีลูกน้องมีความเป็นผู้บริหารก็ยังเลี้ยงเขาเหมือนเป็นลูกแหง่ยังไม่รู้จักโต เขามีวุฒิภาวะ มีความรู้ความสามารถที่จะทำอะไรกับสังคมได้ยิ่งกว่าเราแล้ว เราเลี้ยงเขาแล้วโตขึ้นเราก็รู้จักวาระที่จะจบ เพราะฉะนั้นเลี้ยงลูกให้รู้จักโต เลี้ยงพ่อแม่ให้รู้จักตาย 

แม้ว่าบีเขาไม่ใช่พ่อแม่จริงแต่ก็เหมือนกับพ่อแม่ที่เลี้ยงดูเด็กๆมันผูกพัน นี่แหละมันทุกข์เพราะว่า ความผูกพันเรียกว่า สังโยชน์ สังโยชน์เป็นความผูกมันเป็นทุกข์ อย่างไรอย่างไรบีก็ไม่ฟื้นตายแน่ แล้วมะรืนนี้ก็จะเผาร่างเป็นเถ้าถ่านไป จิตวิญญาณของบีไม่ได้ตกต่ำ จิตวิญญาณของเขาได้รับการศึกษา ได้รับการเรียนรู้ปฏิบัติพัฒนา เจริญ เจริญไปเรื่อยๆ ไม่ได้ตกต่ำ ไม่มีทุคติ มีแต่สุคติ มีแต่ที่ไปที่เจริญสูงขึ้นไปหาที่สุดที่สูงไปเรื่อยๆ 

เขาเจริญในทางโลกก็เจริญ มาเป็นนักกสิกรรม เป็นกสิกรแข็งขันเป็นกระดูกสันหลังของชาติ มาช่วยพวกเราสอนพวกเด็กๆ พวกเราหรือผู้ใหญ่ก็ตามพากันทำ ทำงานด้วย สร้างสรรไปด้วย ศึกษาธรรมะไปด้วย ศึกษาทางโลกก็เรียนจนกระทั่งจะจบด็อกเตอร์ เราก็ไม่ได้ไปเห็นว่า อย่างด็อกเตอร์เขา เป็นไปไม่ได้ เราก็เป็นได้ แต่แม้จะเป็นได้ พวกเราหลายคนจบด็อกเตอร์แล้วไม่เห็นจะไปเอาตำแหน่งด็อกเตอร์ไปรับจ้างทำงาน รับสินบาทสินบนอะไรจากคนอื่นเขา เลี้ยงตัวเองไม่ต้อง อยู่ในนี้แหละมี ปริญญาใบประกาศใบรับรองเป็นดอกเตอร์ได้แล้วก็อยู่ในนี้ แต่ก็ทำงานอยู่กับพวกเรานี่แหละ มีงานหลายอย่างถนัดอะไรก็ทำกันไป 

งานที่จะเป็นประเภทคิด ประเภทเป็นงานด้านเอกสารด้านความรู้ด้านสังคมข้างนอก หรือสัมพันธ์กับข้างใน จนกระทั่งถึงอยู่กับดินหินปูน อยู่กับพืชพันธุ์ธัญญาหาร ก็อยู่นี่แหละก็ช่วยกันทำไป สร้างสรรไป พิสูจน์ความจริงอันนี้กันในสังคม อาตมาจะพาพิสูจน์ว่า ผู้ที่เจริญควรยกย่องและมีค่ามีประโยชน์แก่โลกที่สุดคือกสิกร กสิกรเป็นผู้สร้างสิ่งอาศัย 1 ในโลก กสิกรคือผู้สร้างอาหารในโลก อาหารเป็นหนึ่งในโลก พระพุทธเจ้ายืนยันและก็จริงที่สุด เราเจริญคือสร้างอาหารให้ดี ให้อุดมสมบูรณ์ สร้างอาหารให้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์คุณค่าแจกไปทั่วโลก 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 24 ศึกษาความผูกพัน-ความสัมพันธ์ กรณี บี-ประทับใจ วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม 2566 ขึ้น 10 ค่ำเดือน 7 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2566 ( 12:18:14 )

ศึกษาความผูกพัน-ความสัมพันธ์ กรณี บี-ประทับใจ ตอน 3

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นวันนี้ แม้เป็นวันที่เรามีผู้ที่อยู่ร่วมกับเราจากไป ก็จงเอามาเป็นอุทาหรณ์ มาเป็นตัวอย่างในการที่จะเกิดความรู้ปฏิภาณ ที่จะได้รู้ได้รับเข้าใจเพิ่มขึ้นอีกว่า เราเสียสิ่งนี้แต่เราได้อีกสิ่งหนึ่ง เราเสียคน ไม่ใช่คนเลวนะ ถ้าเราถูกพญามัจจุราชพรากคนไปคนนึง แต่เราก็จะได้ความรู้ ได้กำลังใจ ได้ว่าเราจะดำเนินชีวิตกันอยู่ เราจะมีคติในการดำเนินไปอย่างดี สุคติอย่างไร อย่าไปเข้าใจว่าสุคติตายไปแล้วจะไปสู่สุคติ ตายไปแล้วจะไปสู่ทุคติ ไอ้อย่างนั้นเป็นการพูดประโลมใจเท่านั้นเอง แต่อันนี้เป็นปัจจุบันธรรม อย่างไร เราจะดำเนินต่อไปอย่างสุคติเราจะดำเนินชีวิตต่อไปอย่างดี เราเข้าใจว่าควรจะประกอบกรรมอย่างนี้ ควรจะกระทำอย่างนี้  ควรจะคิดอย่างนี้ มีแนวคิด มีการสร้างสรรค์อย่างนี้ มีการประพฤติอย่างนี้ กระทำอย่างนี้ให้เจริญ แล้วเราก็ได้อาศัยเผื่อแผ่ให้คนอื่นได้อาศัย อย่างนี้ต่างหากคือสิ่งที่ประเสริฐ 

อาตมายังมีชีวิตอยู่ ยังจะพาดำเนินไปอีก ตั้งใจจะอยู่ให้พอสมควร นี่เขาจะฉลองให้อาตมาก็รับการฉลอง เพราะว่าจะเป็นการเรียกว่าส่งเสริม ถ้าบอกว่าโฆษณามันเหมือนตีฆ้องร้องป่าว ไม่ถึงขั้นนั้น นี่เป็นเพียงการโปรโมทส่งเสริม ให้คนได้ฟัง ให้คนได้เห็น ให้คนได้เข้าใจว่าพากันมาทำอย่างนี้นะ เช่น กำลังจะโปรโมทอาตมา กำลังจะส่งเสริมอาตมาว่าอาตมาพาทำอย่างนี้ อาตมาพาทำกันมาตั้ง 50 กว่าปีแล้ว ตั้งแต่เลิกจากทางโลกออกมาบวช พ.ศ. 2513 มาถึงวันนี้ 50 กว่าปี ก็พาส่งเสริมให้พวกเรามีชีวิตจนกระทั่งเป็นตัวอย่างชุมชนสาธารณโภคีกันขนาดนี้ 

ซึ่งเป็นเรื่องยืนยันต่อสังคมโลกว่าพาคนมาเป็นอย่างนี้มันเป็นสุคติอย่างไร เป็นปกติหรือสุคติ พาดำเนินไปสู่สิ่งดีคือสุคติ หรือมันพากันไปสู่สิ่งไม่ดีเป็นทุคติกันจริงๆ นี่มาพิสูจน์เรื่องปัจจุบันธรรม พฤติกรรมจริงมีให้เห็น ยืนยันจับต้องได้ เป็นทั้ง ฟีโนมิน่า เป็นทั้ง scenario เป็นทั้งปรากฏการณ์เป็นทั้งสถานการณ์ Scenario คือสถานการณ์ ฟีโนมิน่าคือปรากฏการณ์ ที่อาตมาพาทำทั้งปรากฏการณ์ทั้งสิ่งที่เป็นสถานการณ์ ที่ให้คนยืนยันพิสูจน์ได้ ว่ามันเป็นสิ่งที่มนุษย์ควรได้ควรเป็นควรมีกัน เป็นสิ่งที่เราจะได้เข้าใจและเราก็จะได้มาพากันทำจริงๆให้เกิดปรากฏการณ์ แล้วก็กลายเป็นสถานการณ์ที่เราได้อาศัย เป็น scenario อาศัยรับรองชีวิต 

แล้วคนอื่นเขาก็จะได้เห็นเป็นฟีโนมินอลเป็นฟีโนมิน่า เป็นปรากฏการณ์ที่กระจายเผยแพร่ phenomena เป็นพหูพจน์ให้ได้รับรู้ได้รับเข้าใจ ว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งประเสริฐเป็นสิ่งที่ควรได้ควรมีควรเป็นกัน เอาล่ะอาตมาใช้เวลามาพอสมควรชั่วโมงครึ่ง จะต่อไปอีกก็ยังรู้สึกว่ายังมีกำลังอยู่ ก็ลงไปสู่ที่ตอนนี้เรามีผู้พรากจากไปเป็นผู้ที่เราก็ได้อยู่ร่วมกันมา มีประโยชน์ร่วมกัน มีเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม ร่วมกันมาแล้วด้วยสังคมสาธารณโภคี สังคมที่เรามีส่วนกลางอาศัยใช้สอย แล้วเราก็พากเพียรปฏิบัติตนด้วย ทิฏฐิสามัญญตา ศีลสามัญญตากันไป 

มันก็จะมีคนแล้วคนเล่าแบบนี้ ไม่ใช่ว่าบีเป็นคนที่ตายคนแรกในพวกเรา ก็มีคนที่ตาย ที่เราก็เคยผูกพันอาลัยอาวรณ์กันมาแล้ว จนกระทั่งถึงบีขณะนี้เป็นปัจจุบัน ซึ่งอาตมา บ่นไปไม่กี่วันผ่านไปเฮือนสุดชีวิต ว่า เฮือนสุดชีวิตไม่ได้ทำงานมานานแล้ว ไอ้หยา มาถึงวันนี้ต้องได้ทำงาน ไม่น่าบ่นเลย ไม่ได้หมายความว่าอาตมาบ่นมันก็จะต้องเกิดไม่ใช่หรอก พอดีมันมีจังหวะก็นำมาพูดไปเท่านั้นเอง มันก็เป็นสัจธรรมของชีวิตมนุษย์ ที่นี่แหละเกิดมาก็มาอาศัยซึ่งกันและกันส่งเสริมกัน ช่วยเหลือกันและพากันให้เจริญ เจริญๆ ไปสู่สุคติ เจริญๆไปสู่การดำเนินชีวิตที่ดีๆๆ ยิ่งขึ้น รู้จักทิศทาง ไม่ต้องไปใช้ความคิดที่งมงายไปชาติหน้าสุคติ ชาติหน้าจะเป็นวิญญาณ ไม่เราทำวิญญาณปัจจุบันเราในปัจจุบันนี้ ธาตุจิตธาตุวิญญาณให้เข้าใจให้มีพลังงานทางกาย วาจา ใจ แล้วก็สร้างพลังงานกายกรรมพลังงานวจีกรรม ซึ่งมาจากมโนกรรมที่เป็นประธาน ช่วยกันเจริญขึ้นไปเรื่อยๆ 

ซึ่งมันเป็นโลกเป็นสังคมมนุษย์ที่อาตมา แหม ในจิตลึกๆของอาตมานี้อาตมาเข้าใจว่า คนอย่างพวกเราที่เป็น มันเป็นคนที่ถอด ถอดรหัส ถอดเอาความรู้มาจากพระพุทธเจ้าได้จริงๆเลย ตรงกับที่คำสอนพระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้แล้วเอามาประกาศ พวกเรานี้ได้รับถ่ายทอดมาได้ ถอดแบบออกมา มาเป็นคนที่เหมือนพระพุทธเจ้าพาเป็น มาเป็นคนมีวรรณะ 9 มาเป็นสังคมสาราณียธรรม 6 สำเร็จ อาตมาว่าอาตมาพูดไว้วันนี้ คนจะเข้าใจที่อาตมาพูด สรุปๆว่า มาเป็นคนวรรณะ 9 เป็นคนอย่างไร เป็นคนสาราณียธรรม 6 มันเป็นคนอย่างไร นี่แหละมันเป็นเรื่องอย่างนี้แหละครับ อย่างนี้แหละเชิญมาดูสิ เชิญมาสัมผัสมาศึกษา อย่าไปหลงระเริงไปใช้เวลา ใช้แรงงาน ใช้ความเกิด ความตาย อยู่กับไอ้นู่นเสียชาติเกิดมาหลายชาติแล้ว มาเลยลัดๆ มาเลย คัดสั้นเข้ามาเลย ลัดๆคัดสั้นมาที่นี่เลย ตรงจุดที่มนุษย์พึงได้พึงมีพึงเป็นกัน นี่สุดยอดเลย 

เพราะฉะนั้นอาตมาเกิดมาชาตินี้อาตมาไม่ได้สงสัย ไม่สงสัยคำสอนพระพุทธเจ้า ไม่สงสัยว่า ที่ได้เอาคำสอนของพระพุทธเจ้ามาถ่ายทอดนั้น จนกระทั่งพวกเรามาเรียนรู้แล้วก็มาปฏิบัติประพฤติได้ขนาดนี้ ยิ่งสำทับให้อาตมาเห็นจริง ว่ามันเป็นไปได้ยาก แต่มันก็เป็นไปได้ ท่ามกลางโลกที่เทียบเคียงคนทั้งโลก 7,000 ล้านกว่า เดี๋ยวนี้จะ 8,000 ล้านหรือเปล่าก็ไม่มีใครบอกมา เลยว่าพลโลกมีอยู่จริงๆมากเท่าไหร่เรามีอยู่แค่นี้แหละ 800 หรือ8,000 สวยๆหน่อยตัวเลขก็ 80,000 แต่แปดแสนนั้นยังไม่กล้าพูดว่า ชาวอโศกจะมีถึง 800,000 หรือเปล่า ถ้ามี 800,000 ขึ้นไปในโลกจะเป็นตัวอย่างอันปรากฏขึ้นในโลก ที่คนผู้แสวงหาสิ่งที่ประเสริฐ มนุษย์จะประเสริฐอย่างไร อย่างนี้ มนุษย์ประเสริฐเป็นอย่างนี้ มนุษย์อาริยะ มนุษย์เจริญเป็นอย่างนี้ 

พูดแล้วผู้ที่เขาฟังที่เขาไม่เชื่อ เขาไม่เห็นจริง เขาไม่เข้าใจบอกว่ามาเป็นคนจนหรือว่าเป็นคนประเสริฐ เขาก็ จะเกือบอาเจียนเลย (เอี๋ย) เป็นอาการอาเจียนของเด็กน้อย เขาก็จะไม่เชื่อ แต่นี่มันเป็นสัจจะนะ มันเป็นความจริง มันเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ประกาศได้ อาตมาเห็นว่ามันยังมีเนื้อหายังไม่มาก ยังไม่แน่น ยังไม่หนักพอ จึงพยายามลากสังขาร พยายามลากสังขารนำพากันไปอีก กาลเวลาจะพิสูจน์คนด้วย อาตมาก็จะทำและยืนยันสัจจะที่พูดกันมาก่อนแล้วว่า กาลเวลาพิสูจน์คน มันเป็นการพิสูจน์คนว่าอาตมาพาทำนี้มันเป็นประโยชน์จริงหรือประเสริฐจริงหรือ มันจะค่อยๆยืนยันพิสูจน์ไป พิสูจน์ไปเรื่อยๆแล้วก็จะเปรียบเทียบกับสิ่งที่ไม่ประเสริฐ กับสิ่งที่ประเสริฐเปรียบเทียบกันไป เขาจะเห็นความจริงจะยอมรับความจริงได้ 

ยกตัวอย่างง่ายๆว่าคนไปรวยนี่มันไม่เจริญหรอกมันเสื่อม คนมาจนนี่ต่างหากมันเจริญ คนไปขี้โลภได้ ได้มาได้มา มันเสื่อม แต่คนเสียสละเสียสละให้ไปนี่ต่างหาก เจริญ อาตมาพยายามพาพิสูจน์ความจริงพวกนี้ แล้วคนมาทำได้นี่มันสุดยอดเลย เอาคนมาจนนี่มันเจริญกว่าคนรวย คนมาเสียสละนี้มันดีกว่าคนไปเอาเปรียบ เด็กๆฟังไว้เข้าใจไหม เด็กๆก็เข้าใจได้ ผู้ใหญ่เข้าใจไม่ได้ก็โง่ซะ ไป!ผู้ใหญ่ก็เข้าใจได้ แต่เวลาจริงๆทำกลับกัน พูดแล้วเข้าใจไหมผู้ใหญ่ มาได้เปรียบนี่มันเสื่อม มาเสียเปรียบนี่มันเจริญ ผู้ใหญ่เขาก็เข้าใจแต่เวลาไปทำจริงๆเขาจะไปเอาเปรียบหรือไปเสียสละ เขาก็ไปเอาเปรียบ มันจะตลบตะแลงตอแหลไปถึงไหนกันวะ รู้ก็รู้ว่าเจริญคืออะไร แต่ไม่มาทำความเจริญ เช่นคนเจริญไปทำน้ำเมามอมเมาคนทั้งโลกและได้เงินเยอะๆ มันโง่หรือฉลาดกันแน่ โง่ คุณตอบนะ อย่าไปตอบดังนักเดี๋ยวมันจะสะเทือน เห็นไหม 

เพราะฉะนั้น สัจจะที่กำลังอธิบายแล้วแยกแยะแบ่งเปรียบเทียบให้รู้ทีละคู่ทีละคู่ไปง่ายๆ เราจะเข้าใจว่าเราหลุดพ้นในสิ่งที่เข้าใจผิด แต่ก่อนเราก็เป็นคนอยากได้อยากได้เปรียบอยากไปรวย เมื่อเรามาเข้าใจแล้วเรานึกว่าความเสียสละความเสียเปรียบพูดให้ชัด เสียสละเมื่อเปรียบเทียบแล้วเราได้เสีย เราไม่ได้เป็นผู้ได้ อย่างที่ในหลวงท่านตรัส เราเสียนี่แหละคือเราได้ อ๋อ..อย่างนี้คือความเจริญยิ่งกว่าไปได้ เสียสละนี่คือมันได้ มันดีกว่าไปได้ ไปเอา มาเป็นผู้ให้มันดีกว่าไปเป็นผู้รับ อย่างนี้เป็นต้น 

เพราะฉะนั้นมาศึกษาดีๆชีวิตเราเกิดมาเป็นคนในชาตินี้ อาตมาพูดไม่รู้กี่ทีแล้ว มันสงสารคนที่เขาไม่เข้าใจชีวิตอย่างพวกเรา ดีไม่ดีมาด่าพวกเราด้วย มันน่าสงสารคนพวกนั้น เขาตามืดตาบอด เขาไม่รู้เลยว่า นี่แหละคนดี นี่แหละคือคนพากันมาประเสริฐ เป็นคนที่จะมี เป็นคุณค่าเป็นประโยชน์แก่มนุษยชาติแก่โลก แก่ตนนั้นก็ได้ แล้วก็จะเป็นแก่ผู้อื่น แก่มวลมนุษย์ชาติต่อไปอีกอย่างนี้ต่างหากเล่า ไอ้อย่างที่พวกคุณไปได้แย่งกันกินสูบดื่มเสพ เอาเปรียบเอารัด ดีไม่ดีฆ่ากัน โกงกัน หลอกลวงกัน จะมีชีวิตอย่างนั้นกันอยู่ทำไม แข่งดีแข่งเด่นกันอีก แล้วไปแข่งดีแข่งเด่นกันทำไม ทำดีแล้วก็จบในตัวแล้วมันจบแล้ว อย่างนี้เป็นต้น 

เพราะฉะนั้นการศึกษาที่จะมาศึกษาธรรมะโลกุตรธรรมเป็นธรรมะที่ฟังแล้วมันทวนกระแสกับแนวคิดของโลกีย์เขา มันคนละเรื่องกัน มันทวนกระแสกัน อันนี้แหละมาพากเพียรในเรื่องนี้มาพยายามในเรื่องนี้เถอะ แล้วเราจะเจริญประเสริฐกันอย่างแท้จริง สำหรับมนุษย์อาตมาก็ว่ามันไม่มีทางอื่นที่จะเจริญที่จะดี จะผิดไปจากนี้ อันนี้มันถูกต้องที่สุดแล้ว อาตมาบังคับความเชื่อคนไม่ได้หรอกอาตมาได้แต่พูดความจริง เพราะฉะนั้นคนจะเข้าใจ คนจะเห็นดีเห็นงามตามด้วย ถ้าผู้ใดเข้าใจแล้วก็อย่าช้า อย่าช้าเลยมาเถอะ มานี่ก็ไม่ได้ปะเหลาะหรอก ไม่ได้อ้อนวอนร้องขอหรอก แต่บอกชี้ความจริงให้ฟังเท่านั้น 

มาทางนี้เราจะไม่เสียเวลา เราจะลัดไม่เสียเวลาไปกับทางโลกมาทางนี้มีแต่ความจริง มาพบทางนี้ ทางนี้จะพาเป็นกลุ่มมิตรดีสหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี ที่จะพาพวกเรา พากันเจริญถ่ายเดียวเพราะ หมู่มิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดีนี้ จะพาพวกเรามายินดี ฉันทะในทิศทางที่ควรจะเป็น แล้วจะพาพวกเรามีศีล แล้วจะพาพวกเราเรียนรู้อัตตา เรียนรู้ตัวตน แล้วจะพาพวกเรามีทิฏฐิที่ตรง ทิฏฐิที่สัมมาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แล้วจะพาพวกเราปฏิบัติ ทำใจในใจ ประเสริฐ ทำใจในใจถูกต้องถ่องแท้แยบคาย โยนิโสมนสิการขึ้นเรื่อยๆ 

นี่ มิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี ได้พบแล้วจะพาเจริญ พาเกิดทิฐิที่สมบูรณ์ พาปฏิบัติธรรมใจในใจให้เจริญด้วยการเริ่มมีศีล จนกระทั่งขัดเกลากิเลสไปเป็นพหูสูตรแล้วเราก็จะรู้ว่า โอ้ ความเจริญแบบนี้มันดีจริงๆ คุณก็จะวิริยะพากเพียรทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ก็ยิ่งเป็นพหูสูตรยิ่งเจริญพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายจบเป็นบัณฑิตเป็นปัญญาข้อที่ 7 เป็นบัณฑิตเลยแล้วก็จะอยู่กันอย่างมีภูมิปัญญาอยู่กันอย่างสังคมบัณฑิต อะไรควรหยุด หยุด อะไรควรพูด พูด อะไรควรทำก็ทำอะไรทำควรสอนก็สอน รู้จบเป็นปัญญาข้อที่ 8 เลย นี่คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้อาตมานำหลักฐานมาอ้างอิงยืนยันว่า อาตมาพาพวกเราทำตรงตามที่พระพุทธเจ้าพา ที่ตรัสไว้พาเป็นพาไปมาตลอดสาย ยิ่งยืนยันความจริงเลยว่าพวกเราปฏิบัติตามแล้วมีความเป็นจริงตรงตามคำสอนพระพุทธเจ้าเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ เป็นปาฏิหาริย์ได้ตามคำสอนพระพุทธเจ้า 

มาเป็นสาธารณโภคีก็ได้ มาเป็นสังคมคนมีศีลเป็นสังคมที่อยู่กันอย่างเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรมก็ได้ เป็นสังคมสาธารณโภคีก็ได้ เมืองจีนเขาอยากได้นะ ประเทศจีนอยากได้สาธารณโภคี สังคมนิยมคอมมิวนิสต์เขาอยากได้อย่างนี้นะแต่เขาทำไม่ได้ อโศกทำได้แล้ว เป็นของส่วนกลางไม่จำเป็นจะต้องแบ่งแยกไป เป็นกงสี 

คนจีนมีกงสีแบบแต่เก่ามาซึ่งปัจจุบันนี้มันเสื่อม แต่ตอนนี้เขาก็เริ่มทำขึ้นมาดีขึ้น เพราะทุกวันนี้จีนเป็นตัวอย่างของโลกที่ดีพอใช้ทีเดียว ก็เป็นมวลใหญ่ แต่ยิ่งไทยแล้วมันซ้อนมีอโศกเป็นแก่นแกน เจริญขั้นสุดยอดเป็นสารานียธรรม 6 มีพุทธพจน์ 7 มีวรรณะ 9 เกิดจริงเป็นจริงขึ้นมาได้ นี่แหละสุดยอดจริงๆ เรียกว่ามนุษยชาติ เพราะฉะนั้นก็ตั้งใจทำให้เจริญขึ้นไป 

 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 24 ศึกษาความผูกพัน-ความสัมพันธ์ กรณี บี-ประทับใจ วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม 2566 ขึ้น 10 ค่ำเดือน 7 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2566 ( 13:13:39 )

ศึกษาคำว่า คลุกคลี คบคุ้น ให้ชัดเจน

รายละเอียด

ผู้ไปนั่งหลับตา สติสัมปชัญญะไม่ครบหรอก ทางกายวาจาไม่มี มีแต่ใจเท่านั้น ..พวกหลับตา อาตมาพูดเท่าไหร่ถึงจะฟื้นลืมตามาเสียทีนะ การจะคบสัตตบุรุษ คุณต้องพบสัตตบุรุษ พบแล้วก็คบ แล้วคบคุ้น คลุกคลี เสวนา ฉะนั้น การคลุกคลีด้วยชนผู้เป็นหมู่ อันนี้เขาก็แปลผิด เบี้ยวบาลี คลุกคลีด้วยชนผู้เป็นหมู่ เป็นความเสื่อม เขาว่าอย่างนั้น ซึ่งคลุกคลีด้วยชนผู้เป็นหมู่ ถ้าเป็นหมู่บัณฑิตไม่มีเสื่อม ถ้าคลุกคลีด้วยหมู่พาลชนเสื่อมแน่ นี่ก็เป็นนัยยะสำคัญอีกเหมือนกัน ถ้าคุณไม่มีมิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี หรือคลุกคลีด้วยชนผู้เป็นบัณฑิต แล้วคุณจะเจริญได้อย่างไร ต้องคบบัณฑิต ต้องสังสรรค์กับบัณฑิต 

แต่ก็มีเหมือนกันคำว่า คลุกคลีนี่เป็นภาษาไทย คลุกคลี หยำเปปนเปไปเละเทะ ไม่เอา ไม่เอาถ่านในการศึกษา ในการที่จะรู้จักกาละเวลาอะไรเท่าไร คลุกคลีกันเล่นหัวสนุกสนาน มัวเมา  มั่วสุม คลุกคลีนั่นแหละ มั่วสุมก็ชัดเจนดี มันไม่ได้หรอกอย่างนั้น มันต้องคบหาสมาคม แล้วก็ศึกษา คุยกันโอภาปราศรัยกัน อาตมาพูดตรงนี้แล้วนึกถึงตัวเอง ชีวิตนี้อยู่กับหมู่มิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี อยู่กับหมู่ผู้ใส่ใจ ผู้ฝึกฝนศึกษา แล้วรู้ กาละ เทศะ ฐานะ เป็นเวลาวาระที่ เขาจะมารบกวนอาตมา เขาไม่กล้า เขาก็รู้กาลเวลา ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดก็รู้เวลาเหมือนกัน แล้วก็ได้คบคุ้นกันกับผู้ที่ใกล้ชิดไป กาละ เทศะ ฐานะ ถ้าหากขยายความแล้วจะยาวมาก 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ที่สุดแห่งพุทธศาสนาคือปัญญาอันปราศจากกิเลส วันพุธที่ 26 ตุลาคม 2565 ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 12 ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 13 ธันวาคม 2565 ( 12:33:00 )

ศึกษาตามธรรมะพระพุทธเจ้าจะได้เป็นบัณฑิตที่แท้จริง

รายละเอียด

สำหรับคนแล้วพลังงานประสิทธิภาพความรู้ความสามารถของคนมันมีมากกว่าสัตว์ใดในโลก มากกว่าเดรัจฉานใดในโลก สัตว์มันอาจจะมีพลังแรงมากกว่าคน ไปปล้ำกับช้างก็สู้ช้างไม่ได้ ปล้ำกับควายก็สู้ควายไม่ได้เลยสำหรับคนนี่ แต่คนนี่ สำคัญที่ฉลาดเหนือ เพราะฉลาดซับซ้อนฉลาดลึกซึ้ง ยิ่งความฉลาดของพระพุทธเจ้าแล้วท่านบอกว่าคนนี้ ถ้าได้ศึกษาตามธรรมะพระพุทธเจ้าแล้ว จะฉลาดมี  คัมภีรา (ลึกซึ้ง), ทุททัสสา (เห็นตามได้ยาก), ทุรนุโพธา (บรรลุรู้ตามได้ยาก), สันตา (สงบระงับอย่างสงบพิเศษ แม้จะวุ่นอยู่), ปณีตา (สุขุมประณีตไปตามลำดับ ไม่ข้ามขั้น), อตักกาวจรา (คาดคะเนด้นเดามิได้), นิปุณา (ละเอียดลึกถึงขั้นนิพพาน), ปัณฑิตเวทนียา (รู้แจ้งได้เฉพาะผู้เป็นบัณฑิต บรรลุแท้จริงเท่านั้น)  (พตปฎ. เล่ม 9  ข้อ 34)

ศึกษาตามธรรมะพระพุทธเจ้าจะได้เป็นบัณฑิตที่แท้จริง ไม่ใช่บัณฑิตที่สอนอยู่ตามมหาวิทยาลัยแต่เป็นบัณฑิตด้วยสัจธรรม ไม่ต้องมีใครมามอบปริญญาหรือใบประกาศใบรับรองให้หรอก จะเป็นบัณฑิตแท้ๆ เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถยอดเยี่ยมจริงๆ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์รายการ โสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 22 วันจันทร์ที่ 4 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 28 มกราคม 2564 ( 20:13:34 )

ศึกษาธรรมะพระพุทธเจ้าจะรู้จักความจริงที่สูงสุด

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นมาศึกษาธรรมะพระพุทธเจ้าแล้ว จะรู้จักความจริงที่สูงสุด ตรงที่สามารถที่จะรู้จักจิตเจตสิก รูป นิพพาน รู้จักวิญญาณที่แท้จริง เริ่มต้นจากอวิชชาคือ ความไม่รู้ เริ่มต้นรู้ว่า อ๋อ.. สิ่งที่มันเกิดเป็นเหตุปัจจัยของจิตนิยามคือสังขารปรุงแต่งกันอยู่ 

สังขารนี่แหละคือวิญญาณ จะไล่ปฏิจจสมุปบาทให้ฟัง อ๋อ.. สังขารนี่แหละคือวิญญาณ 

จะรู้จักวิญญาณต้องแยกแยะนามรูปให้ได้ วิญญาณแยกเป็นนามรูปเป็นเทวะ 2 และเรียนนามคือตัวเราเอง รูปคือสิ่งที่ถูกรู้ ท่านก็ย่นย่อสิ่งที่ควรศึกษาให้รู้ก็คือเวทนา แล้วเวทนาตัวที่โง่ที่สุดก็คือ หลงความสุขความทุกข์ เรื่องดีชั่วนั้นก็รู้ด้วย แต่มันเป็นเรื่องแค่โลกีย์ แต่ความสุขความทุกข์เป็นของโลกุตระ ศาสนาเทวนิยมไม่เรียนรู้เรื่องสุขเรื่องทุกข์ โง่เรื่องสุขเรื่องทุกข์ แล้วหลงว่าสุขมันมี แม้พระเจ้าก็ติดมีความสุข อยู่กับความสุข พระเจ้าเป็นสุขนิยมสุขเที่ยง ศาสนาเทวนิยมสุขเที่ยง 

แต่ของพระพุทธเจ้านั้นมารู้จักวิญญาณ แยกนามรูปศึกษาได้ แล้ววิธีการศึกษาทำอย่างไร ก็ต้องมีผัสสะ พอมีผัสสะก็เกิด อายตนะ อายตนะเกิดต้องมีผัสสะ จะศึกษาได้ต้องมีนามรูปมีสภาวะ 2 มีเหตุปัจจัยกระทบสัมผัสกัน ตัวเดียวมันไม่มีเหตุปัจจัย มันรู้ไม่ได้ มันไม่มีอะไรเทียบ นัตถิอุปมา ไม่มีอะไรจะมาเทียบเคียง

เรียนรู้โดยต้องมี 2 กระทบกันแล้วก็เกิด อายตนะ จึงเรียนรู้อายตนะต่างๆได้ ทีนี้ จะเรียนรู้อายตนะต่างๆ มันต้องเป็นเรื่องของจิต รูปก็เป็นรูปจิต นามก็เป็นนามจิต ยังไม่ใช่แต่ทางจิตในจิต รูปกับนามคุณก็ต้องเรียนรู้ภายนอกก่อน เรียนรู้ตั้งแต่ ต้องมีสัมผัสภายนอก ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ ต้องรู้ความเป็น กาย ต้องรู้ความเป็นสัญญา สัตตาวาส ข้อที่ 1 ในความเป็นสัตตาวาส 9 คือยังไม่หมดความเป็นสัตว์ หากเรียนศึกษาความเป็นกายความเป็นสัตว์ไม่ได้ คุณก็ไม่ได้ศึกษาธรรมะพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านสอนความเป็นกายความเป็นสัตว์ ต้องมีสัญญากำหนดรู้ให้สัมมาทิฏฐิ เรียนรู้กาม ภายนอกภายใน

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ฌานของพุทธต้องเกิดจากจรณะ 15 วิชชา 8 วันพุธที่ 13 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 30 มกราคม 2564 ( 12:04:18 )

ศึกษาธรรมะให้เข้าถึงโลกุตระไม่ติดแค่โลกียธรรม

รายละเอียด

การศึกษาธรรมะนี่ คำว่า คนศึกษาธรรมะ แค่นี้ มันเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ คนไม่ศึกษาธรรมะกัน เขาพอรู้กันว่า ธรรมะดี แต่เขาไม่เสียเวลาไปศึกษาธรรมะ ไม่ตั้งใจศึกษา 1.

2. มาศึกษาแล้วที่จะมารู้โลกุตรธรรมของพระเจ้าก็ยาก ยากที่จะมีภูมิธรรมเพราะยุคนี้เป็นยุคเสื่อมจริงๆ ที่พระพุทธเจ้าพยากรณ์ไว้แล้วว่า โลกุตรธรรมจะสูญสิ้นไปเหมือน กลองอานกะที่มีแต่กลอง ที่มีชื่อว่ากลองอานกะ เหมือนศาสนาพุทธก็ชื่อว่าศาสนาพุทธเหมือนเดิมแต่แก่นแท้เนื้อหาสาระของมันคือโลกุตรธรรมมันไม่มีแล้ว ไม่มีในเถรสมาคมไม่มีโลกุตรธรรม มีแต่โลกียธรรม 

แล้วโลกียธรรมที่หยำแหยะด้วย สมัยพระพุทธเจ้า โลกียธรรมไม่ได้เละเทะเหมือนสมัยนี้นะ สมัยนี้เละเทะหมด อยู่ในบรรพชิตเน่าอยู่ด้วยกันเละเทะเต็มไปหมด ไปตรวจสอบปาราชิก เรื่องเงินทอง ในเถรสมาคมรับรองปราชิกกันนับไม่ถ้วน จริง ตามวินัยของพระพุทธเจ้า ทั้งนั้นเลย กับ ตรวจอุตริมนุสธรรม 2 อย่างนี้มีเยอะในเถรสมาคม กามก็ไม่น้อย เมถุนก็ไม่น้อย แม้แต่ฆ่าคนก็ยังมีเลย ปาราชิก 4 ฆ่าคนแล้วก็ไปบวชอยู่ในนั้น 

คือมันเละเทะ จนอาตมาอยู่ร่วมไม่ได้จึงประกาศนานาสังวาสออกมา ไม่ใช่ว่าอยากใหญ่อยากเด่นอยากดังอะไรหรอก แต่เพราะมันเป็นสัจธรรม มันอยู่ร่วมกันไม่ได้ ก็เลยประกาศนานาสังวาส แล้วท่านก็ยังไม่รู้อีโหน่อีเหน่ ว่าเป็นนานาสังวาส แล้วก็ยังมารวมกันเล่นงานอาตมาอีก ผิดพระธรรมวินัยหมด จัดหมู่จัดพวกมาเล่นงานอาตมาอีก ซึ่งมันอาบัติทั้งนั้น น่าสงสาร เป็นเถรสมาคมแท้ๆไม่รู้อิโหน่อิเหน่ไม่ประสีประสาเหมือนเด็กๆ ไม่รู้เรื่องธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าเลย แล้วทำผิดธรรมวินัย เขาก็อาบัติอยู่อย่างนั้นแก้ไม่ตก ยิ่งเละไปใหญ่

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาสื่อสภาวธรรมโลกุตระ วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 แรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 11 ธันวาคม 2565 ( 14:39:15 )

ศึกษานิพพานต้องรู้แจ้งปฏิจจสมุปบาท 

รายละเอียด

ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมะที่สมบูรณ์แบบตั้งแต่ไม่รู้สังขาร ไม่รู้วิญญาณแล้วก็แยกนามรูปไม่เป็น หรือสรุปมาเป็นอายตนะก็ไม่ได้ จะเริ่มที่เรียนรู้อีกมีผัสสะ มีเวทนา เกิดตัณหา เกิดอุปาทาน เกิดภพ เกิดชาติ ก็ยิ่งไม่รู้ใหญ่เลย เพราะฉะนั้นเมื่อไม่รู้ แม้ว่ามันจะเกิด เกิดอย่างนี้แหละมันจะเป็นสายเกิดไม่ใช่สายดับที่พูดกันเมื่อกี้ 

สายดับก็ไม่รู้ว่าอะไรมันเกิด อะไรคือชาติ เมื่อเกิดชาติมันก็เกิดภพ เกิดภพแล้วก็สั่งสมเป็นอุปาทาน เมื่อมีอุปาทานมันก็เคลื่อนไหวเคลื่อนที่ออกมาเป็นตัณหา เป็นตัณหาก็ออกมาเป็นความรู้สึกมาเป็นเวทนา 

เวทนาสุข สุขเวทนาต้องการสิ่งที่จะบำเรอความรู้สึกสุข ไม่ต้องการทุกข์ก็ดิ้นรนหาผัสสะ เอาผัสสะนั้นมาบำเรอสุข หรือที่จริงก็มาเสริมทุกข์ให้หนายิ่งๆขึ้นด้วยอวิชชาก็เป็นอย่างนั้นแค่นั้น นี่คือปฏิจจสมุปบาท 

เพราะฉะนั้นคนเราจะต้องมาเรียนรู้สภาวะหรืออาการของสังขารมันเป็นยังไง อาการของวิญญาณมันเป็นอย่างไร อาการของรูปของนามมันเป็นอย่างไร จนกระทั่งแยกอาการได้เป็นรูปนามได้เป็นภาวะ 2 ได้ รวมกันเป็นอายตนะก็รู้อาการได้ เพราะฉะนั้นอาการเหล่านี้นี่แหละเป็นอาการทางจิตเจตสิกรูปนิพพาน แล้วจิตเจตสิกรูปนิพพานนี้มันก็ยังติดสุขเกลียดทุกข์ไม่อยากได้ทุกข์ มันก็เป็นภาวะ 2 ที่ดูดและผลักอยู่แค่นั้น 

ก็มาเรียนรู้เวทนา ที่มันดูดหรือผลัก 

จนกระทั่งรู้ว่ามันไม่ต้องดูดต้องผลักอะไรนี่จิตวิญญาณ หรือเวทนาในมนุษย์ เพราะแม้แต่สามัญปุถุชนมันก็มีวาระที่ไม่สุขไม่ทุกข์ อทุกขมสุขเวทนาอยู่เป็นคราวๆเป็นเวลาพัก พักยก มีโดยอัตโนมัติแม้แต่ปุถุชนก็มี เป็นต้น 

แต่มันไม่อยู่นานหรอก  พักยก มันยังโง่มันก็วิ่งหาสุข ก็คือ วิ่งหาทุกข์นั่นแหละ เพราะสุขทุกข์มันเป็นอันเดียวกันมันเป็นมายาหลอก

ถ้าไม่มาเรียนรู้ว่าสุขทุกข์เป็นอารมณ์หลอกเป็นมายา มีศาสนาพุทธเท่านั้นที่ศึกษารู้เรื่องนี้ เทวนิยมในโลกนี้ไม่มีศาสนาไหนที่จะออกจากสุขจากทุกข์ไม่มี 

ผู้เรียนรู้สุขรู้ทุกข์แล้วจึงจะรู้จักอัตตา อนัตตา ได้อย่างแท้จริง ที่แท้ตัวเราอัตตาคือ เอ๋ย ตัวกูก็โง่อยู่กับสุขกับทุกข์นี่แหละ ไม่เอาทุกข์จะเอาสุข แล้วก็บำเรอจิตอยู่อย่างนี้ ไม่รู้กี่ชาติต่อกี่ชาติ จึงมีความรู้ วิชชา ความโง่ของตัวเอง 

แล้วมันอยู่ไหนสุขทุกข์ สัมผัสอยู่ปัจจุบันนี้แล้วมันก็กลายเป็นอดีตแล้วก็ฝังให้ตัวเองยึดติดว่ามันเป็นจริงมีจริง แค่อดีตมันก็ไม่จริง แต่นึกว่าเป็นจริงก็อยู่ที่สัญญาคือความจำ เคยเป็นสุขนะ อย่างนี้คือทุกข์นะ อั๊วะไม่เอานะทุกข์ อั๊วะจะเอาแต่สุข อนาคตก็วิ่งหาแสวงหาที่จะเอาแต่สุข ก็จะได้ทุกข์อยู่อย่างนั้นแหละ ยิ่งกิเลสหนาโง่หนักๆซ้ำซ้อนเข้าไปอีก ไม่มีที่สิ้นสุด 

เพราะคิดดูคนเราเมื่อไหร่จะมารู้ ยิ่งเราได้รู้แล้วจะยิ่งได้เห็นว่าน่าสงสารมนุษย์ แล้วมนุษย์เมื่อไหร่จะรู้อย่างนี้ จนกระทั่งทำตนให้อยู่เหนือไม่สุขไม่ทุกข์ แล้วจิตก็หมดเหตุที่จะพาเกิด ก็คือเมื่อไม่เกิดสุข มันก็ไม่เกิดทุกข์จิตก็ว่างจิตก็สะอาดจากเหตุที่มันจะสุขจะทุกข์ ก็กลายเป็นจิตอุเบกขา กลายเป็นจิต ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา 

แล้วสุดท้ายก็รู้ว่าจิตก็คือธาตุที่ปรุงแต่งกันอยู่เท่านั้น เป็นธาตุ

ของรูปกับนาม พอตายแล้ว นามคือจิตนิยาม ตายแล้วเลิก ตายเป็น นิพพาน 3 ตายแล้วก็สูญ เป็นสุญญตนิพพาน ไม่ตั้งจิตต่อ อนิมิตนิพพาน ไม่สร้างนิมิตอะไรอีกเลย อัปนิหิตตนิพพาน จิตนิยามก็หายไปกลายเป็นดินน้ำไฟลม ไม่มีที่ตั้ง สูญไปเลย เลิกไปเลยอัตภาพนี้ก็หายไปเกลี้ยง จ้อย เป็นปรินิพพาน เป็นปริโยสาน สุดท้าย นี่เป็นความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ก็เพราะรู้จักปฏิจจสมุปบาทนี่เอง

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 18 ผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงจิตวิญญาณมนุษย์ และอภิวัฒน์สังคม วันจันทร์ที่ 17 เมษายน 2566 แรม 12 ค่ำเดือน 5 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 09 พฤษภาคม 2566 ( 15:42:42 )

ศึกษาฝึกฝนตนให้เป็นพลเมืองดีได้อย่างไร

รายละเอียด

ก็ตอบไปให้หายสงสัยความเห็นก็ประมาณนั้นเหตุการณ์บ้านเมือง เหตุการณ์ต่างๆของบ้านของเมืองมันเป็นเรื่องของประชาชนทุกคนในระบอบประชาธิปไตยทุกคน ไม่ควรจะเป็น เรื่องของนักการเมือง เรื่องของผู้บริหาร เรื่องอื่น เรามีธุระไม่ใช่ ทำมาหากิน ของเราดีกว่า ถ้าอย่างนั้นคุณก็เป็นพลเมืองที่เห็นแก่ตัว เอาแต่ตัวส่วนรวมก็จะเป็นยังไง คุณก็ปล่อยปละละเลย ปู้ยี่ปู้ยำยังไงก็ไม่เอาจะร่วมมือร่วมไม้ส่วนนั้นส่วนนี้ได้ บางคนก็ไม่เอามันเห็นแก่ตัวจัดเกินไป ควรจะต้องรับรู้ รับรู้แล้วก็ประมาณตน เราจะร่วมได้แค่ไหน จะมีอัตตาต้องดูต้นตัวเราก็เท่านี้เราจะสามารถเข้าไป จะไปเป็นภาระเค้าหรือเปล่า หรือเราอาจจะมีประโยชน์อะไรต่างๆนานากว่านี้ต้องศึกษาฝึกฝน เป็นโลกกับอัตตาทั้งสิ้น โลกก็คือองค์รวมทั้งหมดภายนอก อัตตาก็เข้าไปหาภายในจนลึกสุดเลย อธิบายสั้นๆง่ายๆ ศึกษาดีๆ ในเรื่องของความเป็นมนุษย์ ในเรื่องของความเป็นสังคมที่อยู่อย่างปรุงแต่งกันหรือว่าสังเคราะห์สังขารกันแล้วก็อยู่ได้ทุกปัจจุบัน ดำเนินไปทุกปัจจุบันนี้ได้ดี ปัจจุบันไม่เที่ยงทั้งนั้นเลย ช่วยดูกัน อะไรที่มันบกพร่องอะไรที่ไม่ดีแล้วก็รีบรู้ตัว รีบช่วยจัดการที่ดีและรีบส่งเสริม ที่ส่งเสริมก็เป็นคนตื่นอยู่ตลอดเวลา เป็นคนมีสติสัมปชัญญะรู้ตัวไม่ใช่เป็นคนหลับไม่รู้ไม่เห็นอะไร จะเป็นจะตายไงชั่งหัวมันอะไรไม่ใช่หน้าที่

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน 2563


เวลาบันทึก 19 กันยายน 2563 ( 09:16:26 )

ศึกษาพิสูจน์เศรษฐศาสตร์ของพระพุทธเจ้าได้อย่างไร

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นผู้ที่ศึกษาเศรษฐศาสตร์ถ้าไม่มาศึกษาเศรษฐศาสตร์ของพระพุทธเจ้าจนกระทั่งเข้าใจ ทฤษฎี 2 สูตร ทฤษฎี 2 ทฤษฎี ทฤษฎีวรรณะ 9 กับสาราณียธรรม 6 คุณก็ไม่สามารถพิสูจน์เศรษฐกิจเศรษฐศาสตร์แบบนี้ได้ คุณจะต้องมาศึกษาจรณะ 15 วิชชา 8 ในจรณะ 15 วิชชา 8 มันก็จะเกิดสั่งสมรากฐาน รากเหง้าตกผลึกเป็นรากเหง้า แล้วเจริญขึ้นไปตกผลึกเป็นรากเหง้าอีก 10 คือ มีฉันทะเป็นมูล 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 25 กันยายน 2563


เวลาบันทึก 15 พฤศจิกายน 2563 ( 11:34:06 )

ศึกษาภูมิโพธิสัตว์ขึ้นไป ไม่ใช่ศึกษาแค่หมดกิเลส

รายละเอียด

เพราะฉะนั้น ที่ถูกต้องที่สุดแล้ว อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ กับ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ นั้นมันต้องรู้แล้ว

อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ คือจบแล้ว จบไม่มีเชื้อ แม้มีเชื้อก็สามารถควบคุมเชื้อให้ไม่เกิดอีกได้แล้ว เป็นอรหันต์แล้ว ไม่ต้องสับสน  ไม่ต้องกังวลอีก จะเป็นก็ได้ไม่เป็นก็ได้ จะตายก็ได้จะไม่ตายก็ได้ ผู้ที่ชัดเจนตรงนี้และสามารถทำได้อย่างนี้ ไม่ต้องไปสับสนว่า จะต้องไปวนเป็นผู้ที่เป็นเสขบุคคล เป็นอรหันต์แล้วเป็นเสขบุคคล เสขะก็ศึกษาภูมิโพธิสัตว์เรื่อยๆ ขึ้นไป ไม่ใช่ศึกษาแค่หมดกิเลส กิเลสตนเองนั้นรู้หมดแล้ว แต่เหลือกิเลสอย่างที่คนอื่นเป็น

ที่ต้องศึกษา เช่นว่า เราเกิดมาใช้ขันธ์ 5 ตอนนี้ขันธ์ 5 เรามีอย่างนี้ เราก็ใช้ขันธ์ 5 ของเราอย่างนี้ เป็นสัตว์ เป็นคน คนแต่ละคนขันธ์ 5 ของแต่ละคนกิเลสก็ไม่เหมือนกัน ยึดติดไม่เท่ากัน  บางคนก็ยึดอันนั้นบางคนก็ไม่ยึดอันนั้น ไม่เท่ากัน ไม่เหมือนกัน ยิ่งไปเป็นสัตว์เดรัจฉาน ฉะนั้นพระโพธิสัตว์ บางทีจะต้องไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เพื่อให้รู้จริงว่า แล้วจริงๆมันติดยึดหรือมันไม่ติดยึด มันโง่มันเป็นยังไง ก็จะต้องไปเป็นตามจริง แต่ก็รู้แล้วว่ามันเป็นเรื่องต่ำ เดรัจฉานเป็นเรื่องต่ำ แต่ถ้ายังสงสัยก็ต้องไปเกิด เพราะฉะนั้นโพธิสัตว์จึงมีไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง แต่ไม่ได้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานชั้นต่ำอะไร แต่เป็นสัตว์เดรัจฉานชั้นสูง ที่พระโพธิสัตว์ไปเกิดบ้าง อย่างนี้เป็นต้น  อันนี้เป็นรายละเอียดที่ค่อนข้างจะมากจะเยอะนะ โพธิสัตวภูมิ เป็นภูมิของโพธิสัตว์ ที่อาตมามีก็อธิบายไว้ เพราะว่าอย่างไรก็อธิบายไว้ในมหาจักรวาลนี้ ในมนุษยชาตินี้ ในจิตวิญญาณของพวกคุณแต่ละคนๆ ก็จะได้สืบสานกันต่อไป ใครจะสืบสานอีกคุณก็ต้องมีความรู้ที่อาตมาให้ไว้นี้ 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 46 บุญกับฌาน มีพลังงานต่างกันอย่างไร วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2566 ขึ้น 1 ค่ำเดือน 12 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 02 มีนาคม 2567 ( 20:19:15 )

ศึกษาวิทยาศาสตร์ทางจิตเกิดความฉลาดเรียกว่าปัญญา

รายละเอียด

ถ้าเอาพลังงานแรงงานของพวกที่คิดจะไปดวงจันทร์  เอามาศึกษาวิทยาศาสตร์ทางจิตวิญญาณสำเร็จแล้ว  และสำเร็จจนกระทั่งมันเกิดปัญญา เกิดความฉลาดที่เรียกว่า ปัญญา เอามาควบคุม เอามาจัดการกับจิตวิญญาณของเรา  คนที่มีปัญญา ก็สมารถทำให้จิตนิยามของเราเป็นคนประเสริฐ  เป็นคนที่จะไม่มีโลภ โกรธ  หลง  เป็นคนที่มีจิตวิญญาณเมตตาเกื้อกูลเอื้อเจือจานอย่างที่ชาวอโศกเราได้

ที่มา ที่ไป

พุทธศาสนาตามภูมิ ปฐมอโศก วันพุธที่  20 พฤศจิกายน  2562


เวลาบันทึก 16 ธันวาคม 2562 ( 16:53:26 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 14:14:24 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 14:31:17 )

ศึกษาศาสนาพุทธจากมหาลัยทางเทวนิยม เป็นความหลงกลับ

รายละเอียด

ผู้ที่มาศึกษาก็ไม่กระไร แต่ผู้ที่ศึกษาศาสนาพุทธที่สุด แม้แต่ผู้ที่ศึกษาพุทธศาสนาจากมหาวิทยาลัยเทวนิยม ฟังแล้วน่าอายไหม จบด็อกเตอร์ศาสนาพุทธจากมหาวิทยาลัยทางเทวนิยม ให้ Doctor ฝรั่งเขาสอน แล้วแบกปริญญาเอกมา ปริญญาเอกทางพุทธศาสนานะจ๊ะ ดูแล้วก็น่าสังเวชใจ มันหลงกลับ เอาฝามาเป็นก้น เอาก้นมาเป็นฝา เอาฝาหม้อไปปิดก้นหม้อ ฟังแล้วตลกไหม พูดแล้วมันก็สุด

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า พุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหารย์แห่งพุทธ ครั้งที่ 46 พญานาคเดียรถีย์ลัทธิหลับตาทำลายศาสนาพุทธ วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 30 พฤษภาคม 2565 ( 12:02:52 )

ศึกษาอย่างไรให้เกิดปัญญา

รายละเอียด

คนที่ศึกษาด้วยความไม่ลำเอียงเป็นคนที่ซื่อตรงต่อธรรมะ ฟังอาตมาก็จะเข้าใจความจริงก็ดี ก็จะได้ปัญญา สัมฤทธิผลถ้าฟังด้วยดีก็จะเกิดปัญญา ปัญญาไม่ใช่เฉโก แม้แต่ปัญญาที่เป็นโลกุตระที่จะก่อเกิด เป็นอัญธาตุ อาตมาก็เข้าใจความจริงอันนี้ แต่มันมีหลักฐานมีตำนานหลักฐานว่าจะต้องเป็นอัญญาโกณฑัญญะท่านเดียว จะเกิดธาตุรู้กับพราหมณ์  อัญญาโกณฑัญญะเป็นธาตุรู้ธาตุอื่นที่ต่างจากธาตุรู้แบบเดิมที่เป็นโลกเก่าดาวดวงเก่า แต่เป็นธาตุรู้ที่เป็นโลกใหม่ดาวดวงใหม่พ้นไปจากโลกเก่าได้นั่นเอง

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรม พิธีบูชาพระบรมสารีริกธาตุ งานอโศกรำลึกครั้งที่ 37 วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน 2561 


เวลาบันทึก 08 กุมภาพันธ์ 2564 ( 20:47:33 )

ศึกษาอย่างไรไม่ให้เป็นอวิชชา

รายละเอียด

ถ้าไม่ศึกษาถูกต้องอย่างนี้ก็จะเป็นอวิชชาอยู่อย่างนั้น อวิชชาก็จะไม่รู้จักสังขาร แต่ผู้ที่มีวิชชาจะเริ่มเรียนรู้สังขาร แล้วจัดการกับสังขารต่างๆ ให้บริสุทธิ์สะอาดจากกิเลสทั้งหมดเลย ทั้ง 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จบด้วยพลังงานระดับบุญ

พลังงานระดับบุญนี้ อาตมาว่ามันไม่ใช่จะรู้และเข้าใจได้ง่ายๆ 

อาตมาคงจะพูดเรื่องบุญนี้ไปอีกนาน อายุเพิ่มไปอีก หลายสิบปี ชาวพุทธในเมืองไทยจะมีความรู้กับเรื่องของบุญขึ้นมาไหม 

คำว่า กาย คำว่าบุญ อาตมาอธิบายไม่เหมือนเขา ไม่ต้องพูดถึงเรื่องฌาน สมาธิ ก็ไม่เหมือนเขาแน่นอน 

คำว่า กาย ไม่เหมือนที่เขาอธิบาย อาตมาเอามาขยายความคิดว่าไม่มีใครขยายความอย่างนี้ ไม่ว่าจะเป็นผู้รู้ขนาดไหนในยุคนี้

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการพุทธศาสนาตามภูมิ สุภกิณหาอย่างพุทธดับสุดสิ้นอาสวะ วันพุธที่ 2 ธันวาคม 2563 ที่บ้านราชฯ


เวลาบันทึก 31 มกราคม 2564 ( 14:22:02 )

ศึกษาอารมณ์สุข ทุกข์อย่างไร

รายละเอียด

อันนี้โลกุตระอาจจะไกลเกินไป แต่จะสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้อย่างไรเราจะรู้ได้ด้วยการศึกษา เราไปติดอะไรที่มันสุขมันทุกข์ มันมีอารมณ์สุขอารมณ์ทุกข์ ที่เราไปติดไปยึดอยู่ มันมี อันนี้เรื่องจริง ก็ต้องได้ตรงนี้ ต้องเป็นสัมผัสในสัมผัส แล้วก็สุข ถ้าสมมุติตามจะหยุดถ้าไม่ได้ตรงตามสมมุติก็ไม่สุข สุขมากสุขน้อยไปตามลำดับ เพราะฉะนั้นถ้าเราเรียนรู้จักอาการหรืออารมณ์ของความรู้สึกที่ว่าเนี่ยตั้งแต่ไปสัมผัสกับเหตุปัจจัยอะไรเกิดอารมณ์ขึ้นมาก็เรียนรู้ เรียนรู้จนชัดเจน มันเป็นความสุขความเจริญเป็นสภาพ 2 อย่าง จนสามารถสัมผัสแล้วมันก็ฝึกฝนไปทำปัญญาให้แจ้ง ไปนั่งสะกดจิตเนี่ยนั่งหลับตามันไม่มีทางที่จะรู้ความจริงได้ มันไม่มีตาหูจมูกลิ้นกายที่จะรู้สึกครบบริบูรณ์ของคนธรรมดาที่มีความตื่นเต็มชาคริยาเต็ม มันก็เลยมันก็มืดๆอยู่งั้น อยู่ในภพที่มันไม่เปิดตาปฏิบัติธรรมเรียนรู้ มันไม่ใช่ของพระพุทธเจ้าเลยไม่ใช่ของศาสนาพุทธเลยจริงๆเลยมาถึงปีนี้ 50 ปี พูดเรื่องนี้สอนเรื่องนี้ มาเรื่องหลับตาหน่อยว่ามันไม่ใช่ของพุทธ อ่านพระไตรปิฎกไปเลย เล่มที่ 9 อ่านดีๆไปเลย แต่อ่านไม่แตกหรอกเพราะเขายึดติดอย่างนั้น มันมีเหตุปัจจัยเยอะในพระไตรปิฎกฉบับนี้มันเป็นของพระกัสสปะ ซึ่งเป็นสายหลับตาสายติดเทวนิยม อะไรต่างๆรวบรวมพระไตรปิฎกด้วยไป อะไรหลายๆอย่างยิ่งยากใหญ่เลยแต่ก็ไม่รู้จะทำยังไงเพราะว่าเรามีฉบับนี้แต่ถ้าเข้าใจจริงๆก็ไม่มีปัญหา

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 7 กันยายน 2563


เวลาบันทึก 27 กันยายน 2563 ( 08:04:23 )

ศึกษาเป็นโพธิสัตว์ 

รายละเอียด

กิเลสหยาบ กิเลสระดับอรหันต์ ก็รู้จักกิเลสตั้งแต่ สอุตระ อนุตรจิต จิตที่ยังเหลือกิเลส อนุตรจิต ยังดี จิตที่ทำให้เจริญแล้ว แต่ยังไม่จบ ด้วยเจโตด้วยปัญญา หรือด้วยสมาธิกับวิมุติ ก็ทำให้จบ จบว่ามันตั้งมั่น มันไม่เหลือกิเลสเกิดอีก หลุดพ้นจากโลกกาม โลกภพ  อรูปภพ หมดจบ คุณก็จะเข้าใจภพ 3 เป็นอรหันต์ได้ 

ส่วนคุณเป็นโพธิสัตว์ต่อ เอาล่ะ เป็นอนุโพธิสัตว์ ก็ยังไม่ละเอียดละออพอ ก็จะรู้ไปตามลำดับของภพ ที่เรียนรู้ของตน จบของตนแล้ว ก็จะรู้ว่าอันที่มันไม่เหมือนของตนนะ เราจบของเราแล้ว แต่คนนี้มันแตกต่างจากเรา ก็ดูคนอื่น คนนี้เป็นอย่างนี้อย่างนี้ ก็ศึกษาไปก็จะรู้เพิ่มขึ้นว่า อ้อ.. กิเลสลักษณะพวกนี้ยึดแบบนี้แตกต่างกันไป ก็ศึกษาเอา เป็นโพธิสัตว์ 

พระโพธิสัตว์ 9 ระดับ

โลกุตรบุคคล 9 ชั้น/ระดับ ได้แก่

1.โสดาบันโพธิสัตว์ 

2.สกิทาคามีโพธิสัตว์ 

3.อนาคามีโพธิสัตว์ 

4.ขีณาสวโพธิสัตว์ 

5.อนุโพธิสัตว์ 

6.อนิยตโพธิสัตว์ (ยังไม่เที่ยงแท้) 

7.นิยตโพธิสัตว์ (เที่ยงแท้ สู่มหาฯ)

8.มหาโพธิสัตว์ 

9.พระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เป็นโพธิสัตว์ระดับอนุโพธิสัตว์ ตามพระพุทธเจ้าไปเรื่อยๆ จนเป็น อนิยตโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์ที่ยังไม่เข้าขั้นที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้า ยังไม่เที่ยง อนิยตแปลว่าไม่เที่ยง ไม่เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ยังไม่เข้ากระแสที่จะเป็นมหาวิทยาลัยที่ทำปริญญาสุดท้าย ปริญญาเป็นพระพุทธเจ้า  

อนิยตโพธิสัตว์ก็จะรู้ตัวเอง เพราะว่าจะเป็นผู้ที่รู้จริงๆ ถึงขั้นโพธิสัตว์ระดับนี้ ก็จะรู้จักจิตเจตสิกต่างๆกิเลสต่างๆว่า ขีดขั้นที่จะเข้าเขตเป็น”สยังอภิญญา”ขึ้นไป นี้”นิยตโพธิสัตว์” แล้วเกิดเป็น สยังอภิญญาหลายชาติก็จะรู้ตัวเองดี 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ปลุกธรรม ครั้งที่ 46 บุญกับฌาน มีพลังงานต่างกันอย่างไร วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2566 ขึ้น 1 ค่ำเดือน 12 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 02 มีนาคม 2567 ( 19:36:00 )

ศึกษาเรื่องกรรม

รายละเอียด

ศึกษาเรื่องกรรม คือ จะจำแนกธรรมะได้ เป็นเทวธรรมได้

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช ครั้งที่ 68 วันจันทร์ที่ 9 เดือนกันยายน 2562


เวลาบันทึก 22 ตุลาคม 2562 ( 14:23:00 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 14:17:30 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 14:30:41 )

statistics

ติดต่อสอบถาม

Facebook : test

Youtube : Name

Twitter : Name

Line : Name

Telegram : Name

Wechat : Name

Skype : Name

Copyright © 2018 Borvornsocial.net all right are reserved. developer สงวนลิขสิทธิ์