@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก
@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก

อภิธานศัพท์ (Glossary) จัดเป็นฐานข้อมูลด้านโลกุตระที่สมบูรณ์ที่สุดที่คัดมาจากหนังสือ คำเทศน์ ฯ

คู่มือการค้นหาอภิธานศัพท์อโศก หรือ ห้องสมุดโลกุตระ 50 ปี

เอกสาร : https://docs.google.com/document/d/1HLGedxqTAOTOTQKGbO6M4qMremQ8K1jBWKRYDDt6MRQ/edit

วีดีโอ Loom 2 : https://www.loom.com/share/e824e62ec1eb4567848e94af124a7ed5

วีดีโอ Loom 1https://www.loom.com/share/2445744a08e74bca95d2f1d2a0526044

วีดีโอ YouTube : https://youtu.be/QyXcGmzhLmk

 

 

อภิธานศัพท์ (ทั้งหมด) พบ 28,074 รายการ

อัตตานุทิฏฐิ

รายละเอียด

1. ไม่ให้มีเศษน้อยของอัตตาในปัจจุบันนั้นๆ เทียว

2. ตามตรวจตามเห็นอาการต่างๆ ที่เป็นอัตตาในตน

3. ตามเห็นความเป็นตัวตนได้

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 404,ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 775,กำไร-ขาดทุนแท้ของอาริยชน / เราคิดอะไร ฉบับ 266


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 13:54:00 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:01:10 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 13:58:47 )

อัตตานุทิฏฐิ

รายละเอียด

อัตตานุทิฏฐิ คือตัวที่ยึด ยึดทิฏฐิ เพราะฉะนั้น อัตตา ไม่ต้องนุทิฏฐิหรอก อัตตากับทิฏฐิที่ยึดอัตตา 

ทิฏฐิที่ยึดอัตตา เมื่อไม่รู้อัตตาก็ไปยึดอัตตาจนกลายเป็น โอฬาริกอัตตา ซึ่งเป็นผู้ที่น่าสงสารมาก โอฬาร อาตมาเคยอธิบายไปแล้วนะ อัตตาที่มโหฬาร อลังการ เพราะไม่รู้ อัตตวาทุปาทาน ไม่รู้การยึด ได้แต่วาทะ ได้แต่พยัญชนะ ได้แต่ความรู้ กลายเป็นพญาครุฑ ทุกวันนี้ แล้วยังได้รับความนับถือกันเป็นปราชญ์ของศาสนาพุทธ แต่ท่านก็เป็นผู้ อัตตวาทุปาทาน ไม่เข้าถึงเนื้อ แม้แต่อัตตาท่านก็ไม่เข้าไปแตะถูกอัตตาตัวเองเลย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ คนอยู่เหนือกาละต้องชนะปฏิจจสมุปบาท พุทธศาสนาตามภูมิ วันพุธที่ 3 มกราคม 2567 วันแรม 7 ค่ำเดือนอ้าย ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 09 มกราคม 2567 ( 15:36:51 )

อัตตานุทิฏฐิ กับอัตตสัมมาปณิธิ มีนัยยะต่างกัน

รายละเอียด

อัตตานุทิฏฐิ มีความรู้ถึงขั้นละเอียดแยกอัตตาระดับอนุได้ ส่วนอัตตสัมมาปณิธิ ซึ่งอยู่ในจักร 4 อัตตสัมมาปณิธิ แล้วก็มี ปุพเพกตปุญโญตา แยกเป็น 2 ก็ต้องมีนัยยะสำคัญที่ต่าง

  1. ปฏิรูปเทสวาสะ (การอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม)

  2. สัปปุริสูปัสสยะ (การคบหาสัตบุรุษ)

  3. อัตตสัมมาปณิธิ (การตั้งตนไว้ชอบธรรม) 

  4. ปุพเพกตปุญญตา (ความเป็นผู้มีบุญอันได้กระทำแล้วในปางก่อน ไว้เป็นที่พึ่งอาศัย)  (พตปฎ. เล่ม 21   ข้อ 31)

มีความรู้ในอัตตา ทำลายอัตตาได้แล้วแต่ยังอาศัยอัตตาอยู่ นี่คืออัตตสัมมาปณิธิ

อัตตานุทิฏฐิ รู้จักอัตตา ทำอนัตตาได้เลย ส่วน อัตตสัมมาปณิธิ ทำได้เช่นกันแต่ยังไม่ยอมจบ ยังรักษาอัตตาตนเองอยู่ แต่ทำได้แล้ว ที่ได้คือ ปุพเพกตปุญญตา

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ มนุษย์ที่ยังมีทุกข์มีสุขอยู่ก็คือโง่กว่าพืช วันพุธที่ 19 พฤษภาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 27 มิถุนายน 2564 ( 20:30:51 )

อัตตานุทิฏฐิสูตร

รายละเอียด

ดูกรภิกษุ บุคคล "รู้" (ชานาติ) "เห็น" (ปัสสติ) "จักษุ" แล ด้วยความเป็นอนัตตา จึงจะละ "อัตตานุทิฏฐิ" ได้

บุคคล "รู้"  "เห็น"  "รูป" ด้วยความเป็นอนัตตา จึงจะละ "อัตตานุทิฏฐิ" ได้

บุคคล "รู้"  "เห็น"  "จักษุวิญญาณ" ด้วยความเป็นอนัตตา จึงจะละ "อัตตานุทิฏฐิ" ได้

บุคคล "รู้"  "เห็น"  "จักษุสัมผัส" ด้วยความเป็นอนัตตา จึงจะละ "อัตตานุทิฏฐิ" ได้

บุคคล "รู้"  "เห็น" แม้ "สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ "จักษุสัมผัส" เป็นปัจจัย" ด้วยความเป็นอนัตตา จึงจะละ "อัตตานุทิฏฐิ" ได้

บุคคล "รู้" "เห็น" "หู" ...

บุคคล "รู้" "เห็น" "จมูก" ...

บุคคล "รู้" "เห็น" "ลิ้น" ...

บุคคล "รู้" "เห็น" "กาย" ...

บุคคล "รู้"  "เห็น" แม้ "สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ "มโนสัมผัส" เป็นปัจจัย" ด้วยความเป็นอนัตตา จึงจะละ "อัตตานุทิฏฐิ" ได้

ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละ "อัตตานุทิฏฐิ" ได้

คำอธิบาย

จาก...พระสูตรทั้ง 3 นี้ จะเห็นได้ชัดเจน ว่า การปฏิบัติเพื่อ "ละมิจฉาทิฏฐิ"ก็ดี "ละสักกายทิฏฐิ"ก็ดี "ละอัตตานุทิฏฐิ"ก็ดี ล้วนปฏิบัติอย่างเดียวกัน มีองค์ประกอบเหมือนกันทุกประการ เพียงแต่ว่าต้องปฏิบัติจนกระทั่ง "รู้" (ชานาติ) "เห็น" (ปัสสติ) ผลของการปฏิบัติชัดเจนเป็น "ไตรลักษณ์" อย่างครบครันตามลำดับ

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎก เล่ม 18 ข้อ 256

หนังสืออ้างอิง

 ถอดรหัสนิพพาน อัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 96-97


เวลาบันทึก 17 ตุลาคม 2562 ( 16:35:55 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 17:00:22 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:31:36 )

อัตตามีตั้งแต่พืช

รายละเอียด

อัตตามีตั้งแต่พืช ระดับนี้ อัตตาระดับจิตนิยามเป็นอย่างนี้ เราก็รู้ในอัตตาในความเป็นโลก ชีวิตชีวะ พืชมันก็หมุนเวียน แต่ระดับสัตว์ เราก็รู้ว่า มันต่างจากสัตว์มันก็ไม่เบียดเบียนใครได้ พระอรหันต์สามารถทำให้จิตวิญญาณเราเป็นวิญญาณของพืชได้เราก็หมดพิษภัยต่อผู้อื่น มีแต่สร้างประโยชน์แล้วก็แถมมีจิตนิยามด้วย เราจะมาสร้างสรรให้มากๆ ช่วยคนอื่นให้มากๆทำของที่ดีเรา

กระทำต่างๆลงไปมันจึงเป็นคุณค่าประโยชน์ ประกันชีวิตในระดับพืชชีวิตในระดับสัตว์ กับที่เป็น กาย

พีชะเป็นพลังงานชีวะ เรายังไม่เรียกนาม เราเรียกพลังงานอรูป พลังงานที่มีตัวประธานสร้างตัวเอง ในความเป็นชีวะของพืช

มันต่างจากสัตว์ รู้จักกรรมที่ถึงขั้นสัพพปาปัสสอกรณัง กุสลสูปสัมปทา สจิตตปริโยทปนัง

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช  วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 29 พฤศจิกายน 2562 ( 12:45:41 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 14:24:52 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:00:51 )

อัตตามีหยาบ กลาง ละเอียด

รายละเอียด

เรียนรู้จักความหยาบก่อน จึงไปเรียนรู้กลางและปลาย จะต้องลดตัวตนไม่ได้เพื่อตัวเพื่อตน เมื่อไม่เพื่อตัวตนเองก็ต้องทำเพื่อผู้อื่นเขา อย่างน้อยก็เพื่อกลุ่มน้อย มีอยู่ 3 คนพ่อแม่ลูกก็เพื่อเราอยู่ในสังคม ก็เพื่อทั้ง 3 คน เกินกว่า 3 คนมีญาติ พ่อแม่ปู่ย่าตายาย พี่ป้าน้าอา ก็ต้องเผื่อแผ่ออกไป มีสังคมที่โตขึ้น มีความเกื้อกูลเอื้อมเอื้อเกื้อกว้างเพิ่มขึ้น ตามความรัก 10 มิติ ขอจบไม่ต่อนะ 

เราก็เรียนรู้ทำไป ในอัตตามีหยาบ กลาง ละเอียด ทำโอฬาริกอัตตาให้ได้ก่อนแล้วถึงมาทำที่มโนมยอัตตาคือ สิ่งที่ปรุงแต่งสำเร็จด้วยจิตตั้งแต่ภายนอก เลิกอันนอกที่ปรุงกันหยาบๆภายนอกก่อน รูปที่เรายึดความยึดมั่นอัตตา เลิกให้ได้ก่อน แล้วที่เหลือภายใน รูปราคะ อรูปราคะ ก็เอารูปราคะก่อนหรือเรียกรูปอัตตาก่อน ล้างรูป แล้วล้างอรูปจึงหมด 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ โสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 28 วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 03 มีนาคม 2564 ( 20:55:25 )

อัตตาหิอัตโนนาโถ

รายละเอียด

เราต้องมาเรียนรู้กรรมวิบากจริงให้กรรมเป็นที่พึ่ง  วิบากเป็นที่พึ่ง  อัตตาหิอัตโนนาโถ  ตนเป็นทายาทของกรรม  กรรมพาเราเป็นไป  กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ของเราเอง ไม่ใช่พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย เป็นเผ่าพันธุ์ของตัวเอง  ถ้าเราทำกรรมเป็นเผ่าโจร คุณก็ไปรับกรรมเป็นเผ่าโจรของคุณเอง จะไปเอาให้คนอื่นไม่ได้ ให้เพื่อนให้พ่อให้แม่ไม่ได้  ตระกูลของคุณก็คุณทำเองทั้งนั้น  เป็นกรรมเป็นเผ่าพันธุ์  คุณก็อาศัย กัมมปฏิสรโณ

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2562                          


เวลาบันทึก 28 พฤศจิกายน 2562 ( 20:03:48 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 13:15:47 )

อัตตาหิอัตโนนาโถ

รายละเอียด

คือ เราต้องมาเรียนรู้กรรมวิบากจริงให้กรรมเป็นที่พึ่ง  วิบากเป็นที่พึ่ง  อัตตาหิอัตโนนาโถ  ตนเป็นทายาทของกรรม  กรรมพาเราเป็นไป  กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ของเราเอง ไม่ใช่พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย เป็นเผ่าพันธุ์ของตัวเอง  ถ้าเราทำกรรมเป็นเผ่าโจร คุณก็ไปรับกรรมเป็นเผ่าโจรของคุณเอง จะไปเอาให้คนอื่นไม่ได้ ให้เพื่อนให้พ่อให้แม่ไม่ได้  ตระกูลของคุณก็คุณทำเองทั้งนั้น  เป็นกรรมเป็นเผ่าพันธุ์  คุณก็อาศัย กัมมปฏิสรโณ

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช ครั้งที่ 79 วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 29 พฤศจิกายน 2562 ( 11:42:41 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 13:17:02 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:32:53 )

อัตตาเป็นของมีจริง? ไม่มีจริง? ยังไง?

รายละเอียด

1.ศาสดาใดย่อมบัญญัติอัตตาในทิฏฐธรรม(บัดนี้)  โดยความเป็นของมีจริง  โดยความเป็นของยั่งยืน  (อัตตานัง  สัจจโต  เถตโต  ปัญญาเปติ)   และบัญญัติตัวตนในภายหน้าโดยความเป็นของมีจริง  โดยความเป็นของยั่งยืน  พึงเห็นว่าศาสดานั้นเป็นศาสดาผู้มีวาทะว่าเที่ยง  
2.ศาสดาใดย่อมบัญญัติอัตตาในทิฏฐธรรม และย่อมไม่บัญญัติอัตตาภายหน้า  โดยความเป็นของมีจริง  โดยความเป็นของยั่งยืน  พึงเห็นว่าศาสดานั้นเป็นศาสดาผู้มีวาทะว่าขาดสูญ   
3.ศาสดาใดย่อมไม่บัญญัติอัตตาในทิฏฐธรรม  โดยความเป็นของมีจริง  โดยความเป็นของยั่งยืน (อัตตานัง  สัจจโต  เถตโต   น ปัญญาเปติ)  และย่อมไม่บัญญัติตัวตนในภายหน้า  โดยความเป็นของมีจริง  โดยความเป็นของยั่งยืน  พึงเห็นว่าศาสดานั้นเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  (ล.36 ข.103)

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 17:14:02 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:08:25 )

อัตตาโง่ไม่ตรวจความจริง

รายละเอียด

เอาคำพระพุทธเจ้าที่เขาแปลเป็นไทยจากพระไตรปิฎกมาว่าเขาเลย เขาจะสะดุ้งสะเทือนบ้างไหม เขาจะรู้จัก เขาจะวาบๆไหม ว่านี่ด่ากูด่าถูกเหลือเกิน เขาก็คงไม่รู้ไม่ฟัง หาว่าเราเป็นพวกปากหอยปากปู จริงๆแล้วอาตมาไม่ได้ด่าแต่ตำหนิเตือนให้รู้ตัว เขาจะไม่เข้าใจว่าอาตมานั้นสอนเขาบอกเขา เขาก็จะเข้าใจว่าด่าแต่กู ลึกๆเขารู้นะ เพราะเราไปพูดไปนี้ถูกทุกอย่าง เขาเป็นอย่างที่อาตมาพูด แต่อัตตามันโง่ก็ถูกด่าแล้วไม่ตรวจความจริง ไปยึดความไม่ถูกต้องว่าเป็นความจริงไปยึดความไม่ถูกว่าถูก หากว่าลองพิจารณาสิ่งที่อาตมาพูด ก็จะรู้ว่าตัวเองงมงายนั่งหลับตาออกป่าเขาถ้ำอยู่นั่นแหละ ในคุหัฏฐกสุตตนิทเทส เริ่มต้นคำว่ากายวิเวกก็เอาร่างกายทั้งร่างออกไปสู่ป่า กายวิเวกเขาเอาตัวตนทั้งร่างออกเคลื่อนย้ายไปจากความวุ่นวายของสังคม มันก็มีความหมายที่เข้าใจได้เหมือนกัน ก็จับร่างกายออกไป ห่างสังคมที่วุ่นวายไปอยู่กับเสือสิงห์กระทิงแรดงูเงี้ยวเขี้ยวขอ ก็ถือว่านี่ทำกายสงัดแล้ว? ไม่ใช่ 

ที่มา ที่ไป

รายการกายนี้คือวิญญาณ วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 04 มีนาคม 2563 ( 13:22:15 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:05:21 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:00:25 )

อัตตโต

รายละเอียด

ความเป็นตัวตน

หนังสืออ้างอิง

เปิดโลกเทวดา หน้า 138


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 08:51:21 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:01:57 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:35:23 )

อัตถ

รายละเอียด

1. เนื้อหา สาระ แก่นแท้ 

2. เนื้อหาแท้ๆ 

3. ประโยชน์ 

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 137, ทางเอก ภาค 3 หน้า 43, เปิดโลกเทวดา หน้า 134


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 13:55:08 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:03:23 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:35:46 )

อัตถการ

รายละเอียด

เป็นผู้มีงานแสดงเนื้อแท้

หนังสืออ้างอิง

จากหนังสือทางเอก ภาค 2 หน้า 555


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 13:55:47 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:04:34 )

อัตถคมะ

รายละเอียด

ความดับ

หนังสืออ้างอิง

จากหนังสือทางเอก ภาค 2 หน้า 494


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 13:56:31 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:07:26 )

อัตถะ

รายละเอียด

1. แก่นสาร เนื้อหา 

2. ประโยชน์ , ผลได้

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 406, รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 164,177


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 13:57:41 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:08:39 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:36:05 )

อัตถะ 3

รายละเอียด

คือประโยชน์ของการปฏิบัติธรรม 3 อย่าง

1. อัตตัตถะ (ประโยชน์ตน)

2. ปรัตถะ (ประโยชน์ผู้อื่น)

3. อุภยัตถะ (ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 30 "ขัคควิสาณสุตตนิทเทส" ข้อ 673

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 17 มิถุนายน 2562 ( 21:18:52 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 17:01:14 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:36:28 )

อัตถะ 3

รายละเอียด

คือประโยชน์ของการปฏิบัติธรรม 3 อย่าง

1. อัตตัตถะ (ประโยชน์ตน)

2. ปรัตถะ (ประโยชน์ผู้อื่น)

3. อุภยัตถะ (ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย)

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 30 “ขัคควิสาณสุตตนิทเทส” ข้อ 673


เวลาบันทึก 12 มีนาคม 2565 ( 19:30:26 )

อัตถะ 3 (ประโยชน์ 3 มิติ)

รายละเอียด

1. อัตตัตถะ (ได้ประโยชน์ตน คือตนล้างกิเลสได้สำเร็จ) 
2. ปรัตถะ (เป็นประโยชน์ผู้อื่น ทำให้มีผลดีตกแก่ผู้อื่น) 
3. อุภยัตถะ (เกิดประโยชน์พร้อมทั้งสองฝ่าย) 
 

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎก  เล่ม 30  ข้อ 673, ธรรมาธิบายจากพ่อครู รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2562 ( 08:13:09 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:10:03 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:37:10 )

อัตถัญญุตา

รายละเอียด

การรู้แจ้ง หรือการรู้ยิ่งในเนื้อหาแก่นสาร ในตัวจบ ในตัวเป้าหมาย ประโยชน์ยิ่ง ในสิ่งที่หายไป อันตรธานไป ในความเสื่อม ความพินาศในความพินาศ ในความมี ความเป็น ในผล

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 379


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 13:58:17 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:09:28 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:36:51 )

อัตถิ

รายละเอียด

1. มี

2. ความมี 

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า267, 439


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 13:59:13 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:10:35 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:38:19 )

อัตถิ ทินนัง

รายละเอียด

1. ทานที่ให้แล้วมีผล

2. ทานที่ให้แล้วมีผลแก่ตน 

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 113,ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 230


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:00:19 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:11:41 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:38:38 )

อัตถิ ปิตา

รายละเอียด

1. บิดามี 

2. บิดามี – ต้องรู้แจ้งความเป็นพ่อทางธรรม

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 113, ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 230


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:03:43 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:12:41 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:38:59 )

อัตถิ ปโร โลโก

รายละเอียด

1. โลกหน้ามี 

2. โลกหน้ามี – ต้องรู้แจ้งความเป็นโลกหน้า

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 113, ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 230


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:02:20 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:13:43 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:39:17 )

อัตถิ มาตา

รายละเอียด

1. มารดามี 

2. มารดามี – ต้องรู้แจ้งความเป็นแม่ทางธรรม

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 113, ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 230


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:04:34 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:14:42 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:39:42 )

อัตถิ ยิฏฐัง

รายละเอียด

1. ยัญที่บูชาแล้วมีผล

2. ยัญที่บูชาแล้ว หรือปฏิบัติตามวิธีนั้นแล้วมีผล

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 113, ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 230


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:05:42 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:15:38 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:41:20 )

อัตถิ สัตตา โอปปาติกา

รายละเอียด

1. สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี 

2. สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี – ต้องรู้จัก 

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 113, ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า230


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:07:41 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:16:43 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:41:01 )

อัตถิ สุกต ทุกกฏานัง กัมมานัง ผลัง วิปาโก

รายละเอียด

1. ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่ 

2. ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีผล คือกรรมเป็นของตน กรรมเป็นมรดกของตน 

3. ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วมีจริง

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า113, ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 230, พุทธเป็นอเทวนิยมอย่างนี้ หน้า 140


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:08:38 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:23:05 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:47:01 )

อัตถิ หุตัง

รายละเอียด

1. สังเวยที่บวงสรวงแล้วมีผล 

2. ทั้งทานหรือปฏิบัติตามพิธีกรรมนั้นแล้วมีผลแก่ตน

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 113, ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 230


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:09:23 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:24:07 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:41:42 )

อัตถิ อยัง โลโก

รายละเอียด

1. โลกนี้มี

2. โลกนี้มี – ต้องรู้แจ้งความเป็นโลกนี้

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 113, ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า230


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:10:17 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:25:13 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:42:59 )

อัตถิ โลเก สมณ พราหมณา สัมมัคคตา สัมมา ปฏิปันนา เย อิ มัญจโลกัง ปรัญ จ โลกัง สยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปเวเทนตีติ

รายละเอียด

สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้

โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกมีอยู่ – ต้องค้นพบสัตบุรุษให้ได้

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 125 , ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 230


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:06:44 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:25:59 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 21:00:27 )

อัตถิยิฏฐัง

รายละเอียด

ศีลพรตอีก เป็นวิธีการปฏิบัติ การนั่งหลับตาปฏิบัติคือการปฏิบัติที่ นัตถิยิฏฐังคือไม่เกิดผล ขอยืนยันว่านั่งหลับตาไม่มีผล ได้แต่สมถะไม่เกิดวิปัสสนาญาณ ไม่เกิดกระบวนการครบเวทนา 108 จึงไม่ได้เกิดผลตามคำสอนพระพุทธเจ้า 

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายพ่อครู จากรายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 24 กันยายน 2562 ( 22:11:08 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:10:50 )

อัตถิราคสูตร

รายละเอียด

[246] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก (ราโค นันทิ ตัณหา) มีอยู่ในกวฬิงการาหารไซร้(แล้วมีบ้างไหม?...โยมตอบว่ามี) วิญญาณก็ตั้งอยู่งอกงามในกวฬิงการาหารนั้นในที่ใด วิญญาณตั้งอยู่งอกงามในที่นั้น ย่อมมีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่ใดมีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่นั้น ย่อมมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่ใดมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่นั้น ย่อมมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป 

ในที่ใด มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่นั้น ย่อมมีชาติชรามรณะต่อไป 

ในที่ใดมีชาติชรามรณะต่อไป เราเรียกที่นั้นว่ามีความโศก มีธุลี (คือราคะ) มีความคับแค้น 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากมีอยู่ในผัสสาหารไซร้ ... 

ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก มีอยู่ในมโนสัญเจตนาหารไซร้ ... 

ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากมีอยู่ในวิญญาณาหารไซร้ วิญญาณก็ตั้งอยู่งอกงามในวิญญาณาหารนั้น 

ในที่ใดวิญญาณตั้งอยู่งอกงาม ในที่นั้น ย่อมมีการหยั่งลงแห่งนามรูป 

ในที่ใด มีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่นั้น ย่อมมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย 

ในที่ใดมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่นั้น ย่อมมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป 

ในที่ใดมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่นั้น ย่อมมีชาติชรามรณะต่อไป 

ในที่ใด มีชาติชรามรณะต่อไป เราเรียกที่นั้นว่ามีความโศก มีธุลี มีความคับแค้น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีน้ำย้อม ครั่ง ขมิ้น สีเขียวหรือสีบานเย็น ช่างย้อมหรือช่างเขียนพึงเขียนรูปสตรีหรือรูปบุรุษให้มีอวัยวะน้อยใหญ่ได้ครบถ้วนที่แผ่นหินขาว แผ่นกระดาน ฝาผนัง หรือที่ผืนผ้า แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก มีอยู่ในกวฬิงการาหารไซร้ วิญญาณก็ตั้งอยู่งอกงามในกวฬิงการาหารนั้น 

ท่านขยายจากวิญญาณมานามรูป ในปฏิจจสมุปบาทจะมีตัวย้อมตัวเสริม คือพวกความยินดีความเพลิดเพลินความทะยานอยาก เป็นตัวเชื่อม ตัวผสมส่วนที่จะให้ติดให้มีสีสัน อะไรต่ออะไร เป็นโลกีย์หนักขึ้นที่นามรูป

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม เรียนอัตถิราคสูตรให้หมดสุขหมดทุกข์แท้จริง วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 24 กุมภาพันธ์ 2564 ( 16:14:28 )

อัตถิโลเก

รายละเอียด

คือทานมีผล ไม่ใช่ทานแล้วไม่มีผล

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายพ่อครู จากรายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 24 กันยายน 2562 ( 22:10:00 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:12:37 )

อัตราการก้าวหน้าของมวลอโศกยังไม่มากควรทำเช่นไร

รายละเอียด

ทีนี้ ชาติรัฐ ถ้ามีคนอย่างนี้ก็สบาย อาตมาก็ได้แต่คิดว่า พวกชาวอโศกเราก็ยังไม่พอเลยก็ต้องรอรุ่น นี่ยังไม่รู้เลยว่า รุ่นทิด พวกสึกไปแล้วก็ยังอยู่ ก็ยังไม่เท่าไหร่แล้วไม่เพิ่ม ผู้สึกก็ไม่เพิ่มแล้ว แล้วนักเรียนที่จะได้รับการศึกษาจากเราก็ปีละไม่มากเท่าไหร่ อัตราการก้าวหน้าก็ยังไม่มากเท่าไหร่ ก็ต้องพยายามช่วยกันใครจะมาช่วยสอนให้เด็กเราดีให้มีมวลมากขึ้นช่วยหน่อย ผู้ที่ถนัดสอนก็อย่าขี้เกียจนัก ขยันๆหน่อย มันจะเป็นอบายมุขนะถ้าขี้เกียจ ช่วยสอนช่วยแนะนำคนไปปลูกฝังกันไปสร้างขึ้นไป 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม ดับชาติ 5 ด้วยวิชชา 8
วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 กุมภาพันธ์ 2564 ( 17:40:48 )

อัตราการเผยแพร่ธรรมะของพ่อครูมีลักษณะอย่างไร

รายละเอียด

คืออย่างนี้มันเอาแน่นอนตายตัวไม่ได้ มันไม่เที่ยงหรอก แรกๆนั้น คนที่จะมาจะเป็นคนมีบารมี มาปุ๊บเจอปั๊บ ทั้งๆที่ผมตอนนั้นคนยังไม่ยอมรับเลย ยังไม่รู้ดีว่าใช่ ที่จะมีคุณธรรมอะไรมา ยังไม่มีสำนักไม่มีอะไรด้วย แต่คนที่มาพบสัมผัสแล้วรู้ว่าใช่เลย คนนั้นมีบารมีเดิมก็จะมีจำนวนหนึ่ง เหมือนมากจำนวนหนึ่งเท่าที่บารมีของผม ก็จะมาเป็นแกนแก่น ก็ทำไป ก็จะยากขึ้น เพราะว่าต้องค่อยๆช่วยกันเพื่อที่จะสร้างอธิบายแล้วทำให้เป็นสภาวะที่ทำอะไรขึ้นมา มันจะฟื้นโลกุตรธรรมหรือปลูกฝังโลกุตรธรรมให้แก่ผู้ที่หลงผิดมา 2 พันกว่าปีแล้วไม่ง่าย แล้วมันก็จะได้ยาก ตอนแรกคนที่มีบารมีมารวมกัน ต่อไปก็จะยากขึ้น แล้วก็จะได้มากขึ้น ก็จะค่อยๆเห็นว่ามากขึ้นมา ทำงานมา 50 ปี ช่วงระยะ 10 ปีแรก ก็พรึบมา มีผู้มาประมาณหนึ่ง เสร็จแล้วก็จะยากขึ้นช่วง 20 ปีต่อมาก็จะยากขึ้น ช่วงที่ 30 ปีขึ้นไปก็จะดีขึ้น ช่วง 40 ก็จะยากขึ้นไปอีกมันก็จะสลับกัน ช่วง 50 ปีมานี้ ก็จะดีขึ้น ก็จะเป็นอย่างนั้น 

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม 2563


เวลาบันทึก 18 พฤศจิกายน 2563 ( 10:59:09 )

อัตราความเจริญของการเสียสละ

รายละเอียด

ปีหน้าเอาให้ได้ 20 ล้าน ไม่รู้ อยู่ที่พวกคุณ พูดไปปีหน้าให้ได้ 20 ล้าน อัตราความเจริญของการเสียสละเพิ่มพูนเสียสละ ไม่ใช่อยากอวดเก่ง มันเป็นการแสดงถึงประสิทธิภาพของคนจน แสดงถึงประสิทธิภาพของคนมีปัญญา ของคนที่เข้าใจว่า การช่วยเศรษฐกิจ ช่วยสังคม  ช่วยมนุษยชาติ ให้อยู่ดีกินดีขึ้นไป นี่แหละคือวิธี ใช่นี่แหละคือวิธี 

เพราะฉะนั้นคำว่าคนจนนี่แหละคือคนเกื้อกูลคนรวย คนรวยมันตะกละเท่าไหร่ มันก็ไม่จบหรอก แต่คนจนนั้นมันมีจุดพอ มีจุดจบ มีจุดน้อยไม่มีตัวตน แต่มีกองกลางมีสาธารณะ และเป็นสาธารณะที่ลึกซึ้งละเอียดซับซ้อน 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศนาธรรมต้อนรับปีใหม่ 2566 งานตลาดอาริยะครั้งที่ 41 วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม 2566 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 08 มกราคม 2566 ( 15:46:47 )

อัตราเร่งหรือการก้าวหน้าของพ่อครูเป็นระดับยกกำลัง

รายละเอียด

2 + 2 เป็น 4,  2 คูณ 2 เป็น 4, ยิ่งกว่า 2 เป็น 3,  3 กับ 2 คูณกันเป็น 6, 3 กับ 4 คูณกันเป็น 12, ถ้า 3 กับ 3 คูณกันเป็น 9 ก็เอายกกำลังมาแทน ซึ่งเป็นสังขยาเลขที่จะรู้ปฏิภาคทวีบวกลบคูณหารกัน ทวีขึ้นๆ 

จะมีเหตุรูปนาม m กับ c มวลกับแรง เขาก็เลยเรียกแรงว่าอัตราเร่ง เพราะเป็นระดับคูณ ไปหายกกำลัง จึงเป็นอัตราเร่งไม่ใช่อัตราบวก 2 + 2 เป็น 4,  4 + 4 เป็น 8 ไม่ใช่ ต้องเป็นอัตราการก้าวหน้า คูณขึ้นไป จนถึงยกกำลัง ถ้าถึงขั้นยกกำลังขึ้นไป ของอาตมาทำในระดับคูณ หรือยกกำลัง.. มันดูๆเหมือนจะยกกำลัง ไม่ใช่แค่ขั้นคูณ

เพราะว่า ช่วงนักษัตรหนึ่งมาแล้ว จาก 72 ปีมา 84 ปีมันยังไปดีอยู่นะ ถ้าจริงๆแล้ว 72 ปีมันจบ ถ้าไม่มีอัตราคูณ  อัตรายกกำลังเนี่ย  อาตมาคงหง่อมงอกแงกกว่านี้เยอะ กำลังวังชาจะไม่เท่านี้ แต่นี่อาตมาว่า นี่ไม่พยายามจะทำว่าฉันแข็งแรงกว่านี้ หนุ่มกว่านี้ ปรูดปราดกว่านี้ มันจะดูน่าเกลียด ถ้าอาตมาจะทำใกล้ๆกับนายภูมิ นายดีดี มันจะดูน่าเกลียด มันจะเหมือนเด็กๆ มันจะดิ้นเหมือนลิงเกินไป ขนาดนี้เขายังหาว่าเป็นลิงเลย ไม่นิ่งเลยไม่สงบเลย

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปฏิจจสมุปบาทสลายอวิชชาให้สิ้นอาสวะอนุสัย วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 16 มีนาคม 2564 ( 19:22:20 )

อัตราเร่งอย่างไรเรียกว่าสัมประสิทธิ์

รายละเอียด

เราจะรู้ได้ด้วยฐานจิตที่เรียกว่าปัญญา จะรู้พลังสัมประสิทธิ์คือพลังงานที่มีอัตราการก้าวหน้า อาตมาเข้าใจนัยยะพลังงานฟิสิกส์เขา พลังงานคนที่สามารถสร้างสัมประสิทธิ์คือรู้จักอัตราความเร่ง ที่สังเคราะห์เป็นนิวเคลียสมีพลังงานสูงสุดเท่าไหร่แล้วสามารถแยกบวกลบ บวกเป็นตัวตั้งที่แข็งแรง ลบเป็นตัวตั้งที่เร็ว ต้องแข็งแรง และรวดเร็วคู่กันเสมอ ทั้งสองอย่างต้องแน่น แข็งแรง มีแรงเหวี่ยงเร็วมากเท่าไหร่ก็ไม่มีคลอนแคลนกระดิกเลยสมบูรณ์ จะให้มากขึ้นก็เพิ่มตัวเร่ง ตัวเร่งก็ทำให้แข็งแรงขี้น หากแข็งแรงระดับบวกคนรู้ได้ยาก เขาจึงเอาระดับคูณไปถึงยกกำลัง จึงพอรู้แรง

เคลื่อน ยิ่งเร็วนี้รู้ยาก จับไม่ทัน คุณก็ต้องสร้างธาตุรู้ที่จะรู้ทันให้ได้ แม้วัตถุก็มีเครื่องจับ มิเตอร์จับ เพราะคนหมดสิทธิ์ใช้มิเตอร์เป็นเครื่องวัด นัยยะมนุษย์จะวัดจิตต้องใช้มิเตอร์ตัวเองเป็นเครื่องวัด

ตัวแปรที่เพิ่มพลังงานขึ้นเราต้องรู้ คนสามารถเรียนรู้ขั้นนี้ ควรเพิ่มพลังงานดี เราต้องรู้ว่าเพิ่มดี ไม่เสียหายต่อโลก พลังงานจิตเรา เราต้องรู้จิตเรา สามารถทำพลังงานจิตเรา ไม่มีอะไรพิสูจน์ดีเท่าเพื่อขยายอายุขัย จะเทียบวัตถุอะไรไม่เห็นชัดเท่าเลย เอามาขยายความเจริญของชีวะ

อาตมายอมรับว่าไม่เก่ง อธิบายนัยละเอียดอย่างคุณถามมา จะให้คุณอ๋อทันที ยังไม่เก่ง พยายามอยู่ พยัญชนะบาลีมีแต่อาตมาไม่เก่งแม้เอามาใช้พวกคุณก็หัวหมุน ขนาดนี้คุณยังแย่ หากเอามาใช้อีกจะไปไกลเกินจนทิ้งกันไม่คุ้มมันเสียมากกว่า

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการสำมะปี๋ซี่วิต ครั้งที่ 29 วันรัฐธรรมนูญ ที่บ้านราชฯ  

สื่อธรรมะพ่อครู(สัมประสิทธิ์) ตอน อัตราเร่งอย่างไรเรียกว่าสัมประสิทธิ์ วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม  2561

 


เวลาบันทึก 12 กุมภาพันธ์ 2564 ( 15:35:30 )

อัทธัจจะ

รายละเอียด

1. หมายถึงขั้นจะบรรลุยอดแห่งความยอดปลายสูงสุดจริงๆ ปานฉะนี้ จึงหาใช่มีความหมายเพียงง่ายๆ ว่า ฟุ้งซ่าน ตามภูมิต้นๆ ตื้นๆ ที่รู้กันอยู่เท่านั้นไม่ มันกินความละเอียดสูงส่งยิ่งกว่านั้นนักกว่านัก

2. ฝันเฟื่อง 

3. จิตวิญญาณที่ยังมีตัวกิเลสแฝงฝัง สิงสู่อยู่

4. แม้ช่วงเวลาใดระงับจิตตนไม่ให้กระเพื่อมไหวใดๆ เลยได้ตราบใด ผู้นั้นก็ถึงซึ่งนิพพานแล้วอยู่ตราบนั้น ข้อนี้พระพุทธเจ้าทรงเรียก อุทธัจจะ

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า376-377, ทางเอก ภาค 3 หน้า 493, สมาธิพุทธ หน้า 247


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:12:38 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:29:34 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:44:32 )

อัทธัมภาคิย

รายละเอียด

สังโยชน์ 5 เบื้องสูง

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 412


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:13:47 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:30:34 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:45:57 )

อัทธา

รายละเอียด

จริงๆ เป็นแน่แท้

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 555


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:14:21 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:22:19 )

อัทธา อสโฐ อมายาวี

รายละเอียด

เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่ได้มีมายาเลยจริงๆ เป็นแน่แท้

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 555


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:14:56 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:32:14 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:46:18 )

อัทธาน คืออะไร

รายละเอียด

ทีนี้ความหมายของอัทธาน คือ กำหนดรู้สังสารวัฏอันยืดยาว พระพุทธเจ้าหรือแม้แต่อาตมาก็รู้ว่า กาละ ก็มีอดีตปัจจุบันอนาคต อดีตหมายถึงขนาดไหน? ปัจจุบันหมายถึงขนาดไหน? อนาคตหมายถึงอย่างไร? ก็คงพอเข้าใจ ส่วนคนที่กำหนดสังสารวัฏวนเวียนด้วยกาลเวลาอันยืดยาวไม่มีที่สิ้นสุด คืออัทธาน มันก็ไปไม่มีที่จบ ไม่มีที่หยุด แล้วไม่มีปัจจุบันที่เรียนด้วย พวกอัทธาน ที่จอดก็ไม่มี ก็ไม่มีที่จบได้เลย

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ธรรมวิจัยให้รู้ความต่างในวิญญาณฐิติ 7 วันศุกร์ที่ 30 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 19 พฤษภาคม 2564 ( 20:36:01 )

อัทธานสูตร

รายละเอียด

อัทธานสูตรประพฤติพรหมจรรย์เพื่อกำหนดรู้สังสารวัฏ

 [122] ... ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค

เพื่อกำหนดรู้สังสารวัฏอันยืดยาว ฯลฯ  จบ สูตรที่ 4

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ มรรคมีองค์ 8 ทำให้พ้น

จากอัญญเดียรถีย์ วันศุกร์ที่ 23 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 01 พฤษภาคม 2564 ( 15:54:52 )

อันต

รายละเอียด

ที่สุด , ปลาย ,ปลายสุด

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 519 , ทางเอกภาค 3 หน้า 21


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:15:32 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:33:54 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:45:39 )

อันตคหิกทิฏฐิ 10

รายละเอียด

คือ ความเห็นที่ยึดเอาความเป็นที่สุดแต่ละเรื่องถึง 10 เรื่อง

หนังสืออ้างอิง

 “คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1 หน้า.217


เวลาบันทึก 09 พฤศจิกายน 2562 ( 15:47:47 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 17:02:09 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:23:30 )

อันตคาหิกทิฎฐิ 10

รายละเอียด

อันตะคือที่สุด 

คา คือเกาะกลุ่มกันอยู่

คนใดมีคาหิกะ  มีความรู้ไม่เป็นอาริยะและยึดในความเป็นที่สุด 10 ประการ ยังมีอยู่เยอะ 

อันตคาหิกทิฏฐิ 10 (ความเห็นอันถือเอาที่สุด, ความเห็นผิดที่แล่นไปสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง — the ten erroneous extremist views) คือเห็นว่า

       1. โลกเที่ยง (The world is eternal.)

       2. โลกไม่เที่ยง (The world is not eternal.)

       3. โลกมีที่สุด (The world is finite.)

       4. โลกไม่มีที่สุด (The world is infinite.)

       5. ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น (The soul and the body are identical.)

       6. ชีวะก็อย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง (The soul is one thing and the body is another.)

       7. ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็นอีก (The Tathagata is after death.)

       8. ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่เป็นอีก (The Tathagata is not after death.)

       9. ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็นอีก ก็ใช่ ไม่เป็นอีก ก็ใช่ (The Tathagata both is and is not after death.)

       10. ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็นอีก ก็มิใช่ ย่อมไม่เป็นอีก ก็มิใช่ (The Tathagata neither is nor is not after death.)

พ่อครูว่า...ที่สุดเขายึดอยู่ตรงนั้นไม่ได้เข้าใจว่ามันมีก็คือมีไม่มีก็คือไม่มี แต่นี่ยึดความหมาย 10 อย่างนี้ไว้ ซึ่งอันที่ไม่มี ไปยึดความไม่มีมันก็ไม่มี แต่ไปยึดความไม่มีเป็นมีอีก

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 27 พฤศจิกายน 2562 ( 13:29:17 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:16:06 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 21:01:43 )

อันตคาหิกทิฏฐิ 10

รายละเอียด

ที่กล่าวถึงว่าโลกนี้มีโลกนี้ไม่มี โลกนี้ใช่หรือไม่ใช่ ชีวะมีหรือไม่มี โลกมีที่สุดหรือโลกไม่มีที่สุด โลกมีที่สุดก็มิใช่ โลกไม่มีที่สุดก็มิใช้ เทียบพยัญชนะ คนที่ไม่เข้าใจก็จะงงแล้ว ความจบในที่สุดของความเป็นโลกที่จะรู้จบความเป็นโลก หรือความไม่มีโลกไม่ใช่โลก คุณจะรู้จบคุณถึงจะรู้จบ คุณยังไม่รู้จบมันก็จะไม่จบ ความเป็นชีพความเป็นชีวะ สรีระก็อย่างหนึ่งอัตตาก็อย่างหนึ่ง

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 7 มกราคม 2562


เวลาบันทึก 12 มกราคม 2563 ( 17:00:09 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:19:37 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 21:02:17 )

อันตคาหิกทิฏฐิ 10

รายละเอียด

คือ 1. โลกเที่ยง

2. โลกไม่ เที่ยง

3. โลกมีที่สุด

4 .โลกไม่มีที่สุด

5. อัตตาอันนั้น สรีระ ก็อันนั้น

6. อัตตาก็อย่าง สรีระก็อย่าง

7. สัตว์ตายแล้วยังมี อยู่

8. สัตว์ตายแล้วย่อมไม่มีอยู่

9. สัตว์ตายแล้วทั้งมีอยู่ ทั้ง ไม่มีอยู่

10. สัตว์ตายแล้วจะมีอยู่ ก็ไม่ใช่ ไม่มีอยู่ก็ไม่ใช่

หนังสืออ้างอิง

 คนจนที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1  หน้า 393


เวลาบันทึก 29 ธันวาคม 2562 ( 15:28:19 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:22:55 )

เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2563 ( 21:02:40 )

อันตคาหิกทิฏฐิ 10

รายละเอียด

อันตคาหิกทิฏฐิ 10 (ความเห็นอันถือเอาที่สุด, ความเห็นผิดที่แล่นไปสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง — the ten erroneous extremist views) คือเห็นว่า

       1. โลกเที่ยง (The world is eternal.)

       2. โลกไม่เที่ยง (The world is not eternal.)

       3. โลกมีที่สุด (The world is finite.)

       4. โลกไม่มีที่สุด (The world is infinite.)

       5. ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น (The soul and the body are identical.)

       6. ชีวะก็อย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง (The soul is one thing and the body is another.)

       7. ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็นอีก (The Tathagata is after death.)

       8. ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่เป็นอีก (The Tathagata is not after death.)

       9. ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็นอีก ก็ใช่ ไม่เป็นอีก ก็ใช่ (The Tathagata both is and is not after death.)

       10. ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็นอีก ก็มิใช่ ย่อมไม่เป็นอีก ก็มิใช่ (The Tathagata neither is nor is not after death.)

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 45 ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก

สังขารกับการเวียนว่ายตายเกิด


เวลาบันทึก 04 มีนาคม 2564 ( 14:38:32 )

อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ 10

รายละเอียด

อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ 10 เป็นไฉน  คือ

1. ความเห็นผิดที่ไปสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง  ว่า โลกเที่ยง

2. ความเห็นผิดที่ไปสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง ว่า โลกไม่เที่ยง

3. ความเห็นผิดที่ไปสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง ว่า โลกมีที่สุด

4. ความเห็นผิดที่ไปสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง ว่า โลกไม่มีที่สุด

5. ความเห็นผิดที่ไปสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง ว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น

6. ความเห็นผิดที่ไปสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง ว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น

7. ความเห็นผิดที่ไปสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง ว่า  สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก

8. ความเห็นผิดที่ไปสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง ว่า  สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก

9. ความเห็นผิดที่ไปสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง ว่า  สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี   ย่อมไม่เกิดอีกก็มี

10. ความเห็นผิดที่ไปสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง ว่า  สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้  ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ 

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎก เล่ม35  ข้อ1032   ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 15:03:02 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:25:27 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:48:16 )

อันตคู

รายละเอียด

ผู้ถึงที่สุด , ผู้ชนะความทุกข์

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 254


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:16:17 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:35:11 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:46:33 )

อันตรธานมี 5 อย่าง

รายละเอียด

1. อธิคมอันตรธาน     อันตรธานแห่งการบรรลุ  ในยุคนี้ไม่มีหายไปแล้ว

2. ปฏิปัตติอันตรธาน อันตรธานแห่งการปฏิบัติ    พุทธในเมืองไทยเป็นกัน 95 % แต่ว่าปฏิบัติกันกี่คน ผู้ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติก็ไม่บรรลุ ไม่เจริญในอธิศีล-สมาธิ-ปัญญา-วิมุติ ไม่เป็นไปตามธรรม(อธิคม)ของพระพุทธเจ้า มันไม่สัมมาทิฏฐิ ปฏิบัติก็มิจฉาปฏิบัติ

3. ปริยัตติอันตรธาน     อันตรธานแห่งปริยัติ พระพุทธเจ้าท่านได้พยากรณ์ไว้ในเรื่องของกลองอานกะ คือเหลือแต่ชื่อว่ากลองอานกะ แต่เนื้อกลองเพี้ยนไปหมดแล้ว เช่นเดียวกันกับที่เขายึดถือในปรมัติ แต่ไม่มีเนื้อโลกุตรธรรมแล้ว ของปลอมจะดูสวยดีด้วยเหมือนกลองอานกะ กลายเป็นปริยัติที่เพี้ยน แต่ก็ยังดีที่มีเหลืออยู่ ที่พ่อครูอธิบายจึงไม่ตรงกับที่เขาอธิบายมา เพราะที่ถูกต้องอันตรธานไปแล้ว

4. ลิงคอันตรธาน  อันตรธานแห่งเพศ  คือสมณะเพศก็เพี้ยนอีก คือกลายเป็นสมณะเพศที่ปลอม มาอาศัยทำมาหากิน มาบวชทำลายศาสนา มาทำเดรัจฉานวิชา มาหลอกลวงคนหาเงินบำเรอใจตน อยากใหญ่โตอยากร่ำรวย หาวิธีการประเล้าประโลมกันมากมาย มีสำนักที่เป็นตัวอย่างชัดเจนเลวร้าย ทั้งสายศรัทธาและสายเจโต สายศรัทธาก็หลอกเอาเงิน สายเจโตก็หลอกให้หลง มีเท่าไหร่เทเงินให้หมด แล้วเอาไปผลาญสร้างใหญ่โตเป็นไปเพื่อความมักมากใหญ่โต มอมเมาด้วยโลกียรส โลกียารมณ์

              ดังนั้นปริยัติที่เพี้ยนไปหมดทั้งสายศรัทธาหรือเจโต จึงไม่เข้าใจลิงค หรือความแตกต่าง ก็เลยมีแต่นักบวชที่ไม่ใช่สมณะเพศ ยิ่งกว่าหีนเพศ(ฆราวาส) ผู้ตั้งใจบวชกลับกลายเป็นพวกลักเพศ (มาปลอมบวชมาขโมยเพศ) แล้วคนก็ให้เอกสิทธิ์ ที่คนยกให้หลายอย่าง เชื่อถือเคารพ ให้เกียรติเคารพ ให้ของทาน ลุกรับ อัญชลี แล้วใช้สิ่งเหล่านั้นเป็นอุปกรณ์ทำเลว แล้วซับซ้อนหลอกคนให้เลื่อมในเพื่อได้สิ่งที่ต้องการ กอบโกย จนหลงตนว่าตนมีบารมี แล้วก็ทำใหญ่ ทำด้วยสิ่งที่หลงผิด เขาไม่รู้ตัว แต่ที่ทำทั้งรู้ก็มี แต่จริงๆรู้ตัวเหมือนกันว่าตน มีสสังขาร (การประกอบปรุงแต่งอย่างบาป) และเลวร้าย

              ดังนั้น เพศสมณะก็อันตรธาน ยิ่งมาใช้รูปเป็นนักบวช แล้วมาทำพฤติกรรมบาป บาปก็ยิ่งแพงยิ่งสูง

5. ธาตุอันตรธาน  อันตรธานแห่งธาตุ คือธาตุตั้งแต่วัตถุ จนถึงมโนธาตุ จิตธาตุ หรือวิญญาณธาตุ

              ธาตุวัตถุที่ดีอย่างพระบรมสารีริกธาตุ ที่แท้จริงก็อันตรธาน มีแต่ของปลอมเสียเยอะ เป็นยุคที่อันตรธานเกือบหมด เราก็มากู้กลับ อย่างเรื่องพระบรมสารีริกธาตุพ่อครูก็มีผู้เอามาให้ไม่ขาดมือ จริงหรือไม่จริงก็ไม่คิดที่จะพิสูจน์ ถือว่าเป็นเครื่องอาศัย อย่างพระพุทธรูปที่เราสร้างมานั้นคือของไม่จริง คือของสมมุติทั้งสิ้น เราก็เคารพได้สนิทใจ เป็นสิ่งแทนพระพุทธเจ้า

              พ่อครูก็ทำพระพุทธรูปมาใช้ ซึ่งอาจมีปางที่สองของพระพุทธรูปชาวอโศก ก็มีคนมาสเก็ตให้มาก เรียกว่าปางวิชิตอวิชชา มีพายุสลาตันพัดกระหน่ำอย่างแรงเลย ผ้าจีวรปลิวเลย ถือว่าเป็นผู้ห้ามลม วิชิตอวิชชา คือผู้ชนะอวิชชา มันก็เกิดตามที่พ่อครูจินตนาการ ก็ไม่ได้คิดฟุ้งฝัน ก็เกิดตามเหตุปัจจัย จะเกิดหรือไม่ก็ไม่รู้ ตอนนี้ผู้ที่รู้เรื่องก็อย่างเพิ่งไปขยายผลอะไรมากมาย

              ถือว่าเป็นสิ่งแทนพระพุทธเจ้า คนเราต้องอาศัยศรัทธานำ คนตีทิ้งศรัทธาก็ผิด คนหลงศรัทธาทิ้งปัญญาก็ผิดทั้งคู่ ต้องอาศัยทั้งสองอย่างคู่กัน

ที่มา ที่ไป

รายการทำวัตรเช้างานปลุกเสกครั้งที่ 37 เรื่องตอบกันด้วยวิญญาณพุทธ ตอน 6 วันศุกร์ที่ 12 เมษายน 2556


เวลาบันทึก 29 กุมภาพันธ์ 2563 ( 03:19:55 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 16:43:35 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:07:50 )

อันตรายของกาม 8

รายละเอียด

กามเกิดย่อมเป็นอันตรายแก่ผู้ประพฤติธรรม   กามเป็นบ่วงแห่งมาร(กิเลส)   เป็นแดนแห่งมาร    เป็นเหยื่อแห่งมาร   เป็นที่หากินของมาร

1. กามไม่เที่ยง (อนิจจา)

2. กามว่างเปล่า (ตุจฉา)

3. กามเลือนหาย (โมสธัมมา)

4. กามล่อลวง (มุสา)

5. กามให้ความยินดีน้อย (อัปปัสสาทา)

6. กามมีทุกข์มาก (พหุทุกขา)

7. กามมีความคับแค้นมาก (พหูปายาสา)

8. กามมีโทษอย่างยิ่ง (อาทีนโว)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 12“จูฬทุกขักขันธสูตร” ข้อ 211และ  

พระไตรปิฎกเล่ม 14“อาเนญชสัปปายสูตร” ข้อ 81

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก 


เวลาบันทึก 07 กรกฎาคม 2562 ( 16:59:27 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 17:03:25 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:26:09 )

อันตรายของกาม 8

รายละเอียด

กามเกิดย่อมเป็นอันตรายแก่ผู้ประพฤติธรรม กามเป็นบ่วงแห่งมาร (กิเลส) เป็นแดนแห่งมาร เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นที่หากินของมาร

1. กามไม่เที่ยง (อนิจจา)

2. กามว่างเปล่า (ตุจฉา)

3. กามเลือนหาย (โมสธัมมา)

4. กามล่อลวง (มุสา)

5. กามให้ความยินดีน้อย (อัปปัสสาทา)

6. กามมีทุกข์มาก (พหูทุกขา)

7. กามมีความคับแค้นมาก (พหูปายาสา)

8. กามมีโทษอย่างยิ่ง (อาทีนโว)

 

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 12“จุฬทุกขักขันธสูตร” ข้อ 211 พระไตรปิฎกเล่ม 14 “อาเนญชสัปปายสูตร” ข้อ 81


เวลาบันทึก 15 มีนาคม 2565 ( 20:48:29 )

อันตะ

รายละเอียด

1. เป็นที่สุด , ถึงยอด

2. ที่สุด 

3. ที่สุดแห่งที่สุด

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 100, ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 289, ป่ากับพุทธศาสนา หน้า 157


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:17:16 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:37:38 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:49:47 )

อันตะ

รายละเอียด

แปลว่า ไม่มีขอบเขต ไม่มีสิ้นสุด

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 08 กุมภาพันธ์ 2563 ( 12:53:01 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:27:18 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:50:02 )

อันตะ​

รายละเอียด

แปลว่า.. ปลายสุด.. สูงสุด

ในสัมมาอริยมรรคมีองค์​ 8.. มีแค่ข้อเดียวที่มีอันตะ..สัมมากัมมันตะ..

ชีวิต..หรือ..ชีวะ..อันสูงสุด..คือ..มีสัมมากัมมันตะ.. กรรมอันเป็นที่สุด..

กัมมัสโกมหิ..
กัมมะทายาโท..
กัมมะโยนิ..
กัมมะพันธุ..

มีแต่กรรมเท่านั้น.. เกิดขึ้น.. ตั้งอยู่.. ดับไป

อยู่ที่เราเลือก.. ที่จะทำกรรม..

เพราะท้ายสุด..
กัมมะปะฏิสะระโน..
เรามีกรรม.. เป็นที่พึ่งอาศัย

ที่มา ที่ไป

พ่อครูสมณะโพธิ​รักษ์ รายการตอบปัญหาผ่าเปรี้ยง 210312 


เวลาบันทึก 29 เมษายน 2563 ( 12:39:17 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 08:33:56 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:49:20 )

อันตา

รายละเอียด

คือ ไม่มีข้าง, ส่วน, ปลาย, ฝ่าย, ด้าน, โต่ง, เหลื่อม

หนังสืออ้างอิง

 “คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1หน้า 43


เวลาบันทึก 08 พฤศจิกายน 2562 ( 13:43:58 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 17:05:08 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:50:52 )

อันตา

รายละเอียด

1. ปลายข้าง 

2. โต่ง 

3. ยอด , ชาย , ปลาย ,โต่ง , ข้าง , ที่สุด

หนังสืออ้างอิง

รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 20,พุทธเป็นอเทวนิยมอย่างนี้ หน้า 34, ค้าบุญคือบาป หน้า 43


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:18:35 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:40:00 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:27:06 )

อันตา

รายละเอียด

อันตา แปลว่า ส่วนปลายข้างใดข้างหนึ่ง 

ที่มา ที่ไป

630527


เวลาบันทึก 28 พฤษภาคม 2563 ( 15:19:59 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 08:34:23 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:51:14 )

อันติกะ

รายละเอียด

สูงกระเถิบขึ้นๆ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 110


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:19:35 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:41:31 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:27:40 )

อันติมะ

รายละเอียด

1. สูงสุด 

2. เราไม่พัก ก็คือเราเพียรอยู่เสมอ ไม่ย่อหย่อน เรามีความช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ , เรามีที่ยึดเหนี่ยวคือความไม่พักนั่นเองอยู่ , เรามีความไม่พักเป็นความค้ำจุน เป็นที่พึ่ง 

3. เสร็จสุดท้าย 

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 110,สมาธิพุทธ หน้า 259, ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 229


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:20:53 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:43:00 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:51:45 )

อันนี้แหละเป็นพืช

รายละเอียด

เพราะฉะนั้น ถ้าเราเข้าใจอันนี้ แยกได้ว่า อาการรู้สึกนี้ เล็บที่มันยาวออกมาจากประสาท เมื่อกี้ประสาทอธิบายไปแล้วว่ามันเป็นความรู้สึกเจ็บ เป็นเวทนา มีเวทนาเป็นจิตนิยาม ส่วนที่เป็นชีวะอยู่เหมือนกัน เล็บของเราที่ยาวออกพ้นจากประสาท มันไม่ติดกับประสาทแล้วมันพ้นออกไปเป็นชีวะ ไอ้ที่พ้นออกมานี่แหละไม่ติดประสาทแล้ว เป็นชีวะอยู่ อันนี้แหละเป็นพืช ไม่มีเวทนาแล้ว ไม่มีความรู้สึกไม่รู้สึกเจ็บ ไม่รู้สึกอะไรแล้ว เฉยๆ 

อย่างคนผมยาว คนมาจับปลายผมเรา ไม่กระตุกไปถึงประสาทไม่ดึงไปถึงผิวหนังเส้นประสาท เขาจะจับผมหรือจะตัดออกไปเราก็ไม่รู้สึกตัว เจ้าของเจ้าตัวก็ไม่รู้สึกอะไร เพราะฉะนั้นคนตัดผมก็ตัดไปสิ จะหั่นจะซอยอย่างไรก็ไม่เจ็บอะไร เพราะมันไม่มีความรู้สึก มันเป็นชีวะ ถ้าตัดขาดออกไปแล้วส่วนที่ขาดออกไปไม่มีชีวะแล้วก็เป็นอุตุ เป็นดินน้ำไฟลม พืชก็ไม่เป็นแล้ว ถ้าตัดออกไปแล้วก็เป็นอุตุ ถ้ายังอยู่ก็เป็นพืชได้ เข้าไปอีกถึงประสาทก็เป็นจิตซึ่งเกิดด้วยกรรมกับธรรมะ ทีนี้เราก็มาปฏิบัติประพฤติใจในใจของเราให้เป็นเช่นนี้ได้ อย่างที่คุณถามมาว่า จะทำอุตุได้ขณะที่ชีวิตเป็นๆ ได้ไง ส่วนที่ทำเป็นพืชเข้าใจอยู่ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิคนวรรณะ 9 เป็นคนรวยที่จน เป็นคนจนที่รวย วันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม 2566 แรม 12 ค่ำ เดือน 8 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2566 ( 11:21:18 )

อันว่าทาน การให้ ก็ไร้ผล

รายละเอียด

_อันว่าทาน การให้ ก็ไร้ผล ศีลก็ปน จารีต สิ่งกีดขวาง

ภาวนา วิปริต ผิดแนวทาง  บุญต้องสร้าง ด้วยทรัพย์ ช่างอับปรีย์

”อันว่าทาน การให้ ก็ไร้ผล” เมื่อไม่สัมมาทิฏฐิแล้ว เรื่องทานเป็นเรื่องแรกคุณธรรมของมนุษยชาติเป็นเบื้องต้นสำคัญ เพราะฉะนั้นเพราะมิจฉาทิฏฐิในเรื่องทาน ก็ไม่มีมรรคผลกัน ทุกวันนี้ก็ไปหมดเลอะเทอะ ทำทานก็ทำเพื่อภพเพื่อชาติ ทำเพื่อการค้าการขาย ทำเพื่อการหลอกล่อกันเรื่องทานนี่ มันก็เลยยิ่งเสียหายใหญ่เลย ก็ไร้ผล 

“ศีลก็ปน จารีต สิ่งกีดขวาง” เพราะฉะนั้นปฏิบัติศีลก็กลายเป็น 

สีลัพพตุปาทาน กลายเป็นศีลที่เป็นเรื่องของจารีต ของประเพณี ไปไหน ก็ถือศีล ถือศีลก็เข้าวัดไปทำ วันนี้มาบำเพ็ญวันพระ มาถือศีลกินเจ แล้วก็ถือศีลตามจารีตที่เขาทำเคร่ง ถือศีล 5 ถือศีล 8 ส่วนมากก็จะไปวัด ก็จะเป็นการถือศีล 8 ถือศีล 8 เคร่ง ไม่ฆ่าสัตว์  ไม่ลักทรัพย์   ไม่ผิดผัวเขาเมียใคร ไม่พูดปด  ไม่ดื่มน้ำเมา โอ้บริสุทธิ์ศีล 5 เป๊ะ ก็ดี ดีอยู่แต่มันไม่ไปไหน มันนิดเดียว เผินๆ ผิวๆ ได้แค่นั้น เอา ค่อยๆ ว่ากัน เพราะอาตมาจะเอาศีล สมาธิ ปัญญา นี่แหละเป็นหัวใจศาสนา การศึกษาของศาสนาพุทธเรียกว่าไตรสิกขา

ที่มา ที่ไป

ครบรอบ 53 ปี โพธิกิจ พ่อครูเทศนาภาคค่ำ งานมหาปวารณา ครั้งที่ 41 วันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2566 แรม 6 ค่ำ เดือน 11 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 15 กุมภาพันธ์ 2567 ( 16:35:18 )

อันไหนมีธรรมวาที อันไหนอธรรมวาที

รายละเอียด

นี่แหละ พระพุทธเจ้าก็ส่งเสริมให้พูดอย่างนี้ แต่ที่อาตมาจำเป็นต้องเอาภาษาบาลีก็ดี เอาภาษาธรรมะยากๆต้องนำมาใช้ก็เพราะว่า คนไม่เชื่อน้ำหน้าอาตมา อาตมาจึงต้องเอาภาษาธรรมะของพระพุทธเจ้ามาประกอบ เอาแม้แต่ภาษาบาลีมาประกอบ เพราะเอาภาษาธรรมะเขาก็ยังไม่เชื่อเท่าไหร่ พวกหัวไอ้เรืองพวกที่เขายึดถือ เราก็จำเป็นต้องใช้ประกอบบ้าง เพื่อยืนยัน เพื่ออ้างอิงยืนยันให้เขาเห็นว่า มันไม่ได้นอก มันอยู่ในนี้ แม้ว่าจะแปลบาลีไปคนละอย่าง แต่ไม่เหมือนเขา จะบอกว่าทำไมแปลไม่เหมือนเขา เขาก็เป็นอย่างเขาสิ สุดท้ายพระพุทธเจ้าก็บอกว่าให้เลือกเอา อันไหนมีธรรมวาที หรือ อธรรมวาที อิสรเสรีภาพให้เลือกเอาเอง มันมีให้เลือก 2 อย่างนะ ใครเห็นว่าดีก็เอาอันนั้น นี่เป็นอิสรเสรีภาพสูงสุด 

อาตมาทำตามพระพุทธเจ้าสอนทุกอย่าง แล้วเราก็ทำได้มาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ก็จะพิสูจน์กันอย่างนี้ อาตมายังนึกอยู่ เสมอว่า สิ่งที่อาตมานำมานี้ความตรัสรู้เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อย่างนี้ นำมาสืบทอดขยายความ นำมาสืบต่อให้คนอื่นได้รู้ตามอย่างนี้ แต่ว่าไม่ได้ผิดเพี้ยนจนกระทั่งเข้าใจปฏิบัติตามจนกระทั่งได้ผลตาม เอาชีวิตมาอยู่กันอย่างนี้ตาม เป็นปรากฏการณ์จริงไม่ใช่เรื่องลอยลม 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 18 ผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงจิตวิญญาณมนุษย์ และอภิวัฒน์สังคม วันจันทร์ที่ 17 เมษายน 2566 แรม 12 ค่ำเดือน 5 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 09 พฤษภาคม 2566 ( 16:12:52 )

อัปปณิหิตตังจิตตัง

รายละเอียด

ไม่ตั้งจิตต่อใดๆ

หนังสืออ้างอิง

ยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 62


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:22:27 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:43:39 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:28:34 )

อัปปณิหิตนิพพาน

รายละเอียด

อรหันต์ที่ตายแล้วสูญไปเลย

หนังสืออ้างอิง

ยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 293


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:23:25 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:44:37 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:52:03 )

อัปปณิหิตนิพพาน

รายละเอียด

คือ "เป็นผู้“ทำการตายให้แก่ตน ได้อย่างเก่งสุด” คือ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ซึ่งสามารถจะ ตายสูญจบสิ้นขั้น“ปรินิพพานเป็นปริโยสาน”ก็ได้ จะตายฟื้น เหมือนนักมายากลผู้เก่งกล้า หรือเป็น“สิริมหามายา”กลับไป กลับมา คือ ให้เกิดก็ได้-ให้ตายก็ได้ มีอมตธรรม เป็นอมต บุคคล ผู้เป็น“เจ้าแห่งความตาย” ตาม“มูลสูตร 10 ข้อ9”

หนังสืออ้างอิง

 คนจนที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1  หน้า 367


เวลาบันทึก 29 ธันวาคม 2562 ( 14:47:40 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:28:29 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:52:32 )

อัปปณิหิตวิโมกข์

รายละเอียด

ความหลุดพ้นจากกิเลสโดยละล้างเหตุอันเป็นที่ตั้งแห่งความอยากเฉพาะตัวนั้นๆ ได้

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 530


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:24:22 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:45:38 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:52:53 )

อัปปณิหิตะ

รายละเอียด

ไม่มีความตั้งใจ , ไม่มีการปรารถนา

หนังสืออ้างอิง

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 162


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:25:07 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:46:37 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:29:18 )

อัปปณิหิโต ผัสโส

รายละเอียด

สัมผัสอันเกี่ยวเนื่องกับสภาพที่ปลอดจกความต้องการทุกอย่างแล้ว

หนังสืออ้างอิง

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 50


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:25:05 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:47:22 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:55:01 )

อัปปติฏฐัง อนายูหัง โอฆมตรินติ

รายละเอียด

เราไม่พัก เราไม่เพียร นั่นคือเราเป็นผู้ข้ามโอฆสงสารได้แล้ว

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 259


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:24:14 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:49:26 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:30:24 )

อัปปนา

รายละเอียด

1. ทำได้สนิทแน่นอนตามเจตนาอยู่ อยู่อย่างนั้น เป็นอย่างนั้นได้ไม่เป็นอื่นไป

2. จิตที่ทำได้ เป็นได้ก็มีขึ้น ตั้งมั่นขึ้น แนบแน่นขึ้น

3. ความแน่ว

4. แน่วแน่

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 304 , สมาธิพุทธ หน้า 115, ป่ากับพุทธศาสนา หน้า 145 

อีคิวโลกุตระ หน้า 139 , รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 64,สมาธิพุทธ หน้า 250


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:23:10 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:52:08 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:53:43 )

อัปปนา

รายละเอียด

แปลว่าแน่วแน่

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 06 ธันวาคม 2562 ( 17:20:58 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:29:33 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:54:05 )

อัปปนา พยัปปนา เจตโสอภินิโรปนา

รายละเอียด

ทางด้านศาสนาเทวนิยมจะมีแต่ อัปปนา เขาจะไม่มี พยัปปนา เจตโสอภินิโรปนา เขาจะไม่มีสิ่งที่พิเศษเจริญมากยิ่งขึ้นเพราะมีแต่สิ่งดับเข้าไปหาศูนย์ ไม่มีพลังงานของปัญญา ไม่มีพลังงานของธาตุรู้ เขาจะดับธาตุรู้เฉยๆ มันจะรู้ก็ดับลงไป มันก็ไม่รู้ไม่รู้มันก็ไม่มี พยัปปนา ยิ่งรู้หลอกว่ารู้อัตตาเยอะ แต่เราไม่มีอัตตาแล้วแต่เรารู้เรื่องมุมของอัตตาของโลกคนอื่น ของอัตตาคนอื่น ก็จะช่วยผู้อื่นได้มากยิ่งเป็นคนที่ช่วยรื้อขนสัตว์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นได้เยอะ วิจิตรพิสดารกว่าสาย เทวนิยม ของเราศึกษาก็จะเข้าใจมากยิ่งขึ้น พวกนั้นเขาฟังแล้วอาจจะบอกว่าพูดเก่งแต่เขาฟังไม่รู้เรื่อง พูดมาไม่รู้จะเอาอะไรเถียงเพราะเขาไม่รู้ว่าอาตมาพูดอะไรเขาก็เถียงไม่ออก หยิบตรงไหนมาแย้งเขาก็เถียงไม่ได้ แต่ฟังดูแล้วมันมีเหตุมีผลมีหลักฐานขัดแย้งไม่ได้ หรือเอาหลักฐานมายืนยันก็แพ้หลักฐาน ไม่ทันอาตมา เขาก็เลยไม่สู้ไม่อยากทำให้ขายขี้หน้าไม่อยากหน้าแตก พูดแล้วดูเหมือนไม่งามแต่มันเป็นสัจจะ 

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563


เวลาบันทึก 25 พฤศจิกายน 2563 ( 08:14:57 )

อัปปนาวิถี

รายละเอียด

มีจิตรับรู้สดใส เต็มไปด้วยสติแนบแน่น มั่นคงอยู่เสมอ

หนังสืออ้างอิง

(จากหนังสือทางเอก ภาค 2 หน้า 220)


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:18:04 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:53:04 )

อัปปนาสมาธิ

รายละเอียด

1. เป็นขั้นมีสมาธิถึงขนาดที่จะสร้างนิมิตขึ้นมา ก็จะบังคับนิมิตนั้นได้-เก่งขึ้น ๆ จิตจะมีอำนาจ วสีขึ้น สูงขึ้น ๆ และเมื่อเรียนรู้จิตถูกต้อง ได้-หัดรู้และหัดดับ

2. จิตตั้งมั่นแน่วแน่แล้ว ตัดขาดได้มั่นคงในจิตแล้ว นับว่าได้วิมุตติก็-ตรง กิเลสขาดจากจิตได้แน่วแน่ มั่นคงอย่างเด็ดขาด

3. ตั้งมั่นจนสำเร็จอย่างแน่วแน่ เด็ดขาด เที่ยงแท้ มั่นคง

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 253 ,ทางเอก ภาค 2 หน้า 304,เปิดโลกเทวดา หน้า 53


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:16:24 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:54:30 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:32:58 )

อัปปมัญญา

รายละเอียด

1. มีลักษณะที่เป็นคุณงามความดี อันไม่มีประมาณอย่างสูงสุด ก็ถึงเป็นผู้มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาอย่างไม่คิดมูลค่าใด ๆ เลย อย่างไม่คิดนึกหวังผลตอบแทนใด ๆ แม้แต่หวังผลบุญหรือสวรรค์

2. ไม่มีขอบเขต – ไม่มีกำหนด , ไม่มีกำหนดประมาณ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 118 , ยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 103,214


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:14:38 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:57:03 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:54:40 )

อัปปมัตต

รายละเอียด

ความมีประมาณน้อย

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 486


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:13:28 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:57:49 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:55:22 )

อัปปมาณ

รายละเอียด

มากมายอย่างหาประมาณไม่ได้

หนังสืออ้างอิง

ยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 380


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:12:45 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:58:31 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:55:48 )

อัปปมาณาภาพรหม

รายละเอียด

มีประมาณมาก อาจจะมากจนนับไม่ได้ มากจนไม่มีขอบเขตโน่นแหละเป็นที่สุด จะมากไปเท่าใด ๆ ก็ได้ ไม่กำหนด

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 404


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:11:47 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:59:13 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:57:12 )

อัปปมาท

รายละเอียด

ความไม่ประมาท

หนังสืออ้างอิง

(จากหนังสือสมาธิพุทธ หน้า 486486)


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:10:13 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 15:00:40 )

อัปปมาท

รายละเอียด

ความไม่ประมาท

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 486


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:10:18 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 15:01:43 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:56:15 )

อัปปมาทสัมปทา

รายละเอียด

ความถึงพร้อมแห่งความไม่ประมาท

หนังสืออ้างอิง

เปิดโลกเทวดา หน้า 127


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:09:31 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 15:02:19 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:34:06 )

อัปปมาทะ

รายละเอียด

สุริยเปยยาล ข้อที่ 6 คือความไม่ประมาท ต้องไม่ประมาท ถ้าไม่ประมาทเสมอๆไม่มีวันพลาด

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 10 พฤศจิกายน 2562 ( 15:32:36 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:30:26 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:56:45 )

อัปปาตังกัง

รายละเอียด

มีความไม่ขาดตกบกพร่อง

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 243


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:08:45 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 15:03:04 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:35:20 )

อัปปาพาธัง

รายละเอียด

มีความไม่ป่วยไข้

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 243


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:07:07 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 15:04:10 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:57:31 )

อัปปิจฉกถา

รายละเอียด

พูดไปก็ชักนำกันให้ออกจากความมักมาก สู่ความมักน้อย มากล้าจนกัน แล้วจะไปรวยกันตรงนั้นตรงนี้ ไม่พูดกันเลย อันนี้เป็นเรื่องจริงเลย ไม่ใช่ว่าพูดแล้วคนจะมีลักษณะนี้ได้ด้วยหรือ จริง อย่างชาวอโศกตั้งแต่ข้อ 1 พูดแล้วก็ชักนำให้มักน้อยกัน

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม เรียนอัตถิราคสูตรให้หมดสุขหมดทุกข์แท้จริง วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 24 กุมภาพันธ์ 2564 ( 15:44:14 )

อัปปิจฉะ

รายละเอียด

คือ มักน้อย หรือ ชอบในการเป็นคนจน

หนังสืออ้างอิง

 “คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1หน้า 90


เวลาบันทึก 09 พฤศจิกายน 2562 ( 12:56:11 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 17:06:32 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:57:55 )

อัปปิจฉะ

รายละเอียด

คือ ยินดีพอใจกับการมีน้อย

หนังสืออ้างอิง

 “คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1 หน้า.42


เวลาบันทึก 08 พฤศจิกายน 2562 ( 13:36:34 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 17:07:20 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:36:36 )

อัปปิจฉะ

รายละเอียด

อัปปิจฉะ คือ มักน้อย กล้าจน

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช ครั้งที่ 68 วันจันทร์ที่ 9 เดือนกันยายน 2562


เวลาบันทึก 22 ตุลาคม 2562 ( 14:47:57 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:31:09 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:58:16 )

อัปปิจฉะ

รายละเอียด

1. รู้พอดีของตน เหลือไว้น้อยที่สุดที่จะน้อยได้

2. พระสงฆ์ที่เป็นผู้มักน้อย

3. ความน้อยลง

4. ไม่ให้ความปรารถนาตามใจเกิดขึ้นเลยได้ยิ่งดีสุด

5. มักน้อย

6. กล้าจน

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 194 ,307 , ทางเอก ภาค 2 หน้า 138,ทางเอก ภาค 3 หน้า 385 , วิถีพุทธ หน้า 29 ,  53 , ค้าบุญคือบาป หน้า 70


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:06:11 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 15:07:32 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:00:54 )

อัปปิจฉะ

รายละเอียด

น้อยได้เท่าไหร่ก็ยังพอ น้อยจนเป็น 0 คนที่ไม่มีหนี้เลยคือเริ่มต้นได้แล้ว มาในอโศกก็ใช้หนี้ให้เสร็จก่อน มาแต่ตัวกับหัวใจอย่าพกหนี้มา หรือพกหนี้มาก็อย่าให้ยุ่งกับหมู่ ปิดบังไว้ก็ทำหนี้ให้หมด มาก็มาเถอะ แต่อย่าให้มาวุ่นวายกับหมู่เขา เพราะที่นี่หมู่เขาไม่มีหนี้แล้ว มันเป็นทุกข์จริงๆเรื่องหนี้ อาตมานึกถึงชีวิตตัวเอง ผ่อนหนี้เก่งด้วยนะ ธนาคารชมเลย พอผ่อนส่งปั๊บก็มีใบมาบอกให้กู้อีก เพราะว่าเราเครดิตดี ส่งได้ไม่ขาด เขาจะรู้ คนไหนเป็นลูกหนี้ชั้นดี คนไหนเป็นลูกหนี้ไม่น่าคบ

มักน้อยมีน้อยก็พอ ไม่มีเลยก็ยังอยู่ได้ไม่มีทรัพย์สินศฤงคาร ส่วนตัวไม่มีบ้านช่องเรือนชานส่วนตัว เป็นอนาคาริกชน อยู่กับหมู่นี่ ใครเป็นคนอย่างนี้ยกมือสิ...เราไม่เป็นหมาหัวเน่า ถึงขนาดเขาไม่อยากให้อยู่ใกล้ๆอย่างนี้ก็ยาก แต่ไม่ถึงขั้นหมาหัวเน่าก็อยู่ได้ พักบ้านโน้นบ้านนี้จะกินจะอยู่กับส่วนกลางสบายอยู่แล้ว นี่เป็นรายละเอียดของสังคมสาธารณโภคีสังคมที่กินใช้ร่วมกัน ต่างคนต่างขยันหมั่นเพียรสร้างสรร ใครสร้างสรรมาก แต่เรากินน้อยใช้น้อยก็ไม่ได้ขาดทุนอะไร คุณจะสร้างสรรมากแล้วเอาเข้ากองกลางกินใช้ร่วมกัน ไม่ต้องไปคิดหรอกวิบากจะจัดสรรของมันเอง ไม่ต้องเป็นห่วงกังวลว่าไม่ได้ลงบัญชีไว้ เราทำได้ 5000 เรากินแค่ 200 ไม่ต้องลงบัญชีว่าของเรา 4800 ไม่ต้องเลย เสียเวลา วิบากจะจัดสรรของมันเองตามสัจธรรมสบายจะตาย ข้อสำคัญต้องรู้ตัวจริงๆว่า อันนี้คุณกินใช้มากกว่า หรือคุณทำงานเข้ากองกลางมากกว่า อันนี้เป็นสิ่งที่ควรจะคำนึงควรจะตรวจสอบตัวเอง ว่าอยู่ไปยิ่งเป็นหนี้หรือไม่

ที่มา ที่ไป

รายการทำวัตรเช้า งานว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน บ้านราช วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 31 ธันวาคม 2562 ( 16:29:11 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:32:52 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:02:45 )

อัปปิจฉะ

รายละเอียด

คือ ความอยากมีน้อย หรือมักน้อย มักก็คือชอบ ชอบอะไร ชอบมีน้อยๆ ไม่ได้ชอบมีมาก  มีจิตที่เป็นอย่างนั้นจริงๆ หากว่ามีอะไรมากเกินกิน เกินใช้ก็ให้คนอื่นเขาเถิด  ไม่ได้ยึดติด ไม่ได้เอาไว้เป็นของตัวเอง

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 22 ธันวาคม 2562 ( 22:28:23 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:33:39 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 15:01:21 )

อัปปิจฉะ กับอปจยะ ต่างกันอย่างไร

รายละเอียด

อัปปิจฉะ แปลว่ามักน้อย คือชอบที่จะมีน้อยๆ ไม่ชอบที่จะมีมากๆ แปลเป็นภาษาสั้นว่า มักน้อย สรุปคือคนไม่ชอบไปรวยเป็นคนที่จะชอบไปทางจน คนนี้ก็มีนะ มีไหม(โยมว่ามี) คนที่จะชอบจน แล้วจนนั้นมีความสุขด้วย มีความดีงามได้ด้วยและเป็นประโยชน์ต่อโลกเขาได้ด้วยอีก เป็นประโยชน์กว่าคนรวย คนรวยนั้นเป็นคนโลภโมโทสันเป็นโทษเป็นภัยต่อโลก แต่คนจนนั้นมีประโยชน์ต่อโลก พูดจาให้ฟัง ไม่รู้ว่าคนรวยเขาจะฟังกันไหม เขาก็อาจจะไปดูหุ้นดูกิจการ คนมีบ้านหรูมีรถหรู อย่างผู้กำกับโจ้ เขาก็ไม่ได้เป็นอย่างที่ผกก.โจ้เขาก็อาจจะคิดว่าจะมีใครมาว่าเขาได้ 

อปจยะ แปลว่าไม่สะสม หรือกล้าจนเป็นคนมักน้อยชอบจะมีน้อยๆกับไม่สะสมไม่สะสมก็ไม่มีมาก มีน้อยๆ ก็ไม่สะสมได้แต่มีน้อยๆ ค่อยสะสมก็ได้นะ แต่ไม่สะสมนี่สูงกว่า ไม่สะสมอยู่ระดับ 8 ในวรรณะ 9 แต่ อัปปิจฉะนี้มักน้อย อยู่ลำดับ 3

พวกเราไม่สะสมเป็นส่วนใหญ่ หรือบางคนอาจมีสะสมไม้จิ้มฟัน แต่จะไปสะสมอย่างเมื่อก่อน สะสมเพชร สะสมทอง สะสมบ้านช่องเรือนชาน หรือบางคนสะสมภรรยาสามีหลายคน เป็นต้น พวกเราก็ไม่สะสมแล้ว เป็นคนที่หมดเนื้อหมดตัวนั้นเอง สุดท้ายไม่สะสมจนรู้จักจิตเจตสิกรูปนิพพานจนไม่สะสมตัวตน รู้สึกอย่างนั้น อัปปิจฉะ คือมักน้อย ก็อาจจะมีสะสมอยู่ แต่
อปจยะ คือไม่สะสมเลย สูงกว่า

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ระบอบบริหารประเทศที่โลกมีกัน 9 แบบ วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 03 ธันวาคม 2564 ( 05:15:39 )

อัปปิจฉะ คืออย่างไร

รายละเอียด

อัปปิจฉะ คือกล้าจน มีไว้น้อยๆ คนที่มีปฏิภาณปัญญาจริงๆ มีน้อยนี่มันเบามันพอ โดยเฉพาะอยู่ในสาธารณโภคี ช่วยกันสร้างช่วยกันดูแลในส่วนกลาง แล้วไม่ต้องสะสมกอบโกย ไม่ต้องเหลือเฟือให้แก่ตัวเองมากมาย พอใช้สอยแล้วก็สร้างสรรให้มีพอคงคลัง ให้พออาศัยใช้สอยไม่ขาดแคลนเท่านั้นก็พอแล้วหมุนเวียนไป เราก็เป็นคนมีประโยชน์ต่อโลก

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์งานมหาปวารณาครั้งที่ 39 คนฉลาดสร้างอาหาร คนชั่วช้าสามานย์สร้างอาวุธ วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 12 พฤศจิกายน 2564 ( 21:25:01 )

อัปปิจฉะ คู่กับ สันตุฏฐิ

รายละเอียด

อัปปิจฉะ มักน้อยไม่เอามาก ปรารถนาน้อย น้อยที่สุดเท่าไหร่คือ 0 อัปปิจฉะ นี่แปลความหมายก่อน สันตุฏฐิ แปลว่าใจ พอ ยิ่งน้อยเท่าไหร่ยิ่งพอ ใจพอ ไปหา 0 อัปปิจฉะ ไม่ต้องไปมีมากมายหรอก 0 ก็พอ คนนี้เจริญ หรืออนุโลมได้แค่ 1 หรือ 2 ก็พอ อัปปิจฉะ เป็นตัวกำกับอยู่แล้ว ใจที่พอคู่กับอัปปิจฉะคือ สันตุฏฐิ

ไม่ใช่ไปหาให้มากแล้วพึงพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ ไปถามคุณธนินหรือคุณเจริญได้ เขามีของเขาเขาพอใจของเขาที่มีอยู่ไหม เขาก็ว่าพอใจ เขาก็เป็นคนที่ สันตุฏฐิ สันโดษแล้วสิ ไปถามบิลเกตส์ เพราะฉะนั้นมันไม่พอมันไม่หยุด

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปฏิบัติจรณะ 15 พาให้พ้นสวรรค์คนโง่ วันพุธที่ 3 มีนาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 15 มีนาคม 2564 ( 14:45:13 )

อัปปิจฉะ สันตุฏฐิ

รายละเอียด

ความมักน้อยสันโดษ

หนังสืออ้างอิง

พุทธเป็นอเทวนิยมอย่างนี้ หน้า 132


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 14:04:20 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 15:08:20 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 14:38:33 )

อัปปิจฉะกับมหัปปิจฉะ

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นคนทุกวันนี้ เข้าใจแค่ Economy กับ Luxury เข้าใจแค่ประหยัดมีน้อยมักน้อย กับการไปหลงมีมากมากๆ พยัญชนะบาลีหลักการพระพุทธเจ้าก็คือ อัปปิจฉะกับมหัปปิจฉะ มักน้อยคืออัปปิจฉะ มีน้อยๆหรือสูญไปเลยก็ได้กับ มหัปปิจฉะ มีมากเท่าไหร่ก็ไม่มีขอบเขต ไม่พอ มีมากเท่าไหร่นับไม่ถ้วนจนไม่มีประมาณเลย อัปปมัญญา มันก็พูดกันไม่รู้เรื่องคนที่มีไม่พอ มากเท่าไหร่ก็เอา กับคนที่มีที่จบ มีที่ศูนย์ มีที่พอ มีกรอบ พอแค่นี้อาศัยแค่นี้มี 1 มี 2 มี 3 มี 4 มี 5 อย่างมากก็แค่มี 5 ก็พอแล้ว ปัญจะมีเลข 5 อย่างดีถ้าคุณสามารถควบคุมได้ก็เป็น 7 มีพลังงานส่วนเหลือส่วนเกินก็เอาไปทำงานรับใช้ผู้อื่น 

แต่ถ้าคุณมีส่วนเกินที่มากกว่า 5 แล้วคุณก็เอามาโลภ เอาไปทำร้ายผู้อื่น กรรมวิบากของคุณก็ต้องเป็นจริง แต่ถ้าคุณซื่อสัตย์รับใช้ให้แก่ผู้อื่น กรรมวิบากของคุณก็ดี เรียนรู้กรรมวิบากอันนี้เป็นสัจจะความจริงเลยไม่มีใครแย้งได้ เพราะฉะนั้นเรื่องประหยัดกับเรื่องมักมาก แค่นี้ก็ยังเข้าใจไม่ได้ในความจริง แล้วคุณก็ประพฤติจริงอยู่ในร่องในรอยของคำพูดนั่นแหละ บัญญัติหรือมักมากฟุ่มเฟือยหรูหรา ทีนี้เราก็ไปมองดูคนส่วนใหญ่ คนส่วนใหญ่มักมากหรือมักน้อย …มักมาก มันเป็นธรรมชาติของกิเลสของเขา

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ เก่งที่สุดกว่าทุกประเทศ คือเปรตแท้ วันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม 2566 แรม 15 ค่ำเดือน 6 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 24 พฤษภาคม 2566 ( 12:49:43 )

statistics

ติดต่อสอบถาม

Facebook : test

Youtube : Name

Twitter : Name

Line : Name

Telegram : Name

Wechat : Name

Skype : Name

Copyright © 2018 Borvornsocial.net all right are reserved. developer สงวนลิขสิทธิ์