@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก
@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก

อภิธานศัพท์ (Glossary) จัดเป็นฐานข้อมูลด้านโลกุตระที่สมบูรณ์ที่สุดที่คัดมาจากหนังสือ คำเทศน์ ฯ

คู่มือการค้นหาอภิธานศัพท์อโศก หรือ ห้องสมุดโลกุตระ 50 ปี

เอกสาร : https://docs.google.com/document/d/1HLGedxqTAOTOTQKGbO6M4qMremQ8K1jBWKRYDDt6MRQ/edit

วีดีโอ Loom 2 : https://www.loom.com/share/e824e62ec1eb4567848e94af124a7ed5

วีดีโอ Loom 1https://www.loom.com/share/2445744a08e74bca95d2f1d2a0526044

วีดีโอ YouTube : https://youtu.be/QyXcGmzhLmk

 

 

อภิธานศัพท์ (ทั้งหมด) พบ 28,074 รายการ

อุปสัมปันน์ , อุปสัมปันน

รายละเอียด

1. ผู้มีจิตสูง หรือมีฐานะเหมาะสมกับคำสอนนั้นแล้ว

2. ผู้ได้ปล่อยแล้ว วางแล้วจริง หรือผู้มีภูมิธรรมถึงขั้นเหมาะควรจะได้รับฟัง รับรู้อุตตริมนุสสธรรมนั้น ๆ

3. เข้าถึงพร้อมแล้ว – เป็นผู้บรรลุแล้ว

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 34 , ทางเอก ภาค 2 หน้า 371, ยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 119


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:34:25 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:53:04 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:24:48 )

อุปสโมสุข

รายละเอียด

สุขอย่างสมถะ

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 203


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:41:09 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:53:56 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:25:10 )

อุปหสิตะ

รายละเอียด

หัวเราะจนกายไหวบ้าง อันมีระดับ ๆ อยู่ซึ่งต่างกับปุถุชน , หัวเราะจนสนั่นหวั่นไหว

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 59


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:32:42 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:54:38 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:25:30 )

อุปะ

รายละเอียด

คือ ใกล้

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราชธานีอโศก วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 15 ตุลาคม 2562 ( 16:42:00 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:53:39 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:25:51 )

อุปักกมธาตุ

รายละเอียด

ธาตุแห่งความพยายามของจิตนั้นเกิดได้ครบรอบครบตัว , เป็นการตั้งอยู่เต็มรูป เป็นสภาพดำเนินการชัดแจ้งสภาพ เป็นตัวลงมือทำ(มโน-กรรม) บทบาทเรื่องราวอะไร ก็กำลังกระทำอยู่ เป็นตัวกรรมของจิตได้สำเร็จแล้วครบบริบูรณ์

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 360


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:31:58 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:55:35 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:26:15 )

อุปัชฌายวัตร

รายละเอียด

กิจที่พึงปฏิบัติต่ออุปัชฌาย์

หนังสืออ้างอิง

ป่ากับพุทธศาสนา หน้า 5


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:30:46 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:56:24 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:26:35 )

อุปัชฌาย์

รายละเอียด

ขอให้ความรู้ คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าพระอุปัชฌาย์คือผู้สำเร็จการบวช คืออุปัชฌาย์ให้ใครบวชก็สำเร็จได้เลยมันไม่ใช่ อุปัชฌาย์ไม่มีสิทธิ์ที่จะเป็นผู้สำเร็จการเป็นองค์พระ อุปัชฌาย์ไม่สามารถทำให้ใครเป็นพระได้ ผู้จะเป็นองค์พระให้พระภิกษุได้ก็คือ หมู่สงฆ์รับเข้าหมู่ ไม่ใช่อุปัชฌาย์จะเอาคนนี้มาเข้าเป็นพระ ทำเหมือนกับพระพุทธเจ้าไม่ได้ อุปัชฌาย์ไม่มีสิทธิ์เหมือนกับพระพุทธเจ้า เป็นไม่ได้ ต้องให้องค์สงฆ์เป็นใหญ่ องค์สงฆ์รับเข้าหมู่ อุปัชฌาย์มีหน้าที่อบรมสั่งสอนช่วยเหลือ สัทธิวิหาริก ผู้นำบวช มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลแต่ไม่มีหน้าที่สั่งการให้เป็นภิกษุเป็นสงฆ์ นี่แหละคือความเข้าใจผิดของศาสนาพุทธทุกวันนี้นึกว่าอุปัชฌาย์เป็นใหญ่ นอกนั้นเป็นพระอันดับ สวดไป มันเป็นการทำจารีตประเพณีเฉยๆ สีลัพพตุปาทาน ทุกอย่างเหมือนแผ่นป้ายแผ่นกระดาษ ยูนิฟอร์มเฉยๆ นัตถิ 5 อามะ 8 เฉยๆ ก็ไม่ใช่ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่สัมมา มันวิบัติ คำพูดก็วิบัติ ไม่เป็นสมบัติ เป็นวิบัติ ก็เลยเป็นองค์สงฆ์ที่ไม่เต็มสงฆ์ เพราะเข้าใจไม่ถูกตามธรรม เช่นถามว่า คุณเป็นนาคใช่ไหม ก็ตอบ นัตถิภันเต แต่เขาไม่รู้ว่าหมายถึงอะไร ถามว่าคุณยังรับเงินเดือนอยู่หรือเปล่า ก็ตอบเปล่าครับ ทั้งๆที่ก็รับเงินเดือนอยู่ครับ นิตยภัตอยู่ อย่างนี้เป็นการโกหก วิบัติไม่สำเร็จด้วยองค์สงฆ์ ทำไปตามจารีตประเพณีไม่รู้เรื่อง ทำไปทางขีดถูกขีดผิดเฉยๆ นัตถิ 5 ​อามะ 8 แค่ขีดถูก ก็ได้บวชเป็นพระได้แล้ว มันเป็นการกระทำที่ไม่ถูกไม่มีสติสัมปชัญญะไม่มีปัญญา ที่พูดนี่ไม่ได้ไปดูถูกดูแคลนหรือกล่าวโทษใครแต่พูดอย่างวิชาการ พูดอย่างเป็นสัจจะให้กันฟังมันเป็นเช่นนั้น 

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 13 กันยายน 2563 ( 11:31:17 )

อุปัชฌาย์ 2 องค์ของพ่อครู

รายละเอียด

...หรือไม่ก็กลับไปกราบขอขมาอุปัชฌาย์ผู้ที่บวชให้ท่านเสียนะครับเผื่อท่านจะช่วยแก้อารมณ์ให้ท่านได้ 

...อันนี้ก็ขออภัย อุปัชฌาย์ของอาตมามี 2 องค์ แต่ท่านเสียหมดแล้ว ทางธรรมยุตคือท่านเป็นเจ้าคณะในระดับธรรมดา แต่ต่อมาก็ได้เป็นถึงขั้นเทพ เทพวรคุณ หรือพระราชวรคุณ ท่านใด้ตำแหน่งอันนี้ อันนี้เป็นธรรมยุต 

ส่วนอุปัชฌาย์ทางมหานิกายก็เสียชีวิตแล้วเหมือนกัน คือพระครูสถิตวุฒิคุณ ท่านก็เสียไปแล้ว

ท่านเป็นอุปัชฌาอาจารย์ ขออภัยนะไม่ได้ไปว่าอุปัชฌาอาจารย์ อุปัชฌาย์ที่อาตมาบวชเป็นธรรมยุตก่อน ท่านก็ไม่ได้มาอบรมมาสอนอาตมา มีแต่อาตมาออกไปอบรมไปสั่งสอนข้างนอกและสอนในวัด อาตมาบวชที่วัดอโศการาม เป็นพระบวชใหม่ อาตมาก็ขึ้นเทศน์ธรรมาสน์ที่ในวัดอโศการามเอง ซึ่งท่านเจ้าคุณเป็นเจ้าอาวาสเป็นอุปัชฌาย์ ท่านก็อนุญาตให้อาตมาขึ้นเทศน์ ที่นั่นจะไม่มีพระนวกะที่ยังไม่ถึง 10 ปีขึ้นเทศน์ได้ แต่อาตมาเป็นพระองค์เดียวในวัดอโศการามที่อุปัชฌาย์ที่เป็นเจ้าอาวาสให้อาตมาขึ้นเทศน์ เดี๋ยวนี้ก็ยังมีวัดที่เป็นพระวัดอโศการามรุ่นที่อาตมายืนยันได้ว่าอาตมาไม่ได้พูดเอง นอกจากท่านจะแก่แล้วก็เลยลืมก็เป็นได้ แต่อาตมาแน่ใจว่าถ้าท่านไม่ลืมก็ต้องยืนยันได้ว่าอาตมาไม่ได้พูดปด 

และอาตมาก็ไปบรรยายธรรมะข้างนอกท่านก็ไม่เคยห้าม และไม่เคยแนะนำธรรมะอาตมาเลย ขออภัยอาตมาพูดสัจจะความจริง ท่านมีแต่เคยบอกอาตมาอยู่คำเดียว บอกว่า โพธิรักษ์ ท่านสมเด็จท่านเตือนมาว่าอย่าไปว่าเขาแรงนัก อาตมาไปเทศนาที่วัดธาตุทอง วัดอาวุธ วัดนรนาถ วัดมหาธาตุ สมเด็จพิมพ์ที่วัดมหาธาตุ ที่เป็นอาจารย์ของลุงอาตมา เตือนมา ท่านก็เจตนาดีที่ฝากมา นี่คืออุปัชฌาย์ทางธรรมยุต ได้พูดกับอาตมา นอกนั้นปล่อยให้อาตมาไปเทศน์ไปบรรยายแม้แต่ในวัดก็ให้ขึ้นเทศน์อย่างนี้เป็นต้น อาตมาไม่ได้มาคุยโม้โอ้อวด แต่เอาสิ่งที่ผ่านมาแล้วมาพูดให้ฟัง เพราะอาตมาขออภัย อาตมาไม่ใช่คนธรรมดา ที่พูดนี้จะรู้ว่าทำไมไม่ใช่คนธรรมดาใช่ไหม ที่อ้างตัวอย่างพระอุปัชฌาย์ท่านเจ้าคุณ อาตมาไม่ได้เป็นคนที่คุณจะมาพูดดูถูกดูแคลนมาย่ำยี แต่อาตมาเป็นคนที่มีประโยชน์คุณค่ามีความรู้อยู่นะ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ แก้กรรมฐานให้ถูกพุทธ วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 ที่บ้านราชฯ


เวลาบันทึก 07 กุมภาพันธ์ 2564 ( 14:12:53 )

อุปัชฌาย์คืออะไร

รายละเอียด

สมณะท่านเรียกอุปัชฌาย์ มีท่านเดินดิน ท่านบินบน ท่านซาบซึ้งเป็นอุปัชฌาย์ ก็เห็นสมณะเรียกแทนที่จะเรียกว่าภันเต ก็เรียกเป็นอุปัชฌาย์ หรือว่านับถือเป็น อุปัชฌาย์ แม้ไม่ได้เป็นอุปัชฌาย์โดยตรงแต่นับถือก็เรียกได้ อุปัชฌาย์ก็คือเป็นเหมือนพ่อ สัทธิวิหาริกก็คือลูกก็ได้ อุปัชฌาย์คืออะไร อุปัชฌาย์ คือ เป็นภิกษุเป็นพระเป็นสมณะเป็นผู้ที่มีคุณธรรมเป็นผู้ที่บรรลุธรรม ถ้ายังไม่เป็นผู้บรรลุธรรมแล้วมาเป็นอุปัชฌาย์ทำพิธีรับบวชอย่างทุกวันนี้ อุปัชฌาย์นั้นเป็นผู้ที่สามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นอีกได้ เพราะฉะนั้นผู้อื่นจะมาบวช ก็รับเป็นผู้ที่จะเลี้ยงดูแลปกครองสั่งสอน เหมือนพ่อ ก็รับเลี้ยงลูก

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 05 กันยายน 2563 ( 08:28:06 )

อุปัชฌาย์ท่านจะสอนเรื่องนี้ก่อน!

รายละเอียด

และผู้จะเข้ามาบวชเป็นภิกษุนั้น เริ่มแรกอุปัชฌาย์ก็จะต้องสอน“มูลกรรมฐาน 5”ให้รู้จักรู้แจ้งรู้จริงความเป็น“ธรรมนิยาม 5”อันได้แก่ “อุตุนิยาม-พีชนิยาม-จิตนิยาม-กรรมนิยาม-ธรรมนิยาม” อย่าง“สัมมาทิฏฐิ” แตกฉานพ้น“วิจิกิจฉา”ก่อนอื่น ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถเลย ที่จะเรียนรู้และจัดการทำ“กายในกาย-เวทนาในเวทนา-จิตในจิต-ธรรมในธรรม”ให้เป็น“อุตุธาตุ” เป็น“พีชธาตุ”ใน“จิต”ของตน ด้วย“กรรม”ของตน ถึงขั้นสำเร็จ“โลกุตรธรรม”เป็นอันขาดหรือ“โลกุตรธรรม”ของพระพุทธเจ้านั้น มันจะต้องเริ่มด้วยการพิจารณา“กายในกาย”เป็น“ข่้อต้น”ของ“โพธิปักขิยธรรม 37” ไม่มีอื่น “กายในกาย”เป็น“โลกุตรธรรม”ข้อแรก ที่จะต้องเริ่มต้น

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ รวมเปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อ 472 หน้า 351


เวลาบันทึก 24 มิถุนายน 2564 ( 08:58:32 )

อุปัชฌาย์ผู้บวชลูกศิษย์ต้องสอนการแยกกายแยกจิต

รายละเอียด

คือพระพุทธเจ้ามีระบบวิธีให้อุปัชฌาย์ ที่บวชลูกศิษย์ขึ้นมา  จะต้องสอนเรืองกรรมฐานคือ  การแยกกายแยกจิตให้รู้ชัดเจน  แยกแยะความเป็นกาย  เมื่อไหร่ไม่ใช่กาย ถึงต้องทำให้กายแตกดับไปเรื่อยๆ  จนที่สุด  เหลือแต่ชีวิตตินทรีย์  รู้กายในกาย  กายในกายต้องมีสภาพเนื่องกัน มาถึง เวทนาในเวทนา เนื่องมาถึงจิต  จนต้องเอาอกุศลจิตมาฆ่าให้หมด  ต้องรู้จิตในจิต  อย่างเจโต ปริญาณ16  ก็ฆ่า ราคะ โทสะ โมหะ ตายไป จากกายที่ยังมีสภาพสองรูปกับนาม 

กายกลิ  = คือกิเลสแต่จากพระอรหันต์ไปหมดแล้ว  ยังเหลือรูปนาม ของทานเที่ยง  มีชีวิต ยังไม่ยอมปรินิพานเป็นปริโยสาน

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช ครั้งที่ 82  วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 04 ธันวาคม 2562 ( 14:15:17 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:55:00 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:27:18 )

อุปัชฌาย์ผู้บวชลูกศิษย์ต้องสอนการแยกกายแยกจิต

รายละเอียด

พระพุทธเจ้ามีระบบวิธีให้อุปัชฌาย์ที่บวชลูกศิษย์ขึ้นมาจะต้องสอนเรื่องกรรมฐานคือ  การแยกกายแยกจิตให้รู้ชัดเจน  แยกแยะความเป็นกาย  เมื่อไหร่ไม่ใช่กาย ถึงต้องทำให้กายแตกดับไปเรื่อยๆ  จนที่สุดเหลือแต่ชีวิตตินทรีย์  รู้กายในกาย  กายในกายต้องมีสภาพเนื่องกัน มาถึงเวทนาในเวทนาเนื่องมาถึงจิต  จนต้องเอาอกุศลจิตมาฆ่าให้หมด  ต้องรู้จิตในจิต  อย่างเจโต ปริญาณ  16 ก็ฆ่า ราคะ โทสะ โมหะ ตายไป จากกายที่ยังมีสภาพสองรูปกับนาม 

กายกลิ  = คือกิเลสแต่จากพระอรหันต์ไปหมดแล้ว  ยังเหลือรูปนาม ของท่านเที่ยง  มีชีวิต ยังไม่ยอมปรินิพพานเป็นปริโยสาน   

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช  วันจันทร์ที่  25 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 20 ธันวาคม 2562 ( 19:48:54 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 13:21:27 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:27:40 )

อุปัชฌาย์เป็ด อุปัชฌาย์ไก่เป็นอย่างไร

รายละเอียด

ไก่นี่ออกไข่แล้วฟักไข่เลี้ยงลูกจนโต แต่เป็ดนี่เอาไข่แล้วไม่เลี้ยงลูก แต่เป็ดที่มันยังไม่เสียนิสัย มันยังมีเป็ดอยู่ 2 ประเภท เป็ดที่ไม่เสียนิสัยมันก็ฟักไข่เลี้ยงลูก แต่คนเอาเป็ดมาเลี้ยงกินไข่ ฟักไข่ เมื่อไข่ออกมาก็เอาไข่มันไปจนเป็ดลืมเลยว่าต้องฟักไข่ เพราะฉะนั้นเป็ดที่เลี้ยงกันอยู่ทุกวันนี้เป็นเป็ดนิสัยเสีย และใครไปเอาไข่มันไปหมดไม่ให้มันฟัง หรือจะพักก็เอาไปฟักเองไม่ให้เป็ดมันฟัก เป็ดก็เลยลืมสัญชาตญาณตัวเองที่จะต้องฟักไข่ เลยได้แต่ไข่อย่างเดียว ไข่ให้มากๆ เหมือนยังกับ CP เลี้ยงไก่ฟักไข่ไม่เป็น เอาไปฟักแบบวิทยาศาสตร์หมด ไก่มีหน้าที่ไข่อย่างเดียว แล้วก็เร่งให้มันไข่เกิน หลอกให้มันมีกลางวันสองกลางวันสองกลางคืน เปิดไฟดับไฟเอา เป็ดมันก็เลยเร่งธรรมชาติในตัวมันให้มีไข่วันนึง 2 ใบ เป็ดเลยเป็นอุปัชฌาย์เป็ด ก็ไม่เลี้ยงดูลูกศิษย์เลย แต่ อุปัชฌาย์ไก่นี่เลี้ยงดูลูกศิษย์

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม 263


เวลาบันทึก 05 กันยายน 2563 ( 08:31:32 )

อุปัชฌาย์ไม่เคยสอนพ่อครู มีแต่ให้พ่อครูไปสอน

รายละเอียด

พูดไปแล้วพันตำรวจตรีอนันต์ เสนาขันธ์ก็ลุกขึ้นมาเถียงอาตมาไม่ได้ เพราะตายแล้ว อาตมาออกมาปี 2514 ออกมาเทศน์ที่วัดมหาธาตุ วัดนรนาถรังสฤษดิ์ เป็นต้น เขาให้อาตมาไปเทศน์ในวัดในวาได้สบาย ทุกคนก็ไม่มีปัญหา ท่านเจ้าคุณท่านสมเด็จก็ชอบด้วย จัดกุฏิให้อาตมาอยู่ต่างหากเลย มีกุฏิสำรองให้อาตมาไปพักไปค้างไปเทศน์ได้ เปิดเฉพาะวันเสาร์วันอาทิตย์ก็เทศน์ วัดนรนาถและวัดธาตุทองนี่แหละ วัดอาวุธฯก็จรไปบ้าง ปี 2513-14 อาตมาจรไปจากวัดอโศการามไป ขับรถพาอาตมาออกมากัน ไม่ค่อยได้เทศน์ในวัดอโศการามเท่าไหร่ แต่ก็เทศน์ วัดอโศการาม ให้อาตมาขึ้นธรรมาสน์เทศน์ทั้งที่เป็นพระบวชใหม่ ธรรมดาพระที่วัดอโศการามจะขึ้นธรรมาสน์เทศน์ได้ต้องอายุพรรษา 10 ปีขึ้นไป ต้องเป็นพระเถระจึงขึ้นธรรมาสน์เทศน์ได้ พระนวกะเขาไม่ขึ้นเทศน์หรอก แต่อาตมานี้เขาให้ขึ้นเทศน์ได้ จะเทศน์เท่าไหร่ เป็นแต่เพียงสมเด็จวัดพระศรีมหาธาตุ สมเด็จพิมพ์ เป็นเจ้าอาวาส เป็นคนอุบลฯนี่แหละ เป็นเจ้าอาวาส ก็ปรามมาบอกว่า อย่าไปด่าเขาแรงนัก เบาๆ หน่อย ปรามมาเท่านั้นแหละ ไม่ได้บอกว่าพูดผิด ไม่ได้บอกว่าไม่ให้ด่า เท่านั้นแหละ ขออภัยที่ต้องพูดความจริงว่า อาตมาบวชแล้ว อุปัชฌาย์สอนอะไรบ้าง ขออภัย อุปัชฌาย์ไม่เคยสอนอะไรอาตมา มีแต่อุปัชฌาย์ปล่อยให้อาตมาไปสอน ให้ไปบรรยายไปเทศน์ในวัด

ที่มา ที่ไป

ทำวัตรเช้า วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน 2561


เวลาบันทึก 30 มกราคม 2564 ( 12:01:08 )

อุปัญญาตธรรม 2

รายละเอียด

อุปัญญาตธรรม 2 (ความรู้ทั่วถึงในคุณของธรรม)

  1. ความเป็นผู้ไม่สันโดษในกุศลธรรม  (อสันตุฏฐิตา) กุศลไม่เที่ยง จึงบูรณาการได้อีก  

  2. ความเป็นผู้ไม่ย่อหย่อนในความเพียร(อัปปฏิวาณิตา)  (พตปฎ. เล่ม 20  ข้อ 251)

หรือจะบอกว่าเราไม่พักอยู่  (อัปปติฏฐัง) เท่ากับยังเพียรต่อไป เราไม่เพียรอยู่  (อนายูหัง) เท่ากับพักหรือไม่ต่ออายุอิทธิบาท เราเป็นผู้ข้ามโอฆสงสารได้แล้ว  (โอฆมตรินติ) เมื่อใดเรายังพักอยู่ (สันติฏฺฐามิ) เมื่อนั้นเรายังจมอยู่โดยแท้ เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ (อายูหามิ) เมื่อนั้นเรายังลอยอยู่โดยแท้ เราไม่พัก เราไม่เพียร  ข้ามโอฆะได้แล้วอย่างนี้แล ฯ  (พตปฎ. เล่ม 15 ข้อ 2) 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม 2563

หนังสืออ้างอิง

พตปฎ. เล่ม 15 ข้อ 2


เวลาบันทึก 02 กันยายน 2563 ( 14:44:35 )

อุปัญญาตธรรม 2

รายละเอียด

1. ความเป็นผู้ไม่สันโดษในกุศลธรรม (อสันตุฏฐิตา) กุศลไม่เที่ยง จึงบูรณาการได้อีก  

2. ความเป็นผู้ไม่ย่อหย่อนในความเพียร (อัปปฏิวาณิตา)  

(พตปฎ. เล่ม 20  ข้อ 251)

ไม่สันโดษคือไม่หยุดไม่พอ ถ้าสันโดษก็คือหยุดพอ ไม่สันโดษคือเจริญก้าวหน้าไปเรื่อยๆ นี่คือสัจจะที่ศึกษาให้ดีๆ 

 

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 29 อโศกเพื่อมวลมนุษยชาติได้ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 30 พฤษภาคม 2565 ( 14:46:28 )

อุปัญญาตธรรม 2 (ความรู้ทั่วถึงในคุณของธรรม)

รายละเอียด

1.  ความเป็นผู้ไม่สันโดษในกุศลธรรม   (อสันตุฏฐิตา)  กุศลไม่เที่ยง จึงบูรณาการได้อีก 

2.  ความเป็นผู้ไม่ย่อหย่อนในความเพียร (อัปปฏิวาณิตา) 

           

ที่มา ที่ไป

   พระไตรปิฎก เล่ม 20  ข้อ 251 ธรรมาธิบายจากพ่อครู รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2562 ( 16:00:04 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:57:13 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:28:16 )

อุปัตถัมภิก

รายละเอียด

ค้ำจุน

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 159


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:30:01 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:57:27 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 12:55:02 )

อุปาทะ

รายละเอียด

เกิดขึ้น

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 281


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:28:44 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:58:13 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 12:55:17 )

อุปาทา กับอุปาทาน ต่างกันอย่างไร

รายละเอียด

ก็เป็นพยัญชนะที่อุปาทา กับอุปทาน อุปาทายติ มันเป็น บอก ชี้บอกถึงหน้าที่ของการยึด ยึดนิดนึง ยึดต่อมา ยึดมั่นถือมั่น นี่อุปทานนี่ยึดมั่นถือมั่น ยึดมั่นเหนียวแน่นแข็งแรง อุปทานเต็ม อุปาทายติเป็นกิริยา กำลังยึดมั่น กำลังจะยึดให้มั่น อุปาทา ก็เริ่มต้นลักษณะกิเลส ลักษณะกิเลสขึ้นมา กำลังหาจะยึดอะไรดีวะ จะยึดอะไรดีวะ นี่อธิบายเป็นภาษา ให้เข้าใจว่า ไอ้พวกนี้มันเป็นอย่างนี้ เขาก็ใช้พยัญชนะนี้ขึ้นมาตั้ง ให้ตัวนี้เป็นเช่นนี้  มีกิริยาตัวนี้ ไอ้นี่มีกิริยา มาจากอุปาทา เป็นอุปาทายติ แล้วก็เป็นอุปาทาน ยังมีอีก รายละเอียดมากกว่านั้นอีก  อุปาทายังมีมากกว่านั้นอีก อุปปาเทติ อุปา อะไร อุปปาเทติ อุปาอะไร ไม่ได้จำ มันมีรายละเอียด มากน้อยแล้วลักษณะมิติต่างๆที่มันจะมีลักษณะ ละเอียดๆ แต่เราเข้าใจคร่าวๆ แล้ว เราเข้าใจละเอียดได้ว่า เออ ถ้ามันเป็นงี้ๆ มันละเอียด มันก็อย่างนั้น มุมนั้นมุมนี้ เป็นมิติของมันไปเท่านั้นเอง

เข้าใจได้นะ ถ้าเผื่อจะไปขยายร้อยกว่า เราก็มีปฎิภาณเข้าใจได้ง่าย  เป็นแต่เพียงว่าจะต้องมาจำ  มาจำชื่อ มาจำบัญญัติ ที่เข้า มุมนี้นะ ไอ้นี้เท่านี้องศาเรียกอันนี้ เท่านี้องศาเรียกอย่างนี้

ที่มา ที่ไป

พ่อครูสนทนากับปัจฉาฯ 31 ก.ค. 2561


เวลาบันทึก 02 มีนาคม 2564 ( 15:50:59 )

อุปาทาน

รายละเอียด

คือ ความติดยึด 4 ได้แก่ กามุปาทาน ทิฏฐปาทาน สีลัพพตปาทาน อัตตวาทปาทาน

หนังสืออ้างอิง

 “คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1 หน้า 223


เวลาบันทึก 09 พฤศจิกายน 2562 ( 15:48:59 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 18:59:04 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:33:52 )

อุปาทาน

รายละเอียด

1. ความหลงติดยึดสิ่งที่ตัวเองได้สร้างขึ้นมาเสพความติดอยู่ เรียกว่ากิเลส

2. ยึด

3. การยึดเอามาเป็นพ่วงแพ เครื่องนำพาตน

4. การยึดมั่น ติดแน่น

5. ความรู้สึกที่ยึดที่ติด

6. ความยึด ความติด

7. ตัวเองหลงปั้น

8. ความติดยึด , ความยึดถือ

9. ยึดติดไว้ในใจ ฝังในอนุสัย

10. ความยึดถืออยู่ในจิต

11. กำหนดของตนยึดถือเอา

 

คำอธิบาย

คือ เป็นการรู้ได้ยากกว่า เพราะมันอยู่ในสภาพ Static ตัวนิ่ง สมถะ เรียกว่า เจโต ก็ได้ ศรัทธาก็เรียก เป็นธาตุไม่ระลึกรู้อยู่นิ่งเฉย

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช  วันพุธที่ 9 ตุลาคม 2562

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 265 , ทางเอก ภาค 1 หน้า 13,145,233 , ทางเอก ภาค 3 หน้า 200 ,  485

สมาธิพุทธ หน้า 232 , อีคิวโลกุตระ หน้า 42 ,รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 179

กำไร-ขาดทุนแท้ของอาริยชน / เราคิดอะไร ฉบับ 270 ,กำไร-ขาดทุนแท้ของอาริยชน / เราคิดอะไร ฉบับ 272


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:27:50 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 16:02:38 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 12:57:09 )

อุปาทาน

รายละเอียด

คือ “เวทนา”หรือ“ความรู้สึก”ติดยึดอยู่ก็ดี เรียกว่า “อุปาทาน” ของปุถุชนโลกีย์สามัญนั้น ก็สามารถเรียนรู้อย่างถูกต้อง ใน“อาการ”ของภาวะต่างๆได้ และปฏิบัติจนกระทั่งทำให้ “ดับ”ก็ได้ ทำให้“เกิด”ก็ได้ เป็นจริง กระทั่งทำให้“ดับ”เป็น“0” จริง ซึ่งก็คือ มันไม่มี“อาการ”นั้นๆใน“เวทนา”ของเราชัดๆ การทำ“0”ใน“เวทนา”นี้จึงเป็นการทำ“ธรรมะ2”ให้ เป็น“ธรรมะ1” เป็น“ธรรมเอก”ได้ ก็เป็นผู้“พ้นการปรุงแต่ง” ได้ระดับหนึ่ง จะ“พ้นทุกข์หรือพ้นสุข”ได้มี“อาการ”จริง แล้ว ผู้นี้จะสามารถเรียนรู้“0” และทำ“0”ได้ เป็นนิพพาน จิตหมด“ความติดยึด”ที่ภาษาวิชาการว่า“อุปาทาน” นั้นเองแหละ ที่แต่ก่อนเรา“มี”ความรู้สึกสุขอยู่กับ“การได้” ตามที่เรา“ยึดฝังอยู่ในใจ”ว่า ต้องได้“อย่างนี้ๆ”แล้วจะสุข เมื่อได้มาสมใจ เราก็มี“ความรู้สึกสุข” นี่คือ“ความยึดติด” แต่บัดนี้เราได้เรียนรู้และปฏิบัติจนอาการของ“ความ ยึดติดหรือยึดมั่นถือมั่น”นั้นไม่มีแล้ว มีแค่อาการของ“ความ ยึดไว้เพื่อทำงานแก่ผู้อื่น”เท่านั้น อย่างนี้จิตมี“อาการ 0”

หนังสืออ้างอิง

คนจนที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1  หน้า 319


เวลาบันทึก 29 ธันวาคม 2562 ( 13:57:44 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 16:04:22 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 16:01:34 )

อุปาทาน

รายละเอียด

อุปาทานคือหลงติดความยึดมั่นเป็นตัวตน แต่ไม่มีปัญญาที่จะรู้จักตัวตน ปัญญาที่จะรู้จักตัวตนนี่ ข้อที่ 1 ของศาสนาคือ สักกายทิฏฐิ เป็นวิชชาข้อที่ 1 หรือเป็นวิปัสสนาญาณข้อที่ 1 หรือเป็นปัญญาข้อที่ 1 ถ้าคุณยังไม่มี แม้แต่ตัวตน ไม่รู้จักตัวตน คือ กายของตนกาย คือ สภาพคู่ รูปนาม คุณยังไม่มี นอกจากไม่พ้นสักกายทิฏฐิ แล้วยังไม่รู้จักเรื่องภพชาติ อีกด้วยจึงสร้างชาติใส่ภพ ทั้งกามภพ รูปภพ อรูปภพ สะสมลงในอนุสัยของตน เข้าไปอีกมากยิ่งขึ้น จึงมีทั้งการสร้างอุปทาน จึงมีทั้งตัวตนมากขึ้นๆ แน่นขึ้นๆ เยอะเข้าไปอีก แต่ผู้ไม่รู้ก็ไม่รู้ สร้างเข้าไปอีก

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 29 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 15 กุมภาพันธ์ 2563 ( 16:08:43 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 16:05:30 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:35:21 )

อุปาทาน 4

รายละเอียด

อุปาทาน 4 ยึดตัณหาและทิฐิถือมั่นเป็นเรา คือ กิเลสความยึดมั่นถือมั่น 4 อย่าง

1. กามุปาทาน (ยึดมั่นในกาม, ถือมั่นติดยึดในกามภพ  บำเรอรูปรสฯ)

2. ทิฏฐุปาทาน (ยึดมั่นในความเห็น, ถือมั่นติดยึดในทิฏฐิ  เช่น เห็นว่าผีมีตัวตน)

3. สีลัพพตุปาทาน (ยึดมั่นในศีลและพรต, ถือมั่นติดยึดในศีลและวัตรปฏิบัติธรรม)

4. อัตตวาทุปาทาน (ยึดมั่นในคำพูดเป็นตัวเป็นตน, ถือมั่นเข้าใจในอัตตาหรืออาตมันได้แค่ วาทะ  แต่ไม่เคยรู้เห็นอัตตาตัวปรมาตมันจริงๆนั้นเลย)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 12 "จูฬสีหนาทสูตร"  ข้อ 156, พระไตรปิฎก เล่ม 11   ข้อ 262, ธรรมาธิบายจากพ่อครู รายการพุทธศาสนาตามภูมิ

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 20 มิถุนายน 2562 ( 13:19:51 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 18:58:25 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 12:57:48 )

อุปาทาน 4

รายละเอียด

คือกิเลสความยึดมั่นถือมั่น 4 อย่าง

1. กามุปาทาน (ยึดมั่นในกาม)

2. ทิฏฐปาทาน (ยึดมั่นในความเห็น)

3. สีลัพพตุปาทาน (ยึดมั่นในศีลและพรต)

4. อัตตวาทุปาทาน (ยึดมั่นในคําพูดเป็นตัวเป็นตน)

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 12 “จูฬสีหนาทสูตร” ข้อ 156


เวลาบันทึก 13 มีนาคม 2565 ( 18:32:33 )

อุปาทาน 4 ข้อที่ 4

รายละเอียด

อุปาทาน 4 ข้อที่ 4  อัตตวาทุปาทาน คือเขาได้แต่วาทะ ความเป็นอัตตาเขายังไม่เข้าใจ เขายังไม่เข้าถึง เขายังไม่ได้เลย คำว่า ไม่ได้อัตตา นี่มันซับซ้อน คือตัวเขาตัวคน ยังไม่เข้าไปถึงเนื้อแก่นของปรมัตถ์ เอาได้แต่วาทะเป็นความรู้ เป็นพยัญชนะ เป็นบัญญัติ เป็นผิวเผินความรู้ รู้มากธรรมะ สอนกันจากมหาวิทยาลัยสอนกันแต่ความรู้พยัญชนะหรือตรรกะ เหตุผลๆๆๆๆ ได้สูงส่งแค่เหตุและผล ผลและเหตุ แม้แต่การเมืองและสังคมทุกวันนี้ก็เต็มไปด้วยเหตุและผล เรื่องจริงเหลวไหลหมดเลย แล้วไม่อยากจะพูดถึงเรื่องการเมืองทุกวันนี้ เรื่องจริงเหลวไหลหมดเลย มีแต่เถียงกันด้วยวาทะทั้งนั้นเลย

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ สภาวะบวร (บ้าน-วัด-โรงเรียน) ที่พ้นอัตตวาทุปาทาน 5 วันพุธที่ 20 ธันวาคม 2566 ขึ้น 8 ค่ำเดือนอ้าย ปีเถาะที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 13 มกราคม 2567 ( 14:16:57 )

อุปาทาน หรือ อยะคือยางเหนียว 

รายละเอียด

ฉะนั้นจึงบอกว่ายิ่งเข้าใจเลยว่าชีวิตจิตนิยามนี้ เป็นพระอรหันต์เป็นพระโพธิสัตว์แล้ว จึงพูดความจริงที่คนไม่รู้อย่างอาตมารู้หรอก ว่า ตายแล้วจะเกิดอีกก็ได้เป็นอมตบุคคล ไม่เอาแล้ว เลิก หยุดตั้งปณิธานจะต่อภพภูมิ เป็นพระอรหันต์ตายแล้วก็เลิกเลย ไม่ตั้ง นิพพาน 3 ไปเลย สุญญตนิพพาน อปณิหิตนิพพาน อนิมิตนิพพาน ตายสูญสุดท้ายเลย แล้วก็รู้ด้วยว่าการทำจิตสูญ เป็นอย่างไร การทำจิตไม่ตั้งจิต ไม่ตั้งนิมิตอะไรเลยในการตาย ก็รู้ว่า เราไม่ตั้งนิมิต ไม่ตั้งจิตอะไรเลย จบที่ 0 ปล่อยว่าง ตายไปเลย ยางเหนียวทั้งหลายแหล่แห่งจิตนิยามก็สลายไปหมดเลย ธาตุจิตนิยามก็สลายเป็นดินน้ำไฟลม ไม่จับตัวกันอีกเพราะหมดยางเหนียว 

การอุปาทานคือยางเหนียว ยึด ยึดเห็นไหม เพราะฉะนั้นไอ้นี่มันไม่อยู่ เดี๋ยวไปขอยางเหนียว ขอตัณหาอุปาทานให้มันหน่อย ยางเหนียว ภาษาบาลีว่า อยะ คือยางเหนียว อยะยั่วก็พัวก็พัน ยึดไว้ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ วันนี้พ่อครูบอกทางรอดของมนุษยชาติ วันพุธที่ 22 กันยายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 06 กุมภาพันธ์ 2565 ( 21:12:18 )

อุปาทานของภพชาติที่เป็นเทวะนิยม

รายละเอียด

ในปฏิจจสมุปบาท อวิชชา สังขารวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหาอุปาทาน ภพ ชาติ ก็ไล่ทวนไป เป็นอุปาทานก็คือยึด มืด ไม่รู้เรื่อง ยึดเป็นตัวกูของกูอยู่ตรงนี้ 

เมื่อเข้าใจอาการของชาติของภพนั้นมันมีแต่ยึดถืออุปาทานซึ่งมันต้องมี 2 แล้วนะ ยึดไว้นี่ 2 แล้วนะ ยึดจนสนิทแน่นเป็น 1 เลยอุปาทานคือสังขารที่ปรุงแต่งเป็นอุปาทานยึดถือไว้ ตีไม่แตก แยกไม่ออก เป็นเทวดาที่ยิ่งใหญ่ เป็นเทวที่ใครอย่าแตะ พระเจ้าเท่านั้นที่บอกได้ ถึงบอกได้ก็แยกไม่ได้ พระเจ้าจะให้เป็นอย่างนั้นนิรันดร มันปรุงแต่งเป็น 2 เป็น 3 แยกไม่ออก ปนกันเป็น 1 สนิท นี่คือเทวนิยม 1 ยิ่งใหญ่ๆ แต่แยกไม่ออก ห้ามแยกด้วย เป็นเรื่องของพระเจ้านะ แล้วพระเจ้ารู้ไหมก็เรื่องของท่าน พระเจ้ายืนยันว่า อย่าแยก พระเจ้ามีหน้าที่บอกอย่างไรก็เป็นอย่างนั้นปิดประตูที่จะเจริญภูมิปัญญา เจริญธัมมวิจัย เจริญการรู้ที่มากมายหลากหลายที่จะแยกแยะอะไรออกไปได้ซึ่งมันจะต่างกัน 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปัญญาแยกแยะนามรูปได้เป็นเช่นไร วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 29 มีนาคม 2564 ( 21:45:39 )

อุปาทานคืออย่างไร สมาทานคืออย่างไร

รายละเอียด

ทีนี้สุข-ทุกข์ตรงนี้ ผู้ที่บรรลุตรงนี้ได้แล้ว จิตวิญญาณจะรู้จักหมดเลย เป็นอนัตตา มันจะรู้จักความไม่ใช่ตัวตน ไม่เที่ยง เป็นไตรลักษณ์ อยู่ที่จิตเราจะมีเจตนายึดหรือไม่ยึดไว้ ถ้ายึดไว้นี่ ศัพท์เขาเรียกว่า “สมาทาน” สมะ + อาทาน คำว่า อาทาน แปลว่า ยึดไว้ ฉวยไว้

ส่วนผู้ที่ยังอวิชชาจะยึดอย่าง”อุปาทาน” ไม่ใช่สมาทาน ยึดอย่างอุปาทาน ไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ความเป็นจริง ยังไม่บรรลุ 

เพราะฉะนั้นผู้ที่บรรลุแล้ว จะยึดอย่างสมาทาน อาศัยอย่างมีปัญญา สงบแล้ว ตัดแล้ว สมะแล้ว เสมอแล้ว สงบแล้ว มีปัญญาชัดเจน เพราะฉะนั้น ผู้ที่สามารถจบตรงนี้เรียกว่า จบกิจ เป็นอรหันต์จบกิจ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ จุดสำคัญที่สุดในสัจธรรมของพุทธคือสุข-ทุกข์ วันพุธที่ 27 กันยายน 2566 ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 10 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 15 มีนาคม 2567 ( 11:03:09 )

อุปาทานทำให้คนทำได้

รายละเอียด

คืออย่าว่าแต่กินหมากเลย  ยาเส้นท่านมวนๆ  เหน็บใส่ปาก อาตมาเคยลอง  โอ้โฮ  มันแสบ ปากเราพองเลย  ยาเส้นนี้ มันยัน ปากพองเลย  เหมือนหมากพลู ก็ยังแสบ  แต่นี่ท่านกินเฉยเลย  เหมือนคนจีนซดน้ำชา  100 องศา   ถ้าเราก็ปากพองเลย  มันไม่มีความทนทานได้  อุปาทานมันทำให้ทำได้  แล้วบอกว่านี้ไม่ใช่เครื่องเสพติด ไม่ติดแต่กินไม่ขาดปาก มันหยุดไม่ได้  อะไรอย่างนี้  ซึ่งแสดงให้เห็นเลยว่า  มันไม่รู้คำว่าเสพติดเลย  แล้วจะเป็นพระอรหันต์ได้อย่างไร

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปิ๋ซี่วิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 27 พฤศจิกายน 2562 ( 13:20:19 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 16:06:56 )

อุปาทานทำให้คนทำได้

รายละเอียด

มหาบัวอย่าว่าแต่ติดหมากเลย แต่ยาเส้นท่านมวนๆเหน็บใส่ปาก อาตมาเคยลอง โอ้โฮ มันแสบปากเราพองเลย ยาเส้นนี้ มันยัน ปากพองเลย เหมือนหมากพลูก็ยังแสบ แต่นี่ท่านกินเฉยเลยเหมือนคนจีนซดน้ำชา 100 องศา ถ้าเราก็ปากพองเลย มันไม่มีความทนทานได้ อุปาทานมันทำให้ทำได้ แล้วบอกว่านี้ไม่ใช่เครื่องเสพติด ไม่ติดแต่กินไม่ขาดปากมันหยุดไม่ได้ อะไรอย่างนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นเลยว่า มันไม่รู้คำว่าเสพติดเลย แล้วจะเป็นพระอรหันต์ได้อย่างไร

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 26 พฤศจิกายน 2563 ( 09:58:16 )

อุปาทานนี่แหละทำให้ไม่จบภพจบชาติ

รายละเอียด

เรียนรู้ได้ต้องมีผัสสะ มีผัสสะแล้วก็จะเกิดเวทนา ก็เรียนรู้ตามรูปที่สำคัญในเวทนานี้แหละ สัมผัสรูปแล้วนามมันก็เกิด เกิดเวทนาแล้วมันก็อวิชชาอยู่ มันก็จะมีเวทนาจริงกับเวทนาเก๊ อาตมาก็อธิบายแยกแยะวิจัยให้ฟัง ก็ฆ่าวิญญาณเก๊วิญญาณเก๊ มันมีอะไรเป็นเหตุก็คือมีตัณหาเป็นเหตุ หรือมีกิเลสตัวที่มันหมกหมักสะสมไว้ตกผลึกไว้เรียกว่า อุปาทาน มาทำงานก็เรียกว่า ตัณหา กบดานอยู่ก็เรียกว่า อุปาทาน นี่แหละมันทำให้ไม่จบภพจบชาติ เทวนิยมก็ไม่มีปัญญาจะรู้จักปฏิจจสมุปบาทนี้เลย เขาก็ไปจบภพจบชาติอยู่ที่พระเจ้า พระเจ้าคือสิ่งที่ลึกลับ พระเจ้าคือสิ่งที่ไม่มีใครรู้ แม้แต่ศาสดาเองของพระเจ้า ศาสดาเองของศาสนาเทวนิยม ก็ไม่รู้ว่าพระเจ้าคือใคร แต่ว่าตัวเองได้รับความรู้ ความฉลาด หรือว่าสิ่งนี้รู้ได้ยอดเอามาประกาศเผยแพร่ แล้วมีผู้ให้มา ใครให้มาก็คือพระเจ้าคือพระบิดา เราเป็นประกาศก เป็นผู้ประกาศคำสอนของท่าน พระเจ้า พระบิดาก็ไม่รู้ว่าตัวเองมีความรู้นั้นได้เพราะตัวเองสั่งสมเป็นวิบากมา ศาสดาของศาสนาเทวนิยมแต่ละศาสนาก็ของใครของมันทั้งนั้น สั่งสมตามกรรมวิบาก กัมมัสโกมหิ กัมมทายาโท กัมมโยนิ กัมมพันธุ กัมมปฏิสรโณ กัมมังสัตเตวิภัชติ กัมมุนาวัตตติโลโก  

ไม่รู้ว่าตัวเองมีความรู้นี้มาจากไหน ไม่รู้ก็ยกไปให้ผู้ลึกลับ ผู้ที่เป็นพระเจ้านั่นแหละประทานมาให้ ซึ่งไม่มีความจริงอะไรจับมั่นคั้นตายเลย เป็นความจริงจับมั่นคั้นตายไม่ได้เลยในศาสนาเทวนิยม ศาสนาพระเจ้า มันเลื่อนลอย จับไม่มั่นคั้นไม่ตาย จะใช้ศัพท์อะไรดีกว่านี้ 

อาตมาอยากจะให้ชาวเทวนิยมเปิดคลิปนี้แล้วฟังอาตมาบ้าง แต่เขาไม่ฟังหรอกโดยเฉพาะยิ่งอิสลาม ไม่เลย ไม่รับใดๆนอกจากพระเจ้า ศาสนาคริสต์เขาก็ยังพอทำเนา ยังเปิดบ้าง จนกระทั่งชาวคริสต์มาเป็นชาวพุทธก็มีเยอะขึ้นแล้ว 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ชีวิตหนอพออยู่พอกิน เพราะมีอาหาร 4 วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2565 แรม 10 ค่ำเดือน 12 ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 พฤศจิกายน 2565 ( 21:08:16 )

อุปาทานมี 4 อย่างคือ

รายละเอียด

1. กามุปาทาน (ถือมั่นติดยึดในกามภพ  บำเรอรูปรสฯ) .  

2. ทิฏฐุปาทาน (ถือมั่นติดยึดในทิฏฐิ  เช่น เห็นว่าผีมีตัวตน) 

3. สีลัพพตุปาทาน (ถือมั่นติดยึดในศีลและวัตรปฏิบัติธรรม) 

4. อัตตวาทุปาทาน (ถือมั่นเข้าใจในอัตตาหรืออาตมันได้แค่ วาทะ แต่ไม่เคยรู้เห็นอัตตาตัวปรมาตมันจริงๆนั้นเลย) . . . 

(พตปฎ. เล่ม 11 ข้อ 262) 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายกาย พุทธศาสนาตามภูมิ ชาวอโศก ทำแล้ว ทำอยู่ และกำลังทำโลกุตระต่อไป วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 ขึ้น 5 ค่ำเดือน 4 ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 14 มิถุนายน 2566 ( 12:50:14 )

อุปาทานมีผลไหม

รายละเอียด

ขออภัยเถอะ ขอพูดอย่างตรงๆ เลย พระเครื่องนี่คืออุปาทานธรรมด๊า…ธรรมดา 

อุปาทานมีผลไหม?  มี เช่น คุณเล่นไสยศาสตร์ มีอุปาทาน หนังเหนียว คุณเหนียวจริงๆ ลุยไฟได้ไม่ร้อน คุณลุยไฟได้ไม่ร้อนจริงๆ อย่างนี้ เป็นต้น แล้วมีอีกมากกว่านี้ อุปาทานนี้ ทำให้เกิดเหมือนอิทธิฤทธิ์ อิทธิเดชอะไร ไม่ใช่เหมือนหรอก เขาเรียกว่าเป็นอิทธิฤทธิ์และเป็นจริงด้วยนะ ซึ่งมันเป็นเดรัจฉานวิชา เป็นวิชาที่ขวางทางนิพพาน พระพุทธเจ้าไม่เอา 

 

ที่มา ที่ไป

ครบรอบ 53 ปี โพธิกิจ พ่อครูเทศนาภาคค่ำ งานมหาปวารณา ครั้งที่ 41 วันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2566 แรม 6 ค่ำ เดือน 11 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 15 กุมภาพันธ์ 2567 ( 16:25:51 )

อุปาทานมีอาการอย่างไร

รายละเอียด

มันมีความจำ มันมีความติดยึด เรียกด้วยศัพท์วิชาการว่าอุปาทาน มันมีความจำอย่างนี้ จำจนกระทั่งไม่ต้องจำมันติดเลย ติดตัวเองเลยเป็นอุปาทาน ยึดอยู่อย่างนั้น มันก็ทำเป็นอัตโนมัติเลยนะ ก็ต้องรู้ให้ทันว่า อาการของใจเราเป็นอย่างนี้ทำอย่างนี้อยู่เรื่อยเลยเป็นอัตโนมัติ รู้ให้ทัน ว่า เอ็งทำชั่วนะ อาการอย่างนี้ของตนเองเป็นอาการชั่ว จิตใจเราเอง

ที่มา ที่ไป

พ่อ‌ครู‌เทศน์‌ ‌ทำวัตร‌เช้า‌ ‌ส่ง‌ท้าย‌ปี‌เก่า‌ ‌งาน‌ ‌ว‌.‌บบบ‌ ‌เพื่อ‌ฟ้า‌ดิน‌ ‌สวด‌อภิธรรม‌ส่ง‌

ท้าย‌ปี‌เก่า‌ให้‌เข้า‌ถึง‌นิพพาน‌ วันศุกร์ที่ 31 ธันวาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 10 มกราคม 2565 ( 11:05:34 )

อุปาทานหมู่

รายละเอียด

ฟังดีๆ หมอปลาน่าจะมาฟังอาตมาพูดเรื่องนี้ ไปไล่ผีกันจังเลย นอกจากผีปอบแล้วผีอะไรแกก็ไล่หมด ผีปอบนี้คืออุปาทานชนิดหนึ่ง มันเป็นอุปาทานหมู่ด้วย มันเป็นอุปาทานในตัวคนแต่ละคนนั่นแหละ ยึดมั่นถือมั่นว่าอาการอย่างนี้ เป็นจริงมีจริง มันยึดมันติดด้วยอวิชชา เพราะฉะนั้นจึงเป็นตั้งแต่เริ่ม เอาง่ายๆเลยสำหรับพวกเรา คุณยึดติดว่ารสอร่อยนี้มี นั่นแหละผีปอบ ผีกินหัว กินตัวคุณไหม คุณเคยถูกผีปอบนี้กินหัวไหม รสอร่อย นี่แหละอุปาทาน 

คนที่หมดอุปาทานแล้วหมดการยึดถือ โธ่เอ๋ย.... มันไปยึดผิดๆ มันไปจำความผิด มันไปยึดผิดว่า มันเป็น มันมี คนที่เป็นอรหันต์แล้ว ผีหายไปเลย ผีปอบ ผีกระสือ ผีอร่อยหายไปเลยไม่มีในอารมณ์จิต ไม่มีในความรู้สึก ไม่มีในเวทนา เวทนาไม่มีผี ไม่มีรสอร่อย ไม่มีผีปอบที่มันกิน 

ทีนี้ ที่มันเป็น มันเป็นไปถึงขั้นเป็นรูปธรรม เข้าสิงเข้าทรง พอผีเข้านี่ไม่มีอะไรเข้า คุณเองนึกว่าอาการอย่างนี้นี่ มันถูกเข้าทรง เป็นเจ้าเข้าทรง อย่างไม่กลัวเจ้าด้วย เอาเจ้ามาเข้าทรงแล้วแสดงอำนาจแสดงความเขื่อง แสดงความชอบนึกว่าเป็นสิ่งที่ดี หรือไม่ได้อยากเข้าแต่มันมาเข้า นึกว่าองค์ลง ผีเข้า หรือว่าวิญญาณเข้า มันไม่มีอะไรเข้าใครได้หรอก ตัวเองโง่ อุปาทานคิดว่ามันมีเอง ก็เลยมี ก็เลยเป็น เช่น คนที่รู้สึกว่าเข้าทรง แล้วเป็นไง สั่น ก็เป็นอุปาทาน มาแต่ชาติไหนก็ไม่รู้ จำมาแล้วมาถึงชาตินี้ หรือแม้แต่มาเห็นชาตินี้ คนนี้สั่น พวกเขาทรงก็จะสั่น ตัวเองมีเชื้อแล้ว เชื่อว่าเป็นอย่างนี้ เสร็จแล้วถึงคราวที่จะเป็นบ้าง ก็สั่นแบบนั้น บ้าๆ บอๆ ทั้งนั้น 

ฉะนั้นจึงเป็นอาการที่ไม่ปกติ ปกติคือรู้ความจริงตามความเป็นจริง ตาเห็นรูปอย่างนี้ ทุกคนเห็นตรงกันหมดไม่มีอะไรผิดแปลกไปจากกัน นี้คือความจริง หากเห็นผิดแปลกไปก็กายต่างกันสัญญาต่างกัน องค์ประชุมเรียกว่ากาย สัญญาคือการกำหนดหมาย กำหนดต่างกัน มันก็ต่างกันไปเลย นี่ละเอียดมาก แม้แต่จะมาเรียนรู้บ้าง กายต่างกันสัญญาอย่างเดียวกัน สัญญาณมันอยู่ข้างใน กายมันอยู่ข้างนอก ฉะนั้นก็มีกายต่างกันแม้จะรู้สึกว่าอย่างนี้คือผี สัญญากำหนดตรงกัน ว่าอย่างนี้คือผี แต่กายคุณก็ยังต่างกันไปสารพัด องค์ประชุมข้างนอกที่รูปนาม มีทั้งกิริยาภายนอกภายใน มันก็จะต่างกันไปเยอะ 

จะเป็นกายอย่างเดียวกันสัญญาต่างกัน คือองค์ประชุมเหมือนๆกันคล้ายๆกัน เช่น เมื่ออุปาทานหมู่ว่าผีปอบเป็นอย่างนี้ แสดงตัวแบบนี้ เขาก็กำหนดกาย ถ้าแสดงกิริยา กายกรรม วจีกรรมออกมาเหมือนอย่างนี้ ส่วนมากก็จะเป็นสภาพที่ไม่รู้ตัว แล้วก็สติสัมปชัญญะอะไรก็ไม่ได้เป็นตัวตน ดิ้น ชัก อะไรก็แล้วแต่ ดีไม่ดีก็อาละวาดอะไรต่ออะไรต่างๆ เขาก็ถือว่าไม่ปกติแล้ว มันเป็นอุปาทานเอาอะไรไม่รู้มาเข้า จะเป็นด้วยชอบ จะเป็นด้วย อุปาทานหนัก ยึดอุปาทานเยอะ แล้วก็เป็นเช่นนี้ก็ตาม ก็อวิชชาทั้งนั้น คือโง่ทั้งนั้น มันก็เป็น แต่คนที่มีปัญญารู้ชัดอย่างที่อาตมาอธิบาย 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ปลุกธรรม ครั้งที่ 26 เป็นอรหันต์แล้วจึงหมดผีปอบ วันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน 2566 ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 8 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก  


เวลาบันทึก 09 สิงหาคม 2566 ( 20:02:46 )

อุปาทานหมู่

รายละเอียด

คนทุกวันนี้ ไม่ฉลาด เพราะไปเป็นเฉโก มันไม่ใช่ เฉโกมันเป็นความรู้อันเดียว เฉกะ เฉโก ฉะ+เอก ฉะนี่เขามีตั้ง 6 (ทวาร) แต่เอาไปฉลาดอยู่เดียว เฉโก เฉกะ นี่แหละแปลพระบาลีแบบโพธิรักษ์

ฉลาดของพระพุทธต้องมี”ฉฬายตนะ” ขอยืนยันว่าอาตมาไม่ได้โมเม แต่พวกคุณไปหลง

หลง “ไวยากรณะ วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณ์” เหล่านี้มันพาออกนอก นอกเขตเทศบาล เข้าป่าไปแล้ว แล้วคุณก็ไปหลงความรู้เหล่านี้ของคุณไป เพลิดเพลินกันไป ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร อาตมาก็พยายามบอก มันก็น่าสงสาร ก็ต้องพูดความจริงกันอยู่อย่างนี้ อาตมาก็ไม่มีปัญหาอะไรมากหรอก อาตมาก็รู้อยู่ว่ามันต้องยากอย่างนี้แหละ มันเสื่อมไปแล้ว อาตมามาทำให้มันฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ให้มันมีความเจริญขึ้นแทน มันง่ายที่ไหนล่ะโลกุตรธรรม โลกียะเขาจะฟื้นขึ้นมา มันเสื่อมแล้วจะฟื้น ฟื้นแค่โลกียะก็ยังยากแล้ว แต่นี่ฟื้นโลกุตระด้วย โอ้โห! มันไม่ใช่เรื่องเล่นๆ 

ทุกวันนี้ สมาธิ ออกนอกรีต ไปเป็นเจโตสมถะ เป็นเจโตสมาธิกันหมด สติปัญญา ไปได้สติก็ไปทำสติอยู่ในการหลับ แทนที่จะมาทำสติในการตื่น ทางกายวาจาใจให้เต็มร้อยให้ได้หมด 

คุณอย่าไปหรี่ตา คุณอย่าไปทำให้มันไม่ได้รับรู้ทางข้างนอกนี่เต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำทางกายวาจาใจ คุณตื่นมาให้เต็มสตินี้  อย่าไปหรี่ลงไป ยิ่งไปหลับตาไปเลยนั้น มันคนละทิศเลย ผิดอย่าง 100% เลยในหลับตา มีสตินี่ต้องตื่นหมด 

ยิ่งปัญญา ก็พูดผ่านไปแล้ว ปัญญาเกิดไม่ได้จากการไปหลับตา ต้องมีมรรคมีองค์ 8 ถึงจะเกิด อธิบายผ่านไปแล้วเมื่อกี้ “ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ” จะเกิดได้ต้อง “มีธัมมวิจัยสมัมโพชฌงค์ มีสัมมาทิฏฐิ และมีมัคคังคะ” มีมรรคทั้งหมด “องค์มรรคทั้ง 8” 

ไปหลับตาแล้ว ไม่มีอาชีพ ไม่มีกัมมันตะ ไม่มีพูดจา สังกัปปะก็คิดงมงายอยู่คนเดียว อยู่ในภพในชาติของตัวเองคนเดียว แล้วมันจะไปมีสัจจะหรือมีความจริงกันตรงไหน มันมีแต่ นิรมาณกาย สัมโภคกาย อทิสมานกาย เป็นกายที่ไม่มีกาย 

กาย 3 นิรมาณกาย สัมโภคกาย อทิสมานกาย เหล่านี้เป็นกายโมฆะ เป็นกายลมๆ แล้งๆ เป็นกายที่หลงสร้างเอง ของใครของมัน อทิสมานกาย ไม่มีใครรู้ของใครหรอก แล้วมันไปเก็บมาไม่ได้ คนอื่นจะไปเก็บไปรู้ได้อย่างไร อยูในหัวสมองของใครในโลกของใครคิด ไม่มีใครเห็นของใคร แล้วไปเก็บมาจากไหน มาเรียบเรียง  มันเป็นไม่ได้เลย แล้วไปหลงว่าเป็นความจริง ดีไม่ดีไปหลงว่าพูดกันรู้เรื่อง สัมโภคกาย เออ! พูดกันรู้เรื่อง 

(ตัวอย่างเปรียบ)พวกตาบอดคุยกัน “แหม ฟ้าวันนี้สวยจังเลยนะ”  ตาบอดคุยกัน 4-5 คน “เออ! จริง วันนี้ฟ้าสวยจังเลย” ตาบอดคุยกันใหญ่ แล้วคุยเรื่องอะไร บอกว่าฟ้าสวยจังเลย ตาบอดกลุ่มหนึ่ง นั่งชม โอ้โห วันนี้ฟ้าสวยจังเลย ตาบอดกลุ่มหนึ่งประมาณ 9 คน 8 คน 10 คน 

นี่แหละคือสัมโภคกาย โลกนี้มีเยอะแยะ เป็นอุปาทานหมู่ สัมโภคกายคืออุปาทานหมู่ ยึดด้วยกันไป มีเต็มไปหมด 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูบวชมาครบ 53 ปี มีอะไรจริง พ่อครูเทศนาภาคค่ำ งานมหาปวารณา ครั้งที่ 41 วันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน 2566 แรม 9 ค่ำ เดือน 11 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 16 กุมภาพันธ์ 2567 ( 15:56:42 )

อุปาทานเดิม

รายละเอียด

กิเลสที่หลงยึดติด

หนังสืออ้างอิง

(จากวิถีพุทธ หน้า 111)


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:23:09 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:58:55 )

อุปาทานเป็น psychosis

รายละเอียด

อุปาทานเป็น psychosis เป็นได้จริงๆ หนังเหนียวอยู่ยงคงกระพันนะเขามีฤทธิ์เดชเดินลุยไฟได้ เป็นได้จริงๆ ทำได้จริงๆด้วย อาตมาก็เล่นมาทางจิตวิทยา ทางนี้ทางวิทยาศาสตร์ ไสยศาสตร์ก็เล่น วิทยาศาสตร์อาตมาก็ทำสะกดจิต อย่างนี้เป็นต้น ยืนยันพิสูจน์มาแล้ว 

ทางตาสิ่งที่ไม่มีก็ทำให้เห็นได้ กลิ่นมันไม่มีก็ทำให้มีกลิ่นได้ หนังไม่เหนียวก็ทำให้เหนียวได้ ฟันไม่เข้ายิงไม่ออก อุปาทานทั้งนั้น ก็ได้ชั่วคราวที่จิตมันยึดมั่นถือมั่น ประเดี๋ยวก็เสื่อม บางคนเสื่อมง่าย อย่าไปเดินลอดผ้าถุงนะ เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องที่จิตทั้งนั้นเลย psycho เป็นจิตวิทยา ถ้าไม่เข้าใจมันก็จะยึดมั่นถือมั่นจริงๆ 

อย่างเช่นอยู่ยงคงกระพัน ไม่ใช่เหนือธรรมชาติ อาตมาเสกกระดูกโปนๆนี่ยุบลงไปคาตาเลย อาตมาทำ คนไปมีสามีเป็นพระพรหม อาตมาก็ซัดให้ด้วยอรูปพรหมเลยนะ พระพรหมก็หายไปเลย ซึ่งจริงๆแล้วก็คือพูดให้เขาเข้าใจว่ามันไม่จริงมันจะไปใหญ่อะไร จิตเรามันใหญ่ ไม่ใช่ไปถูกครอบงำทางจิตค่อยๆ พูดจา

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาเปิดตาพญานาคลงสู่การเมืองไทย วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 12 พฤษภาคม 2565 ( 19:33:06 )

อุปาทานเหมือนการสะกดจิต

รายละเอียด

อุปาทานของคุณเหมือนอาตมาอธิบายการสะกดจิตทางวิทยาศาสตร์

สะกดจิตคนแล้วก็บอกว่าบนโต๊ะนี้มีแก้วน้ำอยู่ที่จริงแล้วมันไม่มี เขาก็เห็นว่ามีแก้วน้ำจริงก็จะเอามือคว้า แล้วก็ไม่ได้แก้วน้ำ เราถึงอ่านออกว่านี่ คนนี้ถูกสะกดจิตแล้ว จิตมีอุปาทานว่ามีแก้วน้ำ แต่แท้จริงไม่มี เราพูดกันว่า ลืมตาขึ้นมาแล้วจะเจอเสือ เราก็ต้องคอยจะจับไว้ หรือลองกันว่า สะกดจิตแล้วจะเอาเหล็กแดงเผาไฟนาบที่แขน 1 ที เราก็เอาไม้บรรทัดไปวางที่แขน ก็มีรอยแดงขึ้นมาเป็นเส้นเลยเหมือนไฟไหม้ มันเป็นจริงจิตใจที่มีอุปาทานมันเป็นไปได้ ทางหมอเรียกว่า psychosis เป็นโรคประสาทหลอน จะเกิดการเจ็บปวดอย่างนั้นอย่างนี้ก็ได้ มีเลือดไหลออกก็ได้ ตัวเองทำตัวเองทั้งนั้น

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการสำมะปี๋ซี่วิต ครั้งที่ 29 วันรัฐธรรมนูญ ที่บ้านราชฯ  

สื่อธรรมะพ่อครู (อาริยบุคคล) ตอน อนาคามียังกลัวผีอย​ู่หรือไม่ วันจันทร์ที่

10 ธันวาคม 2561

 


เวลาบันทึก 12 กุมภาพันธ์ 2564 ( 21:17:26 )

อุปาทายรูป

รายละเอียด

รูปที่ถูกรู้ได้จากภายนอกเป็นกายนอกเนื่องต่อเข้าไปหาภายใน แล้วเป็นภายใน มีกายใน – เวทนา – จิต – ธรรม

หนังสืออ้างอิง

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 58


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:22:07 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:01:02 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 15:51:00 )

อุปาทายรูป 24

รายละเอียด

ชีวิตจะต้องเรียนรู้พลังงานของชีวิตที่เรียกว่า  ชีวิตินทรีย์และทำให้อินทรีย์ พลังงานของชีวิตให้ลึกซึ้งขึ้นไปส่วนใดส่วนหนึ่ง หากมีอินทรีย์ชีวิตของกิเลสอยู่ในจิต  เราต้องรู้จักชีวิตินทรีย์ของกิเลสแล้วทำให้มันแตกตาย  ทำลายไป  ชีวิตประกอบด้วยกายกับจิต

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช  วันจันทร์ที่  25  พฤศจิกายน  2562


เวลาบันทึก 20 ธันวาคม 2562 ( 19:45:47 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 16:10:35 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:35:51 )

อุปาทายรูป 24

รายละเอียด

6. หทยรูป1 = 12)หทัยรูป ที่ตั้งการเกิดอาการของรูป . 

7. ชีวิตรูป1 = 13)ชีวิตินทรีย์ รู้ความมีชีวิตอยู่ของกิเลส

8. อาหารรูป1 = 14)กวฬิงการาหาร จนถึงวิญญาณาหาร .

9. ปริเฉทรูป1 = 15)อากาสธาตุ=รูปที่กำหนดจะให้ว่าง

10. วิญญัติรูป2 = 16)กายวิญญัติ  17)วจีวิญญัติ. ไหวให้รู้

11. วิการรูป3 =   18)ลหุตา . 19)มุทุตา.  20)กัมมัญญา ฯ

12. ลักขณรูป4 = 21)อุปจยะ ความเกิดอยู่เจริญขึ้นไปอยู่ 

                         22)สันตติ ความเชื่อมต่อสืบเนื่อง

                         23)ชรตา เคลื่อนไปสู่ความเสื่อม

                         24)อนิจจตา เคลื่อนไปเสื่อม>เจริญขึ้น

คำอธิบาย

ปสาทรูป 5   1.  จักขุ (ตา)  2. โสตะ (หู)  3. ฆฆานะ (จมูก) 4. ชิวหา (ลิ้น)   5. กายา (กาย) 

โคจรรูป,วิสัยรูป 4  6. รูปะ (รูป)  7. สัททะ (เสียง)  8. คันธะ (กลิ่น)  9. รส (รส)  00. โผฏฐพพะ (สัมผัส)

ภาวรูป 2  10. อิตถัตภาวะ ,อิตถินทรีย์  (ญ)  11. ปุริสสัตตภาวะ , ปุริสสิสทรีย์ (ช) 

หทยรูป 1 = 12 หทัยรูป ที่ตั้งการเกิดอาการของรูป คือ คือจับอาการนั้นได้เมื่อใดแต่คนหลับตาปฏิบัติ ก็บอกให้จิตไปกำหนดเหนือสะดือ สองนิ้ว ก็จะพบความสว่างที่สถานที่นั้น แต่ หทยรูปนี้ ไม่มีสถานที่ แต่รู้อาการของมันเมื่อใดก็เมื่อนั้น ห. แปลว่าความจริง  ท. แปลว่า  ความกล้าแข็ง  ห  มาก่อน  ท  ก็สื่อสภาวะที่ต่างไป  หทย  คือ ความเป็นตัวของมันแข็งแรง แต่ ทห  นี่ความแข็งแรงแสดงออกมา

ชีวิตรูป 1 =13  ชีวิตตินทรีย์ รู้ความมีชีวิตอยู่ของกิเลส มันยังเป็นสภาพที่ยังไม่ตาย ตายลงไปแล้วบ้าง ตายลงไปเยอะแล้ว เหลือน้อยลง เป็นชีวิตน้อยลง คุณก็จะรู้ดีกรีของความตายความจางคลายของความเป็นชีวิต ความดับของชีวิต ชีวิตหรี่ลง เบาลง มันเหย้า (ภาษาอีสาน)   จนไม่ใช่แค่อ่อน แต่ดับ หยุด ตาย เรียกว่านิโรธ ดับ  ไม่มีอาการมันเกิดขึ้นมา คุณก็จะรู้อาการของมันด้วยปัญญา  ด้วยความรู้ว่า อาการอย่างนี้ คือ อย่างนี้ของใครของมันไปรู้ของคนอื่นได้อย่างไร ต้องทำเองเป็นปัจจัตตังเวทิตัพโพวิญญูหิติ  ก็จะรู้ว่ามีชีวิต หรือ ไม่มีชีวิต พละเรียกว่าแรงอินทรีย์ คือ ชีวิต มีพลังแรงลงก็อินทรีย์เหลือน้อย จนมีน้อย กับไม่มี ต้องแยกกันให้ได้ให้มันมี คือ มี 0 มีอะไร คือ มีความไม่มี พระพุทธเจ้าบอกว่า คนส่วนมากจะเรียนรู้ โลกสมุทัยกับโลกนิโรธ (ความดับหรือมีเหตุอยู่)

อาหารรูป 1 = 14 กวฬิงการาหาร จนถึง วิญญาณอาหารมี 4

1.     กวฬิงการาหาร (อาหารคำข้าวให้รู้กิเลสเบญจกาม) ในอาหารคำข้าว จะมี รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส คุณชอบหรือไม่ชอบอย่างไร  ก็เอามาอธิบายเฉพาะที่เกี

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2562 ( 15:05:31 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 16:24:26 )

อุปาทายรูป 24 มีอะไร

รายละเอียด

เข้าท่านะ อุปาทายรูป 24

อุปาทาย คือ ยึด เข้าไปยึด รูปมี 28 ม ซึ่ง 4  อันแรกคือ ดินน้ำไฟลม 

ก็มีกายคือ มีดินน้ำไฟลมมาปรุงแต่ง ดินน้ำไฟลมก็มีอยู่ในเรา แต่เราแยกได้นะว่าดินน้ำไฟลมจริงๆคือดินน้ำไฟลมจริงๆ แต่จิตนี้ยึดอาศัย เป็นชีวะ เมื่อยึดเป็นชีวะ คุณก็ต้องมาเรียนรู้ใน อุปาทายรูปมี 24

ก. ปสาทรูป 5

จักขุ (ตา) 

โสตะ (หู) 

ฆานะ (จมูก) 

ชิวหา (ลิ้น) 

กายา (กาย)

ข. โคจรรูป, วิสัยรูป 4

รูปะ (รูป) 

สัททะ (เสียง) 

คันธะ (กลิ่น) 

รสะ (รส)

โผฏฐัพพะ (สัมผัส) 

(กายกับโผฏฐัพพะ ถือว่าเป็นอันเดียวกัน) 

กายนั้นมันต้องมีจิตด้วย เพราะฉะนั้นมันก็เลยเป็น 1 ใน 2    2 ใน 1 เขาก็เลยนับเป็น

เพราะฉะนั้นเอา 5 คู่และหักออกอีก 1 รวม 9 ต่อจากนั้นก็เป็นภาวะ 2 

0. อิตถัตตภาวะ, อิตถินทรีย์ (ญ) 

11. ปุริสสัตตภาวะ, ปุริสสินทรีย์ (ช) 

ง. หทยรูป 1  ที่ตั้งการเกิดอาการของรูป   มันไม่มีรูปร่างอยู่ในกายเรา มันต้องเกิดจากการสัมผัส ตากระทบรูป หูกระทบเสียง จมูกกระทบกลิ่น ลิ้นกระทบรส โผฏฐัพพะกระทบภายนอก มโนกับธัมมายตนะภายใน หทยรูปก็อยู่ตรงที่สัมผัสตรงไหนคือตรงนั้น หัวสัมผัส ศอกสัมผัส หทยรูป ก็อยู่ตรงมีชีวะเป็น ชีวิตรูป  

จ. ชีวิตรูป 1 = 13.ชีวิตินทรีย์ รู้ความมีชีวิตอยู่ของกิเลส จากนั้นก็เป็นอาหารรูป 

ฉ. อาหารรูป 1 = 14.กวฬิงการาหารจนถึงวิญญาณาหาร 

ช. ปริเฉทรูป 1 = 15.อากาสธาตุ=รูปที่กำหนดจะให้ว่าง 

ซ. วิญญัติรูป 2 = 16.กายวิญญัติ  17.วจีวิญญัติ ไหวให้รู้ 

ฌ. วิการรูป = 18.ลหุตา  19.มุทุตา  20.กัมมัญญตา 

ญ. ลักขณรูป 4 = 21.อุปจยะ ความเกิดอยู่เจริญขึ้นไป  

22.สันตติ ความเชื่อมต่อสืบเนื่อง 

23.ชรตา เคลื่อนไปสู่ความเสื่อม 

24.อนิจจตา เคลื่อนไปเสื่อม>เจริญ 

แม้คุณไม่เกิดไม่ดับ คุณยังมีชีวะอยู่ ต่อจากนั้นก็มีแต่เสื่อมหรือจะเกิด เกิดก็เป็น อุปจยะ ไม่เกิดก็เป็น ชรตา แล้วก็มีอนิจจตาเป็นตัวสุดท้ายเป็นตัวไม่เที่ยง นอกจากคุณเอง คุณจะปฏิบัติจนกระทั่งคุณสามารถเกิด นิยตา ไม่ใช่ นิจตานะ ตัวสุดท้ายของรูปมันคือคำว่า อนิจตา ผู้ปฏิบัติธรรมบรรลุอรหันต์แล้วทำตัวเที่ยงได้ ตัวเที่ยงนี้ไม่ใช่ นิจจะ แต่เป็นนิยตะ นิจจะ ตัวเที่ยงของโลกียะ นิยตะ เป็นตัวเที่ยงของโลกุตระ 

การศึกษาที่อาตมาอธิบายนี้มันเยอะมาก สูงมาก ละเอียดมาก  มันเป็นใบไม้ทั้งป่า ที่อาตมาเจออะไรก็อธิบายหมด เหมือนอาตมาไปเดินวันนี้ก็เดินไปทางท่ากกเสียว ต้นไม้เยอะ ข้างทาง เราก็รู้ไม่กี่ต้น พอดีหมอแตงไทยเขามาเจอ หมอแตงไทยเขาเป็นแพทย์ เป็นลูกชีวกโกมารภัจ ก็ถามว่าอันนี้ต้นอะไรเขาก็บอก แล้วบอกว่าแก้โรคอะไรด้วยสารพัดรู้ 

อาตมาเหมือนคนรู้มากในนามธรรมในธรรมะ อธิบายไปเยอะเหมือนแตงไทยอธิบายเรื่องสมุนไพรให้อาตมาฟัง เราก็ผ่านหูเฉยๆไม่รู้เรื่องเพราะมันเยอะแยะ เหมือนอาตมาอธิบายให้พวกคุณฟัง คนไหนรับอันไหนได้ รู้อันไหนได้ เหมือนหมอแตงไทยอธิบายให้อาตมาฟัง อันไหนพอรู้ได้อาตมาก็รู้ มันจำไม่ได้ต้นนั้นหมายความว่าอันนี้ ต้นนี้ใช้รักษาโรคนี้ใช้ชนิดนี้อะไร จำไม่ได้สักอัน หรืออาจจะจำได้สักอันก็ไม่รู้ล่ะ ไม่ได้เจตนาจะจำด้วย แต่เป็นพวกคุณจะพยายามจำ คนไหนจำได้มากก็ดี จำได้เท่าไหร่ก็ว่ากันไป ก็ศึกษาไป นี่ก็อธิบายขนาดนี้ก็แล้วกันมันเยอะแล้ว ค่อยๆ ศึกษาพยัญชนะบางทีคำเดียวนี้มันเยอะ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาให้มีปัญญาผ่าสุขผ่าทุกข์ วันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม 2566 แรม 5 ค่ำ เดือน 8 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2566 ( 10:07:34 )

อุปาทายรูป 24 ในรูป 28

รายละเอียด

อุปาทายรูป24(ในรูป มี 28) ที่เหลือ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม คือมหาภูตรูป แยกไว้เป็นอุตุธาตุ 

อุตุธาตุที่เราต้องเกี่ยวข้องสัมผัสแตะต้องดินน้ำไฟลม เราต้องเข้าใจอุปทายรูป 24

ก.  ปสาทรูป 5

1. จักขุ (ตา) 

2. โสตะ (หู) 

3. ฆานะ (จมูก) 

4. ชิวหา (ลิ้น) 

5. กายา (กาย)

ข. โคจรรูป, วิสัยรูป 4

1. รูปะ (รูป) 

2. สัททะ (เสียง) 

3. คันธะ (กลิ่น) 

4. รสะ (รส)

5. โผฏฐัพพะ (สัมผัส) 

(กายกับโผฏฐัพพะ ถือว่าเป็นอันเดียวกัน) 

 ค.  ภาวรูป 2

1. อิตถัตตภาวะ, อิตถินทรีย์ (ญ) 

2. ปุริสสัตตภาวะ, ปุริสสินทรีย์ (ช) 

ง.  หทยรูป 1 = 12 หทัยรูป ที่ตั้งการเกิดอาการของรูป   

จ.  ชีวิตรูป 1 = 13 ชีวิตินทรีย์ รู้ความมีชีวิตอยู่ของกิเลส ให้เรียนรู้อาการความมีชีวิตของกิเลสให้มันหมดความมีชีวิตของกิเลสให้ได้ เมื่อเราจับกิเลสที่หทยรูปได้ ก็ฆ่าอินทรีย์หรือชีวิตของกิเลสให้ได้ 

กิเลสมันอาศัยอาหาร 4

ฉ.  อาหารรูป 1 = 14กวฬิงการาหารจนถึงวิญญานอาหาร 

อาหารกินเข้าไปทางปากจะมีเวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะให้เรียนรู้ คนปฏิบัติธรรมไม่มีผัสสะไม่ได้ศึกษาศาสนาพุทธหรอก 

อาหารในวิชชาสูตร .. 

1. การคบสัตบุรุษที่บริบูรณ์  ย่อมทำให้การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ . .

2. การฟังสัทธรรมบริบูรณ์ ย่อมทำศรัทธาให้บริบูรณ์ 

3. ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมทำมนสิการโดยแยบคายให้บริบูรณ์  

4. การมนสิการโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ . . สติสัมปชัญญะบริบูรณ์ ที่จะรู้ทันผัสสะ รู้ทันเวทนา

5. สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ . . ย่อมทำให้ความสำรวมอินทรีย์บริบูรณ์ 

6. ความสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์  ย่อมทำให้สุจริต 3 บริบูรณ์ คือ  กาย วาจา ใจ เลิกทำการงานทุจริต 

7. สุจริต 3 ที่บริบูรณ์  ย่อมทำให้สติปัฏฐาน 4 บริบูรณ์ 

8. สติปัฏฐาน 4 ที่บริบูรณ์  ย่อมทำให้โพชฌงค์ 7 บริบูรณ์ . 

9. โพชฌงค์ 7 ที่บริบูรณ์  ย่อมทำให้วิชชาและวิมุติ บริบูรณ์     (อวิชชาสูตร พตปฎ. เล่ม 24 ข้อ 61) 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 8 มกราคม 2563

หนังสืออ้างอิง

อวิชชาสูตร พระไตรปิฎก เล่ม 24 ข้อ 61


เวลาบันทึก 20 มกราคม 2563 ( 17:57:49 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 16:36:02 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:01:36 )

อุปาทายรูป 9

รายละเอียด

ก็มี 4 ภายนอก โผฏฐัพพะคือภายนอก กายกับใจอีก 1 จะมีรูปกับนาม ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส นอกนั้นก็โผฏฐัพพะกับใจรวมเป็น 1  คือรวมเป็น ภาวรูป 9 ที่เป็นโคจรรูป วิสยรูป อันนี้อธิบายยากกว่า วิการรูป 5 ที่รวมกายวิญญัติ วจีวิญญัติ ในวิการรูปด้วย ที่พูดนี้มีสภาวะรองรับ บางทียังมีสัญญาวิปลาสกำหนดผิดพลาดอยู่บ้าง คนที่ไม่รู้ไม่ศึกษาแท้จริง ไม่รู้จักรูปนาม โดยเฉพาะอุปาทายรูป 24 แล้วใช้นาม 5 ไปเรียนรู้ 

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 17 ธันวาคม 2562 ( 20:01:19 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 16:37:56 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:02:05 )

อุปาทายรูป24

รายละเอียด

คือ ชีวิตจะต้องเรียนรู้พลังงานของชีวิตที่เรียกว่า  ชีวิตินทรีย์ และทำให้อินทรีย์ พลังงานของชีวิตให้ลึก ซึ่งขึ้นไป  ส่วนใด ส่วนหนึ่ง หากมีอินทรีย์ ชีวิตของกิเลสอยู่ในจิต  เราต้องรู้จักชีวิตินทรีย์ ของกิเลสแล้วทำให้มันแตกตาย  ทำลายไป  ชีวิตประกอบด้วยกาย กับ จิต

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช  วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 04 ธันวาคม 2562 ( 14:05:30 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 16:12:30 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:36:27 )

อุปาทารูป หรือ อุปาทายรูป 24 (derivative materiality)

รายละเอียด

อุปาทารูป หรือ อุปาทายรูป 24 (derivative materiality)
ก. ปสาทรูป 5 (รูปที่เป็นประสาทสำหรับรับอารมณ์: sensitive material qualities)
1. จักขุ (ตา - the eye)
2. โสต (หู - the ear)
3. ฆาน (จมูก - the nose)
4. ชิวหา (ลิ้น - the tongue)
5. กาย (กาย - the body)

ข. โคจรรูป หรือ วิสัยรูป 5 (รูปที่เป็นอารมณ์หรือแดนรับรู้ของอินทรีย์ : material qualities of sense-fields)
6. รูปะ (รูป - form)
7. สัททะ (เสียง - sound)
8. คันธะ (กลิ่น - smell)
9. รสะ (รส - taste)
0. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย - tangible objects) ข้อนี้ไม่นับเพราะเป็นอันเดียวกับมหาภูต 3 คือ ปฐวี เตโช และ วาโย ที่กล่าวแล้วในมหาภูต


          พ่อครูว่า เริ่มต้นก็ไม่เรียนรู้ปสาทรูปและโคจรรูป ก็หลงไปเรียนรู้นามกายเลย ก็มีแต่มนายตนะเท่านั้นมันก็เรียนแบบจู๋เลย

          ต้องมีผัสสะเป็นปัจจุบันเสมอจึงเรียนรู้ของจริง ในปัจจุบันขณะใด ตาคุณก็ไม่กระทบรูปในปัจจุบัน ไม่มีสัมผัสทางทวาร 5 ในปัจจุบัน ปัจจุบันคุณก็ไม่มีรูปนาม มันจะมีอย่างเดียวคือ รูปรูปัง คือไม่มีนามมาร่วมด้วย แม้ตาสัมผัสหากไม่มีอายตนะไม่รับรู้มันก็เป็นการปฏิบัติที่ขาดจากรูป คุณตัดรูป 4 แล้วคุณก็ไปด้นเดาเอารูป


ค. ภาวรูป 2 (รูปที่เป็นภาวะแห่งเพศ - material qualities of sex)
10. อิตถัตตะ, อิตถินทรีย์ (ความเป็นหญิง - femininity)
11. ปุริสัตตะ, ปุริสินทรีย์ (ความเป็นชาย - masculinity)

ง. หทยรูป 1 (รูปคือหทัย - physical basis of mind) (แปลตามทั่วไปตามพจนานุกรมประมวลศัพท์ฯ)
12. หทัยวัตถุ* (ที่ตั้งแห่งใจ, หัวใจ – heart-base)

 

จ. ชีวิตรูป 1 (รูปที่เป็นชีวิต - material qualities of life)
13. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์คือชีวิต - life-faculty; vitality; vital force)


ฉ. อาหารรูป 1 (รูปคืออาหาร - material quality of nutrition)
14. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว, อาหารที่กิน : edible food; nutriment)

ช. ปริจเฉทรูป 1 (รูปที่กำหนดเทศะ : material quality of delimitation)
15. อากาสธาตุ (สภาวะคือช่องว่าง : space-element)

ญ. วิญญัติรูป 2 (รูปคือการเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย : material intimation; gesture)
16. กายวิญญัติ (การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมายด้วยกาย : bodily intimation; gesture)
17. วจีวิญญัติ (การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมายด้วยวาจา : verbal intimation; speech)

ฏ. วิการรูป 5 (รูปคืออาการที่ดัดแปลงทำให้แปลกให้พิเศษได้ : material quality of plasticity or alterability)
18. (รูปัสส) ลหุตา (ความเบา - lightness; agility)
19. (รูปัสส) มุทุตา (ความอ่อนสลวย : elasticity; malleability)
20. (รูปัสส) กัมมัญญตา (ความควรแก่การงาน, ใช้การได้ : adaptability; wieldiness)
0. วิญญัติรูป 2 ไม่นับเพราะซ้ำในข้อ ญ.

ฏ. ลักขณรูป 4 (รูปคือลักษณะหรืออาการเป็นเครื่องกำหนด : material quality of salient features)
21. (รูปัสส) อุปจย (ความก่อตัวหรือเติบขึ้น : growth; integration)
22. (รูปัสส) สันตติ (ความสืบต่อ : continuity)
23. (รูปัสส) ชรตา (ความทรุดโทรม : decay)
24. (รูปัสส) อนิจจตา (ความปรวนแปรแตกสลาย : impermanence)

คำอธิบาย

ค. ภาวรูป 2 (รูปที่เป็นภาวะแห่งเพศ - material qualities of sex)
10. อิตถัตตะ, อิตถินทรีย์ (ความเป็นหญิง - femininity)
11. ปุริสัตตะ, ปุริสินทรีย์ (ความเป็นชาย – masculinity)

          ภาวะที่จบไม่ได้คืออิตถีภาวะแม้จะเหลือน้อยเท่าใดก็คืออิตถีภาวะ เช่นเมื่อเสียงกระทบหู คนพูดเสียงมา เสียงกระทบหู พอได้ยินแล้วเสร็จ จิตของคุณ เมื่อเขาว่าคุณมาหรือด่าคุณมา แล้วอาการเรามีอิตถินทรีย์  เกิดไหม หรือว่าเรานิ่งเลย ไม่มีกระดิกเลย มันมีความปรากฏนิ่งเลยเด็ดเดี่ยวสูญเลย อย่างนี้คือไม่มี อิตถินทรีย์ เลย

ที่มา ที่ไป

560715_รายการเรียนอิสระ(ตามสำนึก)


เวลาบันทึก 29 กุมภาพันธ์ 2563 ( 19:30:50 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 16:39:44 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:37:06 )

อุปาทิ

รายละเอียด

เชื้อ

หนังสืออ้างอิง

ยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 70


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:21:00 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:59:40 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:02:36 )

อุปาทิ

รายละเอียด

คือ สิ่งที่ติดยึดไม่เหลือแล้ว 

ที่มา ที่ไป

(630923) พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ วันพุธ 23 กันยายน 2563 ที่บ้านราชฯ


เวลาบันทึก 24 กันยายน 2563 ( 13:23:23 )

อุปาทิ

รายละเอียด

ศาสนาพระพุทธเจ้านั้น ไม่ได้กลัวตาย กลัวเกิด เพราะถ้าคุณยังไม่ทิ้งเชื้อ”อุปาทิ” เรียกว่าเชื้อเกิด เชื้อพาเกิด เชื้ออุปาทินี่เป็น”ปุงลิงค์”นะ อุปาทิคำนี้เป็นปุงลิงค์ “อุปาทาน”เป็น”นปุงสกลิงค์” (คำว่า)”อุปาทายติ”เป็นกิริยากิจ  เป็นตัวปฏิบัติในปัจจุบัน อุปาทานเป็นตัวยึดเป็นอดีต 

อุปาทินี้มันยังมีเชื้อ เชื้อความยึดถือ เชื้อพาเกิด มันก็ไม่ทั้งยึดทีเดียว เจริญกว่าอุปาทาน 

อุปาทิ เป็นผู้ที่ยึดถือเชื้อนี้อยู่ เชื้อพาเกิด พาเกิดดีก็ได้ พาเกิดเลวก็ได้  อุปาทิ 

เพราะฉะนั้นผู้ที่เหลือเชื้อ โพธิสัตว์จะรู้ ยังมีเชื้อที่จะพาเกิดอีกตลอด แล้วก็ทำปัจจุบันก็คือ อุปาทายติ เป็นกิริยากิจ เป็นตัวกิจที่กำลังกระทำอยู่ในปัจจุบันนั้น ทำขึ้นเมื่อใดก็เป็นอันนั้นเป็นกรรมกิริยาอันนั้นอย่างนี้ เป็นต้น 

นี่เป็นสัจจะที่อาตมาหยิบมาอธิบายให้ฟัง ถ้าเข้าใจพยัญชนะ เข้าใจสภาวะพวกนี้ แล้วคุณทำให้ลึกซึ้ง ถูกต้องตามธรรม-พระพุทธเจ้าแล้วละก็ รับรองว่าชีวิตของเราเจริญขึ้นไปเป็น เป็นอรหันต์ เป็นโพธิสัตว์ เป็นผู้เจริญ แล้วมีประโยชน์แก่โลก มีประโยชน์แก่มนุษยชาติ มีประโยชน์แก่ผู้อื่น ตนก็ได้ประโยชน์ เพราะตนก็เป็นคนหมดตัวตน เป็นคนเจริญ เป็นคนที่ไม่มีกิเลส ได้ แล้วมีพลังสร้างสรร

ที่มา ที่ไป

ครบรอบ 53 ปี โพธิกิจ พ่อครูเทศนาภาคค่ำ งานมหาปวารณา ครั้งที่ 41 วันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2566 แรม 6 ค่ำ เดือน 11 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 15 กุมภาพันธ์ 2567 ( 16:57:14 )

อุปาทิ

รายละเอียด

อุปาทิ คือ เชื้อที่พาเกิด-พาตาย 

ในคนที่ไม่รู้ (อวิชชา) พยัญชนะบาลีที่ท่านใช้สำหรับคนที่ไม่รู้แต่ยึดไว้อยู่ มีเชื้ออันนี้อยู่ แต่ยึดไว้อย่างอวิชชา ท่านเรียก อุปาทาน ยึดไว้แต่ไม่รู้ ยึดเชื้อเกิดโดยไม่รู้ ก็เลยมีแต่เกิดๆๆๆๆ ไม่รู้จักตาย 

ฉะนั้นผู้ที่สามารถมีความรู้ถึงสภาวธรรมะที่แท้ๆ อาการกิริยาของสภาวธรรมที่เป็นจิต เจตสิก และเป็นปัญญา ปัญญารู้จักอาการของจิต อาการของเจตสิกอันนี้ อย่างดีงามถูกต้องหมดเลย ก็สามารถจัดการกับจิตกับเจตสิกอันนี้ได้ถึงขั้นนิพพานหรือ ปรินิพพานเป็นปริโยสานสมบูรณ์แบบเลย เป็นผู้จบทั้งกิจ จบทั้งกรรม จบหมดทั้งกาล จบทั้งกิจ จบทั้งกรรม จบหมดทั้งกาล เพราะฉะนั้น ก็รู้ว่ากิจที่จะต้องทำคืออะไรก็ทำได้ โดยจัดการด้วยกรรม เพราะฉะนั้นจะจบด้วยกาล-กาละอีกที ก็เป็นอิสระของท่านสมบูรณ์แบบแล้ว ท่านจะอยู่กับกาละหรือไม่อยู่กับกาละ ท่านเป็นคนทำกาละ  เป็นคนทำตาย จะตายแบบ สอุปาทิเสสนิพพาน หรือจะตายแบบ อนุปาทิเสสนิพพาน โดยไม่ต้องแย้งว่าเป็นของเสขบุคคล หรือเป็นของอเสขบุคคล 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูบวชมาครบ 53 ปี มีอะไรจริง พ่อครูเทศนาภาคค่ำ งานมหาปวารณา ครั้งที่ 41 วันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน 2566 แรม 9 ค่ำ เดือน 11 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 16 กุมภาพันธ์ 2567 ( 14:35:20 )

อุปาทิ

รายละเอียด

ไม่เกิดอีกอย่างไม่เหลือเชื้อ เชื้อที่พาเกิดภาษาบาลีคือ อุปาทิ พยัญชนะ ทอ ทหาร ไม่ใช่ อุปธิ ธอ ธง อุปาทิ แปลว่า เชื้อ แล้วเชื้อนี้เป็น ปุงลิงค์ เป็นเพศผู้ เป็นเพศชาย มีหน้าที่ทำให้เกิด เชื้อนี้ทำให้เกิด เพราะฉะนั้น ถ้าผู้ใดดับอุปาทิได้ ผู้นั้นจบกิจหมด จึงเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ 

คำว่า “ธาตุ” นี้หมายความว่าเป็นธาตุอนุปาทิเสสนิพพาน ธาตุจิตหรือพลังงานจิตนี่ สามารถทำให้กิเลสนี้ดับสิ้นไม่เหลือเลย นี่แหละเป็นตัวธาตุของบุญ อนุปาทิเสสสนิพพานธาตุ นี้แหละคือธาตุของความเป็นบุญ 

ถ้า สอุปาทิเสสนิพพาน จะใส่ธาตุหรือไม่ใส่ก็แล้วแต่ มันยังเหลือกิเลสนะมันยังมีเหลือ เขายังมีคำว่าอุปาทิ ก็คือเชื้อ สอุปาทิเสสะ เสสะ แปลว่าเหลือ สะเกี่ยวกับอุปาทิ เกี่ยวกับความเหลือ นิพพานที่ยังเหลือกิเลส เพราะฉะนั้นไม่ต้องสับสนหรอก

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 46 บุญกับฌาน มีพลังงานต่างกันอย่างไร วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2566 ขึ้น 1 ค่ำเดือน 12 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 02 มีนาคม 2567 ( 19:28:44 )

อุปาทิ อุปาทาน อุปาทยติ

รายละเอียด

อุปาทิ นี่มันเป็น ปุริสภาวะ อุปาทานนี่เป็น นปุงสกลิงค์ อุปาทยติเป็นกิริยา 

เพราะฉะนั้นสภาพต่างๆ กิริยา กับสภาพที่เป็น ปุริสภาวะ กับสภาพที่ไม่มีสภาวะ นปุงสกลิงค์ มันจะมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญละเอียด เดี๋ยวถึงวาระ อาตมาเตรียมไว้อยู่ จะอธิบายให้ฟังละเอียดๆ ฟังดีๆ มันเป็นเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้งจริงๆ ถ้าไม่ใช่ความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าแล้ว ไม่มีทางที่จะมาแยกแยะละเอียดลออได้ขนาดนี้ และอาตมาถ้าไม่ใช่โพธิสัตว์ระดับ 7 สายปัญญาโดยตรง อาตมานี้เป็นสายปัญญาโดยตรง สายปฏิสัมภิทาญาณ จึงสามารถที่จะรู้สภาวะและพยัญชนะเหล่านี้ว่ามันหมายถึง อย่างนี้อย่างนี้ เอามาแจกแจงได้อย่างถูกสภาวะ เอาล่ะฝากไว้ก่อน

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ เรื่องจบกิจทำกาละพ่อครูประกาศ Animal Right Watch วันพุธที่ 4 ตุลาคม 2566 แรม 5 ค่ำเดือน 10 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก

 


เวลาบันทึก 03 มีนาคม 2567 ( 11:40:00 )

อุปาทินนกสังขาร

รายละเอียด

สังขารที่มีวิญญาณครอง , สังขารที่มีกรรมครอง

หนังสืออ้างอิง

ยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 327


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:19:53 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:00:24 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:02:55 )

อุปาทิยติ

รายละเอียด

1. สภาพที่ตนเองหลงเข้าไปยึดเอา , ยึดมั่นแน่น

2. ยึดมั่นถือมั่น

หนังสืออ้างอิง

เปิดโลกเทวดา หน้า 143 , 145 , วิถีพุทธ หน้า 42


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:19:02 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:03:39 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:37:30 )

อุปายาส

รายละเอียด

ความยังขัดข้องในใจ , ความยังติดต่องแต่งในใจ

หนังสืออ้างอิง

เปิดโลกเทวดา หน้า 118


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:16:44 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:05:08 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:03:14 )

อุปาลิสูตร

รายละเอียด

พระอุบาลีปรารถนาจะไปอยู่ป่า  และราวป่าอันสงัด 

พระพุทธองค์ตรัสว่า...  ป่าและราวป่าอันสงัดอยู่ลำบาก  

ทำความวิเวกได้ยาก ยากที่จะอภิรมย์ในการอยู่ผู้เดียว. ป่าทั้งหลายเห็นจะนำใจของภิกษุผู้ไม่ได้สมาธิไปเสีย 

ผู้นั้นจำต้องหวังข้อนี้ คือ จักจมลงหรือจักฟุ้งซ่าน เปรียบเหมือนกระต่ายหรือเสือปลาลงสู่ห้วงน้ำใหญ่ หวังจะเอาอย่างช้างใหญ่สูง 7 ศอก หรือ 7 ศอกกึ่ง กระต่ายหรือเสือปลานั้น จำต้องหวังข้อนี้ คือ จักจมลง หรือจักลอยขึ้น !!  (พตปฎ. เล่ม 24 ข้อ 99) 

หมายความว่ามีแต่ตายกับตาย ไม่ลอยก็จมใต้บาดาลเลย จมลงดักดาน ดิ่งไปเป็นพญานาคที่นอนหลับไม่รู้คู้ไม่เห็นจมดิ่ง 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม ผู้อยู่ป่าเป็นผู้เสื่อมผู้อยู่เมืองเป็นผู้เจริญ วันอาทิตย์ที่ 18 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 21 เมษายน 2564 ( 22:05:12 )

อุปาลิสูตร (ว่าด้วยคุณธรรมของผู้ควรอยู่ป่า)

รายละเอียด

พระอุบาลีปรารถนาจะไปอยู่ป่า  และราวป่าอันสงัด พระพุทธองค์ตรัสว่า...  ป่าและราวป่าอันสงัดอยู่ลำบาก  ทำความวิเวกได้ยาก   ยากที่จะอภิรมย์ในการอยู่ผู้เดียว.    ป่าทั้งหลายเห็นจะนำใจของภิกษุผู้ไม่ได้สมาธิไปเสีย 
    ผู้นั้นจำต้องหวังข้อนี้  คือ  จักจมลงหรือจักฟุ้งซ่าน เปรียบเหมือนกระต่ายหรือเสือปลาลงสู่ห้วงน้ำใหญ่   หวังจะเอาอย่างช้างใหญ่สูง 7 ศอก   หรือ 7 ศอกกึ่ง  กระต่ายหรือเสือปลานั้น  จำต้องหวังข้อนี้  คือ จักจมลง (สังสีทิสสติ)  หรือจักลอยขึ้น (อุปปิลวิสสติ) 
 

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฏก  เล่ม 24  ข้อ 99, ธรรมาธิบายจากพ่อครู รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 07 สิงหาคม 2562 ( 13:40:56 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 12:42:10 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:38:09 )

อุปาลิสูตรว่าด้วยพระอุบาลีปารถนาจะไปอยู่ป่าและราวป่าอันสงัด

รายละเอียด

อาตมาเอามาอ้างอิง โดยเฉพาะในอุปาลิสูตร พระอุบาลีปรารถนาจะไปอยู่ป่า  และราวป่าอันสงัด พระพุทธองค์ตรัสว่า…  ป่าและราวป่าอันสงัดอยู่ลำบาก  ทำความวิเวกได้ยาก   ยากที่จะอภิรมย์ในการอยู่ผู้เดียว.    ป่าทั้งหลายเห็นจะนำใจของภิกษุผู้ไม่ได้สมาธิไปเสีย ผู้นั้นจำต้องหวังข้อนี้  คือ  จักจมลงหรือจักฟุ้งซ่าน เปรียบเหมือนกระต่ายหรือเสือปลาลงสู่ห้วงน้ำใหญ่   หวังจะเอาอย่างช้างใหญ่สูง 7 ศอก  หรือ 7 ศอกกึ่ง  กระต่ายหรือเสือปลานั้น จำต้องหวังข้อนี้  คือ จักจมลง   หรือจักลอยขึ้น !!  (พตปฎ. เล่ม 24   ข้อ 99) ผู้ที่จะไปอยู่ป่าได้ต้องมีสมาธิและเป็นสมาธิของพระพุทธเจ้าด้วยนะไม่ใช่สมาธิของเดียรถีย์จึงจะสมควรออกป่าได้ ไม่เช่นนั้นป่าจะนำใจของภิกษุผู้ไม่ได้สมาธิไปเลย ป่ามันเอาไปกินเลย ยิ่งเป็นคนที่อยู่ในถ้ำยิ่งไกลจากวิเวกๆๆ เลยนะ ไม่จมก็ฟุ้งซ่าน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเข้าไปอาศัยป่าชัฏแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่  เมื่อเธอเข้าไปอาศัยป่าชัฏนั้นอยู่  สติที่ยังไม่ปรากฏ  ก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น  อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป   และภิกษุนั้น ไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ  จีวร  บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช  บริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค  ปัจจัยเหล่านั้น  ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก (วนปัตถสูตร พตปฎ.เล่ม 12 ข้อ 235) 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม 2563


เวลาบันทึก 04 มิถุนายน 2563 ( 11:18:21 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 08:50:51 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 15:54:23 )

อุปาลีสูตร

รายละเอียด

อุปาลีสูตร...ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปรารถนาเพื่อสร้องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี เสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด อยู่ลำบาก ทำความวิเวกได้ยาก ยากที่จะอภิรมย์ในการอยู่ผู้เดียว ป่าทั้งหลายเห็นจะนำใจของภิกษุผู้ไม่ได้สมาธิไปเสีย ดูกรอุบาลี ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราเมื่อไม่ได้สมาธิจักสร้องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัดผู้นั้นจำต้องหวังข้อนี้คือ จักจมลงหรือจักฟุ้งซ่าน ดูกรอุบาลี เปรียบเหมือนมีห้วงน้ำใหญ่อยู่ มีช้างใหญ่สูง 7 ศอกหรือ 7 ศอกกึ่ง มาถึงเข้า ช้างตัวนั้นพึงคิดอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ เราลงสู่ห้วงน้ำนี้แล้วพึงขัดถูหูเล่นบ้าง พึงขัดถูหลังเล่นบ้าง ครั้นแล้ว จึงอาบ ดื่มขึ้นมากลับไปตามต้องการ ช้างนั้นลงสู่ห้วงน้ำนั้นแล้วพึงขัดถูหูเล่นบ้าง ขัดถูหลังเล่นบ้าง ครั้นแล้วจึงอาบ ดื่มขึ้นมาแล้วกลับไปตามต้องการ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าช้างนั้นเป็นสัตว์มีร่างกายใหญ่ ย่อมได้การลงในน้ำลึก ครั้นกระต่ายหรือเสือปลามาถึง (ห้วงน้ำนั้น) เข้า กระต่ายหรือเสือปลาพึงคิดอย่างนี้ว่าเราเป็นอะไรและช้างใหญ่เป็นอะไร ไฉนหนอ เราพึงลงสู่ห้วงน้ำนี้แล้วจึงขัดถูหูเล่นบ้าง พึงขัดถูหลังเล่นบ้าง ครั้นแล้ว จึงอาบ ดื่มขึ้นมาแล้วกลับไปตามต้องการ กระต่ายหรือเสือปลานั้นก็ลงสู่ห้วงน้ำนั้นโดยพลัน ไม่ทันได้พิจารณา

กระต่ายหรือเสือปลานั้นจำต้องหวังข้อนี้ คือจักจมลงหรือจักลอยขึ้นข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่ากระต่ายหรือเสือปลานั้นเป็นสัตว์มีร่างกายเล็ก

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันจันทร์ที่ 15 มกราคม 2561


เวลาบันทึก 21 กุมภาพันธ์ 2564 ( 15:22:06 )

อุปาเทติ

รายละเอียด

เข้าไปยึดถือเอา

หนังสืออ้างอิง

กำไร-ขาดทุนแท้ของอาริยชน / เราคิดอะไร ฉบับ 272


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:17:33 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:05:55 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:03:41 )

อุปโภค

รายละเอียด

สิ่งใช้สอย หรือเป็นเครื่องชูช่วยชีวิตของข้างนอก

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 181


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:46:44 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:06:36 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:04:00 )

อุพพิละ

รายละเอียด

ตื่นเต้น ลิงโลด

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 242


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:11:17 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:07:24 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:04:16 )

อุพเพงคาปีติ

รายละเอียด

คือ ความเบิกบานของคนโลกีย์เป็นกัน อย่างมันหลงในความจัดจ้านรุนแรงกัน จนไม่มีขีดจำกัด ใครกรี๊ดออกมาให้สุดๆ

หนังสืออ้างอิง

 “คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1 หน้า 51


เวลาบันทึก 08 พฤศจิกายน 2562 ( 14:46:23 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 18:56:42 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:04:45 )

อุพเพงคาปีติจะมีน้ำตาไหล

รายละเอียด

มันเป็นจิตชนิดหนึ่งเรียกว่าปีติ อุพเพงคาปีติจะมีน้ำตาไหล เช่นซาบซึ้งใจจนน้ำตาไหลเป็นแบบที่เป็นกุศล หรือโกรธจนน้ำตาไหลร้องไห้ไปในทางเลว มันเป็นสรีระที่มีพลังงานไปถึงจุดหนึ่งทำให้น้ำตาออกมา ทุกคนก็มีประสบการณ์นี้ทั้งนั้นแหละ 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม 2563


เวลาบันทึก 18 มิถุนายน 2563 ( 10:54:24 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 08:51:06 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:05:10 )

อุภยัตถะ

รายละเอียด

คือ เป็นประโยชน์สองฝ่าย ทั้งแก่ตนเอง แก่โลก แก่สังคม เราก็จะได้ช่วยตนและช่วยชาวโลกด้วย จึงเป็นประโยชน์สองส่วนอย่างชัดเจนจริงๆ

หนังสืออ้างอิง

 “สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ” หน้า 158


เวลาบันทึก 26 ตุลาคม 2562 ( 14:53:12 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 18:56:17 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:05:36 )

อุภยัตถะ

รายละเอียด

1. ประโยชน์ทั้งสองส่วน ทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน

2. ประโยชน์ตนด้วย ประโยชน์ท่านด้วย

หนังสืออ้างอิง

รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 178 , ค้าบุญคือบาป หน้า 246


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:07:43 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:08:35 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:05:59 )

อุภโตภาควิมุต

รายละเอียด

คือ พระอรหันต์ที่สมบูรณ์ที่สุด

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราชธานีอโศก วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2562

หนังสืออ้างอิง

 

 


เวลาบันทึก 15 ตุลาคม 2562 ( 14:54:48 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 12:42:57 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:06:26 )

อุภโตภาควิมุตติ

รายละเอียด

1. ปัญญาวิมุตติ + เจโตวิมุตติ คือทั้งรู้ชัดในวิมุตติ ทั้งทำวิมุตตินั้นได้ หรือทั้งทำได้แล้วก็ต้องรู้ในความทำได้แท้ ๆ ของตนจริง

2. หลุดพ้นแล้วสิ้นทั้งสองส่วน ทั้งปัญญาก็ช่วยดับ เรียกว่าแม้สัมผัส-อยู่ก็วางได้สนิท ทั้งเจโตก็ดับแท้ ๆ ไม่มีการเกาะยึดติดให้เป็นธุลีทุกข์-ใด ๆ อยู่ที่จิตเลย

3. เป็นผู้บรรลุทั้งปัญญาวิมุตติ และบรรลุสิ้นรอบทั้งเจโตวิมุตติไม่เหลือเศษด้วย

4. วิมุตติทั้ง 2 ฝ่าย [ปัญญาวิมุตติและเจโตวิมุตติ]

5. ผู้บรรลุเจโตวิมุตติ – ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป เพราะทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 22 , ทางเอก ภาค 2 หน้า 217 , รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 202

เปิดโลกเทวดา หน้า 187


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 12:10:23 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:11:38 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:38:51 )

อุภโตภาควิมุติ

รายละเอียด

คือถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมาบัติ  เพราะล่วงรูป  สมาบัติด้วยกาย  เพราะฉะนั้น ผู้นี้มีครบทั้งถูกต้อง  วิโมกข์ 8 และไม่ถูกต้องวิโมก 8  อันละเอียด  ในอรูปสมาบัติที่กำลัง สัมผัสอยู่นี้  ในภาษาของโลกีย์ สมาบัติ คือ การนั่งเข้าภพ   แต่สมาบัติของพระพุทธเจ้า ไม่มีการเข้าออกแต่กำลังเป็นอยู่ด้วย  ผู้นี้ได้แล้ว  และกำลังเป็นอยู่ในขั้นอรูป  อรูปคำนี้ก็คือ  รูป  แต่ไม่มีภาษาจะเรียกแล้ว เพราะไม่รู้จะเรียกอะไร  โดยสภาวะแล้ว มันไม่มีรูปแล้ว ก็คือสูญ แต่คุณยังมีชีวิต  คุณยังมีสิ่งที่อาศัยอยู่จึ่งเรียกว่า คุณอยู่กับอันนั้น  จึงเรียกว่า ยังมี  นี่คือ  ภาษาสิริมหามายา ประเดี๋ยวก็ว่ามี  ประเดี๋ยวก็ไม่มี  ฟังดี ๆ  จะไม่สับสน  พูดชัดเจนแล้ว ไม่งงแล้ว  ไม่งงแล้วก็จะรู้ว่ากลับไป กลับมาได้ เข้าใจเลยว่าสภาพนี้จริงๆ  แล้วมีหรือไม่มี  ตอบอันไหนก็ถูกหมด คนทำไม่เข้าใจตอบอันไหนก็ผิดหมด คนไม่ตอบก็คือคนไม่รู้เรื่อง  ต้องใช้ภาษาเรียกแทน ซึ่งบางทีมันไม่มี  ภาษาจะเรียกแล้ว  บางคนชอบ พูดว่าสิ่งที่ไม่พูด ไม่ใช่ของจริง  สิ่งที่จริงต้องนิ่งใบ้  พูดไม่ได้ใช่ของจริง  สิ่งที่จริงต้องนิ่งใบ้ พูดไม่ใช่ของจริงก็ไมผิด  แต่อย่าเล่น ความเฉย ๆไม่ได้  โดยพยัญชนะว่าประมาท  แต่โดยสภาวะทำเสร็จสิ้นแล้ว  คือไม่ประมาท  ผู้ที่เข้าใจแล้วจะรู้ว่า  อันนี้ ไว้สื่อสารสำหรับผู้ที่ต้องทำอยู่นะ  ถ้าคุณประมาทไม่เสร็จนะ  ต้องทำด้วย ความไม่ประมาท  และคุณละเสร็จ  ต้องพูดให้คนนี้อย่างนี้ พูดให้กับคนที่ต้องทำ ชัดไหม   เข้าใจไหม  ทำเสร็จแล้ว   พูดนั้นก็ไม่ควรจะประมาท  แต่ถ้ายังประมาทอยู่ก็ช่วยไม่ได้แล้ว  แต่ถ้าท่านไม่แข็งแรงจริงๆ   สู้ไม่ได้  ก็คือประมาทไปได้เหมือนกัน  อุภโตภาควิมุติ เป็นอรหันต์ แน่นอน  แต่อันนี้แม้จะเป็นสายปัญญา  แต่เจโตจริงๆ  คืออาสวะ  อกุศลจิตจริงๆ ทั้งหลายก็หมดแล้ว  ผู้บรรลุด้วยปัญญา ถ้าล่วงรูปสมาบัติแล้วคือ  ภาคปฏิบัติคือ สมาบัติสมบูรณ์แล้วก็คือ  บรรลุแล้ว  ตอนนี้อรูปอยู่ แต่แม้อยู่กับอรูปนี้ อาสวะทั้งหลายของผู้นี้ก็สิ้นไปหมดแล้ว เพราะฉะนั้นผู้นี้  ปัญญาวิมุติ จึงเรียกได้ว่าเป็นพระอรหันต์  เห็นความลึกซึ้งซับซ้อน มันน่าเห็นใจ ผู้ที่ไม่มีสภาวะ  ถ้าเขาไม่งง  ไม่สับสนก็แปลกแล้ว  เพราะเขายังไม่ใช่ผู้บรรลุ ถ้าผู้ที่บรรลุแล้วก็จะไม่แปลกประหลาด ก็ใช้ได้  เป็นคนสมบูรณ์แบบแล้ว ไม่ใช่คนที่ยังมีอะไรแตกๆ ต่างๆ หมดความแตกๆต่างๆ แล้ว จะพูดกลับไปกลับมายิ่งกว่านักมายากล มี หรือไม่มี ไม่มีหรือมี นักมายากลจะแกล้งคนอย่างนั้น  แต่นี่สิริมหามายาพูดเร็ว กลับไปกลับมา แต่ไม่หลอกต้องหมุนสมองให้ทันสมัย  ถ้าหมุนสมองไม่ทันสมัย ก็งง

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ สันติอโศก วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน2562


เวลาบันทึก 01 ธันวาคม 2562 ( 12:25:05 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 12:52:54 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 15:56:28 )

อุภโตภาควิมุติ

รายละเอียด

ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมาบัติ  เพราะล่วงรูป  สมาบัติด้วยกาย  เพราะฉะนั้น ผู้นี้มีครบทั้งถูกต้อง  วิโมกข์ 8 และไม่ถูกต้องวิโมกข์  8 อันละเอียด  ในอรูปสมาบัติที่กำลังสัมผัสอยู่นี้  ในภาษาของโลกีย์ สมาบัติ คือ การนั่งเข้าภพ   แต่สมาบัติของพระพุทธเจ้า ไม่มีการเข้าออกแต่กำลังเป็นอยู่ด้วย  ผู้นี้ได้แล้ว  และกำลังเป็นอยู่ในขั้นอรูป  อรูปคำนี้ก็คือ  รูป  แต่ไม่มีภาษาจะเรียกแล้ว เพราะไม่รู้จะเรียกอะไร  โดยสภาวะแล้ว มันไม่มีรูปแล้ว ก็คือ 0 แต่คุณยังมีชีวิต  คุณยังมีสิ่งที่อาศัยอยู่จึงเรียกว่า คุณอยู่กับอันนั้น  จึงเรียกว่า ยังมี  นี่คือ  ภาษาสิริมหามายา ประเดี๋ยวก็ว่ามี  ประเดี๋ยวก็ไม่มี  ฟังดี ๆ  จะไม่สับสน  พูดชัดเจนแล้ว ไม่งงแล้ว  ไม่งงแล้วก็จะรู้ว่ากลับไป กลับมาได้ เข้าใจเลยว่าสภาพนี้จริงๆ  แล้วมีหรือไม่มี  ตอบอันไหนก็ถูกหมด คนทำไม่เข้าใจตอบอันไหนก็ผิดหมด คนไม่ตอบก็คือคนไม่รู้เรื่อง  ต้องใช้ภาษาเรียกแทน ซึ่งบางทีมันไม่มี  ภาษาจะเรียกแล้ว  บางคนชอบ พูดว่าสิ่งที่ไม่พูด ไม่ใช่ของจริง  สิ่งที่จริงต้องนิ่งใบ้  พูดไม่ได้ใช่ของจริง  สิ่งที่จริงต้องนิ่งใบ้ พูดไม่ใช่ของจริงก็ไม่ผิด  แต่อย่าเล่น ความเฉย ๆไม่ได้  โดยพยัญชนะว่าประมาท  แต่โดยสภาวะทำเสร็จสิ้นแล้ว  คือไม่ประมาท  ผู้ที่เข้าใจแล้วจะรู้ว่า  อันนี้ ไว้สื่อสารสำหรับผู้ที่ต้องทำอยู่นะ  ถ้าคุณประมาทไม่เสร็จนะ  ต้องทำด้วย ความไม่ประมาท  และคุณละเสร็จ  ต้องพูดให้คนนี้อย่างนี้ พูดให้กับคนที่ต้องทำ ชัดไหม   เข้าใจไหม  ทำเสร็จแล้ว   พูดนั้นก็ไม่ควรจะประมาท  แต่ถ้ายังประมาทอยู่ก็ช่วยไม่ได้แล้ว  แต่ถ้าท่านไม่แข็งแรงจริงๆ   สู้ไม่ได้  ก็คือประมาทไปได้เหมือนกัน  อุภโตภาควิมุติ เป็นอรหันต์ แน่นอน  แต่อันนี้แม้จะเป็นสายปัญญา  แต่เจโตจริงๆ  คืออาสวะ  อกุศลจิตจริงๆ ทั้งหลายก็หมดแล้ว  ผู้บรรลุด้วยปัญญา ถ้าล่วงรูปสมาบัติแล้วคือ  ภาคปฏิบัติคือ สมาบัติสมบูรณ์แล้วก็คือ  บรรลุแล้ว  ตอนนี้อรูปอยู่ แต่แม้อยู่กับอรูปนี้ อาสวะทั้งหลายของผู้นี้ก็สิ้นไปหมดแล้ว เพราะฉะนั้นผู้นี้  ปัญญาวิมุติ จึงเรียกได้ว่าเป็นพระอรหันต์  เห็นความลึกซึ้งซับซ้อน มันน่าเห็นใจ ผู้ที่ไม่มีสภาวะ  ถ้าเขาไม่งง  ไม่สับสนก็แปลกแล้ว  เพราะเขายังไม่ใช่ผู้บรรลุ ถ้าผู้ที่บรรลุแล้วก็จะไม่แปลกประหลาด ก็ใช้ได้  เป็นคนสมบูรณ์แบบแล้ว ไม่ใช่คนที่ยังมีอะไรแตกๆ ต่างๆ หมดความแตกๆต่างๆ แล้ว จะพูดกลับไปกลับมายิ่งกว่านักมายากล มี หรือไม่มี ไม่มีหรือมี นักมายากลจะแกล้งคนอย่างนั้น  แต่นี่สิริมหามายาพูดเร็ว กลับไปกลับมา แต่ไม่หลอกต้องหมุนสมองให้ทันสมัย  ถ้าหมุนสมองไม่ทันสมัย ก็งง

ที่มา ที่ไป

พุทธศาสนาตามภูมิ สันติอโศก วันศุกร์ที่   22 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 16 ธันวาคม 2562 ( 19:32:09 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 08:51:54 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 15:57:43 )

อุภโตภาควิมุติ

รายละเอียด

ชาวพุทธส่วนใหญ่ที่อยู่ในเถรสมาคมเป็นต้น เป็นหลักเลย เป็นกระแสหลักของประเทศไทย พุทธศาสนา เพราะฉะนั้นมีอโศกเกิดขึ้นมา อาตมานำโลกุตรธรรมขึ้นมาสถาปนาขึ้นจริง มีท่านพุทธทาสนำคำว่าโลกุตระที่มีในพระไตรปิฎกเอามาเกริ่นกล่าว ท่านพุทธทาสก็เป็นโพธิสัตว์ตามลำดับของท่าน ท่านก็ได้นำมา แต่ท่านยังไม่สูง ท่านก็เลยได้แค่นั้น ท่านอายุ 85 ท่านก็สิ้นไปแล้ว 

อาตมาเกิดมาก็มาขยายผลอย่างแท้จริงของโลกุตระเพราะเป็นหน้าที่ของอาตมา อาตมาเป็นผู้รับช่วงจากพระพุทธเจ้า พูดไปหมดแล้วใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ไม่มีปัญหา ที่จะนำโลกุตระขึ้นมาสถาปนาลงไปในยุคนี้ ซึ่งมีพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงนำมาก่อน โดยทรงทำทางรูปธรรมของโลกุตระ

อาตมาก็จะมาขยายความทางนามธรรม ซึ่งละเอียดกว่ารูปธรรมมาก ทั้งรู้ก็ยากยิ่งปฏิบัติให้พร้อมเป็น อุภโตภาควิมุติ ก็ยิ่งยาก โลกุตรธรรม หรือได้ความจริงมาเป็นลำดับ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์งานอัฏฐาริยสัจจายุ ประชาธิปไตยแบบไทยโดยเฉพาะ ตอนที่ 1

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566 แรม 6 ค่ำ เดือน 3 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2566 ( 13:07:07 )

อุเทศ

รายละเอียด

1. หัวข้อที่แยกแยะออกได้

2. ความหมายที่ได้รับบอกเล่า ชี้แจง อธิบายมา

3. คำชี้แจง คำกล่าวถึง

4. การยกขึ้นชี้แจง

5. ข้ออธิบายชี้แจงที่ได้รู้มา

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 303 , สมาธิพุทธ หน้า 211,251)

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 246, พุทธเป็นอเทวนิยมอย่างนี้ หน้า 106 ,ชีวิตนี้มีปัญหา / เราคิดอะไร ฉบับ266


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:27:31 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:13:54 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:07:36 )

อุเทศ คืออย่างไร

รายละเอียด

อุเทส คือคำอธิบายขยายความ ยกหัวข้อ เช่น ยกหัวข้อคำว่า อาการมาขยายความ ยกหัวข้อคำว่า ลิงค ขึ้นมาอธิบาย ยกหัวข้อคำว่านิมิตขึ้นมาอธิบาย เป็นต้น หรือยกคำว่ารูปมาอธิบายหรือเวทนาสัญญาสังขาร ที่เป็นหัวข้อหรืออาจจะเป็นคำ อาจจะเป็นวลีอาจจะเป็นประโยค ขึ้นมาอธิบาย นั่นดีกว่า อุเทศ

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 22 กันยายน 2563 ( 18:59:40 )

อุเทศ – ต่างกัน

รายละเอียด

คือ ข้อที่ยกขึ้นแสดง ชี้แจง อธิบาย ต่างกัน ไม่เหมือนกัน เช่น เรื่องที่กำลังถกเถียงกันอยู่นี่ไง ..หาว่า เราบัญญัติเองมั่ง..หาว่าเราทำให้ธรรมวินัยวิปริตบ้าง คือ การชี้แจง หรือข้อที่ยกเว้นแสดงต่างกัน อธิบายกัน สาธยายต่างกัน ขยายความต่างกันจับประเด็นจับเนื้อหา ชี้แจงคนละอย่าง

หนังสืออ้างอิง

“สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ”หน้า 373


เวลาบันทึก 29 ตุลาคม 2562 ( 11:52:08 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 18:55:43 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 09:19:44 )

อุเทศต่างจากนิเทศ

รายละเอียด

อุเทศ คือ ยกหัวข้อมาอธิบายต่างจาก นิเทศ ที่ไม่ได้ยกหัวข้ออธิบายเท่านั้นเอง 

ที่มา ที่ไป

รายการโลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 22 กันยายน 2563 ( 19:05:01 )

อุเทส

รายละเอียด

อุเทส คือ คำบรรยาย คำสอน

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช  วันพุธที่ 16  ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 22 ตุลาคม 2562 ( 12:20:28 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 12:55:43 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 09:18:49 )

อุเทส

รายละเอียด

ข้อแตกต่างต่าง ๆ กันอันแยกแยะ แบ่งรายละเอียดออกได้

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 186


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:25:40 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 13:14:53 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 09:18:31 )

อุเทส

รายละเอียด

คือ คำบรรยาย เป็นการแสดงหัวข้อธรรม ธรรมะรายละเอียดของผู้ที่อยู่ในฐานะของครูให้ฟัง เสร็จแล้ว ต้องมีการสำรวมอินทรีย์ โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยค ให้ครบ 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 27 มีนาคม 2563 ( 12:05:09 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 11:31:22 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 09:17:59 )

อุเทส

รายละเอียด

คำว่าอุเทส คือ หัวข้อ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 12 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 05 กันยายน 2563 ( 09:55:04 )

อุเทส คือ คำอธิบาย เป็นการอธิบายเรื่องอาการ ลิงค นิมิตของจิต

รายละเอียด

ประเด็นนี้แจ๋ว อธิบายตรงนี้ ย้ำ อาการ ลิงค นิมิต อุเทส ขยายความอันนี้ให้ชัดๆ ก่อน 

ในพระไตรปิฎกเล่ม 10 ข้อ 60 อาการ ลิงค นิมิต อุเทส อาตมาจำได้ว่า พระพุทธเจ้าท่านตรัสเรื่อง อาการ ลิงค นิมิต อุเทส ในพระไตรปิฎกเล่ม 10 ข้อ 60 เรื่อง เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัย ก็อยู่ในข้อนี้เหมือนกัน  เป็นการ

ถ้าผู้ใดเข้าใจ อาการ ลิงค นิมิต จากอุเทส อุเทส คือ คำอธิบาย คำที่อาตมากำลังสาธยายชี้แจงขยายความอยู่นี่แหละนี่คือ อุเทส เพราะฉะนั้นผู้ที่ฟังคำอธิบายขยายความนี้แล้วเข้าใจอาการ เข้าใจนิมิต เข้าใจความแตกต่างของอาการก็ดี เข้าใจความแตกต่างของนิมิตก็ดี นิมิตอันนี้เป็นเครื่องหมายบอกอย่างนี้ นิมิตอันนี้เป็นเครื่องหมายบอกอย่างนั้น เทียบกันแล้วอาการแตกต่าง พยัญชนะบอกอาการ พยัญชนะบอกว่า นิมิต มันเป็นเครื่องหมายให้เรากำหนด ภาษาคำว่า “นิมิต” มันเป็นคำชี้บ่งเชิง Static “ความเป็นอาการ”เป็นเชิงชี้บ่งของ Dynamic

หมายความว่านิมิตนี้มันเหมือนกับตัวตน เป็นกระแส ส่วนอาการ เหมือนความเคลื่อน แรงเคลื่อน ตัวนี้ตัวหยุด ตัวนี้ตัวเคลื่อน อย่างนี้เป็นต้น แล้วก็อ่านความต่าง อาการตัวเคลื่อน นิมิตตัวหยุด อาการกับนิมิตมันก็ต่างกันแล้ว แถมอย่างนิมิตกับนิมิต ถ้ามีก็จับที่นิมิต ก็ต้องแตกต่างกันในนิมิตกับนิมิตอีก อาการกับอาการ ก็ต้องอ่านอาการกับอาการมันก็มีแตกต่างกันอีก ในอาการของอาการต่างๆ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ อาการ ลิงค นิมิต อุเทส ของ นาม 5 รูป 28 วันพุธที่ 11 พฤษภาคม 2565 บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2565 ( 14:10:55 )

อุเทสต่างจากนิเทศอย่างไร

รายละเอียด

คำว่า อาการ ลิงค นิมิต อุเทส ในพระไตรปิฎกเล่ม 16 ข้อ 60 จึงเป็นตัวไขให้รู้จักอาการจิตเจตสิกทั้งหมด อุเทส เป็นคำอธิบาย อาตมาพูดอธิบายอยู่นี้เป็นคำ อุเทส ทั้งนั้น ยาว อธิบายไปเรื่อยๆ ส่วนนิเทศนั้น ตัดหมวดหมู่มาอธิบายเป็นเรื่อง เป็นสั้นเป็นยาว เป็นขนาดนั้นขนาดนี้ ส่วนอุเทสนั้น พูดต่อไปเรื่อยๆ อาตมาก็อธิบายให้ฟังเสมอต่ออยู่เป็นอุเทส 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ เปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ตอน 3 

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน 2564 ขึ้น 5 ค่ำเดือน 8 ปีฉลู ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2564 ( 07:53:07 )

อุเบกขา

รายละเอียด

คือ ความรู้สึกกลางๆเฉยๆเป็นฐานที่นิพพาน จะปรากฏในศาสนาพุทธซึ่งเป็นความรู้สึกหรืออารมณ์

หนังสืออ้างอิง

 “คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1 หน้า 43


เวลาบันทึก 08 พฤศจิกายน 2562 ( 13:40:37 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 18:54:52 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 09:20:13 )

อุเบกขา

รายละเอียด

คือ ความมั่นคงหนักแน่น ที่จะเป็นรากฐานคอยประคับประคองจิตใจเรา ความมั่นคงนี้ ทำให้เกิดความมีใจเป็นกลาง แบบมั่นคง และมีพลัง ไม่ใช่เป็นกลางโดยว่างเปล่า แต่เป็นกลาง อย่างเต็มเปี่ยมด้วยคุณธรรม เป็นความสงบที่เยือกเย็น และอบอุ่นในเวลาเดียวกัน

หนังสืออ้างอิง

 “สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ” หน้า 392


เวลาบันทึก 29 ตุลาคม 2562 ( 12:28:51 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 18:54:21 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 09:20:45 )

อุเบกขา

รายละเอียด

คือ กลางว่างไม่มีอะไรแล้วสะอาดบริสุทธิ์แล้ว 

ที่มา ที่ไป

620821_พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช


เวลาบันทึก 18 ตุลาคม 2562 ( 15:41:36 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 12:57:43 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 09:21:11 )

อุเบกขา

รายละเอียด

อุเบกขา  คือ เมื่อทำได้ ปฏิบัติแล้วก็บรรลุฐานนิพพาน คือ อุเบกขา ต้นทางนิพพาน คือ อุเบกขา

คำอธิบาย

อุเบกขา หรืออทุกขมสุข  คือ  ไม่มีทุกข์แล้วไม่มีสุขจึงจะถึงจุดสูญ  หรือจุดนิพพานเป็นฐานของนิพพาน คือ ไม่สุขไม่ทุกข์

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราชฯ ครั้งที่ 68   วันจันทร์ที่ 9 เดือนกันยายน 2562

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต สันติอโศก วันพุธที่  2 ตุลาคม  2562


เวลาบันทึก 05 ตุลาคม 2562 ( 12:53:39 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 12:59:37 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 09:22:27 )

อุเบกขา

รายละเอียด

1. มีความไม่อนาทร วางเฉยได้กับการกระทบสัมผัสที่จะทำให้เกิด-ราคะ เกิดโทสะ มีความไม่หวั่นไหวต่อฤทธิ์แรงแห่งกระแสโลก หรือกระแสกิเลสที่เราตัดได้อย่างมั่นคงนั้น ๆ จิตเป็นเอก แข็งแกร่ง ตั้งมั่น แววไว ปราดเปรียว แคล่วคล่อง ร่องมีแนว เหมาะควรแก่การงาน ไม่ลดเลี้ยว ซื่อตรง คงที่

2. ไม่มีอะไร , เป็นสิ่งนั้น ว่าง ๆ อยู่ ๆ , ความวางเฉย

3. (อ = เกิด + ป = นำมาก่อน ; เป็นต้นเค้า + เอก = หนึ่ง , ชั้นหนึ่ง +  ย = ความว่าง) หมายถึง สิ่งหนึ่ง , สภาพหนึ่ง  เป็นต้นเค้าของสิ่งทั้ง-ปวง ยังต้องเกิดอยู่เท่านั้นเอง

4. สภาพว่าง โปร่ง เกิดขึ้นเต็มสภาพเป็นเลิศ เกิดความอิสรเสรีอย่าง-ลอยเลิศ

5. ใกล้ความเป็นหนึ่ง

6. ความเฉย ความไม่ดึงดูด ไม่ผูกพัน ไม่ติดใจ

7. ใจเป็นกลาง

คำอธิบาย

อุเบกขา  คือ ฐานของนิพพานที่ควรประพฤติปฏิบัติจะต้องทำใจในใจไม่สุขไม่ทุกข์ หรือใช้คำว่า อุเบกขา ใครที่หลงว่า นิพพานเป็นความสุข ยังห่างไกลจากนิพพานมาก

(รายการวิถีอาริยธรรม  บ้านราชฯ  (วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม 2562))

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 173, หน้า 266,  ทางเอก ภาค 2 หน้า 145, หน้า 147,  ทางเอก ภาค 3 หน้า 553

สมาธิพุทธ หน้า 292,  รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 205


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 13:19:36 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 13:01:26 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:08:57 )

อุเบกขา

รายละเอียด

คือเป็นธาตุรู้   ปัจจัตตังที่ว่า บรรลุของตนรู้ได้ด้วยตนเอง  อุเบกขาเป็นจิตบริสุทธิ์ ไม่มีกิเลส 5 ประการ

1.       ปริสุทธา(บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสนิวรณ์ 5)

2.       ปริโยทาตา(ผุดผ่อนขาวรอบแข็งแรงแม้ผัสสะกระแทก)

3.       มุทะ (รู้แววไว  อ่อน  ง่ายต่อการดัด ปรับปรุงให้เจริญ)

4.       กัมมัญญา(สละสลวย ควรแก่การงาน ไร้อคติ)

5.       ปภัสสรา(จิตผ่องแผ้วแจ่มใสถาวรอยู่ แม้มีผัสสะ) 

เป็นฐานนิพพาน คุณวิเศษจิตของเรา ได้ผลเป็นฐานนิพพาน ก็สังสมนิพพาน  สั่งสม อุเบกขา 5 กระบวนการนี้  ยิ่งขึ้น ความเป็น นิพพาน ก็เจริญงอกงาม ถาวรขึ้นเรื่อยๆ

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต ปฐมอโศก ครั้งที่ 81  วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2562 

หนังสืออ้างอิง

พระไตรปิฎก เล่ม 14 ข้อ 690 ธาตุวิภังคสูตร

 


เวลาบันทึก 29 พฤศจิกายน 2562 ( 13:43:19 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 13:02:48 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:08:06 )

อุเบกขา

รายละเอียด

เป็นธาตุรู้   ปัจจัตตังที่ว่า บรรลุของตนรู้ได้ด้วยตนเอง  อุเบกขาเป็นจิตบริสุทธิ์ ไม่มีกิเลส 5 ประการ

1.      ปริสุทธา(บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสนิวรณ์ 5)

2.    ปริโยทาตา(ผุดผ่อนขาวรอบแข็งแรงแม้ผัสสะกระแทก)

3.     มุทะ (รู้แววไว  อ่อน  ง่ายต่อการดัด ปรับปรุงให้เจริญ)

4.     กัมมัญญา(สละสลวย ควรแก่การงาน ไร้อคติ)

5.     ปภัสสรา(จิตผ่องแผ้วแจ่มใสถาวรอยู่ แม้มีผัสสะ) (ธาตุวิภังคสูตร พตปฎเล่ม 14 ข้อ 690)  เป็นฐานนิพพาน คุณวิเศษจิตของเรา ได้ผลเป็นฐานนิพพาน ก็สังสมนิพพาน  สั่งสม อุเบกขา  5  กระบวนการนี้  ยิ่งขึ้น ความเป็น นิพพาน ก็เจริญงอกงาม ถาวรขึ้นเรื่อยๆ

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต  ปฐมอโศก วันจันทร์  18 พฤศจิกายน  2562


เวลาบันทึก 29 พฤศจิกายน 2562 ( 18:23:39 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 13:03:39 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 09:23:14 )

อุเบกขา

รายละเอียด

เป็นฐานการปฏิบัติต้องทำฌาน ฌานมาจากการปฏิบัติ จรณะ 15 เป็นพุทธคุณหนึ่งในพระพุทธคุณ 9 ฌานต้องมีในศาสนาพุทธ เป็นของศาสนาพุทธแต่ฌานของศาสนาอื่นก็มี

ที่มา ที่ไป

พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช  วันพุธที่ 23 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 06 ธันวาคม 2562 ( 15:23:32 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 13:04:12 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 09:24:52 )

อุเบกขา

รายละเอียด

คือ อทุกขมสุข การจะถึงอทุกขมสุขได้ก็ต้องดับเหตุที่ทำให้เกิดสุขก็ตามทุกข์ก็ตาม พระพุทธเจ้าฉลาดที่ให้คนได้เรียนรู้ที่ความทุกข์ เพราะคนไม่ชอบก็ต้องดับเหตุของความทุกข์  ดับเหตุของความทุกข์หมดมันก็หมดความสุขไปด้วย  เพราะมันเป็นคู่หูกัน เมื่อดับเหตุแห่งทุกข์ ความสุขก็ดับไปด้วย  อทุกขมสุข เป็นฐานพื้นที่ตั้งของศาสนาพุทธจึงอยู่ที่ความไม่สุขไม่ทุกข์  เรียกภาษาว่า “อุเบกขา” ทำจิตให้ไม่มีความสุข ความทุกข์ไม่มี  ความสุขตรงไปทางกาม ทางอัตตา ตามธัมมจักกัปปวัตตนสูตรที่เป็นพระสูตรแรก

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช  วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 22 ธันวาคม 2562 ( 23:22:05 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 13:04:47 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 09:23:42 )

อุเบกขา

รายละเอียด

 แปลว่า กลางๆ ไม่สุข ก็ต้องรู้สุข ไม่ทุกข์ก็ต้องรู้ทุกข์ ว่าทุกข์ไม่มี สุขไม่มี หากคุณบอกว่าอุเบกขา แต่ไม่รู้ความสุขความทุกข์เลยไปนั่งหลับตาแล้วก็ทำเฉยๆ สุขทุกข์ไม่มีแล้วก็เฉยๆ ไม่นึกไม่คิดอะไร และไม่มีอาการนั้นเพราะคุณหลับตา คุณปั้นความไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่รู้ในอาการความสุขความทุกข์ที่มันกระทบแล้วมันเคยเกิด แต่ปัจจุบันนี้ที่กระทบอยู่หลัดๆ แล้วไม่เกิดความสุขความทุกข์นี่มันชัดเจนกว่า อุเบกขา เป็นเคหสิตะก็ได้ เป็น เนกขัมมะก็ได้

ที่มา ที่ไป

พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช  ยึดติดอัตตาเพราะขาดปัญญาปล่อยวาง  วันพุธที่ 29 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 30 มกราคม 2563 ( 14:37:32 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 13:56:27 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 09:24:06 )

อุเบกขา

รายละเอียด

คือความจบของศาสนาพุทธ หมดสุขหมดทุกข์หมดเทวะหมดความเป็นคู่ชัดเจนในความเป็นกายเป็นภาวะ 2 ทำไมจะต้องเหลือ 2 ยังไงจะต้องเหลือ 2 ทำไมต้องเป็นเช่นนั้น เพราะคนจมอยู่ใน ชีวะของคนที่มาเกิดเป็นสัตว์เรียกว่าคนก็ตามสัตว์ก็ตาม ที่อยู่ในตระกูลจิตนิยาม มีจิตครองมีวิญญาณครองเป็น 2 เรียกว่ากาย กายนี้คือวิญญาณ 

ที่มา ที่ไป

รายการกายนี้คือวิญญาณ วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 04 มีนาคม 2563 ( 13:13:34 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 11:59:39 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 09:24:26 )

อุเบกขา

รายละเอียด

แล้วทีนี้จิตที่เป็นอุเบกขาฐาน เป็นจิตฐานนิพพาน ต้องสร้างจิตไม่สุขไม่ทุกข์แล้วก็มีคุณสมบัติอย่างนี้ อาตมาว่าไม่มีใครมาพูดหรอกอยู่ในธาตุวิภังคสูตร อยู่ในพระไตรปิฎกเล่ม 14  ข้อ 690 อาตมาเจออันนี้ ที่จริงอาตมาเจอนี้มันไม่ใช่ภาษาบาลีหรอกเ จอในภาษาไทย พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยเจอแล้วท่านแปลว่า บริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อน ควรแก่การงาน ผ่องแผ้ว ท่านแปลบาลี 5 ตัวนี้อย่างนี้อาตมาก็ไปค้นบาลี ปริสุทธา=บริสุทธิ์ ปริโยทาตา=ผุดผ่อง มุทุ=อ่อน กัมมัญญา=ควรแก่การงาน ปภัสสรา=ผ่องแผ้ว เขาไปแปล มุทุ ว่า อ่อน แต่ที่จริงสภาวะแล้วมันแข็งแรงมันมีทั้งความเร็วและความแข็งแรง เอาไปประกอบกรรมอะไรมันก็ประกอบด้วย อัญญา ปัญญา เป็นธาตุที่เป็นโลกุตระมันก็เป็นการงานที่ดีการงานที่ประเสริฐการงานที่เหมาะที่ควร มีสัปปุริสธรรม 7 มีมหาปเทส 4 อย่างนี้เป็นต้น มันยิ่งดีใหญ่ แล้วยิ่งทำงานจิตยิ่งเป็นอุเบกขา เป็นฌาน 4 จิตยิ่งปภัสสร ไม่ใช่จิตใจจะยิ่งช้าเฉื่อยและนิ่ง ไม่ใช่ แต่มันยิ่งคล่องแคล่ว กายปาคุญญตา จิตปาคุญญตา

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 5 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 04 กันยายน 2563 ( 09:41:59 )

อุเบกขา 108 หรือเวทนา 108 กับมโนปวิจาร 18

รายละเอียด

ชีวิตของเรายังอยู่แต่ถ้าจิตของเราเป็นอุเบกขา คุณต้องเรียนรู้อุเบกขา 108 หรือเวทนา 108 ตรงแยกอุเบกขาเป็น 2 ฝ่าย เคหสิตะเป็นมโนปวิจาร 18 และทำให้เป็นเนกขัมมะ เป็นมโนปวิจารอีก 18 

ต้องเรียนรู้ 2 ขั้วมโนปวิจารให้ได้ คุณจึงจะอ่านกระทบสัมผัสแล้วเกิดจิตแยกเป็นเนกขัมมะและเคหสิตะ ทำให้เป็นอุเบกขา เนกขัมมะ คือบริสุทธิ์จากกิเลส จะได้เป็นคราวๆ ก็เรียกว่า ตทังคปหาน

ทำได้ดีขึ้น ดีขึ้น นอกจากตทังคปหาน ก็เป็น ปฏิปัสสัทธิปหาน เป็นนิสสรณปหาน ก็เก่งขึ้นไปตามลำดับ นี่แหละ ถ้าเข้าใจกายไม่ได้เลย แยกว่ามันเป็นชีวะหรือไม่เป็นชีวะ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 23 ความมหัศจรรย์ของการแยกกายแยกจิตได้ วันจันทร์ที่ 10 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 25 มกราคม 2565 ( 21:21:00 )

อุเบกขา 2 ชนิด

รายละเอียด

“เนกขัมมสิตเวทนา”คือ ผู้สามารถทำจิตของตนให้มี“อารมณ์ที่เป็นอาริยะ” ได้เป็นลำดับๆ ซึ่งเป็นผู้สามารถ“ทำใจในใจ”(มนสิกโรติ) ของตนให้บรรลุธรรมได้ ถึงขั้นมี“การชำระกิเลส”ของตนออกไปถูกตัวตน มีการเกิดผลตามลำดับสัมมามรรคจริงๆ “อุเบกขา”มี 2 ชนิดคือ “เคหสิตอุเบกขาเวทนา” กับ “เนกขัมมสิตอุเบกขาเวทนา”หากผู้ใดไม่เข้าใจตรงนี้แม้แต่ภาษาและไม่สามารถทำให้เกิดเนกขัมมสิตเวทนาได้ ทำเคหสิตเวทนาให้เป็นเนกขัมสิตเวทนาได้  นั่นคือตัวสภาวะนิพพาน ถ้าทำเนกขัมมะไม่เป็น ไม่มีทางปฏิบัติธรรมของศาสนาพุทธบรรลุ โดยเฉพาะไม่มีอรหันต์ มีแต่กดข่มไว้ เป็นนิโรธเลอะเทอะเป็นของเก๊

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 21 มีนาคม 2561


เวลาบันทึก 06 มีนาคม 2564 ( 12:13:03 )

อุเบกขา 5

รายละเอียด

แปลว่า จิตบริสุทธิ์ อุเบกขาแปลว่าความว่างความบริสุทธิ์ แต่จะมีมิติของความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้น 

1. ปริสุทธา  (บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสนิวรณ์ 5) .

2. ปริโยทาตา (ผุดผ่องขาวรอบแข็งแรงแม้ผัสสะกระแทก) กระทบแล้วก็เอากิเลสออกจากจิตได้ทันที ขาวผ่องตลอดกาล อะไรแตะก็หลุดเอง ถ้าไม่หลุดก็ทำให้หลุดอีก จึงเก่งขึ้นในการทำให้บริสุทธิ์มากขึ้น อันที่สองเป็นสมรรถภาพที่สูงขึ้นเรื่อยๆ 

3. มุทุ  (รู้แววไว อ่อน-ง่ายต่อการดัดปรับปรุงให้เจริญ) คือจิตควบคุมความบริสุทธิ์ และทรงไว้ซึ่งความบริสุทธิ์และก็เจริญในความบริสุทธิ์ ปริโยทาตา เก่งมากขึ้นดีด้วย 

4. กัมมัญญา   (สละสลวยควรแก่การงาน ไร้อคติ) .  จึงสามารถมีกรรมกิริยา อยู่กับโลกควบคุมด้วยอัญญธาตุ ควบคุมด้วยความเฉลียวฉลาดพิเศษ ทำกรรมต่างๆให้เจริญขึ้นอีก จึงสุดยอดบริสุทธิ์ สุดขีด ปภัสสรา

5. ปภัสสรา   (จิตผ่องแผ้วแจ่มใสถาวรอยู่ แม้มีผัสสะ)  

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม 2562

หนังสืออ้างอิง

พระไตรปิฎก เล่ม 14 ข้อ 690  ธาตุวิภังคสูตร 


เวลาบันทึก 21 ธันวาคม 2562 ( 21:44:23 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 13:12:03 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 13:09:45 )

อุเบกขา 5

รายละเอียด

คำว่าอุเบกขานี้เป็นพยัญชนะที่สูงกว่าไม่สุขไม่ทุกข์ แต่เขาใช้เป็นคำไวพจน์เป็น synonym ใช้คำแทนกันได้ ก็มันใกล้เคียงกันแต่มันมีนัยยะสำคัญที่ลึกซึ้งกว่ากัน ท่านแตก สุข ทุกข์ อุเบกขา แล้วแตกสภาวะอุเบกขาเป็น 5 ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา เป็นฐานนิพพานนะ

ที่มา ที่ไป

รายการกายนี้คือวิญญาณ วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 04 มีนาคม 2563 ( 13:46:20 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 12:04:52 )

เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2563 ( 09:25:12 )

statistics

ติดต่อสอบถาม

Facebook : test

Youtube : Name

Twitter : Name

Line : Name

Telegram : Name

Wechat : Name

Skype : Name

Copyright © 2018 Borvornsocial.net all right are reserved. developer สงวนลิขสิทธิ์