@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก
@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก

อภิธานศัพท์ (Glossary) จัดเป็นฐานข้อมูลด้านโลกุตระที่สมบูรณ์ที่สุดที่คัดมาจากหนังสือ คำเทศน์ ฯ

คู่มือการค้นหาอภิธานศัพท์อโศก หรือ ห้องสมุดโลกุตระ 50 ปี

เอกสาร : https://docs.google.com/document/d/1HLGedxqTAOTOTQKGbO6M4qMremQ8K1jBWKRYDDt6MRQ/edit

วีดีโอ Loom 2 : https://www.loom.com/share/e824e62ec1eb4567848e94af124a7ed5

วีดีโอ Loom 1https://www.loom.com/share/2445744a08e74bca95d2f1d2a0526044

วีดีโอ YouTube : https://youtu.be/QyXcGmzhLmk

 

 

อภิธานศัพท์ (ทั้งหมด) พบ 28,074 รายการ

สัมมาทิฏฐิ 10

รายละเอียด

สัมมาทิฏฐิ 10 เป็นส่วนแห่งบุญ(ปุญญภาคิยา)  ให้ผลวิบากแก่ขันธ์(อุปธิเวปักกา)

  1. ทานที่ให้แล้ว มีผล(ให้กิเลสลด)  (อัตถิ . ทินนัง) 

  2. ยัญพิธี (พิธีการปฏิบัติ) ที่บูชาแล้ว  มีผล (อัตถิ  ยิฏฐัง) 

  3. สังเวย(เสวย)ที่บวงสรวงแล้ว  มีผล (อัตถิ หุตัง) 

  4. ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้ว  มีแน่  (อัตถิ  สุกตทุกกฏานัง  กัมมานัง ผลัง  วิปาโก) 

  5. โลกนี้ มี (อัตถิ  อยัง โลโก) หมายถึง วนในโลกีย์เดิมๆ 

  6. โลกหน้า  มี (อัตถิ ปโร  โลโก) หมายถึง โลกโลกุตระ 

  7. มารดา  มี (อัตถิ  มาตา) 

  8. บิดา  มี (อัตถิ  ปิตา)

  9. . สัตว์ที่ผุดเกิดอุปปัติเอง มี (อัตถิ  สัตตา โอปปาติกา)

  10. สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นผู้ดำเนินชอบ-ปฏิบัติชอบ  ซึ่งประกาศโลกนี้-โลกหน้า ให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วย ตนเอง  ในโลกนี้ มีอยู่ (อัตถิ  โลเก สมณพราหมณา   สัมมัคคตา สัมมาปฏิปันนา  เย อิมัญ จ โลกัง ปรัญ จ  โลกัง สยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา  ปเวเทนตีติ) 

ที่มา ที่ไป

พิธีบูชาพระสารีริกธาตุ วันอังคารที่ 9 มิถุนายน 2563


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 10:48:56 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 15:07:18 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 16:34:04 )

สัมมาทิฏฐิ 10

รายละเอียด

จะมาเป็นสมณะพราหมณ์ในข้อที่ 10 ของสัมมาทิฏฐิ ที่รู้ที่ชัดจริง เพราะสัมมาทิฏฐิทั้ง 10 ข้อ แน่นอนผู้ที่เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สยังอภิญญา ก็จะต้องรู้ถูกต้องตั้งแต่ข้อหนึ่งของสัมมาทิฏฐิ จนถึงข้อที่ 9 ว่าคืออะไร แล้วก็เอามาอธิบาย เอามาขยายความ เป็นส่วนแห่งบุญ(ปุญญภาคิยา)  ให้ผลวิบากแก่ขันธ์(อุปธิเวปักกา). 

1.ทานที่ให้แล้ว มีผล(ให้กิเลสลด)  (อัตถิ . ทินนัง) . . . . 

2.ยัญพิธี (พิธีการปฏิบัติ) ที่บูชาแล้ว  มีผล (อัตถิ ยิฏฐัง) 

3.สังเวย(เสวย)ที่บวงสรวงแล้ว  มีผล (อัตถิ หุตัง) 

4.ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้ว  มีแน่ .  

(อัตถิ  สุกตทุกกฏานัง  กัมมานัง ผลัง  วิปาโก) . . 

1.โลกนี้ มี (อัตถิ  อยัง โลโก) หมายถึง วนในโลกีย์เดิมๆ . .

2.โลกหน้า  มี (อัตถิ  ปโร โลโก) หมายถึง โลกโลกุตระ . 

3.มารดา  มี (อัตถิ  มาตา) . . .

4.บิดา  มี (อัตถิ  ปิตา) . .

9.สัตว์ที่ผุดเกิดอุปปัติเอง มี (อัตถิ  สัตตา โอปปาติกา) . . .

สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นผู้ดำเนินชอบ-ปฏิบัติชอบ  ซึ่งประกาศโลกนี้-โลกหน้า ให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วย ตนเอง  ในโลกนี้ มีอยู่ (อัตถิ โลเก สมณพราหมณา สัมมัคคตา สัมมาปฏิปันนา  เย อิมัญ จ โลกัง ปรัญ จ โลกัง สยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปเวเทนตีติ) . . . . .(พตปฎ. เล่ม 14  ข้อ 257) 

ที่มา ที่ไป

รายการทำวัตรเช้า วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม 2562

หนังสืออ้างอิง

พระไตรปิฎก เล่ม 14  ข้อ 257


เวลาบันทึก 25 มกราคม 2563 ( 11:48:57 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 16:38:40 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 16:34:35 )

สัมมาทิฏฐิ 10 การปฏิบัติอ่านจิต

รายละเอียด

สัมมาทิฏฐิ 10 เป็นรายละเอียดของการปฏิบัติเข้าไปอ่านจิต และต้องรู้ความหมายของ 10 อย่างนี้ถ้าไม่รู้ความหมายของ 10 อย่างนี้คุณก็ทำไม่ได้ตลอด ทำไม่บริบูรณ์ เป็นส่วนแห่งบุญ(ปุญญภาคิยา)  ให้ผลวิบากแก่ขันธ์(อุปธิเวปักกา) 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 11 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 30 มีนาคม 2563 ( 09:58:43 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 09:40:24 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 16:34:57 )

สัมมาทิฏฐิ 10 ข้อที่ 1

รายละเอียด

ทานที่ให้แล้ว มีผล(ให้กิเลสลด)  (อัตถิ  ทินนัง) รู้จักการทาน คนที่ทำทานแล้วมีผล การทำทานนั้นผลเป็นคุณเป็นโทษผลดีผลชั่วก็ได้ สำคัญก็คือมีผลเป็นโลกุตระ ไม่ใช่ผลแต่แค่โลกียะ อย่างนี้เป็นต้น การทำทานแล้วมีผลเป็นโลกุตระ คือทำทานแล้วสามารถมนสิการเป็น ทำใจในใจของตนเองให้ไม่มีภพชาติ ให้ก็คือให้ไม่ใช่จะเอา ไม่ใช่ต้องการอะไรขึ้นมา ทำใจได้ว่าใจของเราไม่มีสาเปกโข ไม่มีความหวังจะได้อะไรตอบแทน ต้องรู้อาการจิตของตัวเองที่จะไม่มีเส้นโค้งอะไรให้กับตัวเอง ไม่มีความต้องการไม่มีความปรารถนามาให้ตัวเลย นั่นคือการทำทานที่ให้อย่างเป็นโลกุตระเต็มที่มีผล ถ้ายังโค้งนิดหน่อย ไม่กี่องศาแต่ไกลมากกว่าจะกลับมามันก็อาจจะดีอยู่บ้าง แต่เป็นโลกียะอยู่ ถ้าเป็นโลกุตระนั้นต้องไม่โค้ง นอกจากไม่โค้งแล้วต้องตรงอย่างถาวร ตรงอย่างไม่มีที่จะสะดุดไปโค้งที่ใดเลย กระทบกระแทกกับโลกียะข้างหน้าก็ไม่โค้ง นั่นคือโลกุตระที่สมบูรณ์แบบ นั่นคือการโยนิโสมนสิการ

เป็นส่วนแห่งบุญ(ปุญญภาคิยา)  ให้ผลวิบากแก่ขันธ์(อุปธิเวปักกา).

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 18 มกราคม 2562

หนังสืออ้างอิง

พระไตรปิฎก เล่ม 14 ข้อ 257


เวลาบันทึก 12 กุมภาพันธ์ 2563 ( 17:36:46 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 15:12:29 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 16:35:54 )

สัมมาทิฏฐิ 10 ข้อที่ 1

รายละเอียด

1.ทานที่ให้แล้ว มีผล(ให้กิเลสลด)  (อัตถิ ทินนัง) การทำทานคือการให้ เรามีของของเราเยอะแยะเลย เรามีระกำ เรามีมังคุดสับปะรดเงาะเรามีมาก เราก็เอาไปให้ ทาน เอาไปให้ ทินนังคือให้แล้วเป็นอดีต เป็นสิ่งที่ผ่านไปแล้วจบแล้วเสร็จแล้วเป็น Past perfect tense ให้ไปแล้ว การทำทานที่ให้ไปแล้วมีผลไหม หรือไม่มีผล 

ทุกวันนี้เขาสอนเรื่องทานกันก็ไม่มีผล โดยเฉพาะผลโลกุตรธรรม จริง เขาทานแล้วมีผลโลกียะอยู่ ให้ของให้เงินให้ข้าวให้น้ำ ให้วัตถุสมบัติ หรือแม้แต่ให้กำลังกาย ให้แรงงาน ให้ความรู้ให้สัจธรรม ก็ได้ให้ทั้งนั้น ผู้ที่ได้ให้ไปโดยที่ตัวเองยังไม่มีภูมิธรรมพอ ก็จะให้กันแล้วก็จะมีผลแค่เป็นกุศล สิ่งที่เราให้แก่ผู้อื่นนั้น ถ้าสิ่งนั้นเป็นของไม่ดี ก็จะเป็นบาป ไม่มีกุศล เป็นอกุศล 

เช่น ให้อาวุธ ให้สัตว์เป็น ให้สัตว์ตาย(ให้เนื้อสัตว์นั่นเอง) ให้ของเป็นพิษ ให้ของที่มอมเมา แค่ให้นะ คุณไม่ได้ขาย ถ้ายิ่งคุณขาย เรียกว่า มิจฉาวณิชชา 5 บาปหนักเข้าไปอีก มิจฉาวณิชชา 5 

1.การค้าขายอาวุธ   (สัตถวณิชชา) 

2.การค้าขายสัตว์มีชีวิต  (สัตตวณิชชา) 

3.การค้าขายเนื้อสัตว์  (มังสวณิชชา) 

4.การค้าขายสิ่งมอมเมา  (มัชชวณิชชา) 

5.การค้าขายสิ่งที่เป็นพิษ  (วีสวณิชชา) 

(พตปฎ.  เล่ม 22   ข้อ 177) 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูสมณะโพธิรักษ์ งานอโศกรำลึก 2566 พิธีน้อมกตัญญูบูชา วันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน 2566 แรม 2 ค่ำเดือน 7 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 13 สิงหาคม 2566 ( 19:27:37 )

สัมมาทิฏฐิ 10 ข้อที่ 1 และข้อที่ 2

รายละเอียด

ทินนัง ศีลพรต ยิฏฐัง วิธีปฏิบัติก็เหมือนกับการทาน 

ข้อที่ 1 ทานเพื่อล้างกิเลส “อัตถิ ทินนัง”  

ข้อที่ 2 วิธีปฏิบัติเพื่อล้างกิเลส “อัตถิ  ยิฏฐัง” ศีลสมาธิปัญญาเพื่อล้างกิเลส คุณปฏิบัติศีลสมาธิปัญญามีภพมีชาติเหมือนกัน ก็เหมือนกับการทานที่คุณก็มีภพชาติ ปฏิบัติประพฤติธรรมด้วยศีลต่างๆคุณก็ยังไม่รู้จักภพชาติ ก็ไปมีชาติอีก ก็เหมือนกัน ต่างกันตรงที่เหตุแห่งการปฏิบัติอันหนึ่งเป็นการทำทานอีกอันหนึ่งเป็นการปฏิบัติศีลปฏิบัติธรรมปฏิบัติศีลพรต ตามวินัย คุณก็ยังมีภพมีชาติอยู่ 

เพราะฉะนั้นคุณมีทิฐิอย่างไรเข้าใจยังไงคุณต้องได้อย่างนั้น 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ วิญญาณกินข้าวได้ไหม อย่างไรคือสัมมาทิฏฐิ วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน 2564 ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 8 ปีฉลู ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2564 ( 19:51:45 )

สัมมาทิฏฐิ 10 ข้อที่ 10

รายละเอียด

สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นผู้ดำเนินชอบ-ปฏิบัติชอบ  ซึ่งประกาศโลกนี้-โลกหน้า ให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วย ตนเอง ในโลกนี้  มีอยู่ (อัตถิ โลเก สมณพราหมณา  สัมมัคคตา  สัมมาปฏิปันนา เย อิมัญ จ โลกัง  ปรัญ จ โลกัง  สยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา  ปเวเทนตีติ) . . . . .

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 18 มกราคม 2562

หนังสืออ้างอิง

พระไตรปิฏก เล่ม 14 ข้อ 257


เวลาบันทึก 12 กุมภาพันธ์ 2563 ( 17:51:18 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 15:14:27 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 16:36:47 )

สัมมาทิฏฐิ 10 ข้อที่ 2

รายละเอียด

ยัญพิธี (พิธีการปฏิบัติ) ที่บูชาแล้ว  มีผล  (อัตถิ  ยิฏฐัง) คือวิธีปฏิบัติจะต้องเป็นสัมมา ต้องอ่านจิต อ่านอาการจิตแล้วลดกิเลสได้ ถึงจะเป็นผู้ที่มี อัตถิ  ยิฏฐัง

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 18 มกราคม 2562

หนังสืออ้างอิง

พระไตรปิฎก เล่ม 14 ข้อ 257


เวลาบันทึก 12 กุมภาพันธ์ 2563 ( 17:38:32 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 15:15:25 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 16:37:33 )

สัมมาทิฏฐิ 10 ข้อที่ 3

รายละเอียด

สังเวย(เสวย)ที่บวงสรวงแล้ว  มีผล  (อัตถิ  หุตัง) คือผลของการปฏิบัติทาน ศีล ทานภาวนา ศีลภาวนา เกิดผลเป็นโลกุตระ ยังบกพร่องเท่าใดก็แล้วแต่ แต่ต้องเป็นผลโลกุตระที่แท้ หุตัง สามอย่างนี้คือบุญกิริยาวัตถุ 10 สามข้อแรก คือของพระพุทธเจ้าแท้  ผู้ที่ปฏิบัติได้ก็จะเกิดข้อที่ 4

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 18 มกราคม 2562

หนังสืออ้างอิง

พระไตรปิฎก เล่ม 14  ข้อ 257


เวลาบันทึก 12 กุมภาพันธ์ 2563 ( 17:40:28 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 15:16:36 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 16:38:32 )

สัมมาทิฏฐิ 10 ข้อที่ 3 และข้อที่ 4

รายละเอียด

“อัตถิ หุตัง” ผลที่ได้จริงขึ้นมาจากการทำทานแล้ว คุณสร้างภพชาติต่อหรือคุณตัดภพชาติ หุตังเป็นผล คุณก็ต้องตรวจได้ นี่คือสัมมาทิฏฐิข้อที่ 3 

ข้อที่ 4 ทุกอย่างเป็นกรรม “อัตถิ สุกตทุกกฏานัง  กัมมานัง   ผลัง  วิปาโก” ผลวิบากจากการปฏิบัติธรรม จะถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง จะเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ 

สุกต ใช้ ก.ไก่ กับตัว ต.เต่า

ส่วน ทุกกฎ ใช้ ก.ไก่ กับ ฏ.ปฏัก 

คุณจะทำถูกหรือไม่ถูกนั่นแหละเอาง่ายๆ สุ ก็คือถูก ทุก็คือไม่ถูก

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ วิญญาณกินข้าวได้ไหม อย่างไรคือสัมมาทิฏฐิ วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน 2564 ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 8 ปีฉลู ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2564 ( 19:54:53 )

สัมมาทิฏฐิ 10 ข้อที่ 4.

รายละเอียด

ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วมีแน่  (อัตถิ  สุกตทุกกฏานัง กัมมานัง ผลัง วิปาโก) กรรมเป็นของของตน ตนเองต้องเป็นทายาทของกรรม แต่ละชาตินั้นกรรมพาเกิดพาเป็นทั้งนั้น กรรมสะสมเป็นตระกูลเป็นเผ่าพันธุ์ของตนเอง กรรมจึงเป็นทั้งสงคราม เป็นทั้งที่พึ่งอาศัยของเรา มีสรณะ และสุดท้ายไม่ต้องทำสงครามแล้ว อรณะ เอาชนะตลอดกาล ผู้ที่เป็นอรหันต์ขึ้นไปแล้วจะทำสงครามชนะตลอดกาล อาจจะพลาดพลั้งแต่ก็ยังรบต่อจนชนะ ถ้ายิ่งเก่งเป็นโพธิสัตว์สูงขึ้นเป็นอรหันต์สูงขึ้น ก็ยิ่งรบชนะไปเรื่อยๆ ไม่มีแพ้ ดูเหมือนจะแพ้ แต่ที่สุดแห่งที่สุดคือชนะ ทุกอย่างไม่ได้เกิดจากGod แต่เกิดจากกรรมที่พาเป็นไปทั้งนั้น

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 18 มกราคม 2562

หนังสืออ้างอิง

พระไตรปิฎก เล่ม 14 ข้อ 257


เวลาบันทึก 12 กุมภาพันธ์ 2563 ( 17:42:31 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 15:17:37 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 17:42:02 )

สัมมาทิฏฐิ 10 ข้อที่ 5

รายละเอียด

โลกนี้ มี (อัตถิ  อยัง  โลโก)  หมายถึง วนในโลกีย์เดิมๆ แปลว่าโลกนี้ คือโลกโลกียะ  โลกเก่าๆที่มนุษย์สัตว์โลกวนเวียน

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 18 มกราคม 2562

หนังสืออ้างอิง

(พตปฎ. เล่ม 14 ข้อ 257)


เวลาบันทึก 12 กุมภาพันธ์ 2563 ( 17:43:54 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 15:18:44 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 19:56:48 )

สัมมาทิฏฐิ 10 ข้อที่ 5 และข้อที่ 6

รายละเอียด

ข้อที่ 5 ข้อที่ 6 “อยัง โลโก” “ปโร โลโก” โลกนี้ก็คือโลกโลกีย์ โลกหน้าก็คือโลกโลกุตระ 

โลกหน้าที่เป็นโลกีย์ก็มีปัจจุบันนี้ก็มีเป็นภพเป็นชาติ โลกหน้าของปัจจุบันนี้คุณก็ยังมีมิจฉาทิฐิอยู่ก็ยังมีโลกหน้าที่เป็นภพชาติอยู่ แต่ถ้าคุณมีโลกุตระ โลกหน้าของคุณไม่มี มีแต่โลกนี้ โลกหน้ามีแต่ไม่ใช่โลกหน้าที่เป็นภพชาติ เป็นโลกหน้าที่มีความเจริญก้าวหน้าเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้น เป็นสัมโพธิปรายนะ สู่ที่สุดที่สูงไปตามลำดับ นั่นแหละคือโลกหน้าของสัจธรรม ของธรรมะ ของจิตวิญญาณ ไม่ใช่ภพไม่ใช่ชาติ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ วิญญาณกินข้าวได้ไหม อย่างไรคือสัมมาทิฏฐิ วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน 2564 ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 8 ปีฉลู ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2564 ( 19:56:58 )

สัมมาทิฏฐิ 10 ข้อที่ 6

รายละเอียด

โลกหน้า  มี  (อัตถิ  ปโร  โลโก)  หมายถึง โลกโลกุตระ คือโลกอื่นจากโลกโลกียะ แยกโลกนี้โลกหน้าได้ แยกโลกโลกียะโลกุตระได้ อธิบายได้ และพาปฏิบัติได้ โลกโลกุตระต้องรู้จักกิเลส ลดกิเลสได้ รู้จักเวทนาในเวทนา โดยเฉพาะเวทนา 108 มโนปวิจาร 18 แยกตามเคหสิตเวทนากับเนกขัมสิตเวทนา ที่เป็นตัวหลักของเวทนา 108 ถ้าผู้ใดแยกไม่ได้จับสภาวะของเคหสิตเวทนาไม่ได้ แล้วทำเนกขัมสิตเวทนาไม่ได้ คนนั้นก็ยังไม่ใช่โลกุตระ ยังไม่มีทางปฏิบัติให้เป็นจิตที่เป็นคนโลกใหม่ ผู้ใดที่ทำจิตให้เป็นคนโลกใหม่ได้จึงจะเป็นโลกุตระบุคคล ก็จะรู้จักอยังโลโก ปโรโลโก และอธิบายได้ จะต้องรู้จักสัตว์ทางจิตวิญญาณ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 18 มกราคม 2562

หนังสืออ้างอิง

พตปฎ. เล่ม 14  ข้อ 257


เวลาบันทึก 12 กุมภาพันธ์ 2563 ( 17:45:24 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 15:20:03 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 19:57:42 )

สัมมาทิฏฐิ 10 ข้อที่ 7

รายละเอียด

มารดา  มี  (อัตถิ  มาตา)

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 18 มกราคม 2562

หนังสืออ้างอิง

พระไตรปิฎก เล่ม 14  ข้อ 257


เวลาบันทึก 12 กุมภาพันธ์ 2563 ( 17:46:59 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 15:20:51 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 19:58:30 )

สัมมาทิฏฐิ 10 ข้อที่ 8

รายละเอียด

บิดา  มี  (อัตถิ  ปิตา)

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 18 มกราคม 2562

หนังสืออ้างอิง

พระไตรปิฎก เล่ม 14 ข้อ 257


เวลาบันทึก 12 กุมภาพันธ์ 2563 ( 17:48:19 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 15:22:01 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 19:59:21 )

สัมมาทิฏฐิ 10 ข้อที่ 9

รายละเอียด

สัตว์ที่ผุดเกิดอุปปัติเอง มี (อัตถิ  สัตตา โอปปาติกา) ไม่ใช่สัตว์ที่เป็นตัวตนบุคคลเราเขา จะเป็นสัตว์ทางจิตวิญญาณ ที่เกิดจากการมีสภาวะของพ่อและแม่ เกิดจากการกระทำของกรรมตัวบุคคลแต่ละบุคคลทำกรรมของตนเอง มีแต่ผู้ที่รู้สอนบอกปฏิบัติเองก็จะเกิดเป็นโลกใหม่ โลกุตรธรรม ได้

สัตว์โอปปาติกะ ก็จะมีผู้ช่วยให้เกิดหมายถึงพ่อและแม่ ไม่ได้หมายถึงพ่อแม่ทางร่างกายแต่เป็นพ่อแม่ทางธรรมะ ซึ่งเป็นสภาวะที่เรียกว่าอิตถีภาวะกับปุริสภาวะ รวมกันทั้ง 2 อย่างทำให้เกิดจิตที่เป็นตัวเราพัฒนาขึ้น เช่นศีลกับปัญญา ช่วยกันเหมือนมือล้างมือด้วยมือล้างเท้าด้วยเท้า ช่วยกันเพื่อจะปั้นลูกขึ้นมา ทำให้ลูกเกิด ศีลข้อ 1 ศีลเป็นแม่ แล้วก็ปัญญารู้จักการปฏิบัติ ปฏิบัติศีลเป็นอย่างนี้ สัมผัสกับสัตว์แล้วต้องอ่านจิตของเรา จิตของเรามีเมตตาจะไปฆ่าหรือไม่ เราก็ทำลายกิเลส ที่เป็นอกุศลจิต ทำได้ทำได้ก็คือปัญญาที่รู้จริงและก็ทำให้กิเลสตาย จึงเรียกว่าปัญญาเป็นตัวทำลายกิเลส ปัญญาอันยิ่ง เป็นพลังงานร่วมกับปุญญะ เป็นเทวะ ทำให้กิเลสตายหรือลดจางคลายลงเรื่อยๆส่วนแห่งบุญจนดับสนิทได้

พยัญชนะที่พูดเป็นภาษา ผู้ที่ปฏิบัติได้สภาวธรรมตรงกับภาษานี้ได้ ก็จะได้เป็นปัจจัตตังเวทิตัพโพวิญญูหิ คุณจะรู้ของคุณเอง คุณรู้ผิดก็ผิดนะ คุณรู้ถูกก็เป็นของคุณไม่มีใครกำหนดได้เลย คุณเป็นผู้พิพากษาเอง พิพากษาผิดเพี้ยนก็เป็นเอง พิพากษาถูกต้องก็ถูกตรงเป็นสัจจะที่มันลึกซึ้งไม่มีใครช่วยใคร ตนเองพึ่งตัวเองช่วยตัวเองจนตนเองต้องชัดจริงได้ของตนเองจริงเลย มันลึกซึ้งเป็นปัจจัตตังเวทิตัพโพวิญญูหิ

เพราะฉะนั้นก็จะรู้ว่า อื่นๆที่เป็นแม่เป็นพ่ออีกมีเยอะ อะไรเป็นเชิงของอิตถีภาวะก็คือแม่ ปุริสภาวะก็คือพ่อ ให้เกิดโลกุตระจิต บรรลุไปเรื่อยๆ เป็นพระโสดาบัน สกิทาฯ อนาคาฯ

ท่านถึงเรียกว่าจิตที่จะเป็นโอปปาติกะจิตแท้จริงก็คืออนาคามีเป็นต้นไป นอกนั้น ต่ำกว่านั้นก็ยังจะพ่ายแพ้ต่อโลกเป็นโลกียะรส ยังแลบเลียรสโลกีย์ อนาคามีก็ไม่แลบเลียรสโลกีย์ภายนอก จะมีภายในก็อ่อนแรงโลกีย์แล้ว ออกมาข้างนอกไม่ได้ คนนี้ก็จะเหมาะสมไปทำงานบริหารประเทศเพราะคนนี้ไม่เห็นแก่ตัว ทำงานโดยเห็นแก่ผู้อื่นแม้จะเป็นทุกข์ก็เป็นทุกข์ส่วนตัว

ผู้ที่สามารถรู้จริงเป็นจริงในสภาวะทั้ง 9 นี้ผู้นั้นก็จะเป็น สมณพราหมณ์ในข้อที่ 10

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 18 มกราคม 2562

หนังสืออ้างอิง

พระไตรปิฎก เล่ม 14  ข้อ 257


เวลาบันทึก 12 กุมภาพันธ์ 2563 ( 17:49:55 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 15:24:15 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 20:00:57 )

สัมมาทิฏฐิ 10 จะสมบูรณ์ได้อย่างไร

รายละเอียด

สัมมาทิฏฐิ 10 จะสมบูรณ์เพราะมี สยังอภิญญาที่เป็นสัตบุรุษมาประกาศธรรมของพระพุทธเจ้ามาให้คนปฏิบัติได้เกิดผลจริง พูดตามสัจธรรมวิชาการนะ สัมมาทิฏฐิ 10 เกิดได้จะต้องมีสยังอภิญญา ที่เป็นสัตบุรุษผู้มีความรู้อภิญญาด้วยตัวเอง สย คืออย่างแท้จริง เป็นผู้ที่มาประกาศ สัตบุรุษผู้มาประกาศธรรมะจะต้องรู้สัมมาทิฏฐิ 10 นี้จริงๆ ข้อที่ 10 ก็อธิบายปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมอย่างไร

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2563


เวลาบันทึก 13 มกราคม 2564 ( 09:41:45 )

สัมมาทิฏฐิ 10 เน้นเรื่องทาน

รายละเอียด

สัมมาทิฏฐิตัวสำคัญที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้คือ สัมมาทิฏฐิ 10 ซึ่งเป็นประธานของการปฏิบัติธรรม ถ้าคุณไม่สามารถที่จะรู้ได้ครบ สัมมาทิฏฐิ 10 คุณไม่บรรลุอรหันต์หรอก แม้แต่ตัวแรก นัตถิทินนัง ไม่สามารถรู้ในเรื่องของการทาน ทานที่ให้แล้วไม่มีผล นัตถิทินนัง ทานแล้วทำใจในใจไม่เป็น ทานแล้วไม่มีมรรคผล ทานแล้วมีภพมีชาติ ผู้ที่ทำทานแล้วต้องการสิ่งที่ตอบแทนให้กลับคืนมาตอบแทนตัวเอง มันก็ยังมีภพมีชาติ มากหรือน้อย พระพุทธเจ้าอธิบายไว้ในทานสูตร

ล.23 ข.49 ทานสูตร เทวดา 6 อย่าง พรหม 1 อย่าง

 อันที่ 1 จาตุมหาราชิกา(ท้าวกุเวร ท้าววิรุฬหก ท้าวธตรฐ ท้าววิรูปักษ์) คือ ทำทานแล้ว

1. ยังมีความหวังให้ทาน สาเปกฺโข(มุ่งหวัง) ทานํ เทติ

2. มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ปฏิพทฺธจิตฺโต(ผูกพัน) ทานํ เทติ

3. มุ่งการสั่งสมให้ทาน สนฺนิธิเปกฺโข(สั่งสม) ทานํ เทติ

4. ให้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปจักได้เสวยผลทานนี้ ปริภุญฺชิสฺสามีติ(ให้ข้ามภพชาติ) ทานํ เทติ

 อันที่ 2 ดาวดึงส์ คือ ทำทานเพราะว่าเห็นว่าเป็นความดี

 อันที่ 3 ยามา คือ ทำทานเพราะเพื่อเป็นประเพณี

 อันที่ 4 ดุสิต คือทำทานเพราะเห็นว่า สมณะหุงหาอาหารเองไม่ได้

 อันที่ 5 นิมมานรดี คือทำทานเพราะทำตามฤาษีใหญ่ๆ

 อันที่ 6 ปรนิมมิตวสวัตตี ทำทานเพราะว่า อยากได้ปลื้มใจ(อตฺตมนตาโสมนสฺสํ)

 อันที่ 7 สหายแห่งพรหม คือทำทานอย่างมี จิตฺตาลงฺการ จิตฺตปริกฺขารํ (ต้องทำปุญญาภิสังขาร ทำทานเพื่อลดกิเลส)

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ วิญญาณกินข้าวได้ไหม อย่างไรคือสัมมาทิฏฐิ วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน 2564 ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 8 ปีฉลู ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2564 ( 19:43:01 )

สัมมาทิฏฐิ 10 โดยย่อ

รายละเอียด

แค่อธิบายทิฏฐิ 10 ทาน มีผลหรือไม่มีผลปฏิบัติ ศีลพรตหรือยัญพิธี มีผลหรือไม่มีผล สัมมาทิฏฐิเป็นส่วนแห่งบุญ(ปุญญภาคิยา)  ให้ผลวิบากแก่ขันธ์(อุปธิเวปักกา). 

1.ทานที่ให้แล้ว มีผล (ให้กิเลสลด) (อัตถิ . ทินนัง) . . . . 

2.ยัญพิธี (พิธีการปฏิบัติ) ที่บูชาแล้ว มีผล (อัตถิ  ยิฏฐัง) 

3.สังเวย(เสวย)ที่บวงสรวงแล้ว มีผล (อัตถิ หุตัง) 

4.ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้ว  มีแน่ (อัตถิ  สุกตทุกกฏานัง  กัมมานัง   ผลัง  วิปาโก) . . 

5. โลกนี้ มี (อัตถิ  อยัง  โลโก)  หมายถึง วนในโลกีย์เดิมๆ . .

6. โลกหน้า มี (อัตถิ ปโร โลโก)  หมายถึง โลกโลกุตระ . 

7. มารดา มี (อัตถิ มาตา) . . .

8. บิดา มี (อัตถิ ปิตา) . .

9 . สัตว์ที่ผุดเกิดอุปปัติเอง มี (อัตถิ สัตตา โอปปาติกา) . . .

10. สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นผู้ดำเนินชอบ-ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้-โลกหน้า ให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วย ตนเอง ในโลกนี้ มีอยู่  (อัตถิ โลเก   สมณพราหมณา สัมมัคคตา สัมมาปฏิปันนา เย อิมัญ จ โลกัง ปรัญ จ โลกัง   สยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปเวเทนตีติ) . . . . .

      (พตปฎ. เล่ม 14  ข้อ 257) 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ความมหัศจรรย์ของศีลที่พ่อครูเอามาสถาปนา วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 แรม 7 ค่ำเดือน 3 ปีฉลู ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 27 กุมภาพันธ์ 2565 ( 19:30:19 )

สัมมาทิฏฐิ 10 

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นเมื่อความเสื่อมได้เสื่อมแล้วก็ไม่สามารถอธิบายสัมมาทิฏฐิได้ หรืออธิบายสัมมาทิฏฐิอย่างมิจฉาทิฏฐิ 

สัมมาทิฏฐิเขาก็ได้แต่พยัญชนะ พระไตรปิฎกก็ยังอยู่

สัมมาทิฏฐิ 10 

เป็นส่วนแห่งบุญ(ปุญญภาคิยา) ให้ผลวิบากแก่ขันธ์(อุปธิเวปักกา). 

1. ทานที่ให้แล้ว มีผล(ให้กิเลสลด) (อัตถิทินนัง) 

2. ยัญพิธี (พิธีการปฏิบัติ) ที่บูชาแล้ว มีผล (อัตถิ ยิฏฐัง) 

3. สังเวย (เสวย) ที่บวงสรวงแล้ว มีผล (อัตถิ  หุตัง) 

4. ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้ว มีแน่ (อัตถิ สุกตทุกกฏานัง กัมมานัง   ผลัง วิปาโก) 

5. โลกนี้ มี (อัตถิ อยัง โลโก) หมายถึง วนในโลกีย์เดิมๆ 

6. โลกหน้า มี (อัตถิ ปโร โลโก) หมายถึง โลกโลกุตระ  

7. มารดา มี (อัตถิ มาตา) 

8. บิดา มี (อัตถิ ปิตา) 

9. สัตว์ที่ผุดเกิดอุปปัติเอง มี (อัตถิ สัตตา โอปปาติกา)

10.  สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นผู้ดำเนินชอบ-ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้-โลกหน้า ให้แจ่มแจ้ง  เพราะรู้ยิ่งด้วย ตนเอง ในโลกนี้ มีอยู่ (อัตถิ โลเก   สมณพราหมณา สัมมัคคตา สัมมาปฏิปันนา เย อิมัญ จ โลกัง ปรัญ จ โลกัง สยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปเวเทนตีติ)  (พตปฎ. เล่ม 14 ข้อ 257) 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ งานโพธิบูชากตัญญู ครั้งที่ 3

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน 2565  แรม 15 ค่ำ เดือน 12 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 25 พฤศจิกายน 2565 ( 10:13:26 )

สัมมาทิฏฐิ ข้อที่ 10

รายละเอียด

พูดไปก็ยกย่องตัวเอง ขยายความก็ได้ ข้อที่ 10 มันมีนัยยะลึกซึ้งสำคัญอยู่ในนั้นคือ สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นผู้ดำเนินชอบ-ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้-โลกหน้า ให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วย ตนเอง ในโลกนี้ มีอยู่ (อัตถิ โลเก สมณพราหมณา สัมมัคคตา สัมมาปฏิปันนา เย อิมัญ จ โลกัง ปรัญ จ โลกัง สยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปเวเทนตีติ)  

เป็นหน้าที่ที่จะต้องเอามาประกาศให้ผู้อื่นรู้ตามเป็นหน้าที่ ทำหน้าที่ในข้อที่ 10 นี้ อาตมาไม่ทำอาตมาบอกว่าอาตมาเป็น สยังอภิญญา อาตมาก็ผิดสิ เพราะไม่ได้ทำหน้าที่ตามที่ได้รับมาจากพระพุทธเจ้า อาตมาอธิบายโลกนี้โลกหน้าได้ไหม ให้สู่โลกุตระได้ไหมแล้วมาปฏิบัติได้ไหม เลิก ออกจากโลกโลกีย์ ละโลกธรรม ทิ้งลาภยศสรรเสริญสุข คุณทิ้งมาได้หรือเปล่า ถ้าคุณอยู่ คุณมีลาภมากกว่านี้ไหม ทุกวันนี้ไม่มี บ้านหรือเฮือนเฮือ อยู่กี่คนน่ะ หลังใหญ่เบ้อเร่อเลย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 61 สลายพระเจ้าแห่งอวิชชาด้วยปัญญาจากสัตตบุรุษ วันจันทร์ที่ 31ตุลาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 17 ธันวาคม 2565 ( 12:16:08 )

สัมมาทิฏฐิของคำว่าสมาธิ

รายละเอียด

สัมมาทิฏฐิของคำว่าสมาธิเป็นอย่างไรของศาสนาพุทธ อาตมาก็นำมาพาทำ นำมาขยายความ แล้วการนั่งหลับตาสมาธิ ต้นตระกูลคือ อาฬารดาบส อุทกดาบส ในยุคพระพุทธเจ้ามีหลักฐานตำนานเลยนะ พระพุทธเจ้าตอนแรกยังไม่ได้บรรลุธรรมทีเดียว ก็แสวงหาอาจารย์ ก็ไปเจอ อาฬารดาบส อุทกดาบส แล้ว อุทกดาบสก็สอนเรื่องสมาธิแบบนั่งหลับตาได้ฌาน 7 ฌาน 8  อาฬารดาบส ได้ฌาน 8 อาตมาเคยอธิบายละเอียดแล้ว ฌาน7 แล้วทำไมไม่เอาฌาน 8 อุทกดาบส ได้ฌาน 8 จบเท่านั้น เป็นวิธีการสะกดจิตเป็นสมาธิแบบฤาษี แล้วเรียกว่า ฌานอยู่ในนั้นด้วย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ปรับทุกข์ ปลุกธรรม ตอบปัญหาผ่ามิจฉาอาชีวะ 5 วันจันทร์ที่ 8 มกราคม 2567 แรม 12 ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 12 มกราคม 2567 ( 19:01:59 )

สัมมาทิฏฐิของพระพุทธเจ้า

รายละเอียด

คือ  สัมมาทิฏฐิเป็นประธานในมรรคมีองค์ 8 องค์แรกแห่งมรรค์จะต้องมีสัมมาทิฏฐิที่เป็นประธานจึงจะปฏิบัติสัมมาอาชีวะ สัมมากัมมันตะ  สัมมาวาจา สัมมาสังกัปปะได้ หรือทำอาชีวะที่หยาบกว่าเพื่อน เลิกมิจฉาอาชีวะได้ก่อนเลย  ในมหาจัตตารีสกสูตรไว้ชัดเจน  มิจฉาอาชีวะ 5 เขาสอนกันที่ไหนในวงการศาสนาพุทธไม่มี

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 07 พฤศจิกายน 2562 ( 13:46:34 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 15:25:01 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 20:01:26 )

สัมมาทิฏฐิของพระพุทธเจ้าเริ่มที่กาย

รายละเอียด

ต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อาตมากับพระพุทธเจ้า อาตมาพูด พระพุทธเจ้าท่านตรัสออกมาสอนไว้ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเป็นอย่างเดียวกัน ไม่ได้แยกกันไม่ได้แตกต่างจากกัน คนฟังได้รู้เรื่องเข้าใจดีมีบารมี คนฟังแล้วรับไม่ได้ไม่รู้เรื่องไม่มีบารมี บารมีของศาสนาพุทธ หรือบารมีที่จะเข้าถึงโลกุตรธรรม ไม่ใช่ไปว่าเขานะ แต่เขาไม่มีบารมีจริงๆของเขา ทิฏฐิ ความเห็นความเข้าใจของเขา ยังไม่ถึงปัญญานะ ทิฏฐิ จะเรียกว่าไม่มีปัญญาก็แน่นอน เพราะว่าทิฏฐิของเขาเข้าใจไม่ได้ เข้าใจไม่ถูก เป็นมิจฉาทิฐิ เพราะฉะนั้นจะไปมีปัญญานั้นห่างมาก 

ทิฏฐิ ก็ได้แค่ครึ่ง 50 % ความรู้ความเข้าใจคือทิฐิ กว่าจะปฏิบัติได้บรรลุเต็มร้อยเป็นปัญญา ทิฏฐิเข้าใจได้ถูกทาง เป็นสัมมาทิฏฐิไป เริ่มสัมมาทิฏฐิของพระพุทธเจ้าจึงเริ่มกันที่ กาย ฟังความตรงนี้ให้ดี คำว่า กาย นี้ยิ่งใหญ่มาก พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า กาย คือ จิต มโนวิญญาณ พระไตรปิฎกเล่ม 16 ข้อ 230 ตถาคตว่ากายคือจิต มโน วิญญาณ ฟังแล้วหูเขาจะหัก กาย เขาเข้าใจเพียงสรีระภายนอก..เข้าใจไปอย่างนั้นสนิทแล้ว โดยไม่นึกว่า กาย จะมีส่วนของจิตใจหรือมโนเข้าไปเกี่ยวข้อง นี่ละ มันผิดจริงๆเป็นมิจฉาทิฐิไปไกล 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 42 อรหันต์คือมนุษย์พืชที่มีกายแต่ไม่มีกาย วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 09 กรกฎาคม 2565 ( 14:40:25 )

สัมมาทิฏฐิของโลกุตรธรรม ต้องรู้รูปนาม สภาวะ 2

รายละเอียด

ผู้ใดไม่เกิดสัมมาทิฏฐิออกมาโดยเข้าใจว่าโลกุตรธรรมเป็นอย่างไร โลกุตรธรรมจะต้องรู้สภาวะ 2 สภาพ 2 รู้รูปนาม รู้โลกียะ โลกุตระ หรือสภาพ 2 หรือเทวะหรือ อีกคำหนึ่งสองก็คือ กาย กายคือรูปกับนาม แยกเทวะได้ หนึ่งเป็นเทวะ หรือเป็นรูปกับนาม หรือภาวะสอง ภาวะหนึ่งเรียกว่าอิตถีภาวะ อีกภาวะเรียกว่าปุริสภาวะ หากคุณไม่สามารถแยกรูปแยกนาม แล้วทำให้มันเป็นไปตามที่เราต้องการ สอง ที่จริง สองมันมีสอง แล้วทำสองให้เป็นหนึ่ง หรือ 1 กับ 0 มันก็ 2 แต่ทำ 1 ให้เป็น 0 ก็ได้ ผู้ทำ 1ให้เป็น 0 ได้คือมีสุญญตธรรม 0 คือความว่างจากกิเลส 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 08 กุมภาพันธ์ 2563 ( 09:26:33 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 15:27:02 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 20:02:03 )

สัมมาทิฏฐิข้อ 4

รายละเอียด

ข้อที่ 4 อันนี้แปลเป็นโลกุตระแล้วนะ ถ้าไปแปลเป็นโลกียะก็บอกว่าผลวิบากของกรรมที่ทำชั่วแล้วมีแน่ ไม่ใช่ มันเลยความดีความชั่ว แต่มันลดกิเลสเป็นโลกุตระ อธิบายนั้นเป็นโลกียะก็เลยวนเวียนอยู่กับโลกโลกียะเลยไม่ไปไหนเลย ผลของวิบากคือทำกรรม สุกตทุกกฏานัง  กัมมานัง ผลัง วิปาโก คุณทำสุขหรือทุกข์ก็ด้วยกรรมของคุณ คุณทำแล้วผลของมันสุขหรือทุกข์ สุขก็คือมันเป็นโลกุตระทุกข์มันไม่เป็นโลกุตระ สาระสัจจะมันเป็นเช่นนี้ คุณรู้กรรมวิบาก คุณทำแต่กรรมโลกีย์ก็แปลกันแต่วนในโลกีย์ เช่นแปล สัพพปาปัสส อกรณัง ไม่ทำชั่ว  กุสลสูปสัมปทา ทำแต่ดี สจิตตปริโยทปนัง ทำจิตให้ผ่องใส ก็แปลแบบนี้วนเวียน โลกียะ 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 11 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 30 มีนาคม 2563 ( 10:06:22 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 13:27:49 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 20:02:39 )

สัมมาทิฏฐิจะเกิดต้องมีอะไร

รายละเอียด

สัมมาทิฏฐิจะเกิดต้องมี 1.ปรโตโฆษะ 2.โยนิโสมนสิการ ขอฝากคุณไว้ คุณทำความเข้าใจกับคำว่า “โยนิโสมนสิการ” ให้ดีทั้งพยัญชนะและสภาวะ ท่านเอาโยนิโสมนสิการไปไว้ในสุริยเปยยาลสูตร ปัญญาวุฒิสูตรเป็นต้น อาหารของอวิชชาก็มี คำว่าโยนิโสมนสิการสำคัญมาก 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ เจโตปริยญาณ 16 มาตรวัดจิตสมาธินิมิต วันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 กุมภาพันธ์ 2564 ( 15:42:42 )

สัมมาทิฏฐิที่เป็นสาสวะ 10

รายละเอียด

คือ ความเห็นถูกต้องที่ยังมีกิเลสหมักหมมในสันดาน   เป็นส่วนแห่งบุญ (ปุญญภาคิยา) ให้ผลวิบากแก่ขันธ์

(อุปธิเวปักกา - คือ  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ)  โดยมีความเห็นดังนี้

1. ทานที่ให้แล้ว  มีผล – คือให้กิเลสลด (อัตถิ ทินนัง)

2. ยัญพิธี(พิธีการปฏิบัติ)ที่บูชาแล้ว มีผล (อัตถิ ยิฏฐัง)

3. สังเวย(เสวย)ที่บวงสรวงแล้ว มีผล (อัตถิ หุตัง)

4. ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้ว มีอยู่(มีแน่) (อัตถิ  สุกตทุกกฏานัง  กัมมานัง  ผลัง  วิปาโก)

5. โลกนี้มี (อัตถิ  อยัง  โลโก) - หมายถึง วนในโลกีย์เดิม ๆ

6. โลกหน้ามี (อัตถิ  ปโร  โลโก) - หมายถึง โลกโลกุตระ  

7. มารดามี (อัตถิ  มาตา)

8. บิดามี (อัตถิ  ปิตา)

9. สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะ (สัตว์ที่ผุดเกิดอุปปัติเอง) มี (อัตถิ  สัตตา  โอปปาติกา)

10. สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ (ถูกต้อง) ปฏิบัติชอบ (ถูกตรง) ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู (อัตถิ  โลเก  สมณพราหมณา  สัมมัคคตา สัมมาปฏิปันนา  เย  อิมัญจ  โลกัง ปรัญจ  โลกัง สยัง  อภิญญา  สัจฉิกัตวา  ปเวเทนตีติ)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 14 “มหาจัตตารีสกสูตร” ข้อ 257

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 07 กรกฎาคม 2562 ( 20:41:43 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 16:34:54 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 20:03:08 )

สัมมาทิฏฐิที่เป็นสาสวะ 10

รายละเอียด

คือความเห็นถูกต้องที่ยังมีกิเลสหมักหมมในสันดาน เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ (คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) โดยมีความเห็นดังนี้ 1. ทานที่ให้แล้ว มีผล (อัตถิ ทินนัง)

2. ยัญพิธีที่บูชาแล้ว มีผล (อัตถิ ยิฏจัง)

3. สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล (อัตถิ หุตัง)

4. ผลวิบากของกรรมที่ทําดีทําชั่วแล้ว มีอยู่(อัตถิ สุกตทุกกฏานัง กัมมานัง ผลัง วิปาโก)

5. โลกนี้มี (อัตถิ อยัง โลโก)

6. โลกหน้ามี (อัตถิ ปโร โลโก)

7. มารดามี (อัตถิ มาตา)

8. บิดามี (อัตถิ ปิตา)

9. สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะ (สภาวะวิญญาณผุดเกิด การเปลี่ยนแปลงภายในจิต) มี (อัตถิ สัตตา โอปปาติกา)

10. สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดําเนินถูกต้อง ปฏิบัติถูกตรง ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกมีอยู่ (อัตถิ โลเก สมณพราหมณา สัมมัคคตา สัมมาปฏิปันนา เย อิมัญจ โลกัง ปรัญจ โลกัง สยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปเวเทนตีติ)

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 14 “มหาจัตตารีสกสูตร” ข้อ 257


เวลาบันทึก 16 มีนาคม 2565 ( 08:44:30 )

สัมมาทิฏฐิที่เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์

รายละเอียด

อาตมาอธิบายตั้งแต่สัมมาทิฏฐิข้อที่ 1 เป็นส่วนแห่งบุญ(ปุญญภาคิยา)  ให้ผลวิบากแก่ขันธ์(อุปธิเวปักกา)

  1. ทานที่ให้แล้ว มีผล(ให้กิเลสลด)  (อัตถิ ทินนัง)

  2. ยัญพิธี (พิธีการปฏิบัติ) ที่บูชาแล้ว  มีผล (อัตถิ ยิฏฐัง)

  3. สังเวย(เสวย)ที่บวงสรวงแล้ว  มีผล (อัตถิ หุตัง)

  4. ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้ว  มีแน่ (อัตถิ สุกตทุกกฏานัง กัมมานัง   ผลัง วิปาโก) ทุกอย่างกรรมพาเป็นไป กัมมโยนิ เป็นตัวกลางของ กรรม 5

กัมมสโกมหิ กัมมทายาโท กัมมโยนิ กัมมพันธุ กัมมปฏิสรโณ คุณต้องอาศัยกรรมของตนเอง คุณไม่มีนิ้วจะเอานิ้วที่ไหนมาใช้ ไม่มีตาจะเอาตาที่ไหนมาใช้ คุณมีอะไรก็ได้อาศัยอันนั้นเป็นของของตนได้อาศัย เป็นโลกียะ คุณก็ต้องอาศัยแค่คุณมีเป็นของโลกียะ คุณจะเอาโลกุตระมาอาศัยได้อย่างไร แต่โลกุตระนั้น ท่านจะอาศัยโลกียะได้ แต่ท่านอาศัยแต่กุศลเท่านั้น สิ่งที่เป็นอกุศลท่านไม่อาศัยไม่ต้อง แต่ก็อาศัยเหมือนกัน อาศัยอกุศลเพื่อว่า เพื่อเป็นตัวยืนยันว่าอย่าไปเอาอย่าง อย่าไปทำตามอย่าไปเป็นอย่างนั้น ไม่เอา เท่านั้นเอง อาศัยเป็นเครื่องเปรียบเทียบเท่านั้น ในธรรมะก็เป็นสัจจะอย่างนี้ตลอด

  1. โลกนี้ มี (อัตถิ  อยัง โลโก) หมายถึง วนในโลกีย์เดิมๆ

  2. โลกหน้า  มี (อัตถิ  ปโร โลโก) หมายถึง โลกโลกุตระ

  3. มารดา  มี (อัตถิ  มาตา)

  4. บิดา  มี (อัตถิ  ปิตา)

  5. สัตว์ที่ผุดเกิดอุปปัติเอง มี (อัตถิ  สัตตา โอปปาติกา)

สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นผู้ดำเนินชอบ-ปฏิบัติชอบ  ซึ่งประกาศโลกนี้-โลกหน้า ให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วย ตนเอง  ในโลกนี้ มีอยู่ (อัตถิ โลเก สมณพราหมณา สัมมัคคตา สัมมาปฏิปันนา  เย อิมัญ จ โลกัง ปรัญ จ โลกัง สยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปเวเทนตีติ) . . . . . (พตปฎ. เล่ม 14  ข้อ 257)

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 9 พฤษภาคม 2561


เวลาบันทึก 31 ธันวาคม 2563 ( 12:26:35 )

สัมมาทิฏฐิที่เป็นอนาสวะ 6

รายละเอียด

สัมมาทิฏฐิที่เป็นอนาสวะ เป็นอาริยมรรค (ทิฐิรอบในที่พัฒนาขึ้น จนมีกำลังเข้าโลกุตระมรรค) คือ ความเห็นถูกต้องที่ไร้กิเลสหมักหมมในสันดานเป็นของพระอาริยะ เป็นโลกุตระ (เหนือโลกีย์) โดยมีลักษะดังนี้

1. ปัญญา  มีความรู้ชำแรกกิเลส, รู้เห็นจริงตามสัจจะของจริง

2. ปัญญินทรีย์  มีกำลังรู้ยิ่งขึ้นในการชำแรกกิเลส,  ปัญญินทริยัง

3. ปัญญาพละ(ปัญญาผลัง)  ได้รู้ผลรู้จบในการชำแรกกิเลส, มีพลังงาน static แฝง 

4. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์  วิจัยทบทวนสิ่งที่ปรุงสร้างมา, ธัมมวิจัยสัมโพชฌังโค

5. สัมมาทิฏฐิ  เป็นผลสรุปความเห็นที่ถูกต้องสมบูรณ์ขึ้น, ความเห็นชอบ ทิฐิรอบในที่เจริญขึ้น 

6. องค์แห่งมรรค(มัคคังคะ)  ได้เป็นองค์ที่ 1 ของอริยมรรคองค์ 8, มีพลังงาน Dynamic แฝง

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม  14  "มหาจัตตารีสกสูตร"  ข้อ  258, ธรรมาธิบายจากพ่อครู รายการพุทธศาสนาตามภูมิ

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก 


เวลาบันทึก 04 กรกฎาคม 2562 ( 14:33:08 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 03:07:25 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 20:03:49 )

สัมมาทิฏฐิที่เป็นอนาสวะ 6

รายละเอียด

คือความเห็นถูกต้องที่ไร้กิเลสหมักหมมในสันดาน เป็นของพระอาริยะ เป็นโลกุตระ (เหนือโลกีย์) โดยมีลักษณะดังนี้

1. ปัญญา (มีความรู้ชําแรกกิเลส)

2. ปัญญินทรีย์(มีกําลังรู้ยิ่งขึ้นในการชําแรกกิเลส)

3. ปัญญาผล (ได้รู้ผลรู้จบในการชําแรกกิเลส)

4. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์(วิจัยทบทวนสิ่งที่ปรุงสร้างมา)

5. สัมมาทิฏฐิ(เป็นผลสรุปความเห็นที่ถูกต้องสมบูรณ์ขึ้น)

6. องค์แห่งมรรค(ได้เป็นองค์ที่ 1 ของอริยมรรคองค์ 8)

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 14 “มหาจัตตารีสกสูตร” ข้อ 258


เวลาบันทึก 14 มีนาคม 2565 ( 10:50:04 )

สัมมาทิฏฐิปรับให้เกิดความสามัคคี

รายละเอียด

เรื่องนี้ต่างคนต่างก็มีความเห็นเป็นธรรมดาธรรมชาติ ก็เป็นความเห็นต่างกันพอเหมาะ ความสามัคคีคือความเห็นต่างกันพอเหมาะ ก็ไม่มีปัญหาอะไรเห็นต่าง บังคับกันไม่ได้ ผู้ที่เขียนมาก็มีความเห็นต่าง โดยเฉพาะ จับจุดได้ว่า มีความเห็นต่างจากผู้ที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีอำนาจในการบริหาร คนพวกนี้จะมีความเห็นต่างกับผู้ใหญ่ที่บริหาร ก็จะมองเพ่งว่า การใช้อำนาจเผด็จการมากไป ก็เป็นธรรมดาสำหรับผู้ที่ยังโน้มเอน 

1.ยังมองไม่ค่อยรู้ครบบริบูรณ์ ทั้งองค์ประกอบในตัวเองและผู้อื่น 

2.ยังมีกิเลสอยู่ในตัว ที่มีกิเลสที่จะต้องไม่ค่อยจะพอใจนัก สำหรับผู้บริหาร 

สำหรับผู้ที่เกิดความขัดแย้ง แต่เราก็ไม่ค่อยจะยอมรับ สำหรับผู้ที่ยอมรับเต็มที่แล้ว แม้จะรู้สึกว่าผู้ที่บริหารนั้น ค่อนข้างจะลำเอียงก็ตาม ก็จะไม่คิดนึกมาก เป็นธรรมดาธรรมชาติในการขัดเกลาไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะฉะนั้นแต่ละบุคคลพยายาม ลดตัวตนให้ไม่มีตัวตนได้ดีที่สุด จะมีอะไรที่ผ่านมา ถ้าเรามีอะไรดีแสดงออกอะไรอยู่ คนอื่นเขาก็รับ คนที่มีปัญญาเขาก็รับ เราก็แสดงออกตามภูมิโดยไม่ต้องมีตัวตนเลยมันไม่เสียหายอะไรเลย ตัวเองก็ไม่เป็นภาระ ไม่ต้องไปขัดเกลาคนอื่นด้วย โดยเฉพาะผู้ที่อยู่เหนือเราซึ่งเราก็ไม่มีอำนาจที่จะไปแก้ไขปรับปรุงได้ไม่ต้องลำบากลำบนใจ เพราะฉะนั้นคนฉลาด ก็ไม่จำเป็นจะต้องไปนั่งคิดเล็กคิดน้อยอะไรมากมาย เราอยู่กับหมู่ ถ้าเราเป็นผู้ที่มีภูมิธรรมสูง หมู่ก็จะเห็นเอง แม้จะเป็นผู้ที่มีอายุน้อย เป็นผู้ที่ไม่มีอะไรที่จะเป็นเครื่องประกอบ แต่ถ้ามีคุณธรรมใหญ่มีสิ่งที่สูงส่ง คนมีดวงตาจะเห็นจะเข้าใจ แม้เราใหญ่จริง คนไม่มีดวงตาเห็นก็ไม่เห็นเสียหายก็อยู่มันอย่างนี้แหละ เราก็ทำงานของเราไปเต็มที่ ทำไมมองตัวเองว่าก็ไม่ได้เล็กเท่าไหร่แต่ก็ไม่เห็นจะต้องหลงผิดอะไร อาตมาก็ยอมแพ้ตลอดก็ทำงานมาได้เรื่อยๆ ไม่เห็นจะเสียหาย มันอยู่ที่เนื้อหาสาระเนื้อแท้ของสัจธรรม แสดงออกไปเถอะ ผู้ที่รู้จักเนื้อหาแท้ของสัจธรรมจะรู้ แล้วก็จะมีหมู่พวกเอง แม้แต่ในยุคนี้ หมู่พวกที่มีปัญญาจะน้อยก็ยังมีคนเห็น อาตมาทำงานมาได้ยาก แต่ไม่เคยท้อ รู้ว่าต้องยาก หากไม่ยากสิ อาตมาต้องคิดผิด แต่ว่าอาตมาคิดไม่ผิดหรอกเพราะมันยาก เรารู้มา ถ้าจะเรียกว่ารู้มาเดี่ยว ก็รู้มาเดี่ยว แต่ก็ที่จริงไม่ได้มาเดี่ยวหรอก ก็มีผู้รู้แต่ไม่ได้มาร่วมกันอย่างสมพร้อม มีผู้ร่วมอยู่โดยพฤตินัย แม้แต่จะไม่แสดงออกชัดเจน อย่างสมคล้อย แต่ก็ร่วมอยู่แล้วก็มีวิบากคั่นด้วย อาตมาก็พูดได้ประมาณนี้ จะพูดโจ๋งครึ่มก็ไม่ดี

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 3 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 11 มกราคม 2563 ( 10:21:40 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 16:30:10 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 20:04:41 )

สัมมาทิฏฐิว่าสมาธิไปนั่งหลับตานั้นเป็นอย่างไร

รายละเอียด

นั่งสมาธิหลับตามีความสามารถเอามาใช้ได้ 4 นัย

1. พักผ่อน คนเข้าใจแล้วก็จะใช้ในการพักผ่อนแต่ถ้าไม่เข้าใจก็อาจจะเป็นติดได้ มันสบายจริงๆน่าดึงไม่ขึ้น เดี๋ยวก็อยากจะไปนั่งสบายอยู่อย่างนั้นยิ่งนั่งก็ยิ่งติดยิ่งติดก็ยิ่งนั่งแล้วจะขาดโลกวิทู แม้โลกานุกัมปาก็ไม่มี โลกุตระก็ไม่มีอยู่เหนือโลกไม่ได้ ได้พักผ่อนแบบสงบจิต มีอุปการะมาก 

2. ศึกษาเพิ่มทักษะในเจโตสมถะ และใช้ตรวจอ่าน  ภาวะจิตต่างๆ ในภวังค์ เมื่อสงบแล้วมันก็จะใช้สัญญาในการคิดกำหนดรู้ ที่ผ่านมาจริงหรือไม่อย่างไร ก็ทบทวนได้ เราใช้ความจำศึกษาเปรียบเทียบได้ อาศัยการระลึกของเก่า ทุกวันนี้อาตมาก็ยังอาศัยเลย เข้าไปในภพแล้วเพื่อการนอนพักก็ตามจะใช้นึกคิดอะไรก็ทำได้ระลึกใช้สัญญาตรวจสอบได้ 

3. เอื้อให้ปฏิบัติเตวิชโช (ทบทวน) ได้อย่างดี อันนี้เจตนาเอาของเก่ามาตรวจสอบลงบัญชีอย่างตั้งใจเลย เหมือนพ่อค้าแม่ค้าตรวจสอบ เช็คสต๊อกดูว่าอันไหนขาย ได้แล้ว อันไหนขายไม่ได้ เราทำให้กิเลสได้ดับไปหรือไม่ แล้วมันเกิดอีกหรือไม่ มันดับสนิทหรือยัง จนมันดับสนิท ดับอาสวะสิ้น กระทบกระแทกกระเทือนอย่างไรมันก็ไม่เกิดกิเลสอีกเลย 

เตวิชโช ต้องใช้ในการตรวจสอบไม่งั้นเราจะรู้ได้อย่างไรในการตรวจสอบ ธรรมะพระพุทธเจ้านั้นให้ตรวจสอบไปตามลำดับ มันชัดเจนเป็นลำดับอันน่าอัศจรรย์แล้วไม่เสียเวลามากวนไปมาซ้ำแล้วซ้ำอีก ได้หัวก็ลืมหาง กลับมาอีกก็ลืมหัวอีก ไม่ใช่ มันต้องเสร็จจบไปตามลำดับจึงไม่ย้อนไม่ซ้อนไม่ซ้ำ ได้แล้วจึงสมบูรณ์แข็งแรงยิ่งขึ้นถาวร อย่างนี้เป็นต้น 

4. สร้างพลังทางจิต ที่จะนำไปทำฤทธิ์ต่างๆ  (แต่ฤทธิ์ในพุทธศาสนา หมายถึง ฤทธิ์ที่ระงับ ดับกิเลส เพื่อไปสู่นิโรธ-วิมุติ-วิโมกข์-นิพพาน) ข้อนี้สำหรับผู้รู้ดีแล้วก็จะไม่ทำ ผู้ที่รู้แล้วก็ทำตามควร ผู้ที่ทำให้เป็นนั่งหลับตาก็จะฟุ้งซ่านมันยังคิดไปอยู่ มันก็เป็นได้จริงๆ ก็ไม่เป็นไรไม่ต้องไปกังวลเรียนรู้สิ่งที่เป็นกิเลสแล้วลดกิเลส กิเลสออกหมดแล้วเหลือแต่จิตคุณใสสะอาด จิตจะแคล่วคล่อง มุทุภูตธาตุ แล้วคุณจะรู้ว่าหากเร็วมันไม่ได้ก็จะหัดช้าบ้าง เร็วจนคนอื่นไม่ทัน ก็ไม่สอดคล้องไม่ได้เรื่องอะไร คุณก็จะรู้ว่าคุณควรช้าลง คุณจะปรับตัวให้ได้พอเหมาะสมพอเหมาะพอควร 

แล้วเดินจงกรมคืออะไร สรุปอีกที สมาธิของเทวนิยมคือสมาธิไม่สัมมาทิฏฐิ หมดสิทธิ์บรรลุนิพพานก็ได้ประโยชน์สมาธิมิจฉาทิฏฐิ ตายแล้วก็วนเวียนอยู่อย่างนั้นมันไม่ได้จบในตัวมันแค่กดข่มไว้ หมดฤทธิ์หมดอำนาจมันก็วนเวียนกลับไปอีกไม่รู้กี่ล้านชาติ แต่ถ้าใช้ปัญญามันจะรู้จริงเหมือนกับเด็กมันรู้ว่าไฟมันร้อน ทีหลังมันก็จะไม่แตะไฟ เพราะมันร้อนมันรู้จริงๆนะ มันไม่เข้าท่า จะไปทำทำไม มันรู้อย่างเด็ดขาด แต่ถ้าคุณจะอนุโลมเพื่อประโยชน์ผู้อื่นจะเสียสละตนเพื่อประโยชน์ผู้อื่นแม้มาก คุณก็ทำสิ ถ้าคุณอยากจะทนถ้าคุณไม่อยากทนคุณก็ทำเท่าที่คุณทำได้ 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 21 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 26 พฤศจิกายน 2562 ( 15:19:29 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 16:32:09 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 20:05:39 )

สัมมาทิฏฐิส่วนสาสวะและส่วนอนาสวะ

รายละเอียด

สรุปว่า สาสวะ คือกิเลสบางส่วนถูกกำจัด แต่ยังไม่หมดอาสวะ เรียกว่าสาสวะ ยังเหลืออาสวะ ผู้ที่กำจัดกิเลสได้บางส่วนแล้วต้องรู้จักที่เด็ดจริงๆแล้วก็มีวิธี อุปายโกศล ให้ได้ลดละ ชัดเจนจริงๆ ผู้มีสัมมาทิฐิทำให้กิเลสลดลงไปได้บ้าง แม้ว่าอาสวะบางส่วนบางอย่างลดลงได้ เป็นทิฏฐิปัตตะ กายสักขี จนกว่าจะเป็นปัญญาวิมุติอาสวะหมดสิ้น ถึงจะเริ่มต้นเรียกว่าอรหันต์ แม้อนุสัยไม่หมด แต่หมดอาสวะแล้วจึงเรียกว่า อนาสวะ สัมมาทิฏฐิจึงมี 2 อย่าง สัมมาทิฏฐิที่ลดกิเลสได้ส่วนหนึ่งยังเหลืออาสวะไม่หมดอาสวะ เรียกว่ามี สาสวะ หมดสิ้นอาสวะเกลี้ยง จึงเรียกว่าเป็น อนาสวะ จึงเริ่มนับว่าเป็นพระอรหันต์ 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 21 ตุลาคม 2563


เวลาบันทึก 20 พฤศจิกายน 2563 ( 14:48:05 )

สัมมาทิฏฐิเกิด

รายละเอียด

สัมมาทิฏฐิเกิด  คือ มีปรโตโฆษะ และมีโยนิโสมนสิการ

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม  บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 26 ตุลาคม 2562 ( 17:03:58 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 16:33:13 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 20:06:10 )

สัมมาทิฏฐิเป็นประธานที่โลกุตระธรรม 2

รายละเอียด

1.จะต้องมีสัมมาทิฏฐิเป็นประธาน เมื่อเข้าใจดีแล้วก็ต้องปฏิบัติ 1. อาชีพ 2. การกระทำ ทุกอย่างคือกัมมันตะ วาจา สังกัปปะ โดย มีความพยายามกับสติ ไม่ว่าจะสัมผัสอะไร เกิด กาย เวทนา จิต ธรรม คุณก็จะต้องพิจารณา แยกกาย แยกจิต แยกเวทนา แล้วก็รู้ธรรมะ รู้ตั้งแต่ธรรมะ 2 ว่า 1 กุศล อกุศล 

2.เป็นโลกุตระ คือต้องรู้ว่าเป็นโลกียะหรือโลกุตระ นี่ย่อให้ดู ต้องแยกคู่สอง คือเทวะ มีคู่เปรียบเทียบตลอด จึงจะสามารถรู้ว่า เทวะ คือ เครื่องอาศัยเท่านั้น ศาสนาพุทธนี้ ผู้ที่บรรลุธรรมแล้ว รู้จักเครื่องอาศัย เทวะแต่ไม่ติดเทวะ เทวะสองคือสวรรค์กับนรกคือความโง่กับความฉลาดคือความรู้กับไม่รู้ อวิชชากับวิชชา คือคู่สองทั้งนั้น เปรียบเทียบ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 15 เมษายน 2563


เวลาบันทึก 01 พฤษภาคม 2563 ( 11:48:44 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 13:27:26 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 20:06:31 )

สัมมาทิฏฐิแล้วไม่ล้ม

รายละเอียด

อันนี้เป็นสัมมาทิฏฐิไม่ร้างหรอก จะนิจจัง(เที่ยงแท้) ธุวัง (ถาวร) สัสตัง(ยืนนาน) อวิปริณามธัมมัง(ไม่แปรเปลี่ยน) อสังหิรัง(ไม่มีอะไรหักล้างได้) อสังกุปปัง(ไม่กลับกำเริบ)ทุกวันนี้มีไม่รู้กี่ชุมชนชาวอโศกที่อาตมาไม่เคยไปเลยใน 40-50 ปีมานี้ เขาก็ยังอยู่ก็ยังศึกษาอยู่ แค่นี้ก็ยืนยันแล้วว่ามันไม่มีทางที่จะล้ม อาตมาตายไปก็มีบันทึกภาพเสียงรีรันอีกเยอะแยะ ทำไมจะไม่อยู่ อยู่ นี่สัมมาทิฏฐินะ ไม่สัมมาทิฏฐิอย่างสายมหาบัว ทุกวันนี้ก็ยังสืบทอดกันอยู่เลย แต่นี่สัมมาทิฏฐิ

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 16 กุมาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 05 มีนาคม 2563 ( 13:28:49 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 16:34:03 )

สัมมาทิฏฐิใน“กาย”ไม่เกิดปรมัตถสัจจะอื่นๆก็ไม่มาแน่นอน!

รายละเอียด

หากสัมมาทิฏฐิในคำว่า“กาย”ไม่ได้ ก็เรียนเรื่องปรมัตถสัจจะ

อื่นๆ ด้ความเป็นพุทธเท่าที่ส่วนใหญ่ทั้งประเทศไทยเป็นกัน

อย่างที่เห็นกันและเป็นอยู่ในสังคมศาสนาพุทธในประเทศไทยมี

ความเป็น“พุทธศาสนา”กันอยู่นี้แล

ความเป็น“กาย”ประณีตวิจิตรพิสดารปานฉะนี้ ซึ่งจะแจกแจง

มิติหรือนัยะอื่นๆของความเป็น“กาย”ออกไปอีกมากกว่านี้ก็ยังทำได้ 

แต่..เพียง 23 ประเด็นแค่นี้ ก็เหลือหลายแล้วที่ปุถุชนคนผู้

อวิชชาจะนึกไม่ถึงเลยว่า “กาย”ที่เขาได้“มิจฉาทิฏฐิ”กันไปแล้วนั้น

มันมีความสำคัญยิ่งใหญ่กันขนาดนี้เชียวหรือ?

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ รวมเปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อ 467 หน้า 348


เวลาบันทึก 24 มิถุนายน 2564 ( 08:15:20 )

สัมมาทิฐิของพระพุทธเจ้าต้องมีจรณะ 15 วิชชา 8

รายละเอียด

สรุปว่าสัมมาทิฐิของพระพุทธเจ้านั้นต้องเป็นจรณะ 15 วิชชา 8 ไม่ใช่ไปนั่งหลับตาปฏิบัติ ต้องมีตา หู จมูก ลิ้น กาย รู้ภายนอกภายใน กาย ต้องมีภายนอกภายใน สัมมาทิฏฐิ  ตั้งแต่คำว่ากายก็ไม่มีแล้ว ไปหลับตาก็ทิ้งกายภายนอกแล้ว ไม่มีภายนอกร่วมด้วย 

แล้วจะมาพูดเรื่อง กาย ต้องมีภายนอกภายใน พูดมาตั้งนาน คนก็ไม่รู้เรื่องแต่ก็ต้องพยายามพูดต่อไป คนที่ได้ก็พากเพียร ปฏิบัติ ศึกษา ก็ได้มาตามลำดับพระพุทธเจ้า อธิบายเรื่องของศีลแล้ว ต่อจากศีล ก็เป็นอินทรีย์สังวร จากนั้นก็มีสติสัมปชัญญะ แล้วก็มีความสันโดษ 4 อันนี้

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 39 พุทธานุสสติ และอัมพัฏฐสูตร วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 04 สิงหาคม 2565 ( 17:32:04 )

สัมมาบัณฑิตคือใครในชาวอโศก

รายละเอียด

ขอเติมให้ฟังว่าสัมมาบัณฑิตคือพวกเราเรียกกันเอง ส่วนข้างนอกเขาเรียกว่า ทิด คือผู้สึกออกไปจากการบวชเป็นสมณะชาวอโศก สึกออกไปก็เรียกว่าทิด ก็เรียกตั้งชื่อว่าสัมมาบัณฑิต บัณฑิตก็คือทิดนี่แหละ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ โสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 27 วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 22 กุมภาพันธ์ 2564 ( 19:33:45 )

สัมมาปฏิบัติ

รายละเอียด

ปฏิบัติที่ถูกตรงถูกถ้วน

หนังสืออ้างอิง

วิถีพุทธ หน้า 34


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 07:24:09 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 11:55:24 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 20:07:25 )

สัมมาปฏิปทา

รายละเอียด

1. แนวทางการประพฤติตนที่ถูกต้อง

2. ทางประพฤติไปสู่โลกุตระที่ถูกถ้วน 

หนังสืออ้างอิง

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 139

เปิดโลกเทวดา หน้า 88


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 07:25:04 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 11:56:23 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 03:29:55 )

สัมมามรรคต้องเนกขัมมะออกจากกาม พยาบาท โลกีย์

รายละเอียด

พระพุทธเจ้าให้ปฏิบัติไม่มีทางหลีกเลี่ยงที่จะปฏิบัติ มีประตูให้ปฏิบัติครบ เรามีทั้ง6 ทวาร โดยวิจัย จิตเจตสิก อาการของจิตให้ออก แล้วอาการมันทำให้เกิดความสุขความทุกข์คือเวทนา ทำให้มันเป็นเนกขัมสิตอุเบกขา หากคุณไม่ทำมันเมื่อยมันก็พักยก เป็นเคหสิตอุเบกขาหรือหยุดนิ่ง เป็นแบบโลกีย์ แต่เนกขัมมะคือโลกุตระ ปฏิบัติออกจากกามพยาบาท โลกีย์ หากปฏิบัติไม่ถูกต้องไม่เข้าทางไม่สัมมามรรค ก็ไม่ได้ผล ก็ต้องได้เรียนรู้จากสัตบุรุษผู้ที่รู้มาก่อน ให้ออกจาก กาม พยาบาท เป็นเนกขัมมะให้ได้

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้างานเพื่อฟ้าดิน เพื่อฟ้าดิน สร้างคนจนสุขสำราญฯ ตอน 4 วันที่ 1 มกราคม 2561 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 26 มีนาคม 2564 ( 17:10:52 )

สัมมาวาจา

รายละเอียด

1. วาจาชอบ – พูด 

2. การพูด 

3. การพูดจาที่ดีงาม 

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 53,  94

รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 50


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 07:26:07 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 11:57:30 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 03:30:40 )

สัมมาวาจา 4 ที่ยังเป็นสาสวะ

รายละเอียด

1. งดเว้นจากการ พูดเท็จ (มุสาวาทา เวรมณี) 
2. งดเว้นจากการ พูดส่อเสียด (ปิสุณาย วาจาย เวรมณี) 
3. งดเว้นจากการ พูดคำหยาบ (ผรุสาย วาจาย เวรมณี) 
4. งดเว้นจากการ เจรจาเพ้อเจ้อ (สัมผัปปลาปา เวรมณี) 
 

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎก เล่ม 14  ข้อ 267


เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2562 ( 15:07:46 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 16:41:06 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 03:31:14 )

สัมมาวาจา 4 สัมมากัมมันตะ 4 สัมมาอาชีวะ 4 ที่เป็น “อนาสวะ” ยังเป็นมรรค แต่เป็นอาริยะ

รายละเอียด

1. ความงด (อารติ) 
2. ความเว้น (วิรติ-วิรัช, วิรัติ) 
3. ความงดเว้น (ปฏิวิรติ) 
4. เจตนางดเว้น (เวรมณี) 
 

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎก เล่ม 14  ข้อ 268,  273,  278


เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2562 ( 15:13:48 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 16:40:05 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 03:31:45 )

สัมมาวาทุปาทาน

รายละเอียด

ยึดภาษา คำพูดที่ดี ที่ถูกไว้

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 287


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 07:26:42 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 11:58:32 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 03:32:12 )

สัมมาวายาม , สัมมาวายามะ

รายละเอียด

1. ความพยายามที่ถูก งานของพระหรือของนักปฏิบัติธรรม และเป็นความพยายามช่วงสุดท้าย เพราะถ้าทำได้เด็ดขาดแล้ว ถาวรแล้ว ผู้นั้นก็จะไม่ต้องพยายามกันอีก มันจะง่ายดายและเป็นเองทีเดียว

2. ความพยายามที่ดี 

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 206

คนคืออะไร? หน้า 341


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 07:27:56 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 12:00:29 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 03:32:51 )

สัมมาวิราคะ

รายละเอียด

ความจางคลายของกิเลส ตัณหา อุปาทาน ชนิดจับตัวตน หรือจับความเป็นอัตตาของกิเลส ตัณหา อุปาทานนั้นๆ ได้อย่างถูกตัวถูกตน แล้วสามารถลดละ จางคลายตัวตนของกิเลส ตัณหา อุปาทานนั้นๆ

หนังสืออ้างอิง

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 43


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 07:28:29 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 12:01:20 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 03:33:20 )

สัมมาสติ

รายละเอียด

ความรู้ตัวอย่างสำนึก

หนังสืออ้างอิง

จากคนคืออะไร? หน้า 341


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 07:29:12 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 12:02:00 )

สัมมาสติ กับสัมมาวายามะ

รายละเอียด

ตั้งแต่สัมมาหยาบคือสัมมาของมรรค 8 สัมมาละเอียดลงไปคือสัมมาทิฏฐิ  10 นอกนั้นก็สัมมาอาชีวะ 5 สัมมากัมมันตะ 3 สัมมาวาจา 4 สัมมาสังกัปปะ 3 มีสัมมาสติ สัมมาวายามะด้วย 

ทำให้ถูก สติที่ถูกต้องกับสติที่ไม่ถูกต้อง สัมมากับมิจฉา ความพยายามที่ถูกต้องกับความพยายามที่ไม่ถูกต้อง พยายามสร้างโลกีย์ ไปในทิศทางที่ไม่รู้จักจบ ก็พยายามที่จะละหน่ายคลายจบ 

สติ โจรใหญ่มันตั้งสติแม่น ไม่มีสติก็ยิงคนไม่ถูกหรอก มันก็ต้องมีสติทั้งนั้นแหละ แต่เป็นมิจฉาสติ แต่นี่ต้องเป็นสัมมาสติ ทางกายวาจาใจครบสติเต็มตื่นเต็มร้อย สติก็คือร้อยที่ทำงานเต็มที่ เสร็จแล้วสัมมาสติกับสัมมาวายามะ เป็นพลังงานช่วยการปฏิบัติ เสริมการปฏิบัติ ท่านใช้คำว่าห้อมล้อมช่วยสัมมาทิฏฐิ 10 แล้วก็ไปปฏิบัติให้สัมมาอาชีวะ 5 ให้หมดมิจฉา 5 กัมมันตะ 3 ให้หมดมิจฉา 5  วจี 4 ให้หมดมิจฉาวาจา 4 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ  วิธีจบนิยาม 5 จบนิยายของตนอย่างนิรันดร วันจันทร์ที่ 26 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 พฤษภาคม 2564 ( 05:18:04 )

สัมมาสมาธิ

รายละเอียด

ความตั้งมั่นของจิต , จิตที่มีความตั้งมั่นซึ่งมีสัมมาญาณ และสัมมาวิมุตติที่บริบูรณ์เต็มที่เกิดขึ้นในจิตจนสัมบูรณ์ที่พร้อมไปด้วยญาณและวิมุตติ

หนังสืออ้างอิง

ชีวิตนี้มีปัญหา / เราคิดอะไร ฉบับ 272


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 07:29:54 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 12:02:39 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 03:33:50 )

สัมมาสมาธิ

รายละเอียด

จะต้องมีองค์ประกอบ 7 อย่างคือ

1.สัมมาทิฏฐิ 2.สัมมาสังกัปปะ 3.สัมมาวาจา 4.สัมมากัมมันตะ 5.สัมมาอาชีวะ 6.สัมมาวายามะ 7.สัมมาสติ

คำอธิบาย

สัมมาทิฐิ  สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา  สัมมากัมมันตะ  สัมมาอาชีวะ  สัมมาวายามะ  สัมมาสติ  เป็นไฉนดูกรภิกษุทั้งหลาย  ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งประกอบแล้วด้วยองค์  7  เหล่านี้แล  เรียกว่า  สัมมาสมาธิของพระอริยะ

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎก เล่ม 14 ข้อ 252-281 มหาจัตตารีสกสูตร

หนังสืออ้างอิง

คนจะมีธรรมะได้อย่างไร ? เล่ม 1


เวลาบันทึก 05 มิถุนายน 2562 ( 10:04:20 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 03:10:02 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 03:34:34 )

สัมมาสมาธิ

รายละเอียด

1.ชาคริยานุโยคะ ...อนุโยคะ แปลว่าเพียร ตื่นทั้งภายในและภายนอก มีสติลืมตาดูโลก จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา อาโลก (เล่ม 4 ข้อ 15)

2.มหาจัตตารีสกสูตร

3.พระพุทธเจ้าดูกรอุตตระ เมื่อเป็นเช่นนี้  คนที่เจริญอินทรีย์แล้วตามคำของปาราสิริยพราหรมณ์ต้องเป็นคนตาบอด  ต้องเป็นคนหูหนวก  เพราะคนตาบอดไม่เห็นรูปด้วยจักษุ  คนหูหนวกไม่ได้ยินเสียงด้วยโสต  เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้อุตตรมานพ  ศิษย์ปาราสิริยาพราหมณ์นั่งนิ่ง  เก้อเขิน  คอตก  ก้มหน้า ซบเซา  หมดปฏิภาณ ที่มา ที่ไป พระไตรปิฎก เล่ม 14 ข้อ 854

4.ศีลและปัญญา...ฌาน...สัมมาสมาธิ

5.ปัญญาอยู่ที่ไหน ฌานอยู่ที่นั่น (เล่ม 25 ข้อ 35)

5.ปัญญา 8 เกิดจากจรณะ 15 ไม่ใช่หลับตา

6.หลับตาสมาธิ ได้แต่ ทิฏฐิ 62 อดีต 18 อนาคต 44 แต่ศาสนาพุทธ ต้องมี ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ คือ "นิพพานในปัจจุบัน" (พรหมชาลสูตร)

7.สัมมาสมาธิ ไม่ได้เกิดจาก "วิชชาจรณะ" จึงไม่มี ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ พหูสูตร วิริยะ สติ ปัญญา

8.มูลสูตร 10 ว่าด้วย ผัสสะเป็นเหตุเกิด - สมาธิเป็นประมุข

9.ธรรม 5

10.รูป 28...นามรูป 33 

11.ปัญญาเกิดจาก "ศีล" ชำระให้บริสุทธิ์ ไม่ใช่หลับตาแล้วจะเกิด "ปัญญา"

12.กถาวัตถุ 10

13.สติปัฏฐาน 4 เวทนาในเวทนา 108 สมาธิเกิดจากเวทนา 108 นี้อย่างสำคัญ ตรงนี้เป็นหัวใจแท้ๆ (30.8.62)

14.นามรูป 33 นาม 5 (เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ)

15.อวิชชาสูตร

16.ปัญญาวุฑฒิ เล่ม 21 ข้อ 248

17.อาหาร 4 ต้องมีผัสสะ

18.รูป 28

19.กายวิเวก 3

20.คอมพิวเตอร์เปิด

21.อาหาร 4 วิญญาณหาร จะต้องรู้นามรูป นาม 5 รูป 28

22.วิโมกข์ 8 สัมผัสรูป


เวลาบันทึก 28 พฤศจิกายน 2562 ( 16:08:06 )

สัมมาสมาธิ

รายละเอียด

สมาธิ คือ จิตที่ตั้งมั่นที่เกิดจากการปฏิบัติจรณะ 15 วิชชา 8 มีอุเบกขา 5 ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา สั่งสมเป็นจิตตั้งมั่นด้วยจิตบริสุทธิ์จิตปราศจากกิเลส อเนญชาภิสังขารจนเต็มจิตตั้งมั่นเรียกว่าสมาธิ สัมมาสมาธิ ซึ่งไกลจากสมาธิที่เขาทำกันทั่วไป เป็นสมาธิเดียรถีย์ซึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าออกบวชก็ได้ไปนั่งหลับตาตามเขา อาฬารดาบส อุทกดาบส แต่ไม่ได้บรรลุ ฌานวิสัยเป็นอจินไตย กว่าจิตจะตั้งมั่นเป็นฌาน เผากิเลส จิตสะอาดสั่งสมเป็นสมาธิ มันก็ไกลจากเขามากเลย คำสอนของพระพุทธเจ้าต้องมีการเปรียบเทียบ กลิ่นปากก็มีเป็นธรรมดา จะเหม็นหรือจะหอมก็ไม่รู้ ความเห็นของคุณกับความเห็นของอาตมามันคนละทาง อาตมาก็ว่าพระดีต้องพูดอย่างนี้ คุณว่าแบบคุณมันเป็นลัทธิแบบคุณ จะเป็นลัทธิแบบคุณ คนศรัทธาแบบนั้นก็ไม่มีแบบอาตมา

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 05 มีนาคม 2563 ( 13:07:34 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 16:42:15 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 03:35:28 )

สัมมาสมาธิ หรือสมาหิโต

รายละเอียด

แค่คำว่าสมาธิคำนี้เถอะ อาตมาว่าคุณยังอีกนานกว่าจะเข้าใจสมาธิของพระพุทธเจ้ากับสมาธิทั่วไปที่คนยึดถือกันทั่วโลก สมาธิของพระพุทธเจ้านี้จะต้องเกิดตามหลังจรณะ 15 วิชชา 8 แล้วจะสั่งสมจิตเป็นอุเบกขา ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา ตกผลึกกันเข้าสูงสุดก็เป็น สมาหิโต เป็นความหมายของจิตตั้งมั่นของศาสนาพุทธ หรือเรียกอีกศัพท์หนึ่งว่า สัมมาสมาธิ หรือสมาหิโต อยู่ในหมวดเจโตปริยญาณ 16 ใช้บัญญัติพยัญชนะตัวนี้ ซึ่งไม่ใช่สมาธิทั่วไปที่เขาเข้าใจกัน พระพุทธเจ้ากำกับสมาธิของท่านว่าเป็น “สัมมาสมาธิ” คำว่า “สัมมา” นี่ของพระพุทธเจ้า ถ้ามิจฉาก็คือแตกต่างจากของพระพุทธเจ้า ไม่ได้หมายความเป็นอื่นหรอก 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม พระอรหันต์มาตอบปัญหาประชาธิปไตยแท้ วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 22 กุมภาพันธ์ 2564 ( 15:38:48 )

สัมมาสมาธิของพระพุทธเจ้าเกิดจากการปฏิบัติมรรค 7 องค์

รายละเอียด

สัมมาสมาธิของพระพุทธเจ้าไม่ใช่เกิดจากการนั่งหลับตาสะกดจิต แต่เกิดจากการปฏิบัติมรรค 7 องค์ พระไตรปิฎกเล่ม 14 ข้อ 252 เป็นข้อที่พระพุทธเจ้าไขความชัดเจนว่า สัมมาทิฏฐิของพระพุทธเจ้านั้นเป็นอย่างไร แต่คนไม่ค่อยจะสนใจเท่าไหร่ ก็เลยไม่ค่อยเอาอันนี้มาพูด 253 พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิของพระอริยะอันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งประกอบแล้วด้วยองค์ 7 หล่านี้แล เรียกว่า สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้างฯ ในองค์ 7 นี้บอกเลยว่า ปฏิบัติในขณะทำอาชีพ มีกัมมันตะ ประกอบสมาธิด้วยการพูดอยู่ การกระทำ การทำอาชีพ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันจันทร์ที่ 15 มกราคม 2561


เวลาบันทึก 21 กุมภาพันธ์ 2564 ( 14:17:58 )

สัมมาสมาธิจะเกิดอย่างไร

รายละเอียด

พระพุทธเจ้าตรัสในมหาจัตตารีสกสูตร การเกิดของสัมมาสมาธิจะเกิดอย่างไร เกิดจากการปฏิบัติมรรคทั้ง 7 องค์ มีสัมมาทิฏฐิเป็นประธาน สังกัปปะ วาจากัมมันตะ อาชีวะด้วยความพยายามด้วยสติ แล้วให้มีสติสัมโพชฌงค์ มีธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ มีวิริยะสัมโพชฌงค์ วิจัยสิ่งที่เกิด กายในกาย เวทนาในเวทนา  จิตในจิต ธรรมในธรรม  ก็จัดการทำให้มันหยั่งลงตั้งลงเป็นโลกุตระ ทำออก ทำกิเลสออก เนกขัมมะ เราจะรู้จัก มโนปวจิาร 18 เนกขัมมะ 18 ​เคหสิตะ 18 มันจะเกิดอารมณ์เวทนาในเวทนา รูปนามเมื่อกระทบสัมผัสกัน แล้วจะเกิดเป็นเวทนาในเวทนา กายนอกกายกายในกาย รู้หมดในการกระทบสัมผัส

ที่มา ที่ไป

เทศน์ทวช. วันเสาร์ที่ 7 เมษายน 2561


เวลาบันทึก 28 กุมภาพันธ์ 2564 ( 10:33:15 )

สัมมาสมาธิอันเป็นของพระอาริยะปฏิบัติอย่างไร

รายละเอียด

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในมหาจัตตารีสกสูตรว่า สัมมาสมาธิอันเป็นของพระอาริยะปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าบอกว่าไปปฏิบัติมรรคทั้ง 7 องค์จะเกิดสัมมาสมาธิ เขาอ่านพระไตรปิฎกไม่แตก หลับตาปฏิบัติไม่มีมรรคทั้ง 7 องค์เลย อาชีพ กัมมันตะ วาจา สังกัปปะ ไม่มี มีแต่มิจฉาทิฏฐิตั้งแต่ข้อที่ 1 แล้ว มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ ก็ไปได้มิจฉาสมาธิเท่านั้น

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ความมหัศจรรย์ของพระธรรมวินัยข้อที่ 1 กับข้อที่ 8 วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 21 ธันวาคม 2564 ( 04:36:49 )

สัมมาสมาธิเกิด

รายละเอียด

สัมมาสมาธิเกิด คือ การปฏิบัติมรรค 7 องค์ จึงจะเกิดสัมมาสมาธิในมหาจัตารีสกสูตร สมาธิจะเกิดได้สมบูรณ์แบบเป็นสมาหิตโต ก็อยู่ที่คุณปฏิบัติ จรณะ 15 วิชชา 8

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม  บ้านราช  วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม 2562

ลิ้งดาวน์โหลด สมาธิมรรค ๘ : www.youtube.com/watch?v=q2WGBTHp9zo


เวลาบันทึก 26 ตุลาคม 2562 ( 17:06:49 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 16:43:20 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 03:35:56 )

สัมมาสมาธิเกิดจากจรณะ 15 วิชชา 8

รายละเอียด

เป็นคนมีศีล สมาธิ สมาธิก็เป็นสัมมาสมาธิไม่ใช่มิจฉาสมาธิ ที่เป็นนั่งหลับตา นั่งหลับตานั้นเอาแต่มิจฉาสมาธิ ไม่ใช่สมาธิที่เกิดจากจรณะ 15 วิชชา 8 จนเกิดจิตสมาธิ ไม่มีข้อไหนให้นั่งหลับตาเลย ให้อยู่ในปัจจุบันนี้แล้วเผากิเลสออกไป ฌานคือไฟปัจจุบันไม่ใช่ไปนั่งหลับตา จะแปลว่าเพ่งแต่ก็ต้องตื่นรู้สัมผัสแล้วเกิดกิเลสอยู่ตอนนั้น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานไม่ได้หลับหูหลับตาเลย พวกที่ไปหลับตาไม่สำรวมอินทรีย์ทั้ง 5 มันปฏิบัติผิดหมดเลย แค่ อปัณณกปฏิปทา 3 เขาก็ผิด โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยคะ ไม่มีหลับตาปฏิบัติเลย หากหลับตาแล้วจะไม่ได้สำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 อะไรมันออกนอกศาสนาพุทธ ที่เป็นอปัณณกปฏิปทา แต่ว่ามันเป็น ปัณกปฏิปทาไปแล้ว ภาษาพระพุทธเจ้าก็มีแต่เรียนกันหัวผุหัวพัง ก็ไม่ได้สะดุดอะไร ไม่ได้เปลี่ยนแปลง อาตมาไม่รู้ว่าทำไปจนถึงอายุ 150 ปี มันจะลืมตาตื่นรู้ได้ไหม

ที่มา ที่ไป

ทำวัตรเช้า วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน 2561


เวลาบันทึก 30 มกราคม 2564 ( 12:43:54 )

สัมมาสมาธิในมรรคมีองค์ 8

รายละเอียด

สัมมาสมาธิในมรรคมีองค์ 8 เป็นลักษณะที่แจ้งให้ทราบว่าเมื่อปฏิบัติมรรคทั้ง 7 องค์ ก็จะเกิดผลเป็นสัมมาสมาธิ ฟังอีกที สัมมาสมาธินั้นเกิดจากการปฏิบัติมรรค 7 องค์เป็นเหตุ แล้วจึงเกิดผลเป็นสัมมาสมาธิ องค์ที่ 8 

เพราะฉะนั้นสัมมาสมาธิในอริยมรรคมีองค์ 8 จึงเป็นสมาธิที่สมบูรณ์แบบ ที่สมบูรณ์แบบก็เป็นสมาธิที่เป็นอุเบกขา มันจะเนื่องกับโพชฌงค์ ก็จะเป็นอุเบกขาสุดท้าย อุเบกขานั้นแปลว่า จิตเป็นกลาง หรือชัดๆคือ จิตบริสุทธิ์  อุเบกขาคือความบริสุทธิ์ ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา คือองค์ 5 ของอุเบกขา ที่พวกเราได้ฟังอาตมานำมาจากพระไตรปิฎก ในวิภังคสูตร 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาพาถลกหนังพญานาคจอมหลับตาวันพุธที่ 26 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 22 พฤษภาคม 2565 ( 08:57:58 )

สัมมาสังกัปปะ

รายละเอียด

1. ดำริชอบ – คิด 

2. ความคิด 

3. คิดนึกตรึกตรอง 

4. ความดำรินึกคิดที่ดีงาม 

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 53, หน้า 94

คนคืออะไร? หน้า 204

รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 50


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 07:31:22 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 12:04:09 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 03:36:26 )

สัมมาสังกัปปะ 3 (ที่ยังเป็นสาสวะ)

รายละเอียด

อันเป็นส่วนแห่งบุญ (ปุญญภาคิยา) ให้ผลแก่ขันธ์ (อุปธิเวปักกา)  อุปธิวิบาก

1. ความดำริออกจากกาม (เนกขัมมสังกัปโป)
2. ดำริในความไม่พยาบาท (อพยาปาทสังกัปโป)
3. ดำริในความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสาสังกัปโป)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎก เล่ม 14  ข้อ 262  ธรรมาธิบายจากพ่อครู รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2562 ( 13:48:54 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 16:44:31 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 03:36:59 )

สัมมาสังกัปปะ 7

รายละเอียด

ศาสนาพุทธหัวใจของการปฏิบัติอยู่ที่สัมมาสังกัปปะ อยู่ที่การปฏิบัติสังกัปปะ 7 ถ้าไม่สามารถรู้จักสังกัปปะ 7 แล้วก็เรียนรู้แยกเวทนา 108 ไม่เป็น โดยเฉพาะ แยกเคหสิตเวทนา กับเนกขัมสิตเวทนา เป็นธรรมะ 2 ข้อสำคัญคู่เอก จิตของเราสัมผัสแล้วจับรู้ ในสัมผัสกับมันมี กามผสมไหม แขกจรตัวนี้ อาคันตุเก จับตัวกิเลสกามหรือพยาบาท แล้วทำออกเนกขัมมะได้ ทำให้กิเลสออกไปจากใจได้

พิจารณาให้เห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นเหตุแห่งทุกข์ มันไม่ใช่ตัวตนหรอก พูดภาษาเพราะนะง่าย แปลจากภาษาบาลีว่าอนิจจังทุกขังอนัตตา แต่คุณจะเห็นความไม่เที่ยงของกิเลสนี่มันก็ไม่เที่ยง จิตเองก็ไม่เที่ยง เกิดแล้วก็ดับ กิเลสมันก็เกิดดับเกิดดับแต่คนไปยึดถือให้มันอยู่ มันไม่เที่ยงก็ไปยึดถือให้มันเที่ยง มันไม่อยู่ก็เอามันอยู่ มันไม่ใช่ตัวตนก็เอามันมาเป็นตัวตน ทำไมมันถึงดื้อจริงนะคน เคยดื้อไหม เดี๋ยวนี้ยังดื้ออยู่หรือเปล่า แล่วกัน โอ้ย หัดลดลงบ้างหรือเปล่า ..ลด ก็ค่อยยังชั่ว แต่ก็ยังชั่วอยู่ดี

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม 2562


เวลาบันทึก 13 กุมภาพันธ์ 2563 ( 16:03:12 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 16:46:14 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 03:45:42 )

สัมมาสังกัปปะ 7 ของพระอาริยะ

รายละเอียด

1.       ความตรึก – ตักโก

2.       ความวิตก – วิตักโก

3.       ความดำริ – สังกัปโป

4.       ความแน่ว – อัปปานา

5.       ความแน่น – พยัปปนา

6.       ความปักใจ – เจตโส อภินิโรปนา

7.       วจีสังขาร – วจีสังขาโร

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎก เล่ม 24 ข้อ 263

หนังสืออ้างอิง

 “สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ” หนัา 110


เวลาบันทึก 25 ตุลาคม 2562 ( 15:30:30 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 03:12:09 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 03:46:52 )

สัมมาสังกัปปะ 7 ที่เป็นอนาสวะ ที่เป็นมรรคของพระอาริยะ

รายละเอียด

---ฝ่ายไตร่ตรอง-ริเริ่มเคลื่อนไหว (dynamic ขั้วลบ หรือ Kenetic) คือ ความดำริถูกต้องที่ไม่มีกิเลสแล้ว

   1. ความตรึก (ตักกะ) เริ่มต้นคิด

   2. ความวิตก (วิตักกะ) คิดใคร่ครวญยิ่งขึ้น

   3. ความดำริ (สังกัปปะ) คิดปรุงเป็นเรื่อง

(วิมุติแล้วย่อมมีชำนาญในครรลองแห่งใจ จะคิด-ไม่คิด  ก็ย่อมทำได้ตามประสงค์  เพราะมี “เจโตวสิปัตตะ”)  

---ฝ่ายตั้งมั่น (static ขั้วบวก/Potential) เป็นแกนพลังศักย์ให้มั่นคง 

   4. ความแน่วแน่ (อัปปนา) คิดจนแน่วแน่

   5. ความแนบแน่น (พยัปปนา) คิดจนแนบแน่น

   6. ความปักใจมั่น (เจตโส อภินิโรปนา) คิดจนปักมั่น

   7. วจีสังขารเตรียมพูด (วจีสังขาโร) กำลังคิดจะพูด

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 14 "มหาจัตตารีสกสูตร" ข้อ 263, ธรรมาธิบายจากพ่อครู รายการพุทธศาสนาตามภูมิ

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก 


เวลาบันทึก 06 กรกฎาคม 2562 ( 09:08:35 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 03:14:43 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 03:52:02 )

สัมมาสังกัปปะที่เป็นอนาสวะ 7

รายละเอียด

คือ ความดําริถูกต้องที่ไม่มีกิเลสแล้ว

1. ความตรึก (ตักโก)

2. ความวิตก (วิตกโก)

3. ความดําริ (สังกัปโป)

4. ความแน่วแน่ (อัปปนา)

5. ความแนบเนียน (พยัปปนา)

6. ความปักใจมั่น (เจตโส อภินิโรปนา)

7. วจีสังขารเตรียมพูด (วจีสังขาโร)

 

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 14 “มหาจัตตารีสกสูตร” ข้อ 263


เวลาบันทึก 14 มีนาคม 2565 ( 21:47:09 )

สัมมาสังกัปปะมีในสมัย เป็นไฉน

รายละเอียด

1.ความตรึก (ตักโก)

2.ความตรึกอย่างแรง (วิตักโก)

3.ความดำริ (สังกัปโป) --> (เป็นปุญญาภิสังขาร)

4.ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ (อัปปนา)

5.ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ (พยัปปนา)

6.ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ (เจตโส  อภินิโรปนา)

7.ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ มีในสมัย(ทำฌาน)นั้น.

 

ที่มา ที่ไป

พตปฎ. เล่ม.34 ข้อ.81
ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2562 ( 15:47:10 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 16:47:43 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 03:58:32 )

สัมมาสังกัปโป

รายละเอียด

การงานทางมโนกรรม เป็นงานที่ดี ที่บริสุทธิ์

หนังสืออ้างอิง

จากหนังสือทางเอก ภาค 3 หน้า 550


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 07:31:56 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 02:47:01 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 03:59:16 )

สัมมาสัมพุทธ

รายละเอียด

คือ ผู้รู้อย่างถูกต้อง

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ “สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ” หน้า.221


เวลาบันทึก 29 ตุลาคม 2562 ( 10:22:07 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 03:15:43 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 04:01:05 )

สัมมาสัมพุทโธ

รายละเอียด

1. ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง 

2. ตรัสรู้เองโดยชอบ 

3. ผู้ตรัสรู้ความเป็นพระพุทธเจ้าโดยพระองค์เอง และเป็นผู้สามารถสร้างศาสนาพุทธขึ้นได้สำเร็จในโลกด้วยพระองค์เองในแต่ละพุทธกัปป์

หนังสืออ้างอิง

จากพุทธเป็นอเทวนิยมอย่างนี้ หน้า 10, หน้า 122, จากยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 47


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 07:33:01 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 12:05:22 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 04:10:28 )

สัมมาสัมโพธิญาณ

รายละเอียด

สัมมาสัมโพธิญาณ คือ การตรัสรู้โลกุตรธรรมสุดยอด ซึ่งเป็นความรู้พิเศษเจ้าเดียวของพระพุทธเจ้าเป็นความรู้ของมนุษยชาติทั้งโลก เจ้าเดียวที่เป็นความรู้สุดยอดรู้ธาตุของจิตวิญญาณประกอบด้วยดิน น้ำ ไฟ ลม และชีวะ อาตมาเอามาแยก อุตุนิยาม พีชนิยาม จิตนิยาม กรรมนิยาม ธรรมนิยาม เป็นความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าที่เป็นเอกในโลกทุกยุคทุกสมัย ของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ที่ตรัสรู้โลกุตรธรรมสุดยอดที่เรียกว่า สัมมาสัมโพธิญาณเท่าที่คนจะเป็นไปได้แล้วเป็นได้ต้องสะสมบารมีไม่รู้กี่ล้านชาติ อาตมาชัดเจนของตัวเองเพราะเป็นโพธิสัตว์จริงพากเพียรมาจนถึงระดับ7  ไม่ได้พูดเล่นอย่างไรก็มั่นใจไม่ได้โกหก และไม่ได้หลงตนจึงเข้าใจสอดคล้องกับที่พระพุทธเจ้าตรัส  แม้จะยังสูงไม่ถึงที่สุดเท่าเทียมพระพุทธเจ้า ก็รู้ตัว แต่ไม่เคยอวดดีว่าเราเป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งมันเป็นเรื่องสุดยอด อาตมาไม่ได้ไปดูถูกดูแคลนใคร ยุคนี้อาตมาเป็นไก่ตัวพี่ที่เจาะกระเปาะไข่ออกมาก่อน  อาตมาก็ประกาศใครร่วมสมัยที่เป็นพี่จะได้มาช่วยกัน ยกตัวอย่าง อย่าหาว่าอาตมาละลาบละล้วงในหลวงรัชการที่ 9ท่านตรัสก็ตรงกับที่ท่านพูด ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทำทางรูปธรรม ส่วนอาตมาทำทางนามธรรมอาตมาจึงสาธยายทางนามธรรม ในหลวงรัชกาลที่ 9 แสดงมา 70 ปี ส่วนอาตมาก็คงจะใช้เวลาถึง 70 ปีนะ ตอนนี้ก็ 50 ปีแล้ว ธรรมะพระพุทธเจ้าจะเป็นพี่เป็นน้อง  จะเป็นตระกูลเดียวกัน จะสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันมันเป็นหนึ่งเดียวแล้ว หนึ่งเดียวในโลก

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 19 ตุลาคม 2562 ( 14:20:05 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 16:49:49 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 04:21:56 )

สัมมาสัมโพธิญาณคืออะไร

รายละเอียด

เมื่อพระพุทธเจ้าสำเร็จสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว พ้นโพธิสัตว์ระดับ 8 ขึ้นเป็นพระพุทธเจ้าครบสัมมาสัมโพธิญาณ มีคุณวิเศษ คุณธรรมอันวิเศษ ขนาดระดับสัมมาสัมโพธิญาณ คือ ความตรัสรู้ได้ด้วยพระองค์เอง เป็นเจ้าของธรรมะเอง สูงสุดยอดไม่มีใครมีเท่า พอได้แล้วก็จะออกมาเปิดเผย สอนรุ่นแรกๆก็ได้ พระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ไป แล้วก็สอนต่อไปในยุคต่อไปอีก ก็จะค่อยๆมีคนสั่งสมบารมีขึ้นมาเรื่อยๆ ติดตามกันมาเรื่อยๆ ก็เป็นหมู่มวลที่มากขึ้นเรื่อยๆ จนมากจนเมื่อย

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ชาติ 5 แยกวิญญาณฐีติ 7 สัตตาวาส 9 วันพุธที่ 27 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 กุมภาพันธ์ 2564 ( 11:18:04 )

สัมมาอาชีพ

รายละเอียด

ทำการงานอาชีพใดๆ อยู่

หนังสืออ้างอิง

จากคนคืออะไร? หน้า 204


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 07:33:40 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 12:06:12 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 04:22:46 )

สัมมาอาชีพ ข้อที่ 5 ทำงานฟรี ไม่เอาสิ่งตอบแทน

รายละเอียด

อาชีพที่สูงสุดเรียกว่า สัมมาอาชีพ ข้อที่ 5 ทำงานฟรี ทำงานแล้ว ไม่เอาสิ่งตอบแทนเลย จนกระทั่งเป็น ทานข้อที่ 1 ทานหรือให้ 

ข้อที่ 1 คือ ไม่มี สาเปกโข ทานอย่างชนิดไม่มีจิตที่จะต้องต่อภพไปว่า เรายึดเป็นบุญเป็นคุณ ทำแล้วก็จบในตัวของการให้แล้วก็จบ นี่ทาน  สุดยอด 

ข้อที่ 2 คือ ไม่มี ปฏิพัทจิตโต ยิ่งไปผูกพันอยู่อีก มันก็ยิ่งยาวยืด แล้วสั่งสมเป็น สันนิธิเปกโข และสั่งสมเอาไว้กินใช้ในชาติหน้า ปริภุญชิตสามีติ เลอะไปหมด 

พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้เป็นอย่างนั้นเลย แต่เดี๋ยวนี้เลยเถิดไปหมด ศาสนาพุทธออกนอกรีตนอกราว เป็นภพ เป็นชาติ ต่างๆนานา มันห่างไกลจากพุทธธรรมไปไกลมาก จนหาร่องรอยธรรมะที่ถูกต้องของพระพุทธเจ้าไม่ค่อยได้ แม้แต่ทานก็ดี ศีลก็ดี ไม่ต้องไปพูดถึงเรื่องสมาธิ ปัญญาเลย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปฏิบัติ รูป 28 ในสติปัฏฐาน 4

วันพุธที่ 21 กันยายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 08 ตุลาคม 2565 ( 12:10:23 )

สัมมาอาชีวะ

รายละเอียด

1. อันเป็นผลของตนแล้วเพียรเผยแพร่ เพียรต่อทอดออก นำแจกธรรมเป็นทาน ออกเป็นกิจแห่งเลข อยู่ในโลกกับเขาไปเท่านั้นจริงๆ เป็นชีพ เป็นชีวิต

2. การยังชีพ การเลี้ยงชีพ 

3. การดำเนินชีวิต 

4. อาชีพชอบ 

5. กระทำงานอาชีพเลี้ยงตนที่ดีงาม

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 554, ทางเอก ภาค 3 หน้า 55, สมาธิพุทธ หน้า 94, หน้า 180,

รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 51


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 07:35:44 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 12:07:42 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 04:24:18 )

สัมมาอาชีวะ หรือ สัมมาอาชีพ

รายละเอียด

1.ไม่ทำ "กุหนา" (การโกง)

2.ไม่ทำ "ลปนา" คือ ไม่ทำอาชีพที่ทุจริต ขี้หลอก ไม่สุจริต ไม่ซื่อสัตย์ ซึ่งขั้นนี้ ก็ยังถือว่าทุจริตหยายอยู่ เช่นกัน มีวิธีการหลอกลวงกันทาง "วจีกรรม" อยู่ หยาบหนักหนาสาหัสแท้ๆ ทำทุกข์ร้ายกาจให้มวลชนได้สุดๆ ซึ่งยังทุจริตอยู่ทั้งรูปทั้งนาม เต็มสภาพของการหลอกลวงทางวาจา ที่พูดสุภาพหวานจ๋อยด้วยเฉโกอย่างยิ่งด้วยซ้ำ เป็นคนเด่นยอดอยู่ในสังคม

3.ไม่ทำ "เนมิตตกตา" คือ อาชีพที่งดเว้นทุจริตขี้โกง (กุหนา) ขี้หลอก (ลปนา)ได้แล้ว ด้วยการข่มภายนอกไว้ ซึ่งไม่มีทางกายกรรมและวจีกรรม โดยการถือศีลห้า และกำลังปฏิบัติตน ตามแบบ "สัมมาอาชีพ" ของพระพุทธเจ้า คือ ปฏิบัติ "ไตรสิกขา" เพื่อทำกิเลสใน "จิต" ลดละ และที่สุด "ดับสนิท" ไปให้ได้จริงๆ ได้แก่ การปฏิบัติ "อธิศีล-อธิจิต-อธิปัญญา" โดยมี "สัมมาสติ-สัมมาวายามะ" ห้อมล้อม "สัมมาทิฏฐิ" ที่เป็นประธานอยู่ แล้วช่วยจัดการแก้ไข "กายต่ำหยาย" ที่เป็นภายนอก "กายสังขาร-วจีสังขาร" ภายนอกสองให้เกิด "สัมมา" ให้ได้ในงานอาชีพให้ "สัมมาอาชีพ" ภายนอกเจริญขึ้นๆพ้นจากอาชีพที่เป็น "มิจฉาชีพ 5" พัฒนาสู่ "สัมมาชีพ 5" ไปตามลำดับ โดยขั้นต่ำสุดก็คือหลุดพ้นจาก "มิจฉาชีพขั้นอบายมุข" ...ถ้าพ้นสองขั้นคือพ้น "กุหนา-ลปนา"ได้ กำลังปฏิบัติอยู่ขั้น ฎเนมิตตกตา" คนผู้นี้ก็คือผู้ที่มี "ผลพ้นอบายภูมิ"มาได้แล้ว เป็น "โสดาบัน" เต็มตัว

4.ไม่ทำ "นิปเปสิกตา" คือ "มอบตนในทางผิด" หรือ "ไปรับใช้ช่วยคนผิด"

5.ไม่ทำ "ลาเภน ลาภัง นิชิคิงสนตา" คือ ทำงานไม่รับรายได้ ทำงานฟรี ทำได้เท่าไรก็เข้าสู่กองกลางทั้งหมด ...เรียกว่าเศรษฐกิจบุญนิยม "สาธารณโภคี"

หนังสืออ้างอิง

คนจะมีธรรมะได้อย่างไร ? หน้า 13-16


เวลาบันทึก 09 พฤศจิกายน 2562 ( 07:33:48 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 03:17:41 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 12:55:36 )

สัมมาอาชีเวน ชีวิกัง กัปเปติ

รายละเอียด

เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 118


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 07:36:19 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 12:08:57 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 12:56:44 )

สัมมาอาชีโว

รายละเอียด

เป็นอยู่ไปด้วยสิ่งที่ถูก ที่ดี ที่ชอบ ที่ควร อย่างถูกแท้ดีจริงๆ

หนังสืออ้างอิง

จากหนังสือทางเอก ภาค 3 หน้า 291


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 07:36:58 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 12:09:44 )

สัมมาอาริยมรรค

รายละเอียด

คือวิธีปฏิบัติหรือทางเดินไปสู่นิพพานหรือวิธีปฏิบัติที่จะบรรลุสูงสุดเป็นนิพพาน เรียกว่า มรรค ส่วน สัมมาอาริยะ สัมมา แปลว่า ถูกต้องตามแบบของพระพุทธเจ้า อาริยะ แปลว่า ความประเสริฐ ความเจริญของมนุษยชาติ และกำกับว่าเจริญแบบพุทธศาสนา เพราะศาสนาอื่นก็เรียกอาริยะหรือพุทธศาสนาที่มิจฉาทิฏฐิก็เรียกอาริยะ เขาก็ว่าได้ความประเสริฐเป็นมิจฉาผลก็บอกว่าได้ผล เช่นมหาบัวบอกว่าได้นิโรธนิพพานแบบมหาบัว เราก็ยืนยันว่าไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า คำว่าสัมมา เป็นแบบของพระพุทธเจ้า คนที่เอาคำว่าสัมมาไปประกอบแบบผิดๆก็คือคนขี้ตู่ขี้โกงเป็นบาป คนที่เอาคำว่าสัมมาไปใช้ เช่นคำว่าสัมมามรรคสัมมาผล ทำแบบผิดๆ คนนั้นกำลังขี้โกงขโมยเอาคำว่าสัมมาของพระพุทธเจ้าไปใช้เป็นของตัวเอง หลอกชาวบ้านหลอกคนอื่น คนไหนที่ไม่ตรงถูกต้องตามสัจธรรม ขี้โกงเอาคำว่าสัมมาของพระพุทธเจ้าไปใช้ของตัวเอง คนนั้นได้บาปตามกรรมที่แท้จริง ใครเอาไปใช้ก็ได้บาป เพราะว่ามันมีผลต่อมนุษยชาติ มนุษยชาติฟังหลงตามเขา แต่มันผิด ปฏิบัติก็ไม่ได้ผลบรรลุธรรมของพระพุทธเจ้า มันเป็นการขี้โกง มันผิด เพราะฉะนั้นคนนั้นโดยสัจธรรมกรรมที่ทำคือบาป นี่เป็นสัจจะนะอาตมาไม่ได้ไปว่าไม่ได้ใส่ความไม่ได้ดูถูก ไม่ใช่ว่าอาตมาพูดคำศักดิ์สิทธิ์เป็นไปตามคำอาตมาแต่เขาทำผิดหลงเขาตามสัจธรรมเขาก็ต้องได้วิบากบาป กรรมเป็นจริงวิบากเป็นจริง เขาทำก็ต้องได้อย่างนั้น

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 20 เมษายน 2563


เวลาบันทึก 06 พฤษภาคม 2563 ( 13:02:21 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 13:27:09 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 04:24:54 )

สัมมาอาริยมรรคองค์ 8

รายละเอียด

คือ ทางปฏิบัติอันเอก มีอาชีพ มีการทำงาน มีการพูดจา

หนังสืออ้างอิง

 “สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ” หน้า 85


เวลาบันทึก 25 ตุลาคม 2562 ( 14:11:32 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 03:18:35 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 12:58:12 )

สัมมาอาริยะ

รายละเอียด

ผู้ประเสริฐแท้, ผู้หมดกิเลสโดยชอบ โดยควรดียิ่งแล้ว

หนังสืออ้างอิง

จากหนังสือทางเอก ภาค 2 หน้า 550


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 07:37:37 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 12:10:27 )

สัมมุขาวินัย

รายละเอียด

คือ ผู้ที่จะเข้าไปว่าความเป็นคณะการกสงฆ์ หรือคณะองค์ประชุม ต้องบริสุทธิ์ ต้องเป็นพระปกตัตตะ (คือ พระบริสุทธิ์ปกติ ไม่มีอาบัติคา ไม่มีอาบัติติด) คือมีอาบัติใดๆไม่ได้เลย แม้มีเงินมีทอง ก็ถือว่าต้องอาบัติ นิคสัคคียปาจิตตีย์

หนังสืออ้างอิง

 “สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ” หน้า 384


เวลาบันทึก 29 ตุลาคม 2562 ( 12:15:53 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 03:19:31 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 04:23:36 )

สัมโพชฌงค์

รายละเอียด

1. ส่วนประกอบที่จะทำให้ตรัสรู้ 

2. องค์แห่งการตรัสรู้ 

3. จิตมีประสิทธิภาพ เข้าข่ายเป็นภูมิตรัสรู้ 

4. ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ , องค์แห่งธรรมเครื่องตรัสรู้ , องค์ธรรมของผู้ตรัสรู้ 

5. คุณลักษณะหรือส่วนประกอบของความตรัสรู้หรือความรู้ขั้นอาริยะ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 326

คนคืออะไร? หน้า 288

อีคิวโลกุตระ หน้า68

เปิดโลกเทวดา หน้า 71,75,97


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 06:45:44 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 12:12:03 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 03:48:39 )

สัมโพชฌงค์ คืออะไร

รายละเอียด

สัมโพชฌงค์”คือ “เครื่องแห่งความตรัสรู้” 

“สัมโพชฌงค์”จึงไม่ใช่“ความรู้”ที่ใครๆก็จะ“คิดรู้”หรือสร้าง“วิชชา”นี้ขึ้นมาเองได้ เพราะเป็น“ความรู้”ขั้น“โลกุตระ” 

คนอื่นคนใดหรือมนุษย์ไหนก็ตามในโลกจะมี“ความรู้”ที่เป็น“โลกุตระ”หรือ“สัมโพชฌงค์”นี้ไม่ได้เองเด็ดขาด  ต้องได้ยินได้ฟังจากพระโอษฐ์พระพุทธเจ้าโดยตรง หรือได้ยินจากจากปาก“สัตตบุรุษ”หรือจากผู้อยู่ในฐานะครูที่“สัมมาทิฏฐิ”มาก่อน

“สัมโพชฌงค์”เป็น“องค์แห่งความตรัสรู้” ซึ่งนับเป็น “โลกุตรธรรม” ดังนั้น “ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์”จึงไม่ใช่“ธรรมวิจัย”ทั่วไปแบบสาธารณะ ไม่ใช่“วิจัย”กันเป็นสามัญตื้นๆพื้นๆ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ธรรมวิจัยให้รู้ความต่างในวิญญาณฐิติ 7 วันศุกร์ที่ 30 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 19 พฤษภาคม 2564 ( 21:00:45 )

สัมโพธิปรายนะ

รายละเอียด

1. การตรัสรู้เป็นที่สุด 

2. ทิศทางที่จะก้าวหน้าไปสู่การตรัสรู้นิพาน

หนังสืออ้างอิง

เปิดโลกเทวดา หน้า 83, พุทธเป็นอเทวนิยมอย่างนี้ หน้า 135


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 06:47:17 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 12:13:01 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 03:58:38 )

สัมโพธิปรายนะ

รายละเอียด

คุณจึงพยายามใช้ความรู้ความสามารถสูงสุดจากนิยตะ ให้พ้นนิยตะ ขีดที่ 3 ของ 4 เลยขีดที่ 3 ไปหาขีดที่ 4 เรียกโดยภาษาว่า สัมโพธิปรายนะ ขึ้นไปสู่ที่สูงที่สุดได้ แปลเป็นไทยว่าอย่างนั้น ขึ้นไปสู่ที่สูงที่สุดได้ ไม่ตกต่ำ จากขีดที่ 3 นี้อีกแล้ว อันนี้ จึงเรียกว่าเที่ยง นิยตะ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมจากโสดาบัน 4 ไปถึงความมี ไม่มี และอภิภู รายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 24 วันจันทร์ที่ 17 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 11 กุมภาพันธ์ 2565 ( 05:00:31 )

สัมโพธิปรายนะ ไปสู่ที่สูงที่สุด

รายละเอียด

พระพุทธเจ้าท่านอนุโลมปฏิโลมมาหลายขั้นตอนกว่าจะมาถึงขั้นที่พูดนี้ มาถึงวันนี้อาตมาอธิบายอย่างไม่ไว้หน้าอย่างสมบูรณ์แบบให้ชัดเจนพวกเราก็จะฟังได้ แม้ว่าพวกคุณทำไป บรรลุขั้นตอนที่พระพุทธเจ้าตรัสอนุโลมไว้แค่นี้มันก็ไม่มีปัญหาหรอก คุณอยู่ไปอีก ฐานของโลกุตรธรรม มันรู้จักสุขรู้จักทุกข์รู้จักโลก มีภูมิธรรมขนาดนี้ ถ้าจะบอกว่าอนาคามีหรือ อรหัตตมรรค ก็อยู่ในระดับนั้นแล้ว แล้วความรู้มาถึงขั้นนี้คุณจะถอยหลังไปหรือ? ก็ไม่หรอกมีแต่สัมโพธิปรายนะ ไปสู่ที่สูงที่สุด คุณจะรู้สึกเองว่าเราจะไม่อยู่แค่ตรงนี้หรอกคุณก็จะหาทางเพิ่ม พวกเราไม่ติดอยู่แค่นี้ ก็เห็นก็รู้ ทำไมเขาเข้าใจทำไมเราไม่เข้าใจคุณก็จะต้องแน่นอนต้องพากเพียรไปให้ถึงที่สูงที่สุดๆๆๆ ให้ได้ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ เจโตปริยญาณ 16 มาตรวัดจิตสมาธินิมิต วันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 กุมภาพันธ์ 2564 ( 15:31:45 )

สัมโพธิปรายนะเป็นไฉน

รายละเอียด

ต้องเลยจากนิสัยขึ้นสู่วิสัย จึงจะเป็นสัมโพธิปรายนะ พอได้เป็นวิสัยแล้วคุณก็จะไม่ตกต่ำเป็นธรรมดาแน่นอนไม่เลยขีด 50% ลงมา วิสัยนี้อยู่ที่ 75% ขึ้นไป ก็จะอยู่ระหว่าง 75%เป็น 100% จะวนอยู่เบื้องบนเป็น อุทธัมภาคิยสังโยชน์ เกิน โอรัมภาคิยสังโยชน์ ส่วนอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ก็จะอยู่ส่วนบนไปเรื่อยๆ อุทธัมแปลว่าบน แปลว่าเหนือ แปลว่า ลอย

จึงใช้คำว่า “สัมโพธิปรายนะ” ในพระโสดาบันอันที่ 4 จึงเรียกว่า สัมโพธิปรายนะ ยังไม่เป็นผู้ไม่สูงที่สุดหรอกแต่จะไปสู่ที่สุดที่สูงได้สำเร็จ จึงมีตัวที่ 4 คือ “สัมโพธิปรายนะ” 

1. โสดาบันที่เข้ากระแสแล้ว 

2. อวินิปาตธรรม คือ ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา แต่พระโสดาบันนี้หลุดได้เป็นธรรมดา แต่พระสกิทาคามีไม่หลุด หรืออวินิปาตธรรม อนาคามีไม่เกิดในส่วนล่างแล้ว 

3. นิยตะ เที่ยง 

4. สัมโพธิปรายนะ ของพระโสดาบัน ผู้ที่ไปสู่ที่สุดที่สูงได้ ก็รู้จักระดับ

นามธรรมที่อาตมาอธิบายให้พวกเราฟัง มันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เล่นๆ ธรรมะพระพุทธเจ้าเป็นเรื่องนามธรรม เป็นเรื่องละเอียด 

ที่มา ที่ไป

ธรรมะรับอรุณปีใหม่โดยพ่อครู งาน ว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน ครั้งที่ 8 วันศุกร์ที่ 1 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 28 มกราคม 2564 ( 11:44:46 )

สัมโภค

รายละเอียด

การอยู่ร่วม – การบริโภคปัจจัย

หนังสืออ้างอิง

ค้าบุญคือบาป หน้า 239


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 06:49:40 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 12:13:56 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 03:48:59 )

สัมโภคกาย

รายละเอียด

ทำตนอยู่ร่วม – บริโภคร่วม

หนังสืออ้างอิง

ค้าบุญคือบาป หน้า 308


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 06:51:58 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 12:17:09 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 03:47:35 )

สัมโภคกาย

รายละเอียด

คือ การรวมทฤษฏีเดียวกัน บริโภคร่วมกัน  อธิบายกันก็รู้กันแต่ทุกคนต่างไม่รู้เห็นของใคร

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต ปฐมอโศก ครั้งที่ 81 วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 29 พฤศจิกายน 2562 ( 13:53:38 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 16:51:53 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 03:49:20 )

สัลเลข , สัลเลขะ

รายละเอียด

1. การขัดเกลา , ขัดเกลากิเลส

2. การขัดเกลากิเลส จะเกิดได้ก็ต้องมีองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น มีความรู้ในสิ่งที่ควรละ ควรขัด ควรเกลา ให้ตนและผู้อื่น

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 409 , ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 86สมาธิพุทธ หน้า 418


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 07:38:44 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 12:18:43 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 03:51:45 )

สัลเลขธรรม

รายละเอียด

1. ขัดเกลา 

2. การขัดเกลา กายและใจให้บริสุทธิ์ สะอาด หลุดพ้นจากการหลงติดยึดต่างๆ ได้แท้จริง 

3. ธรรมะแห่งการขัดเกลากิเลส กิเลสเป็นสิ่งที่จะต้องขัดเกลา

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 84  , สมาธิพุทธ หน้า 168, หน้า 418


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 07:39:50 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 12:20:22 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 03:49:43 )

สัลเลขะ ขัดเกลาตัวเอง

รายละเอียด

ในกายกรรมที่ควรจะเปลี่ยนแปลงจากไม่ดีไม่งามไม่เหมาะสม คุณก็เรียนรู้แล้วขัดเกลาทางวาจาของเราให้มันเหมาะสมกันดี หากว่ายังมีคำหยาบคำส่อเสียด คำพูดปด คำเพ้อเจ้อ คุณก็เก็บรายละเอียดของพฤติกรรม มโนกรรมคุณก็ปรับปรุงของคุณไป สัลเลขธรรมขัดเกลา กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ขัดเกลาตัวเองด้วยหลักเกณฑ์ของพระพุทธเจ้าด้วยหลักเกณฑ์ของศีล ศีลที่สูงขึ้นเคร่งครัดขึ้นปฏิบัติได้เพิ่มเป็นอธิศีลเป็นธูตะ ศีลที่ทำไม่ได้ปกติก็เคร่งเครียด สิ่งที่ทำได้เรียกว่าเคร่งครัดศีลที่ไม่ต้องเคร่งเลยเป็นปกติธรรมดาสามัญ ไม่เคร่งเลย หายเคร่งไม่ต้องเคร่งเลย คนที่มีศีล 10 แล้วไม่ต้องใช้เงินทองได้แล้วก็ไม่ต้องเคร่งเลย ไม่เห็นจะยุ่งยากอะไรเลย สบายมากไม่ต้องใช้เงินไม่ต้องสะสมเงินไม่ต้องมีเงินในตัวเลย เสื้อผ้าหน้าแพรก็มีแค่ 3-4 ชุด ไม่ต้องไปอวดอ้างไม่ต้องไปโชว์ แค่นี้ก็เหลือแหล่ หอบไว้ข้อเสียพื้นที่ใส่ตู้แมลงสาบมากินอีก 

ที่มา ที่ไป

รายการ ทำวัตรเช้า งานว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน ครั้งที่ 7 พ่อครูบวชมาย่าง 50 ปี มีผลอะไร 1 วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 10 มกราคม 2563 ( 16:40:28 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 16:55:28 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 03:59:41 )

สัลเลขะทำอย่างไร

รายละเอียด

เป็นคนมีวรรณะ 9 เป็นคนมักน้อย ใจพอ แล้วขัดเกลาสิ่งที่ยังบกพร่องของตัวเอง สัลเลขะ ขัดเกลา ทางวัตถุ ทางกายกรรมภายนอกที่ยังอยากจะฟุ้งเฟ้อหรูหรา ก็ให้ลดลงๆๆๆ ขัดเกลาทางกาย วาจา ใจ ขัดเกลาสิ่งที่บกพร่องทางกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมลงให้สำเร็จ ด้วยหลักการของศีล ก็ใช้ศีลเคร่ง อธิศีล

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 20 กันยายน 2563 ( 15:18:43 )

สัลเลโข

รายละเอียด

ขัดเกลา , ผ่าตัด

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 39


เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2562 ( 07:40:24 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 12:21:05 )

เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2563 ( 03:52:08 )

statistics

ติดต่อสอบถาม

Facebook : test

Youtube : Name

Twitter : Name

Line : Name

Telegram : Name

Wechat : Name

Skype : Name

Copyright © 2018 Borvornsocial.net all right are reserved. developer สงวนลิขสิทธิ์