@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก
@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก

อภิธานศัพท์ (Glossary) จัดเป็นฐานข้อมูลด้านโลกุตระที่สมบูรณ์ที่สุดที่คัดมาจากหนังสือ คำเทศน์ ฯ

คู่มือการค้นหาอภิธานศัพท์อโศก หรือ ห้องสมุดโลกุตระ 50 ปี

เอกสาร : https://docs.google.com/document/d/1HLGedxqTAOTOTQKGbO6M4qMremQ8K1jBWKRYDDt6MRQ/edit

วีดีโอ Loom 2 : https://www.loom.com/share/e824e62ec1eb4567848e94af124a7ed5

วีดีโอ Loom 1https://www.loom.com/share/2445744a08e74bca95d2f1d2a0526044

วีดีโอ YouTube : https://youtu.be/QyXcGmzhLmk

 

 

อภิธานศัพท์ (ทั้งหมด) พบ 28,074 รายการ

สันติภาพในโลกียะไม่มีในมหาจักรวาล

รายละเอียด

หลังประชุม APEC ใครจะเหมาะเป็นนายกฯเท่า พล.อ.ประยุทธ์ อาตมาขอพูดถึง อุดมการณ์ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติสักนิดหนึ่งว่า โลกจริงๆนั้น มนุษยชาติจริงๆนั้น ต้องเป็นคนที่ให้แก่ผู้อื่นได้ หรือเสียสละแก่ผู้อื่นได้ หรือเป็นผู้แพ้แก่ผู้อื่นได้ นี่คือสัจจะของมนุษยชาติผู้เจริญที่สุด 

ผู้ให้ได้ เป็นผู้เสียสละได้ เป็นผู้แพ้ได้ ยิ่งคำว่า เป็นผู้แพ้นี้สุดยอดแห่งความรอบรู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกุตรธรรม คนที่จะมาเอาชนะคะคานมนุษยชาติ จะเอาชนะคะคานทุกอย่างทั้งทางด้านวัตถุ ทั้งทางด้านอำนาจ แม้แต่ที่สุดทางด้านจิตวิญญาณ จะเป็นผู้ได้เปรียบจะเป็นผู้มีอำนาจจะเป็นผู้ที่ใหญ่กว่า เป็นผู้น้อยกว่าไม่ได้เป็นผู้แพ้ไม่ได้เป็นผู้น้อยกว่าไม่ได้เป็นผู้แพ้ไม่ได้ เขาไม่มีวันชนะหรอกเขาจะทำวนเวียนอยู่อย่างนั้นตลอดกาลนาน เพราะโลกียะไม่มีใครยอมใคร มันมีอัตตามานะ มีกิเลส มันไม่มีใครยอมใครหรอกโลกียะ มีแต่โลกุตระเท่านั้นที่ยอมคนและสงบด้วยจริง โลกียะไม่มีความสงบจริง สันติภาพในโลกียะไม่มีในมหาจักรวาล มีสันติภาพจริงอยู่ในโลกุตระเท่านั้น 

เพราะว่ายอมหยุด ยอมแพ้ ยอมเสียสละ ยอมให้ เพราะฉะนั้นชีวิตที่มีชีวิตอยู่ด้วยเมตตาให้อะไรได้ 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 3 พ่อครูพบ ดร.สุริยะใส กตะศิลา

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 22 พฤศจิกายน 2565 ( 19:56:10 )

สันติอโศกมีครบพร้อมสัปปายะ 4

รายละเอียด

เราได้พิสูจน์และปฏิบัติกันมา อาตมาพาทำมาตั้งแต่อาตมาบวช เกือบ 50 ปีแล้ว ก็เป็นที่น่าพอใจสำเร็จผล ก็ตรงกับที่พระพุทธเจ้าท่านทรงวางระบบทฤษฎีเอาไว้ เป็นความสงบอบอุ่น เป็นความสุขสบาย ท่ามกลางสังคมที่เขาเดือดร้อนแก้ปัญหาไม่ตก เพราะที่นี่อยู่กลางกรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศไทย เราจึงเป็นจุดกลางที่ไม่เหมือนข้างนอกไปเลย เข้ามาที่นี่จะรู้สึกแตกต่าง ที่นี่มีครบพร้อมทั้งเสนาสนะสัปปายะ บุคคลสัปปายะ อาหารสัปปายะ ธรรมะสัปปายะ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูสนทนากับท่าน Lopen Gembo Dorji แห่งภูฏาน

เรื่อง การพัฒนาโรงเรียนและการวางรากฐานพุทธศาสนาในระดับมัธยมศึกษา วันพุธที่ 19 ธันวาคม 2561 ที่ลานหินนั่งหน้าน้ำตกบวรสันติอโศก


เวลาบันทึก 13 มิถุนายน 2564 ( 20:04:30 )

สันติอโศกมีครบพร้อมสัปปายะ 4

รายละเอียด

เราได้พิสูจน์และปฏิบัติกันมา อาตมาพาทำมาตั้งแต่อาตมาบวช เกือบ 50 ปีแล้ว ก็เป็นที่น่าพอใจสำเร็จผล ก็ตรงกับที่พระพุทธเจ้าท่านทรงวางระบบทฤษฎีเอาไว้ เป็นความสงบอบอุ่น เป็นความสุขสบาย ท่ามกลางสังคมที่เขาเดือดร้อนแก้ปัญหาไม่ตก เพราะที่นี่อยู่กลางกรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศไทย เราจึงเป็นจุดกลางที่ไม่เหมือนข้างนอกไปเลย เข้ามาที่นี่จะรู้สึกแตกต่าง ที่นี่มีครบพร้อมทั้งเสนาสนะสัปปายะ บุคคลสัปปายะ อาหารสัปปายะ ธรรมะสัปปายะ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูสนทนากับท่าน Lopen Gembo Dorji แห่งภูฏาน

เรื่อง การพัฒนาโรงเรียนและการวางรากฐานพุทธศาสนาในระดับมัธยมศึกษา วันพุธที่ 19 ธันวาคม 2561 ที่ลานหินนั่งหน้าน้ำตกบวรสันติอโศก


เวลาบันทึก 13 มิถุนายน 2564 ( 20:05:44 )

สันติอโศกห่างไกลจากมุสลิมอย่างไร

รายละเอียด

เป็นไปไม่ได้หรอกสันติอโศกกับมุสลิมห่างไกลกันคนละฟากฟ้า มุสลิมเป็นแน่น 100% ส่วนสันติอโศกนั้นเทวนิยมร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ไม่เป็น ไม่มีเทวเลยก็ไม่เป็นรู้ทั้ง 2 อย่างทั้งความเป็นเทวะและความไม่เป็นเทวะ และอยู่ตรงกลางไม่โต่งไปข้างไหนเลย เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปกลัว โดยเฉพาะมีอาตมาอยู่ดูสิ่งที่จะเกิดขึ้น อาตมาก็ต้องดูแลไม่ให้เป็นไปในการเกิดสิ่งที่ผิดสัจจะที่ควรจะเป็น 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2563


เวลาบันทึก 13 มกราคม 2564 ( 09:23:49 )

สันติอโศกเดินตามพระพุทธเจ้าหรือเดินตามมหาวีระกันแน่

รายละเอียด

คุณต้องพยายามเข้าใจว่ามหาวีระกับพระพุทธเจ้านั้นมีความคล้ายความต่างกันอย่างไร พระมหาวีระนั้นไม่ยอมรับลัทธิพระเจ้าเช่นเดียวกันกับพระพุทธเจ้า อันนี้เหมือนกัน แต่พระมหาวีระนั้นเป็นฤาษี เป็นโลกียะธรรมะอยู่ ยังเป็นผู้ที่มักน้อยสันโดษจนสุดโต่ง พระมหาวีระนี่เดี๋ยวนี้เขาก็เรียกว่าศาสนาเชน ออกป่าหนีสุดโต่งไป โอ้โห..ไม่กินเนื้อสัตว์เหมือนศาสนาพุทธ ระมัดระวังเรื่องสัตว์ต่างๆไม่ให้แม้แต่สัตว์เล็กสัตว์น้อยอะไรต่ออะไร ไม่ให้มันตายเพราะตนเลย ระมัดระวังอย่างยิ่งแล้วก็ไม่เกี่ยวกับสังคม หนีออกป่าเขาถ้ำไป มันกลายเป็นสุดโต่งเป็นอัตตาที่ไม่รู้ตัว ให้ค่อยศึกษากันไป 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 27 ตอบปัญหาให้ถึงสัมมาธิปไตย วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน 2566 ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 8 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 17 สิงหาคม 2566 ( 13:54:56 )

สันติอโศกไม่ใช่พระแต่เป็นสมณพราหมณ์

รายละเอียด

พูดตรงๆบอกเลยสันติอโศกไม่ใช่พระมันถูกแล้วไม่ได้เถียงเลย เราไม่ได้ดึงเอาคำว่าพระมาใช้ ไม่ได้อยากได้เลย เพราะฉายาคำว่าพระ เราไม่ได้ต้องการ แต่เดิม ๆเราก็ได้ใช้ไปตามสังคม แต่ตอนหลังจะมาเอาคำว่าพระออกจากเราไปเสียมาให้เราใช้คำว่าสมณะจนทุกวันนี้เราก็ไม่ได้ใช้คำว่าพระในพวกเรา นอกจากมันจะหลงติดปากเรียกกันอย่างนั้นก็เป็น Error เป็นธรรมดา แต่โดยจริงๆแล้วเราไม่ได้ใช้คำว่าพระ นำหน้านักบวชเราเลยทั้งกฎหมายพร้อม ทั้งความตกลง MOU กันเรียบร้อยต่างๆนานา จนกระทั่งปฏิบัติประพฤติแล้วมาจนถึงทุกวันนี้ เราก็ใช้คำนำหน้าของเราว่า สมณะ หรือเต็มๆก็สมณพราหมณ์ ไม่ใช่สมณะพระด้วย สมณพราหมณ์ เราก็ใช้อย่างยินดีไม่ได้เกิดขัดข้องอะไรจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ เรื่องนี้ตกลงมาตั้งแต่ พ.ศ. 2532 จนถึงบัดนี้ เราก็โอเคแล้ว ไม่มีปัญหาอะไร 

เพราะฉะนั้นจะมาบอกว่าไม่ใช่พระ อาตมาก็ขอแสดงซ้อนลงไปว่าคุณยังไม่ฉลาดหลายรอบ คุณยังไม่รู้หรอกว่า ไม่ใช่พระนั่นแหละ แต่คุณยังไปยึดถือพระ คุณไม่ให้ก็ดี ยิ่งดีแล้ว เพราะฉะนั้นจะพูดแล้วก็ถูกอีก แต่คุณยังไม่ฉลาดอีกหลายรอบ ขออภัยพูดไปตามจริง

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ โสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 32 วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 25 มีนาคม 2564 ( 20:55:16 )

สันติอโศกไม่ได้ทำนิกาย คนที่ว่าอโศกเป็นนิกายคือคนทำสงฆ์แตกแยก

รายละเอียด

คำว่า นิกาย อาตมาพูดหลายทีแล้วว่า สันติอโศกเกิดขึ้นทีหลัง โดยเฉพาะอาตมาเป็นผู้นำชาวอโศก ถ้าใครเอาคำว่านิกายมาเรียกพวกเรา ก็เท่ากับคุณเองคุณเข้าใจว่า การแยกด้วยชนิดที่ถูกต้องตามธรรมก็ดี การแยกที่ไม่ถูกต้องตามธรรมก็ดี คุณเข้าใจยังไม่ได้ สำหรับอาตมานั้น อาตมาขอยืนยันว่า อาตมาแยกจากสงฆ์หมู่ใหญ่อย่างถูกต้องด้วยดี ไม่ได้แยกอย่างผิด เป็นบาป เป็นอนันตริย กรรม ผู้ที่แยกหมู่สงฆ์ให้เป็น 2 ฝ่าย ที่ผิดตามธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า เป็นผู้ที่ทำอนันตริยกรรม บาปหนักบาปหนา อาตมาเข้าใจเรื่องนี้อย่างลึกซึ้ง เข้าใจอย่างจริงจัง แต่โดยที่อาตมาไม่ได้มีความรู้ด้านบัญญัติภาษาเลย ในตอนที่อาตมาแยกออกมา 

อาตมาก็ทำการแยกเป็นนานาสังวาส (ดูภาคผนวก) ถูกต้องตามธรรมของพระพุทธเจ้าจริงเลย โดยตอนนั้นอาตมายังไม่ประสีประสาในคำว่านานาสังวาสด้วย โดยเฉพาะนิกายอาตมาพอรู้เหมือนกับคุณรู้ ว่าแยกกลุ่มหมู่ และอาตมาก็ทำอย่างที่อาตมาคิดว่า อาตมาไม่ได้ทำอย่างที่คุณเข้าใจหรือว่าคนส่วนใหญ่เขาเข้าใจว่า แยกนิกายคือแยกสงฆ์เป็น 2 ฝ่าย อาตมาไม่ได้ทำอย่างนั้น เพราะฉะนั้นอาตมาทำอย่างถูกต้องตามธรรมวินัย แม้แต่สงฆ์    หมู่ใหญ่ก็เข้าใจอาตมาไม่ได้ ขอยืนยัน วันสองวันนี้เราก็ยังพูดถึงท่านประยุทธ์ ปยุตโต ท่านก็เข้าใจเราไม่ได้ว่าเราทำนานาสังวาส เราไม่ได้ทำนิกาย ท่านจึงมาเล่นงานกับเราอย่างหนัก ซึ่งก็น่าเห็นใจท่านเหมือนกัน เพราะท่านไม่เข้าใจ ท่านนึกว่าอาตมานี้ทำลักษณะแยกหมู่สงฆ์ออกเป็น 2 ฝ่าย เป็นนิกาย แน่นอนท่านก็ไม่อยากให้ทำมันเป็นบาป แล้วศาสนาก็เสียหาย.. และท่านก็ทำถูก แต่ท่านความรู้ไม่พอที่จะเข้าใจขั้นที่ถูกต้องจริงๆ ที่อาตมาทำ 

อันนี้ฟังให้ดี อาตมาไม่ได้ลบหลู่ท่าน แต่อาตมากำลังพูดความจริงว่าท่านยังไม่มีความรู้พอในเรื่องนี้ ท่านถึงได้ทำอย่างนั้น เพราะอาตมาทำถูกต้องตามนานาสังวาสจริงๆ อาตมาประกาศกับหมู่สงฆ์เป็นทางการต่อหมู่สงฆ์ว่าขอแยกนะ ต่างคนต่างเข้าใจตามที่พระพุทธเจ้าท่านมีธรรมวินัยเอาไว้ ว่าหมู่น้อยขอประกาศแยกกับหมู่ใหญ่เป็นทางการเป็นกิจจลักษณะได้เพราะต่างจากหมู่ใหญ่เรื่องความเห็น 1. ถือศีลไม่ตรงกัน 2. มีความประพฤติที่ไม่เหมือนกันแล้วมีอะไรหลายๆอย่างให้แยกเป็นนานาสังวาสได้ แล้วต่างคนต่างปฏิบัติตามธรรมวาทีของตน 

อันนี้เป็นสุดยอดแห่งสัจธรรมพระพุทธเจ้า เรื่องนานาสังวาส เป็นการให้เกิดความสงบโดยแยกฝ่ายอยู่ แต่ถือว่าเป็นพุทธเดียวกันเป็นสังวาสเดียวกันคือความเป็นพุทธเหมือนกัน แต่มันสุดวิสัยแล้วที่จะมาร่วมสังฆกรรมกันได้ ก็ให้ต่างคนต่างทำสังฆกรรมของแต่ละคน ศึกษากันไป ไม่ต้องทะเลาะวิวาทกัน ท่านห้ามไม่ให้ทำอธิกรณ์กันเลย แต่ทางสงฆ์หมู่ใหญ่มาทำอธิกรณ์อาตมา อธิกรณ์ แปลว่า การฟ้องร้อง ท่านเป็นคนทำนะ ทางสงฆ์หมู่ใหญ่ฟ้องร้องอาตมานะ อาตมาไม่ได้ไปฟ้องร้องสงฆ์หมู่ใหญ่เลย แต่ทางโน้นท่านฟ้องร้อง ฟ้องร้องกระทั่งสงฆ์ในคณะสงฆ์ สงฆ์ของสงฆ์ หมู่ใหญ่ เอาไปฟ้องร้องแม้กระทั่งในฆราวาส ให้ฆารวาสมาตัดสินเอาเรื่องอีก ท่านเอาหนัก ท่านทำการละเมิดอาบัติของท่านเอง คณะสงฆ์หมู่ใหญ่ 

ขออภัยอาตมากำลังอธิบายสัจธรรม ไม่ได้ไปลงโทษ ไม่ไปดูถูกดูแคลนคณะสงฆ์หมู่ใหญ่ แต่สงฆ์หมู่ใหญ่เป็นจริงอย่างนั้น อาตมาก็พูดความจริงที่เลี่ยงไม่ได้เท่านั้น อธิบายความจริงที่เลี่ยงไม่ได้เท่านั้น สรุปอาตมาไม่ได้ทำนิกาย อาตมารู้ดีว่าทำนิกายนั้นเป็นอนันตริยกรรม อาตมาจึงทำตามที่อาตมาประพฤติไป โดยการทำอย่างถูกต้อง มาประกาศบอกขอแยกนะ ต่างคนต่างแยกปฏิบัติ อาตมายังจำได้อยู่ว่าอาตมาใช้พลความ ใช้ภาษา ใช้สมมติ อธิบายว่า อาตมาบวชมาในสงฆ์หมู่ใหญ่ เห็นหมู่ใหญ่ท่านปฏิบัติ ท่านทำแล้ว ผิดธรรม ผิดวินัย สอนกันผิดๆ ธรรมวินัย อาตมาเห็นว่าหมู่ใหญ่ท่านปฏิบัติธรรมผิดธรรมวินัย อาตมาปฏิบัติร่วมด้วยไม่ได้และอาตมาเป็นพระผู้น้อย ต้องอยู่ใต้อาณัติ เพราะฉะนั้นอาตมาปฏิบัติตามไม่ไหวก็ขอแยกการปฏิบัติก็แล้วกัน 

เหมือนมาตั้งร้านขายปาท่องโก๋ ร้านเล็กๆข้างทาง ท่านเป็นบริษัทใหญ่ แต่ท่านใช้สูตร อาตมาว่าเป็นสูตรของพระพุทธเจ้าที่ผิด ก็ทำให้คนมารับเสียหาย อาตมาทำด้วยไม่ไหว  ขอมาแยกตั้งร้านปาท่องโก๋เล็กๆ อาตมาใช้สำนวนลีลาอย่างนี้จริงๆ นี้คือการขอแยกด้วยดี ไม่ได้หมายความว่าเราทะเลาะวิวาทฟ้องร้อง ไม่ใช่ เข้าใจกันคนละอย่างแล้ว มันเป็นความเห็น ความเป็นทิฏฐิ  คนละความเข้าใจ ศีลคนละแบบ อะไรอย่างนี้เป็นต้น ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในนานาสังวาส อาตมาทำถูกต้องทุกอย่าง อย่างนี้เป็นต้นนะ

เรื่องของนิกายนั้น ผู้ที่ทำ ขออภัยต้องพูดความจริง ทางสงฆ์เถรสมาคมเป็นคนทำในลักษณะที่เป็นนิกายกับอาตมา ท่านก็รับกรรมวิบากของท่านไป อาตมาไม่ได้ทำ ทุกอย่างมันเกิดอยู่ที่กรรมวิบากที่จริง ไม่มีใครพิพากษา อาตมาพูดนี้ก็ไม่ใช่ไปพิพากษา ถ้าผิดอาตมาก็ยิ่งผิดซ้อน ผิดซ้ำสรุปไปว่าทางโน้นผิด และอาตมาว่าอาตมาไม่ได้พูดผิด อาตมาไม่ได้แยกนิกาย แต่อาตมาทำนานาสังวาส อย่างนี้เป็นต้น นี่คือเรื่องของนิกาย จากที่ถาม การที่สันติอโศกเมื่อเกิดขึ้นทีหลัง แบบนี้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งนิกายหรือไม่  สันติอโศกเกิดมาทีหลังจริง แต่ไม่ได้ทำนิกาย เป็นนานาสังวาสเท่านั้น นี้เป็นคำตอบนะ

 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ปลุกธรรม ครั้งที่ 34 ปฏิบัติธรรมไม่เริ่มต้นที่ศีลก็เหมือนผีหัวขาด วันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม 2566 แรม 3 ค่ำ เดือน 8 หนที่ 2 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 23 สิงหาคม 2566 ( 10:37:12 )

สันติเก

รายละเอียด

ใกล้

หนังสืออ้างอิง

(จากหนังสือทางเอก ภาค 3 หน้า 126)


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 21:27:18 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 05:06:39 )

สันตีรณจิตตัง

รายละเอียด

ทำงาน พิจารณาตรวจสอบ ค้นคว้าเลยทีเดียว เรียกว่าวิตกวิจารก็ได้ เรียกว่าธรรมวิจัยก็ได้

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 51


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 21:30:03 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 05:07:44 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 08:02:28 )

สันตุฏฐาน

รายละเอียด

สันโดษ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 367


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 21:30:48 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 05:08:48 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 08:01:19 )

สันตุฏฐิ

รายละเอียด

คือ มีใจพอ มีน้อยก็พอ พอให้ได้เสมอ แม้มีไม่มากเลยแต่เราก็อยู่ได้ ไม่เสียสภาพ ไม่เสียสุขภาพ

หนังสืออ้างอิง

 “คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1หน้า 90


เวลาบันทึก 09 พฤศจิกายน 2562 ( 13:09:40 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 13:37:52 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 08:01:42 )

สันตุฏฐิ

รายละเอียด

1. ทำตนให้หยุด ให้รู้จักจบโดยขีดขอบเขตการกิน การใช้

2. ความรู้จักพอ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 138

ทางเอก ภาค 2 หน้า 138

วิถีพุทธ หน้า 53


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 21:31:53 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 05:10:17 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 08:02:07 )

สันตุฏฐิกถา

รายละเอียด

ชักนำให้สันโดษ ให้รู้จักใจพอ เขาแปลสันโดษว่าพึงพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ อาตมาว่าไปถามเอากับคนรวย ไปถามบิลเกตเขาดูสิ เดี๋ยวนี้คนรวยกว่าบิลเกตส์ก็มี อาตมาจำได้แค่บิลเกตส์ ไปถามบิลเกตส์ดูว่าเขาจะพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ไหมมันก็พอใจสิ พระพุทธเจ้าจะหมายถึงอย่างนั้นหรือ อาตมาว่าไม่จริง “พึงพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่” พระพุทธเจ้าไม่ได้หมายถึงอย่างนี้หรอก 

จริงๆแล้วมันแปลว่า ใจพอ มันรู้จักพอ แต่ก่อนเรายังไม่เคยพอเลย อะไรมา สวาปามทั้งนั้น ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข ให้มาเท่าไหร่เราก็ยินดีทั้งนั้น ไม่เคยหยุดไม่เคยพอ รับเละ ถ้ารู้จักพอก็จะเจริญ ถ้าไม่รู้จักพอก็ไม่เจริญ 

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม เรียนอัตถิราคสูตรให้หมดสุขหมดทุกข์แท้จริง วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 24 กุมภาพันธ์ 2564 ( 15:45:54 )

สันตุฏฐี

รายละเอียด

มีพฤติกรรมของจิตว่าพอ

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 15 พฤศจิกายน 2562 ( 15:47:05 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:01:03 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 08:02:50 )

สันทิฏฐิกสามัญญผลปุจฉา

รายละเอียด

สันทิฏฐิกสามัญญผลปุจฉา

 [100] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันขอทูลถามพระผู้มีพระภาคบ้างว่า ศิลปศาสตร์เป็นอันมากเหล่านี้ คือพลช้าง พลม้า พลรถ พลธนู พนักงานเชิญธง พนักงานจัดขบวนทัพพนักงานจัดส่งเสบียง พวกอุคคราชบุตร พลอาสา ขุนพล พลกล้า พลสวมเกราะหนังพวกบุตรทาส ช่างทำขนม ช่างกัลบก พนักงานเครื่องสรง พวกพ่อครัว ช่างดอกไม้ ช่างย้อมช่างหูก ช่างจักสาน ช่างหม้อ นักคำนวณ นักนับคะแนน หรือศิลปศาสตร์เป็นอันมากแม้อย่างอื่นใดที่มีคติเหมือนอย่างนี้ คนเหล่านั้น ย่อมอาศัยผลแห่งศิลปศาสตร์ที่เห็นประจักษ์เลี้ยงชีพในปัจจุบัน ด้วยผลแห่งศิลปศาสตร์นั้น เขาย่อมบำรุงตน มารดาบิดา บุตรภริยา มิตรอำมาตย์ ให้เป็นสุขอิ่มหนำสำราญ บำเพ็ญทักษิณาทานอันมีผลอย่างสูง เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดีมีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจบัญญัติสามัญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือนอย่างนั้นได้หรือไม่ พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อาจอยู่ มหาบพิตร แต่ในข้อนี้ อาตมภาพจะขอย้อนถามมหาบพิตรก่อน โปรดตรัสตอบตามที่พอพระทัย มหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉนสมมติว่า มหาบพิตรพึงมีบุรุษผู้เป็นทาสกรรมกรมีปกติตื่นก่อน นอนทีหลังคอยฟังพระบัญชาว่าจะโปรดให้ทำอะไร ประพฤติถูกพระทัย กราบทูลไพเราะ คอยเฝ้าสังเกตพระพักตร์ เขาจะมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า คติของบุญ วิบากของบุญ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา ความจริงพระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตศัตรู เวเทฮีบุตรพระองค์นี้เป็นมนุษย์ แม้เราก็เป็นมนุษย์แต่พระองค์ท่านทรงเอิบอิ่มพรั่งพร้อมบำเรออยู่ด้วยเบญจกามคุณดุจเทพเจ้า ส่วนเราสิเป็นทาสรับใช้ของพระองค์ท่าน ต้องตื่นก่อนนอนทีหลัง ต้องคอยฟังพระบัญชาว่าโปรดให้ทำอะไรต้องประพฤติให้ถูกพระทัย ต้องกราบทูลไพเราะ ต้องคอยเฝ้าสังเกตพระพักตร์ เราพึงทำบุญจะได้เป็นเหมือนพระองค์ท่าน ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิต 

สมัยต่อมา เขาปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิตเมื่อบวชแล้ว เป็นผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจอยู่ สันโดษด้วยความมีเพียงอาหารและผ้าปิดกายเป็นอย่างยิ่ง ยินดียิ่งในความสงัด ถ้าพวกราชบุรุษพึงกราบทูลถึงพฤติการณ์ของเขาอย่างนี้ว่า 

ขอเดชะ ขอพระองค์พึงทรงทราบเถิด บุรุษผู้เป็นทาสกรรมกรของพระองค์ผู้ตื่นก่อนนอนทีหลัง คอยฟังพระบัญชาว่าจะโปรดให้ทำอะไร ประพฤติถูกพระทัย กราบทูลไพเราะคอยเฝ้าสังเกตพระพักตร์อยู่นั้น เขาปลงผมและหนวดนุ่งผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิตเมื่อบวชแล้ว เป็นผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจอยู่ สันโดษด้วยความมีเพียงอาหารและผ้าปิดกายเป็นอย่างยิ่ง ยินดียิ่งในความสงัด มหาบพิตรจะพึงตรัสอย่างนี้เทียวหรือว่า เฮ้ยคนนั้น จงมาสำหรับข้า จงมาเป็นทาสและกรรมกรของข้า จงตื่นก่อนนอนทีหลัง จงคอยฟังบัญชาว่าจะให้ทำอะไร ประพฤติให้ถูกใจ พูดไพเราะ คอยเฝ้าสังเกตดูหน้าอีกตามเดิม.

พระเจ้าอชาตศัตรูทูลว่า จะเป็นเช่นนั้นไม่ได้เลย พระเจ้าข้า อันที่จริงหม่อมฉันเสียอีกควรจะไหว้เขา ควรจะลุกรับเขา ควรจะเชื้อเชิญเขาให้นั่ง ควรจะบำรุงเขาด้วยจีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ควรจะจัดการรักษาป้องกันคุ้มครองเขาอย่างเป็นธรรม.

มหาบพิตร จะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น สามัญผลที่เห็นประจักษ์จะมีหรือไม่?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น สามัญผลที่เห็นประจักษ์มีอยู่อย่างแน่แท้.

ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน ซึ่งอาตมภาพบัญญัติถวายมหาบพิตรเป็นข้อแรก

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 20 กันยายน 2562 ( 10:57:21 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:05:44 )

สันทิฏฐิกสามัญญผลเทศนา

รายละเอียด

สันทิฏฐิกสามัญญผลเทศนา

[101] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจบัญญัติสามัญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบันแม้ข้ออื่น ให้เหมือนอย่างนั้นได้หรือไม่?

อาจอยู่ มหาบพิตร แต่ในข้อนี้ อาตมภาพจะขอย้อนถามมหาบพิตรก่อน โปรดตรัสตอบตามที่พอพระทัย มหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน สมมติว่า มหาบพิตรพึงมีบุรุษเป็นชาวนา เป็นคหบดี ซึ่งเสียค่าอากรเพิ่มพูนพระราชทรัพย์อยู่คนหนึ่ง เขาจะมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า คติของบุญ วิบากของบุญ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา ความจริง พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหีบุตรพระองค์นี้ เป็นมนุษย์ แม้เราก็เป็นมนุษย์ แต่พระองค์ท่านทรงเอิบอิ่มพรั่งพร้อมบำเรออยู่ด้วยเบญจกามคุณดุจเทพเจ้า ส่วนเราสิเป็นชาวนา เป็นคหบดีต้องเสียค่าอากรเพิ่มพูนพระราชทรัพย์ เราพึงทำบุญ จะได้เป็นเหมือนพระองค์ท่าน ถ้ากระไรเราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต 

สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว เป็นผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ อยู่สันโดษด้วยความมีเพียงอาหารและผ้าปิดกายเป็นอย่างยิ่ง ยินดียิ่งในความสงัด ถ้าพวกราชบุรุษพึงกราบทูลพฤติการณ์ของเขาอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ขอพระองค์พึงทรงทราบเถิด บุรุษผู้เป็นชาวนา เป็นคฤหบดีซึ่งเสียค่าอากรเพิ่มพูนพระราชทรัพย์ของพระองค์อยู่นั้น เขาปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว เขาเป็นผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจอยู่ สันโดษด้วยความมีเพียงอาหารและผ้าปิดกายเป็นอย่างยิ่ง ยินดียิ่งในความสงัด มหาบพิตรจะพึงตรัสอย่างนี้เทียว หรือว่า เฮ้ย เจ้าคนนั้น เจ้าจงมา จงเป็นชาวนา เป็นคหบดีเสียค่าอากรเพิ่มพูนทรัพย์ตามเดิม.

จะเป็นเช่นนั้นไม่ได้เลย พระเจ้าข้า อันที่จริงหม่อมฉันเสียอีกควรจะไหว้เขา ควรจะลุกรับเขา ควรจะเชื้อเชิญเขาให้นั่ง ควรจะบำรุงเขาด้วยจีวร บิณฑบาต เสนานะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ควรจะจัดการรักษาป้องกันคุ้มครองเขาอย่างเป็นธรรม.

มหาบพิตร จะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น สามัญผลที่เห็นประจักษ์ จะมีหรือไม่?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น สามัญผลที่เห็นประจักษ์มีอยู่อย่างแน่แท้.

ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน ซึ่งอาตมภาพบัญญัติถวายมหาบพิตรเป็นข้อที่สอง.

[102] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจบัญญัติสามัญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบันแม้ข้ออื่น ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์เหล่านี้ได้หรือไม่?

อาจอยู่ มหาบพิตร ถ้าอย่างนั้น มหาบพิตรจงคอยสดับ จงตั้งพระทัยให้ดี อาตมภาพจักแสดง.

ครั้นพระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตศัตรู เวเทฮีบุตร ทูลสนองพระพุทธพจน์แล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรมหาบพิตร พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว

(สุคโต พ่อครูว่า..จากจุดที่บรรลุแล้วจะไปต่อไปมีแต่ดีไม่มีตกต่ำเลยมีแต่ดีถ่ายเดียวเรียกว่าสุคโต เสด็จไปดีแล้วโลกียะวน ดีกับชั่ว แต่ เมื่อมาปฏิบัติธรรมพระพุทธเจ้าแล้วจะเริ่มต้นจุดแรกคือพ้นไปจากโลกของอบายมุข สูงไปกว่านั้นก็หมดกามเป็นอนาคามีไม่วนเรื่องกาม ก็ล้างรูปภพอรูปภพอีก สุดท้ายสุคโต ไม่วนไปโลกอบาย โลกกาม รูปภพอรูปภพอีกแล้วไม่วนเวียนกับดีชั่ว สุข ทุกข์ ของพุทธทำได้ถึงดีไม่มีชั่วตลอดไปและไม่มีสุขไม่มีทุกข์ด้วยเป็นโลกุตระซ้อนขึ้นไปอีก)

ทรงรู้แจ้งโลกเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว

เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระตถาคตพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว 

ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้เกิดเฉพาะในตระกูลใดตระกูลหนึ่งย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้ว ได้ศรัทธาในพระตถาคต เมื่อได้ศรัทธาแล้ว ย่อมเห็นตระหนักว่า ฆราวาสคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลีบรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว สำรวมระวังในพระปาติโมกข์อยู่ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรมที่เป็นกุศล มีอาชีพบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ.

1.     ถึงพร้อมด้วยศีล 

2.    คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย 

3.    ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ 

4.    เป็นผู้สันโดษ.

    [121] ดูกรมหาบพิตร ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เลย

เพราะศีลสังวรนั้นเปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษก กำจัดราชศัตรูได้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะราชศัตรูนั้น ดูกรมหาบพิตร ภิกษุก็ฉันนั้น สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้ว

ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะศีลสังวรนั้น ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้ ย่อมได้เสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 20 กันยายน 2562 ( 10:58:20 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:09:37 )

สันทิฏฐิกะ

รายละเอียด

ตนบรรลุเองเห็นของตนเอง ประจักษ์แจ้งกับตนเอง ไม่ต้องอาศัยใครอื่น ไม่ต้องเชื่อจากปากของใคร

หนังสืออ้างอิง

วิถีพุทธ หน้า 122


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 21:32:42 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 05:11:16 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 08:03:08 )

สันทิฏฐิปรามาสิ

รายละเอียด

เป็นผู้เฝ้าซ้ำแซะ เวียนวนอยู่แต่กับสภาพที่หลงนี้ โดยไม่รู้จักความพอดี ความพอเหมาะ แล้วก็ควรพอแล้วกันสักที

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 14


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 21:40:58 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 05:12:15 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 08:03:38 )

สันทิฏฐิโก

รายละเอียด

คือ ผู้ปฏิบัติที่เอาตัวเอง มาปฏิบัติเองเลย ตัวตน ทั้งร่าง ทั้งใจ องคาพยพทั้งหมดเลย ทั้งภายนอก – ภายใน

หนังสืออ้างอิง

“คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1หน้า 82


เวลาบันทึก 09 พฤศจิกายน 2562 ( 12:27:32 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 13:37:17 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 08:04:11 )

สันทิฏฐิโก

รายละเอียด

คือ เอาตนเองเข้ามาปฏิบัติพิสูจน์ ให้เห็นดำเห็นแดง ให้เห็นมรรคเห็นผล

หนังสืออ้างอิง

“สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ” หน้า 98


เวลาบันทึก 25 ตุลาคม 2562 ( 14:50:20 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 13:36:39 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 08:04:34 )

สันทิฏฐิโก

รายละเอียด

1. ธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นจะมีผู้ปฏิบัติรู้ได้ เห็นได้ด้วยตนเองจริง ๆ

2. มีจริงที่ตน

3. เป็นเรื่องจริงแท้ที่เราจะรู้ จะพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง ณ บัดเดี๋ยวนี้ ชาติ-นี้ด้วย

4. พิสูจน์ได้ด้วยตนเอง เป็นเรื่องจริงแท้ที่เราจะรู้

5. เข้าใจแจ้ง เป็นได้จริงที่ตนในปัจจุบันนั้น ๆ

6. เป็นธรรมที่ตัวคนผู้นั้นทำเอง สมควรจะเห็นได้จริงเอง มีจริงเอง

7. ผู้มีเองย่อมรู้เอง เห็นเอง ไม่ต้องอาศัยใครบอก

8. เอาตนเองเข้ามาเรียนรู้ปฏิบัติพิสูจน์

9. เป็นสากล ใคร ๆ ก็สามารถถเอาตนเองมาศึกษาปฏิบัติเห็นได้พิสูจน์ได้

10. เห็นเองรู้เอง ประจักษ์แจ้งกับตน

11. คนผู้เอาตนเองเข้ามาปฏิบัติจริงกับสังคมอาริยะ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 4 ,14

ทางเอก ภาค 2 หน้า 59,83

ทางเอก ภาค 3 หน้า 39 ,467

คนคืออะไร? หน้า 538

รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 161

ค้าบุญคือบาป หน้า 93-94

ยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 85


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 21:38:25 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 05:17:07 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 08:06:51 )

สันทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปนยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ

รายละเอียด

รู้เดี๋ยวนี้  เข้าใจเดี๋ยวนี้  ศรัทธาเดี๋ยวนี้  พิสูจน์เดี๋ยวนี้  เชื่อด้วยตน พิสูจน์ด้วยตนชัดแน่ใจแล้ว 

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 184


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 21:39:34 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 13:19:09 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 15:53:58 )

สันธาวติ

รายละเอียด

1. ภาวะที่ท่องเที่ยวไป

2. ล่องลอย ท่องเที่ยว

หนังสืออ้างอิง

กำไร-ขาดทุนแท้ของอาริยชน / เราคิดอะไร ฉบับ 274

ยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 253


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 21:42:26 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 10:33:26 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 08:07:34 )

สันนิธิเปกโข

รายละเอียด

คือ การทำทานที่มีการสั่งสม เพิ่มเป็นคลังบ่อหลุม 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 23 ธันวาคม 2562 ( 13:00:06 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:10:22 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 08:07:56 )

สันนิธิเปกโข

รายละเอียด

ต่อจากหยาบเป็นวิมานตัวตนมีสถานที่มีเพชรมีทองมีอะไรอย่างนี้ก็จะมาถึงขั้น สันนิธิเปกโข คือ สั่งสมเป็นคลัง นิธิ คือคลัง สั่งสมเป็นคลังสมบัติของเรานี่ก็หยาบน้อยกว่าเมื่อกี้นี้

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม 2563


เวลาบันทึก 25 มิถุนายน 2563 ( 11:15:19 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 13:30:05 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 08:08:19 )

สันโดษ

รายละเอียด

1. พอ 

2. ใจพอ 

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 344

คนคืออะไร? หน้า 323

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 285


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 09:04:41 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 10:34:48 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 08:09:21 )

สันโดษ

รายละเอียด

พอมีเท่านี้พอกินเท่านี้ก็พอใช้เท่านี้ก็พอ ตัวสันโดษตัวพอนี้ยิ่งใหญ่มากจิตวิญญาณมนุษย์มันรู้จักพอ

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชี่วิต บ้านราช ครั้งที่ 61 วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 15 พฤศจิกายน 2562 ( 14:31:55 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 13:29:49 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 08:09:50 )

สันโดษ กับโดดเดี่ยว พ้องกันได้อย่างไรในภาษาไทยนะ

รายละเอียด

ใจของเรา เขาไปแปลสันโดษกันว่า พึงพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ มันเป็นความหมายที่ซับซ้อนแล้วก็ เฉโกได้ ถามว่าบิลเกตส์พอใจในทรัพย์สินของเขามา. ..เขาก็ว่าพอ เอ้า เขาก็เป็นคนสันโดษ แต่สันโดษที่ไหน ดูดรายได้เข้าไปยังกับท่อ ผลได้ของเขาอย่างกับท่อประปา สันดูด จริง มันมีต้นทุนไม่รู้จักจบ มันดูดเอาผลผลิต Microsoft อะไรของเขาไม่มีวันจบ ไม่มีวันหมด มันจะไปกองอยู่อย่างนั้นอีก ถ้าหากบิล เกตส์ อายุยาวถึง 200 ปี ทรัพย์สมบัติในอเมริกาหมดไปอยู่ที่ บิล เกตส์ หมด ถ้าแกอายุยาวไปถึง 200 ปี ต่อไปมันก็จะหมดความสำคัญลง หรือเจ้าอื่นๆก็เหมือนกัน ขออภัยไม่ได้ด่า บิล เกตส์ ก็ตามหรือว่าคนที่ร่ำรวยในประเทศไทย รวยเอาๆ แล้วเขาก็ยืนยันว่าเขาทำงานให้แก่ประเทศแก่สังคม อาตมาก็ทำงานให้แก่ประเทศแก่สังคม แต่อาตมาไม่เด่นเพราะอาตมาไม่มีเงินทองไม่มีอำนาจไม่มีคนมายินดีชมชอบเพราะมาจน แต่ไปอยู่กับทางโน้นเขารวย แต่รวยอย่างไรก็ไม่สามารถรวยเท่าเจ้าของนายทุน การไปรับใช้ บิล เกตส์ จะรวยเท่า บิล เกตส์ ไม่ได้หรอก ใครที่ไปทำงานกับคุณธนินท์ ไม่มีใครรวยเท่ากับคุณธนินท์ได้หรอก พวกนั้นใจไม่พอ และอาตมาว่าเขาไม่เคยเข้าใจและไม่เคยคิดว่าเขาจะมีใจพอ

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน 2563


เวลาบันทึก 08 พฤษภาคม 2563 ( 15:11:00 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 13:29:26 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 15:54:42 )

สันโดษ คือ ยินดีในของที่พอมีกินมีใช้ ไม่ใช่ยินดีในของที่มีอยู่

รายละเอียด

ที่อาตมาพูดว่าพวกเราเป็นคนเหาะได้ เหาะได้ คือคนมีโลกุตรธรรม คือคนมีวรรณะ 9 มาเป็นคนเลี้ยงง่ายๆ เลี้ยงไปก็เหมือนไม่เลี้ยง เพราะต่างคนต่างช่วยกันเลี้ยงกัน เป็นคนเลี้ยงง่าย สุภระ แปลว่า อันเลี้ยงได้โดยง่าย ภาษาไวยกรณ์เขา เลี้ยงง่าย 

สุโปสะ เลี้ยงให้ดีทำให้เจริญ หรือว่าบำรุงให้ดีให้เจริญง่าย บำรุงให้ดีบำรุงให้เจริญง่าย 

อัปปิจฉะ มีความปรารถนาน้อย หรือมักน้อย กล้าจน มีน้อยๆ ไม่โลภ ไม่สะสม เป็นคนมีน้อยๆ พอ เอาไว้แค่นี้พอสันตุฏฐิ

มีความยินดีในใจที่ไม่โลภ ใจที่ไม่โลภไม่สะสม ยินดีในสิ่งที่น้อย เรียกว่า “สันโดษ” ยินดีในของที่พอมีกินมีใช้ ไม่ใช่ว่าไปยินดีในของที่มีอยู่ ไปถามเศรษฐีใหญ่ของโลกเดี๋ยวนี้ อีลอน มัสก์ รวยเป็นที่หนึ่งตอนนี้ คือเป็นสมบัติผลัดกันชม ในการแย่งลาภ ยศ สรรเสริญ สมบัติผลัดกันชมก็หมุนเวียนในโลกียมันไม่เที่ยงแท้แน่นอนหรอก แล้วไม่ได้หมดไปนะ มันสู้ไม่ได้คราวนี้ก็ยอมแพ้ หรือว่าเข็ดนิดนึง แต่ก็ยังฮึด เกิดมาใหม่มันไม่รู้กรรมวิบากเกิดแล้วเกิดอีกแล้วมันก็ลืม ชาติหน้ามันก็ลืม กิเลสอนุสัยมันยังมี มันก็ยังใหม่เพราะไม่ได้ศึกษาไม่มีปัญญาว่าต้องเลิกละต้องหมดต้องสูญ มันไม่ได้มาทิศทางโลกุตระ บานเป็นปากกรวย ไปไม่มีที่สิ้นสุดหาประมาณไม่ได้ ไม่มีหมดสิ้นไม่มีสิ้นสุด ไปไม่มีประมาณ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ คนจนสาธารณโภคีที่เหาะได้ทั้งชุมชน วันศุกร์ที่ 8 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 29 มกราคม 2564 ( 16:43:55 )

สันโดษ ซึ่งเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติสุดยอด คือผู้มีใจพอ

รายละเอียด

ใจมันพอจริงๆ มีชีวิตอยู่อย่างชาวอโศกสบาย หลายคนมีใจพอสันโดษที่เนียน ชีวิตสบายมากเลย เพราะมีสัปปายะ 4 คนที่อยู่ที่นี้ไม่ต้องคิดต้องนึกอะไรมากเลย ว่าจะอยู่จะกินอะไร เราเป็นคนดีคนขยันหมั่นเพียร ไม่ดูดาย ขยันทำงานสร้างสรร ผลผลิตมีเท่าไหร่ก็ช่วยกันเอาเข้ากองกลาง คนจะมีหน้าที่แจกจ่ายก็แจกจ่าย คนมีหน้าที่ผลิตก็ผลิต หลายคนก็ทำงานไปวันๆสบายก็เพลิดเพลินกับงานสบาย ชีวิตวางปล่อยแล้วมันไม่มีปัญหาเพราะมีปัญญามันเต็ม ชีวิตมันจบแล้วนี่ด้วยสัปปายะ 4 สถานที่ก็สัปปายะ อยู่จนตายสบาย บุคคลก็มีมิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดีสบาย จะเจ็บจะป่วยอย่างไรมีอะไรขาดตกบกพร่อง ก็มีหมู่มิตรสหาย ก็ไม่มีปัญหา มีเครื่องอาศัยเครื่องกินเครื่องใช้ สมบูรณ์พร้อม ที่สำคัญมีมากด้วย เจริญแล้วเจริญอีก เราก็เพิ่มธรรมะให้ได้จนเป็นพระอรหันต์ ที่นี่ขอยืนยันว่าธรรมะมีให้จนถึงเป็นพระอรหันต์แน่นอน เพราะฉะนั้นเขาจะรู้ที่จบ เป็นคนสันโดษ การมีความสันโดษจึงไม่ใช่หนีเข้าป่าโดดเดี่ยวเดียวดายไม่ใช่เลย แต่อยู่กับคนอยู่กับมนุษย์ที่เป็นสัตว์โขลง มีหมู่กลุ่มที่ควรอยู่ ไม่อยู่กับสิ่งที่ไม่ควรอยู่ เช่นในผู้ที่ยังหลงสวรรค์ สังสัคคะ พวกปรุงแต่งสวรรค์ อย่าอยู่กับเขา ก็มาเป็นพวกอสังสัคคะ ไม่ไปคลุกคลีเกี่ยวข้องกับคนพวกนั้นอยู่กับคนพวกที่ไม่มีสวรรค์สุดยอดเลย เพราะสวรรค์กับนรกเป็นเทวะคู่กัน ตัดหายไม่ได้ หากเข้าใจสันโดษคำเดียวอธิบายธรรมะไปได้ตลอดกาล 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 29 เมษายน 2563


เวลาบันทึก 10 พฤษภาคม 2563 ( 11:18:20 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 13:28:56 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 15:55:38 )

สันโดษ สันตุฏฐิ

รายละเอียด

ผู้ที่มีคุณธรรม ความโลภไม่ค่อยมีแล้วหรือไม่มีเลย เท่านี้พอแล้ว มีสันโดษ มีสันตุฏฐิ ใจพอ เหลือ ก็ไม่ต้องกระดี๊กระด๊า ไม่ต้องการเพิ่มอีก มันมีความพอในใจ คนที่ไม่พอในใจอย่างที่เห็นๆอยู่นี้ รวยจนกระทั่งเงินทองจะท่วมหัวตัวเองตาย ก็ยังไม่พอ ไม่มีสำนึกว่าถ้าเผื่อว่าเราเอง ไปกอบโกยเอาสมบัติส่วนกลางที่มันมีอยู่จำนวนหนึ่งมาไว้ที่เรามากๆๆๆ คนอื่นนี้เขาจะขาดแคลนไหม เท่านี้เขาก็โง่ เพราะฉะนั้นคนรวยนี้โง่ตรงนี้ โง่ตรงที่ว่า ถ้าเราไปเอาสมบัติ เงินทองทรัพย์สินของส่วนกลาง ของโลก ของสังคม เอามาไว้ที่ตัวมากๆ คนอื่นจะขาดแคลนไหม แค่นี้ไม่เข้าใจ นี้โง่ ไม่รู้จะทำอย่างไร 

เพราะฉะนั้นคนที่เข้าใจแล้ว อย่าไปทำเลย อย่างนี้มันเลว มันทำให้สังคมเขาเดือดร้อน เราเก่งนะ เราฉลาดที่สามารถทำมาหาได้ ได้มาก ได้เปรียบเขา แต่เราก็ยิ่งเอาเปรียบๆ ทั้งเลวทั้งโง่ซับซ้อนใหญ่เลย เพราะฉะนั้นคนรวยจะเห็นได้ว่า คนยิ่งรวยๆๆ ไม่รู้จักจบนี้ ทั้งเลวทั้งโง่ ขออภัยนะที่อาตมาพูดความจริงพูดปรมัตถ์ ไม่ได้พูดทับถม ไม่ได้พูดไปด่าคนรวยหรอก แต่พูดธรรมะ พูดสภาวะสัจธรรมให้ฟัง ตั้งใจฟังให้ดีๆ อาตมาพูดสัจธรรม ไม่ได้ไปโกรธไปเกลียดไปชัง แต่สงสาร ทำไมทั้งโง่ทั้งชั่ว 

วันนี้ไขความจริงเข้าไปลึกซึ้งอยู่นะ พระพุทธเจ้าฉลาดไหม มีทรัพย์สินเงินทองไหม ตอนเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ท่านก็ไม่เอาแล้ว ท่านเป็นเจ้าชายสิทธัตถะท่านก็ไม่เอา มาเป็นพระพุทธเจ้าซึ่งท่านก็ไม่มีอะไรเลย ทรัพย์สินลาภสักการะเยินยอท่านก็ไม่เอาเลยแต่คนให้ท่านเอง เงินทองนั้นไม่มีอยู่แล้ว ตลอดพระชนม์ชีพออกมาอย่างชัดเจน 45 พรรษา อย่างอาตมานี้ไม่ต้องถึงขนาดพระพุทธเจ้า อาตมาตั้งแต่ออกมาจนถึงบัดนี้อาตมาไม่ต้องไปแสวงหาทรัพย์ศฤงคารอะไรให้แก่ตัวเองเลย สบาย อันนี้เป็นสัจจะที่เป็นอจินไตยที่คนโลกียะ คนปุถุชน แน่นอน เข้าใจยาก 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 16  ตรวจสอบความจบกิจเป็นอรหันต์ในเรื่องเศรษฐกิจ วันจันทร์ที่ 27 มีนาคม 2566 ขึ้น 6 ค่ำเดือน 5 หน้าร้อน ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 01 พฤษภาคม 2566 ( 20:41:59 )

สันโดษ หรือ สันตุส

รายละเอียด

1. รู้จักความพอ ความหยุด ความแล้วจบนั้นเอง ไม่ใช่อื่น

2. จิตที่รู้และมีจุดพอของใจ 

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 255, หน้า 370


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 09:05:29 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 10:36:28 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 08:10:13 )

สันโดษ 4

รายละเอียด

1. ศีล 2. อินทรีย์สังวร 3. สติสัมปชัญญะ 4. สันโดษ 

ในสามัญผล จะรู้ว่าศีลอันเป็นอาริยะ สำรวมอินทรีย์ที่เป็นอาริยะ สติสัมปชัญญะที่เป็นอาริยะและสันโดษอันเป็นอาริยะ อาตมาใช้คำว่าอาริยะ เขาใช้อริยะซึ่งมันได้ผิดเพี้ยนกลายเป็นเดียรถีย์ไปแล้ว ส่วนอารยะนั้นเพี้ยนไปทางทุนนิยม ทางโลกีย์ เหมือนเขายกย่องประเทศอารยะก็คือประเทศที่เจริญทางวัตถุ เป็นต้น 

เพราะฉะนั้น เมื่อผู้ใดทราบความเป็นอาริยะทั้ง 4 นี้แล้ว ปฏิบัติ มันก็เข้าหลักจรณะ 15 วิชชา 8 

คือ จะเจริญด้วยศีล เจริญด้วยการสำรวมอินทรีย์ เจริญด้วยสติ เจริญด้วยความสันโดษ 

สันโดษ แปลว่า ใจพอ แปลว่า มีคู่อัปปิจฉะ สันโดษหรือสันตุฏฐิ มีน้อยลง จนเป็นสูญ มีสมบัติเป็นศูนย์ ไม่สะสม อปจยะ แต่เป็นคนขยันหมั่นเพียรสร้างสรรทำงาน มีเท่าไหร่ไม่สะสมเลย แต่แจกจ่ายออกไปจนกระทั่งตัวเองไม่ต้องมีส่วนตัวเลย อยู่กับหมู่มีกินใช้อยู่กับส่วนกลาง ทุกคนก็ช่วยกันบริหารอย่างนี้เป็นต้น 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 39 พุทธานุสสติ และอัมพัฏฐสูตร วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 04 สิงหาคม 2565 ( 17:33:25 )

สันโดษกับโดดเดี่ยวเป็นภาษาไทยที่กลายที่ผิดเพี้ยน

รายละเอียด

คำว่าสันโดษ มาพ้องกับภาษาไทยกลายเป็นโดดเดี่ยวอีก คำว่าสันโตสะ มาเป็นสันโดษ กลายมาเป็นภาษาไทยที่กลายที่ผิดเพี้ยนไปคนละเรื่องเลย กลายเป็นคนไม่รู้จักพอ จริงๆแล้วสันโดษคือใจพอ แต่มันกลายเป็นคนละขั้วเลย แล้วคนที่หลงสันโดษก็ไปโดดเดี่ยวหนีไปอยู่ป่าเขาถ้ำได้ เป็นพวกที่ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นพวกที่หลงอยู่ในจมไปสู่ความหลง อาตมาก็ไม่เก่งจะอธิบายธรรมะพระพุทธเจ้าที่พูดไปนี้ ที่จริงพระพุทธเจ้าท่านด่าหนักเลยพวกที่หลงเขาถ้ำนี้ ทุกวันนี้ธรรมะพระพุทธเจ้ามีแต่พวกเดียรถีย์ทั้งนั้นเขาเอาไปทำผิดเพี้ยน

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 29 เมษายน 2563


เวลาบันทึก 10 พฤษภาคม 2563 ( 11:19:51 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 13:28:26 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 15:55:59 )

สันโดษคือไม่มีกิเลสเป็นเพื่อนสอง

รายละเอียด

สันโดษไม่ได้หมายความว่าอยู่ตัวคนเดียวหรือหนีไปไหน แต่ว่าสันโดษคือจิตที่ไม่มีเพื่อนสอง จิตถ้ามีกิเลสแม้แต่ตัวเดียวคุณก็มีเพื่อน 2 แล้ว แต่มันไม่ใช่ตัวเดียวหรอก แล้วจิตของคุณมีกิเลสบานตะโก้เลย คุณจะไปสันโดษได้อย่างไร คุณจะไปโดดเดี่ยวอย่างไรคุณต้องมีเพื่อน 2 คือกิเลส แต่ว่าจริงๆแล้วคำว่าสันโดษไม่ได้หมายความว่ามีเพื่อน 2 ที่เป็นกิเลส เป็นภาษาที่กลับเป็นสิริมหามายา ผู้สันโดษคือผู้ที่อยู่ผู้เดียว ไม่มีเพื่อนสอง เห็นไหมว่าเป็นภาษาสิริมหามายากลับไปที่เดิมอีกไม่งงงวดนี้จะไปงงงวดไหน พวกคุณงงไหม…ไม่งง อาตมาบรรลุผลสำเร็จในการอธิบาย 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 28 มีนาคม 2563 ( 16:47:47 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 08:32:48 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 15:56:29 )

สันโดษจิตสะอาดบริสุทธิ์ไม่ติดไม่ยึด

รายละเอียด

สรุปแล้วคำว่าสันโดษแต่ผู้เดียว มันจึงโอ้โห เป็นภาษาสิริมหามายา คือจิตของเรานี่สะอาดบริสุทธิ์ไม่ติดไม่ดูดไม่ยึดอะไรแล้วก็สัมผัส ไม่ติดไม่ยึดนะ แต่สัมพันธ์กับใครๆได้สบายไม่ผูกพันไม่ติดไม่ยึดมั่นถือมั่นกัน แต่สัมพันธ์กันมีประโยชน์ร่วมกันได้ 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 28 มีนาคม 2563 ( 16:53:08 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 08:33:49 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 15:56:52 )

สันโดษที่ควบคู่ไปกับอัปปิจฉะ

รายละเอียด

สรุปแล้ว สิ่งที่จำเป็น สิ่งที่สำคัญเหล่านี้ ผู้ใดที่มีน้อยเท่าไหร่ นั่นแหละ ยิ่งเป็นสันโดษที่ ควบคู่ไปกับ อัปปิจฉะ มีน้อยมักน้อย เอาน้อยๆไว้ดี มันเบา ว่าง ไม่ต้องดูแลรักษา  ไม่ต้องแบกหาม ไม่ต้องเป็นภาระอะไรมากมาย เหมือนอย่างที่ท่านเทียบกับ ภิกษุมีบาตรบริหารท้อง ไปไหนก็พึ่งลำแข้ง เหมือนนกน้อยบินไปด้วยปีกตัวเอง พวกเราก็ไปด้วยขาตัวเอง อย่างนี้เป็นต้น ง่ายๆ สรุปแล้วน้อยเท่าไหร่ก็ดี แต่น้อยตามฐานะเพียงพอ มันน้อยเท่าไหร่ก็เอา พระพุทธเจ้าท่านก็บอกท่านฉันอาหารท่านยังฉันมากอยู่ ผู้ที่ฉันน้อยกว่าท่านก็มี ท่านยกตัวอย่าง คนอื่นนอนน้อยกว่าท่านก็มี อาตมาก็เหมือนกัน เรารู้ว่าจิตเราไม่ได้ติดยึดเสพรสสิ่งเหล่านั้น เราใช้แต่พอดี

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 19 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 19 กันยายน 2563 ( 13:17:23 )

สันโดษอันเป็นอาริยะ 4 ข้อ

รายละเอียด

สันโดษ คำว่าสันโดษ ภาษาบาลีว่าสันตุฏฐิ อันเป็นอาริยะ ศีลอันเป็นอาริยะ สำรวมอินทรีย์อันเป็นอาริยะ มีสติสัมปชัญญะอันเป็นอาริยะ มีสันโดษอันเป็นอาริยะ ก็ค่อยขยายความว่า ศีลอันเป็นอาริยะเป็นอย่างไร สำรวมอินทรีย์อันเป็นอาริยะอย่างไร มีสติสัมปชัญญะอันเป็นอาริยะอย่างไร มีสันโดษอันเป็นอาริยะอย่างไร 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 28 มีนาคม 2563 ( 16:59:03 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 08:34:22 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 15:57:11 )

สันโดษอันเป็นอาริยะเป็นเช่นไร

รายละเอียด

ปฏิบัติแล้วคุณจะทิ้งสิ่งที่มันรุ่มร่ามเยอะแยะมากมาย แต่ก่อนนี้ไอ้นี่ก็เป็นของเรา อันนี้ก็เพชรของเรา ไอ้นี่ก็ทองของเรา อันนี้ก็เสื้อของฉัน เสื้อชั้น 1 แฟชั่นราคาแพงไฮโซ นะนี่อะไรก็แล้วแต่ นี่บ้านเรือนของเรา นี่อะไรต่างๆนานา แต่พอเวลามาปฏิบัติแล้วได้รู้ว่าเราเอง ชีวิตมันน้อยนิด เหมือนนกมีปีกสองปีกบินไป ไปไหนก็ไปด้วยปีก ไปทิศใดก็ได้ด้วยปีก แล้วก็อยู่อย่างได้สิ่งที่ควรได้เพียงพอเป็นปัจจัยชีวิตแค่นี้ก็พอแล้ว มีบาตรบริหารท้องมีจีวรบริหารกายเป็นปัจจัยมีเครื่องนุ่งห่มมีอาหาร นี่ไม่ได้กล่าวถึงที่อยู่ถึงยารักษาโรค กล่าวเพียงแค่อาหารกับจีวร มีแต่เครื่องนุ่งห่มกับของกินก็สบายแล้วสันโดษ หมายความว่าเป็นผู้ที่มีน้อย มักน้อย สันโดษ คือ ตั้งแต่อัปปิจฉะ สันตุฏฐิ ปวิเวกะ สันโดษ ไม่ได้หมายความว่าโดดเดี่ยว แต่อยู่กับสิ่งทั้งหลาย แต่แค่นี้ก็พอ สันโดษ สันตุฏฐิแปลว่าใจพอ มันพอเท่านี้ก็พอแล้ว อย่างสมณะ สิกขมาตุพวกเรา อาตมาพาปฏิบัติบวชมาเป็นนักบวช มาถึงวันนี้แล้วอาตมาภาคภูมิใจว่า พวกเรามีชีวิตสันโดษไม่ต้องไปอยากได้เงินทองได้ที่ทางได้อะไรต่างๆนานา ได้รับยศสรรเสริญพวกเราไม่มี เพราะพวกเราไม่มีตัวอย่างจะไปทำอย่างนั้นด้วย มันก็เลยสบายง่ายสะดวก เป็นองค์ประกอบของสังคมศาสนาของพวกเรา สรุปแล้วยังไม่ได้มากถึงขนาด มีจีวร บริหารกาย บาตรบริหารท้อง ไปถึงขั้นนี้ก็ค่อยลดลงมา เรียกว่าใจพอมาเป็นลำดับ บางคนมาแต่ก่อนยังไม่บวช เป็นฆราวาสยังไม่มีอะไรให้สะสมหรอก พอมาบวชแล้วอันนี้ก็มีมาใครก็เอามาให้ก็หอบสิ กุฏิเดียวไม่พอก็ต้องขอ หลายกุฏิอะไรอย่างนี้ คุณจะมาบวชหรือคุณจะมาแบก แต่พวกเราไม่ถึงขนาดนั้นหรอกพูดไปก็ไปกระทบถึงท่านทั้งหลาย แบกจริงๆ ไม่ต้องเอามากหรอกเอาแต่ในห้องไปดูเถอะห้องเจ้าคุณต่างๆ ไปดูเถอะห้องแต่ละเจ้าคุณ ถ้าไม่มีอะไรก็จะมีพระทองคำมีพระราคาแพงอยู่เต็มห้อง มีโต๊ะมุก มีเก้าอี้ ดีไม่ดีมี fur ไว้ปู

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 8 กรกฎาคม 2563


เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 10:43:23 )

สัปปายะ

รายละเอียด

คือ ความเจริญ เกิดคุณค่าประโยชน์ หรือประกอบด้านประโยชน์คุณค่า ได้กำไรอาริยะที่แท้จริง หรือ สัปปายะ คือ สบาย

หนังสืออ้างอิง

 “สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ” หน้า 87


เวลาบันทึก 25 ตุลาคม 2562 ( 14:19:10 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 13:35:27 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 15:57:37 )

สัปปายะ

รายละเอียด

อาหารดีของขันธ์

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 198


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 21:43:21 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 17:22:12 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 15:57:56 )

สัปปายะ / อสัปปายะ 7

รายละเอียด

สัปปายะ คือสิ่งที่เกื้อกูลแก่การเพิกถอนกิเลส

   1. อาวาสสัปปายะ (ที่อยู่ซึ่งเกื้อกูลแก่การเพิกถอนกิเลส)

   2. โคจรสัปปายะ (ที่ไปซึ่งเกื้อกูลฯ)

   3. ภัสสสัปปายะ (การพูดคุยที่เกื้อกูลฯ)

   4. ปุคคลสัปปายะ (บุคคลที่เกื้อกูลฯ)

   5. โภชนสัปปายะ (อาหารที่เกื้อกูลฯ)

   6. อุตุสัปปายะ (สภาพแวดล้อมที่เกื้อกูลฯ)

   7. อิริยาปถสัปปายะ (ท่าทางการกระทำที่เกื้อกูลฯ)

อสัปปายะ  คือสิ่งที่ไม่เกื้อกูลแก่การเพิกถอนกิเลส

   1. อาวาสอสัปปายะ (ที่อยู่ซึ่งไม่เกื้อกูลแก่การเพิกถอนกิเลส)

   2. โคจรอสัปปายะ (ที่ไปซึ่งไม่เกื้อกูลฯ)

   3. ภัสสอสัปปายะ (การพูดคุยที่ไม่เกื้อกูลฯ)

   4. ปุคคลอสัปปายะ (บุคคลที่ไม่เกื้อกูลฯ)

   5. โภชนอสัปปายะ (อาหารที่ไม่เกื้อกูลฯ)

   6. อุตุอสัปปายะ (สภาพแวดล้อมที่ไม่เกื้อกูลฯ)

   7. อิริยาปถอสัปปายะ (ท่าทางการกระทำที่ไม่เกื้อกูลฯ)

ที่มา ที่ไป

อรรถกถาแปลเล่ม 2"ตติปาราชิกวรรณนา"  หน้า  368

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 06 กรกฎาคม 2562 ( 08:54:48 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 13:34:45 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 15:58:27 )

สัปปายะ / อสัปปายะ 7

รายละเอียด

สัปปายะ คือสิ่งที่เกื้อกูลแก่การเพิกถอนกิเลส

1. อาวาสสัปปายะ (ที่อยู่ซึ่งเกื้อกูลแก่การเพิกถอนกิเลส)

2. โคจรสัปปายะ (ที่ไปซึ่งเกื้อกูลฯ)

3. ภัสสสัปปายะ (การพูดคุยที่เกื้อกูลฯ)

4. ปุคคลสัปปายะ (บุคคลที่เกื้อกูลฯ)

5. โภชนสัปปายะ (อาหารที่เกื้อกูลฯ)

6. อุตุสัปปายะ (สภาพแวดล้อมที่เกื้อกูลฯ)

7. อิริยาบถสัปปายะ ท่าทางการกระทําที่เกื้อกูลฯ)

อสัปปายะ คือสิ่งที่ไม่เกื้อกูลแก่การเพิกถอนกิเลส

1. อาวาสอสัปปายะ(ที่อยู่ซึ่งไม่เกื้อกูลแก่การเพิกถอนกิเลส)

2. โคจรอสัปปายะ (ที่ไปซึ่งไม่เกื้อกูลฯ)

3. ภัสสอสัปปายะ การพูดคุยที่ไม่เกื้อกูลฯ)

4. บุคคลอสัปปายะ (บุคคลที่ไม่เกื้อกูลฯ)

5. โภชนอสัปปายะ (อาหารที่ไม่เกื้อกูลฯ)

6. อุตุอสัปปายะ (สภาพแวดล้อมที่ไม่เกือกูลฯ)

7. อิริยาบถอสัปปายะ (ท่าทางการกระทําที่ไม่เกื้อกูลฯ)

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,อรรถกถาแปลเล่ม 2 “ตติยปาราชิกวรรณนา” หน้า 368


เวลาบันทึก 14 มีนาคม 2565 ( 21:03:43 )

สัปปายะ 4

รายละเอียด

คือ ความสบาย ความเจริญ มีประโยชน์คุณค่า 4 อย่าง เสนาสนะสัปปายะ อาหารสัปปายะ บุคคลสัปปายะ ธรรมะสัปปายะ

หนังสืออ้างอิง

“สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ” หน้า 87


เวลาบันทึก 25 ตุลาคม 2562 ( 14:20:24 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 13:33:08 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 15:58:54 )

สัปปายะ 4

รายละเอียด

ดีมีความตั้งใจอยู่ก็พากเพียรไปก็แล้วกัน รู้ว่ามีจุดที่ดี เสนาสนะสัปปายะที่ดี  บุคคลสัปปายะที่ดี อาหารสัปปายะที่ดี ธรรมะสัปปายะที่ดี ก็รู้ๆกันก็พูดกันหมดทุกอย่างพระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ เอามาขยายความจน 50 กว่าปีนี้ก็ไม่น้อยเลย พวกเราก็ฟังจนหูจะทะลุหูซ้ายหูขวาแล้ว อ้าว ก็พากเพียรไป 

แต่อาตมาก็ยังรู้สึกว่าประสบผลสำเร็จอยู่นะ ก็คือมีพวกคุณ แม้ผู้ที่เขาไม่เข้ามายังส่งข่าวส่งคราวมา เขาก็ติดตามอยู่ ได้ประมาณนี้ มันจะมีจำนวนหรือจะมีลิมิตอยู่ มันจะมีความจำกัดสำหรับมันก็มีเท่านี้ประมาณนี้ อย่างพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ได้ตรัสว่า พระพุทธเจ้าองค์นี้จะมีพระอรหันต์เข้ามาประชุมมาฆบูชา 1,250 รูป พระพุทธเจ้าองค์อื่นๆจะมีมากกว่านี้ เท่านั้นเท่านี้ก็มีกรอบจำกัด มันเป็นสัจจะที่จะต้องลงตัวทั้งรูปทั้งนาม มันเป็นเหตุปัจจัยที่จะได้สัดส่วนอันพอเหมาะ พอเหมาะสำหรับผู้นั้นๆ ไม่ใช่ปัญหาอะไร อาตมาเข้าใจด้วยปัญญาอยู่ ก็ดีก็ทำไปตามหน้าที่ อาตมาทำหน้าที่นี้ และก็จะต้องทำหน้าที่นี้ไปเรื่อยๆ ชาติหน้าชาติโน้นก็ว่าไปพูดไปหมดแล้ว ชาติที่มันเชื่อมต่อไปอีก อาตมาสั่งสมบารมีมาอย่างไรก็พูดสู่ฟัง ผู้ใดเข้าใจได้ก็ดีเข้าใจยังไม่ได้ก็พากเพียรไปก็แล้วกัน 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์งานอัฏฐาริยสัจจายุ ประชาธิปไตยแบบไทยโดยเฉพาะ ตอนที่ 2 วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566 แรม 7 ค่ำ เดือน 3 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 06 มีนาคม 2566 ( 17:07:15 )

สัปปายะ 4 มีในสังคมสาราณียธรรมชาวอโศก

รายละเอียด

พวกเราชาวอโศกอาตมาได้อธิบายเอาธรรมะพระพุทธเจ้าเท่าที่อาตมามี เท่าที่อาตมารู้เอามาแสดง อุเทส แสดงนิเทศ อุเทสคืออธิบายยาวๆ ส่วนนิเทศคืออธิบายสั้นๆ พวกเราจึงเป็นผู้ที่เกิดในดินแดนอันเป็นสัปปายะ มีบุคคล มีอาหาร มีเครื่องอาศัยต่างๆ มีธรรมะ ที่บริบูรณ์ด้วยสัปปายะ 4 นี่เป็นสิ่งที่เจริญพร้อมแล้ว 

สัปปายะ 4 มีสถานที่ มีบุคคลแล้วเราก็อยู่ในสถานที่นี้ มีบุคคลและก็มีการสื่อกัน ไม่ใช่แต่นั่งฟังธรรมเท่านี้ แม้แต่เวลาอยู่ด้วยกันกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม กระทบกันไปกระทบกันมา ก็มีการรู้กัน นัยๆ โดยปฏิภาณปัญญาสื่อกัน บอกกันในทีหรือตรงๆสอนธรรมะหรืออื่นๆ ทำงานกันไปก็สอนธรรมะกันไป บางคนก็ช่างสอนจนคนข้างๆรำคาญอะไรอย่างนี้ ก็ถ้อยทีถ้อยอาศัย อลุ้มอล่วยกันไป มีประโยชน์แก่กันและกันติงกันเตือนกันจนกระทั่งบางทีก็ไม่ถึงทะเลาะกัน เป็นแต่เพียงสร้างความรำคาญกัน พวกเรามี อวิวาทะ เป็นอยู่ชัดเจนตาม สาราณียธรรม 6 ที่มี สาราณียะ ปิยกรณะ คุรุกรณะ สังคหะ อวิวาทะ สามัคคียะ เอกีภาวะ  นี่เป็นคำยืนยันว่าคำสอนพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร มีพุทธพจน์ 7 ก็สื่อยืนยันความจริงว่ามันเป็นสังคมดีสังคมเจริญ สังคมสงบ สังคมที่ประเสริฐ สังคมของคนเจริญ คนประเสริฐ คนอาริยะที่แท้จริง 

จนกระทั่งเรามี สาราณียธรรม 6 นอกจากรายละเอียดของจิตเจตสิกต่างๆแล้วเรายังมีสภาพของกรรม กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม มีเมตตา เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม มีสาธารณโภคี ต่างคนต่างอยู่ร่วมกันแล้วทำงานมีผลผลิต ได้ผลประโยชน์ได้สิ่งที่เกิดเอามารวมกันกินใช้ร่วมกัน ลาภธัมมิกา ไม่แบ่งแยกไปเป็นส่วนตัวส่วนตนอะไร เผื่อแผ่ร่วมกัน กินร่วมกันใช้เป็นกงสี ใหญ่ ทั้งหมู่บ้านทั้งชาวอโศก ที่อยู่ต่างจังหวัด ต่างถิ่น ต่างที่ก็ถือเป็น สาธารณโภคี เป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องยิ่งใหญ่จริงๆ ถึงขั้น สาธารณโภคี อาตมาภูมิใจมากๆ ว่ายุคนี้นะ 

ที่ดีใจมากเพราะมันเป็นสิ่งที่เกิดได้จริงเป็นจริง ในยุคพระพุทธเจ้าเกิดได้แต่ในวงการสงฆ์ พูดมาหลายๆทีมากมาย ยืนยันย้ำเหตุปัจจัยให้ฟังแล้ว มันเป็นข้อจำกัด ในสิ่งที่มันเป็นไปไม่ได้ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ยุคทาส ยุคคนยังไม่รู้จักสิทธิมนุษยชนอะไรต่างๆ มันเป็นข้อจำกัดทำให้ทำไม่ได้ แต่ยุคนี้ไม่ใช่หรอก ต้องทำได้​แล้วก็เป็นจริงยืนยัน ทำให้คนได้อาศัยเป็นอยู่สุขกัน อย่างที่พวกเรา ผู้ใดเห็นดีเห็นงามแล้วมาเลยมาอยู่ที่นี่ แล้วก็อยู่กันไปจนกระทั่งตายจากกัน เยอะ 40-50 กว่าปีมานี้ แล้วยังจะมีต่อไปอีกสำหรับผู้ที่มีดวงตารู้และก็เห็นดีเห็นงามก็มา  บางคนเห็นดีเห็นงามนะแต่วิบาก มันมาไม่ได้ก็น่าเห็นใจ ไม่รู้จะทำยังไง 

 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 28 สังคมอโศกคือสังคมสาราณียธรรมที่มีสภาวะจริง วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม 2566 แรม 1 ค่ำเดือน 8 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2566 ( 18:32:25 )

สัปปายะ กับ สวรรค์ แยกกัน

รายละเอียด

สัปปายะ กับ สวรรค์ แยกกัน สิ่งที่เรียกว่าสวรรค์ในเรื่องที่มีกิเลสร่วมก็มีการเสพย์รสของการใช้สถานที่ ใช้บุคคล ใช้ซึ่งอาศัยอาหารหรือใช้แม้แต่ธรรมะ เป็นสิ่งที่เสพย์รส ธรรมะก็มีรสนะทำให้ติด ฟังธรรมจะไม่ค่อยรู้เรื่องอะไร จะรู้ว่ามันสนุกมันฟังแล้วอร่อยเป็นรสธรรมะเป็นธรรมรส ก็ได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นรสโลกีย์ เข้าไปฟังคำว่ากันนะ เสร็จแล้วคนที่แสดงธรรมมาอย่างเช่นมหาสมปองก็สนุก ก็เป็นรส หรือยิ่งหยาบกว่านั้น พระแหล่กันมัน แหล่ตรงนี้แล้วก็บอกว่า โยมตอนนี้ยังไม่มีใครใส่บาตรเลยนะ 

ที่มา ที่ไป

รายการเอื้อไออุ่นออนไลน์ วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน 2563


เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 18:44:13 )

เวลาบันทึก 03 สิงหาคม 2563 ( 07:59:07 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 15:59:25 )

สัปปายะคือสบายยิ่งกว่าสุข

รายละเอียด

สัปปายะคือสบายยิ่งกว่าสุขกว่าทุกข์ใครได้ลิ้มรสอันนี้บ้าง ...ยกมือกัน

ใครได้ลิ้มรสไม่สุขไม่ทุกข์ได้บ้าง...ยกมือมากขึ้น ตั้งหลักได้บ้าง

รส ไม่สุขไม่ทุกข์เช่นเราเคยไปติดอบายมุข ผู้หญิงที่เคยไปติดลิปสติกถ้าไม่ได้ทาลิปสติกก็จะร้อนอกร้อนใจ ไปพบหน้าผู้คนไม่ได้ต้องทาลิปสติกก่อนจึงจะเผชิญหน้าผู้คนได้แต่เดี๋ยวนี้ โอ้ ลดแล้วเลิกแล้ว ไม่จำเป็นเลยบางคนอาจจะรังเกียจด้วยซ้ำไป แต่บางคนก็วางใจได้แล้ว ทามันก็มีอะไรมาแปดเปื้อนเท่านั้น เอาออกไม่จำเป็นจะต้องทาด้วยซ้ำไป มันก็ธรรมดาไม่ผลักไม่ดูด ไม่ชอบไม่ชังสำเร็จบริบูรณ์ได้  

หรือใครชอบการพนันอบายมุขติดเหล้าสูบยาเคี้ยวหมากกินอะไรที่มันเป็นของที่เขาเรียกว่าเป็นสิ่งเสพติด มันมีสิ่งที่เป็นธาตุทําปฏิกิริยากับประสาท มีคาเฟอีน นิโคติน จะไปติดไปกินบ้างก็ดี เดี๋ยวตาย ไซยาไนด์ ผู้ที่เคยติดมาแล้วเลิกได้ก็จะรู้ว่ามันไม่เที่ยงมันเป็นเหตุแห่งทุกข์ อารมณ์คนที่เคยมีอันเก่าอันนั้นที่เคยเสพแล้วสุข พอมารู้แล้วว่ามันเป็นภาระมันเป็นทุกข์มันเป็นคู่ของสุข มันหลอกเป็นมายาพวกนี้เป็นนักเล่นกลหลอกเรา เดี๋ยวนี้เราก็ชัดเจนไม่ให้มันหลอกเราได้ มันเป็นเรื่องจริงเป็นแบบชัดเจน 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ชาวอโศกคือชุมชนบุญนิยมที่มีมรรคผลจริง วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม 2563 ที่บวรสันติอโศก


เวลาบันทึก 05 กุมภาพันธ์ 2564 ( 14:41:31 )

สัปปุริสธรรม

รายละเอียด

ธรรมของสัตบุรุษ

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 378


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 21:44:22 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 10:40:40 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 15:59:41 )

สัปปุริสธรรม 7

รายละเอียด

คือ ธรรมของสัตบุรุษ (คนที่มีความเห็นถูกต้อง)

   1. ธัมมัญญู (เป็นผู้รู้ธรรม)

   2. อัตถัญญู (เป็นผู้รู้สาระประโยชน์)

   3. อัตตัญญู (เป็นผู้รู้ตน)

   4. มัตตัญญู (เป็นผู้รู้ประมาณ)

   5. กาลัญญู (เป็นผู้รู้เวลาอันควร)

   6. ปริลัญญู (เป็นผู้รู้หมู่คน)

   7. ปุคคลปโรปรัญญู (เป็นผู้รู้บุคคล)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 23"ธัมมัญญูสูตร" ข้อ 65

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก 


เวลาบันทึก 06 กรกฎาคม 2562 ( 09:00:50 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 13:28:01 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 16:00:01 )

สัปปุริสธรรม 7

รายละเอียด

คือ

1.       ธัมมัญญู – รู้ธรรม

2.       อัตถัญญู – รู้สารประโยชน์

3.       อัตตัญญู – รู้ตน

4.       มัตตัญญู – รู้ประมาณ

5.       กาลัญญู – รู้เวลาอันควร

6.       ปริสัญญู – รู้หมู่คน

7.       ปุคคลปโรปรัญญู – รู้บุคคล

หนังสืออ้างอิง

 “สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ” หน้า 558


เวลาบันทึก 02 พฤศจิกายน 2562 ( 13:24:17 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 13:29:19 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 16:00:25 )

สัปปุริสธรรม 7

รายละเอียด

1. รู้เหตุ - รู้ผล(อัตถ) -  รู้ตน(อัตตา) - รู้ประมาณ(มัตต) - รู้กาลเวลา(กาละ) - รู้บริษัท หมู่กลุ่ม(ปริส) - รู้บุคคล รู้เขา รู้ฐานะกาย ฐานะในของผู้อื่น(ปุคคลปโรปรัญญุตา)

2.1)ธัมมัญญุตา 

2)อัตถัญญุตา 

3)อัตตัญญุตา 

4)มัตตัญญุตา

5)กาลัญญุตา 

6)ปริสัญญุตา 

7)ปุคคลปโรปรัญญุตา

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 292

สมาธิพุทธ หน้า 379


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 21:46:07 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:13:55 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 16:01:08 )

สัปปุริสธรรม 7

รายละเอียด

หลักสัปปุริสธรรม 7 ประการพระพุทธเจ้าเเบ่งช้อยส์ต่างๆ คนจะต้องเข้าใจ

1. ธัมมัญญูตา       (รู้จักทุกองค์ประกอบ) 

2. อัตถัญญูตา       (รู้จักเนื้อหาเป้าหมาย)

3. อัตตัญญูตา       (รู้จักตนเอง)

4. มัตตัญญูตา       (รู้จักประมาณจัดสรรสัดส่วน)

5. กาลัญญูตา       (รู้จักกาลสมัย)

6. ปริสัญญูตา       (รู้จักหมู่กลุ่มบริษัทอื่น) .

7. ปุคคลปโรปรัญญูตา (รู้จักบุคคลอื่น)

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 7 มกราคม 2562

หนังสืออ้างอิง

พระไตรปิฎก เล่ม 23  ข้อ 65


เวลาบันทึก 12 มกราคม 2563 ( 17:13:57 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:27:49 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 16:01:46 )

สัปปุริสธรรม 7

รายละเอียด

สัปปุริสธรรม 7 คือ 

1.ธัมมัญญุตา เป็นผู้รู้จักเหตุ

2.อัตถัญญุตา เป็นผู้รู้จักเป้าหมายจุดประสงค์ 

3.อัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักตน ตัวเราแค่ไหนแล้ว

4.มัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักประมาณ

5.กาลัญญุตา เป็นผู้รู้จักกาล

6.ปริสัญญุตา เป็นผู้รู้จักชุมชน สิ่งแวดล้อม

7.ปุคคลปโรปรัญญุตา เป็นผู้รู้จักบุคคล

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 15 มีนาคม 2563 ( 11:11:16 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:12:04 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 16:02:30 )

สัปปุริสธรรม 7

รายละเอียด

และจะรู้จักใช้สัปปุริสธรรม 7 

1. ธัมมัญญูตา (รู้จักทุกองค์ประกอบ)  

2. อัตถัญญูตา (รู้จักเนื้อหาเป้าหมาย) 

3. อัตตัญญูตา (รู้จักตนเอง) 

4. มัตตัญญูตา (รู้จักประมาณจัดสรรสัดส่วน) 

5. กาลัญญูตา (รู้จักกาลสมัย) 

6. ปริสัญญูตา (รู้จักหมู่กลุ่มบริษัทอื่น) .

7. ปุคคลปโรปรัญญูตา (รู้จักบุคคลอื่น) 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 5 สิงหาคม 2563

หนังสืออ้างอิง

(พตปฎ. เล่ม 23  ข้อ 65)


เวลาบันทึก 04 กันยายน 2563 ( 09:45:54 )

สัปปุริสธรรม 7

รายละเอียด

คือธรรมของสัตบุรุษ (คนที่มีความเห็นถูกต้อง)

1. ธัมมัญญู (เป็นผู้รู้ธรรม)

2. อัตถัญญู (เป็นผู้รู้สาระประโยชน์)

3. อัตตัญญู (เป็นผู้รู้ตน)

4. มัตตัญญู (เป็นผู้รู้ประมาณ)

5. กาลัญญู (เป็นผู้รู้เวลาอันควร)

6. ปริสัญญ (เป็นผู้รู้หมู่คน)

7. ปุคคลปโรปรัญญู (เป็นผู้รู้บุคคล)

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 23 “ธัมมัญญสูตร” ข้อ 65


เวลาบันทึก 14 มีนาคม 2565 ( 21:44:21 )

สัปปุริสธรรม 7 ของสัตบุรุษ

รายละเอียด

จะทำหนักหนามากมายขนาดไหนผู้รู้จักประมาณ มีสัปปุริสธรรม 7 ก็ประมาณไม่ให้ผิดพลาด ความเก่งของสัปปุริสธรรม 7 ประการก็ยิ่งเก่งยิ่งขึ้นๆ เก่งยิ่งขึ้น ถ้าให้อาตมาขยายความสัปปุริสธรรม 7 ประการ ก็พอขยายความได้

สัปปุริสธรรม 7 ประการ มี 

1. ธัมมัญญุตา (รู้จักทุกองค์ประกอบ)  

2. อัตถัญญุตา (รู้จักเนื้อหาเป้าหมาย) 

3. อัตตัญญุตา (รู้จักตนเอง) 

4. มัตตัญญุตา (รู้จักประมาณจัดสรรสัดส่วน) 

5. กาลัญญุตา (รู้จักกาลสมัย) 

6. ปริสัญญุตา (รู้จักหมู่กลุ่มบริษัทอื่น) .

7. ปุคคลปโรปรัญญุตา (รู้จักบุคคลอื่น) 

(พตปฎ. เล่ม 23  ข้อ 65) 

คนที่มีคุณธรรมพวกนี้เป็นคนที่มีวิสัยที่เป็นอจินไตย หรือเป็นคนที่มีความรู้นะ อจินไตย 4 จะบอกว่าความคิดของคนโลกๆ โลกจินตา ก็คัดสรรมาทำงาน ส่วนที่พอเหมาะ ส่วนที่มากเกินไปก็ไม่เอา  จัดสรรได้อย่างเป็นสัดส่วนที่ไม่ตะกละ ให้มันได้คุณภาพไม่ไปห่วงปริมาณ ทำคุณภาพให้ดีจัดสรรมาได้เรื่อยๆ จึงเกิดผลเกิดประโยชน์ เป็น พหุชนหิตายะ(เพื่อหมู่มวลมหาชนเป็นอันมาก เป็นประโยชน์แก่มวลชน โดยรู้จัก ปริสัญญุตา มี ปฏิภาณปัญญารู้ในความเป็นคู่ในอะไรก็แล้วแต่ จะมีความเป็นคู่ที่เปรียบเทียบได้เก่ง เลือกตัดสินสิ่งที่เหนือกว่าได้เอามาใช้เสมอ จึงเป็นคุณภาพที่ยิ่งใหญ่ จนต้องเรียกว่าคุณวิเศษ คุณภาพ คุณภาวะ คุณธรรม คุณธรรมขั้นสูงจึงเรียกว่า คุณวิเศษ เป็นคุณประโยชน์ เป็นคุณค่า เป็นคุณอะไรเยอะแยะ เขาก็มีคำอีกเยอะ เอามาใช้

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ โพชฌงค์ 7 สัปปุริสธรรม 7 โดยพิสดาร วันพุธที่ 14 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 17 เมษายน 2564 ( 19:57:58 )

สัปปุริสธรรม 7 มหาปเทส 4 เปรียบเทียบภาวะคู่ให้ได้เสมอๆ !

รายละเอียด

เพราะศาสนาพุทธมี“สัปปุริสธรรม 7” มี“มหาปเทส 4”ที่ให้ใช้หลักเปรียบเทียบด้วย“ภาวะคู่”ของความเป็น“เทฺว”ไปเสมอไม่ว่า“เทฺว”นั้นจะยิ่งใหญ่สุดๆเท่า“พระเจ้า”ก็ตาม จึงสามารถรู้จักรู้แจ้งรู้จริงใน“ภาวะ 2”ของทุกสรรพสิ่งได้จริงให้้รู้จักรู้แจ้งรู้จริง และสามารถบรรลุถึง“นิพพาน”เป็นที่สุดดั่งเดียวกันได้แท้แต่“เทฺวนิยม” ไม่มี“ความรู้่-ความจริง”ที่จะสัมผัสบรรลุความเป็น“เทฺว”ได้แม้จะเป็น“เทฺว”ยิ่งใหญ่สูงสุดเหมือนศาสนาพุทธ “เทฺวนิยม”ไม่มี“สัปปุริสธรรม 7” ไม่มี“มหาปเทส 4”ชัดเจน “เทฺวนิยม”ไม่ให้อิสระสัมบูรณ์สุดดังที่พุทธมี“กาลามสูตร” มี“นานาสังวาส”ยืนยันไว้ชัดๆ และปฏิบัติกันอย่างเสรี เป็นต้น “พระธรรม”ของ“เทฺวนิยม”คนต้องอยู่ใต้“คำสั่ง (command)” ของ“พระเจ้า”แต่“1 เดียว” ใครคนใดไม่มีสิทธิ์สามารถมีได้เท่าเทียม แม้แค่จะวิจัยวิจารณ์ หรือจะแย้งบ้างก็ห้าม ไม่ให้ใครทำเด็ดขาด 

หนังสืออ้างอิง

เปิดยุคบุญนิยมเล่ม 2 หน้า 478 ข้อที่ 667


เวลาบันทึก 11 กรกฎาคม 2565 ( 14:25:00 )

สัปปุริสสังเสวะ

รายละเอียด

คบหาสัตบุรุษ

หนังสืออ้างอิง

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 234


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 21:46:55 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 10:43:39 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 16:02:47 )

สัปปุริสสังเสวะ

รายละเอียด

ที่ได้มาคบนั้นก็เป็นสัตบุรุษ หรือสัปปบุรุษ อย่างอาตมานี้เป็นสัตบุรุษ คุณเข้ามาคบอาตมา สัปปุริสสังเสวะ มาคบให้บริบูรณ์ มาเข้าใกล้ฟังธรรมให้บริบูรณ์ตามอวิชชาสูตร คุณก็จะได้สัทธรรมที่บริบูรณ์ คุณก็จะมีศรัทธาที่บริบูรณ์ ศรัทธาที่บริบูรณ์นั้นแหละคุณถึงจะทำโยนิโสมนสิการที่บริบูรณ์ได้ อย่างในอวิชชา 10

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม ปฏิบัติศีลให้ถึงอรหัตตผลโดยลำดับ

วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 19 พฤษภาคม 2564 ( 15:24:46 )

สัพพกายปฏิสังเวที

รายละเอียด

รู้จักรู้แจ้งรู้จริง “กาย” ทั้งปวง

หนังสืออ้างอิง

ยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 174


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 21:47:40 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 10:44:56 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 16:03:06 )

สัพพนิมิตเตหิ

รายละเอียด

1. เหตุเค้ามูลเครื่องหมายทั้งหลาย

2. เป็นเครื่องหมาย เป็นเหตุ เป็นเค้า ชัด ๆ เจน ๆ แท้ ๆ จริง ๆ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 362

 


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 21:51:42 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 10:46:28 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 16:03:38 )

สัพพปาปัสสะ อกรณัง

รายละเอียด

คือ การหยุดทำบาปทั้งปวง

หนังสืออ้างอิง

 “คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1หน้า189


เวลาบันทึก 09 พฤศจิกายน 2562 ( 14:54:34 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 13:30:00 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 16:04:05 )

สัพพปาปัสสะ อกรณัง

รายละเอียด

1. ไม่ทำความชั่ว

2. ไม่ให้ทำบาปทั้งปวง

3. สิ่งใดไม่ดี ไม่เป็นคุณค่า ไม่เป็นประโยชน์ท่านไม่ทำแล้ว

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 165,361

คนคืออะไร? หน้า 282


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 21:53:08 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 10:48:52 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 16:04:38 )

สัพพปาปัสสะ อกรณัง สั่งสมเป็นกัมมันตภาพรังสี

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นทุกกรรมจึงมีแต่ดีๆๆ ก็เอาภาษาคำว่ากุศลก็ว่าดี มาเรียกร่วมกัน ทำทุกกรรมมีแต่กุศลมีแต่ดี ส่วนบาปนั้นเลิกแล้ว อย่างไรๆก็ไม่มีบาปเกิด สัพพปาปัสสะ อกรณัง มีแต่กุศลเกิด จิตอย่างนี้สั่งสมไปก็มีแต่สะอาดเลื่อมพราย มีราศีรังสี มีกัมมันตภาพรังสี ส่วนสุดท้ายก็เป็นกัมมะ อันตะ รังสี กัมมันตภาพรังสี อันตะ แปลว่าที่สุด เป็นกรรมที่ทำที่สุด เป็นราศี เป็นรังสี ที่ไปสุดๆ สะอาดสะอ้านผ่องใสมีฤทธิ์แรงออกไปเรื่อย กัมมันตภาพรังสี มีแต่อำนาจ มีแต่พลังเด็ดขาด พลังมีฤทธิ์แรง ไม่มีอะไรสามารถทำร้ายได้

ตัวเองก็ประภัสสร ผ่องใส อะไรก็เข้าไม่ได้ มีแต่สะอาด แวววาว แพรวพราย มีแต่ผ่องใสยิ่งกว่าเพชรใส ไม่ใช่ใสแบบธัมมชโยนะ ใสแบบธัมมชโยเป็นใสแบบมาร เป็นเทวปุตมาร มารหลอกเขาว่าเป็นเทพ หลอกเขาว่าเป็นบุตรพระเจ้า 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 45 ออนไลน์ วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 17 มีนาคม 2564 ( 07:40:38 )

สัพพปาปัสอกรณัง

รายละเอียด

คำว่า บาปกับอกุศลนี้ กุศลเป็นสมบัติ บาปเป็นวิบัติ เพราะฉะนั้นถ้ามีบุญ บุญก็จะเป็นพลังงานจิตที่กำจัดบาปไปหมดเลย เพราะฉะนั้นเมื่อมันหมด มันก็จะหมดทั้งบุญและบาป ปุญญปาปปริกขีโณ ก็สิ้นไปทั้งหมดบุญบาป 

เพราะฉะนั้นผู้ที่หมดอกุศลแล้ว ผู้ที่หมดอกุศลแล้ว ผู้ที่หมดบาปด้วย เอาอย่างนี้ก่อน ผู้หมดบาปคือหมดกิเลส นี้เอามาพูดก่อน ที่จริงผู้หมดบาปมันจะหมดก่อนอกุศลไม่ได้ อกุศลต้องหมดก่อน 

ทีนี้พูดให้ฟังว่า ถ้าผู้ที่หมดบาปแล้ว อกุศลไม่ต้องพูดเลย เพราะท่านหมดไปก่อนแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าผู้ใดยังมีบาป ทำกุศลได้อยู่ ผู้มีบาปนี่ยังทำกุศลได้อยู่ บาปนี่คือกิเลส

บาปนี่คือกิเลส ผู้ที่กิเลสยังมีอยู่ ก็ยังทำดีได้ ทำกุศลได้ ผู้ยังมีกิเลสอยู่อย่างพวกคุณยังไม่หมดกิเลสทีเดียว ก็ยังทำกุศลได้ใช่ไหม แต่ผู้หมดกิเลสหมดบาปแล้ว ไม่มีจะไปทำอกุศลนั้นแน่นอนอยู่แล้ว 

เพราะฉะนั้น ทุกกรรม ที่ผู้หมดบาปแล้ว สัพพปาปัสอกรณัง (ไม่ทำบาปทั้งปวง) จะไม่ทำแล้วอกุศล ไม่มีแล้ว เพราะฉะนั้น กุสลัสสูปสัมปทา(ทำกุศลให้ถึงพร้อม) กรรมทุกกรรมของผู้ที่หมดบาปหมดกิเลสไม่มีหรอกอกุศล กรรมทุกกรรมเป็นกุศลทั้งนั้น นี่คือนัยยะอันละเอียดที่แปล”โอวาทปาฏิโมกข์ 3 “

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ สำนึกรู้เพื่อเข้าสู่โลกที่ดีที่สุด คือโลกโลกุตระ วันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม 2566 แรม 14 ค่ำ เดือน 10 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 15 กุมภาพันธ์ 2567 ( 15:24:16 )

สัพพะ

รายละเอียด

ทั้งหมด

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 40


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 21:53:47 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 10:49:42 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 16:04:55 )

สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง

รายละเอียด

บาปทั้งปวงหยุดเด็ดขาดไม่ทำจริงๆ เป็นอรหันต์ทำกรรมอยู่ แต่บุญก็ไม่ทำแล้ว

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 07 พฤศจิกายน 2562 ( 15:12:26 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:28:44 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 16:05:50 )

สัพพังคี ปัจจังคี

รายละเอียด

สภาพที่มีองค์ประกอบน้อยใหญ่ครบครันพร้อมสรรพ

หนังสืออ้างอิง

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 177 

 เปิดโลกเทวดา หน้า 149


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 21:54:36 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 10:51:21 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 16:06:14 )

สัพพัญญู

รายละเอียด

1. ผู้รู้รอบถ้วนสูงสุด หรือรู้จบสิ้นถ้วนทั่วอย่างเหนือใคร ๆ อันยากจะเป็นได้

2. การเวียนว่ายไปสู่ทุกภพทุกภูมิตามวาระและคุณธรรมของท่านเพื่อสำรอกกรรมและเรียนรู้ให้จบ

3. ผู้รู้ทั่วทั้งหมด , ผู้รู้สรรพธรรมะทั้งปวงสูงสุด

4. ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 144,249

รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 55

พุทธเป็นอเทวนิยมอย่างนี้ หน้า 122

 


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 21:56:07 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 10:53:24 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 07:45:25 )

สัพพโต ปภัง

รายละเอียด

1. แจ่มแจ้ง โปร่ง ใสแจ๋วโดยประการทั้งปวง  สว่างไสว สะสมอธิ-ปัญญา หรือสะสมธาตุรู้ที่ยิ่ง ๆ ขึ้นทั้งหลายทั้งปวง ต่อ ๆ ๆ ไปเอง

2. รู้เห็นชัดแจ้ง แจ่มใสด้วยประการทั้งปวง

3. แจ่มแจ้ง สว่างไสวด้วยประการทั้งปวง

4. ใสสว่างไปหมด ซึ่งก็คือไม่มีรูปร่างลักษณะอย่างใดเลย มีแต่ใสไปหมดคล้ายแสงสว่าง หรือมีลักษณะใส ๆ เหมือนแสงสว่างกระจายอยู่ทั่วไป (จากเปิดโลกเทวดา หน้า 158 – 159,197)

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 5 , 27

ทางเอกภาค 2 หน้า 48,49

อีคิวโลกุตระ หน้า 68


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 21:50:34 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 10:56:19 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 07:46:16 )

สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ

รายละเอียด

1. ธรรมทุกชนิดไม่ควรยึดมั่นถือมั่น หรือไม่ควรไปสิงสู่ ไปยึดเสพแช่อิ่มอยู่

2. เราไม่ควรหลงธรรมะใด ๆ ทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะดี ยอดเยี่ยม-ปานใดก็ตาม

3. อันใดทั้งหลาย ทั้งปวง ไม่ควรยึดเอาไว้ให้ติดแน่นติดแน่

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 50

ทางเอก ภาค 2 หน้า 196

สมาธิพุทธ หน้า 170 


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 21:57:09 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 10:58:55 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 16:06:53 )

สัพเพ ธัมมา อนัตตา

รายละเอียด

1. ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีตัวตน

2. สิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนไม่ใช่ตัวตน

3. ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัวตน

4. ทุกสรรพสิ่งล้วนไม่ใช่ตัวตน

หนังสืออ้างอิง

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 21

เปิดโลกเทวดา หน้า 137

วิถีพุทธ หน้า 43

กำไร-ขาดทุนแท้ของอาริยชน / เราคิดอะไร ฉบับ 274


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 21:58:53 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 11:00:14 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 16:07:36 )

สัพเพ สังขารา ทุกขา

รายละเอียด

สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 199


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 21:59:30 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 11:01:10 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 16:07:53 )

สัพเพ สังขารา อนิจจา

รายละเอียด

ทุกสรรพสิ่งที่ปรุงแต่งกันอยู่ล้วนไม่เที่ยง

หนังสืออ้างอิง

ยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 338


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 22:00:16 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 11:02:04 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 16:08:25 )

สัพเพธัมมา สังขารทั้งหลายเป็นธรรมนิยาม 5 หรือไม่ 

รายละเอียด

แต่ถ้าจะรวมจริงๆ สัพเพธัมมา ธรรมะทั้งหลายทั้งปวงก็อยู่ในธรรมนิยาม 5 นี่แหละ แล้วก็ปรุงแต่งกันไปต่างๆนานาได้ เรียกว่าสังขารทั้งหลาย ปรุงแต่งกันในระดับอุตุ พีชะ จิต แล้วก็ทำให้หลากหลายไปเป็นกรรม  สั่งสมลงไปเป็นธรรม มันก็อย่างนี้ทั้งนั้นแหละ ซึ่งพระพุทธเจ้าท่านแยกแยะไปหมดแล้ว อธิบายชัดเจน 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ชาวอโศกคือชาวหรรษาที่แท้จริง วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 15 พฤษภาคม 2565 ( 19:57:53 )

สัพเพธัมมานาลังอภินิเวสายะ

รายละเอียด

มาถึงกาลามสูตร...มันเป็นเรื่องที่สุดยอด ที่เป็นความละเอียดลออของพระพุทธเจ้า มีคำตอบของพระพุทธเจ้าบอกว่าอย่าไปยึดมั่นถือมั่นในอะไร สัพเพธัมมานาลังอภินิเวสายะ ธรรมะทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ยึดถืออะไร แล้วคุณไปตีทิ้งว่าไม่ยึดอะไรเลย

คำว่ายึดมั่นก็คือไปติดไปหลง การยึดถือแบบอาศัยให้ได้คุณค่าได้ประโยชน์ สุดท้ายคุณก็ไม่ยึดถือว่าเป็นเราเป็นของเรา พรากได้จากกันได้สูญได้ ไม่ใช่เราไม่ใช่ของๆเรา สุดท้ายอาศัยในชีวิตได้ ไม่ใช่อกตัญญู แต่เรารู้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเหตุปัจจัยอาศัยกันและกัน เพราะฉะนั้นอะไรเป็นกุศลอะไรเป็นประโยชน์ อาศัย อะไรไม่เป็นประโยชน์ไม่เป็นกุศลก็ไม่อาศัย ไม่ยาก 

พระพุทธเจ้าสรุปลงท้ายในพระสูตรนี้ว่าหากปฏิบัติธรรมะเหล่านี้แล้วเกิดอกุศลไม่เกื้อกูลเป็นทุกข์ก็ละทิ้งธรรมะนั้น แต่ว่าหากปฏิบัติธรรมะเหล่าใดแล้วเกิดกุศลเกิดความเกื้อกูลเกิดความพ้นทุกข์ก็ควรจะทำธรรมะนั้น

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการวิถีอาริยธรรม กาลามสูตรและเตวิชชสูตร วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม 2561 ที่บวรสันติอโศก

สื่อธรรมะพ่อครู(พระสูตรอื่นๆที่สำคัญ) ตอน กาลามสูตร


เวลาบันทึก 11 กุมภาพันธ์ 2564 ( 19:16:11 )

สัมบูรณ์กับสมบูรณ์ต่างกันอย่างไร

รายละเอียด

สัมบูรณ์มีไม้หันอากาศ สมบูรณ์ไม่มีไม้หันอากาศ ในความหมายของบาลีนั้นเหมือนกันไม่ได้ต่างกันหรอก

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ฌานของพุทธต้องเกิดจากจรณะ 15 วิชชา 8 วันพุธที่ 13 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 30 มกราคม 2564 ( 10:36:17 )

สัมปชัญญะ

รายละเอียด

ความเอาใจใส่,ความพินิจพิเคราะห์

หนังสืออ้างอิง

ยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 251


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 22:01:04 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 11:03:03 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 16:08:56 )

สัมปชานมุสาวาท

รายละเอียด

ไม่มีใครพูดก็ไม่มีใครเชื่อหรอกที่อาตมาพูดนี้ซึ่งมันไม่ง่าย ถ้าไม่มีความรู้พออย่างอาตมาพูดไม่ได้ ใครจะเชื่อใครจะเข้าใจได้แม้จะมีในตำราพระไตรปิฎกเขาก็ยังไม่สามารถเข้ามายืนยันได้เลย แต่ก่อนเขาเชื่อว่ามหาบัวเป็นอรหันต์ เขายังไม่รู้ก็ยังงงๆว่ามหาบัวเป็นอรหันต์ แล้วอรหันต์อะไรง่ายๆตื้นๆก็ยังกินหมากปากเปรอะอยู่เลย ติดสิ่งเสพติดง่ายๆอย่างนี้ไม่รู้ในสิ่งเสพติด แล้วอาตมาก็เคยพูดแล้วว่ามหาบัวนี้แย่มากที่ว่า รู้ทั้งรู้ว่าตัวเองรู้ว่า สิ่งนี้เป็นสิ่งเสพติดก็เคยคิดเลิกและก็พยายามเลิกแต่ก็เลิกไม่ได้ อันนี้ขอยืนยันว่าไม่ได้ไปใส่ไคล้ไม่ได้ไปใส่ความเป็นจริงของมหาบัว ว่าเขารู้ว่าเป็นสิ่งเสพติด แต่เขาก็หลอกซ้ำทั้งๆที่ตนเองก็รู้ว่าเป็นสิ่งเสพติด แต่กลบเกลื่อนว่าไม่ใช่สิ่งเสพติด นี่เข้าข่ายที่พระพุทธเจ้าบอกว่าคนที่โกหกในสิ่งที่รู้ว่าเป็นสิ่งไม่จริงคนนี้ไม่มีความชั่วใดที่เขาจะทำไม่ได้ สัมปชานมุสาวาท 

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันพุธที่ 8 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 01 เมษายน 2563 ( 11:07:03 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 09:37:35 )

สัมปชานมุสาวาท

รายละเอียด

อันนี้แย่มาก โกหกทั้งๆที่ตัวเองก็รู้ว่าโกหก พระพุทธเจ้าตรัสว่าคนที่โกหกทั้งทั้งที่รู้ไม่มีความชั่วอันไหนที่ทำไม่ได้ คนนี้ทำชั่วได้ทุกอย่าง 

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2563


เวลาบันทึก 28 ธันวาคม 2563 ( 14:56:47 )

สัมปชานมุสาวาท

รายละเอียด

โกหกซ้ำโกหกซ้อน พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าคนที่โกหกทั้งๆที่รู้ คนๆนี้อย่าไปคบเป็นอันขาด ไม่มีอะไรที่จะไม่โกหก โกหกได้หมด โกหกทั้งๆที่ตนรู้ว่านี่คือการโกหก นี่เป็นคำตรัสของพระพุทธเจ้านะ เป็น สัมปชานมุสาวาท เป็นเรื่องที่สุดสงสาร ทำไมเสื่อมไปหนัก ศาสนาพุทธ ไปหลงงมงายกับผู้ที่มิจฉาทิฏฐิหนัก แล้วก็ไปหลงว่าเป็นผู้ที่ประเสริฐสุดยอด มันโอ้โห คนละขั้วกับความจริง 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 23 ความมหัศจรรย์ของการแยกกายแยกจิตได้ วันจันทร์ที่ 10 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 25 มกราคม 2565 ( 19:22:20 )

สัมปชานะ , สัมปชาโน

รายละเอียด

1. รู้ทั่วพร้อมอยู่ในปัจจุบันนั้น

2. ความรู้สึก , ความคิด

หนังสืออ้างอิง

ยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 251-260


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 22:02:22 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 11:05:57 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 16:09:59 )

สัมปติ

รายละเอียด

ปฏิกิริยาของกาย วาจา ใจไหวขึ้นคราใด ก็มี “การทำ” ขึ้นมาทันทีครานั้น ทำปุ๊บในบัดใดก็เป็นอันทำปั๊บในบัดนั้น

หนังสืออ้างอิง

รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 213


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 22:03:02 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 11:06:51 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 07:47:25 )

สัมปทา

รายละเอียด

ยังสัมมาให้ถึงพร้อม

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 361


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 22:03:50 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 11:07:42 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 07:46:39 )

สัมปทาติ

รายละเอียด

ส่งต่อ

หนังสืออ้างอิง

(จากยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 260)


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 22:04:24 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 11:08:35 )

สัมปทิตตะ

รายละเอียด

ก่อไฟ

หนังสืออ้างอิง

(จากยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 251)


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 22:05:01 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 11:09:17 )

สัมปยุต

รายละเอียด

ประกอบแล้ว

หนังสืออ้างอิง

กำไร-ขาดทุนแท้ของอาริยชน / เราคิดอะไร ฉบับ 267


เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2562 ( 22:05:41 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 11:10:02 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 07:47:01 )

สัมประสิทธิ์ (coefficient)

รายละเอียด

คือ ความจริงของแต่ละคนที่มี "แกนสมาธิ" (จิตที่ตั้งมั่นอย่างคงตัวคงที่แล้วเป็นหลักยืน) กับ "ประสิทธิภาพ" ของแต่ละคน เมื่อทำงานในปัจจุบันใด ก็จะเกิดเป็น "ตัวแปร" ที่เพิ่มพูนความก้าวหน้าพัฒนา

ที่มา ที่ไป

คนจะมีธรรมะได้อย่างไร ? หน้า 114


เวลาบันทึก 24 พฤศจิกายน 2562 ( 18:00:23 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:29:34 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 07:56:25 )

สัมประสิทธิ์ (coefficient)

รายละเอียด

คือ ความจริงของแต่ละคนที่มี "แกนสมาธิ" (จิตที่ตั้งมั่นอย่างมี "ความคงที่แล้ว" เป็นหลัก) กับ "ประสิทธิภาพ" ของแต่ละคน และสำคัญยิ่งคือมี "ปัญญา" (จิตที่เป็น "ความรู้โลกุตระ" อยู่อย่างพัฒนา) ซึ่งเป็น "ตัวแปร" ที่เพิ่มพูนความก้าวหน้าระดับคูณ

หนังสืออ้างอิง

รวมคนจะมีธรรมะได้อย่างไร ? หน้า 141


เวลาบันทึก 06 ธันวาคม 2562 ( 13:33:56 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 13:30:53 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 07:56:43 )

สัมประสิทธิ์ (Coefficient)

รายละเอียด

คือ ตัวแปร สำคัญแท้ๆของ“พลังงานจิต”ที่แต่ละคนสามารถทำได้ ซึ่ง ผลสูงสุดที่จะได้ที่วิเศษยิ่งๆนั้นก็คือ จะมีคุณวิเศษลักษณะ พิเศษขั้น“ปริสุทธา,ปริโยทาตา,มุทุ,กัมมัญญา,ปภัสรา”อัน เป็น“องค์คุณวิเศษ” 5 ประการที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วนำ มาประกาศในโลกมนุษย์ ให้คนทั้งหลายศึกษา“ความรู้”นี้ และนำไปปฏิบัติจนกระทั่งเกิด“ความจริง”ได้แท้จริง พระอรหันต์ทุกองค์มี“พลังงานจิต”ที่มี“สัมประสิทธิ์ (coefficient)”นี้เป็นเครื่องอาศัย เป็นคุณสมบัติของ“อุเบกขา”

หนังสืออ้างอิง

 คนจนที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1  หน้า 330


เวลาบันทึก 29 ธันวาคม 2562 ( 14:09:19 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:30:29 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 07:57:11 )

สัมประสิทธิ์ Coefficient

รายละเอียด

สัมประสิทธิ์ Coefficient อาตมาพยายามจะทนอยู่ต่อไปให้ยาวนานอาตมารู้ตัวว่าตัวเองเหนื่อยเร็ว  ก็พยายามที่จะสร้างพิสูจน์สัมประสิทธิ์  Coefficient เพราะจะเหนื่อยน้อยกว่านี้หรือเหนื่อยช้ากว่านี้ได้ไหมให้หนุ่มขึ้นกว่านี้ได้ไหม  หรือจะทรงสภาพนี้ได้ต่อไป  ดูตอนอายุ 90 หรือ 96 ได้เพิ่มมา  สองนักษัตรหากถึง 96  แล้วยังมีสิ่งแสดงว่าดูดีขึ้น  มันน่าจะแก่ไปเยอะแต่ทำไมดีขึ้น  เหมือนทุกวันนี้  ไม่น่าเหมือน 86  แต่ไม่หง่อมไปกว่านั้น  การฝืนร่างกายนี้ไม่ใช่เล่นหาก 96  แล้วยังดูดี  จะมีอะไรอื่นเป็นหลักฐานประกอบยืนยันว่า ทฤษฎีพระพุทธเจ้า  ทำให้อายุยืนนานได้  ไม่ต้องไปพึ่งพาหมอเกาหลีไปทำศัลยกรรมแต่เปลือก  ตอนนี้เอาจากแก่นแท้เนื้อในมายืนยัน

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต สันติอโศก  วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 07 ตุลาคม 2562 ( 12:30:21 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:31:59 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 07:58:40 )

สัมประสิทธิ์ Coefficient เป็นเช่นใด

รายละเอียด

มีสัปปายะ 4 ครบครัน เราจะขยายสัมประสิทธิ์ ให้เกิดประสิทธิผล ให้เกิดพลังงานที่จะไปสู่ความสำเร็จเพิ่มขึ้นเรียกว่าสัมประสิทธิ์ จะชัดเจนมีพลังงานตามความเป็นจริง มีฤทธิ์อำนาจมีผลทำให้เกิดเป็นประสิทธิผล เจริญก้าวหน้า จึงเป็นชื่อสัมประสิทธิ์ Coefficient

คนที่เข้าใจแสวงหาและศึกษาก็จะเข้าใจ อาตมาก็จำนนต้องใช้ภาษาอังกฤษ Coefficient มันก็เข้าใจเพิ่มขึ้น มีคนรับรู้ได้เข้าใจในสาระเนื้อแท้ โดยอาศัยพยัญชนะพวกนี้ ก็จะเกิดประโยชน์ขึ้นไปเรื่อยๆ คนที่เขาไม่ศรัทธาหมั่นไส้ ก็ช่วยไม่ได้ แต่ขอร้องเถอะมันจะเสียประโยชน์ด้วยซ้ำ หากตั้งใจฟังด้วยดีย่อมเกิดปัญญา มีประสิทธิภาพได้ประโยชน์ได้ความดี

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ก่อนฉัน ที่โรงเรียนผู้นำ จ.กาญจนบุรี สัปปายะ 4 ที่มีสัมประสิทธิ์ วันอังคารที่ 6 มีนาคม 2561


เวลาบันทึก 10 กุมภาพันธ์ 2564 ( 17:19:36 )

สัมประสิทธิ์ของพระโพธิสัตว์ย่อมไม่เหมือนเสขบุคคล

รายละเอียด

บริสุทธิ์มันก็ต้องรู้ส่วนที่คุณต้องทำตามลำดับ คุณจะไปมั่ว เอามาทั้งก้อน เอามาทั้งใหญ่เลยไม่ได้ ต้องแบ่งส่วนออกมาทำตามลำดับ อย่าไปทำ ทั้งก้อนเลย กิเลสคุณเท่าภูเขา คุณก็จะเอาภูเขามาทลายเลย คุณก็ต้องค่อยๆแซะ ค่อยๆแบ่งส่วน อ้าว เท่านี้ขีดเส้น ตีผัง เอาเท่านี้ก่อน อันนี้เราไปใช้งาน เราใช้งานที่ว่า รู้จักจิตแล้วเราไว้ใช้งาน นี่มัน advance มันเป็นความรู้ที่มันสูง

ยาก แม้แต่ผมก็ยังหยิบมาอธิบายเป็นสภาพให้มันเป็นตัว อธิบายเป็นคำๆเลยยังไม่ได้ แล้วมันจะไปทำให้เกิดสรีระที่มันจะต้องก้าวหน้าทั้งกายคือรูปกับนาม อะไรยังไงยังไม่เก่ง ไปขับเคลื่อนยังไงไปกดปุ่มไหน รหัสไหน ตัวไหน

ที่มา ที่ไป

สื่อธรรมะพ่อครู(ปฏิจจสมุปบาท) ตอน การใช้นาม 5 ให้เกิดสัมประสิทธิ์

วันที่ 14 กรกฎาคม 2561


เวลาบันทึก 01 มีนาคม 2564 ( 15:28:30 )

สัมประสิทธิ์ของพระโพธิสัตว์ในการมีชีวิต 151 ปี

รายละเอียด

ถ้าอาตมามาชาตินี้ไม่ได้มาทำอันนี้อาตมาคงจะเป็นคนที่เกิดมาสูญเปล่าเสียชาติเกิด แต่แล้วมาทำอ้นนี้แล้วถึงรู้สึกตัวว่าไม่สูญเปล่าใครจะหาว่าอาตมาหลงตัวก็ตาม อาตมาว่าชีวิตอาตมามีค่า เพราะตีราคาธรรมะโลกุตระของพระพุทธเจ้าไม่ได้ และมีผู้มารับได้ไม่สูญเปล่า เดี๋ยวนี้มีผู้รับทางเทคโนโลยีก็ไม่น้อย ถ้าเป็นอย่างนี้ตลอดไปอาตมาคงตายไม่ลงง่ายๆ พยายามที่จะอยู่ จริงๆมันมีผลนะ คนเราที่ยังไม่อยากตายมีทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์สรีระ ก็ช่วยชูชีวิตให้ยืนยาวด้วย มันจริง อาตมาถึงบอกว่า ที่พูดไปแล้วก็ไม่ได้เจตนาตั้งใจมีเลขจะต้องอายุยาว 151 ปีนะ ก็เป็นเรื่องพูดกันเล่นๆ แม้ความเป็นจริง หากสังขารร่างกายชีวิตยืนยาวไปได้ถึง 100 ปีก็ไม่ใช่เรื่องเล่นนะ ไม่ใช่ 100 ปีแต่นอนติดเตียงนะ แต่100 ปีก็ยังแสดงธรรมอยู่อย่างนี้ อาจจะลดไปบ้างไม่แข็งแรงกระปรี้กระเปร่าดีดดิ้น

เหมือนดช.ภูมิ 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 28 มกราคม 2563 ( 18:30:49 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:33:24 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 07:59:38 )

สัมประสิทธิ์ของอาริยชนคนศาสนาพุทธ

รายละเอียด

ส่วนสัมประสิทธิ์ที่เป็นของอาริยชนนั้น อาริยชนของศาสนาพุทธนั้นจริงๆคือผู้ที่มีไตรสิกขาที่มีประสิทธิผล ซึ่งเป็นหลักแห่งการศึกษาใหญ่ของศาสนาพุทธ ไม่มีอะไรออกเกินไปกว่าไตรสิกขา แต่คนก็ไม่เข้าใจ แล้วเขาก็ออกนอกกรอบของไตรสิกขา ผิดเพี้ยนไป เช่น

ศีลเขาก็ปฏิบัติอย่างหนึ่ง สมาธิก็ไปนั่งหลับตา ซึ่งอธิศีล อธิจิต อธิปัญญานั้นแยกจากกันไม่ได้ทุกเม็ดทุกขั้นตอน ทุกการปฏิบัติที่จะเพิ่ม อธิ การก้าวหน้าขึ้น จะต้องไปด้วยกัน มีความเป็นปฏิสัมพันธ์ ศีล สมาธิ ปัญญา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา จะต้องได้สัดส่วนไปด้วยกันเสมอๆ ถ้าผู้ที่เข้าใจอย่างไม่ถูกต้อง การปฏิบัติธรรมของศาสนาพุทธ ถึงไม่เป็นการเจริญเป็นไปอย่างมีลำดับ เป็นที่น่าอัศจรรย์ ตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัส ถ้าทำได้เป็นลำดับที่เป็นสัดส่วนพอเหมาะพอดี จะเจริญตามลำดับได้เร็วได้ดี ได้ประเสริฐสูงสุด มีคุณภาพมีประสิทธิผลที่สูงที่สุด ทั้งเร็ว แรง มาก ก้าวหน้า อย่างที่ดีที่สุด

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้างานพุทธาภิเษกฯ ครั้งที่ 42 ปฐมอโศก ความจนที่มีสัมประสิทธิ์ ตอน 2 วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561

สื่อธรรมะพ่อครู(พลังสัมประสิทธิ์) ตอน สัมประสิทธิ์สองทิศทางที่ต่างขั้ว


เวลาบันทึก 25 กุมภาพันธ์ 2564 ( 16:00:19 )

สัมประสิทธิ์ของอาริยชนคนศาสนาพุทธ

รายละเอียด

ส่วนสัมประสิทธิ์ที่เป็นของอาริยชนนั้น อาริยชนของศาสนาพุทธนั้นจริงๆคือผู้ที่มีไตรสิกขาที่มีประสิทธิผล ซึ่งเป็นหลักแห่งการศึกษาใหญ่ของศาสนาพุทธ ไม่มีอะไรออกเกินไปกว่าไตรสิกขา แต่คนก็ไม่เข้าใจ แล้วเขาก็ออกนอกกรอบของไตรสิกขา ผิดเพี้ยนไป เช่น

ศีลเขาก็ปฏิบัติอย่างหนึ่ง สมาธิก็ไปนั่งหลับตา ซึ่งอธิศีล อธิจิต อธิปัญญานั้นแยกจากกันไม่ได้ทุกเม็ดทุกขั้นตอน ทุกการปฏิบัติที่จะเพิ่ม อธิ การก้าวหน้าขึ้น จะต้องไปด้วยกัน มีความเป็นปฏิสัมพันธ์ ศีล สมาธิ ปัญญา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา จะต้องได้สัดส่วนไปด้วยกันเสมอๆ ถ้าผู้ที่เข้าใจอย่างไม่ถูกต้อง การปฏิบัติธรรมของศาสนาพุทธ ถึงไม่เป็นการเจริญเป็นไปอย่างมีลำดับ เป็นที่น่าอัศจรรย์ ตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัส ถ้าทำได้เป็นลำดับที่เป็นสัดส่วนพอเหมาะพอดี จะเจริญตามลำดับได้เร็วได้ดี ได้ประเสริฐสูงสุด มีคุณภาพมีประสิทธิผลที่สูงที่สุด ทั้งเร็ว แรง มาก ก้าวหน้า อย่างที่ดีที่สุด

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเชัา พุทธาภิเษกฯ ครั้งที่ 42 ปฐมอโศก ความจนที่มีสัมประสิทธิ์ ตอน 3 วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 ที่บวรปฐมอโศก

สื่อธรรมะพ่อครู(พลังสัมประสิทธิ์) ตอน สัมประสิทธิ์สองทิศทางที่ต่างขั้ว


เวลาบันทึก 27 กุมภาพันธ์ 2564 ( 20:23:57 )

สัมประสิทธิ์ของอาริยบุคคล

รายละเอียด

เรามาเข้าสู่ความจนที่มีสัมประสิทธิ์ ตามที่ตั้งไว้ให้อาตมาบรรยาย ก็ไม่มีปัญหาอะไร ก็ขึ้นต้นอีกที ย้ำว่า ความจนที่มีสัมประสิทธิ์ดังที่ว่าเป็นความจนของอาริยบุคคล เป็นความจำแบบโลกุตระ ไม่ใช่ความจนที่ทั่วไปปุถุชนคนสามัญเขาจนกันมันไม่ใช่ แต่เป็นความจนที่มีสัมประสิทธิ์สำคัญ ที่อาตมาใส่คำว่าสำคัญ เพราะว่าในโลกีย์เขาก็มีสัมประสิทธิ์ มีอัตราเร่งการก้าวหน้าทำร้ายสังคม โลภโมโทสัน ฆ่าแกงกัน อย่างเกาหลีเหนือ ที่อาตมายกตัวอย่างเป็นของจริง คืออย่างเกาหลีเหนือ นี่จริงๆเลย เขาอยู่ในภพของเขาจริงๆ ว่าเขาจะต้องเอาอันนี้ ซึ่งจริงๆลึกๆเราก็เห็นใจ เพราะว่าเขาโดดเดี่ยวในยุคนี้ เขาจะไปพึ่งจีนแผ่นดินใหญ่หรือเกาหลีใต้บ้าง ก็เข้าใจ แต่ก็ยาก เพราะเกาหลีใต้ก็ต้องคิดว่าถ้าจะไปเห็นใจเกาหลีเหนือ โลกเขาก็ไม่เอาด้วยนะ แต่มันก็มี DNA เดียวกัน มันเป็นความซับซ้อน แต่ก็ทำอย่างไรได้ ในเมื่อเกาหลีเหนือไปเลือกเส้นทางที่โลกเขาไม่เอาแล้ว แกก็เป็นตัวเล็กนิดเดียว แล้วเอาจริงเอาจังยึดมั่นถือมั่นสูงสุดในโลกขณะนี้ ลักษณะหนึ่งก็คือเกาหลีเหนือ ลักษณะหนึ่งก็คือสหรัฐอเมริกา ส่วนของรัสเซียกำลังกระจายไปมีปัญญาเสริมสูงขึ้น เกาหลีเหนือก็พอเข้าใจว่าไม่ค่อยดี อเมริกาก็ไม่ค่อยดี อย่างจีนแผ่นดินใหญ่ ก็ดูเข้าที ก็เลยมองกัน แต่เขายังมองไม่เห็นไทย แต่เขาพอรู้ มีกระแสแล้ว แต่ยังไม่รู้ รู้ว่ามีอิทธิพลอะไรมากมายนะ ท่าทีของเขา อาตมาอธิบายเอาโมเดลตัวอย่างพวกนี้มาประกอบเป็นตุ๊กตาอธิบาย จะได้เข้าใจชัดเจน สังคมโลกก็เป็นเช่นนี้

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเชัา พุทธาภิเษกฯ ครั้งที่ 42 ปฐมอโศก ความจนที่มีสัมประสิทธิ์ ตอน 3 วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 ที่บวรปฐมอโศก

สื่อธรรมะพ่อครู(ศีล สมาธิ ปัญญา) ตอน สร้างสัมประสิทธิ์คนจนอาริยะด้วยไตรสิกขา


เวลาบันทึก 27 กุมภาพันธ์ 2564 ( 15:20:18 )

สัมประสิทธิ์ต้องเพิ่มอุปจยะให้มันสดชื่น

รายละเอียด

คุณพูดและเขียนพยัญชนะมาถูก จริงๆแล้วจะทำสภาวะได้ถูกต้องไหมก็พยายามอ่านอาการ ลิงค นิมิต อุเทส ตามที่อาตมาขยายความ แล้วไปสังเกตอ่านอาการของจิต พลังงานทางจิต ที่เราพยายามทำเรียกว่าอภิสังขาร ปรุงแต่งจิตของเราให้มีพลังงานที่ จะมีวิบากมีอะไรที่สามารถที่จะ ไม่ทรุดไม่เสื่อม มันจะมีพลังงานตื่น พลังงานก้าวหน้า พลังงาน อุปจยะ ภาษาวิชาการ รู้จิตอุปจยะ ไม่ใช่ปล่อยให้เป็น ชรตา ในลักขณรูป 4 ที่มีอุปจยะ สันตติ ชรตา อนิจจตา อนิจจตา สรุปว่าทุกอย่างว่าไม่เที่ยง ลักษณะสูงสุดในรูปธรรมต่างๆก็จะอยู่ที่ 3 ตัว อุปจยะ เกิด ชรตาก็เสื่อมไปตามสภาพ สันตติ คือตัวที่อยู่กลางจะให้ต่อหรือจะให้ดับ หากไม่ต่อก็จะเสื่อมไป ชรตาไปตามกาล เราต้องอ่านลักษณะต่างๆ เมื่ออ่านลักษณะต่างๆได้แล้ว สัมประสิทธิ์หมายความว่า เราจะต้องเพิ่ม อุปจยะ ให้มันสดชื่น เพิ่มจิตตัวที่เกิด แต่ไม่ใช่เกิดเพราะกิเลสเป็นตัวบงการตัวประกอบเป็นสสังขาริกัง ไม่ใช่ แต่อยากให้พลังงานจิตของเรามันตื่น ก็คือยังไม่ยอมตาย อย่างมีปัญญา กำหนดหมาย โดยให้สัญญากำหนดหมายตามที่เรามีปัญญาว่า จิตเช่นนี้ทำให้เกิด อุปจยะ อยู่เรื่อยๆ  อาตมาพูดจากสภาวะตัวเอง ในลักขณรูป 4 จากรูป 24 อุปาทายรูป ศึกษาไปอย่างที่ว่านี้ 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม 2563


เวลาบันทึก 12 สิงหาคม 2563 ( 12:12:15 )

สัมประสิทธิ์ทางนามธรรม

รายละเอียด

แต่ว่าพวกเราดิ้นรนมาเป็นคนจนแบบนี้ คนจนที่มีสัมประสิทธิ์สำคัญ เป็นสัมประสิทธิ์สำคัญ เป็นสัมประสิทธิ์ทางนามธรรม ที่จริงคำว่า Coefficient เขาใช้ในทาง สสาร ทางวัตถุ ทางพลังงานทางสสาร แต่เรามาใช้ทางนามธรรมจิตวิญญาณ เอามาเปรียบเทียบ ไม่มีใครเขาเอามาใช้หรอกอาตมาเอามาใช้เอง ซึ่งความจนที่มีสัมประสิทธิ์นั้นเป็นความจนที่เจริญยิ่ง เป็นความจนอาริยะเพราะมีประสิทธิภาพพิเศษหรือว่าสำคัญ จึงเป็นคนจนพิเศษ ที่แตกต่างจากผู้ที่คนจนสามัญเขา ถ้าเป็นคนจนที่มีความสามารถต่อหน้าที่ จึงมีประสิทธิภาพ ยิ่งมีความพร้อมไปด้วยกัน นี่คือ Coefficient เพราะฉะนั้นจึงอยู่ร่วมกันอย่างสนิทเนียน อยู่ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมีความสุขมีความเจริญนานาประการ ที่มันเป็นความเจริญก้าวหน้าของความเป็นมนุษย์

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้างานพุทธาภิเษกฯ ครั้งที่ 42 ปฐมอโศก ความจนที่มีสัมประสิทธิ์ ตอน 2 วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561

สื่อธรรมะพ่อครู(พลังสัมประสิทธิ์) ตอน สัมประสิทธิ์สองทิศทางที่ต่างขั้ว


เวลาบันทึก 25 กุมภาพันธ์ 2564 ( 15:05:46 )

statistics

ติดต่อสอบถาม

Facebook : test

Youtube : Name

Twitter : Name

Line : Name

Telegram : Name

Wechat : Name

Skype : Name

Copyright © 2018 Borvornsocial.net all right are reserved. developer สงวนลิขสิทธิ์