@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก
@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก

อภิธานศัพท์ (Glossary) จัดเป็นฐานข้อมูลด้านโลกุตระที่สมบูรณ์ที่สุดที่คัดมาจากหนังสือ คำเทศน์ ฯ

คู่มือการค้นหาอภิธานศัพท์อโศก หรือ ห้องสมุดโลกุตระ 50 ปี

เอกสาร : https://docs.google.com/document/d/1HLGedxqTAOTOTQKGbO6M4qMremQ8K1jBWKRYDDt6MRQ/edit

วีดีโอ Loom 2 : https://www.loom.com/share/e824e62ec1eb4567848e94af124a7ed5

วีดีโอ Loom 1https://www.loom.com/share/2445744a08e74bca95d2f1d2a0526044

วีดีโอ YouTube : https://youtu.be/QyXcGmzhLmk

 

 

อภิธานศัพท์ (ทั้งหมด) พบ 28,074 รายการ

อบายภูมิ 4

รายละเอียด

คือพื้นเพจิตใจ 4 อย่างนี้ เป็นเหตุแห่งความฉิบหาย

1. นรก (นิรยะ) ความเร่าร้อนใจ

2. กำเนิดดิรัจฉาน (ติรัจฉานโยนิ) เกิดความมืดมัวโง่เขลา

3. อสุรกาย (อสุรกายะ) ความขลาดกลัว

4. ภูมิเปรต (ปิตติวิสัย) ความขี้โลภหิวกระหาย

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 25  "อัคคิสูตร"  ข้อ 273

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 20 มิถุนายน 2562 ( 12:42:06 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 15:46:43 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 04:28:04 )

อบายภูมิ 4

รายละเอียด

คือ พื้นเพจิตใจ 4 อย่างนี้ เป็นเหตุแห่งความฉิบหาย

1. นรก (นิรยะ) ความเร่าร้อนใจ

2. กําเนิดดิรัจฉาน (ติรัจฉานโยนิ)เกิดความมืดมัวโง่เขลา

3. อสุรกาย (อสุรกายะ) ความขลาดกลัว

4. ภูมิเปรต (ปิตติวิสัย) ความโลภหิวกระหาย

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 25 “อัคคิสูตร” ข้อ 273


เวลาบันทึก 13 มีนาคม 2565 ( 12:21:46 )

อบายมุข

รายละเอียด

คือ หัวหน้าใหญ่ของความเสื่อมต่ำเลวร้ายที่ร้ายแรงที่สุด ทุกประเทศถ้ามีคนชนิดนี้ คือ ไปเหลิงในอำนาจ ไปเห็นแก่ตัว ไปหลงโลกธรรม 8 ไม่ใช้ธรรมะ ไม่ใช้โอกาส ไม่ใช้สิ่งที่เป็นประโยชน์ไปเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ในการทำหน้าที่การงานของตนเองให้ดีที่สุด นี่คือผีร้ายของประเทศเป็นเรื่องที่เลวร้ายใหญ่มาก เลวยิ่งกว่านักเลงอันธพาลประจำถิ่น ซึ่งเป็นโจรชั้นต่ำ ผู้นำเลว ผู้บริหารเลว ก็เป็นจอมโจรบัณฑิต เป็นจอมโจรชั้นสูง จะเลวทรามซับซ้อนร้ายยิ่งกว่ามาก มีผลกระทบเลวร้ายต่อมนุษยชาติ ต่อคนส่วนใหญ่เดือดร้อนไปทั่วโลก ทำให้เมืองไทย คนไทยก็รับผลวิบากไป ก็ไม่ดี

หนังสืออ้างอิง

 “สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ” หน้า 518


เวลาบันทึก 02 พฤศจิกายน 2562 ( 12:13:41 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 15:48:28 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 04:28:35 )

อบายมุข

รายละเอียด

ชัดเจนในอบายมุข มันเป็นของต่ำมันเป็นของไม่ดี เอาให้ชัดเจนอะไรที่เป็นอบายมุขที่เรากำลังรู้ เราก็ดูจากผู้ใหญ่ชาวอโศกที่ไม่ทำแล้ว ใช่ไหม ผู้ที่เรายกย่องแล้วท่านไม่ทำเลย ก็ต้องเข้าใจให้ได้ ต้องเอาให้ดีอย่างที่ผู้ใหญ่ที่ท่านทำดี ถ้าเราไปทำไม่ดีมันก็จะต่ำเราก็จะไม่เจริญ เห็นด้วยปัญญาเข้าใจให้ได้ชัดเจน ว่าเราจะต่ำ จะวุ่นไปกับอบายมุขไปตลอดเราจะไม่เจริญเหรอ ถามตัวเอง ไปตลอด เราว่ามันต่ำ แล้วเราจะไปเอาสิ่งที่ต่ำสิ่งที่เลวมันฉลาดหรือโง่ ...ก็จบ

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 16 กุมภาพันธ์ 2563 ( 11:25:41 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 12:58:44 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 10:40:29 )

อบายมุข 6

รายละเอียด

คือ ทางแห่งความฉิบหาย 6 ทาง

1. เสพของมึนเมาให้โทษ มีโทษ คือ 

     - เสียทรัพย์

     - เป็นบ่อเกิดแห่งโรค

     - เป็นเหตุให้เสียชื่อเสียง

     - เป็นเหตุให้ไม่รู้จักละอาย

     - เป็นเหตุบั่นทอนกำลังปัญญา

2. เที่ยวกลางคืน มีโทษ คือ

     - ไม่คุ้มครองรักษาตัวเอง

     - ไม่คุ้มครองรักษาครอบครัว

     - ไม่คุ้มครองรักษาทรัพย์สมบัติ

     - เป็นที่ระแวงของคนอื่น

     - ผู้นั้นมักพูดโกหกในที่นั้น ๆ

     - เหตุแห่งทุกข์มากมายเข้ามารุมล้อม

3. เที่ยวดูมหรสพการละเล่น มีโทษ คือ

     - มีรำที่ไหน ไปที่นั่น

     - มีขับร้องที่ไหน ไปที่นั่น

     - มีประโคมดนตรีที่ไหน ไปที่นั่น

     - มีเสภา (กลองยาวประกอบดนตรี) ที่ไหน ไปที่นั่น

     - มีเพลงที่ไหน ไปที่นั่น

     - มีเถิงเทิง (กลองยาว) ที่ไหน ไปที่นั่น

4. เล่นการพนัน มีโทษ คือ

     - ผู้ชนะย่อมก่อเวร

     - ผู้แพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป

     - เสื่อมทรัพย์ในปัจจุบัน

     - คำพูดของผู้เล่นพนันมักฟังไม่ขึ้น เชื่อถือไม่ได้

     - ถูกผู้คนหมิ่นประมาท

     - ไม่มีใครอยากแต่งงานด้วย เพราะเลี้ยงครอบครัวไม่ได้

5. คบคนชั่วเป็นมิตร มีโทษ คือ

     - ชักจูงให้เป็นนักเลงการพนัน

     - ชักจูงให้เป็นนักเลงเจ้าชู้

     - ชักจูงให้เป็นนักเลงเหล้า

     - ชักจูงให้เป็นนักเลงหัวไม้ (ตีรันฟันแทง)

     - ชักจูงให้เป็นคนคดโกง

6. เกียจคร้านการทำงาน มีโทษ คือ

     - มักอ้างว่าหนาวนัก จึงไม่ทำงาน

     - มักอ้างว่าร้อนนัก จึงไม่ทำงาน

     - มักอ้างว่าเวลายังเช้าอยู่ จึงไม่ทำงาน

     - มักอ้างว่าเวลาเย็นแล้ว จึงไม่ทำงาน

     - มักอ้างว่าหิวนัก จึงไม่ทำงาน

     - มักอ้างว่ากระหายนัก จึงไม่ทำงาน

เมื่ออ้างเลศผัดเพี้ยนการงานอยู่อย่างนี้ สมบัติที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น สมบัติที่เกิดแล้ว ก็ถึงความหมดสิ้นไป

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม  11 "สิงคาลกสูตร"  ข้อ  178-184

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก 


เวลาบันทึก 04 กรกฎาคม 2562 ( 15:46:42 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 15:50:40 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 10:41:34 )

อบายมุข 6

รายละเอียด

คือทางแห่งความฉิบหาย 6 ทาง

1. เสพของมึนเมาให้โทษ มีโทษ คือ

- เสียทรัพย์

- ก่อการทะเลาะวิวาท

- เป็นบ่อเกิดแห่งโรค

- เป็นเหตุให้เสียชื่อเสียง

- เป็นเหตุให้ไม่รู้จักละอาย

- เป็นเหตุปั่นทอนกําลังปัญญา

2. เที่ยวกลางคืน มีโทษ คือ

-ไม่คุ้มครองรักษาตัวเอง

-ไม่คุ้มครองรักษาครอบครัว

-ไม่คุ้มครองรักษาทรัพย์สมบัติ

- เป็นที่ระแวงของคนอื่น

-ผู้นั้นมักพูดโกหกในที่นั้นๆ

-เหตุแห่งทุกข์มากมายเข้ามารุมล้อม

3. เที่ยวดูมหรสพการละเล่น มีโทษ คือ

- มีรําที่ไหน ไปที่นั่น

- มีขับร้องที่ไหน ไปที่นั่น

- มีประโคมดนตรีที่ไหน ไปที่นั่น

- มีเสภา (กลอนยาวประกอบดนตรี) ที่ไหน ไปที่นั่น

- มีเพลงที่ไหน ไปที่นั่น

- มีเถิดเทิง (กลองยาว) ที่ไหน ไปที่นั่น

4. เล่นการพนัน มีโทษ คือ

- ผู้ชนะย่อมก่อเวร

- ผู้แพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป

- เสื่อมทรัพย์ในปัจจุบัน

- คําพูดของผู้เล่นพนันมักฟังไม่ขึ้น เชื่อถือไม่ได้

- ถูกผู้คนหมิ่นประมาท

- ไม่มีใครอยากแต่งงานด้วย เพราะเลี้ยงครอบครัวไม่ได้

5. คบคนชั่วเป็นมิตร มีโทษ คือ

- ชักจูงให้เป็นนักเลงการพนัน

- ชักจูงให้เป็นนักเลงเจ้าชู้

- ชักจูงให้เป็นนักเลงเหล้า

- ชักจูงให้เป็นนักเลงหัวไม้ (ตีรันฟันแทง)

- ชักจูงให้เป็นคนหลอกลวง

- ชักจูงให้เป็นคนคดโกง

6. เกียจคร้านการทํางาน มีโทษ คือ

- มักอ้างว่าหนาวนัก จึงไม่ทํางาน

- มักอ้างว่าร้อนนัก จึงไม่ทํางาน

- มักอ้างว่าเวลายังเช้าอยู่ จึงไม่ทํางาน

- มักอ้างว่าเวลาเย็นแล้ว จึงไม่ทํางาน

-มักอ้างว่าหิวนัก จึงไม่ทํางาน

- มักอ้างว่ากระหายนัก จึงไม่ทํางาน เมื่ออ้างเลศผัดเพี้ยนการงานอยู่อย่างนี้ สมบัติที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น สมบัติที่เกิดแล้ว ก็ถึงความหมดสิ้นไป

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 11 “สิงคาลกสูตร” ข้อ 178-184


เวลาบันทึก 14 มีนาคม 2565 ( 11:01:55 )

อบายมุข คือ หัวหน้านรก

รายละเอียด

อบายมุข 6 เดี๋ยวนี้ แข่งบอลเอาชนะระดับโลก ระดับลีก อะไรต่างๆ ยังไม่รู้เรื่องกันหรอก เสียเวลา เสียแรงงาน เสียทุนรอนไปทำอะไร มันไม่ได้มีอะไรเลย นอกจากกิเลสที่ มันจริงๆ เด็ดขาดๆจริง เตะเข้าโกล์ได้ที เลือดจะฉีด สงสัยสมองระเบิด เส้นเลือดจะแตกสักวัน เส้นประสาทแตกชักกันในสนามสักวัน อาตมาเชื่อว่าจะมีสักวันคอยดู มันดีใจมันตื่นเต้น มันสะใจ สุดยอดเลย ซึ่งมันไร้สาระมาก ทำให้กิเลสหนาไม่รู้กี่ชาติกี่ชาติ จมอยู่ในนั้น ซึ่งมันไม่ได้เรื่องได้ราวอะไร แต่คนก็ไม่ได้ศึกษาไม่รู้เรื่อง 

ศาสดาทางเทวนิยมเขาก็ยังไม่รู้เรื่องเลย แต่พุทธเราชัดเจน อาตมา เป็นพุทธชัดเจน อบายมุข 6 นี้สุดยอด ที่เรียกว่า อบายมุข คือ หัวหน้านรก ซึ่งพระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ เรารู้เผินๆกัน แต่เขาก็ยังงมงายอยู่ในเรื่องอบายมุข 6 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม พ่อครูพบอาจารย์หมอเขียวและทีมงานแพทย์วิถีธรรม วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2565 แรม 6 ค่ำ เดือน 12 ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 25 พฤศจิกายน 2565 ( 18:59:40 )

อบายมุข-กามคุณ กิเลสเหล่านี้ต้องรู้จักตัวรู้จักตน เห็นโทษเห็นภัยจึงจะปฏิบัติหลุดพ้นได้!

รายละเอียด

ดังนั้น ความรู้แค่ความเป็น“คุณ” หรือเป็น“โทษ”ในการติด

“รสกาม”อยู่เท่านี้ ก็ยังไม่มี“ปัญญา”รู้ว่า เป็น“โทษ (อาทีนวะ,กลิ)” แล้วจะรู้จักรู้แจ้งรู้จริงใน“โทษ”อื่นๆที่ละเอียดลึกล้ำไปกว่านี้ได้หรือ “สิ่งเสพติด”หยาบๆตื้นๆแค่นี้ มันเป็นแค่ขั้น“อบายมุข” 

ความเสพ“กามคุณ 5”อยู่นั้นคือ “กามคุณ”ของปุถุชน!  

ท่านมหาบัวไม่มีความรู้ในเรื่องของ“กามคุณ 5”เลย ท่านจึงเสพติดหมากพลูอันเป็นการเสพสมในรูป,รส,กลิ่น,เสียง,สัมผัสอยู่ตลอดชีวิต ดังนั้น ที่ท่านหลงว่า“ตนเองบรรลุอรหันต์”นั้น มันจึงเป็น“อรหันต์เก๊”ที่เลอะเทอะเปรอะเปื้อน”อยู่แม้แค่น้ำหมากน้ำพลูก็ไม่รู้ว่า“เป็นความเลอะเทอะของกามคุณ 5” 

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ รวมเปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อ 387 หน้า 281


เวลาบันทึก 03 สิงหาคม 2564 ( 13:04:01 )

อบายมุขจริงๆแล้วเป็นเช่นไร

รายละเอียด

อบายคือของใครของมัน คนที่แย่ที่สุดและติดยาเสพติด ติดการพนัน ติดการละเล่น ติดสิ่งเสพติดหนัก ติดละเม็งละคร ติดเตะฟุตบอลอะไรต่างๆก็แล้วแต่ มันไปติด คนละอย่าง เรื่องที่ไปติดไม่ควรจะไปติดเลย เป็นเรื่องไร้สาระเสียเวลาและแรงงานทุนรอน เอาเวลาแรงงานทุนรอน เป็นความสูญเสียของข้าคืนมา ความฉิบหายของข้าคืนมา แรงกายแรงสมองแรงความรู้ ทุนรอน เอาไปเสียเวลากับเรื่องขี้หมาเหล่านี้ไปเป็นชาติ แล้วยิ่งจมติดหนักไปเรื่อยๆสิ่งเหล่านี้ให้เอาคืนมา แล้วคุณจะรู้ คุณจะชัดเจน อันนั้นเป็นขั้นต่ำของใครของมัน ตัวใครติดอะไรก็อันนั้นแหละเป็นอบายของเรา แล้วก็เลิกละมาให้ได้ ขั้นที่ 1 คุณละเลิกมาได้ก็เป็นพระโสดาบัน เรียกว่าพ้นมาจากขั้นที่หยาบแล้ว ขั้นอบายมุขแล้วก็มาเรียน กาม ติดในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสต่างๆ หรือแม้แต่ลาภยศสรรเสริญก็ได้ คุณก็ยังยึดติด คุณก็มาเลิก เอาอันใดให้ชัด อันนี้ควรทำลำดับ 1 2 3 เอาให้ได้ ติดลาภเกินไป หลงใหล จะเอาแต่ได้เงินทองเข้าของ หรือติดยศ ลาภเราไม่เท่าไหร่ติดจังในยศฐานะ ใครอย่ามาแตะศักดิ์ศรีข้าอะไรต่างๆนานา ก็ให้มันเป็นผู้ที่ เออ อยู่ระดับคนใช้เขา ระดับเขาข่มได้ หรือยิ่งยศศักดิ์เป็นบั้งเป็นดาวเป็นฐานะทางโลก มีอำนาจบาตรใหญ่ ใช้คนนั้นคนนี้ได้ อะไรต่างๆก็แล้วแต่ อำนาจทางข้าราชการ นักเลงหัวไม้ อำนาจทางอะไรก็แล้วแต่ ก็รู้ตัวเองแล้วเลิกมา อำนาจยศศักดิ์ พระเดช ให้ลดลงบ้าง 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน 2563


เวลาบันทึก 26 ธันวาคม 2563 ( 11:01:40 )

อบายมุขซาตานของพระพุทธเจ้า

รายละเอียด

แต่พระพุทธเจ้านั้นรู้จักหัวใจซาตาน เด็ดหัวใจซาตานสลายแตกหัวใจซาตานได้จริง เลิกเลย เรียนรู้มาจากตั้งแต่เราเองไปยุ่งเกี่ยวกับวนเวียนกับสภาพที่มันไม่ควรจะไปยุ่งเกี่ยว เรียกว่าองค์ประกอบของอบายมุข เมื่อทำให้ตัวเองพ้นมาจากอบายมุขได้ พ้นจริงๆ มันก็มีอบายมุขคนอื่นสร้างกันหรอกอยู่ทั่วโลก เริ่มต้นที่พระโสดาบันก็เป็น เอกราชทั่วทั้งแผ่นดินแล้ว ในโลกทั่วทั้งแผ่นดินนี้มีหลุมนรกหลุมอบายมุขอยู่เยอะ แต่หลุมอบายมุขหลุมนรกนั้นคือซาตานตัววิมานเหล่านั้นทำอะไรเราไม่ได้ เราเป็นเอกราชทั่วทั้งแผ่นดิน แค่โสดาบันนี่ดับอบาย ผีมารขั้นอบายไม่มี

หนังสืออ้างอิง

รายการบ้านราช กายนี้คือวิญญาณ วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 29 กุมภาพันธ์ 2563 ( 17:57:24 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 12:59:34 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 10:42:26 )

อบายมุขอัตตาหยาม

รายละเอียด

ก็หลุดพ้นจากอัตตาหยาบนี้ เรียนรู้ละลดจากโอฬาริกอัตตา ตั้งแต่อบายมุข กาม ก็รู้ถึงว่าอบายมุขคืออะไร ต้องไปเกี่ยวกับอะไรต้องไปเสพติดยึด มีสุขทุกข์กับมันอยู่ ก็เลิกขาด พิสูจน์ได้ตั้งแต่ตอนเป็นๆ อบายมุข ตีทิ้งไปเป็นอุตุนิยามได้เลย คืออบายมุขมีอยู่ เช่นสิ่งเสพติดละเม็งละครทั้งดาราเล่นละคร  ทั้งดารากีฬาราคาแพงๆ หยาบๆพวกนี้เขาสนุกต้องเสียค่าตั๋วไปดู คนก็ไม่รู้ไปเร่งเร้า ค่าตัวสูงเท่าไหร่ยิ่งอบายมุขเท่านั้นสังคมใดราคานักกีฬา ดารา ราคาแพงมากเท่าไหร่คือสังคมอบายมากเท่านั้น คนไม่รู้ก็ไปเชิดชูให้ค่าตัวแพงๆ สังเกตได้ว่า มีส่วนหนึ่งที่งมงาย แต่ค่าเฉลี่ยแล้วไม่ว่าจะจีนหรืออินเดีย ดาราค่าตัวเกาหลีแพงกว่าดาราจีนนะ เกาหลีประเทศเล็กนิดเดียว แต่จีนคนมากกว่าเยอะ ยังแพงกว่าอีก นี่แสดงถึงราคาความรู้ในโลกความรู้คุณธรรมในโลกดีกว่า เกาหลีอาจโฆษณาประเทศดีกว่า แต่พลเมืองจีนมีมากกว่ามาก แต่คนเขามากกว่าแล้วฉลาดกว่าด้วย สู้ไม่ได้ทั้งเนื้อหาและปริมาณ เกาหลีก็แสดงถึงความโง่กว่า เด่นดังกว่า แต่จีนเอาเนื้อหาสาระได้มากกว่า ตอนนี้นำลิ่ว แม้ทางไอทีก็เก่ง

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์วันมาฆบูชา บ้านราช เนื้อแท้ประชาธิปไตยพุทธ 5 ประการ วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 29 กุมภาพันธ์ 2563 ( 11:50:16 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 13:00:07 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 10:43:25 )

อบายมุขเต็มโลกแล้วในยุคนี้

รายละเอียด

คืออบายมุขมีมากมายมหาศาล  มันเต็มโลกแล้วในยุคนี้ก็เป็นไปตามลำดับชั้น  ขั้นต่ำก็เป็นอบายมุขของท่านพระโสดาบันก็ยังพระสกิทาคามีเป็นอบายมุขของพระอนาคามี   หมดเป็นอรหันต์  ไม่มีขั้นต่ำอีก

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช ครั้งที่ 82 วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 04 ธันวาคม 2562 ( 14:56:39 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 13:00:48 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 10:44:08 )

อบายมุขเต็มโลกแล้วในยุคนี้

รายละเอียด

อบายมุขมีมากมายมหาศาล  มันเต็มโลกแล้วในยุคนี้ ก็เป็นไปตามลำดับชั้น  ขั้นต่ำก็เป็นอบายมุขของท่านพระโสดาบัน ก็ยังพระสกิทาคามีเป็นอบายมุขของพระอนาคามี   หมดเป็นอรหันต์  ไม่มีขั้นต่ำอีก

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่  25  พฤศจิกายน  2562


เวลาบันทึก 20 ธันวาคม 2562 ( 20:21:35 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 13:01:41 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 10:45:29 )

อบายมุขเป็นเช่นใด

รายละเอียด

อบายมุขไม่ใช่เข้าใจง่ายๆ อบายคือหัวหน้านรก เรื่องต่ำ

เช่น นักร้องมีรายได้สูงมาก หลอกซับซ้อน อย่างนี้คือนรกสุดยอด หลอกฟรุ้งฟริ้ง กลับไปกลับมา เหมือนสูงแต่ก็ยิ่งต่ำ นักชก ชกน็อค หมัดตายๆๆ นักฟุตบอลมีแทคติกล่อเก่ง คนอื่นสู้ไม่ได้เลยเตะทีไรเข้าโกลเก่งได้รายได้สูง เก่งอย่างนั้นเสียเวลา และยังให้คนมาติดอีก คอยดูเถอะจะมีคนชักตายต่อหน้าต่อตา ตื่นเต้นมากสะใจมาก เคยมีมาแล้ว แล้วก็จะมีอีก เขาไม่หยุดยั้งเป็นอุพเพงคาปีติ พลังงานทางจิต สมองส่งไม่ทันก็ชักตาย ไม่ได้แช่งได้ด่านะ แต่เป็นเรื่องพูดโดยสัจธรรม

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการวิถีอาริยธรรม  อธิปไตย อภิบาล อภิปัญญาคือประชาธิปไตยแท้ วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม 2561ที่บ้านราชฯ

สื่อธรรมะพ่อครู(สมาธิพุทธ) ตอน โสดาบันจะพ้นมิจฉาอาชีพ 5 หรือไม่


เวลาบันทึก 13 กุมภาพันธ์ 2564 ( 20:31:18 )

อบายมุขเป็นโทษ 2 ประการ

รายละเอียด

แต่ของพวกนี้มันอบายมุข กีฬา การละเล่น มหรสพ บรรเทิงเริงรมย์ มันอบายมุข มันเป็นโทษ 2 ประการ 

“ขิฑฑาปโทสิกะ” เป็นเทวดานะ ถ้าได้เป็นดาราทางกีฬาดาราทางการบันเทิง เสพสมสุขสมอะไร บันเทิงเริงรมย์ อีกอันหนึ่งเป็นเทวดา “มโนปโทสิกะ” เป็นโทษทางจิตที่โง่ด้วยอัตตา เอาชนะคะคานกันจะต้องเป็นหนึ่งไม่แพ้เหมือนโดนัลด์ทรัมป์ เหมือนทักษิณนั้นแพ้ไม่เป็น เอาชนะ-ชนะ-ชนะ-ต้องชนะตลอด แพ้นี้ไม่ได้แพ้แทบจะฆ่าตัวตายเลย นี่เป็นโทษ 2 ประการพระพุทธเจ้าท่านแยกเอาไว้คือ ขิฑฑาปโทสิกะ กับมโนปโทสิกะ สองนัยนี้ อาตมาก็เอามาขยาย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ การศึกษาที่ไม่ลดกิเลสกู้ประเทศไม่ได้ วันพุธที่ 6 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 29 มกราคม 2564 ( 10:36:11 )

อบายมุขไม่เก่ง

รายละเอียด

วันนี้ปฐมนิเทศ ก็พูดสดๆ พูดเหมือนวนซ้ำซาก แต่ที่จริงที่มันวน เพราะว่าอาตมาไม่ออกนอกโลกุตระก็วนอยู่ในโลกุตระนี่แหละ  ไม่ได้ไปหาโลกียะเลอะเทอะมากมาย โลกียะรกเลอะเยอะแยะ อาตมาไม่เชี่ยวชาญโลกียะ แม้ปางนี้ก็ไม่เชื่ยวชาญทางโลก อย่างโลกเขาทำอบายมุขเก่งอาตมาก็ไม่ได้ทำเหมือนเขา เคยอยากจะทำเหมือนเขาไปหัดอบายมุขเหมือนเขา ทำอย่างไรก็ไม่สำเร็จ เขาหมั่นไส้เอา พวกอยู่ในอบายมุขเขาว่าดัดจริต ดัดอย่างไรก็ไม่ทุจริตดัดอย่างไรก็สุจริต ไปกับเขาไม่ได้

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์เปิดงานพุทธาภิเษก วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 28 กุมภาพันธ์ 2563 ( 15:42:36 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 13:02:28 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 10:46:15 )

อบายมุขไม่เจริญ

รายละเอียด

พีชะ เป็นชีวะ อยู่ในชีวะเรามีขั้นจิต ขั้นพีชะ ขั้นอุตุ ในอรหันต์เป็นๆ โลกที่สัมพันธ์เสพติดอยู่กับอบายมุข เราก็เรียนรู้จิตที่ติดอบายมุข อันมีวัตถุด้วย ติดเล่นไพ่ เล่นไปเล่นมาสู้เขาไม่ได้สักที อาตมาก็ว่าเรายังไงก็ไม่ขึ้น ไปหัดกินเหล้าเบียร์ก็สู้เขาไม่ได้ แทงบิลเลียดก็สู้เขาไม่ได้ แทงจนแขนยกไม่ขึ้น แต่ถึงเวลาจะแทงก็ยกขึ้น ถือคิว เล็ง แล้วมันจะไหวหรือ ก็รู้ว่าตัวเองไม่เจริญทางอบายมุข ก็เลยถอยดีกว่า ไม่ว่าจะกินเหล้า เล่นการพนันจีบผู้หญิง แข่งงานทางดาราไม่ขึ้นสักอย่าง แต่แรกว่าทำไมเราอาภัพ แต่ตอนหลังก็รู้ว่าคืออะไร ด่าเขาอีก ก็ไม่ใช่ด่าหรอก ให้รู้ว่าอันนั้นไม่ใช่สาระอะไรแก่ชีวิต แสดงไม่ต้องได้รางวัลตุ๊กตาทอง อาตมาแสดงไม่มีสิทธิ์ได้เป็นพระเอก เป็นพระรองๆๆๆ ไม่ใช่แค่พระรองที่2 นะ หรือไม่ก็เป็นตำรวจมาตอนจบ ได้เป็นพระเอกอยู่เรื่องหนึ่ง เป็นขอทาน มีภาพเลย สุลาลีวัลย์ เป็นนางเอก สรุปแล้วไม่เด่นทางโลกีย์ยิ่งทางอบายมุขยิ่งหมดท่า ส่วนคนอื่นที่เป็นเพื่อนก็เล่นไพ่กัน นพพร สุรพล โทณะวณิกก็เป็นขาเล่นไพ่กัน สมภพ สัมมาพันธ์ก็ตายไปแล้ว เห็นภาพไหม (insert ภาพพ่อครูสมัยฆราวาส) มายืนยันว่าอาตมาก็ผ่านมาไม่เด่นสรุปแล้วไม่ขึ้น ทางการเต้นกินรำกินไม่ขึ้น ก็ทำงานอยู่ในโทรทัศน์อาตมาก็ถูกจับไปอยู่ทางสาระวิชาการ ทั้งที่ไม่จบปริญญาตรี ใครก็ไม่เชื่อว่าไม่จบปริญญาตรีคบกับอธิบดีคบกับผู้อำนวยการ คบกับครูใหญ่คบกับนักวิชาการ ติดต่อมาออกร่วมโอภาปราศรัย สัมภาษณ์อย่างนั้นอย่างนี้อย่างกับตัวเองแสนรู้มีความรู้ จนคนเข้าใจผิดหมด แต่ตัวเองปริญญาจัตวาก็ไม่ได้มีแต่ ปวส. แต่ก็ทำงานเอาสาระ ทางวิชาการออกโทรทัศน์มา ก็ทำแม้แต่เด็กๆก็เอาภาระทำรายการของเด็กรายการ ของหนุ่มสาว ของชนชั้นวิชาการต่างๆก็พอสมควร จนกระทั่งสรุปแล้ว 12 ปีในทางโลกีย์ ก็เลิกมา มาทำงานทางธรรมะอย่างเต็มไม้เต็มมือ คือมันชัดเจนในตัวเองเลย 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 07 มีนาคม 2563 ( 09:38:35 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 13:02:57 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 10:48:49 )

อปจยะ

รายละเอียด

1. ไม่เอาไว้ที่ตนมาก ไม่สะสมไว้มาก

2. ไม่สะสม  ไม่หอบกอบกองไว้เป็นของตน

หนังสืออ้างอิง

วิถีพุทธ  หน้า29 , 72


เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2562 ( 15:41:46 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 16:27:25 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 10:49:25 )

อปจยะ

รายละเอียด

คือไม่ทำให้เกิด 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 12 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 05 กันยายน 2563 ( 09:34:15 )

อปจยะ ขยันแล้วก็ไม่สะสมมาเป็นเราเป็นของเรา

รายละเอียด

รองลงไป ไม่สะสม อปจยะ ขยันแล้วก็ไม่สะสมมาเป็นเราเป็นของเราเลย ขยันทำไปแล้วก็จบไม่สะสมเป็นเราเป็นของเราเลย สิ่งนี้เป็นสิ่งยอดประเสริฐ อย่างพระพุทธเจ้าอาตมาก็เคยสรุปให้ฟังบ่อย ท่านตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า โอ้.. ท่านเก่งไม่รู้กี่วิชาแต่ก็เลิกหมดเลยมาทำวิชาเปิดเผยธรรมะ เอาธรรมะมาขยายจนตายเลย ท่านตรัสรู้จนปรินิพพาน เพื่อมนุษยชาติ 

ทำอันนี้แหละ ขยันทำอันนี้ แล้วทำแล้วก็ทำไปไม่สะสมอะไร ว่าเป็นเราเป็นของเราเลยหมดอัตตาหมดตัวตน ทำฟรี ทำแล้วก็จบ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริยืแห่งพุทธ ครั้งที่ 45 ออนไลน์ วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก

สื่อธรรมะพ่อครู ตอน อาการน่าเลื่อมใสในวรรณะ 9 ของพ่อครูเป็นเช่นไร


เวลาบันทึก 04 มีนาคม 2564 ( 10:40:00 )

อปจยะ วิริยารัมภะ นี้เป็นสุดยอดแห่งมนุษย์แล้ว

รายละเอียด

ผลจบ 2 ข้อสุดท้าย (อปจยะและวิริยารัมภะ) เป็นคนไม่สะสม เป็นคนไม่สะสมนี้แหละจึงเป็นพลเมืองของกลุ่มสาธารณโภคี พลเมืองของชุมชนสังคมสาธารณโภคี คือพลเมืองที่ไม่สะสม นอกจากไม่สะสมแล้วยังสะสางอีก 

นี่ผ่านการสะสางมาจนกระทั่ง บางทีจะเอาหนังสือที่อาตมาใช้ประจำและมีลายเซ็นของผู้ที่ให้มา เอาออกไปซะอีก เผลอไม่ได้ มันมี 3 เล่มซ้อนไว้ตรงโน้น อุตส่าสะสางเหลือเอาไว้ให้เล่มหนึ่ง จะเอาเล่มสำคัญไว้ก็ไม่ได้ จะเอาเล่มสำคัญออกไปซะด้วย พอเล่มอื่นๆไม่เอา ไม่ฉลาดเลย (พ่อครู หัวเราะขำๆ) สะสางเสียเกินขีดหน่อย สะสาง ไม่ใช่ไม่ดี 

เมื่อไม่สะสม (อปจยะ) แล้วยังแถมวิริยารัมภะ 

อปจยะ วิริยารัมภะ นี้เป็นสุดยอดแห่งมนุษย์แล้วในโลก หมดความขี้เกียจ ความขี้เกียจไม่มีในตน เป็นคนที่ขยัน ยอดขยัน ขยันอยู่เสมอ ท่านเรียกว่า ปรารภความเพียร แปลคำสวยๆว่า ปรารภความเพียร สุดยอดขยัน แล้วขยันอย่างรู้จักพักรู้จักเพียรด้วย มีปัญญา แล้วไม่สะสม พิสูจน์ในสังคมสาธารณโภคี เป็นคนที่ไม่สะสม ขยัน สร้างสรร สร้างสรรแล้วไม่ได้ยึดเป็นเราเป็นของเรา ไม่ได้เป็นของตนอะไร สร้างสรรแล้ว ให้เข้ากองกลางร่วมกินร่วมใช้ 

อันนี้เป็นสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์จริงๆ ที่เกิดได้เป็นได้ อย่างพวกเราชาวอโศกปฏิบัติได้ จริงไหม ...จริง โอ้โห.. จริงค่ะ แสดงถึงความมั่นใจ หนักแน่น เห็นจริง ซาบซึ้งเลยนะ สำเนียงส่อภาษากิริยาส่อสกุล เห็นชัดได้ว่า มันมั่นใจและมันเห็นดีเห็นงาม แล้วก็ภาคภูมิใจในตัวเลย จริงด้วยที่มีผลสำเร็จ มีผลสำเร็จที่เป็นมนุษย์อาริยะเป็นมนุษย์เจริญ เป็นอาริยกชนไม่ใช่ มิลักขชน อย่าง ปาเลสไตน์หรืออิสราเอลของเขา พวก มิลักขชน แค่ฆ่าสัตว์ แล้วไม่ใช่แค่สัตว์ ฆ่ามนุษย์ด้วย ไม่รู้สึกรู้สาเลย ฆ่ากันเป็นเบือ ไม่รู้จะอะไรกันนักกันหนา ญาติพี่น้องตระกูลเดียวกันเองด้วย น่าสังเวชใจจริงๆ

ความลึกซึ้งพวกนี้อาตมายิ่งมองเห็นเลย ประเทศในโลกที่คนไม่มีภูมิปัญญาเข้าใจ ไปมองประเทศที่มันเสื่อมมากๆ ในทิศทาง (1) เห็นแก่ตัว แล้ว (2) รุนแรงกับผู้อื่น แค่ 2 ประเด็นนี้ แล้วเขาหลงว่าเป็นประเทศเจริญ 

เขามองเห็นว่าประเทศที่เห็นแก่ตัวแล้วรังแกผู้อื่นเอาชนะผู้อื่นด้วยการรังแก เอาชนะผู้อื่นด้วยการเห็นแก่ตัวได้สำเร็จ แล้วไปยกย่องว่า เป็นคนเจริญเป็นอริยประเทศ นั่นแหละคือประเทศที่พัฒนาแล้ว เจริญแล้ว

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ พ่อครูคือก้อนแห่งสัมมาทิฏฐิที่คนต้องมีฉันทะมาเอา วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม 2566 ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 07 มีนาคม 2567 ( 18:51:01 )

อปจยะและวิริยารัมภะยิ่งยอดเยี่ยมอย่างไร

รายละเอียด

อีกสองอันสุดท้าย 8 ,9 นี้ยิ่งยอดเยี่ยม เป็นคนไม่สะสม อปจยะ มีเท่าที่เป็นปัจจัยเป็นบริขารแค่พออาศัย แค่นี้เป็นเครื่องประกอบ นอกนั้นเกินก็สะพัดออกไม่สะสม นอกจากพอแล้วก็ไม่สะสม นอกจากไม่สะสมแล้วตัวสุดท้าย วิริยารัมภะ ขยันแล้วขยันอีกไม่สะสม ท่านประยุทธ์ท่านแปลว่า ระดมความเพียร เร่งรัดพัฒนาขยันหมั่นเพียรอยู่เสมอๆไม่ดูดาย ขี้เกียจไม่มีหรอกคนระดับนี้แล้ว มีแต่อย่าขยันเกิน จนสุขภาพเสียหาย มันควรจะทำพอแล้วก็ทำมากเกินจนไม่รู้ควรหยุดแล้วก็พอเสียทีเถอะ 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 20 กันยายน 2563 ( 15:30:23 )

อปจายนมัย

รายละเอียด

บุญสำเร็จด้วยการประพฤตินอบน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 309


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 06:54:17 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 16:31:25 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 10:49:45 )

อปมาทะ

รายละเอียด

สุริยเปยยาล ข้อที่ 6 คือความไม่ประมาท ต้องไม่ประมาท ถ้าไม่ประมาทเสมอๆไม่มีวันพลาด

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 11 มกราคม 2563 ( 13:43:04 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 13:03:45 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 10:50:13 )

อปร

รายละเอียด

อื่นอีก เบื้องหน้าเรื่อยๆ ไป

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 104


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 06:55:16 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 16:33:21 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 10:50:30 )

อปรันต , อปรันตะ , อปรันตา

รายละเอียด

1. ส่วนอนาคต 

2. อนาคต 

หนังสืออ้างอิง

รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 62, ยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 247


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 06:56:18 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 16:35:38 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 10:50:51 )

อปรันเต อัญญาณัง

รายละเอียด

ไม่รู้ในส่วนอนาคต

หนังสืออ้างอิง

รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 61


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 07:02:39 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 16:37:04 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 10:51:11 )

อปรับปัจจยาญาณ เอเมสวัสสะ เอตถะ โหติสุดยอดอย่างไร

รายละเอียด

ชาวอโศกที่มาเรียนรู้ปฏิบัติธรรม จิตมันเป็น จิตพวกคุณเป็นจริงๆ แล้วจิตที่เป็นได้นั้นไม่ใช่กดข่มเป็นศรัทธาเท่านั้น แต่มันมีปัญญาที่เป็นได้แล้ว ทำจนกระทั่งจิตมันมีความเฉลียวฉลาด มีปัญญาเฉลียวฉลาด ชัดเจนเพียงพอว่า อย่างนี้ โดยที่มีความฉลาดนั้นถึงขั้น ไม่ได้เชื่อใคร เชื่อตัวเอง ไม่ต้องเชื่อใคร ไม่ได้เชื่อตัวเองอย่างงมงาย แต่เชื่อตัวเองอย่างเป็นปัญญาแล้ว นี่แหละสุดยอด อปรับปัจจยาญาณ เอเมสวัสสะ เอตถะ โหติ

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช  วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 20 กันยายน 2563 ( 15:25:58 )

อปราปริโย

รายละเอียด

มีความสืบต่อ ติดตามไปไม่มีที่สิ้นสุด

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 104


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 07:03:16 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 16:39:02 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 10:51:27 )

อปราปโร

รายละเอียด

มีแต่คำว่าอื่นอีก และอื่นอีก

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 104


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 07:04:04 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 16:41:59 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 10:51:45 )

อปริคคโห , อปริคคหา

รายละเอียด

1. ทั้งไม่ยึดเอาอะไรไว้ ไม่ฉวยเอาอะไรอีก ไม่มีความหวงแหนจริงๆ มีแต่ให้ๆๆ เป็นของผู้อื่นเรื่อยไป 

2. ไม่รู้รอบจริง จึงยังไม่พ้นการฉวยไว้ เม้มไว้ หรือยึดไว้อยู่

3. ไม่มีความหวงแหน 

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 102, ทางเอก ภาค 3 หน้า 197, ค้าบุญคือบาป หน้า 201


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 07:05:26 )

เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2563 ( 16:45:50 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 10:52:13 )

อปริหานิยธรรม (นักบวช) 7

รายละเอียด

คือ ธรรมที่พาเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อมเลย

1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์

2. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิก พร้อมเพรียงกันช่วยทำกิจ

3. ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติ ไม่เพิกถอนสิ่งที่ทรงบัญญัติแล้ว

4. สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุผู้เป็นเถระ (ผู้ใหญ่) เป็นรัตตัญญู (ผู้บวชมานาน) เป็นสังฆปรินายก และเชื่อฟังถ้อยคำของท่าน

5. ไม่ตกอยู่ในอำนาจตัณหา อันจะก่อเกิดภพใหม่

6. ยินดีในเสนาสนะป่า (คือที่อยู่อันสงัดจากกิเลส)

7. ตั้งสติไว้ว่า ทำไฉนหนอ เพื่อพรหมจรรย์ ผู้มีศีลเป็นที่รัก ที่ยังไม่มา ขอจงมาเถิด และผู้ที่มาแล้ว ขอจงอยู่เป็นสุข

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 10 "มหาปรินิพพานสูตร" ข้อ 71

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก 


เวลาบันทึก 07 กรกฎาคม 2562 ( 08:48:43 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 15:55:57 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 10:52:43 )

อปริหานิยธรรม (นักบวช) 7

รายละเอียด

คือธรรมที่พาเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อมเลย

1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์

2.พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิก พร้อมเพรียงกันช่วยทํากิจ

3. ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติ ไม่เพิกถอนสิ่งที่ทรงบัญญัติแล้ว

4. สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุผู้เป็นเถระ(ผู้ใหญ่)เป็นรัตตัญญ (ผู้บวชมานาน) เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก และเชื่อฟังถ้อยคําของท่าน

5. ไม่ตกอยู่ในอํานาจตัณหา อันจะก่อเกิดภพใหม่

6. ยินดีในเสนาสนะป่า (คือที่อยู่อันสงัดจากกิเลส)

7.ตั้งสติไว้ว่า ทําไฉนหนอ เพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีศีลเป็นที่รัก ที่ยังไม่มา ขอจงมาเถิด และผู้ที่มาแล้ว ขอจงอยู่เป็นสุข

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 10 “มหาปรินิพพานสูตร” ข้อ 71


เวลาบันทึก 15 มีนาคม 2565 ( 03:34:50 )

อปริหานิยธรรม 6

รายละเอียด

คือ ธรรมที่ทำให้ไม่เสื่อมจากกุศลธรรม

1. ความเป็นผู้ไม่ชอบการทำงาน (ที่เป็นโทษ)

2. ความเป็นผู้ไม่ชอบคุย (นอกกถาวัตถุ)

3. ความเป็นผู้ไม่ชอบหลับ

4. ความเป็นผู้ไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ (ที่ชั่ว)

5. ความเป็นผู้ว่าง่าย

6. ความเป็นผู้มีมิตรดี

ก็ชนเหล่าใดทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน ชนเหล่านั้นทั้งปวง

จะไม่เสื่อมจากกุศลธรรม เพราะธรรม 6 ประการนี้

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม  22 "อปริหานิยสูตร"  ข้อ  293

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 04 กรกฎาคม 2562 ( 15:53:24 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 15:54:31 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 10:53:22 )

อปริหานิยธรรม 6

รายละเอียด

คือธรรมที่ทําให้ไม่เสื่อมจากกุศลธรรม

1. ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน ที่เป็นโทษ)

2. ความเป็นผู้ไม่ชอบคุย (นอกกถาวัตถุ)

3. ความเป็นผู้ไม่ชอบหลับ

4. ความเป็นผู้ไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ (ที่ชั่ว)

5. ความเป็นผู้ว่าง่าย

6. ความเป็นผู้มีมิตรดี ก็ชนเหล่าใดทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน ชนเหล่านั้นทั้งปวง จะไม่เสื่อมจากกุศลธรรม เพราะธรรม 6 ประการนี้ พระไตรปิฎกเล่ม 22 “อปริหานิยสูตร” ข้อ 293

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 22 “อปริหานิยสูตร” ข้อ 293


เวลาบันทึก 14 มีนาคม 2565 ( 11:05:58 )

อปริหานิยธรรม 7

รายละเอียด

อปริหานิยธรรม 7 ข้อ อาตมาก็จำได้ไม่หมด 

  1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ 

  2. เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุม ก็พร้อมเพรียงกันเลิก  และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่ หมู่จะต้องทำ 

  3. จักไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ แล้วจักประพฤติมั่นในสิกขาบทตามที่พระองค์   ทรงบัญญัติไว้ 

  4. สักการะเคารพนับถือบูชาท่านผู้เป็นเถระ  ผู้เป็น..รัตตัญญู  ผู้บวชมานานเป็นสังฆบิดร  เป็นสังฆปริณายก  และจักสำคัญถ้อยคำแห่งท่านเหล่านั้นว่า  เป็นถ้อยคำอันตนพึงเชื่อฟัง 

  5. ไม่ตกอยู่ในอำนาจตัณหาที่เกิดขึ้นแล้ว  อันเป็นเหตุให้เกิดเป็นภพต่อไป 

  6. จักพอใจอยู่ในเสนาสนะป่า (ป่า คือ สภาพความสงบสงัดจากกิเลส) 

  7. จักเข้าไปตั้งความระลึกถึงเฉพาะตนไว้ว่า..

ไฉนหนอ  เพื่อนพรหมจรรย์ ผู้มีศีลเป็นที่รัก  ที่ยังไม่มา..ขอจงมา    และที่มาแล้วพึงอยู่เป็นสุข (พตปฎ. เล่ม 23  ข้อ 21) 

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม 2563

หนังสืออ้างอิง

พตปฎ. เล่ม 23  ข้อ 21


เวลาบันทึก 20 พฤศจิกายน 2563 ( 13:06:00 )

อปริหานิยธรรม 7 (ธรรมที่เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม)

รายละเอียด

1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ 
2. เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุม ก็พร้อมเพรียงกันเลิก  และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่ หมู่จะต้องทำ 
3. จักไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ แล้วจักประพฤติมั่นในสิกขาบทตามที่พระองค์   ทรงบัญญัติไว้ 
4. สักการะเคารพนับถือบูชาท่านผู้เป็นเถระ  ผู้เป็น..รัตตัญญู  ผู้บวชมานานเป็นสังฆบิดร  เป็นสังฆปริณายก  และจักสำคัญถ้อยคำแห่งท่านเหล่านั้นว่า  เป็นถ้อยคำอันตนพึงเชื่อฟัง 
5. ไม่ตกอยู่ในอำนาจตัณหาที่เกิดขึ้นแล้ว  อันเป็นเหตุให้เกิดเป็นภพต่อไป 
6. จักพอใจอยู่ในเสนาสนะป่า (ป่า คือ สภาพความสงบสงัดจากกิเลส) 
7. จักเข้าไปตั้งความระลึกถึงเฉพาะตนไว้ว่า ไฉนหนอ  เพื่อนพรหมจรรย์ ผู้มีศีลเป็นที่รัก  ที่ยังไม่มา..ขอจงมา  และที่มาแล้วพึงอยู่เป็นสุข 
 

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฏก เล่ม 23  ข้อ 21, ธรรมาธิบายจากพ่อครู รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 31 กรกฎาคม 2562 ( 13:55:27 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 13:05:02 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 10:53:50 )

อปัณกปฏิปทา 3

รายละเอียด

คือ ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด คือ สำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 โภชเนมตตัญญุตา และ ชาคริยานุโยคะ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 07 พฤศจิกายน 2562 ( 13:39:48 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 13:05:49 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 10:54:10 )

อปัณกปฏิปทา , อปัณณกปฏิปทา

รายละเอียด

1. ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด , การปฏิบัติที่ไม่ผิด แบบพุทธ

2. การปฏิบัติที่ไม่ผิด 3 ข้อ คือสำรวมอินทรีย์ 6  โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยคะ 

3. การปฏิบัติที่ไม่ผิดทางศาสนาพุทธ 

หนังสืออ้างอิง

รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 147, เปิดโลกเทวดา หน้า 26, ค้าบุญคือบาป หน้า 245


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 07:15:03 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 03:07:08 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 10:54:46 )

อปัณกปฏิปทา 3

รายละเอียด

ก็ทำผิด ผิดเพราะไม่มีศีลเบื้องต้น ไม่มีการสำรวมอินทรีย์ ไม่มีการประมาณในการกินใช้ ไม่ตื่นจากกิเลส จะต้องตื่นมาเป็นผู้ศึกษานี่คืออปัณกปฏิปทา 3 ข้อ สำรวมอินทรีย์ โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยคะ เขาไม่มีเลย 3 ข้อนี้ ก็เลยเป็นการปฏิบัติศาสนาพุทธผิดหมด เพราะ 3 ข้อนี้คือการปฏิบัติที่ไม่ผิดของศาสนาพุทธ เดี๋ยวนี้ไม่ได้ปฏิบัติสำรวมอินทรีย์ โภชเนมัตตัญญุตา หลับตาปฏิบัติไม่ได้ยินได้ฟังอะไร ไม่มีการพิจารณาสิ่งที่จะต้องอุปโภคบริโภคมาเกี่ยวข้อง ที่ต้องกินต้องใช้เขาไม่ยุ่งเกี่ยว กับเขาไปนั่งหลับตาเลย หลับตาจนเป็นพระอรหันต์มาหลายองค์แล้ว  อรหันต์เก๊ เขาสอนกันอย่างนั้นแล้วยึดถือกันอย่างนั้น ตราบใดที่อาตมาพยายาม ขุด ดีด อาตมาเป็น อาร์คีมีดีส งัดศาสนาพุทธขึ้นมา เขาก็จมอยู่อย่างนั้น หยั่งลงสู่ความหลง

ที่มา ที่ไป

รายการ ทำวัตรเช้า งานว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน ครั้งที่ 7 ผู้ข้องอยู่ในถ้ำอันไกลจากวิเวก วันอังคารที่ 31 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 10 มกราคม 2563 ( 16:53:52 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 13:07:52 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 10:55:39 )

อปัณกปฏิปทา 3 ตัวยืนยันว่าปฏิบัติที่ไม่ผิด

รายละเอียด

จรณะ 15 ข้อที่ 1 มี ศีล และ อปัณกปฏิปทา 3 อันนี้แหละเป็นตัวยืนยันว่าปฏิบัติที่ไม่ผิด จะต้องมี สำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 โภชเนมัตตัญญุตาเรียนรู้การกินการใช้แล้วก็ต้องเป็นผู้ตื่น ชาคริยานุโยคะ สำหรับข้อนี้ยืนยันชัดเจนว่าศาสนาพุทธไม่ใช่ศาสนาหลับตา ถ้าเข้าใจคำสอนพระพุทธเจ้าแค่นี้ไม่ชัดเจน ตีไม่แตก ในความหมายสัจธรรมของพระพุทธเจ้า คุณก็เข้าใจอะไรไม่ได้แล้ว เพราะฉะนั้นอันนี้เป็นตัวยืนยันเลยว่า ฌาน ในจรณะ 15 เป็นข้อ 12 13 14 15 เป็นฌาน 1 2 3 4 มันเป็นอิทัปปัจจยตาแก่กันและกัน ปฏิสัมพันธ์กัน ในจรณะ 15 แล้วจะมีวิชชา 8 มาร่วมเป็นยาดำ

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม 2563


เวลาบันทึก 19 พฤศจิกายน 2563 ( 11:53:36 )

อปัณณกธรรม 3 ต้องสำรวม ตาหูจมูกลิ้นกายใจ

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นวิธีของพระเจ้าให้มาปฏิบัติ อปัณณกธรรม 3 ต้องสำรวม ตาหูจมูกลิ้นกายใจ หากไม่ปฏิบัติธรรมแล้วสังวรตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่จะสัมผัสแล้วเกิดอาการ เวทนา คุณก็ไม่ได้ปฏิบัติธรรมอะไรเลย เพราะฉะนั้นคุณก็จะต้องรู้ว่าเมื่อคุณสำรวมอินทรีย์ ตา หู จมูก ลิ้นกาย ซึ่งใจก็ตาม แล้วคุณก็จะต้อง ตัด แต่คนปฏิบัติตัด ไม่เอาตา หู จมูก ลิ้น กาย เข้าไปเอาแต่ใจเลยมันโมฆะ จริงๆแล้วคุณเรียนรู้ทั้ง 5 ทวารนี้ ข้างในนั้นเหลือแต่จิต เป็นอนาคามีขึ้นไปแล้วมันง่าย แต่มันจะยากสำหรับผู้ที่ทำไม่ได้ แต่ก็จะเป็นรายละเอียดว่าอนาคามีมีหลายแบบ สำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 จึงเป็นทางปฏิบัติที่ถ้าไม่มีการสำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 ไม่มีการปฏิบัติ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าท่านมีการสัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย กายต้องมีภายนอก ไม่มีภายนอกร่วมด้วยไม่ใช่กาย กายคือจิต มโน วิญญาณ กายภายนอกละวางได้ง่าย แต่ที่ละวางได้ยากคือจิต

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 20 พฤษภาคม 2563


เวลาบันทึก 23 มิถุนายน 2563 ( 09:47:49 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 13:08:21 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 10:56:22 )

อปัณณกธรรม 3 เป็นเช่นใด

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นสำรวมอินทรีย์ 6 ไม่มี ไปหลับตา หลับตานั้นไม่ใช่พุทธก็ยืนยันอยู่ ถ้าไปหลับตา คุณจะไปมีโภชเนมัตตัญญุตาได้ยังไง เรื่องของกินของใช้ เรารู้จักจัดการเมื่อปฏิบัติการกิจการใช้ หากว่าคุณหลับตาปฏิบัติธรรมมันก็ไม่ได้กินได้ใช้อะไรไม่ได้เคลื่อน ยิ่งถ้าเป็นชาคริยานุโยคก็ไม่รู้เรื่องเลย ไม่เข้าใจว่าตื่นอยู่ในหลับ ซึ่งชาคริยาไม่ใช่ตื่นอยู่ในหลับ แต่ตื่นลืมตา มีสติสมบูรณ์ ทั้งกายวจีมโน สติคือ การตื่นเต็มร้อย ทั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม คุณต้องทำสติให้เต็มเป็นคนตื่น พากเพียร อนุโยค ให้ชาคริยา ชาคริ คือการตื่น ให้จิตวิญญาณมันเต็ม เป็นคนเบลอๆไม่ได้ ต้องรับรู้อย่างเต็มที่ มีสติสัมปชัญญะ สติ ปัญญาเต็มที่ กับสิ่งที่คุณสัมผัสอยู่ในโลกขณะนี้ ในสิ่งที่แวดล้อมเราอยู่ ไม่ต้องไปไกลเกินไปหรอก 

เอาสิ่งที่กระทบสัมผัสโดยตรง สัมผัสตาขณะนี้ พออาตมามานั่งโต๊ะนี่ปั๊บ เขาจัดฉาก วันนี้เหลือง เอ้อเฮ่อ มีดอกต้นเหลืองปรีดียาธร มีดอกต้นเหลืองทองอุไร นี่เหลืองพุทธรักษา มีเหลืองหลายเฉด เหลืองแก่ อ่อน กลาง ภาษาทางสีเขามีเยอะ 

พอเราสัมผัสอันนี้เราก็เกิดความรู้สึก จะรู้สึกเล็กรู้สึกน้อยก็ตาม ถ้าผู้ที่ปฏิบัติจรณะ 15 เป็น ของที่เราสัมผัส คุณจะกินคุณจะใช้ คุณจะเกี่ยวข้องกับของกินของใช้ในชีวิตประจำวันทุกคนจะสัมผัสของกินของใช้ นี่เป็นฐานแท้ของมนุษยชาติหรือสัตว์โลกมันจะต้องกินต้องใช้ โดยเฉพาะคนมันใช้เก่ง สัตว์มันก็ใช้บ้างตามฐานะของมัน นกหนูปูปีกก็ใช้ในการทำรังอย่างนี้เป็นต้น 

แล้วเราก็รู้จักเลือกเฟ้นพิจารณาสิ่งที่ควรสิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่เสียเวลาแรงงานเปล่าฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยให้เป็นพิษภัย สัตว์มันก็ทำ คนก็ต้องทำ มันเป็นแกนหลักของมนุษย์ชาติ มันใกล้ตัว เหมือนกับชีวิตของเราทุกวันทุกเวลา เพราะฉะนั้นปฏิบัติอย่างนี้มันก็ปลอดภัยกับชีวิต แล้วชีวิตก็แข็งแรงสมบูรณ์สุขภาพดีไม่ยุ่งยาก พาให้เจริญ แล้วเราก็ใช้เรื่องแบบนี้แหละ มาอาศัยแบ่งแจกเกื้อกูลกัน เพราะทุกคนเหมือนกัน ต้องกินต้องใช้ในสิ่งที่เป็นเหตุปัจจัยเป็นปัจจัยชีวิตเรานี้อยู่ อาหารเป็นเครื่องใช้ก็ตาม ของกินของใช้ 

เสร็จแล้วเราจะต้อง เรียนรู้ลงไปถึงแก่นแท้ของจิต ว่าไม่รู้กี่ล้านปีมาแล้ว จะสั่งสมกันมาจนกระทั่ง ทุกวันนี้ถูกหลอก มันชอบ เรียนลงไปถึงแก่นแท้ของจิต ว่าเราสัมผัสกับของกินของใช้เราไปหลงสิ่งที่โลกมันหลอกเรามันไม่รู้กี่ชาติ ว่ามันต้องชอบมันต้องชัง มันต้องชอบมันต้องไม่ชอบ มากหรือน้อยก็แล้วแต่ แล้วก็ปรุงแต่ง ทางตาก็อย่างหนึ่ง ทางหูก็อย่างหนึ่ง ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทั้งนั้น โดยเฉพาะทางลิ้นรับรส เป็นอาหารที่เป็นกวฬิงการาหาร  ทุกคนบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระศาสดาก็ต้องกินอาหาร แม้แต่บรรลุสูงสุดแล้วก็ต้องกินอาหาร 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ สุภกิณหาอย่างพุทธดับสุดสิ้นอาสวะ วันพุธที่ 2 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 31 มกราคม 2564 ( 15:07:42 )

อปัณณกธรรม 3 เป็นเช่นใด

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นสำรวมอินทรีย์ 6 ไม่มี ไปหลับตา หลับตานั้นไม่ใช่พุทธก็ยืนยันอยู่ ถ้าไปหลับตา คุณจะไปมีโภชเนมัตตัญญุตาได้ยังไง เรื่องของกินของใช้ เรารู้จักจัดการเมื่อปฏิบัติการกิจการใช้ หากว่าคุณหลับตาปฏิบัติธรรมมันก็ไม่ได้กินได้ใช้อะไรไม่ได้เคลื่อน ยิ่งถ้าเป็นชาคริยานุโยคก็ไม่รู้เรื่องเลย ไม่เข้าใจว่าตื่นอยู่ในหลับ ซึ่งชาคริยาไม่ใช่ตื่นอยู่ในหลับ แต่ตื่นลืมตา มีสติสมบูรณ์ ทั้งกายวจีมโน สติคือ การตื่นเต็มร้อย ทั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม คุณต้องทำสติให้เต็มเป็นคนตื่น พากเพียร อนุโยค ให้ชาคริยา ชาคริ คือการตื่น ให้จิตวิญญาณมันเต็ม เป็นคนเบลอๆไม่ได้ ต้องรับรู้อย่างเต็มที่ มีสติสัมปชัญญะ สติ ปัญญาเต็มที่ กับสิ่งที่คุณสัมผัสอยู่ในโลกขณะนี้ ในสิ่งที่แวดล้อมเราอยู่ ไม่ต้องไปไกลเกินไปหรอก 

เอาสิ่งที่กระทบสัมผัสโดยตรง สัมผัสตาขณะนี้ พออาตมามานั่งโต๊ะนี่ปั๊บ เขาจัดฉาก วันนี้เหลือง เอ้อเฮ่อ มีดอกต้นเหลืองปรีดียาธร มีดอกต้นเหลืองทองอุไร นี่เหลืองพุทธรักษา มีเหลืองหลายเฉด เหลืองแก่ อ่อน กลาง ภาษาทางสีเขามีเยอะ 

พอเราสัมผัสอันนี้เราก็เกิดความรู้สึก จะรู้สึกเล็กรู้สึกน้อยก็ตาม ถ้าผู้ที่ปฏิบัติจรณะ 15 เป็น ของที่เราสัมผัส คุณจะกินคุณจะใช้ คุณจะเกี่ยวข้องกับของกินของใช้ในชีวิตประจำวันทุกคนจะสัมผัสของกินของใช้ นี่เป็นฐานแท้ของมนุษยชาติหรือสัตว์โลกมันจะต้องกินต้องใช้ โดยเฉพาะคนมันใช้เก่ง สัตว์มันก็ใช้บ้างตามฐานะของมัน นกหนูปูปีกก็ใช้ในการทำรังอย่างนี้เป็นต้น 

แล้วเราก็รู้จักเลือกเฟ้นพิจารณาสิ่งที่ควรสิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่เสียเวลาแรงงานเปล่าฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยให้เป็นพิษภัย สัตว์มันก็ทำ คนก็ต้องทำ มันเป็นแกนหลักของมนุษย์ชาติ มันใกล้ตัว เหมือนกับชีวิตของเราทุกวันทุกเวลา เพราะฉะนั้นปฏิบัติอย่างนี้มันก็ปลอดภัยกับชีวิต แล้วชีวิตก็แข็งแรงสมบูรณ์สุขภาพดีไม่ยุ่งยาก พาให้เจริญ แล้วเราก็ใช้เรื่องแบบนี้แหละ มาอาศัยแบ่งแจกเกื้อกูลกัน เพราะทุกคนเหมือนกัน ต้องกินต้องใช้ในสิ่งที่เป็นเหตุปัจจัยเป็นปัจจัยชีวิตเรานี้อยู่ อาหารเป็นเครื่องใช้ก็ตาม ของกินของใช้ 

เสร็จแล้วเราจะต้อง เรียนรู้ลงไปถึงแก่นแท้ของจิต ว่าไม่รู้กี่ล้านปีมาแล้ว จะสั่งสมกันมาจนกระทั่ง ทุกวันนี้ถูกหลอก มันชอบ เรียนลงไปถึงแก่นแท้ของจิต ว่าเราสัมผัสกับของกินของใช้เราไปหลงสิ่งที่โลกมันหลอกเรามันไม่รู้กี่ชาติ ว่ามันต้องชอบมันต้องชัง มันต้องชอบมันต้องไม่ชอบ มากหรือน้อยก็แล้วแต่ แล้วก็ปรุงแต่ง ทางตาก็อย่างหนึ่ง ทางหูก็อย่างหนึ่ง ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทั้งนั้น โดยเฉพาะทางลิ้นรับรส เป็นอาหารที่เป็นกวฬิงการาหาร  ทุกคนบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระศาสดาก็ต้องกินอาหาร แม้แต่บรรลุสูงสุดแล้วก็ต้องกินอาหาร 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ สุภกิณหาอย่างพุทธดับสุดสิ้นอาสวะ วันพุธที่ 2 ธันวาคม 2563 ที่บ้านราชฯ


เวลาบันทึก 31 มกราคม 2564 ( 17:03:41 )

อปัณณกธรรม 3, อปัณณกธรรม

รายละเอียด

หลักปฏิบัติไม่ผิด 3 หลัก, การปฏิบัติไม่ผิด

หนังสืออ้างอิง

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 57, รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 72

ลิ้งดาวน์โหลด อปัณณกธรรม ๓ : www.youtube.com/watch?v=pcRn6iaZids


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 11:27:34 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 03:12:45 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 10:56:55 )

อปัณณกปฏิปทา 3

รายละเอียด

คือข้อปฏิบัติไม่ผิดทางพุทธ เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ (กิเลสหมักหมมในสันดาน)

1. อินทรียสังวร (สำรวมอินทรีย์ คุ้มครองระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เปิดรับทั้ง 6 ทวาร)

2. โภชเนมัตตัญญุตา (รู้ประมาณในการบริโภค, ความรู้จักประมาณในเครื่องอาศัย   ทั้งอาหารกาย, อาหารอารมณ์, อาหารวิญญาณ)

3. ชาคริยานุโยค (การหมั่นทำความตื่นรู้อยู่เสมอ, การหมั่นตื่นออกจากกิเลสโลกีย์)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 20 "อปัณณกสูตร" ข้อ 455, ธรรมาธิบายจากพ่อครู รายการพุทธศาสนาตามภูมิ

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 17 มิถุนายน 2562 ( 20:24:15 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 15:56:52 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 10:57:25 )

อปัณณกปฏิปทา 3

รายละเอียด

มาพูดถึงอปัณณกปฏิปทา 3 สังวรศีล สำรวมอินทรีย์ โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยคะคือการตื่น 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 10 มีนาคม 2563 ( 14:38:20 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 13:08:45 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 10:57:48 )

อปัณณกปฏิปทา 3

รายละเอียด

อปัณณกปฏิปทาข้อ [1] “สำรวมอินทรีย์ 6” ที่มีตา, หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ“สัมผัส”เห็นรูปทางตา,ได้ยินเสียงทางหู,ได้กลิ่นทางจมูก,ได้รสทางลิ้น,ได้กระทบกายภายนอก-ภายใน,ได้สัมผัสกันเองของใจกับในใจขั้นรูป-ขั้นอรูป ซึ่งมี “ภาวะ 2”คือ“มี“ภายนอก”ด้วย มีภายใน”ด้วยอยู่ตลอดการปฏิบัติ

อปัณณกปฏิปทาข้อ [2] “โภชเนมัตตัญญุตา” ผู้ปฏิบัติต้องเรียนรู้ขณะกินขณะใช้นั้นๆ อย่าให้มีกิเลสมันเกิดในจิต ถ้ากิเลสเกิดก็กำจัดกิเลสนั้นๆ 

อปัณณกปฏิปทาข้อ [3] “ชาคริยานุโยคะ” ผู้ปฏิบัติต้องทำความมีสติตื่นรู้อยู่กับการปฏิบัติทั้งภายนอก-ภายในนั้นๆอยู่เสมอ และมี“ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์”ไปตลอด

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ พ่อครูตอบปัญหาผ่าพญาครุฑ ฉุดพญานาค วันพุธที่ 2 มีนาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 10 มีนาคม 2565 ( 20:20:51 )

อปัณณกปฏิปทา 3 (พตปฎ. เล่ม 20 ข้อ 455)

รายละเอียด

มี อินทรียสังวร(สำรวมอินทรีย์6) โภชเนมัตตัญญุตา(ระมัดระวัง ในเรื่องกินอาหารอย่าตกเป็นทาสกิเลส)-ชาคริยานุโยคะ(การเพียร ให้ตนมีสติตื่นรู้ในการสัมผัสทั้ง6 และเรียนรู้ปฏิบัติด้วยการตื่นอยู่เสมอ) การปฏิบัติธรรมของพุทธจึงปฏิบัติธรรมได้ทุกขณะ ตลอดเวลาในชีวิต ทั้งในขณะทำอาชีพ(ทำสัมมาอาชีวะ)-ทั้งขณะมีการกระทำทุกอย่างอยู่(ทำสัมมากัมมันตะ)-ทั้งขณะ พูด(ทำสัมมาวาจา)-ทั้งขณะคิดพิจารณา(สัมมาสังกัปปะ) ตาม หลัก“มรรคอันมีองค์ 8”ซึ่งต้องปฏิบัติ“มรรค 7 องค์”นี่เอง

หนังสืออ้างอิง

 คนจนที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1 หน้า 398

พระไตรปิฎก เล่ม 20 ข้อ 455


เวลาบันทึก 29 ธันวาคม 2562 ( 15:40:25 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 10:20:52 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 10:59:10 )

อปัณณกปฏิปทา 3 การปฏิบัติไม่ผิดต้องมีศีลเป็นหลัก

รายละเอียด

เอาตรงที่ อปัณณกปฏิปทา 3 มันไม่มี ตั้งแต่ศีล ก็ไม่ได้เป็นข้อเป็นหลักเลย เอา ศีลข้อที่ 1 เป็นต้น เกี่ยวข้องกับสัตว์ คุณปฏิบัติ อปัณณกปฏิปทา 3 กับสัตว์นี่ โดยเฉพาะกับคน คุณไม่ต้องไปกินคนหรอก  อย่าไปเบียดเบียนกัน ไม่ต้องไปรักไปชังกัน สรุปๆ เลย

คุณก็คือคน ทำงานร่วมกัน ผู้หญิงผู้ชาย เป็นนักบวชกับฆราวาสก็ทำงานร่วมกันได้ ไม่ต้องไปเกี่ยวพันอะไรให้มันลึกลับลึกซึ้ง ชัดๆนี่ มันให้ตื้น ไม่ต้องลึกอะไร ก็ทำงานร่วมกันผู้ที่ทำงานเป็นประโยชน์แก่กัน คนละฐานะ คุณเป็นผู้หญิงก็ฐานะหนึ่งได้ คุณเป็นผู้ชายก็ฐานะหนึ่ง นักบวชก็ฐานะหนึ่ง ฆราวาสก็ฐานะหนึ่ง ก็รู้ชัด รู้เจน ไม่สับสน ปฏิบัติถูกต้องตามสภาวะจริงของมัน มันก็สะอาดบริสุทธิ์ไป เกิดมาก็ทำงานร่วมกันอย่างนี้แล้วก็ทุกคนก็รู้ฐานะแห่งตนๆ อย่างพวกเรา สบายทำงานกันอยู่

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรม พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ อภิภูผู้รู้จบสัตตาวาสและวิญญาณฐีติ

วันพุธที่ 27 เมษายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2565 ( 13:59:03 )

อปัณณกปฏิปทา 3 ยืนยันเรื่องพุทธไม่มีหลับตา

รายละเอียด

สรุปอีกทีหนึ่งว่า อาจารย์มั่นนี่นะ หรือสายหลับตา ตีทิ้งได้เลยเพราะศาสนาพุทธไม่มีหลับตา อปัณณกปฏิปทา 3 นี่ก็ยืนยันอยู่แล้วว่าจะต้องเป็นผู้ตื่น ตื่นไม่ใช่หลับ แม้แต่ตื่นลืมตาจะทำเบลอไม่ได้ ต้องตื่นทั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ตื่นเต็ม ตื่นครบ ตื่นทั้ง 6 ทวาร

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการพุทธศาสนาตามภูมิ  ตอบปัญหาพาตีทิ้งการนั่งหลับตาปฏิบัติ วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม 2563 ที่บ้านราชฯ 


เวลาบันทึก 02 กุมภาพันธ์ 2564 ( 22:11:50 )

อปัณณกปฏิปทา 3 หลับตาปฏิบัติไม่ได้

รายละเอียด

อปัณณกปฏิปทาข้อ[1] “สำรวมอินทรีย์ 6” ที่มีตา, หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ“สัมผัส”เห็นรูปทางตา,ได้ยินเสียงทางหู,ได้กลิ่นทางจมูก,ได้รสทางลิ้น,ได้กระทบกายภายนอก-ภายใน,ได้สัมผัสกันเองของใจกับในใจขั้นรูป-ขั้นอรูป ซึ่งมี “ภาวะ 2”คือ“มี“ภายนอก”ด้วย มีภายใน”ด้วยอยู่ตลอดการปฏิบัติ

อปัณณกปฏิปทาข้อ[2] “โภชเนมัตตัญญุตา” ผู้ปฏิบัติต้องเรียนรู้ขณะกินขณะใช้นั้นๆ อย่าให้มีกิเลสมันเกิดในจิต ถ้ากิเลสเกิดก็กำจัดกิเลสนั้นๆ 

อปัณณกปฏิปทาข้อ[3] “ชาคริยานุโยคะ” ผู้ปฏิบัติต้องทำความมีสติตื่นรู้อยู่กับการปฏิบัติทั้งภายนอก-ภายในนั้นๆอยู่เสมอ และมี“ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์”ไปตลอด

แต่ผู้หลงผิดก็มืดบอดจริงๆ ไป“หลับตา”ปฏิบัติกัน    การหลับตาปฏิบัติ มันก็ตรงกันข้ามกับ“อปัณณกปฏิปทา 3”

มันผิด“วิธีปฏิบัติของพุทธ” แม้ภาษา“อปัณณปปฏิปทา” ก็ยืนยันอยู่โต้งๆ ชัดๆอีกปานฉะนี้  ก็ยังไม่ยอมรับความผิดนี้

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการพุทธศาสนาตามภูมิ ปัญญา 8 ประการ 3 ข้อแรก โดยพิสดาร วันพุธที่ 9 มีนาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 17 มีนาคม 2565 ( 20:29:20 )

อปัณณกปฏิปทา 3 เป็นการปฏิบัติธรรม 

รายละเอียด

เขายังไม่ตื่น ทำฌาน  ลืมตาทุกลมหายใจเข้าออกในอานาปานสติ ไม่ใช่ไปนั่งหาสถานที่ ไม่ต้องไปเสียเวลา ไม่ต้องหาสถานที่ไม่ต้องเต๊ะท่า มีสติสัมปชัญญะตื่นเต็มสัมผัสโภชเนมัตตัญญุตาสำรวมอินทรีย์ 6 ตื่นรับรู้ให้หมดเป็น อปัณณกปฏิปทา 3 ครบครันตามจรณะ 15 วิชชา 8 ที่มี อปัณณกปฏิปทา 3 เป็นการปฏิบัติธรรม ศาสนาพุทธผิดเพี้ยนไปเพราะไปนั่งหลับตาหาสถานที่กดข่ม มันออกนอกรีต มันไม่ใช่ อปัณณกปฏิปทา 3 สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 ไม่มี 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ประชาธิปไตย 3 อย่าง ในโลก

วันพุธที่ 4 มกราคม 2566 ขึ้น 13 ค่ำเดือน 2 ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 12 มกราคม 2566 ( 11:10:48 )

อปัณณกปฏิปทา 3 เป็นตัวปฏิบัติหลักของพุทธศาสนา

รายละเอียด

ก็พูดซ้ำพูดซากหลายที ถ้าเมืองไทยตื่นจากการไปหลงนั่งหลับตา ให้มาเข้าใจจรณะ 15 วิชชา 8 ของพระพุทธเจ้า อย่างถูกต้องเลย ปฏิบัติ อปัณณกปฏิปทา 3 นี่แหละเป็นตัวปฏิบัติหลัก ถ้าไม่มี 3 ตัวนี้ไม่ใช่ศาสนาพุทธ ก็พูดไปหมด โบราณาจารย์อธิบายไว้หมด ก็เอามาฟื้น อาตมาเอามาฟื้นอธิบายอีก ไม่ใช่บื้ออยู่อย่างนั้น เขาให้ตื่นไม่ใช่หลับ ให้ชาคริยาไม่ใช่นิทราหรือไสยา ให้ตื่น 

แล้วก็อยู่กับสิ่งกินสิ่งที่ใช้เรียกว่า โภชเนมัตตัญญุตา แล้วสำรวมอินทรีย์ตาหูจมูกลิ้นกายกับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับของกินของใช้และเกิดกิเลส รู้กิเลส เมื่อเวลากระทบสัมผัส ไม่ใช่ไปนั่งหลับตาอยู่อย่างนั้น เมื่อไหร่มันจะรู้เรื่องวะ  

ไปสร้างฌาน ด้วยการหลับตาเป็นอาหาร มันคนมิลักขะ เก่าแก่คนเถื่อนคนป่าคนโง่แล้วก็ออกป่าอีกด้วย มันสมเหมาะเลย คนหลงทิศทางก็เป็นอย่างนั้น นอกจากหลงทางออกมาแล้วยังหลับตาปฏิบัติอีก พระพุทธเจ้าสอนไว้ให้มี จักษุ ปัญญา ญาณ วิชชา อาโลก ให้มาตื่นอยู่กับแสงสว่าง อาโลก เขาก็ไม่ค่อยเรียนรู้ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์งานมหาปวารณาครั้งที่ 39 คนฉลาดสร้างอาหาร คนชั่วช้าสามานย์สร้างอาวุธ วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 12 พฤศจิกายน 2564 ( 21:47:29 )

อปัณณกปฏิปทา 3 เป็นหลักสำคัญคู่กับปัญญา

รายละเอียด

อปัณณกปฏิปทา 3 เป็นหลักสำคัญมากเลยทำตามหลัก สังวรศีล สำรวมอินทรีย์ โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยคะ พยายามพากเพียรกำจัดกิเลสด้วยปัญญากำจัดด้วยอย่างอื่นไม่ได้เหรอ ต้องเอาปัญญาเท่านั้น ปัญญาก็เป็นเรื่อง อจินไตย เป็นพลังที่มีความรู้แจ้งรู้จริงรู้ชัดว่ามันเป็นกิเลส มันไม่เที่ยง มันพาให้เป็นทุกข์ มันไม่มีตัวตนหรอกมันมาเสแสร้งมันมาสร้างมายามามีตัวตนถาวรนิรันดร์ เราพิสูจน์แล้ว 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ เปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ตอน 1

วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน 2564 ขึ้น 2 ค่ำเดือน 8 ปีฉลู ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 05 สิงหาคม 2564 ( 18:52:43 )

อปัณณาปฏิปทา 3

รายละเอียด

คือข้อปฏิบัติไม่ผิด เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ (กิเลสหมักหมม ในสันดาน)

1. อินทรียสังวร (สํารวมอินทรีย์คุ้มครองระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)

2. โภชเนมัตตัญญตา(รู้ประมาณในการบริโภค)

3. ชาคริยานุโยค(การหมั่นทําความตื่นรู้อยู่เสมอ)

 

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 20 “อปัณณกสูตร” ข้อ 455


เวลาบันทึก 12 มีนาคม 2565 ( 19:23:21 )

อปายสัตตา

รายละเอียด

เปลี่ยนสถานภาพไปเป็นต่ำทราม

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 215


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 11:31:12 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 03:16:29 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 10:59:30 )

อปายะ

รายละเอียด

1. ไม่เจริญ , ไม่ดี 

2. อาหารเลวของขันธ์ 

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 156, สมาธิพุทธ หน้า 198


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 11:36:04 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 03:19:51 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 10:59:49 )

อปุญญ

รายละเอียด

 

คำว่า “อปุญญ”เป็นพลังงาน ที่ทำงานแล้วสลาย ไม่มีเหลือวนกลับไปกลับมาอีก

ถ้าเป็นเช่นนั้น“ความสิ้นบุญสิ้นบาป”คือ “ปุญญปาปปริกฺขีโณ” ก็มีไม่ได้กันสักที “ความจบกิจ”ก็ไม่มีกันเลย นิพพตานก็มีไม่ได้

เพราะทำ“บุญ” แล้วก็วนมาเป็น“บาป”ที่ไปหลงแปล“ปุญญ”ว่า“บาป”กันอยู่อีก

เลยไม่มีนิพพานบริบูรณ์สัมบูรณ์กัน

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการพุทธศาสนาตามภูมิ  ตอบปัญหาอย่างนานาสังวาส
วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 ที่บ้านราชฯ
สื่อธรรมะพ่อครู(จรณะ 15 วิชชา 8) ตอน ไฟฌานทำลายกิเลสได้อย่างไร


เวลาบันทึก 16 กุมภาพันธ์ 2564 ( 11:05:39 )

อปุญญะ

รายละเอียด

การไม่ต้องชำระกิเลส

หนังสืออ้างอิง

ค้าบุญคือบาป หน้า 288


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 11:36:47 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 03:22:15 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 11:00:05 )

อปุญญะไม่ได้แปลว่าบาป

รายละเอียด

อปุญญะไม่ได้แปลว่าบาป ผู้ไปแปล อปุญญะว่าบาป ยังเข้าใจพยัญชนะสลับไปสลับมา ยังไม่รู้จักสภาวะที่แท้ของบุญ หรือปุญญะว่า มันเป็นเครื่องประหารกิเลสอย่างเดียว มันไม่ใช่ตัววน แต่มันทำงานอย่าง one way traffic เอกังสะ หนึ่งเดียว ไม่มีสองเลย กำจัดกิเลสหมดแล้วหมดหน้าที่ ไม่สะสมเป็นสมบัติอะไรที่ไหนอีกเลย อันนี้เข้าใจกันได้ยากมาก ไม่ใช่เล่นๆ 

อาตมาอธิบายบุญในคอลัมน์เปิดยุคบุญนิยม เปิดคอลัมน์นี้ในหนังสือเราคิดอะไร จนหยุดไปแล้ว จนเอามารวบรวมเป็นเล่ม เปิดยุคบุญนิยม 3 เล่ม เล่มละ 300, 400 หน้านะ ก็ติดตามศึกษาให้ดีๆ สิ่งเหล่านี้เป็นของพระพุทธเจ้าที่ลึกซึ้ง ซึ่งมันได้เพี้ยน มันได้ผิด มันได้เลอะไปหมดแล้วมันไม่มีโลกุตรธรรมของพระพุทธเจ้า 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ อานาปานสติอย่างพุทธ ไม่มีนัตถิกทิฏฐิ วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 19 สิงหาคม 2565 ( 19:29:29 )

อปุญญาภิสังขาร

รายละเอียด

1. การสังขารที่ไม่ต้องชำระอีก

2. การจัดการปรุงกรรมต่างๆ ด้วยจิตที่ไม่มีบาป ไม่มีบุญแล้ว

หนังสืออ้างอิง

ค้าบุญคือบาป หน้า 57,  หน้า 282


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 11:39:09 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 03:25:56 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 11:00:28 )

อปุญญาภิสังขารเป็นของพระอรหันต์

รายละเอียด

อปุญญาภิสังขาร คือ ไม่มีบุญแล้ว อภิสังขารนี้ เป็นของพระอรหันต์ไม่มีบุญแล้ว ไม่ใช่ อปุญญะ พอไม่ใช่บุญก็ไปแปลว่าบาป นั่นคือไม่รู้จักสภาวะของบุญ ไม่รู้จริง ผู้ที่ไม่รู้จริงก็ไปแปลว่าเป็นบาป กลับกันที่ไม่ใช่บุญก็เป็นบาป แต่บุญ One way Traffic ทำงานฆ่ากิเลสอย่างเดียวเลย ถ้าบุญยังวกกลับได้ ก็ไม่มีปรินิพพานเป็นปริโยสานก็ 0 หมดเลย มันอาจจะนานเพราะว่าองศามันน้อยก็เลยออกจะไกลมาก ไม่ใช่ มันไปแล้วไปเลย บุญมีหน้าที่ฆ่ากิเลสจบมันก็ไม่มีบุญ ถ้าทำเป็น คุณก็เกิดฌานเกิดบุญได้ หากคุณบอกจะทำขวานไปถากไม้ แต่คุณก็ปั้นแป้งเปียกมาเป็นรูปขวาน แล้วไปถากไม้ มันจะได้อะไร ต้องเข้าใจให้ถูกการสร้างขวานต้องสร้างด้วยอะไรประกอบอะไรขึ้นมา นี่คือความลึกซึ้งของโลกุตระธรรมพระพุทธเจ้า อปุญญาภิสังขาร แปลว่า​ สังขารที่ไม่มีบุญแล้วเลิกบุญแล้วบาปก็หมดแล้ว เรียกว่า ปุญญปาปปริกขีโณ สิ้นบุญสิ้นบาป

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 25 มีนาคม 2563 ( 09:48:45 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 13:11:44 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 11:01:50 )

อปุญญาภิสังขารไม่ใช่อภิสังขารมาร

รายละเอียด

เรื่องดี แปลว่ากุศล เรื่องไม่ดีคือ อกุศล แต่เรื่องดีของโลกุตระอภิสังขารคือฆ่ามารเลย ไม่เป็นมารเลย คำว่า มาร 5 คือตัวบาป ตัวกิเลส เพราะฉะนั้น ต้องฆ่ากิเลส ต้องฆ่าบาป บาปกิเลสคือ มาร 

มารตัวนี้ ถ้าเป็นทางโลกียะก็เป็นมารจริง อย่างเทวนิยม มารของเขาฆ่าไม่ได้เลย เขามีอภิสังขารมารตลอดกาล คือพระเจ้ามีซาตานอยู่ตลอดกาล ไม่รู้จักซาตานไม่ได้เรียนรู้เรื่องซาตาน ไม่คิดจะฆ่าซาตานด้วย

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ประสบการณ์พ่อครูในอิทธิปาฏิหาริย์และการออกป่า วันพุธที่ 22 มิถุนายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2565 ( 04:48:02 )

อปุญญาภิสังขารไม่ได้แปลว่าเป็นบาป

รายละเอียด

อปุญญาภิสังขาร ไม่ได้แปลว่าอภิสังขารนี้เป็นบาป อปุญญะ ไม่ใช่บุญก็เลยแปลว่าเป็นบาป ถ้าเข้าใจอย่างนี้ยังไม่สัมมาทิฏฐิในศาสนาพุทธ ถ้าขืน บุญ นี่ หมดแล้ว อปุญญะแล้ว ก็ยังวนไปเป็นบาปอีก ไม่จบ ไม่มีการสิ้นอาสวะ สิ้นอย่างไม่หมุนเวียนกลับ มันไม่หมุนเวียนกลับแล้ว บุญ อาตมาใช้ภาษาอังกฤษกำกับว่า One Way Traffic มันเดินทางตรงทางเดียวมันไม่มีโค้งไม่มีงอ ไม่มีโค้งกลับเลย มีแต่ตรงหายไปเลย มีหน้าที่เดียว ฆ่ากิเลสอย่างเดียว ฆ่าได้ไม่ได้ก็หายไปเลย เป็นรายละเอียดลึกซึ้งที่ต้องฟังแล้วฟังอีก 

เพราะฉะนั้นการทำสมาธิของพุทธนั้น กับการทำอะไรไม่ขาดสตินั้นจึงต่างกัน การทำอะไรไม่ขาดสติก็เป็นส่วนหนึ่ง ดี ไม่ขาดสติทำให้จิตตื่น แล้วต้องมีองค์ธรรมอื่นอีกที่จะปฏิบัติเพื่อให้กิเลสลด ทำจิตตื่นเรียกว่า ชาคริยา พากเพียรให้จิตตื่น มันก็ไม่ขาดสติ ให้จิตตื่น รู้เท่าทันสภาพทุกอย่างในทวารทั้ง 6 แล้วก็ ปฏิบัติ โภชเนมัตตัญญุตา หรือสำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 ตากระทบรูป หูกระทบเสียง จมูกรับกลิ่น ลิ้นกระทบรส กายกระทบโผฏฐัพพะ ทำให้สะอาดบริสุทธิ์ที่ใจ อย่างนี้เป็นต้น

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาพาปฏิบัติเป็นลำดับอย่างไม่กดข่ม วันพุธที่ 16 มีนาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 23 มีนาคม 2565 ( 16:04:40 )

อปุญญาสังขาร

รายละเอียด

ผู้ทำปุญญาภิสังขารได้ ผู้นั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ ปฏิบัติจนกิเลสหมด บาปหมดอกุศลหมดจากจิตก็จบกิจ เป็นอปุญญาภิสังขาร คือบุญก็ไม่มีแล้ว บุญที่เป็นเครื่องมือกำจัดกิเลสก็ไม่ต้องใช้แล้วเลิกจบหมด ก็เป็นปุญญปาปปริกขีโณ พระอรหันต์เป็นคนที่หมดบุญหมดบาป ปุญญปาปปริกขีโณ เป็นคนสิ้นบุญสิ้นบาปสมบูรณ์หมด คำเหล่านี้บ่งบอกสภาวธรรมคนที่ถึงขั้นอปุญญาภิสังขาร จะปรุงอย่างไรก็ไม่เกิดกิเลส ไม่เป็นบาป พระอรหันต์คือคนไม่มีบุญไม่มีบาปแล้ว สิ้นบุญสิ้นบาปแล้ว อันนี้เป็นเรื่องที่เข้าใจกันยาก ถ้าเข้าใจสภาวะนี้ไม่ได้ คนจึงไปแปล อปุญญาภิสังขาร ว่าไม่เป็นบุญ เพราะฉะนั้นจึงเป็นบาป เป็นการแปลแบบพยัญชนะสื่อพยัญชนะ ไม่เป็นสภาวะก็เลยผิด ที่จริงแล้ว อปุญญาภิสังขาร แปลว่าไม่มีบุญอีกแล้ว จากนั้นก็เป็น อเนญชาภิสังขาร

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันจันทร์ที่ 15 มกราคม 2561


เวลาบันทึก 21 กุมภาพันธ์ 2564 ( 14:29:05 )

อปฺปํ วา ญาติปริวฏฺฏํ ปหาย มหนฺตํ วา ญาติปริวฏฺฏํ ปหาย

รายละเอียด

ละเครือญาติน้อยใหญ่

หนังสืออ้างอิง

เปิดโลกเทวดา หน้า 38


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 11:41:45 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 02:49:50 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 11:02:19 )

อปฺปํ วา โภคกฺขนฺธํ ปหาย มหนฺตํ วา โภคกฺขนฺธํ ปหาย

รายละเอียด

ละกองโภคทรัพย์น้อยใหญ่

หนังสืออ้างอิง

เปิดโลกเทวดา หน้า 38


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 11:43:08 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 03:36:20 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 11:02:41 )

อภัย

รายละเอียด

ทำให้พ้นภัย , ทำให้ไม่มีภัย

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 306


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 11:43:54 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 03:46:49 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 11:03:00 )

อภัยคือใจไม่รักไม่ชัง

รายละเอียด

อภัย แปลว่าเลิกมีภัย ภัยคือ จะต้องผูกเวร รักผูกพยาบาทก็ผูก อภัยแปลว่า ว่าง ไม่ผูก เลิกจองเวรจองกรรมกัน หรือไปในแนวโน้ม อภัยคือไม่มีโทสะตอบ เขาจะว่างั้น แต่ยังมีรักตอบอยู่นะ เขาจะเข้าใจเป็นช่วงนั้นไม่มีโทสะตอบ แต่ยังรักผูกพันกันอยู่ ซึ่งจริงๆมันจะต้องมีความสัมพันธ์ แต่ความผูกพันมันจะมี นัย สำคัญที่ต่างกัน ศึกษาให้ดีแล้วจะเข้าใจ 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 02 กันยายน 2563 ( 14:32:25 )

อภัยทาน

รายละเอียด

1. ไม่ผูกพัน ไม่เป็นหนี้ ไม่ก่อการผูกเวร

2. สละโลภ โกรธ หลง ให้เกิดขึ้นแก่ตน 

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 383, สมาธิพุทธ หน้า 159


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 11:44:53 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 03:52:03 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 11:03:30 )

อภัสราพรหม

รายละเอียด

อภัสราก็สูงละเอียดไปอีก อภัสราใหญ่กว่ามหาพรหมที่ละเอียดกว่า สว่างกว่า มหาพรหมคือเบื้องต้นอยู่เสมือนเด็กๆคือ

ชั้นที่ 4 ปริตตาภาภูมิ

ชั้นที่ 5 อัปปมาณาภาภูมิ

ช้ันที่ 6 อาภัสราภูมิ

ที่มา ที่ไป

พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2562 


เวลาบันทึก 22 ธันวาคม 2562 ( 15:38:32 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 13:12:36 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 11:04:05 )

อภัสราในวิญญาณฐิติ ข้อที่ 3 คืออะไร

รายละเอียด

อาภัสราไม่ยากเท่าไหร่ วิญญาณฐิติข้อที่ 3 มี กายอย่างเดียวกัน สัญญาต่างกัน แต่อันนี้กายอย่างเดียวกันสัญญาอย่างเดียวกัน วิญญาณฐีติ ข้อที่ 4 

อภัสรา คือ สาย อย่างธัมมชโยหลับตาก็สว่าง ใสๆๆ หลอกตัวเองหลอกความเป็นจริง ความเป็นจริงต้องมีมืดมีสว่าง มันโกหกตัวเองว่ามีแต่สว่าง อย่างที่อาตมาเคยพูด ถ้าหลับตาลง มันมืดมันก็ดับ กิณหา ลืมตามันก็สว่าง เท่านั้นเอง 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ สุภกิณหาอย่างพุทธดับสุดสิ้นอาสวะ วันพุธที่ 2 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 31 มกราคม 2564 ( 15:30:39 )

อภัสราในวิญญาณฐิติ ข้อที่ 3 คืออะไร

รายละเอียด

อาภัสราไม่ยากเท่าไหร่ วิญญาณฐิติข้อที่ 3 มี กายอย่างเดียวกัน สัญญาต่างกัน แต่อันนี้กายอย่างเดียวกันสัญญาอย่างเดียวกัน วิญญาณฐีติ ข้อที่ 4 

อภัสรา คือ สายอย่างธัมมชโยหลับตาก็สว่าง ใสๆๆ หลอกตัวเองหลอกความเป็นจริง ความเป็นจริงต้องมีมืดมีสว่าง มันโกหกตัวเองว่ามีแต่สว่าง อย่างที่อาตมาเคยพูด ถ้าหลับตาลง มันมืดมันก็ดับ กิณหา ลืมตามันก็สว่าง เท่านั้นเอง 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ สุภกิณหาอย่างพุทธดับสุดสิ้นอาสวะ วันพุธที่ 2 ธันวาคม 2563 ที่บ้านราชฯ


เวลาบันทึก 31 มกราคม 2564 ( 16:57:06 )

อภิ

รายละเอียด

1. อย่างยิ่ง อย่างสูง อย่างเฉพาะเป็นพิเศษ

2. ยิ่งใหญ่ สูงส่ง 

3. ยิ่ง , วิเศษ , เหนือ , เฉพาะ , ข้างหน้า 

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 84, สมาธิพุทธ หน้า 171, หน้า 481


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 11:46:04 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 03:57:06 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 11:04:31 )

อภิชฌา

รายละเอียด

อภิชฌา คือ ความจัดจ้านของกิเลสทางโลภ ส่วนโทมนัสละเอียดภายใน แต่อภิชฌา คือ หยาบภายนอก

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม  บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน 2562


เวลาบันทึก 26 ตุลาคม 2562 ( 14:09:38 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 13:15:21 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 11:05:03 )

อภิชฌา

รายละเอียด

พุ่ง , มุ่งมั่นจิต

หนังสืออ้างอิง

จากหนังสือทางเอก ภาค 3 หน้า 417


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 11:46:57 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 04:00:13 )

อภิชฌา

รายละเอียด

ความจัดจ้านของกิเลสทางโลภ ส่วนโทมนัสละเอียดภายใน แต่อภิชฌา คือ หยาบภายนอก

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน 2562


เวลาบันทึก 27 พฤศจิกายน 2562 ( 19:46:35 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 13:16:16 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 11:05:38 )

อภิชฌา

รายละเอียด

ความจัดจ้านของกิเลสทางโลภ ส่วนโทมนัสละเอียดภายใน แต่อภิชฌา คือ หยาบภายนอก

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน 2562


เวลาบันทึก 27 พฤศจิกายน 2562 ( 19:49:04 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 13:17:04 )

อภิชฌาวิสมโลภะ

รายละเอียด

1. มีจิตเพ่งในแง่โลภ อย่างกลาง อย่างละเอียด

2. จะต้องเป็นอย่างที่ตนหมายนี้แหละอย่างเดียว ไม่ปลดจิต ไม่ยอมวางใจ  หากแม้นเป็นอื่นจะอึดอัดมาก , ขัดๆ ยอกๆ มาก , หนักอึ้งมากหรือน้อยก็ตามแต่ความแรงแห่งความยึด ความถือดีของผู้นั้นๆ

3. เพ่งพุ่งหมายแต่จะได้รับความสมใจๆๆๆ ให้ยิ่ง ให้ยอดอยู่เสมอ

4. จิตเพ่งยึด 

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 46, หน้า 416, หน้า 432, สมาธิพุทธ หน้า 367


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 11:48:39 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 04:05:22 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 11:06:46 )

อภิชปา

รายละเอียด

ล้มเหลวเพราะทุ่มเทเร่งให้เศรษฐกิจเจริญขึ้นรวดเร็ว!      อันนี้เป็นประโยคที่ในหลวงตรัสไม่ใช่ของอาตมานะ การจะไปเร่งให้เศรษฐกิจเจริญรวดเร็ว ทุ่มเทเร่งใหญ่เลยก็ล้มเหลว มันต้องได้เท่าที่ไปตามเหตุปัจจัย ไปตามขั้นตอน ไปทำเร่ง เป็นอภิชปา ความต้องการล้ำหน้าเกินกว่าความเป็นจริงก็เสียผล

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 9 พฤษภาคม 2561


เวลาบันทึก 31 ธันวาคม 2563 ( 12:58:57 )

อภิชัปปา

รายละเอียด

1. ตัณหากระหาย หรือกระสันอยากมากล้ำล่วงหน้าไป

2. มีตัณหากระหาย มีความต้องการล้ำหน้า

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 244, หน้า 245


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 11:50:59 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 04:09:53 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 11:07:08 )

อภิชัปปา

รายละเอียด

อภิชัปปา คือ เป็นความอยากรู้ของคนเกิน จึงเรียกว่า “อภิชัปปา” ยิ่งจะช้ามากจะอยากรู้เกิน รู้ไปทำไม ทำให้ได้และควรจะรู้ไปตามลำดับ  ซึ่งจะเป็นลำดับอย่างน่าอัศจรรย์จะทำให้ช้ามากเลย  เรียกว่า “วิตักกจริต” ศรัทธาเยอะแต่แถมเอาวิตักกจริตไปใส่ พยายามเอาปัญญามาแปะๆ อยู่ในฐานศรัทธาดี  การแสดงออกนี้แสดงเชิงปัญญา  แต่เป็นปัญญาปลอมแต่มีศรัทธาสูงเลยอยู่ได้ พยายามอย่าแสดงตัวว่ามีปัญญา  ถ้าทำโง่แล้วจะฉลาดหากทำฉลาดแล้วคุณจะโง่ไปอีกนานจงทำโง่แล้วคุณจะฉลาด

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 9 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 19 ตุลาคม 2562 ( 12:47:17 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 13:18:19 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 11:07:52 )

อภิชาตบุตร

รายละเอียด

บุตรที่เกิดมาแล้วประเสริฐกว่าพ่อแม่

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 235


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 11:51:56 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 04:12:19 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 11:08:08 )

อภิญญา

รายละเอียด

1. ความรู้ยิ่ง 

2. ความเจริญยิ่ง 

3. ความรู้ขั้นพิเศษ, ความรู้ชั้นสูง, ความชำนาญพิเศษ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 100, หน้า 138, คนคืออะไร? หน้า 57


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 11:53:20 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 04:15:39 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 11:08:31 )

อภิญญา

รายละเอียด

สยังอภิญญา เป็นเองแล้วข้ามชาติมาได้ อย่างอาตมาปางเจ็ด เป็น สยังอภิญญา เป็นความรู้อภิญญา 

อภิญญา คื อความรู้ 5 ประการ กับความรู้ที่ใช้ทบทวนความจบอีก 3 ประการ เรียกว่า ความรู้ทั้งหมด 8 เรียกว่า วิชชา 8 นี่คือความรู้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นความรู้ที่ว่า 5 ประการนี้อาตมาก็มี 3 ประการก็ทบทวนได้ เป็น ความรู้เป็นวิชาที่รู้ถ้วนรู้จบรู้รอบรู้ครบสมบูรณ์แบบ เรียก ด้วยภาษาบาลีว่าเป็นอภิญญา อภิญญาเป็นความรู้ เป็นปาฏิหาริย์ เป็นปาฏิหาริย์ตามคำสอนเรียกว่า อนุสาสนีปาฏิหาริย์ 

เช่นสอนศีล มีศีล แล้วให้มาเรียนรู้ศีล ปฏิบัติตามศีลแต่ละข้อๆ การปฏิบัติก็มี 3 ข้อใหญ่ๆเรียกว่า อปัณณกปฏิปทา 3 คือ เวลาปฏิบัติแล้วก็ต้องรู้ รู้ตัวทั่วพร้อม ถ้ามันไม่รู้ก็ทำตัวให้รู้เรียกว่า ชาคริยานุโยคะ แล้วก็สำรวมอินทรีย์ หรือ จะเรียกว่า สังวรศีล สำรวมอินทรีย์ ตื่นรู้แล้วก็มีชีวิตอยู่กับโภชเนมัตตัญญุตาแล้ว รู้ว่าต้องรู้จักจัดการประมาณการกินการใช้ ย่นย่อลงมาชีวิตเหลือที่สุดก็คือเรื่องการกินการใช้

คำว่า การใช้ นี่คือพฤติกรรมการกระทำทุกอย่าง การใช้ คือ การกระทำ ทำงาน กรรมกิริยาทุกอย่าง จัดการอย่างโน้นอย่างนี้ ยิงปืน ขว้างลูกระเบิด  ฆ่าฟันคน ฆ่าสัตว์ ทำร้าย เป็นการใช้ ใช้กรรมกิริยาของตนเองทั้งนั้นเลย  เพราะฉะนั้นคนที่อวิชชาไม่รู้กรรมกิริยาของตนเอง ทำชั่วทำบาป แม้ฆ่าสัตว์เดรัจฉาน คุณก็บาปแล้วที่จะมีกรรมวิบากต่อกัน ยิ่งฆ่าคน กรรมวิบากที่ผูกจัดจ้าน แล้วก็มีกลยุทธ์กลวิธีที่จะทำร้ายแก้แค้นอะไรกัน ยิ่งกว่าหนังจีนกำลังภายในซับซ้อนไม่รู้กี่ชาติ แต่คนก็ไม่รู้ว่าการฆ่ากันมันเกิดวิบากซับซ้อนแก้แค้น ซึ่งเขาไม่รู้ ไม่รู้ว่าเป็นกรรมเป็นวิบาก จริง 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ในยุคนี้ต้องมาเรียนกับพ่อครูจึงจะบรรลุอรหันต์ได้ วันศุกร์ที่ 27 มกราคม 2566 ขึ้น 6 ค่ำเดือน 3 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 25 กุมภาพันธ์ 2566 ( 13:10:49 )

อภิญญา 6

รายละเอียด

คือ ความรู้อันวิเศษยิ่งที่ทำให้กิเลสหมดไป

1. อิทธิวิธี (มีฤทธิ์สู้กิเลสได้)

2. ทิพโสต (มีหูทิพย์แยกแยะกิเลสได้)

3. เจโตปริยญาณ (กำหนดรู้จิตว่า มีกิเลสอื่นใดบ้างหรือไม่)

4. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้ระลึกเรื่องที่ผ่านมาชาติต่างๆของกิเลสตนได้)

5. ทิพพจักขุ (ตาทิพย์มองทะลุกิเลศได้)

6. อาสวักขยญาณ (รู้แจ้งว่ากิเลสหมดสิ้นแล้ว)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 11  "ทสุตธารสูตร"  ข้อ 431

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก 


เวลาบันทึก 05 กรกฎาคม 2562 ( 12:13:52 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 15:57:49 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 11:08:55 )

อภิญญา 6

รายละเอียด

คือความรู้อันวิเศษยิ่งที่ทําให้กิเลสหมดไป

1. อิทธิวิธี (มีฤทธิ์สู้กิเลสได้)

2. ทิพพโสต (มีหูทิพย์แยกแยะกิเลสได้)

3. เจโตปริยญาณ(กําหนดรู้จิตว่า มีกิเลสอื่นใดบ้างหรือไม่)

4. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ(ระลึกชาติกิเลสต่างๆของตนได้)

5. ทิพพจักขุ (ตาทิพย์มองทะลุกิเลสได้)

6. อาสวักขยญาณ (รู้แจ้งว่ากิเลสหมดสิ้นแล้ว)

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 11 “ทสุตธารสูตร” ข้อ 431


เวลาบันทึก 14 มีนาคม 2565 ( 15:14:57 )

อภิฐานาภินิเวสานุสยา

รายละเอียด

ความนอนตามแห่งจิต ภาษาบาลีมาจาก อภิฐานาภินิเวสานุสยา ความถือมั่นและความนอนตามแห่งจิต อภินิเวสายะ คือ เป็นที่อยู่เลยนะ เรียกว่าไม่กระดิกไปไหน นอนจมอยู่เลย ถ้านั่งหรือยืนก็ยังขับเคลื่อนไปได้นะ แต่นี่นอนเลย ไม่ไปไหนเลย

ที่มา ที่ไป

รายการ ทำวัตรเช้า งานว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน ครั้งที่ 7 ผู้ข้องอยู่ในถ้ำอันไกลจากวิเวก วันอังคารที่ 31 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 10 มกราคม 2563 ( 17:09:47 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 13:19:28 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 11:09:25 )

อภิณหปัจจเวกขณ์

รายละเอียด

ตกลงแล้วอาจารย์โง่กว่าลูกศิษย์บอกตัวเองไม่ได้ต้องให้ลูกศิษย์บอก แต่อาตมาบอก ลูกศิษย์จะไปรู้เท่ากับอาจารย์ได้อย่างไร อาตมารู้ว่าตัวเองเป็นพระอรหันต์ก็บอกความจริงไป ท่านก็ว่าเป็นอรหันต์และห้ามบอกว่าเป็น อาตมาก็ยืนยันว่าไม่มีคำสอนพระไตรปิฎกคือคำสอนของพระพุทธเจ้าว่าไม่ให้บอก ในอภิณหปัจเวกขณ์ก็บอก ในโลหิจสูตรก็ยืนยันว่า หากบรรลุแล้วไม่ให้บอกไม่ได้ อย่างอภิณหปัจจเวกขณ์ ให้บอกเลย หากบรรลุแล้วไม่บอกใครก็เป็นคนที่มังกุ เก้อๆยากๆ เขินๆ จะไปบอกได้อย่างไรว่าตัวเองเป็นอรหันต์ ซึ่งบอกว่าไม่ใช่พระพุทธเจ้ายืนยันญาณทัศนะวิเศษอันสามารถกำจัดกิเลสที่เราได้บรรลุแล้วมีอยู่หรือหนอ มีไหม ที่เป็นเหตุให้เรา ผู้ที่อันเพื่อนพรหมจรรย์ถามแล้วจะไม่เป็นผู้ที่เก้อในกาลภายหลัง

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 3 เมษายน 2563


เวลาบันทึก 09 เมษายน 2563 ( 11:43:28 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 13:20:00 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 11:10:44 )

อภิณหปัจจเวกขณ์ 10

รายละเอียด

นี้ คือธรรมที่นักบวชควรพิจารณาเนืองๆ 10 ประการ

1. บัดนี้เราเป็นผู้มีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว

2. การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น

3. อาการกาย วาจาอย่างอื่นที่เราควรทําดีกว่านี้ ยังมีอีก

4. เราติเตียนตนเองด้วยศีลได้หรือไม่

5. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้ว ติเตียนเราด้วยศีลได้หรือไม่

6. เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งนั้น

7. เรามีกรรมเป็นของตน ทําดีเราดี ทําชั่วเราชั่ว

8. วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทําอะไรอยู่

9. เรายินดีในความสงัดจากกิเลสหรือไม่

10. อุตตริมนุสสธรรมอันเราได้บรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่ ที่เราจะไม่เก้อเขิน เมื่อเพื่อนนักปฏิบัติธรรมถามในภายหลัง

 

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 24 “อภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตร” ข้อ 48


เวลาบันทึก 16 มีนาคม 2565 ( 08:53:26 )

อภิณหปัจเวกขณ์

รายละเอียด

คือ กายกรรม  วจีกรรม  ที่ดีกว่านี้ของเรายังมีอีก แม้จะบรรลุธรรมแล้วก็ยังมีสิ่งที่ต้องขัดเกลาใน กายกรรม  วจีกรรม ที่ต้องพัฒนาต่อไป  ท่านไม่ได้บอกว่ามโนกรรม  ท่านบอกว่าแค่กายกรรม  วจีกรรมเท่านั้น เพราะว่าอันนี้ ท่านตรัสไว้  เผื่อคนที่เป็นอรหันต์  อรหันต์ถือว่าจิตสูงสุดแล้วจบ  แต่แม้เป็นอรหันต์แล้ว กายกรรม  วจีกรรมที่ดีกว่านี้

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 22 ธันวาคม 2562 ( 22:31:57 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 13:20:52 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 11:11:18 )

อภิทานทรัพย์

รายละเอียด

การเกิดมาเป็นมนุษย์จะมีทรัพย์ 3 ชนิดคือ

1.เวลาเป็นทรัพย์

2.แรงงานเป็นทรัพย์

3.ทุนเป็นทรัพย์


เวลาบันทึก 12 มิถุนายน 2562 ( 11:19:45 )

เวลาบันทึก 12 มิถุนายน 2562 ( 11:26:10 )

อภิธรรม

รายละเอียด

1. สาระแท้ๆ สูงสุด  จงเรียนรู้ที่กายเรา ตัวเรา รู้จิต เจตสิก แยกรูปแยกนาม แยกกาย แยกเวทนา อ่านจิต อ่านธรรมที่เป็นสุขเวทนา – ทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนาที่เกิดเพราะมีรูปมาสัมผัสเป็นปัจจัยให้ออก

2. ธรรมที่เรียนรู้กันถึงขั้นปรมัตถสัจจะ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 373, พุทธเป็นอเทวนิยมอย่างนี้ หน้า 51


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 11:54:23 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 04:18:53 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 11:11:43 )

อภิธรรม 4

รายละเอียด

เรียนรู้เจตสิก รูป นิพพาน แยกรูปแยกนามได้ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เรียกว่าอภิธรรม 4 รวมไว้หมดแล้ว 

แยกรูป กับ เจตสิก แยกจากรูปจากนาม ทำจิตเจตสิกต่างๆ ก็สรุปที่เวทนา 108 

เวทนา 3 มี ความสุข ความทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ เป็นสามเส้าเวทนา ปุถุชนเทวนิยมก็วนเวียนอยู่ตรงนี้ วนเวียนอยู่กับสามเส้าคือไม่สุขไม่ทุกข์ กับ สุขกับทุกข์ เพราะไม่รู้ทางออกไปหลงความสุข เพราะไม่รู้ว่าสุขทุกข์มันอันเดียวกัน มันเป็นมายาใหญ่ มารใหญ่ แยกไม่ออก เมื่อแยกไม่ออก พระพุทธเจ้าฆ่าทั้งความสุขความทุกข์ตายเกลี้ยงก็เหลือไม่สุขไม่ทุกข์เป็นอุเบกขา

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ชาติ 5 แยกวิญญาณฐีติ 7 สัตตาวาส 9 วันพุธที่ 27 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 กุมภาพันธ์ 2564 ( 12:03:43 )

อภิธานศัพท์

รายละเอียด

แม้แต่อัญญธาตุที่อาตมาอธิบายเป็นธาตุรู้ชนิดใหม่ที่ไม่ใช่แบบโลกีย์แล้ว เป็นความรู้ใหม่ของโลกุตระ  พอรู้เพิ่มขึ้น  ก็เป็นอัญญาพอผสมคำ  จะเป็นสัญญา ก็เป็นตัวเศษวรรคอยู่  แต่ถ้าเป็นปัญญา  ก็จะเป็นตัวที่ดำเนินง่าย เป็นตัวที่ดำเนินบทบาทการงาน เป็นพฤติกรรมเต็มรูป   ป  ผ  ภ  พ  ม  อาตมาพยายามอธิบาย แม้แต่ พยัญชนะพวกนี้ ให้รู้สภาวะ  ก็ยังไม่ค่อยเก่งเท่าไหร่ มีผู้เก็บรายละเอียดทำเป็นอภิธานศัพท์ เหมือนกัน 20 30 40 50  ปี ถึง 60 ปี ก็คงจะได้อีกพอสมควร  พอจะได้เป็นตำรา Textbook ไว้สำหรับเล่าเรียนได้พอสมควร

ที่มา ที่ไป

พุทธศาสนาตามภูมิ สันติอโศก วันศุกร์ที่  22  พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 16 ธันวาคม 2562 ( 19:52:35 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 15:48:08 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 11:13:20 )

อภิธานศัพท์อโศกเป็น ปทานุกรม

รายละเอียด

ก็ใช่สิ เขาเรียกว่า ปทานุกรม พจนะ แปลว่าคำ ปท คือบท เป็นบทๆ ส่วนพจนานุกรมนั้นเป็นคำๆ อาตมาขอบอกว่ายังไม่ได้ตรวจสอบทั้งหมด ประมาณเบื้องต้นก็รู้สึกว่ายังไม่บริบูรณ์เท่าไหร่ยังไม่เต็มที่ยังเพี้ยนนิดๆหน่อยๆอะไรอยู่บ้าง ก็ต้องขออภัยจริงๆว่าธรรมะละเอียดลึกซึ้งจริงๆ แต่ก็ได้โครงสร้างไม่ถึงกับผิดไปทีเดียว ผู้ใดสนใจก็เอา ขออภัย จะมาแก้ตัวก็แก้ตัว ทุกวันนี้ทำงานไม่ค่อยเร็ว ทำงานอะไรช้าไม่ทันการพวกเราที่ช่วยกันทำอยู่ ซึ่งก็ขอบคุณที่พวกเราช่วยกันหลายคน 

และขอยืนยัน อาตมาภูมิใจในตัวเองที่เกิดมาชาตินี้ทำงานพัฒนาศาสนามาเกือบ 60 ปี ไม่ได้เรี่ยไรเลย ไม่เรี่ยไร อันนี้ อาตมาถือว่าเป็นเรื่องที่ แหม น่าอายอย่างยิ่ง สำหรับศาสนาพุทธโดยเฉพาะเป็นสมณะเป็นนักบวช เรี่ยไรนี่ น่าอายอย่างยิ่ง มันก็มีคนทางโลกแอบแฝงมา เราก็ช่วยกัน 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ แบบมีกษัตริย์กับไม่มีกษัตริย์ ประชาธิปไตยแบบไหนดีกว่า วันศุกร์ที่ 6 มกราคม 2566 ขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 12 มกราคม 2566 ( 12:41:09 )

อภินินฺนาเมติ

รายละเอียด

โน้มน้อม

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 84


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 11:55:08 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 04:24:29 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 11:13:41 )

อภินิพพัตติ

รายละเอียด

1. “การเกิดอยู่” ของคนที่มีการตายแล้วเด็ดขาด(จากกิเลสาสวะ)ของจิตแบบหนึ่ง เป็นสัจจะย้อนสภาพของผู้ที่สูงสุดคืนสู่สามัญ

2. การเกิดใหม่ 

3. การเกิดของภาวะนิพพานในจิตใจ

4. การเกิดที่สัมบูรณ์ด้วยวิชชา 8 ทำให้เกิด

หนังสืออ้างอิง

รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 97 , 103, ค้าบุญคือบาป หน้า 225, ยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 112,317

 


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2562 ( 11:56:28 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 04:32:02 )

เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2563 ( 11:14:23 )

อภินิพพัตติ

รายละเอียด

พอมาเป็นนิพพัตติ รู้จักการเกิดของกิเลส แล้วจัดการระงับดับไม่ให้กิเลสเกิดได้มีประสิทธิภาพไม่ให้กิเลสเกิดจนชัดเจนเป็นอรหันต์ อภินิพพัตติ คือ ผู้รู้จักชาติที่เป็นตัวการเกิดที่เป็นอรหันต์แล้วไม่มีสิ่งที่เป็นกิเลสเกิดอีก สัพพะปาปัสสะอกระณัง จะเกิดอีกก็มีแต่กุศลบุญก็ไม่เกิดอีก บาปก็ไม่เกิดอีก มีแต่กุศลเกิด

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ โสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 33 วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 01 เมษายน 2564 ( 21:12:57 )

statistics

ติดต่อสอบถาม

Facebook : test

Youtube : Name

Twitter : Name

Line : Name

Telegram : Name

Wechat : Name

Skype : Name

Copyright © 2018 Borvornsocial.net all right are reserved. developer สงวนลิขสิทธิ์