@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก
@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก

อภิธานศัพท์ (Glossary) จัดเป็นฐานข้อมูลด้านโลกุตระที่สมบูรณ์ที่สุดที่คัดมาจากหนังสือ คำเทศน์ ฯ

คู่มือการค้นหาอภิธานศัพท์อโศก หรือ ห้องสมุดโลกุตระ 50 ปี

เอกสาร : https://docs.google.com/document/d/1HLGedxqTAOTOTQKGbO6M4qMremQ8K1jBWKRYDDt6MRQ/edit

วีดีโอ Loom 2 : https://www.loom.com/share/e824e62ec1eb4567848e94af124a7ed5

วีดีโอ Loom 1https://www.loom.com/share/2445744a08e74bca95d2f1d2a0526044

วีดีโอ YouTube : https://youtu.be/QyXcGmzhLmk

 

 

อภิธานศัพท์ (ทั้งหมด) พบ 28,074 รายการ

วิบากกรรมเป็นอจินไตย

รายละเอียด

คือคิดไม่ออกคิดไม่ไหว ยาก เพราะวิบากแต่ละคน เกิดมาไม่รู้กี่ล้านชาติแล้วกว่าจะเป็นสัตว์เซลล์เดียวที่พัฒนามาเป็นล้านๆเซลล์ กว่าจะมาเป็นคนดีสามัญ จากคนแย่ๆแล้ว จะมาเป็นคนดี ดีจนสูงมาระดับสอนได้ เป็นโลกีย์สอนได้ดี จนเลยเข้ามาเป็นโลกุตระ แค่พูดยังเมื่อยเลย พระพุทธเจ้าถึงบอกว่าอายุของคนหรือสัตว์อย่าไปเรียกเลย เกิดมาอายุ 100 ปี 200 ปีอายุน้อยนัก ฟังในชาดกคนอายุ 8หมื่นปี คุณคิดไม่ออกหรอก จะอยู่กันอย่างไร 8หมื่นปี อย่าไปคิดดีกว่า องค์ประกอบเหตุปัจจัยก็จะต่างกัน พูดไปคนในยุคนี้ก็ไม่สามารถอายุ 80,000 ปี ได้หรอก มันเป็นไปไม่ได้หรอกเอาแค่นี้ อย่างอาตมาจะเอา 151 ไหวหรือไม่ไหวยังไม่รู้เลย อาตมาว่าอาตมา ไม่ถึง 151 หรอก พยายามเผยแพร่สิ่งที่ดีมีคุณค่า

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2563


เวลาบันทึก 26 พฤศจิกายน 2563 ( 10:08:30 )

วิบากกรรมเป็นเรื่องอจินไตย

รายละเอียด

คือเรืองที่คิดไม่ออก  คิดไม่ไหวยาก  เพราะวิบากแต่ละคน  เกิดมาไม่รู้กี่ล้านชาติแล้วกว่าจะเป็นสัตว์เซลล์เดียวที่ พัฒนามาเป็นล้านๆเซลล์ กว่าจะมาเป็นคนดี สามัญ จากคนแย่ๆแล้วจะมาเป็นคนดี ดีจนสูงมาระดับสอนได้ เป็นโลกีย์สอนได้ดี จนเลยเข้ามาเป็นโลกุตระ แค่พูดยังเมื่อยเลย  พระพุทธเจ้า  ถึงบอกว่า อายุของคนหรือสัตว์อย่าไปเรียกเลย  เกิดมาอายุ  100 ปี  200  ปี  อายุน้อยนัก  ฟังในชาดก  คนอายุ = 8 หมื่นปี  คุณคิดไม่ออกหรอกจะอยู่กันอย่างไร  8 หมื่นปี อย่าไปคิดดีกว่า  องค์ประกอบเหตุปัจจัย ก็จะต่างกัน พูดไปคนในยุคนี้ ก็ไม่สามารถอายุ 8 หมื่นปีได้หรอก     มันเป็นไปไม่ได้หรอกเอาแค่นี้     อย่างอาตมาจะเอา151 ไหวหรือไม่ไหวยังไม่รู้เลย ก็พยายามเผยแพร่สิ่งที่ดีมีคุณค่า

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปิ๋ซี่วิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 27 พฤศจิกายน 2562 ( 13:34:25 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 12:47:55 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 06:31:17 )

วิบากกับรางวัลที่พ่อครูได้รับสมัยวัยรุ่นเมื่อได้ที่ 1 จากการแต่งเพลงประกวด

รายละเอียด

วิบากมาตามเล่นงาน ยังไม่คิดเรื่องธรรมะธรรมโมอะไร เป็นคนธรรมดาเป็นแต่เพียงคนไม่ทำชั่วก็อยู่กับโลกนี้แหละ เป็นคนรับใช้เขาไปส่วนใหญ่ คุณล้วนไม่ได้ส่งเสริมเพลงการของอาตมาเลยทั้งๆที่เขารู้ว่าอาตมามีฝีมือในการแต่ง ก็เคยเล่าว่ารู้ได้อย่างไร อาตมาเหมือนเลขาเขา เขาเปิดประกวดเพลง โดยมีทำนองเขาขึ้นมา เสร็จแล้วก็ประกาศไป เล่นเปียโนเมโลดี้ต่างๆให้พวกที่นั่งฟัง เสร็จแล้วคนที่สนใจบอกว่าประกาศแต่งเพลงชิงรางวัล ใส่เนื้อมา ทำนองของเขานี่แหละ ประกวดประขันกันและมีรางวัลให้ 

อาตมาเป็นเลขาเก็บใส่แฟ้มเป็นปึก มีทั้งไพบูลย์ บุตรขัน แต่เขาใช้นามปากกาว่า ตรีบูรณ์ , ศักดิ์พิสิษฐ คุรุการ ที่เขาแต่งอยู่กับสุนทราภรณ์เยอะ ภาษาเขาหวือหวามาก แต่เขาใช้นามปากกาว่า ศักดิ์พิสิษฐ์ คุรุการ เขาก็แต่งมา ส่งมาหลายร้อยรายส่งมาประกวด เสร็จแล้วเขาก็ตัดสิน คัดเลือกได้ของศักดิ์พิสิษฐ์นี่แหละ เป็นเบอร์ 1 ใส่เรียบร้อยเขาก็แต่ง เป็นเพลงแต่งชมโฉม วาสิฏฐีจำแลง ชมโฉมนางงามวาสิฏฐี อาตมาก็วันสุดท้ายเลยนะ แต่งขึ้นมา แล้วก็ไปแปะอันสุดท้ายหน้าแฟ้มเลยเขาตื่นมาก็เปิดดู เขาก็ดู เพลงกลางไพรสณฑ์ อาตมาก็ชมไพรพนา เขาก็อ่าน โอ้โห เขาบอก เฮ้ย ไอ้นี่มาเมื่อไหร่วะ อาตมาก็ว่าพึ่งมา เขาก็ว่าตัดสินแล้วนะ ว่าให้ของศักดิ์พิสิษฐ์เป็นอันดับ 1 อาตมาแปะไปเป็นวันสุดท้าย เขาก็ดูแล้ว โอ้โห ดีนี่หว่า เฮ้ย แต่มันตัดสินใจให้คนนี้เป็นที่ 1 แล้วนี่หว่า โอ้โห ยังไม่ได้ประกาศผลออกไป เขาก็ว่า รักพี่เสียดายน้อง ให้ที่ 1 ทั้งคู่เลยละกัน

วันดีคืนดีเขาก็ประกาศรางวัลที่ 1 ได้แก่ศักดิ์พิสิษฐ์ พิสิษฐ์คุรุการ อาตมาใช้นามปากกาว่า ยุบลรัตน์ นามแฝงของอาตมา เสร็จแล้วเขาก็ประกาศ ตกลงที่ 1 มี 2 สำนวน รักพี่เสียดายน้อง เขาก็ประกาศที่ 1 มี 2 คน รางวัลเป็นปากกาเชฟเฟอร์ สลักชื่อ อาตมาก็เป็นคนไปซื้อปากกานั่นแหละ แล้วก็สลักชื่อใส่ปากกานั่นแหละ 2 ด้าม ประกาศ ศักดิ์พิสิษฐ์เขาก็มารับรางวัล อีกรางวัลหนึ่งก็อยู่ที่เรา นานแล้วไม่มีคนมารับสักที เขาก็บอกว่าไอ้แป๊ก ไอ้คนนี้ทำไมมารับรางวัลสักที เราก็ไม่ได้บอกว่าอย่างไร ทำเหมือนผ่านๆ ก็เขาไม่มาก็ไม่มาก็ผ่านไป เขาก็ถามหลายที สุดท้ายมันไม่มีทางเลี่ยงก็บอกเขาว่า อันนั้นน่ะ ผมแต่งเองเป็นผมเองครับ 

เขาก็บอกว่า ไอ้***** ให้กูเสียเงิน แทนที่จะชม แหม นี่คือรางวัลของอาตมา ตอนนั้นอายุประมาณ 17 ปียังไม่ถึง 18 ปี ก็แต่งเพลงพวกนี้ เพลงก็ดังอะไรไป แกไม่เคยส่งเสริม เพราะฉะนั้นจะไม่มีเพลงของอาตมาในแผ่นเสียงของคุณล้วนที่ดังอยู่ในสังคมสักเพลงเพลงก่อนสิ้นแสงตะวัน ทำนองของพี่ตุ๋ย(สง่า ทองธัช)มันดังก่อน ทีนี้เพลงที่อาตมาแต่งทั้งเนื้อและทำนองของตัวเองเลยคือ เพลงผู้แพ้ มันดัง ตอนนั้นอายุ 20 แล้ว แต่เพลงที่มีมาก่อนก็มีแล้ว

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 29 อโศกเพื่อมวลมนุษยชาติได้ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 30 พฤษภาคม 2565 ( 13:00:21 )

วิบากของการทำผิดพลาด

รายละเอียด

คนๆนี้เคยมีการผิดพลาดแล้วก็มีการเพ่งโทษ ผู้ที่ไปเพ่งโทษผู้ที่เกิดผิดพลาด ผู้ที่เคยผิดพลาดนั้นจะเคยผิดแล้วก็เลิกได้แล้ว หรือว่า เคยผิดแต่ยังเลิกไม่ได้ เพราะฉะนั้นการเพ่งโทษผู้ที่เคยผิดพลาด ก็คือ ผู้ที่เคยผิดพลาดนั่นแหละมันซวย แม้ตนเองจะเลิกผิดได้แล้วจริงๆ ก็แน่นอน จะมีคนคอยเพ่งโทษเราอยู่เป็นวิบากของคุณเอง ที่คุณเคยทำผิดพลาดแล้วเขาก็รู้ รู้ว่ามันผิด แม้คุณจะแก้ไขได้แล้วไม่ผิดพลาดอย่างนี้อีกแล้ว แต่วิบากพวกที่เคยยังจำ เขาไม่หยั่งรู้จิตคุณได้ ไม่เชื่อคุณทันทีบอกว่าคุณเลิกได้แล้ว เขาก็จะระแวง ผู้ที่เชื่อแล้วว่าคุณจะไม่ผิดพลาดอีกก็จะวางใจ ได้แล้วได้เลย ส่วนคนที่ยังไม่ไว้ใจก็จะมี เห็นไหมว่าการผิดพลาด มันไม่ใช่ว่าจะล้าง เราเองล้างได้ยาก แม้เราล้างได้แล้ว คนอื่นที่เขาไม่รู้ว่าผิดพลาดมาก่อน มันถึงอยากที่จะไปบังคับใจใครคนอื่น ให้เขามาบอกว่า ก็เราล้างได้แล้ว ก็แน่ใจหรือมันเคยผิด เราจึงมีสำนวนบอกว่า ทำชั่ว 1 ที ทำดี 100 หนป่น เราก็เคยพูดสำนวนนี้กัน ก็ระมัดระวังกันไว้ คนเราไม่มีใครอยากจะผิดพลาดหรอก แต่คนเราจะทำยังไงกันได้ ผิดพลาดก็แก้ไขกันไป 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 15 กรกฎาคม 2563


เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 13:36:28 )

วิบากของการแสดงธรรม

รายละเอียด

ตอบไปแล้วว่ามีวิบาก แสดงออกเชิงกระทบผู้อื่นทำให้เขาไม่ชอบใจ แม้จะเป็นสิ่งที่ดีสิ่งที่ถูกต้องอย่างเช่นอาตมาแสดง แสดงออกซึ่งเป็นสัจธรรม แต่ว่ากระทบเขา เขายึดถือผิดเขาก็ไม่ชอบใจก็เป็นวิบาก เรื่องกรรมวิบากเป็นเรื่องลึกซึ้งซับซ้อนมาก แต่จำนน และในสัจธรรม ก็เป็นวิบากที่ไม่แรงและไม่เหมือนกับอกุศลกรรม อกุศลจิต มันบาปแรงบาปหนัก แต่กุศลกรรมในอกุศลจิตก็เบากว่าเมื่อกี้นี้ แต่ถ้ากรรมเป็นอกุศลกรรม แต่จิตเป็นกุศลจิต ก็เบากว่าที่อกุศลทั้งกรรมทั้งจิต ถ้าดีสุด กรรมก็ต้องเป็นกุศล จิตก็ต้องเป็นกุศล อาตมาจิตเป็นกุศลแน่นอนแต่กรรมก็อาจเป็นอกุศลได้ เพราะอกุศลอาตมาไม่ได้หยาบคายเลวร้าย ไม่ได้ทำทายกายกรรมไปทุบตีเขา มันก็มีแต่ทางวาจา ว่าไปแล้วก็ต้องใช้สำเนียงภาษาที่มันดูรุนแรง โดยเฉพาะ แรงๆ กระทบทุจริตใครก็แรงแล้ว ยิ่งลงน้ำหนักซ้ำแล้วซ้ำอีกก็ยิ่งแรง ก็ถือว่ามีวิบากอกุศลบ้าง คำว่ากุศลกับบุญก็สำคัญ อาตมาไม่มีบาปแต่จะเป็นอกุศลที่เป็นโลกียบ้าง บาปเป็นโลกุตระ กุศลอกุศลเป็นสมมุติของโลก เป็นโลกียะ แต่บาปกับบุญเป็นโลกุตระ นัยซับซ้อนอาตมาค่อยอธิบายไปเรื่อยๆ

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 17 ธันวาคม 2562 ( 19:54:46 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 12:49:05 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 06:32:45 )

วิบากของคนอย่างพวกโรฮิงญา

รายละเอียด

สิ่งเหล่านี้ ทางศาสนาพุทธ มันเป็นวิบากของคน ที่เขาสร้างวิบากมา เขาไม่อยากได้แต่เขาต้องเป็นต้องมี อย่างพวกโรฮิงญา เป็นทุกข์อย่างหนึ่ง  เหมือนพวกสัตว์ซื่อๆที่ อยู่ไปวันๆ พวกนี้เกิดจากการสร้างกรรมวิบาก เรามาพิสูจน์ว่าเราทำอย่างนี้ จะได้เกิดเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าท่านรู้ว่า ไปเป็นสัตว์ที่ตกต่ำเพราะว่าทำกรรมไม่ดี กรรมวิบากเป็นเรื่องจริงใหญ่เป็นเรื่องจริง ผู้ที่เชื่อกรรมวิบากแท้จริง เรียนรู้วิบากเรียนรู้กรรมดีกรรมชั่วที่แท้จริง ละเว้นกรรมชั่วทำกรรมดี ก็จะเจริญดีเป็นสุขได้จริง สูงกว่านั้นก็คือคุณเกิดมาไม่พ้น ทำดีทำชั่วสุขทุกข์วนเวียนเกิดแล้วเกิดอีก ไม่รู้จบ ทางออกของพระพุทธเจ้าคือ อะไรคือสิ่งที่จะทำให้เกิด เลิกวนเวียน จนรู้ธาตุอาตมันอัตตา เป็นทางแยกพลังงานสอง เทวะหรือนิวเคลียส แยกธาตุบวก ลบได้ เทวะได้ จนถึงนามธรรม นิวเคลียสเป็นวัตถุบวกลบ พอมาเป็นชีวะคือ พีชะ จิตนิยาม พอเป็นจิตนิยามก็ทำจิตให้เป็นพีชะ เป็นอุตุได้ ชีวะผู้นั้นก็หายไป ดินน้ำไฟลมก็ไม่มีตัวกูของกู จะจับตัวเป็นชีวะ แล้วพัฒนาเป็นพืช พัฒนาเป็นจิตตั้งแต่สัตว์เซลล์เดียว เป็นหลายเซลล์ก็เป็นสัตว์ สัตว์เซลล์เดียวเริ่มจากธาตุน้ำมา ละเอียดมาก จะเห็นสัตว์ต่างๆในน้ำ ที่สัมผัสได้กับที่ละเอียดยิ่งกว่าแพลงตอนอีก มันเกิดจากชีวะน้ำ ธาตุดิน มันยังไม่เป็นชีวะ พอมีน้ำก็จะมาผสมกันกับธาตุดิน ที่มีน้ำประกอบ ก็จะค่อยๆ มีชีวะขึ้นมาในสิ่งเหล่านั้นอีกทีหนึ่ง ถ้ามีแต่ดินไม่เป็นชีวะได้ง่ายๆ แต่พอผสมกับน้ำเป็นชีวะได้ง่ายหรือในน้ำมีชีวะ แต่ในดินมีชีวะไม่มากเท่าอยู่ในน้ำ ในน้ำเหลวไหลเลื่อนละเอียดกว่ามาก

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 21 ธันวาคม 2562 ( 21:57:57 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 12:50:13 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 06:53:27 )

วิบากของคนแต่ละถิ่นฐาน

รายละเอียด

ทีนี้คนจนจนอย่างเราก็อยู่บนพื้นดิน มันไม่สิ้นไร้ไม้ตอกจริงๆหรอก มันสามารถดูวิธีการปลูก ปลูกพืชผักอะไรต่ออะไรให้ได้ คนที่เขาร่ำรวยมากๆเขาปลูกไม่เป็น เพราะเขาอาศัยความรวยซื้อมากินใช้พออยู่แล้ว จนกระทั่งเขาจะปลูก ปลูกไม่เป็น มันก็เป็นความจริง 

ถ้าไม่มีใครปลูกเลยเขาก็ตาย หาคนปลูกให้กินเลยไม่ได้ เอาเงินไปซื้อไม่ได้เขาก็ตาย เป็นอย่างนั้นจริง แต่เขามีเงินอยู่ อย่างพวกที่มีเงินมากๆ ประเทศที่มีเงินมากๆ พวกไม่จน มันก็ทำให้เขา พูดชัดๆหน่อย ขอใช้สัจธรรมพูด ก็ทำให้เขาโง่ที่ปลูกกินปลูกใช้ไม่เป็น แล้วคนที่จะไปตกอยู่ในที่ที่ปลูกกินใช้ไม่เป็น ก็คือผืนแผ่นดินที่เขาอยู่ เป็นพื้นแผ่นดินที่ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารยากด้วย มันก็ลงตัว เช่น 

มีแต่ทราย หรือมีแต่น้ำแข็ง ก็ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร ยาก หรือมีแต่ความร้อนมากๆพืชพันธุ์ธัญญาหารก็ขึ้นยาก ดินแดนที่มีแต่ความร้อนก็มีพืชที่ขึ้นรกๆเลอะๆ สัตว์กิน  แต่คนกินไม่ได้ ก็เลี้ยงตัวเองไม่รอด มีทั้งเป็นทรายเป็นน้ำแข็งหรือพื้นดินที่คนอาศัยได้ยาก รายละเอียดพวกนี้ยังมีอีกมาก อาตมาคิดออกในปัจจุบันนี้เท่านี้ 

สรุปแล้วคนเราอาศัยชีวิตอยู่บนโลกแผ่นดินนี้นี่ มันก็เป็นบารมีของคน มีวิบากของคนเหมือนกัน คนที่อยู่ในภูมิประเทศแถบเอเชีย ประเทศไทยในย่านนี้คล้ายกัน ขยันแล้วไม่มีตาย ปลูกอยู่ปลูกกินปลูกใช้ไม่มีตาย ดีกว่าอยู่ขั้วโลกเหนือ ดีกว่าอยู่ทะเลทราย ดีกว่าอยู่ที่แอฟริกาหรือเอธิโอเปีย อย่างนี้เป็นต้น หรือนิวกินี 

สิ่งเหล่านี้เป็นอจินไตย กรรมวิบากของแต่ละคนที่จะต้องไปอยู่เป็นเช่นนั้นๆ ซ้อนลึก ตรงที่ว่ามีจนกับมีรวย คนในประเทศที่รวยจนกระทั่งปลูกพืชผักกินไม่เป็น ก็ฉลาดน้อยกว่าผู้ที่ปลูกพืชผักกินเองได้ ก็เท่ากับเดรัจฉาน มันปลูกให้ตัวเองกินไม่ได้ อย่างนี้เป็นต้น พูดไปเดี๋ยวจะว่าไปด่าเขาอีก แต่เขารวยนะ คนเหล่านั้นมองไปอีกมุมหนึ่ง รวย 

อย่างมีประเทศที่รวยๆ เขามีสมบัติอะไรบางอย่าง เขาอาจจะมีทองคำ หรือทองดำ บางประเทศก็มีทองคำเยอะ ทองดำก็คือน้ำมัน ทองคำก็คือโลหะ บางประเทศมีทั้งทองคำและทองดำเยอะ เช่น ประเทศบรูไน แล้วพลเมืองในประเทศเขาก็มีน้อย จะว่าไปแล้วประเทศซาอุมีทองดำเยอะ มีน้ำมันเยอะ มีอาณาบริเวณเยอะ ทองดำก็เยอะ แต่บรูไนมีทองดำด้วย  แต่ประเทศเขาเล็ก พลเมืองเขาน้อย เทียบเคียงแล้วเขาก็รวยน่าดูเหมือนกัน ซาอุฯก็รวย

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 27 จนเป็นที่ 1 ในโลก แต่สร้างอาหารช่วยโลก วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 21 พฤษภาคม 2565 ( 14:52:19 )

วิบากของประเทศไทย

รายละเอียด

อาตมาเห็นว่า เมื่อเกิดมามีชีวิตแล้วถ้าคุณรู้ตัว อะไรก็ตาม ไม่ดีไปกว่าธรรมะ ถ้ายิ่งคุณทิ้งธรรมะหลงผิดไปเลย ยิ่งนรกหมกไหม้ไปหนักหน้าเลย เข้าใจไหมตรงนี้ มันน่าสงสารคนที่ไม่ใส่ใจในธรรมะ ก็น่าเห็นใจที่ทำหน้าที่น่าสนใจก็ไม่ค่อยมี แต่ตอนนี้มันมีแล้วนะ อาตมาประกาศเกือบ 50 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจกันเพราะว่ามีวิบากของประเทศ เถรสมาคม มาลบหลู่อาตมาไว้ เขาก็ต้องเชื่อถือเถรสมาคม พากันไม่เจริญ ไม่ขึ้นจากนรก นี่มันเป็นลักษณะอย่างนี้ ผู้ที่ไม่รู้ตัวก็ทำสิ่งที่ไม่ดีโดยที่ตัวเองไม่รู้ตัว น่าสงสาร อาตมาเองมาทำงานชาตินี้ มีวิบาก เป็นคนอาภัพ แต่ไม่ได้ท้อแท้เลยขอยืนยัน แต่หนักจริงๆ เหนื่อยหนักลำบาก มันก็ต้องลำบากเพราะว่ามาเป็นผู้ที่เข้ามาทำงานนี้ก็ต้องรับผิดชอบ รับตั้งใจอธิษฐานมาจริงๆ ก็ต้องทำ ที่จริงก็ทำมาแล้ว อาตมาบอกแล้วอาตมายินดี ปีติ พอใจนะ ที่ทำให้เกิดมรรคผลจริง ทำให้คนมีสัมมาทิฏฐิ สัมมาปฏิบัติสัมมาปฏิเวชพอสมควร ได้สมควรแก่ธรรมขนาดนี้ แล้วก็ได้ปลูกฝัง หยั่งลงซึ่งโลกุตรธรรมเป็นหลักเป็นฐานเป็นชุมชนเป็นสังคมธรรมะ เป็นสังคมโลกุตระ เป็นสังคมมีวรรณะ 9 สาราณียธรรม 6

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 15 พฤศจิกายน 2562 ( 17:16:46 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 12:57:39 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 06:34:10 )

วิบากของพลเอกประยุทธ์

รายละเอียด

ที่มันยังดิ้นๆๆๆอยู่ในช่วงนี้เท่าที่มันจะต้องเป็นวิบากของพลเอกประยุทธ์จะต้องมีเหตุการณ์พวกนี้เป็นตัวปฏิกิริยาที่เกิดให้พลเอกประยุทธ์ต้องทำงานต้องได้รับอะไรต่ออะไรอีกอย่างเป็นภาระเป็นสัมภาระวิบากที่จะต้องทำ ก็ว่าไป เราก็ไม่ได้ดูดายช่วยเท่าที่ช่วยได้ แต่ถ้าอันใดที่เป็นหน้าที่ของพลเอกประยุทธ์ก็ทำไปเถอะ อันใดเราช่วยได้ก็ทำไปเท่าที่เห็นว่าเหมาะควรไม่ดูดายหรอก 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม 2563


เวลาบันทึก 20 พฤศจิกายน 2563 ( 09:54:58 )

วิบากของโพธิสัตว์ระดับ 7!

รายละเอียด

เมื่อคนปุถุชนได้ยินได้ฟัง“ธรรม”ที่ย้อนแย้งกับ“โลกียธรรม”ที่ตน

หลงยึดมั่นกันมานาน และพรรคพวกครูบาอาจารย์ที่สอนโลกียธรรม

ก็มีปริมาณมากอีกด้วย ก็จะไม่ยอมเชื่อ“นิยตโพธิสัตว์”กันง่ายๆแน่! 

ส่วน“นิยตโพธิสัตว์”ก็มีพวกส่วนน้อยกว่าด้วย ย่อมมีการเปรียบเทียบกันขึ้น จึงตัดสินขั้นต้นขั้นตื้นว่า ผู้มีส่วนมากนับว่าชนะ! และมันยิ่งแย้งหนักขึ้นๆกันในขั้นต่อไป เมื่อได้พูดได้อธิบายกันมากขึ้น ละเอียดขึ้น ลึกขึ้น ซับซ้อนยิ่งขึ้น ความเห็นผิด ยึดผิดกันไปคนละทาง ตามที่ชาวพุทธในยุคนี้ได้พากันเสื่อมหรือพากันหลงผิดไปยึดถือผิดกันงมงายมากแล้ว 

จึงยิ่งทั้งลำบากเหลือหลาย ทั้งยากยิ่งหนักหนา ซึ่งสุดแสนสาหัสแสนเข็ญกันทีเดียว มนุษย์แม้แต่ชาวพุทธนี่แหละที่ยังอวิชชา เมื่อได้ยินได้ฟังก็จะแปลกหู เห็นขัดแย้งอย่างยิ่ง ก็จะต่อต้าน เห็น“นิยตโพธิสัตว์”ว่าเป็นผู้จะมาล้มล้าง“โลกียธรรม”ที่เขาก็มีมิจฉามรรคมีมิจฉาผลแล้วด้วยนี้กันเลย (มิจฉามรรค-มิจฉาผล”นี้เป็นแค่“โลกียผล”อยู่แท้ๆแต่เขาหลง)

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ รวมเปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อ 505 หน้า 375


เวลาบันทึก 10 กรกฎาคม 2564 ( 12:59:52 )

วิบากของโลกุตระจึงสูญสลายได้ ไม่เป็นของใครและไม่อยู่กับใคร!

รายละเอียด

“วิบาก”ใดๆของคนผู้นี้จึงจะเป็นอันยกเลิกได้แท้จริง สูญสลายหายไป ไม่เหลืออะไรเป็นของตนหรือของใครใดเลย ไม่ไปอยู่กับ“พระเจ้า” ดังที่ชาว“เทฺวนิยม”เขาเชื่อกันอยู่นั้นอีกเลยเด็ดขาด

ซึ่ง“วิบาก”นี้เองแหละแท้ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของความเป็น“พระเจ้า”เสียเองที่ร่วมกับ“กรรม”ปัจจุบันบัญชาบงการตนเอง จะออกฤทธิ์หรือจะบงการเป็น“โทษ”หรือเป็น“คุณประโยชน์”ต่อไปในชีวิตของตนๆ จนกว่าผู้นั้นจะทำที่สุดให้ตนจบ“ปรินิพพานเป็นปริโยสาน”ไปเองได้สำเร็จ 

วิบาก=วิ+ปาก

วิ=ยิ่งๆ; เสริมส่งให้ยิ่งๆไปทิศใดก็ได้ เช่น “ไม่”ยิ่งๆ ก็ได้, “ดีเยี่ยม”ยิ่งๆก็ได้

ปาก=การหุง, การต้ม, การทำให้สุก; ผลของกรรมอันสุกงอมเต็มที่

วิปาก=ผลของกรรม, ผลของกรรมที่ทำให้สุกจนถึงขั้นสุกงอมเต็มที่

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ เปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อ 222 หน้า 183


เวลาบันทึก 01 สิงหาคม 2564 ( 13:13:35 )

วิบากดีบารมีถึงก็อยู่ทางโลกีย์ไม่ได้

รายละเอียด

สรุปว่า วิบากของคน ตามที่เป็นเรื่องราวของวิบาก คุณพิจารณาให้ดีตามที่ว่ามันสมควรแล้วก็ควรจะเลิก รู้จักพัก รู้จักพอ อาตมานี่เลี้ยงน้องมา แบ่งทรัพย์สินให้เรียบร้อยก่อนจะออกมา อาตมาถามน้องว่า พี่จะเลี้ยงดูน้องกันได้หรือไม่ มีน้องที่ต้องส่งเสียเรียนเมืองนอกอเมริกาอยู่ ก็ถามว่าพอส่งเสียได้ไหม นั้นหนึ่งก่อน ถามว่าเขาจะรับผิดชอบได้ไหม สอง สมบัติอาตมาก็แบ่งไปเลิก เหลือใส่แบงค์ไว้ เพราะอาตมาไม่ยอมบวช เอาดอกเบี้ยมากินอยู่จำเป็น ก็เอาก้อนหนึ่งใส่แบงค์ไว้ แค่นั้นเอง นอกนั้นก็แบ่งไปหมด อาตมาก็ออกมา โดยที่ไม่คิดหันหลังกลับมาอีกเลย ตั้งใจจริงๆ น้องๆรู้กันหมด ก็ร้องห่มร้องไห้กัน แต่ก็บอกว่ามันถึงเวลาแล้วอยู่ไม่ได้ อาตมาก็ไม่ได้เดือดร้อน เป็นดาราทางโทรทัศน์ยังหาเงินได้ อาตมานี่หาเงินได้ยิ่งกว่าดารา เพราะว่ายุคโน้น อาตมาเดือนละหมื่นสองหมื่น แต่ดาราแสดงเรื่องหนึ่งได้ 120 บาท 80 บาทเป็นอย่างสูง จะไปถึงหมื่นได้อย่างไร แต่อาตมานี่ทำงานมาก ได้ราคาต่ำกว่าดารา จนเคยริษยาดาราว่า ทำน้อยทำไมได้มาก แต่หารู้ไม่ว่า คนทำงานมากได้น้อยคือกำไร คนทำงานน้อยได้มากคือคนขาดทุน

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 21 มีนาคม 2561


เวลาบันทึก 06 มีนาคม 2564 ( 11:11:56 )

วิบากที่ต้องทำให้เห็นชัดเจนได้ว่าเป็นสัตบุรุษจริง

รายละเอียด

อันนี้พูดไปอาตมาก็ยิ่งเห็นตัวเองเลยว่า เออ เราเกิดมาปางนี้ชาตินี้ มันมีวิบากที่จะต้อง อย่างไรเราจะต้องทำให้เขาเข้าใจ ให้เขาเห็นชัดเจนได้ อ๋อ อย่างนี้หรืออย่างโพธิรักษ์ อ๋อ เป็นสัตบุรุษจริงนะ เมื่อใดผู้ที่เขาเห็นว่า 

อ๋อ เราลบหลู่มานาน โพธิรักษ์ เป็นอสัตบุรุษมาทำลายศาสนา เป็นคนวิปริตมาทำลายศาสนา พอผู้นี้ได้สำนึกเมื่อไหร่ ก็จะเกิดความละอายอย่างแรงกล้า จะต้องเข้าไปคารวะเคารพอย่างแรงกล้ากับสัตบุรุษ ในอนาคต เมื่อใดก็เมื่อนั้น ถ้าเขารู้ว่าเป็นสัตบุรุษ 

พูดไปแล้วเหมือนอาตมาไปโฆษณาตัวเองว่าเป็นสัตบุรุษ แต่อาตมาพูดสัจจะทุกคำ ไม่ได้มาโฆษณาตัวเอง พูดความจริงทุกคำ ยืนยันได้ว่าอาตมาเอาที่มีหลักฐานยืนยันคือพระไตรปิฎกเล่มนี้ โชคยังดีที่ว่า หมู่ใหญ่ของเถรวาทเราก็รับรองพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐนี่เหมือนกัน แม้จุฬาฯแม้มกุฏ ก็รับฉบับสยามรัฐนี่ไป แต่แปลคนละสำนวนไป มันก็ต่างกันได้ เพราะต่างไม่ใช่อรหันต์ก็แยกเป็น 2 เมื่อเป็นอรหันต์ทั้งคู่จะไม่แย้งเลย

ก็เอาสัจจะก็แล้วกัน อาตมาก็พยายามมารวม หาว่าอาตมามาแยกอีก เขาหาก็แล้วไป ไม่จริงก็เป็นอย่างนั้น 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ เรียนอาหาร 4 ให้ถึงนาม รูป ทะลุสุภกิณหา วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 05 มีนาคม 2564 ( 15:12:33 )

วิบากทุกข์

รายละเอียด

 แม้จะเหน็ดเหนื่อย ลำบาก ลำบนอย่างไร  ก็ยังดีที่วิบากของตัวเองไม่มีอะไรมาก ร่างกายทุกอย่าง  จะมีพวกจุ๊กจิ๊กแปล๊บๆ ตรงนั้น ตรงนี้บ้างแล้วก็มีการไอ  แต่ก็ยังดีที่มีไอและไม่เจ็บคอ  แต่เหนื่อย  ตอนนี้ชักไอเยอะ  ซี่โครงชักรู้สึกนิดหน่อย  แต่ก็ไม่มาก  แก้ไขวิบากไม่ได้  ก็ต้องจำนน  เอาวิบากนี้ไปกับกาละที่เราต้องรับวิบากทุกข์ไปก่อน เอาไปใช้หนี้  มันเลี่ยงไม่ออกต้องใช้หนี้  เพราะว่าไม่มีทางเลี่ยงถึงไม่อึดอัดขัดเคืองลำบากใจ  ไอก็ไอ บางทีก็บ่นบ้างนิดๆ หน่อยๆ แต่ไม่ได้ติดใจ

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 19 ตุลาคม 2562 ( 13:46:32 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 13:00:37 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 06:35:18 )

วิบากบาปของผู้ที่พาออกนอกทางของพระพุทธเจ้า

รายละเอียด

แล้วมันเสียเวลา นี่ท่านทั้งหลายแหล่มรณภาพกันไปแล้วนี่ ท่านก็ไปอีกไกลไง วิบากมันเป็นวิบากบาป ขออภัยไม่ได้พยากรณ์นะ มันก็ต้องผิดต้องเป็นนรกก็เป็นภพบาป ภพผิด เพราะมันพาออกนอกทางของพระพุทธเจ้ากัน คนที่พาออกนอกทางของพระพุทธเจ้า จะโดยไม่เจตนาก็ตาม มันก็ผิดใช่ไหม มันผิด ยิ่งหลงทางอย่างสนิทเท่าไหร่ มันก็ยิ่งผิดจูงกันไปหนัก เต็มที่กันไปเท่าไหร่เท่าไหร่ มันก็ยิ่งไปกันใหญ่ มันจึงเป็นความจำเป็นมากที่อาตมาจำเป็นจะต้องแย้ง จะต้องค้าน จะต้องเอามาอธิบาย เอามาชี้ชัด ยืนยัน แม้ที่สุดก็ต้องเอาตัวบุคคล พฤติกรรมต่างๆของท่านมาฉีกชี้ว่าเป็นอย่างนี้ๆ อะไรเป็นอย่างไรบ้าง 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาเอกีภาวะประชาธิปไตยโลกุตระ วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 23 กุมภาพันธ์ 2564 ( 10:50:27 )

วิบากบาปที่เลี่ยงไม่ได้

รายละเอียด

ใช่ เป็นวิบากของคุณคุณก็รับไป พิจารณาให้มาก มันทุกข์หนอ ทุกข์หนอ ไปสร้างวิบากอะไรมาหนอ อาจจะพอรู้ว่า อ๋อ! ไปตัดก้นไก่มากินตั้งแต่มันยังไม่ตายนะ มันเลยเป็นวิบากเจ็บริดสีดวงตัวเอง ก็ว่าไปนะ อาตมาก็พูดไปให้มันดูคล้ายๆเกี่ยวข้องกัน เหมือนกับคนที่ชอบพูดว่า นี่ต้องถูกวัวมันขวิดตายก็เพราะว่าไปทำร้ายวัวมา อย่างพวกที่ศาสนาพุทธจากฮินดูมาพุทธนี่ เขายกย่องวัว เพราะฉะนั้นใครไปทำวัวนี้มีวิบากบาปมากนะ ส่วนมากตายแล้ว
กลับมาเลย ถูกวัวนั่นแหละมาขวิดตายซะเยอะเลย พระอรหันต์ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูตอบปัญหา งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 46 วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 แรม 2 ค่ำ เดือน 3 ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 23 กุมภาพันธ์ 2565 ( 17:45:08 )

วิบากพระพุทธเจ้า

รายละเอียด

เหมือนพระพุทธเจ้าท่านเคยเล่าว่าท่านเห็นชาวประมงเขาจับปลาได้เยอะท่านมีใจยินดี ในการที่เห็นคนเขาจับปลาได้เยอะ อาการที่ไปยินดีที่เขาจับปลานั้น มันเป็นความชั่ว วิบากนั้นทำให้ท่านปวดหัว ท่านก็บอกว่าเป็นวิบากแห่งการอวิชชาที่ติดตัวในสมัยก่อนมาจนถึงบัดนี้ ไปยินดีที่เขาจับปลามา ท่านเองท่านรู้กรรมวิบาก ท่านจะเจ็บมากหรือน้อยก็เรื่องของท่านแต่ท่านบอกเล่าเรื่องวิบากกรรมของท่าน 

คุณรู้อยู่แล้วคุณก็รู้ว่าจิตเราไปยินดีกับสิ่งที่มันไม่ดีนี่ คุณก็ใช้ปัญญาให้ฉลาด อาการที่ยินดีมันคืออย่างไรก็อยากให้เกิดอาการอย่างนั้นของจิตเรา ไปยินดีทำไม อาการยินดีกับสิ่งที่ไม่ดีมันก็ผิด คุณก็ต้องบอกตัวเองว่ามันยังเกิดอาการนี้เพราะมันยังโง่ มันอยากไปยินดีในสิ่งที่ไม่น่ายินดีก็โง่อยู่อย่างนั้น ฉลาดสักทีสิ คุณเคยจะบอกตัวเองได้ว่าอย่าไปยินดีในสิ่งไม่ดี คุณทำความเข้าใจไปแล้วก็จะไม่ยินดีในสิ่งที่ไม่ดีได้เรื่อยๆไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร ไม่ใช่แค่เรื่องหวย ในสิ่งที่ไม่น่ายินดีต่างๆนานาเราก็รู้ความจริงของจิตเราว่าไปยินดีอยู่ แต่คนไม่ได้ปฏิบัติธรรมก็จะไม่เรียนรู้วิธีปฏิบัติ คุณมาเรียนรู้คุณจะรู้และปฏิบัติจริงคุณจะได้ แต่คนไม่ได้เรียนรู้อย่างนี้ก็ปฏิบัติไม่ได้เลย 

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต สันติอโศก วันพุธที่ 14 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 24 พฤศจิกายน 2562 ( 14:27:30 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 13:00:03 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 06:36:56 )

วิบากพ่อครูที่ต้องให้คนอื่นมาลอง

รายละเอียด

ทุกวันนี้รู้ไหมว่าอาตมาร่างกายต้องการอะไร ไม่รู้ได้เก่งเท่าสรีระของอาตมาเอง คุณอย่ามาอวดเก่งกว่าสรีระของอาตมา ใครก็เก่งกว่า สรีระของตัวเองไม่ได้ อาตมาพอรู้สรีระของตัวเอง พระพุทธเจ้าลองตัวเองจนกระทั่งไม่กินอะไร จนกระทั่งผอมคิดว่าจะล้มแล้ว แต่อาตมาไม่ต้องถึงขนาดนั้นเพราะอาตมายังมีวิบาก ส่วนพระพุทธเจ้าท่านกระทำตัวเองให้ลองทุกอย่าง อาตมาต้องให้คนอื่นมาลอง ลองมาถึงตรงนี้ก็บอกความจริงให้ฟัง เพราะฉะนั้นคุณจะเอาอะไรมาให้อาตมากิน สรีระมันจะเลือกเอง คือปฏิภาณของอาตมา จะรู้ว่าเลือกอะไรควรกินมากกินน้อย ถ้ามันไม่สมดุลมันก็จะฟ้องเอง 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 45 ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก

พระอรหันต์เป็นผู้มีความรู้เรื่องอาหารดีกว่าคนโลกีย์


เวลาบันทึก 04 มีนาคม 2564 ( 18:45:53 )

วิบากร่วมกันของผู้นำและประชาชนชาวอเมริกัน

รายละเอียด

อาตมาก็ขอยืนยันว่าโดนัลทรัมป์เป็นตัวละครตัวหนึ่งในโลกยุคนี้ ที่เขาก็ไม่รู้ตัวเองเขาก็แสดงไปตามกรรมวิบากของเขา หรืออวิชชาของเขา เขาทำไปตามที่เขาคิดว่าอย่างนี้ถูกต้องดีที่สุดแล้ว ในขณะนี้ที่พูดไปนี้ มองแล้วก็น่าสงสารประชาชนชาวอเมริกัน ที่เขามีผู้นำอย่างนี้ ก็เป็นธรรมดาธรรมชาติเขามีวิบากร่วมกันน่ะ ก็ร่วมกันไป แล้วเขาก็มีความเห็นสอดคล้องหรือขัดแย้งก็ค่อยเป็นไปตามธรรมดา เป็นเรื่องของการเมืองก็ตามเป็นเรื่องของเศรษฐกิจก็ตาม   อาตมาเอาความรู้ของพระพุทธเจ้ามาอธิบายขยายความ คนเขาก็จะบอกว่าธรรมะจะไม่เกี่ยวกับเรื่องของเศรษฐกิจการเมือง ก็เป็นความเข้าใจที่ต่างกันกับอาตมา 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 3 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 11 มกราคม 2563 ( 10:33:10 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 13:00:57 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 06:37:33 )

วิบากอธิบายได้ยากเป็นอจินไตย

รายละเอียด

แต่ก่อนนี้ก็รักกันดี แต่ก่อนอาตมาก็เหมือนคนโลกๆ ลิงลมอมข้าวพอง แวบๆ ไปทางดารากับเขาบ้าง เหมือนจะเป็นอย่างเขา แต่อาตมารู้ตัวก็เลยออกมาทางนี้แล้วก็เลยกลับมาช่วยเขา ไม่ให้เขาติดอย่างนั้นเลย ก็ไม่ได้ลงลึกอะไรมากมาย แต่มันต้องเป็นในวิบากอธิบายได้ยากเป็นอจินไตย ก็เลยออกมา ก็เลยกลายเป็นว่าคนจะรู้ตัวก็มีน้อย ที่บอกว่าเป็นศิลปินนั้นมีน้อย 

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 28 กันยายน 2563


เวลาบันทึก 16 พฤศจิกายน 2563 ( 11:20:10 )

วิบากอะไรที่พ่อครูต้องยอมรับ จำนน เลี่ยงไม่ได้

รายละเอียด

พูดไปแล้ว อาตมารู้ว่าเป็นวิบากอะไร แต่อาตมาเลี่ยงไม่ได้ ยกตัวอย่างง่ายๆ อาตมาต้องตำหนิ ผู้อื่นจนกระทั่งถึงขั้นแรงๆ เรียกปฏิกโกสนา หรือใช้ภาษาไทยว่าต้องดุด่าว่า แรงเกินเพราะว่ามันถูกตรงเปรี้ยง พูดถึงความทุจริตไม่ดีไม่งามเป็นอกุศลของคน ตรงเท่าไหร่เจ็บเท่านั้นแรงเท่านั้น พูดถึงทุจริตอกุศลของใครก็แล้วแต่ จะพูดเบาจะพูดแรง เจ็บทั้งนั้น ตรงทั้งนั้น ซึ่งอาตมาเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพูดความจริง ต้องตำหนิ มันจึงเป็นวิบาก ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะว่าคนที่เค้าถูกอาตมาไปตำหนิเขา เขาก็ต้องไม่ชอบ เพื่อนฝูงมิตรสหายลูกศิษย์ลูกหาก็ต้องไม่ชอบเป็นจิตใจที่เกิดจริง เป็นวิบากที่อาตมาต้องยอมรับ จำนน เลี่ยงไม่ได้

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม 2563


เวลาบันทึก 19 พฤศจิกายน 2563 ( 12:50:23 )

วิบากเกี่ยวเนื่องเป็นอจินไตย

รายละเอียด

อธิบายในกรอบนี้เขาก็เลยบอกว่าในนี้ไม่มีอธิบายว่าไม่ให้กินเนื้อสัตว์ เขาก็เลยกินเนื้อสัตว์กัน หากเราเข้าใจสภาพเป็นวิบากเกี่ยวเนื่องกันกับสัตว์ มันเป็นวิบากเกี่ยวเนื่องเป็นอจินไตยเป็นเรื่องยาก กรรมวิบากเป็นเรื่องยากจะเข้าใจ แต่ว่าอาตมารู้ในกรรมวิบาก เข้าใจว่ามันเกี่ยวเนื่องต่อกัน มันสืบต่อเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันลึก จองเวรจองกรรม มีวิบากกันเยอะ อาตมาก็ว่า ถ้าเราเป็นไปได้ในชีวิตของเรา เราจะยังชีพของเราอยู่ แต่เราไม่ต้องให้มันมีเกี่ยวข้อง ไม่ให้เกิดวิบาก ไม่เกิดพันธกิจที่สัตว์มันจะถือเป็นพันธกิจของมัน เอาเนื้อมันไปกินทำให้วิญญาณของมันไม่มีร่างอาศัย มันก็ถือนะ ดีไม่ดี ฆ่ามันตายเอามันมากิน เป็นยักษ์มารแท้ๆ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์แห่งพุทธ ครั้งที่ 42 ปฐมอโศก ความจนที่มีสัมประสิทธิ์ ตอน 2 วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561

สื่อธรรมะพ่อครู(ศีล สมาธิ ปัญญา) ตอน ไตรสิกขาของนาม 5 รูป 28


เวลาบันทึก 25 กุมภาพันธ์ 2564 ( 19:10:31 )

วิบากเป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง

รายละเอียด

ผู้ที่รู้จริงแล้วก็ต้องเลิกมา ผู้ยังไม่พ้น มันก็มีส่วนวิบาก แม้แต่อาตมาก็ยังมีส่วนวิบาก ชาตินี้ไม่ใช่อาตมาไม่เคยฆ่าสัตว์ อาตมาฆ่าปู ฆ่าปลา ไปจับปู จับปลาที่แม่น้ำมูล แก่งสะพือนี่ แต่ก่อนอาตมาเด็กอำเภอพิบูล ลงตกปลากันมาก็ไม่ใช่น้อย ช้อนปลาแก้วมาทีละโหม่งๆ (โหม่ง ม่อง ชื่ออุปกรณ์ช้อนจับกุ้งปลาเล็ก) โอ้โห! บางที ทีละร้อย ทีละพัน ทีละหมื่นตัว อะไรอย่างนี้เป็นต้น จับกุ้งจับอะไร โอ้โห มันมาทีละโหม่ง หรือไปคอยตกทีละตัว ไปคอยจับทีละตัว ก็ว่าไป 

ซึ่งมันก็เป็นเศษวิบากของแต่ละคนๆ เมื่อรู้ตัวแล้วก็เลิก มันค่อยๆ เจริญในคน มันค่อยๆ พัฒนาไปเป็นอาริยะที่เจริญขึ้น เจริญขึ้น วิบากเหล่านี้มันก็เป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง คัมภีรา ทุททัสสา ซับซ้อน 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 42 ประชาธิปไตยโลกุตระที่มีอายะ 3 และ อธิปไตย 3 วันจันทร์ที่ 25 กันยายน 2566 ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 10 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 14 มีนาคม 2567 ( 19:53:53 )

วิบากเป็นเพราะเหตุอันนี้อันนี้

รายละเอียด

อาตมาก็ไม่สามารถไปทราบกรรมวิบากได้ง่ายๆ เป็นเรื่องอจินไตย แต่ก็พอรู้ คนที่ศึกษาธรรมะดีๆจะเข้าใจว่า วิบากเป็นเพราะเหตุอันนี้อันนี้ อย่างพระพุทธเจ้าท่านทราบว่าวิบากอันนี้เป็นเพราะเหตุอันนี้ได้ อาตมาก็พอรู้แต่ไม่อยากจะแสดงอะไรแบบนี้ ไม่ถนัดไม่เก่ง 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม 2563


เวลาบันทึก 29 มิถุนายน 2563 ( 10:36:50 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 07:40:58 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 06:37:58 )

วิบากเรื่องสัตว์เลี้ยง

รายละเอียด

ไม่ต้องไปเลี้ยงหรอก  สัตว์ทุกตัวมันมีวิบากของมัน  คนก็มีวิบากของคน แค่เราสัมผัสสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันคนจัดการให้มันเรียบร้อยเถอะ  สัตว์นั้นมันมีวิบากของมันอย่างไปยุ่งกับมันเลย  เดี๋ยวเราก็ต้องไปเกี่ยวกับมันอีก เรื่องวิบากของสัตว์นี่ มันเป็นอจินไตย  กรรมวิบากจึงอธิบายได้ยาก  คุณจะต้องไปข้องกันอีกในชาติต่อๆไป    คนที่จะต้องเกิดมาแล้ว  ต้องมาเกี่ยวข้องกัน  ต้องมาแก้แค้น ต้องมารัก  ต้องมาชัง  ต้องมาใช้หนี้วิบาก อะไรกันอยู่นี่  มันก็หนักหนาสาหัสแล้ว  คุณจะเพิ่มหน่วยแห่งสัตว์ที่จะต้องมาเป็นภาระกันอีกทำไม พอเข้าใจไหม  แค่นี้ก็ควรจะปลดปลงวิบากที่เรามี ให้อภัยกัน  คนนั้นเป็นหนี้  ชังกัน  คนนี้รักกัน ก็ปล่อยไป ปล่อยวาง เลิกรัก เลิกชังคนด้วยกันนี้ เลิกรักเลิกชังกันให้เกิดจิตอุเบกขา สบายๆ  ให้เป็นเพื่อน  เป็นพี่ เป็นน้อง เป็นผู้ที่จะเกื้อกูลกัน ไม่ต้องไปริษยากัน  ไม่ต้องไปแก่งแย่งกัน  ช่วยกัน อย่างนี้แหละเป็นจุดสำคัญ  เป็นเป้าหมายของความเข้าใจ และปฏิบัติให้ได้ ซึ่งชาวอโศกพอทำได้  ปฏิบัติมา

ที่มา ที่ไป

รายการทำวัตรเช้า งานมหาปวารณา ครั้งที่ 37 วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 27 พฤศจิกายน 2562 ( 14:45:30 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 13:02:55 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 06:39:54 )

วิบากเหมือนหมาล่าเนื้อ

รายละเอียด

แม้วิบากจะเป็นอกุศลเราไม่สร้างอกุศลต่อ สร้างแต่กุศล หมาไล่เนื้อไล่ไม่ทัน อัตราการก้าวหน้าของพระอริยะโดยเฉพาะพระอรหันต์ขึ้นไปมีแต่อัตราการก้าวหน้าแบบทับทวี วิบากเหมือนหมาไล่เนื้อก็จะวิ่งไล่ไม่ทัน

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 06 ธันวาคม 2562 ( 16:30:56 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 13:04:03 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 06:40:37 )

วิบากและวาสนาแก้ไม่ได้

รายละเอียด

อาตมาไม่ได้อยากอธิบายละเอียด มันจะฉีกหน้าคุณ ฉีกหน้าเรื่องอะไร คือนิสัยกิริยาคุณมันไม่ต้องใจคนอื่นเยอะ แต่คุณแก้ไม่ได้มันเป็นวาสนาคุณ ต้องมีที่มาที่คุณจะไม่ได้รับการยอมรับแม้จะให้สิทธิ์เป็นคนใน ทั้งๆที่ที่ดินคุณก็เป็นคนยกให้เป็นคนแรก คุณเป็นคนเริ่มต้นอะไรอีกตั้งเยอะแยะ เขาไม่ได้ทำทุกวันเลยแต่คุณต้องยอมรับ อาตมาไม่อยากพูดหรอกว่ามันเป็นเรื่องของวิบากคุณด้วย วาสนาของคุณด้วย คนแก้วาสนาไม่ได้ วิบากก็ไปแก้ไม่ได้เพราะฉะนั้นคุณก็ต้องเป็นอย่างนี้ 

อาตมามีวิบาก ขนาดอาตมาโพธิสัตว์ระดับ 7 ก็ยังมีวิบากขนาดนี้ถูกต่อต้านคุณเห็นไหม เถรสมาคมควรจะยอมรับอาตมาอย่างเต็มรูปก็ยังไม่ได้ อาตมายังไม่เห็นจะน้อยใจหรือต่อว่าเลย ถ้าคุณเข้าใจอย่างอาตมาก็ช่วยตอบด้วย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราชฯ ครั้งที่ 36

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม 2562 ที่บวรราชธานือโศก


เวลาบันทึก 16 มีนาคม 2564 ( 10:51:59 )

วิบากไปสัมผัสสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสัตว์

รายละเอียด

เรื่องเอาแมวมาเลี้ยงในชุมชน พูดจริงๆ ก็ให้เขาพาแมวออกไปเลี้ยงข้างนอก  อย่าไปเลี้ยงมัน เป็นวิบากของคุณ   ไม่ใช่ว่ามันจะดีนะ  มันไม่ดี วิบากไปสัมผัสสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับใคร วิบากกับคนด้วยกันนี้ก็ยากฉิบหายแล้ว แล้วจะไปเพิ่มเอาสัตว์มาเติมอีก  เอาแมว หมู หมามาอีก   แล้วคุณจะปฏิบัติธรรมเพื่อหลุดพ้นหรือเปล่า หรือเพื่อจะผูกพัน ถ้าเผื่อจะผูกพัน  ก็ต้องออกไปข้างนอก  แต่ถ้าตั้งใจ จะเลิกความผูกพันก็ทิ้งแมว   แล้วปฏิบัติอยู่นี่  แต่ถ้าคุณไม่ก็ไปกับแมวเลย  ต้องเด็ดขาดอย่างนี้  เอาสัจจะมาพูดที่บ้านราชก็ชัดอย่างนี้  ตอนนี้หมาก็ยังอยู่ที่บ้านราช

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต ปฐมอโศก ครั้งที่ 81 วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 29 พฤศจิกายน 2562 ( 14:27:39 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 13:11:36 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 06:42:08 )

วิบากไม่ดีของพระพุทธเจ้า

รายละเอียด

วิบากไม่ดี แม้พระพุทธเจ้าสมณโคดมก็ยังมีวิบากแม้ในปางสุดท้ายที่จะปรินิพพานเป็นปริโยสาน ยังมีวิบากเลยแต่มีวิบากน้อย อย่างตัวสรีระ จะเจ็บมากที่สุดก็แค่พระบาทห้อเลือด นอกนั้นก็คนด่า มุขสตี นอกนั้นไม่มี เป็นอจินไตย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูปฐมนิเทศ พาปฏิญาณศีล 8 งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ปี 2564 ครั้งที่ 45 ออนไลน์วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก

สื่อธรรมะพ่อครู ตอน อจินไตยของกรรมวิบาก


เวลาบันทึก 05 มีนาคม 2564 ( 20:27:58 )

วิบากไอของพ่อครูใครเป็นคนทำ

รายละเอียด

เมื่อกี้ ก่อนเข้ารายการก็ร้องเพลงเล่น กูล่ะเว้ย เฮ้ย กูเป็นคนไอ  ไอล่ะเว้ย เฮ้ย ไอเป็นคนทำ

มันเป็นวิบากของอาตมาจริงๆ จะว่าทรมาน มันก็ไม่ได้ทรมานมาก  แต่มันทรมานอย่าง ทรถ(อ่าน ทะระถะ) ใช้ภาษาวิชาการ ทรถ มันไม่ปกติ มันแหย่ให้เรา  แต่อาการมันแรง แต่อาตมาไม่มีปัญหาในการติดยึดอะไรแล้ว แต่มันเกิดสภาวะจริง มันไอ มันจะต้องขับเสลด มันเหนียว ต้องไอแรง แล้วมันก็มีที่อาตมาเรียกมันว่าน้ำพิษ รสชาติมันไม่ได้เรื่องเลย มันเกิดขึ้นมาแล้วไอ้กระเปาะนี้ ปั่นทั้งเสลด ปั่นทั้งน้ำพิษออกมา มันก็เลยเป็นวิบากของอาตมา เป็นการทรมานชนิดหนึ่ง มันไม่รุนแรงหรอก แต่มันก็ไม่น่าจะมี เป็นของที่ไม่น่าได้น่าเป็นเลย ไอแรงๆมันเมื่อย น้ำพิษมันก็บอกไม่ถูกเลย ใครก็ไม่อยากจะอมในปาก มันเป็นของแปลกที่ไม่มีตัวอย่าง อาตมาว่าอาจจะเป็นคนเดียวในโลกมั๊ง ที่มีอันนี้ หมอเขาจนปัญญา ก็เป็นไป มันก็เป็นวิบากของอาตมาก็จำเป็น 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาพาทำจิตเป็นอุตุไม่เกี่ยวเกาะ วันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม 2566 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 28 กรกฎาคม 2566 ( 19:56:21 )

วิปริตจากธรรมวินัย

รายละเอียด

คือ ผู้ที่ไม่ทำตามวินัย ไม่ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า มีพฤติกรรม ที่ไม่ตรงธรรม ไม่ตรงวินัย ออกจากจารีต ตกหล่นไปจากธรรมวินัย เป็นผู้แสวงบุญนอกพุทธ เช่น ผู้ที่หลงงมงายในเดรัจฉานวิชา พระรับเงินรับทอง สะสมวัตถุสมบัติ เป็นบุคคลที่วิปริตจากธรรมวินัยและเป็นเหตุทำให้ประชาชนเข้าใจธรรมวินัยวิปริตอีกด้วย

หนังสืออ้างอิง

“สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ” หน้า 247


เวลาบันทึก 29 ตุลาคม 2562 ( 10:38:19 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 16:02:26 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 06:42:45 )

วิปลาส

รายละเอียด

กิริยาที่ถือโดยอาการวิปริตผิดจากความเป็นจริง,  ความเห็นหรือความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากสภาพที่เป็นจริง  มีดังนี้

ก. วิปลาสด้วยอำนาจจิตและเจตสิก 3 ประการ คือ

      1.   วิปลาสด้วยการกำหนดสำคัญผิด เรียกว่า สัญญาวิปลาส

      2.   วิปลาสด้วยองค์รวมธาตุรู้คือจิต เรียกว่า จิตตวิปลาส

      3.   วิปลาสด้วยอำนาจการเห็นผิด เรียกว่า ทิฏฐิวิปลาส

ข. วิปลาสด้วยการประกอบเจตสิกทั้ง 3 ไว้ถึง 4 ประการ คือ

     1.   วิปลาสในของที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง

     2.   วิปลาสในของที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข

     3.   วิปลาสในของที่ไม่ใช่ตน ว่าเป็นตน

     4.   วิปลาสในสิ่งอสุภะว่าสุภะ  (เขียนว่าพิปลาส ก็มี)

 

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 182

ยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 50,286

 


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2562 ( 14:38:51 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 13:48:49 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 06:44:29 )

วิปลาส

รายละเอียด

เป็นเพียงชั่วคราว

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 11 มกราคม 2563 ( 14:01:10 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 13:49:50 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 06:54:07 )

วิปลาส

รายละเอียด

แยก“จิต”แยก“วิธีปฏิบัติ”ให้ถูก มิฉะนั้น“วิปลาส” “ทิฏฐิวิปลาส”จึงมี“สัญญาวิปลาส”แล้ว“จิตวิปลาส” วิปัลลาส หรือ วิปลาส 4

      วิปลาส มี 3 ระดับ คือ

  1. สัญญาวิปลาส

  2. จิตตวิปลาส

  3. ทิฏฐิวิปลาส

      วิปลาส 3 ระดับนี้ ที่เป็นพื้นฐาน เป็นไปใน 4 ด้าน คือ

  1. วิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง ไม่มีอะไรเท่ากันเลยในทุกปัจจุบัน จะต้องมีคาดเคลื่อนไปน้อยหรือมากเสมอ

  2. วิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข

  3. วิปลาสในสิ่งที่ไม่เป็นตัวตน ว่าเป็นตัวตน

  4. วิปลาสในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม

เรียนรู้ให้หมดวิปลาส 4 นี้คุณก็เป็นอรหันต์ ง่ายจะตาย อรหันต์อยู่แค่เอื้อม ก็เอาอรหัตตผลของ โสดาบันสกิทาอนาคาไปไง แยก“สมมุติสัจจะ”กับ“ปรมัตถสัจจะ”กันยังไม่ได้  ไม่มี“สวรรค์-นรก”ในจิตคือ “ไม่มีภพ-ไม่มีชาติ”ขั้นต้น

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 9 พฤษภาคม 2561


เวลาบันทึก 31 ธันวาคม 2563 ( 13:15:57 )

วิปลาส 2 ประเภท

รายละเอียด

หากปฏิบัติผิดก็วิปลาส คือมีกิริยาที่ถือโดยอาการวิปริตผิดจากความเป็นจริง, ความเห็นหรือความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากสภาพที่เป็นจริง มีดังนี้:

ก. วิปลาสด้วยอำนาจจิต และเจตสิก 3 ประการ คือ 

1. วิปลาสด้วยอำนาจสำคัญผิด เรียกว่า สัญญาวิปลาส 

2. วิปลาสด้วยอำนาจคิดผิด เรียกว่า จิตตวิปลาส 

3. วิปลาสด้วยอำนาจเห็นผิด เรียกว่า ทิฏฐิวิปลาส 

ข. วิปลาสด้วยยึดเอาวัตถุเป็นที่ตั้ง 4 ประการ คือ 

1. วิปลาสในของที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง 

2. วิปลาสในของที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข 

3. วิปลาสในของที่ไม่ใช่ตน ว่าเป็นตน 

4. วิปลาสในของที่ไม่งาม ว่างาม (เขียนว่า พิปลาส ก็มี) 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 10 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 21 มกราคม 2563 ( 20:44:00 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:24:48 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 07:00:05 )

วิปลาส 3

รายละเอียด

คือ ทิฏฐิวิปลาส สัญญาวิปลาส และจิตวิปลาส

หนังสืออ้างอิง

 “คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1 หน้า 47


เวลาบันทึก 08 พฤศจิกายน 2562 ( 13:49:06 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 16:01:49 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 06:55:06 )

วิปลาส 3

รายละเอียด

สัญญาวิปลาส จิตวิปลาลาส ทิฏฐิวิปลาส

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 11 มกราคม 2563 ( 14:02:03 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:25:44 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 06:58:17 )

วิปลาส 3

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นความวิปริตของทิฐิวิปริตของสัญญาวิปริตของจิตนี้มันก็จะวิปลาสไป เป็นวิปลาส 3 เป็นความคิดความอ่านความเฉไฉออกไป มี 3 นัยยะ ทิฏฐิ สัญญา จิต

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน 2563


เวลาบันทึก 28 เมษายน 2563 ( 13:06:42 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:27:18 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 06:56:47 )

วิปลาส 3 

รายละเอียด

คุณว่า ผมว่าท่านใกล้จะบ้าเข้าไปเต็มทีแล้วครับ ...คุณก็พูดอย่างเกรงใจ ประโยคต่อไปของคุณก็ว่า ตอนนี้นะท่านกำลังติดอยู่ในสัญญาวิปลาสอยู่นะครับ รู้ตัวรึยังครับ? 

คำว่า วิปลาส นี่แหละ คนในภาษาไทยก็เข้าใจ จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส สัญญาวิปลาส เขาก็ว่าเป็นคนบ้า ความเห็นไม่เหมือนโลกเขาก็เป็นทิฏฐิวิปลาส 

สัญญาวิปลาสกำหนดผิด กำหนดโลกุตระกำหนดโลกียะกำหนดสิ่งที่เขาหมายว่าสูงส่งกว่าสามัญ คนเข้าใจไม่ได้ก็หาว่าวิปลาส 3 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ แก้กรรมฐานให้ถูกพุทธ วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 ที่บ้านราชฯ


เวลาบันทึก 07 กุมภาพันธ์ 2564 ( 13:52:24 )

วิปลาส 4

รายละเอียด

คือ

1. วิปลาสในภาวะไม่เที่ยง (อนิจจัง) ว่าเที่ยง (นิจจัง)

2. วิปลาสในภาวะที่เป็นทุกข์ (ทุกขัง) ว่าเป็นสุข (สุขัง)

3. วิปลาสในภาวะไม่เป็นตัวตน (อนัตตา) ว่าเป็นตัวตน (อัตตา)

4. วิปลาสในภาวะที่ไม่น่าได้ ไม่น่ามี ไม่น่าเป็น (อสุภ) ว่าน่าได้ น่ามี น่าเป็น (สุภ) หรือไม่งาม (อสุภ) ว่า งาม (สุภ)

หนังสืออ้างอิง

 “คนจน” ที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1หน้า 48


เวลาบันทึก 08 พฤศจิกายน 2562 ( 13:54:18 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 16:00:23 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 07:00:39 )

วิปลาส 4

รายละเอียด

เพราะสัญญาวิปลาส (ความจำหรือการกำหนดคลาดเคลื่อน) หรือจิตวิปลาส (ความคิดคลาดเคลื่อน) เกิดแปรปรวนผิดปกติจากความเป็นจริง คือ

1. ในสภาพไม่เที่ยง ว่าเที่ยง (อนิจเจ นิจจัง)

2. ในสภาพเป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข (ทุกเข สุขัง)

3. ในสภาพไม่ใช่อัตตา ว่าเป็นอัตตา (อนัตตนิ อัตตา)

4. ในสภาพไม่ดีงาม ว่าดีงาม (อสุเภ สุภัง)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 21"วิปัลลาสสูตร"  ข้อ  49

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 20 มิถุนายน 2562 ( 11:02:44 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 16:01:12 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 07:01:42 )

วิปลาส 4

รายละเอียด

 1.  การเห็นความทุกข์เป็นความสุข   

 2.  การเห็นความไม่มีตัวตนว่าเป็นตัวตน  

 3.  การเห็นความไม่งามว่าเป็นความงาม    

 4.  การเห็นความไม่เที่ยงว่าเป็นของเที่ยง

 

ที่มา ที่ไป

วิถีอาริยธรรม สันติอโศก วันอาทิตย์ที่  24  พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 19 ธันวาคม 2562 ( 20:05:18 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 13:53:38 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 07:03:08 )

วิปลาส 4

รายละเอียด

อสุภสัญญา คนทั้งหลายแหล่ไปหลงของไม่น่าได้ ไม่นานมี ไม่น่าเป็นว่าเป็นของน่าได้น่ามีน่าเป็นซึ่งเป็นวิปลาส 4  กิริยาที่ถือโดยอาการวิปริตผิดจากความเป็นจริง, ความเห็นหรือความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากสภาพที่เป็นจริง

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 31 มีนาคม 2563 ( 09:52:01 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 03:23:17 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 07:04:46 )

วิปลาส 4

รายละเอียด

ถ้าแกนวิปลาส 3 จะมีวิปลาส 4 คุณจะเห็นความทุกข์เป็นความสุขคุณจะเห็นความไม่เที่ยงเป็นความเที่ยง คุณจะเห็นความไม่เป็นตัวตนว่าเป็นตัวตน คุณจะเห็นความไม่น่าได้ไม่น่ามีไม่น่าเป็นไปเป็นสิ่งที่น่าได้น่ามีน่าเป็นอีก 4 วิปลาส คุณจะเพี้ยนไปอย่างนั้นเลย 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน 2563


เวลาบันทึก 28 เมษายน 2563 ( 13:08:47 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:12:39 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 07:05:31 )

วิปลาส 4

รายละเอียด

วิปลาสด้วยยึดเอาวัตถุเป็นที่ตั้ง 4 ประการ คือ 

 1. วิปลาสในของที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง เช่นวิปลาสว่า สุข เที่ยง แล้วสุขมันเที่ยงที่ไหน มันไม่มีอะไรเที่ยงแต่ไปยืนยันว่าเที่ยงอีก 

    2. วิปลาสในของที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้นทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป แล้วเขาไปยึดถือว่ามันเที่ยงด้วยให้ความสุขมันเที่ยงจะให้เป็น ยามะ ให้ดุสิตา ดาวดึงส์ ปรินิมมิตวสวัตตี มันไม่รู้เรื่องมันโง่ 

    3. วิปลาสในของที่ไม่ใช่ตน ว่าเป็นตน ยึดอนัตตาว่าเป็นอัตตา มันยึดไม่ได้หรอก อนัตตาทั้งนั้นแต่คุณก็ไปยึด

    4. วิปลาสในของที่ไม่งาม ว่างาม วิปลาสว่า อสุภะว่าสุภะ คือสิ่งที่ไม่น่าได้น่ามีหน้าเป็น เป็นสิ่งที่น่าได้น่ามีน่าเป็น

อย่ามีคำพูดง่ายๆว่า ผู้หญิงคือถุงขี้ผูกโบว์ ผู้ชายคือหนังควายผูกห่อขี้ แล้วก็ไปหลงกันอีก ไปหลงแม้แต่เป็นคนรวยนี้น่ารวยน่าได้ เป็นคนจนน่าได้ มาเป็นคนจนดีกว่า ไปเป็นคนรวยไม่น่าจะทำเป็นอสุภะ แต่คุณก็อันนี้ฟังยากกว่าอันอื่นนะ มาบอกว่าเป็นคนจนเป็นสุภะ เป็นคนรวยอสุภะมันทุกข์ไปทำบาป เลี้ยงกิเลสไว้ ถ้ามาหมดตัวหมดตนได้ ไม่ต้องมีกิเลสเลยได้อย่างนี้ดีกว่า อาตมาพูดถูกนะพอเข้าใจ ไม่สับสนไม่งงไม่ตีลังกาหัวทิ่ม อย่างนี้เป็นต้น

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ แก้กรรมฐานให้ถูกพุทธ วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 ที่บ้านราชฯ


เวลาบันทึก 07 กุมภาพันธ์ 2564 ( 13:54:31 )

วิปลาส 4

รายละเอียด

วิปลาส 4 มี

1. วิปลาสในของที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง

2. วิปลาสในของที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข

3. วิปลาสในของที่ไม่ใช่ตน ว่าเป็นตน

4. วิปลาสในของที่ไม่งาม ว่างาม (เขียนว่า พิปลาส ก็มี)

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการวิถีอาริยธรรม บ้านราชฯ หัวใจประชาธิปไตยครบสูตร 2 หมวด 3 ประการ วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม 2561 ที่บวรราชธานีอโศก

สื่อธรรมะพ่อครู(อาริยสัจ 4) ตอน ความเป็นกลางคือหมดสิ้นอันตา


เวลาบันทึก 28 กุมภาพันธ์ 2564 ( 20:42:37 )

วิปลาส 4

รายละเอียด

เพราะสัญญาวิปลาส (ความจําหรือการกําหนดคลาดเคลื่อน) หรือจิตวิปลาส (ความคิดคลาดเคลื่อน) หรือทิฏฐิวิปลาส (ความเห็นคลาดเคลื่อน) เกิดแปรปรวนผิดปกติจากความเป็นจริง คือ

1. ในสภาพไม่เที่ยง ว่าเที่ยง (อนิจเจ นิจจัง)

2. ในสภาพเป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข (ทุกเข สุขัง)

3. ในสภาพไม่ใช่อัตตา ว่าเป็นอัตตา (อนัตตนิ อัตตา)

4. ในสภาพไม่งาม ว่างาม (อสุเภ สุภัง)

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฏกเล่ม 31 “มหาวรรค วิปัลลาสกถา” ข้อ 525


เวลาบันทึก 13 มีนาคม 2565 ( 05:16:23 )

วิปลาส 4 

รายละเอียด

วิปลาส 4  มีอะไรบ้าง 

1.เห็นความไม่เที่ยง 2. เห็นความทุกข์ว่าเป็นความสุข 3. เห็นความไม่มีตัวตน ว่ามีตัวตน 4. เห็นความไม่น่าได้ ไม่น่ามี ไม่น่าเป็นเลย หลงว่า เป็นความน่าได้ น่ามี น่าเป็น เอาความไม่น่าได้ ไม่น่ามี ไม่น่าเป็น มาพูดดูบ้าง 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศนาภาคค่ำ งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 47 

วันพุธที่ 8 มีนาคม 2566 ที่บวรปฐมอโศก แรม 2 ค่ำเดือน 4 ปีเถาะ 


เวลาบันทึก 28 มีนาคม 2566 ( 11:50:24 )

วิปลาส 7

รายละเอียด

ขยายเป็น วิชาการของพุทธเจ้าเลย เอาวิปลาส 3 กับ 4 เป็นวิปลาส 7 กิริยาที่ถือโดยอาการวิปริตผิดจากความเป็นจริง, ความเห็นหรือความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากสภาพที่เป็นจริง มีดังนี้ :

ก. วิปลาสด้วยอำนาจจิต และเจตสิก 3 ประการ คือ วิปลาส พตปฎ.เล่ม 31/526

1.  วิปลาสด้วยอำนาจสำคัญผิด เรียกว่า สัญญาวิปลาส

2.  วิปลาสด้วยอำนาจคิดผิด เรียกว่า จิตตวิปลาส

3.  วิปลาสด้วยอำนาจเห็นผิด เรียกว่า ทิฏฐิวิปลาส

ข. วิปลาสด้วยยึดเอาวัตถุเป็นที่ตั้ง 4 ประการ คือ

1.  วิปลาสในของที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง

2.  วิปลาสในของที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข

3.  วิปลาสในของที่ไม่ใช่ตน ว่าเป็นตน

4.  วิปลาสในของที่ไม่งาม ว่างาม (เขียนว่า พิปลาส ก็มี)

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการวิถีอาริยธรรม บ้านราชฯ หัวใจประชาธิปไตยครบสูตร 2 หมวด 3 ประการ วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม 2561 ที่บวรราชธานีอโศก สื่อธรรมะพ่อครู(อาริยสัจ 4) ตอน ความเป็นกลางคือหมดสิ้นอันตา


เวลาบันทึก 28 กุมภาพันธ์ 2564 ( 20:38:58 )

วิปลาสด้วยยึดเอาวัตถุเป็นที่ตั้ง

รายละเอียด

ข. วิปลาสด้วยยึดเอาวัตถุเป็นที่ตั้ง 4 ประการ คือ 

  1. วิปลาสในของที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง 

  2. วิปลาสในของที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข 

  3. วิปลาสในของที่ไม่ใช่ตน ว่าเป็นตน 

  4. วิปลาสในของที่ไม่งาม ว่างาม (เขียนว่า พิปลาส ก็มี) 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 31 มีนาคม 2563 ( 09:54:29 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 03:24:03 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 07:05:52 )

วิปลาสด้วยอำนาจจิต

รายละเอียด

ก. วิปลาสด้วยอำนาจจิต และเจตสิก 3 ประการ คือ 

  1. วิปลาสด้วยอำนาจสำคัญผิด เรียกว่า สัญญาวิปลาส 

  2. วิปลาสด้วยอำนาจคิดผิด เรียกว่า จิตตวิปลาส 

  3. วิปลาสด้วยอำนาจเห็นผิด เรียกว่า ทิฏฐิวิปลาส

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 31 มีนาคม 2563 ( 09:53:25 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 03:24:28 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 07:06:43 )

วิปลาสแท้มี 4 อย่าง

รายละเอียด

วิปลาสแท้มี 4 คือ เห็นว่าทุกข์แท้ๆก็เป็นความสุข-เห็นความไม่เที่ยงว่าเป็นความเที่ยง-เห็นความไม่มีตัวตนว่ามีตัวตน-เห็นสิ่งที่ไม่น่าได้ไม่น่าไม่มีน่าเป็นเป็นสิ่งที่น่าได้น่ามีน่าเป็น 

พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ครบชัดเลยแค่ 4 ประเด็นนี้ ทุกข์แท้ๆไปหลงว่าสุข ไม่เที่ยงแท้ๆหลงว่าเที่ยงแท้ ไม่มีตัวตนก็ไปหลงว่ามีตัวตน สิ่งที่ไม่น่าได้น่ามีน่าเป็นก็ไปหลงว่าน่าได้น่ามีน่าเป็น ครบหมดเลย ถ้าเข้าใจแค่นี้ก็คนเราหนอ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์เปิดงานปลุกเสกพระแท้ๆของพุทธ ครั้งที่ 44 พาปฏิญาณศีล 8

วันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 08 เมษายน 2564 ( 21:22:44 )

วิปัลลาส

รายละเอียด

ความคลาดเคลื่อน

หนังสืออ้างอิง

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 174


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2562 ( 14:39:38 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 11:50:51 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 07:06:20 )

วิปัสนาเห็นไตรลักษณ์ขณะนั่งหลับตาได้เป็นเพียงจินตนาการ

รายละเอียด

คำว่าพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ได้มันเป็นจินตนาการ ไตรลักษณ์คือ ความเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ก็ได้แต่ความคิด เขานั่งหลับตาก็ได้แต่สร้างความคิด อะไรมันเกิดมันเกิดอย่างไร เกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วก็ดับไป มันไม่จบหรอก สายเทวนิยม สายไม่รู้อนัตตตา ไม่รู้ปรินิพพานปริโยสานเขาจึงไม่จบ เทวนิยมสุดท้ายก็ไปอยู่กับพระเจ้า 

คำว่าตายไปแล้วไปอยู่กับพระเจ้า เป็นคำตอบของความจำนน จำนนของเขาตายแล้วเสร็จไปอยู่กับพระเจ้าแล้วก็จบ พูดอะไรไม่ออก ต่ออะไรไม่ได้ ไม่รู้เรื่องอะไรต่อ 

เพราะฉะนั้นเมื่อตายแล้วจะต้องมาเกิดอีกเวียนวนตามกรรมวิบาก เขาไม่รู้จักกรรมวิบากเลย ตายแล้วก็แล้วแต่พระเจ้า แล้วแต่ว่าพระเจ้าจะให้ไปไหน นรก ก็มีภพมีชาติ สวรรค์ก็มีภพมีชาติ

ผู้ที่สูงสุดคือ ตายไปแล้วอยู่กับพระพุทธเจ้าก็อยู่ในภพสวรรค์ สวรรค์ก็คือความสุข ถึงเรียกว่า พวกสุขนิยม สุขเที่ยง อะไรตีใส่ในสิ่งที่พอใจ เหมือนมหาบัวว่า พอใจๆ สิ่งที่พอใจเป็นสุขหมด มหาบัว ก็ไม่รู้ว่าที่ตัวเองพูดพอใจพอใจนั่นแหละ คือสุขนิยมที่นิรันดร นี่ตายแล้วคงไปอยู่กับพระเจ้าแล้วมหาบัวนี่ สุขนิยม 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธ‌ศาสนา‌ตาม‌ภูมิ‌ ‌ชาติ‌ ‌5‌ ‌พา‌พ้น‌ขิฑฑาป‌โท‌สิ‌กะ‌และ‌มโน‌ป‌โท‌สิกะ‌ ‌วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 01 มกราคม 2565 ( 20:20:38 )

วิปัสนูปกิเลส 10

รายละเอียด

โอภาส – ปิติ – ปัสสัทธิ – อธิโมกข์ – ปัคคหะ – สุข – ฌาน – อุฏฐาน – อุเบกขา – นิกันติ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 238


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2562 ( 14:40:34 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 15:14:41 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 07:07:06 )

วิปัสสนา

รายละเอียด

1. เพ่งพิจารณาให้รู้ความแท้จริง จริง ๆ ถึงต้นตอจริง ๆ ว่าในโลกนี้ อะไร ๆ มันก็มีแต่รูปกับนามเท่านั้น มันเกิดแล้วก็แปรเปลี่ยนไป ไม่มี-หยุดได้ วกวนอยู่นั่นเอง  เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงแล้วก็จะพาไปสู่ความพ้น-ทุกข์เป็นขั้นสุดท้ายแน่นอน

2. หัดเพ่ง หัดใช้สติตรวจค้นหาความจริงให้รู้แจ้งให้ได้

3. รู้ แจ้ง

4. มีสติ  รู้จักเหตุผล  รู้จักความสมควร หรือรู้สึก รู้สำนึก รู้ตัวตน-เห็นชัดนั้นแน่ ๆ หรือเกิดความฉลาด เกิดรู้ยิ่ง ๆ ขึ้น

5. การใช้สติเพ่งอ่าน เพ่งพิจารณาตามรู้ , การอ่าน การพิจารณาเพื่อ-ให้รู้แจ้งแทงละเอียด

6. เพ่งให้ได้ถึงความแท้จริง ให้เห็นแจ้งเข้าใจชัดทะลุ

7. ความรู้จักรู้แจ้งรู้จริงในปรมัตถธรรมทั้งหลาย หรือผลของไตรสิกขานั่นเอง

8. การเห็นที่ไม่สามัญ คือเห็นถึงขั้นวิสามัญ หรือเห็นอย่างไม่ธรรมดา

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 71 ,174, 249 ,251

ทางเอก ภาค 1 หน้า 225

ทางเอก ภาค 3 หน้า 68

พุทธเป็นอเทวนิยมอย่างนี้ หน้า 98

ชีวิตนี้มีปัญหา / เราคิดอะไร ฉบับ 266


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2562 ( 14:44:18 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 11:57:18 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 07:08:30 )

วิปัสสนา ธรรมวิจัย และ โยนิโสมนสิการ ต่างกันอย่างไร

รายละเอียด

วิปัสสนา แปลว่ารู้จริงๆ รู้ในเรื่องโลกุตรธรรมหรือธรรมะที่เป็นอภิธรรมจิตเจตสิกรูปนิพพาน รู้ในเรื่องนี้ ไม่ใช่ไปรู้สเปะสปะ จะรู้เรื่องไปโลกพระจันทร์ ไปรู้เรื่องประดับประดาเก่งตกแต่งเก่งไม่ใช่ วิปัสสนาคือรู้เรื่องของทุกข์สมุทัยนิโรธมรรค จุดสำคัญคือไปนิพพาน 

ธัมมวิจัย คือแยกแยะได้ วิจัยวิจารณ์ออกได้ วิจัยรูปนาม จับแยกทีละสองและเห็นความต่างกันทีละสองเสมอ เปรียบทีละคู่ไป แม้ที่สุดน้อยกับมากมันก็ต่างกัน รู้ความต่างกันวิจัยได้ สูงกับต่ำ นอกกับใน เทียบกันไปทีละคู่คือ เทวะ

ส่วนโยนิโสมนสิการ หมายความว่าเราทำจิตของเราจัดการจิตของเราได้ถูกต้องถ่องแท้ ลงไปถึงที่เกิด ให้กิเลสตาย สิ่งที่เหลือก็เกิด ลงไปถึงจุดสำคัญเลยคือถึงหัวใจของมันเลย แล้วก็ทำอะไรคือทำจิตใจของเรา มนสิการ วิธีการทำใจในใจ แต่เขาไปแปลว่าสำคัญมั่นหมายก็ไม่ครบ ก็ต้องสำคัญมั่นหมายทำที่ใจนี่แหละ เรียกว่าโยนิโสมนสิการ สำคัญที่ใจแล้วต้องทำที่ใจอย่างถูกต้อง เขาเข้าใจอย่างผิวเผินว่าโยนิโสมนสิการเป็นการพิจารณาอย่างถ่องแท้ แต่ไม่ได้ทำใจเลย ไม่ได้มนสิการเลย 

ที่เขาอธิบายกันส่วนใหญ่ในสังคมศาสนาทั่วไปทางเถรสมาคม โยนิโสมนสิการแปลว่าพิจารณาอย่างแยบคายถ่องแท้ละเอียดลออ คิดนึกพิจารณาเท่านั้นเองไม่ไปถึงใจไม่ได้ทำใจไม่ได้จัดการกับใจ เพราะไม่รู้จักใจเขาทำใจในใจไม่เป็น นี่คือการศึกษาปริยัติ ทางด็อกเตอร์ เปรียญ 9 หมู่ใหญ่ ไม่ทำถึงใจ ส่วนที่ทำถึงใจเขาว่าต้องนั่งหลับตาสายวิปัสสนา แล้วหลับตาอย่างไรก็หลับ ปี๋ ไม่มีธัมมวิจัยเลย และดับกับดับมีแต่ดำกับดำ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 20 วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม 2563
ที่บ้านราชฯ


เวลาบันทึก 02 กุมภาพันธ์ 2564 ( 19:09:01 )

วิปัสสนา เป็นเช่นไรในทางปฏิบัติ

รายละเอียด

วิปัสสนา แปลว่าเห็น แปลว่ารู้แจ้ง

มโนมยิทธิ...ก็หมายความถึงขั้น บทบาทความสำเร็จเห็นแจ้ง ที่ได้ทำงานทางจิต ที่มีเรื่องใหญ่ยิ่งคือรู้จักกิเลส 2 ต้องทำอย่างไรมีอุบายเครื่องออก ที่จะทำให้กิเลสมันฝ่อลง มันตายไปเลยหรือดับสิ้นไปได้ 

คำศัพท์อุบายเครื่องออก คือ พลังงานของฌานและบุญ 

สภาวธรรมที่อาตมามีเอง เป็นเอง มั่นใจเองว่านี่คือความจริงแท้ๆ 

เมื่อเรามีปัญญาหยั่งรู้แยกจิตกับกิเลส สองตัวเป็นเทวะคู่แยกให้ออก เมื่อแยกจิต แม้จะย่อยลงว่า เวทนา จิตหรือเจตสิกส่วนหนึ่งคือความรู้สึก กับกิเลส มันจะเกิดสุข เกิดทุกข์ เกิดชอบ เกิดชัง เกิดผลัก เกิดดูด ก็ดูตัวเหตุที่มันทำให้เกิดอาการนี้ 

กิเลสตัวนี้เป็นได้ทั้งผลักกับดูดทั้งชอบและชัง ชอบก็เรียกกาม ชังก็เรียกปฏิฆะ จับตัวมันได้ก็มาใช้อุบายเครื่องออก 

อุบายเครื่องออกของพระพุทธเจ้าไม่ทำร้ายไม่ข่ม แต่ ให้รู้ความจริงตามความเป็นจริงว่าเอ็งเป็นมายา ผีหลอก เอ็งไม่มีตัวจริงหรอก เอ็งเกิดจากความโง่ของข้าเอง 

ข้าจับเอ็งได้แล้ว เจ้าโง่ เจ้าโง่ของใครของข้าเองเจ้าโง่ เอ็งไปเสีย เอาตัวอัตตาโง่ตัวอวิชชาโง่ทิ้งออกไปจากตัวเองเลย อวิชชาก็ดี ตัวข้าที่โง่ๆ ก็หายไปจากตัวเอง ตัวเองก็ใสสว่างสะอาดใจ 

อธิบายสภาวะด้วยพยัญชนะ ไม่ได้ไปทำร้ายทำให้บาดเจ็บ ทำให้มันเสียหายอะไรเลย เอาความรู้ ความจริง ความเฉลียวฉลาดให้จำนนด้วยความรู้ความเฉลียวฉลาดจริงๆ แล้วไอ้เจ้ากิเลสไอ้เจ้าความโง่นั้นต้องพูดด้วยดีๆ (โยมว่า แล้ววันอื่นมันก็มาอีก )

ถ้าหากว่ากำลังของความรู้นั้นมีประสิทธิภาพเพียงพอ เจ้าโง่นั้นก็จะไม่มาอีกแล้ว หายวับเป็นนิวเคลียร์ฟิชชั่นไปเลย หายจ้อยเลย 

เจ้าโง่ หายตรงไปอย่างเดียวไม่มี loop ไม่มีโค้ง หายลิ่วเลย ให้ไปออกนอกโลก ออกจักรวาลไปไหนไม่รู้ออกทะลุไปสามเหลี่ยมเมอร์บิวด้าเลย (โยมว่า.. ทีหลังมีตัวเก่งกว่านี้มาอีก)

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ เอื้อไออุ่นชาวสันตินาคร วันพุธที่ 17 มีนาคม 2564 ที่บวรสันติอโศก 


เวลาบันทึก 22 มีนาคม 2564 ( 11:11:38 )

วิปัสสนาญาณ

รายละเอียด

1. ความแจ่มแจ้งที่ได้จากการทำวิปัสสนา

2. ยถาภูตญาณทัสสนะ คือมีการเข้าใจ การรู้เห็น การสัมผัสกับของจริงที่เกิดที่เป็นนั้น ๆ พร้อมทุกด้านด้วยความฉลาด[ปัญญา,ญาณ]

3. แจ้งในสภาพของการแยกรูปกับแยกนามของเราออกให้อยู่คนละส่วน ต่างส่วนก็ต่างอยู่ ไม่มาคน ไม่มารวม ไม่มาปนปรุงกัน หรือไม่มีการสังขารเลยนั้นมันเป็นสภาพอย่างนี้ สุขอย่างนี้ สงบอย่างนี้ เห็นได้ดังนี้ แจ้งได้ดังนี้ คือ ความแจ่มแจ้งที่ได้จากการทำวิปัสสนา

4. ความรู้ยิ่งที่สามารถรู้จักรู้แจ้งรู้จริงอย่างสัมผัสสภาพนั้นจริง ๆ [รู้อย่างเห็น ๆ สัมผัสอยู่จริง ๆ หรือเห็นจริงอย่างวิเศษยิ่งที่เขาเรียกกันว่าตาทิพย์ , ตาใน หรือตาธรรม(ธรรมจักษุ)]

5. ความประจักษ์ของจิตที่มีประสิทธิภาพในการรู้จักรู้แจ้งรู้จริงปรมัตถธรรมทั้งหลาย ทั้งรูปทั้งนาม ทั้งกายทั้งจิต ทั้งสมมุติสัจจะและปรมัตถสัจจะ

6. ปัญญาที่สัมผัสเห็นนามธรรมจริง

7. การสัมผัสอย่างเห็นแจ้งภาวะจริงนั้น ๆ เป็นการรู้แจ้งขั้นญาณพิเศษซึ่งเป็นการรู้สัมผัส – เจตสิก – รูป(นามธรรมที่ถูกรู้) – นิพพานกันได้จริง และเป็นการรู้อย่างวิชชา คือรู้อย่างอาริยะหรือรู้แจ้งโลกุตรธรรม

8. ปัญญาที่รู้เห็นชนิดสัมผัสของจริงชั้นปรมัตถธรรมซึ่งเป็นวิชชาข้อที่ 1 ของวิชชา 8

คำอธิบาย

ปัญญาที่สามารถหยั่งรู้จิต เจตสิก รูป นิพพาน ของตน

(หนังสือคนจะมีธรรมะได้อย่างไร ? เล่ม 1 หน้า 18)

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร?หน้า153 ,172 , 268

พุทธเป็นอเทวนิยมอย่างนี้ หน้า 97,100

ค้าบุญคือบาป หน้า130 , 290

กำไร-ขาดทุนแท้ของอาริยชน / เราคิดอะไร ฉบับ 265


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2562 ( 14:48:42 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:03:19 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 07:11:08 )

วิปัสสนาญาณ

รายละเอียด

ญาณรู้เห็นแยกธรรมะสองในขณะที่มันมีเหตุปัจจัย กำลังทำอาชีพกำลังทำการงาน กำลังพูดจา กำลังนึกคิดอยู่ ก็ปฏิบัติได้ไม่ใช่หยุดนึกคิด แล้วให้มีจิตที่พยายาม มีวิปัสสนาญาณ มีผัสสะ เป็นปัจจัย มีกาย เวทนา จิต ธรรม แต่นั่งสมาธิหลับตาไม่มีกายภายนอกมันก็ผิดตั้งแต่ต้นแล้ว

ที่มา ที่ไป

พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 23 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 06 ธันวาคม 2562 ( 15:55:17 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:05:15 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 07:11:41 )

วิปัสสนาญาณ

รายละเอียด

ต้องเกิดขณะมีการกระทบจากภายนอก มีธาตุรู้ เกิดความรู้เมื่อสัมผัสทุกทวารทั้ง 5 ครบ ถึงจะเรียกว่าเป็นผู้ปฏิบัติครบสมบูรณ์ การปฏิบัติธรรมมาพระพุทธเจ้าจะต้องไม่ขาดจาก จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา อาโลก อาโลกคือมีแสงสว่างของโลกอยู่

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 25 ธันวาคม 2562 ( 13:27:39 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:06:04 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 07:12:09 )

วิปัสสนาญาณ

รายละเอียด

วิปัสสนาญาณ คือญาณที่รู้แจ้งเห็นจริง 

ที่มา ที่ไป

630524


เวลาบันทึก 26 พฤษภาคม 2563 ( 17:25:16 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:07:55 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 07:12:58 )

วิปัสสนาญาณ

รายละเอียด

กลับมาที่วิชชา 8 วิปัสสนาญาณ คือความรู้ที่ต้องมีตัวเห็น ปัสสะ คือความเห็น เห็นอย่างยิ่ง วิ อยู่ปัจจุบันนี้ วิปัสสนะ วิปัสสนา เห็นอยู่ทนโท่เดี๋ยวนี้ วิปัสสนา แต่โดยสภาวะมันเห็นอยู่ตอนนี้ไม่ละวางจากปัจจุบันนี้เลยเรียกว่า ทิฏฐธรรม ปัจจุบันชาติ ยังมีปัจจุบันอยู่ตอนนี้ยังไม่หายไปจากปัจจุบันเลย เห็นๆอยู่ตอนนี้ทนโท่หลัดๆโต้งๆอยู่ตอนนี้ นี่เรียกว่า วิปัสสนา

คนที่ไปหลับตาแล้วตาก็ไม่เห็น หูก็ไม่ได้ยิน จมูกก็ไม่ได้กลิ่น ลิ้นก็ไม่รับรส เป็นสัมภเวสีอยู่กับจิตล่องลอยไปไหนก็ไม่รู้ นั่นคือโมฆะจากศาสนาพุทธ ไม่มีวิญญาณฐีติ 

ไม่มีวิญญาณที่จะมารับรู้ทางตาหูจมูกลิ้นกาย คนอื่นก็เห็นรู้รวมกันได้ ยืนยันกันได้บอกกันได้ว่า นี่ไงรูป นี่ไง รส นี่ไงกลิ่น นี่ไงเสียง นี่ไงสัมผัส นี่ไงจึงจะชื่อว่าวิปัสสนาญาณ 

ไปหลับตาโมเมขี้ตู่ หลับตาแล้วจะเกิดวิปัสสนาญาณ มาพูดเอาเอง พวกขี้ตู่กลางนาขี้ตาตุ๊กแก 

พูดกับคนตาบอดประชุมคนหูหนวกไปดูหนังใบ้ คนโง่ก็เชื่ออย่างนั้นกัน ถ้าคนที่เจริญกว่านั้นเขาก็รู้แล้ว เขารู้ว่าอันไหนเจริญก็มาเอาความเจริญกว่าก็เป็นธรรมดาธรรมชาติ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 46 จรณะและวิชชาคือพุทธคุณภาคปฏิบัติ วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 14 พฤษภาคม 2565 ( 19:48:35 )

วิปัสสนาญาณ 16(โสฬสญาณ)

รายละเอียด

คือความรู้แจ้งเห็นจริงตามลำดับของการวิปัสสนา

1. นามรูปปริจเฉทญาณ (รู้แจ้งแยกรูปแยกนามได้) คือญาณที่จำแนกรู้รูป-รู้นาม   และนามธรรมก็เปลี่ยนเป็น “รูป”  ให้ถูกจับมารู้อีกที

2. ปัจจัยปริคคหญาณ (รู้แจ้งเหตุปัจจัยแก่กันของนามรูป)  คือญาณที่รู้ปัจจัยของการก่อเหตุให้เกิดเป็นปัจจัยของอะไร ๆ ตามมา  ให้เกิดเวทนาอีก

3. สัมมสนญาณ (รู้แจ้งนามรูปเป็นไปตามไตรลักษณ์) คือญาณรู้เห็นรูป-นามของกิเลสตัณหา  ซึ่งยังวน ๆ อยู่อย่างเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป  ไม่เที่ยง

4. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (รู้แจ้งความเกิดและดับ) คือญาณตามเห็นความเกิด- ความเสื่อมไปของกิเลส ของชาติ เวทนาสุขทุกข์ต่าง ๆ

5. ภังคานุปัสสนาญาณ (รู้แจ้งว่าทุกสิ่งต้องเสื่อมสลาย) คือญาณตามเห็นความสลายไปของสังขารธรรม-ตัณหาปรุงแต่งทั้งหลาย

6. ภยตูปัฏฐานญาณ (รู้แจ้งภัยอันน่ากลัวของกิเลส) คือญาณอันเพ่งเห็น กิเลสสังขาร  เป็นภัยอันน่ากลัว.. เพราะล้วนแต่ต้องสลายไป

7. อาทีนวานุปัสสนาญาณ (รู้แจ้งโทษชั่วของกิเลส) คือญาณอันคำนึงเห็นโทษ . ต่อเนื่องมาจากการเห็นภัย

8. นิพพิทานุปัสสนาญาณ (รู้แจ้งในความเบื่อหน่ายกิเลส) คือญาณเห็นความน่าเบื่อ-หน่ายในกิเลส  เพราะสำนึกเห็นทั้งโทษและภัย

9. มุญจิตุกัมยตาญาณ (รู้แจ้งการปลดเปลื้องกิเลสออกไป) คือญาณรู้เห็นการเปลื้องปล่อยไปเสียจากโทษ-ภัยเหล่านั้น (อตัมมยตา)

10. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (รู้แจ้งทบทวนว่ากิเลสออกจริงไหม) คือญาณพิจารณาทบทวนถึง .  การปฏิบัติที่ปลดปล่อยได้  ก็ทำซ้ำอีกจนสำเร็จยิ่งขึ้น

11. สังขารุเปกขาญาณ (รู้แจ้งความเป็นกลางปราศจากกิเลส) คือญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางวางเฉยต่อสังขารปรุงแต่งทั้งหลาย

12. สัจจานุโลมิกญาณ หรืออนุโลมญาณ (รู้แจ้งในอาริยสัจ 4 ทั้งอนุโลม ปฏิโลม) คือญาณอันเป็น ไปโดยอนุโลมต่อชาวโลก  ต่อสมมุติสัจจะทั้งหลาย   โดยใช้ สัปปุริสธรรม 7.   ที่รู้จักประมาณสัดส่วนต่าง

13. โคตรภูญาณ (รู้แจ้งรอยต่อระหว่างปุถุชนกับอาริยชน) คือญาณรู้หัวต่อ ตัดโคตรขึ้นสู่อาริยภูมิ

14. มัคคญาณ (รู้แจ้งในข้อปฏิบัติสู่ความเป็นอาริยบุคคล) คือญาณรู้ภาวะของอริยมรรคแต่ละขั้น

15. ผลญาณ (รู้แจ้งในอาริยผลที่ทำได้) คือญาณรู้ผลสำเร็จแห่งการสำเร็จเป็นพระอาริยะ

16. ปัจจเวกขณญาณ (รู้แจ้งตรวจสอบชัดว่าวิมุตไหม) คือญาณหยั่งรู้ทบทวนตรวจสอบ มรรคผล  และบริบทแห่งความสำเร็จทุกอย่าง      

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 31 มาติกา และ  พระวิสุทธิมัคค์   “ปัญญานิเทศ” หน้า 540-656

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 07 กรกฎาคม 2562 ( 21:55:03 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:59:07 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 07:19:49 )

วิปัสสนาญาณ 9 (ในญาณ 16)

รายละเอียด

4. (1)อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความเกิด- ความเสื่อมไปของกิเลส ของชาติ เวทนาสุขทุกข์ต่างๆ เป็นญาณเบื้องต้นกิเลสยังไม่หาย เห็นอนิจจานุปัสสี คือเห็นในนามธรรมที่ไม่เที่ยงไม่คงที่ มันไม่อยู่กับเราถาวร กิเลสตัวนี้มันไม่อยู่ถาวร มันหายไป

5.(2)ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความสลายไปของสังขารธรรม-ตัณหาปรุงแต่งทั้งหลาย เห็นกิเลสดับ และมันดับเพราะมันดับตามธรรมชาติ ต่อจากนั้นจึงเห็นความไม่เที่ยงเพราะความสามารถเพราะภาคปฏิบัติของเรา เป็นความไม่เที่ยงที่จริงกว่า แล้วกิเลสมันอยู่กับเราอยู่ แต่มันอยู่ในอนุสัย ที่เป็นอุปาทาน แต่มันเกิดดับในภาวะที่มันมาเป็นคราว และจะเห็นมันดับได้ชัดขึ้น 

ุ6.(3)ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันเพ่งเห็น กิเลสสังขาร  เป็นภัยอันน่ากลัว.. เพราะล้วนแต่ต้องสลายไป  คือชัดจะมีญาณปัญญาเห็นว่ามันเป็นของไม่น่ายึดมั่น มันน่ากลัวนะที่เราไปหลงยึดมัน ชักไม่ไว้ใจซึ่งแต่ก่อนเราหลงติดยึดผูกมันเป็นเราเป็นของเราเลย แต่ตอนนี้ชักไม่ค่อยแน่แล้ว มันจะเป็นตัวจริงของญาณเลย

7.(4)อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นโทษ . ต่อเนื่องมาจากการเห็นภัย เห็นเลยว่ามันมีอยู่ก็เป็นภัยต่อเราและท่าน เป็นความเจริญของอธิปัญญาสิกขา ไม่ใช่บังคับให้มันเกิดแต่ทำไปมันจะเกิดตามปัจจัย และเมื่อปัญญาเจริญก็เป็นไฟฌานล้างกิเลสสลายกิเลสได้อย่างมีวสี แล้วจะเกิด

8.(5)นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณเห็นความน่าเบื่อ-หน่ายในกิเลส  เพราะสำนึกเห็นทั้งโทษและภัย เราหลงคบหากันมานานเหมือนมีคู่รักแต่ก่อนรักกันไม่พรากเลย แต่ตอนนี้ชักหนักจะไปไหนก็ไป ไม่ดูดดึงแล้ว เกิดนิพพิทาญาณ จะถอยมันเบื่อหน่าย จนกระทั่งได้ปล่อยคือ

9.(ุ6)มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณรู้เห็นการเปลื้องปล่อยไปเสียจากโทษ-ภัยเหล่านั้น .(อตัมมยตา) คือมันไม่มีอาการนั้นอยู่ในจิตเรามันก็จะโล่งเบา นี่คือความเจริญของญาณปัญญา  เมื่อปล่อยก็สำเร็จหลุดพ้นได้จริง ไม่ได้อยู่ในจิตเรา อย่างไม่ได้ข่ม มีปัญญาพรากจากกันด้วยดีเลย กิเลสเขาก็ไปของเขา พูดโดยโวหารว่า ฆ่ากิเลสตาย ส่วนใครจะรับไปก็ไม่ยัดเยียดไป ใครจะรับช่วงก็แล้วแต่ หนูไม่รู้ เมื่อทำได้ถึงขั้นนี้แล้ว

10.(7)ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณพิจารณาทบทวนถึง .  การปฏิบัติที่ปลดปล่อยได้  ก็ทำซ้ำอีกจนสำเร็จยิ่งขึ้น จะชัดว่าปฏิบัติแม้กิเลสตัวเดิมก็จะเร็วขึ้น เราต้องรักษาผลไว้ ใช่แล้ว เห็นเลยว่าไม่ได้กดข่ม แต่มีปัญญาทำให้กิเลสหมดได้จริง แล้วก็ทำซ้ำ อาเสวนาภาวนาพหุลีกัมมังหรืออนุรักขณาปธาน ทำซ้ำทำให้แข็งแรง เป็นฌาน เป็นนิโรธ สั่งสมเป็นสมาธิ คือจิตตั้งมั่นเกิดทีหลัง เป็นอเนญชาเป็นอัปปนาสมาธิ

11.(8)สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางวางเฉยต่อสังขารปรุงแต่งทั้งหลาย อุเบกขาคือธาตุจิตที่เราทำได้อย่างวิเศษ เป็นฐานนิพพาน คือจิตดับเหตุดับกิเลสได้ก็หมดทุกข์หมดสุข สั่งสมไปรักษาผลไป เราก็จะรู้จักสังขารและอุเบกขาก็จะเกิดที่จิตเรา แม้เราจะสังขารเป็นอภิสังขาร จะปรุงแต่งด้วยเราเจตนาเป็นคนปรุงแต่ง แต่ไม่ได้มีกิเลสมาปรุงร่วม เราสามารถทำกิเลสให้ออกจากจิต

          เรารู้จักโครงสร้างของสังกัปปะ 7 รู้จักวจีสังขารที่ยังไม่ออกมาเป็นกาย-วจีกรรม  และสามารถควบคุมสังขารได้ จึงเรียกว่าอภิสังขารหรือวิสังขาร ถ้าของพระพุทธเจ้าเรียนอิทธาภิสังขาร คือสุดยอดแล้วปรุงแต่งยิ่งกว่าอภิสังขาร หรือวิสังขารก็คือไม่มีกิเลสมาปรุงแต่งร่วมด้วย

          ในอภิสังขาร 3 คือปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขารและอเนญชาภิสังขาร คือรู้จักปฏิบัติชำระกิเลสได้เรียกปุญญาภิสังขาร

          สังขารคือการจัดแจงปรุงแต่ง ทำหน้าที่หรือมนสิการ คือการทำโดยเจตนา ไม่ใช่ทำอย่างธรรมชาติเฉยเป็นไตรลักษณ์แบบสามัญลักษณ์ แต่อันนี้เป็นปัจจัตตลักษณ์คือทำให้กิเลสดับจนไม่เกิดอีก ไม่ตั้งอยู่ ถึงปานนั้นเลย ชำระไปเรื่อยๆ

          พออปุญญาภิสังขารคืออเสขบุคคล คือไม่ต้องชำระกิเลสอีกแล้ว ทำได้แล้วก็สั่งสมผลเป็นอเนญชาภิสังขารให้เก่งขึ้นให้ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว เจริญขึ้นเรื่อยๆตกผลึกไปเรื่อยๆตามความเป็นจริง ผู้สั่งสมสภาพนี้ไปเรื่อยๆก็จะปฏิบัติจิต ในสังขารุเปกขาญาณ มีอุเบกขาคือวางเฉย ที่มีคุณสมบัติ 5 อย่างของอุเบกขา มีทั้งกัมมัญญาหรือคือ กายกัมมัญญตา คือจิตเป็นจิตที่คล่องแคล่ว หรือความคล่องแห่งกาย แต่กายนี้คือกองเวทนา สัญญา สังขาร

          ต้องถูกต้องวิโมกข์ 8 ด้วยกาย ถ้าไม่ครบ พระพุทธเจ้าก็ไม่เซ็นให้ผ่านThesis เป็นป.โท ป.เอกหรอก

          ในคำว่ากาย ซึ่งมีบาลีของพระพุทธเจ้าหลายคำ       

          กายกลิ คือหมายความว่า กายนี้เป็นโทษ หรือสิ่งชั่วช้าที่อยู่ในกาย คุณต้องเห็นว่าอะไรเป็น กลิ คือกิเลสนั่นเอง คำว่ากายไม่ใช่คำว่าสรีระ

          คำว่ากาย ในมหาสติปัฏฐาน (คือมีสติในฐานแห่งการปฏิบัติ) เราต้องอ่านให้ดีแม้แต่ในอานาปานสติสูตรท่านก็รวมในมหาสติปัฏฐาน ก็อธิบายกายใน แต่ท่านก็ไม่ได้ทิ้งกายนอก คนเขาว่ามหาสติปัฏฐานให้ตัดทิ้งกายนอก ซึ่งเป็นการปฏิบัติผิด เป็นสัญญาวิปลาส คือนั่งสะกดจิตเอาแต่ลมหายใจเข้าออก ทำได้แต่ต้องมีการเตวิชโช

          ถ้าไม่มีเตวิชโชในมหาสติปัฏฐานก็ต้องอยู่อย่างลืมตา ซึ่งเริ่มด้วย กายคตาสติ

          กายคตา คือสิ่งที่เป็นไปในกายของเรานี่แหละ กายคตาสติ คือมีสติรู้องค์ประชุมของสิ่งที่เป็นไป ท่านแยกไว้ว่าให้พิจารณาทั้งอิริยาบถทั้งการเปลี่ยนแปลงของกายภายนอก เรียกว่า รูปกาย แล้วพิจารณาต่อไปถึง นามกาย

          กายานุปัสสนา คือให้มีสติพิจารณารู้กาย คือองค์ประชุม ที่มันเกิดสังขารกัน ตั้งแต่ภายนอกปรุงแต่งกันอยู่ของรูปนาม คุณก็ปฏิบัติกายานุปัสสนา หรือกายานุปัสสี จะเห็นกายต่อเนื่องไปเรื่อยๆแล้วกำหนดรู้ตามความเป็นจริงไปเรื่อยๆ ตามลำดับ

          กายภาวนา คือเกิดผลในการอบรมกาย ไม่ใช่เอาแต่นั่งภาวนาตัดกายนอกเลย

          กายสักขี ก็จะมีสภาพให้เรารู้เห็น อย่างไม่ใช่แค่คิดเอา แต่มีญาณรู้อย่างมีตนอันเป็นพยาน เป็นตนหรือเรียกว่าอัตตา(คือสิ่งที่ยกขึ้นมาหรือสมมุติขึ้นมา) กายสักขีคือมีหลักฐานความจริง เราจับหลักฐานได้เหมือนเขาก็กำลังค้นหลักฐานกรณีคุณเอกยุทธ เราก็รู้แจ้งเห็นจริงใน

          กายายตนะ คือเมื่อสัมผัสก็จะเกิดรู้ในญาณของเรา คือเป็นสิ่งเชื่อมให้เรารับรู้ได้

          เมื่อปฏิบัติเราก็จะรู้สภาวะที่เป็นทุกข์ คือ กายฑหะ คือความเร่าร้อนแห่งกาย คือตัวที่พาเร่าร้อน ทำให้กายเราเร่าร้อน อีกอันหนึ่งคือ กายตปนะ เราก็จะรู้ตัวเหล่านี้ คือ กายกลิ คือตัวโทษตัวชั่วช้า

          เรามีวิธีปฏิบัติกำจัดไปเรื่อยๆจนเกิดผลอุเบกขาแล้วก็ทำซ้ำ จนเกิดสังขารุเปกขาญาณ ก็จะเกิดคุณสมบัติของอุเบกขา 5 คือมี กายกัมมัญญตา อีกคำหนึ่งคือ กายปาคุญญตา คือมีนัยคล้ายกัน คือเป็นของควรแห่งการงานของกองเวทนาสัญญาสังขาร คือทำการงานที่เหมาะควรไปได้เรื่อยๆเพราะทำงานอย่างไม่มีกิเลสปรุงแต่งด้วย เป็นการงานที่ทำประโยชน์ ไม่ใช่เพื่อตน แต่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นอันเหมาะควรไปเรื่อยๆ จิตก็ปริโยทาตา ปริสุทธาไปเรื่อยๆ

          ปริสุทธา และปริโยทาตา นั้นก็บริสุทธิ์มีนัยต่างกันไป แม้จะสัมผัสอยู่จิตก็จะมีความตั้งมั่นแข็งแรงแน่วแน่แนบแน่นยิ่งเพิ่มสมรรถภาพสูงไปเรื่อยๆ อย่างห้ามไม่ได้ถ้าเราทำถูกก็จะได้ผลเป็นสังขารุเปกขาญาณ คือสังขารอย่างเราจะปรุงแต่งกับคนอื่นก็อนุโลมยืดหยุ่นกับคนอื่นได้ แล้วก็จะมี

12.(9)สัจจานุโลมิกญาณ  หรืออนุโลมญาณ ญาณอันเป็น ไปโดยอนุโลมต่อชาวโลก  ต่อสมมุติสัจจะทั้งหลาย   โดยใช้ สัปปุริสธรรม 7.  ที่รู้จักประมาณสัดส่วนต่างๆ  ท่านจะไม่ประมาท เพราะรู้โทษภัย เราทำงานไม่ได้อยากได้ตอบแทน แล้วเราจะโลภไปทำไม ไม่ทำเกินเพื่ออวดอ้างอย่างโลกียะ นอกจากคนไม่จริงก็จะมีแฝงอยู่ ยิ่งทำปริโยทาตา ยิ่งทำงานยิ่งสะอาด สามารถทนต่อสังขารปรุงแต่งอนุโลมได้เก่งขึ้น อุเบกขาก็ยิ่งสั่งสมทวีคูณ จิตก็ยิ่งแคล่งคล่อง เป็นกายกัมมันยตาหรือกายปาคุณยตา เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีสภาพจิตสงบก็เป็น กายปัสสัทธิ จิตก็แววไวมีมุทุภูตธาตุแววไวแคล่วคล่องขึ้น

ที่มา ที่ไป

560620


เวลาบันทึก 29 กุมภาพันธ์ 2563 ( 13:51:26 )

วิปัสสนาญาณ กับมโนมยิทธิญาณ

รายละเอียด

วิปัสสนาคือ มีการเห็น ปัสสะแปลว่า เห็นด้วยตา เป็นการรู้ชนิดที่มีตาเห็นๆ แปลเป็นไทยอย่างนั้น เป็นการรู้ยิ่งด้วยการมีตาสัมผัสอยู่เห็นๆ เพราะไปหลับตาไม่มีวิปัสสนา ไม่มีปัสสะ ปัสสี ไม่มีการเห็น เมื่อเห็นแล้ว จึงมาปฏิบัติเรียนรู้การทำให้สำเร็จด้วยฤทธิ์ เรียกว่ามโนมยิทธิ สำเร็จด้วยจิต คือทำใจในใจของตนเองให้สำเร็จ ให้รู้จักกิเลส แล้วฆ่ากิเลสตายได้ ทำให้กิเลสที่มีอยู่ให้หายไปก็ได้ จะระลึกมีขึ้นมาก็ได้ ว่าคุณสามารถเลือกมาได้เฉยๆมีแต่สัญญา คุณก็ไม่ได้บ้าไปกับสัญญา คุณไม่ได้ปรุงแต่งไปกับสัญญา

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ธรรมบรรยาย คุหัฏฐกสุตตนิทเทส ตอน 4 วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม 2564 แรม 2 ค่ำเดือน 7 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 10 กรกฎาคม 2564 ( 12:32:48 )

วิปัสสนาญาณ คือ

รายละเอียด

วิปัสสนาญาณคือ ญาณที่คุณต้องรู้ ปัสสะ คือรู้อย่างเห็นๆ ปัสสะแปลว่าเห็น ซึ่งต่างกับทัศนะคือเห็นเชิงขบคิด แต่ปัสสะคือ เห็นในขณะ ตากระทบรูป หูกระทบเสียงเห็นๆเลย จมูกกระทบกลิ่น ลิ้นกระทบรส โผฏฐัพพะกระทบภายนอก มโนกับธัมมายตนะภายใน วิคืออย่างยิ่ง ปัสสะคือเห็น คือ เห็นอย่างยิ่ง 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ วิญญาณฐิติ 7 ปฏิจจสมุปบาท และวิชชา 8 วันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2566 วันแรม 14 ค่ำเดือนยี่ ปีขาล ที่บวรสันติอโศก


เวลาบันทึก 09 กุมภาพันธ์ 2566 ( 13:04:40 )

วิปัสสนาญาณ กับมโนมยิทธิและอิทธิวิธญาณ

รายละเอียด

เพราะฉะนั้น วิชชา 5 วิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิ อิทธิวิธญาณ สามญาณนี้เป็นตัวตั้ง วิปัสสนาญาณ ตัวปัญญา มโนมยิทธิ เป็นตัวเจโต

ปัญญา มันเป็นตัวแยกแยะรู้แล้วเห็นจริงเลย ปัสสะ ปัตตะ เห็นอย่างลืมตาโพลง รู้จักกิเลสจัดการฆ่ากิเลส 

กำลังการฆ่ากิเลสก็คือ มโนมยิทธิ เป็นฤทธิ์ที่มีพลังแรง พลังจัดการ มโน คือจิต ส่วน  มย ที่ทำสำเร็จ เป็นมโนมยิทธิ มีฤทธิ์ทำลายกิเลส โดยปัญญาเป็นตัวฤทธิแรง 

วิปัสสนาญาณเป็นพลังงานฌาน เผาราคะ เผาโทสะ เผาโมหะ ละลายหายสำเร็จ มยะ แปลว่า ความสำเร็จ เป็นความสำเร็จของจิต ทำสำเร็จๆ พอทำได้สำเร็จๆ เก่งมากขึ้นมากขึ้นก็เรียกว่า อิทธิวิธญาณ ก็คือ มโนมย กับอิทธิ 

คำว่า อิทธิคือ หลากหลาย ก็คือมโนมยิทธิเก่งขึ้นมากขึ้นหลายเหลี่ยมมากขึ้นก็เรียกว่า อิทธิวิธญาณ 

เมื่อปัญญา วิชชา ทำความจริงได้มากขึ้น 3 เส้านี้ วิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิ อิทธิวิธญาณ ซึ่งเป็นตัวสำเร็จผล 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 45 ออนไลน์ วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 17 มีนาคม 2564 ( 07:43:59 )

วิปัสสนาญาณกับมโนมยิทธิคู่นิ่งกับวิ่ง

รายละเอียด

อาตมาสอนมาตั้งแต่ ศีล อปันกปฏิปทา 3 สัทธรรม 7 แล้วจะสังเคราะห์ขึ้นมาเป็น ฌาน 1 2 3 4 ตามจรณะ 15 โดยมีวิชชา 8  วิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิ อิทธิวิธี เจโตปริยญาณ บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ 

วิปัสสนาญาณ เป็น dynamic ส่วน มโนมยิทธิ เป็น static หรือจะให้มโนมยิทธิเป็น dynamic ส่วน วิปัสสนาญาณเป็น static ก็ได้ ไม่ติดยึด ผู้แสดงธรรมจะพลิกไปพลิกมาหน้าไหนนั้นไม่มีปัญหา ตอนนี้ท่านเอามโนมยิทธิ ตอนนี้ท่านเอาวิปัสสนา เราแม่นประเด็นหมด ว่าสาระแท้ของวิปัสสนาเป็นอย่างไร สาระแท้ของมโนมยิทธิเป็นอย่างไร 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ เปิดยุคบุญนิยมระดม ปัญญา-อนัตตา ตอน 1 งานปลุกเสกพระแท้ๆของพุทธ ครั้งที่ 44 วันจันทร์ที่ 5 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 12 เมษายน 2564 ( 10:24:13 )

วิปัสสนาญาณกับอภิภายตนะ 8

รายละเอียด

วิปัสสนาญาณ อธิบายง่ายๆ ตามประสาอาตมา คือญาณ คือปัญญา คือวิชชา คือความรู้โลกุตระที่มันเกิดอย่างเห็นๆ วิ คือยิ่ง ปัสสะคือเห็น มีตา หู จมูก ลิ้น กาย โผฏฐัพพะ ข้างนอกนี้ทำงานครบทุกทวาร ร่วมกับภายใน 

 มีความรู้ทั้งภายนอก-ภายในพร้อมเลย แล้วจึงเกิดการเห็นที่มีปฏิภาณปัญญา มีโลกุตรธรรม มีปัญญาเป็นโลกุตรปัญญา เป็นอาริยปัญญา ไม่ใช่ปัญญาความรู้ความฉลาดแบบโลกีย์เท่านั้น 

วิ-ปัสสนา-ญาณ ญาณคือวิชชา คือปัญญา ความรู้ที่เป็นวิปัสสนา ต้องเห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู จมูก ลิ้น กาย ใจ สัมผัสทางกาย ต้องมีภายนอกภายใน เป็นอภิภายตนะ 8 ต้องมีภายนอกภายใน 

อภิภายตนะ 8 เช่น ผู้หนึ่งผู้ใดที่มีคุณธรรมอภิภู มีความสำคัญในรูปภายใน กำหนดสัญญารูปภายใน เห็นรูปในภายนอก จิตที่รู้ภายในและเห็นรูปภายนอก มี 2 อย่างทั้งภายนอกภายใน นี่เป็นข้อที่ 1 ของความรู้ ของภูมิธรรมของคนผู้ยิ่งใหญ่ คนมหัศจรรย์ ธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นโลกุตระที่มหัศจรรย์ของผู้ยิ่งใหญ่

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ความมหัศจรรย์ 8 ประการในชาวอโศกบุญนิยม วันพุธที่ 12 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 27 มกราคม 2565 ( 19:42:44 )

วิปัสสนาญาณคือญาณที่รู้อย่างเห็นๆ 

รายละเอียด

วิชชา 8 ประการ มีวิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิ อิทธิวิธญาณ โสตทิพย์  4 ข้อแรกนี้คือความรู้อย่างเห็น วิปัสสนาญาณคือญาณที่รู้อย่างเห็น ๆ 

แต่ว่าไปหลับตาปฏิบัติเสีย มันจะไปวิปัสสนาได้อย่างไร ซึ่งมันไม่เห็น มันเป็นตาบอดมันหลับตา มันไม่เห็น ปัสสติ แปลว่าเห็นไม่ใช่แปลว่าหลับ อาตมาจะกระทุ้ง พวกที่หลับตาปฏิบัติ จะกระทุ้งอย่างไรมันไม่กระเทือน กระแทกจนอาตมากระเทือนเองแล้ว ทำไมมันแข็งยิ่งกว่าเรา 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ เปิดยุคบุญนิยมระดม ปัญญา-อนัตตา ตอน 2 งานปลุกเสกพระแท้ๆของพุทธ ครั้งที่ 44 วันอังคารที่ 6 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 12 เมษายน 2564 ( 14:58:34 )

วิปัสสนาญาณคืออย่างไร

รายละเอียด

ปัสสนาญาณคือรู้สักกายะ รู้รูปนาม แยกกายได้ แยกส่วนที่เป็นกิเลสปรุงแต่งสังขารได้เรียกว่ามีวิชชาหรือมีวิปัสสนาญาณ เริ่มรู้สังขาร ที่รู้จักวิญญาณ ที่เกิดจากนามรูป ที่เกิดการเชื่อมต่อจากอายตนะ มีเวทนา อารมณ์​ในอารมณ์จะมีความชอบความชัง ความสุขความทุกข์ในนั้น มันจะมีเหตุแห่งอารมณ์ก็คือตัณหา เมื่อคุณจับตัณหาที่เป็นตัวเหตุได้ก็จะรู้จักอุปาทานที่เป็นตัวนิ่ง ไม่เคลื่อนไหวเราจึงจับปัญหาได้ง่ายกว่าตัวนิ่งที่เป็นอุปาทาน

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม 2563


เวลาบันทึก 29 มิถุนายน 2563 ( 11:11:08 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 14:10:14 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 07:13:40 )

วิปัสสนาญาณจะสร้างพลังงานทางจิต อันเรียกว่า “ฌาน”!

รายละเอียด

ผู้ที่ศึกษา“วิชชา 8”ของพระพุทธเจ้าจะมี“วิปัสสนาญาณ”ซึ่งเป็น“วิชชาข้อที่ 1” ก็จะทำ“กรรม”ด้วย“วิชชา” หรือ“ความรู้(ปัญญา,ญาณ)”ถึงขั้น“ทำใจในใจ(มนสิกโรติ)”อย่าง “สัมมาทิฏฐิ” ก็จะมี“การทำใจในใจ(มนสิการ)”ของตนเป็น ซึ่งตรงตามข้อ 2 ของ“มูลสูตร 10”(พระไตรปิฎก เล่ม 24 ข้อ 58) “การทำใจในใจ(มนสิการ)”ของตนเป็น นั่นก็คือ “ทำใจในใจ(มนสิกโรติ)”ของตนตามกระบวนการของ“จรณะ 15 วิชชา 8” จึงจะมี“พลังงานทางจิต”ที่เรียกว่า“ไฟ”(ฌานคำนี้แปลว่า“ไฟ”)อันเป็น“ฌาน”อยู่ในรูปของ“พลังงานทางจิต”มีเฉพาะในศาสนาพุทธ 

ซึ่งไม่ใช่“การทำใจในใจ(มนสิการ)”ด้วยวิธี“หลับตา”สะกดจิตตามวิธีปฏิบัติแบบนอกพุทธที่ปุถุชนคนสามัญทำๆกันทั่วไป อันเรียกกันว่า meditation ของชาวโลกีย์ 

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ เปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อ 225 หน้า 185


เวลาบันทึก 01 สิงหาคม 2564 ( 13:23:26 )

วิปัสสนาญาณเป็นไฉน

รายละเอียด

ตั้งแต่วิปัสสนาญาณ ต้องรู้ ต้องเห็น ต้องสัมผัส เห็นด้วยตาทางรูป  ทางหูได้ยินเสียง ได้กลิ่นทางจมูก ได้รับรสทางลิ้น มีสัมผัสโผฏฐัพพะ ต้องมีจิตเข้าไปร่วมรับรู้ทั้งนั้นไม่ใช่วิญญาณล่องลอยไม่มีที่ตั้ง จะต้องมีวิญญาณฐีติ จะต้องมีฐาน ฐีติ ที่ตั้ง ที่ต้องผัสสะ ผุสสติ มีหลายคำ ที่แทนได้

สัมผัสกับคนกับสัตว์ สัมผัสแล้วก็เรียนรู้ว่าสัมผัสสัมพันธ์ แล้วเกิดกิเลสความโลภโกรธหลงอย่างไร รายละเอียดของโลภโกรธหลง ละเอียดขึ้นไป ตัวหลงคือตัวโมหะ สับสน ตัวนี้แหละถ้ายังไม่เรียบเรียงเป็นลำดับอย่างเป็นสัมมาทิฎฐิ คุณก็สับสนทั้งนั้น โมหะ คุณต้องทำให้ได้ก่อน อย่าสับสนเลอะเทอะโมหะ

เมื่อแม่นจริงๆแล้วไม่สับสนเลอะเทอะจึง จับกาย จับตน หรือสักกะ หรือ ตนะ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูปฐมนิเทศ พาปฏิญาณศีล 8 งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ปี 2564 ครั้งที่ 45 ออนไลน์วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก

สื่อธรรมะพ่อครู ตอน  อจินไตยของฌานวิสัย


เวลาบันทึก 05 มีนาคม 2564 ( 21:07:50 )

วิปัสสนาต้องมี“ปัสสะ” ต้องมี“ญาณ” ต้องมี“วิชชา”! 

รายละเอียด

เริ่มตั้งแต่“วิปัสสนาญาณ” อันเป็น“วิชชา”ข้อที่ 1 ใน 8 นั่นเอง ยังไม่มี หรือความรู้ที่ต้อง“รู้”ด้วย“การเห็น”คือมี“ตา” กระทบ“รูป”แล้ว“เห็น”ยังไม่มี ก็ยังผิด เพราะยังไม่มี“ปัสสะ”หรือแม้จะมี“ปัสสะ”คือ มี“ตากระทบรูป” มีสัมผัสสิ่งที่จะ“รู้”นั้นแล้ว 

แต่“วิชชา”อันเป็น“ความรู้”เริ่มจาก“การเห็น”ที่ต้องมี“ญาณ”ได้แก่ “วิชชา”เริ่มจาก“อัญญธาตุ”ที่เจริญขึ้นเป็๋น“อัญญา”เป็นต้นไป ถึงขั้นมี“ปัญญา-ญาณ-วิชชา”   

นั่นคือ “ปัญญา”หรือความรู้ที่“เห็น”อันบาลีว่า“ปัสส”แล้วก็มี“ญาณ-วิชชา”หยั่งรู้“ความจริงหรือสัจจะอย่างเดียว”ยังไม่เกิด จึงมีการแย้งการเถียงอยู่ ไม่มี“การหยุดแย้ง”ลงได้ ที่สุดยังไม่พ้น“วิจิกิจฉา”อยู่นั่นเอง

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ รวมเปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อ 195 หน้า 165


เวลาบันทึก 26 มิถุนายน 2564 ( 19:49:35 )

วิปัสสนาธุระ

รายละเอียด

นำที่เรียนรู้มาในขั้นต้นมาปฏิบัติจริง ๆ เพื่อให้บรรลุ

หนังสืออ้างอิง

(จากหนังสือทางเอก ภาค 1 หน้า 189)


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2562 ( 14:49:32 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:09:04 )

วิปัสสนาภาวนา

รายละเอียด

1. การทำให้เกิดสงบจบได้ เพราะปฏิบัติมรรค 8 เป็นสัมมา ได้สัมมา-สมาธิจิตจึงบริสุทธิ์

2. หัดทำตนให้หมดความรู้สึกกระเพื่อม วาบไหวต่อทุกสิ่งทุกอย่างในโลกจนดับสังขารสนิทอย่างไม่มีอวิชชา

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 377


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2562 ( 14:50:23 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:10:06 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 07:14:05 )

วิปัสสนาลดกิเลสได้ถาวร ด้วยพลังงานไฟฌานหรือปัญญา

รายละเอียด

ก็ต้องมาเรียนรู้ พลังงานไฟฌาน คนสามารถสร้างได้จนถึงขั้นเป็นสัมประสิทธิ์ Coefficient ก็จะสามารถจัดการกับ ไฟ ราคะโทสะได้ เอาราคะโทสะก่อน  วิหิงสาก็ค่อยลด ต้องรู้จักอาการ กาม พยาบาท แล้วทำสมถะก็อย่างนี้ ทำวิปัสสนาก็ได้ถาวร ทำด้วยปัญญา

ว่ามันไม่ใช่ตัวตนของเรา มันเป็นพลังงานจริงแต่ไม่ใช่ตัวเราไม่ใช่อัตตาเอ็งเป็นแค่แขกเป็นอาคันตุกะ ไม่ใช่ตัวจริง มันเป็นเหตุแห่งทุกข์เป็นตัวร้ายอยู่แล้ว Kick it out เขี่ยมันให้กระเด็นออกไป แค่ get it out มันไม่ยอมออกหรอก เอามันออกเบาๆไม่ออก ต้อง Kick it out มันจะออกได้ อย่าไปประนีประนอมกับมัน มีปัญญามีวิธี ด้วยศีลตามลำดับ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้างานเพื่อฟ้าดิน เพื่อฟ้าดิน สร้างคนจนสุขสำราญฯ ตอน4

วันที่ 1 มกราคม 2561 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 26 มีนาคม 2564 ( 20:21:37 )

วิปัสสนาสมาธิ

รายละเอียด

รู้ หรือเกิด จะเป็นส่วนได้ซึ่งปัญญาวิมุตติ

หนังสืออ้างอิง

(จากหนังสือทางเอก ภาค 1 หน้า 43)


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2562 ( 14:51:12 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:11:16 )

วิปัสสนาแยกธรรมะสองได้ละเอียดกว่าสมถะ

รายละเอียด

ทีนี้ เชิงของวิปัสสนา รู้ๆเห็นๆ ยิ่งละเอียดได้มากขึ้นเรื่อยๆเลยต่างกับสมถะที่จะไม่รู้ วิปัสสนาก็สามารถรู้รายละเอียดเล็กมากยิ่งขึ้นได้ จนกระทั่งเท่าพระพุทธเจ้านั้นแหละสูงสุด อาตมาก็เป็นโพธิสัตว์ที่ศึกษาฝึกฝนไปนี่ก็เอามาเล่าสู่กันฟัง อาตมาก็มีซึ่งตอนนี้มาได้เรื่อยๆและก็ดึงขึ้นมา ก็มีเกิดใหม่ที่มีปฏิภาณใหม่ที่อาตมาได้ใหม่ตามในฐานะแต่ละปางแต่ละชาติก็ขึ้นมาทั้งนั้น ของเก่าก็มีเป็นฐานเสริมให้ ของใหม่ก็เติมมา จึงเจริญขึ้นเจริญขึ้นเจริญขึ้นเรื่อยๆ อาตมาก็เจริญในธรรมขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าสังขารร่างกายมันฝืนมามากแล้วอายุ 72 ต้องตายแล้ว นี่ก็เพิ่มมาได้เป็น 87 ปีแล้ว เกินมา 1 นักษัตรแล้ว ตอนอายุ 84 ถ้าไปถึง 96 ก็จะเพิ่มอีก 1 นักษัตร ก็ไว้ฉลองกันตอนนั้นบ้าง ฉลองให้อาตมาหน่อยได้หรือไม่ ..ได้ (ก็ฉลองด้วยสิ่งเหล่านี้แหละ พ่อครูยกกล้วยหอมหวีหนึ่ง 28 ลูก เป็นกล้วยหอมจากบ้านน้องบัวนะนี่จากราชธานีอโศก) มันก็เป็นเรื่องสิ่งที่เป็นในโลกเขาก็เป็นสมมติสัจจะที่จะต้องร่วมกับสมมติสัจจะกันไป

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม 2563


เวลาบันทึก 21 พฤศจิกายน 2563 ( 10:20:24 )

วิปัสสนูปกิเลส 10

รายละเอียด

คือญาณที่ยังข้องด้วยอุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) ของการวิปัสสนา (การพิจารณารู้แจ้งเห็นจริง)

 1. โอภาส (แสงสว่าง)

 2. ญาณ (ความหยั่งรู้  ความรู้แจ้ง)

 3. ปีติ (ความอิ่มใจ)

 4. ปัสสัทธิ (ความสงบจากกิเลส)

 5. สุข (ความสบายใจ)

 6. อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ)

 7. ปัคคาหะ (ความเพียร)

 8. อุปัฏฐานะ (ความตั้งมั่น  สติแก่กล้า)

 9. อุเบกขา (ความมีจิตวางเฉยกิเลส)

10. นิกันติ (ความพอใจ-ติดใจ  ความดิ้นรนปรารถนา)   

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 31“ยุคนัทธกถา” ข้อ 542

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 07 กรกฎาคม 2562 ( 20:30:45 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:56:41 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 07:14:30 )

วิปัสสนูปกิเลส 10 ของสายฟุ้งซ่าน

รายละเอียด

อาตมาอธิบายธรรมะในชาตินี้ ปางนี้ เป็นการเอาโลกุตรธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาสถาปนาลงไปในโลกที่เสื่อมจากโลกุตระ เสื่อมจากธรรมะพระพุทธเจ้าไปหมดสิ้นแล้ว ก็ขอยืนยันว่า อาตมาเป็นโพธิ อาตมาเป็นลูกพระพุทธเจ้า อาตมาเป็นพระบุตรจริงๆ เป็นพระบุตรที่เป็นสารีปุตโต เป็นสารีบุตร ที่นำเอาทั้งสัทธานุสารี ที่นำเอาทั้งธัมมานุสารี  สาระที่เป็นทั้งศรัทธา เป็นทั้งธรรมะ เป็นทั้งปัญญา  เอามากระจายเอามาเสนอ ครบ บริบูรณ์ถ้วนสิ้น เป็นอุภโตภาค ที่จริงอาตมาเป็นปัญญาวิมุติก่อนแล้ว  อุภโตภาคนั้นก็พูดกับคุณ เพราะคุณเป็นสายเจโต จะช้ากว่าอาตมา อย่างนี้เป็นต้น

พวกที่ช้าอยู่ น่าสงสารไปหลงอยู่ใน วิปัสสนูปกิเลส 

1. โอภาส (แสงสว่าง) 

2. ญาณ (ความหยั่งรู้) 

3. ปีติ (ความอิ่มใจ) 

4. ปัสสัทธิ (ความสงบเย็น) 

5. สุข (ความสุขสบายใจ) 

6.      อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ)

7.     ปัคคาหะ (ความเพียร)

8.     อุปัฏฐาน (สติแก่กล้า)

9.     อุเบกขา (ความมีจิตเฉยๆ)

10.   นิกันติ (ความพอใจ, ติดใจ)

เพราะฉะนั้นเขาจะจบด้วยความไม่จบ จบด้วย นิกันตะ คือความดิ้นรน ปรารถนา ไม่จบ คือมันวน ถึงเรียกว่าเป็นอุปกิเลส มันไม่จบ มันสรุปไม่เป็น มันไม่รู้ 

โอภาส ความสว่าง สว่างเกิน พร่าหมด กระจายเกินไป ญาณรู้ รู้แจังแล้ว มีกรอบ มีขอบมีเขต มีที่จบ ก็จบไม่ลง สรุปญาณไม่ได้ ยิ่งมีปิติแล้ว อุพเพงคาปีติ หรือว่าเป็นปีติที่มันมากก็ไปติด หรือผรณาปีติ แผ่ซ่าน ไม่หมดไปจากตัวเลย มันก็เลยไม่หมด หรือสงบปัสสัทธิ ก็ยิ่งโง่ ยิ่งสงบ ยิ่งติด แล้วก็สุข จม ไม่รู้จักสภาวะของสุข ยิ่งอธิโมกข์ ก็ยิ่งเชื่อๆๆอย่างนี้ ทิศทางที่มันโน้มไปหาความเชื่อแบบผิด เสร็จแล้วก็ยังมีความเพียรอยู่นะ จิตก็ยิ่งสะสม อุปัฏฐานะ สะสมส่วนที่ได้มา เสร็จแล้วพอได้คิดได้ มีปฏิภาณก็บอกว่าอุเบกขาที่แปลว่า วางเฉย ที่จริงอุเบกขาคือ ความบริสุทธิ์สะอาดจากกิเลส ก็จบในกรอบของมันแล้ว จบเป็นความวางเฉย แต่มันก็เพี้ยนๆกันอยู่ ไม่ทุกข์ไม่สุข วางเฉย ไม่ใช่ เอาที่เจตสิก เอาที่จิต จิตสะอาดจากกิเลสมันก็จบแล้วนี่ ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา คุณก็เข้าใจสภาวะองค์ธรรม 5 ของอุเบกขานี้ให้ได้สิ ถ้าคุณทำสภาวะ เข้าใจสภาวะ โดยเฉพาะองค์ 5 ของอุเบกขา คุณเข้าใจไม่ได้ คุณจบไม่ลงหรอก คุณไม่มีสภาวะ คุณไม่รู้เรื่อง เพราะงั้นคุณก็ต้องวนไปเป็น นิกันติ ตลอดกาลนาน 

นี่คือวิปัสสนูปกิเลส 10 คนที่เป็นอยู่ทุกวันนี้อาตมาก็เห็น คนบางคนก็มากไปทางนั้นทางนี้ เห็นแล้ว เออ จริงๆ อาตมารู้อยู่ว่า ตัวเองเกิดมาในปางนี้ เป็นปางน่าเกลียด เป็นปางน่าชัง เป็น อภัพพบุคคล เป็นคนที่เกิดมาอาภัพ ไม่มีอะไรที่จะเป็นเครื่องน่าดู มันดูเหมือนมันน่าไม่ดู มันไม่น่าดู ได้แต่พูดเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ตำหนิแต่ความไม่ถูกต้อง ไม่ชมสิ่งที่ถูกต้อง ก็จะไปชมได้ไง ชมผู้ที่ถูกต้องก็ดันมาชมพวกตัวเอง เพราะถูกต้องอยู่ที่พวกเรา สิ่งที่เขาเป็นนั้น ชมไม่ได้ เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ก็เลยต้องยิ่งเอาแต่ติ ก็ต้องติเพื่อให้เขาเข้าใจ ตื่นขึ้นมาเป็นถูก คนที่ถูก ไม่ต้องไปชมมันหรอก มันถูก มันดีอยู่แล้วมันก็ดีไปสิ ช่วยคนที่ไม่ดี คนที่ไม่รู้ให้รู้ มันก็ได้แค่นั้น 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ อรหันต์คือด้านมืดเจโต โพธิสัตว์คือด้านสว่างปัญญา วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม 2565 แรม 11 ค่ำ เดือน 11 ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 21 ธันวาคม 2565 ( 11:49:04 )

วิปัสสนูปกิเลส 19

รายละเอียด

จะว่าจริงๆแล้ว พวกสายฟุ้งซ่านหลงความรู้ เรียกว่า วิปัสสนูปกิเลส จะช้ากว่าสายเจโตศรัทธา เพราะว่าตัวเองยึดมั่นถือมั่นในความรู้ ยืดยาวอุปาทานมากยึดถือ แม้ที่สุดไปวนอยู่กับความมีกับความไม่มี ซึ่งยากมากเลยที่จะเข้าใจความมีกับความไม่มีได้ เพราะว่าคนที่ตรัสรู้ถึงความไม่มี คนนั้นตายหรือยัง …ยังไม่ตาย ผู้ที่ตรัสรู้อยู่ยังไม่ตายก็ต้องมีธาตุรู้ไปรู้ ความไม่มีของเขาคือการดับความรับรู้ เขาสอนกันง่ายๆ สิ่งที่ดับนั้น ต้องให้กิเลสดับ แต่แยกแยะกิเลสไม่ออกสอนไม่เป็น อาจารย์ก็แยกไม่ได้ แยกจากอะไร แยกจากกาย กาย นี่คือ ความเป็น 2 รูป นาม อย่างน้อยกายต้องมีภายนอกและภายใน กายเป็นรูปเป็นนามก็ 2 แล้วก็ต้องรู้ทีละ 2 ๆ การรู้ทีละ 2 อาตมาก็มาอธิบาย 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถ๊อาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 15 กุมภาพันธ์ 2563 ( 19:09:59 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:39:30 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 07:16:19 )

วิปัสสนูปกิเสส 10

รายละเอียด

คืออุปกิเลส (ตัวกิเลสช้อนภายในจิต)ที่มีสภาวะน่าชื่นชม ซึ่งเกิดแก่ผู้กระทํา วิปัสสนา (การพิจารณารู้แจ้งเห็นจริง) แล้วเข้าใจผิดว่า ได้สภาวะบรรลุมรรคผลแล้ว

1. โอภาส (แสงสว่าง)

2. ญาณ (ความรู้แจ้ง)

3. ปีติ (ความอิ่มใจ)

4. ปัสสัทธิ (ความสงบจากกิเลส)

5. สุข (ความสบาย)

6. อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ)

7. ปัคคาหะ (ความเพียร)

8. อุปัฏฐานะ (ความตั้งมั่น)

9. อุเบกขา (ความวางเฉยกิเลส)

10. นิกันติ (ความดิ้นรนปรารถนา)

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 31 “ยุคนัทธกถา” ข้อ 542


เวลาบันทึก 16 มีนาคม 2565 ( 08:32:12 )

วิปาก

รายละเอียด

ผล

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 269


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2562 ( 14:51:52 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 12:12:18 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 07:17:55 )

วิปากทุกข์

รายละเอียด

1. ทุกข์เพราะผลกรรมตามมาทัน

2. ทุกข์เพราะผลกรรม เลี่ยงวิบากเก่าไม่ได้ วิบากตามมาทันแล้วเล่นงานเอา

หนังสืออ้างอิง

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 79

ยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 113


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2562 ( 17:16:02 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 17:29:44 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 07:18:19 )

วิปากสัทธา

รายละเอียด

เชื่อวิบาก,เชื่อผลของกรรรม

หนังสืออ้างอิง

พุทธเป็นอเทวนิยมอย่างนี้ หน้า 16


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2562 ( 17:17:09 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 13:03:48 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 07:18:43 )

วิพากษ์วิจารณ์ ส่อเสียด นินทา

รายละเอียด

จริงๆแล้ว 3 คำนี้ ความหมายมันก็คงจะต้องบอกก่อน คำว่าวิพากษ์วิจารณ์นั้น เป็นคำกลางๆ ไม่บวกไม่ลบ ส่วนคำว่าส่อเสียดกับนินทานั้นลบแน่นอน เป็นคำไม่ควรทำ ส่อเสียดคือเอาความข้างนั้นมาพูดกับข้างนี้ อาตมาเคยปรามพวกสื่อสารมวลชน ชอบเอาความข้างนั้นมาใส่ข้างนี้ ทำให้เกิดความไม่เข้าใจ เกิดการรบกัน อะไรที่จะทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นอย่าต่อดีกว่า พยายามอย่าให้เป็นความหมายทะเลาะกันเกินไป สื่อสารต้องทำหน้าที่อาตมาก็เห็นใจมันยาก คือ สื่อสารมวลชน อาตมาเคยพูดว่าบรรณาธิการนักหนังสือพิมพ์คือตัวหาเรื่องเลย ถ้าไม่มีเรื่องมันก็ไม่มีอะไรมาลงหนังสือเขา ก็ต้องให้มีเรื่อง

สรุปแล้วคำว่าวิพากษ์วิจารณ์ ก็กลางๆ ส่อเสียดไม่ดี

ส่วนนินทาคือการว่าร้ายลับหลัง นินทาคือคนไม่แน่จริง ต้องพูดต่อหน้า วิพากษ์วิจารณ์กันเลย หากว่าวิพากษ์วิจารณ์ด้วยความเข้าใจผิดไม่มีปัญญาก็เสียหาย แต่การวิพากษ์วิจารณ์นั้น ทำให้เกิดการแก้ไขต่อไป ก็ต้องวิพากษ์วิจารณ์อย่างดี ไม่ใช่ความส่อเสียดหรือนินทา

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 11 มกราคม 2562


เวลาบันทึก 08 กุมภาพันธ์ 2563 ( 16:58:49 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:40:30 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 07:42:42 )

วิภพ , วิภว

รายละเอียด

1. ความไม่มี ไม่เป็นกามภพ

2. ไม่ใช่ภพนั้น แต่เป็นภพอื่นที่ต่างกัน หรือภพอื่นที่ดียิ่งขึ้น

3. ภพพิเศษ

4. ภพที่ปราศจากภพ

5. ความไม่มีภพ

หนังสืออ้างอิง

อีคิวโลกุตระ หน้า 152

คนคืออะไร? หน้า 140

รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 99

พุทธเป็นอเทวนิยมอย่างนี้ หน้า 39


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2562 ( 17:20:46 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 17:30:38 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 07:20:23 )

วิภวตัณหา

รายละเอียด

1. ภพที่ละเอียดยิ่งขึ้นไปอีก 

2. ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น อย่าเพิ่งไปอยากมี อย่าเพิ่งไปอยากเป็นให้เกินขีดขั้น

3. ความมุ่งมาดปรารถนาอันสูงส่ง สุขุม ลึกซึ้ง , ความอยากรู้ อยากเห็นภพเห็นชาติของสิ่งที่เล็กลึกซึ้งลงไปอีก

4. กิเลสในภพพิเศษที่สูงส่งขึ้นไปอีก เป็นภพอุดมการณ์ เป็นภพที่ไม่ใช่เพื่อตัวเอง

5. อยากได้ความไม่มีกิเลส อยากได้ความไม่เป็นตัวเราของเรา อยาก-ละความอยากที่มาบำเรอสุขให้ตัวเรา , อยากได้ภพที่สูงขึ้นยิ่งขึ้น ความไม่อยากได้ภพต่ำอยู่นั้น ๆ

6. ความอยากชนิดพิเศษ , อยากเพื่อผู้อื่นโดยแท้โดยจริงอย่างมีญาณรู้รอบ , ตัณหาจะพาเจริญสูงขึ้นสู่ขั้นโลกุตรภพ เป็นโลกุตรภูมิ

7. ความอยากในวิภพ , อยากไม่มีภพ , อยากมีภพที่ดียิ่งขึ้น

8. ความอยาก – ความต้องการที่มีลักษณะเป็น “ตัณหาที่เป็นขบถต่อตัณหา” ซับซ้อนขึ้นมา , ความอยากล้างกามตัณหาและภวตัณหาของตน

9. ความอยากได้วิภวหรือวิภพ , จิตอยากได้ความไม่มีภพ

10. ความมุ่งหมายปรารถนาที่ไม่มีภพ – ไม่มีชาติของกิเลสใดในใจเลย

11. ตัณหาไม่มีภพ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 302

คนคืออะไร? หน้า 160 ,238, 239 ,257 ,260 ,352, 385 

อีคิวโลกุตระ หน้า 152,25

พุทธเป็นอเทวนิยมอย่างนี้ หน้า 39

ค้าบุญคือบาป หน้า 283

รวมคนจะมีธรรมะได้อย่างไร เล่ม 2 หน้า 12


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2562 ( 17:30:38 )

เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2563 ( 13:11:08 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 07:22:17 )

วิภวตัณหา

รายละเอียด

ก็มีแต่วิภวตัณหา เป็นตัณหาที่อยู่เหนือภพทั้งหมด ไม่มีแล้วในภพ แต่เป็นตัณหาอุดมการณ์ วิภาตัณหาคือตัณหาอุดมการณ์ เป็นตัณหาของพระอรหันต์ ตัณหาของพระโพธิสัตว์ ตัณหาของพระพุทธเจ้า คนก็ติดใจว่าไปว่าพระพุทธเจ้ามีตัณหา เขาเข้าใจสภาวะไม่ได้ ติดยึดแต่ในพยัญชนะว่าเป็นตัณหา มันเป็นความปรารถนา ความต้องการความประสงค์ เพื่อจะสอนคนให้เลิกกามตัณหา ภวตัณหา หรือแม้แต่ในอรูปะ อรูปทั้งหมด เขาก็ไม่รู้ เจตนาที่ยังเหลือ คุณมุ่งหมายที่จะไปอยากเสพอยากติดอยู่ในภพชาติ ภว เสพติดอยู่อย่างมีภพ

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ พ่อครูฝืนตายฝืนกินอยู่ด้วยอาหาร 4 วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 พฤษภาคม 2565 ( 12:36:48 )

วิภวตัณหา

รายละเอียด

วิภวตัณหา หมายถึง ตัณหาที่ไม่มีภพแล้ว ภวตัณหามี รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา นี่คือยังไม่หมดเชื้อของอาสวะ ถึงวิจิกิจฉานะ ไม่หมดเชื้อของนิวรณ์ 5 ต้องมีวิชชาจริงๆ รู้จักจิตเจตสิกอย่างละเอียดจริงๆ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าสอนเรื่องธรรมะ จะต้องรู้กายในกาย รู้เวทนาในเวทนา รู้จิตในจิต รู้ธรรมในธรรม นี่เป็นตัวปฏิบัติของศาสนาพุทธเลย 

กาย ต้องมีข้างนอก ตาหูจมูกลิ้น “กาย” ตาหูจมูกก็คือกายด้วยกันหมด ต้องมีข้างนอก หลับตาเสียไม่มีตาหูจมูกลิ้น ลิ้น แม้ อยู่ข้างในปากอมไว้มันก็ต้องแตะรสมันถึงจะเป็น กาย ต้องมีสัมผัสถึงจะเรียกว่า กาย ถ้าลิ้นมันไม่ได้สัมผัสมันก็ไม่ได้เป็น กาย ปากหุบ ไม่ให้ลิ้นสัมผัสก็ไม่มีการสัมผัส ปิดตาปิดหูปิดจมูกอีกไม่นานตาย ก็ปิดหมด เป็นพวกปิดทวารพระปิดทวาร เขาทำรูปพระปิดทวาร มันผิด อันนี้ ที่อาตมาพูดนี้ คุณฟังรู้เรื่องฟังง่ายๆ แต่มันเป็นเรื่องลึกซึ้งที่ผิดกัน ย้ำอีก ตีหัวตะปู ทั้งหมดลงไปถึงไหน ไปนั่งหลับตาออกป่าปิดทวารทั้ง 5 ทำตาบอดหูหนวกนี้ มันนอกรีตเลิกได้เลยทั้งหมด แต่เขาฟังอาตมาที่ไหน อาตมาพูดนี่ 

นี่ วันฤกษ์งามยามดีแท้ๆเทศน์วันนี้ดีนะ เทศน์ละเอียด เทศน์ชัดเจน เทศน์ง่ายๆ แต่ลึกซึ้ง ขอยืนยัน เขาฟังที่ไหน เขาก็ไปสวดมนต์ เดี๋ยวจะสวดมนต์ข้ามคืนวันนี้ 

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศนาธรรมส่งท้ายปีเก่า 2565 งานตลาดอาริยะครั้งที่ 41 วันที่ 31 ธันวาคม 2565 ขึ้น 9 ค่ำเดือน 2 ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 10 มกราคม 2566 ( 12:05:06 )

วิภวตัณหา ...ความอยากที่เป็นอุดมการณ์!

รายละเอียด

“ความอยาก”ชนิดนี้ เป็น“ความอยากอุดมการณ์” เรียกว่า“วิภวตัณหา” 

คือ“ตัณหา”หรือ“ความอยาก”ที่“ไม่มีภพ(วิภว)” เป็น“ความอยากของคนที่สิ้นภพจบชาติแล้ว” มีจิตนิพพานแล้ว จึงเป็นความบริสุทธิ์ใจแท้ ปรารถนาดีแท้ คือเป็นความปรารถนาทุกอย่างเพื่อผู้อื่น ทำเพื่อผู้อื่นจริงๆ 

ดังนั้น แม้จะยัดเยียดก็ควร!  คนผู้จะปฏิบัติหรือประพฤติจริงดั่งนี้ได้ ก็ต้องมี“จิต”จริงทั้งตนเอง“ไม่มีกิเลส”นั้นๆแล้ว เห็นความดีจริงของ“ภาวะบรรลุธรรม”นั้นแล้ว และเป็นผู้มี“อำนาจอยู่เหนือกิเลส”นั้นจริงแล้ว ผู้นั้นจึงจะบอกผู้อื่นได้ว่า เรา“อยู่เหนือ(อุตตระ)”ภาวะนั้นๆ ได้จริงๆ  

 

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ รวมเปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อ 106 หน้า 107


เวลาบันทึก 15 มิถุนายน 2564 ( 20:50:20 )

วิภวตัณหา 2 ระดับ 

รายละเอียด

ถูกต้อง วิภวตัณหา หมายความว่า ตัณหาที่จะล้างภพล้างชาติ นี้เป็นของผู้ยังปฏิบัติอยู่ คือเป็นผู้ยังมีตัณหา เป็นตัณหาความต้องการไม่มีภพ วิภว แปลว่าไม่มีภพ ก็มาล้างภพที่ตัวเองยังมียังติดยังยึดอยู่ 

ส่วนผู้ที่หมดภพแล้ว ก็เรียก วิภว คือผู้นี้ไม่มีภพแล้ว แต่ยังมีตัณหาได้ ตัณหาที่ไม่มีภพคือตัณหาอุดมการณ์ ตัณหาอุดมคติ คือมีความต้องการ มีความปรารถนา มีความอยาก อยากช่วยผู้อื่น หรืออยากทำที่ตัวเองสั่งสมบารมีสูงขึ้น อยากสร้างบารมีสูงขึ้น อยากเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น นี่เป็นวิภวตัณหาของผู้หมดภพไปตามลำดับๆ ก็แบ่งเป็น 2 นี้ง่ายๆ

(1) ผู้หนึ่งหมดภพ (2) ผู้หนึ่งยังไม่หมดภพ แต่อยากหมดภพ เป็นตัณหาอยากหมดภพ อยากเป็นวิภวะ ไม่มีภพ ส่วน (1) ผู้ไม่มีภพได้แล้ว ก็เป็นตัณหาช่วยผู้อื่น เป็นตัณหาวิภวะ ช่วยผู้อื่น ผู้นี้ไม่มีภพแล้ว 

_สู่แดนธรรม... พ่อท่านเคยบอกว่าพระพุทธเจ้าก็ยังมีตัณหา 

ถูกแล้ว พระพุทธเจ้าก็เป็นคน มีคนว่าอาตมา อาตมาก็อธิบายให้ฟังแล้วก็เงียบไปแล้ว ก็เข้าใจ  คนไม่เข้าใจเลยเขาก็ท้วงว่า “ไม่ได้หรอกไปว่าพระพุทธเจ้ามีตัณหา” บางคนฟังแล้ว(เขาท้วง) อาตมาก็ไม่ได้พูดบ่อยหรอก เพราะว่าคนเข้าใจยาก ไปบอกว่าพระพุทธเจ้ามีตัณหา เขาก็ถือสาสิ เพราะว่าพระพุทธเจ้าเป็นคนหมดตัณหาแล้ว ก็อรหันต์เป็นคนหมดตัณหาแล้ว แล้วขนาดพระพุทธเจ้ายังไม่หมดตัณหาได้อย่างไร แต่ความซับซ้อนลึกซึ้งมันมีหลายชั้น นี้มันยากตรงนี้ ถึงค่อยพูดเท่าที่ควร ตามลำดับ

ความต้องการของพระพุทธเจ้า

...หากภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้เป็นสาวกและสาวิกา

ของเราจักยังไม่เฉียบแหลม ยังไม่ได้รับคำแนะนำ ไม่แกล้วกล้า

ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ยังปฏิบัติธรรมไม่สมควรแก่ธรรม

ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรมที่เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว ยังบอกแสดงบัญญัติแต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ และข่มขี่ปรัปปวาทะที่บังเกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรมไม่ได้ เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น ฯ

(มหาปรินิพพานสูตร ล.10 ข.102)

คำว่า เทวนิยม มันไม่ใช่ กาม ทีเดียว แต่เป็นกามส่วนใหญ่ เป็นเบื้องต้น กามเป็นเบื้องต้น แล้วอัตตาเป็นเบื้องต่อมา ฉะนั้นเทวะ เราถือว่าเป็นความหมายลึกเข้ามาหา”อัตตา” เทวะ เป็นความหมายกลางๆ 2 สภาพ 

เพราะฉะนั้นสภาพ 2 ระดับกาม มีกาย กิเลสทางกาย ทวาร 5 คุณล้างกิเลสทางกาย ทางทวาร 5 ที่ยังมีอัสสาทะ ยังมีรสอร่อย ทางสัมผัสเสียดสี ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ (เมื่อ)คุณหมดอาการรสชาติ สุขทุกข์พวกนี้แล้ว ละวางหมด ไม่ประพฤติ ไม่ไปทำ ไม่สัมผัสเสียดสี ตัดขาดได้แล้ว เป็นอนาคามีขึ้นไป เป็นต้น 

เพราะฉะนั้นผู้นี้ก็จะไม่มีกาม แต่ไม่ได้หมายความว่าเราไม่มีภายนอก กายคือภายนอกด้วย-ภายในด้วย เราก็ยังมีกายภายนอกที่สัมผัสเกี่ยวข้องรับรู้ร่วม เป็นเทวะ เป็น 2 เสมอ มีภายนอก-ภายใน มีกาย-มีจิต แยกกันไม่ได้ เป็นกระดาษแผ่นเดียว ถ้าไม่มีกายก็คือไม่มีจิต  ไม่มีกายก็คือไม่มีจิต

พูดถึงตรงนี้แล้วอยากจะอธิบายซับซ้อนเรื่องธรรมนิยาม 5 จังเลย ทบทวน ธรรมนิยาม 5 ซึ่งมันลึกซึ้งซับซ้อน ถ้าไม่เข้าใจธรรมนิยาม 5 ปิดประตูที่จะได้เป็นพระอรหันต์ จะวนเวียนอยู่ในนรกสวรรค์อยู่เท่านั้น

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ทำทานให้สัมมาอย่าจับไอ้หวังใส่ถัง ควรเพิ่มพลังพากเพียร วันพุธที่ 6 ธันวาคม 2566 แรม 9 ค่ำเดือน 12 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 13 มีนาคม 2567 ( 06:41:52 )

วิภวตัณหา คืออะไร

รายละเอียด

ความปรารถนา ความอยาก ความต้องการ ธรรมดานี่แหละ เป็นความประสงค์ให้เป็นเช่นนั้นที่มันไม่มีกิเลส ไม่มีภพชาติ เป็นตัณหาอุดมการณ์ เป็นตัณหาปรารถนาดีที่ตัวเองไม่มีกิเลสตัณหาเพื่อตัวเอง มีแต่เพื่อผู้อื่นอย่างบริสุทธิ์ใจและมีความรู้กำกับ ก็ทำงานนี้ต่อไปเรื่อยๆ 

พระพุทธเจ้าทำงานสร้างศาสนา มารก็มาอาราธนาให้ตายเสียเมื่อบรรลุแล้ว ท่านก็บอกว่าท่านยังไม่ตาย ท่านจะทำงานสร้างศาสนาต่อให้มั่นคงแข็งแรง มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ให้แข็งแรงสร้างศาสนาต่อไปให้ยาวนานจนกระทั่งหมดกัปป์ของเรา 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ การเกิดคือชาติ 5 ในปฏิจจสมุปบาท วันศุกร์ที่ 22 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 19 กุมภาพันธ์ 2564 ( 16:54:26 )

วิภวตัณหา เป็น โลกุตรธรรม

รายละเอียด

จบกิจอรหันต์ด้วยตัณหา 3 เป็นอย่างไร?

แล้วศึกษาปฏิบัติจัดการ (อภิสังขาร) กับ “ตัณหา 3” นี้ให้เกิดผลสำเร็จเสร็จสัมบูรณ์ให้ได้ จึงจะจบกันที่ “วิภวตัณหา” ที่เป็นโลกุตระกันจริงๆ

นั่นคือ รู้จักรู้แจ้งรู้จริงใน “กามตัณหา” กับ “ภวตัณหา” 

แล้วทำให้มันเป็น “วิภวตัณหา” ตามแบบ “โลกุตรธรรม” สำเร็จสัมบูรณ์ให้ได้ 

ก็ “จบกิจ” เป็นอรหันต์

 

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ รวมเปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อ 174 หน้า 153


เวลาบันทึก 25 มิถุนายน 2564 ( 20:50:13 )

วิภวตัณหากับเวทนาอาศัย

รายละเอียด

วิภวตัณหา เป็นตัณหาอุดมการณ์ ตัณหาที่ไม่มีภพ ดับภพจบชาติ แต่อาศัยลำลองมาเป็นวิภวตัณหา เป็นผู้มีความต้องการอย่างไม่มีอัตตาเพื่อตัวตน มีแต่เพื่อผู้อื่น วิภวตัณหา 

เพราะฉะนั้นจึงมีเวทนาอาศัย เวทนาอาศัย เป็นเวทนาที่มีอุเบกขา 5 เป็นเวทนาที่บริสุทธิ์จากกิเลส ปริสุทธา ปริโยธาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา ยิ่งทำงานยิ่งแข็งแรงยิ่งเจริญด้วยองค์ 5 ของอุเบกขา จึงเป็นเวทนาที่เจริญมีผัสสะได้สบาย ลูบหัวล้านพระอาทิตย์ได้สบาย

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปฏิจจสมุปบาทสลายอวิชชาให้สิ้นอาสวะอนุสัย วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 16 มีนาคม 2564 ( 20:27:40 )

วิภวตัณหาของพระพุทธเจ้า

รายละเอียด

ตัณหาเป็นธรรมชาติของจิต แต่ตัณหาที่ไม่มีภพแล้วคือตัณหาที่ไม่มีกิเลส แต่เป็นตัณหาที่เป็นอุดมการณ์ พระพุทธเจ้ามีตัณหาที่จะสร้างศาสนา มารมาอาราธนาให้ตายเสีย บรรลุเป็นพระพุทธเจ้าแล้วตายเสียสิ พระพุทธเจ้าบอกว่ายัง …หากภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้เป็นสาวกและสาวิกาของเราจักยังไม่เฉียบแหลม  ยังไม่ได้รับคำแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ยังปฏิบัติธรรมไม่สมควรแก่ธรรม   ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรมที่เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว ยังบอกแสดงบัญญัติแต่งตั้ง  เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์  และข่มขี่ปรัปปวาทะที่บังเกิดขึ้นให้เรียบร้อย โดยสหธรรมไม่ได้เพียงใด   เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น ฯลฯ . (มหาปรินิพพานสูตร พตปฎ.เล่ม 10 ข้อ 102) 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิบ้านราช วันศุกร์ที่ 17 มกราคม 2563

หนังสืออ้างอิง

มหาปรินิพพานสูตร พระไตรปิฎก เล่ม 10 ข้อ 102


เวลาบันทึก 26 มกราคม 2563 ( 16:39:52 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 14:42:19 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 07:23:01 )

วิภวตัณหาจะเกิดกับผู้มีปัญญาแท้

รายละเอียด

“วิภวตัณหา”นั้นคือ “อยากได้” แต่เป็นตัณหาที่อยากได้“จิตว่างจากภพ”หรือ“จิตว่างจากการเกิดกิเลส” ซึ่งผู้ไม่ฉลาดโลกุตระ ไม่มีปัญญาจริง ไม่อยากได้“ตัณหานี้”หรอก ต้องผู้ฉลาดที่เป็น“ปัญญา”แท้เท่านั้นที่อยากได้“วิภวตัณหา(ตัณหาไม่มีภพ)” แม้“อยากได้” แต่ว่า ทำจิตใจของตนให้เป็น“จิตว่าง”ที่“ไม่มีกิเลส” หรือทำให้“จิตจางคลายไปจากกิเลส”ไปตามลำดับไม่เป็น ไม่ถูกต้อง นั่นก็เพราะคนผู้นี้ยังไม่“สัมมาทิฏฐิ” จึงปฏิบัติไม่สัมมาปฏิบัติ”

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 21 มีนาคม 2561


เวลาบันทึก 06 มีนาคม 2564 ( 12:07:38 )

วิภวตัณหาหรือวิภวะภพคืออย่างไร

รายละเอียด

เขาก็แปล วิภวตัณหาว่าไปติดยึดความไม่มีภพ ไปหลงก็ได้ เป็นอุปาทาน ภพที่ไม่มีภพ ก็ถูกไม่ผิดหรอก แต่จริงๆผู้ที่มีภวภพก็คือผู้ที่พ้นจาก หมดจาก กามภพ ภวภพ ไม่มีภพชาติ อยู่เหนือภพ แล้ว อยู่ในสภาพที่มีตัณหาที่ไม่มีภพ เป็นตัณหาอุดมการณ์เป็นตัณหาที่อยากช่วยสัตว์โลก รื้อขนสัตว์ให้พ้นทุกข์ตามจิตเป็นลำดับไปเรื่อยๆ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 28 ตุลาคม 2563


เวลาบันทึก 22 พฤศจิกายน 2563 ( 10:33:34 )

statistics

ติดต่อสอบถาม

Facebook : test

Youtube : Name

Twitter : Name

Line : Name

Telegram : Name

Wechat : Name

Skype : Name

Copyright © 2018 Borvornsocial.net all right are reserved. developer สงวนลิขสิทธิ์