@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก
@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก

อภิธานศัพท์ (Glossary) จัดเป็นฐานข้อมูลด้านโลกุตระที่สมบูรณ์ที่สุดที่คัดมาจากหนังสือ คำเทศน์ ฯ

คู่มือการค้นหาอภิธานศัพท์อโศก หรือ ห้องสมุดโลกุตระ 50 ปี

เอกสาร : https://docs.google.com/document/d/1HLGedxqTAOTOTQKGbO6M4qMremQ8K1jBWKRYDDt6MRQ/edit

วีดีโอ Loom 2 : https://www.loom.com/share/e824e62ec1eb4567848e94af124a7ed5

วีดีโอ Loom 1https://www.loom.com/share/2445744a08e74bca95d2f1d2a0526044

วีดีโอ YouTube : https://youtu.be/QyXcGmzhLmk

 

 

อภิธานศัพท์ (ทั้งหมด) พบ 28,074 รายการ

บ้าไปกับโลกที่เขาหลอก

รายละเอียด

แต่ทฤษฎีของเทวนิยมไม่มีทางแก้เสร็จอย่างนี้ ขอยืนยัน เพราะมันจะกินก็ตาม จะใช้ก็ตาม มันบ้าไปกับโลกที่เขาหลอก แล้วก็โฆษณาหลอกกันเต็มหมดเลย ในข่าวคราวก็มีโฆษณาเต็มไปหมด 

แม้แต่สถานีข่าว สถานีธรรมะ ของเทวนิยม ไม่ใช่ ของพุทธ ก็ยังโฆษณาแบบเทวนิยม หรือเรี่ยไรหาเงิน หลงเงินๆทองๆเป็นพระเจ้าอยู่นั่นแหละเลี้ยงตนเองไม่รอด เดี๋ยวก็ขอบริจาคอยู่นั่นแหละ 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ โดยพ่อครู GDP แบบพุทธที่ต่างจากนักเศรษฐศาสตร์เทฺวนิยม วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม 2566 แรม 14 ค่ำเดือน 4 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 09 เมษายน 2566 ( 15:39:07 )

ป (ปุคคล)

รายละเอียด

สิ่งที่เกิดแรก นำมาก่อน

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 139


เวลาบันทึก 13 กรกฎาคม 2562 ( 12:32:23 )

เวลาบันทึก 28 พฤษภาคม 2563 ( 14:03:40 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:05:54 )

ปกติคืออย่างไร

รายละเอียด

ขอขยายนิดนึง คำว่า ปกติ นั่นก็คือ มันก็จะมีความเป็นปกติอย่างว่านั่นแหละ ปกติก็คือมันจะเป็นความวนของโลก มันก็จะวนเวียนอยู่อย่างนี้ไปนาน…เท่านาน…นิรันดร ก็เป็นปกติ เพราะฉะนั้นในประเด็นของพระพุทธเจ้านี่ จึงเป็นสภาพ ถ้าพูดคำว่าไม่ปกตินี้ก็จะไม่สวย มันเป็นวิสามัญ มันไม่ใช่ปกติคือมันไม่ใช่สามัญ มันเป็นเรื่องเหนือสามัญ 

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 28 กันยายน 2563


เวลาบันทึก 16 พฤศจิกายน 2563 ( 11:01:04 )

ปกาศนียกรรมพ่อครูผิดธรรมวินัยอย่างไร 

รายละเอียด

แล้วอาตมาก็แหม ก็ว่าท่าน มาร่วมกันได้อย่างไร ท่านคนละนิกาย ท่านผิดธรรมวินัย อาบัติ ท่านก็รับอกุศลวิบาก ทั้งธรรมยุตและมหานิกายที่มาปกาศนียกรรมอาตมา

1. ไม่ให้จำเลยเข้าไปอยู่ในนั้น ผิด สัมมุขาวินัย เป็นการพิพากษาลับหลัง ซึ่งชาวโลกเขาก็ไม่ยอมรับ 

2. เอาคณะ 2 คณะ ที่คนละนิกายเอามารวมกันซึ่งผิดธรรมวินัย โมฆะ เพราะฉะนั้น สังฆกรรมใดที่ทำโมฆะหมด มันผิดธรรมวินัย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ เมืองไทยเป็นเมืองของพระพุทธเจ้า-โลกุตรธรรมจะช่วยโลกได้ วันศุกร์ที่ 2 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 07 เมษายน 2564 ( 19:32:30 )

ปกิณกทุกข์

รายละเอียด

1. ทุกข์จร คือ โศก ปริเทวะ ทุกข โทมนัส อุปยาส พรากจากคนหรือสิ่งอันเป็นที่รัก เป็นต้น

2. ทุกข์จรแห่งกิเลส คือ โศกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

หนังสืออ้างอิง

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 79

ยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 113


เวลาบันทึก 13 กรกฎาคม 2562 ( 12:33:51 )

เวลาบันทึก 28 พฤษภาคม 2563 ( 14:04:38 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:06:17 )

ปชหติ

รายละเอียด

ละ

หนังสืออ้างอิง

เปิดโลกเทวดา หน้า 37


เวลาบันทึก 13 กรกฎาคม 2562 ( 12:35:00 )

เวลาบันทึก 28 พฤษภาคม 2563 ( 14:05:18 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:06:35 )

ปชานนาติ

รายละเอียด

รู้ชัด , ค้นพบ , หยั่งรู้ , เห็นความแตกต่างตามความเป็นจริง

หนังสืออ้างอิง

ยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 129


เวลาบันทึก 13 กรกฎาคม 2562 ( 12:36:34 )

เวลาบันทึก 28 พฤษภาคม 2563 ( 14:06:03 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:06:53 )

ปฎิฆสัมผัสโสกับอธิวจนะ

รายละเอียด

ปฏิฆสัมผัสโส ตัวมันเองเป็นปฏิฆสัมผัสโส ก็มาตั้งอธิวจนะใส่เข้าไป คือคำพูด ใส่เข้าไป บางทีมีปฏิฆสัมผัสโส สัมผัสติดแล้วว่าเป็นอันนี้ ถึงจะมีปฏิมีตัวบวกลบ มีตัว action reaction แต่ยังไม่ได้ตั้งชื่อ ยังไม่มีอธิวจนะ คุณก็รู้ของคุณ ใครมีอธิวจนะที่เป็นวจีสังขารอยู่ในปฏิฆสัมผัสโส คุณสัมผัสได้ว่าอันนี้มันเกิดแล้วมันเป็นแล้วมันมีแล้ว แต่ยังไม่ได้ตั้งชื่อ ที่จริงเขาตั้งแล้วแต่คุณไม่รู้ คุณก็เอามาพูดสภาวะให้คนอื่นฟัง คนที่ฟังแล้วก็บอกอันนี้เขาเรียกอันนี้ คุณก็เอาอธิวจนะมาเรียกเข้าไป แต่ถ้ามันยังไม่ได้ตั้งชื่อเลย มันหายากน่ะ พระพุทธเจ้าท่านได้ตั้งมาหมดแล้ว มากจนกระทั่งอาตมาเอามาใช้ไม่หมด เป็นอธิวจนะของพระพุทธเจ้ามีมาก

สภาวะใด ปฏิฆสัมผัสโส ตัวใดสัมผัสติด เป็นสังขารในระดับข้างใน เป็นสังขารในระดับวจีสังขารขึ้นมา ตั้งแต่ 0 จนกระทั่งถึงนิรันดร พระพุทธเจ้าก็ได้ตั้งชื่อไว้หมดแล้ว เราก็ไม่จำเป็นต้องไปหาชื่อใหม่ตั้งชื่อใหม่หรอก เอาของพระพุทธเจ้าก็เหลือกิน

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ ความสมานฉันท์ 7 แบบ วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม 2561 แรม 7 ค่ำ เดือน 8 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 04 มิถุนายน 2565 ( 16:04:59 )

ปฎิบัติอย่างไรให้ไม่มีอาการกาย

รายละเอียด

คำว่า “กาย” เมื่อเอามาปฏิบัติกับตัวเองให้ไม่มีอาการกาย “กาย” คำนี้หมายถึงไม่มีเวทนาไม่มีสัญญาไม่มีวิญญาณ นี่คือ สัญญาเวทยิตนิโรธ มีผัสสะแล้วมีสังขาร มีเจตนาแล้วเรียนรู้อยู่ในนี้ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ โสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 23 วันจันทร์ที่ 11 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 30 มกราคม 2564 ( 09:54:10 )

ปฎิสรณะกับปฎินิสสัคคะ

รายละเอียด

สรณะต้องรบ คนอยู่ในฐานของสรณะจะเป็นนักรบ อย่างพลเอกประยุทธ์ก็เป็นนักรบ ท่านสมเด็จพุทธโฆษาจารย์ก็ยังนักรบ ยังรบอยู่ ส่วนสัคคะนั้นไม่ต้องรบแล้ว สวรรค์ แต่ผู้นี้ไม่เอา นิสสัคคะ ปฏินิสสัคคะกับปฏิสรณะ ในกรรมของพระพุทธเจ้าท่านเอาปฏิสรณะ เพราะปฏินิสสัคคะนั้นเป็นของอรหันต์ ท่านเลือกเอา ท่านจะเอาหรือไม่เอา ท่านจะเอาสวรรค์หรือไม่เอาสวรรค์มันเรื่องของท่าน ท่านดับได้หมดแล้ว นรกสวรรค์ท่านไม่มี แต่ท่านขออาศัยท่านยังมีอยู่ท่านอาศัยสวรรค์เป็นตัวอาศัย แต่ไม่เป็นตัวท่านแล้ว นิสสัคคะ ไม่มีสวรรค์ไม่มีนรกหรอก มันไม่มีพยัญชนะจะเรียกสภาวะนี้แล้ว ก็เอาสภาวะนี้มาตั้งชื่อ อาตมาก็พยายามอธิบาย 

 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ ความสมานฉันท์ 7 แบบ

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม 2561 ที่บวรราชธานีอโศก แรม 7 ค่ำ เดือน 8


เวลาบันทึก 04 มิถุนายน 2565 ( 16:02:02 )

ปฏิ

รายละเอียด

1. มักยอกย้อน มันทวนกลับไป ไถลกลับมา

2. ทวน , กลับกัน , ตอบ , เฉพาะ , มุ่งยัง , ตรงกันข้าม

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 549

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 69


เวลาบันทึก 13 กรกฎาคม 2562 ( 12:37:51 )

เวลาบันทึก 28 พฤษภาคม 2563 ( 14:07:03 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:07:15 )

ปฏิ

รายละเอียด

ทวนไปมา

หนังสืออ้างอิง

รวมคนจะมีธรรมะได้อย่างไร ? หน้า 17


เวลาบันทึก 11 ธันวาคม 2562 ( 13:35:13 )

เวลาบันทึก 30 กรกฎาคม 2563 ( 07:18:58 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:07:55 )

ปฏิกิริยาต่อการได้รับคำสรรเสริญ

รายละเอียด

เรามีการปฏิสันถารมี Action reaction ต้องร่าเริงเบิกบาน เพราะมันควรจะเป็นความเบิกบานแจ่มใสอย่างนี้ ไม่ใช่ว่าเขาสรรเสริญ ๆ มาก็ทำหน้าบูด มันไม่สอดรับกัน ต้องมีสภาวะตอบรับสนองตอบ รับการสำนองอันนี้ เข้าใจแล้วมีภาวะตอบรับรับรู้เข้าใจว่าใช่ ส่วนจิตมันจะสงบหรือไม่ก็ของใครของมัน ยิ่งไม่สงบ ถ้าไปหลงติด ก็ของใครของมันอีก 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 12 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 05 กันยายน 2563 ( 09:29:19 )

ปฏิกโกสนา

รายละเอียด

คือ การกล่าวคัดค้านกันอย่างจังๆการพูดแย้ง การประกาศประท้วงกันจังๆ การปฏิเสธ การห้ามแรงๆ การดูหมิ่น ดูแคลนย่ำยี โต้ตอบจนถึงขีด ถึงขั้น เอาเรื่อง จนเป็นเรื่อง

หนังสืออ้างอิง

“สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ” น.386


เวลาบันทึก 29 ตุลาคม 2562 ( 12:19:48 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 13:23:42 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:08:23 )

ปฏิกโกสนา

รายละเอียด

คือ การคัดค้าน การประท้วง

หนังสืออ้างอิง

 “สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ” หน้า 372


เวลาบันทึก 29 ตุลาคม 2562 ( 11:48:02 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 13:26:29 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:08:46 )

ปฏิกโกสนา

รายละเอียด

หมายความว่าฟังได้ที่เขายึดถืออย่างนี้ก็มีสิทธิ์ที่จะประท้วง  แย้งอย่างแรงๆ ตรงๆ แย้งเต็มที่ได้ ปฏิกโกสนา  ในนานาสังวาส มีวินัยให้ค้านแย้งแรงๆ ได้เลยท่านไม่ได้ห้าม  แย้งแรงๆ ได้แต่อย่าให้ผิด ใครก็ต้องเชื่อว่าที่ตนแย้งไปจะถูก

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 22 ธันวาคม 2562 ( 22:10:55 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:25:41 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:09:11 )

ปฏิกโกสนา

รายละเอียด

คัดค้านอย่างจัง , คัดค้านได้อย่างแรงถึงที่สุดด้วยความถูก ความผิด

หนังสืออ้างอิง

ยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 321,322


เวลาบันทึก 13 กรกฎาคม 2562 ( 12:39:19 )

เวลาบันทึก 28 พฤษภาคม 2563 ( 14:09:24 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:09:28 )

ปฏิกโกสนา

รายละเอียด

คือ พระพุทธเจ้าให้ตำหนิอย่างแรงได้ ท้วงอย่างแรงได้ดังๆได้ ว่ามากๆหนักๆได้ อย่างสมณะโพธิรักษ์รู้ว่าตัวท่านเองพูดตำหนิแรง คนก็เลยหาว่าไปว่าเขาไปเรื่อยๆ แต่คือการตำหนิสิ่งผิด เพราะเขามาทำลายศาสนา ท่านก็ต้องตำหนิแรง คนข้างนอกไม่ค่อยเข้าใจ เกิดมาในชาตินี้เห็นศาสนาถูกทำลาย ถูกทำให้ผิดเพี้ยนเอาไปปู้ยี่ปู้ยำ เอาไปค้าขาย เอาธรรมะพระพุทธเจ้าไปทำยิ่งกว่า คือเอาธรรมะไปทำมาหากิน เทียบเคียง คือ มันเลวร้าย สำหรับผู้ที่ใช้ธรรมะพระพุทธเจ้าหากิน แล้วหากินอย่างไม่ประมาณทำเละเทะอย่างไรก็เอา

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช  วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 24 พฤศจิกายน 2562 ( 12:07:09 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:26:19 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:09:54 )

ปฏิกโกสนา

รายละเอียด

 คือ ค้านอย่างแรงอย่างจัง แต่ไม่ฟ้องร้อง ไม่ทะเลาะเบาะแว้งไม่ตีรันฟันแทง

ที่มา ที่ไป

630327


เวลาบันทึก 28 มีนาคม 2563 ( 12:36:40 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 13:07:22 )

ปฏิกโกสนา

รายละเอียด

ส่วนปฏิกโกสนานี้ก็ค้านแย้งอย่างจัง อาตมาก็ค้านไป คนอื่นก็ค้านมาได้อย่างแรงก็ได้ ถ้าคุณหยาบ คุณผิดก็บาปของคุณ​ ส่วนคุณจะตะโกนให้ดังเท่าไหร่คอจะแตกก็เป็นของคุณไม่เห็นเป็นไรคุณก็ทำไป ไม่มีปัญหา ต่างคนต่างทำตามเรื่องของมัน

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 8 เมษายน 2563


เวลาบันทึก 23 เมษายน 2563 ( 13:10:54 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 06:36:37 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:10:32 )

ปฏิกโกสนา

รายละเอียด

อาตมานี่ ใช้รูปธรรมเลย พูดต่อว่า ระบุเลยว่าผิดอย่างนี้ๆ ว่าอย่างแรง ข่มเลย แต่ก็ไม่ถึงกับไปด่า ไม่ถึงอักโกสะ ไม่ใช่ไปด่าทอ แต่ติเตียนว่า ไม่ถึงด่าหรอก 

ปฏิกโกสนา  = การกล่าวคัดค้านจังๆ ไม่เห็นด้วย กล่าวด้วยเหตุผลข่มขี่ที่มีน้ำหนักมากกว่าเท่านั้น แต่ไม่ถึงขั้น อักโกสะ = การด่า,การติเตียนด่าว่า 

ขอบเขตของการกล่าวคัดค้านและเห็นแย้งได้เต็มที่นั้น จะไม่ก้าวล่วงไปเอาผิดกันทางอธิกรณ์ หรือไม่ข้ามเขตไปลงโทษกัน จนกลายเป็น อุกโกฏนา  = การที่ไม่เป็นธรรม,ไม่สามารถยุติธรรมได้

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ พ่อครูตอบปัญหาผ่าพญาครุฑ ฉุดพญานาค วันพุธที่ 2 มีนาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 10 มีนาคม 2565 ( 19:51:59 )

ปฏิกโกสนา

รายละเอียด

ได้ วิจารณ์กันได้วิจารณ์กัน ปฏิกโกสนา คือหมายความว่าตำหนิกัน ตำหนิว่ากันอย่างแรงขนาดไหนก็ได้ ไม่เป็นไร แต่อย่าฟ้องร้องอย่าทำอธิกรณ์ อย่าให้เป็นคดี อย่าให้เป็นเรื่องเป็นราว

1. ไม่ทะเลาะวิวาท 2. ไม่เป็นคดีความ ไม่เป็นเรื่องเป็นราว 

เพราะฉะนั้นคุณจะแย้งอย่างไร คุณจะเถียงอย่างไร คุณจะค้านคอแตกอย่างไร  เชิญ ทั้งนั้นแหละ เคยตำหนิพวกหลับตา เคยตำหนิธัมมชโย เคยตำหนิผู้ที่เขาไม่ถูกต้องว่ากันไปอย่างแรง สำหรับผู้ไม่แรง ก็แล้วไป ไม่ได้พูดหยาบ ด่า ไม่เอา พูดแต่เรื่องที่ตำหนิอย่างแรง ค้านอย่างแรงได้ ปฏิกโกสนา 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ฟังธรรมให้เกิดปัญญาเพื่อสละตัวตน วันพุธที่ 19 ตุลาคม 2565 แรม 9 ค่ำ เดือน 11 ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 19 ธันวาคม 2565 ( 11:48:54 )

ปฏิกโกสนา ตามหลักนานาสังวาส

รายละเอียด

ใครเห็นว่าเป็นธรรมวาทีก็เอา ใครเห็นว่าเป็นอธรรมวาทีก็ไม่ต้องเอา แต่ความเห็นของอาตมาก็แสดงออกไป 

ถ้ามีจริงก็ต้องเป็นจริง ถูกก็เป็นถูก ผิดก็เป็นผิด แต่คุณเองไม่เชื่อมั่นในอโศก ว่าอโศกนี้ยืนยันความถูกได้ตรงแท้กว่า คุณก็ประชดต่อไปว่า เออ.. มันยึดว่า มันถูกต้องของมันคนเดียวคนอื่นไม่มีถูกต้องหรอก เราไม่เป็นเช่นคุณว่าหรอก เราก็ให้เกียรติอยู่ แต่เราก็บอกว่าถูกอันนี้ผิด อันนี้ก็เป็นสิทธิ์ของเรา เราไม่ได้ไปละเมิดสิทธิ์ของใคร คนอื่นจะเห็นของแต่ละคนว่าถูกก็เป็นสิทธิ์ของเขา เราก็มีเขตตัดว่า เพราะคุณก็เห็นของคุณ ความเห็นของคุณก็เป็นอย่างหนึ่งความเห็นของเราอีกอย่างหนึ่ง เราก็ไม่ได้ไปละลาบละล้วง ตกลงเราก็ไม่ได้เห็นอย่างคุณ ก็ต่างคนต่างอยู่อยู่กันอย่างเป็นพี่น้อง อย่ามาทะเลาะวิวาทกัน อย่ามาฟ้องร้องกัน อย่ามาทำร้ายทำลายกัน ต่างคนต่างแยกกันไป ปฏิกโกสนา ตามหลักนานาสังวาสของพระพุทธเจ้าคุณจะแย้งอย่างหนักแข็งก็ตาม หากคอคุณไม่แตก พระพุทธเจ้าอนุญาต 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ โสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 30 วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 มีนาคม 2564 ( 19:25:47 )

ปฏิกโกสนาคือคัดค้านอย่างจัง

รายละเอียด

ปฏิกโกสนา แปลว่า การกล่าวคัดค้านจังๆ เป็นสำนวนของสมเด็จพุทธ
โฆษาจารย์ 

ทิฏฐาวิกัมม์  = เป็นการแสดงความเห็น แค่เห็นแย้งหรือชี้แจงความเห็นส่วนตัว  แต่ไม่ได้คัดค้านหักหาญกันเต็มที่ 

ปฏิกโกสนา  = การกล่าวคัดค้านจังๆ ไม่เห็นด้วย กล่าวด้วยเหตุผลข่มขี่ที่มีน้ำหนักมากกว่า เท่านั้น  

แต่ไม่ถึงขั้น อักโกสะ = การด่า, การติเตียนด่าว่า 

ขอบเขตของการกล่าวคัดค้านและเห็นแย้งได้เต็มที่นั้น จะไม่ก้าวล่วงไปเอาผิดกันทางอธิกรณ์ หรือไม่ข้ามเขตไปลงโทษกัน จนกลายเป็น อุกโกฏนา  = การที่ไม่เป็นธรรม,ไม่สามารถยุติธรรมได้  

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ คนเจริญคือคนที่เสียเปรียบมากกว่าได้เปรียบ วันพุธที่ 20 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 30 มกราคม 2564 ( 19:17:13 )

ปฏิกโกสนาหรือมุขสตีเป็นไฉน

รายละเอียด

ในความจริงใจ สัจธรรมต่างๆ ที่เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า สุดยอดที่เราจะเป็นผู้ที่มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาแก่สัตว์โลก โดยเฉพาะมนุษย์ด้วยกัน แต่ถ้าเข้าใจผิดก็จะไปทำร้ายไปทำไม่ดีต่อกัน เป็นกรรมอกุศลต่อกัน เป็นภัยต่อเขาเองและเป็นพิษภัยต่อคนอื่นด้วย เราก็ช่วยเตือนสติกัน บอกกันห้ามกัน เราไม่ไปทำร้ายอะไรหรอก อย่างมากก็ใช้ปากหอก ว่าแรงๆ ดุแรงๆ ปฏิกโกสนา คัดค้านอย่างแรงเต็มที่ ก็ได้เท่านี้ ไม่ได้ไปลงมือลงไม้ ไม่ไปตบตีทำร้ายร่างกาย พระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดเจน เราเข้าใจทุกอย่าง

ผู้ที่ฉลาดแล้วเริ่มต้นเป็นอาริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันเป็นต้นไป จึงอย่างเก่งก็แค่ปากหอกรุนแรง ใช้คำว่า มุขสตี จะไม่ไปทำร้ายร่างกาย ไปทำความแรงร้ายแก่ผู้อื่น แม้กระทั่งช้ำ หรือห้อเลือด อย่าไปพูดถึงเรื่องตาย ศาสนาพุทธชัดเจน ศึกษาคำสอนพระพุทธเจ้าให้ดี

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ มาทำแก่นชีพ-เชื้อชาติพุทธให้รุดหน้าเกินพัน วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 09 กุมภาพันธ์ 2564 ( 17:57:47 )

ปฏิคคัณหน

รายละเอียด

รับเอา

หนังสืออ้างอิง

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 40


เวลาบันทึก 13 กรกฎาคม 2562 ( 12:41:25 )

เวลาบันทึก 29 พฤษภาคม 2563 ( 14:44:07 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:10:52 )

ปฏิคาหก

รายละเอียด

ผู้รับ

หนังสืออ้างอิง

ป่ากับพุทธศาสนา หน้า 92


เวลาบันทึก 13 กรกฎาคม 2562 ( 12:43:31 )

เวลาบันทึก 29 พฤษภาคม 2563 ( 14:44:51 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:11:08 )

ปฏิคฺคห

รายละเอียด

การรับ  เครื่องรองรับ  กระโถน

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 299


เวลาบันทึก 13 กรกฎาคม 2562 ( 12:44:43 )

เวลาบันทึก 29 พฤษภาคม 2563 ( 14:45:33 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:11:24 )

ปฏิฆสัมผัส , ปฏิฆสัมผัสโส

รายละเอียด

1. การกระทบใจเพราะสัมผัส

2. สัมผัสแล้วหลงไปสู่ปลายข้างไม่ชอบใจ

3. การสัมผัสโดยการกระทบ , สัมผัสด้วยการกระทบ

4. สัมผัสกัน

หนังสืออ้างอิง

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 50 ,162

ยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 257,275

รวมคนจะมีธรรมะได้อย่างไร เล่ม 2 หน้า 13


เวลาบันทึก 13 กรกฎาคม 2562 ( 12:47:08 )

เวลาบันทึก 29 พฤษภาคม 2563 ( 14:47:36 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:11:45 )

ปฏิฆสัมผัสโส

รายละเอียด

มีการกระทบสัมผัส แล้วหากไม่มีชื่อสภาวะนั้นก็รู้แต่สภาวะ แต่ถ้าตั้งชื่อผู้รู้ ผู้ศึกษาตั้งไว้ เป็นทุกข์เป็นสุข มันมีเหตุก็ได้ล้างเหตุ หมดทุกข์ก็หมดสุขด้วย

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 15 พฤศจิกายน 2562 ( 15:13:15 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:28:05 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:12:02 )

ปฏิฆสัมผัสโส

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นพยายาม แน่นอนคำพูดหรือภาษามันเป็นสื่อที่จะบอกถึงทุกๆอย่าง เป็นความจริงหรือว่าเป็นลักษณะที่มันเกิดผลเกิดผลิตอะไรก็แล้วแต่ ที่จะเป็นขึ้นมาจากความคิดและเอามาบอกพูดกันได้ 

เพราะฉะนั้นการที่จะรู้ความจริงขึ้นมาจากปฏิกิริยาแล้วเรารู้ว่า ปฏิกิริยาความนึกความคิดของเราเกิดขึ้นมา ในวิชาการของพระพุทธเจ้าเรียกว่า ปฏิฆสัมผัสโส เราจะรู้จักสิ่งที่เกิดมีตัว ฆ ฆ.ระฆัง 

ปฏิ คือ ปฏิกิริยาแล้วก็จับตัวกันเป็น ฆ เป็นก้อนเป็นสิ่งที่เกิดแล้วอะไรอันหนึ่ง ละเอียดลึกอยู่ในจิต 

ถ้าสิ่งนี้มันเกิดแล้วมันเป็นสัจจะอะไรก็แล้วแต่ เรายังไม่ได้ตั้งชื่อก็คือ ปฏิฆสัมผัสโส เราสัมผัสเองได้ ถ้ามันมีการตั้งชื่อแล้วเขาก็เรียกว่า อธิวจนสัมผัสโส สัมผัสได้ว่า อันนี้มีวจีสังขาร มีภาษาแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วเป็นบาลี อย่างนี้เอง อย่างนี้เรียกว่า บุญ อย่างนี้เรียกว่า กาย อย่างนี้เรียกว่า ฌาน อย่างนี้เรียกว่าสมาธิ อย่างนี้เป็นต้น 

แล้วท่านก็ได้อธิบาย ขยายความสิ่งเหล่านั้น ออกมาเป็นภาษา จากรู้อยู่ในตัวเองแล้ว ถ้ามีคำพูดก็เรียกว่า อธิวจนสัมผัสโส เป็น วจีสังขาร อยู่ข้างในยังไม่ได้ออกมาเป็นวาจากรรม ก็ปรุงแต่งกันอยู่ข้างในเป็น วจีสังขาร เมื่อพูดออกมาให้คนอื่นฟังก็เลยก็เรียกว่า วาจากรรม ถ้าอยู่ภายในเราเองก็เรียกว่า วจีสังขาร เป็นสังขารที่ปรุงแต่งกันที่มี อธิวจนะแล้ว พูดมาเป็นภาษาที่จะสื่อออกมาเป็นภาษาอะไร ก็ภาษาพื้นบ้าน ภาษาที่คนทั่วไปรู้ได้เข้าใจได้ พูดภาษานั้นสื่อออกมา 

ถ้ามีคำวิชาการ คำเทคนิคอลเทอม ก็สื่อออกมาเป็นภาษาวิชาการ ไม่มีภาษาวิชาการก็บอกอธิบายความหมายเอา 

ซึ่งสิ่งที่มันเกิดในโลกุตรธรรม ภาษาไทยมันไม่ค่อยมี ที่มันเป็นความลึกซึ้งละเอียด อาตมาต้องอธิบายภาษาไทยประกอบยาวยืดยาด อธิบายไป ยากมากเลย แม้แต่คำสั้นๆที่บอกว่าบุญ ว่ากาย ว่าฌาน ว่าสมาธิ อย่างที่อธิบายยกตัวอย่างเดี๋ยวนี้ ทุกวันนี้ก็ยังอธิบายขยายความอยู่เพราะมันละเอียดยิ่งใหญ่มาก 

เพราะฉะนั้น ความเสื่อมทุกวันนี้มาจากคนเสื่อมไปจากธรรมะพระพุทธเจ้าจริงๆ ตรงตามที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์เอาไว้ว่า มันจะเสื่อม ซึ่งความเสื่อม 4 ประการ ที่อาตมา จะได้เอามาขยายความ ความเสื่อม 4 ประการซึ่งซ้อนลึกอยู่ในจรณะ 15 วิชชา 8 อยู่ใน อัมพัฏฐสูตร ที่พระพุทธเจ้าถกกับอัมพัฏฐมานพ เป็นลูกศิษย์ของพราหมณ์โปกขรสาติ พระพุทธเจ้า ยืนยันว่าได้แต่พยัญชนะ ได้แต่ภาษาแต่ไม่ได้จรณะวิชชาจริง

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ แสดงธรรมโดยพ่อครูสมณะโพธิรักษ์แนวคิดเศรษฐกิจของชาวโศกที่ทำจริงมีผลสำเร็จจริง วันพุธที่ 1 มีนาคม 2566 ขึ้น 10 ค่ำเดือน 4 ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 08 เมษายน 2566 ( 18:57:06 )

ปฏิฆสัมผัสโส กับอธิวจนสัมผัสโสต่างกันอย่างไร

รายละเอียด

ถ้ายังไม่มีภาษามันก็ยังเรียกว่า ปฏิฆสัมผัสโส คือ เกิดสภาวะนั้นขึ้นมา แล้วสัมผัสสภาวะนั้นขึ้นมาเป็น ปฏิฆสัมผัสโส สภาวะนี้ยังไม่ได้ตั้งภาษาเรียกก็ไม่มีภาษาเรียกแต่รู้ว่ามันเป็นอาการอย่างนี้ ลักษณะอาการ ลิงค อย่างนี้แตกต่างกันอย่างนั้นมันเป็นอย่างนี้ ถ้าตั้งชื่อไปเรียกว่า อธิวจนสัมผัสโส ตั้งบัญญัติภาษาใส่ชื่อเข้าไปเป็น อธิวจนสัมผัสโส ถ้าไม่ได้ตั้งชื่อเรียกว่า ปฏิฆสัมผัสโส อันนี้ก็เป็นสิ่งที่ลึกซึ้งที่ไม่ค่อยได้อธิบายเท่าไหร่ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธ‌ศาสนา‌ตาม‌ภูมิ‌ ชาว‌อโศก‌มี‌ความ‌มหัศจรรย์‌ได้‌ตาม‌ปหาร‌าท‌สูตร‌ ‌วันพุธที่ 5 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 14 มกราคม 2565 ( 22:07:11 )

ปฏิฆะ

รายละเอียด

1. ความไม่สมใจเต็มที่  เสพสมบ่มิสม  ยังไม่เต็มยังไม่อิ่มถึงใจ

2. เวทนาไปในข้างไม่ชอบใจ

3. อาการของความขัดเคือง ความขึ้งเคียด ความขัดใจ ความกระทบใจแล้วไม่พอใจ

4. ความขึ้งเคียด

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 36

ทางเอก ภาค 3 หน้า 188 , 500

สมาธิพุทธ หน้า 244 


เวลาบันทึก 13 กรกฎาคม 2562 ( 12:49:13 )

เวลาบันทึก 29 พฤษภาคม 2563 ( 14:56:11 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:12:24 )

ปฏิจจสมุปนาท คือ ทฤษฎีระบบสมัยใหม่

รายละเอียด

ท่านได้แจงเหตุปัจจัยปฏิจจสมุปบาทตลอดสาย ข้อ 58 ไล่เหตุปัจจัยของชรามรณะคือ ภพ ชาติ ชรา มรณะ หยุดไว้ที่เวทนา แล้วสรุปไว้ว่า เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัย แห่งตัณหา คือ เวทนานั่นเอง เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัย ในความรู้สมัยใหม่เรียกว่า System analysisมี Input process output outcome กับ impactเหตุคือ input นิทานคือ process ออกมาเป็น output สมุทัย เป็น outcome คือสมุทัยปัจจัย แล้วมีผลคือ impact ความรู้ของพระพุทธเจ้ามีมาก่อนกว่า 2500 ปีมาแล้ว ในอันนี้ก็หมายเหตุว่า เพราะเวทนาดับไป ตัณหาจะพึงปรากฏได้ไหม? ก็ชี้ให้เห็นว่าจะดับตัณหาต้องดับที่เวทนา คนที่ไม่มีผัสสะ ไม่มีเวทนาปฏิบัติ จะมีตัณหาที่ไหนมาให้ปฏิบัติ มีแต่ตัณหาปลอมๆ นั่งหลับตาแล้วเป็นตัณหาในความจำ ไม่ใช่ตัณหาจริง เป็นการเพ้อฝันเอาอดีตมาคิดเอาอนาคตมาคิด ก็ปั้นได้ อุปาทานได้ในภพจะคิดเอายังไงก็ได้ จะปั้นเป็นนางงาม จะเป็นผู้ร้าย จะเป็นพระเอกก็อยู่ในความคิด ไปทำทำไมเสียเวลา คนไม่รู้ก็เสียเวลาไปข้อ 59 เพราะอาศัยเวทนาจึงเกิดตัณหา จึงเกิดการแสวงหา ไปถึงเกิดเรื่องในการป้องกันแล้วสรุปว่า เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งการแสวงหาคือ ตัณหา ต้องมาจับตัวโจรได้คือตัณหานั่นเอง ข้อนี้แสดงความเกิดของ ตัณหา (กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา)ดับตัณหาได้การแสวงหาก็ไม่เกิด การถือมีดถือไม้ทะเลาะกันก็ไม่มี ต้องดับเวทนาในส่วนที่เป็นตัณหา

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 29 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 15 กุมภาพันธ์ 2563 ( 16:21:41 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:28:57 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:12:56 )

ปฏิจจสมุปบาท

รายละเอียด

ปฏิจจสมุปบาท คือ การเริ่มต้นที่อวิชชา คนสัมผัสแล้วก็สังขารทั้งนั้น แล้วไม่รู้ว่ามันมีสังขาร 3 กาย วจี มโน  แล้วให้เรียนรู้ สังขาร มันมีอะไรปรุงแต่ง เป็นอกุศลเหตุ  คือ กิเลส หรือเรียกว่า ตัณหา  เรียกอุปทานก็ได้  ก็จับอาการตัณหาให้ได้เป็น กายกลิ เป็นสิ่งปรุงแต่ง  เป็นกิเลส เป็นตัวโทษภัย  ตัวสำคัญที่ต้องจัดการหากจับอาการกายกลิไม่ได้  ก็ไม่ได้เรียนรู้ ตัวเหตุที่ต้องกำจัด  สัมผัสแล้วพยายาม  แยกให้ออก  ตัวเหตุคือ ตัวกิเลสมันมาผสมร่วมในการปรุงแต่ง เช่น เราสัมผัสแล้วจะเกิดภาวะ 2 สัมผัสทางตา อันนี้ คือ อันนี้ แขก ไทย จีน สัมผัสอันนี้ก็รู้เหมือนกันหมดเป็นสภาวะจริง  ส่วนพยัญชนะจะเรียกนั้นก็ภาษาใครภาษามัน แต่หากว่ามีอารมณ์ร่วมด้วย  อันนี้สัมผัสแล้วชอบ สัมผัสแล้วไม่ชอบ สวยไม่สวย ดีไม่ดี  อะไรก็แล้วแต่มีภาวะซ้อนเป็นเทวะ เทวะแปลว่า 2 มันแบ่งแยก ก็อันนี้คือ อันนี้ สัจจะมีหนึ่งเดียว ถ้ารู้ก็ไม่ต้องปรุงแต่ง  ไม่มีสังขาร หากว่าปรุงแต่งสังขาร ว่าอันนี้ชอบหรือไม่ชอบก็แล้วแต่ ยึดถือว่าอันนี้สวย หรือไม่สวย  อันนี้ดี อันนี้ไม่ดี แต่ที่จริงแล้วดีหรือไม่ดี ควรหรือไม่ควรมันเป็นเหตุผลที่ควรจะต้องรู้ว่าอันนี้ควรมี ควรใช้  ควรร่วมด้วย หรือไม่ร่วมด้วย เพราะในชีวิตก็ต้องสัมผัสสิ่งเหล่านี้แล้วต้องเลือกหรือละเว้น หรือเอามาแต่สิ่งที่พอเหมาะพอควร

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต สันติอโศก วันพุธที่  2 ตุลาคม  2562


เวลาบันทึก 05 ตุลาคม 2562 ( 14:07:29 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:30:49 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:13:19 )

ปฏิจจสมุปบาท

รายละเอียด

ความเป็นการต่อเนื่อง เพราะอย่างนี้จึงเป็นอย่างนี้ ตั้งแต่ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป อายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา ภพ ชาติ ชรา มรณะ โศกะ ปริเวทะ ทุกขะ โทรมนัส อุปายาสะ

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 15 พฤศจิกายน 2562 ( 15:44:11 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:31:22 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:13:36 )

ปฏิจจสมุปบาท

รายละเอียด

ในปฏิจจสมุปบาท ผู้อวิชาไม่รู้จักสังขาร เพราะมันจะต่างกันไปหมด ระหว่างกายสังขาร วจีสังขา รจิตสังขาร

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 06 ธันวาคม 2562 ( 17:04:55 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:32:12 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:14:04 )

ปฏิจจสมุปบาท

รายละเอียด

ปฏิจจสมุปบาทเพราะว่าเพราะเหตุนี้จึงเป็นผลนี้ ต่อไปจนกระทั่ง คำต้นแล้วก็คำจบ คำต้นคืออวิชชาก็รู้คำต่อมาคือสังขาร วิญญาณ นามรูป อายตนะ ผัสสะ เวทนา(สังขารกับเวทนาอาการคล้ายกันแต่มีมิติต่างกัน สังขารหยาบ แต่เวทนาละเอียดที่ความรู้สึก สังขารมีเหตุปัจจัยมีองค์ประกอบเยอะ แต่ไปอ่านที่ความรู้สึกแล้วทำตรงนี้ นี่เป็นกรรมฐานของศาสนาพุทธแยกเวทนาที่มันมีเหตุอะไรจึงเกิดความรู้สึกโดยเฉพาะมาแยกความสุขความทุกข์ภาวะ 2 )

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 16 กุมภาพันธ์ 2563 ( 11:32:27 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 08:14:50 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:14:27 )

ปฏิจจสมุปบาท

รายละเอียด

เกิดจริงเป็นจริงตามปฏิจจสมุปบาท อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ถ้าไม่มีวิชา ความรู้ของพระพุทธเจ้าที่เป็นโลกุตระก็จะเกิดการปรุงแต่ง สร้างเรื่องขึ้นมาเรียกว่าสังขาร ปรุง ขึ้นมาเป็นเรื่องเป็นราวเป็นเนื้อหาสาระขึ้นมา เรียกว่าสังขาร มันปรุงแต่งออกมา มันก็จะปรุงแต่งด้วยอวิชชา สังขาร วิญญาณด้วยธาตุรู้ทั้งหมด ปรุงแต่งขึ้นมา ด้วยรูปกับนามหรือด้วยวัตถุกับจิต ด้วยกายกับจิต ปรุงแต่งกันขึ้นมา 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ แบบมีกษัตริย์กับไม่มีกษัตริย์ ประชาธิปไตยแบบไหนดีกว่า วันศุกร์ที่ 6 มกราคม 2566  ขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 12 มกราคม 2566 ( 13:07:09 )

ปฏิจจสมุปบาท

รายละเอียด

จะมาอธิบายเรื่องนี้ ปฏิจจสมุปบาท นี่แหละ ซึ่งเป็นเรื่องที่อาตมาอยากจะอธิบายหลายทีแล้ว อธิบายให้เห็นว่ามันเป็นเรื่องที่ต้องมีต้องรู้และปฏิบัติเสมอ ไม่ใช่เรื่องอยู่ในตำราอยู่ในตัวหนังสือ แต่เป็นเรื่องของชีวิตเลยที่เราจะต้องมีปฏิจจสมุปบาท 

ปฏิจจสมุปบาท แปลว่า การมีเหตุมีปัจจัยแก่กันและกัน เพราะอย่างนี้จึงเป็นอย่างนี้ หรือเรียกอีกคำ synonym ก็คือ อิทัปปัจจยตา หรือว่าปัจจัยการก็ได้ มันจะเป็นอย่างนี้อย่างนี้ต่อเนื่องกันไปตลอดเวลา ถ้าเราไม่เข้าใจไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท คือผู้ที่มีอวิชชาตลอดกาล เดี๋ยวจะกลับมาอธิบายรายละเอียดของปฏิจจสมุปบาท

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ วิญญาณฐิติ 7 ปฏิจจสมุปบาท และวิชชา 8 วันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2566 วันแรม 14 ค่ำเดือนยี่ ปีขาล ที่บวรสันติอโศก


เวลาบันทึก 06 กุมภาพันธ์ 2566 ( 13:13:23 )

ปฏิจจสมุปบาท

รายละเอียด

แล้วท่านก็มารู้ถึงมันเกี่ยวข้องกับโลก เกิดเป็นปฏิจจสมุปบาท ความเกิดธาตุรู้ 2 ตัวนี้ ที่วิญญาณหรือจิตนิยามนี้มันอวิชชา มันก็พาเกิด เกิดมาอย่างไม่รู้ความจริง มันเกิดอยู่อย่างไม่รู้ความจริงที่บริบูรณ์หรือสัมบูรณ์จริงๆเลย มันก็มีแต่กิเลสเพิ่มขึ้นมาปรุงแต่งขึ้นไปเป็นสังขารปรุงแต่ง แล้วก็เป็นวิญญาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 

นามรูป 2 ตัวก็ไม่รู้ต่ออีกนั่นแหละ มันก็ปรุงแต่งกันไปเป็นอายตนะ เพราะฉะนั้นอวิชชา จึงเกิดสังขาร สังขารจึงเกิดวิญญาณนามรูปจึงเกิดอายตนะ 5 ตัวนี้ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป อายตนะ 5 ตัวนี้ 

อายตนะก็คือตัวตนที่มันปรุงแต่งกันตั้งแต่ภายนอกจนกระทั่งถึงภายในเป็นตัวตนนามรูปเป็นอะไรต่ออะไร จับตัวกันเป็นตัวตน ตนคือตัวตนนี่แหละ เกิดอายตนะ เกิดทวารสองทวาร ภายนอกภายในเป็นรูปนามแล้วก็คู่กันอีก เป็น ตากระทบรูป หูกระทบเสียง จมูกกระทบกลิ่น ลิ้นกระทบรส โผฏฐัพพะกระทบภายนอก มโนกับธัมมายตนะภายใน จนกระทั่งถึงภายในเป็นคู่ที่ 6 พวกนี้พระพุทธเจ้าตรัสรู้รายละเอียดของจิต เจตสิก รูป จนกระทั่งรู้แจ้งถึงนิพพานด้วย แล้วก็นำมาเปิดเผยนำมาอธิบายขยายความให้รู้ 

ทีนี้การจะปฏิบัติ การจะเรียนรู้ต่อจากสังขาร วิญญาณ นาม รูปอายตนะ พระพุทธเจ้าก็สอนต่อว่า จะต้องรู้ด้วยผัสสะ เมื่อมีผัสสะก็เกิดเวทนา เกิดเวทนาในเวทนา แล้วก็มีตัณหา แล้วก็มีอุปาทานซึ่งเป็นเหตุสำคัญเลย คือ ตัณหากับอุปาทาน มันทำให้เกิดภพ เกิดชาติ คือ ถ้าเป็นตัณหาก็คือกิเลสกำลังเคลื่อนไหว ถ้าเป็นอุปาทานก็คือกิเลสจับตัวกัน สะสมนิ่งเป็นอุปาทานที่ยึดติดต่อไปเรื่อยๆ แล้วก็เกิดธาตุอวิชชาอยู่ มันก็สะสมภพสะสมชาติไม่มีจบไม่มีหยุดไม่มีหย่อน แต่ทาง ศาสนาเทวนิยมนี้ เขาไม่มีความรู้เรื่องนี้ ศาสนาพระเจ้าเขาไม่มีความรู้เรื่องนี้ เขาไม่มีความรู้เรื่องจิตเจตสิกรูปนิพพาน 

เมื่อเขาไม่มีความรู้ เขาก็จำนนต่อความจริง จำนนคือยังอวิชชาอยู่ แล้วอวิชชาของเขาคือเขาไม่รู้จักตัวสำคัญ เขารู้ได้ทางโลกีย์ คู่เดียวคือดีกับชั่วแล้วก็ไปดีชั่วตามสมมติ สมมุติของแต่ละกลุ่มแต่ละหมู่ไม่ตรงกันไม่เหมือนกันเลย เอาล่ะก็ดี ก็ทำจุดที่ดีที่ยึดถือกันนั่นแหละแล้วก็อยู่กันสงบอยู่กันอย่างถือว่าจะเจริญก็แล้วแต่เจริญอย่างโลกีย์เขาก็อยู่กันไป ของศาสนาพุทธก็รู้เรื่องนี้รู้ดีรู้ชัดเจนและทำได้อย่างที่อาตมาก็อธิบายไปไม่รู้กี่ทีแล้วว่า สามารถทำให้จิตนี้ทำดีไม่ทำชั่วเลยจะเกิดอีกกี่ชาติกี่ชาติก็มีหลักประกันเลย นี่สูงสุดก็เป็นโลกียนี่สูงสุดก็เป็นโลกียะ โลกียะก็ทำไม่ได้แม้แต่ทำให้ดีตามโลกียะที่สมมุติกัน จนมีธาตุรู้ที่รู้ทันโลกียธาตุ เกิดชาติไหนก็รู้ว่าดีอะไรชั่วคืออะไรแล้วไม่ทำชั่วอีกไม่ว่าจะชาติไหนชาติไหนเป็นหลักประกันที่ยั่งยืนถาวร 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ในยุคนี้ต้องมาเรียนกับพ่อครูจึงจะบรรลุอรหันต์ได้ วันศุกร์ที่ 27 มกราคม 2566 ขึ้น 6 ค่ำเดือน 3 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 25 กุมภาพันธ์ 2566 ( 12:21:21 )

ปฏิจจสมุปบาท

รายละเอียด

“ปฏิจจสมุปบาท”นั้นคือ “ภาวะ 11 เหตุที่เป็นปัจจัยกันและกัน” ซึ่งทำใหัเกิด“โศกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส” หรือคือ เกิด“ทุกข์”นั่นเอง ให้แก่ผู้“อวิชชา”อยู่ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศนาส่งท้ายปีเก่า 2566 เรื่องปฏิจจสมุปบาท ตอน 1 วันวันอาทิตย์ที่ 31 ธันวาคม 2566 แรม 4 ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 10 มกราคม 2567 ( 16:48:18 )

ปฏิจจสมุปบาท

รายละเอียด

คนผู้สามารถมี“ปัญญา”รู้จักรู้แจ้งรู้จริง“ความสุข-ทุกข์”และสามารถจัดการกับ“เหตุแห่งทุกข์”ให้หมดสิ้นไปได้อย่าง“เที่ยงแท้”เป็น“นิยตะ”ยั่งยืนตลอดไปจึงคือ “คนเจริญ”

      คนชาวโลกียะ คือ คนที่ยังไม่มีความรู้ที่เป็น“อัญญธาตุ”เกิดขึ้นในจิตแม้แต่ 1 หน่วย ก็คือ ผู้ยังเป็น“โลกียชน” หรือปุถุชนเต็มตัว ยังไม่มีเครื่องชี้บ่งความเป็น“อาริยชน” 

      ถ้ามีบ้างแล้วก็มากขึ้นจนเพียงพอถึงขั้นที่จะ“เข้าใจ” ธรรมที่เป็น“โลกุตรธรรม”ได้ ขั้น“เข้ากระแส”ก็เริ่มเป็น“อาริยบุคคล”ขั้น“โสดาบันบุคคล” เพราะมีความรู้“อื่น”ขึ้นในจิต

      “อื่น”คำนี้ ศัพท์บาลีว่า อัญญ ดังนั้น คนผู้ใดในจิตยังไม่มี“ธาตุ”ที่เป็น“อื่น”นอกไปจาก“โลกียธาตุ”ที่ตนมีอยู่เดิมแต่ไหนแต่ไรตามประสาของคนปุถุชน คนผู้นี้ก็มีแต่“เฉโก”

      คนผู้นี้ยังมี“ความรู้”วนอยู่ในกรอบของ“โลกียะ”ไม่เจริญออกไปจากกรอบเดิมมาเป็นคน“โลกุตระ”ได้เลย

      หรือไม่เจริญเป็น“อาริยบุคคล”ขึ้นมาเป็น“อื่น”ออกจากความเป็นชาว“โลกียะ”ได้ มีแต่ความรู้“เฉโก”เดิมๆอยู่

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศนาต้อนรับปีใหม่ 2567 เรื่องปฏิจจสมุปบาท ตอน 2 วันจันทร์ที่ 1 มกราคม 2567 แรม 5 ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 13 มกราคม 2567 ( 19:32:17 )

ปฏิจจสมุปบาท (อนุโลม) 11 

รายละเอียด

คือการอาศัยกันและกันเกิดขึ้น (เป็นไปตามลําดับ)

1. เพราะอวิชชา(ความหลงผิดไม่รู้กิเลส) เป็นปัจจัย (เหตุ)จึงมี สังขาร (สภาพปรุงแต่งกายวาจาใจ)

2. สังขาร จึงมี วิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์จิต)

3. วิญญาณ จึงมี นามรูป (ตัวรู้และตัวถูกรู้)

4. นามรูป จึงมี สฬายตนะ (สื่อเชื่อมต่อ 5 อย่างคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) 5. สฬายตนะ จึงมี ผัสสะ (กระทบสัมผัส)

6. ผัสสะ จึงมี เวทนา (ความรู้สึก)

7. เวทนา จึงมี ตัณหา (ความดิ้นรนปรารถนา)

8. ตัณหา จึงมี อุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น)

9. อุปาทาน จึงมี ภพ (ที่อาศัย)

10.ภพ จึงมี ชาติ (การเกิด)

11.ชาติ จึงมี ชรา (ความแก่)มรณะ (ความตาย) โสกะ (ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (คร่ําครวญรําพัน) ทุกข์ โทมนัส (เสียใจ)อุปายาส (ความคับแค้นใจ) กองทุกข์ทั้งมวลนั้นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้

 

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 4 “มหาขันธกะ” ข้อ 1


เวลาบันทึก 16 มีนาคม 2565 ( 09:03:33 )

ปฏิจจสมุปบาท 11 (สิ่งที่อาศัยกันเกิดห่วงโซ่แห่งทุกข์)

รายละเอียด

1. เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยโง่ๆ จึงก่อสังขารโง่ๆ 3
2. อาศัยสังขาร(3)  เป็นปัจจัยแก่ วิญญาณ 6
3. อาศัยวิญญาณ เป็นปัจจัยแก่ นามรูป 5
4. อาศัยนามรูป  เป็นปัจจัยแก่ อายตนะ 6
5. อาศัยอายตนะ  เป็นปัจจัยแก่ ผัสสะ 6
6. อาศัยผัสสะ  เป็นปัจจัยแก่ เวทนา 6
7. อาศัยเวทนา  เป็นปัจจัยแก่ ตัณหา 6
8. อาศัยตัณหา  เป็นปัจจัยแก่ อุปาทาน 4
9. อาศัยอุปาทาน  เป็นปัจจัยแก่ ภพ 3 (กามภพ, รูปภพ,  อรูปภพ)  
10. อาศัยภพ เป็นปัจจัยแก่ ชาติ 5 (ชาติ   สัญชาติ  โอกกันติ   นิพพัตติ   อภินิพพัตติ) 
11. อาศัยชาติ เป็นปัจจัยแก่  ชรา  มรณะ   โสกะ  ปริเทวะ  ทุกขะ  โทมนัสสะ  และอุปายาสะ 
 

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฏก เล่ม 16  ข้อ 2, ธรรมาธิบายจากพ่อครู รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 06 สิงหาคม 2562 ( 18:11:53 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:35:12 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:15:04 )

ปฏิจจสมุปบาท 11 (หลังสภาวะอรหันต์)

รายละเอียด

ปฏิจจสมุปบาท 11 (หลังสภาวะอรหันต์)

1. เมื่อดับอวิชชา จึงใช้สังขารปุญญาภิสังขารเพื่อผู้อื่น

2. มีปุญญาภิสังขาร  จึงอาศัยวิญญาณที่บริสุทธิ์ไปรู้จริง

3. มีวิญญาณ  จึงอาศัยรู้นามรูปอื่น ๆ ได้ถูกสมมุติสัจจะ

4. มีนามรูป  จึงอาศัยเพียงอายตนนิพพาน (อายตนะ 2) 

5. มีอายตนนิพพาน  จึงอาศัยเป็นอยู่กับผัสสะเพื่อผู้อื่น

6. มีผัสสะ  จึงมีเวทนาที่เป็นเพียงรับรู้สมมุติสัจจะ

7. อาศัยเวทนา  จึงมี วิภวตัณหา  (ตัณหาอุดมการณ์)

8. อาศัยวิภวตัณหา  จึงมี สมาทาน  (ไม่ใช่อุปาทาน)

9. มีสมาทาน  จึงมี ภพที่อาศัยทำงานอย่างโพธิสัตว์

110. มีภพ  จึงมี ชาติ  (การให้เกิดขึ้นเฉพาะแต่กุศลกิจ)

11. มีชาติ  จึงมีเพียง ชรา มรณะ และทุกข์ที่เลี่ยงไม่ได้  (ส่วน โสกะ - ปริเทวะ - และ อุปายาสนั้น ไม่มีแล้ว)

หนังสืออ้างอิง

หนังสือธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 07 กรกฎาคม 2562 ( 21:33:20 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 13:25:45 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:15:27 )

ปฏิจจสมุปบาท คือ ทฤษฎีสมัยใหม่

รายละเอียด

ท่านได้แจงเหตุปัจจัยปฏิจจสมุปบาทตลอดสาย ข้อ 58 ไล่เหตุปัจจัยของชรามรณะคือ ภพ ชาติ ชรา มรณะ หยุดไว้ที่เวทนา แล้วสรุปไว้ว่า เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัย แห่งตัณหา คือ เวทนานั่นเอง เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัย ในความรู้สมัยใหม่เรียกว่า System analysisมี Input process output outcome กับ impactเหตุคือ input นิทานคือ process ออกมาเป็น output สมุทัย เป็น outcome คือสมุทัยปัจจัย แล้วมีผลคือ impact ความรู้ของพระพุทธเจ้ามีมาก่อนกว่า 2500 ปีมาแล้ว 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 16 กุมภาพันธ์ 2563 ( 09:44:24 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:33:09 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:15:48 )

ปฏิจจสมุปบาท ตัวที่ 11 คือชาติ 

รายละเอียด

กลับไปสู่ปฏิจจสมุปบาท...ทวนต้นในปฏิจจสมุปบาทตัวที่ 11 คือชาติ 

ต่อจากนั้นก็เป็นชรา มรณะ โศกะ ปริเทวะ ทุกข โทมนัส อุปายาส

วนเวียนอยู่ตรงนั้น ไม่มีสิ้นไม่มีจบ ฉะนั้นจะต้องมาศึกษาชาติให้ได้ ชาติท่านแบ่งเป็น 5 ชาติ 

ชาติ สัญชาติ โอกกันติ นิพพัตติ อภินิพพัตติ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ วิธีจบนิยาม 5 จบนิยายของตนอย่างนิรันดร วันจันทร์ที่ 26 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 พฤษภาคม 2564 ( 10:37:43 )

ปฏิจจสมุปบาท นามรูป อายตนะ ผัสสะ

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นคุณต้องมี 2 เสมอ อายตนะ คือ อายะกับตนะคือนามกับรูป แล้วต้องมีตัวที่ 3 เพิ่มขึ้นคือผัสสะ 

ทีนี้ คุณไปเอาแต่ผัสสะข้างใน มนายตนะกับธัมมายตนะ  คุณต้องรู้ดีจัดการ 2 ทำให้เป็น 1 เป็น 0 ได้ภายนอกก่อน คุณจึงไปจัดการตัวนี้มันจริงๆไม่ยากนักหรอก 

มนายตนะกับธัมมายตนะ หรือ เรียกว่าธัมมารมณ์หรือเรียกว่าเวทนาของตัวธรรมะตัวสุดท้าย ความรู้สึกตัวสุดท้าย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ เจโตปริยญาณ 16 และ
ปฏิจจสมุปบาทโดยพิสดาร วันพุธที่ 21 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 27 เมษายน 2564 ( 21:18:20 )

ปฏิจจสมุปบาท วิญญาณ นามรูป อายตนะ

รายละเอียด

ปฏิจจสมุปบาท วิญญาณ นามรูป อายตนะ

วิญญาณ นามรูป อายตนะ 

ฉะนั้นวิญญาณ มันมีที่ตั้งอยู่ 5 นามรูปก็ต้องรู้ 5 คู่ ก็คืออย่าไปนับเป็น 10 ให้นับเป็น 9 มันก็จะเกิดวิญญาณ นามรูป อายตนะ การเกิดอายตนะ 

อายตนะ โดยพยัญชนะของมัน อายะ แปลว่า ประโยชน์ แปลว่า สิ่งที่ได้รับ ถ้าจะว่าไปแล้ว อายะนี่คือตัวนาม ตัว Dynamic ตนะ คือตัวตั้งตัว Static ตนะ ก็คือ ตน

อายะ คือประโยชน์ สิ่งที่ได้รับ สิ่งที่เป็นกำไร สิ่งที่ได้ ตัวคุณจะได้อะไร ก็อันนั้นแหละเป็นธาตุ 2 เทวะ ระหว่าง อายะ กับ ตนะ 

จากการมีความรู้ระหว่างวิญญาณนามรูปทำงาน 2 ตัว เป็นนามกับรูปทำงาน มีวิญญาณและวิญญาณมีที่ตั้งกระทบสัมผัสก็ต้องตรวจสภาพ 2 ให้คุณรู้ 

อายะ กับ ตนะ ก็คือ สิ่งที่คุณรู้ จะรู้ได้ใน 5 ทวารนอกเป็นคู่ 5 คู่ หมดจาก 5 คู่นอกก็ยังมีคู่ในอีกคู่หนึ่งเป็นคู่ที่ 6 

ข้างนอก 5 คุณยังเรียนไม่จบอย่าไปยุ่งกับคู่ที่ 6 มนายตนะกับธัมมายตนะ คุณอย่าเพิ่งไปยุ่ง ยุ่งแต่โผฏฐัพพายตนะ ไม่เรียกกายายตนะ เดี๋ยวจะไปซ้ำ แต่อย่าเพิ่งไปวุ่นกับ มนายตนะกับธัมมายตนะ

อายตนะ จึงกลายเป็น 2 ตัวของวิญญาณคือนามรูปนั้นเอง มันรวมสภาพสภาวะธรรม นามรูป รูปนามหรือสังขาร หรือตัววิญญาณนั่นแหละ มันไม่ได้หนีจากกันเท่าไหร่มันเกี่ยวพันกันแต่มันละเอียดขึ้น อายตนะ เราแปลว่ามันเหมือนสะพานของนามรูป ของสิ่งที่ผัสสะระหว่างสิ่ง 2 สิ่งภายนอกภายใน อย่าเพิ่งไปนึกถึงภายใน หมดภายนอกจบหมดเสร็จค่อยเหลือมนายตนะกับธัมมายตนะ อย่าไปลัดไปถึงสิ่งที่ละเอียดที่ยังไม่ถึงขั้น

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ เจโตปริยญาณ 16 และ
ปฏิจจสมุปบาทโดยพิสดาร วันพุธที่ 21 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 27 เมษายน 2564 ( 21:11:22 )

ปฏิจจสมุปบาท สังขาร วิญญาณ นามรูป

รายละเอียด

เริ่มมีวิชชาก็เป็นสังขาร วิญญาณ นามรูป สามเส้า เลื่อนชั้นออกมา  ก็ใช้นามรูปมาเรียน ใช้เทวะมาเรียน อย่าไปใช้คำว่า 1 มาเรียน ที่อาตมาเรียกว่าหัวใจของศาสนาอยู่ที่พระไตรปิฎกเล่ม 10 ข้อ 60 ธรรมทั้งสองเหล่านี้ รวมเป็นอันเดียวกันกับเวทนา โดยส่วนสอง (เทฺว ธมฺมา ทฺวเยน เวทนาย เอกสโมสรณา ภวนฺติ ฯ )  ล.10 ข.60 ให้จับตัวเวทนาเป็นที่ตั้ง เป็นกรรมฐานของศาสนา หัวใจของศาสนา เวทนาเป็นหัวใจของศาสนา ไม่มีเวทนาก็ปิดประตูเลย 

นั่งหลับตาปฏิบัติเป็นวิญญาณสัมภเวสี ไม่มีที่ตั้งของวิญญาณ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ซึ่งต้องเรียนรู้นามรูป 28 ท่านก็สอนแล้ว โคจรรูป วิสยรูป 5 คู่ แต่มันมีธาตุรู้ที่ซ้ำกันก็นับเหลือ 9 คือ กายเป็นตัวกลาง เพราะกายคือจิต จิตคือกาย โผฏฐัพพะ เป็นคู่ แล้ว 4 นี่ต้องมีตัว1 ตัวจิตนี้ร่วมไปหมด ธาตุรู้ 4 คู่ต้องมีใจร่วมไปด้วย ทั้งหมดก็เลยเป็น 9 

จากปฏิจจสมุปบาทเป็นนามรูปแล้ว ก็ขยับไปเรียนวิญญาณ นามรูป อายตนะ เลื่อนไปเรื่อยๆ อย่าไปติดแต่บัญญัติภาษาเอาไปอ่านสภาวะให้เก่ง 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ เจโตปริยญาณ 16 และ
ปฏิจจสมุปบาทโดยพิสดาร วันพุธที่ 21 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 27 เมษายน 2564 ( 21:07:10 )

ปฏิจจสมุปบาท อวิชชา สังขาร วิญญาณ

รายละเอียด

เพราะอวิชชาจึงไม่รู้จักสังขาร สังขารมันก็มีวิญญาณเป็นปัจจัย เขารู้เขาขานชื่อพยัญชนะว่าวิญญาณ แต่เขารู้แต่วิญญาณ แต่เขาตีวิญญาณไม่แตก เพราะว่ามันเป็นธาตุรู้ที่เป็นธรรมะ 2 ก็คือ เขาแยกวิญญาณไม่เป็น แยกสองไม่เป็น แล้วห้ามแยกด้วย เพราะว่าพระเจ้าผู้เป็นเจ้าของ 2 นี้ไม่เรียน 2 เรียนแต่ความเป็น 1 ให้แน่นที่สุด จบที่สุด รู้ที่สุด แล้วก็เอามาอธิบาย แตกเท่าที่รู้ ตัวเองมีเท่าไหร่ก็เอามาสาธยาย 

ตายคืออย่างไร ความตายของวิญญาณ ความตายของจิตคืออย่างไร พระพุทธเจ้าก็รู้ความจริงของจิต พลังงานของจิตก็คือสังขารปรุงแต่งกันอยู่ แยกมันออกได้ เพราะฉะนั้นต่อจากอวิชชา สังขาร วิญญาณ คุณอวิชชาก็เลยไม่รู้สังขาร ก็เลยไม่รู้วิญญาณที่เป็นการปรุงแต่งของธาตุ ของเหตุปัจจัย ไม่รู้เพราะไม่ให้แยก 

พอมาปลดอวิชชาก็รู้ สังขารต้องแยกเป็น 2 เพราะฉะนั้นวิญญาณต้องแยกเป็น 2 คุณก็ใช้ 2 เป็นตัวเรียนรู้ ก็เลยได้เกิดเป็นตัว 2 คือ นาม รูป 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ เจโตปริยญาณ 16 และ
ปฏิจจสมุปบาทโดยพิสดาร วันพุธที่ 21 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 27 เมษายน 2564 ( 20:56:04 )

ปฏิจจสมุปบาท อายตนะ ผัสสะ เวทนา

รายละเอียด

เมื่อเราเข้าใจอายตนะก็คือ 2 ทีนี้อายตนะจะเกิดได้ต้องมีผัสสะ ถ้าไม่มี
ผัสสะอายตนะไม่เกิด อายตนะที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้เลยว่าไม่ตั้งอยู่ ณ ที่ใด มีอยู่ในปัจจุบันเท่านั้นเหมือนกันกับคำว่าบุญ บุญมีในปัจจุบันเท่านั้นเป็นปัจจุบันชาติเกิดอยู่ที่ปัจจุบัน หมดปัจจุบันไปไม่มีบุญไม่มีอายตนะ อยู่ที่ไหนก็ไม่มี 

ผัสสะ จะไปบอกว่ามีแต่ปัจจุบันก็ได้ คล้ายกัน แต่ต้องมีผัสสะ ตัวนี้เป็นตัวบังคับ ถ้าไม่มีผัสสะอายตนะไม่มี เวทนาไม่มี เป็นสามเส้า อายตนะ ผัสสะ เวทนา

เวทนา จึงเป็นตัวตั้งที่เป็นฐานที่จะเรียน จึงเรียกว่าวิญญาณฐิติ วิญญาณเรียนที่ตัวเวทนาคือฐีติ ของวิญญาณ เวทนาเป็นที่ตั้งของวิญญาณ ถ้าคุณไม่มีที่ตั้งทางตาหูจมูกลิ้นกายคุณก็เป็นวิญญาณสัมภเวสี คุณจะมีวิญญาณคุณต้องมีที่ตั้งกระทบสัมผัส มีผัสสะแล้วก็เกิดอายตนะคู่นามรูป แล้วเรียนรู้ได้ เรียนทีละคู่ ของตา ของหู ของจมูก ของลิ้น ของกาย บอกแล้วนะว่าใจเอาไว้ก่อน ให้จบกาย 5 นี้ก่อนเถอะ เหลือใจคู่สุดท้าย มนายตนะกับธัมมายตนะ เอาไว้ทีหลัง ไปเรียนลัดไม่ได้เรื่องเลย

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ เจโตปริยญาณ 16 และ
ปฏิจจสมุปบาทโดยพิสดาร วันพุธที่ 21 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 27 เมษายน 2564 ( 21:16:28 )

ปฏิจจสมุปบาท(อนุโลม) 11

รายละเอียด

คือการอาศัยกันและกันเกิดขึ้น (เป็นไปตามลำดับ)

1. เพราะอวิชชา (ความหลงผิดไม่รู้กิเลส) เป็นปัจจัย (เหตุ) จึงมีสังขาร (สภาพปรุงแต่งกายวาจาใจ)

2. เพราะสังขารเป็นปัจจัย  จึงมีวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์จิต)

3. เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย  จึงมีนามรูป (ตัวรู้และตัวถูกรู้)

4. เพราะนามรูปเป็นปัจจัย  จึงมีสฬายตนะ (อายตนะ 6– ภาวะเชื่อมต่อระหว่างรูปกับนาม 6 ภาวะ ของ ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ)

5. เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย  จึงมีผัสสะ (สัมผัส)

6. เพราะผัสสะเป็นปัจจัย  จึงมีเวทนา (ความรู้สึก)

7. เพราะเวทนาเป็นปัจจัย  จึงมีตัณหา (ความดิ้นรนปรารถนา)

8. เพราะตัณหาเป็นปัจจัย  จึงมีอุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น)

9. เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย  จึงมีภพ (ที่อาศัย – ได้แก่กามภพ  รูปภพ  และอรูปภพ)

10. เพราะภพเป็นปัจจัย  จึงมีชาติ (การเกิด - กิเลสเกิดบทบาทในมโนกรรม)

11. เพราะชาติเป็นปัจจัย  จึงมีชรา (ความแก่) มรณะ(ความตาย) โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ(คร่ำครวญรำพัน) ทุกข์โทมนัส(เสียใจ) 

อุปายาส(ความคับแค้นใจ)  กองทุกข์ทั้งมวลนั้นย่อมเกิด  ด้วยประการฉะนี้       

ที่มา ที่ไป

 พระไตรปิฎกเล่ม 4  “มหาขันธกะ”  ข้อ 1  และ  เล่ม 16   “เทศนาสูตร ข้อ 2

หนังสืออ้างอิง

หนังสือธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 07 กรกฎาคม 2562 ( 21:27:21 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 13:28:44 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:16:28 )

ปฏิจจสมุปบาท 

รายละเอียด

ปฏิจจสมุปบาท  คือ ความต่อเนื่อง ทำให้เกิดภาวะคือ ผู้มีวิชชา  จะรู้สังขาร แล้วจะรู้วิญญาณ ปัจจัยของวิญญาณ คือ นามรูป  นามรูปต้องมีอายตนะ อายตนะต้องมีผัสสะ  ผัสสะแล้วเกิดเวทนา เวทนาเป็นแกนหลัก ตัวกลางของปฏิจจสมุปบาท เป็นกรรมฐานแลย

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต สันติอโศก วันพุธที่  2 ตุลาคม  2562


เวลาบันทึก 05 ตุลาคม 2562 ( 13:45:42 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:36:36 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:16:47 )

ปฏิจจสมุปบาทคือวงจรการเกิดดับทั้งมวล

รายละเอียด

วิภังคสูตร เล่ม 8 

[4] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายเราจักแสดง จักจำแนกปฏิจจสมุปบาทแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟังปฏิจจสมุปบาทนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ

[5] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาทเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติเพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข์โทมนัสและอุปายาสความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

นี่คือความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า แต่พระศาสดาของศาสนาทั้งหลายจะไม่รู้เรื่องนี้ แล้วศาสดาทั้งหลายก็สอนแต่ดีละชั่ว ศาสดาทุกศาสดา ผู้รู้ทุกผู้รู้คนโลกีย์ทั้งหลายก็สอนอย่าทำชั่วทำแต่ดี ละชั่วประพฤติดี สอนอยู่อย่างนั้นแหละ พระพุทธเจ้าก็ผ่านการสอนการเรียนอย่างนั้นมาทั้งนั้น แม้แต่การยึดตัวยึดสมมุติ สมมุติมีขึ้นมาก็ไม่ตรงกัน ต่างสมมุติต่างหมู่กลุ่ม แม้แต่ต่างแต่ละบุคคลก็สมมุติความชั่วความดีไม่เหมือนกัน อาจจะคล้ายกันหรือเรียกแทนกันเลยว่าอันเดียวกัน ดีตรงกันชั่วตรงกัน สมมุติตรงกัน อย่างไรก็ตาม มันก็ยังมีสิ่งที่มีนัยยะสำคัญ มีมิติที่ละเอียดลึกซึ้งไม่ตรงกัน แต่เอาเถอะเขาก็ต้องรู้เท่านั้น 

พระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาททั้งหลาย จึงเป็นความรู้ที่รู้จบรู้ครบรู้บริบูรณ์ของการเกิดทั้งหลายของการดับทั้งหลาย 

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปฏิจจสมุปบาท ชาติ 5 โดยพิสดาร วันจันทร์ที่ 19 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 25 เมษายน 2564 ( 12:13:24 )

ปฏิจจสมุปบาทดับชาติได้ที่ตรงไหน

รายละเอียด

หยิบเนื้อหาสาระแท้ของปฏิจจสมุปบาท มาอธิบาย 

ขึ้นต้นด้วยอวิชชา ลงตัวสุดท้ายของปฏิจจสมุปบาท  ตัวปลายคือชาติ หากไม่พ้นอวิชชา ไม่รู้จักชาติ ไม่รู้การดับชาติ ไม่ให้มีชาติได้ คุณไม่จบ อรหันต์จะต้องหมดอวิชชา แล้วก็จะต้องดับชาติได้จริงๆ ดับแม้ปัจจุบันนี้ คุณก็ดับชาติในปัจจุบันนี้ได้เช่น 

ดับชาติที่เป็นจิตนิยามโง่ๆที่เป็นอวิชชา เหลือแต่จิตที่เป็นวิชชา ดับได้เดี๋ยวนี้ เช่นมันไปโง่กับเวทนา เวทนามี 2 ถ้าได้ศึกษา 2 ไปทีละคู่ เรียกว่า เทวะ แปลว่า 2 แปลว่าคู่ เลือกไอ้ที่มันถูกไอ้ที่มันดีไอ้ที่มันต้องอาศัย ไอ้ที่อย่าอาศัยดับหรือ เหลือเอกัคคตา 1..1..1เสมอ  คุณยังไม่ปรินิพพานยังไม่ปริโยสานคุณต้องมีเครื่องอาศัย อาศัยชีวะ อาศัยธาตุรู้ อาศัยวิญญาณ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า งานอโศกรำลึก 2564 ผู้พ้นอสุรกายจึงได้ไปอยู่โลกหน้า วันพุธที่ 9 มิถุนายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 03 สิงหาคม 2564 ( 20:30:51 )

ปฏิจจสมุปบาทถึงมูลสูตร 10 โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

รายละเอียด

ประเด็นที่ถามก็คือ ถามตัวท้าย กลุ่มสุดท้ายตั้งแต่คำว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ที่นอก 11 ข้อแล้ว เลยคำว่า ชาติ ไปแล้ว ก็คงอยากให้อธิบายคำว่า

โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ว่า มันแตกต่างกันอย่างไร ก็พอฟังวันนี้ก็ได้

ก่อนที่จะอธิบายอันนี้ก็คือว่า ถ้าเผื่อว่าปฏิบัติไม่บรรลุ ไม่บรรลุธรรม ไม่เป็นวิชชา เมื่อไม่เป็นวิชชาดับชาติไม่ได้ ตัวสุดท้ายของ ปฏิจจสมุปบาท ดับชาติไม่ได้ก็ย่อมเกิดและก็มี โศกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ อยู่ตลอดไป
สรุปก็คือทุกข์ทั้ง โสกะหรือโศกเศร้า ปริเทวะ คือความพิรี้พิไรเนื่องต่อไม่รู้จักขาดจักสูญหายก็ยังมี ทุกขะ สรุปลงไปที่หนักหนาสาหัสก็คือทุกข์ โทมนัสก็เบากว่าทุกข์ อุปายาสะ ก็เหลือเศษเสี้ยวเหลือเล็กเหลือน้อย เหลืออะไรที่มันยังไม่มีจบสิ้น นั่นคือ โศกะ แตกต่างตามอธิบายไปอย่างนี้

สรุปอีกทีหนึ่งก็คือ มวล โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส นั้น สรุปแล้วก็คือทุกข์ที่ยังไม่จบ จบไม่ได้ เพราะดับความเป็นชาติไม่ได้ ดับความเกิดไม่ได้

ทีนี้ดับความเกิดนี่ ของพระพุทธเจ้านี้ไม่ต้องไปดับความเกิดทั้งหมด สภาวะการเกิดมันจะมี 2 ดับเหตุ มันก็จบ

ทีนี้คนที่ไม่รู้จักความจริง คำว่าเหตุ มันจะมีอีกคำคือคำว่าผล ไปเมามัวงมงายจะดับแต่ผล ไม่ดับเหตุกัน เช่น เขาดับทุกข์ ชาวพวกหลับตาปฏิบัติหรือพวกมิจฉาทิฏฐิไปมัวแต่จะดับทุกข์ และก็ไม่เข้าใจว่าทุกข์มาจากเหตุ เหตุที่ 1 เหตุที่ 2 เหตุที่ 3 เหตุที่ 4 เป็นลำดับแต่เขาไม่รู้ จะไปดับเอาตัวปลายตัวผลคือทุกข์ ไม่ใช่ไปดับเหตุแต่ไปดับตัวผลคือจะต้องดับทุกข์ เข้าใจว่าทุกข์นี่แหละมันเป็นตัวการ ทุกข์นี่แหละเป็นผลก็เลยเผินๆไปดับทุกข์ วิธีการก็เลยไปคิดหาแต่วิธีการที่จะไปดับผลหรือดับทุกข์ 

ดับตัวทุกข์นั่นแหละ มันเวทนานั่นแหละมันเป็นตัวสภาพแท้ เป็นสัจจะของความรู้สึก ของอารมณ์ ทุกข์สุขมันอยู่ที่เวทนา แต่เขาเข้าใจจิตเจตสิกต่างๆ แบ่งเวทนาออกจากจิต มาเรียนรู้เป็น 2 ไม่ได้ เป็นจิตเจตสิกต่างๆออกไม่ได้ 

ที่แบ่งจิต เจตสิกออกเป็น 2 ก็คือ ของพระพุทธเจ้าจะต้องเรียนรู้สภาวะ 2 เสมอ  เพราะมันแยกออกมา ถ้าดับ 2 โดยดับเหตุ ๆๆๆ จนหมดเหตุถึงสุดท้าย ถึงมูลกา ถึงรากมันหมดสุดเลย ดับเหตุจนสุดราก มันจะหมด 

เพราะฉะนั้นธรรมะของพระพุทธเจ้าจึงลึกซึ้งไปถึงที่สุด ถึงมูลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ที่มูลสูตร 10 ถ้าเข้าใจองค์ประกอบถึงราก 10 ตัวนี้ ตั้งแต่ฉันทะเป็น มูลกา ฉันทะเป็นรากทั้งหมด ตัวต้น แล้วมีมนสิการ(การทำใจในใจ) เป็นแดนเกิด เป็นสัมภวะหรือปภวะ เพราะต้องทำใจในใจให้เกิด ใช้ศัพท์ว่า สัมภวะ แปลว่าแดนเกิด ตรงที่มันพาเกิด จุดที่ภพชาติเกิด ภว สัมภวะ คือภพชาติ

ต้องทำใจในใจถึงจะเกิดตรงนี้ เกิดคืออะไรอีกเเหละ เกิด คือ ตาย คือทำให้กิเลสตายแล้วจิตจะเกิดใหม่ ทำใจคือทำใจให้เป็นใจใหม่ ใจเก่าคือมันมีกิเลสมาผสม ต้องทำให้กิเลสตาย จิตจึงจะเกิดใหม่เป็น สัมภวะ

เพราะฉะนั้นถ้าทำไม่ถูกต้องมันก็ไม่สัมมาทิฏฐิ ถ้าทำถูกต้องจะสำเร็จ พระพุทธเจ้าแจกละเอียดต่อไปอีก มนสิการเป็นสัมภวะ

ผัสสะเป็นเหตุเกิด ผัสสะเป็นสมุทัย สมุทัยตัวนี้ไม่ใช่สมุทัยของอาริยสัจ 4 สมุทัยตัวนี้เป็นสมุทัยตัวภาคปฏิบัติ มีผัสสะ 

เมื่อปฏิบัติต้องมีผัสสะจริงๆ จึงจะเกิดเวทนา เพราะฉะนั้นผัสสะจึงเป็นเหตุเกิดที่จะปฏิบัติถูกต้อง ถ้าไม่มีผัสสะเป็นเหตุพาเกิด เกิดอะไร เกิดเวทนา เพราะฉะนั้นตัวต่อมาจึงมีผัสสะเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง เพราะฉะนั้นจัดการอยู่ที่เวทนานี้ 

สโมสรณา แปลว่าที่ประชุมลง ก็คือจัดการกับเวทนาทั้งหมดนี่ให้สำเร็จลง ให้มันรวมลงได้ ให้มันสรุปลงได้ หรือให้มันจบลงได้ที่เวทนา ให้รวมลงได้ ให้สรุปลงได้จบลงได้ จบลงได้เป็น 1 จาก 2 เป็น 1 จากเวทนา 2 ทำให้เป็นเวทนา1 ได้อาศัยเวทนา1 แล้วก็ยังสามารถทำให้เวทนา 1 เป็นเวทนา 0 ได้อีก อย่างนี้เป็นต้น 

นี่คือทำลงไปให้มันหมดจบได้ เพราะฉะนั้นผู้ที่ทำเวทนา สรุปลง ประชุมลงสรุปลง จบลง สำเร็จได้ ก็เป็นจิตสะอาด จิตบริสุทธิ์สะอาดจากกิเลส เมื่อสะอาดจากกิเลสแล้วก็ตกผลึก 

จากเวทนาลงมาเป็นสมาธิ สมาธิแปลว่าความตั้งมั่นของจิต เพราะฉะนั้นความตั้งมั่นของจิตของพุทธศาสนาไม่ใช่ไปสะกดจิตเอาแต่กิเลสก็ยังเขรอะอยู่เลยแล้วก็สะกดจิตให้หยุดนิ่งแข็ง ก็ไปเรียกว่าสมาธิ นั่นเป็นของเดียรถีย์ ของพระพุทธเจ้านั้นล้างกิเลสหมดอย่างที่อธิบายมาถึงอุเบกขาเวทนา เป็นเวทนา ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา เป็นองค์ธรรม 5 ของ เนกขัมสิตอุเบกขาเวทนาทำให้จบถึงขั้นอุเบกขา แล้วสั่งสมเป็นจิตบริสุทธิ์ จิตบริสุทธิ์สั่งสมตกผลึกเป็นอาเนญชาๆๆ หรือ จิตที่บริสุทธิ์อย่างนี้คือจิตที่เรียกด้วยศัพท์ตัวหนึ่งว่า สมาหิตะหรือสมาหิโต เป็นสมาธิของพุทธ เป็นตัวเกือบสุดท้ายของ เจโตปริยญาณ 16 สมาธิหรือสมาหิโต อสมาหิโต แล้วก็ วิมุติ อวิมุติ จบท้ายด้วยวิมุตติญาณทัสนะ ส่วนสมาธิเป็นตัวรู้เป็นจิตบริสุทธิ์สะอาดแล้วตรวจสอบด้วยญานกับวิมุติว่าหลุดพ้นหรือไม่หลุดพ้นจริง ก็ใช้ศัพท์ภาษาไทยสภาวะก็คือวิมุตติญาณทัสสนะ  ถ้าเป็นภาษาบาลีจริงๆก็คือวิมุตติญาณทัสนะตรวจสอบให้เห็นจริงเห็นจังด้วยปัญญา 

เมื่อสามารถทำให้จิตเป็นสมาธิ หรือ สมาหิโต จิตที่ตั้งมั่นแบบของพระพุทธเจ้าเพราะหมดกิเลส แล้วก็ตกผลึก ๆๆๆ ผนึกกันแน่นเป็น อาเนญชา อาเนญชายิ่งขึ้นๆๆ ยิ่งไม่มีทางที่จะเปลี่ยนแปลง ไม่หวั่นไหวยิ่งขึ้นๆ เป็นอาเนญชา 

จิตนี้แหละเป็นประมุข จึงเรียกว่า สมาธิเป็นประมุข เป็นหัวหน้าใหญ่ของจิตได้เลย เพราะฉะนั้นจิตเป็นประมุขนี้คือจิตที่เป็นแก่นแกน เป็นสาระแท้ของศาสนาของพระพุทธเจ้า มีสติเป็นใหญ่ มีปัญญาเป็นยิ่ง ท่านแปลเป็นไทยตามสำนวนท่านอยู่ในพระไตรปิฎกว่า มีสติเป็นอธิปไตย มีปัญญาเป็นอุตระ ภาษาบาลีเขาเป็นอย่างนั้น แต่ท่านไปแปลเป็นไทยว่า เป็นใหญ่กับเป็นยิ่ง 

ทีนี้ขยายความมีสติเป็นอธิปไตยคืออำนาจ มีปัญญาเป็นอุตระหรืออยู่เหนือ อุตระคืออยู่เหนือ พลังคืออำนาจ ไม่ใช่อำนาจบาตรใหญ่ พลังคือจะมี สตินี้เป็นตัวตื่น สติเป็นตัวตื่นเต็ม ตื่นทั้งกาย วาจา ใจ ตื่นรอบถ้วน ไม่ใช่ไปตื่นอยู่แต่ข้างในจิตในภวังค์ ตื่นทั้งนอกทั้งในพร้อมหมด ร้อย สติมาจากรากศัพท์คือ สติคือร้อย ตื่นเต็ม

ตื่นเพราะเป็นจิตที่ยิ่ง เป็นตัวธาตุรู้ จิตที่เป็นตัวธาตุรู้ที่รู้ยิ่ง ใส ยิ่งสะอาด ยิ่งสว่าง ยิ่งรู้รอบ รู้เร็ว รู้ครบ รู้บริบูรณ์ รู้ได้อย่างสดชื่นเบิกบานด้วย และจิตเช่นนี้แหละ มีลักษณะอยู่เหนือโลกีย์ อยู่เหนือโลกอยู่เหนือโลกีย์ขึ้นไปเรื่อยๆ โลกหยาบ โลกกลาง โลกละเอียด โลกที่ มนุษย์หรือคนทั้งหลายแหล่เขายังติดยังยึดก็หลุดพ้นไปได้ละเอียด ตั้งแต่ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ก็บริบูรณ์ บริสุทธิ์ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งอยู่เหนือไม่ใช่ไปข่ม แต่มีปัญญาเป็นอุตระ ไม่ได้ไปเบ่งไปข่ม แต่มีน้ำใจเกื้อกูล เอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือ มีเมตตา 

ใช้สำนวนใช้ภาษาเท่านั้นว่า อยู่เหนือ อยู่เหนือเป็นผู้ที่คุ้มครองดูแล ช่วยเหลือ เกื้อกูล เอื้อเฟื้อ ไม่ใช่อยู่เหนืออย่างไปเบ่ง ไปข่ม      ไปชิงอำนาจ เพราะฉะนั้นคุณสมบัติหรือคุณลักษณะที่ยิ่งใหญ่ ของความอยู่เหนือนี่มันจึงเป็นคุณลักษณะที่สุดวิเศษ 

มีปัญญาเป็นอุตระ มีวิมุติเป็นแก่น แก่นคือสาระแท้ๆของเนื้อแท้ของศาสนา ที่เรียกว่า แก่น แปลเป็นไทยว่าแก่น บาลีว่า สาระ 

เพราะฉะนั้นผู้ที่ได้อันนี้แล้วได้แก่นของศาสนาพระพุทธเจ้า แก่นนี้คือวิมุติ ได้แล้ว คนนี้ก็เป็นอมตบุคคล คือเป็นผู้ที่จะทำเกิดทำตายของตัวเองได้ จะเกิดจะตายของตัวเองได้ และตายได้เกิดได้ จะเกิดจะตายแบบเกิดอยู่ไม่ยอมตายไปทีเดียว หรือจะตายไม่เกิดเลย 

ตายไม่เกิดเลยหมายความว่า ตายอย่างแยกธาตุจิตวิญญาณเป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม ไปเลย แยกธาตุจิต เป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม ไปเรียบร้อย หมด จบ อวสานเลย จิตวิญญาณหายไปจากกาละ หายไปจากความเป็นกาละ

กาละก็คือ ไอ้ที่มันจะมีการเคลื่อนที่อยู่ในมหาจักรวาลนี้ อยู่ในดวงดาวทั้งหลายแหล่นี้ มีอะไรอยู่ในอวกาศนี้  เคลื่อนอยู่ หายไปจากอันนี้เลย จิตวิญญาณนี่แหละหรืออัตภาพของผู้นี้ หายตัวไปเลย ตัวเองก็สลายตัวเองเป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม จิตวิญญาณนั้นก็สิ้นสุด ถ้าจบอันนี้แล้วจะฟื้นอีกฟื้นไม่ได้ จะฟื้นกลับมาอีกไม่ได้ อันนี้เป็นจบสุดแห่งที่สุดของศาสนาพุทธ จึงเรียกว่า ปรินิพพานเป็นปริโยสาน จึงเรียกว่าปรินิพพานตายอย่างรอบถ้วน เป็นอวสาน อวสานคือจบจริงๆ นี่คือ รากหรือมูลกา 10 มูลสูตร 10 ของพระพุทธเจ้า อยู่ในพระไตรปิฎกเล่ม 24 ข้อ 58 

อาตมาเห็นว่า โอ้โห.. อันนี้เป็นหลักฐาน หลักฐานของความรู้พระพุทธเจ้า ไม่มีสุดยอดอะไรที่จะสุดยอดกว่านี้อีกแล้ว เรียกว่าพูดกันถึงรากเลย พูดกันถึง root แห่ง root เลย นี่เป็นสัจจะ

ถามมาหน่อยเดียวอาตมาอธิบายไปซะยาวเลย ปฏิจจสมุปบาทโยงไปถึงมูลสูตร 

ปฏิจจสมุปบาท เดี๋ยวจะอธิบายต่อ อาตมาเขียนไว้ดีนะอันนี้        ปฏิจจสมุปบาทอันนี้ได้ไม่ถึง100 หน้าหรอก คงจะพิมพ์เป็นเล่มน้อยๆได้ อาตมายังรู้สึกชมเชยตัวเองที่จริงอาตมาจบแล้วนะ ปฏิจจสมุปบาทที่เขียนเจตนาจะจบ จริงๆแล้วแค่ 52 หน้าเอง โอ้โห ของท่านพุทธทาสเขียนปฏิจจสมุปบาทเล่มใหญ่ แต่อาตมาเขียน 52 หน้า ซึ่งสรุปไว้อย่างดี จะเขียนให้ได้เป็นเล่มก็ได้ แต่ว่าอันอื่นๆดีกว่า ขยายความไป ไว้ค่อยติดตามอ่าน งานการที่ทำไว้ผู้ที่เห็นคุณค่าก็คงเห็น ผู้ที่ไม่เห็นคุณค่าก็ทิ้งไปก็ไม่มีปัญหาอะไร อาตมามีหน้าที่ทำงานทิ้งไว้ในโลก ใครเห็นคุณค่าก็เก็บรักษา อาตมาไม่ได้แต่มีการกำหนดหมายอะไร 

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปฏิจจสมุปบาท ตอน 4 วันพุธที่ 17 มกราคม 2567 ที่ บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 16 มีนาคม 2567 ( 20:06:58 )

ปฏิจจสมุปบาทวงจรชีวิตของผู้อวิชชา

รายละเอียด

ปฏิจจสมุปบาท ถ้าคนเข้าใจแล้วก็จะรู้ครบ ก็แปลว่า วงจรของชีวิตของผู้อวิชชา ไม่รู้จักสังขาร พอไม่รู้จักสังขารมันมีวิญญาณเป็นปัจจัย เมื่อไม่รู้วิญญาณเป็นปัจจัยก็เพราะว่าไม่รู้จักนามรูปเป็นปัจจัย ไม่รู้นามรูปเป็นปัจจัยก็ไม่รู้อายตนะเป็นปัจจัย ไม่มีอายตนะเป็นปัจจัยเพราะว่าคุณไม่ได้สัมผัสภายนอกภายใน เช่นคุณไปหลับตา คนไปหลับตานี้ไม่มีสัมผัสภายนอก เพราะฉะนั้นจึงไม่มีวงจรปฏิจจสมุปบาทอะไรไปปฏิบัติไม่มีเวทนา

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาพาถลกหนังพญานาคจอมหลับตา วันพุธที่ 26 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 22 พฤษภาคม 2565 ( 14:28:48 )

ปฏิจจสมุปบาทสามเส้า

รายละเอียด

นามรูปนี้มีสามเส้า จะรู้กัน อายตนะ ผัสสะ เวทนา สามเส้านี้ปฏิจจสมุปบาท มีผัสสะอายตนะก็เกิดแล้วศึกษาเวทนา หากอายตนะผัสสะนามรูป สองตัวนี้สัมผัสกันก็เกิดอายตนะ คือ นามรูป อายตนะ ผัสสะ พออายตนะ ผัสสะ เวทนา พอผัสสะก็เกิดอายตนะเกิดเวทนา วิญญาณ นามรูป อายตนะ ผัสสะ เวทนา เพราะฉะนั้นตัวจบพระพุทธเจ้าท่านสอนให้อ่าน อาหาร 4 วิญญาณมีนามรูปปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป จบ หากเข้าใจ สามเส้า วิญญาณต้องเรียนรู้จักนามรูป จึงมีวิญญาณให้เกิดเรียนรู้ หากไม่มี 2 อย่างนั้นไม่มีวิญญาณเกิดหรอก ทีนี้ก็แตกวิญญาณออกเป็นเวทนา สัญญา สังขาร คุณก็เรียนครบ 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 10 มีนาคม 2563 ( 09:06:05 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 08:23:23 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:17:16 )

ปฏิจจสมุปบาทโดยพ่อครู ตอน 4

รายละเอียด

ต่อปฏิจจสมุปบาทที่ได้อ่านไปแล้วถึง 18 หน้า ชาวโลกุตระจึงจะมี“ปัญญา”รู้ว่า “สุข-ทุกข์”เป็นมายา“สุข-ทุกข์”เป็น“อุปาทาน” เป็นความ“ติดยึด”ทางจิตวิญญาณ ซึ่ง“พลังงานทางจิต”เป็น“ชีวะ”แล้วเริ่มมีภาวะตั้งแต่ขั้น“เจตสิก”ขึ้นไป สู่“จิต” สู่“วิญญาณ”เต็มสภาพ แล้วก็เคลื่อนไหวออกมาเป็น“ตัณหา”ทำหน้าที่ตั้ง แต่หยาบสุดคือ “กามตัณหา” 

ถ้าคนผู้อวิชชาที่“ไม่รู้”เรื่อง“กาม”ก็จะ“ใคร่อยาก”ดึง ดูดแย่งชิงมาให้ตน“เสพสุข” หรือ‘ใคร่อยาก”ผลักดันออกไป ถึงขั้นทำลายทำร้ายฆ่าแกงกันทีเดียว ด้วย“ความไม่รู้ (อวิชชา)”

“ความไม่รู้”นี้ศัพท์บาลีว่า “อวิชชา” ซึ่งใน“วิญญาณ” ของสัตว์โลก จะสะสมใส่จิตวิญญาณของตนโดยย“ความไม่รู้” นั่นแหละ จนกว่าจะได้พบ “ศาสนาพุทธ” ได้พบ “คนชาวพุทธ” ได้ฟังธรรมขั้น “โลกุตระ”จากผู้รู้ที่“สัมมาทิฏฐิ” หรือจาก“สัตตบุรุษ” ยิ่งได้ฟังจากพระพุทธเจ้าก็ยิ่งโชคดีสุดยอด

“อวิชชา”จะตกผลึกสะสมอยู่ใน“อาสวะ”“อาสวะ”คือ กิเลสที่นอนเนื่องในจิตฝังสันดานอยู่จึงต้องชำระละล้าง“กิเลส”ออกไปจากจิตให้หมดสิ้น“อาสวะ” จะได้หมด“โง่”งมงาย หายซมซาน อยู่กับ“สุข” “กิจ”ยิ่งใหญ่สำคัญในความเป็นคนคือ สิ่งนี้

“อวิชชา”ซึ่งเป็น“ความไม่รู้”ที่พระพุทธเจ้าทรงแยกแยะไว้ คือ  (1)ไม่รู้ทุกข์  (2)ไม่รู้เหตุให้เกิดทุกข์  (3)ไม่รู้ความดับทุกข์  (4)ไม่รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ (5)ไม่รู้ในส่วนอดีต (6)ไม่รู้ในส่วนอนาคต (7)ไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและอนาคต (8)ไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาท ว่า สิ่งทั้งหลายอาศัยกันและกันเกิดขึ้น

ถ้า“ดับเหตุให้เกิดทุกข์”ไปหมดสิ้นพ้น“อวิชชาสวะ 8”ได้ก็ถือว่า “จบกิจ”แล้วสำหรับเรื่อง“โง่”งมงายสำหรับมนุษย์

“อวิชชาสวะ 8”นั้นแบ่งออกเป็น ก.“กิจ” คือ “อาริยสัจ 4” ได้แก่ (1)ไม่รู้ทุกข์  (2)ไม่รู้เหตุให้เกิดทุกข์ (3)ไม่รู้ความดับทุกข์  (4)ไม่รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

ก.“กาล” คือ “ภาวะของวาระเวลา” ได้แก่ (5)ไม่รู้ในส่วนอดีต (6)ไม่รู้ในส่วนอนาคต (7)ไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและอนาคต

ก.“กรรม” คือ (8)ไม่รู้ใน“ปฏิจจสมุปบาท” ว่า สิ่งทั้งหลายอาศัยกันและกันเกิดขึ้น

คนที่มี“อวิชชาสวะ 8”ก็คือ “คนผู้ไม่รู้ 8 อย่าง”นี้

ก.“กรรม”นั้นคือ “การกระทำ” ที่คนแต่ละคนมี“เป็น
ของตนเอง” คนทุกคนที่“กระทำ”อะไรตั้งแต่ทาง“กาย”และ
ทาง“วาจา” โดยเฉพาะทาง“ใจ” ที่เป็น“กายกรรม-วจีกรรม-มโนกรรม” ทำแล้วก็สะสมเป็น“วิบาก”ตกเป็นมรดกของตน

“กายกรรม”นั้น ไม่ใช่“การกระทำตนฝึกฝนตนให้มีกำลัง”แค่ทำให้“ร่างหรือสรีระ”แข็งแรงเท่านั้น แต่หมายถึงการปฏิบัติตนฝึกฝนตนให้มี“กาย”มี“จิต”ที่ลดละกิเลสออกไปจากจิตกระทั่ง“กิเลส”หมดสิ้น ครบครันทั้ง“กิจ” ทั้ง“กาล” ทั้ง“กรรม”จนบริบูรณ์หมดสิ้น“อวิชชาสวะ8” 

คำว่ากายนี้ มีทั้งภายในและภายนอก แต่หมายเอาจิตเป็นใหญ่ด้วย 

การไปทำให้ร่างแข็งแรง มันไม่ต้องใช้คำว่า กายกรรม มันใช้คำว่า กรรมทางถามะหรือกรรมทางพละ การกระทำทางกำลัง(ถามะ หรือพละ)ให้มันเกิดกำลังแข็งแรง จะบอกว่า ถามพละหรือสรีระพละก็ได้ 

ส่วนการทำตนให้มีกำลังนั้นบาลีคือ “กายถามะ” หรือ“กายพละ” แต่“กายกรรม”นี้พิเศษวิเศษกว่านั้น 

เพราะชาวพุทธทุกวันนี้“มิจฉาทิฏฐิ”ในคำว่า “กาย” ไปจริงๆ เสื่อมกันไปหนักมาก จึงเข้าใจความหมายคำว่า “กาย”ผิดสารสัจจะไป จนเละเทะ เลอะเทอะ

เช่น แม้แต่คำว่า “กาย” ก็มิจฉาทิฏฐิกันไปสนิทสนมแล้ว เข้าใจว่า “กาย”มีแค่“สรีระ (ร่างเฉพาะภายนอก)” หรือคำว่า “บุญ”ยิ่งสับสนไปเข้าใจว่า เป็นแค่“กุศล”กันจริงๆจังๆกันไปหมด

หรือคำอื่นๆ “ฌาน”ก็ดี “สมาธิ”ก็ดี “สมาบัติ”ก็ตาม “สัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย”ก็ดี มันไม่ใช่ปัญญาที่สัมมาทิฏฐิ

เข้าใจผิด แตกต่างกัน เห็นตรงข้ามกัน หันหลังให้กัน แล้วต่างคนต่างเดินของตนไป ตามความเชื่อถือของตนๆ

นั่นคือ ต่างคนต่างสื่อกัน ต่างก็กำหนดรู้กันไปคนละทิศ คนละทาง คนละอย่าง คนละความถูกต้องกันแล้ว

เพราะมี“กายต่างกัน สัญญาต่างกัน”ไปสารพัด 

ดังนั้น “อวิชชาสวะ 8”จึงมิจฉาทิฏฐิกันสมบูรณ์แบบ 

เริ่มตั้งแต่“อวิชชาสวะ 4 ข้อต้น” ได้แก่ ไม่รู้“ทุกข์” ไม่รู้“สมุทัย” ไม่รู้“นิโรธ” ไม่รู้“มรรค” มันก็ยังมี“อวิชชา” 

จึงไม่หมดสิ้น“อาสวะ”กันได้สักที อาริยสัจ 4 เขาเรียนกันในวงการศาสนาแต่การกำหนดหมาย เรื่องกาย สัญญา ต่างกัน

ตั้งแต่มันมิจฉาทิฏฐิข้อต้นในวิญญาณฐีติ 7 น่าสงสารมาก เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปพูดถึงข้อ 2 3 4 ในวิญญาณฐีติ 7 ขอยกตัวอย่างเช่นข้อ 2 แวะนิดหนึ่ง

วิญญาณฐีติ7 ข้อที่ 2 กายต่างกันสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น ปฐมฌาน คือไม่มีนิวรณ์ 5 ต่างกัน กายต่างกันสัญญาอย่างเดียวกัน สัญญาว่าอะไร สัญญากำหนดหมายว่ามีนิวรณ์ 5 ทำให้ไม่มีนิวรณ์ 5 เขาก็ทำได้แต่เขามิจฉาทิฐิ เขาหลับตาปฏิบัติไม่ให้มีนิวรณ์ 5 เป็นต้น หรือจะทำด้วยวิธีลืมตาแบบสมถะลืมตาก็ตาม เขาก็ไม่มีนิวรณ์ 5 ได้ แต่ กายมันต่างกัน องค์ประชุมของรูป ของนามขององค์ประกอบต่างๆข้างนอกข้างในต่างกัน เขาได้แต่ข้างใน เขาทำได้แต่ข้างในจิตไม่มีนิวรณ์ 5 แต่ข้างนอกนี้เขาไม่ได้ 

สำเร็จอะไรอย่างมหาบัว ยกตัวอย่างเป็นต้น นั่งหลับตานึกว่าตัวเองบรรลุอรหันต์เลยไม่มีนิวรณ์ แต่ลืมตาออกมา เบะเลย กิเลสกามคุณ 5 กิเลสอะไรต่างๆนานาไม่รู้เรื่องเลย 

ผลมันเหมือนกันที่ไหนผลมันไม่เหมือนกัน ของพระพุทธเจ้าบอกว่ากายต่างกันสัญญาอย่างเดียวกัน อย่างเดียวกันคือไม่มีนิวรณ์ 5 แต่กายมันต่างกันมันสัมมาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิมันจะไปเหมือนกันได้ยังไง มันหลอกอยู่ อย่างนี้เป็นต้น 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปฏิจจสมุปบาท ตอน 4 วันพุธที่ 17 มกราคม 2567 ที่ บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 16 มีนาคม 2567 ( 20:39:07 )

ปฏิจจสมุปบาทโลกีย์มีขั้นตอนอย่างไร?

รายละเอียด

ผู้ยังไม่ได้ศึกษา“เทฺว”เลย “ธรรมะ 2”มันก็จะปรุงแต่งกันเกิด“สังขาร 3”

โดยมี“อวิชชา”เป็นผู้บงการตามธรรมชาติสามัญปกติของ “ปฏิจจสมุปบาท”โลกีย์ที่เกิดกระบวนการอันมีเหตุปัจจัยจาก“อวิชชา”เป็น“สังขาร” จาก“สังขาร”เป็น“วิญญาณ-นามรูป-อายตนะ-ผัสสะ-เวทนา-ตัณหา-อุปาทาน-ภพ-ชาติ-โศก,ปริเทวะ,ทุกขะ,โทมนัส,อุปายาสะ” ซึ่งหมุนวนไปมาเป็น“อนุโลม-ปฏิโลม”ด้วยความ“ไม่เที่ยง-เป็นทุกข์-มีตัวตน”อยู่อย่างนั้นนิรันดร์กาล คนผู้ยังเป็น“โลกียชน”อยู่ก็มี“ธรรมะ 2”มัน“สังขาร”กันไปตาม“ธรรมชาติ” วนแล้วเวียนเล่า ตลอดที่ยัง“อวิชชา”เต็มรูป

 

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ รวมเปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อ 94 หน้า 101


เวลาบันทึก 15 มิถุนายน 2564 ( 19:34:19 )

ปฏิญญาต

รายละเอียด

อันรู้..เฉพาะแล้ว

หนังสืออ้างอิง

ยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 129


เวลาบันทึก 13 กรกฎาคม 2562 ( 21:01:06 )

เวลาบันทึก 29 พฤษภาคม 2563 ( 14:57:23 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:17:33 )

ปฏิญาณศีล 8 เพื่อพ้นสังสารวัฏ เพื่อมาเป็นผู้เสียสละ ผู้รับใช้

รายละเอียด

 คำกล่าวนำปฏิญาณอุโบสถศีล

[พากล่าวคำ นโมตัสสะ ภควโต ฯ 3 จบ ก่อน]

ณ บัดนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอตั้งจิตปฏิญาณ ในงานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ครั้งที่ 47 นี้ ข้าพเจ้าทั้งหลาย จะขอบำเพ็ญธรรม ประพฤติตน อยู่ในศีล 8 อันได้แก่

1. ปาณาติปาตา เวรมณี จะตั้งใจประพฤติ เว้นขาดการฆ่าสัตว์ เว้นขาดความโหดร้ายทารุณ เว้นขาดการเบียดเบียนใดๆ จะพยายามสร้างเมตตาธรรม

2. อทินนาทานา เวรมณี จะตั้งใจประพฤติ เว้นขาดการขโมย เว้นขาดการเอาของผู้อื่น ด้วยเชิงเอาเปรียบ ด้วยการโกง จะพยายามสร้างสัมมาอาชีพ ขยันสร้างสรร เสียสละ ละเลิกความโลภ ละเลิกความเห็นแก่ตัว

3. อพรหมจริยา เวรมณี จะตั้งใจประพฤติ เว้นขาดเรื่องเมถุนธรรม เว้นขาดเรื่องกามคุณ จะเป็นผู้ละเลิกราคะ จะเป็นผู้กำหนดรู้เท่าทันในกาม

4. มุสาวาทา เวรมณี จะตั้งใจประพฤติ เว้นขาดการพูดปด เว้นขาดการพูดหยาบ เว้นขาดการพูดส่อเสียด เว้นขาดการพูดเพ้อเจ้อ จะพยายามพูดเป็นสารัตถะเป็นธรรม

5. สุราเมรย มัชชะ ปมาทัฏฐานา เวรมณี จะตั้งใจประพฤติ เว้นขาดการเสพติดมัวเมา มีอบายมุขทั้งหลายเป็นต้น มีกามต่อมา มีโลกธรรม 8 อีก และจะเว้นขาดการยึดภวอัตตภาพทั้งปวง

6. วิกาลโภชนา เวรมณี จะตั้งใจประพฤติ เว้นขาดจากอาหารและเครื่องใช้ ที่ควรเว้นควรเลิก จะกินจะใช้ตามที่กำหนด จะเป็นผู้พยายามเป็นผู้มักน้อยและสันโดษ

7. นัจจะคีตะ วาทิตะ วิสูกะทัสนา มาลาคันธะ วิเลปนะ ธารณะ มัณฑนะ วิภูสนฐานา เวรมณี จะตั้งใจประพฤติ เว้นขาดจากท่าทางอันไม่สมควร คำพูดที่มีเสียงสำเนียงอันไม่สมควร เช่น ฟ้อนรำ ดนตรี เป็นต้น เว้นขาดจากดอกไม้ของหอม เครื่องตกแต่งพอกทา เครื่องประดับประดาประดิษฐ์ประดอย เว้นขาดจากฐานะแห่งการแต่งตัว แต่งงามประดิษฐ์ประดอย

8. อุจจาสยนะ มหาสยนา เวรมณี จะตั้งใจประพฤติ เว้นขาดจากที่นั่งที่นอนใหญ่ เว้นขาดจากการรับของใหญ่ เว้นขาดจากการสะสมของใหญ่ ที่สุดเว้นขาดการหลงติดความใหญ่

ศีลทั้งหลายเหล่านี้ หากข้าพเจ้าทั้งหลาย ไม่ตั้งใจประพฤติ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ได้ผล ถ้าหากข้าพเจ้าทั้งหลาย ตั้งใจประพฤติ ก็ย่อมได้ ตามธรรมสมควรแก่ธรรม

ดังนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลาย จักตั้งใจ ศึกษาฝึกฝน พากเพียรบำเพ็ญ ตามที่หมู่คณะ ได้นำพา ช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน ด้วยดี ให้สุดความสามารถ

ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอตั้งใจ ปฏิญาณไว้ ณ โอกาสนี้ ...สาธุ สาธุ สาธุ 

ไม่ใช่พูดแต่ปากนะ ไม่ใช่ท่องบ่นปฏิญาณแต่เพียงคำพูดออกไปเราต้องเข้าใจความหมายต่างๆ ไม่เข้าใจก็ขอปริ้นท์เอาไปอ่านทบทวน คําปฏิญาณต่างๆที่เราพูดไป เราเข้าใจอย่างไร

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์เปิดงาน ปฏิญาณศีล 8 งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 47 วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม 2566 ที่บวรปฐมอโศก 


เวลาบันทึก 22 เมษายน 2566 ( 15:22:18 )

ปฏินิวัตตติ

รายละเอียด

การหักกลับหรือหวนกลับ

หนังสืออ้างอิง

รวมคนจะมีธรรมะได้อย่างไร ? หน้า 177


เวลาบันทึก 11 ธันวาคม 2562 ( 13:32:18 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 13:29:24 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:18:02 )

ปฏินิสสัคค , ปฏินิสสัคคะ

รายละเอียด

1. หัดวางหัดปล่อย แม้แต่สวรรค์ที่ได้แล้วมั่นคง ไต่ขึ้นสู่ความสูง ความดี ที่เราจะรู้ได้อีกเสมอ ๆ

2. การไม่ยึดไว้อย่างตายคา ตายฝังแบบยังโง่ แม้ความถูกความดีมีการเปลื้องแล้วเปลื้องอีก ๆ มีการสำรอกอย่างรู้ อย่างจริง อย่างถูก อย่างแท้

3. ต้องไม่ยึดติดในอะไร ๆ เสร็จเป็นที่สุดในตัวจิต

4. การสลัดคืน

5. เป็นสภาพกลับคืน ตีกลับ วน

6. คืน  คือไม่เอาสวรรค์นั้น

7. สัจจะย้อนสภาพ

8. กลับไปปรุงอนุโลมตามโลกเขาดูได้ยิ่งกว่าขึ้นไปอีก

9. ย้อนกลับไปสังขารยิ่ง

10. ความสลัดกลับ

11. สภาพย้อนกลับไปมา

12. การเวียนกลับ , ลักษณะตีกลับ เป็นประสิทธิภาพของพระอาริยะในขั้นต่อจากนิโรธ

13. การเวียนกลับไปอย่างมีอำนาจอยู่เหนือสิ่งนั้นแท้จริง เพราะจิตเป็นโลกุตรจิตแล้ว ชนะกิเลสนั้นได้แล้ว

14. ทวนซ้ำทำการกำจัดนั้น ๆ อีก ๆ ๆ

15. สภาพหมุนรอบเชิงซ้อน

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 43 , 46, 256

ทางเอก ภาค 2 หน้า 107

ทางเอก ภาค 3 หน้า  284 ,  434

สมาธิพุทธ หน้า 440

คนคืออะไร? หน้า 362 , 373 , 516

วิถีพุทธ หน้า 125

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 101

อีคิวโลกุตระ หน้า 216

 


เวลาบันทึก 13 กรกฎาคม 2562 ( 21:07:43 )

เวลาบันทึก 29 พฤษภาคม 2563 ( 15:03:24 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:19:25 )

ปฏินิสสัคคะ

รายละเอียด

คือการสลัดคืน เป็นอุปการะทั้งตนและท่านจะสามารถช่วยเหลือคนอื่นได้อีกมาก ซึ่งเป็นประโยชน์ตนและท่านได้อย่างสมบูรณ์ เช่น เราอยู่เหนือโลกอบาย (วิมุติ) แม้ต้องลงไปช่วยคนที่ยังจมอยู่ในอบายมุข เราก็ไม่มีความอึดอัด ขัดเคือง ผลักไส ไม่อ่อนยุ่ยปวกเปียก เปื่อยละลายเน่ากับเขา เพราะถอนอนุสัยแล้ว (อรหัตผล) จิตใจก็สบาย สะอาด เบิกบาน แจ่มใส เหมือนน้ำใสในกลุ่มโคลนเน่า ไม่อึดอัด อดทน จึงจะกู้ชีวิตเขา ช่วยเขา ออกมาจากกลางเตาหลอมเหล็ก คือนรก หรือกองบาปกรรมนั้นได้ ก็จะเป็นประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน อันสัมพันธ์สร้างสรรศาสนาไปได้สูง ไปได้มากมาย แล้วก็มีฤทธิ์ที่จะทำน้ำโคลนเน่าให้ใสสะอาดขึ้น จึงเกิดการกู้ศาสนาได้ ดังนั้น “ปฏินิสสัคคะ”(การสลัดคืน) ก็คือ การเป็น “โพธิสัตว์”นั่นเอง หรือ “โพธิสัตว์” ก็คือ “การปฏินิสสัคคะของพระอรหันต์” นั่นเอง “โพธิสัตว์” กับ “อรหันต์” ไม่แยกกัน (การเป็น “อรหันต์” ก็คือ การเป็น “พระโพธิสัตว์” ในตัวจึงเป็น “อุภยัตถะ”)

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ “สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ” หน้า 90-91


เวลาบันทึก 25 ตุลาคม 2562 ( 14:33:04 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 13:32:32 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:20:38 )

ปฏินิสสัคคะ

รายละเอียด

ความสลับซับซ้อนยอกย้อนของการเรียนรู้ภาวะจริงด้วยการ "สัมผัสรสสุขรสทุกข์" แล้วปฏิบัติโลกียะให้เป็นโลกุตระ

หนังสืออ้างอิง

รวมคนจะมีธรรมะได้อย่างไร ? หน้า 176


เวลาบันทึก 11 ธันวาคม 2562 ( 12:36:11 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 13:33:14 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:22:41 )

ปฏินิสสัคคะ กับคัมภีราวภาโส

รายละเอียด

คุณศึกษาสัจจะพระพุทธเจ้าให้ดีว่ามีวัฏฏะความหมุนเวียน ไม่ใช่สั้นๆ แต่มันยาวนาน ถ้าไม่ได้ศึกษาอย่างแท้จริงแล้ว มันจะไม่รู้ได้ง่ายๆ เป็นเรื่องยากซับซ้อน ใช้ศัพท์ของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่า ปฏินิสสัคคะ หรือคัมภีราวภาโส แปลว่า ความสว่างของความลึกซึ้ง อธิบายยากอยู่

แต่ปฏินิสสัคคะ เป็นสภาพหมุนรอบเชิงซ้อน ซับซ้อน จนไม่รู้ต้นทาง ต้นเหตุไม่รู้เลย กันไว้ไม่รู้กี่ชั้นๆ ความซับซ้อนคือสวรรค์ เขาเอาสวรรค์มาหลอกไม่รู้กี่ชั้น มาทางนี้บอกว่านี่สวรรค์นะ แล้วตลบหลังว่านี่มีสวรรค์ทางนี้ยิ่งกว่านี้อีกนะ พอมาถึงตรงนี้ก็บอกว่ามีสวรรค์สูงกว่ากว้างกว่ายาวกว่า พอไปอีกก็ว่านี่สวรรค์นี้ยิ่งกว่าอีกนะ บานไปอีก

ข้ารู้ทันเอ็งแล้ว สิ่งที่เป็นสวรรค์หลอกวิมานเพ้อเจ้อ ไม่มีจริงหรอกเป็นอุปาทาน เป็นสิ่งลมๆแล้งๆ ไม่มีจริง เป็นเรื่องยากที่คนเข้าใจไม่ได้ง่ายๆ สวรรค์หลอกสวรรค์ลวง สัคคะคือสวรรค์

 สรุป ปฏินิสสัคคะแปลว่าล้างสวรรค์ ลดสวรรค์ ดับสวรรค์ลงมาเรื่อยๆ ตามขั้นตอน ให้รู้เหลี่ยมขั้นตอนว่าสวรรค์ที่หลอกคืออะไร กระเป๋าถือที่เมืองไทยสาน Versace เอามาหลอกขาย ใบละเท่าไหร่ ผ้าขาวม้า เอาไปขาย บวกราคา ตีกิน

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม บ้านราชฯ แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจแบบอโศก วันอาทิตย์ที่ 7 มกราคม 2561 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 28 มีนาคม 2564 ( 21:18:38 )

ปฏินิสสัคคานุปัสสี

รายละเอียด

1. ตามเห็นตามสลัดคืน(สู่สามัญปกติ) ความไม่ยึดแม้สวรรค์ ความไม่ยึดไว้ แม้ความถูกความดีว่าเที่ยง ว่าจะต้องเป็นของเรา ว่าจะต้องไม่บกพร่อง ไม่แปรปรวน หรือไม่พรากจากกันเป็นที่สุด จนเห็นได้ชัดแท้ ๆ

2. ตามเห็นความสลัดกลับ

3. ตามเห็นความสลัดคืน[สู่สามัญปกติ]

4. ตามเห็นว่าตนได้ทำซ้ำ ทำทบทวนจนเห็นแจ้งชัดว่าไม่เหลือแล้วสวรรค์ที่เกิดจากโลกียธรรม

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 1 หน้า 45

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 128

อีคิวโลกุตระ หน้า 140 , 250

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 307

 


เวลาบันทึก 13 กรกฎาคม 2562 ( 21:10:09 )

เวลาบันทึก 29 พฤษภาคม 2563 ( 15:05:27 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:23:34 )

ปฏิบัตธรรมต้องรู้จักนาม 5 กับรูป 28

รายละเอียด

ของพระพุทธเจ้านั้นหยิบเอาธาตุวิญญาณหรือธาตุจิตธาตุรู้ ซึ่งมีคนมีรูปนาม เรียกว่านามธาตุ เอามาศึกษา โดยมาแจกวิภัตติ มาแจกแจงให้เรียนให้ปฏิบัติ เช่น มาแจกนาม 5 รูป 28 ให้มาปฏิบัติ การปฏิบัติต้องรู้จักนาม 5 กับรูป 28 

นาม 5 มี เวทนา สัญญา   เจตนา   ผัสสะ มนสิการ เพราะฉะนั้นต้องมาเรียนรู้ใน เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ โดยเฉพาะมาเรียนรู้ อาการนี้คือเวทนา อาการอย่างนี้คือสัญญา เป็นตัวกำหนดรู้ เวทนา กำหนดจะรู้ตัวมันเองในตัวสัญญากำหนดว่าอาการอย่างนี้เรียกว่าเวทนานะ อาการอย่างนี้เรียกว่าสังขารนะ ในสังขารนี้มีเจตนา เป็นเจตนา 3 กามตัณหา1 ล้างอาการของกามก่อน ล้างอาการของกามหมดไป ก็จะเหลือ รูปราคะ อรูปราคะ แล้วก็ล้างต่อ แล้วก็มาล้างรูปราคะต่อ

ที่มา ที่ไป

 เทศน์ทำวัตรเช้าโดยพ่อครู งาน ว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน ครั้งที่ 8 วันที่ 2 มกราคม 2564 ที่บ้านราชฯ


เวลาบันทึก 27 มกราคม 2564 ( 12:20:47 )

ปฏิบัติ

รายละเอียด

การลงมือกระทำตามโดยควรแก่จริต อัธยาศัย

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 82


เวลาบันทึก 13 กรกฎาคม 2562 ( 21:11:01 )

เวลาบันทึก 29 พฤษภาคม 2563 ( 15:06:36 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:23:52 )

ปฏิบัติ "หลับตา" จะสำรวมอินทรีย์ 6 ได้อย่างไร

รายละเอียด

มันจะ “หลับตา” ปฏิบัติ “สำรวมอินทรีย์ 6” ยังไง? จะ “หลับตา” ปฏิบัติขณะ “กินข้าว” (โภชเนมัตตัญญุตา) งั้นหรือ? “ชาคริยานุโยคะ” ก็จะ“เพียรทำความตื่น” กันแต่ในตอน “หลับตา” เท่านั้นหรือ? ในตอน “ลืมตา” ไม่ทำความตื่นให้มี “สติตื่น” เต็มร้อยให้ได้ทุกขณะทั้งใน “กายกรรม-วจีกรรม-มโนกรรม” เลยหรือ? จะซื่อบื่อมะลื่อทื่อไปถึงไหนอีก? ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติ เช่น สาย “หลับตา” ปฏิบัติกำจัดกิเลสนี่แหละ ยังขืนปฏิบัติ “หลับตา” เข้าไปตัดกิเลสที่เป็น “ภพ” อยู่ “ภายใน” โดยไม่จัดการกำจัด “กิเลสกามภพ” ก่อนนั้น มันก็สับสน ไม่เป็นไปตามลำดับ มันฝืนความเป็นจริงธรรมดาไป

หนังสืออ้างอิง

เปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 หน้า 459-460 ข้อที่ 638


เวลาบันทึก 18 มิถุนายน 2565 ( 14:05:34 )

ปฏิบัติ เป็นปริเฉทอย่างไร

รายละเอียด

อาตมาก็พยายามจะให้มาฟังอาตมาหน่อยสิ จะได้รู้จักการปฏิบัติ เป็นชุดๆ เป็นปริเฉทเป็นกรอบๆ เป็นคู่ๆ ไปตามลำดับ ไม่อย่างนั้นมันปนกันเละเทะสับสน มันไม่ได้สำเร็จสักอันเลย มันไม่มีอะไรบริสุทธิ์ บริบูรณ์ได้สำเร็จสะอาดได้ มันไม่รู้จิต เจตสิก รูป นิพพาน มันไม่รู้เวทนาในเวทนา เป็นต้น 

เวทนา 108 ต้องมีสภาวะจริง กายิกเวทนา เจตสิกเวทนา ที่เป็นเวทนา 2 คู่แรกเลย มันเป็นสุข เป็นทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ อีก 3 แล้วมันมีน้ำหนักข้างนอกข้างในอีกเป็น 5 ทุกขเวทนา สุขเวทนา โสมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา อุเบกขา มีลักษณะของมัน 5 ชนิด ก็แยกออก ว่าเป็นอย่างนั้นๆ  เกิดจากตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ 6 ทวาร แล้วเกิดสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ 3 อย่างนี้ได้ จึงเป็น 18 มโนปวิจาร อาตมาอธิบายมานานด้วยภาษาไทย ซึ่งก็เห็นใจว่า มันไม่ง่ายที่จะรู้สภาวะ ก็พอจะฟังรู้เรื่องว่า 6 ทวารมันมีอะไร สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ มันมีอะไรก็รู้ แล้วมันไปยังไงมายังไง 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ อรหันต์คือด้านมืดเจโต โพธิสัตว์คือด้านสว่างปัญญา วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม 2565 แรม 11 ค่ำ เดือน 11 ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 ธันวาคม 2565 ( 14:29:11 )

ปฏิบัติกับคนด้วยกันนี่เหลือพอ มากพอที่จะเป็นอรหันต์

รายละเอียด

ส่วนสัตว์เดรัจฉานนั้นไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับเขา เขาก็อยู่ของเขาตามยถากรรมตามวิบากของเขา เขาก็จะพัฒนาตัวเองไปตามยถากรรมของเขา เราไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับเขา เพราะวิบากกรรมที่เราตั้งแต่มีอวิชชาไม่รู้  เราก็จะต้องไปเป็นวิบากเกี่ยวข้องกับสัตว์ทั้งหลายมาแล้ว ยังมีอีกตั้งเยอะ แม้แต่ทั้งสัตว์ แม้แต่ทั้งตัวมนุษย์ ที่เกิดอยู่ร่วมยุคก็ตาม ยังไม่ได้เกิดร่วมยุคก็ตาม ยังมีอีกตั้งเยอะ 

เพราะฉะนั้นมันจะมากเกินไปแล้ว ต้องตัดเสียบ้าง สัตว์เดรัจฉานก็ปล่อยเขาไป ไม่ต้องไปยุ่งไปเกี่ยวอะไรกันเลย จนกระทั่งอาตมาพามาทำ อย่าว่าแต่ไปเกี่ยวข้องต้องเอามาเลี้ยงมาดู ต้องเอามาใช้งาน คนอวดเก่งเอามาฝึกหัดให้มันทำอย่างนู้นอย่างนี้ ทำได้ฝึกให้มันเป็น มันก็ทำได้อย่างนั้นแหละ อย่างเก่งก็อาศัยใช้แรงงานของมันมา เพื่อที่จะเลี้ยงตนเองบ้าง ก็เป็นวิบากเป็นหนี้ เป็นหนี้แก่กันและกันไปอยู่ในตัว 

แม้เราจะทำเป็นกุศลที่ดียังไงๆๆ มันก็ชดใช้กันไป วนเวียนกันอยู่นั่นแหละ นาน เสียเวลาซับซ้อน เพราะฉะนั้นเราตัดประเด็นเรื่องเกี่ยวกับสัตว์ ปฏิบัติกับคนด้วยกันนี่ เหลือพอ มากพอ ที่จะเป็นอรหันต์ คือทำให้กิเลสหมดได้ สัตว์มันก็ยั่วยวนให้กิเลสเราเกิดไม่ได้เก่งเท่ากับคนหรอก สัตว์ใดก็ตาม ไม่มีสัตว์ใด เดรัจฉานใดที่จะยั่วให้เราเกิดกิเลสได้เก่ง หยาบ กลาง ละเอียด ได้เก่งเท่าคนด้วยกัน แค่นี้ก็จบรอบเป็นอรหันต์ได้แล้ว 

เพราะฉะนั้นเรื่องสัตว์จึงเป็นอันตัดหมดเลย ไม่ให้เหลือวิบาก อย่างอาตมาเป็นโพธิสัตว์ระดับ 7 รู้ดีถึงได้เอาเรื่องลึกเลย

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ภาคค่ำ นำปฏิญาณศีล 8 งานปลุกเสกพระแท้ของพุทธ ครั้งที่ 45 ราชธานีอโศก วันพุธที่ 5 เมษายน 2566 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 09 เมษายน 2566 ( 05:49:04 )

ปฏิบัติกับทุกข์มีหน้านองน้ำตาอยู่

รายละเอียด

  ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน  แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไปเป็นไฉน?  ดูกรภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้  เป็นผู้มีราคะกล้าโดยปรกติ  ย่อมเสวยทุกขโทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ  เป็นผู้มีโทสะกล้าโดยปรกติ  ย่อมเสวยทุกขโทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ  เป็นผู้มีโมหะกล้าโดยปรกติ ย่อมเสวยทุกขโทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ   

บุคคลนั้นถูกทุกข์บ้าง โทมนัสบ้างถูกต้องแล้ว  เป็นผู้มีใบหน้านองด้วยน้ำตาร้องไห้อยู่  แต่ประพฤติพรหมจรรย์บริบูรณ์บริสุทธิ์  เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อม เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ธรรมสมาทานนี้  เรากล่าวว่า  มีทุกข์ในปัจจุบันแต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป.   

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎก เล่ม 12 ข้อ 518 , เล่ม 11 ข้อ 518

 


เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2562 ( 13:11:02 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:37:27 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:24:57 )

ปฏิบัติกับผีก็งมงายอยู่กับผี

รายละเอียด

ทีนี้มาพูดถึงที่ว่าจะพูดเรื่องผี เอามาพูดเรื่องผี 

คำว่า ผี เป็นภาษาไทย หมายถึง จิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณชั้นต่ำ จิตวิญญาณชั่ว ชัดๆก็คือกิเลส คือผี 

ทีนี้คนไม่เข้าใจรายละเอียดของสัจธรรม ปรมัตถธรรม จิต เจตสิก รูป นิพพานต่างๆ ก็ไปเข้าใจถึงจิตวิญญาณ ซึ่งเป็นจิตวิญญาณที่ไม่ต้องไปกังวล ที่ไม่ต้องไปนำพา ไม่ต้องมาเอาใจใส่ คือ จิตวิญญาณสัมภเวสี จิตวิญญาณสัมภเวสีนี่แหละ ไม่รู้จักกัน 

อย่างหมอปลาที่พูดถึงนั้น ไปงมงายอยู่กับจิตวิญญาณสัมภเวสี บอกว่าจะต้องอย่างโน้น จะต้องอย่างนี้ ซึ่งมันจะเปล่าดาย มันไม่เกิดผลอะไรเลย  นอกจากมาเป็นการบรรเทา บรรเทาคนที่ติดยึด คนที่มิจฉาทิฏฐิ อยู่ใต้อำนาจความอวิชชา ไม่รู้ว่าจิตวิญญาณก็คือ จิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณบอกว่าจิตวิญญาณมีผีเข้า แล้วมาสิงให้เป็นอย่างนู้น อย่างนี้ อย่างนั้น ตั้งแต่เริ่มต้นเข้า แล้วก็ไม่รู้เรื่องแล้วก็ดิ้นบ้าง รำบ้าง ทำอะไรบ้าๆ บอๆ อะไรๆ  แล้วก็บอกว่าผีเข้า 

“บอกว่าผีเข้า” ไม่มีผีที่ไหนมาเข้า มีแต่อวิชชาของคนผู้นั้นเองแหละ แล้วไปยึดว่าอย่างนี้มันต้องเป็นอย่างนี้ ต้องมีผี ต้องมีวิญญาณ ต้องมีองค์ลง ต้องมีใครทรงอย่างนี้ แล้วก็เป็นไปตามอุปาทานที่ตนเองมีมาตั้งแต่สัญญาเก่า หรือว่าไปได้ใหม่ก็ตาม แล้วก็เชื่อว่าเป็นอย่างนั้น แล้วก็เป็นไป จะเต้นจะดีดอย่างนั้นอย่างนี้ บางทีมีถึงขั้นอิทธิฤทธิ์อิทธิเดช ทนต่อการฟันเข้า ไม่เจ็บไม่ปวดอะไร อย่างที่ภูเก็ตทำกัน 

นี่คือพลังงานจิตที่ตัวเองงมงาย ไม่เข้าใจถึงพลังงานจิตตัวเอง มันหลงนะ อาตมาไปพิสูจน์ ไปเล่นไสยศาสตร์ เล่นแทงไม่เข้า ฟันไม่ออก เล่นอะไรต่ออะไร เจ็บนะ แต่ว่าทนได้ เก่งนะมันหลงเก่ง มันอุปาทาน มันก็มีอำนาจพิเศษเหมือนกัน แล้วมันก็ไม่ได้เรื่องอะไรเลย ก็เอาพลังงานจิตมาทำอะไรเลอะๆเทอะๆไปสารพัด 

พระพุทธเจ้าไม่ให้เรียนรู้เรื่องไอ้ปลายเหตุที่มันไปเป็นผีแบบนั้นผีแบบนี้ ท่านให้มาเรียนรู้ในปัจจุบันธรรม อย่าไปเรียนรู้จิตวิญญาณที่เป็นสัมภเวสี สัมภเวสีคือ จิตวิญญาณไม่มีที่ตั้ง จิตวิญญาณไม่มีที่เกิด ที่ตั้งที่เกิดของจิตวิญญาณคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย (กล่าวคือ)ใจมาเกิดที่ตา ใจมาเกิดที่หู ที่จมูก ที่ลิ้น ที่กาย ใจมาร่วมกันกับตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่เปิดมีสัมผัสเป็นปัจจัย นี่คือวิญญาณ ไม่ใช่สัมภเวสี 

ถ้าสัมภเวสี เริ่มต้นจากคุณหลับตา จิตคุณเป็นสัมภเวสีแล้วเพราะคุณไม่มีทวารและคุณปิดทวาร 5 ข้างนอกอีก 

เพราะฉะนั้น พวกที่นั่งหลับตาปฏิบัติคือ ปฏิบัติกับผี อยู่กับผี แล้วก็งมงายไปกับผีทั้งหมด 

เพราะฉะนั้น นั่งหลับตาปฏิบัตินั้นจะได้ความเป็นผีทั้งหมด ไม่ได้ความเป็นสัจจะที่บรรลุทุกข์สุขอะไรเลย เพราะไม่มีเวทนา ฐานที่จะเรียนรู้ทุกข์สุข ที่เป็นอริยสัจ 

เพราะฉะนั้นเดียรถีย์ก็ไปงมงายอยู่กับสัมภเวสี เหมือนหมอปลา ที่ไปงมงายอยู่อย่างนั้น แล้วก็ไป แกก็ช่วยไปขั้นหนึ่งนะ บรรเทาสำหรับคนที่หลงติดยึด แล้วต่างคนต่างก็ไม่รู้ แต่ก็บำบัดตามอาการไปได้ชั่วคราว ช่วยได้บ้าง 

ก็ไปเข้าใจเทวดาล่องลอยเหมือนอย่างอาจารย์มั่น เห็นเทวดามาฟังธรรมของท่าน โห มาจากเยอรมันก็มี มาจากทิศนู้นทิศนี้เยอะ อะไรอย่างนี้ ซึ่งเป็นเรื่องงมงาย เป็นเรื่องสร้างนิรมาณกาย เป็นเรื่องสร้างตามอุปาทานจิตของตนเอง ซึ่งมันจริงไม่จริงไม่มีใครพิสูจน์ได้ มันนิรมาณกาย มันสร้างเรื่อง สร้างภพชาติ สร้างตัวสร้างตนตามที่ตัวเองอวิชชาอยู่ มันก็มีอยู่สิ 

เพราะฉะนั้นไม่มีทางแก้ไขที่จะบรรลุอรหันต์ บรรลุนิพพาน บรรลุสุข ก็ไม่ได้มีที่ตั้งที่จะปฏิบัติอย่างแท้จริง ตามพระไตรปิฎกสูตรที่ 1 ในพระไตรปิฎกพระสูตร ไม่ใช่พระวินัยนะ พระสูตรสูตรที่ 1 เลยคือพรหมชาลสูตร ไม่มีเวทนาไม่มีที่ตั้งแห่งการปฏิบัติ 

กรรมฐานของศาสนาพุทธคือเวทนา แค่นี้ก็ไม่เข้าใจแล้ว เพราะฉะนั้นหลับตาปฏิบัตินี่มันส่อชี้บ่งถึงความเสื่อมของศาสนา 
อาตมาพูดเรื่องนี้ 50 กว่าปีแล้ว ไม่กระดิกเลย ได้มาส่วนน้อย ทั้งๆที่พุทธศาสนิกชนไทย 95% คิดดูสิ นอกนั้นไปหลงงมงาย ตามมิจฉาทิฏฐิเดียรถีย์ที่หลับตาปฏิบัติกัน 

อาตมาสุดสงสาร ไม่รู้จะทำยังไงเลย ได้แต่พูด พูดดีๆ พูดอย่างเรียบร้อยก็พูด พูดอย่างแรงๆ กระทบกระแทกกระทุ้งก็พูด ดูถูกดูแคลนก็พูดหมด จะให้ยกย่องมันก็ยกย่องไม่ได้เพราะมันผิด มันจะยกย่องเรื่องที่มันผิดพากันหลงทิศหลงทาง ออกไปเป็นผีหมดแล้ว เป็นสัมภเวสี วิญญาณล่องลอย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ชีวิตที่จบกิจในระบบสาธารณโภคี นี่เป็นตัวตัดสินอรหันต์ วันพุธที่ 15 พฤศจิกายน 2566 ขึ้น 3 ค่ำเดือน 12 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 09 มีนาคม 2567 ( 18:02:33 )

ปฏิบัติการล้างกิเลส

รายละเอียด

การล้างก็ทำที่เวทนา 2 ให้เป็นหนึ่ง ตัวนี้ตรวจสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์เป็นตัวตั้งของกิเลส ตัวไม่สุขไม่ทุกข์ก็แล้วไปเถอะ แต่ตัวที่สุขทุกข์เป็นตัวบทบาทมันเป็นโลกีย์หลงแต่สุข โดยมันไม่รู้ว่าหมกหมัก เหตุแห่งทุกข์ไม่รู้ตั้งเท่าไหร่ไว้ คนจึงนั่งอยู่บนกองขยะเน่า มากมาย นึกภาพออกไหม เราออกมาถึงทุกวันนี้ พวกเราได้เป็นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามีขึ้นมา มันก็คือโกยเอากองขยะเน่าที่เรานั่งทับอยู่ โดยที่เรามองแต่มุมของความสุข แต่แท้จริงนั้น มันเหมือนกับท่านเทียบว่า คนถักหนัง แล้วข้างล่างใต้ถุนมีหมา ถักหนังได้ก็ปล่อยลงไปให้ยาวลงไป หมาที่อยู่ข้างล่างก็กินหนังที่ปล่อยลงไป ถักไปมันก็กินไป แล้วมันก็ขี้ไป ถักได้เก่ง หมามันก็พาเพื่อนมากินได้มากๆ นึกว่าเราได้อะไรมันก็ไม่ได้อะไรเลย นี่ก็เป็นสิ่งเปรียบเทียบที่พระพุทธเจ้าได้เปรียบเทียบไว้ เป็นสิ่งไร้ประโยชน์ มันไม่เกิดการเจริญ เราจะรู้รอบทุกอย่าง

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเชัา งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์แห่งพุทธ ครั้งที่ 42 ปฐมอโศก ความจนที่มีสัมประสิทธิ์ ตอน 3 วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 ที่บวรปฐมอโศก


เวลาบันทึก 27 กุมภาพันธ์ 2564 ( 15:06:03 )

ปฏิบัติจนกิเลสลดลงจบได้แล้วจะเกิด วูปสโมสุข ไม่ใช่สุขอย่างเดียรถีย์

รายละเอียด

ยิ่งเรียนรู้ธรรมะพระพุทธเจ้าแล้วกิเลสสงบ เพราะรู้จักกิเลสแล้วสร้างพลังงานปัญญา พลังงานฌาน เพื่อกำจัดกิเลสราคะ โทสะ โมหะ ให้ลดลงๆ ก็ถือว่า อนุโลมเรียกว่า สุข วูปสโมสุขหรืออุปสโมสุข เป็นความสุขที่มันกิเลสลดลง ไม่ใช่ความสุขที่เป็นโลกียะ ได้สมกิเลส เป็นโลกียะ สมใจในกิเลสมันก็เป็นความสุข แต่อันนี้มันกิเลสลดลงๆๆ ก็ขอยืมคำว่า สุข มาใช้ ว่าเป็นสุข เรียกภาษาบาลีว่า วูปสโมสุข หรืออุปสโมสุข ไม่ใช่สุขแบบสุขัลลิกะ สุขขี้หลอกเป็นสุขเก๊ แต่นี่สุขที่มันเกิดโดยการปฏิบัติธรรม สุขที่เกิดจากความสงบลดลงจากกิเลส ในการปฏิบัติแล้วจิตมันลดละหน่ายคลาย ความสุขที่เกิดจากกิเลสลด ไม่ใช่ความสุขอย่างเดียรถีย์ ไม่ใช่ลดอย่างสะกดจิตไว้ ที่จิตก็ยิ่งอัดแน่น จิตก็ยังมีอวิชชา ยิ่งไม่มีความรู้ ก็กิเลสอัดแน่น สักวันมันก็จะระเบิดเหมือนกับหลวงปู่แสง ระเบิดออกมา ปะทุออกมา เพราะว่าสะกดจิต สุดท้ายมันไม่ไหวแล้ว เพราะว่าอายุมากแล้ว ยิ่งบอกว่าเป็นอัลไซเมอร์ กิเลสมันยิ่งทำงานเต็มรูปเลย ออกมาทะลุมาได้หมดเลย มันก็ยิ่งแสดงตัวอย่างทะลุ ออกมาตามความจริงที่ตัวเองมี  

ต่อให้สะกดจิตให้ตายก็ไม่ได้อะไร ต่อให้อายุ 105 ก็ไม่บรรลุ ยิ่งกว่านั้นก็ตามก็ไม่บรรลุ นี่พูดสัจจธรรม อยากจะให้ฟังและให้พิจารณาให้ดี ลอง ลด ละดูสักปีสองปีก็ได้ มาฟังอาตมาอธิบายแล้วปฏิบัติจรณะ 15 วิชชา 8 เลิกไปนั่งสะกดจิตหลับตา ทำได้จริงๆจะเห็นผลจริง ขอเวลา 1 ปีมาปฏิบัติทางนี้ดูบ้าง ขอเวลาสักปีได้ไหม  วางตรงโน้นมาศึกษาทางนี้จริงๆ ตั้งใจจริงๆ เปิดจิต ถ้าไม่เปิดจิต ก็ไม่ได้เรื่องเหมือนกัน เปิดจิตมา ถ้าจะมาอาบน้ำทางนี้ก็อย่ากลัวเปียก หากอาบน้ำกลัวเปียกแล้วเมื่อไหร่มันจะได้อาบน้ำ 

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ สังวรศีล สำรวมอินทรีย์ สติ สันโดษอันเป็นอาริยะ วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2565 ( 14:20:00 )

ปฏิบัติจนรู้สึก สุข-ทุกข์ เป็นอารมณ์ที่ไม่ต่างกัน 

รายละเอียด

ปฏิบัติจนรู้สึก สุข-ทุกข์ เป็นอารมณ์ที่ไม่ต่างกัน ก็ดี เข้าใจก็ดีแล้วเพราะว่ามันก็เป็นภาวะ จริงๆแล้วคุณจะต้องอาศัย อารมณ์หรือความรู้สึกที่เรียกว่า คุณก็ค่อนไปทางสบายใจ หรือพอใจ จะเรียกด้วยบัญญัติ ภาษาว่าอันนี้คือสุข ก็ยืนอยู่ตรงนี้ ถ้าทุกข์มันค่อนไปทางไม่สบาย ค่อนไปในทางลำบาก ก็อยู่ที่เราเอง เราจะต้องอ่าน อารมณ์ อันนี้แหละเป็นจุดสำคัญที่จะต้องเรียนรู้จริงๆเลย จนกระทั่งเราเห็นว่า สุขทุกข์นี้ มันไม่เห็นต่างกันอะไร เป็นแต่เพียงว่าอนุโลมปฏิโลม ในเหตุปัจจัยตามกาละ เทศะ ฐานะใด เราก็อนุโลมไปเท่านั้นเอง จริงๆแล้วมันไม่ต่าง อะไรกัน ถ้าคุณเห็นตรงนั้นแล้ว สุดท้ายมันก็ไม่มีอะไรขัดแย้ง 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ กษัตริย์คือจิตประชาชนคือกายของประเทศ วันศุกร์ที่ 2 กันยายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 22 กันยายน 2565 ( 13:42:38 )

ปฏิบัติจนเกิดผลมายืนยัน

รายละเอียด

ที่เขาเอาพยัญชนะมาแปะกับสภาวะผิด อาตมาต้องตามล้างตามเช็ดเยอะแยะเลยเหน็ดเหนื่อย ก็เลยตามล้างตามเช็ดไม่ไหว เราเห็นอย่างนี้ เข้าใจอย่างนี้พูดไปเลย เขาจะแย้งเราก็ไม่ฟังเสียง พาให้ประกาศ พาให้พวกเราเรียนรู้ปฏิบัติจนเกิดผลมายืนยัน เช่น

ยืนยันว่าอาริยบุคคล เป็น โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ เป็นโพธิสัตว์อย่างไรอาตมาเอามาให้ปฏิบัติพระพุทธเจ้ามีจริง อาตมายืนยันว่ามีจริง พวกคุณก็ยืนยันตัวเอง รู้ตัวเอง จะรู้ยังไม่ชัดเจนนัก ก็จะรู้ว่ามันใช่หรือนี่ เพราะในคำอธิบายต่างๆ

โสดาบันเลิกอะไร สูงขึ้นไปเป็นสกิทาคามีเลิกอะไร สูงขึ้นไปเป็นอนาคามีเลิกได้อีกถึงเรียกว่าอรหันต์ ขนาดไหนจึงเรียกว่าอรหันต์

ตั้งแต่รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส พวกเราก็สบาย รู้ได้ เลิกมา จนมาเป็นคนทิฏฐิเดียวกัน ศีลสามัญตา ทิฏฐิสามัญตา สามัญตา หมายความว่ามันเสมอสมาน ไม่ใช่เสมออย่างเดียว มันสมาน มันมีตัวเชื่อมต่อ โสดาเสมอโสดา สกิทาฯเสมอสกิทาฯ อนาคาเสมออนาคา อรหันต์เสมออรหันต์ ไม่ใช่ว่าเสมอกันอย่างเดียวแต่มันมีสมานมีการเชื่อมต่อกัน คนนี้ต่อจากเรา คนนี้โสดาฯ คนนี้สกิทาฯ คนนี้อนาคาฯ คนนี้อรหันต์ 

เสมอกันโดยที่ไม่ได้หลงตนเอง ตนเองต่ำก็รู้ว่าตนเองต่ำ ตนเองสูงก็รู้ว่าตัวเองสูง  ตนเองเสมอก็รู้ว่าตนเองเสมอ อย่างนี้เป็นต้น จึงไม่ข่มกัน ผู้ที่ข่มกันอยู่ ก็เป็นกิเลสส่วนตัวของเขา แล้วชาวอโศกการข่มกันมีไม่มากเท่าไหร่ 

 

ที่มา ที่ไป

พิธีน้อมกตัญญูบูชา พ่อครูสมณะโพธิรักษ์ งานอโศกรำลึก 2565 วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2565 ( 21:26:45 )

ปฏิบัติจรณะ 15 ด้วยศีลทำให้เกิดปัญญา

รายละเอียด

ปฏิบัติแล้วจะเป็นผู้ที่เข้าใจทางปฏิบัติ อปัณณกปฏิปทา 3 เริ่มต้นทำศีลก็จะมาปฏิบัติด้วยหลัก3 อย่าง ถ้าคุณไปปฏิบัติโดยไม่มีหลัก 3 อย่างนี้ คุณก็นอกรีต ปฏิบัติศีลแล้วต้องมีการสำรวมอินทรีย์ มีโภชนามัตตัญญุตา มีชาคริยานุโยคะ สำรวมอินทรีย์ไม่ใช่แค่ทวารใจ แต่ต้องมีทวารทั้ง 6 ครบ แล้วคุณจะต้องรู้สิ่งที่กินใช้เรียกว่าโภชนะ คุณจะต้องเรียนรู้ จะต้องเอาการกินการใช้ เครื่องกินเครื่องใช้ อาหารสิ่งที่จะต้องอาศัยก็คือ ของกินของใช้ในชีวิต คุณจะต้องสัมผัสสัมพันธ์เกี่ยวข้องอยู่กับการใช้เครื่องกินเครื่องใช้ คุณสัมผัสกับสิ่งเหล่านี้แล้วมันจะเกิดกิเลส คุณต้องเรียนรู้กิเลสที่เกิดจากเครื่องกินเครื่องใช้ที่คุณมี มันไม่ได้ห่างไกลไปจากชีวิตเลยการปฏิบัติธรรมไม่ต้องไปหนีเข้าป่าไม่ต้องไปหาที่นั่งหลับตาสงบ ไม่ต้อง อยู่กับของกินของใช้ อยู่กับการงานการทำอาชีพทุกอย่างกัมมันตะ อยู่กับการพูดอยู่กับการคิด ไม่ต้องไปหยุด งานอาชีพการกระทำเลย ไม่ต้องหยุดพูดหยุดคิด

ที่มา ที่ไป

รายการทำวัตรเช้า วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 25 มกราคม 2563 ( 15:11:17 )

เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2563 ( 07:39:18 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:25:32 )

ปฏิบัติจรณะ 15 ตามลำดับ

รายละเอียด

พอศีลแล้วก็จบตรงศีลเพราะเขาไม่มีอปัณกปฏิปทา 3 สำรวมอินทรีย์ โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยค เขาไม่ฟังไม่ตื่นรับรู้ เขาจมอยู่ในถ้ำในความมืดไม่รับรู้ อชาคริยา เพราะเขาไม่มาอยู่กับโภชนะของกินของใช้ แล้วปฏิบัติกับของกินของใช้ โดยสำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 ตาหูจมูกลิ้นกายกระทบของกินของใช้ นี่แหละเรียนรู้ ตั้งแต่ กวฬิงการาหาร ผัสสะอันนี้แล้วรู้เจตนาในอาหารการกิน คุณก็จะรู้จักวิญญาณนามรูป แล้วก็จะเรียนนามรูปเป็นธรรมะ 2 ในผัสสะ แล้วอ่านเจตนา เจาะเจตนาจนถึงกามตัณหา

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 10 มีนาคม 2563 ( 10:00:22 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 13:11:57 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:25:55 )

ปฏิบัติจรณะ 15 ตามลำดับจะเกิดฌาณ 4 จนถึงวิชชา 8 ตามลำดับ

รายละเอียด

จรณะ 11 ข้อแรกให้ปฏิบัติตรงศีลแล้วปฏิบัติไม่ผิด 3 แล้วจิตเกิดสัทธรรม 7 มีตัวพลังงานที่ทำให้กำจัดกิเลสจนจิตสะอาด เกิดฌาน 1 2 3 4 ทำให้สัทธรรม 7 เจริญขึ้น หากก้าวหน้าเรียก ฌาน 1  2 3 4 ฌานคือไฟ พลังงาน อุณหธาตุมีฤทธิ์แรงร้อนละลายไม่ใช่ทำให้จับตัว ฌานคือไฟ แต่พวกเทวนิยมฌานของเขาจะเย็นนิ่งแข็งเป็นก้อนหยุด แต่ฌานของพระพุทธเจ้ามีความร้อนละลายไฟราคะโทสะโมหะเลย ฝั่งนั่งหลับตาก็ไม่มีการรู้ราคะโทสะโมหะ มีแต่จับตัวกันเป็นก้อน ไม่แยกแยะออกได้ แต่ของพุทธนี้แยกแยะละเอียดลออ ทุกเม็ด ละอองธุลีมันต่างกัน 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 15 มีนาคม 2563 ( 10:07:00 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 14:09:48 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:26:43 )

ปฏิบัติจรณะ 15 ต้องอยู่ในชีวิตประจำวัน

รายละเอียด

เราก็ศึกษาธรรมะด้วยการฟัง ด้วยการปฏิบัติธรรม ด้วยการประพฤติ ชีวิตก็ได้ปฏิบัติธรรม อาตมาว่าไม่มีอะไรดีไปกว่า ชีวิตเราจะไปตกอยู่ที่ไหนก็แล้วแต่ จะไปตกอยู่ในสังคมไหนก็ตาม คุณก็ได้ปฏิบัติธรรม 

โดยมีหลักปฏิบัติของเราชัดเจน มีศีล มีอปัณณกปฏิปทา 3 เป็นต้น พาปฏิบัติ เกิดสัทธรรม 7 ไป เกิดฌานไป ในชีวิตประจำวัน มีวิชชา มีปัญญา มีญาณเกิดในชีวิตไป 

ที่ไหนๆๆๆ ก็ปฏิบัติได้ ปฏิบัติให้เกิดฌาน ให้เกิดการสั่งสมจิตวิญญาณ เป็นสมาหิโต เป็นสมาธิของพระพุทธเจ้า ถ้าผู้ใดเข้าใจสัมมาทิฏฐิแล้วมีจรณะ 15 วิชชา 8 ปฏิบัติธรรมไม่ต้องไปเข้า-ไปออก ไม่ต้องไปจัดสถานที่ ไปเต๊ะท่านั่งตัวตรงดำรงสติคงมั่นอะไร ไม่ต้อง ไม่ต้องเลย 

ปฏิบัติตามจรณะ 15 วิชชา 8 นี้ครบแล้ว พระพุทธเจ้าท่านรวมเอาไว้ตรงนี้สมบูรณ์แบบ สรุปไว้เต็มที่แล้ว ขยายออกไปได้เป็นธรรมะทั้งหมด พระพุทธเจ้าท่านทรงประกาศไว้ก็คือ เป็นพุทธคุณ จรณะ 15 วิชชา 8 นี่เอง ซึ่งพวกเราก็ชัดเจน มีศีลเป็นหัวข้อหลัก มี อปัณณกปฏิปทา 3 เป็นข้อประพฤติปฏิบัติที่ไม่ผิดพุทธ อยู่ประจำตัว สำรวมอินทรีย์ โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยคะ สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นผู้ตื่นอยู่ จะกินจะใช้อะไร โภชนะ โภชเนฯ 

ปฏิบัติธรรมจากการกินการใช้นี่แหละในชีวิต รู้จักกิเลส ตัดกิเลส กิเลสลดจนเป็น โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี เป็น อรหันต์ แล้วสูงกว่าอรหันต์ขึ้นไปอีก จะเป็นอรหันต์ลำดับที่ 2, 3, 4, 5 ก็แล้วแต่ใครบรรลุแล้ว เราจะเข้าใจ ว่า อ้อ! บรรลุคือสามารถที่จะจบกิจ จะตายลงเมื่อใด กายแตกตายแล้ว เราก็ตายอย่าง สุญญตนิพพาน อนิมิตนิพพาน อัปนิหิตตนิพพาน ตายด้วยนิพพาน 3 นี้ เราก็หมดอัตภาพ จิตวิญญาณ จิตนิยามของเราก็สลายแยกธาตุไปเป็นดิน น้ำ ไฟ ลม ไป จบ เลิกเลย เป็นอวสาน รอบปริโยสาน อวสานอย่างรอบถ้วน อันเป็นที่ถูกต้องดีงาม 

ที่อาตมาเอาพยัญชนะพูดไปแล้วนี้ พวกเราก็ตรวจสอบ ตามความเป็นจริงว่า เราฟังแล้วเข้าใจคำนั้นคำนี้แล้ว สภาวธรรมตรงตามแต่ละคำแต่ละคำ ที่อาตมาพูดไป มีสภาวะเป็นคู่เสมอ จากพยัญชนะนั้น ก็มีสภาวะ เราทำได้ตามที่ว่านี้หรือไม่ สมบูรณ์แบบหรือไม่ สมบูรณ์แบบ เราก็สามารถบรรลุธรรมแน่นอน โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ 

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ สัทธรรม 7 ที่จะทำให้เกิด ฌานของพุทธ วันศุกร์ที่ 22 กันยายน 2566 ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 10 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 15 มีนาคม 2567 ( 07:30:09 )

ปฏิบัติจรณะ 15 ศีลข้อ 1

รายละเอียด

ปฏิบัติศีลข้อที่ 1 เกี่ยวข้องกับสัตว์ ก็เรียนรู้เวทนาเมื่อสัมผัสกับสัตว์จากการสำรวมอินทรีย์ทั้งตาหูจมูกลิ้นกาย ใจก็เกิดเวทนา คุณจะกินจะใช้อยู่กับสัตว์ทั้งหลาย จะฆ่าสัตว์มากิน มันใช่หรือ คุณต้องพิจารณาแล้วคุณต้องเกี่ยวข้อง แล้วคุณก็จะต้องมาเรียนรู้ความตื่น ชาคริยา ความตื่นอย่างมีสติเต็ม มีสติทางกายภายนอก วจีกรรม มโนกรรม มีสติคือความตื่นรู้ตัวทั่วพร้อมมีสติเต็ม หากคุณไปหลับตาและบอกว่ามีสติ คุณก็ทิ้งไปอีกตั้ง 2 กรรม ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่เป็นภายนอกแท้ ทางวาจา คุณทิ้งหมด เอาแต่ภายใน

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 10 มีนาคม 2563 ( 09:57:54 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 13:12:46 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:27:38 )

ปฏิบัติจริงมีความเป็นได้จริง

รายละเอียด

การลงมือทำสัมผัสสัมพันธ์กันจริงๆ กับการเอาแต่คิดๆๆมันต่างกันลิบลับเลย พวกเราถึงชัดเจนในธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เอามาขยายความและปฏิบัติ ลึกลงไปในรายละเอียดของความจริงในความจริงไม่ค่อยครบหรอก มันละเอียดลึกซึ้งมีอะไรอีกเยอะแยะก็พิสูจน์กันไปเถอะ คิดว่าพวกเราปฏิบัติจริง มีความเป็นได้จริงเป็นไปเรื่อยๆ อาตมาก็มีแต่เชื่อว่า สิ่งนี้มันจะงอกงามไพบูลย์ โลกุตรธรรม ที่พวกเราเอา ของพระพุทธเจ้า มาปลูกฝังลงในมนุษยชาติมันเข้าไปสู่จิตวิญญาณมนุษย์จริงๆ มีแต่จะงอกงามไพบูลย์จนกว่ามันจะหมดฤทธิ์แรงของมันตามเหตุปัจจัย

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ โสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 25 วันจันทร์ที่ 25 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 20 กุมภาพันธ์ 2564 ( 04:20:01 )

ปฏิบัติจริงรสอร่อยไม่ยึดติด

รายละเอียด

เอาความจริงมาถามหรือเปล่า ก็ขอบอกให้ฟัง อย่าไปวิตกกังวลอะไรเลย ก็เรียนรู้ดีๆ เรียนรู้แล้วคุณก็พยายามปฏิบัติให้ไปจริง คุณก็จะรู้ว่ารสอร่อยมันค่อยๆบรรเทา ค่อยๆไม่ติดยึด อย่างอาตมาทุกวันนี้อะไรอร่อยๆไม่อร่อยอาตมาไม่รู้เรื่องกับเขาเลย เขาทำมาก็กินไป อะไรควรกินก็กินหมด อะไรไม่ควรกินอาตมาก็กินบ้างพอสมควร มันอย่างนั้น มันก็รู้ว่าอะไรควรเอาธาตุ มาใส่ร่างกาย ซึ่งจริงๆเขาก็คัดเลือกมาแล้ว มีแต่สิ่งที่ดีๆมาให้ บางที ตอนนี้กำลังขาดธาตุนี้เขาก็เอามาให้อาตมาก็กิน ตอนนี้ขาดธาตุแป้ง เกลือ ก็หนักมาทางนั้น ก็ว่าไป ไม่มีปัญหาอะไร เจตนาดีกันทั้งนั้น อาตมาก็อยู่ไป

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 08 เมษายน 2563 ( 11:14:59 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 13:14:10 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:28:13 )

ปฏิบัติจิตด้วยการเรียนรู้เจโตปริยญาณ 16

รายละเอียด

เรียนรู้เจโตปริยญาณ 16 คือ 1. สราคจิต (จิตมีราคะ) 2. วีตราคจิต (จิตไม่มีราคะ) 3. สโทสจิต  (จิตมีโทสะ)  4. วีตโทสจิต  (จิตไม่มีโทสะ)  5. สโมหจิต (จิตมีโมหะ) 6. วีตโมหจิต (จิตไม่มีโมหะ) 7. สังขิตฺตํจิตตํ. (จิตเกร็ง-จับตัวแน่น หด คุมเคร่งอยู่) 8. วิกขิตฺตํจิตตํ  (จิตกระจาย-ดิ้นไป ฟุ้ง จับไม่ติด) 9. มหัคคตจิต (จิตเจริญยิ่งใหญ่ขึ้น) 10. อมหัคคตจิต (จิตไม่เจริญขึ้น) 11. สอุตตรจิต (จิตมีดีแต่ยังมีดียิ่งกว่านี้-ยังไม่จบ) 12. อนุตตรจิต (จิตไม่มีจิตอื่นสูงยิ่งกว่า) 13. สมาหิตจิต (จิตตั้งมั่นเป็นประโยชน์ดีแล้ว)  14. อสมาหิตจิต (จิตยังไม่ตั้งมั่นไม่เป็นประโยชน์) 15. วิมุตตจิต (จิตหลุดพ้น) 16. อวิมุตตจิต (จิตยังไม่หลุดพ้นสิ้นเกลี้ยง) (พตปฎ. เล่ม 9   ข้อ 135)   

สมาหิตะ อสมาหิตะ และวิมุติ อวิมุติ เป็นการตรวจ 2 สภาวะสุดท้าย สมาหิตะก็คือการตั้งมั่นของจิต โดยทั่วไป เดียรถีย์ นึกว่าสมาธิเป็นจิตตั้งมั่น แต่ความตั้งมั่นของจิตพระพุทธเจ้าต้องมีหลักการ ตรวจสอบมีความบริสุทธิ์หรือไม่ สมาธิที่รู้จักกิเลสตั้งแต่ ราคะ โทสะ โมหะ ลดลงไปตามลำดับว่า มันลดลงไปแล้วหรือมันไม่มีแล้ว แล้วก็ต้องตรวจว่า มันหลุดพ้นหรือมันตั้งมั่นหรือมัน วิมุติหรืออวิมุติ ตรวจสอบ 2 คู่

นี่คือ 8 คู่ของเจโตปริยญาณ คุณต้องมีสูตรนี้ตรวจ อาจจะต้องท่องหน่อย แต่ถ้ามันมีสภาวะแล้วก็จะจำง่าย เอาพยัญชนะมาใช้บ้าง ถ้าเป็นสภาวะจริงที่คุณมีในตัวมันจะไม่ลืมเลย มันจะเรียงเป็นตัวสภาวะจริงชัดๆ เลย อย่างอาตมาอธิบายมันออกมาจากสภาวะ มันเป็นสัจธรรมจริงๆไม่ได้ยากเย็นอะไร ถ้ามันมี แต่ถ้าไม่มีมันก็ยาก น่าเห็นใจเหมือนกัน 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาไม่ดับสัญญาแต่ดับกิเลส วันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 16 ตุลาคม 2565 ( 18:53:24 )

ปฏิบัติฌานเวลาใด

รายละเอียด

และเวลาเรียนแล้ว เวลาจะศึกษา เวลาจะเรียนแล้วถึงจะรู้ ข้อสำคัญที่ย้ำมากมาย คือรูปกับนามต้องมีสัมผัสกัน สัมผัส 1 สัมผัสภายนอก ตาสัมผัสภายนอก จมูกลิ้นกายเรียกว่า โผฏฐัพพะ สัมผัสภายนอกต้องสัมผัสจึงจะเกิดสิ่งจริงให้รู้ไปหลับตาปิดทั้ง 5 ทวาร ไม่ได้ใช้งานตาหูจมูกลิ้นกายเลย ปิดหมด ไปรู้แต่ข้างใน คุณก็รู้อยู่แค่นั้น อยู่แต่ในการรู้จิตในจิตนิดเดียว ทั้งที่มันมีการรู้ตั้ง 6 ทวารรู้ คุณทิ้งไป 5 รู้ แล้วคุณก็คิดว่าคุณจะรู้หมดจะรู้จบ มันเป็นการเพ้อพกมันเป็นการสำคัญผิดแท้ๆ มันเป็นไปไม่ได้ 

การรู้ของพระพุทธเจ้านั้น 5 รู้ข้างนอก ตากระทบรูปแล้วก็เรียนรู้ทั้งทั้งที่ตาไม่ได้หลับเลยตลอดเวลา รู้แล้วก็เข้าใจแยกกิเลสให้ได้แล้วก็ทำให้กิเลสมันลดลง ปฏิบัติจนมีพลัง วิมุตติญาณทัสสนะ ทำให้กิเลสมันดับไปเลย กิเลสดับหรือกิเลสยังไม่ดับก็แล้วแต่ เมื่อใดก็ได้ปฏิบัติ ฌาน 1 ,2 ,3 ,4 จนอาเนญชา ลืมตาสัมผัสอยู่นั่นแหละคุณไม่ได้ไปหลับตา กิเลสมันหมดไปก็ลืมตา ก็ถูกแล้ว ถึงต้องพยายามเอากิเลสเหตุแห่งความไม่สงบออกไป อันนี้กิเลสจริง ไปหลับตามันไม่ได้กิเลสจริง หลับตาได้แล้วสงบไปเพราะเป็นของเก๊ของง่าย ของปลอมๆ ของง่ายๆมักง่าย เป็นมิจฉาฌาน มิจฉาสมาธิ มิจฉาวิมุติ 

อาตมาพูดแล้วก็สุดสงสารเห็นใจ ดุแรงแล้ว จนไม่แรงแล้ว ใครจะฟังก็ฟัง พูดแรงอย่างไรก็เหมือนหัวดื้อ แรกๆอาตมาก็พูดเร็วแต่ไม่แรง ต่อมาก็ค่อยๆแรงขึ้นๆ จนกระทั่งตอนนี้ก็พยายามจะเบาลงๆแล้ว ไม่ต้องไปปลุกเร้าอะไรมากมายแล้ว ไม่ต้องไปกระแทกกระทุ้งอะไรแล้ว คนไหนสนใจใส่ใจ ไม่ได้เต็มที่เหมือนฮาร์ดร็อคเรียกความสนใจ ก็อย่างนี้เรื่อยๆมาเรียงๆ ไม่ได้เรียกความสนใจด้วยเสียงดัง ลีลาอะไร ไม่ต้องแล้ว มันเมื่อยแล้ว อาตมาก็เมื่อยอย่างไรๆ ก็แล้วแต่ชาตินี้อาตมาไม่ได้เสียผล เกิดมาแล้วก็ได้รับผลได้รับประโยชน์ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 50 ตอบปัญหาผ่าปฏิจจสมุปบาท วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 12 กันยายน 2565 ( 14:28:50 )

ปฏิบัติดย่างไรหลังจากฟังธรรม

รายละเอียด

คนนี้ฟังธรรมแล้ว มีอานิสงส์ในการฟังธรรม 5 ประการ 1. ผู้ฟังย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง (อัสสุตัง  สุณาติ) 

2. ย่อมเข้าใจชัดในสิ่งที่ได้ฟังแล้ว (สุตัง  ปริโยทเปติ) 

3. ย่อมบรรเทาความสงสัยเสียได้ (กังขัง  วิหนติ) 

4. ย่อมทำความเห็นให้ถูกตรง  (ทิฏฐิง อุชุง กโรติ) . 

5. จิตของผู้ฟังย่อมเลื่อมใส (จิตตมัสสะ  ปสีทติ) 

(พตปฎ. เล่ม 22   ข้อ 202) 

ขอให้ปฏิบัติ แล้วเอาไปอ่านกิเลสที่เกิดจากตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่ทำให้เกิดเวทนาแล้วปฏิบัติที่เวทนา 108 นี่แหละ เข้าไปสัมผัสและเกิดสภาวะคู่เสมอเรียกว่า ธรรมทั้งสองเหล่านี้ รวมเป็นอันเดียวกันกับเวทนา โดยส่วนสอง (เทฺว ธมฺมา ทฺวเยน เวทนาย เอกสโมสรณา ภวนฺติ ฯ )  ล.10 ข.60 ทำให้เกิดเวทนาสองเป็นเวทนาเดียว ซึ่งเป็นสิ่งที่อาศัยกันเกิดตามปฏิจจสมุปบาท 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ มรรคมีองค์ 8 ทำให้พ้น

จากอัญญเดียรถีย์ วันศุกร์ที่ 23 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 01 พฤษภาคม 2564 ( 10:38:10 )

ปฏิบัติด้วยการหลับตาไม่มีทางเข้าถึงสัจจะความจริงแท้!

รายละเอียด

ภาวะ“ปัจจุบัน”นั้นเป็นจริงกว่า“อดีต” กว่า“อนาคต”คนผู้“หลับตา”ปฏิบัติไม่มี“สัมผัส 6”ครบครันทั้งภายนอก-ภายใน จึงเป็นผู้ไม่รู้จักรู้แจ้งรู้จริง“สัจจะความจริง”ครบถ้วน

พระพุทธเจ้าจึงให้ศึกษาใน“ปัจจุบันขณะ”ที่มี“จักษุ-ปัญญา -ญาณ-วิชชา-อาโลก” หรือในการ“สัมผัส”ของ“ทวาร 6”เสมอคือ “ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ”ที่มีความตื่นรู้(ชาครียะ)ของ“ทวาร 6” และมี“ปัญญา-ญาณ-วิชชา”ที่เกิดในขณะตื่นๆมี“อาโลก(แสงสว่าง)

 

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ รวมเปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อ 87 หน้า 96


เวลาบันทึก 15 มิถุนายน 2564 ( 19:02:24 )

ปฏิบัติตอนเป็นๆ ตอนตื่นนี่แหละ

รายละเอียด

ปฏิบัติต่อไปคุณเริ่มเข้าใจ ได้ตามลำดับ แล้วให้ปฏิบัติตอนเป็นๆนี่แหละตอนตื่นนี่แหละ พระพุทธเจ้าไม่ได้ให้ปฏิบัติในตอนฝัน 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม 2563


เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 11:16:12 )

ปฏิบัติตั้งมั่นแข็งแรงแม้ทีเผลอก็ไม่เกิด

รายละเอียด

มากเท่าที่คุณรู้เองตั้งใจเอง คุณก็เผื่อพอไว้สิ ธรรมชาติก็กระทบสัมผัสอยู่แล้ว อันนี้กระดิกๆ ก็ต้องทำซ้ำอีก สัมผัสแล้วไม่มีทีเผลอก็ไม่เกิด ที่เราไม่ตั้งใจก็ไม่เกิดอย่างแรงอย่างเบาทุกมุมเหลี่ยมท่าที คุณก็มั่นใจสั่งสมในทุกปัจจุบัน เป็นอดีตด้วยหลัก 36 36 36 เป็นเวทนา 108 ในทุกปัจจุบันสั่งสมให้ได้ผลอย่างนั้นภาวนาใหม่ในทุก 36 อดีต ปัจจุบันอนาคต สำหรับภายนอกคุณสัมผัสแล้วอุเบกขา ทุกปัจจุบัน สั่งสมเป็นอนาคต แล้วก็อนาคตก็สู้ อดีตกับปัจจุบันไม่ได้ คุณจะรู้โดยสภาวะของคุณเอง อย่าประมาทเผื่อพอไว้ สะสมอเนญชาภิสังขาร

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 01 เมษายน 2563 ( 10:32:21 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 13:15:52 )

เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 08:28:33 )

ปฏิบัติตาม 4 ข้อนี้จะได้ผลแบบนี้

รายละเอียด

เป็นคนที่มีที่พึ่งอย่างเดียวคือ ความรู้ทางโลกุตรธรรม อาตมาสรุปความรู้โลกุตรธรรมเป็นรูปธรรมง่ายๆชัดๆเอาไว้ 4 ข้อ 4 ประเด็น 

1. ไม่เป็นหนี้ 

2. ตนเองต้องทำมาหากินเลี้ยงตนเองรอด อย่าไปเบียดเบียนใคร อย่าไปรบกวนใคร มีสมรรถภาพมีความรู้ความขยันทำกินทำใช้ให้รอดของตัวเอง 

3. สร้างให้มากเกินกว่าที่ตัวเองกินใช้ 

4. แจกผู้อื่น 

หลักเกณฑ์นี้ ผู้ใดทำสำเร็จ จบ โลกุตรธรรม จบ เป็นเศรษฐศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด แล้ว คนที่มีคุณลักษณะ 4 นี้ มีผู้เห็นด้วยแล้วมาปฏิบัติตาม จะได้ผลแบบนี้ มาเป็นคนแบบนี้ เมื่อมีคนแบบนี้มาอยู่ร่วมกันก็จะเกิดหมู่เป็น เอกีภาวะ เป็นเอกภาพ เป็นมวลหมู่ที่อยู่กันอย่างแน่นเพราะอยู่กันอย่างมีปัญญา มีความเฉลียวฉลาดอย่างโลกุตระ 

เพราะฉะนั้นจึงอยู่กันอย่างไม่มีตัวตน ไม่เห็นแก่ตัว มีแต่เพื่อผู้อื่น 

ดัง 4 ข้อนี้ ไม่เป็นหนี้ เลี้ยงตัวเองรอด ทำให้เหลือให้เกินแล้วให้ผู้อื่น มีแต่ชีวิตให้ ให้ ให้

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม พ่อครูพบคุณตู่-จตุพร และทนายนกเขา ดำเนินรายการโดย คุณสุชัย เจริญมุขยนันท์ วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 06 ธันวาคม 2565 ( 12:37:41 )

ปฏิบัติตามจุลศีล 26 ข้อเป็นอรหันต์ได้

รายละเอียด

เอาล่ะ ค่อยๆพูดไปเรื่องเกี่ยวกับสัตว์นี่แหละมันก็คือโลก คนในโลก จะต้องเกี่ยวกับสัตว์ สัตว์เดรัจฉาน อาตมาก็อธิบายให้ฟังแล้วว่าพระพุทธเจ้าตั้งจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีลมา 3 ข้อมี 3นัย สำคัญ​ที่ได้ขยายความ สรุปแล้วสัตว์ที่ไม่มีประโยชน์กับคนเลย คุณจะไปเกี่ยวกับมันเลย อย่าไปยุ่งเกี่ยวกับมัน ขนาดสัตว์ที่มีประโยชน์แล้วท่านก็แยกไว้ 3 อย่าง ประโยชน์ที่จะใช้ขนมัน นมมัน จะกินเนื้อมันจะใช้แรงงานมันมี 3 อย่าง ขนาดนั้นพระพุทธเจ้าท่านยังบอกว่าอย่าไปเกี่ยวข้องอย่าไปสร้างอีกจะไปเอาช้างมาใช้งานอย่าไปเอามามาใช้งาน อย่าไปเอาไก่เอาสุกรมากินเนื้อมันอย่าไปเอาแพะเอาแกะมาเลี้ยงเอาขนเอานมมันเลย กินพืชๆๆๆ กินผักผลไม้ เอาผักผลไม้เลี้ยงชีพเหลือแหล่แล้ว เพราะฉะนั้นจุลศีล ทำตามพระพุทธเจ้าเถอะ วิบากจะหมดไป ไม่เช่นนั้นคุณจะมีวิบากอีกมากเลยถ้าคุณไม่ปฏิบัติตามศีล โดยเฉพาะ จุลศีล มีแค่ 26 ข้อ ปฏิบัติตามจุลศีล 26 ข้อนี้ให้ครบเท่านั้นแหละเป็นอรหันต์เด็ดขาด ขอให้คุณเข้าใจให้ดีๆ แล้วคุณก็อ่านเมื่อสัมผัสเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆได้จุลศีล 26 ข้อ คุณก็จะเรียนรู้ถึงการเกี่ยวข้องปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆใน 26 ข้อนี้ คุณจะอ่านกิเลสล้างกิเลสได้หมดเป็นพระอรหันต์ได้เลย 

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม 2563


เวลาบันทึก 12 สิงหาคม 2563 ( 11:08:21 )

ปฏิบัติตามปัจจุบันธรรมไปเรื่อยๆรอดูผลที่เป็นภาวะสอง

รายละเอียด

สรุปแล้วฟังท่านนายกฯมีความลึกละเอียดและชัดเจน ก็คิดว่า อาตมาก็ไม่พยากรณ์หรอก เมื่อแสดงออกแล้วแถลงการณ์ออกไปแล้ว ผลจะเป็นอย่างไรพวกเราก็ดูซิว่า คนไทยที่ได้รับการแสดงออกของนายกรัฐมนตรี แสดงความจริงใจของนายก และได้กระทำไประดับหนึ่งแล้วขณะนี้ จะมีกฎหมาย ระงับกฎหมายหรือเพิ่มกฎหมายอย่างไร ตามที่สามารถทำได้ ในระบบระเบียบของประชาธิปไตยที่ทำอยู่นี้ ก็ดูซิว่าจะเกิดผลคนไทยที่เป็นประชาชนพลเมืองของไทย ซึ่งมีปัญญาเป็นของตัวเอง จะได้รับทราบแล้ว จะลดบทบาทที่ควรลด หรือว่าจะเสริมบทบาทที่ไม่ควรจะทำเพิ่มมาอีก ประเทศไทยก็แสดงว่ามีผลสำเร็จ แต่ถ้ายิ่งมันเพิ่มความไม่ควรเพิ่มขึ้นมาอีกก็แสดงว่า มันไม่ได้ผล เป็นภาวะสอง ก็ดูผลสิ นี่ปฏิบัติตามปัจจุบันธรรมไปเรื่อยๆ ที่อาตมานำมาพูด มันเป็นวิธีการเป็นพฤติกรรม เป็นการปรากฏตามความจริงที่ประเทศไทยกำลังปฏิบัติการ ที่เป็นประชาธิปไตยประเทศหนึ่งแบบไทยๆอยู่ในโลก ซึ่งยังห่างไกลจากประเทศอีกหลายประเทศ โดยเฉพาะขณะนี้ ของสหรัฐอเมริกามันเห็นชัดเจนเลย อาตมาก็ไม่เก่งจะอธิบายรายละเอียด เพราะมันละเอียด มันเนียนลึกละเอียดสุภาพประเสริฐกว่ากัน อย่างไรแค่ไหนก็ยังไม่เก่งที่จะอธิบาย นี่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดในปัจจุบันธรรม

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 21 ตุลาคม 2563


เวลาบันทึก 20 พฤศจิกายน 2563 ( 14:58:53 )

ปฏิบัติตามพ่อแล้วไม่มีทุกข์รบกวน

รายละเอียด

ถ้าเชื่อว่าอาตมารู้ธรรมะพอจะเป็นครูคุณได้ คุณก็ฟังอาตมาไป ซึ่งอาตมาได้บอกตัวเองหมดเนื้อหมดตัวไปแล้วคุณจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ไม่มีปัญหาอะไร ถ้าคุณเชื่อว่าคุณเองพอจะฟังธรรมะจากอาตมาได้ คุณก็เอา แต่ถ้าเห็นว่าโพธิรักษ์ก็เท่านั้นแหละ รู้แล้ว พูดวนไปวนมาก็เท่านี้ เรารู้มากกว่า เขาก็ไม่ฟังไม่มีปัญหาอะไร ไม่ต้องมาด่า 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ สังคมของคนที่ตายจากกิเลสจนเป็นพระอาริยะ วันศุกร์ที่ 9 กันยายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 05 ตุลาคม 2565 ( 10:58:56 )

ปฏิบัติตามลำดับ ตามขั้นตอน แต่ก็เข้าใจยากเย็น หรือเจตนาไม่ยอมเข้าใจ?

รายละเอียด

แต่ทำไมพวก“หลับตา”ปฏิบัติ ไม่รู้เรื่องง่ายๆเบื้องต้นแค่นี้ แล้วเรียนรู้ปฏิบัติให้เป็นไปตามลำดับ นี่ก็เป็น“มิจฉาทิฏฐิ”แท้! สำคัญยิ่งไปกว่าเรื่อง“หลับตา” ก็คือ ศาสนาพุทธไม่ต้องไปหลงปฏิบัติอยู่กับการปฏิบัติ“หลับตา”เลย ไม่ว่าจะปฏิบัติอยู่ในขณะไหนๆ แม้จะปฏิบัติกำจัดกิเลสภวตัณหาอยู่ก็ตาม หรือจะทำ“เตวิชโช” เพื่อตรวจสอบทบทวนสิ่งที่ได้ปฏิบัติมาแล้วก็ตาม ศาสนาพุทธปฏิบัติ“ลืมตา”ทั้งนั้นตรวจสอบพระวจนะกันให้ดีๆ ถ้วนๆ กันเถิด

หนังสืออ้างอิง

เปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 หน้า 458-459 ข้อที่ 636


เวลาบันทึก 18 มิถุนายน 2565 ( 13:40:13 )

ปฏิบัติตามศีล 5 กิเลสเกี่ยวกับสัตว์

รายละเอียด

กิเลสเกี่ยวกับสัตว์ อาตมาก็อธิบายซ้ำซากไปไม่รู้กี่ทีแล้ว สัตว์เดรัจฉานทุกตัว ปล่อยเขาตามยถากรรม อย่าไปยุ่งกับเขาเลย เขาจะฆ่าแกงกัน เขาจะกินกัน งูจะกินเขียด ก็เรื่องของเขา จะให้งูมันมากินผักบุ้ง มากินดอกดาหลา กินฟักทอง มันไม่ได้ งูมันก็ต้องกินสัตว์ เป็นสัตว์กินสัตว์มันต้องกินสัตว์ มันเป็นวิบากกรรมของเขา ที่เขาจะต้องวนเวียนอยู่ในวิบากจนกว่าจะเลื่อนฐาน

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาพาปฏิบัติเป็นลำดับอย่างไม่กดข่ม วันพุธที่ 16 มีนาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 23 มีนาคม 2565 ( 21:31:52 )

statistics

ติดต่อสอบถาม

Facebook : test

Youtube : Name

Twitter : Name

Line : Name

Telegram : Name

Wechat : Name

Skype : Name

Copyright © 2018 Borvornsocial.net all right are reserved. developer สงวนลิขสิทธิ์