@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก
@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก

อภิธานศัพท์ (Glossary) จัดเป็นฐานข้อมูลด้านโลกุตระที่สมบูรณ์ที่สุดที่คัดมาจากหนังสือ คำเทศน์ ฯ

คู่มือการค้นหาอภิธานศัพท์อโศก หรือ ห้องสมุดโลกุตระ 50 ปี

เอกสาร : https://docs.google.com/document/d/1HLGedxqTAOTOTQKGbO6M4qMremQ8K1jBWKRYDDt6MRQ/edit

วีดีโอ Loom 2 : https://www.loom.com/share/e824e62ec1eb4567848e94af124a7ed5

วีดีโอ Loom 1https://www.loom.com/share/2445744a08e74bca95d2f1d2a0526044

วีดีโอ YouTube : https://youtu.be/QyXcGmzhLmk

 

 

อภิธานศัพท์ (ทั้งหมด) พบ 28,074 รายการ

วิชชา 8

รายละเอียด

วิชชา 8 วิชชานั้นมีตั้งแต่ศีล เป็นยาดำ คือความรู้

 ธาตุรู้ เรียกว่า ปัญญา

 วิชชา เรียกว่าเป็นปัญญา 

ปัญญา ญาณ หรือวิชชา ก็ดี เป็นความรู้โลกุตระมันไม่ใช่ความรู้ของเฉโก อันโลกีย์ แต่อันนี้โลกุตระ แล้วก็พูดแล้วพูดอีก เอาของพระพุทธเจ้ามายืนยันว่าปัญญาก็ดี ญาณก็ดี วิชชาก็ดี จะต้องมี 5 เงื่อนไข จักษุ ปัญญา ญาณ วิชชา อาโลกะ พระพุทธเจ้าก็บอกว่าเราจะดูด้วย 5 อย่างนี้มันเป็นตัวบังคับเลยว่าจะต้องลืมตาสัมผัสอยู่กับโลกข้างนอก อาโลกะ มีแสงสว่าง มีโลกหมุน พระอาทิตย์ส่องแสงมากระทบแล้วมากระทบเข้าลูกตาคุณจึงรู้ เป็นปัญญาเป็น ญาณ เป็นวิชชา หากคุณไปหลับตาปฏิบัตินั้นโมฆะจากศาสนาพุทธ ไม่มีปัญญาเกิดมีแต่สัญญาความเก่า หรืออดีต 18 คุณจะเก่งประมาณไหนก็แล้วแต่คุณก็ไม่ถึง 18 หรอก อนาคต 44 คุณก็ไม่มีครบทั้ง 44 หรอก พระพุทธเจ้าประมวลลงแล้วเท่านี้ เพราะฉะนั้นคนที่มิจฉาทิฏฐินั้น ในพรหมชาลสูตร ไม่มีเวทนาให้ปฏิบัติ จะจมอยู่กับสัญญา จะมีแต่อดีตและอนาคตไม่มีแสงสว่างที่ตากระทบรูปปัจจุบันต้องลืมตาปัจจุบันต้องมีทุกอย่างครบพร้อมทั้งจักษุ ปัญญา ญาณ วิชชา อาโลกะ นี่เป็นตัวกำหนดเพราะฉะนั้นปัญญาไม่มีองค์ประกอบครบ 5 นี้ ไม่ใช่ปัญญา ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ จะเกิดได้ พัฒนาได้ต้องมีมรรคมีองค์ 8 มีธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ มีโพชฌงค์ 7 แล้วก็ต้องมีสัมมาทิฐิ ตั้งแต่สัมมาทิฏฐิ 2 4 5 6 10 แล้วคุณถึงจะปฏิบัติธรรมเกิดปัญญา เมื่อเกิดปัญญาเจริญปัญญาเป็น ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ต้องมีองค์ประกอบเป็นธัมมวิจัยและมรรคมีองค์ 8 ในขณะพูด ในขณะทำ ในขณะคิด ทำอาชีพไม่ใช่ไปจมอยู่ในนั่งหลับตา นี่เป็นความชัดเจนเลย พระพุทธเจ้าสาธยายไว้ การหลับตาให้เกิดปัญญามันไม่มีเลย ฌานไปที่วิชชา ต้องมีศีลเป็นยาดำที่จะเกี่ยวข้องกับวิชชาและจรณะ ตั้งแต่อปัณกธรรม 3 แล้วจะเกิดจิต สัทธรรม 7 ศรัทธา หิริ โอตัปปะ  พหูสูต  วิริยะ  สติ  ปัญญา จะต้องรู้จิตมีปัญญาว่า จิตเรามันเกิดคุณสมบัติอย่างนี้แล้วจึงจะเกิดเป็นฌานเป็นพลังงาน 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช  02/08/2562


เวลาบันทึก 19 ตุลาคม 2562 ( 13:27:14 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 07:50:07 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:09:22 )

วิชชา 8

รายละเอียด

วิชชา 8  คือ ความรู้แจ้งในกิเลส 8 ข้อ

1. วิปัสสนาญาณ (ความรู้แจ้งเห็นจริง หรือ รู้ความจริงในเหตุที่มีความจริงเกิดรู้กิเลสตายจริง อกุศลดับจริง)

2. มโนมยิทธิญาณ (ความมีฤทธิ์ทางจิต  ที่จิตสามารถ เนรมิต ความเกิดอย่างใหม่ขึ้นมาได้)

3. อิทธิวิธญาณ (จิตมีอานุภาพในการบรรลุ  ขจัด ทำลายกิเลสได้หลากหลายวิธี)

4. ทิพยโสตญาณ (สามารถแยกแยะการได้ยินสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้ง เช่น กิเลสปะปนมากับคำร่ำลือ กับเสียงที่เกินกว่าคนธรรมดา เขาจะรู้นัยยะได้)

5. เจโตปริยญาณ (กำหนดรู้ความแตกต่างในจิตขั้นอื่นๆ ของตนได้รอบถ้วน)

6. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (การย้อนระลึกถึงการเกิดกิเลสเก่าก่อน  มารู้อริยสัจ จนหายโง่ออกจากอวิชชา)

7. จุตูปหาตญาณ (รู้เห็นการเกิด การดับของจิตที่ดับเชื้อกิเลส  แล้วเกิดเป็นสัตว์ เทวดา หรือ อาริยะสัตว์)

8. อาสวักขยญาณ (ญาณที่รู้การหมดสิ้นอาสวะของตน)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎก เล่ม 9 ข้อ 133

พระไตรปิฎก เล่ม 9 ข้อ 127-138

รายการสำมะปี๋ซี่วิต สันติอโศก  วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 07 ตุลาคม 2562 ( 12:27:17 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 10:53:03 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:10:02 )

วิชชา 8

รายละเอียด

คือ ปัญญาประกอบรู้ตั้งแต่ศีล  และอปัณกธรรม 3 คือ สำรวมอินทรีย์  โภชเนมัตตัญญุตา  ชาคริยานุโยคะ  หากไม่มีการลืมดา  ทวารทั้ง 6 ไม่มีการสำรวมอินทรีย์  ไม่มีการรับบริโภคอะไรเลย  มีแต่นั่งสะกดจิตนิ่ง  สภาวะของสำรวมอินทรีย์  โภชเนมัตตัญญุตา  ชาคริยานุโยคะก็ไม่มี  ไม่มีการตื่น  เพราะฉะนั้นการปฏิบัตินั่งหลับตา ตีทิ้งได้เลยว่าไม่มีในศาสนาพุทธเป็นปัณปฏิปทา  เป็นการปฏิบัติที่ผิด  ไปนั่งหลับตา  ไม่มี 3 อย่างนี้  เห็นความผิดของศานาพุทธใหม่ออกนอกรีตนอกทาง  การนั่งหลังตานี้ในพระไตรปิฎก เล่ม 14 ข้อ 854 พระพุทธเจ้าระบุไว้ชัดเจน

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายพ่อครู จากรายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 24 กันยายน 2562 ( 14:01:39 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 08:19:03 )

วิชชา 8

รายละเอียด

 วิชชา 8 วิชชานั้นมีตั้งแต่ศีล เป็นยาดำ คือความรู้

 ธาตุรู้ เรียกว่า ปัญญา

 วิชชา เรียกว่าเป็นปัญญา 

ปัญญา ญาณ หรือวิชชา ก็ดี เป็นความรู้โลกุตระมันไม่ใช่ความรู้ของเฉโก อันโลกีย์ แต่อันนี้โลกุตระ แล้วก็พูดแล้วพูดอีก เอาของพระพุทธเจ้ามายืนยันว่าปัญญาก็ดี ญาณก็ดี วิชชาก็ดี จะต้องมี 5 เงื่อนไข จักษุ ปัญญา ญาณ วิชชา อาโลกะ พระพุทธเจ้าก็บอกว่าเราจะดูด้วย 5 อย่างนี้มันเป็นตัวบังคับเลยว่าจะต้องลืมตาสัมผัสอยู่กับโลกข้างนอก อาโลกะ มีแสงสว่าง มีโลกหมุน พระอาทิตย์ส่องแสงมากระทบแล้วมากระทบเข้าลูกตาคุณจึงรู้ เป็นปัญญาเป็น ญาณ เป็นวิชชา หากคุณไปหลับตาปฏิบัตินั้นโมฆะจากศาสนาพุทธ ไม่มีปัญญาเกิดมีแต่สัญญาความเก่า หรืออดีต 18 คุณจะเก่งประมาณไหนก็แล้วแต่คุณก็ไม่ถึง 18 หรอก อนาคต 44 คุณก็ไม่มีครบทั้ง 44 หรอก พระพุทธเจ้าประมวลลงแล้วเท่านี้ เพราะฉะนั้นคนที่มิจฉาทิฏฐินั้น ในพรหมชาลสูตร ไม่มีเวทนาให้ปฏิบัติ จะจมอยู่กับสัญญา จะมีแต่อดีตและอนาคตไม่มีแสงสว่างที่ตากระทบรูปปัจจุบันต้องลืมตาปัจจุบันต้องมีทุกอย่างครบพร้อมทั้งจักษุ ปัญญา ญาณ วิชชา อาโลกะ นี่เป็นตัวกำหนดเพราะฉะนั้นปัญญาไม่มีองค์ประกอบครบ 5 นี้ ไม่ใช่ปัญญา 

ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ จะเกิดได้ พัฒนาได้ต้องมีมรรคมีองค์ 8 มีธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ มีโพชฌงค์ 7 แล้วก็ต้องมีสัมมาทิฐิ ตั้งแต่สัมมาทิฏฐิ 2 4 5 6 10 แล้วคุณถึงจะปฏิบัติธรรมเกิดปัญญา เมื่อเกิดปัญญาเจริญปัญญาเป็น ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ต้องมีองค์ประกอบเป็นธัมมวิจัยและมรรคมีองค์ 8 ในขณะพูดในขณะทำในขณะคิดทำอาชีพไม่ใช่ไปจมอยู่ในนั่งหลับตา นี่เป็นความชัดเจนเลย พระพุทธเจ้าสาธยายไว้ การหลับตาให้เกิดปัญญามันไม่มีเลย ฌานไปที่วิชชา ต้องมีศีลเป็นยาดำที่จะเกี่ยวข้องกับวิชชาและจรณะ ตั้งแต่อปัณกธรรม 3 แล้วจะเกิดจิต สัทธรรม 7 ศรัทธา หิริ โอตัปปะ  พหูสูต  วิริยะ  สติ  ปัญญา จะต้องรู้จิตมีปัญญาว่า จิตเรามันเกิดคุณสมบัติอย่างนี้แล้วจึงจะเกิดเป็นฌานเป็นพลังงาน 

ที่มา ที่ไป

พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช สภาวะของวิชชาจรณสัมปันโน วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 20 ธันวาคม 2562 ( 13:02:09 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 15:42:32 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:24:08 )

วิชชา 8

รายละเอียด

1.วิปัสสนาญาณ (ความรู้แจ้งเห็นจริง หรือรู้ความจริงในเหตุที่มีความจริงเกิด รู้กิเลสตายจริงอกุศลดับจริง)

2. มโนมยิทธิยาน (ความมีฤทธิ์ทางจิตที่จิตสามารถเนรมิตความเกิดอย่างใหม่ขึ้นมาได้)

3. อิทธิวิธายาน (จิตมีอานุภาพในการบรรลุขจัดทำลายกิเลสได้หลากหลายวิธี) ดูพระไตรปิฎก 9/133

4. ทิพโสตญาณ (สามารถแยกแยะการได้ยินเสียงสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้งเช่นกิเลสปะปนมากับคำร่ำลือกับเสียงที่เกินกว่าคนธรรมดาเขาจะรู้นัยยะได้)

5. เจโตปริยญาณ (กำหนดรู้ความแตกต่างในจิตขั้นอื่นๆของตนได้รอบถ้วน)

6. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (การย้อนรำลึกถึงการเกิดกิเลสเก่าก่อนมารู้อริยสัจจะหายโง่จากอวิชา)

7. จุตูปปาตญาณ(อย่างที่รู้กันหมดสิ้นอาสวะของตน) (พตปฎ เล่ม 9 ข้อ 127-138)

ที่มา ที่ไป

พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2562

หนังสืออ้างอิง

พระไตรปิฎก 9/133 และ พระไตรปิฎก เล่ม 9 ข้อ 127-138


เวลาบันทึก 22 ธันวาคม 2562 ( 15:15:51 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 08:01:35 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:22:17 )

วิชชา 8

รายละเอียด

คือความรู้แจ้งในกิเลส 8 ขัอ

1. วิปัสสนาญาณ (ความรู้แจ้งเห็นจริง – หรือรู้ความจริงในเหตุที่มีความจริงเกิด .. รู้กิเลสตายจริง อกุศลดับจริง) . .  

2. มโนมยิทธิญาณ (ความมีฤทธิ์ทางจิต ที่จิตสามารถ เนรมิต “ความเกิด” อย่างใหม่ขึ้นมาได้) . 

3. อิทธิวิธญาณ (จิตมีอานุภาพในการบรรลุขจัดทำลายกิเลส ได้หลากหลายวิธี) ดู พตปฎ.9/133 

4. ทิพโสตญาณ (สามารถแยกแยะ การได้ยินสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้ง เช่น กิเลสปะปนมากับคำร่ำลือ กับเสียงที่เกินกว่าคนธรรมดาเขาจะรู้นัยยะได้)

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2562

หนังสืออ้างอิง

พระไตรปิฎก เล่ม 9 ข้อ 133


เวลาบันทึก 25 ธันวาคม 2562 ( 13:08:14 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 08:08:01 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:24:48 )

วิชชา 8

รายละเอียด

1.วิปัสสนาญาณ (ความรู้แจ้งเห็นจริง – หรือรู้ความจริงในเหตุที่มีความจริงเกิด  รู้กิเลสตายจริง อกุศลดับจริง) .

2.มโนมยิทธิญาณ (ความมีฤทธิ์ทางจิต ที่จิตสามารถ เนรมิต “ความเกิด” อย่างใหม่ขึ้นมาได้) . 

3.อิทธิวิธญาณ (จิตมีอานุภาพในการบรรลุขจัดทำลายกิเลส ได้หลากหลายวิธี) 

4.ทิพโสตญาณ (สามารถแยกแยะ การได้ยินสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้ง เช่น กิเลสปะปนมากับคำร่ำลือ กับเสียงที่เกินกว่าคนธรรมดาเขาจะรู้นัยยะได้) 

5.เจโตปริยญาณ (กำหนดรู้ความแตกต่างในจิตขั้นอื่นๆ ของตนได้รอบถ้วน) 

6.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (การย้อนระลึกถึงการเกิดกิเลสเก่าก่อน  มารู้อริยสัจจะจนหายโง่จากอวิชชา) 

7.จุตูปปาตญาณ (รู้เห็นการเกิด-การดับของจิตที่ดับเชื้อกิเลส แล้วเกิดเป็นสัตว์เทวดา หรืออาริยะสัตว์) . 

8.อาสวักขยญาณ (ญาณที่รู้การหมดสิ้นอาสวะของตน) 

(พตฎ. เล่ม 9 ข้อ 127-138) 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 17 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 01 กุมภาพันธ์ 2563 ( 13:48:03 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 10:58:29 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:34:42 )

วิชชา 8

รายละเอียด

วิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิ อิทธิวิธี โสตทิพย์ 

ที่มา ที่ไป

รายการบ้านราช กายนี้คือวิญญาณ วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 29 กุมภาพันธ์ 2563 ( 17:25:42 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 15:37:40 )

วิชชา 8

รายละเอียด

วิชชา 8

  1. วิปัสสนาญาณ รู้จักกิเลส

  2. มโนมยิทธิญาณ มีฤทธิ์ฆ่ากิเลส 

  3. อิทธิวิธญาณ คือ มีฤทธิ์ที่มากขึ้นหลากหลายขึ้น เป็นมโนมยิทธิที่มากขึ้นเป็นญาณที่มากขึ้นเยอะขึ้น 

  4. ทิพโสตญาณ ยิ่งเก่งขึ้นเป็นความรู้ละเอียดลึกซึ้งขึ้น รู้สิ่งที่เป็นพิษที่รู้ได้ยากที่เป็นอรูปของจิตของกิเลส ชัดมากยิ่งขึ้น นั่นคือก็จะรู้จัก 

  5. เจโตปริยญาณ 16 รู้จักราคะโทสะเป็นตัวก่อ แล้วก็รู้ว่า ทำให้ ราคะ โทสะ โมหะ มันหมดไปไม่มี คือ วีตะราคะ วีตะโทสะ วีตะโมหะ เป็น 6 จากนั้นก็แจกจิตเป็นสองตระกูล คือตระกูลปัญญา กับ ตระกูลศรัทธา คือสังขิตตังจิตตัง (ศรัทธาจับตัวเป็นก้อน สังกะตังที่หัว) วิกขิตตังจิตตัง คือของสายปัญญาฟุ้งกระจาย

แล้วก็ทำให้จิตมันเจริญขึ้นยิ่งใหญ่ขึ้น เรียกว่า มหัคคตะ ทำให้เจริญขึ้นไม่ได้ก็เป็น อมหัคคตะ คุณทำได้เป็นมหัคคตะ เจริญขึ้นก็ใกล้นิพพานมากขึ้นเรื่อยๆ เป็น สอุตรังจิตตัง คือ จิตที่ดีเจริญขึ้นเรื่อยๆ แต่ดีกว่านี้ยังมีอีก จนกว่าจะดีที่สุดคือ อะนุตตะรังจิตตัง เป็นคู่ๆ แล้วก็ไปถึง สมาหิตะ กับ อสมาหิตะ คือสมาธิ กับ ไม่เป็นสมาธิ สมาหิตะ คือเป็นสมาธิแล้ว อสมาหิตะคือ ยังไม่เป็นสมาธิที่เสร็จแล้ว สมาธิคือ ผ่านกาละสำเร็จแล้วนั่นเองจบด้วย วิมุต กับ อวิมุติ คู่สุดท้าย คือเจโตปริยญาณ 16 ตัว ไม่สับสน หากรู้สภาวะนี่หมดอาตมาไม่ได้ท่องบาลีพวกนี้ แต่มีสภาวะแล้วก็ค่อยจำสภาวะ เวลาพูดก็เอาสภาวะมาเรียง กับพยัญชนะก็เรียงไม่สับสน มันเป็นลำดับ คุณต้องมีญาณรู้อย่างนี้แล้วก็รู้มันหมดจนเป็นวิมุติหรืออวิมุติ หรือสมาธิกับไม่เป็นสมาธิ 

 

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 25 มีนาคม 2563 ( 09:59:00 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 09:00:41 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:33:12 )

วิชชา 8

รายละเอียด

วิชชา 8

  1. วิปัสสนาญาณ

  2. มโนมยิทธิญาณ 

  3. อิทธิวิธญาณ

  4. ทิพโสตญาณ 

  5. เจโตปริยญาณ

  6. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

  7. จุตูปปาตญาณ

  8. อาสวักขยญาณ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 15 มีนาคม 2563 ( 11:25:46 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 09:02:55 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:35:00 )

วิชชา 8

รายละเอียด

  1. วิปัสสนาญาณ (ความรู้แจ้งเห็นจริง – หรือรู้ความจริงในเหตุที่มีความจริงเกิด .. รู้กิเลสตายจริง อกุศลดับจริง) มีปัญญามีความฉลาดรู้เห็นจริงๆเลย เห็นด้วยตาได้ยินด้วยหูได้กลิ่นทางจมูกลิ้นสัมผัสรสการสัมผัสเสียดสี  

  2. มโนมยิทธิญาณ (ความมีฤทธิ์ทางจิต ที่จิตสามารถ เนรมิต “ความเกิด” อย่างใหม่ขึ้นมาได้) สามารถทำให้สิ่งที่ไม่ดีที่รู้ที่เห็นหายไปได้ ทำให้สิ่งที่ไม่มีดีเลยทำให้ดีขึ้นมาได้เหมือนเนรมิต สำเร็จด้วยจิต ทำให้จิตที่ไม่ดีให้เจริญขึ้นมาได้ 

  3. อิทธิวิธญาณ (จิตมีอานุภาพในการบรรลุขจัดทำลายกิเลส ได้หลากหลายวิธี) มีวิธีทำอย่ามโนมยิทธิ นี่แหละทำได้หลากหลายมากขึ้น 

  4. ทิพโสตญาณ (สามารถแยกแยะ การได้ยินสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้ง เช่น กิเลสปะปนมากับคำร่ำลือ กับเสียงที่เกินกว่าคนธรรมดาเขาจะรู้นัยยะได้) แม้เรื่องละเอียดบางเบารู้ยากไกลก็รู้ได้ชัดแยกออก ทำถูกสภาวะไม่ผิดพลาด มีทิพย์ในการรู้อย่างแยบคายสุขุมละเอียด ต้องการให้ได้อย่างนี้ ต้องการทำลายอันนี้ได้เก่งขึ้น 

  5. เจโตปริยญาณ (กำหนดรู้ความแตกต่างในจิตขั้นอื่นๆ ของตนได้รอบถ้วน) จะมีความรู้ตามหลัก 16 อย่าง 

  6. สราคจิต  (จิตมีราคะ) 

  7. วีตราคจิต  (จิตไม่มีราคะ) 

  8. สโทสจิต  (จิตมีโทสะ) 

  9. วีตโทสจิต  (จิตไม่มีโทสะ) 

  10. สโมหจิต  (จิตมีโมหะ) 

  11. วีตโมหจิต  (จิตไม่มีโมหะ) 

  12. สังขิตฺตํจิตตํ. (จิตเกร็ง-จับตัวแน่น หด คุมเคร่งอยู่) . 

  13. วิกขิตฺตํจิตตํ . (จิตกระจาย-ดิ้นไป ฟุ้ง จับไม่ติด)

  14. มหัคคตจิต (จิตเจริญยิ่งใหญ่ขึ้น) ทำให้เจริญทางปริมาณ(มหะ) และคุณภาพ(อัคคะ) 

  15. อมหัคคตจิต (จิตไม่เจริญขึ้น) คุณสมบัติ

  16. สอุตตรจิต (จิตมีดีแต่ยังมีดียิ่งกว่านี้-ยังไม่จบ) 

  17. อนุตตรจิต (จิตไม่มีจิตอื่นสูงยิ่งกว่า) .

  18. สมาหิตจิต (จิตตั้งมั่นเป็นประโยชน์ดีแล้ว) แกนสมาธิคือบวก แกนวิมุติคือลบ

  19. อสมาหิตจิต (จิตยังไม่ตั้งมั่นไม่เป็นประโยชน์) 

  20. วิมุตตจิต (จิตหลุดพ้น) . . . 

  21. อวิมุตตจิต (จิตยังไม่หลุดพ้นสิ้นเกลี้ยง) .ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (การย้อนระลึกถึงการเกิดกิเลสเก่าก่อน  มารู้อริยสัจจะจนหายโง่จากอวิชชา) 

  22. จุตูปปาตญาณ (รู้เห็นการเกิด-การดับของจิตที่ดับเชื้อกิเลส แล้วเกิดเป็นสัตว์เทวดา หรืออาริยะสัตว์) . 

  23. อาสวักขยญาณ (ญาณที่รู้การหมดสิ้นอาสวะของตน) 

ตรวจให้ชัดจนมันไม่เกิดเด็ดขาด นิจจัง(เที่ยงแท้) ธุวัง (ถาวร) สัสตัง(ยืนนาน) อวิปริณามธัมมัง(ไม่แปรเปลี่ยน) อสังหิรัง(ไม่มีอะไรหักล้างได้) อสังกุปปัง(ไม่กลับกำเริบ)เมื่อนั้นจึงจะเรียกว่า อาสวักขยญาณ ญาณที่สิ้นอาสวะแล้ว ตรวจสอบแล้วคุณจะตัดสินตัวเองได้ โดยมีภาวะจริงไม่ใช่ไปนั่งคิดเอาเองเพ้อฝัน อาสวะเป็นอย่างไร อาสวะคือกิเลสมันยังเหลืออยู่ ใช้พยัญชนะเรียกเหมือนตัวไวรัส แบคทีเรียเล็กมากหมักดองอยู่ก้นบึ้งจิต พอได้รับเชื้อก็แตกตัวออกมาอีกหรือว่ามันสิ้นไปแล้ว หรือเชื้อเล็กน้อยก็ไม่มี แล้วอาศัยจิตที่หมดอาสวะอยู่นี่แหละคืออนุสัยคืออาศัยอันนี้ไป เป็นของเหลือน้อยที่สุดแล้ว ในพระอรหันต์เจ้าที่มีสภาวะผู้หมดอาสวะสิ้นคือปัญญาวิมุติ ส่วนอุภโตภาควิมุติ หมดอาสวะอนุสัย แต่อนุสัยที่เหลือเป็นของดี สก สว สย สามตัวนี้ สก คือตัวใหญ่ตัวตนใหญ่ สย คือตัวกลาง สว คืออาสวะที่เป็นตัวบางเบา เอาเศษวรรคมาเรียก ยังมีพลังงานเหลือ เราก็ต้องกวาดให้หมด สก สว หมดแล้วเหลือแต่สย ยังไม่ปรินิพพานเป็นปริโยสานก็อาศัยอนุสัยย คือ พลังงานต้นของเศษวรรคอาศัยตัวนี้ ก คือตัวงานต้นของพยัญชนะ สก คือ ตัวใหญ่ที่สุด สวคือมีเศษหมักดอง ส่วน สย นี้หมดแล้ว เหลือเพียงอาศัยอยู่ อนุ แปลว่าน้อย อา นี่แปลว่าน้องพ่อ อนุแปลว่าน้อย เขาเรียกคนน้อยๆว่าอนุภรรยา ภรรยาหลายคนแต่บอกว่ามีเมียน้อย นี่คือคนตอแหลคนเลว พวกมักมากในกามก็อย่างนี้

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 28 พฤศจิกายน 2563 ( 10:45:46 )

วิชชา 8

รายละเอียด

วิชชาคือความรู้แจ้งในกิเลส ได้แก่

1.วิปัสสนาญาณ (รู้แจ้งกิเลสด้วยปัญญาพิจารณา)

2.มโนมยิทธิญาณ (รู้แจ้งกิเลสด้วยฤทธิ์ทางใจ)

3.อิทธิวิธญาณ (รู้แจ้งกิเลสด้วยวิธีอันเก่งวิเศษ)

4.ทิพพโสตญาณ (รู้แจ้งด้วยหูทิพย์แยกแยะกิเลสได้)

5.เจโตปริยญาณ (รู้แจ้งด้วยจิตกําหนดรู้กิเลสอื่นๆได้)

6.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ(รู้แจ้งด้วยการระลึกชาติต่างๆของกิเลสได้)

7. จุตูปปาตญาณ(รู้แจ้งด้วยการรู้เกิดรู้ดับของกิเลสต่างๆได้)

8. อาสวักขยญาณ (รู้แจ้งด้วยการรู้ว่ากิเลสสิ้นแล้ว)

 

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 9 “สามัญญผลสูตร” ข้อ 127-138


เวลาบันทึก 15 มีนาคม 2565 ( 20:03:53 )

วิชชา 8 กับการเกิดฌานแบบพุทธ

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นในความเป็น ฌาน จึงเป็นฌานเดียรถีย์กันไปหมด ไปนั่งหลับตาทำเอา ไม่ใช่เป็นฌานที่เกิดจากศีล เกิดจากอปัณณกปฏิปทา 3 แล้วก็เกิดสัทธรรม 7 จึงเกิดฌาน มีเหตุมีปัจจัยเช่นนั้น ที่เขาทำกันไม่ใช่ฌานแบบพุทธเลย นี่พูดตามหลักวิชาการอ้างอิงตามพระไตรปิฎกอ้างอิงความรู้ความจริงต่างๆ เพราะไม่มีวิชชา 8 เลย เริ่มตั้งแต่วิปัสสนาญาณ เป็นญาณข้อแรก

ฟังดีๆ ขออภัยที่อาตมาต้องลงลึกในเรื่องวิชชา 8 มันน่าจะขยายความก่อน เพราะไม่ได้ขยายความมานานแล้ว

วิชชา 8 

1. วิปัสสนาญาณ 

2. มโนมยิทธิ 

3. อิทธิวิธญาณ 

4. โสตทิพย์ 

5. เจโตปริยญาณ 

6. บุพเพนิวาสานุสติญาณ 

7. จุตูปปาตญาณ 

8. อาสวักขยญาณ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ความมหัศจรรย์ 8 ประการในชาวอโศกบุญนิยม วันพุธที่ 12 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 27 มกราคม 2565 ( 19:38:40 )

วิชชา 8 คืออะไร

รายละเอียด

วิชชา 8 ก็ไม่มีคำว่าสมาธิ วิชชา 8 คือปัญญา ไม่ใช่สมาธิ อาตมาไม่ค่อยจะขยายความมากขยายความมาก มันจะพิสดาร ตั้งแต่มโนมยิทธิ อิทธิวิธญาณ โสตทิพย์ เขาอธิบายเป็นเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ไปเลอะเทอะ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์รายการ โสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 22 วันจันทร์ที่ 4 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 28 มกราคม 2564 ( 21:03:15 )

วิชชา 8 ตามลำดับ

รายละเอียด

อุปการะ หมายถึง สิ่งที่ช่วยนิดๆหน่อยๆ เป็นการช่วย เช่นคุณจะทำเตวิชโช หลับตาไม่ให้มีอะไรรบกวนแล้วก็ทบทวน เตวิชโช คือ การตรวจสอบสิ่งที่ตัวเองทำมาแล้วว่ามันได้ผลหรือมันไม่ได้ผลมันผิดพลาดตรงไหนอะไรอย่างไร บุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกสิ่งที่ผ่านมาแล้ว แต่เขาก็ไปแปลเป็นการระลึกชาติตัวตนบุคคลเราเขา ซึ่งมันแบบนั้น ปฏิบัติธรรมไม่ได้ มันไม่เป็นผลการปฏิบัติของจิตที่ชัดเจนขึ้นได้ก็ไม่ได้ผล จุตูปปาตญาณ ก็เรียนกิเลสเกิดกิเลสดับ เราก็ทำให้กิเลสดับได้ เป็นจุตูปปาตญาณ ส่วนอาสวักขยญาณ ก็เป็นญาณที่รู้ความหมดอาสวะ แต่เบื้องต้นเขาก็ไม่รู้แล้วมันก็เลยยาก 

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 25 มีนาคม 2563 ( 09:41:39 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 02:57:44 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:25:56 )

วิชชา 8 ที่อธิบายถูกสภาวะและเข้าใจดีกว่า

รายละเอียด

วิชชา 8 วิปัสสนาญาณ ภิกษุนั้นย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสนะ เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แลมีรูป ประกอบด้วยมหาภูต 4 เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด(พ่อครูว่า…เป็นมังสวิรัติทั้งนั้นแม้แต่ขนมสดก็ไม่ใส่ไข่) ไม่เที่ยงต้องอบ ต้องนวดฟั้น (พ่อครูว่า..เห็นใจคนที่รู้สึกว่า อาตมาทำไมนวดบ่อย มีผู้มานวดให้ คือร่างกายอาตมาเป็นสัมประสิทธิ์มันถึงเวลาเสื่อมไปแล้วแต่ก็ต้องกระตุ้นให้มันอยู่เรื่อยๆจึงต้องนวดมาก ช่วย อาตมารู้สึกเหมือนกันบางคน เห็นบอก พ่อท่านทำไมนวดทุกวัน บางวันมีนวดเช้ากลางวันเย็น ไม่พอ ประเดี๋ยวมาแล้วนวดตรงนั้นตรงนี้นั่งทำงานก็นวด มีหัวโตมานวด ดีนะตอนนี้แรงผาไม่อยู่หากแรงผาอยู่ก็นวด บางคนอาจนึกว่า ทำไมนวดอะไรกันนักกันหนา อย่าลืมว่าขันธ์ของอาตมาต้องช่วยมันมากนะ ไม่ใช่ปล่อยให้มันเย็นมันแข็งไปต้องนวดให้มันอุ่นขึ้น ให้นวลขึ้น ร่างกายนี้ ไม่ใช่ว่าอาตมาติดการนวด ไม่ใช่ ไม่ได้ติดการนวดเลย แต่มันต้องช่วยมันนะ)  มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้ ดูกรอัมพัฏฐะ เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์แปดเหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว สุกใส แวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียวเหลือง แดง ขาว หรือนวลร้อยอยู่ในนั้น บุรุษมีจักษุจะพึงหยิบแก้วไพฑูรย์นั้น วางไว้ในมือแล้วพิจารณาเห็นว่าแก้วไพฑูรย์นี้งาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ แปดเหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้วสุกใส แวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียวเหลือง แดง ขาวหรือ นวลร้อยอยู่ในแก้วไพฑูรย์นั้นฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมน้อมโน้มจิตไปเพื่อญาณทัสนะ เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แล มีรูป ประกอบด้วยมหาภูต 4 เกิด แต่มารดาบิดา เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสดไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้ แม้ข้อนี้ก็เป็นวิชชาของเธอประการหนึ่ง. แก้วไพฑูรย์ก็คือญาณทัศนะ ปัญญาจะเห็นเข้าไปข้างใน เห็นเวทนาในเวทนาเป็นต้น คุณจะเห็นลิงค ความต่างของอาการจิตเจตสิก แม้แต่เวทนาในเวทนาก็มี ลิงค มีความต่างของมัน อารมณ์สุขอารมณ์ทุกข์ก็ต่างกันแล้ว นี่คือคู่หนึ่งง่ายๆ นอกจากสุขจากทุกข์ เวทนาในเวทนา ต้องเทียบทีละ 2 ธรรมทั้งสองเหล่านี้ รวมเป็นอันเดียวกันกับเวทนา โดยส่วนสอง (เทฺว ธมฺมา ทฺวเยน เวทนาย เอกสโมสรณา ภวนฺติ ฯ )  ล.10 ข.60 กรรมฐานของศาสนาพุทธคือเวทนา ทวเยน คือเอาสองมา เวทนายะ แล้วทำให้เวทนาสองเป็นหนึ่ง ทำให้สำเร็จได้ เป็นเวทนาเดียว อาตมาอธิบายเป็นภาษาง่ายๆว่าเวทนา 1 เป็นเวทนาแท้ อีกเวทนาหนึ่งเป็นเวทนาเทียม เวทนาเก๊ คือเป็นสุขเป็นทุกข์ มันมีเหตุ ดับเหตุเสียแล้ว ความสุขไม่มี ความทุกข์ก็ไม่มี เหลือเวทนาที่เป็นความจริงตามความเป็นจริง เห็นรูปก็เห็นรูปมันเป็นอย่างไร ทุกคนเห็นเหมือนกันหมดไม่ว่าจะเป็นแขกไทยฝรั่ง เราเห็นแตงโม ให้ตาฝรั่งมาดูก็จะเห็นเป็นสีเขียวนี้เขียวๆกลมๆลูกใหญ่โตลูกเล็กอย่างนี้ มันก็เป็นอย่างนี้อย่างที่มันเป็น ส่วนคุณจะมีพลิกแพลงว่ามันดู สวยงามน่ารัก ดูอยากได้อยากกิน เป็นเรื่องอีกอันนึงของคุณเลย ความรู้ความจริงตามความเป็นจริงมันตรงกันหมดทุกคน แต่คนชอบหรือชังหรือมีอาการต่างๆที่เป็นกิเลสอุปกิเลสอื่นๆ ก็เป็นเรื่องของความเก๊ ดังนั้น ถ้าคุณรู้จักเวทนาเก๊รู้จักความเก๊ก็จบ มีเวทนาสัมผัสและมีเวทนาเดียว เป็นเช่นใดก็เป็นเช่นนั้นไม่ว่าคนไหนชาติไหน จะเรียกด้วยภาษาไหนก็แล้วแต่ก็คืออย่างนั้น รูปเสียงกลิ่นรสก็เหมือนกันเวทนา 2 ให้เหลือเวทนา 1 นี่คือแกนของศาสนาพุทธ ศึกษาอารมณ์ศึกษาเวทนา ถ้าศึกษาอารมณ์ไม่ได้ เวทนา 2 แยกไม่ได้ แยกเป็น เคหสิตะกับเนกขัมมะ มโนปวิจารณ​18 ความสุขความทุกข์ความไม่สุขไม่ทุกข์ ในทวารทั้ง 6 แล้วแยกเป็นเคหสิตะเวทนา เป็นไปตามกิเลสกับเนกขัมสิตเวทนาเอาออกจากกิเลส จนเป็นเนกขัมมสิตอุเบกขา เป็นแกนเป็นฐานของนิพพานของพระพุทธเจ้า เข้าใจอย่างที่อาตมาพูดคร่าวๆนี้ไม่ได้ไปนั่งหลับหูหลับตาแล้วไม่มีผัสสะ มันน่าสงสารจริงๆ เมื่อไหร่มันจะมีสัมมาทิฏฐิสัมมาปฏิบัติให้รู้ ศาสนาพุทธไม่ได้หลับตาปรุงแต่งจะทำให้เกิด อภิสังขาร ปุญญาภิสังขาร ไม่มีพลังงานปัญญานี้สูงจนกระทั่งกิเลสมันหายไป ยิ่งดับหมดเลย เหตุดับหมดเลย ถ้าไม่เข้าใจอย่างนี้ แล้วก็ปฏิบัติตามที่ว่านี้ถูกต้องจริง ไม่ได้มีการเป็นอรหันต์สมบูรณ์แบบได้เลยมีแต่อรหันต์เก๊อรหันต์หลอกอรหันต์เลอะเทอะเต็มบ้านเต็มเมือง อาตมาพูดเหมือนอวดดีไปพูดว่าเขาก็เพราะว่ามีเวลาน้อยก็เลยว่านิดหน่อย วิปัสสนาญาณ คือญาณที่แยกรูปนาม อ่านกิเลสออก แล้วปฏิบัติให้กิเลสลดลงไปได้ก็เป็น  มโนมยิทธิญาณ หมายความว่าสามารถกำจัดกิเลสได้รู้จักกิเลสกำจัดกิเลสเป็น ทำได้สำเร็จ มีฤทธิ์มีอำนาจเป็นธรรมฤทธิ์ของศาสนาวิปัสสนา ไม่ใช่เป็นฤทธิ์ทางโลก ภาษาพูดไปแล้วเป็นเหมือนกับชาวโลก เหมือนภาษาโลกีย์ก็เลยงง มโนมยิทธิญาณ ภิกษุนั้น ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือ นิรมิตกายอื่นจากกายนี้มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรอัมพัฏฐะ เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่งก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเองฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง แม้ข้อนี้ก็เป็นวิชชาของเธอประการหนึ่ง.ไม่ใช่ไปนั่งหลับตาสะกดจิต ไม่ใช่เผาทั้งฝักทั้งดาบ ไม่ใช่เผาทั้งหญ้าและไส้หญ้า ต้องทำให้ถูกว่า ต้องรู้กิเลส แล้วทำให้สะอาดจากกิเลส เหมือนงูลอกคราบ ให้สะอาด เอาสิ่งที่จะต้องเอาออกให้หมดไป เหมือนชักดาบออกจากฝัก เหมือนชักไส้ออกจากหญ้า เหมือนลอกคราบงูออกจากงูเเวลาไปนั่งหลับตาปฏิบัติก็ไม่รู้ว่าฝักดาบอยู่ไหนดาบอยู่ไหน หญ้าอยู่ไหนไส้อยู่ไหน ไม่มีวิจัยสภาพ 2 แต่ไปสะกดจิตให้ดับไม่มีมโนมยิทธิ 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม 2563


เวลาบันทึก 12 สิงหาคม 2563 ( 13:00:30 )

วิชชา 8 เป็นยาดำของจรณะ 15

รายละเอียด

วิชชา 8 เป็นยาดำของจรณะ 15  คือ ในจรณะ 15 มีวิชชา 8 เป็นยาดำตลอดแล้วทำผลสำเร็จได้ถึงวิชชาข้อสุดท้าย อาสวักขยญาณ  ญาณที่รู้ว่าเราสิ้นอาสวะแล้ว คุณจะเกิดสมาธิในจรณะ 15 ไม่มีพยัญชนะ คำว่า “สมาธิ” แต่จะเกิดต่อเมื่อเป็น อรหันต์ จิตเป็นสมาธิสมบูรณ์ เรียกว่า “สมาหิโต” สั่งสม ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอารยธรรม  บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 26 ตุลาคม 2562 ( 17:07:30 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 08:22:06 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:27:21 )

วิชชา 8 เป็นอนุสาสนีย์ปาฏิหารย์

รายละเอียด

เข้าใจวิชชา 8 กลายเป็นเรื่องอาเทศนาปาฏิหาริย์ อิทธิปาฏิหาริย์ไปอีกเลอะเทอะไปใหญ่ ไม่เป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์เลย อาตมาพูดไปเขาก็ไม่กล้าเถียง เพราะว่าอาตมาเปิดตำรายันให้ ผู้ที่เถียงคือผู้ไม่รู้ก็เลยเถียง อย่างดื้อๆโง่ๆ เถียงอย่างไม่มีหลักเกณฑ์ไม่รู้ ถ้าเป็นผู้รู้เขาไม่กล้าเถียงหรอก เพราะว่าอาตมาไม่ได้พูดเอาเองพูดอย่างมีหลักฐานอ้างอิงยืนยัน ทั้งในตำราและพระไตรปิฎกที่ยืนยัน ทั้งมีตัวบุคคลที่มาเรียนรู้ รับรู้ แล้วก็เข้าใจเชื่อถือตามว่าเป็นของพระพุทธเจ้าจึงและปฏิบัติได้มรรคผลจริงด้วยเป็นหลักฐานยืนยัน เพราะฉะนั้นทุกวันนี้ก็เลยค่อยยังชั่วหน่อยเขาเงียบๆ ผ่านหลังโควิดไปแล้ว มันจะมีการพิสูจน์ตามทฤษฎีหลักที่เราจะให้เข้าหลักวรรณะ 9 สาราณียธรรม 6 มันจะเป็นชุมชนที่มีสาราณียธรรม 6 มีวรรณะ 9 เพราะฉะนั้นก็จะยิ่งยืนยันชัดเจนเลย เขาก็จะแย้งไม่ได้ ยิ่งจะแย้งยาก แต่ก็น่าสงสารเขา แม้เขาจะรู้กัน ผู้รู้รู้แล้วว่าจริงด้วยนะ แต่เขาตกกระไดพลอยโจนไปแล้ว เขาขึ้นมาจากหล่มนั้นไม่ได้ ชาตินี้เขาก็ตายไปอย่างนี้ แต่เขาก็รู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้ มันสุดวิสัยแล้ว ก็เลยต้องยอมจำนนไป ก็ต้องเข้าใจเขาเห็นใจเขา มันเปลี่ยนไม่ได้หรอก 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษถาคม 563


เวลาบันทึก 21 มิถุนายน 2563 ( 10:12:10 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 13:54:37 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:26:48 )

วิชชา 8 โดยนัยลึกซึ้งจากการปฏิบัติจรณะ 15

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นอยู่ในสังคมพระพุทธเจ้าอาตมาก็พูด ตีหัวเข้าบ้านไม่รู้กี่ทีแล้วว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้ศึกษาอะไร แต่ศึกษาความเป็นมนุษย์กับความเป็นสังคม พูดมาไม่รู้กี่ร้อยกี่พันครั้งแล้ว แล้วก็มาช่วย สุดท้ายท่านตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ทำงานอื่น แต่ทำงานเพื่อช่วยให้คนรู้สัจธรรมอันนี้ ให้รู้จักวิญญาณ ให้รู้จักนามรูป ให้รู้จักภพชาติ แล้วคุณจะอยู่มีภพชาติต่อไปคุณจะต้องมีหลักประกัน มีแต่ดีไม่มีชั่ว และไม่ทุกข์ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ วิญญาณฐิติ 7 ปฏิจจสมุปบาท และวิชชา 8 วันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2566 วันแรม 14 ค่ำเดือนยี่ ปีขาล ที่บวรสันติอโศก


เวลาบันทึก 09 กุมภาพันธ์ 2566 ( 12:49:11 )

วิชชา 8และคำอธิบาย

รายละเอียด

1.  วิปัสสนาญาณ (ความรู้แจ้งเห็นจริง  -   หรือรู้ความจริงในเหตุในเหตุที่มีความจริงเกิด รู้กิเลส  ตายจริง  อกุศลดังจริง) มีปัญญามีความฉลาด รู้เห็นจริง ๆเลย  เห็นด้วยตา  ได้ยินด้วยหู ได้กลิ่นทางจมูก ลิ้นสัมผัสรส สัมผัสเสียดสี

2. มโนมยิทธิญาณ(ความมีฤทธิ์ทางจิต  ที่จิต สามารถ เนรมิต “ความเกิด” อย่างใหม่ขึ้นมาได้)  สามารถทำให้สิ่งที่ไม่ดี ที่รู้เห็นหายไปได้ ทำให้สิ่งที่ไม่มีดีเลย  ทำให้ดีขึ้นมาได้เหมือนเนรมิต  สำเร็จด้วยจิต ทำให้จิตที่ไม่ดี ให้เจริญขึ้นมาได้

3. อิทธิวิธญาณ  (จิตมีอานุภาพในการบรรลุขจัดทำลายกิเลส ได้หลากหลายวิธี) มีวิธีทำอย่างมโนมยิทธิ นี่แหละทำได้หลากหลายมากขึ้น

4.  ทิพยโสตญาณ (สามารถแยกแยะ การได้ยินสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้ง เช่นกิเลสปะปนมากับคำ ร่ำลือ  กับเสียงที่เกินกว่าคนธรรมดา เขาจะรู้นัยยะได้  ) แม้เรื่องละเอียดบางเบารู้ยากไกลก็รู้ ได้ชัดแยกออก ทำถูกสภาวะไปผิดพลาด  มีทิพย์ในการรู้อย่างแยบคาย สุขุม ละเอียด ต้องการให้ได้อย่างนี้ ต้องการทำลายอันนี้ ได้เก่งขึ้น

5.  เจโตปริยญาณ(กำหนดรู้ความแตกต่างในจิตขั้นอื่นๆ  ของตนได้รอบถ้วน) จะมีความรู้ ตามหลัก  16 อย่าง

                           1. สราคจิต(จิตมีราคะ)

                           2. วีตราคจิต (จิตไม่มราคะ)

                           3. สโทสจิต  (จิตมีโทสะ)

                           4. วีตโทสจิต (จิตไม่มีโทสะ)

                           5.สโมหจิต  (จิตมีโมหะ)

                           6.สัคโมหจิต  (จิตไม่มีโมหะ)

                           7. สังขิตตํจิตตํ (จิตเกร็ง  จับตัวแน่น  หด คุมเคร่งอยู่)

                           8. วิกขิตตํจิตตํ  (จิคกระจาย  ดิ้นไป  ฟุ้ง  จับไม่ติด)

                           9. มหัคคตจิต (จิตเจริญยิ่งใหญ่ขึ้น) ทำให้เจริญทางปริมาณ (มหะ) และคุณภาพ(อัคคะ)

                          10. อมหัคคตจิต (จิตไม่เจริญขึ้น) คุณสมบัติ

                          11. สอุตตรจิต (จิตมีดีแต่ยังมีดียิ่งกว่านี้ – ยังไม่จบ)

                          12. อนุตตรจิต (จิตไม่มีจิตอื่นสูงยิ่งกว่า)

                          13. สมาหิตจิต (จิตตั้งมั่นเป็นประโยชน์ดีแล้ว) แกนสมาธิคือบวก แกนวิมุติ คือลบ

                          14.อสมาหิตจิต (จิตยังไม่ตั้งมั่น ไม่เป็นประโยชน์)

                          15. วิมุตตจิต (จิตหลุดพ้น)

                          16. อวิตตจิต  (จิตยังไม่หลุดพ้นสิ้นเกลี้ยง)

                                 (พตปฎ เล่ม 9  ข้อ 135)

6.  ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (การย้อนระลึกถึงการเกิดกิเลสเก่าก่อน  มารู้อริยสัจจะจนหายโง่จากอวิชชา)

7.  จุตูปปาตญาณ (รู้เห็นการเกิด – การดับของจิตที่ดับเชื้อกิเลส แล้วเกิดเป็นสัตว์เทวดา หรือ  อาริยะสัตว์)

8.   อาสวักขยญาณ (ญาณที่รู้การหมดสิ้นอาสวะของตน)

(พตฏ เล่ม 9 ข้อ 127 – 138)

ตรวจให้ชัด จนมันไม่เกิดเด็ดขาด นิจจัง (เที่ยงแท้) ธุวัง (ถาวร) สัสตัง (ยืนนาน)

อวิปริณามธัมมัง (ไม่แปรเปลี่ยน )อสังหิรัง (ไม่มีอะไรหักล้างได้) อสังกุปปัง (ไม่กลับกำเริบ)

            

เมื่อนั้นจึงจะเรียกว่า  อาสวักขยญาณ  ญาณที่สิ้น อาสวะแล้ว ตรวจสอบแล้ว  คุณจะตัดสินตัวเองได้  โดยมีภาวะจริง  ไม่ใช้ไปนั่งคิดเอาเอง เพ้อฝัน อาสวะเป็นอย่างไร  อาสวะคือ กิเลสมันยังเหลืออยู่ใช้พยัญชนะเรียกเหมือนตัวไวรัส  แบคทีเรียเล็กมาก   หมักดองอยู่ก้นบึ้งจิต  พอได้รับเชื้อก็แตกตัวออกมาอีกหรือว่ามันสิ้นไปแล้ว หรือเชื้อเล็กน้อยก็ไม่มีแล้วอาศัยจิตที่หมดอาสวะอยู่นี่แหละ คืออนุสัย คือ  อาศัยอันนี้ไป  เป็นของเหลือน้อยที่สุดแล้ว ในพระอรหันต์เจ้าที่มีสภาวะผู้หมดอาสวะ คือ ปัญญาวิมุติ  ส่วนอุภโตภาควิมุติ  หมดอาสวะ อนุสัย  แต่อนุสัยที่เหลือเป็นของดี

  สก สว สย สามตัวนี้  สก คือ ตัวใหญ่  ตัวตนใหญ่  สย คือตัวกลาง  สว คือ อาสวะ ที่เป็นตัวบางเบา เอาเศษวรรคมาเรียก  ยังมีพลังงานเหลือ เราก็ต้องกวาดให้หมด สก สว หมดแล้ว เหลือแต่ สย ยังไม่ปรินิพพาน เป็น ปริโยสาน ก็อาศัย  อนุสัย ย. คือ  พลังานต้นของเศษวรรคอาศัยตัวนี้  ก. คือตัวงาน  ต้นของพยัญชนะ  สก คือ  ตัวใหญ่ที่สุด สว คือ มีเศษหมักดอง  ส่วน  สย. นี้หมดแล้ว  เหลือเพียงอาศัยอยู่  อนุ แปลว่า น้อย อานี่แปลว่าน้องพ่อ  อนุแปลว่า  น้อย  เขาเรียกคนน้อยว่า  อนุภรรยา  ภรรยาหลายคน  แต่บอกว่า มีเมียน้อย นี่ คือ คนตอแหล คนเลว  พวกมักมากในกามก็อย่างนี้

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช ครั้งที่ 79 วันจันทร์ที่  11  พฤศจิกายน 2562                           

หนังสืออ้างอิง

พระไตรปิฎก เล่ม 9  ข้อ 135 

พระไตรปิฎก เล่ม 9 ข้อ 127 – 138


เวลาบันทึก 28 พฤศจิกายน 2562 ( 20:15:03 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 07:38:17 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:21:24 )

วิชชา 9

รายละเอียด

1.ฌาน คืออาการของจิตที่ทำงานเพ่งพิจารณาวิจัยไตร่ตรอง ตัดสิน "ตัวตนของกิเลส" ได้ แล้วทำการกำจัดหรือเผา "กิเลส" นั้นๆ

2.วิปัสสนาญาณ คือความประจักษ์ของจิตที่มีประสิทธิภาพใน "การรู้จักรู้แจ้งรู้จริง" ปรมัตถธรรมทั้งหลาย ทั้งรูปทั้งนาม ทั้งกายทั้งจิต ทั้งสมมุติสัจจะทั้งปรมัตถสัจจะ

3.มโนมยิทธิ คือความมีฤทธิ์ของจิตที่ประสบความสำเร็จในการกำจัดกิเลสลงได้จริง จนมี "การตาย" ของกิเลสในจิต จิตจึง "เกิดใหม่" ได้สำเร็จ

4.อิทธิวิธี คือความเก่งเยี่ยมน่าอัศจรรย์หลากหลายแบบที่พาพ้นทุกข์อาริยสัจได้แท้ เป็นต้นว่า

   @จากหนึ่งทำให้เกิดขึ้นมากมายก็ได้

   @จากสิ่งที่มีอยู่มากมายทำให้ลดลงเป็นหนึ่งเดียวก็ได้

   @หรือกิเลสมากมายทำใหเลดลงได้จริงๆ

   @ทำให้ความเป็นสัตว์นรกหายไปจากตนก็ได้

   @หรืออยู่ในกองกิเลสโลกีย์ในสังคมที่หนาเท่าภูเขา เราก็ทะลุไปมาได้ไม่ติดขัด

   @การบรรลุโลกุตระนั้นมันประหลาดมหัศจรรย์ ราวกับ...คนดำดินได้ คนเดินบนแผ่นน้ำได้

   @เมื่อบรรลุหลุดพ้นมันช่างเบากายเบาใจราวกับเหาะลอยไปได้เหมือนนก

   @มหัศจรรย์ราวกับเราเอื้อมไปจับพระจันทร์ ลูบคลำพระอาทิตย์ที่แสนร้อนด้วยฝ่ามือได้

5.ทิพพโสต คือความเก่งที่สามารถรับรู้เสียงสองของมนุษย์ เสียงสามัญมันมีกิเลสอะไรประกอบอยู่ในนั้น เช่น มีราคะ มีโกธะพยาบาท ซ่อนบังโดยไม่ปรารถนาจะให้ใครล่วงรู้ หรือตนเองไม่มีปัญญาจะหยั่งรู้

6.เจโตปริยญาณ คือจิตใจตนเองนั่นเองที่มีประสิทธิภาพมีความเก่งกำหนดรู้จิตวิญญาณของตนได้ ว่าจิตตนดีขึ้นหรือเลวลง ตนมีราคะก็รู้ว่าตนมีราคะ ตนมีโทสะก็รู้ว่าตนมีโทสะ ตนมีโมหะก็รู้ว่าตนมีโมหะ...

7.ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือการตรวจสอบทบทวนอดีตหรือสิ่งที่ผ่านมาแล้ว

8.จุตูปปาตญาณ คือความสามารถหยั่งรู้ "การเกิด" "การตาย" ของกิเลส ผู้ปฏิบัติจะสามารถเห็น ความเกิดจริง ตายจริง ด้วยปัญญาอันยิ่ง

9.อาสวักขยญาณ คือความรู้สูงสุดยอดที่สามารถรู้ว่า อาสวะของตนสิ้นไปแล้ว สนิทแล้ว เป็นอันว่าตนจบกิจ เป็นผู้มี "นิพพาน" สมบูรณ์ เป็น "อรหันต์" เต็มตัว ทุกคนจะต้อง "พ้นอวิชชา" เกิด "วิชชา" หรือ "อธิปัญญา" เจริญตามลำดับถึงข้อสุดท้าย 

คำอธิบาย

"บุพเพนิวาสานุสติญาณ  จุตูปปาตญาณ  อาสวักขยญาณ" สามประการหลังนี้คือ "เตวิชโช"

ต้องทำให้ประจำ ส่วนห้าอย่างแรก เป็นสิ่งที่จะเกิด "เป็นผล" จากการทำจรณะ 15 ทำฌาน

(วันนี้ 2 มกราคม 2558)

หนังสืออ้างอิง

พุทธเป็นอเทวนิยมอย่างนี้ หน้า 104-115


เวลาบันทึก 03 พฤศจิกายน 2562 ( 12:33:56 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 13:59:09 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:29:51 )

วิชชา 9

รายละเอียด

ความรู้ หรือความฉลาดชนิดพิเศษของพุทธโดยเฉพาะ

หนังสืออ้างอิง

อีคิวโลกุตระ หน้า 28


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2562 ( 12:34:34 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 02:45:38 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:28:16 )

วิชชา คือความรู้แบบโลกุตระ

รายละเอียด

วิชชา คือ ความรู้ ขั้นปัญญา ญาณ วิชชา เป็นภาษาบาลี หมายถึงความรู้แบบโลกุตระทั้งสิ้น ความรู้อย่างนี้จึงจะสามารถลบล้างความยึดติดแบบโลกียเทวนิยมทั้งหลายแบบโลกที่เป็นกันอยู่ในมนุษย์โลกทั้งหมด ไม่มีใครละเว้น เป็นอันนี้ก่อนกว่าจะมาได้พบโลกุตระ มารู้ความรู้ที่รู้ว่าเราติดยึด ติดยึดทางโลก ความรู้ทางโลกติดยึดได้เก่งเท่าไหร่ที่สุดก็ยอดที่สุดได้เป็นศาสดาองค์ใดองค์หนึ่ง ได้เป็นเจ้าแห่งความรู้แล้วมาประกาศเป็นเจ้าแห่งความรู้ คนก็มานับถือมาขึ้นต่อ ก็ได้หมู่กลุ่มบริวารจนเป็นศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ของเทวนิยม แล้วศาสดาแต่ละศาสนาของเทวนิยม ก็แข่งกัน แข่งกันอยู่ในโลกนี้แหละอย่างที่เป็นอยู่ในโลก ศาสนาเทวนิยมมีเยอะ ศาสนาต่างๆ ก็มีเก่งและเด่นขึ้นมาอยู่ทุกวันนี้ก็มีไม่กี่ศาสนาที่เรารู้ ส่วนนอกนั้นก็เป็นเจ้าลัทธิ ศาสนายิบย่อยเป็นร้อยเป็นพันเป็นหมื่นเป็นแสน ในมนุษย์ 7 พันล้านนี้ เป็นอยู่อย่างนั้น 

ส่วนพุทธนั้น ความรู้อย่างเดียวกันไม่แย่งไม่แข่ง ไม่แย่งกันเป็นศาสนา มีศาสดาองค์เดียวศาสนาพุทธ ยอมรับกัน ผู้ไม่ยอมรับก็ยอมรับพระพุทธเจ้า เรียกว่านิกาย คนละกาย ต่างคนก็ต่างบอกว่ากายของเขาถูก ของเอ็งไม่ นิ แปลว่า ไม่ ต่างคนต่างชื่อ ของเอ็งเป็น นิกาย ของข้านี่แหละธรรมกาย ของข้านี่แหละกายของพระพุทธเจ้า เหมือนพวกชาวธรรมกายที่อยู่รังสิต ที่เขายืนยันว่าเขาเป็นเจ้าของธรรมกาย ของเอ็งนั่นแหละนิกาย ของข้านี่แหละธรรมกาย 

ธรรมกาย พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่านั่นคือชื่อของเรา ธัมมชโยก็ไปยืนยันว่านี่แหละคือธรรมกายของพระพุทธเจ้า เขาพูดว่าไม่ใช่แค่พระพุทธเจ้าเขาเหนือกว่าพระพุทธเจ้าด้วย ธัมมชโยนี่จองหองขนาดนั้น เขาว่าเหนือกว่าเขาเป็นต้นธาตุต้นธรรม ในความหมายของต้นธาตุต้นธรรมเขาก็ไม่รู้เรื่อง อย่างนี้เป็นต้น 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 46 จรณะและวิชชาคือพุทธคุณภาคปฏิบัติ วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 14 พฤษภาคม 2565 ( 19:45:58 )

วิชชา ปฏิจจสมุปบาท

รายละเอียด

พระพุทธเจ้ามาค้นพบวิชชา เป็นความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าค้นพบตีแตกแยกแยะได้เป็นปฏิจจสมุปบาท ชาติ คือความเกิด ตัวนี้แหละคือมันเกิดอวิชชา แล้วมันก็มาเป็นสังขารเป็นวิญญาณ ไปแยกนามรูปก็แยกไม่ออก มีแต่ศาสนาพุทธเรียนแยกนามรูป มี 2 ตัว สัมผัสกันแล้วก็เกิดอายตนะ ที่เป็นตัวกลางของนามรูป อายตนะตัวกลางคือเวทนา ก็มาศึกษาตัวเวทนา เวทนาคืออายตนะที่เกิดจากผัสสะของนามรูป 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตำหนิให้เขาดื่มได้คือหน้าที่ของผู้ทำงานศาสนา วันพุธที่ 28 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 07 พฤษภาคม 2564 ( 19:04:27 )

วิชชากับอวิชชาทวนกระแสกันอย่างไร

รายละเอียด

เช่น มีความรู้คือ“วิชชา”ที่ตรงกันข้ามกับ“อวิชชา” เพราะถ้า“ความรู้-ความฉลาด”

ขั้น“โลกียภูมิ”ก็ยังเป็น“อวิชชา” มันกลับขั้วกันกับ“โลกุตรภูมิ”ที่เป็น“วิชชา”ซึ่งสำคัญมาก

มัน“ทวนกระแสกัน(ปฏิโสตัง)”มีความเห็นกลับกันคนละขั้ว เดินทางก็หันหลังชนกันนะ แล้วต่างเดินตรงมุ่งออกไปกันคนละทิศทีเดียว

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการพุทธศาสนาตามภูมิ  ตอบปัญหาอย่างนานาสังวาส
วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 ที่บ้านราชฯ
สื่อธรรมะพ่อครู(จรณะ 15 วิชชา 8) ตอน ไฟฌานทำลายกิเลสได้อย่างไร


เวลาบันทึก 16 กุมภาพันธ์ 2564 ( 11:12:38 )

วิชชาจรณสัมปันโน

รายละเอียด

ผู้ปฏิบัติถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ

หนังสืออ้างอิง

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 312 

เปิดโลกเทวดา หน้า 40


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2562 ( 12:35:15 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:01:00 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:29:15 )

วิชชาจรณสัมปันโน

รายละเอียด

วิชชาจรณสัมปันโน คือ พุทธคุณของศาสนาพุทธ ศาสนาอื่นใดในโลกไม่มี ของชาวพุทธเท่านั้น ไปนั่งหลับตาปฏิบัติก็ไม่ถูกต้อง ซึ่งเดี๋ยวนี้มีเต็มไปหมด พระพุทธเจ้ายังไม่ประกาศศาสนาพวกหลับตาปฏิบัติมิจฉาทิฐิก็มีเต็มไปหมด เมื่อพระพุทธเจ้าได้ประกาศศาสนา ฌาน เกิดจากจรณะ15 วิชชา 8 หากไม่มีจรณะ ฌานไม่เกิด

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 17 พฤศจิกายน 2562 ( 10:57:32 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 08:11:21 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:30:29 )

วิชชาจรณสัมปันโน

รายละเอียด

ในพุทธคุณ 9 ของพระพุทธเจ้า วิชชาจะระณะ การบรรลุธรรมด้วยความรู้ด้วยการประพฤติ ที่พระพุทธเจ้าท่านตราไว้หมด มีอันนี้บอกก็คือ จรณะ 15 

ตั้งแต่ สังวรศีล สำรวมอินทรีย์ โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยคะ ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ วิริยะ สติ  ปัญญา ฌาน 1 2 3 4 แล้วมีวิชชา 8 เป็นกษัย 

แกงต้องมีน้ำแกง วิชชาคือ น้ำแกง จรณะคือตัวเนื้อ ตัวองค์ประกอบต่างๆที่จะทำให้เป็น แกง จะเป็นแกงเขียวหวานจะเป็นแกงมัสมั่น แกงเลียง แกงคั่ว แกงส้ม ไม่ใช่ตะแลงแกงนะ 

วิชชาจรณสัมปันโนถึงเป็น 1 ใน 9 ของพุทธคุณทั้งหมด เพราะฉะนั้นพุทธคุณข้อวิชชาจะระณะจึงเป็นข้อแจ้งหลักปฏิบัติ แจ้งความรู้ที่จะปฏิบัติอยู่ที่ข้อนี้ข้อเดียวใน 9 นอกนั้นแสดงถึงอลังการเครื่องประกอบของพระพุทธเจ้า 

อรหํ เป็นพระอรหันต์ สมฺมาสมฺพุทโธ ตรัสรู้เองโดยชอบ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ สุคโต เสด็จไปดีแล้ว ไม่มีหลงทางไม่มีวกวนไปไหนไปถูกต้องหมด ต้องการตายได้ ต้องการเป็นเป็นได้ ต้องการปรินิพพานเป็นปริโยสาน ตายสุดท้ายแล้วไม่มีแล้วเลิกเลยก็ได้ เรียกว่าดับวิญญาณดับจิตนิยามเลิกถอนไปเลยได้ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 46 จรณะและวิชชาคือพุทธคุณภาคปฏิบัติ วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 14 พฤษภาคม 2565 ( 18:59:37 )

วิชชาจรณสัมปันโน เป็นเนื้อแท้เป็นพุทธสมบัติ

รายละเอียด

อันนี้ก็จริง อธิบายขยายความไปเรื่อยๆ ฟังตามไปเรื่อยๆ จรณะวิชชานี้แหละ เป็นพุทธคุณแท้ของพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ ในพุทธคุณ 9 ก็มีข้อนี้แหละเป็นข้อที่มีเนื้อๆ นอกนั้นเป็นฉายาของพระพุทธเจ้าทั้งนั้น เป็นพุทธคุณ 9  อรหํ เป็นพระอรหันต์ สมฺมาสมฺพุทโธ ตรัสรู้เองโดยชอบ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ สุคโต เสด็จไปดีแล้ว โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ มีความรู้เหนือ และเป็นสารถีฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พุทฺโธ เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว ภควา ติ เป็นความจบในความเจริญ  

ก็มีคำว่าวิชชาจรณสัมปันโน เป็นเนื้อแท้ของสมบัติเป็นพุทธสมบัติ ค่อยๆฟังไปเรื่อยๆ อาตมาพูดไม่หนีไปจากวิชชาจรณะ หนีไม่พ้นจากอันนี้ฟังไปเรื่อยๆแล้วก็จะได้ ฟังแล้วเอาไปปฏิบัติไปตามลำดับ การปฏิบัติคือพิจารณา เกิดบรรลุวิมุติขึ้นมาและมีวิชชา ตามรู้ทั้งในการปฏิบัติไปตามลำดับๆ จนกระทั่งบรรลุหมด จบ ถอนอาสวะก็มีวิมุตติญาณทัสสนะต่อไปอีกด้วย เป็นต้น

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ คุณสมบัติผู้กอบกู้ศาสนาพุทธในยุคกึ่งพุทธกาล วันพุธที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 05 สิงหาคม 2565 ( 05:00:39 )

วิชชาจรณะ 15

รายละเอียด

      วิชชาจรณะ 15 ตั้งแต่ สังวรศีล,  สำรวมอินทรีย์,  โภชเนมัตตัญญุตา,  ชาคริยานุโยคะ เกิดสัทธรรม 7, ฌาน 4, วิชชา 8 เกิดเป็นฤทธิ์อำนาจทางจิต มโนมยิทธิ สามารถทำให้กิเลสละอายหรือเราละอายต่อกิเลส กิเลสของเราละอายต่อปัญญาของเรากิเลสก็หลีกไปเลยหรือเกรงกลัว ไม่มาเลย ห่างไกลเลย มันจะเกิดคุณสมบัติอย่างนั้นจริงๆเลย เป็นฌาน อย่างลืมตา ด้วยจักษุ ปัญญา ญาณ วิชชา แสงสว่าง ไม่ใช่ยิ่งฝึกยิ่งนิ่งยิ่งไม่รู้อะไรยิ่งขึ้น แต่ของพุทธนั้นยิ่งฝึกยิ่งคล่องแคล่ว ว่องไว รู้เร็วปรับเร็วเหมาะควรแก่การงาน อย่างสุขุม ละเอียดลึกซึ้งทำลายกิเลสได้จริง ไม่ใช่ไปทำให้เกิดความซื่อบื้อความทื่อในจิต 

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 20 กันยายน 2562 ( 10:44:30 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 08:13:26 )

วิชชาจรณะมันเที่ยงแท้ไม่ขึ้นอยู่กับยุคสมัย

รายละเอียด

วิชชาจรณะไม่เกี่ยวข้องด้วยอะไรทั้งนั้นที่เป็นสมมติสัจจะ จะเป็นชาติโ​คตรกิเลสมานะจารีตประเพณีใดๆเป็นค่านิยมใดๆไม่เกี่ยว พระพุทธเจ้าท่านอธิบายชัดเจน จรณะสมบัติ วิชชาสมบัติไม่เกี่ยวกับสิ่งเหล่านั้น ซึ่งมันเป็นไปตามยุคสมัยแต่ว่าวิชชาจรณะมันเที่ยงแท้ไม่ขึ้นอยู่กับยุคสมัย ทีนี้อัมพัฏฐมานพชักจะรู้ว่าไปไม่รอดแล้วเรา อย่างไรก็ซักให้ลึกไปดีกว่า ชักจะรู้ตัวว่าคะแนนลดแล้ว

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม 2563


เวลาบันทึก 30 มิถุนายน 2563 ( 09:20:01 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 13:55:49 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 07:30:45 )

วิชชาจรณะสัมปันโน อย่าตัดลัดทิ้งเป็นอันขาด

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นในเรื่องของความเป็นลำดับนี้ จึงเป็นเรื่องข้อที่ 1 เลย ที่มหัศจรรย์ว่าศาสนาพุทธอย่าไปตัดลัดทิ้งลำดับ โดยเฉพาะวิชชาจรณะสัมปันโน ซึ่งเป็นความประพฤติปฏิบัติจรณะ 15 และวิชชาอีก 8 อย่าไปตัดลัดทิ้งเป็นอันขาด แต่เดี๋ยวนี้ตัดขาดวิ่นหมดไม่เหลือเลย เหลือแต่ฌานหลับตา ควานหาศีลเป็นเหตุ อปัณณกปฏิปทา 3 เป็นเหตุ สัทธรรมจะเกิดเป็นตัวเชื่อมตัวเกิดผลที่มี ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ พหุสัจจะ ไม่เหลือแล้ว ไม่มีเลย เพราะฉะนั้นอย่าไปพูดถึงความมี วิริยะ สติ ปัญญา ในสัทธรรม 7 คุณก็มีวิริยะสติปัญญาแบบเดียรถีย์ แบบนอกรีต ไม่ใช่แบบของพุทธ แบบพุทธธรรมเลย มันได้วิปริต มันได้เสื่อมสูญไปอย่างแท้จริง ตั้งใจฟังให้ดีๆ ถ้าเข้าใจแล้วฟื้นคืนกลับไปสู่ความถูกต้องให้ได้ให้ดี 

บอกแล้วไม่จำเป็นต้องเฮละโลมาที่อโศก อยู่ที่พวกคุณอยู่นั่นแหละ แต่เข้าใจให้ได้และประพฤติให้ถูกต้องตรงตามธรรม เรียนรู้ให้ดี ตั้งใจฟังแล้วตั้งใจปฏิบัติ แล้วก็จะกอบกู้ศาสนาพุทธขึ้นมาได้

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ความมหัศจรรย์ 8 ประการในชาวอโศกบุญนิยม วันพุธที่ 12 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 27 มกราคม 2565 ( 19:48:53 )

วิชชาจรณะสัมปันโนเริ่มต้นด้วยศีล

รายละเอียด

ทำได้หรือไม่ได้ถ้าคุณไม่เอาก็โมฆะไปจากศาสนาพุทธเลยจะเอาหรือไม่เอา วิชชา จะระณะสัมปันโน เริ่มต้นควรจะต้องมาศึกษาเรื่องนี้ จรณะ 15 เริ่มต้นมีศีล 

  1. ศีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล . .   9. วิริยะ ปรารภความเพียร

  2. อินทรีย์สังวร คุ้มครองทวารอินทรีย์  10. สติ อันเป็นอาริยะ . .

  3. โภชเนมัตตัญญุตา ประมาณในโภชนา 11. ปัญญา   . . 

  4. ชาคริยานุโยค ประกอบความตื่น 12. ปฐมฌาน . 

  5. ศรัทธา (เชื่อมั่น) . . 13. ทุติยฌาน 

  6. หิริ (ละอายต่อบาป) . 14. ตติยฌาน 

  7. โอตตัปปะ. (สะดุ้งบาป). 15. จตุตถฌาน 

  1. พาหุสัจจะ แทงตลอดในพหูสูต .   (พตปฎ.ล.13/34) 

วิชชานั้นเป็นวิชชา 8 เป็นของทุกคนไม่ใช่ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ศีล ข้อ 1 2 3  ศีลข้อที่ 1 เกี่ยวกับสัตว์ ศีลข้อที่ 2 เกี่ยวกับพืช ศีลข้อที่ 3 เกี่ยวกับ ทวาร 6 สิ่งที่สัมผัสตาหูจมูกลิ้นกายเป็นรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส คุณต้องเข้าใจศีลแล้วก็ปฏิบัติศีลนี่แหละไม่มีอื่นเลย บอกแล้วว่าการนั่งหลับตาปฏิบัติไม่ได้ปฏิบัติศีลเลยเป็นผู้ออกนอกการปฏิบัติของศาสนาพุทธเรียบร้อยโรงเรียนมิจฉาทิฏฐิ คุณจะปฏิบัติ ศีล คุณจะต้องมี ตาหูจมูกลิ้นกายใจ หากปฏิบัติ ศีล ไม่มีตาหูจมูกลิ้นกายใจแล้วไม่มี ผัสสะ ที่จะไปสำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 คือตาหูจมูกลิ้นกาย แล้วคุณก็ไม่มีผัสสะ ในสิ่งที่กินที่ใช้แล้วคุณก็ไปตื่นรู้เต็มที่จะต้องไปมีสติสัมปชัญญะ ปัญญา ต้องมี สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ สัมผัสแล้วจะมีเวทนา แล้วมีปัญญาที่เป็นตัวกลาง มีวิธีการกำจัดกิเลสอย่างนี้อย่างนี้ อย่างนี้ พูดย้ำซ้ำซาก หากอาตมาเป็นคนเบื่อเป็นก็ไม่รู้จะเบื่อยังไงแล้ว พวกคุณฟังยังน่าเบื่อเลย แต่อาตมาเบื่อไม่ลง 

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2563


เวลาบันทึก 28 ธันวาคม 2563 ( 15:04:21 )

วิชชาจรณะอันเป็นคุณยอดเยี่ยมทุกคนมีสิทธิ์หมด

รายละเอียด

 เพราะฉะนั้นจรณะ 15 อาตมาขอขึ้นข้อ 162 วิชชาจรณสัมปทา

[162] อัมพัฏฐมาณพทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็จรณะนั้นเป็นไฉน วิชชานั้นเป็นไฉน.

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอัมพัฏฐะ ในวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยม เขาไม่พูดอ้างชาติอ้างโคตรหรืออ้างมานะว่าคือ เรื่องของวิชชา จรณะ คนทุกคนมีสิทธิ์หมดไม่ว่าคลอดในสกุลไหน อิสรเสรีภาพที่จะมีวิชชาและจรณะได้ ไม่ได้เป็นอย่างที่อัมพัฏฐะเข้าใจว่า พราหมณ์ เท่านั้นที่จะมีจรณะวิชชา โดยเฉพาะไปเข้าใจว่าคฤหัสถ์ไม่สามารถมีได้ แม้แต่เป็นกษัตริย์ก็มีไม่ได้อย่างที่เขาเข้าใจนั้นผิดหมดเลย อย่างนี้เป็นต้น
อย่างอัมพัฏฐะมีจิตถือดี มีมานะว่าตนเท่านั้น เป็นพราหมณ์ ถึงสามารถมีวิชชาจรณะได้ 

ท่านควรแก่เรา หรือท่านไม่ควรแก่เรา อาวาหมงคล วิวาหมงคล หรืออาวาหวิวาหมงคล มีในที่ใด ในที่นั้นเขาจึงจะพูดอ้างชาติบ้างอ้างโคตรบ้าง หรืออ้างมานะบ้างว่า ท่านควรแก่เรา หรือท่านไม่ควรแก่เรา ชนเหล่าใดยังเกี่ยวข้องด้วยการอ้างชาติ ยังเกี่ยวข้องด้วยการอ้างโคตร ยังเกี่ยวข้องด้วยการอ้างมานะ หรือยังเกี่ยวข้องด้วยอาวาหวิวาหมงคล ชนเหล่านั้น ชื่อว่ายังห่างไกลจากวิชชาสมบัติ และจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยม การทำให้แจ้งซึ่งวิชชาสมบัติและจรณสมบัติ อันเป็นคุณยอดเยี่ยมย่อมมีได้เพราะละการเกี่ยวข้องด้วยการอ้างชาติ ความเกี่ยวข้องด้วยการอ้างโคตร ความเกี่ยวข้องด้วยการอ้างมานะ และความเกี่ยวข้องด้วยอาวาหวิวาหมงคล.

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ วิชชาจรณสมบัติ และพรหม 20 ชั้น วันพุธที่ 18 พฤษภาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 22 กรกฎาคม 2565 ( 14:58:47 )

วิชชาจรณะเป็นสมบัติของบุคคลเป็นคุณวิเศษ

รายละเอียด

เรื่องวิชชาจรณะไม่อ้างโคตร ชาติ มานะ มันควรแก่เราหรือไม่ควรแก่เราไม่ต้องอ้างสิ่งเหล่านั้นเลย อ้างไปทำไมมันเป็นสมมุติ แต่วิชชาจรณะเป็นสมบัติของบุคคล มันเป็นคุณวิเศษ วิชชาสมบัติ จรณะสมบัติไม่เกี่ยวกับการอ้างโคตร ตระกูลประเพณี กิเลส 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม 2563


เวลาบันทึก 30 มิถุนายน 2563 ( 09:18:00 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 13:56:21 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 07:31:15 )

วิชชาจรณะเหลือแค่การสวดเท่านั้นในศาสนาพุทธทุกวันนี้

รายละเอียด

พูดมาถึงตรงนี้แล้วจะรู้ว่าวิชชาจรณะเหลือแค่การสวดเท่านั้นในศาสนาพุทธทุกวันนี้ ถ้าไม่มีการสวดมนต์อย่างเดียวศาสนาพุทธไม่เหลืออะไร ไม่มีเลย คุณจะไปนิมนต์พระไปงานที่บ้าน งานทำบุญงานขึ้นบ้านใหม่งานคนแก่คนตาย จะเชิญพระไปที่บ้านก็มีแต่การสวดทั้งนั้น แต่เชิญพวกเราไปก็มีแต่เทศน์อธิบายธรรมให้ฟัง แต่เขาไม่มีศรัทธาธรรมะเขาสาธยายไม่เป็น จะมีพระบางรูป อย่างท่านปัญญา นิมนต์ท่านไปท่านก็บรรยายธรรมะอย่างเดียว หมดเวลาท่านก็ยังไม่หยุดอธิบายยังไม่จบ หรือองค์ไหนที่เทศน์เป็นก็เทศน์ นอกนั้นก็สวดอย่างเดียว

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 3 พฤษภาคม 2563


เวลาบันทึก 07 กรกฎาคม 2563 ( 09:19:07 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 13:57:54 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 07:31:45 )

วิชชาจะรู้อวิชชาของตน

รายละเอียด

ผู้ที่สามารถกำหนดรู้นามรูป วิญญาณนี้แยกเป็นนามรูปได้ด้วยวิชชา แต่แยกเป็นเทวะภาวะสอง มีสิ่งที่ถูกรู้กับผู้รู้ ผู้รู้คือปัญญากับวิชชา สิ่งที่ถูกรู้คือโจร คือผี คือซาตาน คืออัตตา คืออวิชชา รู้อวิชชาของตน

วิชชาจะรู้อวิชชาของตน ตนโง่ แต่กว่าจะรู้ว่าอวิชชามาก่อน แต่ก่อนแต่ไรไหนมาชื่อคนใช้ค่าโลกธรรมวัดคน เป็นโลกธรรมทั้งนั้นเลย เขาใช้โลกธรรมวัดคนว่า เจริญหรือไม่เจริญทั้งนั้นเลย ซึ่งเป็นการหลงโลกีย์หลงโลกธรรม เมื่อเข้าใจโลกธรรมแล้วก็จะรู้ว่าบ้าๆบอๆ ถูกเขาปั่นไปกับลาภยศสรรเสริญสุข 

พูดมาถึงตรงนี้ อาตมาพูดไม่รู้กี่ทีแล้วว่า พระพุทธเจ้าเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เกิดมาก็เป็นพระเจ้าแผ่นดิน เสร็จแล้วได้บำเพ็ญเป็นพระพุทธเจ้าด้วย เจริญทุกอย่างเลย ฉะนั้นท่านจึงเป็นพระพุทธเจ้าที่มีพระปัญญาธิคุณ แล้วก็ไม่เป็นอื่นก็ยังเป็นพระเจ้าแผ่นดินอยู่นั่นแหละ ก็มีภูมิธรรมปัญญาธิคุณ เป็นพระเจ้าแผ่นดินด้วยทำงานให้โลกด้วย บริหารเอาให้เจริญ เอาให้ประเทศตัวเองเจริญ เยี่ยมยอดเลยแล้วก็พาให้ประเทศอื่นเยี่ยมยอดไปได้อีก แต่พระองค์ไม่ทำ พระองค์ทิ้งเรื่องโลกีย์อย่างไม่เสียดาย ทิ้งโลกียะ หมดเกลี้ยงเลย ท่านเป็นพระเจ้าแผ่นดิน แม้แต่พระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้ามคธ ก็ยอมเคารพ เพราะศาสนาฮินดูเขารู้จักพระพุทธเจ้ากันมา เขาเป็นพราหมณ์กันมาเขารู้ว่าพระพุทธเจ้าสุดยอดแล้วจะต้องมาเกิด มาอุบัติ และมีคนพยากรณ์ว่าท่านจะเป็นพระพุทธเจ้าได้ แล้วท่านก็เป็นพระพุทธเจ้าได้จริงทุกคนจึงเคารพ เพราะฉะนั้นแคว้นใหญ่ แคว้นโกศล แคว้นมคธยกให้หมดแล้ว ท่านจะยังอยู่ ท่านก็ยิ่งใหญ่กว่าใคร นี่ขยายความให้ฟัง แต่ท่านไม่ดำเนินตาม ท่านไม่เอาพระเจ้าแผ่นดิน ท่านทิ้ง ถอดเครื่องมุรธาภิเษกของพระเจ้าแผ่นดินทั้งหมดเลยมานุ่งผ้าบังสุกุล ผ้าคลุกขี้ฝุ่นขี้ฝอยผ้าห่อศพ เดินพระบาทเปล่า 

ซึ่งมันไม่เหมือนยุคนี้ที่ยังแบกลาภยศสรรเสริญอยู่เลยในเถรสมาคม เสพกามคุณอะไรไม่รู้สึกรู้สา พระพุทธเจ้ายิ่งใหญ่กว่ามากมาย ทำไมท่านทิ้งได้ คุณเองคุณมีเศษทองเท่าหนวดกุ้ง ของท่านมีทองเท่าหัว ท่านโยนทิ้งหมด ลักษณะตรีมูรติของพระพุทธเจ้ามี ปัญญาธิคุณ บริสุทธิคุณ กรุณาธิคุณ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 61 สลายพระเจ้าแห่งอวิชชาด้วยปัญญาจากสัตตบุรุษ วันจันทร์ที่ 31ตุลาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 16 ธันวาคม 2565 ( 13:14:54 )

วิชชาตัวที่ 5 เจโตปริยญาณ 16

รายละเอียด

วิชชา ตัวที่ 5 เจโตปริยญาณ 16 ก็กระจายผังของกิเลสทั้งหมด คำว่าปริยะ คือ รอบ เจโตคือจิตทั้งหมด 

ตั้งแต่กิเลสราคะ โทสะ โมหะ สามเส้าใหญ่ กิเลสหลักๆเลย รู้หน้าตาตัวตนมันดีหมดเลย แล้วทำให้มันลดฤทธิ์ ลดอำนาจ ลดแรง ให้กิเลสมันตาย ราคะก็ลดลงๆ โทสะก็ลดลงๆ โมหะก็ลดลงๆได้ วีตะแปลว่าไม่มี ลดลงมาหาความไม่มีได้เรื่อยๆ 

1. สราคจิต  (จิตมีราคะ) 

2. วีตราคจิต  (จิตไม่มีราคะ) 

3. สโทสจิต  (จิตมีโทสะ) 

รู้กิเลส ทำให้กิเลสลดลงจนหมด(วีตะ)

4. วีตโทสจิต  (จิตไม่มีโทสะ) 

5. สโมหจิต  (จิตมีโมหะ) 

6. วีตโมหจิต  (จิตไม่มีโมหะ)

วีตะ คือ ให้โมหะหมดลงก่อน ที่หลงใหล หลงเลอะ หลงคลั่งไคล้ ไม่เอา หลงใหลก็ไม่เอา หลงหลับใหลก็ไม่เอามาเอาตื่นเต็มรู้ชัดๆว่ากิเลสตอนนี้กำลังเกิดอยู่นี่ ทำให้มันลดลงได้ๆ คุณก็รู้ความลดละจางคลายบางเบาจนกระทั่งมันหมดมันไม่มี ขยายความเป็นตัวที่ 7 ที่ 8 ของเจโตปริยญาณ 

7. สังขิตฺตํจิตตํ. (จิตเกร็ง-จับตัวแน่น หด คุมเคร่งอยู่) . 

8. วิกขิตฺตํจิตตํ . (จิตกระจาย-ดิ้นไป ฟุ้ง จับไม่ติด)

สังขิตตัง คือพวกเจโต ศรัทธา 

สายวิกขิตตังคือ สายปัญญา

แต่ที่บอกว่าสายเจโต วิกขิตตัง มันก็ฟุ้งซ่านเก่ง จับกันมาเป็น สังขิตตัง ก็จับตัวเป็นก้อนเก่ง ก็ต้องอธิบายอย่างนี้เพราะเป็นสายที่ยาก สายเจโตศรัทธาก็ยากกว่าสายปัญญา

สรุปแล้วเมื่อคุณรู้จัก 7 กับ 8 นี้แล้ว ชัดแล้วนะ สองตระกูล ตระกูลเจโต ปัญญากับตะกูลศรัทธา พอคุณสามารถทำได้ดีขึ้นก็เรียกว่า มหัคตะ 

9. มหัคคตจิต (จิตเจริญยิ่งใหญ่ขึ้น)  

10. อมหัคคตจิต (จิตไม่เจริญขึ้น) 

ทั้งมหะและอัคคะ แปลว่ายิ่งใหญ่ทำให้เจริญขึ้น ถ้าทำไม่ได้ก็ไป อมหัคคต มันยังไม่ออกไปจากอันเก่าเลย ดีไม่ดีมันจะเสื่อมต่ออีกก็ยิ่งแย่ ส่งให้เจริญได้มากขึ้นเป็น มหัคตะ ถ้าคุณสามารถทำได้นั่นคุณเจริญ พอเจริญแล้วก็มีแต่ดีๆๆ เรียก สอุตรังจิตตัง

11. สอุตตรจิต (จิตมีดีแต่ยังมีดียิ่งกว่านี้-ยังไม่จบ) 

12. อนุตตรจิต (จิตไม่มีจิตอื่นสูงยิ่งกว่า) 

13. สมาหิตจิต (จิตตั้งมั่นเป็นประโยชน์ดีแล้ว) 

14. อสมาหิตจิต (จิตยังไม่ตั้งมั่นไม่เป็นประโยชน์) 

15. วิมุตตจิต (จิตหลุดพ้น) . . . 

16. อวิมุตตจิต (จิตยังไม่หลุดพ้นสิ้นเกลี้ยง) 

สอุตรังจิตตัง อาตมาเคยชมที่ท่านแปลในพระไตรปิฎกว่า จิตที่ดีกว่านี้ยังมีอีก เป็นสำนวนไทยที่ชัดเจน มีแต่จิตดีที่เกิดไม่มีจิตชั่วแล้ว ถึงขั้น สัพพปาปัสสะ อกรณัง แล้ว ไม่มีจิตไม่ดีเกิดแล้ว มีแต่จิตดีเกิด แต่มันยังไม่จบ มันยังไม่ถึงที่สุด มันยังไม่ถึงอนุตตระ มันยังไม่ถึงเหนือสุดยอดเลย ไม่มีอะไรจะยอดอีกแล้วในระหว่างที่จะทำต่อไป มันยังไม่ถึง อนุตตรังจิตตัง จบ เพราะฉะนั้นจาก สอุตตรัง แล้วมาอนุตตรัง 

สมาธิหรือสมาหิตะ เป็นเจโต วิมุติเป็นปัญญา หรือยังไม่ครบ วิมุตติญาณทัสสนะยังไม่ครบหรือครบวิมุตติญาณทัสสนะแล้ว ก็ตรวจกิเลสหมด ให้รู้จริง รู้ชัด รู้บริบูรณ์ รู้แทงรอบ ปฏิเวธ แทงสัญญาเวทยิต เอาสัญญานี้มาตรวจ เวทยิตตังนิโรธังโหติ เวทยิตตังแปลว่าเคล้าเคลียอารมณ์ทุกสัดส่วน แทงรอบทุกอย่าง ทั้งนอกทั้งใน ทั้งลึกทั้งบาง ละเอียดหมด ชัดเจนว่าไม่เหลือ 

อเสสะ อเสขะ ไม่เหลือ หมดจบ สิ้นอาสวะ คุณก็รู้ได้ด้วยตนเอง ญาณ ปัญญาของคุณเอง สะอาดบริสุทธิ์ของคุณเอง ถ้าคุณผิดก็ผิดของคุณเอง ก็หลอกตัวเองก็แล้วแต่ ถ้าตรวจลวกๆมันก็ไม่รู้จริง ถ้าตรวจแล้วหมดจดได้จิตสะอาดเป็นจิตบริสุทธิ์ ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 45 ออนไลน์ วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 17 มีนาคม 2564 ( 07:53:10 )

วิชชาลัยบรรดาบัณฑิตบุญนิยม

รายละเอียด

คือ การจัดอบรมธรรมะในหลักสูตร ลัด คัด สั้น ซึงปรัชญาการศึกษาที่ยกระดับจากปรัชญาของ “สัมมาสิกขา” (ศีลเด่น เป็นงาน ชาญวิชา) ขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง คือ ศีลเต็ม เข้มงาน สืบสานวิชชา และเรียกหลักสูตรอบรมธรรมระยะสั้นว่า วิชชาลัยบรรดาบัณฑิตบุญนิยม หรือเรียกสั้นๆว่า ว.บบบ. โดยเริ่มการเรียนการสอนระหว่างวันที่ 7– 13 มกราคม พ.ศ.2555

หนังสืออ้างอิง

 “สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ” หน้า 185


เวลาบันทึก 27 ตุลาคม 2562 ( 11:33:26 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 16:10:20 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:31:04 )

วิชชาวิมุตติสูตร

รายละเอียด

วิชชาวิมุตติสูตร

ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำให้แจ้งซึ่งวิชชาและวิมุตติผล

 [124] ... ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค

เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลแห่งวิชชา และวิมุตติผล ฯลฯ  จบ สูตรที่ 6

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ มรรคมีองค์ 8 ทำให้พ้น

จากอัญญเดียรถีย์ วันศุกร์ที่ 23 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 01 พฤษภาคม 2564 ( 15:57:46 )

วิชชาสมบูรณ์แบบพ้นสังโยชน์ 10

รายละเอียด

หมด รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชาเกลี้ยง จบ มีวิชชาสมบูรณ์แบบ พ้นสังโยชน์ 10 เป็นอรหันต์ ไม่ได้หลับตาสักช่วงเลย ลืมตาได้แล้วไปหลับตาก็ทำได้ แต่ไปหลับตานั้นลืมตาก็ทำไม่ได้

ที่มา ที่ไป

วิถีอาริยธรรม บ้านราช เศรษฐกิจที่ดีที่สุดในโลกอยู่ทีนี่


เวลาบันทึก 19 มกราคม 2563 ( 14:00:13 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 08:16:55 )

วิชชาหรือปัญญาเป็นยาดำที่มีร่วมตั้งแต่ศีล

รายละเอียด

ซึ่ง วิชชาเป็นยาดำ ปัญญาเป็นยาดำผสม มีมาร่วมตั้งแต่ศีล ศีลต้องมีปัญญาไม่มีปัญญาไม่ได้ต้องมีปัญญาร่วมเสมอ ปฏิบัติศีล ต้องมีธาตุรู้ร่วมไปด้วย ควบคุมศีล จัดการกับศีล 

ศีลข้อที่ 1 เป็นข้อกำหนดหมายเรื่องราว กรอบขอบเขตและเรื่องราวพฤติกรรมต่างๆ เรียนรู้รูปนาม จัดการกับวิญญาณ​ที่เลือกวิญญาณผีออกมา วิญญาณซาตานวิญญาณมารออกมาให้ชัดซึ่งเป็นกิเลสนั่นเอง แล้วจัดการ แล้ว การจัดการของพระพุทธเจ้าก็ไม่รุนแรงด้วย 

จัดการอย่างผู้ดี จัดการอย่างให้รู้สึก ให้เข้าใจ ให้รู้ตัว ว่าตัวเองเป็นผีนะ ตัวเองเป็นตัวไม่มีตัวตน ตัวเองเป็นมายา ตัวเองเป็นผีหลอก เป็นลักษณะมาหลอก มาเท็จ มันไม่มีจริงมันไม่มีตัวจริงมันเป็นอนัตตา เอ็งน่ะ มันตัวอนัตตาพิสูจน์ได้ เป็นพลังงานก็เป็นพลังงานที่เก๊ ที่สลายได้ ไม่ใช่พลังงานนิรันดร พังสลายพลังงานได้หมดเลยเป็นชิ้นๆได้หมดเลย

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 45 ออนไลน์ วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 17 มีนาคม 2564 ( 05:07:01 )

วิชชาเป็นยาดำแทรกในจรณะตลอดสาย

รายละเอียด

อัมพัฏฐสูตร เมื่ออัมพัฏฐะจำนนไม่มีจรณวิชชาสมบัติ เขาได้แต่ท่องจำได้สอนผู้อื่นได้ทั้งนั้นแต่ตัวเองไม่มีการปฏิบัติจนได้มรรคผล พระพุทธเจ้าก็ขึ้นต้นด้วยว่า 

ในพุทธคุณ 9 เนื้อแท้การปฏิบัติก็คือจรณะและวิชชา นอกนั้นเป็นฉายาของ พระพุทธเจ้า เท่านั้น อีก 8 ประการ 

[163 ] ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ จรณะนั้นเป็นไฉน วิชชานั้นเป็นไฉนเล่า.

ดูกรอัมพัฏฐะ พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลกเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม

พระตถาคตพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตามทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ

วิชชาเป็นยาดำแทรกในจรณะตลอดสาย มีปัญญาหรือธาตุรู้ มีความรู้เข้ามาส่งเสริมให้เกิด อธิศีล อธิจิต อธิปัญญาตลอด 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 39 พุทธานุสสติ และอัมพัฏฐสูตร วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 04 สิงหาคม 2565 ( 17:21:48 )

วิชชาและจรณะ

รายละเอียด

1. ศาสตร์ที่เป็นวิทยาศาสตร์ทางจิตวิญญาณที่สามารถรู้จักรู้แจ้งรู้จริงจิตวิญญาณสัมบูรณ์แท้จริง

2. ความรู้วิเศษของพุทธและความประพฤติประเสริฐ

หนังสืออ้างอิง

พุทธเป็นอเทวนิยมอย่างนี้ หน้า 177

วิถีพุทธ หน้า 128


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2562 ( 12:36:15 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:03:45 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:32:12 )

วิชชาและจรณะเป็นพุทธคุณของพระพุทธเจ้า

รายละเอียด

เราได้ห่างเหินอัมพัฏฐสูตรมานาน เดี๋ยวมันจะลืมเลือนไป อาตมาก็ตั้งหลัก ง้างหมัดที่จะพูดตรงนี้ไว้นาน ยังไม่ได้ชกสักที อธิบายศีลอันเป็นอาริยะ มา สรุปแล้วท่านก็เป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ คำว่า วิชชาและจรณะก็เป็นพุทธคุณของพระพุทธเจ้าจริงๆ แต่ต อนนี้เน้นหนัก และผู้จะยืนยันธรรมะพระพุทธเจ้า จะแย้งยาก อัมพัฏฐมานพก็ได้แต่ภาษาก็แย้งยาก เดี๋ยวนี้ก็เหมือนกันภิกษุของศาสนาพุทธทางพุทธศาสนาผู้รู้ก็ได้แต่พยัญชนะที่แปลขยายความกันมา เข้าไปสัมผัสสภาวะบ้าง แต่มันก็ไม่ใช่สภาวะที่ลงตัวถูกฝาถูกตัวกันอย่างเป๊ะหมดเลย มันก็ยังเอียงๆเพี้ยนๆสับๆสนๆกันอยูมันจึงยังยากทำความเข้าใจได้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้กับ อัมพัฏฐมานพ ก็ตอนนั้น ศาสนาพุทธเพิ่งเริ่มจะเกิดท่านก็มาโปรดญาติของท่าน ตอนนั้นโปกขรสาติพราหมณ์ ได้ส่งศิษย์เอกคืออัมพัฏฐมานพมา ซึ่งลักษณะของพระพุทธเจ้านั้นตรงตามตำราของที่มีกันหมดว่าเป็นพระพุทธเจ้า เช่นตอนนี้ก็มีสำนักของพุทธวจนะหรืออาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์มีเยอะที่มีบัญญัติเก่ง แต่ไม่ได้รู้จักสภาวะธรรมจริง จึงได้มาแย้งกัน อธิบายยืนยันอ้างอิงจนสุดท้าย อัมพัฏฐะก็จำนน เขารู้แต่พยัญชนะ แต่ไม่รู้สภาวะของจรณะ 15 วิชชา 8 เขาไม่รู้ไม่ได้ปฏิบัติศีล อปัณกธรรม 3 ก็ไม่รู้ดีไม่ดีไปนั่งหลับตา ตามอาฬารดาบส อุทกดาบส ได้มิจฉามรรค มิจฉาผลไป 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 23 กันยายน 2563 ( 11:27:44 )

วิชชาและวิมุตติมีอาหารอย่างนี้และบริบูรณ์อย่างนี้

รายละเอียด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขาเมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วยให้เต็ม ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็ม ย่อมยังหนองให้เต็ม หนองที่เต็มย่อมยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยที่เต็มย่อมยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ที่เต็มย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม มหาสมุทรสาครนั้น มีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ... นิวรณ์ 5 ที่บริบูรณ์ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์ อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ 7 แม้โพชฌงค์ 7 เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของโพชฌงค์ 7 ควรกล่าวว่า สติปัฏฐาน 4 แม้สติปัฏฐาน 4 เราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติปัฏฐาน 4 ควรกล่าวว่า สุจริต 3 แม้สุจริต 3 เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสุจริต 3 ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์ แม้การสำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่า สติสัมปชัญญะ แม้สติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคายเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ควรกล่าวว่าศรัทธา แม้ศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของศรัทธา ควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม แม้การฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การคบสัปบุรุษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์ ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์ การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต 3 ให้บริบูรณ์ สุจริต 3 ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์สติปัฏฐาน 4 ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ 7 ที่บริบูรณ์ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขาเมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วยให้เต็ม ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็มย่อมยังหนองให้เต็ม หนองที่เต็มย่อมยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยที่เต็ม ย่อมยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ที่เต็ม ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม มหาสมุทรสาครนั้นมีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลายการคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ... โพชฌงค์ 7 ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ

จบสูตรที่ 1

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 48 อยากหมดอวิชชาต้องเริ่มคบพ่อครูผู้สัตบุรุษ วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม 2565 ที่ บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2565 ( 20:40:38 )

วิชชา” และ “วิชา” มีความหมายเหมือนหรือต่างกัน

รายละเอียด

เหมือนก็ได้ไม่เหมือนก็ได้ อยู่ที่เราจะสำคัญ ถ้าจะไปกำหนดหมายว่า “วิชชา” หมายถึงที่เป็นธรรมะ ความรู้ทางธรรม ส่วน “วิชา” มันเป็นความรู้ทั่วไปของชาวโลกเขา ก็ได้ หรือ คุณจะหมายถึงว่าเป็นอันเดียวกันนั่นแหละแล้วก็เข้าใจว่า ระดับของคนโลกของเขาก็มีของเขาตามที่เขาปรุงแต่งกันอยู่หลงใหลกันอยู่ ยังไม่เข้าขั้นโลกุตระ 

โลกุตระ คือ มาเรียนรู้สุขทุกข์ มาเรียนรู้กิเลส แต่ถ้ายังไม่เข้าโลกุตระก็เป็นความรู้ทั่วไป มีดีมีชั่ว เขาก็มีสุขมีทุกข์ตามที่เขายึดถือ ที่เขาได้เสพทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เสพ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ที่เขาสนใจก็มีสุขมีทุกข์

พอโลกุตระ ก็มาลดในการเสพสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เลิกมาทั้ง ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข รวมหมดโลกธรรม มาติดยึดอยู่กับรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เราก็รู้ว่าเราติดยึดรสอย่างนี้เป็นสุข อย่างนี้ไม่เป็นสุข เสียงหรือกลิ่นก็แล้วแต่ อย่างนี้สุข อย่างนี้ไม่สุข คุณก็เรียนรู้แล้วเลิกละอาการจิต เวทนาที่มันมีตัณหาเป็นตัวการ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูตอบปัญหา งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 46 วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 แรม 2 ค่ำ เดือน 3 ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 23 กุมภาพันธ์ 2565 ( 17:52:11 )

วิชา 8

รายละเอียด

วิชชา 8

  1. วิปัสสนาญาณ คือความรู้ รู้อย่างมีผัสสะ รู้อย่างลืมตา มีการเห็น วิปัสสี วิปัสสนา เป็นคำที่ต้องให้เกิด เกิดญาณ รู้แล้วก็เอาไปปฏิบัติ เกิดฤทธิ์ทางใจ มยิทธิ
    2. มโนมยิทธิญาณ เกิดฤทธิ์ทางใจของเราเอง ที่ไม่ใช่ อิทธิปาฏิหาริย์ ไม่ใช่ อาเทสนาปฏิหาริย์ แต่เป็นปาฏิหาริย์ ตามพยัญชนะภาษาที่พระเจ้าเอามาแทนสภาวะให้รู้ความสุขหรือความทุกข์ รู้เหตุแห่งทุกข์ รู้รายละเอียดของทั้ง 2 อย่าง ไม่ใช่ไปรู้เป็นอิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ เหมือนหนังกำลังภายในของจีน เพ่งเล็งจิตคนอื่นสัตว์อื่นว่าคิดอย่างไร หรือค้นหาของหายได้หรือส่งจิตไปทำร้ายคนอื่นได้ ไม่ใช่ ไม่เอา เมื่อย แล้วก็ไปกระทบคนอื่น อวดเก่งกับคนอื่น พระพุทธเจ้าท่านตัดทิ้งไป 

ดูกร เกวัฏฏะ  เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว  จึงได้ประกาศให้รู้ ปาฏิหาริย์ 3 อย่าง เป็นไฉน ?  คือ 

  1. อิทธิปาฏิหาริย์ (แสดงฤทธิ์ทางใจ ไปซ้ำกับพวกคันธารี) 

  2. อาเทสนาปาฏิหาริย์ (หยั่งรู้จิตคนอื่น ไปซ้ำกับมณิกา) 

  3. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (สอนวิชชา8 เป็นปัญญาสัมปทา) 

พระองค์ทรงเห็นโทษภัยจึง อึดอัด(อัฏฏิยามิ)   ระอา(หรายามิ) เกลียดชัง(ชิคุจฉามิ) ในอิทธิปาฏิหาริย์และอาเทสนาปาฏิหาริย์  แต่ทรงยกย่องให้สอน ให้ทำใจ ให้เข้าถึงอนุสาสนีปาฏิหาริย์ .  

(เกวัฏฏสูตร   พตปฎ. เล่ม 9 ข้อ 339-341) มโนมยิทธิ คือ มีฤทธิ์ทำลายกิเลสได้

  1. อิทธิวิธญาณ คือ มีฤทธิ์ มโนมยิทธิที่หลากหลายแตกต่าง ฤทธิ์ทางธรรม ไม่ใช่อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ด้วย แต่อาศัยคำว่า อิทธิเท่านั้น แต่เป็นฤทธิ์แรงของพลังงานทางจิตที่สามารถ สำคัญคือรู้จักกิเลสทำลายกิเลสกำจัดกิเลสได้ นี่เป็นจุดหมายจุดสำคัญ ก็มีอิทธิวิธญาณ หลากหลายขึ้น ท่านั้นท่านี้ เหลี่ยมนั้นเหลี่ยมนี้ จนหมดของตัวเองแล้วแถมรู้ของคนอื่นได้ ก็ไปช่วยคนอื่นได้ พระโพธิสัตว์จะมีตัวนี้เพิ่มขึ้นของพระอรหันต์ทำตัวเองให้หมดจบของตัวเองเรียกว่าเป็นพระอรหันต์ส่วนที่ไปช่วยคนอื่นด้วยเรียกว่าเป็นพระโพธิสัตว์ ก็จะเพิ่มเป็นประโยชน์ตน เป็นประโยชน์ท่าน ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน เรามีประโยชน์ตนเท่านี้ก็ช่วยคนอื่นได้เท่านี้เรามีประโยชน์ตนมากขึ้นก็ช่วยคนอื่นได้มากขึ้นแล้วอย่าไปช่วยจนหมดเนื้อหมดตัว มีทุน 100 ก็ช่วยคนอื่นซัก 60

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563

หนังสืออ้างอิง

เกวัฏฏสูตร   พระไตรปิฎก เล่ม 9 ข้อ 339-341


เวลาบันทึก 15 มีนาคม 2563 ( 10:16:25 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 09:02:25 )

วิชาการของพระพุทธเจ้าเลิศยอดกว่าทุกศาสตร์

รายละเอียด

เขาว่าเขารู้ แต่ทำไม่ได้ เขาก็ต้องมายอมรับสิว่า อันนี้ดี แล้วส่งเสริมแนะนำเชิดชูเพื่อให้คนอื่นปฏิบัติอย่างนี้ตาม ถึงแสดงว่าเขาชัดเจนไม่โง่ แต่เขานี่เขาไม่รู้จริงๆ ถึงรู้บ้างแต่กิเลสมานะอัตตา เห็นแก่พรรคพวกก็ไม่ยอมรับ ไม่กล้าประกาศต่อสังคมโลก เพราะเขาไม่ฉลาดพอ เขาจริงพอ กิเลสทำให้คนโง่ หากฉลาดจริง สิ่งที่ดีสิ่งที่ประเสริฐก็ต้องยกย่อง ก็จะไม่ปิดบัง ยิ่งเป็นคนไทยด้วย แล้วคนไทยทำได้ มีหลักเกณฑ์ มีวิชาการของพระพุทธเจ้ายืนยัน อ้างอิงได้อย่างชัดเจนด้วย ที่พูดนี้ขอยืนยันว่าตรงกับของพระพุทธเจ้าทุกอย่าง สุดยอดของความฉลาดคือล้างกิเลสได้หมด อันนี้คือเป้าหมายแท้ เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ สุดยอด เลิศยอดกว่าทุกศาสตร์

ที่มา ที่ไป

วิถีอาริยธรรมบ้านราช เศรษฐกิจที่ดีที่สุดในโลกอยู่ที่นี่ วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 19 มกราคม 2563 ( 12:55:10 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 11:01:13 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:57:28 )

วิชาจะระณะสัมปันโน

รายละเอียด

วิชาจะระณะสัมปันโน  คือ เป็นพุทธคุณของพระพุทธเจ้า

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต  สันติอโศก ครั้งที่ 69  วันจันทร์ที่ 16 กันยายน  2562


เวลาบันทึก 22 ตุลาคม 2562 ( 08:52:55 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 11:02:46 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:35:34 )

วิชาทางธรรมโลกุตระยิ่งใหญ่กว่าวิชาทางโลกทั้งหมด

รายละเอียด

ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นี่ตรัสรู้เรื่องความเป็นมนุษย์กับสังคม ท่านศึกษาอันนี้แล้วตรัสรู้อันนี้ แล้วเอามาปฏิบัติประพฤติ อาตมาพูดว่าพระพุทธเจ้านี้ศึกษาวิชาความรู้มาหมดทั้งโลก ความรู้ในแขนงไหนๆที่เขาจะศึกษากัน มีตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน แม้พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาในปัจจุบันก็ต้องไปเรียนหมด แต่โพธิรักษ์นี้ไม่ได้เรียนสักอย่าง มาทำแต่เฉพาะหน้าที่ทางธรรมะอย่างเดียวก็ทำไม่หวาดไม่ไหวแล้ว แต่พระพุทธเจ้าท่านเรียนหมดจบทางโลกเสร็จแล้ว 18 วิชา ท่านจบปริญญาตรีโทเอกครบ18 วิชา จากสำนักตักสิลา ได้เกียรตินิยมหมด ทุกวิชา เสร็จแล้วทิ้งหมดทุกวิชาเลย 18 วิชา มาเอาวิชาของท่าน ที่ท่านสืบสานมาแล้วท่านมาเป็นโพธิสัตว์ใหญ่ จนกระทั่งมาเป็นพระพุทธเจ้าสุดท้าย ท่านปลูกฝังสืบสานโพธิสัตวภูมิ จนชาติสุดท้ายเป็นพระพุทธเจ้า ท่านก็มาทำงานทางธรรมะ 18 วิชานั้นทิ้งสูญเปล่าเลย ให้รู้ว่าวิชาอย่างโน้น จะเรียนก็เรียนได้เกียรตินิยมด้วย แต่เสร็จแล้วเรียนแล้วทิ้งให้ดูเลย 

แต่อันนี้เป็นวิชาที่สำคัญ เป็นวิชาทางธรรมโลกุตระนี่ยิ่งใหญ่กว่าวิชาทางโลกทั้งหมดเลย สุดยอด ไม่รู้ว่าที่อาตมาพูดแค่นี้มันพอเข้าใจกันได้ดีไหม พูดมาไม่รู้กี่ทีแล้ว พยายามขยายความอันนี้ให้เห็นว่าวิชาทางโลกนี้มันวนเวียนอยู่อย่างนั้นแหละ วิชาทางโลกก็สร้างไปแล้วเอาไปล่าลาภ ยศ สรรเสริญ สุข 

ที่มา ที่ไป

ธรรมะรับอรุณโดยพ่อครู งาน ว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน ครั้งที่ 8 วันพฤหัสบดีที่ 31ธันวาคม 2563 ที่บ้านราชฯ


เวลาบันทึก 06 กุมภาพันธ์ 2564 ( 18:39:41 )

วิชาที่ประเสริฐที่สุด คือ วิชาโลกุตรธรรม

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะเป็นวัตถุมาซัพพอร์ตให้อาตมาทำงานได้อยู่มันพอ ทำงานไม่ทันทำงานไม่พอ สิ่งที่คนจะ support มีสิ่งที่มีมันมีเกิน โดยไม่ต้องเรี่ยไร อาตมาเห็นความจำเป็นเอ่ยปากก็พอได้ อาตมาจะไม่ทำอะไรยิ่งใหญ่เกินกว่าที่ควร ต้องใช้เงินทองมากเกินขนาด อาตมาไม่เอา เพราะฉะนั้นอาตมาจะทำเท่าที่อาตมาเห็นควร อาตมาไม่เสียดายชีวิตที่ได้เกิดมา  แล้วก็ยังพอใจที่จะเกิดมา เพื่อที่จะมาทำสิ่งที่เป็นคุณค่าประโยชน์ที่สุด อาตมาภูมิใจที่อาตมาได้เกิดมาทำสิ่งที่ประเสริฐที่สุดที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือโลกุตรธรรม เอาอันนี้ มาทำเป็นงาน งานที่อาตมารับผิดชอบเกิดมาอีกกี่ชาติก็จะทำงานอันนี้ 

เหมือนพระพุทธเจ้าพอรู้ตัวว่าเป็นพระพุทธเจ้าท่านก็ทิ้งวิชาการอื่นหมด ท่านก็มาทำงานโลกุตรธรรม เผยแพร่ 45 พรรษาแล้วท่านก็ปรินิพพานไป ส่วนอาตมาจะทำต่ออยู่ ชาตินี้มันจะตายเมื่อไหร่ก็ทำอันนี้แหละ ไม่ทำอันอื่น แล้วก็ยืนยัน ใครจะเห็นแตกต่างจากอาตมา ยังแย้งอยู่ อาตมาก็ห้ามเขาไม่ได้ไปบังคับให้เขาเชื่อไม่ได้ เป็นแต่เพียงยืนยันว่าอันนี้อาตมาไม่ได้พูดผิด อาตมาไม่ได้พูดปด อาตมาพูดความจริง เพราะธรรมะนี้เป็นความรู้สุดยอดที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้มาแล้ว ให้ความรู้ที่จริงๆด้วย ส่วนคนจะไม่ยอมรับไม่ยอมเชื่อก็เรื่องของเขา แต่คนที่ยอมรับคนที่เชื่อแล้วก็พยายามจะให้ได้อย่างอาตมาก็มีอยู่เท่าที่ได้ ได้เท่าไหร่ก็เอาเท่านั้นไม่มีปัญหาอะไรอาตมามีแต่ปัญญาไม่มีปัญหา 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 53 ประโยชน์อันสูงสุดจากศาสนาที่มนุษย์พึงได้ วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2565 ขึ้น 10 ค่ำเดือน 10 ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 21 ธันวาคม 2565 ( 13:41:41 )

วิชาอะไรที่จะจบ

รายละเอียด

จนกระทั่งไม่มีอวิชชาอะไร อาตมาเคยย้ำแล้วว่าพระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์เหมือนกับเราทุกคน ท่านก็แสวงหาไม่รู้กี่ล้านชาติ หลงจนกระทั่งท่านได้รู้ครบ ซึ่งพระพุทธเจ้าแต่ละองค์ก็ได้รู้มาจากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆถ่ายทอดมาจนกระทั่งเป็น สยังอภิญญา เป็นผู้ที่มีเองรู้เองจนกระทั่งเป็นอภิภู จนกระทั่งมาเป็นมหาโพธิสัตว์ จบเป็นพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งเหมือนกันกับพระพุทธเจ้าทุกองค์ 

ก็จะรู้ว่ามันไม่มีวิชาอะไรที่จะจบ ไม่มีวิชาอะไรที่จะรู้รอบรู้จริงเหมือนกับวิชาโลกุตระ วิชาของพระพุทธเจ้า ไม่มี อาตมาจึงย้ำเสมอว่าพระพุทธเจ้าเมื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านรู้โลกทุกวิชา แม้ในยุคของพระองค์นั้นสำนักตักสิลามี18สาขาวิชา ในยุคนี้จะมีร้อยวิชาในมหาวิทยาลัยต่างๆนี้ก็ตาม ถ้าท่านอยู่ท่านก็เรียนรู้ได้หมด จบทุกวิชาได้เกียรตินิยมด้วย สมัยนั้นตักสิลามีเพียง 18 สาขาวิชา ท่านก็จบได้เกียรตินิยมหมด เสร็จแล้วท่านก็ทิ้งหมด 18 วิชา 

ในตักสิลาไม่มีวิชาพุทธ เหมือนมหาวิทยาลัยทั้งหลายแหล่ ไม่มีวิชาพุทธ แม้จะเป็นมหาจุฬาฯ แม้จะเป็น มหามกุฏราชวิทยาลัย มีมหาวิทยาลัย 2 มหาวิทยาลัยทางศาสนาพุทธ ของ 2 นิกายในเมืองไทย ขออภัยเถิดที่ต้องพูดความจริง ผู้ที่เป็นอาจารย์ในยุคนี้ก็ไม่บรรลุ โลกุตรธรรม ที่จะประสาทวิชาโลกุตรธรรมให้บรรลุได้ ขออภัยที่ต้องพูดความจริง 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ทำไมสายศรัทธาจึงช้าและยากกว่าสายปัญญา วันพุธที่ 10 สิงหาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 31 สิงหาคม 2565 ( 04:31:17 )

วิชาโลกุตรธรรมสำคัญที่สุดเพราะอะไร

รายละเอียด

พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ พระพุทธเจ้าท่านก็เกิดมาเป็นคนเหมือนเรา เรียนมาทุกวิชา ความรู้ในโลกนี้ท่านรู้หมดทุกวิชานั่นแหละที่โลกมี เสร็จแล้วท่านเกิดเป็นพระพุทธเจ้า ในปางที่เป็นพระพุทธเจ้า ท่านไม่เอาสักวิชา ท่านมาเรียนรู้สอนคนให้บรรลุความรู้โลกุตรธรรมนี้ ทั้งชาติ ทำงานนี้จนกระทั่งปรินิพพานเป็นปริโยสานไป ฟังเข้าใจบ้างไหมว่ามันสำคัญขนาดไหน โลกุตรธรรมนี้ 

พระพุทธเจ้าเกิดมาไม่รู้กี่ชาติ ไปเด่นไปดังในวิชาการทางโลกกี่ชาติก็แล้วแต่ ท่านเคยได้ความเด่นดังมาหมดแล้ว ไม่ได้ด้อยกว่าใครเขาหรอก เรียนรู้มาหมดทุกอย่าง สุดท้ายทิ้งหมด ปางสุดท้ายเป็นเจ้าชายสิทธัตถะเป็นพระพุทธเจ้าก็เลิกทั้งหมด เกิดมาไม่รู้ตั้งกี่ล้านชาติมาได้วิชานี้สุดท้าย วิชานี้วิชาเดียว มีพระชนม์ชีพ 45 พรรษา ทำวิชานี้วิชาเดียวเลิกเลยไม่เอาแล้วอย่างอื่น ฟังเข้าใจไหม เห็นความสำคัญไหม เรื่องของโลกุตรธรรมนี้ เห็นความสำคัญไหม อาตมาตั้งแต่รู้ตัวว่า เราต้องมาทำหน้าที่นี้ มาทำงานนี้สุดยอดแล้ว ตั้งแต่บัดนั้นจนทุกวันนี้ จะต่อไปอีกกี่ร้อยปี ถ้าอยู่ได้ก็จะทำอันนี้เท่านั้นไม่ทำอย่างอื่นหรอก จะเชิญอาตมาเป็นนายก จะเชิญอาตมาไปเป็นประธานาธิบดี ขออภัย จะเชิญอาตมาเป็นกษัตริย์ ก็ไม่เอาทั้งนั้น 

พระพุทธเจ้าเป็นกษัตริย์ เป็นพระเจ้าแผ่นดินและจะได้เป็นเจ้าจอมจักรพรรดิด้วย ทำนายกันไว้ชัดหมด ถ้าท่านจะอยู่ทางโลกท่านจะใหญ่ยิ่ง แต่ท่านไม่เอาท่านทิ้งหมดมาเอาธรรมะโลกุตระ เดินพระบาทเปล่าบ้านช่องเรือนชาน -วังเวียงทรัพย์ศฤงคารไม่เอาเลย มันง่ายจะตายมันชัดเจนจะตายไป คุณจะไปต่องแต่งอยู่กับลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข อะไรอยู่ ได้เศษเสี้ยวของพระพุทธเจ้าหรือเปล่า ออกมาบวชแล้วว่าจะทิ้ง โภคขันธาปหายะ ญาติปริวัตตังปหายะ ตอแหล คุณมาเอาอันนี้แหละ ไม่ไปเอาอันอื่นหรอก

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 50 ตอบปัญหาผ่าปฏิจจสมุปบาท วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 15 กันยายน 2565 ( 15:29:40 )

วิญญัติ

รายละเอียด

วิญญัติคือการเคลื่อนไหว มันต้องมีการเคลื่อนไหว หากไม่มีการเคลื่อนมันก็จะไม่สามารถศึกษามันได้มันจะไม่สามารถรู้ได้ คุณต้องมีสิ่งเหล่านี้ แล้วจะเกิดอาการทางเวทนาให้ศึกษา 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 15 กุมภาพันธ์ 2563 ( 16:52:18 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 11:04:04 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:35:59 )

วิญญัติ 2

รายละเอียด

คือ กายวิญญัติ กับ วจีวิญญัติ ความเคลื่อนไหวองค์ประกอบภายนอก เรียกว่า “กาย” นัจจะ ส่วนวจีวิญญัติ คือ คีตะ วาทิตะ

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราชธานีอโศก วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 15 ตุลาคม 2562 ( 16:25:56 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 11:06:25 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:36:43 )

วิญญัติมีการจมกับการเคลื่อน

รายละเอียด

จมอยู่กับการเคลื่อนมีแต่ วิญญัติ ไม่เข้าถึงวิญญาณมีแต่งมงายอยู่กับการเคลื่อนทางรูปธรรม ไม่เข้าถึงจิต เจตสิก รูป นิพพาน ยังไม่เข้าถึงวิญญาณ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 46 วิญญาณกับวิญญัติ วันมาฆบูชา วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 29 พฤษภาคม 2565 ( 12:15:20 )

วิญญัติรูป 2

รายละเอียด

 จะมีวิการรูป ซึ่งจะมี 5 มีวิญญัติรูป 2

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 15 กุมภาพันธ์ 2563 ( 16:50:58 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 11:08:06 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:37:41 )

วิญญัติรูป 2 ในรูป 28

รายละเอียด

ซ. วิญญัติรูป 2 = 16.กายวิญญัติ  17.วจีวิญญัติ ไหวให้รู้ เมื่อสามารถทำจิตได้เก่งก็ทำให้การเคลื่อนไหวของกาย วจี สามารถควบคุมได้ จะรู้เท่าทันการเคลื่อนไหวของเราที่แสดงกายวิญญัติ ที่เราแสดงวจีวิญญัติอย่างรู้ๆเท่าทันว่าเราแสดงออกไปมีกิเลสหรือไม่อย่างอาตมาหยิบเลือกเอานัจจะ คีตะ วาทิตะ มาพูด อาตมาเลือกนะไม่ใช่ไม่เลือก แต่เลือกคำอธิบายออกไป วจีวิญญัติคือ วาทิตะ กับคีตะ มีสุ้มเสียงสำเนียงกับคำพูด กาย วจี คล่องแคล่วด้วยหมวดแห่งจิตเจตสิกคือ เวทนา สัญญา สังขารคล่องแคล่ว

ที่มา ที่ไป

รายการศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 8 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 20 มกราคม 2563 ( 18:17:47 )

เวลาบันทึก 24 กรกฎาคม 2563 ( 11:09:55 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:38:22 )

วิญญัติรูป 2 ในรูป 28

รายละเอียด

มีวิญญัติอีก 2 คือ กายวิญญัติ กับวจีวิญญัติ ก็ทำทางกาย วาจา การเคลื่อนทางกาย วาจาออกไปสู่ข้างนอก อย่างเช่นอาตมาทำมืออย่างนี้เป็นกาย พูดออกไปก็เป็นทางวาจาก็เป็นการครบ ซึ่งก็ประมาณให้เหมาะสมให้ควร เรียกว่า นัจจะ ท่าทางทั้งหมด จนกระทั่งถึงกระพริบตา เรียกว่านัจจะลีลาท่าทาง

คีตะ สุ้มเสียงสำเนียง จนเอาไปเรียบเรียงเป็นเพลง คีตะ แปลเป็นเพลงไปเลย หรือเป็นวาทิตะ คือคำพูดภาษาที่เลือกสรรมาใช้ให้เหมาะสมตามกาละ ตามควรของแต่ละบุคคล คนหยาบก็เลือกหยาบมาใช้ คนไม่หยาบก็เลือกไม่หยาบมาใช้ คนที่ประมาณได้พอเหมาะก็จะใช้ได้พอเหมาะ ถ้ามันอ่อนไปเบาไปก็ไม่มีน้ำหนัก ถ้ามันหยาบไปก็ไม่ได้เรื่อง ก็เลือกใช้ให้พอเหมาะพอดี เป็นคนมีปัญญาเลือกเฟ้นใช้ให้เหมาะสมกับองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่บุคคลเครื่องกินเครื่องใช้สารพัดที่เราจะเอามาใช้กับชีวิต แล้วก็ทางธรรมะ เป็นองค์ประกอบที่จัดสรร ทำขึ้นมา ที่พูดไปนั้นมันละเอียด ตัวหนังสือหลักการมันมีไม่มาก แต่ว่าจริงๆ มันละเอียดลึกซึ้งซับซ้อนในสภาวธรรมมีเยอะ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์เปิดงานอโศกรำลึก และบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ปี 2564

วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน 2564 แรม 10 ค่ำเดือน 7 ปีฉลู ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2564 ( 20:12:00 )

วิญญัติเป็นอาการของรูปธรรม วิญญาณเป็นอาการของนามธรรม

รายละเอียด

วันนี้วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ 2565 ที่บวรราชธานีอโศก วันนี้เป็นวันมาฆบูชา อาตมาจะพยายามเทศน์ให้ละเอียดพอสมควร ในประเด็นที่มันยังมีความเข้าใจไม่ชัดเจนกันอยู่ สำหรับผู้ที่ศึกษาธรรมะกระแสหลัก พระป่านั่งหลับตา ยังเข้าใจความสำคัญ จุดที่ถูกต้อง บัญญัติภาษาว่า “วิญญาณ” กับ “วิญญัติ” เป็นต้น ทางกระแสหลัก ส่วนใหญ่พระป่า จะเข้าใจว่าวิญญาณคือ วิญญัติ ซึ่งมันต่างกัน 

วิญญัติ มันเป็นแค่ รูป เป็นอาการของรูปธรรม ไม่ใช่อาการขั้นนามธรรม วิญญาณ จึงเป็นอาการ ลิงคะ นิมิต ของนามธรรม แต่วิญญัติ มีกายวิญญัติ วจีวิญญัติ แม้จะมีคำว่า มโนวิญญัติ ก็ไม่ค่อยพูดถึงกันแต่จะพูดถึงก็ได้ การเคลื่อนไหวของจิตของมโน ไม่ใช่ความรู้สึกของ มโน 

วิญญาณเป็นความรู้เป็นความรู้สึก วิญญาณ เวทนา เป็นความรู้เป็นความรู้สึกอย่างพืช ยังไม่มีวิญญาณ ไม่มีเวทนา มีแต่กายสังขาร เคลื่อนได้เหมือนกัน พืชมีวิญญัติ มีการเคลื่อนปรุงแต่งตัวมันเอง มีสัญญา มีสังขาร

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 46 วิญญาณกับวิญญัติ วันมาฆบูชา วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 28 พฤษภาคม 2565 ( 16:18:21 )

วิญญาณ

รายละเอียด

วิญญาณัง อนิทัสสนัง อนันตัง สัพพโต ปภัง คือ ธาตุรู้ เห็นไม่ได้ ไม่มีที่สิ้นสุด แจ่มจ้ากระจ่างอยู่ทั่วไป และ อสรีรัง คือ ไม่มีรูป ไม่มีร่างอะไร

หนังสืออ้างอิง

สาธารณโภคี เศรษฐศาสตร์ชนิดใหม่ หน้า 31


เวลาบันทึก 19 กันยายน 2562 ( 07:40:19 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 16:08:40 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:38:44 )

วิญญาณ

รายละเอียด

1. ตัวรู้ ความรับรู้ที่เกิดจากตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ

2. รับรู้ ซับซาบ สอดส่อง แล้วปล่อยวางให้เป็นที่สุดตามภูมิแห่งจิตนั้น ๆ อยู่อย่างแท้จริง

3. ธาตุที่รับรู้อะไรต่ออะไรทั้งหมด

4. ตัวธาตุรู้  ตัวความรู้  ตัวที่รู้สึกรู้อารมณ์อยู่ [แต่ไม่ใช่เป็นตัวเป็นตนแท่งก้อนเที่ยงแท้]  

5. เป็นอณูหนึ่งของจิต6.. ความรับรู้รวมยอด หรือด่านสุดท้ายของจิต

6. ความได้รับรู้ที่ก่อเกิดกับตน และได้ผนึกแล้วผนึกอีกจนมีรูป เป็นการเก็บสั่งสมไว้ติดต่อกันมาเป็นเวลายาวนานตราบปัจจุบัน

7. ความรับรู้ขั้นสุดยอดที่ปรุงแต่งขึ้นมาจากเวทนา สัญญา สังขาร ก็มาเป็นวิญญาณ8.. รู้ลงเป็นองค์รวม เทียบได้กับเลขานุการกรม

8. ภาวะที่ทำหน้าที่รู้

9. ธาตุรู้ในร่างคนเป็น ๆ ของเราที่ยังไม่ตายจากชีวิตนี้ไปอันประกอบด้วยวิญญาณทางตา วิญญาณทางหู วิญญาณทางจมูก วิญญาณทางลิ้น วิญญาณทางกายและวิญญาณทางใจ

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า14 16 47

ทางเอก ภาค 3 หน้า 18

สมาธิพุทธ หน้า 446 

รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ หน้า 110

ค้าบุญคือบาป หน้า 123


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2562 ( 12:41:15 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:10:15 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:39:59 )

วิญญาณ

รายละเอียด

คือ “ธาตุรู้”ที่มีองค์ประกอบของ “รูปขันธ์-เวทนาขันธ์-สัญญาขันธ์-สังขารขันธ์”รวมกันขึ้น เป็น“วิญญาณขันธ์” และ“วิญญาณ”คือ“ธาตุรู้”ก็ก่อเกิด มาจาก“กรรมนิยาม-ธรรมนิยาม” ที่มี“ธรรมะ 2”ทั้งหลาย ทั้งมวลที่ประดามีในมหาจักรวาลนั่นเองที่สามารถก่อเกิด เป็น“จิตนิยาม”มาโลดแล่นเป็นสัตว์-เป็นมนุษย์ อยู่ในโลก ใบนี้ ให้เราได้เรียนรู้จนสามารถ“จะเกิด”หรือ“จะดับ”ได้อย่าง เป็นจริงสูงสุด-จบสุดสนิท ไม่มีการ“ก่อเกิด”ขึ้นมาได้อีก เด็ดขาด ยกเลิก“วิบาก”แก่ กันและกัน ที่จะก่อทุกข์ก่อสุขแก่กันและกันอีกนี้แล้วได้ อย่างสมบูรณ์แบบที่สุดด้วยความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

หนังสืออ้างอิง

 คนจนที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1  หน้า 310


เวลาบันทึก 29 ธันวาคม 2562 ( 13:41:00 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:04:59 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:40:37 )

วิญญาณ

รายละเอียด

 ก็คือเวทนา กับ ผัสสะ หากไม่มีผัสสะก็ไม่ได้ ต้องมีผัสสะ หากไม่มีผัสสะ เวทนาก็ไม่เกิด วิญญาณก็ไม่เกิด นามรูปก็ไม่เกิด

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช เวทนาดอกเดียวปลิดวิญญาณ ตอน 1 วันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 01 กุมภาพันธ์ 2563 ( 13:04:12 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:11:38 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:41:12 )

วิญญาณ

รายละเอียด

คือ เวทนากับผัสสะ

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 16 กุมภาพันธ์ 2563 ( 08:59:53 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:12:28 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:41:28 )

วิญญาณ

รายละเอียด

คือธาตุรู้ รายละเอียดของธาตุรู้ เอาที่จุดเดียวที่เวทนาก่อน เวทนา สามารถที่จะเข้าหาหัวใจของความเป็นชีวิตมนุษย์ หัวใจของชีวิตมนุษย์มันงมงายอยู่กับความเป็นเทวะสุขนิยม 

ที่มา ที่ไป

รายการบ้านราช กายนี้คือวิญญาณ วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 29 กุมภาพันธ์ 2563 ( 17:53:21 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:13:06 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:42:40 )

วิญญาณ

รายละเอียด

ส่วนวิญญาณเป็นคำรวม ธาตุรู้ที่รวม แบ่งเป็นขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 17 เมษายน 2563


เวลาบันทึก 02 พฤษภาคม 2563 ( 14:14:44 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:13:56 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:43:10 )

วิญญาณ 6

รายละเอียด

ได้แก่ วิญญาณทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

หนังสืออ้างอิง

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 78


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2562 ( 12:42:47 )

เวลาบันทึก 23 กรกฎาคม 2563 ( 02:46:08 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:43:36 )

วิญญาณ 6

รายละเอียด

เพราะวิญญาณ (ความรับรู้) เป็นเหตุ จึงมีนาม (ตัวที่เข้าไปรู้) และรูป (สิ่งที่ถูกรู้)

1. จักขุวิญญาณ (ความรับรู้วิญญาณ)

2. โสตวิญญาณ (ความรับรู้ทางหู)

3. ฆานวิญญาณ (ความรับรู้ทางจมูก)

4. ชิวหาวิญญาณ (ความรับรู้ทางลิ้น)

5. กายวิญญาณ (ความรับรู้ทางร่างกาย)

6. มโนวิญญาณ (ความรับรู้ทางใจ)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม  16"พุทธวรรค"  ข้อ  2, 16

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก 


เวลาบันทึก 28 มิถุนายน 2562 ( 14:36:23 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 16:08:11 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:43:59 )

วิญญาณ 6

รายละเอียด

เพราะวิญญาณ (ความรับรู้) เป็นเหตุจึงมีนาม (ตัวที่เข้าไปรู้) และรูป (สิ่งที่ถูกรู้)

1. จักขุวิญญาณ (ความรับรู้ทางตา)

2. โสตวิญญาณ (ความรับรู้ทางหู)

3. ฆานวิญญาณ (ความรับรู้ทางจมูก)

4. ชิวหาวิญญาณ (ความรับรู้ทางลิ้น)

5. กายวิญญาณ (ความรับรู้ทางกาย)

6. มโนวิญญาณ (ความรับรู้ทางใจ)

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 16 “พุทธวรรค” ข้อ 2, 16


เวลาบันทึก 14 มีนาคม 2565 ( 05:27:04 )

วิญญาณ 6 เรียนรู้ได้ด้วยนามรูป

รายละเอียด

วิญญาณธาตุรู้ แยกไปเป็น 6 มีทางตาหูจมูกลิ้นกาย กายวิญญาณ มโนวิญญาณ กายวิญญาณ หูวิญญาณ จมูกวิญญาณ ลิ้นวิญญาณ กายวิญญาณ ซึ่งเป็นลักษณะจิตวิญญาณ พระพุทธเจ้าท่านรอบรู้ลึกซึ้ง ก็เรียนรู้ให้เข้าใจอาการของมันเลย จะเรียนรู้ได้ด้วยวิธีแยกเป็นนามรูป 

สิ่งที่ถูกรู้คืออาการจิต แล้วก็มีตัวธาตุรู้คือสัญญากำหนดก็คือปัญญานั่นแหละ ปัญญาที่แยกธาตุเป็นเจตสิกทำงานกำหนดรู้ว่าอาการอย่างนี้ของจิต อาการของทางกายเกี่ยวข้องกับทางวัตถุก็รู้ง่ายอยู่แล้ว อาการประกอบกับกาย เป็นสองธาตุ ไม่ได้แยกเป็นชิ้นส่วนข้างนอกก็ถูกรู้เป็น กายกรรม โดยวจีก็เป็นวจีกรรม ก็สามารถกำหนดอาการเหล่านั้นควบคุมได้รู้ได้ว่ามีกิเลสร่วมหรือไม่ร่วม ทางกายก็ดี วาจาก็ดี สามารถไม่ทำให้เกิดกิเลส 

เมื่อแยกนามรูปแล้ว จะสามารถรู้วิญญาณได้ด้วยนามรูป พระพุทธเจ้าท่านตรัสอาหาร 4 ไปถึงวิญญาณก็จะต้องรู้ได้ด้วยนามรูป ต้องศึกษาวิญญาณ เป็นตัวทั้งหมด 

รู้จักจิตวิญญาณด้วยนามรูปก็ไม่จำเป็นต้องรู้อะไรอีก ที่ท่านตรัสไว้ในอาหารข้อที่ 4 ท่านตรัสตัวจบไว้เลย เมื่อวิญญาณรู้นามรูปก็ไม่ต้องรู้อะไรอีก ที่จริงมันจะเรียนรู้อะไรต่ออะไรได้ทั้งหมด วิญญาณอันสุดท้ายนี้ ท่านตรัสเอาไว้ชัดเจน เป็นอันว่ารู้อันนี้แล้วก็จบ ในพระไตรปิฎกจะมีพยัญชนะชัดเจนอย่างนั้นเลย

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศนาวันมาฆบูชา งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 45 ออนไลน์ วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 17 มีนาคม 2564 ( 15:35:32 )

วิญญาณ ของพระพุทธเจ้าพ้นจากปัจจุบันไม่มี

รายละเอียด

ในการเข้าใจแค่จิตวิญญาณนี้ ไม่ถูกต้องเป็นมิจฉาทิฐิ เหมือนพระสาติ ใครก็ตามในสังคมศาสนาพุทธทุกวันนี้ หากยังไม่ชัดเจนว่าวิญญาณนั้นของศาสนาพุทธไม่เหมือนเทวนิยม อเทวนิยม วิญญาณของพระพุทธเจ้าต้องมีปัจจุบัน วิญญาณของพระพุทธเจ้าพ้นจากปัจจุบันไม่มี

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ วิญญาณฐีติ 7 สัตตาวาส 9 วิโมกข์ 8 วันพุธที่ 17 มกราคม 2561 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 18 เมษายน 2564 ( 16:15:28 )

วิญญาณ คือ นาม-รูป ในอาหาร 4

รายละเอียด

พระพุทธเจ้าจึงจบในอาหาร 4 ตัวที่ 4 ว่าวิญญาณคือรูปนาม รู้เท่านี้ คุณจบ คุณรู้ชัดจริงเลยทั้งรูปนามและวิญญาณก็จบ แล้วคุณก็มาเรียนจบจาก กวฬิงการาหาร ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร มีเจตนาก็เกิดกาม ภว กับ วิภวะ

อยู่ในอาหาร 4 ก็จบในตัวเหมือนกันถ้ารู้ 

อาหาร 4. . (เครื่องยังสัตว์ให้อยู่ได้)

1. กวฬิงการาหาร (อาหารคำข้าว  ให้รู้กิเลสเบญจกาม)

2. ผัสสาหาร (อาหาร คือ  ผัสสะกระทบให้เกิดเวทนา) 

3. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารใจที่เจตนามุ่งกับตัณหา) 

4. วิญญาณาหาร (อาหารของวิญญาณ กำหนดรู้นาม-รูป  อันเป็นปัจจัยให้ตั้งอยู่แห่งสังขาร เพื่อการเกิดในภพใหม่ คือมีปัจจัยเกิดชาติชรามรณะ ทุกข์ และความคับแค้น) 

(ปุตตมังสสูตร  พตปฎ. เล่ม 16   ข้อ 241-244)

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ชาติ 5 แยกวิญญาณฐีติ 7 สัตตาวาส 9 วันพุธที่ 27 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 กุมภาพันธ์ 2564 ( 11:36:58 )

วิญญาณ จิต มโน

รายละเอียด

วิญญาณคือองค์รวมทั้งหมดมีทั้งรูปเวทนาสัญญาสังขาร รวมทั้งหมดเรียกว่าวิญญาณ จิตก็เป็นภายในเข้ามาเป็นหลัก  ส่วนจิตนั้น แยกย่อยเป็นเจตสิก คือ การงานของจิต แล้วก็แยกรูปแยกนามออกเป็นเจตสิก เจตสิกมี 52 จิต 89 หรือ 121 อาตมายังไม่ไปลงรายละเอียด แม้ผู้ที่ปฏิบัติจิตภายในคนก็ต้องมีภายนอกสัมผัสอยู่ แต่คุณไปสำคัญมั่นหมาย ไปเน้นที่การจัดการภายใน ส่วนภายนอกมันก็จะต้องรู้ด้วย หากอยู่กับสิ่งภายนอกอันใดอันหนึ่ง อยู่กับบล็อกโคลี่ ก็อยู่กับบล็อกโคลี่ คุณจะเปลี่ยนไปเป็นทับทิม เปลี่ยนไปเป็นกล้วยเปลี่ยนเป็นแตงโมแล้วคุณก็ต้องรู้ว่ามันเปลี่ยนแปลงคุณเปลี่ยนจากฐานตัวนี้ที่มาร่วม พิจารณาร่วมวิจัย ถ้าคุณเอาให้จบทีละอย่าง คุณก็จะได้เป็นลำดับ คำว่า มโน คือในภายใน เป็นฐานละเอียดกว่าวิญญาณ ถูกต้องที่ถามมา 

ที่มา ที่ไป

รายการบ้านราช เรื่องบุคคล 7 วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 14 มีนาคม 2563 ( 12:03:50 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 03:07:47 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:44:41 )

วิญญาณ-เวทนา-สัญญา-สังขาร 4 ทหารเสือบุกป่า ฝ่าดง พิชิตมารใหญ่ มารน้อย!

รายละเอียด

“วิญญาณ”คือ “ธาตุรู้” ที่มีตั้งแต่“ความรับรู้สึกได้”

ที่เป็น“เวทนา” และ“ความกำหนดรู้เอาได้ด้วยตัวเราเอง”

ที่เป็น“สัญญา” ซึ่ง“ธาตุรู้นี้แหละที่มันปรนปรุงกันอยู่เอง”

เป็น“สังขาร”ของเรา ในตัวเรา เราจึงจะสามารถเรียนรู้ได้

จาก “สังขาร”ทั้งหลาย ที่“ไม่เที่ยง-เป็นทุกข์-ไม่ใช่ตัวตน”ที่

ผู้เรียนรู้สามารถจะ“สัมผัส”สิ่งที่“ถูกรู้”เรียกว่า“รูป”

เป็น“ภาวะที่ถูกรู้”นี้ได้ จึงจะสามารถศึกษาจากภาวะ“วิญญาณ”

ที่ไม่ลึกลับกันได้จริงๆ ชนิดที่“สัมผัส” ความเป็น“อัตตา” ก็ดี

ความเป็น“วิญญาณ” ก็ดี ความเป็น “เทฺว” ก็ดี แม้แต่ความ

เป็น“พระเจ้า”กันทีเดียว แล้ว“ดับพระเจ้า”ได้ด้วยซ้ำ ด้วยความ

มี“กาย”อันเป็นไปใน“ตัวเรา”แท้(สักกาย)ให้เราศึกษาได้“ไม่ลึกลับ”เลย 

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ เปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อ 240 หน้า 196


เวลาบันทึก 01 สิงหาคม 2564 ( 19:31:00 )

วิญญาณกับการสร้างปัญญา

รายละเอียด

วิญญาณ สามารถจะสร้างให้เกิดปัญญาได้ ก็คือ ทำวิญญาณ ทำธาตุวิญญาณ​แจกเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร 

รูป คือ สิ่งที่ถูกรู้ 

นาม ก็คือ เวทนา สัญญา สังขาร 

นาม จากวิญญาณ แจกมาเป็นเจตสิก แล้วมี เวทนา สัญญา สังขาร 

หน้าที่ของสัญญาคือ ตัวกำหนดรู้  หน้าที่ของเวทนาคือตัวถูกรู้ หน้าที่ของสังขารคือตัวปรุงแต่ง

เพราะฉะนั้นแยกสังขารก่อน สังขารหยาบตั้งแต่กายสังขาร วจีสังขาร แยกออก เอามโนสังขารเท่านั้น 

เอามโนสังขารมารู้พลังงาน ต้องเรียนรู้ตั้งแต่ หยาบ ภายนอก แล้วแยกเป็นจิต เป็นเจตสิกภายนอก 

เจตสิก ก็แยกได้เป็น 1 เจตสิกเวทนา เป็นเครื่องรู้ เป็น ความรู้สึก เวทนา ความรู้สึกที่ประชุมกับภายนอกเรียกว่า กายิกเวทนา กับ เจตสิกเวทนา เรียกว่าเวทนา 2 

คุณต้องมี 2 นี้ ตลอดเวลา ที่ปฏิบัติคือมี กาย เรียกเวทนาก็คือจิต หรือแยกเป็นเจตสิก ในเจตสิกต่างๆ ก็แยกมาเป็น สัญญา สังขาร 

สัญญาก็ทำงานเป็นตัวหลักแล้ว ก็มาแยกสังขารออก 

เวทนา สัญญา สิ่งที่สังขารปรุงแต่งกันอยู่ แล้วเป็นตัวกิเลส กลิ เป็นตัวการหลักที่จะต้องรู้ตัวมันให้ได้ จับอาการมันให้ได้ กิเลสภายนอกคือ กายกลิ เอาภายนอกก่อน ค่อยมาเรียน จิตกลิ 

กลิ คือตัวโทษตัวภัย โทษภัยทางกาย ฆ่ากายหยาบก่อน เหมือนจัดการกับเปลือกนอกของต้นไม้ ผ่านเปลือกนอกของต้นไม้เข้าไปได้จึงจะไปถึงกระพี้ จากกระพี้ก็เข้าไปถึงแก่นใน เปลือกข้างนอก ไปกระพี้ แล้วไปแก่น ในสาโรปมสูตร ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ มหาสาโรปมสูตร  เล่ม12  ข้อ 347 ศีลเป็นสะเก็ด สมาธิเป็นเปลือก ปัญญาเป็นกระพี้ วิมุติเป็นแก่น ดอกใบผลเป็นลาภ สักการะ สรรเสริญ  จะมาเอาแก่น แต่ไปหลงกับ ดอกใบผลเป็นลาภ สักการะสรรเสริญ ไม่ต้องพูดถึงศีล ไม่รู้แล้วมีแต่วินัย 227 มันสังขารสังเคราะห์กันอย่างไรก็ไม่รู้ มีสูตรคือปัจจัยปฏิบัติจรณะ 15 ก็ไม่รู้ อปันกธรรม 3 ก็ไม่รู้ แล้วจะไปหา สัทธรรม 7 มารู้ได้อย่างไรก็ไม่รู้

เพราะฉะนั้น ฌาน ก็อย่าไปหวังเลยว่าจะเป็น ฌาน ของพระพุทธเจ้า ก็คงทำได้แต่ ฌานโลกีย์ ฌานฤาษีเท่านั้น ปัญญาเป็นตัวฉลาด เป็นวิชชา 8

ที่มา ที่ไป

พ่อครูปฐมนิเทศ พาปฏิญาณศีล 8 งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริยฺแห่งพุทธ ปี 2564 ครั้งที่ 45 ออนไลน์วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก

สื่อธรรมะพ่อครู ตอน อจินไตยของฌานวิสัย


เวลาบันทึก 05 มีนาคม 2564 ( 21:04:43 )

วิญญาณกับรูปธรรม 

รายละเอียด

อย่างคน มีธาตุรู้เป็น 2 มีธาตุวิญญาณกับรูปธรรม 

รูปธรรมคือสิ่งที่ผสมผสานกับวิญญาณ วิญญาณนี้ยิ่งใหญ่ที่สุด ทางเทวนิยมเรียกว่าพระเจ้า ซึ่งรู้สูงสุดก็เท่ากับศาสดาของเขา ศาสดาของแต่ละศาสนาแต่ละลัทธิรู้สูงสุด จริงๆแล้วเป็นความรู้ของศาสดาไม่ใช่ความรู้ของพระเจ้าแต่อย่างใด ศาสดาแต่ละองค์ก็มีความรู้ความจริงแตกต่างกัน ก็ไปหาผู้ที่มีทัศนคติตรงกัน ก็ไปบริหารกันไปเป็นแต่ละศาสนาแต่ละลัทธิ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ เทวนิยมใหญ่สุดโต่งอย่างไรในศาสนาพุทธ วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 17 มิถุนายน 2564 ( 18:49:47 )

วิญญาณกับวิญญัติ

รายละเอียด

วิญญาณคือธาตุ วิญญัติคือรูป รูปะรูปัง เป็นอาการเคลื่อนของนามธรรม วิญญัติ แม้แต่กายกับวาจา เราก็ยังไม่ถือเป็นมโน เน้นมาสู่กายกับวาจา แต่ที่จริง กายกรรมกับวจีกรรมมันขาดนามธรรมไม่ได้หรอก เคลื่อนไหวทางกายกรรมก็มีนามธรรมมาเกี่ยว เคลื่อนไหวทางวจีกรรมก็มีนามธรรมมาเกี่ยว แต่แยกให้ชัดเจนว่า 1 นั้น กายก็ส่วนหนึ่ง วจีก็ส่วนหนึ่ง แบ่งเป็น 3 กาย วจี มโน ถ้าแยก กาย วจี มโน ไม่ได้ก็สับสนตายเลยเรียนธรรมะพระพุทธเจ้าไม่ได้ ต้องแยก กาย วจี ภายนอก มโน ก็ต้องควบคุม กาย วจี อยู่ตลอด มโน จะต้องเป็นภายในหมดเลย มนายตนะ ธรรมายตนะ

มโนหรือจิตวิญญาณ เกี่ยวพันกันหมดต้องเป็นสอง สภาพ 2 ที่แยกไม่ได้เรียกว่า เทวะ แยกมาเป็นกายก็เป็นรูปเป็นนามเป็นสภาพ 2 การเรียนรู้การแยก 2 ออกไปแต่ละอย่างก็เป็นหนึ่ง กับหนึ่ง แล้วรู้ว่า 1 กับ 1 มันต่างกันนะ อันหนึ่งเป็นรูป อันหนึ่งเป็นนาม หนึ่งเป็นภายนอกหนึ่งเป็นภายในเป็นต้น 1 ชีวะ 1 ไม่มีชีวะ นี่เป็นกายแล้วนี่ไม่เป็นกาย โดยเฉพาะกายนี่ คำใหญ่ ถ้ายืนยันว่ายังมี กายอยู่ จะต้องมีจิตอยู่ในกายนั้น

ถ้าไม่มีจิต ไม่มีเจตสิก ไม่มีธาตุรู้เข้าไปร่วมด้วยเลย สิ่งนั้นก็ไม่ใช่กายแล้ว ตัวที่ไม่ใช่กายแล้วนี่แหละคือตัวหมดเวทนา หมดวิญญาณ ไม่ใช่กายแล้วไม่มีเวทนาไม่มีความรู้สึกไม่เป็นธาตุรู้องค์รวมแล้ว แต่สามารถมีธาตุรู้ได้ เป็นธาตุรู้ขั้นพืช มีสังขารกับมีสัญญา ตัวกำหนดรู้เรียกว่าสัญญา ปรุงแต่งกันอยู่เรียกว่าสังขาร เช่น พืชมันกำหนดรู้ในตัวมันเอง แล้วมันก็ปรุงแต่งตัวมันเองอยู่ เช่น กระเทียมหัวใหญ่งามแท้ ทั้งหอม กระเทียมพืชพันธุ์ธัญญาหารของเรา เราก็ดูตามรูปร่าง นี่ก็ภาษาจีนเขาเรียกหัวไชเท้าหรือภาษาไทยเรียกหัวผักกาด หัวมันกับผักกาดต่างกัน คนแยกออก ก็แยกความต่าง

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 46 วิญญาณกับวิญญัติ วันมาฆบูชา วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 29 พฤษภาคม 2565 ( 09:11:20 )

วิญญาณกับวิญญาณพูดคุยกันได้ไหม

รายละเอียด

วิญญาณที่เป็นสัมภเวสีนั้น ไม่พูดกัน ไม่มีใครรู้ใคร วิญญาณใดก็อยู่ในภพของตนเอง เหมือนคุณหลับตา หลับตาลงหรือนอนหลับ วิญญาณคุณก็เกิดอยู่ในจิต วิญญาณที่เป็นสัมภเวสีของคุณก็อยู่ในจิต มันก็จะเป็นไป ตอนหลับเป็นวิญญาณสัมภเวสี ถ้าวิญญาณออกมามีความรับรู้ทางตาหูจมูกลิ้นกาย จึงเรียกว่าวิญญาณที่มีที่ตั้ง เป็นวิญญาณฐีติ 

จะคุยกันได้ต้องมีตาหูจมูกลิ้นกายภายนอกถึงจะคุยกันได้ แต่ถ้าเป็นวิญญาณที่เป็นสัมภเวสีวิญญาณที่ไม่มีตาหูจมูกลิ้นกายไม่มีที่ตั้ง ก็คุยกันไม่ได้ แม้ว่าคุณมีแต่คนหนึ่งนอนหลับก็คุยกันไม่ได้ อีกคนหนึ่งตื่นอีกคนหนึ่งนอนหลับพูดกันก็ไม่รู้เรื่อง ง่ายๆไม่ยาก พิจารณาดีๆ 

การที่คนไม่รู้ก็ด้นเดา เป็นนิยายในภพลึกลับมากมาย เทวนิยมเขาสร้างนิยาย ใครเคยอ่านโลกทิพย์บ้าง หลังตายไปก็มีโลกหลังความตายมากมาย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ วิญญาณกินข้าวได้ไหม อย่างไรคือสัมมาทิฏฐิ วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน 2564 ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 8 ปีฉลู ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2564 ( 18:51:12 )

วิญญาณกินข้าวได้ไหม?

รายละเอียด

วิญญาณเป็นนามธรรม ซึ่งอาหารคำข้าว กวฬิงการาหาร มันเป็นนามธรรมที่ไหน กวฬิงการาหาร มันเป็นรูปธรรมแท้ๆไปให้วิญญาณได้อย่างไร วิญญาณไม่มีตาหูจมูกลิ้นกาย วิญญาณต้องมีกายมีร่าง มีภาวะภายนอกภายใน จึงจะรับอาหารที่เป็น กวฬิงการาหาร แล้วก็จะมามีผัสสาหารกระทบสัมผัส แล้วจึงจะไปถึง มโนสัญเจตนาหาร เจตนาเกิดเองได้ 

กวฬิงการาหาร กับ ผัสสาหาร มันคู่หนึ่ง ต้องมีภายนอกของกาย แต่ มโนสัญเจตนาหาร กับ วิญญาณาหาร เป็นของภายใน 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ วิญญาณกินข้าวได้ไหม อย่างไรคือสัมมาทิฏฐิ วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน 2564 ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 8 ปีฉลู ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 21 สิงหาคม 2564 ( 19:06:22 )

วิญญาณก็มี 3 อย่าง

รายละเอียด

วิญญาณก็เหมือนกัน 3 อย่าง ไม่ต้องไปพูดถึง เนวสัญญานาสัญญายนสัตว์ เนวสัญญานาสัญญายนสัตว์นั้นคือ สัตว์ที่มันสับสน จะว่าใช่ก็ไม่ใช่ จะว่าไม่ใช่ก็ไม่ใช่ มันสับสน เพราะฉะนั้นเอา 3 ตัวว่า อากาศ วิญญาณ อากิญจัญ 

อากิญ คือ ไม่มี มันไม่มีอะไรเลย มันไม่มีกิเลส ไม่มีอะไรที่จะไปยึดถือได้แล้ว มันคือ อะไรก็ไม่มี นี่อากิญจัญญา เพราะแม้แต่อากาศ คุณก็อาศัยมัน วิญญาณคุณก็อาศัยมัน สุดท้ายคุณยังเป็นชีวิต คุณก็มีอากาศกับธาตุวิญญาณเท่านั้นเอง วิญญาณบริสุทธิ์กับอากาศบริสุทธิ์ แล้วคุณก็เป็นจิตที่รู้จักสิ่งที่ไม่มี อากิญจัญญายตนะ เท่านั้นเอง คุณก็รู้ความมีกับความไม่มี กับ อนุปคัมมะ อีก ในโลกคนที่เขามีอะไร ไม่มีอะไร และต้องการให้ไม่มีอะไร ก็คือไม่ให้มีกิเลสเป็นตัวหลัก เมื่อไม่มีกิเลสจริงๆแล้วจะอยู่กับโลกนี้ สิ่งที่มีจะอนุโลมกับเขาก็ทำไป แม้จะต้องอนุโลมให้กับคนโง่​ ก็เขาโง่จริงๆนะ ก็ต้องยอมคบกับเขาไป คนด้อยเราก็ต้องช่วยให้เขาดีขึ้น เด่นขึ้น อย่างนี้เป็นต้น 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาไม่ดับสัญญาแต่ดับกิเลส วันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 17 ตุลาคม 2565 ( 19:08:37 )

วิญญาณคนที่หลับตาไม่มีนามรูปเป็นสัมภเวสี

รายละเอียด

นามรูป ใช้งานเมื่อกระทบทางทวารทั้ง 5 ก็เกิดเวทนา สามารถเรียนรู้ได้เพราะคุณมีนามรูป หากว่าวิญญาณคุณไม่มีนามรูป วิญญาณคุณเป็นสัมภเวสี หลับตาเข้าไปปุ๊บ ไม่มีที่ตั้งของวิญญาณ ไม่มีวิญญาณฐีติ วิญญาณคนที่หลับตาเป็นสัมภเวสีทั้งหมด วิญญาณไม่เป็นวิญญาณฐีติ ฐีติ คือที่ตั้ง วิญญาณที่ไม่มีที่ตั้งที่ตาหูจมูกลิ้นกายก็เป็นวิญญาณสัมภเวสี วิญญาณล่องลอย จับเอามาไม่ได้เอามาปฏิบัติไม่ได้เพราะมันล่องลอยไม่มีที่ตั้ง มันไม่มีที่อยู่ไม่มีที่จะหยิบมาเป็นของจริง ไม่ใช่ของที่จับมั่นคั้นตาย สัมผัสต่างๆเกิดเวทนาแล้วมีตัณหาซ้อนอยู่ในเวทนานี่ไง ซึ่งคุณไม่มี เพราะนามรูปคุณไม่มี ที่ตั้งของนามรูปคุณไม่มี คุณมีแต่สัมภเวสีไม่เรียกว่าวิญญาณ จะเรียกว่าวิญญาณก็เป็นธาตุรู้ของอัตภาพหนึ่ง แต่อัตภาพนั้นจับมันมาทำอะไรไม่ได้ พระพุทธเจ้าไม่เคยสอน

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ เรียนรู้ อาหาร ให้บรรลุถึง อรหันต์ วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 24 กุมภาพันธ์ 2564 ( 13:01:46 )

วิญญาณคือสังขารคือนามรูป

รายละเอียด

ในพระไตรปิฎกเล่ม 16 ที่พูดถึงอาหาร 4 

เครื่องอาศัย 4 ในอาหารที่เป็นวิญญาณสามารถรู้ว่าวิญญาณคืออะไร แล้วรู้ว่า วิญญาณมันอาศัยนามรูปเป็นเหตุเป็นปัจจัย ผู้รู้อันนี้จบเลย นามรูปคืออาหาร อันเป็นปัจจัย เป็นที่ตั้งของการปรุงแต่งของนามรูป ก็เรียกว่าสังขาร วิญญาณก็คือสังขาร 

เพราะฉะนั้นผู้ที่สามารถรู้เป็นวิชชา จึงรู้ว่าวิญญาณที่แท้มันก็คือสังขาร สังขารมันก็คือนามรูป นามรูปมันเกิดได้ก็เพราะว่ามันมีสิ่งที่ไปเชื่อมต่อผัสสะกับอะไรอีกอันนึง เสร็จแล้วก็เกิดสภาพนั้นขึ้นมา พอเกิดมาแล้วก็เป็นเวทนา เป็นตัวเป็นตนแล้วก็ไปหลงว่าตัวตนนี้เป็นสุข

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ เปิดยุคบุญนิยมระดม ปัญญา-อนัตตา ตอน 4 งานปลุกเสกพระแท้ๆของพุทธ ครั้งที่ 44  วันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 12 เมษายน 2564 ( 19:14:03 )

วิญญาณคืออะไร

รายละเอียด

พระพุทธเจ้าตรัสรู้ว่าแท้จริงมันมีเพียง 2 อย่าง เมื่อเกิดมาเป็นชีวะระดับจิตนิยามก็มีนามกับรูป เมื่อมันมาเชื่อมต่อกันสัมผัสกันเกิดอายตนะสัมผัสกันเกิดขึ้นมา มันก็จะเกิดสภาวะให้รู้เลยว่า รูปนาม สัมผัสกันก็เป็นวิญญาณ รูปนามสัมผัสกันก็เรียกว่าสังขารรูปนามสัมผัสกันก็เรียกว่าเวทนา 

ผู้มีวิชาก็จะรู้ว่ามันเป็นลักษณะสังขารอย่างนี้ มันเป็นวิญญาณอยู่ในลักษณะอย่างนี้มันเป็นเวทนาก็อยู่ในลักษณะนี้ แล้วยังไง วิญญาณมันก็คือก้อนหนึ่ง จับตัวแน่นในคน กอด กันอยู่จนไม่รู้อะไรคืออะไร เพราะฉะนั้นศาสนากอด ถึงไม่รู้จักวิญญาณเพราะกอดกันแน่นจนไม่รู้ว่าอะไรผสมกันอยู่ตลอดนิรันดรนิรันดร์กาลไม่รู้เลย ว่า วิญญาณคืออะไร แยกไม่ออก ก็เลยมีวิญญาณอยู่ตลอดนิรันดรแยกไม่ออก 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์เปิดงานปลุกเสกพระแท้ๆของพุทธ ครั้งที่ 44 พาปฏิญาณศีล 8

วันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 08 เมษายน 2564 ( 20:34:30 )

วิญญาณจะเกิดต้องมีสติสัมปชัญญะ

รายละเอียด

หากไม่ลืมตา กระทบสัมผัสตาก็ไม่รู้เรื่อง หูไม่กระทบเสียง เสียงมาก็ไม่พิจารณาตามเสียงก็ไม่รับรู้ จมูกลิ้นกายทั้งหมด วิญญาณไม่เกิด วิญญาณจะเกิดต้องมีสติสัมปชัญญะ ปัญญารู้ว่าตากระทบรูป รู้ว่าเสียงกระทบหู ฯ ตามวิโมกข์ 8 ข้อที่ 1

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ วิญญาณฐีติ 7 สัตตาวาส 9 วิโมกข์ 8 วันพุธที่ 17 มกราคม 2561 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 18 เมษายน 2564 ( 16:16:25 )

วิญญาณจะเกิดได้ต้องมีผัสสะคืออย่างไร

รายละเอียด

ค่อยๆเข้าใจไปเรื่อยๆ ถ้าคุณเองคุณมีธาตุรู้ มีวิญญาณไม่มีผัสสะมันจะไม่มีอะไรก้าวหน้าที่จะมารู้เพิ่มอีกเลย เพราะฉะนั้นคำตรัสของพระพุทธเจ้าที่ว่าต้องมีผัสสะเป็นปัจจัยจึงจะมีจุดตั้งต้นที่เรียกว่าฐาน หรือ ฐีติ 

เพราะฉะนั้นวิญญาณล่องลอยวิญญาณไม่มีผัสสะเลิกเลยคนนี้ไม่ได้มีการศึกษา เมื่อวิญญาณมีจุดตั้งมีที่ตั้งทางตาหูจมูกลิ้นกาย ทวารนอก ถือว่าไม่ใช่วิญญาณล่องลอยไม่ใช่สัมภเวสี เป็นวิญญาณที่มีสัมภวะ มีจุดเริ่มต้นจุดตั้ง สัมผัสทางตาเกิดรูป สัมผัสทางหูเกิดเสียง สัมผัสทางจมูกเกิดกลิ่น สัมผัสทางลิ้นเกิดรส สัมผัสทางกายทั้งหมดเกิดความรู้สึกเย็นร้อนอ่อนแข็งขึ้นมา จึงใช้จับความรู้สึกตรงนั้นๆ เป็นที่พูดกัน ศึกษาการขยายความกันต่อไป ตอบไว้แค่นี้ก่อนละกัน เรียนรู้ต่อไป

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ สันติอโศก เอื้อไออุ่นชาวสันตินาคร วันพุธที่ 17 มีนาคม 2564 ที่บวรสันติอโศก 


เวลาบันทึก 22 มีนาคม 2564 ( 14:10:35 )

วิญญาณจะเกิดได้ต้องมีองค์ประกอบอย่างไร

รายละเอียด

เหตุปัจจัยคือที่มีตาหูจมูกลิ้นกายกระทบกันและมีประสาททำงาน แม้ตากระทบรูปประสาทคุณไม่ทำงาน หูกระทบเสียงประสาทคุณไม่ทำงานร่วม ไม่ได้ยินหรอก เสียงนั้นกระแทกหูขนาดไหนก็ไม่ได้ยิน ลิ้นกระทบรส ทั้ง 5 ทวาร 

ต้องเรียนรู้วิญญาณฐิติ ถ้าไม่เรียนรู้ว่าธรรมะพระพุทธเจ้าต้องมีวิญญาณตั้งอยู่ทางตาหูจมูกลิ้นกาย มีคู่ทั้ง 5 คู่ รวมกับใจเป็นธาตุรู้เป็นองค์ร่วม ร่วมกับทวารทั้ง 5 เป็น 6 คู่ ถ้าล้างกิเลสทางตาหูจมูกลิ้นกายไปหมด ถึงจะไม่มีกิเลสในตาหูจมูกลิ้นกาย จึงเหลือกิเลสภายในเรียกว่ามโน อันข้างนอกออกหมดแล้วจึงเหลือมโน ถ้ากิเลสตาหูจมูกลิ้นกายล้างออกไม่หมด คุณจะไปหามโนไปอยู่ที่จิตลึกที่มโน มันตลก มันไม่เป็นจริง ความจริงต้องมีตากระทบรูป หูกระทบเสียงอยู่ข้างนอก มีปัจจุบันกาล ท่านบอกแล้วต้องมีองค์ประกอบ ถ้าไม่มีองค์ประกอบมันไม่ใช่วิญญาณ วิญญาณที่จะศึกษาที่เป็นที่ตั้ง ให้ศึกษามันไม่มีถ้ามันเป็นวิญญาณสัมภเวสี เป็นวิญญาณล่องลอย อย่างนั้นพระพุทธเจ้าไม่เคยเอามาสอน เพราะจะไปทำอะไรกับมันได้มันล่องลอยไม่มีตั้ง  ต้องมีตาหูจมูกลิ้นกายเป็นที่ตั้งถึงจะเรียนรู้ได้ ท่านผู้หลับตาปฏิบัติ ไปทำให้หูหนวกตาบอด อาตมาเป็นผู้นำให้มีตาหูจมูกลิ้นกายมากระทบ อย่าไปสอนให้หลับตาหลับหูเหมือนที่สอนกันในพระสูตร อินทริยภาวนาสูตร

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ เรียนรู้อาหารให้บรรลุถึง อรหันต์ วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 24 กุมภาพันธ์ 2564 ( 13:10:56 )

วิญญาณฐิติ

รายละเอียด

1.. ความหลงยึดจิตในจิต

2. ความดำรงอยู่ของวิญญาณ หรือความรู้แจ้งอารมณ์ที่ยังมีการเป็นอยู่

3. ขณะที่มีวิญญาณปรากฏอยู่โต้งๆ ตั้งอยู่ให้ตนเห็นหลัดๆขณะนั้นด้วยการมีรูปกับนามสัมผัสกันเป็นสัมผัส 3 วิญญาณจึงเกิดให้เห็น

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 525

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 182

รวมคนจะมีธรรมะได้อย่างไร เล่ม 2 หน้า 17


เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2562 ( 12:46:07 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 14:18:44 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:45:27 )

วิญญาณฐิติ

รายละเอียด

คือ เรียนรู้ในขณะที่มีวิญญาณตั้งอยู่ แล้วจมูกลิ้นกายเกิดกระทบต่างๆภายนอกแล้วเกิดวิญญาณ

ที่มา ที่ไป

630304


เวลาบันทึก 07 มีนาคม 2563 ( 12:37:13 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 03:08:20 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:45:54 )

วิญญาณฐิติ

รายละเอียด

คือ ความเป็นวิญญาณของตัวเอง 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 31 มีนาคม 2563 ( 09:39:57 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 03:08:46 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:46:08 )

วิญญาณฐิติ 7

รายละเอียด

คือการดำรงอยู่ของวิญญาณ (ความรับรู้) 7จำพวก

1. พวกมีกาย (นามกาย) ต่างกัน มีสัญญา (กำหนดหมาย) ต่างกัน เหมือนพวกมนุษย์ เทวดาบางพวก เปรต (วินิปาติกสัตว์) บางพวก

2. พวกมีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน เหมือนเทวดาพวกพรหมกายิกา (มีเมตตาฌาน) ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน

3. พวกมีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เหมือนเทวดาพวกอาภัสสระ (จิตสว่างว่างใส)

4. พวกมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เหมือนเทวดาพวกสุภกิณหะ (รู้ทั้งสว่างว่างทั้งมืดมัว)

5. พวกเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ (ความว่างไม่มีที่สุด)

6. พวกเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ (ความรับรู้ไม่มีที่สุด)

7. พวกเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ (ความไม่มีอะไรไว้เลย)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 23"จิตตสูตร" ข้อ 41

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก 


เวลาบันทึก 06 กรกฎาคม 2562 ( 08:32:23 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 16:07:15 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:46:41 )

วิญญาณฐิติ 7

รายละเอียด

ก็ต้องเรียนรู้ว่าจิตเป็นอย่างไรถ้าจิตที่หมดความเป็นสัตว์ เข้าใจสัตตาวาส 9 แล้วก็ไปปฏิบัติในขณะปัจจุบันมีวิญญาณฐิติ 7 ใน วิญญาณฐิติ 7 จึงไม่มี อสัญญีสัตว์กับเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะว่ามันรู้แค่อากิญจัญก็จบแล้ว วิญญาณฐิติคือปฏิบัติขณะมีปัจจุบันที่สัมผัสที่ตั้งอยู่ตรงนี้ การสัมผัสมีตามีญาณปัญญามีวิชชามีอาโลก ปฏิบัติอยู่ขณะนี้แล้วคุณก็จะรู้สภาวะธรรมที่เป็นฌาน 4 และอรูปฌานอีก 3 จบในวิญญาณฐิติ 7 อย่างนี้เป็นต้น มันลึกซึ้งละเอียดลออ เห็นใจพวกเรา มันไม่ใช่ง่ายๆแต่ก็ถึงเวลาวาระที่จะอธิบายก็อธิบายบ้าง ว่ามันมีจริงในศาสนาพระพุทธเจ้า ก็เรียนรู้ดีๆ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน 2563


เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 19:43:24 )

เวลาบันทึก 03 สิงหาคม 2563 ( 07:52:49 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:52:23 )

วิญญาณฐิติ 7

รายละเอียด

คือ คนที่มีวิญญาณตั้งอยู่คือคนที่มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย สัมผัส อยู่ และเกิดความรู้มีธาตุวิญญาณเป็นปัจจุบัน แล้วก็เดินอยู่ใน 7 อย่าง กามสัญญา แยกกายแยกจิต แต่แยกจิตไปอีกให้เป็นตัวกำหนดรู้ สัญญา เพราะฉะนั้นถ้าสัญญาที่มิจฉาสัญญา มันก็จะต่าง แต่ถ้าเป็นสัมมาสัญญามันก็จะตรงกัน วิญญาณฐิติ 7 เป็นการเรียนรู้ในขณะที่วิญญาณตั้งอยู่ ถ้าไม่มีวิญญาณตั้งอยู่ โมฆะไม่มีทางรู้ได้ คุณจะเป็น อสัญญีสัตว์ แล้วคุณก็จะได้สูงสุดแค่เนวะสัญญานาสัญญายตนสัตว์ จะไม่มีทางมาเป็นมนุษย์ ไม่มีทางมาเป็นเทวดาได้เลย คุณจะจมอยู่ในสัตตาวาส 9 เพราะสัตตาวาส9 นั้นมีครบด้วยอวิชชา คือความเป็นสัตว์ทั้ง 9 โดยเฉพาะสองตัว อสัญญีสัตว์กับ เนวะสัญญานาสัญญายตน ถ้าสายโลกุตระ ถ้าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะก็เป็นปัญญา สัญญาคุณจะไม่มีทางกำหนดรู้ได้ เนวสัญญา แปลว่า สัญญาที่กำหนดรู้ไปเรื่อยๆจากที่ไม่รู้ก็เป็นรู้ เนว คือ กึ่งๆ แล้วได้ส่วนนึงไปเรื่อยๆ ถ้าไม่ได้ก็ไป เนว ถ้าได้ก็เป็น นา ครบนา สัญญา สัญญาครบ รู้ในความแตกต่างที่มีเท่าไหร่ ก็มีทั้ง 9 อย่างละเอียดครบนี่แหละ คุณก็พ้นความเป็นสัตว์ แต่ผู้ที่ไม่ได้เรียนวิญญาณ 7 คุณเป็นอสัญญีสัตว์ สูงสุดเป็นเนวสัญญายตนสัตว์ ลงท้ายด้วยสัตว์ ไม่ได้เป็นมนุษย์ ไม่ได้เป็นเทวดา ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์แบบโลกุตระ เทวดาแบบโลกุตระ หรือว่าเป็นมนุษย์ทางโลกียะ และเป็นเทวดาทางโลกียะ คุณก็ไม่รู้เรื่อง คุณนึกว่าคุณเป็นมนุษย์ คุณนึกว่าคุณเป็นเทวดาแต่ไม่ใช่ ผิดหมด

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 10 มีนาคม 2563 ( 13:59:54 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 03:09:26 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:51:34 )

วิญญาณฐิติ 7

รายละเอียด

วิญญาณฐิติแปลว่าวิญญาณตั้งอยู่ มีวิญญาณตั้งอยู่ มีวิญญาณร่วมอยู่ด้วย ไม่ใช่ไม่มีวิญญาณ หรือไม่ใช่วิญญาณล่องลอยเป็นสัมภเวสี คือ วิญญาณไม่มีตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่มีที่ตั้ง มีที่ตั้งหมายความว่า ต้องมีตา วิญญาณต้องมีตากระทบรูป ซึ่งเป็นฐานที่ตั้งแห่งการปฏิบัติ หูกระทบเสียงก็เป็นฐานที่ตั้งแห่งการปฏิบัติ ฐิติ คือที่ตั้ง เป็นฐานเป็นแหล่งที่จะปฏิบัติ แต่คุณไม่มี คุณเป็นวิญญาณล่องลอย คุณเป็นวิญญาณไม่มีตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่มีที่เกาะไม่มีที่ยึดไม่มีที่ตั้ง ที่จะให้เกิดการรู้วิญญาณ เหมือนอย่างภิกษุ สาติ ที่บอกว่า เรารู้แล้ววิญญาณ ภิกษุสาติมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า “เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ว่า  วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว  แล่นไป  ไม่ใช่อื่น” ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาจะปลดเปลื้องภิกษุสาติจากทิฏฐินั้น  จึงซักไซ้ ไล่เลียงสอบสวนว่า  ท่านอย่ากล่าวอย่างนี้  ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค  การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสอย่างนี้เลย  ดูกรท่านสาติ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น  พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเป็นอเนก  ความเกิดแห่งวิญญาณเว้นจากปัจจัยมิได้มี.  (มหาตัณหาสังขยสูตร พตปฎ. ล.12  ข.440) อาตมาอธิบายนี้เป็นรายละเอียดที่ไปแก้ไขที่เขาเข้าใจผิดกันมานานมาก วิญญาณฐิติ 7 เรียนแล้วแค่ 7 

  1. กายต่างกันสัญญาต่างกัน 

  2. กายต่างกันสัญญาอย่างเดียวกัน 

  3. กายอย่างเดียวกันสัญญาต่างกัน 

  4. การอย่างเดียวกันสัญญาอย่างเดียวกัน 

  5. อากาสานัญจายตนะ 

  6. วิญญาณัญจายตนะ 

  7. อากิญจัญญายตนะ จบ 

ไม่มีเนวสัญญานาสัญญายตนะ และแถมให้ว่า ไม่จำเป็นต้องมีสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะเมื่อเรียนเปิดตา มีวิญญาณ มีตาหูจมูกลิ้นกายเป็นที่ตั้งแล้ว มีวิญญาณต้องมีเหตุปัจจัย ตากระทบรูป หูกระทบเสียง ในการปฏิบัติ เพราะฉะนั้นจึงการปฏิบัติกายกับสัญญากำหนดรู้ไปได้ทั้ง 4 ข้อต้น เหลือรายละเอียด ละเอียดไปถึงอากาศ ความว่าง แล้วก็วิญญาณ ธาตุรู้ กับวิญญาณ อากาศคือความว่าง พระพุทธเจ้าท่านสอน 1. ว่าง ใส 2. อากิญจัญญายตนะ ไม่มีอะไร ไม่มีอะไรนิดนึงน้อยหนึ่งก็คือไม่มีกิเลส อากาสานัญจายตนะ ว่าง ว่างจากอะไรคือว่างจากกิเลส เพราะฉะนั้น มาลืมตานี่แหละต้องสัมผัสตาหูจมูกลิ้นกายแล้วก็เรียนกิเลส จนกิเลสหมด สว่างใส ความสว่างใส อากาศว่างใส คือจิตมันว่าง กระทบแล้วก็สะอาดว่างสบาย แล้วก็มาอีกมุมหนึ่งมันใสสะอาดว่างเพราะอะไร เพราะมันไม่มี เป็นอากิญจัญญายตนะ นิดหนึ่งน้อยหนึ่งก็ไม่มี ไม่มีอะไรก็ไม่มีกิเลส เพราะฉะนั้นเรียนรู้วิญญาณฐีติ 7 เพราะไม่มีกิเลสหมดเกลี้ยงเลยจิตบ้างแล้วเป็นอุเบกขา อากาสาก็เป็นจิตว่าง จิตสะอาด ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสราวิญญาณก็สะอาดบริสุทธิ์เป็นตัวที่มีผลสำเร็จถึงวิญญาณบริสุทธิ์ ประโยชน์ แม้แต่เกี่ยวข้องทำงานมีเหตุปัจจัยอะไรกระทบก็ยังบริสุทธิ์อยู่อย่างเดิม ยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อมีปัญญาเมื่อทำสำเร็จ จะมีการเกี่ยวข้องจะมีการสัมผัสจะมีการปรุงแต่งอะไรอยู่อีก ยิ่งเก่งเป็น มุทุภูตธาตุ ยิ่งเจริญ ทำกรรมอะไรอีกก็เป็นกรรมที่ดี ไม่มีบกพร่องไม่มีผิดพลาด ไม่มีอกุศล สรุปแล้ววิญญาณบริสุทธิ์แล้วก็ประภัสสรตลอด นี่คือปฏิบัติธรรมพระพุทธเจ้า ปฏิบัติในขณะที่มีวิญญาณเป็นที่ตั้ง ถ้าไม่มีวิญญาณเป็นที่ตั้ง ตั้งอยู่แต่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ตัวที่ตั้งวิญญาณคือธาตุที่ 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย มีครบครันเหตุปัจจัย ปฏิบัติอะไรก็ปฏิบัติกิเลส ให้รู้จักกิเลส เอากิเลสออก กำจัดกิเลสออก ธาตุที่ว่างธาตุที่สะอาด ภาษาบอกว่า ธาตุที่ว่าง ธาตุที่สะอาด ในจูฬสุญญตสูตร สูญ เป็นไวพจน์ ของอากิญจัญญายะคือ ไม่มี แต่อากาศก็ไม่มี แต่สภาพที่ว่างคือ ความสะอาด ประภัสสรบริสุทธิ์ ส่วนอันนี้มาหมายถึงกิเลส อากิญจัญญะ หมายถึง กิเลส เมื่อกิเลสไม่มีนิดนึงน้อยนึงก็ไม่มีแล้ว ธุลีละอองก็ไม่มีแล้ว ก็จะมีแต่ความสะอาดสว่าง ก็จบที่นี่ ไม่ต้องกล่าวว่าสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะความไม่มีนั้นก็คือนิโรธแล้ว คือสุญญตะแล้วการปฏิบัติก็ปฏิบัติที่กายและสัญญาในข้อ 1 2 3 4 เพราะฉะนั้นความเป็นกายจึงสำคัญมาก ถ้าไม่รู้กายที่ถูกต้องแล้ว นี่แหละ ผู้ที่รู้คำว่ากายเป็นโลกียะ จึงเกิดกายที่เป็นโลกุตระที่เป็นสัมมาทิฏฐิ กายต่างกันก็คือผู้ที่มิจฉาทิฏฐิผู้ที่เป็นโลกีย์อยู่ เพราะฉะนั้นกายของคุณก็เป็นโลกียะเป็นมิจฉาทิฏฐิ สัญญาของคุณก็เป็นโลกียะเป็นมิจฉาทิฏฐิ สัญญาต่างกัน แม้จะมากำหนดสัญญาอย่างเดียวกัน กำหนดกายอย่างเดียวกัน แต่ถ้ามิจฉาทิฏฐิ มันก็กำหนดเอาเอง กำหนดกายก็กำหนดเอาเอง กำหนดสัญญาก็กำหนดเอาเอง ของคุณเอง แต่คุณมิจฉาทิฏฐิหรือคุณกำหนดได้แต่โลกีย์ ไม่มีสัมมาทิฐิในโลกุตระเลย ทุกวันนี้พูดได้ว่าโลกุตระมันหายไปหมดแล้ว 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2563


เวลาบันทึก 25 พฤศจิกายน 2563 ( 13:28:00 )

วิญญาณฐิติ 7

รายละเอียด

คือการดํารงอยู่ของวิญญาณ(ความรับรู้) 7จําพวก

1. พวกมีกาย (นามกาย) ต่างกัน มีสัญญา(กําหนดหมาย) ต่างกัน เหมือนพวกมนุษย์ เทวดาบางพวก เปรต (วินิปาติกสัตว์) บางพวก

2. พวกมีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน เหมือนเทวดาพวกพรหมกายิกา(มีเมตตาฌาน)ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน

3. พวกมีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกันเหมือนเทวดาพวกอาภัสสระ (จิตสว่างว่างใส)

4. พวกมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เหมือนเทวดาพวกสุภกิณหะ(รู้ทั้งสว่างว่างทั้งมืดมัว)

5. พวกเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ (ความว่างไม่มีที่สุด)

6. พวกเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ(ความรับรู้ไม่มีที่สุด)

7.พวกเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ(ความไม่มีอะไรไว้เลย)

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 23 “จิตตสูตร” ข้อ 41


เวลาบันทึก 14 มีนาคม 2565 ( 20:50:44 )

วิญญาณฐิติ 7

รายละเอียด

วิญญาณฐิติ 7 มีสองคำคือ กายกับสัญญา ที่ตรัสไว้ให้ศึกษา ต้องเข้าใจคำว่า กายคืออะไรและสัญญาคือเจตสิกคือจิตเจตสิก มันทำงานอย่างไร มันจะทำงานร่วมกันคือ มีกาย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ วิญญาณฐิติ 7 ปฏิจจสมุปบาท และวิชชา 8 วันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2566 วันแรม 14 ค่ำเดือนยี่ ปีขาล ที่บวรสันติอโศก


เวลาบันทึก 06 กุมภาพันธ์ 2566 ( 13:16:05 )

วิญญาณฐิติ 7 กับสัตตาวาส 9

รายละเอียด

คำว่าสัตว์คือยังไม่พ้นสัตตาวาส 9 คำว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ คือได้พ้นหลุดพ้นมาได้เรื่อยๆ กระทั่งเหลือที่สุดก็คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะสัตว์ เนวสัญญานาสัญญายตนะสัตว์ เป็นสัตว์ตัวที่ 9 ในสัตตาวาส 9 ส่วนอสัญญีสัตว์นั้นเป็นสัตว์ตัวที่ 5 ในสัตตาวาส 9 เพราะในโลกียะดับสัญญาได้เป็นอสัญญีสัตว์ จะไม่สามารถรู้ อากิญจัญ ฯ เนวสัญญาฯได้เลย แต่ไปนั่งหลับตาแล้วได้ เขาว่าได้ อากาสา วิญญานัญจา ได้ความว่างจากการสร้างภพว่าง ให้ดับ นิดหนึ่งน้อยหนึ่งก็ไม่มี แล้วสร้างภพ จะว่ารู้ก็ไม่ใช่ ว่าไม่รู้ก็ไม่ใช่ เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะ เขาก็จบ คา อยู่เช่นนั้น นี่คือสัตตาวาส 9 ส่วนวิญญาณฐีติไม่มีอสัญญีสัตว์ ไม่มีเนวสัญญานาสัญญายตนะ วิญญาณฐิติ คือ เรียนรู้ในขณะที่มีวิญญาณตั้งอยู่ แล้วจมูกลิ้นกายเกิดกระทบต่างๆภายนอกแล้วเกิดวิญญาณ วิญญาณที่พระพุทธเจ้าท่านให้เรียนไม่ใช่ให้ไปเรียนวิญญาณสัมภเวสีล่องลอยไป หรือว่าคุยกันในสัญญานั้น ไม่เอา มันไม่จริงสามารถปั้นสร้างได้เองเนรมิตเองได้เรียกว่านิรมาณกาย มันเลอะเทอะ มันไม่ใช่ของจริง ของจริงต้องสัมผัสอยู่เป็นปัจจุบันทางตาหูจมูกลิ้นกาย ต้องเรียนอันนี้ จึงจะสามารถดับความเป็นสัตว์ได้เรียกว่า วิญญาณฐิติ 7 นี้ได้ครบ คุณก็สามารถหมดความเป็นสัตว์ได้ครบวิญญาณฐิติ 7 กับสัตตาวาส 9 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 4 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 26 มีนาคม 2563 ( 13:37:11 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 03:09:58 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:53:03 )

วิญญาณฐิติ 7 คือการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า สัตตาวาส 9 คือ ความไม่รู้เรื่องของคน

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นการที่สัตว์อย่างที่ 1 ในวิญญาณฐิติ กายต่างกันสัญญาต่างกันหมายความว่า คนต่างคนต่างเละเทะไปหมด เข้าใจ กาย ผิดๆไปตามกันหมด ต่ำที่สุดถูกแล้วเป็นสัตว์ชั้นต่ำที่สุดถูกแล้ว 

วิญญาณฐิติ 7 กับ สัตตาวาส 9 อันเดียวกันแต่ว่าวิญญาณฐิติ 7 นั้นคือการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ส่วน สัตตาวาส 9 นั้นคือ ความไม่รู้เรื่องของคนตกเป็นสัตว์ ชีวิตเป็นสัตว์ ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่งหรือหลายๆอย่างอยู่ สัตตาวาส 9 อยู่ในสัตว์ 9 ชนิดนี้ ซึ่งเป็นสัตว์ทางจิตวิญญาณนะไม่ใช่สัตว์เดรัจฉานมี 4 ขา 2 ขาสัตว์บกสัตว์น้ำไม่ใช่แต่คือคนนี้แหละเป็นสัตว์ 

เพราะฉะนั้นตั้งแต่ข้อที่ 1 ถึงข้อที่ 4 อันนี้เป็นสภาพรูปธรรม ผู้ที่ไม่รู้การประชุมกันของกายที่ทำงานแล้วกำหนดหมายอย่างสัมมาทิฏฐิไม่ได้ ในวิญญาณฐิติ 7 ก็จะมีทั้งสัมมาทิฏฐิและผู้ไม่สัมมาทิฐิ ไม่สัมมาทิฏฐิก็อธิบายอย่างผิดๆทั้งๆที่มันเป็นของถูกแล้ว วิญญาณฐิติ 7 เป็นของที่ถูกต้องสัมมาทิฏฐิแล้ว แต่มันก็จะไปบังคับคนไม่ให้ผิดได้อย่างไร เขาเข้าใจไม่ถูกมันก็ผิด ผิดมันก็จะกลายเป็น สัตตาวาส 9 ซึ่งมีทั้ง 7 ข้อของ วิญญาณฐีติ 7 แต่มันเห็นผิด และไปแถมอีก 2 ข้อจึงเป็น สัตตาวาส 9 

สัตว์มี 9 อสัญญีสัตว์ และ เนวสัญญานาสัญญายตนะ สองตัวแถมเข้ามา 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ วิญญาณฐิติ 7 ปฏิจจสมุปบาท และวิชชา 8 วันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2566 วันแรม 14 ค่ำเดือนยี่ ปีขาล ที่บวรสันติอโศก


เวลาบันทึก 07 กุมภาพันธ์ 2566 ( 12:58:17 )

วิญญาณฐิติ 7 วิโมกข์ 8 สัตตาวาส 9 อนุปุพพวิหาร 9 แบบพุทธและแบบฤาษี

รายละเอียด

วิญญาณฐิติ 7 มี 7 ตัวที่ 7 คือ อากิญจัญญายตนะ ไม่มี แม้เนวสัญญานาสัญญายตนะหรือสัญญาเวทยิตนิโรธ ส่วนวิโมกข์​ 8 ไม่มีอสัญญีสัตว์ และ สามข้อต้น คนเข้าใจผิดว่าเป็นฌาน 1 2 3 4 มันไม่ใช่ แต่มันเป็นการกำหนดหมายให้รู้ว่ามีรูป มีนอก มีใน มีรูป มีนามคือวิโมกข์ 3 แล้ว 4 ข้อต่อมาก็คืออรูปฌาน วิโมกข์ 8 จึงเป็นเรื่องของสัมมาทิฏฐิทั้งหมด วิญญาณฐิติ 7 ก็เป็นสัมมาทิฏฐิลืมตาปฏิบัติ วิโมกข์ 8 ก็ลืมตาปฏิบัติ ส่วนสัตตาวาส 9 นั้น ผู้ที่สามารถปฏิบัติวิญญาณฐิติ 7 ปฏิบัติวิโมกข์ 8 ได้ ก็จะลดความเป็นสัตว์ กำจัดความเป็นสัตตาวาส 9 ได้ จนหมดไป ไม่มีความเป็นสัตว์ได้ ส่วนอนุปุพพวิหาร 9 เป็นสัมมาทิฏฐิ ไม่มีมิจฉาทิฏฐิ แต่เขาก็ทำให้เป็นมิจฉาทิฐิจนได้ ไปเข้าใจปนเปกับ วิโมกข์ 8 สัตตาวาส 9 ซึ่งมันมีที่ซ้ำกันอยู่บ้าง แล้วอนุปุพพวิหาร 9 ก็มีสัญญาเวทยิตนิโรธด้วยเหมือนกับวิโมกข์ 8 อาตมากำลังอธิบายอันไหนแบบพุทธอันไหนแบบฤาษีขยายความอยู่ ในอนุปุพพวิหาร 9 เป็นที่เขาเข้าใจผิด คือ ยกตัวอย่าง อาฬารดาบส อย่างอุทกดาบสไปอรูปฌาน 8 ไม่มีสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่มีสัมมาทิฏฐิเป็นไปนั่งหลับตาทั้งหมด ต่อมาอาฬารดาบส ก็เป็นมิจฉาทิฐิมันไม่เป็นอนุปุพพวิหาร 9 ไม่มีสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะฉะนั้นอนุปุพพวิหาร 9 เป็นสัมมาทิฏฐิเท่านั้นแต่คนก็ไปปฏิบัติอย่างเช่น อาฬารดาบส อุทกดาบส ผิดไปเป็นแบบรูปฌานอรูปฌาน ไม่เป็นวิโมกข์ 8 ตั้งแต่ 1 2 3 ก็ไม่ถูก ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอรูปฌาน 4 นั้น เป็นแต่เพียงอธิบายให้รู้เรื่องรูปเรื่องนามอธิบายให้รู้เรื่องภายนอกภายใน ปฏิบัติธรรมต้องมีภายนอกภายในเสมอ แล้วไปเข้าใจว่าวิโมกข์ 8 เป็นการนั่งหลับตาทำสมาบัติ เขายึดถือแบบนั้นเป็นมิจฉาสัญญาแบบนี้แล้วแก้ไขก็ยากจังเลย พูดอย่างไรก็ไม่กระเตื้อง กลายเป็นบุคคลทำลายศาสนา กลายเป็นโจรร้ายทำลายศาสนาที่อาตมาต้องแทงด้วยหอกเช้ากลางวันเย็น หอกอาตมาไปไม่รู้กี่ร้อยเล่มแล้ว มันได้หักเป็นแสนๆล้านเล่มแล้ว

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 08 เมษายน 2563 ( 11:11:06 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 03:10:35 )

เวลาบันทึก 15 สิงหาคม 2563 ( 15:54:07 )

statistics

ติดต่อสอบถาม

Facebook : test

Youtube : Name

Twitter : Name

Line : Name

Telegram : Name

Wechat : Name

Skype : Name

Copyright © 2018 Borvornsocial.net all right are reserved. developer สงวนลิขสิทธิ์