@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก
@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก

อภิธานศัพท์ (Glossary) จัดเป็นฐานข้อมูลด้านโลกุตระที่สมบูรณ์ที่สุดที่คัดมาจากหนังสือ คำเทศน์ ฯ

คู่มือการค้นหาอภิธานศัพท์อโศก หรือ ห้องสมุดโลกุตระ 50 ปี

เอกสาร : https://docs.google.com/document/d/1HLGedxqTAOTOTQKGbO6M4qMremQ8K1jBWKRYDDt6MRQ/edit

วีดีโอ Loom 2 : https://www.loom.com/share/e824e62ec1eb4567848e94af124a7ed5

วีดีโอ Loom 1https://www.loom.com/share/2445744a08e74bca95d2f1d2a0526044

วีดีโอ YouTube : https://youtu.be/QyXcGmzhLmk

 

 

อภิธานศัพท์ (ทั้งหมด) พบ 28,074 รายการ

สมาธิ 

รายละเอียด

สมาธิ  คือ ไม่ใช่ความหมายตื้นๆ แต่เป็นจิตตั้งมั่นคือจิตที่ทำให้กิเลสออกไปจากจิตได้แล้ว เป็นจิตอุเบกขา  เป็นจิตบริสุทธิ์  เป็นองค์คุณ5  ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา  ปภัสรา  อุเบกขา  เป็นการสั่งสมจิตที่บริสุทธิ์จากกิเลสให้ตั้งมั่น

ที่มา ที่ไป

ธรรมาธิบายพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 24 กันยายน 2562 ( 05:27:18 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:03:19 )

สมาธิกถา

รายละเอียด

เรื่องที่ชักนำให้จิตตั้งมั่นในสมาธิ สมาธิแปลว่าจิตตั้งมั่นแล้ว ชักนำให้จิตตั้งมั่นในสมาธิ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม เรียนอัตถิราคสูตรให้หมดสุขหมดทุกข์แท้จริง วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 24 กุมภาพันธ์ 2564 ( 15:56:19 )

สมาธิกับสมาหิตะต่างกัน

รายละเอียด

แม้ทุกวันนี้เขาก็ไม่เรียกศาสนาพุทธว่า สมาหิตะ แต่ใช้คำว่าสมาธิซึ่งเป็นคำกลางๆคำของ เดียรถีย์ ทั่วไป พระพุทธเจ้าก็เรียกสมาธิของท่านว่า
สมาหิตะ สมาหิโต

สมาหิโต คือผลของจิต ที่บรรลุอาสวะสิ้น บรรลุผลของอาสวะสิ้นไปจากจิต เป็นจิตสะอาดอุเบกขาบริสุทธิ์ ปริสุทธาเอามาตกผลึกสั่งสมกัน จิตที่สิ้นอาสวะ สะอาดจากอาสวะ มารวมกันตกผลึกตั้งมั่นขึ้น ซึ่งต่างจากสะกดจิต ราคะก็ไม่รู้ โทสะก็ไม่รู้ โมหะก็ไม่รู้ ทำให้มันจางคลาย ทำให้มันลดละลงไป ทำออกเรื่อยๆ ให้มันสงบจากกิเลสไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงนิโรธ ก็ได้แต่พยัญชนะ แต่สภาวะไม่รู้ ตกลงก็ได้แต่แค่ ปากๆเปลือกๆ มันก็เลยไม่ประสบผลจริง ไม่ประสบผลแท้ 

อัมพัฏฐะ ก็พยายามยืนยันว่าวิชชาจรณะต้องอยู่กับนักบวช คฤหัสถ์จะไปเป็นเจ้าของวิชชาจรณะได้อย่างไร อัมพัฏฐะไม่ยอมรับสมณโคดม ก็ยังคิดว่าเป็นกษัตริย์ บวชยังไงก็ยังเป็นกษัตริย์ เป็นคฤหัสถ์ วรรณะหรือตระกูลไม่ได้เป็นพราหมณ์ พระพุทธเจ้าก็เลยต้อนเข้าไปว่า จริงๆแล้วจรณะกับวิชชามันไม่ได้อยู่ที่ตระกูลหรือว่าอยู่ที่วรรณะเป็นพราหมณ์หรือเป็นกษัตริย์ 

แต่จะอยู่กับใครก็ได้ที่เขามีคุณสมบัติคุณธรรมและเข้าไปถึงพฤติกรรมกายวาจาใจ ท่านก็ไล่ต้อน จนสุดท้ายอัมพัฏฐะก็จำนน พระพุทธเจ้าถึงได้เทศน์ 

ก่อนจะเทศน์ประเด็นนี้ อาตมาได้ย้ำแล้วย้ำอีก ก่อนจะเทศน์ท่านก็ย้ำว่า ศาสนาพุทธก็มีมาในวัฏสงสาร พระพุทธเจ้าแต่ละองค์ๆประกาศศาสนาพุทธทั้งนั้น แล้วก็จะมีใน กาละเป็นยุคๆ แต่ละพุทธกัป 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์เปิดงานอโศกรำลึก ครั้งที่ 41 อาหารเป็น 1 ในโลก วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 04 สิงหาคม 2565 ( 20:00:22 )

สมาธิก็มีความลึกไปตามลำดับ

รายละเอียด

พูดกันอยู่ก็เป็นสัมมาทิฐิอยู่แล้ว สมาธิก็มีความลึกไปตามลำดับไม่ว่าจะเป็นสมณะ สิกขมาตุและผู้อื่นๆก็ได้บรรยายไล่เรียงกันมาเรื่อยๆ บางที พยายามทำความเข้าใจตรงที่ว่า ถ้าฐานที่ยังไม่สูง มันจะเป็นอย่างหนึ่ง พอสูงขึ้นไป จนกลับไปอีกรอบ ก็จะกลายเป็นเหมือนที่ต่ำขึ้นไปสูงและเหมือนอันที่สูงลงมาหาต่ำ อันนี้แหละเป็นเรื่องที่เราเรียกกันอยู่ว่าเป็นสิริมหามายา มันกลับไปกลับมา แต่ความจริงมันเป็นความจริง มันเหมือนก้นหอย วนไปวนมา ซ้ายขวา ซ้ายขวา ถ้าคนที่ไม่เจริญ มันก็จะซ้ายขวาอยู่กับที่ ซ้ายขวาและขวาก็มาซ้ายอยู่กับที่ หรือต่ำลงไป ซ้ายขวา กลายเป็นขยายความเสื่อมให้โตขึ้น เขาไม่รู้เขาก็จะซ้ายขวาแล้วลงต่ำ แต่ถ้าเผื่อว่าผู้รู้แล้ว มันวน แม้โลกก็คือวน แม้โลกโลกุตระก็วน แต่วนแล้วซ้ายขวามันมีอัตราการเจริญสูงขึ้น มันวนไปมาจริงแต่มันมีความสูงขึ้นมาด้วย สูงขึ้นมาเหมือนก้นหอย สูงขึ้นไปหาปลายก้นหอย ซ้ายขวาซ้ายขวา เป็นรอบใหม่ก็สูงขึ้นไปอีก เล็กลงเล็กลง เป็นนัยยะ ที่พอพูดกันเป็นรูปธรรมให้เราเข้าใจกันได้ 

ที่มา ที่ไป

รายการเอื้อไออุ่นออนไลน์ วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน 2563


เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 18:23:35 )

เวลาบันทึก 03 สิงหาคม 2563 ( 07:54:57 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:27:28 )

สมาธิขณะทำงานในชาวอโศกเป็นเช่นไร

รายละเอียด

คำว่าสมาธิ เป็นเรื่องลึกซึ้ง เป็นเรื่องที่เถรสมาคมไม่เข้าใจ พูดอย่างนี้ จะทำไม อาตมาพูดไม่ผิดด้วย สมาธิของพระพุทธเจ้านั้นคือคำ สมาหิตะ สมาหิโต จิตสะอาดจากอาสวะกิเลส ฟังให้ดีนะ จิตที่สะอาดจากอาสวะกิเลสแล้ว ก็ตกผลึก ผนึกกันเข้า เป็นจิตรวมกันแล้วก็ อันนี้แหละคือ รวมเป็น อาเนญชา มันอาเนญชาๆๆ ไม่ใช่จิตสมาธิคือจิตไปกดข่มจิต ไปพยายามที่จะดับไม่คิด ไม่นึก ไม่ให้มันเคลื่อนไหว แล้วเข้าใจว่าจิตไม่เคลื่อนไหวคือสมาธิ ไม่ใช่เลย ไม่ใช่เลยนะ สมาธิของพระพุทธเจ้านั้นคุณจะต้องมีเจโตปริยญาณ16 รู้จัก ราคะ โทสะ โมหะ อาการของราคะคืออย่างไร โทสะคืออย่างไร โมหะคืออย่างไร แล้วคุณมาปฏิบัติตามจรณะ 15 วิชชา 8 ก็จะเกิดปัญญาหรือ ฌาน 

ฌาน คือพลังงานคู่กับปัญญา พลังงานปัญญากับพลังงานฌานคู่กัน ช่วยกันเผา ใช้ภาษาว่าเผา ถ้าภาษาว่า ฆ่าเฉยๆ มันมีซาก แต่ถ้าเผา มันหมดไปทั้งซากเลย  พลังงานอุณหธาตุ เผา เผาอะไร เผากิเลส ภาษาเหมือนกับมีเนื้อมีหนังแต่มันไม่มี แต่กิเลสนั่นแหละถูกเผา มีความจริงคือ เนื้อกิเลส วิมังสาของกิเลส เผามันไป หมดเลย หมดซากเลย เพราะฉะนั้นจิตที่ถูกเผาโดย ฌาน จนเป็นบุญ เพชฌฆาตมือสุดท้าย หรือ พลังงานเผาอันสุดท้าย ถ้าถูกพลังงานระดับบุญอันสุดท้ายแล้ว สูญสนิทเลย ไม่มีเกิดอีกเลย อย่างนี้คือ ลักษณะนิพพาน ไอ้ที่พูดนี้คือพยัญชนะ แต่สภาวะธรรมที่เป็นจริง คุณจะต้องรู้ อาการ ลิงค นิมิต อุเทส ของจิต เจตสิก รูป แล้วถึงจะนิพพานได้ รูปคือสิ่งที่ถูกรู้ นาม หรือ ปัญญา ญาณ ​วิชชาของคุณ รู้สิ่งที่ถูกรู้นั้นตั้งแต่หยาบขั้นกามาวจร ฆ่าหมดแล้ว ศาสนาพุทธนั้นมีฌาน มีสมาธิ ไม่ได้หนีไปจากตาหูจมูกลิ้นกายใจ หรือ โลก ดินน้ำไฟลม พฤติกรรมสังคมทุกอย่าง ไม่ได้หนี เห็นอยู่อย่างมีจักษุ มีหูได้ยินเสียง รู้ลืมตาตื่นๆ เป็น ชาคริ ชาคระ เป็นผู้ตื่นรู้อยู่หมดเลย 

ก็ได้ บอกนิดหนึ่ง อาตมาพยายามอธิบายอยู่ มันอาจจะยังไม่ถึงตัวประตูไขให้สู่แดนธรรมเข้าใจ เพราะฉะนั้นเมื่อคุณเองลืมตาปฏิบัติ คุณก็จะเกิดปฏิภาณปัญญาเห็นว่า อ๋อ..อย่างนี้คือการขัดเกลากิเลส คุณรู้จักกิเลส แล้วกิเลสถูกขัดเกลาๆไป นี่แหละคือฌาน นี่แหละคือการปฏิบัติฌานในขณะลืมตา ตามหลักธรรมพระพุทธเจ้า จนกระทั่งกิเลสลด หมดอาสวะ จึงจะตกผลึกเรียกว่า สมาหิตะหรือสมาหิโต หรือสมาธิของพระพุทธเจ้า สมาธิเป็นคำกลางๆ ที่เรียกกันทั่วโลกหรือแม้แต่ชาวพุทธก็ตามเข้าใจว่าคือการสะกดจิต เข้าใจว่าเป็นจิตสมถะ ซึ่งไม่ใช่ จิตหมดกิเลสไม่ได้สมถะ ไม่ได้นั่ง อยู่ในริบๆหรี่ๆ อยู่ในภพแต่ลืมตาให้เห็นทุกอย่าง ใสสว่างเลยว่ากิเลสมันออก กิเลสมันหมด หมดเกลี้ยงกิเลสแล้วจิตประภัสสร อ๋อ.. นี่คือจิตประภัสสร ตกผลึกลงไปหรือจิต ปริสุทธาจิตสะอาดตกผลึกลงไป นี่คือ สมายี่ส์กุลทำงานอยู่ จิตสะอาด จิตเป็นสมาธิของพระพุทธเจ้า 

ในขณะลืมตาในขณะปฏิบัติตามจรณะ 15 วิชชา 8 ของพระพุทธเจ้า นี่คือการปฏิบัติธรรมของศาสนาพุทธ สมาธิขณะทำงาน ไม่ต้องไปทำความสงสัย ไม่ต้องคิดเลยว่ามันจะเป็นอย่างไร มาอยู่กับชาวอโศก แล้วอโศกพาคุณทำ ทำแล้วทำอยู่ แล้วกำลังทำต่อ ทันสมัยใหม่เสมอ 

ใช่ถูกต้อง ในขณะทำงานคุณก็รู้กิเลสว่าอันนี้มันมีกามอยู่ ลด อันนี้มันคือการลด นี่แหละคือคุณปฏิบัติธรรมในขณะทำงาน คุณต้องอ่านอาการจิต ที่ขณะสัมผัสต่างๆอยู่เมื่อทำงานก็มีการกระทบสัมผัส คุณทำงานอยู่กับกระทะ คุณก็เคืองตะหลิว บ้า.. ไอ้ตะหลิวนี้มันทำไมถึงไม่เป็นไปดังใจข้าเลยวะ ทุบตะหลิวจนหักไม่รู้เรื่อง แต่คุณทำงานกับคน เออ คนก็จะเกี่ยวคุณได้หน่อย แต่ตะหลิวมันไม่เกี่ยวกับคุณได้หรอก คุณโง่ตายชัก หากคุณไปเกี่ยวกับพืช พืชมันก็ไม่รู้เรื่อง ศีลข้อที่ 2 

ศีลข้อที่ 1 สัตว์ก็คือคนนี้แหละ ทำงานกับคน ระวังจะเกิดราคะ โทสะ โมหะเก่ง เรียนรู้แล้วก็ลดกิเลสซะ เมื่อคุณทำงานกับคนแล้วเกิดกิเลสจริง แล้วคุณก็ได้รู้ตัว แล้วคุณก็ทำให้มันลด คุณจะมีปฏิภาณปัญญา เกิดฌาน เกิดปัญญา ฌาน กับปัญญา เป็นภาษาที่เป็นพลังงานทางจิต คุณจะรู้จักวิธีทำเอาอย่างนี้แล้วกิเลสคุณลดลงๆๆๆ เพราะคุณทำจิตให้มีพลังงานฌานทำจิตให้กิเลสลดได้จนตกผลึกเรียกว่าสมาหิตะ หรือสมาธิของพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นคำว่าสมาธิของพระพุทธเจ้าจึงไม่ใช่เข้าใจได้ง่ายๆ ชัดขึ้นไหม ๆ เพราะฉะนั้นถาม อาตมาก็ตอบไปแล้ว ถ้าไม่รู้มาอยู่กับชาวอโศก ชาวอโศกพาคุณทำแล้วทำอยู่ พาคุณทำแล้วทำต่อ 

ไม่ทำอย่างพระวัดป่าเขาทำแน่นอน ไอ้นั่นมันนอกรีต พูดอีก ย้ำ ทุบหัวตะปูไป หลับตาทำ ปฏิบัติธรรมแบบนั้นไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า มีแต่ลืมตาทำเท่านั้น เขาไม่เชื่ออาตมาง่ายๆหรอก เขาพูดอย่างนี้ เขาก็ต้องทำตาหลับด้วย ต้องหลับด้วยแล้วก็ลืมตาด้วย เขาว่าอย่างนั้น อาตมาขอยืนยันว่าไม่มีหลับตา หลับตาก็เข้าใจว่าหลับตา ปฏิบัติลืมตานี่แหละแล้วคุณจะทำอย่างลืมตาได้ หลับตาทำได้ง่ายตายชัก ไม่ต้องทำอะไรหลับตา เพราะฉะนั้นหลับตานี่แหละพระพุทธเจ้าจึงบอกว่าเป็นอุปการะเท่านั้น อุปการะมีอะไรบ้าง อาตมาก็อธิบายไปหมดแล้ว 

1. คุณหลับตาคุณก็พัก ถ้าจิตของคุณไม่หยุดมันก็ฟุ้ง ใช่ไหม คุณทำสงบไม่ได้หลับตามันก็ฟุ้งอยู่ในจิต คุณก็ต้องพยายามสงบ ลดความฟุ้งมา นอกจากมันฟุ้งไม่ฟุ้ง สายศรัทธา ยิ่งไปนั่งสมาธิมันก็ตก ถีนมิทธะ ดิ่ง ดับ ไม่รู้เรื่องไปดับสัญญา มันก็เลยยิ่งไม่รู้เรื่องใหญ่ มันเป็นคนไม่เป็นคน เป็นคนท่อนไม้ เป็นคนทำตัวเองให้เป็นดินหินไป มันก็ไม่ได้เรื่อง มันต้องให้มีสำนึก มีสติสัมปชัญญะ แม้จะหลับคุณก็ต้องมีสติ 1 พักผ่อน 

2. หลับตาไปแล้ว มันก็คิด จะทบทวนธรรมะคิดนึกอะไรมันก็ง่าย เพราะไม่มีอะไรกวนทางตาหูจมูกลิ้นกาย มันไม่มีอะไรกวน คุณก็อยู่คนเดียว คุณก็คิดง่าย มันเป็นอุปการะเห็นไหม 

3. หรือรวมเลยเป็นเตวิชโช คือคุณมีธรรมะแล้วคุณใช้หลัก 3 คือ 1. ระลึกสิ่งที่ผ่านมาแล้ว บุพเพนิวาสานุสติญาณ แล้วก็ 2.ตรวจความเกิดความดับ ของจิตที่มันเคยเกิดสัมผัสข้างนอกแล้ว จิตที่มันเคยเกิดกิเลสอย่างไร มันดับหรือยัง ดับได้ นั่นคือรู้จัก จุติ อุบัติ รู้การเกิดการดับได้แล้ว อันสุดท้ายเป็น 3.อาสวักขยญาณ ดับกิเลสสิ้นแล้วก็ตรวจสอบ เตวิชโช จึงเป็นวิชาที่ตรวจสอบการปฏิบัติของตนเอง ได้แล้วหรือยังไม่ได้ ถ้าดับอาสวะสิ้นตรวจสอบแล้วคุณก็รู้สิ คุณรู้แล้วว่าดับอาสวะจริง คุณก็ไม่ต้องไปวนเวียนอีก ไม่ต้องไปซ้ำซากอะไรอีก มันจบมันรู้แล้วอะไรอย่างนี้เป็นต้น 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ชาวอโศก ทำแล้ว ทำอยู่ และกำลังทำโลกุตระต่อไป วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 ขึ้น 5 ค่ำเดือน 4 ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 14 มิถุนายน 2566 ( 14:32:13 )

สมาธิของพระพุทธเจ้า

รายละเอียด

สมาธิของพระพุทธเจ้า คือ ต้องเป็นความคล่องแคล่ว ของเวทนา สัญญา สังขาร เพราะไม่มีตัวถ่วง คือ กิเลส เป็นกายกัมมัญญา ทำงานอะไรก็ดีไปหมด ไม่มีอะไรถ่วงไว้ สมาธิจะเกิดได้ต้องเกิดจากการปฏิบัติ จรณะ 15 วิชชา 8 แล้วจิตใจคุณจะสะอาดปราศจากกิเลส เมื่อจิตใจสะอาดปราศจากกิเลส จิตใจก็จะสะสมตกผลึกเป็นจิตที่สะอาด ตกผลึก อัปปนา พยับปนา เจตโสอภินิโรปนา คนที่ปฏิบัติ จรณะ 15 วิชชา 8 ไม่สำเร็จจ้างให้ก็ไม่ได้บรรลุธรรมของศาสนาพุทธ ทุกวันนี้ไม่ได้มีสมาธิเกิดจาก จรณะ 15  วิชชา 8

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 09 ตุลาคม 2562 ( 08:38:06 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:05:13 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:28:07 )

สมาธิของพระพุทธเจ้า

รายละเอียด

ความเป็นสมาธิของพระพุทธเจ้าจึงเป็นจิตที่เร็วคล่องแคล่ว สว่าง ทำงานได้มากด้วย กัมมัญญาได้ดีได้เหมาะควรลงตัว  ประเสริฐมากยิ่งขึ้น จิตก็ยิ่งปริโยทาตา ประภัสสร ก็ยิ่งบริสุทธิ์สุดๆๆ ประภัสสรมากขึ้นก็สะสมความบริสุทธิ์ให้ยิ่งสะอาดบริสุทธิ์ มุทุก็ยิ่งคล่องแคล่วว่องไว เป็นกายปาคุญญตา เน้นภายนอกก็คล่องแคล่ว จิตปาคุญญตาก็คล่องแคล่วในจิต อย่างนี้เป็นต้น นี่คือธรรมะของพระพุทธเจ้า ดีนะที่มีหลักฐานพยัญชนะมีบาลีอธิบายซึ่งหลายตัว พจนานุกรมบาลีท่านไม่ได้แปลอย่างที่อาตมาแปล ตรงเสียทีเดียว แต่คล้ายๆ 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 28 กุมภาพันธ์ 2563 ( 10:34:52 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:11:22 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:33:38 )

สมาธิของพระพุทธเจ้า

รายละเอียด

มันไม่เข้าใจกัน สมาธิของพระพุทธเจ้าไม่ได้หมายความว่า มันต้องมาเพ่งอะไร ไม่ใช่เลย  สมาธิของพระพุทธเจ้ายิ่งไม่เพ่งเลย สมาธิของพระพุทธเจ้าคือ static ความมั่นคงของจิต แข็งแรงมาก อัปปนา พยัปปนา เจตโสอภินิโรปนา เรียกว่าสมาธิ ความตั้งมั่นของจิต ที่จะสังกัปปะ ตักกะ วิตักกะ สังกัปปะ ได้เร็ว มีมุทุภูตธาตุ ได้เร็วมาก เพราะฉะนั้นจะมีนิวเคลียส ถ้าเป็นลูกระเบิด พลังงานมันจะมหาศาล เหมือนลูกข่าง เร็วจี๋แล้วก็นิ่งสนิทเลย หมุนได้เร็ว ยิ่งกว่าโลกอีก นิ่งยิ่งกว่าโลกอีก นิ่งสนิทเลย มันมีสภาพคู่ มีสภาพทั้ง static และ dynamic ที่ลงตัวกัน เป็น cyclic order ที่สุดยอด พลังงานจิตวิญญาณวิเศษ อะไรก็เร็ว แววไวมาก ปฏิภาณ การรับสัมผัสอะไร เร็ว ไม่ใช่ยิ่งเฉื่อย ยิ่งช้าอะไร ไม่ใช่สมาธิอย่างนั้น ทุกอย่าง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไว สมาธิของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ไปแข็งทื่อ นิ่งเฉย  ไปฝึกตรงกันข้ามกัน ได้ฝึกสมาธิของ meditation ไปฝึกตรงกันข้ามกับการฝึกของสัมมาสมาธิ พวกนักโต้วาที พร้อมจะตอบโต้ เก่ง วจีวิญญัติ

ที่มา ที่ไป

การสนทนาธรรมกับพ่อครู สมาธิพุทธเร็วจี๋และนิ่งสนิท บ้านราช วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม 2562


เวลาบันทึก 11 มกราคม 2563 ( 13:14:24 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:06:00 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:29:24 )

สมาธิของพระพุทธเจ้า

รายละเอียด

คือ  เป็นสมาธิไม่ได้มีเกิดได้ง่ายๆต้องเจอหลังจรณะ 15 วิชชา 8 เป็นจิตที่ตั้งมั่นจะต้องเป็นจิตที่อุเบกขาจิตที่สะอาด บริสุทธิ์ ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา สั่งสมตกผลึกเป็นอนุรักษ์ขนาปธานตั้งมั่น แข็งแรง กันนั่นแหละคือสมาธิ ทำสมาธิของศาสนาพุทธไม่ได้ง่ายๆตื้นๆ มันไกลจากสภาวะปรมัตถ์ เป็นจิตเจตสิก ที่จะสั่งสมจิตที่ไม่มีกิเลสไม่มีนิวรณ์ สะอาดแล้วตกผลึกแล้วมารวมตกผลึก จับตัวกันตั้งมั่นแข็งแรง มันไกลหลายโยชน์กับสมาธิของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ไม่มีสมาธิอวดอุตตริมนุสสธรรมว่าเป็นสมาธิ นี่แหละความเสื่อมของศาสนาพุทธ อาตมาเข้าใจสมาธิของศาสนาพุทธ พยายามจะอธิบายและพาให้คนเกิดสมาธิของพระพุทธเจ้า สมาธิไม่ใช่การนั่งหลับตาปฏิบัติได้สมาธิ คือชีวิตที่ทำจิตใจเราสะอาด เป็นอุเบกขาได้อุเบกขา สั่งสมตามบารมีในฐานะพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ หรือสูงกว่าพระอรหันต์ก็สั่งสมไปได้ ก็มีผลจริงในพวกเรามีของจริงได้อาศัย

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช  วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 24 พฤศจิกายน 2562 ( 12:51:45 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:07:28 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:30:30 )

สมาธิของพระพุทธเจ้า

รายละเอียด

เป็นของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่าสมาธิ คือ การที่จิดตั้งมั่นไม่ใช่เพียงแค่จิตที่เป็นหนึ่งเท่านั้นนะ สมาธิ แต่เป็นจิตที่อุเบกขาจากสิ่งที่ต้องการให้หมดสุข หมดทุกข์ จิตจะมีคุณสมบัติ ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา

ที่มา ที่ไป

พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 23 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 06 ธันวาคม 2562 ( 15:22:01 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:08:48 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:31:09 )

สมาธิของพระพุทธเจ้า

รายละเอียด

จิตที่ตั้งมั่นสั่งสมปฏิบัติอย่างถูกต้องแล้ว ก็ได้ผลสะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสจริงๆ ถึงขั้นไม่มีอาสวะถอนอาสวะสิ้น จิตสะอาดก็ตกผลึก อเนญชา ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว อนุรักขนาปธาน เป็นจิตที่ตั้งมั่นสมบูรณ์แบบ

ที่มา ที่ไป

พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 23 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 06 ธันวาคม 2562 ( 15:41:21 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:09:24 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:31:33 )

สมาธิของพระพุทธเจ้า

รายละเอียด

สมาธิของพระพุทธเจ้า ยิ่งเร็ว ยิ่งแรง ยิ่งนิ่ง ยิ่งสงบ คำว่าสมาธิจึงไม่ใช่ยิ่งเมายิ่งอ่อน ยิ่งแข็ง ยิ่งแน่นไม่ใช่ แต่สมาธิของพวกนั้นเป็นสมาธิที่มีพลังงานมหาศาล 
“ศีล-สมาธิ-ปัญญา”นี้ จะปฏิบัติได้ผล“อธิศีล-อธิจิต-อธิปัญญา-อธิมุตโต”ไปตามลำดับ และเกิด“วิมุตติ”ไปเป็นขั้นๆ เป็นเรื่องๆ 1.เมื่อผลของ“ศีล”นั้นทำให้“จิต”สะสมผลได้“อธิจิตตั้งมั่น”เข้าขั้น“สมาธิ”ครบรอบต้น “อธิปัญญา”ก็รู้แจ้งรู้จริงในผลที่สั่งสมตกผลึกเป็น“สมาธิ”รอบต้นนั้นไปตามลำดับ จนกระทั่ง “ศีล”ข้อนั้นปฏิบัติจนมีผลทำให้“จิต”สะอาด บางจางจากกิเลสไปเรื่อยๆ และควบแน่นเข้าๆ กระทั่ง“ตั้งมั่น”เป็น“ขั้นกลาง” และที่สุด“ตั้งมั่น”เป็น“ขั้นปลาย”เรียกว่า “วิมุตติ” ก็จะมี“อธิปัญญา” ตามรู้ใน“อธิ”ต่างๆทั้งหมดนั้นๆไปด้วยตลอด จนที่สุด อะไรจะมาหักล้างอีกไม่ได้เลย

กิเลสหมดเกลี้ยงก็รู้จักรู้แจ้งรู้จริงว่า“กิเลสเกลี้ยง”ด้วย“อธิปัญญา”นั่นเอง เรียก“ผล”สุดท้ายนั้นว่า “วิมุตติญาณทัสสนะ”ใน“สมาธิ”นั้น“ศีล-สมาธิ-ปัญญา-วิมุติ-วิมุตติญาณทัสสนะ”นั้นคือ “กระบวนการ(process)”ที่เป็น “สภาพหมุนรอบเชิงซ้อน(ปฏินิสสัคคะ)” สอดซ้อนสานกันไปอย่างเป็นระบบ ลาด ลุ่ม ลึก ละเอียดราบเรียบอย่างน่าอัศจรรย์จริงๆ

ถ้าผู้ปฏิบัติมี“กระบวนทัศน์(paradigm)”ที่มี“ขั้นต้น-ขั้นกลาง-ขั้นปลาย”และปฏิบัติเป็นลำดับเข้าขั้น“สัมมาทิฏฐิ”ตาม“ทฤษฎี”(ทิฏฐิ)ของ“ศีล-สมาธิ-ปัญญา”พระพุทธเจ้า

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม 2562


เวลาบันทึก 13 กุมภาพันธ์ 2563 ( 16:00:54 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:10:20 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:33:01 )

สมาธิของพระพุทธเจ้า

รายละเอียด

สมาธิของพระพุทธเจ้านั้นไม่ได้หมายเอากายกรรมไม่แรงไม่ฟุ้งออกไปมาก หรือไม่หลับต้องมีสติเต็มร้อย ของพระพุทธเจ้านั้นเอาที่กิเลสไม่มี ถ้าจิตมันจะสงบมันก็คือกิเลสหมดแรง กิเลสลดความแรงลง จนกระทั่งกิเลสไม่มีกิเลสหมดฤทธิ์เลยตายสนิท นั่นคือสรุป แสดงภาพที่ประโยชน์ควรจะแรงจะพูดดังเท่าที่ควรจะพูดให้เป็นประโยชน์ จะคิดอย่างเร็ว อย่างไว อย่างแรงตามเท่าที่คุณเองไม่เดือดร้อนก็คิดไปเลย ไม่ว่าจะอย่างไรก็คิดได้คือไม่มีกิเลสนี่คือประเด็นโดยไม่มีกิเลส

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 31 มีนาคม 2563 ( 09:06:14 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 04:32:19 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:34:35 )

สมาธิของพระพุทธเจ้า

รายละเอียด

สมาธิก็เป็นประมุข ของพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าของท่านต้องมี เจโตปริยญาณ 16 สามารถรู้ชัดเจนว่าหมดกิเลสเป็น สมาหิโต แล้วมีวิมุติ มีวิมุติญาณทัสนะ ตรวจสอบด้วยสัญญากับกาย ด้วยวิญญาณเป็นวิญญาณฐีติ 7 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 10 ออกจากกาละได้โดยใช้ มูลสูตร10 และวิญญาณฐิติ 7 วันจันทร์ที่ 23 มกราคม 2566 ขึ้น 2 ค่ำเดือน 3 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 17 กุมภาพันธ์ 2566 ( 12:10:54 )

สมาธิของพระพุทธเจ้า

รายละเอียด

เพราะฉะนั้น ในเรื่องเวทนาที่ สโม สรณา ภวันติ ทำให้มันรวมลงมาเป็น 1 ได้นี่สุดยอด รวมลงเป็นอุเบกขาหรืออุเบกขินทรีย์ เป็นที่ลง เป็นที่จบ 

“อุเบกขา” ท่านมีคำคล้ายหรือคำแทน เรียกว่าเป็น Synonym เป็นคำที่ใช้แทน แทนอย่างลำลองนะ ยังไม่ถูกต้องทีเดียว คือคำว่า “ไม่ทุกข์ ไม่สุข” อุเบกขานั้นมันมีลักษณะไม่ทุกข์ไม่สุข แต่คำว่า “ไม่ทุกข์ไม่สุข” นี้ยังไม่ใช่ความสมบูรณ์แบบ อุเบกขานี่คือ จิตมันเหนือชั้นกว่า ไม่ทุกข์ไม่สุขแบบโลกีย์เขาก็มี เขากดข่มจิต จนกระทั่งสามารถมีพลังอำนาจ กดข่มได้ดี จนสัมผัสแล้วก็ไม่เกิดทุกข์สุขได้ เขาทำได้เหมือนกัน  ยิ่งหลับตาก็ไม่ทุกข์ไม่สุข แต่มันไม่ได้ล้างเหตุ คือกิเลส ไม่ได้ดับเหตุจนสิ้นอาสวะหมดเลย มันไม่ได้ล้าง เขาใช้กันมาไง เราหยิบของเขามา ซึ่งมันไม่ใช่ อาตมาก็บอกแล้ว 

เขาก็ผัสสะได้นะ ผัสสะไม่ทุกข์ไม่สุข เขาก็ทำได้ ทนได้ เขาก็ว่าของเขาทำได้นะ แต่ของเขาไม่รู้รายละเอียดที่มันเป็นเหตุปัจจัยองค์ประกอบที่สมบูรณ์แบบก็ทำไม่ได้ มันยังเป็นโลกียะอยู่มันกลับได้ แต่ของพระพุทธเจ้านั้นทำให้เหตุคือกิเลส มันดับไปเป็นลำดับๆ หมดเกลี้ยงแล้วมันไม่รู้จะเอาอะไรมามี มันหมดไปจริงๆ มันไม่เกิดอีก ไม่มีอีก ซึ่งมันต่างกัน ใช้ภาษาพูดก็ได้แค่นี้ 

เพราะฉะนั้นเมื่อเวทนามันสะอาดขึ้นเป็น”ปริสุทธา” จริงๆ นี้ สั่งสมเป็นจิตทั้งหมด เรียกว่า สมาธิของพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นสมาธิของพระพุทธเจ้าจึงเรียกด้วยพยัญชนะว่า “สมาหิโต” ไม่ได้เรียกเป็น”เจโตสมาธิ” อย่างที่โลกียะเขาเรียก ในพรหมชาลสูตรท่านก็ใช้คำว่า เจโตสมาธิ แต่ในเจโตปริยญาณ 16 คำว่าสมาธินี้ คือคำว่า สมาหิโต

คำว่า”สมาหิโต” เป็นเจโตนะ ยังตบท้ายด้วยวิมุติอีกนะ เป็นอีกคู่หนึ่ง วิมุติ กับ อวิมุติ เป็นคู่สุดท้ายของเจโตปริยญาณ 16 นะ เป็นสภาวะในเจโตปริยญาณ 16 ผู้ที่มีสภาวะไม่ต้องไปท่องหรอก เจโตปริยญาณ 16 มันเป็นคู่ๆๆ 8 คู่ แล้วเป็นลำดับ 

เจโตปริยญาณ 16

1. สราคจิต  (จิตมีราคะ)  2. วีตราคจิต  (จิตไม่มีราคะ)  

3. สโทสจิต  (จิตมีโทสะ)  4. วีตโทสจิต  (จิตไม่มีโทสะ)  

5. สโมหจิต  (จิตมีโมหะ)  6. วีตโมหจิต  (จิตไม่มีโมหะ)  

นี้ 3 คู่ หรือ 6 ตัว เข้าไปแล้ว แล้วต่อไปเป็น สังขิตตัง …

7. สังขิตฺตํจิตตํ. (จิตเกร็ง-จับตัวแน่น หด คุมเคร่งอยู่) .  

8. วิกขิตฺตํจิตตํ . (จิตกระจาย-ดิ้นไป ฟุ้ง จับไม่ติด) 

มันเป็นสังกะตัง ว่าอย่างนั้น เพราะสาเหตุของมันคือมันไม่น่าจะยินดีต่อไปแล้ว เพราะว่าปฏิบัติธรรมมันต้องฝืนลดราคะ ลดโทสะ ลดโมหะ มีแต่เคร่งครัดตน มันก็เลยเริ่มจะปิด เริ่มจะกั้น มันก็เลยกลายเป็น สัง…

สังคะ คือเป็นกลุ่ม(ก้อนแข็ง) มันเป็น 2 ตระกูล ตระกูลศรัทธา ก็เป็นกลุ่มเจโต กับอีกตระกูล ตระกูลปัญญา แต่ไม่เป็นปัญญาก็กระจุยกระจายฟุ้ง มันเป็น 2 ลักษณะ  มันเป็นวิกขัมภนปหาน หรือวิกขัมภนะ กับสังขิตตัง อ้อ ไม่ใช่วิกขัมภน มันเป็น สังขิตฺตํจิตตํ กับ วิกขิตฺตํจิตตํ อีกคู่หนึ่ง(ในเจโตปริยญาณ 16)

ต่อจากนั้นก็ทำให้มันเจริญ หากมันจะจับตัวแน่นอีก มันก็ผิด หากมันฟุ้งกระจายจับไม่ติด มันก็ผิด กระจายอยู่ก็ต้องทำให้มันเข้าสัดเข้าส่วน หรือไอ้ที่(จับตัวแน่น)ตีไม่แตกก็ตีให้แตกออก ขยายออกให้ได้  ก็ใช้ภาษาไทยขยายความได้อย่างนี้ 2 ลักษณะธรรม

เมื่อทำได้ก็เป็น 9. มหัคคตจิต (จิตเจริญยิ่งใหญ่ขึ้น) เจริญขึ้น ถ้าไม่ได้ก็เป็น 10. อมหัคคตจิต (จิตไม่เจริญขึ้น) นี่ก็เป็นเจโตปริยญาณอีกคู่หนึ่ง 

ต่อจากนั้น ถ้าคุณทำได้ดีไปเลย เป็นมหัคคตะไปเรื่อยๆ เจริญขึ้นไปอีกเรื่อยๆ ก็เรียกว่าเป็น 11. สอุตตรจิต (จิตมีดีแต่ยังมีดียิ่งกว่านี้-ยังไม่จบ) 

นี้ สภาวธรรมเป็นอย่างนี้ อาตมาอธิบายพวกนี้สภาวธรรมทั้งนั้น ไม่ใช่ไปแปลตามพยัญชนะท่องมา อาตมาพูดอาจจะไม่เหมือนกันทีเดียว คำต่อคำ ขยายความแปลคำแปลขยายต่างกันไปบ้าง อย่างนั้นอย่างนี้ แต่จะรู้เพิ่มทุกเหลี่ยมทุกมุมไปเรื่อยๆ 

จาก 11. สอุตตรจิต แล้วท่านก็จะรู้ โอ๊ย! นี่มันยังไม่จบ แต่ยังมีจิตที่ดีกว่านี้อีก ยังไม่เป็น 12. อนุตตรจิต (จิตไม่มีจิตอื่นสูงยิ่งกว่า) ยังต้องทำให้ถึง 13. สมาหิตจิต (จิตตั้งมั่นเป็นประโยชน์ดีแล้ว) ทำให้ถึง 15. วิมุตตจิต (จิตหลุดพ้น)  จะต้องทำให้มันตั้งมั่นและมันหลุดพ้น อีก 2 คู่ 

13. สมาหิตจิต (จิตตั้งมั่นเป็นประโยชน์ดีแล้ว)  

14. อสมาหิตจิต (จิตยังไม่ตั้งมั่นไม่เป็นประโยชน์)  

15. วิมุตตจิต (จิตหลุดพ้น) 

16. อวิมุตตจิต (จิตยังไม่หลุดพ้นสิ้นเกลี้ยง) (พตปฎ.เล่ม 9 ข้อ 135)   

สมาหิตะคือจบเจโตปริยญาณ 16 ที่มีวิมุติเป็นแก่นเลย เป็นแก่นสุดท้าย คือมันหมดอาสวะสิ้นอย่างแท้จริง เป็นรากข้อที่ 8 มีวิมุติ ข้อที่ 9 อมตะบุคคล ข้อที่ 10 ก็ ปรินิพพานเป็นปริโยสาน อันนี้ก็ที่พระพุทธเจ้า ท่านตรัสมูลสูตร 10 เอาไว้ ตามรากเหง้า (พตปฎ. เล่ม 24 "มูลสูตร" ข้อ 58) มันจะลงตัวหมดทุกสูตรทุกหมวด มันจะขยายกัน

ที่มา ที่ไป

พ่อครูบวชมาครบ 53 ปี มีอะไรจริง พ่อครูเทศนาภาคค่ำ งานมหาปวารณา ครั้งที่ 41 วันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน 2566 แรม 9 ค่ำ เดือน 11 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 16 กุมภาพันธ์ 2567 ( 15:52:13 )

สมาธิของพระพุทธเจ้า ต่างจากสมาธินั่งหลับตา

รายละเอียด

สมาธิอย่างของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่สมาธิไปนั่งหลับตาเอา แต่สมาธิที่เป็นสมาธิที่เป็น สมาหิโต สมาธิที่จิตตั้งมั่นแข็งแรง เกิดจากการปฏิบัติลดละกิเลสจนสิ้นอาสวะ จิตก็ตกผลึกลงเป็นสมาธิเป็นจิตตั้งมั่น อธิบายขนาดนี้ก็น่าจะเข้าใจแล้วว่า สมาธิที่ไปนั่งหลับตาเอานั้น กับสมาธิที่เกิดจากเจโตปริยญาณ 16 มีสมาหิตะ สมาหิโต วิมุตะ วิมุตโต คนละอย่างกับสมาธินั่งหลับตา 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์งานมหาปวารณา ครั้งที่ 39 สร้างอาหารให้กับโลก วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2564 ขึ้น 4 ค่ำเดือน 12 ปีฉลู ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 13 พฤศจิกายน 2564 ( 11:09:29 )

สมาธิของพระพุทธเจ้าคือจิตสะอาดจากกิเลสอาสวะ 

รายละเอียด

การทำสมาธิกับการทำอะไรไม่ขาดสติไม่เหมือนกัน 

การทำอะไรไม่ขาดสตินั้นเป็นการสำรวมสังวรตน ทำอะไรอยู่ไม่ให้ขาดสติ 

ทีนี้ การทำสมาธินั้น ไม่ใช่มีแต่แค่การสำรวมสังวรไม่ให้ขาดสติอย่างเดียว สมาธิแปลว่าจิตตั้งมั่น โดยเฉพาะของศาสนาพุทธคือ สมาหิโต หรือ สมาหิตะ(เอกพจน์) คือจิต จะเป็นหนึ่ง สะอาดบริสุทธิ์หนึ่งเดียว ตกผลึกลงไปๆ จิตที่จะเป็น สมาหิโต หรือ สมาธิของพระพุทธเจ้านั้นคือ จิตสะอาดจากกิเลสอาสวะ 

จิตบริสุทธิ์ ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา ถึงขั้นอุเบกขา บรรลุถึงขั้นฌาน 4 เป็นจิตบริสุทธิ์จากกิเลสแล้ว แล้วก็ตกผลึก สะสมๆๆเข้า เป็น อาเนญชาภิสังขาร คือ เป็นจิตที่ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวแล้ว ผนึกเข้า มากเข้า แน่นเข้าๆ อัปปนา พยัปนา เจตโสอภินิโรปนา บาลีอยู่ในกระบวนการสังกัปปะ7

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาพาปฏิบัติเป็นลำดับอย่างไม่กดข่ม วันพุธที่ 16 มีนาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 23 มีนาคม 2565 ( 15:55:56 )

สมาธิของพระพุทธเจ้าต้องมีอปัญกธรรม 3

รายละเอียด

ถ้าคุณปฏิบัติไม่มีสำรวมอินทรีย์ 6 โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยคะ เป็นการตื่นไม่ใช่การหลับตื่นลืมตา ไม่ใช่ไปหลับตา 3 ข้อนี้ก็เห็นผิดกันแล้ว เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่ศาสนาพุทธ สมาธิที่เกิดจาก 3 ข้อนี้ ไม่มีไม่ใช่ของพุทธ ปฏิบัติตามข้อใดจึงจะเกิดสัทธรรม 7 เกิดศรัทธา  หิริ โอตตัปปะ  พหูสูตร วิริยะ สติ ปัญญา สั่งสมเป็นฌาน 4 และวิชชา 8  เมื่อเกิดฌาน 4 และวิชชา 8 เป็นอาสัวกขยญาณ ที่เป็นวิชชาสุดท้าย หมดมีญาณที่สิ้นอาสวะเกลี้ยง จิตอย่างนั้นจึงตกผลึกเป็นจิตที่อเนญชา ควบแน่เป็นจิตที่แข็งแรงอัปนา  พยัปปนา  เจตโสอภินิโรปนา นี่คือสมาธิของศาสนาพุทธต้องมีศีล ต้องมี อปัณกรรม 3 จึงเกิดสัจธรรม 7 ฌาน 4 วิชชา 8  หลับตานั้นไม่มีอปัณกรรม 3  โมฆะจากศาสนาพุทธ ปฏิบัติผิด

ที่มา ที่ไป

พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 23 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 06 ธันวาคม 2562 ( 15:45:20 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:13:25 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:35:16 )

สมาธิของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่าสมาหิโต เกิดได้อย่างไร

รายละเอียด

สมาธิของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่าสมาหิโต เกิดได้อย่างไร

เกิดได้ด้วยการปฏิบัติจรณะ 15 วิชชา 8 จนกิเลสหมดสิ้นเกลี้ยงอย่างแท้จริง จิตสะอาดบริสุทธิ์ตั้งมั่นเป็น สมาหิตัง สมาหิโต จิตสะอาดนั้นมีองค์ 5 บริสุทธิ์จากกิเลส พยัญชนะคือ ปริสุทธา

แล้วจะบริสุทธิ์สะอาดจากกิเลสไปมากยิ่งขึ้น ปริโยทาตา จิตก็ยิ่งเจริญขึ้นไปมุทุภูตธาตุ เป็นธาตุจิตที่เจริญ ทั้งแกน static, แกน dynamic เป็นสองสภาพ แกน static คือแกนเจโต, แกน dynamic คือแกนปัญญา ทั้งสองสภาพก็เจริญไปด้วยกันมากยิ่งขึ้น จึงเป็นจิตที่เจริญหาที่สุดมิได้เลย จะสุดสูงสุดก็ถือว่ามนุษยชาติทำได้เป็นสำเร็จสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นแหละ เจริญมุทุภูตธาตุ ดีที่สุดเก่งที่สุดเท่าพระพุทธเจ้า ถือว่าสุดยอดในความเป็นคนที่จะทำได้

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ระบอบการปกครองของมนุษย์ ที่สุดยอด วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม 2564 ที่บวรปฐมอโศก


เวลาบันทึก 21 มีนาคม 2564 ( 10:58:07 )

สมาธิของพระพุทธเจ้าปฏิบัติแล้วจะต้องมีจิตมีเจโตปริยญาณ 16

รายละเอียด

แล้วคุณไปมั่ว เอามรรคองค์ 8 ไปเป็นสมาธิ แค่นี้ เขาไม่เข้าใจหรอกในมหาจัตตารีสกสูตร ที่ พระพุทธเจ้าบอกว่า สัมมาสมาธิเป็นอย่างไร 

สัมมาสมาธิปฏิบัติมีองค์ทั้ง 7 เป็นเหตุเป็นบริขารเป็นองค์ประกอบ ปฏิบัติมรรคทั้ง 7 องค์จะเกิดสัมมาสมาธิ ฟังกันไม่ขึ้น ฟังกันไม่เข้าใจ หรือไม่ฟังสูตรนี้ไปฟังแต่สูตรอื่น อาตมาเคยถามว่า มีที่ไหนในพระไตรปิฎกให้นั่งหลับตาปฏิบัติ เช่น   อานาปานสติสูตร ที่บอกว่ามีการนั่งตั้งกายตรงดำรงสติคงมั่น แต่ว่าไม่ได้มีบอกว่าหลับตาหรือลืมตา แต่คุณเอาแต่หลับตา ทั้งที่ไม่มีในพระไตรปิฎกแต่คุณไปทำทำไม หลับตามันก็ผิดแล้ว ไม่มี คุณมาถาม 

อาตมาก็ถามว่ามีในพระไตรปิฎกไหมที่บอกว่าให้นั่งหลับตาปฏิบัติ ถ้าคุณมีไหวพริบก็จะบอกว่าไม่มี เมื่อไม่มีแล้วคุณไปนั่งหลับตาปฏิบัติทำไม 

สรุปแล้ว สมาธิของพระพุทธเจ้านั้นให้จริงที่สุดก็คือปฏิบัติแล้วจะต้องมีจิต มีเจโตปริยญาณ 16 ซึ่งจะสมบูรณ์ด้วย อนุตตรังจิตตัง ที่ประกอบด้วย สมาหิโตและวิมุติ เป็นคู่สุดท้าย ตรวจสอบว่าเป็นสมาธิตั้งมั่นที่หมดอาสวะแล้วหรือยัง หมดอาสวะแล้วเป็นวิมุติที่มีเศษส่วนยังเหลือหรือไม่ ตรวจวิมุติอีก อาตมาพูดไปก็คงจะเข้าใจยากสำหรับผู้ที่มีภูมิยังไม่เข้าถึง   ยังไม่เข้าใจสภาวธรรมอย่างนั้น

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ประสบการณ์พ่อครูในอิทธิปาฏิหาริย์และการออกป่า วันพุธที่ 22 มิถุนายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 สิงหาคม 2565 ( 05:48:54 )

สมาธิของพระพุทธเจ้าสงบแบบปัสสัทธิไม่ใช่สมถะ

รายละเอียด

คุณจะหาประโยชน์จากอะไรก็ได้จะตอบอีกเป็น 50 ข้อก็ได้ และคำว่าสมาธิที่คุณหมาย แต่สมาธิของพระพุทธเจ้าไม่เป็นเหมือนที่คุณหมายถึงเลย สมาธิของพระพุทธเจ้าไม่ใช่สมถะ สมาธิของพระพุทธเจ้าคือวิปัสสนา สมาธิของพระพุทธเจ้าเกิดความสงบที่เรียกว่าปัสสัทธิ ไม่ใช่สมถะ

ที่มา ที่ไป

พุทธศาสนาตามภูมิบ้านราช  วันศุกร์ที่ 10  มกราคม  2563


เวลาบันทึก 21 มกราคม 2563 ( 18:36:56 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:14:04 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:35:47 )

สมาธิของพระพุทธเจ้าเกิดจากลืมตา เกิดจากจรณะ 15 วิชชา 8

รายละเอียด

ตอบอย่างสูงสุดเลย คุณจะเคยติดมาก็เลิกไปเลย มาปฏิบัติธรรมอย่างที่อาตมาสอนนี้จะได้จิตที่เป็นสมาธิแบบศาสนาพุทธโดยตรง นั่งหลับตาสมาธินั้นเป็นสมาธินอกรีต   ที่สอนกันอยู่ทุกวันนี้ผิดทั้งนั้นเลย เป็นสมาธินอกรีต สมาธิของพระพุทธเจ้าเป็นสมาธิเกิดจากการลืมตาเกิดจากจรณะ 15 วิชชา 8 สะสม ฌาน 4 ในจรณะ 15 ไม่ใช่ฌานแบบนั่งหลับตา ฌาน ของศาสนาพุทธต้องเกิดจากการลืมตาปฏิบัติมีสังวรศีล  สำรวมอินทรีย์ โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยคอยู่ในจรณะ 15

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋บ้านราช วันจันทร์ที่ 20 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 01 กุมภาพันธ์ 2563 ( 12:54:23 )

เวลาบันทึก 16 สิงหาคม 2563 ( 13:22:49 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:58:51 )

สมาธิของพระพุทธเจ้าเรียกว่าสมาหิตะหรือสมาหิโต

รายละเอียด

ทีนี้ คำว่าสมาธิของพระพุทธเจ้าท่านใช้ศัพท์ของท่านว่า สมาหิตะหรือสมาหิโต พยัญชนะนี้อยู่ใน เจโตปริยญาณ 16 แปลว่า จิตตั้งมั่นดังที่เขาหมายถึง อย่างเดียวกัน แต่ไม่ต้องไปหลับไม่ต้องไปสะกดจิตไม่รับรู้นิ่งแน่นนาน ไม่ใช่อย่างนั้น

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธ‌ศาสนา‌ตาม‌ภูมิ‌ ‌ชาติ‌ ‌5‌ ‌พา‌พ้น‌ขิฑฑาป‌โท‌สิ‌กะ‌และ‌มโน‌ป‌โท‌สิกะ‌ ‌วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 31 ธันวาคม 2564 ( 13:14:28 )

สมาธิของพระพุทธเจ้าเอาเจโตปริยญาณเป็นหลัก

รายละเอียด

ฌาน ของพระพุทธเจ้านั้นลืมตา สมาธิ ของพระพุทธเจ้านั้นยิ่งลึกซึ้ง สมาหิโต ที่อาตมาเคยขยายความไปแล้ว สมาธิของพระพุทธเจ้า เอา เจโตปริยญาณเป็นหลัก ต้องรู้จัก ราคะโทสะโมหะ แล้วทำให้ราคะ โทสะ โมหะไม่มี ทำให้ได้เป็นคู่ๆ แล้วจะได้ ได้วิกขิตตังจิตตัง กับ สังขิตตังจิตตัง แล้วไปสู่ มหัคตะ อมหัคตะ แล้วคู่ อนุตระ สอุตระ ไป สมาหิโต กับ อสมาหิโต แล้ววิมุติ อวิมุติ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ความมหัศจรรย์ของพระธรรมวินัยข้อที่ 1 กับข้อที่ 8 วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 21 ธันวาคม 2564 ( 05:33:37 )

สมาธิของพระพุทธเจ้าไม่ใช่เอาจิตเลอะเทอะมาสะกดไว้

รายละเอียด

สมาธิของพระพุทธเจ้านั้นคือเอาจิตสะอาดจากอาสวะ เคยอธิบายมาแล้ว ปฏิบัติจิตให้สะอาดจากอาสวะแล้ว ไม่มีอาสวะแล้ว นั่นคือจิตสะอาด มาตกผลึกสั่งสมลง หากเอาจิตเลอะเทอะมาสะกดไว้นั่งสะกดจิตไว้ สั่งสมไว้ มันจะเป็นจิตที่สะสมไว้ทำไมล่ะ ขยะอะไรก็สะสมไว้หมด ให้เอาจิตสะอาดจากกิเลสจริงๆ ถึงขั้นอนุตตรังจิตตัง ไม่มีจิตอื่นดีกว่านี้อีกแล้วเป็นอุเบกขา ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา จิตนั้นแหละ สั่งสมลงเป็นจิตที่ตั้งมั่น จิตที่ตกผลึก แข็งแรงเป็น อาเนญชา มากยิ่งขึ้น ยิ่งขึ้น 

จิต  อย่างนี้ต่างหากเป็นจิตสมาธิของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่เป็นสมาธินั่งหลับตา  ขยะอะไรก็สะสมเข้าไป กดเข้าไป กองเข้าไป ถมเข้าไป สุมเข้าไป แน่นเข้าไป พูดอย่างนี้ชัดเจนไหมเลิกเถอะไปนั่งหลับตา มาปฏิบัติธรรมให้ถูกต้องตามที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ แล้วจะเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ อย่างนั้นมันเลอะเทอะ ไปได้แต่อิตถีปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์แล้วเพ้อเจ้อฟุ้งซ่านอะไรกันไป เห็นแล้วก็น่าสงสารจริงๆ เฮ้อ! เมื่อไหร่จะสัมมาทิฏฐิ เมื่อไหร่จะเข้าใจ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปฏิบัติ รูป 28 ในสติปัฏฐาน 4

วันพุธที่ 21 กันยายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 10 ตุลาคม 2565 ( 16:22:23 )

สมาธิของพุทธ

รายละเอียด

คือฟังให้ดี  เขาอวดอุตตริมนุสสธรรมกันเลอะเทอะ คำว่า สมาธิก็ดี คำว่าบุญก็ดี แม้แต่กรรมการ ต้องมี รูป นาม หมายถึง ธรรมะ 2 ก็ผิดไปหมด

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช ครั้งที่ 79 วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 28 พฤศจิกายน 2562 ( 15:06:54 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:22:42 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:42:36 )

สมาธิของพุทธ

รายละเอียด

คือเป็นจิตที่ตั้งมั่นในความปราศจากกิเลสอย่างที่ใช้บ่อย คือ นิจจัง(เที่ยงแท้) ธุวัง(ถาวร) สัสตัง  (ยืนนาน)  อวิปริณามธัมมัง(ไม่แปรเปลี่ยน) อสังหิรัง  (ไม่มีอะไรหักล้างได้)  อสังกุปปัง(ไม่กลับกำเริบ)  นัตถิอุปมา  นี่คือจิตที่สงบตั้งมั่น แข็งแรง ตกผลึก  เป็นแกนให้กับศาสนาเป็นเสาเข็มที่แทงไปถึงแกนของโลกเลย

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช ครั้งที่ 79 วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 28 พฤศจิกายน 2562 ( 15:13:09 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:23:57 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:43:00 )

สมาธิของพุทธต้องปฏิบัติตามลำดับอย่างไร

รายละเอียด

สมาธิของพระพุทธเจ้านั้นจะต้องปฏิบัติไปตามลำดับ หนึ่ง ปฏิบัติศีลเบื้องต้น จากศีลก็มีกายวาจาใจ กายสามข้อ วจีหนึ่งข้อ ใจหนึ่งข้อ เรียกว่าศีล 5 ปฏิบัติศีล 5 นี้ให้จิตเป็นสมาธิ ก็เป็นโสดาบันไม่ใช่ว่าปฏิบัติสมาธินั่งหลับตาแล้วเป็นพระอรหันต์เลย ไม่ใช่ ต้องมีองค์ประกอบด้วยศีล ถ้าไม่มีองค์ประกอบด้วยศีลเป็นลำดับๆอย่างมหัศจรรย์ ไม่เป็นขั้นตอนเบื้องต้นท่ามกลางบั้นปลาย ก็เละ สมาธิขั้นแรก จิตสงบจากกิเลส มีศีล 5 เป็นเบื้องต้น ก็เป็นโสดาบัน ศีล 8 เป็นสกิทาคามี ศีล 10 เป็นอนาคามี ศีลนอกนั้นไปเป็นศีล 26 เป็นพระอรหันต์ได้เลย

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันจันทร์ที่ 15 มกราคม 2561


เวลาบันทึก 21 กุมภาพันธ์ 2564 ( 15:27:58 )

สมาธิของพุทธที่เป็นโลกุตระใช้คำว่า สมาหิโต

รายละเอียด

ขออธิบายเข้าสู่ศีลสมาธิปัญญา การศึกษาพระพุทธเจ้าเรียกว่าไตรสิกขาเป็นคำสรุปที่จริงคืออธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เกิดอธิมุติ เกิดวิมุตติญานทัศนะเกิดความสะอาดของจิตตกผลึกเป็นสมาธิ พระพุทธเจ้าใช้คำว่า สมาหิโต 

คำว่า สมาธิเป็นคำกลางๆเป็นภาษาทั่วไปดาษดื่นใช้กันทั่วไปกลางๆ ซึ่งเป็นของฤาษีแต่ถ้าเป็นของพระพุทธเจ้านั้นก็มี จะเรียกว่าสมาธิก็ได้แต่มันพิเศษมันไม่เหมือนกันกับของเขา ของเขาที่เรียกว่าสมาธินั้นเป็นของโลกียะ แต่ของพระพุทธเจ้านั้นเป็นโลกุตระ บรรลุเสร็จท่านก็เรียกว่า สมาหิโต แปลว่าจิตตั้งมั่นแล้ว

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ระบอบการปกครองของมนุษย์ ที่สุดยอด วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม 2564 ที่บวรปฐมอโศก


เวลาบันทึก 21 มีนาคม 2564 ( 10:56:44 )

สมาธิของพุทธมันเกิดจากจรณะ 15 วิชชา 8

รายละเอียด

แล้วสั่งสมจิตใจที่สะอาดตกผลึกเป็น ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา.. เดี๋ยวนี้เข้าใจผิดเอาของเดียรถีย์มาอธิบายสมาธิหมดเลยทั้งประเทศ ทั้งเถรสมาคมเลยขอพูดเช่นนั้น ซึ่งมันผิดหมดเลยสมาธิของพวกนั้นเกิดจากจรณะ 15 วิชชา 8 แล้วเกิดผลสะสมตั้งมั่นเป็นสมาธิอย่างนี้เป็นต้น

ที่มา ที่ไป

รายการเอื้อไออุ่นออนไลน์ วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม 2563


เวลาบันทึก 30 มิถุนายน 2563 ( 16:57:31 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 08:24:21 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:43:28 )

สมาธิของพุทธเป็น Supra Concentrate ไม่ใช่ Meditation

รายละเอียด

จริงๆแล้วศาสนาพุทธนี้ตรงกันข้ามกับ Meditation แต่ว่าเป็น Supra Concentrate ยิ่งจะไป Meditation ยิ่งจะช้ายิ่งหยุด ของพระพุทธเจ้านี้ทำการอาชีพ เป็นสัมมาอาชีพ มีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะตลอดเวลา เราจะมีองค์ธรรมสมาธิที่ดีที่สุดคือ จิตจะไม่มีตัวกิเลสกวน เรียกว่าจิตสะอาด จิตปราศจากตัวกวน จิตก็มีความเร็ว มุทุภูตธาตุ จิตก็จะบริสุทธิ์สะอาดอยู่ตลอดเวลา องค์ธรรมที่เป็นสมาธิของพระพุทธเจ้าสมบูรณ์จริง คือ ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุกัมมัญญา ทำกรรมการงานอะไรก็ดีที่สุดเลย ปภัสรา ผ่องใสอยู่อย่างเดิม นี่คือสมาธิของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ไปนั่งหลับตาแล้วไม่รู้เรื่องกรรมการงานอะไรทำงานอะไรก็ไม่ได้ ต้องเสียเวลาต้องหาสถานที่และต้องหยุดทุกอย่าง ไม่ใช่ สมาธิของพระพุทธเจ้าตรงกันข้ามหมดเลย Opposite

เพราะฉะนั้นแทบจะบอกได้ว่านั่งหลับตาทำสมาธินี่ ไม่ถูกเลยโยนทิ้งได้เลย ศาสนาพุทธไม่ใช่อันนี้เลย

ที่มา ที่ไป

พ่อครูสนทนากับท่าน Lopen Gembo Dorji แห่งภูฏาน

เรื่อง การพัฒนาโรงเรียนและการวางรากฐานพุทธศาสนาในระดับมัธยมศึกษา วันพุธที่ 19 ธันวาคม 2561 ที่ลานหินนั่งหน้าน้ำตกบวรสันติอโศก


เวลาบันทึก 13 มิถุนายน 2564 ( 20:53:24 )

สมาธิของพุทธเป็นอจินไตยอย่างไร

รายละเอียด

สมาธิไม่ใช่การสะกดจิต แต่เป็นสัมมาสมาธิ เป็นสมาธิที่ปฏิบัติลืมตาไปตามลำดับ สมาธิของพระพุทธเจ้านั้นเป็นอจินไตย เป็นฌานวิสัย พุทธวิสัย เข้าใจยาก รู้ไม่ได้ง่ายๆสมาธิของพระพุทธเจ้า แต่สมาธิของฤาษีชีไพร โลกียะดูไม่ยากหรอก เข้าใจไม่ยากหรอกไม่เป็นอจินไตยเลย แต่สมาธิของพระพุทธเจ้านั้นเป็นอจินไตย เป็นเรื่องที่คิดเอา เดาเอาไม่ได้ คาดคะเนเอาไม่ได้ ผู้บรรลุความเป็นสัมมาสมาธิของศาสนาพุทธแล้ว จึงจะรู้ด้วยตัวเองเป็นปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันจันทร์ที่ 15 มกราคม 2561


เวลาบันทึก 21 กุมภาพันธ์ 2564 ( 15:26:12 )

สมาธิของพุทธเรียกว่า สมาหิโต 

รายละเอียด

นี่สมาธิของพระพุทธเจ้าอยู่ตรงนี้ ไม่ใช่ไปนั่งหลับตาจึงได้ฌานสมาธิ มันก็เป็น ฌาน แท้ฌานจบ อุเบกขาเป็นฌานที่ 4 จึงนับเอาบริสุทธิ์ปริสุทธาเป็นตัวแรก ในกระบวน 5 ของอุเบกขา  ปริสุทธา ปริโยธาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา จึงจะมาสั่งสมเป็นสมาธิ นี่คือสมาธิของศาสนาพุทธเรียกว่า สมาหิโต 

สมาธิเป็นคำที่ใช้กลางๆ จนกระทั่งฟั่นเฝือเลอะเทอะ ของพระพุทธเจ้านี้ สมาหิตะหรือสมาหิโต สั่งสมลง ต้องทำจิตอุเบกขาให้ได้เสียก่อน จึงจะมารวมเป็น อัปปนา พยัปปนา ตกผลึกลง แน่วแน่ แนบแน่น เจตโสอภินิโรปนา เป็นลำดับลำดา 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปฏิบัติจรณะ 15 พาให้พ้นสวรรค์คนโง่ วันพุธที่ 3 มีนาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 15 มีนาคม 2564 ( 15:14:25 )

สมาธิของพุทธเรียกสมาหิโต มีปัญญา มีเจโตปริยญาณ 16

รายละเอียด

ที่อาตมาใช้คำนี้เลย พิพากษาว่า การหลับตานั่งสมาธิเป็นมิจฉาทิฏฐิ มันไม่ใช่สมาธิของพุทธ ไม่ใช่สมาธิที่ได้จากโพธิปักขิยธรรม 37 หรือว่าไม่ได้ตามจรณะ 15 วิชชา 8 มันไม่ใช่สมาธิแบบพุทธ ก็รู้กันอยู่ทั่วโลกว่ามีสมาธิ​ แล้วเขาก็ทำสมาธิอย่างที่รู้กันทั่วไป​ มันเป็นสมาธิโลกีย์ เราก็เข้าใจและเห็นจริงว่ามันมีอยู่แล้วสมาธิแบบนั้น 

แต่สมาธิของพระพุทธเจ้านั้น มันเป็น อจินไตย เป็นฌานวิสัย ไม่ใช่ว่าพูดแล้วจะเข้าใจได้ง่ายๆ ความเป็นสมาธิของพระพุทธเจ้านั้นไม่ใช่ง่ายที่คนจะเข้าใจ อาตมาก็ยังพยายามอธิบายทั้งเขียนทั้งบรรยาย มีหนังสือสมาธิพุทธเป็นเล่มเลย ยังรวบรวมไม่หมดที่เทศน์ไป​ ยังไม่ได้ต่อเล่ม 2 ต่างๆนานาสารพัดอธิบายมาตลอด 

คำว่าสมาธิแปลว่า​ จิตตั้งมั่น จริงๆแล้วจิตตั้งมั่นอาตมาก็สรุปแล้วว่าของพระพุทธเจ้าเป็น สมาหิโต ไม่ใช่สมาธิ​ แล้วเป็นได้อย่างไร มันต้องมีปัญญารู้จักเจโตปริยญาณ 16 จัดการเจโตปริยญาณ 16 ได้อย่างบรรลุความจริง​ บรรลุตาม จนถึง สมาหิโต ถึงขั้นวิมุติ ลงท้ายเป็นอนุตตรังจิตตังครบบริบูรณ์ 

ถ้าคุณเข้าใจสภาวะธรรมของเจโตปริยญาณ 16 ถ้าคุณเข้าใจตั้งแต่ 

1. สราคจิต  (จิตมีราคะ) 

2. วีตราคจิต  (จิตไม่มีราคะ) 

3. สโทสจิต  (จิตมีโทสะ) 

4. วีตโทสจิต  (จิตไม่มีโทสะ) 

5. สโมหจิต  (จิตมีโมหะ) 

6. วีตโมหจิต  (จิตไม่มีโมหะ) 

7. สังขิตฺตํจิตตํ. (จิตเกร็ง-จับตัวแน่น หด คุมเคร่งอยู่) . 

8. วิกขิตฺตํจิตตํ . (จิตกระจาย-ดิ้นไป ฟุ้ง จับไม่ติด)

9. มหัคคตจิต (จิตเจริญยิ่งใหญ่ขึ้น)  

10. อมหัคคตจิต (จิตไม่เจริญขึ้น) 

11. สอุตตรจิต (จิตมีดีแต่ยังมีดียิ่งกว่านี้-ยังไม่จบ) 

12. อนุตตรจิต (จิตไม่มีจิตอื่นสูงยิ่งกว่า) .

13. สมาหิตจิต (จิตตั้งมั่นเป็นประโยชน์ดีแล้ว) 

14. อสมาหิตจิต (จิตยังไม่ตั้งมั่นไม่เป็นประโยชน์) 

15. วิมุตตจิต (จิตหลุดพ้น) . . . 

16. อวิมุตตจิต (จิตยังไม่หลุดพ้นสิ้นเกลี้ยง) .

(พตปฎ. เล่ม 9   ข้อ 135) 

ถ้าคุณจะเข้าใจถึงวิชา ข้อจิตในจิต เจโตปริยญาณ 16 เข้าใจสภาวะอาการต่างๆ ที่อาตมาพูดนี่ไม่ได้พูดตามพยัญชนะเท่านั้นอาตมาพูดตามสภาวะที่อาตมามีจริงเป็นจริง ที่ชัดเจนว่า อาตมาบรรลุเจโตปริยญาณ บรรลุผ่านสิ่งเหล่านั้น เข้าใจแล้วไม่ได้ไปติดยึด ไม่ได้ไปมีความหลงเหลืออะไรจากเจโตปริยญาณ 16 นี้เลย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ความมหัศจรรย์จากพ่อครูผู้ตามรอยบาทพระศาสดา วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 17 พฤษภาคม 2565 ( 10:41:35 )

สมาธิของพุทธไม่ใช่ได้ง่ายๆอย่างไร

รายละเอียด

อาตมาอธิบายเสริมให้ฟังอีกว่าจิตสะอาดบริสุทธิ์ อธิบายคือฌาน 4 อธิบายอย่างสังโยชน์ก็จะต้องสิ้นอาสวะ สะอาดไม่มีอาสวะ แล้วจิตนั้นคือจิตที่สะอาดบริสุทธิ์ จิตที่บริสุทธิ์อันนี้แหละมาเริ่มต้นเป็นหน่วยของความบริสุทธิ์ เมื่อหน่วยของความบริสุทธิ์นี้ตกผลึก 1 หน่วย 2 หน่วย 3 หน่วย 4  หน่วย 5 หน่วยคุณทำไปก็จะได้ มันก็จะเป็นจิตที่สะสมลงตั้งมั่นเป็นจิตตั้งมั่น ตัวนี้แหละ เริ่มเรียกว่าสมาธิของศาสนาพุทธ ฟังให้ดีนะสมาธิของพระพุทธเจ้าไม่ใช่ได้ง่ายๆ ไปนั่งหลับตาแล้วจิตนิ่งอยู่เรียกว่าสมาธิ อย่างนั้นเป็นโลกีย์โลกโลกเค้าใช้กันนั่งทำเล่นๆกันไปมันง่ายจะตาย 

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม 2563


เวลาบันทึก 18 พฤศจิกายน 2563 ( 10:44:06 )

สมาธิของสวนโมกข์

รายละเอียด

คำว่าสมาธิของสวนโมกข์ก็เป็นนั่งสมาธิหลับตาสะกดจิตแบบ เดียรถีย์ ยังไม่ได้เป็นสมาธิ สมาหิโต แบบของพระพุทธเจ้าที่เกิดจากจรณะ 15 วิชชา 8 ไม่ได้เกิดจากอันนี้ อาตมาจะยังอธิบายขยายความเรื่องสมาธิ นี่เป็นคำกลางๆทั่วไปที่ใช้นะ หรือจิตตั้งมั่น จิตตั้งมั่นของสากลทั่วไปทั้งโลกเป็นเจโตสมาธิหรือสมถะ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 22 ยุคนี้สมาธิชาวอโศกเกิดจากจรณะ 15 วิชชา 8 วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 08 มกราคม 2565 ( 21:45:28 )

สมาธิของเดียรถีย์กับพุทธต่างกันอย่างไร

รายละเอียด

ที่พูดมารายงานมาแสดงว่าเข้าใจธรรมะ ปฏิบัติธรรมอย่างนี้แหละศาสนาพุทธไม่ใช่ไปนั่งหลับตา หรือเดินจงกรม เดินจงกรมคือการออกกำลังบ้าง มันเป็นวิธีการสร้างสมถะอย่างหนึ่งการเดินจงกรม การนั่งหลับตาก็เป็นสมถะแต่ไม่ได้เป็นทางเอกของศาสนาพุทธ ทุกวันนี้ถูกปิดเบือนไปนั่งหลับตาสมาธิถือว่าอันนั้นเป็นทางเอกของศาสนาพุทธ อันนี้แหละเป็นประเด็นที่ผิด อาตมาไม่ได้รังเกียจการนั่งหลับตาทำสมถะ ไม่น่าจะเรียกว่าสมาธิของพุทธหรอกแต่ เป็นสมาธิของแต่ละทีเขาก็เรียกสมาธิเหมือนกัน ศึกษาให้ดี จะแยกให้ออกว่าอย่างไรเรียกว่าสมาธิของพุทธ อย่างไรเป็นสมาธิของเดียรถีย์ สรุปว่านั่งหลับตาสมาธินั้นไม่ใช่ของพูดเลยเป็นของเดียรถีย์แน่นอน ส่วนของพุทธนั้นลืมตาปฏิบัติด้วยไตรสิกขา หรือด้วย จรณะ 15 วิชชา 8 นี่เป็นสมาธิของพระพุทธเจ้า 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม 2563


เวลาบันทึก 30 สิงหาคม 2563 ( 12:10:54 )

สมาธิของเทวนิยม

รายละเอียด

คือ สมาธิไม่สัมมาทิฏฐิ หมดสิทธิ์บรรลุนิพพานก็ได้ประโยชน์สมาธิมิจฉาทิฏฐิ ตายแล้วก็วนเวียนอยู่อย่างนั้น มันไม่ได้จบในตัวมันแค่กดข่มไว้ หมดฤทธิ์หมดอำนาจมันก็วนเวียนกลับไปอีกไม่รู้กี่ล้านชาติ แต่ถ้าใช้ปัญญามันจะรู้จริงเหมือนกับเด็กมันรู้ว่าไฟมันร้อน ทีหลังมันก็จะไม่แตะไฟ เพราะมันร้อนมันรู้จริงๆนะ มันไม่เข้าท่า จะไปทำทำไม มันรู้อย่างเด็ดขาด แต่ถ้าคุณจะอนุโลมเพื่อประโยชน์ผู้อื่นจะเสียสละตนเพื่อประโยชน์ผู้อื่นแม้มาก คุณก็ทำสิ ถ้าคุณอยากจะทนถ้าคุณไม่อยากทนคุณก็ทำเท่าที่คุณทำได้ 

ที่มา ที่ไป

620821_พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช


เวลาบันทึก 18 ตุลาคม 2562 ( 12:24:52 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:27:38 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:45:25 )

สมาธิของเทวนิยมใช้วิธีสะกดจิตแต่สมาธิอเทวนิยมเรียนรู้เหตุแล้วดับเหตุ

รายละเอียด

คำว่า สมาธิของเทวนิยม จะต้องสะกดจิตให้เป็นแท่งเป็นก้อน แน่นนิ่งหนึบหนับอยู่อย่างนั้นไม่กระดิกอะไร ไม่ออกมา ใครก็เข้าใจ 

แต่ของพระพุทธเจ้าไปเอาเหตุตัวผี ตัวซาตาน ตัวร้าย ตัวกลิ ที่ทำให้จิตไม่แคล่วคล่องว่องไวไม่ปราดเปรียวออกจนจิตมีอิสรเสรีภาพ มีประสิทธิภาพ มีความประเสริฐสูงส่งยิ่งใหญ่ ไอ้ตัวนี้แหละ ตัวกลิ หยาบ กลาง ละเอียด เรียกว่ากิเลสทั้งหลายแหล่ ที่เป็นตัวการ 

ของพระพุทธเจ้าจึงเรียนรู้เหตุ ดับเหตุแล้วทุกอย่างดับหมด เหลือแต่สิ่งที่ประเสริฐ ไม่ต้องไปกดไปข่ม ของพระพุทธเจ้านั้น Dynamic ของฤาษีเทวนิยมมัน Static สรุปเข้าหาวิทยาศาสตร์ 2 ตัวนี้ จบ เทวนิยมอีกฟากโลกียะ จะไปจบที่แค่ Static ของพระพุทธเจ้าเป็น Dynamic และมี Static ด้วย มี 2 อย่าง 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธ‌ศาสนา‌ตาม‌ภูมิ‌ ‌ชาติ‌ ‌5‌ ‌พา‌พ้น‌ขิฑฑาป‌โท‌สิ‌กะ‌และ‌มโน‌ป‌โท‌สิกะ‌ ‌วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 01 มกราคม 2565 ( 20:12:45 )

สมาธิคือการทำจิตให้สูงขึ้นเจริญขึ้นใช่ไหม

รายละเอียด

ถูกต้อง เป็นคำอย่างนี้จริงๆ แต่ผู้รู้ไวยากรณ์ อาตมาไม่รู้สิ่งที่เขาตั้งมากัน อาตมาไม่ได้เรียนกับเขา ก็เลยไม่ได้ไปวิจัยวิจาร ตามเขา แต่พวกที่รู้บัญญัติภาษามากก็เลยรู้มากยากนาน ก็ไม่ได้เริ่มปฏิบัติ หรืออาจบอกตนเองว่า เรารู้มากไม่มีใครรู้เท่า ใครก็ยกย่องเราว่ารู้มาก เราก็เลยนึกว่าเราคงจะเป็นพระอรหันต์แล้วนี่ แต่มันไม่ใช่ ต้องแทงทะลุไปถึงอาการกิเลส ต้องดูอาการ ลิงค นิมิต ของตัวกิเลสจริงๆ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ผู้ไม่รู้ตัวเองไม่รู้ทั้งหมด ผู้รู้ทั้งหมด รู้ตัวเอง วันศุกร์ที่ 16 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 21 เมษายน 2564 ( 10:51:17 )

สมาธิคือการสะสมจิตที่สะอาดและบริสุทธิ์แล้ว

รายละเอียด

พลังงานฌาน จะต้องทำมาก่อน ทำเป็นขั้นตัดกิเลสจบ เมื่อทำเสร็จจบ บุญก็จบ ฌานก็มาจบบุญ แล้วสะสมลงเป็นสมาธิ สมาธิคือสั่งสมจิตที่สะอาดและบริสุทธิ์แล้ว จิตที่บริสุทธิ์ ฟังตรงนี้จะได้เข้าใจว่าสมาธิคืออะไร สมาธิคือการสะสมจิตที่สะอาด จิตที่ยังมีกิเลสอยู่นั้นมาสะสมไม่ได้ คุณเอา ฌาน 1 2 3 มาสะสมก็ไม่รู้ ฌาน 4 เอามาสะสมยังเป็นอุปกิเลสเลย วิปัสสนูปกิเลสเลย คุณจะเอาอุเบกขามาสะสมก็ไม่ได้

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 28 กันยายน 2563


เวลาบันทึก 16 พฤศจิกายน 2563 ( 11:35:14 )

สมาธิคืออาการอย่างไรของจิต

รายละเอียด

สมาธินั้นคือ จิตที่ล้างกิเลสออกไปหมด ก็คือล้างฌานนี่แหละ บุญจะกำจัดกิเลสออกหมด จนจิตสะอาดเป็นอุเบกขา จิตนั้นจึงจะมารวมกัน สั่งสมตกผลึกเป็นสัมมาสมาธิ 

ซึ่งจริงๆของพระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า สมาหิตะหรือสมาหิโต 

สมาธิเป็นภาษาทั่วไป แต่ของพระพุทธเจ้าเป็น สมาหิโต

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ สุภกิณหาอย่างพุทธดับสุดสิ้นอาสวะ วันพุธที่ 2 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 31 มกราคม 2564 ( 14:31:19 )

สมาธิจะเกิดจากจรณะ 15 วิชชา 8

รายละเอียด

เพราะฉะนั้น คำว่าสมาธิของพระพุทธเจ้า จึงไม่ได้ตื้นเขินว่าต้องมานั่งสะกดจิตว่าได้สมาธิแล้ว ได้ฌานได้สมาธิ แล้วสมาธิที่ได้ ได้อธิบายได้ละเอียดอย่างนี้ไหม และสมาธินั้นจะเกิดจากจรณะ 15 วิชชา 8 เกิดฌานแล้วเกิดอุเบกขา อุเบกขาคือ จิตสะอาดสะสม ปริสุทธา จิตสะอาดก็ ปริโยทาตา คือ สั่งสมจิตสะอาดไปอีก มุทุ จิตตัวนี้มันยิ่งเก่ง ยิ่งแคล่วคล่อง ยิ่งชัดเจน ยิ่งแข็งแรง ตัวนี้เป็นตัวแกนกลาง กัมมัญญากับปภัสสรา เมื่อมีแกนที่แข็งแรงแล้ว ออกไปทำงานอย่างไรก็ยังแข็งแรง ขึ้นอยู่กับว่าจะมีจิตที่เป็นแกน แข็งแรงขนาดใดก็จะยิ่งหมุนได้เร็วขึ้น ทำงานได้มากยิ่งขึ้นเร็วยิ่งขึ้นมีสมรรถนะสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้ทำไปอีก ความเป็นจิตบริสุทธิ์ ก็จะยิ่งบริสุทธิ์มากยิ่งขึ้น เรียกว่าประภัสรา รู้จักคำว่า ปภัสรากับปริสุทธาไหม ตัวต้นกับตัวท้าย มีความต่างกันไหม

ที่มา ที่ไป

รายการเอื้อไออุ่นออนไลน์ วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน 2563


เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 18:38:57 )

เวลาบันทึก 03 สิงหาคม 2563 ( 07:55:37 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:44:14 )

สมาธิจะเกิดได้ก็เกิดหลักการปฏิบัติศีล

รายละเอียด

แต่การทิ้งศีลแล้วไปนั่งหลับตาปฏิบัติคือพวกมิจฉาทิฏฐิเด็ดขาด พวกนั่งหลับตาสมาธิ สมาธิจะเกิดได้ก็เกิดหลักการปฏิบัติศีล เป็นข้อกำหนดไว้ แล้วก็ปฏิบัติ โดยหลักปฏิบัติมี 3 ข้อ ถ้าไม่ใช่ 3 ข้อนี้ก็ไม่ใช่ศาสนาพุทธ นั่งหลับตาจึงมองข้ามไปเลยไม่ใช่พุทธ เพราะทิ้งสามข้อนี้เลย อปัณณกปฏิปทา ท่านสอนธรรมะสอนศาสนาพุทธ ท่ามกลางเดียรถีย์นอกรีต ผู้ที่จะไปนั่งหลับตาออกป่าเขาถ้ำ ไม่มีสังวรศีลสำรวมอินทรีย์  โภชเนมัตตัญญุตา  ชาคริยานุโยคะ ก็คือโมฆะไปจากวิชชาจรณะ ก็ไม่เกิดฌาน 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 8 กรกฎาคม 2563


เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 10:20:42 )

สมาธิจะเกิดได้ต้องมีศีลเป็นพันธกิจ

รายละเอียด

ศีล การปฏิบัติศีลเกิดเป็นสมาธิจึงจะเจริญได้ (พ่อครูไอ ตัดออกด้วย) สมาธิจะเกิดได้ต้องมีศีลเป็นพันธกิจ ถ้าหากไม่มีศีลเป็นพันธกิจก็ไม่เรียกเป็นสมาธิของศาสนาพุทธ “สมาธิจะเกิดได้ต้องมีศีลเป็นพันธกิจ”…พ่อครู 7 พ.ย. 2561 เพราะสมาธิของพุทธมีหลักเกณฑ์ ศีลข้อ1 หลักเกณฑ์ของพระพุทธเจ้าว่าอย่าฆ่าสัตว์ มีใจกรุณามีเมตตา วางอาวุธวางศาสตรา หวังประโยชน์เพื่อสัตว์ทั้งปวงอยู่ นี่คือศีลข้อที่ 1 ผู้ใดมีสำนึก มีการสังวรมีตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจร่วมในทวารทั้ง 5 นี้ สัมผัสกับความเป็นสัตว์ เมื่อใดก็แล้วแต่สัตว์ใหญ่สัตว์เล็กสัตว์น้อยสัตว์ต่างๆ คุณก็ไม่ฆ่าสัตว์ วางศาสตรา วางอาวุธ มีใจเอ็นดูกรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ คุณได้สังวรดังนี้ก็เท่ากับทำอธิจิต ให้จิตเจริญขึ้น ด้วยศีลเป็นหลักเป็นเหตุ มีพันธกิจ ทำให้จิตเป็นแบบนี้มีปัญญามีความรอบรู้มีความเข้าใจประกอบ เป็นยาดำร่วมอยู่ว่า เราถือศีลสังวรศีลแล้วเราสำรวมอินทรีย์ทั้ง 5 ทั้ง 6 กายวาจาใจ ให้จิตมันเจริญ ปัญญาก็เจริญ จึงเกิดอธิมุติ อธิวิมุติ มันจึงเกิดการเจริญของความหลุดพ้น ของความเสื่อม ที่คนไม่รู้ไปทำวิมุติไม่ได้ คนทำให้วิมุติหลุดพ้นจากโลก ด้วยความไม่รู้เรื่องเขาไม่อยู่ในหลักเกณฑ์อะไรที่จะทำได้ ทำเป็นอำนาจกิเลส แย่งชิงทำ ศีลข้อที่ 2 ไม่เอาของที่ไม่ใช่ของของเราของที่เขาไม่ได้ให้ เราจะเอาแต่ของที่เขาให้ นอกนั้นเราก็จะสร้างทำเอา ของที่เขาให้ นอกนั้นเราก็สร้างสรรเอาเองแม้แต่ของส่วนรวม หากจะถือวิสาสะ ก็จะรู้ว่าใครหนอดูแลอยู่ คือไม่ได้ถือวิสาสะเกินไป อยากจะได้ข่าสวยๆอันนี้อยากได้กล้วย อยากได้แตง ได้ไหม ผู้ดูแลอยู่บอกว่าให้ก็เอา ผู้ดูแลบอกว่ายังไม่ได้ไม่ให้ก็ไม่เอา ก็ไม่เกิดคดีเกิดกรณีเกิดเรื่องราวไม่ดีอะไรก็เกิดความสงบดี อย่างนี้เป็นต้น นี่แหละคือการมีชีวิตอยู่อย่างมีหลักเกณฑ์ ศีล สมาธิ ปัญญา มีการสำนึกตื่นรู้

ที่มา ที่ไป

ทำวัตรเช้า วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน 2561


เวลาบันทึก 30 มกราคม 2564 ( 11:51:51 )

สมาธิจิต

รายละเอียด

จิตเป็นอย่างนั้นได้แล้ว จิตปราศจากความติดนั้น ๆ จิตว่างตลอดจากความวนเวียนอยู่กับการต้องเสพสุข เสพทุกข์เพราะสิ่งนั้นเรื่องนั้น ๆ

หนังสืออ้างอิง

(จากหนังสือทางเอก ภาค3 หน้า35)


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 15:07:18 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 13:49:35 )

สมาธิจิตตั้งมั่น

รายละเอียด

คือเมื่อปฏิบัติเด็ดขาด เป็น สมุจเฉท ทำซ้ำทำทวน เหตุปัจจัยใหม่ก็ทำใหม่ตามทฤษฏีนี้ เป็นปฏิปัสสัทธิ จนกระทั่งสมบูรณ์แบบเป็นสมาธิเป็นจิตตั้งมั่น ได้อย่างถาวรเป็นอัตโนมัติ  คุณทำอะไรนั้นทำจริง  อยู่ที่ปัจจุบัน  มโนปวิจาร 18  เราทำโลกียะให้เป็นโลกุตระ เป็นเนกขัมมะ 18 หลุดพ้น จากโลกียะ ทำเสร็จได้ผลเก่ง ก็ทำอย่างเก่งๆ นี้แหละทุกปัจจุบัน 36

ที่มา ที่ไป

รายการทำวัตรเช้า งานมหาปวารณา ครั้งที่ 37 บ้านราช วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 28 พฤศจิกายน 2562 ( 14:05:21 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:29:05 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:44:43 )

สมาธิถูกต้องสัมมาทิฏฐิ

รายละเอียด

เมื่อสามารถที่จะเข้าใจเรื่องจิตสมาธิได้แล้ว คุณก็จึงจะทำสมาธิ ได้ถูกต้องเป็นสัมมาทิฏฐิ ก็เกิดการทำจิตเป็นสมาธิ แล้วสั่งสมหากคุณไม่เข้าใจความสะอาดอย่างนี้ก็เอาอะไรไม่รู้มาสะสมที่เป็นของสกปรกให้มันแน่นเข้าไว้ แล้วจะเรียกว่าเป็นจิตสมาธิได้อย่างไร มันก็เป็นการหมักหมมเน่าในและคุณก็ไม่รู้ตัว ดังนั้นจึงจะต้องให้สะอาดจริงๆทำไปทีละอย่างตามศีลเป็นหลัก ในเรื่องเกี่ยวกับสัตว์ตั้งแต่สัตว์เล็กสัตว์ใหญ่สัตว์ที่เกี่ยวกับเราจนกระทั่งเป็นมนุษย์ จนกระทั่งเป็นมนุษย์ที่ดีผูกพันกับมนุษย์ที่ดีก็ยังดีนะ แต่ก็อย่าผูกพันแม้แต่เป็นมนุษย์ให้เพียงแต่อาศัยกันก็เกื้อกูลกันช่วยเหลือกัน อนุกัมปา เกื้อกูลกัน ช่วยเหลือกันถ้อยทีถ้อยอาศัยกันเกิดมาเป็นพ่อเป็นลูก เป็นลูกศิษย์เป็นครูช่วยเหลือกันไปอย่างนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้นสัจจะที่จะหมุนเวียนและมาเป็นประโยชน์แก่กันและกันอนุกัมปาจึงได้มีเยอะมาก 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 28 มีนาคม 2563 ( 16:44:42 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 04:31:28 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:46:20 )

สมาธิที่เกิดสมบูรณ์แบบนั้น คือ จิต ทำให้กิเลสหมดไป

รายละเอียด

สมาธิที่เกิดสมบูรณ์แบบนั้น คือ จิต ทำให้กิเลสหมดไป จิตสะอาด แล้วจึงเป็นจิตตกผลึกลงไป สะสมจิตสะอาด มีมากขึ้นก็มีกองจิตสะอาด ก็มีกลุ่มจิตสะอาดของเรามากขึ้น มากขึ้น มันก็มีประสิทธิภาพรวมตัวกัน เป็นปึกแผ่นของจิตสะอาด สะอาดจากอะไร สะอาดจากอาสวะ สะอาดจากกิเลสหมด ถ้ายังมีอาสวะ จิตจะเป็นสมาธิได้อย่างไร มันต้องให้จิตสะอาดปราศจากกิเลส กิเลสหยาบ กลาง ละเอียดอย่างไรก็แล้วแต่ ต้องให้มันสะอาดแล้วก็ตกลง จนกระทั่งเป็นจิต มาก แน่น มีมากพอ แน่นพอ จึงเรียกว่า สมาธิ หรือ สมาหิโต เป็นกิริยาช่องที่ 3 ของสมาธิ สมาหิโต เป็นการตั้งมั่นแล้ว เกิดได้อย่างไร เกิดจากการปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตวิมุตติญาณทัสสนะ หรือ ปฏิบัติ ศีล จรณะ 15 อปัณกธรรม 3 แล้วก็เกิดสัทธรรม 7 ฌาน 4 มีปัญญาคือ วิชชา ร่วมกันอยู่ตลอดสาย ในวิชชาจรณสัมปันโน เมื่อทำให้จิตล้างกิเลสได้ ดับอาสวะได้ จิตก็ตกผลึกลง ล้างอาสวะได้ จิตตัวปลายที่กิเลสหมดลงไปเป็นลำดับ คือจิตอุเบกขา มีองค์ธรรม 5ปริสุทธา บริสุทธิ์ปราศจากกิเลส ทำมากขึ้นก็มีปริมาณและคุณภาพมากยิ่งขึ้น ปริโยทาตา ประสิทธิภาพของจิต มุทุภูตธาตุจิตก็ยิ่งแววไว รู้กิเลสเร็ว ยิ่งทำให้กิเลสออกได้เร็วได้คล่องได้เก่งมากยิ่งขึ้น ทั้งเจโตและปัญญา สองนัยของมุทุภูตธาตุ ก็ยิ่งเก่ง จิตของคุณก็ยังมีความบริสุทธิ์ กรรมการกระทำต่างๆจึงประกอบด้วยอัญญา เรียกว่ากัมมัญญา การกระทำต่างๆที่ประกอบด้วย อัญญา หรือธาตุโลกุตระ เป็นธาตุปัญญา ธาตุเฉลียวฉลาด ก็กระทำการงานต่างๆได้ดีเพราะจิตมันมีมุทุภูตธาตุ จิตปริสุทธา ปริโยทาตา คม จิตสะอาด ก็ยิ่งอยู่ในภพภูมิของปภัสสร ยอดเทวดา ปภัสสรากับเทวดา เป็นเทวดาที่ผ่องใสสะอาด นี่พูดเป็นบุคลาธิษฐาน จิตสะอาด ใสสว่างมากยิ่งขึ้น สภาวะมันก็ลึกซึ้งขึ้น คุณฟังธรรมจะเข้าใจว่า ประสิทธิภาพของประภัสรา มันก็คือการรวมความสะอาดของ ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา รวมเป็นประภัสรา ท่านแปลในพระไตรปิฎก ประภัสราว่าผ่องแผ้ว ปริโยทาตา ว่าผุดผ่อง ซึ่งถ้าไม่ขยายความแล้วก็จะคิดว่าเหมือนกัน ก็เวลาผุดผ่อง มันผ่องก็แค่ผุดขึ้นมา แต่ผ่องแผ้วนี้มันผ่องแล้วมันแผ้ว มันก็สะอาดมากินขึ้นจริงไหมล่ะ เขาก็ใช้คำถูกเหมือนกันผุดของมันก็เริ่ม ผุดขึ้นมา แต่นี่มันผุดผ่อง ยิ่งผ่องมากขึ้นก็เลยยิ่ง แผ้วๆๆ แล้วทีนี้จิตที่เป็นอุเบกขาฐาน เป็นจิตฐานนิพพาน ต้องสร้างจิตไม่สุขไม่ทุกข์แล้วก็มีคุณสมบัติอย่างนี้ อาตมาว่าไม่มีใครมาพูดหรอกอยู่ในธาตุวิภังคสูตร อยู่ในพระไตรปิฎกเล่ม 14  ข้อ 690 อาตมาเจออันนี้ ที่จริงอาตมาเจอนี้มันไม่ใช่ภาษาบาลีหรอกเ จอในภาษาไทย พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยเจอแล้วท่านแปลว่า บริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อน ควรแก่การงาน ผ่องแผ้ว ท่านแปลบาลี 5 ตัวนี้อย่างนี้

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 5 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 04 กันยายน 2563 ( 09:40:15 )

สมาธิที่เป็นโลกุตรธรรม

รายละเอียด

มันมีคำที่ เป็นธรรมะพระพุทธเจ้าที่เป็นโลกุตรธรรม ที่อาตมาเอามาขยายซึ่งมันได้สูญหายผิดเพี้ยนไป ไม่มีผลต่อธรรมะพระพุทธศาสนาแล้ว ไม่มีผลต่อโลกุตรธรรมแล้ว เพราะมันเสื่อมหนักไปหมดแล้ว แม้แต่คำว่าบุญ คำว่ากาย คำว่าฌาน แม้แต่คำว่าสมาธิอย่างนี้ เป็นต้น 

คำว่า สมาธิ สมาธิจริงๆแล้ว เป็นภาษากลางๆ แปลเป็นไทยว่าจิตที่ตั้งมั่น หมายความว่า เรามีกองสมบัติ แล้วกองสมบัติของเราก็เป็นของเรา สมบัติที่จะเป็นของเราคือความบริสุทธิ์จากกิเลส ปริสุทธา ซึ่งเป็นองค์ธรรมของอุเบกขา ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา ทำจิต ให้บริสุทธิ์สะอาดจากกิเลส แล้วจิตนี้จะมาตกผลึกสะสมๆๆ เป็นสมบัติ เป็นจิตสะอาดทั้งนั้น สะอาดอย่างไม่ฟื้น สะอาดบริสุทธิ์ สิ้นอาสวะอย่างแท้จริง แล้วจิตสะอาดมาสะสมตกผลึกเป็นสมาธิ ท่านเรียกว่า สมาหิโต นี่คือจิตตั้งมั่น

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 18 วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 02 ธันวาคม 2564 ( 17:20:05 )

สมาธิที่ไม่ใช่พุทธ

รายละเอียด

สมาธิไม่ได้เกิดจากการไปนั่งหลับตา ไอ้นั้นก็ใช่ แต่ไม่ใช่สมาธิของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่สมาธิของศาสนาพุทธ นั่งสะกดจิตหลับตา หลับตาไม่มีอาชีพไม่มีการงานไม่มีการพูดไม่มีการคิดอะไรเป็นสมาธิหลงทาง เป็นสมาธิผิด เป็นสมาธินอกรีตของศาสนาพุทธทั้งสิ้น

ที่มา ที่ไป

เทศน์ทวช. วันเสาร์ที่ 7 เมษายน 2561


เวลาบันทึก 28 กุมภาพันธ์ 2564 ( 10:23:28 )

สมาธินทรีย์

รายละเอียด

กำลังความตั้งมั่นของจิต

หนังสืออ้างอิง

ป่ากับพุทธศาสนา หน้า144


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 15:08:00 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 13:56:41 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:49:14 )

สมาธินิมิต กับสมาธิที่เกิดจากจรณะ 15

รายละเอียด

กลับมาที่สมาธินิมิต กับสมาธิ จรณะ 15 สมาธิที่เกิดจากจรณะ 15 นั้นต้องรวมปัญญา วิชชา 8 ไปด้วย เรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา หรืออธิศีล อธิจิต อธิปัญญาอธิศีลคือ ตัวศีล อธิจิตคือ ภาคปฏิบัติ ภาคมรรคแล้วจิตเกิด สัทธรรม 7 กับ ฌาน 4 สัทธรรม 7 คือ Dynamic ฌาน 4 คือสั่งสมเป็น static จิตตั้งมั่น ฌานคือ พลังงานเผากิเลสจนเกิดจิตที่ใสจิตตั้งมั่นจนเป็นหนึ่งขึ้นมา ส่วนสัทธรรม 7 คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปทั้งหมด มีศรัทธา หิริ โอตตัปปะ พหูสูต 4 ตัวนี้แหละ จะเพิ่มความรู้ความเจริญความเป็นสัจจะมากขึ้นในพหูสูต จะเพิ่มอันนั้นคืออะไร ท่านก็ย่อไว้ 3 ข้อ จิตคุณจะเกิด ศรัทธาแต่ไม่ขาดปัญญานะ เพราะคุณเกิดจิตเทวธรรม คือหิริโอตตัปปะ การเจริญด้วยหิริ การละอายต่อสิ่งที่เราได้ยึดติดเรานึกว่าดีแต่ที่จริงมันไม่ดี ตอนแรกก็แค่ละอายไม่กล้าทำ ต่อมาก็กลัวเลยไม่ทำ ก็ได้ผลอย่างนี้ สรุปแล้วหิริโอตตัปปะก็คือ เลิกละปล่อยวาง ทิ้งหมด สรุปแค่นี้ก่อน ส่วน สมาธินิมิต เมื่อคุณทำได้สัทธรรม 7 ฌาน 4 แล้วก็จะล้างอาสวะ อาสวะขาด จิตสะอาดก็เป็นจิตปริสุทธา เป็นองค์แรก เป็นอุเบกขา บริสุทธิ์จากกิเลสและบริสุทธิ์ยิ่งขึ้นก็เป็นปริโยทาตา จิตคงที่เป็นองค์สอง มุทุภูตธาตุ ทั้งเจโตและปัญญา ก็ปฏิบัติกัมมัญญา ทุกกรรม ก็ทำให้ชำนาญ ก็มีแต่เสริมกุศลเหมาะควรมากขึ้น มีสัปปุริสธรรม 7 มหาปเทส 4 มากยิ่งขึ้นทุกกรรมคุณก็เจริญ แล้วจิตคุณก็รักษาสภาวะ ปภัสสร สะอาด สว่าง รุ่งเรือง แจ่มใสตลอดกาลนาน ประภัสสรก็คือ ปริสุทธายิ่งขึ้น ปริโยทาตายิ่งขึ้น เป็นแก่นความบริสุทธิ์ จิตที่บริสุทธิ์อย่างนี้ตกผลึก ควบแน่น เป็นความตั้งมั่นของจิต เรียกว่าเป็นการสะสมจิตที่สะอาดปราศจากกิเลสแล้ว จึงเรียกสิ่งนั้นด้วยพยัญชนะว่า สมาหิตะหรือสมาหิโต คือความตั้งมั่นของจิตสมาธิ เป็น สมาหิโต ใช้พยัญชนะตัวนี้เรียก นี่คือสมาธิที่เกิดจาก ฌาน ส่วน สมาธินิมิต คือ เครื่องหมายของการจับสมาธิ เป็นสมถะก็ได้ เป็นวิปัสสนาก็ได้ มันก็มีเครื่องหมายให้เราใช้ คุณใช้เป็นวิปัสสนา คุณก็มีสัมมาทิฏฐิ คุณใช้ไม่เป็นวิปัสสนาคุณก็ใช้สมถะ คุณก็ไม่รู้จักวิปัสสนาคุณก็ได้แต่สมถะ แล้วพวกเดียรถีย์หรือพวกมิจฉาทิฐิก็ใช้ได้แต่สมถะ แต่คุณเป็นสัมมาทิฏฐิแล้ว คุณใช้ได้ทั้งสองอย่าง สมถะก็ได้ ปัสสัทธิก็ได้ ปัสสัทธิคือ ความสงบอย่างเห็นๆ ส่วนความสมถะนั้น เป็นความสสงบอย่างตื้นๆ ไม่เห็นไม่รู้ 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม


เวลาบันทึก 07 กันยายน 2563 ( 10:29:33 )

สมาธินิมิต เหตุแห่งวิมุติข้อที่ 5 เป็นไฉน

รายละเอียด

สมาธิยกตัวอย่างเช่น 2 อย่างคือสมาธินั่งหลับตาและสมาธิอย่างที่พวกเราปฏิบัติกันก็เป็น 2 อย่าง สมาธิอีกอย่างคือสมาธิอย่างที่ท่านติชนัทฮันห์ทำ ท่านก็นั่งหลับตาด้วยแต่ท่านก็ใช้วิธีลืมตาแล้วใช้วิธีทำจิตให้เบิกบานร่าเริง ท่านก็สุขใจมีปีติอย่างที่พระพุทธเจ้าตรัส กายก็สงบ จิตก็บรรลุธรรม

สมาธินิมิต “นิมิต” แปลว่าเครื่องหมาย เครื่องหมายของความเป็นสมาธิมีอะไรก็แล้วแต่ จิตที่ตั้งมั่น 

คำว่า “สมาธิ” เป็นคำกลางๆทั่วโลก “สมาธิ” ของพระพุทธเจ้านั้นเรียกว่า “สัมมาสมาธิ” เอาคำว่า “สัมมา” มากำกับ เป็นเงื่อนไขว่าต้องเป็นสมาธิแบบพระพุทธเจ้าสัมมาสมาธิหมายถึงแบบนั้น ทีนี้ ในความเป็นสมาธิที่จริงของพระพุทธเจ้าต้องแนวของพระพุทธเจ้า จิตสะอาดบริสุทธิ์เป็น “อุเบกขา”  ปริสุทธา, ปริโยทาตา, มุทุ, กัมมัญญา,ปภัสสรา

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ  เจโตปริยญาณ 16 มาตรวัดจิตสมาธินิมิต วันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 กุมภาพันธ์ 2564 ( 15:28:47 )

สมาธิพุทธ

รายละเอียด

ทำสมาธิอยู่ทุกลมหายใจลืมตา สร้างสมาธิจากจรณะ 15 วิชชา 8 แต่นั่งหลับตาไม่มีสำรวมอินทรีย์ โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยคะ ไม่ตื่นไม่พากเพียร มีแต่นั่งหลับ เจ๊งกระบ๊งเลย อันนี้คือ ปัณกธรรม 3 หมายความว่าเป็นธรรมะที่ผิด ถ้าไม่มี 3 ข้อนี้ ผิด ต้องมี 3 ข้อนี้แล้วไปนั่งหลับตา ไม่มี 3 ข้อนี้นั่นคือผิดศาสนาพุทธ 

ทำมาหากินอย่างสาธารณโภคีคืออะไร....คือผู้ที่มีสัมมาอาชีพสูงสุด สัมมาอาชีพ พ้นมิจฉา 5 มิจฉาชีพ 5 ข้อที่เป็นมิจฉาฯ ผู้ที่ยังมีอาชีพ ถ้าอย่างนี้ไม่พ้นมิจฉาชีพ สมัยพระพุทธเจ้าทำกับฆราวาสไม่ได้ เพราะเป็นยุคที่อยู่ในสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นยุคทาส เป็นยุคที่พระเจ้าแผ่นดินเป็นเจ้าของทรัพย์สินหมด ยังมีนายทาสยังมีเจ้าของ บุคคลที่จะใช้แรงงานอีก ไม่รู้เรื่องสิทธิมนุษยชน พระพุทธเจ้าจึงได้ประกาศสาธารณโภคีกับโลกกับสังคมฆราวาสไม่ได้ ได้แต่ผู้ที่มามอบตนเข้ารีต มาอยู่ในศาสนาพุทธคือมาบวช หรือไม่บวชเป็นพุทธศาสนิกชน ก็ต้องอยู่ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตัดไม่ขาด ยังเกี่ยวโยงอยู่กับวงการฆราวาสภายนอก แต่ยุคนี้ไม่ใช่ยุคทาส ทุกคนเข้าใจแล้วว่าตัวเองมีสิทธิ์อย่ามาละเมิดสิทธิ์กันและกัน ได้อย่างสมบูรณ์แบบแล้ว เพราะฉะนั้นในยุคนี้จึงทำสาธารณโภคีกับฆราวาสได้อย่างสบายและสำเร็จ อาตมาถือว่า พาทำสาธารณโภคีกับประชาชนฆราวาส สมณะนักบวชไม่ต้องพูดถึงเลยอาตมารับรอง สาธารณโภคีบริสุทธิ์สะอาดกันดีมาก แม้แต่ฆราวาสก็ยังทำสาธารณโภคี ทำงานฟรีไม่มีรายได้ส่วนตัว


เวลาบันทึก 10 กุมภาพันธ์ 2563 ( 08:21:09 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:31:29 )

สมาธิพุทธ มีลักษณะ

รายละเอียด

1.    ปริสุทเธ  (จิตบริสุทธิ์ไม่มีอุปกิเลสเครื่องยียวน)

2.    ปริโยทาเต  (ผ่องแผ้ว อย่างแข็งแรงอยู่กับผัสสะ)

3.    มุทุภูเต  (แววไวด้วยจิตหัวอ่อน - ดัดง่าย แก้ไขไว)

4.    กัมมนิเย  (ควรแก่การงานอันไม่โทษ ไม่มีกิเลส)

5.     ฐีเต  (จิตถึงความตั้งมั่น)

6.     อเนญชัปปัตเต  (จิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหว)

       จิตเป็นปกติที่ไม่ละเมิดสิ่งที่ผิดศีลเลยทั้งกาย วาจา ใจ เพราะเหตุที่พาละเมิดไม่มีแล้ว เป็นอัตโนมัติ

ที่มา ที่ไป

560926


เวลาบันทึก 07 มีนาคม 2563 ( 13:32:16 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 04:34:06 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:48:04 )

สมาธิพุทธต้องมีฌาน

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นสมาธิพุทธนี้ ก็ต้องพูดอีก จะเป็นสมาธิต้องมี ฌาน ฌาน คือการสร้างพลังงานจิตให้มีเตโชธาตุ แปลว่าไฟ แปลว่าเพลิง เรียกด้วยภาษาว่า ไฟหรือเพลิง แปลเป็นไทย ฌานนี้คือภาษาบาลี ก็คือไฟ แต่เขาแปลผิดเพี้ยนว่าเป็นการเพ่ง ฌานคือการเพ่ง เพ่งให้เป็นจุดหนึ่งซึ่งเป็นสมถะ เอาที่เขาผิดมาแล้ว มาแปล แม้แต่ในพจนานุกรมบาลีก็ไปแปลว่า เพ่ง concentration ซึ่งมันไม่ใช่

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ความมหัศจรรย์จากพ่อครูผู้ตามรอยบาทพระศาสดา วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 17 พฤษภาคม 2565 ( 10:45:00 )

สมาธิพุทธเกิดจากอะไร

รายละเอียด

ฌานเกิดก่อนบุญ ฌานเกิดก่อนการทำลาย ทำลายกิเลสได้แล้วกิเลสก็หมดไปจากจิต จิตก็สะอาด แล้วจิตสะอาดนั้นถึงจะตกผลึกลงไป เมื่อตกผลึกจิตสะอาด ถึงจะเรียกว่าสมาธิ

สมาธินั้นเกิดไกลจากฌานตั้งเยอะ ต้องผ่านบุญก่อนจึงจะมีสมาธิ ผ่านจากปัญญาจึงเป็นสมาธิ ฟังให้ดีใน ศีล สมาธิ ปัญญา

สมาธิที่เป็นจิตสมาธิที่เกิด เกิดจากโครงสร้างของ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา แล้วจึงจะเกิดการชำระกิเลส เมื่อชำระกิเลสแล้วจากกระบวนการของ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา จึงจะได้จิตที่สะอาดปราศจากกิเลสตกผลึกลงเป็นสมาธิ เพราะฉะนั้นสมาธิไม่ได้เกิดอยู่ในตัวกลาง แต่กระบวนการ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ทำงานกันเสร็จ มีผล ผลนั้นจึงจะเรียกว่าบุญ ไม่ใช่ผลทีเดียวแต่เป็นฤทธิ์ กระบวนการอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ปรุงแต่งทำงานกำจัดกิเลสได้ด้วยผลบุญ จิตก็สะอาดขึ้น ตกผลึกควบแน่นเข้าก็ตั้งมั่น จึงเรียกจิตนี้ว่า สมาธิ ไม่ใช่จิตไปนั่งเพ่งให้เย็น นั่นเป็นมิจฉาสมาธิ เป็น Meditation ของเดียรถีย์ของคนทั่วไป ไม่ใช่สมาธิของพระพุทธเจ้า สมาธิของพระพุทธเจ้าไม่ได้เพ่งอย่างนั้น สมาธิของพระพุทธเจ้านั้นเกิดจากการปฏิบัติมรรคทั้ง 7 องค์

มีสัมมาทิฏฐิเป็นประธาน

เป็นส่วนแห่งบุญ (ปุญญภาคิยา) ให้ผลวิบากแก่ขันธ์ (อุปธิเวปักกา).

 

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการพุทธศาสนาตามภูมิ  ตอบปัญหาอย่างนานาสังวาส
วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 ที่บ้านราชฯ
สื่อธรรมะพ่อครู(จรณะ 15 วิชชา 8) ตอน ไฟฌานทำลายกิเลสได้อย่างไร


เวลาบันทึก 16 กุมภาพันธ์ 2564 ( 05:18:16 )

สมาธิพุทธเป็นไฉน

รายละเอียด

ตอนเข้าใจใหม่ๆ เรียนรู้ธรรมะก็นึกว่าเป็นอย่างที่เขาพาเป็น สงบก็จะต้องหนีไม่ยุ่งเกี่ยว จะต้องไปนั่งให้จิตดับจิตสงบเข้าใจสามัญง่ายๆอย่างนี้ เรียกว่าความเป็นสมาธิหรือความเป็นสมถะ เจโตสมาธิเขาหมายถึงอย่างนี้ ความรู้ทั่วไปของสมาธิศาสนาพุทธเป็นแบบนี้ ซึ่งไม่ใช่

สมาธิของพุทธนั้นดับเฉพาะกิเลส ยิ่งมีนิโรธ ยิ่งมีกิเลสดับ เป็นนิพพานจิตประภัสสรยิ่งสว่างไสวยิ่งตื่นยิ่งรับรู้ได้เร็ว เป็นมุทุภูตธาตุ เร็วไว แววไว จิตใจปรับเปลี่ยนให้เป็นอย่างนี้อย่างนั้นได้ง่ายเป็นอมตบุคคล เป็นบุคคลที่จะให้จิตใจเป็นอย่างไรตามบารมี จะให้เกิดหรือให้ดับเป็นต้น จิตใจสามารถทำอย่างนั้นสั่งการอย่างนั้นได้ นี่เป็นความรู้ของศาสนาพุทธ ของพระพุทธเจ้าซึ่งรู้จิตเจตสิกต่างๆอย่างแท้จริง

จิตที่ทำได้อย่างคล่องแคล่วอย่างมีสติตื่นเต็มๆ อย่างนี้แหละเรียกว่าเป็นสมาธิ ไม่ใช่ไปนั่งหลับตาไม่รู้เรื่อง สมาธิของพระพุทธเจ้าจึงไม่เข้าไม่ออก ไม่มีการเข้าสมาธิออกสมาธิ มีแต่การปฏิบัติจิตให้ลดละไป

ที่มา ที่ไป

พ่อครู เทศน์ ทวช.อโศกรำลึก ครั้งที่ 37 นาม 5 รูป 28 ให้ถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ  วันที่ 9 มิถุนายน 2561 ที่สันติอโศก

สื่อธรรมะพ่อครู(ศีล สมาธิ ปัญญา) ตอน อานิสงส์ของคนที่ให้คู่ครองไปบวช


เวลาบันทึก 14 กุมภาพันธ์ 2564 ( 11:26:06 )

สมาธิพุทธไปให้สุดถึงพ้นลาภแลกลาภ

รายละเอียด

ข้อที่ 5 นี่ยิ่งใหญ่มากเลย พ้นการเอาลาภแลกลาภ (ลาเภนะ  ลาภัง  นิชิคิงสนตา)  มั่นใจว่าเราทำงานฟรีแต่มีคนอุปถัมภ์ค้ำชูดูแล อยู่ได้เลยเรียบร้อย เป็นการพิสูจน์อาชีพที่ยิ่งใหญ่ที่สุด มีคนทำได้ไหม ที่ไหน...ที่นี่ พูดได้อย่างสบายใจ พูดได้อย่างเปิดเผย เขาหาว่าอวดตัวอวดตนได้ สิ่งที่น่าอวดแล้วไม่อวดก็โง่ สิ่งที่ไม่น่าอวดแล้วอวดก็โง่นักหนา แต่สิ่งที่ไม่น่าอวดเลยน่าจะต้องปิดบังคนอื่น ดันกลับคิดว่าเป็นของดีของเด่นน่าอวด อวดอีก แล้วจะพูดกันอย่างไรกับคนเหล่านี้ มันไม่มีดวงตาไม่มีความรู้ว่าอะไรเป็นอะไรเลย 

เพราะฉะนั้นธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นธรรมะที่สุดยอดมหัศจรรย์ที่สุด ไม่ได้พูดเล่นนะพูดจริงๆ ไม่ได้พูดอย่างหลงตัวยกตัวยกตนด้วย พูดอย่างย้ำยืนยันความจริงของโลกว่ามันมีอย่างนี้ เป็นเช่นนี้ มาศึกษาให้ดีๆสิ แล้วคุณจะสามารถมีอาชีพอย่างนี้ได้ มีชีวิตอย่างนี้ได้แล้วสบายไหม? สบาย อีกต่างหาก 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ความมหัศจรรย์จากพ่อครูผู้ตามรอยบาทพระศาสดา วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 17 พฤษภาคม 2565 ( 10:59:11 )

สมาธิพุทธไม่ใช่การนั่งหลับตา

รายละเอียด

การนั่งหลับตาสมาธิ ในพระไตรปิฎกเล่ม 9 พระสูตรแรก พรหมชาลสูตรพระพุทธเจ้าประกาศศาสนา พบว่า คนทำสมาธิแบบหลับตากันทั้งนั้น เดี๋ยวนี้ยุคนี้ก็เข้าใจว่าศาสนาพุทธ สมาธิก็คือการนั่งหลับตา ก็เป็นเหมือนเดิมกับในยุคที่พระพุทธเจ้าท่านอุบัติ ท่านก็มาประกาศสมาธิของท่านใหม่ ว่าไม่ใช่สมาธิอันนั้น พอมาปี 2560 ก็เหมือนเดิมเหมือนกับยุคพระพุทธเจ้า เป็นการหลับตาทำสมาธิกันอีก อาตมาพูดนี้อาตมาไม่ใช่พระพุทธเจ้าเขาก็เลยฟังแล้วไม่ยอมรับ ทั้งที่อาตมาก็ยืนยัน นั่งหลับตาสมาธินั้นจะไม่มีปัจจุบัน ไม่มีทิฏฐะ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม 2561


เวลาบันทึก 30 ธันวาคม 2563 ( 09:53:23 )

สมาธิยติ

รายละเอียด

ตั้งจิตมั่น

หนังสืออ้างอิง

อีคิวโลกุตระ หน้า 78


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 15:08:42 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 13:59:17 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:48:22 )

สมาธิวิมุติของผู้ที่มีจิตที่สงบ

รายละเอียด

ผู้ที่ตายแล้ว กระดูกเป็นพระธาตุก็ไม่ได้หมายถึงว่าเขาเป็นพระอรหันต์อย่างเช่นพวกที่ปฏิบัติสายฤาษีมีพลังงานเย็นมาก  ส่วนพระอรหันต์นั้นสามารถที่จะทำให้กระดูกเป็นพระธาตุได้เวลาถูกเผา มันซ้อนกันอย่างนี้ด้วย

สมาธิวิมุติ ของผู้ที่มีจิตที่สงบ สายเจโตจะสามารถทำให้กระดูกจับตัวกันได้มาก เวลาถูกเผา ก็จะเป็นพระธาตุได้มาก แต่ถ้าเป็นสายปัญญา จะไม่สามารถจับตัวกันได้มากจะเป็นพลังงานNuclear Fissionเสียมาก ก็จะเหมือนกับกระดูกคนธรรมดาเวลาถูกเผา จะไม่เหลืองไม่สวยเลย อย่างเช่นของพระสารีบุตร ก็สีน้ำตาลอ่อนไม่สวย จะไม่เหมือนอย่างของพระโมคคัลลานะที่จะเป็นเม็ดเงางามสวย

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ ความสมานฉันท์ 7 แบบ

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม 2561 ที่บวรราชธานีอโศก แรม 7 ค่ำ เดือน 8


เวลาบันทึก 04 มิถุนายน 2565 ( 13:57:20 )

สมาธิสส ฐิติ

รายละเอียด

ฉลาดในการทำจิตสภาพอย่างนั้น ๆ ให้คงอยู่ตั้งมั่นทรงนานแน่วแน่ได้

หนังสืออ้างอิง

(จากหนังสือทางเอก ภาค 3 หน้า 342)


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 15:09:22 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 14:03:28 )

สมาธิสส วุฏฐาน

รายละเอียด

ฉลาดในการทำจิตให้เพิก ให้พัก หรือให้พ้นจากภาพอย่างนั้น หลุด เลิก จากสภาพอย่างนี้ได้จริง

หนังสืออ้างอิง

(จากหนังสือทางเอก ภาค 3 หน้า 342)


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 15:10:13 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 14:07:28 )

สมาธิสัมโพชฌงค์

รายละเอียด

จิตใจที่ตั้งมั่นและเป็นจิตใจชนิดที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 295


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 15:11:47 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 14:14:02 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:49:39 )

สมาธิสัมโพชฌงค์

รายละเอียด

ทีนี้ สมาธิในสัมโพชฌงค์นั้น เป็นการระบุว่าของพระพุทธเจ้านี้ ในโพชฌงค์ 7 โพชฌงค์ก็คือ โพธิ แปลว่าความตรัสรู้ ที่รู้จากความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเฉพาะพระองค์เลย ไม่มีใครเหมือนหรอก 

สติก็ไม่เหมือน ธัมวิจัยก็ไม่เหมือน วิริยะก็ไม่เหมือน ปีติก็ไม่เหมือน ปัสสัทธิก็ไม่เหมือน สมาธิก็ไม่เหมือน สมาธิสัมโพชฌงค์ของพระพุทธเจ้าไม่เหมือนกับสมาธิของลัทธิอื่นๆใดๆในโลกทั้งหมด นี่คือประเด็นสำคัญ 

สมาธิของพระพุทธเจ้านั้น เรียกโดยพยัญชนะของพระพุทธเจ้าว่า สมาหิโต เป็นสมาธิที่รู้จัก รู้แจ้ง รู้จริงถึง กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ธรรมในธรรมคือธรรมะที่เป็นโลกุตรธรรมกับโลกียธรรม 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาพาถลกหนังพญานาคจอมหลับตา วันพุธที่ 26 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 22 พฤษภาคม 2565 ( 09:04:38 )

สมาธิสั่งสมจากจรณะ 15 วิชชา 8

รายละเอียด

หลับตาสะกดจิต คือลืมตาปฏิบัติอยู่ในโลกีย์เป็นสมาธิที่ได้สั่งสมจากจรณะ 15 วิชชา 8 จนอาสวะสิ้น แล้วจิตใจที่สิ้นอาสวะนั่นแหละตกผลึกตั้งมั่นลงไป เรียกว่าสมาหิโต คนที่จะเข้าใจว่าสมาธิคืออะไร เป็นวิสัย แค่ ฌานซึ่งต้องเข้าใจก่อนสมาธิ ยังเป็นอจินไตย ดังนั้น สมาธิวิสัย ยิ่งยากกว่าฌานวิสัย อาตมาก็พูด ฌานไม่ใช่ไปนั่งหลับตา ต้องปฏิบัติตามจรณะ 15 และจะเกิด ฌาน 1 2 3 4 

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม 2563


เวลาบันทึก 13 กันยายน 2563 ( 12:53:09 )

สมาธิสูตร

รายละเอียด

1.สมาธินี้มีสุขในปัจจุบันและมีสุขเป็นวิบากต่อไป

2.สมาธินี้เป็นอริยะปราศจากอามิส

3.สมาธินี้อันคนเลวเสพไม่ได้

4.สมาธินี้ละเอียด ประณีต ได้ด้วยความสงบระงับ บรรลุได้ด้วยความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น และมิใช่บรรลุได้ด้วยการข่มธรรมที่เป็นข้าศึก ห้ามกิเลสด้วยจิตอันเป็นสสังขาร 

5.มีสติเข้าสมาธินี้ได้มีสติออกจากสมาธินี้ได้

เมื่อเธอทั้งหลายมีปัญญารักษาตน มีสติเจริญสมาธิอันหาประมาณมิได้อยู่ ญาณ 5 อย่างนี้แล ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน

หนังสืออ้างอิง

พระไตรปิฎก เล่มที่ 22 ข้อ 27 หน้า 22


เวลาบันทึก 04 ธันวาคม 2562 ( 12:44:50 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 14:53:48 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:48:54 )

สมาธิสฺส กัลป์ลิต

รายละเอียด

ฉลาดในความรู้สึก ละเอียดพร้อม รู้มูล รู้เหตุ รู้เค้า รู้ขนาดของสภาพอย่างนั้น ๆ และทำได้ด้วยอย่างเป็นชิ้นเป็นอันแน่ ๆ

หนังสืออ้างอิง

(จากหนังสือทางเอก ภาค3หน้า 343)


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 15:12:44 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 14:37:47 )

สมาธิสฺส สมาปัตติ

รายละเอียด

ฉลาดในการทำจิตให้เข้าสู่สภาพนั้นให้เป็นสภาพอย่างที่มุ่งหมายนั้นได้เสมอ ๆ เนือง ๆ

หนังสืออ้างอิง

(จากหนังสือทางเอก ภาค 3 หน้า 342)


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 15:14:12 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 14:42:05 )

สมาธิสฺส อภินิหาร

รายละเอียด

ฉลาดในการทำกับจิตได้เก่ง เชี่ยวชาญ หรือมีกำลังจิตแข็งกล้า สามารถมีฤทธิ์ มีแรง รู้เห็นได้เด่น ๆ ชัด ๆ มาก ๆ

หนังสืออ้างอิง

(จากหนังสือทางเอก ภาค 3หน้า343)


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 21:05:09 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 14:43:36 )

สมาธิสฺส โคจร

รายละเอียด

ฉลาดรู้ ละเอียดในอารมณ์ ในความเป็นไปที่ต่อเนื่อง มีบทบาทอยู่ตลอดของจิตอันยิ่งต่าง ๆ

หนังสืออ้างอิง

(จากหนังสือทางเอก ภาค 3 หน้า 343)


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 15:13:28 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 14:47:27 )

สมาธิหลับตา

รายละเอียด

เป็นสมาธิตกผลึก หลับตา มันไม่ใช่เลย คุณไม่สามารถรู้อะไรไม่เกี่ยวข้องกับสัตว์ ไม่เกี่ยวข้องกับของ คุณจะไปมีสมาธิของพุทธเป็นสัมมาสมาธิได้อย่างไร การไปนั่งหลับตาก็ไปสะกดจิต มีพระพรหมพระอินทร์ มีรูปร่าง มีวิมาน มีนิรมานกาย สัมโภคกาย อทิสมานกาย อยู่ในจิตของคนคนอื่นไม่รู้เรื่องด้วย

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม 2562


เวลาบันทึก 11 มกราคม 2563 ( 21:49:11 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:33:36 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:50:06 )

สมาธิหลับตาก็แค่ตัวช่วย ไม่ใช่หลักใหญ่แต่เป็นตัวเสริม!

รายละเอียด

จึงเรียกว่า“สมาธิหลับตา”นั้นเป็น“อุปการะ” เป็นแค่การช่วยเหลือ ในบางกรณีเท่านั้น ไม่ใช่หลักใหญ่ของการปฏิบัติเลย  ถ้าไปหลง“หลับตา”ปฏิบัติโดยหลงผิดว่า ต้อง“หลับตา”เป็นทางเอกตลอดในการปฏิบัติก็ผิด ปฏิบัติกำจัด“กามตัณหา”ก็“ลืมตา” แม้แต่การกำจัด“ภวตัณหา”ก็ต้อง“ลืมตา”อีกเช่นกัน “สัมผัสเหตุ”ที่จะทำให้เกิดกิเลสทางทวาร 5 ภายนอกอยู่ปกติ แต่ผู้หลุดพ้นกิเลสภายนอกคือ “กิเลสกาม”ได้แล้ว ก็“อยู่เหนือเหตุภายนอก(กาม)”นั้นได้จริงแล้ว จึงกำจัด“ภวตัณหา(รูป-อรูป)”กันต่อ โดย“ลืมตา”ปฏิบัติตามเดิมอยู่นั่นเอง เพียงแต่ทำการกำจัดกิเลสส่วนที่มัน“ยังเหลืออยู่ในภายใน”ต่อไปตามลำดับ ไม่ได้“หลับตา”เลย 

นี่ก็นัยยะหนึ่ง ที่เป็น“มิจฉาทิฏฐิ”ยากมากที่จะอธิบายกัน

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ รวมเปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อ 391 หน้า 283


เวลาบันทึก 03 สิงหาคม 2564 ( 13:16:39 )

สมาธิหลับตาสายอาจารย์มั่นกับสายธรรมกาย

รายละเอียด

สายอาจารย์มั่นสูงกว่าธรรมกายเพราะสายนั้นใช้สว่างโลกหลอก แต่สายอาจารย์มั่นหลอกน้อยกว่าหากเราเข้าใจสภาพพวกนี้จะไม่สับสน ก็ขอบคุณที่เป็นตัวอย่างให้เราได้ศึกษา เพราะว่ามันแย่ ดูแล้วหลอกแบบอาภัสรา หรือธัมมชโยนี้หลอกได้ชัดเจนกว่าอาจารย์มั่น

ที่มา ที่ไป

พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 22 ธันวาคม 2562 ( 15:40:40 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:34:23 )

สมาธิเกิดจากจิตที่หมดอาสวะแล้ว

รายละเอียด

ทำให้เกิดอธิจิตสมาธิ ตกผลึกจิตสะเอาดเป็นสมาธิ สมาธินั้นเกิดจากจิตที่หมดอาสวะแล้วก็เป็นคุณสมบัติอุเบกขา 5 สั่งสมจิตที่สะอาดตกผลึกจับตัวกันเป็นปึก ผนึกเป็นจิตตั้งมั่นแข็งแรง

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสาตามภูมิ บ้านราช วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม 2563


เวลาบันทึก 25 มิถุนายน 2563 ( 11:45:45 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 08:24:35 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:50:28 )

สมาธิเกิดจากผลของจรณะ 15 วิชชา 8

รายละเอียด

ในจรณะ 15 วิชชา 8 ไม่มีคำว่าสมาธิ สมาธิเกิดจากผลของจรณะ 15 วิชชา 8 ปฏิบัติจนเกิดจิต อุเบกขา ในฌานทั้ง 4 เราก็ทำแล้วทำอีกเป็นอภิสังขาร 3 อันสุดท้ายคือ “อเนญชาภิสังขาร” เรียกว่าไม่หวั่นไหวตั้งมั่น อภิสังขาร 3, ปุญญาภิสังขาร, อปุญญาภิสังขาร ได้ผลสูงขึ้นเป็น ปริสุทธา, ปริโยทาตา, มุทุ, กัมมัญญา, ปภัสสรา  มากยิ่งขึ้นๆ คุณธรรม 5 ของอุเบกขานี้จะยิ่งมีปฏิภาคทวีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆแล้วก็สั่งสมลงเป็น จิต ตกผลึก ผนึกกันเข้า เป็นสมาธิที่เป็นความตั้งมั่นที่เรียกว่า สมาหิโต อยู่ในเจโตปริยญาณ ข้อคู่เกือบสุดท้าย วิมุติ อวิมุติ เป็นคู่สุดท้าย

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ  เจโตปริยญาณ 16 มาตรวัดจิตสมาธินิมิต วันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 กุมภาพันธ์ 2564 ( 15:33:58 )

สมาธิเกิดจากอะไร

รายละเอียด

ตอนนี้อาตมาอธิบายสมาธิ สมาธิที่เป็นสมาธิสำเร็จ ลงตัว เรียกสมาหิโต เกิดจากการปฏิบัติจรณะ 15 วิชา 8 สิ้นอาสวะพอจิตกำจัดอาสวะได้จิตก็สะอาดจิตสะอาดก็สั่งสมตกผลึก เป็นผลของจิตที่อเนญชาตกผลึก จิตนี้ก็รวมจิตสะอาด สมาธิต้องเป็นจิตที่รวมจิตที่สะอาด ตกผลึกแล้วก็เป็นมวลที่ได้สะสมตั้งมั่น ควบแน่นแข็งแรงตั้งมั่นเรียกสมาหิโต เกิดจากการปฏิบัติจรณะ 15 วิชชา 8 วิชชาสุดท้าย เป็นอุเบกขาในฌาน 4 จะสั่งสมความบริสุทธิ์ ปริสุทธิา ปริโยทาตามากยิ่งขึ้น ธาตุจิตมุทุภูตธาตุ ที่มีความเร็วไวทั้งเจโตปัญญา แข็งแรงตั้งมั่นเป็นความบริบูรณ์ทั้ง เจโต ปัญญา ก็ยิ่งมีกรรมอันดีงาม จะปฏิบัติธรรมได้ดีเหมาะสมกับทุกอย่าง ยิ่งจะเป็นประโยชน์สูง เป็นการกระทำที่เจริญด้วย กัมมัญญา ยิ่งทำจิตยิ่งผ่องใส ปภัสสรา 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 8 กรกฎาคม 2563


เวลาบันทึก 11 สิงหาคม 2563 ( 10:28:55 )

สมาธิเกิดหลังจรณะ 15 วิชา 8

รายละเอียด

คำว่าสมาธิคำนี้สรุปให้เห็นชัดๆเลยว่าไม่ได้เกิดง่ายๆต้องเกิดจากหลังจรณะ 15 วิชชา 8 ได้จิตปริสุทธาแล้วก็อาเสวนา ภาวนา พหุลีกัมมัง ก็จะเกิดปริโยทาตา จิตเก่งมุทุภูตธาตุแล้วก็ทำงานเป็นกัมมัญญาได้อย่างไม่บกพร่อง เหมาะควร แต่จิตก็ประภัสสร องค์ 5 อุเบกขา สิ้นอาสวะแล้วจิตก็สะอาดบริสุทธิ์ แล้วก็ยังทำงานได้อย่างเก่ง มีจิตที่หัวอ่อน จิตมุทุภูตธาตุ จะดัดจะปรับให้เป็นอย่างไรก็ได้ มีธาตุรู้ที่รู้เร็วเท่าทัน ทำการงานนั้นได้ เพราะฉะนั้นจึงมาจัดการกับกรรมมาปฏิบัติมาทำมีกรรมกิริยาต่างๆ กรรมกิริยาที่ปรุงแต่งไปเป็นสังขารเป็นกายสังขารวจีสังขารต่างๆ จิตที่เป็นประธานเป็นมโนสังขารมันจึงเก่ง กายกรรมก็เก่งขึ้นเป็นคนดีเรียกว่า กัมมัญญตา แล้วจิตก็ยิ่งเก่ง ปภัสสรมากขึ้นเรื่อยๆยิ่งขาวสะอาดผ่องแผ้ว ประภัสสร ขึ้นเรื่อยๆนี่คือองค์ธรรม 5 ที่สั่งสมขึ้นเป็นสมาธิ กว่าคุณจะรู้จักคำว่าสมาธิได้ เช่นคุณติดยึดในอบายมุข คุณติดในการลักทรัพย์ในการฆ่าสัตว์คุณเกี่ยวข้องกับสัตว์อย่างน้อยยังไปรักไปชังกับมัน ชังก็ไม่กระไร คุณเลิกได้ก่อน คุณไม่ทำร้ายมันเลยมีจิตเมตตา แต่คุณก็รักมัน วันนี้ยังเห็นว่าพระพุทธทาสก็ยังรักไก่ มหาบัวยังรักในเสืออยู่ สร้างสวนเสืออยู่ที่เมืองกาญจน์มีอ.จัน ดูแลอยู่ เป็นวัดป่าของหลวงตามหาบัว เลี้ยงเสือขาย 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 28 มีนาคม 2563 ( 16:43:34 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 04:35:18 )

สมาธิเป็นผลของจรณะ 15 วิชชา 8

รายละเอียด

สังเกตดีๆสัทธรรม 7 มี วิริยะ สติ ปัญญา ไม่มีสมาธินทรีย์ สมาธิจึงไม่มีคำเรียกในจรณะ 15 วิชชา 8 ไม่มีคำว่าสมาธิเรียกในนั้น แต่คุณสามารถปฏิบัติจรณะ 15 ให้เกิด ฌาน 4 จนสามารถให้เกิด วิชชาข้อสุดท้าย สิ้นอาสวะ อาสวักขยญาณ ใน วิชชา 8 จิตสิ้นอาสวะ สะอาด เที่ยงแท้ บริสุทธิ์แล้วจึงตกผลึก 1 หน่วย 2 หน่วย 3 หน่วยลงไปจึงเป็นจิตตั้งมั่นที่เป็น สมาหิโต เป็นสมาธิที่เรียกว่า ล้างกิเลสได้แล้วสำเร็จ คำว่าสมาธิจึงไม่ใช่เรื่องตื้นๆเลย ที่พูดกันอยู่นี้เป็นเรื่องผิวเผินเป็นเรื่องง่ายๆ ตื้นๆ เป็นเรื่องพูดไปสนุก เลอะเทอะ เละเทะ ก็เลยยิ่งยาก ยิ่งปั่นป่วนใหญ่เลย ไม่มีสภาวะที่เข้าท่าเข้าทางเลย การพูดถึงสมาธิพูดกันเล่นๆ ว่านั่งหลับตาปั๊บเข้าสมาธิ พวกนี้เราก็ฟังเขาแล้วไม่ต้องไปเสียเวลากับเขาหรอก เพราะว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่ใช่เรื่องที่ศาสนาพุทธจะไปสอนแบบนี้ หรือให้พวกฤาษีหลับตา เป็นเรื่องของปุถุชนให้เขาศึกษาไป สมาธิของพระพุทธเจ้าไม่ใช่เรื่องแบบนั้น ขออภัย อาตมาพูดอย่างอาสโภ พูดอย่างไม่ได้เกรงกลัวเลย ใครก็ตามที่เป็นนักสมาธิต่างๆ อาตมาขอยืนยันว่ามาพูดกันได้ นักสมาธิต่างๆจะเข้าใจสมาธิพระพุทธเจ้าที่คุณเข้าใจมาพูดมาคุยกันได้ อภิปรายกันได้มาทำความชัดเจนกัน คนไปเชื่อถืออย่างเขาเยอะแล้วสิ่งที่อาตมาพูดเป็นสิ่งที่ทำให้คนเชื่อได้น้อย ยาก เพราะว่าคนไปติดในพระไตรปิฎกเกาะในพุทธวจนะ ยังไม่เข้าใจสมาธิที่อาตมาพูดเลย ว่าสมาธิของพระพุทธเจ้าเกิดจากจรณะ 15 วิชา 8 สั่งสมลงเป็นจิตที่สะอาดจากกิเลส แล้วก็ตกผลึกลงเป็นจิตตั้งมั่น สมาธิ แปลว่าจิตตั้งมั่นนะ เพราะฉะนั้นจึงบอกว่า จรณะ 15 วิชชา 8 ไม่มีคำว่าสมาธิเพราะว่าสมาธิเป็นผลของจรณะ 15 วิชชา 8 จึงเป็นสมาธิที่เรียกว่า สมาหิโต ในเจโตปริยญาณ 16 อยู่ในข้อสุดท้าย เป็น อนุตตรจิต คู่ของสมาหิโต อสมาหิโต จะเป็นอนุตรจิตอีกสองคู่ กับวิมุติกับอวิมุติ ตรวจสอบอนุตรจิตให้สมบูรณ์แบบจึงจะเป็นจิตที่สมบูรณ์แบบในเจโตปริยญาณ 16 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 24 มิถุนายน 2563


เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 19:42:10 )

เวลาบันทึก 03 สิงหาคม 2563 ( 07:56:00 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:53:08 )

สมาธิเป็นผลของจรณะ 15 วิชชา 8

รายละเอียด

แม้แต่คุณไปปฏิบัติใน สัทธรรม 7 ก็ไม่มีคำว่าสมาธินะ สัทธรรม 7 มี ศรัทธา หิริ โอตัปปะ พหูสูต วิริยะ สติ ปัญญา ไม่มีคำว่าสมาธิในนั้น สมาธิเป็นผลของจรณะ 15 วิชชา 8 หมดอาสวะแล้วจิตไม่มีอาสวะแล้ว ทำให้จิตอเนญชา แล้วจิตจะตกผลึก ผนึกกันแน่นเข้าๆ อัปปนา พยัปปนา เจตโสอภินิโรปนา แน่วแน่ แนบแน่น ปักมั่น

ที่มา ที่ไป

รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2563


เวลาบันทึก 26 ธันวาคม 2563 ( 10:11:04 )

สมาธิเป็นผลจากจรณะ 15 วิชชา 8 คือสมาธิจากพระพุทธเจ้า

รายละเอียด

สังวรศีล ต้องมี สำรวมอินทรีย์ โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยค กับศีลข้อที่ 1 คือเกี่ยวกับสัตว์ เกิด หิริโอตตัปปะ ในสัทธรรม 7 แต่ก่อนเราสัมผัสกับสัตว์ คุณก็ปฏิบัติกับสัตว์ด้วยความทุจริต สัมผัสกับสัตว์ปฏิบัติกับสัตว์ด้วยความไม่มีเมตตา ไม่รู้จักว่าสัตว์ก็คือเพื่อนแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ควรจะต้องหวังประโยชน์เพื่อสัตว์ทั้งปวงอยู่ ไม่ควรจะไปทำร้ายไปฆ่ากันเลย สัตว์ทั้งปวงเขาก็อยู่ของเขาไปตามวิบาก เราไม่มีหน้าที่จะไปทำร้ายสัตว์ใดเลยที่เกี่ยวข้อง เขาก็เกิดมาเป็นชีวะของเขา อาตมาอธิบายถึงขั้นแม้แต่สัตว์เซลล์เดียว เซลล์นี้อาจจะกลายเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต อย่าไปละลาบละล้วงชีวิตเขา มันเกิดมาเป็นสัตว์เป็นจิตนิยามแล้วแม้แต่เสี้ยวเดียวเราก็อย่าไปทำให้เกิดวิบาก ต้องช่วยไม่ใช่ไปทำร้ายเบียดเบียน คุณปฏิบัติศีลข้อนี้ให้ดี แต่ก่อนไม่ได้มีความคิดเช่นนี้ ดีไม่ดีก็จะไปทำให้เกิดการฆ่าเอามันมาเล่น เราก็ละอาย เมื่อก่อนทำไมไม่มีความคิดเช่นนี้ เมื่อมีความคิดเช่นนี้เข้าใจขึ้นมามีอัญญธาตุ มีปัญญา ว่าเราแต่ก่อนไม่เคยปฏิบัติกับสัตว์อย่างนี้เลย ก็จะเกิดความละอาย หิริ มีสำนึกตัวเอง ไม่ใช่พูดเล่น เป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งสิ้น หวังประโยชน์เพื่อสัตว์ทั้งปวงอยู่ ช่วยเหลือกันอะไรที่ช่วยได้ก็ช่วย อะไรช่วยไม่ได้ก็ปล่อยไป วางพรหมทัณฑ์ปล่อยไปตามวิบากกรรม สัตว์เล็กสัตว์น้อยสัตว์ใหญ่ ยิ่งคนนี่อย่าไปทำร้ายใครเลย ช่วยกันอย่าให้ตกต่ำ ช่วยกันให้เจริญช่วยไม่ได้ก็ปล่อยกันไป ในความหมายของธรรมะพระพุทธเจ้าจึงลึกซึ้ง ผู้ที่สามารถมีหิริโอตตัปปะ เกี่ยวกับสัตว์ คุณก็จะพลิกพฤติกรรมของคนกับสัตว์ทั้งหลาย เห็นสัตว์เล็กสัตว์น้อยเห็นแมลงตกโถส้วมก็ช่วยขึ้นมา มันจะมีน้ำใจอย่างนั้นจริงๆ เกิดอาการอย่างนั้นจริงๆ ปฏิบัติแล้วจะเกิดอย่างนั้นจริงๆเลย นี่คือคุณวิเศษของธรรมะพระพุทธเจ้า ปฏิบัติไปก็จะเกิดพหูสูต เป็นผู้รู้ความจริงมากขึ้น มีความจริงมากขึ้นเป็นพหูสูต ก็เลยมีวิริยะสติปัญญา ให้เกิดอิทธิบาท หรือเกิดอินทรีย์พละ 5 มีศรัทธา หิริ โอตตัปปะ พหูสูต วิริยะ สติ ปัญญาไม่มีคำว่าสมาธิคำเดียว สมาธิคือตัวที่จะเกิดผลจากจรณะ 15 วิชชา 8 นี่คือสมาธิของพระพุทธเจ้า ไม่มีใครอธิบายสมาธิของพระพุทธเจ้าว่าเกิดจากจรณะ 15 วิชชา 8 คือจิตสะสมตกผลึก เป็นจิตสะอาด ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสราสั่งสมความบริสุทธิ์สะอาดไม่หวั่นไหวต่อโลกทั้งปวง โลกจะหยาบจะหนักจะเป็นนรกลึกและหยาบมากเท่าไหร่ ก็ไม่มีปัญหา 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 10 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 21 มกราคม 2563 ( 20:32:30 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:38:54 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:54:45 )

สมาธิเป็นอุตตริมนุสสธรรม

รายละเอียด

อยู่ในเจโตปริยญาณ 16 คู่ท้ายๆ และในสมาธินั้น ไม่มีในจรณะ 15 มีในอินทรีย์ 5 พละ 5 (สู่แดนธรรมว่า สมาธิ นับเอา 4 ข้อสุดท้ายของจรณะ 15 คือฌาน 1 2 3 4) สมาธิแปลว่าจิตที่ตั้งมั่น เพราะฉะนั้นจิตที่ตั้งมั่นคือจิตที่สะอาด จิตที่บริสุทธิ์แล้วจึงค่อยตกผลึกๆๆ เรียกว่า  จับตัวกันตกผลึก เป็นนิธิ เป็นสันนิธิ สั่งสมลง แล้วจิตนี้คือจิตสมาธิหรือจิตที่ตั้งมั่น คนที่จะพูด เอาง่ายๆนั่งหลับตาแล้วจะเกิดสมาธิเลย เกิดฌานเลย สับสนไปใหญ่ ฌานนั้นจะเผากิเลสจนจิตสะอาด สั่งสมอเนญชา จนเป็นสมาธิ ในจรณะ 15 สมาธิ จะเกือบเต็มในจรณะ 15 วิชชา 8 ถึงขั้นอาสวะสิ้น มีญาณหยั่งรู้เป็นวิมุตติญาณทัสสนะ จิตก็รู้แล้วว่าจิตสะอาด ผู้ที่เป็นนักสะสมเพชร เขาจะไม่สะสมเสียเวลากับเม็ดขี้หมูราขี้หมาแห้ง จะเลือกเพชรเม็ดงามที่สะอาดบริสุทธิ์มาสะสม จะเอาเพชรน้ำงามมาสะสมเป็นนักสะสมเพชรที่ชั้น 1 ไม่ใช่เป็นนักสะสมเพชรกเฬวราก จะเอาสมาธิสั่งสมเป็นสัมมาสมาธิ เป็นจิต

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 15 เมษายน 2563


เวลาบันทึก 01 พฤษภาคม 2563 ( 11:24:32 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 08:25:53 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:55:55 )

สมาธิแข็งแรงตั้งมั่นเกิดจากจรณะ 15 วิชชา 8

รายละเอียด

สมาธินั่งหลับตานั้นไม่ใช่เรื่องของการสั่งสมจิตสะอาดจากกิเลส ซึ่งจะตกตะกอนตกผลึกมาสะสมขึ้นมา แข็งแรงตั้งมั่นด้วยจิตที่เป็นอุเบกขา ปริสุทธา ปริโยธาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา จิตที่สะอาดบริสุทธิ์อย่างยิ่งกระทบกระแทกอย่างไรก็สะอาด เป็นจิตที่มีประสิทธิภาพรวมตัวกันเป็นนิวเคลียร์ฟิวชันแข็งแรง ไม่ใช่แข็งทื่อ แต่เป็นแข็งแรงตั้งมั่นลงไปเรื่อยๆ คือจิตที่สะอาดเป็นสมาธิที่เกิดจากจรณะ 15 วิชชา 8 ปฏิบัติตามพุทธคุณของพระพุทธเจ้าปฏิบัติจรณะ 15 เป็นฌาน 4 และได้เป็นสมาธิโดยมีวิชชา 8 เป็นปัญญาเครื่องช่วยให้เกิดศรัทธา โอตตัปปะ พหูสูต วิริยะ สติ ปัญญาขึ้นเรื่อยๆ สัทธรรม 7 นี่แหละ ความเจริญมากขึ้นก็เป็นพหูสูต คือความเป็นผู้ยิ่งใหญ่โดยมีความรู้ที่ยิ่งใหญ่คือพหูสูต เสร็จแล้วก็ทำให้ได้เป็นวิริยะสติปัญญาที่สูงส่งขึ้นเรื่อยๆ ก็จะเกิดจิตสะอาดมากยิ่งขึ้นตกตะกอน ไม่ใช่ตกตะกอนแต่เป็นการตกผลึก เพราะเราเอาจิตสะอาดสั่งสมไปเป็นกองตั้งมั่นแน่วแน่ แนบแน่นปักมั่นเจตโสอภินิโรปนา มากขึ้นเรื่อยๆ จิตอย่างนี้มีโลกวิทู มีโลกุตระ แล้วสามารถช่วยผู้ได้เป็น โลกานุกัมปา

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 31 มีนาคม 2563 ( 09:25:29 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 04:37:05 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:58:21 )

สมาธิแท้ๆแบบพุทธ

รายละเอียด

สมาธิจดจ่อ สมาธิเขาหมายแค่ความเพ่งจดจ่อเกี่ยวกับการงาน เขาไม่เรียกว่าสมาธิ เรียกว่าสมถะเท่านั้น สมาธิเป็นภาษาที่เรียกจิตวิญญาณเอากิเลสออกได้สะอาดหมดจด จิตสะอาดนั้นก็ตกผลึกลงสั่งสม แข็งแรงตั้งมั่น คิดอย่างนั้นด้วยจิตเป็นสมาธิ แล้ววิธีเอากิเลสออกก็ต้องมีสัมมาทิฏฐิตามคำสอนพระพุทธเจ้า แต่ทุกวันนี้หาไม่ได้แล้ว ที่ปฏิบัติอยู่ในสังคมชาวพุทธไทย ที่จะรู้จักกิเลส รู้วิธีเอากิเลสออกได้ ไม่ใช่วิธีสมถะ แต่เป็นวิธีปัสสัทธิ ถึงจะเป็นสมาธิ แต่ไปโมเมว่าสมถะคือสมาธิ ไม่ใช่สมาธินี้จะต้องเรียนรู้จักจรณะ 15 วิชชา 8 จิตใจก็มีกิเลสลดลง ลดลงไปกิเลสแต่ละตัวไป จิตตั้งมั่นเป็นอุเบกขา ทำงานอยู่ต่อไป สัมผัสจากสิ่งที่เคยเป็นเหตุให้เกิดกิเลส แต่จิตเราก็จะดีขี้นเรื่อยๆ แคล่วคล่องปราดเปรียว มีจิตรู้ทัน ลดละกิเลสได้เร็วได้ไว ซึ่งเป็นจิตที่ทำงานได้ดี เรียกว่ากัมมัญญตา ทำงานได้อย่างไม่มีกิเลส ทำงานได้อย่างเหมาะสม แล้วก็มีฐานของจิตอุเบกขา 4 นี้แล้วก็จะมีตัวปภัสสรา เป็น 5 คุณสมบัติ ฐานของจิตที่เป็นสมาธิ เขาคนนี้ว่า…พระอรหันต์ก็มีสมาธิตั้งมั่นอย่างสมบูรณ์ ก็แน่นอน มีจิตอุเบกขา 5 อย่างสมบูรณ์ ไม่หวั่นไหว ต่อราคะ โทสะ โมหะ

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 14 พฤศจิกายน 2562 ( 11:11:48 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:40:50 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:56:44 )

สมาธิแบบสมถะ

รายละเอียด

ความสงบจิตใจ คือการกล่อมให้คนเบาสบาย มีความสุข แต่ไม่มีประโยชน์ที่จะทำให้เกิดนิพพาน สมาธิ คือจิตหยุดนิ่งตกตะกอน

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 11 มกราคม 2563 ( 13:34:45 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:41:28 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:57:07 )

สมาธิแบบเดียรถีย์ไม่ได้ล้างกิเลสไม่มีปัญญา

รายละเอียด

แต่ของ เดียรถีย์ เป็นสมาธิที่ผิดเพี้ยนไปนานแล้วก็มาเรียกสมาธิเป็นจิตตั้งมั่น วิธีทำก็แบบเรียนลัด สะกดจิตให้มันนิ่งแต่มันไม่สะอาดไม่ได้ล้างกิเลส ไม่มีปัญญารู้จักกิเลส หยาบ กลาง ละเอียด ตั้งแต่กาม หมดกามแล้วหมดแล้วมันก็หมดนะ กิเลสกาม ที่เราเรียนรู้เป็นลำดับโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี พออนาคามีมันก็หมดแล้ว ก็อยู่เหนือโลก ทางทวารทั้ง 5 ตาหูจมูกลิ้นกายกระทบ แต่กิเลสมันไม่เกิดมันเกิดไม่ได้ เพราะจิตเราเป็นจิตที่มีอิทธิพล เป็นอภิภุย เป็นจิตที่อยู่เหนือกาม มันเหนือจริงๆ เป็นบุคคลที่เรียกว่าอภิภู ในอภิภายตนะ 8

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 18 วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 02 ธันวาคม 2564 ( 17:25:37 )

สมาธิและฌานของพระพุทธเจ้า

รายละเอียด

ไม่มีหลับตา การหลับตาปฏิบัติเป็นเรื่องนอกรีตของศาสนาพุทธ พระสารีบุตรก็ตาม พระธัมมทินนาเถรีก็เคยพูดอธิบายเรื่องเข้าฌานออกฌาน เข้านิโรธออกนิโรธนี้ไม่มีหรอกที่จะไปหลับตาเข้าออก  ศาสนาพุทธจะเข้าจะออกคือเข้าไปสู่อารมณ์สภาวะอย่างลืมตาทั้งนั้น การนั่งแบบนั้นต้องหาสถานที่ ต้องหาเวลาต้องทำกิริยา ปลีกออกไปจากชีวิต แม้อุเบกขาฌาน 4 ก็ต้องได้โดยไม่ยากไม่ลำบากซึ่งฌานทั้ง4 ในขณะปัจจุบันนี้เลย

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราช ครั้งที่ 66  วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 27 พฤศจิกายน 2562 ( 19:13:14 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:43:46 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:57:40 )

สมาธิและสันติภาพในทัศนะของพ่อครู

รายละเอียด

อาตมาก็เห็นว่า ความรู้ของสมาธิก็ดี ความรู้ของสันติภาพก็ดี ที่เขาจับประเด็นนี้ขึ้นมาชูหลวงปู่มั่นนี้ บุคคลสำคัญของโลก สาขาสันติภาพ ที่นี้ประเด็นของสมาธิและสันติภาพของอาตมา มั่นไม่เหมือนกันกับที่เขาหมาย มีนัยยะสำคัญที่ต่างกัน สมาธิของอาตมา คือจิตตั้งมั่นเขาแปลซ้ำเป็นภาษาไทย สมาธิว่าคือความตั้งมั่นของจิต หรือจิตสั่งสมลง ตั้งมั่น เขาก็ทำจริง แต่จิตที่ตั้งมั่น ที่เป็นสมาธิ ที่เป็นความสงบ เรียกว่าสันติภาพ 

สันติภาพก็เป็นไวพจน์นัยยะเดียวกัน คือ จิตตั้งมั่น แล้วจิตอะไรตั้งมั่น คือจิตที่มีสันติ มีความสงบ ทีนี้ความสงบของโลกียะ นี่แหละนัยยะสำคัญมันต่างกัน ความสงบโลกีย์นั้นไม่ใช่ความสงบที่รู้จักกิเลส รู้ตัวตนของกิเลสตั้งแต่เบื้องต้น ตั้งแต่โลกอบายภูมิ แล้วก็กำจัดกิเลสตัวนั้นดับสนิท ไม่เกิดอีก เลื่อนขึ้นมาสู่กามภูมิ เหลือกิเลสกามภูมิก็มาเรียนรู้กิเลสกามภูมิ กำจัดกิเลสกามภูมิหมดไปอีก หมดไปแล้วเป็นคนสามัญลืมตา โลกอบายมุขก็ยังอยู่ โลกกามภูมิก็ยังอยู่ ไม่ได้หนีไปไหน แต่อยู่เหนือ อยู่เหนือสิ่งเหล่านั้น ก็เหลือ ละเอียดเข้าไปเป็นรูปภพ อรูปภพ ที่อยู่ในจิตภายใน ก็ไปเรียนรู้อีกในขั้นที่เป็นจิตในจิตเรียกว่าอนาคามีภูมิ ขึ้นไป 

จนหมดอรูปภพ ไม่มีภพเรียกว่า วิภวะ แต่ก็มีตัณหาอยู่ เป็นตัณหาอุดมการณ์ เรียกว่าวิภวตัณหา เป็นตัณหาที่ไม่มีกิเลสอีกแล้ว ไม่มีภพไม่มีชาติแล้ว 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรม รายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 34 ปัญญา สมาธิและสันติภาพแบบพ่อครู วันจันทร์ที่ 11 เมษายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 04 กรกฎาคม 2565 ( 11:39:51 )

สมาธิโลกีย์หลายวิธีเพื่อหยุดการฟุ้งซ่าน

รายละเอียด

ฌานวิสัย เป็นอจินไตยไม่ใช่สามัญ อย่างสามัญที่นั่งสงบนิ่ง ไม่หายใจได้ยิ่งดี ให้นิ่งให้หยุดมันก็ง่ายๆ เรียกโลกียสมาธิ พาทำกันทั้งโลก มีวิธีการใดก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะกายกรรมให้นิ่ง วจีกรรมก็เงียบไม่พูดให้ได้ยินเสียง หนักเข้าก็หายใจให้เบาอ่อน คิดก็ไม่ให้คิดให้เฉย มันก็ประตูเดียวถ่ายเดียวระนาบเดียว แล้ววิธีทำกี่วิธีก็แล้วแต่ กี่อาจารย์ก็หาวิธีกำกับให้ไปสู่จุดหมายที่เข้าใจนี้ เขาก็ทำกันมากมาย สรุปแล้วเป็นกี่วิธีก็แล้วแต่ที่จะให้ได้สมาธิอย่างที่หยุดจะให้ฟุ้งซ่านให้หลับไม่ฟุ้งซ่านให้หรี่หลับเป็นหลักฟังดีๆ ความไม่ฟุ้งซ่านความหรี่หลับไม่ออกกำลังกายแรงๆไม่ออกเป็นวาจาที่แรงมันก็หลับ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 31 มีนาคม 2563 ( 09:04:28 )

เวลาบันทึก 21 กรกฎาคม 2563 ( 04:38:08 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 07:00:00 )

สมาธิไปนั่งหลับตาเป็นเรื่องนอกรีต

รายละเอียด

อ้างอิงหลักฐานจากพระไตรปิฎกนั่งหลับตาไม่ใช่ของศาสนาพุทธ ตั้งแต่พรหมชาลสูตร ไม่มีปัจจุบันชาติไม่มีทิฏฐกาละ หลับตามีแต่อดีตกับอนาคต มันมีแต่สัญญาก็ได้แต่ความรู้ในสัญญา

ที่มา ที่ไป

พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 23 ตุลาคม 2562


เวลาบันทึก 06 ธันวาคม 2562 ( 15:49:43 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:44:32 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 06:59:19 )

สมาธิไม่เอาศีลก็เรียกสมาธิเดียรถีย์!

รายละเอียด

การปฏิบัติ“ธรรม”ของพุทธจึงต้องมี“ศีล”เป็นหลักเสมอ

ดังนั้น “สมาธิ”ที่ไม่มี“ศีล”เป็น“ตัวต้น”จึงผิดทฤษฎีพุทธไม่ใช่“ศีล”ไม่เอา..ทิ้ง“ศีล”ไปเอาแต่“สมาธิ”แบบเดียรถีย์ และความรู้ก็มีแต่“สัญญา”

แล้วหลงผิดว่าเป็น“ปัญญา”อย่างที่ชาวพุทธปัจจุบันนี้เป็นกันอยู่ มันก็ออกนอกรีตไปเป็นเดียรถีย์หมด ดังที่เป็นกันอยู่จริง

ต้องมี“ศีล”เป็นกรอบกำหนดการศึกษา แล้วจะจัดการความเป็น“จิต”แต่ละเรื่อง แต่ละขนาดแต่ละเนื้อหาได้อย่างมี“สภาวะจริง(object)

”ไม่เลอะเทอะเละเทะมั่วซั่วไปหมด แต่มี“ชิ้น”มี“อัน”มี“ตัวตน (อัตตา)”ให้ศึกษาอย่างน้อยก็“สังขาร”ที่มี“ภาวะ 2”หรือ“เทฺว”ให้ศึกษาจัดการเสมอ และมี“ปัญญา”เป็นตัวรู้จักรู้แจ้งรู้จริง“ความจริง”นั้นๆอยู่ด้วยตลอด 

จึงจะสามารถจับมั่นคั้นตายได้ว่า “เห็นความเกิด”และ“ทำความดับ” หรือทำ“วิมุติ”หลุดพ้นจากภาวะนั้นๆได้แท้ๆ

 

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ รวมเปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อ 132 หน้า122


เวลาบันทึก 18 มิถุนายน 2564 ( 05:31:28 )

สมานฉันท์คือการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

รายละเอียด

อาตมาตอนนี้ก็ขอเข้าสู่เรื่องของสมานฉันท์ ที่ขยายความจากเมื่อวานนี้ สมานฉันท์นี้ คือการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน

ส่วนคนไม่ยินดี แต่ต้องถูกจับตัวให้สมานฉันท์ เขาพยายามให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่คิดเห็นไม่สอดคล้องกันกับคนอื่น มันก็ยาก แต่มันก็ต้องพยายาม ไม่อย่างนั้นต้องขจัดออกไปเลย มันสมานไม่ได้ก็ต้องออกไป อย่างเช่น เราให้เขาออกไปเพราะว่าเขาทำผิด แต่จะให้เขากลับมาเพื่อตัดสินความผิด มาจับเข้าคุกอีก ก็เรื่องยุ่งอีก ดูแล้วมันน่างงจริงๆ แล้วจะให้เขาไปหรือจะเอาเขามากันแน่ อย่างนี้มันยึกยักอยู่ แค่นี้ก็ปวดหมองแล้ว ก็ค่อยๆเป็นไป

ขณะนี้ในเรื่องปรองดองในเมืองไทย เรื่องสมานฉันท์ในเมืองไทย ดีที่สุดในโลกแล้ว ที่ร้องเรียกขณะนี้คือพวกเหลือเศษฤทธิ์ ออกเสียงเป็นปากหอยปากปูทั้งนั้นแหละ พวกนี้ไม่มีวันจะสมานฉันท์ได้เป็นอันขาด อย่างที่เห็นกันตอนนี้ออกมาเรียกร้อง ยกตัวอย่างพวกเสื้อแดง เศษเหลือพวกนี้ พวกที่อยู่ข้างในประเทศก็ออกมารวนตลอดเวลาไม่เคยหยุดเลยในประเทศไทยขณะนี้ ก็คือพวกทักษิณ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ ความสมานฉันท์ 7 แบบ

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม 2561 ที่บวรราชธานีอโศก แรม 7 ค่ำ เดือน 8


เวลาบันทึก 04 มิถุนายน 2565 ( 14:19:51 )

สมานสังวาส

รายละเอียด

คือ ผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วมกันได้ ผู้ทำอุโบสถสังฆกรรมร่วมกันได้

หนังสืออ้างอิง

 “สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์ ภาค 4” “โพธิรักษ์”…“โพธิกิจ” หน้า 383


เวลาบันทึก 29 ตุลาคม 2562 ( 12:11:51 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 14:51:50 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 14:03:59 )

สมานสังวาส นานาสังวาส อสังวาส

รายละเอียด

กับมนุษยชาติกับสังคม ก็มีธรรมะเป็นเครื่องผูกรวมกันไว้อยู่ร่วมกันไว้ มีความเห็นที่เป็นสามัญญตา แน่นอนมันต้องแตกต่างกันบ้าง แต่มันก็เป็นสามัญญตา หมายความว่ามันอยู่กันอย่างเสมอสมานกัน โสดาบันเสมอโสดาบัน อนาคามีเสมออนาคามี อรหันต์เสมออรหันต์ ฐานพระโสดาบันแม้จะต่างกันก็เสมอสมานกันไม่แตกแยกเป็นนิกาย อาจจะมีที่มันห้ามไม่ได้ก็คือมันต่างกันเรียกว่านานา มันแตกต่างกัน แต่ไม่ได้แตกต่างกันมันก็ยังอยู่ร่วมกันได้เรียกว่ามีสิ่งที่ต่อเชื่อมสมานอยู่ได้ มันแตกต่างกันเรียกว่านานาสังวาสอยู่ร่วมกันแท้ๆ สังวาสเดียวกันก็คือสมานสังวาส นานาสังวาสก็แตกต่างกัน สุดท้ายที่เลวร้ายที่สุดก็คืออสังวาส อยู่ร่วมกันไม่ได้เลย นิกายนี้ทำนิกาย 2 อย่างให้แตกต่างกัน อันนั้นก็อยู่กับอันโน้นอันนี้ก็อยู่กับอันนี้ แต่อสังวาสนี้ ไม่ถือว่าเป็นคนที่อยู่ร่วมในโลก ตายจากศาสนาพุทธไป 1 ชาติ อสังวาสคือ ปาราชิก

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช กายนี้คือวิญญาณ วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 04 มีนาคม 2563 ( 10:49:45 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:46:02 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 14:05:28 )

สมานสังวาสอยู่กับนานาสังวาสกันได้

รายละเอียด

พวกเราเป็นนานาสังวาสแต่ก็สมานสังวาสกันได้ สังวาส แปลว่าการอยู่ร่วม โดยเฉพาะเรื่องวงการศาสนาพุทธธรรมก็หมายถึงการอยู่ร่วมกับคนที่มีแนวคิด ที่มันกำลังจะแยก แยกออกไป แตกต่างออกไปจนต่างกันเป็นนิกาย ต่างกันถึงขั้นนิกายนี้หมายถึง ไม่ใช่กาย ไม่ใช่กายเดียวกันแล้ว เพราะฉะนั้นคำว่ากายนี้จึงมีความหมายที่มากที่สุดเลย เพราะฉะนั้นใครที่ทำนิกาย ทำให้เกิดนิกายขึ้นมา โดยเฉพาะพระภิกษุ เป็นฆราวาสก็เป็นบาปเป็นกรรมเหมือนกัน ทำให้เกิดนิกายทำให้เกิดกาย

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช กายนี้คือวิญญาณ วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 


เวลาบันทึก 04 มีนาคม 2563 ( 10:46:56 )

เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2563 ( 15:46:54 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 14:06:15 )

สมานัตตตา

รายละเอียด

การทำตัวให้เข้ากันได้

หนังสืออ้างอิง

ยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า 84


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 21:05:48 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 14:52:13 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 14:06:59 )

สมาบัติ

รายละเอียด

1. การทำได้เสมอ ๆ หรือการเข้าถึงสภาพอย่างนั้น ๆ ต่อเนื่องกันอยู่

2. ทำได้เสมอ ๆ ขนาดใดก็ตาม

3. การเกิดได้เสมอ ๆ

4. การปฏิบัติจนสามารถมีความเป็นฌานแต่ละขั้น ๆ หรือภาวะเป็นผลสงบ ประณีตของการปฏิบัติที่พึงบรรลุสำเร็จ

5. การเข้าฌาน

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 192 , ทางเอก ภาค 3 หน้า52,309 

อีคิวโลกุตระ หน้า 127  -138


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 21:08:16 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 15:03:29 )

เวลาบันทึก 18 สิงหาคม 2563 ( 14:08:09 )

สมาบัติ 8

รายละเอียด

ได้แก่ รูปฌาน 4 และอรูปฌาน 4

หนังสืออ้างอิง

คนคืออะไร? หน้า 519


เวลาบันทึก 18 กรกฎาคม 2562 ( 21:09:02 )

เวลาบันทึก 17 กรกฎาคม 2563 ( 15:08:21 )

เวลาบันทึก 17 สิงหาคม 2563 ( 13:38:17 )

statistics

ติดต่อสอบถาม

Facebook : test

Youtube : Name

Twitter : Name

Line : Name

Telegram : Name

Wechat : Name

Skype : Name

Copyright © 2018 Borvornsocial.net all right are reserved. developer สงวนลิขสิทธิ์