@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก
@หลักสูตรพุทธปัญญาตรี,โท,เอก @ไม่มีสอนในโรงเรียน @ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย @เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของมนุษย์ที่ประเสริฐและครอบคลุมความจริงสูงสุด @คือความไม่รู้เหตุแห่งทุกข์และความไม่รู้ทางออกจากทุกข์ @สัจจะนี้เป็นวิทยาศาสตร์ @มีลำดับ มีต้น มีกลาง มีปลาย @ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา @ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา @ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ @ไม่ขึ้นอยู่กับการนับถือใดๆ @ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ใดๆในโลก @สิ่งนั้นเรียกว่า "จิต" เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง @เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ @มีความลุ่มลึกยิ่งกว่านิยายยูโทเปีย UTOPIA แต่เกิดจริง มีจริง แล้วในโลก

อภิธานศัพท์ (Glossary) จัดเป็นฐานข้อมูลด้านโลกุตระที่สมบูรณ์ที่สุดที่คัดมาจากหนังสือ คำเทศน์ ฯ

คู่มือการค้นหาอภิธานศัพท์อโศก หรือ ห้องสมุดโลกุตระ 50 ปี

เอกสาร : https://docs.google.com/document/d/1HLGedxqTAOTOTQKGbO6M4qMremQ8K1jBWKRYDDt6MRQ/edit

วีดีโอ Loom 2 : https://www.loom.com/share/e824e62ec1eb4567848e94af124a7ed5

วีดีโอ Loom 1https://www.loom.com/share/2445744a08e74bca95d2f1d2a0526044

วีดีโอ YouTube : https://youtu.be/QyXcGmzhLmk

 

 

อภิธานศัพท์ (ทั้งหมด) พบ 28,074 รายการ

มาเรียนไม่มาปฏิบัติธรรม

รายละเอียด

หลวงปู่ว่าความคิดอันนี้ไม่ดีให้เปลี่ยนซะ ต้องมาปฏิบัติธรรม ถ้าไม่ปฏิบัติธรรมออก ออกไปเลยนะไม่ต้องการอะไรนะ เอาแต่เรียนไม่มาปฏิบัติธรรม ที่นี่มีหลักเกณฑ์ศีบเด่น เป็นงาน ชาญวิชา อยากได้แต่วิชาการความรู้ ไม่ศีลเด่นไม่เป็นงาน ที่นี่ให้น้ำหนัก ศีลเด่น 40% เป็นงาน 35% ชาญวิชา 25% เพราะฉะนั้นคนที่มีความคิดเช่นนี้ขอไล่ออก

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ ตอบปัญหาการทำใจในใจให้ถึงแดนเกิด วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน 2561 ที่ บวร ราชธานีอโศก

สื่อธรรมะพ่อครู(สมาธิพุทธ) ตอน ทำอย่างไรที่จะมีอารมณ์ปัจจุบันตลอดเวลา


เวลาบันทึก 28 กุมภาพันธ์ 2564 ( 17:12:12 )

มาเอาทางอัปปิจฉะ อย่าไปทางมหัปปิจฉะ

รายละเอียด

ไม่เลย คนที่คิดอย่างนั้น น่าสมเพชเวทนา คุณคิดผิดแล้ว อาตมาไม่ได้คิดเป็นใหญ่อะไรเลย เป็นใหญ่มันหนัก มันหนา มันลำบาก มาเป็นน้อยๆนี่สบาย (สู่แดนธรรม..แต่รับผิดชอบใหญ่จังเลย) รับผิดชอบให้คนเขารู้อย่างที่เรารู้เท่านั้นเอง  เขารู้ผิด เขารู้จะไปเป็นใหญ่เป็นโต เป็นร่ำเป็นรวย มากมายด้วยรสด้วยชาติอะไรต่ออะไร มันไม่มีจบ มันมีแต่ใหญ่กับใหญ่ มากกับมาก  มหัปปิจฉะ เราจะให้มาน้อยๆ อัปปิจฉะ มหัปปิจฉะ มันคนละทิศคนละทาง เพราะฉะนั้นจึงมาเอาทางหมด ทางจน ทางสูญ ทางไม่มีอะไร อย่าไปเอาทางมาก ทางมาย ทางรวยนั่นเลย มันเข็ดหลาบแล้วทั้งใหญ่ทั้งมากทั้งรวย เข็ดเลยทั้งขี้อ่อนและขี้แก่ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธ‌ศาสนา‌ตาม‌ภูมิ‌ ‌ชาติ‌ ‌5‌ ‌พา‌พ้น‌ขิฑฑาป‌โท‌สิ‌กะ‌และ‌มโน‌ป‌โท‌สิกะ‌ ‌วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 01 มกราคม 2565 ( 21:33:20 )

มาแยกแยะความวิจิตรพิสดารของ “กาย”กันต่อในอีกหลายๆมิติ!

รายละเอียด

(ข้อ 1-6 อยู่ที่หน้า 304-305)

7. คนจึงต้องมี“ความเห็น(ทิฏฐิ)”ให้ถูกต้องในความเป็น“กายของตน(สัก)” จนกระทั่ง“พ้นสักกายทิฏฐิ”ถึงขั้นพ้น“วิจิกิจฉา”ให้ได้

8. ผู้ทำ“กาย”ให้หมดความรู้สึกเป็น“อุตุ”ได้ เป็น“พีชะ”ได้ และเป็นผู้“ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจได้(วสวัตตี)” ฉะนี้คือ ผู้บรรลุธรรม

[ผู้มิจฉาทิฏฐิหรือไสยศาสตร์ก็สามารถสะกดจิตสร้าง“อุปาทาน”ให้เป็นผู้หมดความรู้สึกได้ด้วย

แต่เป็น“การกดข่มไว้สำเร็จด้วยสมถวิธี” ซึ่งไม่ใช่ภาวะของการแยกกาย-แยกจิตด้วย“อภิสังขาร”ที่สามารถจัดการกับ“พลังงานจิต”ของตนทำให้เป็น“พีชธาตุ-อุตุธาตุ”ได้ด้วย“ปัญญา”เป็นอันขาด เพราะมิจฉาทิฏฐิหรือไสยศาสตร์ไม่มี“ปัญญา,ญาณ,วิชชา”ที่จะ“แยกกาย-แยกจิต”ได้ดอก]

9. ผู้บรรลุนิพพาน คือ ผู้รู้จักรู้แจ้งรู้จริงความเป็น“กาย”เป็น“จิต” และสามารถทำ“กาย”ทำ“จิต”ของตนให้เป็น“อุตุ-พืช-จิต-กรรม-ธรรม” โดยมี“กรรม”คือ “การกระทำ”ที่สามารถ“กระทำใจในใจ”ให้“ทรงไว้”ซึ่งก็คือ “ธรรม”ได้ดีทุกภาวะเสมอ โดยเฉพาะ“ไม่มีทุกข์-ไม่มีสุข”หรือ“ปราศจากกิเลสาสวะนิรันดร”

10. การปฏิบัติธรรมของพุทธต้องรู้จักรู้แจ้งรู้จริง“กาย”ก่อนที่จะรู้“เวทนา”ไปตามลำดับ แล้วจึงจะทำ“กรรม”อันเป็น“ธรรม”ให้“ทรงไว้” อย่าง“สัมมาทิฏฐิ-สัมมาปฏิบัติ-สัมมาปฏิเวธ”เป็นขั้นตอน

11. “การทำใจในใจ(มนสิการ)”นั้นต้องมี“กาย”เป็น“ภาวะ 2”อยู่พร้อม“สัมผัส..ภายนอก-ภายใน”ด้วย จึงจะครบ“รูป-นาม”หรือ“เทฺว”

12. “กาย”คือ “เทฺว”ที่เรียนรู้แยกแยะได้ กายต้องไม่เป็นภาวะเดี่ยว หรือมีแค่ 1  ต้องมี 2 และมากกว่า 2 ขึ้นไป ประชุมกันเสมอ 

13. แต่ต้องรู้จักรู้แจ้งรู้จริงว่า “กาย”ก็ดี “เทฺว”ก็ดี นั้นต้องมี“ธาตุรู้”เป็นประธานในความเป็น“2”ขึ้นไปทุกภาวะ ตั้งแต่รู้จักรู้แจ้งรู้จริง“ความต่างกันของความเป็น 2” ซึ่งต้องเปรียบเทียบหาความ“ยิ่งกว่า”ให้ได้ และทำให้“ความยิ่งกว่า”นั้นสำเร็จ“ผล”ไปทุกคู่

14. ในความเป็น“2”คือ มี“กายในกาย”ก็ดี-“เวทนาในเวทนา”ก็ดี-“จิตในจิต”ก็ดี-“ธรรมในธรรม”ก็ดี นั้นโดยมี“จิตหรือนาม”เป็นประธาน และเรียนจาก“กาย”หรือ“เทฺว”เป็น“คู่ศึกษา”ไปทีละคู่ๆ ด้วยรายละเอียดของกระบวนการ“รูป 28”กับ“นาม 5” จึงจะสามารถรู้จักรู้แจ้งรู้จริงและจัดการกับ“ภาวะ 2”ให้เจริญขึ้นๆไปทุกคู่เป็นลำดับๆ

15. “กาย”ถ้ามีแต่“นาม” หากขาด“รูป”ภายนอกให้“ถูกรู้” ก็ไม่ใช่“กาย” จึงไม่สามารถรู้จักรู้แจ้งรู้จริง“เทฺว”ได้เลย เช่นบรรดาผู้ที่เป็น“เทฺวนิยม”ทั้งหลายเป็นต้น จึง“อวิชชา”อยู่กับ“เทฺว”อยู่ตลอด 

16. ดังนั้น “กาย”จึงมี“กาม”เป็น“รูป”หยาบภายนอก ที่ต้องรู้จัก รู้แจ้ง รู้จริงเป็น“ขั้นต้น”ก่อน แล้วกำจัดให้ได้ก่อน “ธาตุรู้”นั้นจึงจะแหลมคมสามารถทะลุลึกดำเนินเข้าไป “รู้”ขั้น“รูป” และขั้น“อรูป”ต่อไปได้ เป็นลำดับๆตามจริง ไม่เช่นนั้นก็กำจัดขั้น“รูป-อรูป”ที่เป็นลำดับต่อจาก“ภายนอก(กาม)”เข้าไป“ภายใน”อีกที ไม่ได้เป็นเด็ดขาด เพราะมันผิดธรรมชาติแห่ง“ความจริง” มันก็“หลงผิด”หลับละเมอไปว่า ควักลำไส้ข้างในได้โดยไม่ผ่านผิวหนังข้างนอกเข้าไป ไม่ตามขั้นตามตอนให้ได้ก่อน  มันก็ขี้โกง เล่นตลก หรือโกหก เพราะมันไม่จริง มันผิดลำดับอยู่โต้งๆ

17. “กาย”คือ สภาพคู่ ที่มี“ธาตุรู้(นาม)”ซึ่งเป็น“ประธาน(subject)” กับมี“ธาตุที่ถูกรู้(รูป)”ซึ่งเป็น“รูปธาตุ(object)”เสมอ แต่ถ้าขืนแยกกัน มันก็ไม่เป็น“จิตนิยาม”หรือไม่มี“วิญญาณ” นั่นคือ ไม่มี“กาย”ให้ศึกษาครบบริบูรณ์เท่านั้นเอง เช่น พวก“หลับตา”ปฏิบัติก็มิจฉาทิฏฐิเป็นต้น

18. แต่“จิต”ไม่มี“กาย”ก็ได้ คือ “ธาตุอวิชชา”ที่ยังงมงาย ยังเร่ร่อนไม่มีที่เกิด ไม่มีแดนที่ตนสถิตย์ ไม่มีแหล่งไม่มีหลักที่ตนอาศัยได้เลย จึงเป็น“จิต”ที่ไม่มีใครรู้จัก แม้แต่ตนเองก็ไม่มีความสามารถรู้จัก“ตนเอง” จิตแบบนี้คือ จิตที่เรียกว่า“สัมภเวสี” ซึ่งเป็น“จิต”ที่ยัง“อวิชชา”อยู่เต็มๆ เป็น“จิต”ที่“โง่”ยังมืดมนด้วยความไม่รู้ ยังบอดอยู่กับ“เทฺว” ยังไม่มี“ตา,หู,จมูก,ลิ้น,โผฏฐัพพะ”ไม่มี“ทวาร 5 ภายนอก” ไม่มีภาวะคู่ ไม่มีความเป็น“รูปกับนาม” จึงเป็นแต่จินตนาการหรือความฟุ้งซ่านของตนอยู่คนเดียว หรือมีแต่ความแส่หาของตัณหา! เช่น พวกที่“หลับตา”ปฏิบัติ เป็นต้น 

“ความรู้-ความเห็น”ที่ได้จึงเป็นแค่“อุปาทาน”ที่ตนยึดถือเอง เป็น“มโนมยอัตตา” หรือเป็นแค่“กาย 3” ได้แก่ นิรมานกาย-สัมโภคกาย-อทิสสมานกาย ซึ่งเป็นความฟุ้งฝันเพ้อเจ้อเลอะเทอะ ที่มันจะเป็นอะไรต่ออะไร ก็ย่อมเป็นได้ทั้งนั้น

19. ผู้สามารถจัดการกับ“กายตนเอง”ในส่วนที่มันเป็น“จิต”อันสามารถมี“ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์”คัดสรรเอา“อกุศลจิต-บาป”หรือส่วนที่เป็น“โทส,ภัย(กลิ)”  แล้วจัดการกำจัด(ปหาน)ให้มัน“พ้นจากความเป็นอกุศลจิต”ได้สำเร็จ จนกระทั่ง“ส่วนนั้น”กลายเป็น“ส่วนที่ไม่ใช่กาย”เสร็จจบจริง ตาม“ปัญญา”ที่เจริญ“ปัญญินทรีย์-ปัญญาพละ-ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์-สัมมาทิฏฐิ-มัคคังคะ” ฉะนี้คือ ผู้สำเร็จ“มรรคผล”

20. ภาวะที่“ไม่ใช่กาย”ก็คือ ภาวะนั้นเป็น“วัตถุ”ไปแล้ว เป็น“อุตุ”แล้ว หรืออย่างน้อยก็เป็น“พืช”ไปแล้ว ซึ่งเป็นชีวะที่“ไม่มีกาย”ได้แก่ “พีชนิยาม(พืช)” ถ้ายิ่งกว่านั้นก็เป็น“อุตุนิยาม(มหาภูต 4)” ทั้ง“พืช”และทั้ง“อุตุ”นั้น ล้วนคือ ธาตุที่ไม่มี“เวทนา” ไม่ใช่ธาตุที่เป็น“วิญญาณ” ฉะนี้แล คือ “การดับวิญญาณ” การทำ“นิโรธ”สำเร็จ

ผู้สามารถ“ทำใจในใจ(มนสิกโรติ)”ของตนให้เป็น“พีช”หรือ“อุตุ”ได้สำเร็จนี้แลคือ ผู้บรรลุ“นิพพาน” เป็น“การพ้นสุข-พ้นทุกข์”

21. ภาวะ“จิต”ที่มีความเป็น“นิพพาน” คือไม่มี“เวทนาที่เป็นสุข-เป็นทุกข์” แต่มี“ปัญญา”ทำ“สัญญาเวทยิตนิโรธ”สำเร็จจริง

22. “นิโรธ”ที่ไม่มี“กาย”คือ “มิจฉานิโรธ” ซึ่งก็สามารถทำให้เป็น“นิโรธที่ไม่มีสุข-ไม่มีทุกข์”ได้ ตามแบบของเดียรถีย์ เป็น“นิโรธ”ที่ไม่มี“ปัญญา” และทำ“สัญญาเวทยิตนิโรธ”ที่“สัมมาทิฏฐิ”ไม่ได้

23. “กาย”ที่ใช้ศึกษา หากมิจฉาทิฏฐิเสียแต่เริ่มต้น ก็คือ ผู้ยังไม่พ้น“สักกายทิฏฐิ”ซึ่งคือ “สังโยชน์ข้อที่ 1”กันเลย เพราะไม่ได้เรียนรู้มาจาก“อุปัชฌาย์”หรือเรียนแต่เรียนมาผิดๆในความเป็น“กาย”

 

หนังสืออ้างอิง

หนังสือ รวมเปิดยุคบุญนิยม เล่ม 2 ข้อ 464 หน้า 341


เวลาบันทึก 23 มิถุนายน 2564 ( 09:09:16 )

มาโซคิส

รายละเอียด

ระวังคนนี้จะเป็นมาโซคิส มีแรงกว่าซาดิสซึ่มนะ ระวังจะไปยินดียินร้ายกับการถูกด่ามากนัก 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 05 เมษายน 2563 ( 12:13:35 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 16:58:16 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 15:12:41 )

มิจฉัตตะ

รายละเอียด

ความผิดไปจากมรรคผล , ความผิดไปจากอาริยะ

หนังสืออ้างอิง

พุทธเป็นอเทวนิยมอย่างนี้ หน้า 142, หน้า 144


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 16:35:08 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:16:52 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:38:40 )

มิจฉัตตะ 10

รายละเอียด

มิจฉัตตะ 10(ภาวะที่ผิด ความเป็นสิ่งที่ผิด)  คือภาวะที่ผิดที่ทำให้ไม่บรรลุมรรคผล

1. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด)       

2. มิจฉาสังกัปปะ (ความดำริผิด)  

3. มิจฉาวาจา (วาจาผิด) 

4. มิจฉากัมมันตะ (การงานผิด)   

5. มิจฉาอาชีวะ (การเลี้ยงชีพผิด) 

6. มิจฉาวายามะ (ความพยายามผิด)        

7. มิจฉาสติ (การระลึกผิด)         

8. มิจฉาสมาธิ (จิตตั้งมั่นผิด)       

9. มิจฉาญาณ (ความรู้ผิด)

10. มิจฉาวิมุต (ความหลุดพ้นผิด)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม 24 “มิจฉัตตสูตร” ข้อ 103

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก 


เวลาบันทึก 07 กรกฎาคม 2562 ( 17:27:57 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 16:14:36 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:39:21 )

มิจฉา

รายละเอียด

1. มันไม่ไปทางหมด-ทางสูญ มันยังไม่หมดการเสพ

2. ผิด

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 63

ทางเอก ภาค 3 หน้า 160

สมาธิพุทธ หน้า 356


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 16:36:27 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:18:06 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:39:52 )

มิจฉา

รายละเอียด

มิจฉาแปลว่า ผิดคำสอนพระพุทธเจ้า 

 

ที่มา ที่ไป

631228 พ่อครูเทศน์ในรายการโสเหล่โลกุตระ ที่บ้านราชฯ วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม 2563


เวลาบันทึก 28 ธันวาคม 2563 ( 20:18:04 )

มิจฉา ปณิหิตัง จิตตัง

รายละเอียด

ตั้งจิตสู่ทิศไว้ผิด

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 352


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 16:37:14 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:18:54 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 15:10:31 )

มิจฉากัมมันตะ 3

รายละเอียด

ได้แก่ ปาณาติปานา  อทินนาทานา  กาเมสุมิฉาจารา

หนังสืออ้างอิง

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 92


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 16:38:01 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:19:37 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:40:24 )

มิจฉาคือความต่างกันกับสัมมาของพระพุทธเจ้า

รายละเอียด

มิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ว่าคนเข้าใจอะไรผิดไปหมด ไม่ใช่ มิจฉาคือความต่างกันกับสัมมาของพระพุทธเจ้า ของพระพุทธเจ้าจะสัมมาอะไรก็แล้วแต่ ในมรรคมีองค์ 8 ก็มี สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันต... อะไรพวกนี้ทั้งหมด สัมมาควบทั้งนั้น ตัวสุดท้ายเลยเป็นสัมมาสมาธิ ถ้าไม่ใช่ สัมมา ก็ผิดเพี้ยนไปเป็นมิจฉาผิดเพี้ยนกันเป็นตรงกันข้าม 

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม พระอรหันต์มาตอบปัญหาประชาธิปไตยแท้ วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 22 กุมภาพันธ์ 2564 ( 15:39:47 )

มิจฉาชีพ 5

รายละเอียด

1. กุหนา(โกงทุจริตร้ายเลวสุด)

2. ลปนา(โกงร้ายชั่วรองมา)

3. เนมิตตกตา(ยังอยู่ในระหว่างปฏิบัติพัฒนาตน จึงชื่อว่า ต้อง อาศัยโชคที่อุตสาหะทำเองสร้างเองให้ได้ ไม่ใช่เสี่ยง) หมายถึง ผู้กำลัง ปฏิบัติพัฒนาตนเองแท้ๆนั่นเองที่จะเจริญ“โชค”เป็นของตน

4. นิปเปสิกตา(ผู้บรรลุผลแล้ว และไม่ยอมตนให้กับผู้ผิด)

5. ลาเภน ลาภัง นิชิคิงสนตา(พ้นมิจฉาชีพขั้นสูงสุดคือ ทำงานฟรี โดยไม่รับสิ่งแลกเปลี่ยนเอาอะไรกลับมาให้ตนแล้ว สบายใจ)

ที่มา ที่ไป

 พระไตรปิฎก เล่ม 14 ข้อ 275 มหาจัตตารีสกสูตร 

หนังสืออ้างอิง

 คนจนที่มีแบบ ฉบับแก้แล้วไขอีก เล่ม 1  หน้า 460

 


เวลาบันทึก 29 ธันวาคม 2562 ( 16:16:42 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:42:37 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:42:58 )

มิจฉาชีพ 5

รายละเอียด

อาชีพข้อแรก 1. กุหนา อาชีพทุจริตเลวร้ายขี้โกง ทุจริตสารพัดทางกายวาจาใจครบเครื่อง เลวที่สุด มีไหมในประเทศไทย ...มีเยอะด้วย 

2. ลปนา อาชีพที่ไม่ทำทางกายกรรมไม่ดีแต่ภาษาเล่ห์เหลี่ยมคดโกงหลอกล่อ ทุจริตด้วยทางภาษา กุหนาครบเครื่องกาย วาจา ใจ แต่ลปนาคือทุจริตทางวาจา

3. เนมิตกตา ก็เริ่มเลิกกุหนา ลปนา ปฏิบัติศีลสมาธิปัญญาหลุดพ้นมาได้เรื่อยๆ แปลว่ามีโชค ผู้ที่บรรลุได้ก็เป็นโชคของเขา 

4. นิปเปสิกตา หมดมิจฉาชีพแล้วสำหรับตัวเอง ในการประพฤติปฏิบัติกับคนอื่นไม่มีมิจฉาชีพแล้ว มิจฉาชีพเฉพาะตนเอง ยังมีลาภยศเงินทอง ไม่ได้โกง ไม่ได้ทุจริตอะไรแล้ว แต่ยังมอบตนในทางผิด ผู้ไม่รับใช้คนผิดก็เข้ามาอยู่ในอโศก หากยังรับใช้คนผิดอยู่ก็ไม่พ้น นิปเปสิกตายังใช้แรงงานยังใช้เครื่องมือ รับจ้างคนที่ทำผิดอยู่ ก็ยังไม่พ้นมิจฉาชีพ ข้อที่ 4

ข้อที่ 5. พ้นมิจฉาชีพ มารับใช้ชาวอโศกอยู่กับชาวอโศก แต่ยังรับรายได้อยู่ยังไม่พ้นมิจฉาชีพข้อที่ 5 ลาเภนลาภังนิชิคิงสนตา สุดยอดไหม โลกสมัยนี้ทำได้ สมัยพระพุทธเจ้าทำกับฆราวาสไม่ได้ เพราะเป็นยุคที่อยู่ในสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นยุคทาส เป็นยุคที่พระเจ้าแผ่นดินเป็นเจ้าของทรัพย์สินหมด ยังมีนายทาสยังมีเจ้าของ บุคคลที่จะใช้แรงงานอีก ไม่รู้เรื่องสิทธิมนุษยชน พระพุทธเจ้าจึงได้ประกาศสาธารณโภคีกับโลกกับสังคมฆราวาสไม่ได้ ได้แต่ผู้ที่มามอบตนเข้ารีต มาอยู่ในศาสนาพุทธคือมาบวช หรือไม่บวชเป็นพุทธศาสนิกชน ก็ต้องอยู่ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตัดไม่ขาด ยังเกี่ยวโยงอยู่กับวงการฆราวาสภายนอก

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์เปิดงานพุทธาภิเษก วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 28 กุมภาพันธ์ 2563 ( 16:02:26 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:41:22 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 15:10:11 )

มิจฉาชีพ 5

รายละเอียด

เมื่อเราปฏิบัติในขณะมีอาชีพ เป็นงานเลี้ยงอาชีพเป็นงานหลัก ต้องรู้มิจฉาชีพ 5

กุหนา ลปนา ทุจริตทางกายวาจาต้องเลิกก่อน กุหนา ทางกายหยาบ ลปนา ทุจริตทางวาจา ก็เลิกสองอย่างนี้ ทำไปตามลำดับ เนมิตกตา ที่คุณมีลักษณะจัดสรรให้แก่ตัวเองได้แล้วก็ทำ อย่าประมาท มันเสี่ยงนะ เนมิตกตา แปลว่าเสี่ยงทาย คุณต้องทำให้มันจริง อย่าเอาแค่การพยากรณ์ดูเล่น ต้องตั้งใจทำ ก็ได้ไปตามลำดับ

เสร็จแล้วอาชีพที่คุณทำ คุณก็จะได้สำเร็จบริบูรณ์ ก็อยู่กับหมู่ฝูง อย่าไปรับใช้คนผิดอย่าไปรับใช้นายทุน อย่าไปรับใช้คนนอกรีต อย่าไปรับใช้หรือรับจ้างพวกผิด รับใช้นี่ไม่รับเงิน รับจ้างต้องรับเงิน รับใช้เป็นความประเสริฐ รับจ้างเป็นความไม่ประเสริฐ

เราก็ชัดเจนในการทำงานฟรี ไม่แลกเปลี่ยนอะไรมาให้แก่ตัวเอง ลาเภนลาภังนิชิคิงสนตา นิปเปสิกตา ไม่ไปช่วยคนที่ผิดหรอก หมู่กลุ่มมีคนให้ช่วยตั้งเยอะแยะ อย่าไปมีวิบาก เราก็ไปอยู่กับหมู่กลุ่มดีกว่า แต่ถ้าภูมิไม่พอก็อยู่ไม่ได้ แต่ถ้าอยู่ได้แล้วจะเสียเวลาทำไม

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ มาทำแก่นชีพ-เชื้อชาติพุทธให้รุดหน้าเกินพัน วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 09 กุมภาพันธ์ 2564 ( 19:49:33 )

มิจฉาชีพ 5 ข้อ

รายละเอียด

1.    การโกง ทุจริต คอรัปชั่น (กุหนา) มีในงานการเมือง
2.    การล่อลวง หลอกลวง (ลปนา) มีในนักธุรกิจ – การเมือง
3.    การตลบตะแลง (เนมิตตกตา) ยังเสี่ยง ยังไม่แน่แท้
4.    การยอมมอบตนในทางผิด อยู่คณะผิด (นิปเปสิกตา)
5.    การเอาลาภแลกลาภ (ลาเภนะ ลาภัง นิชิคิงสนาตา)

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2562

หนังสืออ้างอิง

พระไตรปิฎก เล่ม 14 ข้อ 275 มหาจัตตารีสกสูตร


เวลาบันทึก 22 ธันวาคม 2562 ( 23:14:16 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:43:39 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:43:27 )

มิจฉาชีพ 5

รายละเอียด 1.กุหนา โกง ทุจริต คอรัปชั่น 2.ลปนา หลอกลวง ล่อลวง เล่นหุ้น เล่นหวย 3.เนมิตตกตา สร้างสิ่งที่ไม่ดีมาตบตา ตลบแตลง ขายประกัน ซื้อมาขายไป โฆษณาในทีวี 4.นิปเปสิกตา เป็นคนดี แต่ยังรับใช้คนเลว ยอมให้เขาได้เปรียบ มอบตนในทางที่ผิด 5.ลาเภน ลาภัง นิชิคิงสนตา อยู่กับคนดี ไม่รับสิ่งตอบแทน (พ่อครู 26.5.62) (พระไตรปิฎกเล่ม 14 "มหาจัตตารีสกสูตร" ข้อ 275)


เวลาบันทึก 01 มิถุนายน 2562 ( 15:43:41 )

มิจฉาทิฎฐิ กายวิเวก จิตวิเวก

รายละเอียด

ผู้ใส่ใจธรรมะพระพุทธเจ้าจริงคือผู้ฉลาด ก็สงสารผู้อยากได้ธรรมะแต่มิจฉาทิฏฐิ น่าสงสาร แม้แต่วิเวกก็ไกลจากวิเวก เข้าใจ กายวิเวกไม่ได้ จิตวิเวกก็ไปนั่งหลับตาอีกไม่เอาภายนอก หากผู้ใดเอาภายนอกจะเกิดรูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ครบ ทำฌานก็เป็นมิจฉาฌาน หลงมิจฉาจนเป็นอรหันต์เก๊หมด เหมือนดูถูกเขานะ เขาเคารพกันทั้งบ้านเมือง คือมันออกจากภายนอกไม่มีรูป 28 ไม่มีผัสสะ ไม่มีโคจรรูป

ที่มา ที่ไป

วิถีอาริยธรรม บ้านราช เศรษฐกิจที่ดีที่สุดในโลกอยู่ที่นี่ วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 19 มกราคม 2563 ( 14:23:20 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:44:17 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:44:02 )

มิจฉาทิฎฐิ เพราะยากจะเข้าใจสัมมาทิฏฐิ 10

รายละเอียด

ข้อที่ 10 นี้เป็นข้อสำคัญ ที่ยากจะเข้าใจ สัมมาทิฏฐิ 10 ข้อนี้เข้าใจยากทั้ง 10 ข้อ มันก็เลยมิจฉาทิฎฐิไปทั้งหมด 10 ข้อ พูดได้เลยว่าเขามิจฉาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิเป็นประธานของการปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 ข้อแรก เมื่อผิดเป็นมิจฉาทิฏฐิข้อแรกเลย ติดกระดุมเม็ดแรกผิดมันก็ผิดไปหมดเลย ทานก็ผิด ปฏิบัติศีลก็ผิด ปฏิบัติจะให้เกิดหุตังก็ไม่ได้แล้ว เข้าใจผลที่มันได้มาจากการปฏิบัติทานและศีลผิด สังเวยที่บูชาแล้วเป็นสำนวนโบราณ คือการได้รับผลแล้วสังเวยที่ได้บวงสรวงแล้วคือ จิต มันได้รับผลจากการปฏิบัติทานและศีลแล้วก็เกิดหุตัง เขาก็ไม่รู้สภาวะธรรมอันนี้ ก็ไปแปลกันเป็นภาษาที่เหมือนกับคนจีนไหว้เจ้า สังเวยที่บูชาแล้ว เอาไก่ย่างเอาอะไรไปให้ถวายเจ้า สังเวยที่ได้บูชาแล้ว มันก็เลยไปกันใหญ่น่าสงสารไม่รู้จะพูดอย่างไร 

ยิ่งลึกเข้าไปกว่านั้นเข้าใจ สุกตทุกฎานังผลังวิปาโก หมายถึง กรรม มีกรรมมีวิบาก ปฏิบัติธรรมก็ได้ทุกข์บ้างสุขบ้างตามกรรมที่เราได้ปฏิบัติก็เป็นผลวิบาก สัมมาทิฏฐิที่ข้อที่4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งกรรมไม่ใช่ศาสนาแห่งก๊อด กรรมเป็นใหญ่กรรมเป็นทุกอย่างปฏิบัติกรรมได้ถูกต้องสัมมาทิฏฐิ บรรลุทุกอย่างสูงสุดเลย แม้แต่ที่สุดจะเป็นพระพุทธเจ้าก็ปฏิบัติกรรม 

ข้อที่ 5 ข้อที่ 6 ยิ่งไปกันใหญ่เลย มาตา มี ปิตา มีแม่มีพ่อมีก็ยิ่งไปกันใหญ่เลยไม่รู้เรื่องเลยว่ามันหมายถึงอะไร แม่มีพ่อมีมารดามีบิดามี อัตถะมาตา อัตถิปิตา ก็ไปแปลกันว่าบุญคุณของแม่มีบุญคุณของพ่อมีไปโน่นเลยเห็นไหม ซึ่งมันก็น่าเห็นใจเลยมันไม่มีสัมมาทิฎฐิแล้วไม่มีเนื้อหาสาระของโลกุตรธรรมของพูดแล้วมันก็เลยไม่รู้ 

มาตา ปิตานี้ มันหมายถึงเป็นแม่ทางปรมัตถธรรมศีลเป็นแม่ปัญญาเป็นพ่อ โพชฌงค์ 7 เป็นพ่อมรรคมีองค์ 8 เป็นแม่ ก็ไม่เคยเห็นคนอื่นอธิบายอย่างนี้ ถามว่าเอามาจากไหน อาตมาก็บอกว่าเอามาจากพระพุทธเจ้า ก็มันไม่มีคนอื่นพูด ไม่ได้บันทึกไว้ ไม่ได้เก็บมา คำสอนอันนี้ ก็ไม่มี หรือว่าท่านบันทึกไว้แต่คุณเข้าใจไม่ได้เอง มาตา ปิตา คุณเข้าใจไม่ได้ก็เลยปฏิบัติไม่ได้ 

ยิ่งสัตว์โอปปาติกะ กลายเป็นสัมภเวสีที่ล่องลอยไปเป็นวิญญาณ ล่องลอยไปเป็นรูปร่างตัวตนเป็นนิทานกี่เรื่องต่อกี่เรื่อง ที่เป็นเทวดาเป็นมารพรหม เป็นนิยายอะไรเยอะเลย เหมือนอย่างกับอาจารย์มั่น หนักเข้าก็ไปพบกับเทวดามาจากเยอรมันแล้วไปสอนการตอบโต้ธรรมะกัน มันก็น่าสงสารซึ่งเป็นมิจฉาทิฐิไปหมด 

อาตมาพูดก็ยิ่งน่าเห็นใจเขา เพราะว่าอาจารย์มั่นเป็นพระอาจารย์ใหญ่ของเขา ก็ไม่รู้จะว่าอย่างไรอาตมาจะเป็นต้องพูดสัจจะความจริง ไม่ได้รังเกียจรังงอนอะไร แต่น่าสงสารเขาด้วย เขานึกว่าตัวเองบรรลุธรรมแล้ว ซึ่งเป็นการบรรลุมิจฉาปฏิบัติ มหาบัวก็เหมือนกันบอกว่าชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายแล้วว่ากันไป อาตมาต้องพูดว่าเขาเข้าใจผิดจริง แล้วก็เห็นอยู่ทนโท่แล้วหลงผิดไปยึดติดๆมันน่าสงสารไหม อาตมาสงสารจริงๆจึงต้องพูด 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์รายการพุทธศาสนาตามภูมิที่บ้านราชฯ วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2563


เวลาบันทึก 08 ธันวาคม 2563 ( 20:12:09 )

มิจฉาทิฏฐิ

รายละเอียด

1. ความเห็นที่ยังไม่ถูกต้อง จะเป็นได้รู้ ได้ฟัง ได้รับทราบ

2. ยังเข้าใจผิด

3. เข้าใจไม่ถูก , ยังเข้าใจผิด , ความเห็นผิด , เห็นเพี้ยนจากพุทธไปแล้ว

4. ความรู้ ความเห็นผิดขั้นต้น

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 205

ทางเอก ภาค 3 หน้า 180

คนคืออะไร? หน้า 246, หน้า 344, หน้า 354, หน้า 543

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 235


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 16:39:51 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:23:02 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 15:11:17 )

มิจฉาทิฏฐิ

รายละเอียด

คือ ความเห็นที่ยังไม่ถูกต้อง, ยังเข้าใจผิด, ความเห็นผิด, เห็นเพี้ยนไปจากพุทธ, ความรู้ ความเห็นผิดขั้นตอน

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต สันติอโศก วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 24 พฤศจิกายน 2562 ( 15:48:41 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:44:59 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:44:20 )

มิจฉาทิฏฐิ 10

รายละเอียด

1.  ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล (ไม่เห็นการลด) (นัตถิ ทินนัง)
2.  ยัญพิธี(พิธีการ)ที่บูชาแล้ว  ไม่มีผล  (นัตถิ ยิฏฐัง)
3.  สังเวย(เสวย)ที่บวงสรวงแล้ว  ไม่มีผล  (นัตถิ หุตัง)
4.   ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้ว  ไม่มีผล  . (นัตถิ  สุกตะทุกกะฏานัง กัมมานัง   ผลัง วิปาโก) 
5.   โลกนี้  ไม่มี  (นัตถิ อยัง โลโก)  
6.โลกหน้า  ไม่มี  (นัตถิ ปโร โลโก)

7. ไม่มีปัญญาเห็นมารดา  (นัตถิ  มาตา) . จึงเห็นว่า แม่ ไม่มี
8. ไม่มีปัญญาเห็นบิดา (นัตถิ  ปิตา) .  . จึงเห็นว่า พ่อ ไม่มี
9. ไม่มีปัญญาเห็นสัตว์อุบัติขึ้นเอง.(นัตถิ สัตตา โอปปาติกา)
10.ไม่รู้เห็นสมณพราหมณ์ทั้งหลาย.เป็นผู้ดำเนินชอบ-ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้-โลกหน้า ให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในโลกนี้  

(นัตถิ โลเก  สมณพราหมณา สัมมัคคตา สัมมาปฏิปันนา  เย  อิมัญจ  โลกัง  ปรัญจ  โลกัง  สยัง อภิญญา  สัจฉิกัตวา  ปเวเทนตีติ) 

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎก เล่ม 14 ข้อ 255

ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2562 ( 17:07:36 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:47:48 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:45:12 )

มิจฉาทิฏฐิ 10. . ไม่มีผลต่อปุญญาภาคียะ

รายละเอียด

1. ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล (กิเลสไม่ลด) (นัตถิ ทินนัง)

2. ยัญพิธี(พิธีการ)ที่บูชาแล้ว  ไม่มีผล  (นัตถิ ยิฏฐัง)

3. สังเวย(เสวย)ที่บวงสรวงแล้ว  ไม่มีผล  (นัตถิ หุตัง)

4. ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้ว  ไม่มีผล
(นัตถิ  สุกตะทุกกะฏานัง กัมมานัง   ผลัง วิปาโก)

5. โลกนี้  ไม่มี  (นัตถิ อยัง โลโก)  .

6. โลกหน้า  ไม่มี  (นัตถิ ปโร โลโก)

7. ไม่มีปัญญาเห็นมารดา  (นัตถิ  มาตา)

8. ไม่มีปัญญาเห็นบิดา (นัตถิ  ปิตา)

9. ไม่มีปัญญาเห็นสัตว์อุบัติขึ้นเอง (นัตถิ สัตตา โอปปาติกา)

10. ไม่เห็นสมณพราหมณ์ทั้งหลาย.เป็นผู้ดำเนินชอบ-ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้-โลกหน้า ให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในโลกนี้  (นัตถิ โลเก  สมณพราหมณา สัมมัคคตา สัมมาปฏิปันนา  เย  อิมัญจ  โลกัง  ปรัญจ  โลกัง  สยัง อภิญญา  สัจฉิกัตวา  ปเวเทนตีติ)

     

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎก เล่ม 14 “มหาจัตตารีสกสูตร” ข้อ 255

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 07 กรกฎาคม 2562 ( 17:56:49 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 16:15:39 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:45:40 )

มิจฉาทิฏฐิ ผัสสาหารหลงทุกข์คือสุข

รายละเอียด

ไม่ใช่แม่โค แต่คุณนั่นแหละสมมุติตัวเองเป็นคนไร้หนังหุ้ม คุณต้องกำหนดรู้ความแสบ แล้วคุณไปหลงว่าแสบคือสุข บอกว่าสิ่งสัมผัสนั้นคือความสุข มันไม่มีความสุขหรอก มันมีแต่ทุกข์ที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป คนไม่มีแต่หนังหุ้ม ก็มีแต่ทุกข์ที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปรู้บ้างไหม ขนาดนี้พระพุทธเจ้าท่านกำหนดอย่างนี้ก็ยังไม่รู้ตัวว่ามันมีทุกข์อยู่ทั่วไปเลย แต่คนก็ยังตามืดตาบอดไม่รู้สึกรู้สา อ๋อ ทุกข์หรืออร่อยจะตายไป สวยจะตายไป สนุกจะตายไป มันน่าสมน้ำหน้าไหม มันไม่รู้จริงๆ เพราะคุณไม่ได้เรียนรู้ ผัสสะ คุณอาศัยผัสสะนั่นแหละเป็นทุกข์ มันเหมือนโค คุณนั่นแหละไม่มีหนัง ยืนอยู่มีเนื้อแดงๆ 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 29 ธันวาคม 2562 ( 11:04:36 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:45:58 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:46:33 )

มิจฉาทิฏฐิ เรื่องกายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวก

รายละเอียด

เจ้าประคุณเอ๋ยอวดดีอย่างไร จะไปเปิดตาพระพุทธเจ้าไปเบิกเนตรพระพุทธเจ้า พูดแล้วเหมือนตลกออกนอกลู่นอกทางไปไกล ไม่มีทางที่เขาจะได้แม้กระทั่งกายวิเวก กายวิเวกของเขาคือเอาร่างกายออกป่า เป็นมิจฉาทิฐิตั้งแต่ข้อที่ 1 นำตนออกสู่ป่านึกว่ากายวิเวกแล้ว ข้อที่ 2 กายวิเวกก็นั่งสมาธิ ถ้าหากนั่งสมาธิเป็นเตวิชโช ก็ได้ แต่ต้องเข้าใจคำว่าฌาน คำว่า อธิจิต คุณไม่ต้องนั่งหลับตาหรอก ลืมตามีภายนอกก็มีจิตวิเวกได้ หากลืมตามีกายภายนอกด้วย ในคุหัฏฐกสุตตนิทเทส อธิบายไว้ตอนท้าย มีภายนอกด้วย แต่จิตวิเวกไม่มีภายนอกก็เลยข้องอยู่ในถ้ำอันไกลแสนไกล ยิ่งอุปธิวิเวกก็ปิดประตูเลยเพราะว่า อุปธิวิเวกคือ ขันธ์ คืออภิสังขาร ก็ทำไม่เป็นก็เลิกเลย นี่คือผู้ที่ไกลจากวิเวก วิเวกนั้นไม่ได้แปลว่าปัสสัทธิ วิเวกแปลว่าสงบ ใช้คำไทยว่า สงัดพอเข้าใจคำว่าสงัดเป็นสงบก็แย่ สงัดคือเงียบเสียง สงัด ไม่ได้ทำความหยุดสงบเรียบร้อยหมด สงัดคือหลีกเร้นออกจากความอึกทึกวุ่นวาย 

ที่มา ที่ไป

รายการทำวัตรเช้า วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 25 มกราคม 2563 ( 12:09:56 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:46:36 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 15:09:30 )

มิจฉาทิฏฐิ  ย่อมมีคติ 2 คือ นรกหรือกำเนิดเดียรัจฉาน 

รายละเอียด

อย่างน้อยที่สุดใน โลหิจจสูตร พระพุทธเจ้าบอกว่าถ้าใครไปเข้าใจว่า โลหิจจสูตร โลหิจจพราหมณ์ มีทิฏฐิลามก ว่า “ผู้บรรลุแล้วไม่พึงบอกแก่ผู้อื่น  เพราะคนอื่นจะทำอะไรแก่อีกคนหนึ่งได้ การบอกแก่คนอื่นจัดว่าเป็นความโลภที่เป็นบาป  เปรียบเหมือนคนตัดเครื่องพันธนาการเก่าออกแล้ว   กลับทำเครื่องพันธนาการใหม่... ฯลฯ ”  

พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นมิจฉาทิฏฐิ  ย่อมมีคติ 2 คือ นรกหรือกำเนิดเดียรัจฉาน  อย่างใดอย่างหนึ่ง (พตปฎ. เล่ม 9 ข้อ 358) หรือแม้แต่ใน อภิณหปัญจเวกขณ์ 10 ข้อที่ 10 ท่านก็ตรัสไว้ชัดเจนว่า ญาณทัสนะวิเศษอันสามารถกำจัดกิเลส เป็นอาริยะ คือ อุตริมนุสสธรรมอันเราได้บรรลุแล้ว  มีอยู่หรือหนอ ที่เป็นเหตุให้เรา ผู้อันเพื่อนพรหมจรรย์ถามแล้วจักไม่เป็นผู้เก้อในกาลภายหลัง (อุตตริมนุสสธัมมา อลมริยญาณ ทัสสนวิเสโส อธิคโต  โสหัง ปัจฉิเม กาเล สพฺรหฺมจารีหิ ปุฏฺโฐ น มังกุ ภวิสฺสามีติ)  (พตปฎ. เล่ม 24 ข้อ 48) 

บอกได้อย่างไม่เก้อยากไม่เขินอายเลย อย่างอาตมาก็บอกได้ชัดเจนอาตมาเป็นอรหันต์ เป็นโพธิสัตว์ พูดถึงขนาดอาตมาเป็นธรรมิกราชเพราะอาตมาเป็นจริง ในยุคนี้อาตมาก็อธิบายไว้หมดว่ามีธรรมิกราช 2 องค์ในตามตำราว่าไว้อาตมาไม่ได้กล่าวเอง อาตมากล่าวจริงด้วยกล่าวอย่างเป็นหลักฐานเลยว่ามีธรรมิกราช 2 องค์ แต่คนก็หมั่นไส้ว่า ยกตนเทียบท่าน เอาเถอะ อาตมาว่าธรรมิกราชคือในหลวง ร. 9 ก็ไม่ว่าอะไรสมสัดส่วน แล้วเอ็งเป็นใคร เอ็งมายกตนเองว่าเป็นธรรมิกราช เขาก็บอกว่าเป็นกะเรี่ยกะราด ทำเป็นยกตนหลงตนว่าเป็นธรรมิกราช 

อาตมาเข้าใจ อาตมาไม่ได้โกรธเขาหรอกคนที่มองอาตมาอย่างนั้น ขออภัยพูดอีกทีก็ได้แต่สงสารเขา เขาไม่รู้หรอก อาตมาไม่อยากเปรียบเทียบว่า ลิงเห็นแหวนเห็นแก้ว หรือ ขออภัยไม่พูดต่อละ หรือพูดต่อก็ได้ หมาไม่รู้อะไรก็เห็นขี้ดีกว่าข้าว ไม่รู้ว่าพวกนี้มันเป็นสิ่งที่ดีเป็นสิ่งที่น่าได้ หมาจะเห็นพลอย หมามันก็ไม่รู้จักหรอกว่ามีค่ากว่าขี้ เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องสัจจะ อาตมาเข้าใจสัจจะพวกนี้อยู่ไม่มีปัญหาอะไร 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 32 จรณะ 15 คือการยืนยันหลักปฏิบัติไม่ผิดของพุทธ วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม 2566 ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 8(8) ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 22 สิงหาคม 2566 ( 11:12:44 )

มิจฉาทิฏฐิกับกายวิเวก

รายละเอียด

คุณอยู่อย่างนี้ คุณหยั่งลงในที่หลงไปเรื่อยๆ คำสอนพระพุทธเจ้าต้องสงัดจากกามเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ แต่กายวิเวกเขาเอาตัวเองออกสู่ป่า หนีผัสสะทางตาหูจมูกลิ้นกาย ออกป่าซ้ำมิหนำอยู่แต่ผู้เดียว ปฏิบัติหลับตาอีก อนาคามีจิตพ้นจากกิเลสกาม แม้กระทบอยู่ลืมตาอยู่ แต่ไม่ได้หนีเข้าป่าเขาถ้ำที่ไหนเลย พวกออกป่า เขาหนีจากผัสสะ แต่ว่าที่จริงเขาหนีจากผัสสะแต่เขานึกว่าเขาเหนือผัสสะ

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 8 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 20 มกราคม 2563 ( 18:36:10 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:48:34 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:47:39 )

มิจฉาทิฏฐิก็พากันทำลายสังคม

รายละเอียด

เห็นไหมความสงบของพระพุทธเจ้าเป็นความสงบที่เป็นปัญญาข้อที่ 3 จะรู้จักความสงบ 2 อย่าง ความสงบอย่างเดียรถีย์พาซื่อง่ายๆ ทำให้เกิดการไม่ขยับเขยื้อน ไม่เคลื่อนไหว บาลีว่า อิญชนะ ไม่ใช่ กายก็ไม่เคลื่อนไหว วจีก็ไม่เคลื่อนไหว ดูช้าๆก็ไม่ใช่แต่ยิ่งเคลื่อนไหวแคล่วคล่องว่องไว ตรงกันข้ามกับความเข้าใจของผู้ปฏิบัติมิจฉาทิฏฐิ มันง่ายๆตื้นๆอย่างนั้นเข้าใจง่ายบอกว่าคนไม่กระดุกกระดิก สงบไม่กระทบกระแทกกับใคร อยู่เงียบๆนิ่งๆเฉยๆปากก็ไม่พูดมาก อย่างนั้นมันพาซื่อตื้นๆง่ายๆ 

ซึ่งเป็นเรื่องของการเสื่อมของสังคมมนุษยชาติ เป็นความเสื่อมทางเศรษฐกิจ เป็นความเสื่อมทางการบริหาร เป็นการเสื่อมอย่างร้ายกาจเลย 

เพราะฉะนั้นพวกที่มิจฉาทิฏฐิก็พากันทำลายสังคม เพราะเศรษฐกิจก็แย่เลย ทางการบริหาร ทางการดูแลสังคม ทางการเมืองก็แย่ไปด้วย 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 18 ผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงจิตวิญญาณมนุษย์ และอภิวัฒน์สังคม วันจันทร์ที่ 17 เมษายน 2566 แรม 12 ค่ำเดือน 5 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 09 พฤษภาคม 2566 ( 16:05:57 )

มิจฉาทิฏฐิก็ใช้กับโลกียะได้

รายละเอียด

ถูกแล้ว มิจฉาทิฏฐิก็ใช้กับ โลกียะได้เอาไปแทนกันได้ มิจฉาทิฏฐิมันแปลว่าความเห็นผิดก็ไปใช้กับโลกียเพราะมันผิดไปตามที่คนเถียงกันในโลกียเขาเถียงกัน เรื่องอะไรก็แล้วแต่มันไม่เหมือนกันต่างคนต่างยึดถือ ก็ถือว่าต่างกัน เขาคิดถึงข้างใดข้างหนึ่งก็คิดไปข้างนั้นผิดข้างเราถูกของเขาผิดก็อย่างนั้น มันก็เป็นได้ใช้แทนได้ แต่จริงๆอย่างที่อ๋อยเข้าใจนะถูกแล้ว ของพระพุทธเจ้าบัญญัติขึ้นมาเป็นเรื่องของอริยสัจ 4 เท่านั้น 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 28 ตุลาคม 2563


เวลาบันทึก 22 พฤศจิกายน 2563 ( 10:13:02 )

มิจฉาทิฏฐิของสัตตาวาส 9

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นในมิจฉาทิฏฐิของสัตตาวาส 9 ข้อที่ 1 2 3 4 เขาก็อย่างนึง ต่างกับวิญญาณฐิติ 7 แล้วยิ่งไปข้อที่ 5 อสัญญีสัตว์ ก็ใน สัตตาวาส 9 คุณยิ่งไปดับอสัญญีสัตว์อีก 4 ข้อหลัง อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็น นิรมาณกายหมดเลย เนรมิตเอาหมด อากาศก็เนรมิตว่าง ตามประสาของฉัน จิตว่างอย่างนั้น มันไม่ใช่การว่างจากกิเลส หยาบ กลาง ละเอียดยังไม่เข้ามาหาเป้าอย่างชัดเจน 

สายท่านพุทธทาสก็บอกว่าฉันอยู่ด้วยจิตว่าง วันๆไม่ได้ทำอะไรฉันอยู่ด้วยจิตว่างไม่ยึดถือไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร มันก็เลยไม่มีตัวที่จะปฏิบัติ ….ซึ่ง มันไม่ว่างจากกิเลส ตั้งแต่ หยาบ กลาง ละเอียด หมดแล้ว มันถึงจะว่างจากกิเลส หยาบ กลาง ละเอียด เห็นไหม มันไม่เป็นอย่างที่ว่า 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ความมหัศจรรย์ของพระธรรมวินัยข้อที่ 1 กับข้อที่ 8 วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 21 ธันวาคม 2564 ( 06:41:05 )

มิจฉาทิฏฐิของเถรวาทเกี่ยวกับการตาย

รายละเอียด

สุดท้ายศึกษาแล้วจะรู้ว่าจะสูญสลายก็ได้ จะต่ออีกก็ได้ เวียนเกิดอีกได้ แต่เถรวาทเขาก็ไม่เข้าใจ เขาก็ยึดแต่ว่าตายแล้วสูญไม่เวียนกลับมาเกิดอย่างเดียวเท่านั้น แต่อาตมามีความรู้จากความจริงว่า เป็นพระโพธิสัตว์เป็นพระอรหันต์แล้วกลับมาเกิดอีกได้ เป็นขั้นๆ โพธิสัตว์ 9 ระดับ

1.โสดาบันโพธิสัตว์

2.สกิทาคามีโพธิสัตว์

3.อนาคามีโพธิสัตว์

4.อรหันต์โพธิสัตว์

5.อนุโพธิสัตว์

6.อนิยตโพธิสัตว์

7.นิยตโพธิสัตว์

8.มหาโพธิสัตว์

9.พระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

แต่ว่าเถรวาทหรือชาวพุทธในเมืองไทยไม่เชื่ออย่างนี้ หากเชื่อว่าตายแล้วสูญอย่างเดียวเป็นพระอรหันต์ แล้วตายแล้วต้องสูญสลายอย่างเดียวไม่กลับมาเกิดอีกแล้ว อันนี้ถือว่าเป็นทิฏฐิที่เป็นอุจเฉททิฏฐิ ถือเป็นมิจฉาทิฐิอย่างหนึ่งที่เป็นอุจเฉททิฏฐิ ส่วนสัสตทิฏฐิคือตายแล้วไม่มีสูญคือนิรันดรอยู่กับพระเจ้า นี่คือความคิดของพวกเทวนิยม พระพุทธเจ้าแยกความเห็นต่างๆที่เป็นมิจฉาทิฐิคืออดีต 18 อนาคต 44 ความเห็น

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 17 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 26 มกราคม 2563 ( 15:43:13 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:50:54 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:48:49 )

มิจฉาทิฏฐิคำว่ากายในคนไทย

รายละเอียด

คำว่า กาย ตามที่สู่แดนธรรมพูดมา คำเดียวนี่แหละในศาสนาพุทธ ภาษาไทยแปลว่าร่าง แปลเป็นวัตถุภายนอกที่ดินน้ำไฟลม และเข้าใจผิดว่ามันไม่เกี่ยวกับจิตเลย นี่คือมิจฉาทิฏฐิในคนไทย กาย แปลว่าดินน้ำไฟลมไม่เกี่ยวกับจิตเลย เป็นความเข้าใจผิดอย่างมหันต์เลย ผิดอย่างตีลังกาเลยว่าใครเข้าใจผิดว่ากายนั้นคือดินน้ำไฟลมโดยที่ไม่เกี่ยวกับจิตเลย คนนั้นปิดประตูเป็นพระอรหันต์เลย เพราะว่าเป็นมิจฉาทิฐิที่จบเห่เลย 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 4 มีนาคม 2563


เวลาบันทึก 26 มีนาคม 2563 ( 13:02:10 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 16:59:13 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:49:17 )

มิจฉาทิฏฐินั่งขัดสมาธิจะได้บรรลุธรรม

รายละเอียด

แม้ว่าคุณพากเพียรให้ตายอย่างไร แต่ถ้าคุณมิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นความเข้าใจก็เป็นมิจฉาแล้ว คุณเข้าใจว่าปฏิบัติตามอย่างพระพุทธเจ้าคือนั่งขัดสมาธิแล้วจะบรรลุธรรม นั่นแหละคือมิจฉาทิฏฐิ ต้องให้คุณเป็นพระพุทธเจ้าก่อนแล้วนั่งขัดสมาธิจะได้ตรัสรู้ หรือรู้ธรรมะที่เกิด ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้เลย เป็นไปไม่ได้ คือพระพุทธเจ้าที่ท่านนั่งหลับตาแล้วท่านก็ระลึกถึง ระลึกได้ของที่ตัวเองเคยมีเคยเป็นแล้วได้แล้ว เรียกว่าในความจำในสัญญา ท่านก็นึกเอาสัญญาขึ้นมา เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้ธรรมะบรรลุธรรมมาตั้งนานแล้ว จนกระทั่งตั้งแต่บรรลุพระอรหันต์ อนุโพธิสัตว์ อนิยตโพธิสัตว์ นิยตโพธิสัตว์ มหาโพธิสัตว์ ปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 29 ธันวาคม 2562 ( 10:15:01 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:52:01 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:50:09 )

มิจฉาทิฏฐิบุคคลไม่รู้ว่าตายเป็นตาย เป็นเป็นเป็น

รายละเอียด

พวกหลงผิดไปนั่งสะกดจิตแล้วไม่ยอมทิ้งร่าง ตายไปแล้วจิตวิญญาณก็ยังยึดเป็นของกู ร่างก็ไม่เน่า พวกมิจฉาทิฏฐิยึดกายเป็นของตนนั้น ตายไปแล้วก็ไม่เน่าง่ายๆ พวกนี้จะไม่มีแบคทีเรียอะไรมากมาย ตายแล้วจะค่อยๆแห้งลงไปๆ ก็ไม่เน่า เสร็จแล้วก็เอามาบูชาเป็นมิจฉาทิฏฐิบุคคล ซึ่งไม่ใช่ของศาสนาพุทธของพระพุทธเจ้าเลย นั่งสมาธิตายก็ตาม นอนตายก็ตาม แล้วไม่เน่าเอาใส่โลงแก้วไว้กราบ แต่เขากราบมิจฉาทิฏฐิบุคคล นอกรีต เป็นเดียรถีย์น่าสงสารมาก มันเลยเถิดเป็นมิจฉาทิฏฐิปานฉะนี้ ไม่รู้ว่าตายเป็นตาย เป็นเป็นเป็น คนตายแล้วร่างไม่เที่ยง ตายไปแล้วก็เป็นดินน้ำไฟลม ครั้นปราศจากวิญญาณ เขาทิ้ง  เขาหมายถึงผู้มีปัญญาเขาทิ้งซะแล้ว ก็ย่อมประดุจดังท่อนไม้ดินน้ำไฟลม ท่อนไม้ อุตุนะ ท่อนฟืน อุตุ หาประโยชน์ไม่ได้หรอก อย่าไปงมงายว่าเป็นของฉัน แล้วจะต่อชีวะเป็นของฉัน

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาความเข้าใจเรื่องกายของอ.แปลง วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 29 พฤศจิกายน 2564 ( 14:56:10 )

มิจฉาทิฏฐิละเอียดลออ

รายละเอียด

เพราะฉะนั้นในทานมัย ข้อ 1 ไม่ต้องสร้างอะไรต่อเลยไม่ต้องมี สาเปกโข ไม่ต้องมี ปฏิพัทจิตโต มีความโยงใยปฏิพัทธ์กันอยู่ อันที่ 3. มีสันนิธิเปกโข ลงไปใส่สะสมไว้เลย เข้าธนาคารไว้เลย 4. โน่น จะได้ไปกินในชาติหน้าในภพในชาติหน้า นี่คือมิจฉาทิฏฐิละเอียดลออเลย ถ้าหากตั้งจิตไว้ผิดเข้าใจผิดในทาน ในทานสูตร ศึกษาดู 

เพราะฉะนั้น ผู้เข้าใจผิดทำใจในใจผิดเป็นมิจฉาทิฏฐิ คุณบอกว่า ปัตติทานมัยเข้าถึงผลทาน ก็เข้าถึงแบบมิจฉาทิฏฐิ ไปได้กุศล ได้สมบัติ ได้ภพชาติ คุณทานแล้วก็ไม่มีทางจะบรรลุนิพพาน เพราะคุณทานแล้วไปได้ภพชาติ จะได้สิ่งที่เป็นสมบัติต่อ ถ้าเป็นบุญมันต้องเป็นวิบัติ มันต้องล้างกิเลส ต้องรู้กิเลส ต้องกำจัดกิเลสได้จริงมันจึงจะเป็นปัตติทานมัยที่แท้ เพราะฉะนั้น ภาษาดูท่าดี ปัตติ ทาน ดูดี มัย หรือมยัง สำเร็จ แต่เสร็จแล้วอธิบายผิด อรรถกถาจารย์ผิด ก็เลยไม่ใช่บุญ ปัตติทาน มีการละเอียดไปอีกว่าเป็นการบรรลุธรรม ก็ขยายความไปว่าบรรลุผิดหรือบรรลุถูก 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ บุญกิริยาวัตถุ 7 ข้อที่เป็นเนื้องอกของศาสนาพุทธ วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม 2565 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 12 ปีขาล ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 14 ธันวาคม 2565 ( 13:18:27 )

มิจฉาทิฏฐิสายนั่งหลับตา

รายละเอียด

สักกายทิฏฐิ ก็จะต้องรู้กาย รู้กายของตนในตน ไม่ใช่ไปรู้กายของคนอื่นไม่ใช่รู้อย่างผิดเพี้ยนๆ อย่างพ้นวิจิกิจฉา ในสังโยชน์ 3สังโยชน์ 3 ต้องมีกายต้องเรียนรู้กาย ต้องมีกายเป็นหลัก เริ่มต้นด้วยกายคือข้อ 1 เลย ใครผู้ใดไม่มีทิฐิเป็นสัมมา กาย ไม่มีไปนั่งหลับตาตั้งแต่สังโยชน์ข้อที่ 1ก็โมฆะ ไม่มีสิทธิ์ที่จะบรรลุธรรม นั่งหลับตาปฏิบัติเขาเข้าใจ กาย ก็เป็นแต่เพียงภายนอก เดี่ยวๆด้วย กายคือร่างกายด้วย ในมิจฉาทิฏฐิสายนั่งหลับตาเข้าใจอย่างนั้น จึงมีความผิดที่ไกลจากวิเวกและเข้าใจปฏิบัติมีแต่เพียงหนึ่งไม่มีภายนอกแล้วนั่งหลับตาปฏิบัติเข้าไปอยู่ภายใน แล้วมันจะไปลงตัวกันได้อย่างไรมันจะมีผลสำเร็จได้อย่างไร บอกว่าให้เดินไปทางนี้ แต่เขาก็เดินไปทางโน้น เขาก็บอกว่าใช่ทางนั่นแหละทางที่คุณว่านั่นแหละ แต่เขาไปเดินอีกทางหนึ่ง เราก็บอกว่ามาเดินทางนี้ ทางตรงนี้ เขาบอกว่าใช่ๆแล้ว อย่างที่คุณว่า นี่เป็นความเข้าใจว่ามันใช่แต่ไม่ใช่ ที่เขาเดินที่บอกว่าทางที่ใช่มันไม่ใช่มันคนละทาง แต่เขาก็บอก พอเราบอกว่าทางนี้ เขาก็บอกว่าทางนั่นแหละใช่แล้ว นี่แหละเป็นความเข้าใจที่นึกว่าถูกในผิด มันก็เลยยิ่งยากใหญ่เลย ถ้าเขาเข้าใจว่ามันต่างกัน มันก็จะมีหวัง ไอ้หวังตายแน่ต้องฆ่าไอ้หวังด้วยนะ ซ้อนนะ อย่างนี้มีหวังคือฆ่าไอ้หวังให้ตาย เพราะถ้าฆ่าไอ้หวังไม่ตายคุณมีสาเปกโขซ้อนอีกนะ

ที่มา ที่ไป

รายการกายนี้คือวิญญาณ วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2563


เวลาบันทึก 03 มีนาคม 2563 ( 10:28:23 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 16:59:43 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:51:34 )

มิจฉาทิฏฐิสูตร

รายละเอียด

บุคคล

"รู้" (ชานาติ)

"เห็น" (ปัสสติ)

"จักษุ" ด้วยความเป็นของไม่เที่ยง (อนิจจโต)

จึงจะละ "มิจฉาทิฏฐิ" ได้ (จักขุง อนิจจโต ชานโต ปัสสโต มิจฉาทิฏฐิ ปหิยยติ)

บุคคล "รู้" "เห็น" "รูป" ด้วยความเป็นของไม่เที่ยง (อนิจจโต) จึงจะละ "มิจฉาทิฏฐิ" ได้

บุคคล "รู้" "เห็น" "จักษุวิญญาณ" ด้วยความเป็นของไม่เที่ยง (อนิจจโต) จึงจะละ "มิจฉาทิฏฐิ" ได้

บุคคล "รู้" "เห็น" "จักษุสัมผัส" ด้วยความเป็นของไม่เที่ยง (อนิจจโต) จึงจะละ "มิจฉาทิฏฐิ" ได้

บุคคล "รู้" "เห็น" "สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา" ที่เกิดขึ้นเพราะ "จักษุสัมผัส" เป็นปัจจัย ด้วยความเป็นของไม่เที่ยง (อนิจจโต) จึงจะละ "มิจฉาทิฏฐิ" ได้

บุคคล "รู้" "เห็น" "หู" ด้วยความเป็นของไม่เที่ยง (อนิจจโต) จึงจะละ "มิจฉาทิฏฐิ" ได้

บุคคล "รู้" "เห็น" "จมูก" ด้วยความเป็นของไม่เที่ยง (อนิจจโต) จึงจะละ "มิจฉาทิฏฐิ" ได้

บุคคล "รู้" "เห็น" "ลิ้น" ด้วยความเป็นของไม่เที่ยง (อนิจจโต) จึงจะละ "มิจฉาทิฏฐิ" ได้

บุคคล "รู้" "เห็น" "กาย" ด้วยความเป็นของไม่เที่ยง (อนิจจโต) จึงจะละ "มิจฉาทิฏฐิ" ได้

บุคคล "รู้" "เห็น" "ใจ" ด้วยความเป็นของไม่เที่ยง (อนิจจโต) จึงจะละ "มิจฉาทิฏฐิ" ได้

บุคคล "รู้" "เห็น" "ธรรมารมณ์" ด้วยความเป็นของไม่เที่ยง (อนิจจโต) จึงจะละ "มิจฉาทิฏฐิ" ได้

บุคคล "รู้" "เห็น" "มโนวิญญาณ" ด้วยความเป็นของไม่เที่ยง (อนิจจโต) จึงจะละ "มิจฉาทิฏฐิ" ได้

บุคคล "รู้" "เห็น" "มโนสัมผัส" ด้วยความเป็นของไม่เที่ยง (อนิจจโต) จึงจะละ "มิจฉาทิฏฐิ" ได้

บุคคล "รู้" "เห็น" "สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา" ที่เกิดขึ้นเพราะ "มโนสัมผัส" เป็นปัจจัย ด้วยความเป็นของไม่เที่ยง (อนิจจโต) จึงจะละ "มิจฉาทิฏฐิ" ได้

เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จึงจะละ "มิจฉาทิฏฐิ" ได้

หนังสืออ้างอิง

ถอดรหัส นิพพาน-อัตตา-อนัตตา-นิรัตตา หน้า 93-94


เวลาบันทึก 10 ตุลาคม 2562 ( 15:28:58 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 16:17:11 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 15:08:45 )

มิจฉาทิฏฐิหวังจะบรรลุเป็นอรหันต์ด้วยคำว่าธุดงค์แล้วออกเดิน

รายละเอียด

หวังจะบรรลุอาริยะเป็นอรหันต์ด้วยคำว่าธุดงค์ แล้วเอาไปออกเดิน 1. ธุดงค์ 2. ออกเดิน นี่คือความผิดทั้งคู่ ศาสนาพุทธไม่บ้าเดิน และ ศาสนาพุทธไม่บ้าดง เป็นพยัญชนะสั้นๆ กระทัดรัด concise แต่มี extend และมี extempore พระอรหันต์ไม่ใช่พระที่ต้องไปออกเดินธุดงค์ ไม่เดินและไม่บ้าดง เดินธุดงค์ไม่ใช่เรื่องของศาสนาพุทธ พระธุดงค์กับพระออกเดิน และแถมเป็นว่า เดินธุดงค์อีก คำว่าเดินก็ไม่ใช่ของศาสนาพุทธ คำว่าธุดงค์ก็ไม่ใช่ของศาสนาพุทธ เรื่องที่ไม่ใช่ของศาสนาพุทธ และก็เป็นเรื่องที่ปนเข้ามาในทิฏฐิของชาวพุทธ เรียกว่ามิจฉาทิฐิ ผิดตั้งแต่คำว่าธุดงค์นั้นคือการออกป่า ธุดงค์ไม่ได้หมายถึงการออกป่า ไปปฏิบัติธรรมในดงในป่า พระธุดงค์คือพระที่ต้องไปปฏิบัติในดงในป่า นี่คือความหมายที่ 1 คอนเซปนี้เป็นทิฏฐิที่ผิดไปจากศาสนาพุทธ สองประเด็น 1.นักบวชในศาสนาพุทธที่จะปฏิบัติมุ่งนิพพานจริงๆคือต้องออกป่า ก็คือเข้าดง และ 2.ธุดงค์หมายถึงการเดิน แอ๊คท่าเดินแบกกลดเดินบนดอกไม้ หลอกคนหลงคนโง่แต่หลอกโพธิรักษ์และหมู่ที่เห็นอย่างโพธิรักษ์ไม่ได้ ดงกับเดิน สองคำนี้มาพูดกัน ธุดงค์หรือธุตังคะ

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 14 มกราคม 2561


เวลาบันทึก 26 กุมภาพันธ์ 2564 ( 12:24:01 )

มิจฉาทิฏฐิเรื่องวิญญาณของภิกษุสาติ

รายละเอียด

ภิกษุสาติมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า “เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ว่า  วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น” ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาจะปลดเปลื้องภิกษุสาติจากทิฏฐินั้น  จึงซักไซ้ ไล่เลียงสอบสวนว่า ท่านอย่ากล่าวอย่างนี้ ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค  การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสอย่างนี้เลย ดูกรท่านสาติ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น  พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณเว้นจากปัจจัยมิได้มี.

 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2563

หนังสืออ้างอิง

มหาตัณหาสังขยสูตร พระไตรปิฎก เล่ม12 ข้อ 440


เวลาบันทึก 05 เมษายน 2563 ( 12:20:49 )

เวลาบันทึก 20 กรกฎาคม 2563 ( 17:00:08 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:53:41 )

มิจฉาทิฏฐิเรื่องอรหันต์ตายแล้วสูญ

รายละเอียด

เขาเข้าใจเป็นมิจฉาทิฏฐิ ว่า อรหันต์ตายแล้วต้องตายสูญกลับมาเกิดอีกไม่ได้ แล้วเป็นโสดาบันเกิดตายอีกไม่เกิน 7 ชาติต้องเป็นอรหันต์ แต่โพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญนานมาก หากเป็นโสดาบันก่อนก็เป็นโพธิสัตว์ไม่ได้ ก็เลยยกให้โพธิสัตว์เป็นปุถุชน บำเพ็ญไปอีกนานแล้วจะได้เป็นพระพุทธเจ้าเอง…ซึ่งไม่เป็นขั้นเป็นตอนที่จะสามารถเป็นพระพุทธเจ้าได้เลย

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช ฌานวิสัยของอรหันต์และโพธิสัตว์ ศุกร์ที่ 13 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 18 ธันวาคม 2562 ( 15:58:33 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:53:11 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 15:11:07 )

มิจฉาทิฏฐิเรื่องเคี้ยวหมาก

รายละเอียด

ฉันข้าวกับเคี้ยวหมากมันเหมือนกันได้อย่างไรคงต้องไปทำความเข้าใจให้ดีนะ เคี้ยวหมากแทนข้าวได้หรือ ถ้าหากทานข้าวกับเคี้ยวหมากเหมือนกันคุณก็ต้องเคี้ยวแต่หมากไม่ต้องกินข้าวสิ แค่นี้คุณก็เข้าใจไม่ได้ แล้วการเคี้ยวหมากทำไมมันมากมื้อนักล่ะเคี้ยวทั้งวัน ผู้ที่เป็นภิกษุฉันข้าววันละ 1 มื้อเท่านั้น แต่กินหมากทำไมทั้งวัน

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ วิถีอาริยธรรม พระอรหันต์มาตอบปัญหาประชาธิปไตยแท้ วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 22 กุมภาพันธ์ 2564 ( 18:27:16 )

มิจฉาทิฏฐิแบบอุทเฉทิฏฐิของเถรวาท

รายละเอียด

เถรวาทเข้าใจว่า อรหันต์ตายแล้วสูญ ซึ่งหากเข้าใจเช่นนี้ศาสนาพุทธก็ไม่มีใครมาสืบทอดสิ ศาสนาอายุไม่กี่ร้อยปีก็หายไปหมดแล้ว ด้วนหมดแล้ว นี่คือพวกอุจเฉททิฏฐิ คือพวกที่ทำลายศาสนาพุทธ เป็นมิจฉาทิฏฐิแบบอุจเฉททิฏฐิ 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 22 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 06 กุมภาพันธ์ 2563 ( 18:44:42 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:53:41 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 15:08:12 )

มิจฉาทิฏฐิในฌาน

รายละเอียด

ของการปฏิบัติมิจฉาทิฏฐินั้นอยู่ในภพ ไม่รับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ปิดทวารทั้ง 5 แล้วเขาก็ไปมีภพมีชาติ คือไม่มีกามภพ มีแต่ภพในภวังค์หนึ่งเดียวแล้วก็มี นิรมาณกาย สัมโภคกาย อทิสมานกาย เสพเองอยู่ในภพ มาถึง ฌาน ซึ่ง ฌานของพระพุทธเจ้ากับแบบที่มิจฉาทิฏฐินั้นมันคนละอย่างกัน 

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต สันติอโศก วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม 2562


เวลาบันทึก 24 พฤศจิกายน 2562 ( 15:51:22 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:54:50 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:54:29 )

มิจฉาทิฐิ 3

รายละเอียด

ไม่มีแบบแผนก็เข้าป่าเข้ารกไป ไม่มีที่ไปที่มาเลยก็เป็นมิจฉาทิฐิ 3 ข้อนี้เป็นลัทธิ 3 อย่างที่ผิด 

1.ปุพเพกตเหตุวาทะ  ถือว่าเหตุเก่าพาเกิด มาจากกรรมเก่าวิบากเก่า 

2 อิสรนิมมานเหตุวาทะ สิ่งที่เกิดมานั้นเกิดมาจากพระเจ้าทั้งนั้นมีผู้ยิ่งใหญ่สั่งการเป็นลัทธิของพระเจ้า 

3.อเหตุอปัจจยะวาทะ คือไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย ลัทธิเชื่อว่าทั้งหมดไม่มีเหตุปัจจัยเกิดปุ๊บขึ้นมาได้เลย 

อันนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิทั้ง 3 จากพระไตรปิฎกเล่ม 20 ข้อ 501 (ติตถยตนสูตร)

อาตมาต้องยืนยันด้วยหลักฐานจากพระไตรปิฎกด้วยเป็นเรื่องใหญ่ แม้แต่ในของอรรถกถาจารย์ก็มีบ้าง แต่เอาของพระพุทธเจ้าเป็นหลัก อาตมาไม่ได้ปฏิเสธของอรรถกถาจารย์หรือผู้รู้บ้างที่มั่นใจ ในพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐนี้บันทึกไว้ไม่หมด พระไตรปิฎกมีอีกหลายฉบับ อันนี้มีแค่ 45 เล่ม พระไตรปิฎกของมหายานมี 300 เล่ม มีคนเคยเอามาให้แต่อาตมาไม่ไหว 45 เล่มนี้ก็ยังอ่านไม่ค่อยไหว 300 เล่มนี้ก็ไม่ไหวมีมากเยอะแยะ เพราะฉะนั้นแค่ 45 เล่มนี้เราก็ใช้ประมาณหนึ่ง ไม่ต้องถึงครึ่ง ให้คุณมีสภาวะจริงเกิดขึ้นแล้วที่เป็นสัมมาทิฏฐิสัมมาปฏิบัติสัมมาปฏิเวธ รับรองว่าไม่ต้องถึงขั้นนั้น

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน 2563


เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 18:00:23 )

เวลาบันทึก 03 สิงหาคม 2563 ( 07:47:57 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:55:34 )

มิจฉาผล

รายละเอียด

1. ผลเก๊ ซึ่งไม่ใช่โลกุตระ

2. ผลไม่ถูกตามธรรม

หนังสืออ้างอิง

ค้าบุญคือบาป หน้า 127 หน้า 164


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 16:41:25 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:24:08 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:56:00 )

มิจฉาพุทธเป็นไฉน

รายละเอียด

ผู้ที่ปฏิบัติหลับตาออกจากศาสนาพุทธเรียบร้อย อาตมาพยายามอธิบายแล้วเอาหัวข้อธรรมะมาแจกแจงให้ฟังให้เห็นชัดเจนว่า ไม่ได้เข้าหลักเกณฑ์ของศาสนาพุทธเลยนั่งหลับตาปฏิบัติ แต่ก็ต้องพูด ย้ำซ้ำแซะอะไรก็ต้องพูด ผู้ที่ไม่มีผัสสะ คุณก็ไม่มีมนสิการ 

มนสิการเป็นการทำใจในใจ ไม่ได้ทำใจในใจ เพราะคุณไม่มี ผัสสะ ไม่มีผัสสะไปนั่งสะกดจิตนั่งหลับตา มันก็ไม่มี กาย ไม่มีภายนอก คุณก็ไม่เกิดสภาวะที่สำคัญมากปฏิบัติธรรมต้องสัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย อย่างนี้เป็นต้น คุณก็จะไม่รู้เรื่อง พระพุทธเจ้าตรัสว่าอย่างไรก็ไม่เข้าใจ เมื่อไม่มีสัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกายสำเร็จอิริยาบถอยู่ มันก็ปฏิบัติไม่ครบกระบวนการพระพุทธเจ้า มันก็ไม่ได้ผลไม่มีผลเลย ผลเกิดเหมือนกันแต่เกิดแบบเดียรถีย์ เกิดแบบนอกรีต แบบไม่ใช่ศาสนาพุทธ คุณก็ได้ผลแบบเดียรถีย์แบบพวกนอกศาสนาพุทธ เป็นมิจฉาพุทธไป

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ โสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 23 วันจันทร์ที่ 11 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 30 มกราคม 2564 ( 08:47:47 )

มิจฉามรรค

รายละเอียด

1. หลงทาง

2. ทางดำเนินชีวิตที่ผิด

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 3 หน้า 159 

วิถีพุทธ หน้า 87


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 16:42:32 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:25:01 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:56:33 )

มิจฉาวณิชชา 5

รายละเอียด

คือ การค้าขายที่ผิด ชาวพุทธไม่ควรกระทำ

1. ค้าขายศาสตรา (สัตถวณิชชา)

2 ค้าขายสัตว์เป็น (สัตตวณิชชา)

3. ค้าขายเนื้อสัตว์ (มังสวณิชชา)

4. ค้าขายของเมา (มัชชวณิชา)

5. ค้าขายยาพิษ (วิสวณิชชา)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม  22 "วณิชชสูตร"  ข้อ  177

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 24 มิถุนายน 2562 ( 20:56:37 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 16:18:20 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:57:03 )

มิจฉาวณิชชา 5

รายละเอียด

คือการค้าขายที่ผิด ชาวพุทธไม่ควรกระทํา

1. ค้าขายศาสตรา (สัตถวณิชชา)

2. ค้าขายสัตว์เป็น (สัตตวณิชชา)

3. ค้าขายเนื้อสัตว์ (มังสวณิชชา)

4. ค้าขายของเมา (มัชชวณิชชา)

5. ค้าขายยาพิษ (วิสวณิชชา)

 

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 22 “วณิชชสูตร” ข้อ 177


เวลาบันทึก 13 มีนาคม 2565 ( 20:11:14 )

มิจฉาวณิชชา 5 สำหรับฆราวาส

รายละเอียด

เทวนิยมจะให้เขาเข้าใจเรื่องเหล่านี้ไม่ได้ง่ายๆเพราะเขาติดใน ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข หรือ แม้แต่อาวุธมันเป็นอำนาจ ซึ่งของศาสนาพุทธนี้ถ้ามาศึกษามาบวชแล้ว ไม่ให้ยุ่งเลยเรื่องเหล่านี้ หรือแม้แต่ถือว่าเป็นมิจฉา มิจฉาในเรื่องการค้าขายอาวุธ บาปมาก ค้าขายสัตว์เป็น ค้าขายเนื้อสัตว์ ค้าขายยาพิษ ค้าขายสิ่งมอมเมา เป็นมิจฉาวณิชชา 5 

มิจฉาวณิชชา 5 ไม่ใช่ของภิกษุนะ พระภิกษุขายอะไรไม่ได้อยู่แล้ว ค้าขายอะไรก็ไม่ได้ทั้งนั้น เพราะฉะนั้นการที่ท่านมีวินัยข้อนี้เอาไว้ธรรมวินัยของท่าน มันสำหรับคนค้าขาย ก็คือฆราวาสนั่นแหละมิจฉาวณิชชา 5 อย่าไปทำ มันบาปมาก แต่ทางเทวนิยมเขาไม่รู้เรื่องกรรมวิบาก ที่มันจะต่อเนื่องกันทำให้เกิดอะไรต่ออะไรไปอีกนานเยอะ เพราะฉะนั้นเขาก็ไม่เข้าใจหรอก แต่เราชาวพุทธศึกษาให้ดีแล้วจะเจริญเป็นคน อาริยกะ เป็นศิวิไลซ์ที่แท้ ส่วนอย่างโน้นไม่ใช่คนศิวิไลซ์ ยังเป็นคนเถื่อนอยู่ 

 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ สัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกายในบุคคล 7 วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2566 แรม 13 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 25 พฤศจิกายน 2566 ( 20:09:06 )

มิจฉาวาจา

รายละเอียด

คำพูดที่ชั่ว ไม่ดี

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 373


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 16:44:03 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:25:45 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:57:29 )

มิจฉาวาจา 4

รายละเอียด

ได้แก่ มุสา  ปิสุณา  ผรุส  สัมผัปปลาป

หนังสืออ้างอิง

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 91


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 16:44:45 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:26:32 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:57:53 )

มิจฉาวิมุตติ

รายละเอียด

ความหลุดพ้นที่มีความผิดเพี้ยนไปจากแบบพุทธ

หนังสืออ้างอิง

พุทธเป็นอเทวนิยมอย่างนี้ หน้า 69


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 16:45:33 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:30:19 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:58:21 )

มิจฉาสังกัปปะ

รายละเอียด

ความดำริในกาม ดำริในพยาบาท ดำริในความเบียดเบียน

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 367


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 16:46:23 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:31:01 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:58:45 )

มิจฉาสังกัปปะ 3

รายละเอียด

ได้แก่ กามวิตก  พยาบาทวิตก  วิหิงสาวิตก

หนังสืออ้างอิง

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 91


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 16:47:17 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:31:47 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 13:59:17 )

มิจฉาสังกัปปะ 3 

รายละเอียด

มีสัมมาสังกัปปะ ต้องจัดการมิจฉาสังกัปปะ 3 

1. กามสังกัปโปหรือกามวิตก

2. พยาปาทวิตก คู่แรกกามกับพยาบาท ผลักและดูด คุณต้องปฏิบัติให้กาม พยาบาทออกหมดก่อน ถึงได้ปฏิบัติภายในเป็นรูปราคะ อรูปราคะ (เป็นลักษณะของทั้งกามและพยาบาทนั่นแหละแต่มันเล็กลงไปอีกขั้นหนึ่งเรียกว่า วิหิงสา) ก็ต้องทำให้ 

3. อวิหิงสา อพยาบาท อกาม(เนกขัมมะ)

จากนั้นก็ไล่ไป มานะ อุทธัจจะ อวิชชาสังโยชน์

อยู่ใน การคิด พูดทำ อาชีพ เลี้ยงตน

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ เปิดยุคบุญนิยมระดม ปัญญา-อนัตตา ตอน 3 งานปลุกเสกพระแท้ๆของพุทธ ครั้งที่ 44 วันพุธที่ 7 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 11 เมษายน 2564 ( 21:03:53 )

มิจฉาอาชีวะ

รายละเอียด

อาชีวะ ทุกอย่างยังทำงานในระดับ ทำงานแล้วยังมีรายได้แลกเปลี่ยนคืนมายังถือว่า มิจฉาอาชีวะ ผู้ยังทำงานแลกกับสิ่งตอบแทนอยู่ ถือว่ายังมิจฉาอาชีพอยู่ เห็นไหม สุดยอดของสัมมาอาชีพของพระพุทธเจ้า พ้นมิจฉาอาชีพ 5 ได้นี่ นักเศรษฐศาสตร์ที่เรียนจบ ดร.มาจากเทวนิยมหัวพัง หัวผุ ฟังแล้วหัวแตก เขาคิดว่ามันเป็นไปได้หรือยังไง 

ถ้าไม่ได้มีพวกเราพิสูจน์มาถึง 40 ,50 ปีมานี้ ถ้าคุณยังไม่เชื่ออยู่ก็ไม่เป็นไร พวกคุณเชื่อไหม ก็พวกนี้เชื่ออยู่เขาก็จะอยู่อย่างนี้ไป เดี๋ยวพรุ่งนี้ก็เผาอีกคนหนึ่ง ก็ไม่เป็นไร อยู่ไปจนตายแล้วก็เผา

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ปรับทุกข์ ปลุกธรรม ตอบปัญหาผ่ามิจฉาอาชีวะ 5 วันจันทร์ที่ 8 มกราคม 2567 ที่แรม 12 ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 12 มกราคม 2567 ( 18:54:50 )

มิจฉาอาชีวะ 5

รายละเอียด

คือ  

1. การโกง  ทุจริต  คอร์รัปชั่น (กุหนา) มีในงานการเมือง                                                                                

2. การล่อลวง  หลอกลวง (ลปนา)  ในนักธุรกิจ-การเมือง                                                                                

3. การตลบตะแลง (เนมิตตกตา) ยังเสี่ยง ยังไม่แน่แท้                                                                                               

4. การยอมมอบตนในทางผิด อยู่คณะผิด  (นิปเปสิกกตา)                                                                                                                                 

5. การเอาลาภแลกลาภ  (ลาเภนะ  ลาภัง  นิชิคิงสนตา)

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2562

หนังสืออ้างอิง

พระไตรปิฎก เล่ม  14 ข้อ 275 มหาจัตตารีสกสูตร


เวลาบันทึก 07 พฤศจิกายน 2562 ( 13:51:18 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:56:03 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 15:05:57 )

มิจฉาอาชีวะ 5

รายละเอียด

ได้แก่ กุหนา - ลปนา - เนมิตตกตา - นิปเปสิกตา – ลาเภน ลาภัง นิชิ-คิงสนตา

หนังสืออ้างอิง

ถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า 92


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 16:48:32 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:32:42 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:00:19 )

มิจฉาอาชีวะ 5

รายละเอียด

คือ การทำมาหากินที่ผิด 5 อย่าง

1. การโกง (กุหนา)

2. การล่อลวง (ลปนา)

3. การตลบตะแลง (เนมิตตกตา)

4. การยอมมอบตนในทางผิด (นิปเปสิกตา)

5. การเอาลาภต่อลาภ (ลาเภน ลาภังนิชิคิงสนตา)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎกเล่ม   14 "มหาจัตตารีสกสูตร"  ข้อ  275

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก


เวลาบันทึก 24 มิถุนายน 2562 ( 21:08:28 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 16:19:18 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:00:45 )

มิจฉาอาชีวะ 5

รายละเอียด

พระพุทธเจ้าก็สอนอย่างละเอียดว่างานอาชีพที่สูงสุดคือการพ้นมิจฉาชีพ 5 ชาวอโศกก็ทำได้

กุหนา ขี้โกง ลปนาก็ขี้โกหกหลอกลวง เนมิตกตาก็ยังเสี่ยงภัยอยู่ ก็ต้องค่อยๆพัฒนาการไปตามลำดับ งานอาชีพที่ยังต้องเสี่ยงไม่บริสุทธิ์ จนกระทั่งแต่ละคนสามารถสบายแล้วอาชีพที่เราทำ ทำอาชีพอย่างนี้กับหมู่กลุ่มสบายก็อยู่กับหมู่กลุ่ม ไม่มอบตนในทางที่ผิด นิปเปสิกตา ก็พ้นมิจฉาชีพข้อที่ 4

มิจฉาชีพข้อที่ 5 ทำงานฟรี สบายอยู่กับหมู่กลุ่ม ทำงานฟรีอยู่กับหมู่กลุ่มสาธารณโภคีไม่แลกเปลี่ยนเอาคืนมาแล้วพ้นจากมิจฉาชีพ 5 ข้อ

คนถามพวกเรา เราก็ต้องตอบว่า อาชีพ พวกเราจะบอกว่าอาชีพนักปฏิบัติธรรม ก็เป็นคำตอบที่ถูกนะ ถ้าจะให้เรียกว่าอาชีพสาธารณโภคี เขาไม่เข้าใจแน่ เถรสมาคมยังไม่เข้าใจ โลกก็ไม่รู้เลย อาชีพนี้มีด้วยหรือ อาชีพสาธารณโภคี เป็นนวัตกรรม พระพุทธเจ้าค้นพบมาแล้ว ค้นพบแล้วเอามาให้คนปฏิบัติมีได้เป็นได้ เป็นพฤติกรรมสังคมสาธารณโภคี ไม่ได้พูดปากเปล่า ยถาวาที ตถาการี ตถาวาที ยถาการี (ล้ำยุคทุกสมัย) ของพระพุทธเจ้าจึงไม่เก่า

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันพุธที่ 16 มกราคม 2562


เวลาบันทึก 09 กุมภาพันธ์ 2563 ( 16:35:39 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:57:35 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:01:39 )

มิจฉาอาชีวะ 5

รายละเอียด

อาชีพเลี้ยงตนให้พ้นมิจฉาอาชีวะ 5

1. การโกง ทุจริต คอร์รัปชั่น (กุหนา)  มีในงานการเมือง หยาบทุจริตครบเครื่อง

2. การล่อลวง หลอกลวง (ลปนา) ในนักธุรกิจ-การเมือง หลอกลวงใช้วาทกรรม เล่ห์กล แล้วเลวร้ายกว่ากุหนาอีก หลอกคน ว่าเขาไม่ทำร้ายทางกาย แต่ทางวาจาของเขาเลวร้ายกว่าทางกายอีก หลอกซับซ้อน นี่คือความฉลาดเฉโกที่ทำมาในยุคนี้ เรียกว่าวาทกรรม คอยดู นายจตุพร และอาจารย์ต่างๆ หลบอยู่หลังเด็ก พวกนี้ไม่กล้าโผล่จริงต้องใช้เด็ก มันน่าเกลียดแล้วทำหยาบคาย แต่ห้ามไม่ได้เพราะอวิชชา แล้วเป็นตัวอย่างอันชัดของโลก มันบอกความจริงให้ชัด 

ขณะนี้เรื่องร้ายของการเมืองคือลปนา ทั้งโลกเลย ตอนนี้ยิงกันน้อย แต่คารมว่อนเลย เป็นเหตุผลอะไรต่างๆ ใช้โวหารทางสื่อโซเชียลมีเดีย หยาบแรงซับซ้อนกินลึกนะ ทีนี้เมื่อกุหนาก็เบาไม่มี ลปนาก็ลด นั่นเรียกว่าเจริญขึ้น ลดไปได้ ยังมีตลบตะแลง

3. การตลบตะแลง (เนมิตตกตา)  ยังเสี่ยง-ยังไม่แน่แท้ มีเล่ห์ซับซ้อนซ่อนเชิง แม้ไม่หยาบเลวเท่าสองข้อแรก แต่ก็เหลือเท่าไหร่ ยังจะยืนยันเอาให้ได้ ทั้งที่ไม่ชัดเจนจริงจัง ก็ 50 60 % แม้ไม่หยาบอย่ากุหนา ลปนา แต่ก็ยังหยาบถือว่าเลวร้าย จนหมดความเลวร้าย คุณสะอาดหมดความเลวร้ายแต่มอบตนในทางผิด 

4. การยอมมอบตนในทางผิด  อยู่คณะผิด (นิปเปสิกตา) เดี๋ยวนี้เห็นนักการเมืองน่าสงสาร บางคนอยู่ดีๆไปทางโน้นอีก ดูสิตลก คนเราน่าสงสารไม่รู้จะทำไง อย่างเรานี่สงสารโยมบัวพร มีลูกชายชื่อดาวดิน ไปนั่นแหละ ออกจากอโศกไป แหม มันเป็นไปอย่างไร จะกลับมาไหมนี่ ตายคาสนามหรือเปล่า ก็น่าสงสารเจ้าบัวพร ก็ยังไม่รู้เขาจะจับสึกหรือไม่ ทางโลกเขาอ่อนแอ ทางเราก็ปล่อยไปคัดออกไปแล้วคืนใบสุทธิมาแล้วก็ไปเย้วๆอยู่อย่างนั้นไม่รู้จะทำไง ก็จะสำนึกเมื่อไหร่ เราบังคับไม่ได้ บอกไม่ได้ว่าจะเป็นไปอย่างไร 

พ้นข้อที่ 3 เนมิตตกตา สะอาดแล้วแต่ยังมอบตนกับผู้ที่ยังผิด ต้องดูว่าเราสะอาดบริสุทธิ์แล้วจะไปเป็นทาสคนผิดทำไม เห็นแก่ลาภยศสรรเสริญโลกียสุข ถ้ามันยังอดไม่ได้ทนไม่ได้ยังไม่หมดเกลี้ยงคุณก็ไปตามนั้น แต่คนที่หมดแล้วอยู่ได้ อยู่กับหมู่พร้อมพรั่ง เป็นองค์กรที่ใหญ่ เป็นสาธารณโภคีที่ครบสมบูรณ์ดี ก็มากัน คนที่รู้ถัาเป็นไปได้ก็มา หรือแม้แต่เรายังไม่หมดเกลี้ยง มีหมู่มิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี เป็นทั้งหมดทั้งสิ้นของพรหมจรรย์ที่ช่วยขัดเกลา ช่วยทำให้เราสะอาดสะอ้านได้เร็วขึ้น นี่ก็ยิ่งใหญ่ มิตรสหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี กัลยาณมิตโต กัลยาณสหายโย กัลยาณสัมปวังโก นี้สุดยอด บรรลุข้อ 4 นี้แล้วก็ไม่มอบตนในทางผิดเลย

5. การเอาลาภแลกลาภ (ลาเภนะ  ลาภัง  นิชิคิงสนตา) (พตปฎ. เล่ม 14   ข้อ 275   มหาจัตตารีสกสูตร) อาจจะไม่รุนแรงแต่ก็ยังควักใส่กระเป๋าตัวเองอยู่บ้างอันนี้ก็ต้องเห็นใจเหมือนกัน บางคนก็ยังมีบ้าง มันจะอยู่ไม่รอดไปไม่ไหว ได้ 10 เข้าส่วนกลาง 5 หรือ 6 เหลือ 4 เหลือ 3 เหลือ 2 ได้ 10 ขอ 1 ก็แล้วกันแล้วแต่ ก็เป็นบ้าง

แต่คนที่แน่ใจว่าเราไม่มีปัญหาหรอกแม้แต่อยากได้อันนู้นอันนี้ ไปเบิกส่วนกลางเขาก็ได้ บางทีบางคนก็จีบเจ้าหน้าที่ส่วนกลางไว้ เบิกได้ง่ายหน่อยก็ว่าไป แต่ถ้าไปทำเป็นขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่ส่วนที่จะจ่าย เสร็จเลยนะ อะไรก็ไม่ได้ก็รับแต่ของที่เขาออกมาจากส่วนกลางเป็นกลางๆจริงๆ มันก็จะมีปฏิภาณรู้ว่าอะไรของเรา 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศน์ เปิดยุคบุญนิยมระดม ปัญญา-อนัตตา ตอน 3 งานปลุกเสกพระแท้ๆของพุทธ ครั้งที่ 44 วันพุธที่ 7 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 11 เมษายน 2564 ( 21:06:31 )

มิจฉาอาชีวะ 5

รายละเอียด

คือการทํามาหากินที่ผิด 5 อย่าง

1. การโกง (กุหนา)

2. การล่อลวง (ลปนา)

3. การตลบตะแลง (เนมิตตกตา)

4. การยอมมอบตนในทางผิด (นิปเปสิกตา)

5. การเอาลาภต่อลาภ (ลาเกน ลาภัง นิชิคิงสนตา)

 

หนังสืออ้างอิง

ธรรมพุทธสุดลึก,พระไตรปิฎกเล่ม 14 “มหาจัตตารีสกสูตร” ข้อ 275


เวลาบันทึก 13 มีนาคม 2565 ( 20:13:51 )

มิจฉาอาชีวะ 5

รายละเอียด

พ้นจากมิจฉาอาชีวะ 5 ประการก็ตาม อธิบายมามากมาย ตั้งแต่

1. การโกง ทุจริต คอร์รัปชั่น (กุหนา)  มีในงานการเมือง .

2. การล่อลวง หลอกลวง (ลปนา) ในนักธุรกิจ-การเมือง .

3. การตลบตะแลง (เนมิตตกตา)  ยังเสี่ยง-ยังไม่แน่แท้ 

4. การยอมมอบตนในทางผิด  อยู่คณะผิด (นิปเปสิกตา) 

5. การเอาลาภแลกลาภ (ลาเภนะ  ลาภัง  นิชิคิงสนตา) 

(พตปฎ. เล่ม 14   ข้อ 275   มหาจัตตารีสกสูตร)

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ความมหัศจรรย์จากพ่อครูผู้ตามรอยบาทพระศาสดา วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 17 พฤษภาคม 2565 ( 10:52:22 )

มิจฉาอาชีวะ 5

รายละเอียด

มิจฉาอาชีวะ 5 มี

1. การโกง ทุจริต คอร์รัปชั่น (กุหนา)  มีในงานการเมือง .

2. การล่อลวง หลอกลวง (ลปนา) ในนักธุรกิจ-การเมือง .

3. การตลบตะแลง (เนมิตตกตา)  ยังเสี่ยง-ยังไม่แน่แท้ 

4. การยอมมอบตนในทางผิด  อยู่คณะผิด (นิปเปสิกตา) 

5. การเอาลาภแลกลาภ (ลาเภนะ  ลาภัง  นิชิคิงสนตา) 

(พตปฎ. เล่ม 14   ข้อ 275  มหาจัตตารีสกสูตร) 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ปรับทุกข์ ปลุกธรรม ตอบปัญหาผ่ามิจฉาอาชีวะ 5 วันจันทร์ที่ 8 มกราคม 2567 แรม 12 ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 12 มกราคม 2567 ( 18:13:46 )

มิจฉาอาชีวะ 5 คืออย่างไร

รายละเอียด

 

มิจฉาอาชีวะ 5 คืออย่างไร ไม่เข้าใจตัวหลัง ตั้งแต่การโกงการหลอกลวง กุหนาก็คือการโกง มันโกงกันอย่างดื้อๆด้านๆ แล้วยังไม่นึกว่าตัวเองโกงเลย หน้าด้านหน้าตาเฉย เหมือนอย่างทักษิณทำกันไป ไม่พอ จนพาน้องนุ่งมาโกง แล้วยังพาพี่พาน้องตระกูลมาโกง

นั่นคือมิจฉาอาชีวะ กรรม เป็นการกระทำ ทำแล้วเขาก็ต้องได้วิบากบาป ได้วิบากอกุศลติดตัวไปแน่นอน แต่คนพวกนี้ไม่เกรงกลัวกรรม กลัวบาปอะไรหรอก โกหกอยู่ได้ทุกวัน พูดไปทั้งๆที่ตัวเองเป็น แล้วก็พูดกลบว่าตัวเองไม่เป็น กลับมายกย่องตัวเอง ทักษิณเอ๋ย จะต้องสร้างบาปอกุศลให้แก่ตัวเองสักเท่าไหร่ ถ้าแกหยุดพูดจะได้เพลา แต่นี่แกพูดคำโกหกตอแหลไปเรื่อยๆ ก็ชัดเจนว่ากรรมเป็นอันทำ น่าสงสาร 

การโกง ก็ยกตัวอย่างเป็นตัวเป็นตนชัดแล้วล่ะ คนอื่นๆ ก็ทำสู้ทักษิณไม่ได้หรอก โกงนี่ ทำครบ กาย วาจา ใจ “หลอกลวง” นี่ใช้ปาก คำพูด ใช้ภาษาเป็นหลัก หลอกลวง 

มีหลายมิติหลายระดับ พูดไม่ครบเจตนาให้หลงผิดไปด้วยก็เป็นการหลอกลวงทั้งนั้น การ “ตลบแตลง” ท่านแปลมาจากคำว่า เนมิตกตา หรือแปลว่าการเสี่ยงโชค คือ ยังไม่แน่นอน ยังไม่มั่นใจยังไม่ค่อยรู้เรื่องหรือยังไม่ชัดเจนสักอย่าง จะว่าดี จะว่าถูก หรือจะว่าไม่ดีจะว่าไม่ถูกก็ไม่แน่ชัด ตลบแตลง 

4. มอบตัวในทางที่ผิด อันนี้เป็นคนชัดเจนแล้ว เรื่องดี เรื่องไม่ดี เรื่องสมมุติสัจจะชัด แต่ตัวเองก็ยังเป็นทาสคนผิด ไปรับใช้คนผิด อย่างนี้เรียกว่า ตนสะอาด แต่ตนก็ยังพึ่งตนเองไม่ได้ ไม่อยู่กับผู้ที่ถูกต้องด้วยกัน ไปพึ่งคนที่มีบาป มันน่าขายขี้หน้า นี่เป็นอาชีพระดับที่ 4 

ระดับที่ 5 นี้สุดยอด อาชีพที่ทำงานจะต้องเอาสิ่งแลกเปลี่ยนกลับมาให้ตนเอง เป็นอาชีพที่ถือว่า ยังไม่ประเสริฐเลิศยอด 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปฏิบัติ รูป 28 ในสติปัฏฐาน 4

วันพุธที่ 21 กันยายน 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 08 ตุลาคม 2565 ( 12:06:54 )

มิจฉาอาชีวะ ข้อ 1-4 เป็นมิจฉาชีพสมบูรณ์แบบ

รายละเอียด

ยกตัวอย่างอย่างเช่นคุณทักษิณ เป็นต้น คนที่เข้าไปคลุกคลีกับคุณทักษิณก็ตามก็คือคนที่มอบตนในทางที่ผิด นิปเปสิกตา เป็นอาชีพที่ผิด ผิดสมบูรณ์แบบ เป็นอาชีพที่เป็นมิจฉาชีพสมบูรณ์แบบ 4 ข้อนี้เป็นมิจฉาชีพสมบูรณ์แบบ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ความมหัศจรรย์จากพ่อครูผู้ตามรอยบาทพระศาสดา วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 17 พฤษภาคม 2565 ( 10:55:01 )

มิจฉาอาชีวะทั้ง 5 มีอะไรบ้าง

รายละเอียด

อาชีพ 5 ก็มี  

  1. การโกง ทุจริต คอร์รัปชั่น (กุหนา)  มีในงานการเมือง .

  2. การล่อลวง หลอกลวง (ลปนา) ในนักธุรกิจ-การเมือง .

  3. การตลบตะแลง (เนมิตตกตา)  ยังเสี่ยง-ยังไม่แน่แท้ 

  4. การยอมมอบตนในทางผิด  อยู่คณะผิด (นิปเปสิกตา) 

  5. การเอาลาภแลกลาภ (ลาเภนะ  ลาภัง  นิชิคิงสนตา) (พตปฎ. เล่ม 14   ข้อ 275   มหาจัตตารีสกสูตร) 

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม 2563

หนังสืออ้างอิง

พตปฎ. เล่ม 14   ข้อ 275   มหาจัตตารีสกสูตร


เวลาบันทึก 19 กันยายน 2563 ( 14:21:21 )

มิจฉาอาชีวัง ปหาย

รายละเอียด

ละมิจฉาอาชีวะ

หนังสืออ้างอิง

สมาธิพุทธ หน้า 118


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 16:49:39 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:33:52 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 15:06:21 )

มิตต

รายละเอียด

ความผูกพันเกี่ยวข้องอันดีกับคนอื่น ๆ

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 144


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 16:50:35 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:34:34 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:02:03 )

มิตรดี

รายละเอียด

สัตบุรุษแท้ ผู้บรรลุธรรมที่จริง

หนังสืออ้างอิง

ค้าบุญคือบาป หน้า 165


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 16:51:53 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:35:30 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 15:06:42 )

มิตรดี

รายละเอียด

การจะฟังธรรมต้องฟังจากมิตรดีที่มีภูมิพอจะสอนคนเป็นครูคนได้ จึงเรียกว่าผู้ที่ตั้งอยู่ในฐานะของครู ศาสนาพุทธจะต้องรับฟังถ้าไม่ใช่จากพระพุทธเจ้าก็ต้องจากสัตบุรุษที่รู้จริงหรือจากสยังอภิญญาคือผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูอย่างแท้จริง ต้องได้รับฟังธรรมจากท่าน คิดเองไม่ได้ รู้เองไม่ได้ ศาสนาพุทธไม่มีรู้เอง จะรู้เองก็อยู่ในตำแหน่งสยังอภิญญาขึ้นไป หรือตั้งอยู่ในฐานะครูเป็นสัตบุรุษจริง ยกไว้ก็คือพระพุทธเจ้าเป็นธรรมะสามีเป็นเจ้าของศาสนา นอกนั้นก็ยังไม่แน่นอนเป็นลูกศิษย์ของท่านแต่ข้ามชาติมา สั่งสมมาจนกระทั่งมีในตัวเองเพียงพอ ที่จะแสดง อาตมาประกาศแสดงมา เกือบ 50 ปีแล้วก็ยังไม่มีอะไรมาหักล้างหรือมาเปลี่ยนแปลง หรือว่ามีเหตุปัจจัยหลักฐานต่างๆมาล้มล้างความเป็นจริงอันนี้ ยังเห็นว่าเป็นจริง อาตมาไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นนะ ถ้ามันไม่จริงก็ไปยึดมั่นถือมั่นก็จะบ้าเอา ก็ต้องยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่จริง ถ้ามาล้มล้างสิ่งนี้แล้วได้เราก็เลิกยึดมั่นถือมั่น ก็ไปยึดมั่นถือมั่นอันใหม่ที่จริงกว่า ถ้ามีการเปรียบเทียบแล้วว่ามีอันใหม่ที่ดีกว่า แล้วจะไปยึดถืออันเก่ามันก็โง่ ก็คงทำไม่ได้ 

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ซี่วิต สันติอโศก วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 18 พฤศจิกายน 2562 ( 14:42:21 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:58:31 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:10:26 )

มิตรดี

รายละเอียด

อย่าเผินนะมาศึกษาให้ดีๆว่ามิตรดีเป็นอย่างไร แต่คนทั่วไปอ่านไม่ออกว่ามิตรดีคืออย่างไร มิตรดีคือคนมีคุณธรรม จะคบมิตรดีจะรู้ว่ามิตรดีจริงๆนั้นยาก ยกตัวอย่างอาตมาว่าอาตมาเป็นมิตรดีกับเธอนี่ก็ยาก

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 12 กุมภาพันธ์ 2563 ( 18:18:34 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 15:59:07 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 15:07:04 )

มิตรดี สหายดี มีใครบ้าง

รายละเอียด

พระพุทธเจ้าถึงขั้นตรัสว่า เรานี่แหละเป็นมิตรดี สหายดีของพวกเธอ ก็หมายความว่าต้องมาพบพระพุทธเจ้าก่อน เอ้า ไม่มีพระพุทธเจ้าก็ต้องมีสัตบุรุษก่อน หรือต้องมาพบกัลยาณมิตรทุกคนที่มีสัมมาทิฏฐิ อันอยู่ในฐานะของครูที่จะสอนได้ถูกต้อง มีต้นรากของศาสนา ต้นรากของโลกุตระ ถ้าไม่อย่างนั้นคุณก็ไม่ได้อะไรที่ถูกต้อง 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปฏิบัติจรณะ 15 พาให้พ้นสวรรค์คนโง่ วันพุธที่ 3 มีนาคม 2564 ที่ บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 15 มีนาคม 2564 ( 14:17:29 )

มิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี หมายถึงอะไร

รายละเอียด

เอาคำว่าเป็นผู้มีมิตร เป็นข้อต้นในสุริยเปยยาลสูตร กัลยาณมิตโต กัลยาณสหายโย กัลยาณสัมปวังโก แปลว่า มิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี สหายแปลว่าผู้ร่วมประโยชน์ มิตร คือเกี่ยวกับจิต สัมปวังโก อาตมาแปลในวงการพวกเราเอง ว่า สังคมสิ่งแวดล้อมดี เป็นสัปปายะ 4 เลยในสุริยเปยยาลสูตร ข้อ 1 เลยต้องมีมิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี ก็ตรงกัน คือแสงเงินแสงทองก่อนจะพบพระอาทิตย์ ความหมายชัดดีมากเลยนะ ก่อนจะพบพระอาทิตย์ จากความมืดก็จะต้องมีแสง แสงของพระอาทิตย์เป็นแสงเงินแสงทอง คือ มีรังสีมาอ่อนๆไรๆ มาเรื่อยๆก่อน

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปฏิบัติจรณะ 15 พาให้พ้นสวรรค์คนโง่ วันพุธที่ 3 มีนาคม 2564 ที่ บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 15 มีนาคม 2564 ( 14:12:38 )

มิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี เป็นทั้งหมดทั้งสิ้นของพรหมจรรย์

รายละเอียด

จับประเด็นกันได้มิตรดี สหายดี มิตรดีสหายดี พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดูเหมือนไม่สำคัญ มิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี เป็นทั้งหมดทั้งสิ้นของพรหมจรรย์ สำคัญมากนะ การที่ได้รู้สึกว่าคนนี้ถือว่าเป็นมิตรดีสหายดีแก่เรา หรืออาตมาเคยย้ำพระพุทธเจ้าตรัสว่า เรานี่แหละเป็นมิตรดีสหายดีของเธอ ซึ่งมันเป็นเรื่องยิ่งใหญ่มากเลยคำว่า กัลยาณมิตโต กัลยาณสหาโย กัลยาณสัมปวังโก พระบาลีว่าไว้อย่างนั้น แปลว่า มิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี เป็นทั้งหมดทั้งสิ้นของพรหมจรรย์ จากพระบาลีนี้ ยิ่งใหญนะ (พตปฎ. เล่ม 19  ข้อ 5)  เดี๋ยวจะได้อธิบายขยายความให้เห็นอีก 

ความเป็นมิตรดีสหายดี ซึ่งมันเกิดจากหลักธรรมอะไรอีกหลายประการเลย มันเกิดจากหลักธรรมที่มีธรรมะบรรลุที่จิตวิญญาณ ผู้มีจิตวิญญาณบรรลุธรรมนั้นๆแล้ว มันจึงมาเป็นมิตรดีสหายดีกันจริงๆ ถ้าจิตไม่เป็นจริงนะ มาเป็นมันก็ไม่จริง มาเป็นมันก็ไม่สนิทเนียน ไม่เป็นเอกภาพ ไม่เป็นสามัคคียะ มันจะวิวาทะ นี่ หลัก 7 ประการ สาราณียะ ปิยกรณะ ครุกรณะ สังคหะ อวิวาทะ สามัคคียะ เอกีภาวะ  มันจะไม่เป็น มันจะไม่ลงตัวตามหลักธรรมพระพุทธเจ้าได้เลย (พตปฎ. เล่ม 22 “สาราณิยสูตร” ข้อ 283)

มิตรดีสหายดี มันยิ่งกว่าพี่น้อง 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ พ่อครูคือก้อนแห่งสัมมาทิฏฐิที่คนต้องมีฉันทะมาเอา วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม 2566 ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 07 มีนาคม 2567 ( 18:42:42 )

มิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดีเป็นเรื่อง osmosis

รายละเอียด

เรียนดีๆอยู่กับหมู่ หมู่ฝูงที่เป็น มิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี มีวัฒนธรรม มีทั้งสิ่งที่มันเป็นเรื่องซึมซับ ไหลเข้าหาตัวเราอย่างไม่รู้สึกเรียกว่า osmosis เพราะฉะนั้นการอยู่กับหมู่ดีเรียกว่า มิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี กัลยาณมิตโต กัลยาณสหายโย กัลยาณสัมปวังโก เป็นทั้งหมดทั้งสิ้นของศาสนา ของพรหมจรรย์ ของการปฏิบัติธรรม

เรามีชีวิตร่วมกันก็ช่วยกันเป็นสังคมที่ดี เป็นสังคมที่มีคุณธรรม มีวัฒนธรรมดีหมดแล้ว ไม่อยากจะพูดว่า อย่างอโศกเรานี่ ในยุคนี้เป็นเลิศเป็นยอดจริงๆในโลก ไม่อยากจะพูดหรอกเพราะเขาจะหมั่นไส้ว่าหลงตัวหลงตน ที่จริงมันเป็นเช่นนั้นจริงๆมันเป็นโลกุตรธรรมขั้นที่ 1 ลำดับที่ 1 สังคมไก่ตัวพี่ ของโลก 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ตอบปัญหาพาปฏิบัติเป็นลำดับอย่างไม่กดข่ม วันพุธที่ 16 มีนาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 23 มีนาคม 2565 ( 21:43:48 )

มิตรดี สหายดี อย่างแสงอรุณ 7

รายละเอียด

ไปสะสมสิ่งไม่ควร ไม่มีที่พึ่งเป็นมิตรสหายดี อย่างแสงอรุณ 7 นี้ หากเขาไม่มีความยินดีใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่มีมิตรดีสหายดี ศีลของเขาก็จะไม่บริสุทธิ์เพราะเป็นไปตามกิเลสไม่มีอะไรป้องกัน ไม่ได้ปลงอาบัติ ไม่มีมิตรดีสหายดีก็ไม่ได้ปฏิบัติศีล อัตตาก็โต ทิฏฐิผิดเพี้ยนไป เข้าใจตามความเห็นของตนเอง ความประมาทก็มีเยอะ การทำใจในใจโยนิโสมนสิการก็ผิดเพี้ยนไปไกลเลยครบบริบูรณ์ ก็เป็นไป อย่างพวกชาวอโศกก็มีเช่นนี้

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 12 กุมภาพันธ์ 2563 ( 18:30:03 )

เวลาบันทึก 29 กรกฎาคม 2563 ( 07:21:52 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:11:55 )

มิตรดี ในแสงอรุณ 7

รายละเอียด

มิตรดี เป็นนิมิตแห่งอาริยมรรค อันนี้คุณไม่สงสัยเพราะปฏิบัติแล้วเห็นผล การคบบัณฑิตอยู่กับหมู่กลุ่มชาวอโศกนี่แหละคือหมู่บัณฑิต ไม่ใช่หมู่พาล คนโง่ไม่เดียงสา แต่เป็นผู้ที่ใส่ใจในความเจริญเป็นหมู่บัณฑิต 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ โสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 28 วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก 


เวลาบันทึก 03 มีนาคม 2564 ( 20:50:41 )

มิตรดีทำให้ไม่มีเพื่อน 2 อย่างไร

รายละเอียด

ศาสนาพุทธนั้นต้องอยู่กับบัณฑิต อยู่กับมิตรสหายดี ท่านบอกว่าอย่าไปคลุกคลีด้วยหมู่ (อสังคณิกะ อสังสัคคะ ไปแปลว่าไม่คลุกคลีด้วยหมู่) มันบื้อๆ แปลง่ายๆว่าไม่ข้องเกี่ยวกับใคร อยู่ผู้เดียวไม่มีเพื่อน 2 คืออยู่ผู้เดียว ทั้งๆที่พระพุทธเจ้าท่านแปลหมดเลยว่า ไม่มีเพื่อน 2 นั่นหมายถึง จิต จิตไม่มีกิเลสคือไม่มีเพื่อน 2 แต่จิตมีกิเลสอยู่คือมีเพื่อน 2 แม้จะอยู่กับมหาอำมาตย์ ท่ามกลางสังคมอยู่กับลาภ ยศ สรรเสริญ สุข แต่จิตของคุณไม่มีกิเลสคือคุณอยู่แต่ผู้เดียว แต่คุณอยู่ในป่าเขาถ้ำผู้เดียวแต่คุณยังมีกิเลสก็ยังมีเพื่อน 2 มีเพื่อนเป็นกลุ่มเป็นหมู่อยู่นั่นแหละ มันไม่อยู่แต่ผู้เดียวหรอก อันนี้เป็นนัยสำคัญที่ ถ้าเข้าใจไม่ตรงตามที่อาตมาว่า ก็จะผิดๆไปได้แต่ความหมายตื้นๆ 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปฏิบัติจรณะ 15 พาให้พ้นสวรรค์คนโง่ วันพุธที่ 3 มีนาคม 2564 ที่ บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 15 มีนาคม 2564 ( 14:14:13 )

มิตรดีสำคัญที่สุด สหายดีรองลงมาใช่ไหม

รายละเอียด

ใช่ มิตรหมายถึงจิต สหายคือผู้ร่วมประโยชน์ สิ่งแวดล้อมนี้ครบ มิตรนี้ผูกใน สหายผูกประโยชน์ สัมปวังโกสัมพันธ์กันทั้งหมดอย่างละเอียดขึ้นมา

ที่มา ที่ไป

610613 ความสามัคคีคือความขัดแย้งอันพอเหมาะ(พ่อครูมอบดาบอาญาสิทธิ์ให้หมู่)วันที่ 13 มิถุนายน 2561

สื่อธรรมะพ่อครู(อัตตา) ตอน สามัคคีคือขัดแย้งอันพอเหมาะ


เวลาบันทึก 09 กุมภาพันธ์ 2564 ( 17:14:58 )

มิตรสหายดีสังคมสิ่งแวดล้อมดี

รายละเอียด

คือ  เรื่องสัจธรรมที่พบคุณรู้ตัวเอาต้นมาอยู่กับมิตรสหายดีสังคมสิ่งแวดล้อมดีในเสนาสนะนี้ ในหมู่กลุ่มบุคคลที่มีอาหาร เครื่องอาศัย ที่ไม่ได้หรูหราฟู่ฟ่าไม่ได้มากมายอะไร อย่างโลกๆเขาพวกคุณก็อยู่ได้ ไม่ได้แย่งชิงไม่ได้ทะเลาะวิวาท อาศัยใช้สอยกินอยู่ก็พอเป็นไป จะกระมิดกระเมี้ยนเพื่อนของตนไว้บ้างก็ไม่เป็นไร เราจะเสียสละกล้าไม่มีเพิ่มได้ไหม ก็เสียสละเข้ากองกลางคนมีภูมิธรรมถึงแล้ว ก็มีส่วนมีสิทธิ์ในค่าแรงงานในผลผลิตนั้นๆบ้าง แต่คุณก็สบายทำแล้วก็เอาเข้ากองกลางหมดเลย แล้วเราก็อาศัยกินใช้อยู่ในนี้ตามสถานะ ดีไม่ดีไปเบิกแล้วเขาไม่ให้บางคนก็กระทบกระเทือนใจ บางคนก็บอกว่าเราคงยังไม่มีวาสนาพอ ไปขอเบิกเขาก็ไม่ให้ บางทีผู้ที่มีสิทธิ์อนุมัติก็ไม่ให้ ไม่เห็นว่าควรจะให้มีส่วนตัวผสมก็ได้มันก็เป็นเรื่องที่เป็นอาจินไตย ที่เป็นธรรมดาธรรมชาติในนี้แต่มันก็พอเป็นไป

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช  วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2562


เวลาบันทึก 24 พฤศจิกายน 2562 ( 12:43:17 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 16:01:15 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:13:44 )

มิตรสหายดีสังคมสิ่งแวดล้อมดีเป็นทั้งหมดทั้งสิ้นของพรหมจรรย์

รายละเอียด

เกิดปัญญา ฟังอาตมาแล้วก็เกิดความเข้าใจ ดูทั้งหมดหมู่มีพฤติกรรมสังคมมีการปฏิบัติอย่างไร จนเกิดปฏิภาณเห็นว่าศีล 5 ของเรานี้ยังหยาบเหลือเกิน ก็หมายความว่าต้องเห็นว่าคนอื่นต่างๆ ไม่ใช่ว่าเฉพาะอาตมา แต่ศีล 5 ของพวกเราชาวชุมชนที่ร่วมกันอยู่ในนี้ เทียบได้เลยว่าศีล 5 เราช่างแย่กว่าเขา แย่กว่าหมู่เขาจริง มิตรสหายดีสังคมสิ่งแวดล้อมดีเป็นทั้งหมดทั้งสิ้นของพรหมจรรย์ นี่แหละคือสนามแม่เหล็กที่เราเป็นเหล็กอ่อนแท่งหนึ่ง เข้ามาอยู่ในนี้พลังงานของสนามแม่เหล็กมันจะจับเราจะช่วยเรา ปรับตัวเราเลย แม้แต่แค่วัตถุเป็นเหล็กอ่อนเข้าไปในสนามแม่เหล็กมันก็จะจัดเรียงขั้วเหนือขั้วใต้ออกตกให้ได้เลย อย่างที่เหล็กอ่อนอันนั้นแข็งคือไม่ได้จะต้องเป็นไปตามสนามแม่เหล็กทันที นั่นเป็นเรื่องของวัตถุ คนก็มีนัยยะที่จะมีสนามแม่เหล็กของสังคมเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นสังคมสิ่งแวดล้อมที่ดีจึงมีอิทธิพลอย่างมากที่คนจะต้องเข้ามาอยู่ในที่นี้แล้ว อยากจะเจริญในธรรม สังคมจะช่วยคุณเจริญในธรรมได้อย่างดีเพราะมันมีพลังมีอะไรต่างๆเยอะแยะ อันนี้ก็แนะนำไม่ใช่พูดอ่อยให้คุณเข้ามา แต่พูดแนะนำว่าพวกที่เข้ามาก็อยากจะเจริญ อย่าไปอยู่กับทางโลกที่มันหลอกมันอ่อยว่าอย่างนั้น ไปหลงคารมมัน นี่แหละฉลาดน้อย แปลไทยเป็นไทยว่าโง่ 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช ทานและบุญที่ฆ่าตัวตนและของๆตน วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม 2562


เวลาบันทึก 14 ธันวาคม 2562 ( 19:36:20 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 16:03:20 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:14:54 )

มิติทางจิตวิญญาณซ้อนระดับอนาคามีนั้นมีในชาวอโศก

รายละเอียด

คุณสนใจดีแล้ว ให้ศึกษาต่อไป ในมิติซ้อนพวกเราก็มี แล้วยิ่งเข้าใจแล้วสามารถอนุโลมได้มันก็ต้องมี ผู้ที่ยังอนุโลมไม่ได้แต่มันมีของจริงว่าคุณจะต้องเป็นอย่างนั้นซ่อนอยู่ ด้วยที่ไปแก้ไขไม่ได้ในตัวเองก็มีในชาวอโศก แต่มันไม่หยาบมันเป็นไปตามสภาพของโลกโลกียที่องค์รวมแล้ว อาตมาถึงบอกว่าในชุมชนชาวอโศกเป็นชุมชนของภูมิอนาคามี ไม่เป็นคนโลกๆในระดับ กามแล้ว ที่หยาบๆจะไปสนุกสนานคลุกคลีเป็นรสชาติ เกี่ยวข้องในกามภพ คุณไปด้านกามเขาในโลก แต่เราก็เฉยๆ ศึกษาศาสตร์จากความจริงจะรู้ว่าภูมิของอนาคามีมันเป็นอย่างนี้ เป็นความรู้องค์รวมที่ละเอียดดีมากเลย เข้ามาอยู่ในนี้แล้วจะสัมผัสทุกระดับอยู่ในนี้ซ่อนอยู่ในบวร มันพูดไม่ได้ด้วยภาษา อธิบายด้วยภาษาอย่างไรก็ไม่ได้ไม่เหมือน ยิ่งอาตมาอธิบายยังไม่ค่อยเก่งก็อธิบายไม่ออก ใครมาสัมผัสเองแล้วจะได้รู้ได้ด้วยตัวเอง เป็นปัจจัตตังเวทิตัพโพวิญญูหิ เชิญเข้ามาบ้าง ทนไม่ไหวก็ออกไป กลับไปบ้านก่อนได้เวลาก็เข้ามาใหม่ อะไรอย่างนี้ก็ได้ 

ที่มา ที่ไป

รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราช วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม 2563


เวลาบันทึก 21 พฤศจิกายน 2563 ( 12:36:49 )

มิติที่พระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้าสูงกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

รายละเอียด

เป็นแต่เพียงปัจเจกสัมมาสัมพุทธะองค์นั้น ท่านได้เป็นของตนเท่านั้น ท่านไม่ประกาศศาสนาพุทธลงไปในโลก แล้วท่านก็ปรินิพพาน ปรินิพพานเป็นปริโยสานเด็ดขาดได้แน่นอน ท่านก็ไม่ประกาศศาสนา ถ้าประกาศท่านก็ขึ้นทำเนียบเป็นพระพุทธเจ้าองค์เท่านี้ในกัปนี้ ขึ้นทะเบียนไว้ แต่นี่ อาตมาเคยอธิบายเอาไว้แล้ว พระปัจเจกสัมมาสัมพุทธะองค์นี้ ไม่ประกาศตัวตน ไม่มีตัวตนยิ่งกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสูงกว่านั้นอีก

เห็นมุมเหลี่ยมไหม มิติที่ พระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้าสูงกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหมายคือ ไม่มีตัวตนยิ่งกว่า งานก็ทำมาเหมือนกันหมดนั่นแหละ สอนธรรมะค้นคว้ารู้เพิ่มอีกแล้วสั่งสอน ความรู้ความมีความเป็นมาอีก จนกระทั่งถึงเท่ากันกับสัมมาสัมพุทธเจ้า สัพพัญญุตญาณเท่ากัน แต่ไม่ประกาศศาสนาเป็นของตน บ๊ายบาย ปรินิพพานปริโยสานเลิก แยกธาตุเป็นดินน้ำไฟลม เป็นชาติสุดท้ายแยกจบ ท่านก็ไม่ชื่อว่าท่านเป็นเจ้าของศาสนาพุทธองค์ใดองค์หนึ่ง ไม่ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง นี่คือประเด็นธรรมะ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ วิธีจบนิยาม 5 จบนิยายของตนอย่างนิรันดร วันจันทร์ที่ 26 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 20 พฤษภาคม 2564 ( 09:36:34 )

มิลักขชน

รายละเอียด

คนที่ยังไม่เจริญ

หนังสืออ้างอิง

ธรรมที่เป็นพุทธ หน้า 38


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 16:52:38 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:36:07 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:15:14 )

มิลักขชน กับ อาริยกชน ต่างกันอย่างไร

รายละเอียด

อันนี้ก็เป็นคำใหม่ ไม่มีใครเขาเอาธรรมะมายุ่งกับการเมือง เขาก็ว่ากัน แล้วนี่ยังแถมบอก ธรรมะกับการเมืองโลกุตรธรรมอีก ธรรมะจะเข้าไปในการเมืองและยังเป็นการเมืองโลกุตรธรรมอีกด้วย นี่เขาจะหมุนสมองให้ทันสมัยได้อย่างไร เขาจะพยายามเพิ่มพลังความเข้าใจ เพิ่มพลังความเฉลียวฉลาดที่จะมารับรู้ ความหมาย รับรู้ความจริงที่ว่านี้ มันก็คงจะต้องค่อยๆว่าไป แต่เริ่มต้นพวกเราเข้าใจแล้วก็ใช้ศัพท์ได้ แต่คนที่ยังไม่เข้าใจในสภาวธรรมลึกซึ้งพวกนี้ เขาก็ได้แต่ฟังๆว่ามันพูดอะไรกันนะ ภาษาทะแม่งๆ ไม่เคยได้ยิน ภาษาใหม่หูบ้าง อะไรไป 

อันนี้บรรยายมาเป็นสัจจะความจริง อันนี้คนที่ยังไม่มีภูมิธรรม เขายังเข้าใจไม่ได้ ยังมองไม่ออก เขายังเป็นมิลักขชน ยังเป็นคนที่ยังไม่มีอาริยกธรรม ยังไม่มีความเฉลียวฉลาดอย่างอาริยะ เขายังมีความเฉลียวฉลาดแบบมิลักขชน คำ 2 คำนี้ มันลึกซึ้งมาก อาริยกะ กับ มิลักขชน เป็นคำเก่าๆมาแต่ไหนแต่ไรแล้วที่ชี้ชัด ความเป็นมิลักขชนนี้ อาตมาจะยกตัวอย่างให้ฟัง พวกเรานี้ถ้าอาตมาจะบอกพวกเรานะ คนอื่นเขาไม่เข้าใจหรอก อาตมาจะบอกว่าอเมริกานี้เป็นมิลักขชน ประเทศไทยเป็นอาริยชน พวกเราก็จะเข้าใจทันที มองไปถึงสภาวธรรมอะไรที่มันหมายถึง อาริยะ อะไรมันหมายถึง มิลักขชน 

มิลักขชน หมายถึงคนที่ยังเถื่อนๆป่าๆ ยังไม่รู้เรื่องของสังคมคนเจริญที่แท้จริง สังคมคนเจริญที่แท้จริงคือสังคมที่มีความ อิสระ สบาย สงบ อบอุ่น อิ่มเอม เกษมใส ใจเกื้อกูล และเพิ่มพูนความเสียสละ นั้นคือ อาริยกะ ที่แท้จริง ที่สมบูรณ์แบบ เราพูดนี้เป็นเรื่องจริง ไม่ใช่มีแต่คำโก้ๆคำโม้ๆคุยไว้ว่า เอาอันนี้มาสอน เอาอันนี้มาแจก เอาอันนี้มาให้ในอนาคต อย่างพิธา(นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์)เขาพูดไว้ จะเป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้ยังไม่รู้ แต่ของเรานี้เป็นไปได้และเป็นไปแล้ว ได้อาศัยแล้ว เข้าใจแล้ว เป็นจริงแล้ว มันต่างกัน 

ที่มา ที่ไป

รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ครั้งที่ 36 ชีวกสูตรคือเจาะจงฆ่าไม่ใช่เจาะจงชื่อคนกิน วันจันทร์ที่ 14 สิงหาคม 2566 แรม 13 ค่ำ เดือน 8(2) ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 16 กันยายน 2566 ( 15:42:54 )

มิลักขะ

รายละเอียด

โลกุตระนั้นปฏิบัติไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อที่จะทำแต่ดี ไม่ปฏิบัติชั่วเท่านั้น ต้องปฏิบัติเพื่อให้รู้จักสุขรู้จักทุกข์ เพราะฉะนั้นอาริยสัจ 4 ของศาสนาพุทธ คือ ทุกข์อาริยสัจ เป็นศาสนาของอาริยกะ จึงเรียก อาริยสัจ 4 ผู้ที่บรรลุธรรมของพุทธเป็นอาริยะ ผู้ไม่บรรลุธรรมของพุทธ ไม่เป็นอาริยะจึงเป็น มิลักขะมีคน 2 ประเภทคือ คนเจริญกับคนไม่เจริญ คนยังไม่เจริญคือ คนมิลักขะ

ที่มา ที่ไป

พ่อครูเทศนาภาคค่ำ งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ 47 

วันพุธที่ 8 มีนาคม 2566 แรม 2 ค่ำเดือน 4 ปีเถาะ ที่บวรปฐมอโศก


เวลาบันทึก 26 มีนาคม 2566 ( 12:48:38 )

มิลักขะ คือเช่นไร

รายละเอียด

ผู้ที่“ยังไม่เจริญ” มีแต่หลงใหลตนเอง ซ้ำมิหนำเสื่อมลงไปหนักหน้าสาหัสสากรรจ์ยิ่งๆขึ้นไปอีก เพราะไม่รู้จักรู้แจ้งรู้จริงตัวเอง ไม่รู้จักรู้แจ้งรู้จริง“โลกุตระ” จึงยังนับว่า เป็นคน“มิลักขะ”ยิ่งที่“หลงผิดทิศนรก”ว่า ไปสวรรค์ “มิลักขะ”ที่หนักหน้าไปสู่”การฆ่า” เจริญเก่งที่ทำ“อาวุธร้ายยิ่งขึ้นๆ” หรือทำสิ่งที่เป็นพิษ-มอมเมาคนยิ่งขึ้นๆ แล้วหลงว่า ตนเองเจริญ เป็นต้น

ขณะนี้สิ่งที่มอมเมาคนดูแล้วโทรทัศน์ถ่ายทอดกีฬาโดยเฉพาะฟุตบอล โอ้โห..มอมเมากันขนาดเลยพวกที่ติดยึดน่าสงสาร เตะเข้าโกลได้ทีนึงเหมือนกับลอยฟ่องเหมือนกับเป็นพระเอกขนาด สุดยอดแล้วแต่ละลูกแต่ละลูกมีราคานะ เตะเข้าโกลได้แต่ละลูก เงินทั้งนั้นเลยนะ มันไปหลงใหลกันทางโน้นให้คนดูคนโง่ที่ไปมุงดูเอาเงินไปเสียค่าดูแพงๆ นั่นแหละมันก็หมุนเวียนไปเสียเวลาเสียแรงงานเสียทุนรอน สิ่งเหล่านี้คือสิ่งมอมเมายังไม่โงไม่เงย เสียเวลา ถ้าเอาแรงงานพวกนั้นมาปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารเหมือนพวกเรานะ โลกทั้งโลกจะสุขสำราญเบิกบานใจขึ้นเยอะเลย 

นัยที่อาตมาอธิบายเอาไว้นี่แหละติดตามดีๆ แล้วจะรู้ว่าสัจธรรมที่อาตมาเอามาไข มันคือสัจธรรมของพระพุทธเจ้าที่ยิ่งใหญ่ แค่ไหนอย่างไร แล้วก็จะรู้ว่าอาตมาเอามาไขจริงหรือเปล่า แล้วก็จะรู้ว่าอาตมาเอามาได้อย่างไร คืออะไร จริงแค่ไหนจะได้สำทับกันไป วันที่ 3 นี้ตั้งใจว่าจะเปิดเผยตัวเองอย่างสำคัญทีเดียว จะเปิดเผยได้แค่ไหนอย่างไรยังไม่รู้เลย 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ มีปัญญารู้ตนด้วยเจโตปริยญาณ 16 วันพุธที่ 31 พฤษภาคม 2566 ขึ้น 12 ค่ำเดือน 7 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 05 กันยายน 2566 ( 15:54:01 )

มิลักขะคืออย่างไร

รายละเอียด

แน่นอนเพราะคนสร้างอาวุธก็เพื่อให้เกิดสงคราม อย่างน้อยซื้อกระสุนก็ต้องเอาไปยิงก็ต้องซื้อกระสุนอีก ระเบิดก็ต้องซื้อไประเบิดทิ้งแล้วต้องซื้อระเบิดใหม่ อาวุธสารพัดอย่างของเขาที่จะเอามาตูมตาม.. ยิงกันฆ่ากันเขาก็ต้องเอามาทำลาย เสร็จแล้วก็เอามาทำร้ายคน ทำลายมนุษยชาติ ซึ่งมันบาปไม่รู้จะบาปอย่างไร มันก็ช่วยไม่ได้เพราะคน อเวไนยสัตว์ สัตว์ที่ยังสอนไม่ได้เป็นพวกมิลักขะ เป็นอย่างนั้นจริงๆเป็นคนเถื่อนคนป่า ยังพาเจริญไม่ได้ 

มันซับซ้อน มนุษย์แต่ละประเทศแต่ละรัฐ เขาก็ว่าเขาเจริญ แต่ที่จริงเขาเสื่อมหนัก ลักษณะพวกนี้มันซับซ้อนซึ่งคนจะมองไม่ออก เราก็พูดความจริงไปๆ ซึ่งก็ต้องระมัดระวังประมาณเหมือนกัน จะไปพูดสุ่มสี่สุ่มห้ามากเกินไปแรงเกินไปก็ไม่ดี แต่ก็พูดไม่น้อยเหมือนกัน เพื่อที่จะให้เขารู้สึกสะกิดใจของเขาบ้าง เผื่อเขาจะได้คิดบ้าง ว่ามันจริงหรือเปล่า ได้คิดขึ้นมาก็จะได้ศึกษาค้นคว้า 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ทำไมสายศรัทธาจึงช้าและยากกว่าสายปัญญา วันพุธที่ 10 สิงหาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 31 สิงหาคม 2565 ( 05:22:59 )

มิสสก

รายละเอียด

เจือปน

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 248


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 16:53:19 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:36:59 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:15:33 )

มิสสิกวัน

รายละเอียด

จิตที่ยังมีโลกหรือกาม หรือความยินดี รื่นเริง บันเทิงใด ๆ นั่นแหละเจือปนอยู่เป็นวิสัย

หนังสืออ้างอิง

ทางเอก ภาค 2 หน้า 248


เวลาบันทึก 16 กรกฎาคม 2562 ( 16:54:05 )

เวลาบันทึก 19 กรกฎาคม 2563 ( 15:37:42 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:15:59 )

มิใช่อวดดีแต่นำความดีของพระพุทธเจ้ามาสืบทอดต่อไป

รายละเอียด

มิใช่มาอวดดี แต่นำ“ความดีจริงๆของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ได้ตรัสไว้ดีแล้ว”มาสืบทอดต่อไป ศาสนาพุทธจะได้ยืนยาวไปถึง 5,000 ปี ให้ตรง ให้ถูกต้องตามที่เป็นของพระพุทธเจ้า เท่าที่อาตมามี“ความจริง” มี“ความรู้”นั้นๆ ที่อาตมาแน่ใจ มั่นใจใน“ความรู้-ความจริง”นั้นๆ อย่างซื่อสัตย์ที่สุด ที่คนผู้มี“อัญญธาตุ” มี“ปัญญา”จะรู้ได้ รับได้

ส่วนผู้ยังไม่มี“อัญญธาตุ”หรือยังไม่มี“ปัญญา”เลย ก็แน่นอนว่า ย่อมรับ“ความรู้-ความจริง”ที่อาตมาสาธยายไม่ได้ หรือ“ไม่รู้ตามได้” ก็ย่อมย้อนแย้งกับอาตมาเป็นธรรมดา

ส่วนใครจะผิดจะถูกนั้น ที่สุดแห่งที่สุดก็ตนเองแต่ละคนนั่นแหละ ที่จะสามารถพิพากษาให้แก่ตนเอง ตนเป็นที่พึ่งของตนเองแท้ๆ นอกจากตนไม่มีใครจะเป็นที่พึ่งแท้ให้แก่ตนได้หรอก 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ พุทธศาสนาตามภูมิ ปัญญา 8 เล่ม 1 ตอนที่ 1

วันพุธที่ 23 มีนาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 30 มีนาคม 2565 ( 21:27:37 )

มี 9 ลักษณะของฌานที่เป็นสมาธิพุทธแท้

รายละเอียด

1. สมาหิเต  จิตเต  (จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ) 
2. ปริสุทเธ  (จิตบริสุทธิ์ สุกสกาว ไม่มีอะไรที่จะแอบแฝง) 
3. ปริโยทาเต  (ผ่องแผ้ว อย่างแข็งแรงอยู่กับผัสสะ) 
4. อนังคเณ (ไม่มีกิเลสเครื่องเศร้าหมอง) 
5. วิคตูปักกิเลเส (ปราศจากแม้แต่อุปกิเลส) 
6. มุทุภูเต  (แววไวด้วยจิตหัวอ่อน - ดัดง่าย แก้ไขไว) 
7. กัมมนิเย  (ควรแก่การงานอันไม่มีโทษ ไม่มีกิเลส) 
8. ฐีเต  (จิตถึงความตั้งมั่น) 
9. อเนญชัปปัตเต  (จิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหว)

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฏก เล่ม 9 ข้อ 131, ธรรมาธิบายจากพ่อครู รายการพุทธศาสนาตามภูมิ


เวลาบันทึก 25 กรกฎาคม 2562 ( 14:35:17 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 16:04:23 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:16:51 )

มี ปรโตโฆษะ บ้าง

รายละเอียด

เช่น ไปนั่งหลับตาทำจิตในจิต ทำจิตให้เป็นฌาน สมาธิ มันออกนอกรีตนอกทางศาสนาพุทธ ศาสนาพุทธไม่ได้นั่งหลับตา ทำฌานทำสมาธิ ศาสนาพุทธมีแต่ลืมตาทำโพธิปักขิยธรรม 37 เป็นโลกุตระ รู้กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม มีสติสัมปชัญญะเต็มที่อะไรอย่างนี้ ซึ่งมันผิดไปหมดเลย ทุกวันนี้พูดกันแล้ว เหมือนอาตมาบ้าอยู่คนเดียวไปขวางโลกอยู่ทำไม เขามีพระอรหันต์เต็มประเทศ มีทำเนียบพระอรหันต์ตั้ง 50-60 รูปโพธิรักษ์เป็นใคร จะไปล้มล้างอะไรใครได้ 

อาตมาไม่ได้ล้มล้างหรอกอาตมาพูดความจริงเปิดเผยความจริง สาธยายความจริงให้รู้ว่าพวกคุณหลงทางแล้วเธอเป็นอะไรกัน ก็พูดความจริงซื่อๆไม่ได้ลงโทษ แต่สงสาร ก็ต้องพูดความจริงสู่ฟัง ฟังอาตมาบ้างมี ปรโตโฆษะ บ้าง คุณไม่ ปรโตโฆษะ เป็นน้ำชาล้นถ้วย ก็จบ กลายเป็นโจรทำลายศาสนา พระพุทธเจ้าให้ฆ่า ด้วยหอก 100 เล่มเช้ากลางวันเย็นก็ยังดื้อดึงดันไม่ตาย เรียกว่า เป็นผู้ที่ คง (ภาษาอีสานแปลว่าเหนียว ) พวกอยู่ยงคงกระพัน จริงๆ 

ซึ่งอาตมาก็จำเป็นที่จะต้องสาธยาย ไล่ เบื้องต้น ท่ามกลาง บั้นปลาย ย้อนไปย้อนมาอยู่นี่แหละ แม้แต่แค่พูดถึงจรณะ 15 วิชชา 8 เขาก็มึนแล้ว ก็บอกว่าไปเรียนรู้ทำไม ไปนั่งหลับตาอย่างเดียวก็ได้เป็นอรหันต์.. คือ คำบรรยายศาสนาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าพูดตั้งไม่รู้กี่พระสูตร มีละเอียดพิสดารมากมาย เขาตีทิ้งหมดเลย เขานั่งหลับตาอย่างเดียว ถ้ามันง่ายอย่างนั้นพระพุทธเจ้าจะมานั่งสอนให้มันเมื่อยทำไม คุณเอ๋ย 45 พรรษาพระไตรปิฎก 45 เล่ม โอย ช่างกระไร ฉลาดน้อยจริงๆ ไม่อยากบอกว่า โง่หรอก ทำไม ทำไมฉลาดน้อยกันจริงๆเลย พูดไปพูดมาแล้วก็ว่าแต่เขา ข่ม ดูถูก ชี้ว่าเป็นเรื่องผิดตลอดเวลามันเป็นเชิงข่มอยู่ตลอด ไม่รู้จะพูดอย่างไร 

ที่มา ที่ไป

 พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 61 สลายพระเจ้าแห่งอวิชชาด้วยปัญญาจากสัตตบุรุษ วันจันทร์ที่ 31ตุลาคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 16 ธันวาคม 2565 ( 12:18:45 )

มี-ไม่มี สองทิฐิตรงข้ามที่ไม่ควรเข้าไปยึดมั่น

รายละเอียด

พระกัจจานะถาม “พระพุทธเจ้าข้า  ที่เรียกว่า  สัมมาทิฐิ  สัมมาทิฐิ  ดังนี้   ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะชื่อว่าสัมมาทิฐิ” ฯ 

[43] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “ดูกรกัจจานะ  โลกนี้โดยมากอาศัยส่วน 2 อย่าง (ทฺวยนิสฺสิโต...เยภุยฺเยน)  คือ  ความมี 1   ความไม่มี 1    
ก็เมื่อบุคคลเห็นความเกิดแห่งโลก (โลกสมุทยัง) ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว (ย่อมเห็นว่า) ความไม่มีในโลก  ย่อมไม่มี 
เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลก (โลกนิโรธ) ด้วยปัญญาอัน . ชอบตามเป็นจริงแล้ว (ย่อมเห็นว่า) ความมีในโลก  ย่อมไม่มี”       (โลเกอัตถิตา  น  โหติ) โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบายอุปาทานและอภินิเวส แต่พระอริยสาวกย่อมไม่เข้าถึง (น  อุเปติ)   ไม่ถือมั่น (นอุปาทิยติ)   ไม่ตั้งไว้ซึ่งอุบายและอุปาทานนั้น   อันเป็นอภิ- นิเวสและอนุสัย   อันเป็นที่ตั้งมั่นแห่งจิตว่า“อัตตาของเรา”  (นาธิฏฐาติ  อัตตา  เมติ)   ดังนี้   พระอริยสาวกย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า  ทุกข์นั่นแหละ  เมื่อบังเกิดขึ้น  ย่อมบังเกิดขึ้น  ทุกข์เมื่อดับ  ย่อมดับ   พระอริยสาวกนั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย  ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล  กัจจานะ  จึงชื่อว่าสัมมาทิฐิ ฯ  

 

ที่มา ที่ไป

พระไตรปิฎก กัจจานโคตตสูตร  เล่ม 16 ข้อ 42-44,  ฉันทสูตร  เล่ม 17 ข้อ 234 , ธรรมาธิบายจากพ่อครู  รายการพุทธศาสนาตามภูมิ
 


เวลาบันทึก 26 กรกฎาคม 2562 ( 21:37:39 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 16:05:25 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:17:48 )

มีกรรมสั่งสมเป็นวิบากมาเป็นศาสดาได้เพราะ

รายละเอียด

ส่วนพระพุทธเจ้าผ่านสิ่งที่ดีและชั่ววนเวียนอยู่ ในช่วงประพฤติดีให้เป็นคนดีสูงสุดก็ได้เป็นศาสดาองค์ใดองค์หนึ่งสะสมกรรมวิบาก แต่ทางเทวนิยมเขาไม่รู้ว่าสั่งสมกรรมวิบากมาจนสามารถเป็นพระศาสดา ได้ดีและชั่วรู้ความดีความชั่วแล้วก็ประพฤติได้ดีกว่าเพื่อน จึงได้เป็นศาสดา แล้วเขาก็ไม่มีความรู้ทั้งหลายในกรรมกิริยา เขาไม่รู้จักกรรมวิบาก เขาไม่รู้กรรมตามที่เขาทำ ดีก็เป็นกรรมชั่วก็เป็นกรรม คำว่ากรรมเขาก็ไม่รู้เรื่อง ไม่รู้จนกระทั่งว่าเกิดมามีกรรมสั่งสมเป็นวิบากก็ไม่รู้ เขารู้แต่ดีแต่ชั่ว แล้วอย่าทำชั่วทำแต่ดี แล้วทำกรรมนั่นแหละเขาไม่รู้ แม้ที่สุด คำสอนที่มาสอนก็เป็นคำสอนของใครก็ไม่รู้ เพราะไม่รู้ว่าตัวเองสั่งสมมาแล้วเอามาสอน เพราะมันดีเหลือเกินคนก็มายกย่องเรา เราก็เลยกลายเป็นผู้ที่สอนเรื่องนี้ แล้วก็ไม่เชื่อว่าตัวเองเป็นเจ้าของความรู้นี้ความจริงนี้เขาไม่เชื่อ 

แม้กระทั่งจะกล้ารับว่าตัวเองเป็นเจ้าของก็ไม่กล้า ก็ไปบอกว่านั่นแหละของพระบิดา  ความรู้อันนี้ความจริงอันนี้ของพระบิดาให้เราเอามา เราเป็นพระบุตร เป็นผู้ที่รับมา เราเป็นลูกของพระบิดา เรานี่เป็นลูกของพระบิดาแล้วเราก็ได้รับความรู้ความจริงนี้มาเอามาประกาศประพฤติ ไม่กล้าเชื่อว่าตัวเองเป็นเจ้าของความรู้ความจริงอันนี้ ไม่เชื่อตัวเอง

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ ปฏิจจสมุปบาท ชาติ 5 โดยพิสดาร วันจันทร์ที่ 19 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 25 เมษายน 2564 ( 12:18:49 )

มีกระทรวงไหนหนอที่จะนำความหมายของประชาธิปไตยที่ถูกต้องมาขยาย

รายละเอียด

เอาเถอะ มันก็ไม่ใช่ง่ายๆ ค่อยๆเป็นไปได้เมืองไทยก็มีอันนี้อยู่พวกเราก็ไปฟังไปเรียนรู้ให้เข้าใจแล้วได้ประพฤติปฏิบัติถูกก็ดีแล้ว ประชาชนคนไทยที่เป็นสมาชิกพลเมืองของประเทศไทยก็ได้ประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นประชาธิปไตยของพระพุทธเจ้าก็ดีแล้ว ทำให้เมืองไทยก็ง่ายขึ้นอยู่สบายขึ้น ผู้บริหารก็ไม่ลำบากยากเย็น ชาวอโศกนี้ผู้บริหารไม่ได้ยากเย็นเลย พวกเราไม่ได้เป็นตัวถ่วงตัวหนักตัวลำบากลำบนให้แก่ผู้บริหารเลย มีแต่ช่วยเหลือเกื้อกูลไป

ที่มา ที่ไป

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราช วันจันทร์ที่ 16 กันยายน 2563


เวลาบันทึก 13 พฤศจิกายน 2563 ( 11:29:59 )

มีกับไม่มี

รายละเอียด

มีกับไม่มี สิ่งที่มีก็รู้ง่ายกว่าสิ่งที่ไม่มี 2 ตัวเป็นเทวะ มีกับไม่มี สองคำนี้ มีมันรู้ง่ายกว่าไม่มี ขนาดมีคุณก็ยังไม่รู้แล้ว แล้วคุณจะไปรู้ไม่มี 

คำว่า ไม่มี ก็คือขนาดที่แทนสภาวะที่ละเอียดเข้าไปจนถึงยิ่งกว่าอากาศ ยิ่งกว่าอากาสาฯ ยิ่งกว่าที่ว่าง 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูปฐมนิเทศ พาปฏิญาณศีล 8 งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ปี 2564 ครั้งที่ 45 ออนไลน์วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก

สื่อธรรมะพ่อครู ตอน  อจินไตยของฌานวิสัย


เวลาบันทึก 05 มีนาคม 2564 ( 20:47:24 )

มีกับไม่มีสุดท้ายอันเดียวกัน

รายละเอียด

อาตมาไม่มีหมดหรอก ไม่หมดมี เพราะอาตมาไม่มีแล้วมันก็เลยมี เพราะว่า 0 กับ Infinity อันเดียวกัน 0 กับล้านล้านล้าน อันเดียวกัน อันมีกับไม่มี..สุดท้ายอันเดียวกัน พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องความมีกับความไม่มีสุดท้ายก็จบที่ความไม่มี มีก็คือไม่มี ไม่มีก็คือไม่มี สุดท้ายลงที่ไม่มี แล้วผู้ไม่มีได้นี่แหละ ชัดเจนแล้วก็รู้จักที่จบของตนเอง ถึงขั้นทำให้จิตวิญญาณไม่มีได้ ทำจิตวิญญาณให้เป็นอุตุนิยามไป ทำจิตวิญญาณสลายเป็นดินน้ำไฟลมไปได้เลย จบเลย เป็นอมตะบุคคล 

ที่มา ที่ไป

พ่อครูแสดงธรรมรายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 18 วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก


เวลาบันทึก 02 ธันวาคม 2564 ( 19:31:30 )

มีการขัดเกลาตัวเอง

รายละเอียด

 ขัดเกลา กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่บกพร่องให้พัฒนา

ที่มา ที่ไป

รายการสำมะปี๋ชีวิต บ้านราช วันจันทร์ที่ 27 มกราคม 2563


เวลาบันทึก 09 กุมภาพันธ์ 2563 ( 08:36:11 )

เวลาบันทึก 27 กรกฎาคม 2563 ( 16:06:16 )

เวลาบันทึก 14 สิงหาคม 2563 ( 14:18:07 )

statistics

ติดต่อสอบถาม

Facebook : test

Youtube : Name

Twitter : Name

Line : Name

Telegram : Name

Wechat : Name

Skype : Name

Copyright © 2018 Borvornsocial.net all right are reserved. developer สงวนลิขสิทธิ์